Monday, September 20, 2004

INDIA SONG

เมื่อสองสัปดาห์ก่อน ได้ดูหนังโปแลนด์เรื่อง THE LAST MISSION (B, Wojciech Wojcik) ก็เจอปัญหาเดียวกัน เพราะช่วง 45 นาทีแรกนี่ดิฉันดูไม่รู้เรื่องเลยว่าเกิดอะไรขึ้น หนังเป็นหนังเล่าเรื่องตามปกติ แต่ตัวละครมันเยอะมาก แล้วก็โผล่กันมาแว๊บๆ สับสนวุ่นวายกันไปหมด ดูแล้วตามไม่ทันเลยว่าใครอยู่ฝ่ายไหน ใครเป็นลูกสมุนใคร ใครทรยศใคร ใครฆ่าใคร ใครมีความสัมพันธ์อะไรยังไงกับใคร แต่พอผ่าน 45 นาทีแรกไปได้แล้ว ก็เริ่มดูรู้เรื่องค่ะ สรุปว่าดิฉันก็เลยต้องดู THE LAST MISSION 1 รอบครึ่ง เพราะตอนที่หนังเรื่องนี้มาฉายรอบสอง ดิฉันก็เลยเข้าไปดูช่วง 45 นาทีแรกใหม่อีกครั้ง คราวนี้ดูทัน เคลียร์ กระจ่างหมด

หนัง 3 เรื่องที่เพิ่งได้ดู
1.KLASSENFAHRT (2002, HENNER WINCKLER, A+++++) 2
.ACACIA WALK (2001, JOJI MATSUOKA, B+)
3.THUNDERBIRDS (2004, JONATHAN FRAKES, B)

MOST DESIRABLE ACTORS
1.STEVEN SPERLING—KLASSENFAHRT
2.BARTEK BLASZCZYK—KLASSENFAHRT
3.JAKOB PANZEK—KLASSENFAHRT
4.PHILIP WINCHESTER—THUNDERBIRDS
5.DOMINIC COLENSO—THUNDERBIRDS

MOST FAVORITE ACTRESS
SOPHIE KEMPE—KLASSENFAHRT

MOST FAVORITE ENDING
KLASSENFAHRT

INDIA SONG (ตอน 2) ความรู้สึกที่ได้จากการดูหนังเรื่องนี้หลายๆรอบก็คือเหมือนกับหนังเรื่องนี้มันมีพื้นที่ว่างบางอย่างให้ดิฉันเข้าไปขดตัวอยู่ได้อย่างอบอุ่นในหนังเรื่องนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมหนังเรื่องนี้ถึงทำให้รู้สึกอย่างนี้ INDIA SONG เป็นหนังที่ดูเหมือนจะเป็นมิตรกับดิฉันมากที่สุดในโลก

ดิฉันชอบทุกๆฉากใน INDIA SONG ค่ะ ซึงรวมถึง

1.ฉากเปิดที่เป็นภาพพระอาทิตย์กำลังจะตกดิน คลอไปกับเสียงเพลงภาษาลาว (หรือไทย?) ฉากนี้นานมาก แต่ดูแล้วเพลินมาก

2.ฉากที่เงาใครบางคนเลื้อยไปตามพื้นดินและขั้นบันไดในช่วงต้นเรื่อง เงาที่ทอดเลื้อยไปบนพื้นดินนี้มันดูลึกลับ มีมนตร์เสน่ห์จริงๆ

3.ฉากที่นางเอกค่อยๆก้าวลงบันไดที่อยู่หน้าสถานทูต

4.ฉากที่เธอนอนกับผู้ชายสองคน มันให้อารมณ์เฉื่อยดีจริงๆ และทำให้นึกถึงสภาพอากาศว่ามันคงร้อนๆชื้นๆแฉะๆยังไงไม่รู้ ตัวละครถึงได้มานอนแหงแก๋กันอยู่อย่างนั้น

5.มีอยู่ฉากนึงที่ดิฉันยอมรับว่าตัวเองโง่มาก ในฉากนั้นดิฉันเห็นชายหนุ่มคนหนึ่งยืนอยู่ข้างๆประตู และในห้องที่อยู่ด้านหลังประตูนั้น ดิฉันเห็นนางเอกกำลังเดินลงบันไดมา ตอนแรกดิฉันนึกว่าเดี๋ยวนางเอกจะเดินจากด้านในสุดของจอภาพยนตร์มายังด้านหน้าจอภาพยนตร์เพื่อมาหาชายหนุ่มคนนั้น แต่ปรากฏว่าดิฉันเข้าใจผิด เพราะสิ่งที่ดิฉันคิดว่าเป็นประตู จริงๆแล้วคือกระจก ห้องที่ดิฉันนึกว่าอยู่ข้างหลังชายหนุ่มคนนั้น จริงๆแล้วคือห้องที่ชายหนุ่มคนนั้นยืนอยู่ บันไดที่ดิฉันคิดว่าอยู่ข้างหลังชายหนุ่มคนนั้น จริงๆแล้วบันไดนั้นอยู่ด้านหน้าของชายหนุ่ม และนางเอกแทนที่จะปรากฏตัวจากข้างหลังของชายหนุ่ม เธอกลับปรากฏตัวข้างหน้าชายหนุ่ม (นอกจากใน INDIA SONGแล้ว ดูราส์ยังเล่นกับกระจกในหนังเรื่องอื่นๆของเธอด้วยเช่นกัน

6.ฉากงานเลี้ยงรับรอง นางเอกเต้นรำด้วยอาการเหนื่อยอ่อนมาก

7.ฉากที่นางเอกนอนเป็นนางพญา ฉากนี้ติดตาตรึงใจที่สุด ถ้าจำไม่ผิด กล้องแทบไม่เขยื้อนเลย และตัวละครก็ขยับกายไปเรื่อยๆ แต่จะค่อยๆขยับ และเนื่องจากฉากนี้ตัวละครโพสท์ท่ากันหลายคน ก็เลยสังเกตยากหน่อยว่าใครขยับกาย ขยับมือ ขยับตีน ขยับแขน ขยับขายังไงบ้าง สิ่งหนึ่งที่ชอบมากในฉากนี้ก็คือแสง เพราะในขณะที่ทุกอย่างเกือบหยุดนิ่ง แสงในฉากนี้จะเปลี่ยนจากสลัวมาเป็นค่อยๆสว่างขึ้นเรื่อยๆ แล้วก็ค่อยๆมืดลง แล้วก็ค่อยๆสว่างขึ้น แล้วก็ค่อยๆมืดลงอีกครั้ง การเปลี่ยนแปลงของแสงในฉากนี้ให้อารมณ์ที่รุนแรงมากกับดิฉัน จริงๆแล้วเหตุการณ์ในฉากนี้ไม่ได้เกิดขึ้นในเวลานาน แต่การเปลี่ยนแปลงของแสงซึ่งตรงข้ามกับความแสร้งนิ่งของตัวละครมันทำให้ดิฉันรู้สึกว่าฉากนี้มันให้อารมณ์ที่เป็น “อมตะ” มากๆ แน่นอนว่าอีกสิ่งหนึ่งที่ส่งเสริมความเป็นอมตะของฉากนี้ก็คือเสียงนินทากาเลที่คลอไปกับฉากด้วย

8.ฉากที่นางเอกค่อยๆเดินระเหิดระหงเข้ามาในอาคาร PRINCE OF WALES ที่อยู่ตรงเกาะสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา โดยมีผู้ชาย 2 คนเดินตามหลังเธอมา และที่จุดหนึ่งของห้องก็มีผู้ชายอีก 2 คนดักรอสมทบ กล้องจะค่อยๆเคลื่อนถอยหลังไปเรื่อยๆ ในขณะที่นางเอกกับสมุนชาย 4 คนค่อยๆเดินมาข้างหน้า อากัปกิริยาของนางเอกในฉากนี้ มันช่างดูเริ่ดเสียจริงๆ และหลังจากตัวละครทั้ง 5 คนหลบออกไปจากกล้องแล้ว รองกงสุลก็จะปรากฏตัวขึ้นที่ด้านหน้าของอาคาร พร้อมกับที่เสียงนินทาพูดขึ้นมาในทันทีว่า “SUDDENLY, THE SMELL OF DEATH”

9.ฉากที่นางเอกกับสมุนชายๆพักผ่อนอยู่ในเกาะ พวกเขานั่งอยู่นิ่งๆ ในขณะที่เสียงนินทาพูดไปเรื่อยๆว่าในปี 1937 เกิดสงครามขึ้นที่จุดใดบ้างในโลกใบนี้

10.ฉากที่นางเอกในชุดดำนั่งสง่าในห้องในช่วงท้ายเรื่อง ตัวละครในฉากนี้ยังคงถูกครอบงำด้วยแรงเฉื่อยเหมือนในทุกๆฉาก แต่สิ่งที่มีผลทางอารมณ์กับดิฉันอย่างมากคือควัน (ไม่แน่ใจว่ามาจากเทียนหรือเปล่า) ที่ลอยอ้อยอิ่งอยู่ในฉากนี้ เส้นควันที่ค่อยๆลอยขึ้นไปในอากาศมันให้อารมณ์ที่งดงามมากๆ และพัดลมเพดานของห้องนี้ก็เฉื่อยดีจริงๆ อีกสิ่งที่มีผลกระทบทางอารมณ์อย่างมากก็คือในช่วงท้ายของฉากนี้ ตอนที่นางเอกค่อยๆเคลื่อนตัวออกไปจากห้อง ด้วยการเดินลึกเข้าไปด้านในของจอภาพยนตร์มากขึ้นเรื่อยๆนั้น พอนางเอกออกพ้นจากห้องไป อยู่ดีๆพัดลมเพดานก็หยุดหมุนพอดี

ตอนที่ INDIA SONG เป็นบทละครเวทีนั้น ดูราส์เขียนไว้ในบทละครว่าพัดลมในเรื่องนี้ ให้หมุนไปใน “nightmare speed”

11.ฉากสนามเทนนิสว่างเปล่าที่อยู่ในช่วงกลางเรื่อง

12.ฉากอาคารสถานกงสุลที่ถ่ายจากด้านนอกอาคาร มันดูเหมือนบ้านผีสิงมากๆ

13.ฉากจบของเรื่องนี้ ที่กล้องถ่ายแผนที่ โดยค่อยๆเลื่อนจากอินเดียผ่านพม่า, ประเทศไทย และกลับมายังสะวันนาเขตอีกครั้ง

สิ่งที่น่าสนใจใน INDIA SONG

1.นักวิจารณ์บางคนบอกว่าให้สังเกตความคล้องจองกันหรือความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างตัวละคร 3 ตัว ซึ่งได้แก่นางเอก, หญิงขอทาน และรองกงสุล เพราะทั้งนางเอกและหญิงขอทานต่างก็เดินทางจากสะวันนาเขตมาอินเดียเหมือนกัน, เสียงกรีดร้องของรองกงสุลกับเสียงพร่ำบ่นของหญิงขอทานให้อารมณ์วิกลจริตพอๆกัน, รองกงสุลติดตามนางเอกไปเกาะกลางสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคาเหมือนเป็นเงาของนางเอก และบทสนทนาระหว่างรองกงสุลกับนางเอกตรงจุดหนึ่งที่เหมือนกับจะบอกว่าจริงๆแล้วทั้งสองมีบางจุดที่คล้ายคลึงกันมาก

บทสนทนาระหว่างนางเอกกับรองกงสุลในงานเลี้ยง

นางเอก—I love Michael Richardson. I’m not free of that love.
รองกงสุล—I know. I love you like that, in that love. It doesn’t matter to me.
(นักวิจารณ์บางคนกล่าวว่าประโยคนี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่บ่งชี้ว่ารองกงสุลอาจจะเป็นเกย์ เพราะนอกจากรองกงสุลจะเป็น virgin ที่ไม่เคยยุ่งเกี่ยวกับหญิงคนใดใน Lahore แล้ว ประโยคนี้ยังบ่งชี้ว่า “รองกงสุลรักนางเอกเพราะนางเอกรักผู้ชายอื่น” ซึ่งมันดูเหมือนกับว่าจริงๆแล้วรองกงสุลนั่นแหละที่รักผู้ชาย)

2.ในขณะที่นักวิจารณ์บางคนตั้งข้อสันนิษฐานว่าตัวละครรองกงสุลอาจจะเป็นเกย์ ในบทละครเวทีเรื่อง INDIA SONG เองนั้น ดิฉันเข้าใจว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับเลสเบียนด้วย แต่พอ INDIA SONG สร้างเป็นหนัง ดิฉันคิดว่าส่วนที่เป็นเลสเบียนได้ถูกตัดทิ้งไป

ละครเวที INDIA SONG กับหนังเรื่อง INDIA SONG มีจุดแตกต่างกันหลายจุด ถ้าดิฉันเข้าใจไม่ผิด จุดหนึ่งที่แตกต่างกันก็คือในเวอร์ชันหนังนั้น เสียงนินทาที่เราได้ยิน จะเป็นเสียงนินทาเรื่องราวของ ANNE MARIE STRETTER เสียงนินทาเหล่านี้จะคุยกันแต่เรื่องของนางเอก แต่ในเวอร์ชันละครเวทีนั้น เสียงนินทาของผู้หญิง 2 คนในเรื่องนี้จะบ่งชี้ว่าหญิงนินทาคนที่ 2 หลงรักหญิงนินทาคนที่ 1 และรู้สึกตกใจหวาดวิตกกับการที่หญิงนินทาคนที่ 1 ลุ่มหลงในเรื่องราวของ ANNE-MARIE STRETTER

แต่ความแตกต่างกันระหว่างเวอร์ชันละครเวทีกับเวอร์ชันหนังนั้น ดิฉันคิดว่าอาจจะเป็นผลดีก็ได้ค่ะ เพราะแค่มีเพียง “เรื่องราวความรักของ ANNE-MARIE STRETTER” เพียงเรื่องเดียวอย่างในเวอร์ชันหนัง ดิฉันก็ตามเนื้อเรื่องไม่ทันแล้ว ถึงแม้จะดูหนังเรื่องนี้มาแล้ว 6 รอบ ดิฉันก็ยังตามเนื้อเรื่องไม่ทันอยู่ดี นี่ถ้าหากมี “เรื่องราวความรักระหว่างคนนินทา” แทรกเข้ามาซ้อนทับเข้าไปด้วยอีก ดิฉันคงยิ่งงงเป็นไก่ตาแตกแน่ๆ แถมคนนินทายังไม่ได้รักกันเฉยๆเท่านั้น พวกเธอยังเป็นเลสเบียนอีก และยังมีความหลงใหลระหว่างผู้นินทากับผู้ถูกนินทาซ้อนทับเข้าไปอีก ถ้าหากทำอย่างในเวอร์ชันละครเวทีจริงๆ ดิฉันคงยิ่งงงหนักแน่ๆ

สรุปว่าตามความเข้าใจของดิฉัน ใน INDIA SONG เวอร์ชันละครเวที จะมีความสัมพันธ์ที่น่าสนใจหลายระดับ ซึ่งรวมถึง
1.ความสัมพันธ์ของ ANNE-MARIE STRETTER กับตัวละครคนอื่นๆ ซึ่งสิ่งนี้จะปรากฏชัดในเวอร์ชันภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน
2.ความสัมพันธ์ระหว่างคนนินทาแต่ละคน
3.ความสัมพันธ์ระหว่างคนนินทากับ ANNE-MARIE STRETTER

ไม่รู้เหมือนกันค่ะว่าเมื่อไหร่ INDIA SONG จะกลับมาฉายอีกครั้ง แต่หนังเรื่องนี้ติดอันดับหนังหาดูยากเรื่องนึง ดิฉันเคยแสดงความเห็นของตัวเองที่มีต่อ INDIA SONG ไว้ใน IMDB.COM ปรากฏว่าหลังจากนั้นก็มีคนจากสวีเดนและ 2-3 คนจากสหรัฐส่งอีเมล์มาถามว่าดิฉันมีวิดีโอหนังเรื่องนี้หรือเปล่า เพราะพวกเขาอยากดูมาก พอได้รับอีเมล์พวกนี้ทีไร ก็รู้สึกเสียใจที่ดิฉันไม่สามารถช่วยอะไรพวกเขาได้ แต่ในขณะเดียวกันก็รู้สึกดีใจที่ตัวเองอยู่ในกรุงเทพ คนกรุงเทพเป็นคนที่โชคดีมากๆที่ได้ดูหนังเรื่อง INDIA SONG ไปแล้วไม่รู้กี่รอบต่อกี่รอบ ในขณะที่คนในบางพื้นที่ในยุโรปและสหรัฐอยากดูหนังเรื่องนี้แต่หาดูไม่ได้

ดิฉันเคยดู INDIA SONG 2 รอบในปี 1997 ค่ะ และอีก 2 รอบในปี 2000 ก่อนจะได้ดูอีก 2 รอบในปี 2004 บางทีอาจต้องรออีก 3-4 ปีหนังอาจจะเวียนกลับมาลงโรงฉายอีกครั้งในกรุงเทพ

จอห์น วอเตอร์ส ผู้กำกับ Pink Flamingos ชอบหนังของ Marguerite Duras มากค่ะ เขาเคยเอา Duras มาล้อไว้ในหนังเรื่อง Polyester ของเขาด้วย โดยฉากนึงในหนังเรื่อง POLYESTER เป็นฉากของโรงหนังประเภทไดรฟ์อินในชนบทของอเมริกา และโรงหนังแห่งนี้ติดป้ายบอกว่า “Now Showing Three Marguerite Duras’ Hits” หรืออะไรคล้ายๆอย่างนี้

ชอบไอเดียนี้ของจอห์น วอเตอร์สมากค่ะ อยากให้เกิดขึ้นจริงกับโรงหนังชั้นสองในกรุงเทพจัง อยากให้อยู่ดีๆโรงหนังชั้นสองในกรุงเทพฉาย INDIA SONG ควบกับ HER NAME IS VENICE UNDER CALCUTTA DESERT จะได้นั่งดูหลายๆรอบต่อๆกันไปเลย

เคยอ่านจากหนังสือบางเล่ม เขาบอกว่าตอนที่ INDIA SONG ออกฉายในฝรั่งเศส หนังเรื่องนี้ปักหลักฉายในโรงภาพยนตร์แห่งนึงเป็นเวลานานมากๆ และหนังเรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อคนดูอย่างแปลกๆด้วย มีผู้หญิงคนนึงเข้าไปดูหนังเรื่องนี้ตอนบ่ายสอง และปักหลักดูแล้วดูอีกจนถึงตอนเย็น

หนัง 4 เรื่องที่เพิ่งได้ดู
1.POSSESSION (1981, ANDRZEJ ZULAWSKI) A+
2.THE BROOD (1979, DAVID CRONENBERG) A+
3.THE SECT (1991, MICHELE SOAVI) B
4.AZUMI (2003, RYUHEI KITAMURA) B (รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้สนุกมาก แต่ไม่ชอบองค์ประกอบบางอย่างในหนัง)


(ข้อความข้างล่างนี้เอามาจากเว็บบอร์ดอื่น)

หนังรักที่ชอบมาก 3 เรื่องก็คือ

1.THE BRIDGES OF MADISON COUNTY

ดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมถึงซึ้งกับหนังเรื่องนี้ได้ถึงขนาดนี้ คงเป็นเพราะเนื้อเรื่อง, จังหวะของหนัง, การแสดงของเมอรีล สตรีพ และการตัดสินใจของนางเอกในตอนจบ ตอบไม่ถูกเหมือนกันว่านางเอกตัดสินใจถูกหรือเปล่า แต่จบอย่างนี้ซึ้งดีแล้วล่ะ


2.MY BEAUTIFUL LAUNDRETTE

ถ้าพูดถึงหนังรักของเกย์แล้ว จะชอบเรื่อง BEAUTIFUL THING มากๆเหมือนกัน แต่เนื่องจากดิฉันเป็นคนเอเชียที่บ้าฝรั่ง ก็เลยคิดว่า MY BEAUTIFUL LAUNDRETTE ดูแล้วใกล้ตัวมากกว่า แดเนียล เดย์ ลูว์อิสเรื่องนี้น่ารักน่าเลียมากๆ มันช่างโรแมนติกดีจริงๆ

หนังที่สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างหนุ่มเอเชียกับหนุ่มฝรั่งอีกเรื่องนึงคือ THE WEDDING BANQUET แต่เรื่องนั้นมีตัวละครประเภท “ก้างขวางคอ” มากเกินไป และไม่ได้เน้นที่ความสัมพันธ์ระหว่างพระเอกสองคน ดูแล้วก็เลยไม่ให้อารมณ์พาฝันเหมือนอย่าง MY BEAUTIFUL LAUNDRETTE


3.ALWAYS (ไฟฝันควันรัก) ของสตีเวน สปีลเบิร์ก

มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้ทำให้ดิฉันอินกับหนังเรื่องนี้

1.BRAD JOHNSON ในเรื่องนี้เป็นผู้ชายที่ตรงสเปคดิฉันที่สุดค่ะ เขาดูตัวใหญ่ ใจดี อ่อนโยน ทึ่มๆเซ่อๆหน่อย แต่มีพื้นฐานจิตใจดีมาก ถ้าหากเปลี่ยนพระเอกหนังเรื่องนี้จากแบรด จอห์นสัน มาเป็นทอม แฮงค์ส เกรดของหนังเรื่องนี้อาจจะหล่นจาก A+ มาเป็น B- ได้ง่ายๆเหมือนกัน

2.นางเอกของเรื่องนี้คือฮอลลี ฮันเตอร์ เธอรับบทเป็นผู้หญิงกร้าวแกร่ง ไม่สวย ไม่อ่อนหวาน ถนัดบู๊ ถนัดลุยมากกว่า ผู้หญิงที่ดูไม่ค่อยเป็นผู้หญิงอย่างนี้ดิฉันจะชอบมากๆเลยค่ะ

3.บรรยากาศในหนังเรื่องนี้มันเหมือนกับดินแดนในฝันที่ดิฉันอยากไปอยู่มากๆ มันดูโล่งๆดี

4.ความรักสองคู่ในหนังเรื่องนี้ถูกใจดิฉันมากค่ะ อันนึงเป็นความรักระหว่างฮอลลี ฮันเตอร์กับแบรด จอห์นสัน ที่ดุน่ารักน่าชังดี ส่วนความรักอีกคู่นึงดูแล้วดีมากๆ นั่นก็คือความรักระหว่างริชาร์ด ไดรฟัสส์กับฮอลลี ฮันเตอร์ มันคือความรักที่ต้องเสียสละ ไม่ใช่การหึงหวง มันคือความรักที่เรามีความสุขเมื่อเห็น “คนที่เรารักมีความสุขกับคนอื่น” และนั่นทำให้หนังเรื่องนี้มีคุณค่าทางจิตใจต่อดิฉันมากๆค่ะ หนังเรื่องนี้ไม่ได้ใช้เพลง YOU’RE IN LOVE ของ WILSON PHILIPS เป็นเพลงประกอบ แต่เนื้อหาของหนังเรื่องนี้กับเนื้อหาของเพลง YOU’RE IN LOVE กลับตรงกันอย่างที่สุด

แถมท้ายด้วยหนังรักที่ชอบที่สุดที่ยังไม่ได้ดู (เพราะอ่านเรื่องย่อ + ดูภาพ + จินตนาการเอาเองแล้วรู้สึกประทับใจมาก)

LETTER FROM AN UNKNOWN WOMAN (1948, MAX OPHULS)

เรื่องของหญิงสาวคนหนึ่งที่หลงรักชายหนุ่มข้างบ้าน เธอหลงรักเขามาเป็นเวลานาน 20 ปี แต่เขาไม่เคยรู้เรื่องนี้เลย เมื่อเขากับเธอพบกันอีกครั้ง เธอจำเขาได้ แต่เขาไม่สามารถจำเธอได้แล้ว ในที่สุดเขาก็ได้รู้ความจริงว่าเธอรักเขา....เมื่อเธอส่งจดหมายสารภาพรักมาให้เขาก่อนที่เธอจะตาย

ตอนนี้ผู้กำกับหญิงชาวจีนคนนึงนำหนังเรื่องนี้มารีเมคใหม่ค่ะ โดยเปลี่ยนให้เนื้อเรื่องเกิดที่กรุงปักกิ่งแทน


หลังจากดูหนังสารคดีเรื่อง LIVE FOREVER ที่พูดถึงวงดนตรีอังกฤษในยุค 1990 แล้วก็เลยเริ่มนึกถึงวงดนตรีในยุค 1980 ที่ตัวเองชอบมากๆ และพอมาได้ฟังเพลงของ BAP ในหนัง ODE TO COLOGNE ก็เลยยิ่งนึกถึงวงดนตรีในยุค 1980 มากยิ่งขึ้น

วงดนตรีที่ชอบมากในยุคนั้นก็มีเช่น (เครื่องหมาย fff หมายถึงดิฉันรู้สึกชอบรูปร่างหน้าตาของสมาชิกบางคนในวงนั้นมากๆ)

1.ABC
2.AZTEC CAMERA (fff)
3.BEAUTIFUL SOUTH
4.THE BELOVED
5.BIG FUN (fff)
6.BREATHE (fff)
7.BROTHER BEYOND (fff)
8.THE CHRISTIANS
9.CURIOSITY KILLED THE CAT (fff)
10.CROWDED HOUSE
11.CUTTING CREW
12.DEACON BLUE (fff)
13.DEPECHE MODE (fff)
14.THE DREAM ACADEMY (fff)
15.ERASURE
16.FINE YOUNG CANNIBALS
17.FRANKIE GOES TO HOLLYWOOD (fff)
18.JOHNNY HATES JAZZ
19. HALO JAMES (fff)
20.HUE AND CRY
21.INFORMATION SOCIETY
22.KON KAN
23.LIVING IN A BOX
24.MADNESS
25.MATT BIANCO (Basia เคยอยู่วงนี้มาก่อน)
26.NEW ORDER
27.OMD
28.THE PAINTED WORD
29.PREFAB SPROUT
30.R.E.M.
31.16 TAMBOURINES
32.THE SMITHS
33.SOFT CELL
34. SPANDAU BALLET (fff)
35.TEARS FOR FEARS
36.THEN JERICO (fff)
37.WALL STREET CRASH
38.WATERFRONT (fff)
39.WET WET WET (fff)
40.ULTRAVOX

Tuesday, September 14, 2004

ROAD MOVIES AND RETRO MOVIES

หนังเกี่ยวกับการเดินทางที่ชอบมากๆ (ประเด็นหลักของหนังอาจไม่ได้เกี่ยวกับการเดินทาง แต่การเดินทางเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งของหนัง)

1.WEEK-END (JEAN-LUC GODARD, A+)
การเดินทางที่เจอกับความซวยมากมาย

2.FANDO AND LIS (ALEJANDRO JODOROWSKY, A+)
การเดินทางที่เจอกับความซวยมากมาย

3.ZABRISKIE POINT (1970, MICHELANGELO ANTONIONI, A+)
พระเอกหนังเรื่องนี้หล่อมากค่ะ ทัศนียภาพทะเลทรายในหนังเรื่องนี้ก็สุดยอดมากๆ

4.KISS OR KILL (1997, BILL BENNETT, A+)
นำแสดงโดยฟรานเซส โอ คอนเนอร์ จาก A.I. ARTIFICIAL INTELLIGENCE (A+, STEVEN SPIELBERG) ซึ่งอาจจะถือเป็นหนังเกี่ยวกับการแสวงหาและการเดินทางเหมือนกัน

5.THE TRIP (2002, MILES SWAIN, A)
ช่วงแรกของหนังเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์ของเกย์หนุ่มสองคนในทศวรรษ 1970 โดยกินระยะเวลาราว 10 ปี แต่ช่วงหลังของหนังจะพูดถึงการเดินทางของทั้งคู่ขณะออกจากเม็กซิโกมายังสหรัฐ เป็นหนังที่ตลก, ซึ้ง และได้ความรู้เรื่องประวัติศาสตร์เกย์ในสหรัฐ

6.BUBBLE BOY (2001, BLAIR HAYES, A)
เจค กิลเลนฮาล พระเอกหนังเรื่องนี้พบคนแปลกๆมากมายในระหว่างการเดินทาง นี่คือหนังการเมืองที่ปลอมตัวมาในรูปของหนังตลกในแบบเดียวกับ ELLA ENCHANTED (A) และหนังทั้งสองเรื่องนี้ก็ดูเหมือนจะโจมตีนักการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยมเหมือนๆกัน โดยศัตรูสำคัญของ BUBBLE BOY ก็คือประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนและค่านิยมที่เรแกนทิ้งไว้ให้กับสังคมอเมริกัน

7.WHAT ALICE FOUND (A. DEAN BELL, A-)
เด็กสาวคนนึงเดินทางออกจากบ้าน เธอได้พบกับชายหญิงวัยกลางคนท่าทางใจดีคู่นึงในระหว่างการเดินทาง และเธอก็ตัดสินใจร่วมทางกับชายหญิงคู่นี้ ในตอนนั้นเธอไม่รู้หรอกว่าเธอจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ทางเพศอะไรบ้างข้างหน้า

8.ALICE IN THE CITIES (1974, WIM WENDERS, A-)
หนังอันอบอุ่นเกี่ยวกับการเดินทางของผู้ชายที่จับพลัดจับผลูต้องมาช่วยเด็กหญิงคนนึงหาบ้านของตัวเอง แน่นอนว่าการที่นางเอกหนังเรื่องนี้และหนังเรื่องอื่นๆใช้ชื่อว่า alice เป็นเพราะว่าหนังต้องการพาดพิงไปถึง ALICE IN WONDERLAND ซึ่งก็มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเดินทางเหมือนกัน

9.THE SHOOTING (1967, MONTE HELLMAN, A-)
การเดินทางของคาวบอยที่พิศวงมาก

10.ชื่อชอบ ชวนหาเรื่อง (A-)



TREASURE ISLAND ทำเลียนแบบหนังยุคเก่าได้เหมือนมากๆจริงๆด้วยค่ะ และปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราถูกหลอกก็คือ

1.เราไม่เคยรู้ข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้มาก่อนเลย
2.เราไม่เคยรู้จักนักแสดงในหนังเรื่องนี้มาก่อนเลย ถ้าหากเราเห็นหน้านักแสดงที่เรารู้จัก เราก็ต้องพอเดาออกแน่นอนว่ามันเป็นหนังที่สร้างขึ้นในยุคไหน

ชอบที่คุณ homogenic บอกว่าบางฉากดูเหมือนหนังของ David Lynch ค่ะ ตอนแรกดิฉันไม่ทันนึกตรงจุดนี้ แต่พอคิดดูอีกทีก็ใช่จริงๆ เพราะหนังของเดวิด ลินช์จะมี “ความหลอน + ลักษณะบางอย่างของทศวรรษ 1950” ผสมอยู่ด้วย และหนังเรื่อง Treasure Island ก็จะมีลักษณะนี้อยู่ด้วยเหมือนกัน

ดิฉันจะชอบหนังที่มีลักษณะแบบนี้ค่ะ หนังที่มีความหลอน+ลักษณะบางอย่างของทศวรรษ 1940-1950 เรื่องอื่นๆ ที่ดิฉันเคยดูก็มีเรื่อง THE STICKY FINGERS OF TIME หรือ “ผู้หญิงสามมิติ” (A+) ที่เกี่ยวข้องกับการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ และหนังบางเรื่องของ Bruce Conner โดยเฉพาะเรื่อง TAKE THE 5:10 TO DREAMLAND (1976, A+++++) ดิฉันรู้สึกว่าหนังแต่ละยุคอาจจะมีความหลอนแตกต่างกันไป แต่ในทศวรรษนั้นความหลอนมักจะเกี่ยวข้องกับอาวุธนิวเคลียร์และมนุษย์ต่างดาวด้วย

ฉากบางฉากใน TREASURE ISLAND ทำให้ดิฉันนึกไปถึงมิวสิควิดีโอเพลง YOU DO SOMETHING TO ME ของ SINEAD O’CONNOR ด้วย

นอกจากนี้ ดิฉันยังคิดว่า TREASURE ISLAND เป็นหนึ่งในหนังที่นำสไตล์หนังยุคเก่ามาประยุกต์ดัดแปลงใช้ได้อย่างถูกใจมากๆค่ะ หนังที่นำสไตล์หนังยุคเก่ามาดัดแปลงใช้ได้ถูกใจดิฉันมากๆก็รวมถึงเรื่อง

1.THE ADVENTURE OF IRON PUSSY (2004, อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, A+)
2.THE SADDEST MUSIC IN THE WORLD (2003, GUY MADDIN, A+)
3.ODILON REDON OR THE EYE LIKE A STRANGE BALLOON MOUNTS TOWARD INFINITY (1995, GUY MADDIN)
4.FAR FROM HEAVEAN (2002, TODD HAYNES, A+/A)
5.MINOES (2001, VINCENT BAL, A+/A)
6.POISON (1991, TODD HAYNES, A)
7.ฟ้าทะลายโจร (A)
8.A PLACE AMONG THE LIVING (2003, RAOUL RUIZ, A)
9.WILLARD (2003, Glen Morgan, A)
10.KILL BILL (A)
11.DOWN WITH LOVE (2003, PEYTON REED, A-)
12.JUHA (1999, AKI KAURISMAKI, B+)
13.TALES FROM THE GIMLI HOSPITAL (1988, GUY MADDIN, B+)
14.CQ (2001, ROMAN COPPOLA, B+)
15.YES NURSE, NO NURSE (2002, PIETER KRAMER, B)

เสียดายเหมือนกันค่ะที่ ODE TO COLOGNE ภาพไม่ค่อยชัด แต่ยังดีที่หนังเรื่องนี้เน้นเสียงเพลง ไม่ได้เน้นรายละเอียดของภาพ ก็เลยทำให้ไม่เสียอารมณ์มากนัก

รู้สึกแปลกใจกับตัวเองเหมือนกันค่ะ เพราะคุณสนธยาชอบเอาเพลงของ BAP มาเปิดในโรงหนังก่อนหนังฉาย ดิฉันเคยฟังเพลงของ Bap หลายรอบแต่ก็ไม่เคยชอบเพลงของพวกเขาเลย แต่พอได้ดูหนังเรื่องนี้แล้วกลับทำให้ชอบเพลงของวงนี้เพิ่มขึ้นมาก ที่รู้สึกแปลกก็คือภาพที่วิม เวนเดอร์สถ่ายมาประกอบกับเพลงในหนังเรื่องนี้ เป็นภาพมิวสิควิดีโอที่ธรรมดามากๆ ดิฉันดูแล้วรู้สึกว่าภาพที่ใช้ประกอบเพลงในหนังเรื่องนี้ มันทั้งธรรมดา ทั้งเชย ไม่มีความหวือหวา ไม่มีความเปรี้ยวความเท่อะไรเลย แต่ทำไมภาพและการตัดต่อที่ธรรมดาเหลือเกินเหล่านี้ ถึงทำให้ดิฉันรู้สึกถึงความเพราะของเพลงเพิ่มขึ้นมากก็ไม่รู้ นี่คือสิ่งที่ดิฉันทึ่งกับเวนเดอร์สมากค่ะ เขาทำให้เพลงเพราะขึ้นกว่าเดิม 10 เท่าในความเห็นของฉัน การถ่ายภาพและการตัดต่อภาพของเขามีอะไรบางอย่างที่มันทำให้เพลงฟังเพราะขึ้นมาก แต่กลับไม่แย่งความเด่นมาจากตัวเพลงเลยแม้แต่นิดเดียว

ตอนที่ดู BUENA VISTA SOCIAL CLUB ก็รู้สึกว่าเพลงเพราะมาก แต่ในตอนนั้นก็ไม่คิดว่าความรู้สึกชอบของดิฉันที่มีต่อเสียงเพลงเกิดจากฝีมือของวิม เวนเดอร์สทั้งหมด เพราะดิฉันคิดว่าถ้าตัวเองได้ฟังเพลงพวกนี้จากที่อื่น ก็คงชอบเพลงพวกนี้ได้ง่ายๆเหมือนกัน แต่ในกรณีของ ODE TO COLOGNE, THE SOUL OF A MAN และ ALABAMA – 3000 LIGHT YEARS FROM HOME (A+++++) นั้น ดิฉันยกความดีความชอบให้กับเวนเดอร์สทั้งหมดเลยค่ะ เพราะถ้าดิฉันฟังเพลงเหล่านี้จากที่อื่น ไม่ใช่จากในหนัง 3 เรื่องนี้ ดิฉันคงฟังได้ไม่จบเพลงอย่างแน่นอน เพราะมันไม่ใช่เพลงแนวที่ตัวเองชอบเลย ดิฉันไม่ชอบเพลงร็อคและเพลงบลูส์ค่ะ แต่พอได้ดูหนัง 3 เรื่องนี้ ดิฉันรู้สึกได้เลยว่าวิม เวนเดอร์สดึงความเพราะของเพลงพวกนี้ออกมาได้อย่างมหัศจรรย์มากๆ

ดิฉันเคยรู้สึกอย่างนี้กับซาวด์แทรค PARIS, TEXAS เหมือนกันค่ะ เพราะเพื่อนของดิฉันเคยให้ซีดีซาวดท์แทรคหนังเรื่องนี้มาฟังก่อนที่ดิฉันจะได้ดูตัวหนัง ดิฉันยอมรับว่าแทบทนฟังซาวด์แทรคของหนังเรื่องนี้ไม่ได้เลย มันไม่ใช่แนวที่ตัวเองชอบเลยจริงๆ แต่พอได้ดูหนังเรื่องนี้แล้ว แล้วกลับมาฟังซาวด์แทรคหนังเรื่องนี้อีกที บรรยากาศและภาพต่างๆจากในหนังมันก็ลอยขึ้นมาในมโนสำนึก และทำให้รู้สึกว่าจริงๆแล้วซาวด์แทรคหนังเรื่องนี้มันเพราะสุดขีด ความรู้สึกที่มีต่อซาวด์แทรคหนังเรื่องนี้พลิกจากหลังตีนมาเป็นหน้ามือเพราะตัวหนังแท้ๆ

หนังเรื่อง VELVET GOLDMINE (A+) ของ TODD HAYNES ก็ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าเพลงในหนังมันเพราะสุดขีดเหมือนกันค่ะ ไม่รู้เขาเรียกว่าเพลงแนวแกลมร็อคหรือเปล่า ทั้งๆที่ปกติแล้วไม่เคยชอบเพลงแนวนี้มาก่อนเลย

ชอบตอนที่ผู้หญิงผิวดำร้องเพลงใน ODE TO COLOGNE เหมือนกันค่ะ ดิฉันมักจะชอบฟังเพลงที่ผู้หญิงร้องมากกว่าผู้ชายร้อง ปัจจัยนึงอาจจะเป็นเพราะว่าตอนที่ผู้หญิงร้อง ดิฉัน “ฟัง” เพลงจริงๆ แต่ตอนที่ผู้ชายร้อง ดิฉันอาจจะ “ดู” มากกว่า “ฟัง” อิอิอิ โดยเฉพาะในกรณีของวงบอยแบนด์

ตอนที่ผู้หญิงผิวดำร้องเพลงใน ODE TO COLOGNE ทำให้ดิฉันนึกไปถึงวง DEACON BLUE เหมือนกันค่ะ เพราะวงนี้ทำเพลงเพราะมาก แต่ส่วนใหญ่มักให้ผู้ชายร้อง ทั้งๆที่ในวงนี้ก็มีสมาชิกเป็นผู้หญิงเหมือนกัน ตอนแรกดิฉันก็ไม่รู้ว่าผู้หญิงใน DEACON BLUE ร้องเพลงเก่งหรือเปล่า เพราะไม่เคยได้ยินเสียงเธอชัดๆถนัดๆสักที เธอได้ร้องคลอๆแค่เพลงละ 2-3 ประโยคเท่านั้น แต่พอตอนหลังก็ได้ฟังเพลง COVER FROM THE SKY ที่ผู้หญิงคนนี้ได้ร้องนำอย่างเต็มตัว โอ มันช่างเพราะอะไรเช่นนี้ ทำไมวงDEACON BLUE ถึงไม่เปิดโอกาสให้ผู้หญิงคนนี้ได้ร้องนำหลายๆเพลงก็ไม่รู้

ดู THE SOUL OF A MAN และ ODE TO COLOGNE แล้วก็นึกขึ้นได้ว่าหนังสารคดีที่เกี่ยวกับเพลงนี่มีเยอะแยะมากมายจริงๆ หนังแนวนี้ที่ชอบมากๆอีกเรื่องนึงก็คือ STANDING IN THE SHADOWS OF MOTOWN (2002, PAUL JUSTMAN, A-) โดยเฉพาะฉากที่ CHAKA KHAN ร้องเพลงนี่ โหย เพราะมากๆ แต่บางเรื่องดิฉันก็ไม่ค่อยชอบเท่าที่ควร อย่างเช่นเรื่อง SOUND OF BRAZIL (2002, MIKA KAURISMAKI, B-)

Monday, September 13, 2004

TREASURE ISLAND (1999, SCOTT KING, A+++++)

ตอนดู KAZA-HANA เสร็จเพิ่งรู้ว่านางเอกเรื่องนี้คือเคียวโกะ โคอิซูมิ ซึ่งเป็นนักร้องที่เคยได้ยินชื่อบ่อยมากสมัยดิฉันอยู่มัธยม ไม่รู้ว่ามีใครในที่นี้เคยชอบเพลงของเคียวโกะ โคอิซูมิบ้างหรือเปล่า ดิฉันเคยได้ยินเพลงของเธอทางวิทยุแต่ตอนนี้จำอะไรไม่ได้แล้ว

นักร้องหญิงรุ่นเดียวกับเคียวโกะ โคอิซูมิที่ชอบมากๆ ตามด้วยชื่อเพลงโปรดของนักร้องคนนั้น
1.MIKI IMAI เพลงโปรดคือ KANOJOTO TIP ON DUO
2.ANRI (LOVERS ON VENUS)
3.AKINA NAKAMORI (I MISSED THE SHOCK)
4.SHIZUKA KUDOH (MUGON IRROPPOI)
5.AYUMI NAKAMURA (TOMODACHI)
6.YOKO MINAMINO (ANATA O AISHITAI)
7.KAHORU KOHIRUIMAKI (DREAMER)
8.MIHO NAKAYAMA (YOU’RE MY ONLY SHINING STAR)
9.MISATO WATANABE (MOONLIGHT DANCE)
10.YUI ASAKA (MELODY)

พูดถึง LILYA-4-EVER (B+) แล้วก็รู้สึกแปลกๆอยู่เหมือนกัน เพราะปกติดิฉันจะชอบหนังแนวหดหู่ และแนวของหนังเรื่องนี้ก็เข้าทางดิฉันมากๆ แต่ทำไมดิฉันถึงรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันขาด magic อะไรบางอย่างไปก็ไม่รู้ ไม่เหมือนกับหนังเด็กหดหู่อย่าง CLASS TRIP (A+, CLAUDE MILLER), RATCATCHER (1999, LYNNE RAMSAY, A) และ WORLDMASTER (ZORAN SOLOMUN, A+++++) ที่ดิฉันรู้สึกว่ามันมี MAGIC อะไรบางอย่างอยู่ในหนัง


วันนี้ได้ดูหนังไป 4 เรื่องค่ะ ซึ่งได้แก่
1.TREASURE ISLAND (1999, SCOTT KING, A+++++)
2.THE SOUL OF A MAN (2003, WIM WENDERS, A-)
3.ODE TO COLOGNE: THE BAP FILM (2002, WIM WENDERS, B+)
4.CONNIE AND CARLA (2004, MICHAEL LEMBECK, B) ฉายที่เมเจอร์เอกมัย

ทั้ง TREASURE ISLAND และ CONNIE AND CARLA ต่างก็เป็นหนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเกย์ค่ะ

TREASURE ISLAND เป็นหนังที่ดูแล้วงงมากๆ ดูแล้วไม่เข้าใจอะไรทั้งสิ้นว่าเกิดอะไรขึ้นในเรื่อง แต่หนังเรื่องนี้ก็มีจุดที่ชอบหลายจุดด้วยกัน ซึ่งรวมถึง

1.ก่อนที่หนังเรื่องนี้จะเริ่มต้นเรื่อง คนดูจะได้ดูหนังตัวอย่างเรื่อง JOHN Q NAZI กับหนังข่าวสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนแรกดิฉันก็นึกว่าคนฉายหนังเอาหนังตัวอย่างกับหนังข่าวเก่าๆมาฉายให้ดู แต่ปรากฏว่าจริงๆแล้วหนังตัวอย่างกับหนังข่าวที่เห็นมันเป็นส่วนหนึ่งของตัวหนังเรื่อง TREASURE ISLAND ด้วย เรียกได้ว่าหนังเรื่องนี้หลอกคนดูอย่างดิฉันได้สนิทจริงๆ ตอนแรกก็นึกสงสัยอยู่แล้วว่าทำไมฟิล์มหนังข่าวสมัยสงครามโลกครั้งที่สองมันถึงชัดแจ๋วแหววอย่างนี้

2.ชอบพระเอกหนังเรื่องนี้ค่ะ หน้าตาน่ารักถูกสเปคดิฉันมากๆ

3.ชอบที่พระเอกหนังเรื่องนี้มักโชว์อวัยวะเพศให้เห็น ถึงแม้จะเห็นไม่ค่อยชัด แต่ก็ดูแล้วฮามาก

4.มีฉากหลายฉากที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้ โดยเฉพาะฉาก

4.1 ฉากที่ชายหนุ่มคนนึงโชว์อวัยวะเพศชายให้ชายหนุ่มอีกคนนึงดู แล้วชายหนุ่มที่เป็นคนดูก็ชี้มือไปที่อวัยวะเพศชายของคนโชว์แล้วก็พูดว่า

คนดู—“WHAT’S THAT?”
คนโชว์—“WHAT’S WHAT?”
คนดู—“WHAT’S THAT?”
คนโชว์—“WHAT’S WHAT?”
คนดู—“WHAT’S THAT?”
คนโชว์—“WHAT’S WHAT?”
แล้วก็เป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อยๆเป็นเวลานานมาก ดิฉันก็ไม่รู้เหมือนกันว่าฉากนี้มันสื่อถึงอะไร แต่มันถูกใจจริงๆ

4.2 ฉากการร่วมรักระหว่างชายสองหญิง 1 ที่มีหลายฉากในเรื่องนี้ ซึ่งรวมถึงฉากที่ทำกันกลางโบสถ์ ฉากพวกนี้ไม่ได้ให้อารมณ์อีโรติก แต่ดูแล้วฮามาก และถึงแม้ผู้ชาย 2 คนในฉากนี้จะร่วมรักกับผู้หญิง แต่อารมณ์ของฉากมันทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าจริงๆแล้วผู้ชายคนนึงอาจจะเป็นแอบจิต และใช้ผู้หญิงเป็นเหมือนสื่อกลางไปร่วมรักกับผู้ชายอีกคน

ส่วน CONNIE AND CARLA นั้นเป็นหนังที่ไม่เข้าทางดิฉันค่ะ เพราะมันมีส่วนผสมของหนังตลกเยอะเกินไปหน่อย และมีความ FEEL GOOD มากเกินไป ดิฉันชอบความเป็นดรามาที่ซ่อนอยู่ในหนังเรื่องนี้มากกว่า โดยเฉพาะตรงส่วนความสัมพันธ์ระหว่างพี่ชายกับน้องชาย น่าเสียดายที่หนังเรื่องนี้เน้นเล่าเรื่องของผู้หญิงสองคน ในขณะที่ตัวละครเกย์หลายคนในหนังเรื่องนี้กลายเป็นเพียงตัวประกอบเท่านั้น ดิฉันคิดว่าถ้าหากหนังเรื่องนี้สลับเอาพล็อตพี่ชายกับน้องชายขึ้นมาเป็นพล็อตใหญ่ของเรื่อง และเน้นใส่ “ชีวิต” เข้าไปในตัวละครในเรื่อง แทนที่จะใส่เสียงหัวเราะเข้าไปในเรื่อง ดิฉันอาจจะเสียน้ำตาให้กับหนังเรื่องนี้มากเท่ากับที่เสียให้ TORCH SONG TRILOGY (1988, PAUL BOGART, A+++++) ก็ได้

ฉากที่ชอบที่สุดใน CONNIE AND CARLA ก็คือฉากที่ยัยคอนนีกับคาร์ลายืนอยู่เฉยๆค่ะ ในขณะที่พี่ชาย, น้องชาย และแฟนของน้องชายกำลังปะทะอารมณ์กัน ดิฉันคิดว่าการที่ฉากที่ซึ้งที่สุดในหนังเรื่องนี้เป็นฉากของตัวประกอบ ไม่ใช่ฉากของตัวเอกของเรื่อง อาจจะแสดงให้เห็นว่าหนังเรื่องนี้ให้น้ำหนักตัวละครผิดพลาดก็เป็นได้


MOST DESIRABLE ACTORS
DASH MIHOK—CONNIE & CARLA + THE DAY AFTER TOMORROW
LANCE BAKER—TREASURE ISLAND

Sunday, September 12, 2004

13 GOING ON 30 (A+)

หนังที่ได้ดูในระยะนี้

1.ETERNAL SUNSHINE OF THE SPOTLESS MIND (A+/A)
ดูแล้วซึ้งมาก ถึงแม้ว่าจะชอบ NABI (A+++++) มากกว่าก็ตาม

หนึ่งในฉากที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้คือฉากที่พระเอกพยายามทำให้อีไลจาห์ วูดหันหน้ามาหาเขา แต่ไม่ว่าจะทำยังไง อีไลจาห์ วูดก็หันหลังตลอด ดูแล้วมันน่ากลัวในแบบแปลกๆดี

2.KAZA-HANA (2000, SHINJI SOOMAI, A)

3.BEAR CUB (A/A-)
ชอบความธรรมดาของหนังเรื่องนี้ รู้สึกว่าหนังมันไม่พยายามบีบเค้นอารมณ์ดี ตอนก่อนเข้าไปดู นึกว่าหนังเรื่องนี้จะพยายามขายความน่ารักของตัวละคร หรือพยายามทำซึ้งอย่างเต็มที่ แต่ปรากฏว่าหนังไม่ได้พยายามทำให้ตัวละครน่ารักมากเกินไป, ไม่ได้พยายามขายเสียงหัวเราะ และไม่ได้พยายามทำซึ้งเกินเหตุ ตัวละครค่อนข้างจะเป็นธรรมชาติพอสมควร ก็เลยประทับใจกับหนังเรื่องนี้มากค่ะ

4.SHUTTER (A-/B+)
ตอนดูหนังเรื่องนี้ในโรงไม่รู้สึกกลัวเท่าไหร่ เพราะรู้สึกฮากับปฏิกิริยาวี้ดว้ายกระตู้วู้ของคนในโรงมากกว่า แต่พอกลับถึงบ้านจะเข้านอนเท่านั้นแหละ ความทรงจำเก่าๆที่มีต่อคอลัมน์ “ประสบการณ์ปีศาจ” ในนิตยสารต่วยตูนพิเศษ มันผุดทะลักขึ้นมาจากไหนไม่รู้ ตอนเด็กๆดิฉันชอบอ่านคอลัมน์นี้มาก แต่ก็ไม่ได้อ่านคอลัมน์นี้มานาน 15 ปีแล้ว หนังเรื่อง SHUTTER มันไปเปิดผนึกความทรงจำที่มีต่อคอลัมน์นี้ขึ้นมาได้ยังไงก็ไม่รู้ สรุปว่าคืนนั้นเลยเปิดไฟนอน ปรากฏว่านอนไปได้พักนึง ไฟเกิดเสียขึ้นมา ใจก็เลยไม่ดีเข้าไปใหญ่ รู้สึกเลยว่าการดู SHUTTER มันเหมือนกับการกินส้มตำเผ็ดๆ คือมันอร่อยดีตอนกิน แต่หลังจากนั้นมันตามมาด้วยความทรมานอย่างมาก


13 going on 30

ตอนก่อนเข้าไปดู 13 GOING ON 30 ก็รู้สึกสงสัยว่าเอ๊ะ หนังเรื่องนี้มันจะดีกว่า MEAN GIRLS (A-) จริงๆหรือ เพราะตัวเองก็ประทับใจ MEAN GIRLS มากพอสมควร แต่พอเข้าไปดู 13 GOING ON 30 ก็รู้ว่าหนังสองเรื่องนี้มันคนละทางกันเลย ถึงจะเป็นหนังเจาะคนดูกลุ่มผู้หญิงเหมือนกันก็ตาม เพราะ 13 GOING ON 30 เป็นหนังที่เหมาะกับคนดูช่างฝันวัย 30 มากกว่าวัย 13 อย่างมากๆ และอีกปัจจัยนึงที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้อย่างมากๆก็คือการไม่มี “speech” ก่อนจบเหมือนกับ mean girls

จุดอื่นๆที่ทำให้ชอบ 13 GOING ON 30

1.ดิฉันชอบเพลง CRAZY FOR YOU ของมาดอนนามากค่ะ เพลงนี้เป็นเพลงที่ผูกพันกับชีวิตวัยรุ่นของดิฉันอย่างมากๆ และหนังเรื่องนี้ก็นำเพลงนี้มาใช้ได้อย่างถูกใจจริงๆ โดยเฉพาะตรงท่อนสร้อยของเพลงนี้ที่เข้ากับหนังอย่างมากๆ

2.ดิฉันชอบหนังที่มีการตบตีกันในที่ทำงานค่ะ มันดูแล้วอินมากๆ และฉากที่มีการด่ากันบางฉากในเรื่องนี้ มันทำให้นึกถึงหนึ่งในละครโทรทัศน์ที่ดิฉันชอบที่สุดในชีวิต นั่นก็คือ MELROSE PLACE (A+++++) มันคือละครที่เน่าที่สุด และดูแล้วมีความสุขที่สุด เพราะทั้งเรื่องมีแต่ผู้หญิงตบตีกันอย่างรุนแรง

3.ชอบหนังที่นางเอกเปลี่ยนจากคนดีมาเป็นคนเลวค่ะ ถึงแม้ว่าในหนังเรื่องนี้เราจะไม่ได้เห็นความเลวของนางเอกกับตาตัวเองก็ตาม เราได้ฟังแต่เพียงคำบอกเล่าเกี่ยวกับความเลวของเธอเท่านั้น แต่มันก็ดูแล้วสะใจดีที่นางเอกไม่ใช่คนดีสักเท่าไหร่

อย่างไรก็ดี 13 going on 30 ไม่ได้แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการในทางลบของนางเอกตรงจุดนี้ เพราะจุดประสงค์ของหนังไม่ใช่เรื่องนั้น หากพูดถึงหนังที่แสดงให้เห็นพัฒนาการในทางลบของนางเอกแล้ว MEAN GIRLS อาจจะแสดงตรงจุดนั้นได้ดีกว่า ส่วนเรื่องที่ดิฉันคิดว่าดีที่สุดในการแสดงพัฒนาการในทางลบของนางเอก ก็คือละครทีวีฮ่องกงเรื่อง CONSCIENCE (A+++++) ที่นำแสดงโดยเส้าเหม่ยฉีและมาฉายทางช่อง 3 เมื่อหลายปีก่อนค่ะ ไม่รู้ใครยังจำละครเรื่องนี้ได้อยู่หรือเปล่า เรื่องที่นางเอกตอนแรกเป็นคนน่าสงสาร โดนคนอื่นกลั่นแกล้งรังแกอยู่เสมอ แล้วนางเอกก็ค่อยๆเลวขึ้นเรื่อยๆ จำได้ว่าตอนท้ายๆเรื่องนางเอกเลวหนักถึงขั้นส่งคนไปรุมซ้อมแม่ของตัวเอง

4.ถึงแม้หนังเรื่องนี้จะมีเหตุการณ์ปาฏิหาริย์ แต่ดิฉันก็ชอบหนังเรื่องนี้มากตรงที่มันทำให้ดิฉันรู้ว่าในชีวิตจริงของเรานั้น มันไม่มีทางที่ปาฏิหาริย์อย่างนี้จะเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นถ้าหากเราทำผิดอะไรไป ต่อให้เราแก้ไขจนสุดความสามารถยังไง มันก็อาจจะสายไปแล้ว ชอบการตัดสินใจของพระเอกในช่วงท้ายเรื่องนี้มาก

5.หนังเรื่องนี้มีฉากที่ทำให้ดิฉันรู้สึกจี๊ด, มีอารมณ์ร่วม หรือรู้สึกว่ามันน่ารักหลายฉาก ทั้งฉากที่นางเอกพูดถึงนิตยสารว่า “เราต้องใส่ “ชีวิต” เข้าไปในนิตยสาร”, ฉากที่เธอเอานิตยสารของคู่แข่งไปแอบไว้อีกจุดนึง, ฉากที่เพื่อนนางเอกเข้าใจผิดเกี่ยวกับผู้ชายที่นางเอกปิ๊งในบาร์ และฉากที่นางเอกเล่าเรื่องของตัวเองให้กลุ่มเด็กๆฟังแล้วขนลุก

6.ดิฉันเป็นคนที่หมกมุ่นกับอดีตค่ะ มักจะคิดถึงอดีตสมัยยังสาวอยู่เสมอ หนังเรื่องนี้ก็เลยเข้าทางดิฉันมากๆ

ส่วนเรื่องส่วนไม่ดีของ 13 going on 30 นั้นก็คงมีมากมายค่ะ หนังเรื่องนี้อาจจะเต็มไปด้วยช่องโหว่โง่ๆมากมาย แต่ขอแค่มันทำให้ดิฉันร้องไห้ ดิฉันก็ไม่ติดใจอะไรกับข้อบกพร่องของมัน นี่เป็นหนังเซอร์ไพรส์เรื่องนึงสำหรับดิฉันในปีนี้ เซอร์ไพรส์พอๆกับ MINDHUNTERS (A+) ของเรนนี ฮาร์ลิน เพราะหนังสองเรื่องนี้เป็นหนังสูตรสำเร็จที่คล้ายกับหนังอีก 100 เรื่องที่เคยดูมาแล้ว แต่ทำไมหนังสองเรื่องนี้มันถึงทำให้รู้สึกอินมากกว่าอีก 100 เรื่องที่ดูมาก็ไม่รู้

เคยดู TADPOLE (B) ของแกรี วินิค มาก่อน ซึ่งก็รู้สึกว่าน่ารักดี แต่ไม่ได้ทึ่งกับมันสักเท่าไหร่ ก็เลยไม่ได้ตั้งความหวังอะไรทั้งสิ้นกับ 13 GOING ON 30 นอกจากนี้ ดิฉันก็ไม่เคยชอบเจนนิเฟอร์ การ์เนอร์มาก่อนเลยด้วย แต่ดูเรื่องนี้แล้วทำให้เริ่มมองเธอในแง่ดี เหมือนกับที่ดู ELLA ENCHANTED แล้วทำให้เลิกหมั่นไส้ anne hathaway

Monday, September 06, 2004

RYO IKEBE AND HIROSHI KAWAGUCHI ARE VERY HANDSOME

(copy มาจากเว็บบอร์ดสกรีนเอาท์)

สำหรับตำแหน่ง MOST DESIRABLE ACTOR ประจำเดือนส.ค.นั้น ยังตัดสินใจไม่ได้เลยค่ะว่าจะมอบให้ใครดี เพราะพระเอก MY FIRST BOYFRIEND (A+) ก็น่ารักดี แต่ถ้าพูดถึงรูปร่างกำยำแล้ว ดิฉันชอบ GORDON SCOTT จากหนังเรื่อง TARZAN’S FIGHT FOR LIFE (1958) ที่มาฉายทางช่อง CINEMAX ในเดือนส.ค.ค่ะ อยากให้เคเบิลทีวีเอาหนังกลุ่มทาร์ซานมาฉายให้ดูเยอะๆจังเลย

ไปดูหนังของยาสุจิโร่ โอสุที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์มา 3 เรื่อง ซึ่งก็คือ EARLY SPRING (1956, A+), LATE AUTUMN (1960, A-) และ AN AUTUMN AFTERNOON (1962, A-) ดูแล้วก็รู้สึกปิ๊งRYO IKEBE พระเอกหนังเรื่อง EARLY SPRING มาก ที่หนังเรื่องนี้ได้ A+ ก็เป็นเพราะสาเหตุสำคัญมาจากพระเอกนี่แหละ ปกติไม่ค่อยเจอพระเอกญี่ปุ่นที่ดูได้ในหนังยุคโบราณสักเท่าไหร่ โตชิโร่ มิฟูเน่ก็ไม่ใช่ดาราที่กระตุ้น DESIRE ในตัวดิฉันเท่าไหร่นัก

พระเอกหนังญี่ปุ่นยุคเก่าอีกคนที่ดิฉัน WANT มากๆคือพระเอกหนังเรื่อง HER BROTHER (1960, KON ICHIKAWA, B+) ที่มาเปิดฉายที่ลิโดในปีที่แล้วค่ะ ดาราที่เล่นเป็นพระเอกชื่อ HIROSHI KAWAGUCHI หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับพี่สาวที่พยายามทำทุกอย่างเพื่อช่วยเหลือน้องชายที่มีนิสัยเกกมะเหรกเกเร ขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ดิฉันรู้สึกลุ้นจนตัวโก่งให้พี่สาวคนนี้มีเซ็กส์กับน้องชายของตัวเอง แต่ปรากฏว่าทั้งสองไม่มีอะไรกัน ดิฉันก็เลยชอบหนังเรื่องนี้แค่ในระดับ B+ เท่านั้น

หนังที่ได้ดูในระยะนี้
1.13 GOING ON 30 (2004, GARY WINICK, A+)
2.THE GHOST SHIP (1943, MARK ROBSON, A+)
3.ISLE OF TH E DEAD (1945, MARK ROBSON, A+)
4.BEDLAM (1946, MARK ROBSON, A+)
5.THE SEVENTH VICTIM (1943, MARK ROBSON, A)
6.SUPER SIZE ME (A)
7.THE BODY SNATCHER (1945, ROBERT WISE, A-)
8.ALL ABOUT OUR HOUSE (KOKI MITANI, B+)
9.THE CURSE OF THE CAT PEOPLE (1944, ROBERT WISE, GUNTHER VON FRITSCH, B+)
10.THE LAST MISSION (WOJCIECH WOJCIK, B)
11.TWINS EFFECT 2 (COREY YUEN + PATRICK LEUNG, B)
12.THE TERMINAL (2004, STEVEN SPIELBERG, B-)

FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
JUDY GREER—13 GOING ON 30 + THE VILLAGE

ละครเวทีที่ได้ดู
หมาตอน (A+)

ตอนนี้ 13 GOING ON 30 ติดอันดับหนึ่งในหนังน้ำเน่าที่ชอบที่สุดในปีนี้ แข่งกับหนังเรื่อง MY LIFE WITHOUT ME (2003, ISABEL COIXET, A+) ซึ่งทั้งสองเรื่องนี้นำแสดงโดย MARK RUFFALO เหมือนกัน และก็ชอบเพลงประกอบในหนังสองเรื่องนี้มากๆเหมือนกัน

หลังจากดูหนังที่กำกับโดย MARK ROBSON ไป 4 เรื่อง ตอนนี้ MARK ROBSON ติดอันดับหนึ่งในผู้กำกับที่ชอบที่สุดในชีวิต หนังของเขามีจุดที่ชอบมากๆที่ตรงกับหนังเรื่อง GOTHIKA (A+, MATHIEU KASSOVITZ) และ DIVINE INTERVENTION (A+, ELIA SULEIMAN) นั่นก็คือผู้ร้ายในหนังของเขามักจะเป็นผู้รักษากฎหมายหรือคนที่รักกฎระเบียบ และผู้หญิงในหนังของเขามีหน้าที่ลุกขึ้นมาฆ่าผู้รักษากฎหมายเหล่านี้

หนังเรื่อง ISLE OF THE DEAD มีประโยคที่ชอบที่สุดเป็นอันดับ 2 ของปีนี้ค่ะ นั่นก็คือประโยคที่นางเอกพูดว่า “กฎหมายบางกฎเป็นสิ่งที่ผิด กฎหมายบางกฎเป็นสิ่งที่โหดร้าย ดังนั้นคนที่ยึดแต่หลักกฎหมายจึงเป็นทั้งคนที่ผิดและโหดร้าย”

ส่วนประโยคที่ชอบที่สุดในปีนี้ยังคงเป็นประโยคที่คุณยายพูดกับหลานสาวในหนังเรื่อง THE FLOWER OF EVIL (2003, CLAUDE CHABROL, A+) ค่ะ

Saturday, September 04, 2004

Notes on Claude Chabrol

http://www.thaitle.com/friday/webboard/02472.html

LE BOUCHER (A) ดูนานแล้ว แต่จำรายละเอียดไม่ได้แล้ว ถ้าจำไม่ผิด พระเอกนางเอกรักกัน พระเอกเป็นโรคจิต แต่ก็พยายามสู้กับแรงขับด้านมืดในใจตัวเอง แต่ก็สู้ไม่ได้ ส่วนนางเอกก็รักพระเอก และถึงแม้เธอจะรู้ว่าเขาเป็นฆาตกร เธอก็ยังรักเขาอยู่โดยไม่สามารถบังคับใจตัวเองได้เช่นกัน

LE BOUCHER อาจจะมีความเป็นหนังทริลเลอร์อยู่ในตัว โดยเฉพาะฉากหยดเลือดตรงปากถ้ำเป็นฉากที่สวยสยองติดตามากๆ แต่จริงๆแล้วหนังของ CLAUDE CHABROL ส่วนใหญ่ไม่ใช่หนังทริลเลอร์ที่ “ต้องการทำให้คนดูส่วนใหญ่รู้สึกตื่นเต้น” หนังของเขาเป็นหนังดรามา/จิตวิทยา/วิเคราะห์เสียดสีมนุษย์ในด้านมืดที่เพียงแค่หยิบยืมเอาองค์ประกอบของหนังทริลเลอร์มาใช้บางส่วนเท่านั้น สิ่งที่ทำให้ดิฉันหลงรัก LE BOUCHER อย่างมากๆ ก็คือ “ความรัก” ของตัวละครในเรื่องนี้ มีหนังเกี่ยวกับฆาตกรโรคจิตกี่เรื่องกันที่นำเสนอความรักของฆาตกรโรคจิตได้อย่างซาบซึ้งน่าสงสารและน่าเห็นอกเห็นใจเท่าเรื่องนี้ (ดิฉันคิดว่าพระเอกนางเอกใน LE BOUCHER รู้ผิดชอบชั่วดีมากกว่าพระเอกนางเอกใน NATURAL BORN KILLERS) หนังเกี่ยวกับฆาตกรโรคจิตส่วนใหญ่มักเน้นความน่าตื่นเต้นและฉากลุ้นระทึกโดยเฉพาะหนังฮอลลีวู้ด แต่หนังเกี่ยวกับฆาตกรโรคจิตจริงๆแล้วยังมีอีกหลากหลายเฉดสีให้เลือก ตัวอย่างเช่น BAISE-MOI และ FUNNY GAME

เคยได้ยินนักวิจารณ์บางคนพูดถึงหนังบางเรื่องของชาโบรลว่าเป็นหนังแนว anti-thriller ดิฉันก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคำว่า ANTI-THRILLER แปลว่าอะไร แต่เท่าที่สังเกตมา หนังของชาโบรลมักมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.มีการฆาตกรรมเกิดขึ้นในเรื่อง แต่ประเด็นที่ว่า “ใครเป็นฆาตกร” ไม่ใช่ประเด็นที่มีความสลักสำคัญเลยแม้แต่นิดเดียวในหนังเรื่องนั้น เพื่อนของดิฉันบางคนเกลียดหนังบางเรื่องของชาโบรลมากๆ เพราะบางทีชาโบรลเฉลยว่า “ใครเป็นฆาตกร” โดยใช้วิธีการที่ดูเหมือนโง่มากๆ ไม่มีการเร้าอารมณ์อะไรทั้งสิ้นตรงจุดนั้น บทจะเฉลย ก็เฉลยขึ้นมาดื้อๆ โต้งๆ ตรงไปตรงมา อยู่ดีๆก็เฉลยขึ้นมาเฉยๆซะอย่างนั้นแหละ ขัดกับหลักเหตุผลกฎเกณฑ์ของหนังทริลเลอร์อย่างสิ้นเชิง หนังของชาโบรลอาจจะแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่ได้รับจากอัลเฟรด ฮิทช์ค็อก แต่หนังของชาโบรล “ลงลึกในจิตใจและจิตวิญญาณของตัวละคร” มากกว่าจะให้ความสนใจกับ “ความน่าตื่นเต้นของพล็อตเรื่อง”


2.หนังของเขาบางเรื่องถ่ายทอด “ความเป็นมนุษย์” ที่อยู่ในตัวฆาตกร ความเป็นมนุษย์ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความมีมนุษยธรรม แต่หมายถึงความรักโลภโกรธหลง, แง่มุมเล็กๆน้อยๆที่พบได้ในชีวิตมนุษย์ทั่วๆไป ซึ่งมีปรากฏอยู่ในตัวฆาตกร และแสดงให้เห็นว่าฆาตกรในหนังของเขามีจุดที่น่าสงสารเห็นใจยังไงบ้าง

3.ชนชั้นกลางมักถูกเสียดสีในหนังของเขา

4.หนังของเขามักยึดกฎ “ใครเลว คนนั้นรอด” เพราะตัวละครที่มีความดีงามอยู่ในตัวมากที่สุดจะถูกฆ่าตายเป็นรายแรกๆ ตัวละครที่มีทั้งดีและเลวจะถูกฆ่าตายตอนกลางเรื่อง ตัวละครที่เลวมากหรือแร่ดมากๆจะเป็นผู้ชนะในตอนจบ คนที่ชอบหนังประเภท “ธรรมะชนะอธรรม” ห้ามดูหนังของเขาเป็นอันขาด

5.หนังหลายเรื่องของเขามีเนื้อหาเกี่ยวกับ “ผัวเมียละเหี่ยใจ” หรือสามีภรรยาที่คบชู้

6.หนังของเขาอาจจะจัดอยู่ในกลุ่ม FEEL-BAD MOVIES และเหมาะกับคนที่ชอบหนังของไรเนอร์ แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์ แต่ไม่เหมาะกับคนที่ชอบหนังส่วนใหญ่ของสตีเวน สปีลเบิร์ก หนังของเขาสอนให้รู้ว่า “อย่าไว้ใจมนุษย์” เพราะมนุษย์มีด้านมืดที่น่ากลัวซ่อนอยู่ในตัวอย่างยากที่จะหาคำอธิบายได้ และเด็กๆก็มักถูกฆ่าตายในหนังของเขา

7.หนังของเขา “ช้า” กว่าหนังฮอลลีวู้ด และเน้นการ “พัฒนาทางอารมณ์” อย่างช้าๆ หรือการเก็บกดทางอารมณ์ทีละเล็กทีละน้อย เหมือนกับเปลวไฟที่ค่อยๆทวีความร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ (slow-burning) เพื่อระเบิดอารมณ์ออกมาในช่วงท้ายเรื่อง

8.หนังของเขาไม่ได้แยกตัวละครเป็นฝ่ายถูกฝ่ายผิด พระเอก/ผู้ร้าย แต่ตัวละครส่วนใหญ่ในหนังของเขาจะมีความผิดบาปต่างๆกันไป

เคยดูหนังสั้นของนิสิตจุฬาเรื่องนึงเมื่อหลายปีก่อน ดูแล้วก็รู้สึกว่ามันมีอะไรคล้องจองกับหนังของชาโบรลเหมือนกัน เพราะหนังเรื่องนั้นเล่าเรื่องของผู้หญิงที่วางแผนจะฆ่าสามี แต่แทนที่หนังจะเน้นไปยังจุดที่ว่าเธอจะฆ่าสามีสำเร็จหรือไม่ การฆ่าจะลุ้นระทึกเพียงใด ใครจะอยู่หรือใครจะตาย ใครจะเป็นฝ่ายชนะในตอนจบ หนังกลับไม่ได้เน้นที่จุดนั้นเลย หนังกลับให้น้ำหนักอย่างมากๆกับอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครขณะวางแผนจะฆ่ามากกว่า และตัวละครในหนังสั้นเรื่องนั้น ก็ทำเหมือนกับว่าการวางแผนฆ่าสามีในครั้งนี้ไม่ใช่สิ่งที่ต้องลุ้นระทึกน่าตื่นเต้นแต่อย่างใด แต่เป็นสิ่งที่ต้องค่อยๆทำอย่างมีสติ

หนังของ CLAUDE CHABROL ที่เคยดู เรียงตามลำดับความชอบ

1.LA CEREMONIE (1995) A+ (อยู่ในกลุ่ม slow burning)

สร้างจากนิยายของ “รูธ เรนเดล” ซึ่งเป็นนักประพันธ์หญิงที่แต่งนิยายเกี่ยวกับคนโรคจิตได้ดีมาก

2.LES BONNES FEMMES (1960) A+

3.COP AU VIN (1985) A+

4.THE COLOR OF LIES (1999) A+ (อยู่ในกลุ่ม “ผัวเมียละเหี่ยใจ”)
มีเด็กถูกฆ่าตายตอนต้นของหนังเรื่องนี้ แต่หนังเรื่องนี้ไม่ต้องการจะให้คนดูลุ้นว่าใครคือฆาตกร แต่ต้องการแสดงให้เห็นว่าเหตุการณ์ฆาตกรรมดังกล่าวส่งผลกระทบทางจิตใจต่อตัวละครบางตัวอย่างไรบ้าง

5.THE FLOWER OF EVIL (2003) A+ (อยู่ในกลุ่ม slow burning)

6.UNE PARTIR DE PLAISIR (1975) A+/A (อยู่ในกลุ่ม “ผัวเมียละเหี่ยใจ”) (อยู่ในกลุ่ม slow burning)

7.STORY OF WOMEN (1988) A+/A
สร้างจากเรื่องจริงของผู้หญิงที่รับจ้างทำแท้งในฝรั่งเศสช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และเป็นผู้หญิงคนสุดท้ายของฝรั่งเศสที่ถูกประหารด้วยกิโยติน หนังแสดง “ความเป็นมนุษย์” ของผู้หญิงคนนี้ได้อย่างน่าประทับใจมากๆ

8.LES BICHES (1968) A (อยู่ในกลุ่ม slow burning)

9.LE BOUCHER (1970) A

10.THE CRY OF THE OWL (1987) A
ในขณะที่พฤติกรรมถ้ำมองในหนังอย่าง PSYCHO, LADY BEWARE และหนังอีกหลายเรื่องถูกนำมาใช้รองรับเหตุการณ์ฆาตกรรมลุ้นระทึกระหว่างฆาตกรนักถ้ำมองกับเหยื่อสาวผู้บริสุทธิ์ THE CRY OF THE OWL ซึ่งสร้างจากนิยายของแพทริเซีย ไฮสมิธ (THE TALENTED MR. RIPLEY, STRANGER ON A TRAIN) กลับนำพฤติกรรมนี้มาใช้ได้อย่างน่าสนใจไม่แพ้ “เอ็กซ์แมน แฟนพันธุ์เอ็กซ์” เพราะ THE CRY OF THE OWL มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายหนุ่มที่ไปถ้ำมองหญิงสาวคนหนึ่ง แต่หญิงสาวคนนี้กลับเป็นฝ่ายที่หันมาตามตื๊อนักถ้ำมองซะเอง

บทสนทนาน่าสนใจใน THE CRY OF THE OWL
หญิงสาว—“คุณเคยบอกว่าฉันเป็นนางในฝันของคุณไม่ใช่หรือ”
ชายหนุ่ม—“นางในฝันก็สมควรจะอยู่แต่ในความฝันเท่านั้น ไม่สมควรจะมาอยู่ในชีวิตจริง”

11.L’ENFER (1994) A (อยู่ในกลุ่ม “ผัวเมียละเหี่ยใจ”)

12.LA FEMME INFIDELE (1969) A (อยู่ในกลุ่ม “ผัวเมียละเหี่ยใจ”) (อยู่ในกลุ่ม slow burning)

13.LE BEAU SERGE (1958) A-

14.THE BEAST MUST DIE (1969) A-

15.LES COUSINS (1959) A-

16.MADAME BOVARY (1991) A- (อยู่ในกลุ่ม “ผัวเมียละเหี่ยใจ”)

17.THE BLOOD OF OTHERS (1984) A-
นำแสดงโดยโจดี้ ฟอสเตอร์

18.WEDDING IN BLOOD (1973) B+ (อยู่ในกลุ่ม “ผัวเมียละเหี่ยใจ”)

19.CLUB EXTINCTION (1991) B+
หนังไซไฟเรื่องนี้สร้างขึ้นเพื่อคารวะ “ฟริทซ์ ลัง” และหนังชุด DR.MABUSE ของลัง

20.A DOUBLE TOUR (1959) B+

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับชาโบรลได้ที่นี่
http://www.filmref.com/directors/dirpages/chabrol.html
http://www.imagesjournal.com/issue09/features/chabrol/article.htm
http://www.sensesofcinema.com/contents/directors/02/chabrol.html

Films In July

These are the films I watched in Bangkok in July:-

(in roughly preferential order)

1. UN HOMME UN VRAI (2003, ARNAUD + JEAN-MARIE LARRIEU) A+
2. ORPHANS OF NKANDLA (2004, BRIAN WOODS) A+
3. KISS OF LIFE (2003, EMILY YOUNG) A+
4. FANDO & LIS (1968, ALEJANDRO JODOROWSKY) A+
5. ACCATTONE (1961, PIER PAOLO PASOLINI) A+
6. THE SHOUT (1978, JERZY SKOLIMOWSKI) A+
7. PERFORMANCE (1970, DONALD CAMMELL + NICOLAS ROEG) A+
8. MALADY DIARY (2004, TEEKADECH WATCHARATHANIN) A+
9. TATORT - AUSGEKLINKT (1988, SYLVIA HOFFMAN) A+
10. SHOOTING RHYMES AND CUTTING VERSES (VARIOUS DIRECTORS) A+

11. THE RETURN (2003, ANDREI ZVYAGINTSEV) A
12. BORN INTO BROTHELS (2004, ROSS KAUFFMAN + ZANA BRISKI) A
13. NOTES FOR AN AFRICAN ORESTES (1975, PIER PAOLO PASOLINI) A
14. INTO THE MIRROR (2003, KIM SEONG-HO) A
15. NIGHT MOVES (1975, ARTHUR PENN) A
16. ANYTHING ELSE (2003, WOODY ALLEN) A
17. PLUMBUM, OR A DANGEROUS GAME (1986, VADIM ABDRASHITOV) A
18. FILLES UNIQUES (2002, PIERRE JOLIVET) A
19. GOOD BYE, LENIN! (2003, WOLFGANG BECKER) A
20. BON VOYAGE (2003, JEAN-PAUL RAPPENEAU) A

21. CATWOMAN (2004, PITOF) A/A-
22. CORTEX (2004, RAOUL GIRARD) A-
23. LIVE FOREVER (2003, JOHN DOWER) A-
24. A LA PETITE SEMAINE (2002, SAM KARMANN) A-
25. SPIDER-MAN 2 (2004, SAM RAIMI) A-
26. LET’S TALK ABOUT IT…HARRIET (2003, CAROL DUFFY CLAY) A-
27. “19” (2000, KAZUSHI WATANABE) A-
28. BRING ME THE HEAD OF ALFREDO GARCIA (1974, SAM PECKINPAH) A-
29. MEAN GIRLS (2004, MARK WATERS) A-
30. DIARY OF A CHAMBERMAID (1964, LUIS BUNUEL) A-

31. POLIZEIRUF 110 - DAS DUELL (1990, THOMAS JACOB) A-
32. BLINDED (2004, ELEANOR YULE) A-
33. TOUCHING THE VOID (2003, KEVIN MACDONALD) B+
34. THE LADYKILLERS (1955, ALEXANDER MACKENDRICK) B+
35. SECRET WINDOW (2004, DAVID KOEPP) B+
36. WHEN THE BELL CHIMED 13 (2002, XAVIER VILLAVERDE) B+
37. LOVE UNDER THE SUN (2003, ANDY LAU) B+
38. I, ROBOT (2004, ALEX PROYAS) B+
39. KING ARTHUR (2004, ANTOINE FUQUA) B+
40. TATORT - THE DELICATESSEN SHOP OWNER (1978, HAJO GIES) B

41. TATORT - TOY STUFFED ANIMALS (1982, HAJO GIES) B
42. THE CHRONICLES OF RIDDICK (2004, DAVID TWOHY) B
43. THE PRICE OF YOUTH (2000, ANDREW LEVINE) B
44. DIRTY DANCING 2: HAVANA NIGHTS (2004, GUY FERLAND) B
45. THE PRINCE & ME (2004, MARTHA COOLIDGE) B-
46. THE COMMITMENT (2004) C
47. THE POET (2003, PAUL HILLS) C