Sunday, August 28, 2005

สีดา:ศรีราม? + HANS-JURGEN SYBERBERG

เมื่อวันเสาร์ได้ไปดูละครเวทีเรื่อง “สีดา: ศรีราม?” (พรรัตน์ ดำรุง, A+) ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬามาค่ะ ชอบสุดๆเลย สิ่งที่ชอบมากในละครเรื่องนี้ก็คือวิธีการนำเสนอที่น่าประทับใจมาก ดูละครเวทีเรื่องนี้แล้วนึกไปถึงหนังเรื่อง HITLER: A FILM FROM GERMANY (1978, HANS-JURGEN SYBERBERG, A+) ซึ่งจริงๆแล้วหนังกับละครเรื่องนี้ไม่ได้มีอะไรเหมือนกันเลย เพียงแต่ดิฉันรู้สึกว่าทั้งสองเรื่องนี้มัน “บ้าสะใจ” ดิฉันมากๆ และมันก็ทำให้ดิฉันรู้สึกตกตะลึงพรึงเพริดทั้งสองเรื่อง

ความรู้สึกบางส่วนที่มีต่อหนังและละครเวทีสองเรื่องนี้

--HITLER: A FILM FROM GERMANY ไม่ได้เล่าเรื่องชีวิตของฮิตเลอร์อย่างตรงไปตรงมา แต่เล่าถึงอะไรต่างๆมากมายนับไม่ถ้วนที่เกี่ยวข้องกับฮิตเลอร์ และเนื้อหาในหนังสามารถแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกันได้หลายส่วน เพียงแต่ว่าทุกส่วนเกี่ยวข้องกับฮิตเลอร์เท่านั้นเอง

--“สีดา: ศรีราม?” ก็ไม่ได้ต้องการจะเล่าประวัติของนางสีดา แต่ดูเหมือนหนังต้องการจะพูดถึงอะไรบางอย่างที่เกี่ยวข้องบทบาท, ภาพพจน์ และความคาดหวังที่มีต่อผู้หญิง โดยละครเวทีเรื่องนี้สามารถแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆได้หลายส่วนที่ดูเหมือนไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกัน

--HITLER: A FILM FROM GERMANY มีหลายส่วนที่มีลักษณะของละครเวที, มนตร์เสน่ห์ของละครเวที, “หมอกควัน” แห่งละครเวที, และมีการใช้เทคนิคการนำเสนอที่แตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของเรื่อง ในบางช่วงตัวละครก็ออกมาเล่นหุ่นเชิด, บางช่วงก็ให้นักดาราศาสตร์ (ถ้าจำไม่ผิด) มาบรรยายให้ผู้ชมฟัง, บางช่วงก็เลียนแบบหนังเรื่อง M, บางช่วงก็พูดถึงลูกน้องฮิตเลอร์, อีกช่วงก็ให้คนใช้ฮิตเลอร์มารำลึกอดีตให้ผู้ชมฟัง

--“สีดา: ศรีราม?” ก็มีเทคนิคการนำเสนอที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเช่นกัน บางช่วงก็ดูเหมือนหนังหลอนของ DEREK JARMAN, บางช่วงก็เป็นละครเวทีที่ตัวละครพูดคุยกันเอง, บางช่วงก็เป็นละครเวทีที่ให้ตัวละครออกมาพูดตรงๆกับผู้ชม (เรียกว่า monologue หรือเปล่า ดิฉันก็ไม่แน่ใจ), บางช่วงก็เป็นการร่ายรำ, บางช่วงก็ฉายสไลด์ แถมยังมีการใช้อะไรคล้ายๆหนังตะลุงมาประกอบด้วย

--แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ HITLER: A FILM FROM GERMANY ไม่ได้ทำให้ดิฉันรู้สึกตื่นตะลึงอย่างสุดขีดกับ “การแสดง” ของนักแสดงในเรื่อง แต่ตื่นตะลึงกับไอเดียของผู้กำกับหนัง ส่วน “สีดา: ศรีราม?” ทำให้ดิฉันรู้สึกตื่นตะลึงกับทั้งการกำกับและการแสดงเป็นอย่างมาก

“สีดา:ศรีราม?” ใช้นักแสดงเยอะมาก บางคนก็อาจจะไม่ดีหรือไม่เด่นเท่าไหร่ แต่มีมากมายหลายคนทีเดียวที่เล่นได้ถูกใจดิฉันมากๆ มีอยู่สองคนที่แสดงอารมณ์ออกมาได้สุดขีดคลั่งจนน่าตกใจมาก, บางคนก็ดูสง่าดี และมีอยู่คนนึง (คนที่ออกมาร่ายรำ) ที่ทำให้ดิฉันรู้สึกว่าเธอเหมาะจะไปอยู่ในหนังของ MARGUERITE DURAS อย่างมากๆ เพราะเธอมีความนิ่งแบบทรงพลัง, ลึกลับ, น่ายำเกรง และดูเป็นเจ้าแม่มากๆ

อย่างไรก็ดี อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้ประทับใจสุดๆกับละครเวทีเรื่องนี้ ก็คือ “แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้ชม” ค่ะ ดิฉันก็ไม่รู้เหมือนกันว่าแบบสอบถามทั่วๆไปมีคำถามอย่างนี้หรือเปล่า เพราะดิฉันไม่ค่อยได้ตอบแบบสอบถามเท่าไหร่ แต่แบบสอบถามนี้มีคำถามนึงที่มี CHOICE ที่ประทับใจดิฉันมากๆ นั่นก็คือคำถามที่ว่า

ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม

เพศ

--ชาย

--หญิง

--อื่นๆ ระบุ.....

ชอบมากค่ะที่ “เพศ” มี CHOICE ให้เลือกมากกว่าสอง


“สีดา: ศรีราม?” จะแสดงถึงวันที่ 4 ก.ย. ที่โรงละครอักษรศาสตร์ บัตรราคา 200 บาท นิสิต 150 บาทแสดงวันพฤหัสบดี รอบ 18.30 น., ศุกร์ รอบ 18.30 น., เสาร์ รอบ 14.00 และ 18.30 น. และอาทิตย์ รอบ 14.00 น. สอบถาม โทร. 01-559-7252


ตอบคุณ OLIVER

เห็นด้วยกับสิ่งที่คุณ OLIVER เขียนถึงในหลายๆเรื่องเลยค่ะ โดยเฉพาะในเรื่องของหนัง ABOUT LOVE (A+)

เคยชอบ VINCE VAUGHN มากๆตอนที่เขาเล่น THE LOST WORLD: JURASSIC PARK แต่หลังจากเขาเจอ “เจ.โล” เข้าไปใน THE CELL ก็รู้สึกว่าเขาดูเหี่ยวๆยังไงไม่รู้

ได้ดู MAURICE เวอร์ชันไม่มีซับไตเติลเหมือนกันเลย จำได้ว่าดูตอนเด็กๆ ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ แต่ก็รู้สึกว่าหนังสวยมากๆ

ชอบประโยคจาก WIN A DATE WITH TAD HAMILTON ที่คุณ OLIVER ยกมามากๆค่ะ



ตอบคุณอ้วน

--ในนิตยสาร REVERSE SHOT มีบทวิเคราะห์ THE GREEN RAY (A+) หนังโปรดของคุณอ้วนด้วยค่ะ
http://www.reverseshot.com/spring04/rayonvert.html

--เห็นคุณอ้วนเคยดู INDIA SONG (MARGUERITE DURAS, A+) ก็เลยอยากแนะนำว่า ถ้าหากคุณอ้วนสนใจอยากอ่านบทความเกี่ยวกับหนังของ MARGUERITE DURAS ก็สามารถอ่านได้ที่นี่ค่ะ

1.อันนี้เป็นบทวิจารณ์หนังเรื่อง WOMEN OF THE GANGES ที่กำกับโดย DURAS ค่ะ โดยในบทวิจารณ์นี้มีการพูดถึงบทสัมภาษณ์ DURAS โดย BENOIT JACQUOT ด้วย
http://www.ejumpcut.org/archive/onlinessays/JC05folder/WomanOfGanges.html

2.สิ่งที่น่าสนใจมากๆก็คือบทวิจารณ์ WOMEN OF THE GANGES ข้างบนนั้น ก่อให้เกิดการตบตีกันอย่างรุนแรงระหว่างนักวิจารณ์ตามมาค่ะ สามารถอ่านเรื่องราวการด่าทอตบตีกันระหว่างนักวิจารณ์ เพราะ WOMEN OF THE GANGES เป็นต้นเหตุ ได้ที่

http://www.ejumpcut.org/archive/onlinessays/JC05folder/DurasDialog.html

ในการตบตีกันระหว่างนักวิจารณ์ครั้งนั้น มีการพูดถึงประเด็นเรื่องภาษาของผู้หญิงและภาษาของผู้ชายด้วยค่ะ และมีการยกข้อความที่ทำให้ดิฉันรู้สึกประทับใจสุดๆมาใส่ไว้ด้วย ซึ่งก็คือข้อความนี้

“The women say, unhappy one, men have expelled you from the world of symbols, and yet they have given you names, they have called you slave, you unhappy slave. Masters, they have rights as masters. They write, of their authority to accord names, that it goes back so far that the origin of language itself may be considered an act of authority emanating from those who dominate. Thus they say that they have said, this is such or such a thing, they have attached a particular word to an object or a fact and thereby consider themselves to have appropriated it. The women say, so doing the men have bawled shouted with all their might to reduce you to silence. The women say, the language you speak poisons your glottis tongue palate lips. They say, the language you speak is made up of words that are killing you. They say, the language you speak is made up of signs that rightly speaking designate what men have appropriated. Whatever they have not laid hands on, whatever they have not pounced on like many-eyed birds of prey, does not appear in the language you speak. This is apparent precisely in the intervals that your masters have not been able to fill with their words of proprietors and possessors, this can be found in the gaps, in all that which is not a continuation of their discourse, in the zero, the 0, the perfect circle that you invent to imprison them and overthrow them.”

—Monique Wittig, The Guerrillieres, Paris, 1969 (trans. David LeVay).

(หนังบางเรื่องของ DURAS อย่างเช่นเรื่อง NATHALIE GRANGER (A+) ก็มีฉากที่ทำให้นักวิจารณ์ตีความว่าเป็น “ฉากที่ผู้หญิงทำลายภาษาของเพศชาย” เหมือนกัน)

--บทความที่อยากอ่าน แต่ยังไม่มีเวลาอ่านในตอนนี้ก็คือบทความเกี่ยวกับ THE DEVIL, PROBABLY (ROBERT BRESSON, A+)

http://www.horschamp.qc.ca/new_offscreen/transcendentalstyle_pt1.html
http://www.horschamp.qc.ca/new_offscreen/transcendentalstyle_pt2.html



วันนี้เพิ่งได้ลองเข้าไปอ่านนิตยสารออนไลน์ REVERSE SHOT ค่ะ เห็นมีบทความน่าสนใจมากมาย ซึ่งรวมถึง

1.บทสัมภาษณ์พี่เจ้ย
http://www.reverseshot.com/summer05/apichatpong.html

2.การนำหนังตะวันออกกับหนังตะวันตกมาตบกันเป็นคู่ๆ โดยคู่ตบที่น่าสนใจได้แก่

2.1 MULHOLLAND MALADY
http://www.reverseshot.com/summer05/tropicalmull.html

2.2 MYSTERIOUS SLACKERS AT NOON
http://www.reverseshot.com/summer05/mysteriousslacker.html

2.3 LAST LOVE IN THE PUNCH-DRUNK UNIVERSE
http://www.reverseshot.com/summer05/lastpunch.html

2.4 SUNRISE CAFE
http://www.reverseshot.com/summer05/cafesunrise.html

2.5 TURNING GARDEN GATE
http://www.reverseshot.com/summer05/turninggarden.html

2.6 ALL ABOUT LILY CALLAR
http://www.reverseshot.com/summer05/lilymorvern.html

2.7 เกิด ชรา
http://www.reverseshot.com/summer05/sharabirth.html

Saturday, August 27, 2005

CUTE DENNIS HOPPER

สิ่งหนึ่งที่รู้สึกว่าฮาดีใน LAND OF THE DEAD ก็คือ“ผีเชียร์ลีดเดอร์”

รู้สึกว่าภาพหลายภาพในหนังเรื่องนี้ติดตามาก

เห็นเดนนิส ฮอปเปอร์ใน LAND OF THE DEAD ก็เลยนึกขึ้นได้ว่า DENNIS HOPPER ตอนหนุ่มๆน่ารักดี

ดูรูป DENNIS HOPPER ตอนหนุ่มๆได้ที่

http://www.imdb.com/gallery/mptv/1307/Mptv/1307/2495_0004.jpg?path=pgallery&path_key=Hopper,%20Dennis

http://www.poster.net/hopper-dennis/hopper-dennis-photo-xl-dennis-hopper-6210452.jpg

http://www.movieactors.com/freezeframes5/giant294.jpeg

อันนี้เป็นรูปของ DENNIS HOPPER ที่ทำโดย ANDY WARHOL
http://www.artquotes.net/masters/warhol_andy/dennis-hopper-1971.htm

http://www.moma.org/press/departments/media/media_dennis.html


DENNIS HOPPER เคยเล่นหนังประกบกับ JAMES DEAN สองเรื่อง ซึ่งก็คือ REBEL WITHOUT A CAUSE (1955, NICHOLAS RAY, A-) และ GIANT (1956) พอนึกอย่างนี้แล้ว ก็เลยไม่อยากจะจินตนาการเลยว่า ถ้าหากเจมส์ ดีนยังมีชีวิตอยู่ เขาจะมีสภาพแบบ DENNIS HOPPER หรือเปล่า
http://www.imdb.com/name/nm0000454/

--ในขณะที่ REPULSION (A+) นำแสดงโดย CATHERINE DENEUVE หนังเรื่อง CUL-DE-SAC ก็นำแสดงโดย FRANCOISE DORLEAC ซึ่งเป็นพี่สาวของ CATHERINE DENEUVE

FRANCOISE DORLEAC มีอายุมากกว่า CATHERINE DENEUVE 19 เดือน ทั้งสองเป็นลูกของ MAURICE DORLEAC + RENEE DENEUVE ซึ่งเป็นนักแสดงทั้งคู่

การที่ CATHERINE เลือกใช้นามสกุล DENEUVE ในวงการ เป็นเพราะว่าเธอเคารพพี่สาวของเธอและต้องการให้พี่สาวของเธอเป็น DORLEAC เพียงคนเดียว

FRANCOISE DORLEAC เสียชีวิตในอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่เมืองนีซขณะอายุ 25 ปี ในเดือนมิ.ย.ปี 1967

อ่านบทความเกี่ยวกับ FRANCOISE DORLEAC ได้ในนิตยสาร FILM COMMENT เล่มหน้าปก 2046

รู้สึกว่าเทศกาลภาพยนตร์ของคุณเกรียงศักดิ์ ศิลากอง อาจจะถูกโฉลกกับ CATHERINE DENEUVE + FRANCOISE DORLEAC เพราะว่าตอนที่คุณเกรียงศักดิ์จัดเทศกาลหนังในเดือนม.ค.ปี 2003 หนังที่ฉายในเทศกาลนั้นก็คือ THE YOUNG GIRLS OF ROCHEFORT (1967, JACQUES DEMY, A+) ที่นำแสดงโดย DENEUVE + DORLEAC

ดูรูปตอนสาวๆของ CATHERINE DENEUVE + FRANCOISE DORLEAC ได้ที่
http://catdeneuve.free.fr/lespetitschats.jpg

ANTON YELCHIN

ชอบ MIKI IMAI อย่างสุดๆเลยค่ะ แต่ไม่ได้ซื้อเพลงของเธอมาฟังประมาณ 10 ปีแล้ว เคยติดตามฟังเพลงของเธอประมาณปี 1989-1994 ค่ะ

ถ้าหากพูดถึงหนังที่มีประเด็นเรื่อง “การกลับชาติมาเกิดใหม่” แต่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับความเชื่อตะวันออก ก็มีเรื่อง

1.DEFENDING YOUR LIFE (1991, ALBERT BROOKS, B+)

2.AUDREY ROSE (1977, ROBERT WISE)

ในหนังเรื่องนี้ แอนโธนี ฮอปกินส์พยายามชักจูงให้มาร์ชา เมสัน กับจอห์น เบคเชื่อว่าลูกสาวของเมสันกับเบคอาจจะเป็นลูกที่ตายไปแล้วของฮอปกินส์กลับชาติมาเกิดใหม่

3.GENEALOGIES OF A CRIME (1998, RAUL RUIZ)

4.COMEDY OF INNOCENCE (2000, RAUL RUIZ)

5.CHANCES ARE (1989, EMILE ARDOLINO)

ชายหนุ่มวัยรุ่นคนหนึ่ง (โรเบิร์ต ดาวนีย์ จูเนียร์) ไปเยี่ยมบ้านของแฟนสาว และเขาก็ค่อยๆตระหนักว่าที่จริงแล้วเขาอาจจะเป็นสามีที่ตายไปแล้วของแม่ของแฟนสาวกลับชาติมาเกิดใหม่

CYBILLE SHEPHERD, RYAN O’NEAL, MARY STUART MASTERSON ร่วมแสดงในเรื่องนี้

6.DEAD AGAIN (1991, KENNETH BRANAGH, B+)

7.I MARRIED A WITCH (1942, RENE CLAIR)

เวโรนิกา เลครับบทเป็นแม่มดที่เคยถูกเผาทั้งเป็นในอดีตชาติ เธอกลับชาติมาเกิดใหม่และตามล่าล้างแค้นลูกหลานของคนที่เคยเผาเธอ โดยเป้าหมายของเธอคือนักการเมืองเคร่งศาสนาผู้มีความทะเยอทะยาน (เฟรดริค มาร์ช) จุดเด่นของหนังเรื่องนี้คือไอเดียที่พิสดารพันลึกของเวโรนิกา เลคในการลงโทษศัตรู


8.ON A CLEAR DAY YOU CAN SEE FOREVER (1970, VINCENTE MINNELLI)

สาวบรูคลินคนหนึ่งระลึกชาติได้ขณะถูกสะกดจิต เธอจำได้ว่าในอดีตชาติเธอมีชื่อว่าเมลินดา

หนังเรื่องนี้นำแสดงโดยบาร์บรา สไตรแซนด์, อีฟส์ มองตองด์ และแจ็ค นิโคลสัน

ตอบคุณ VALENCE

น่าอิจฉาคุณ VALENCE จังเลยค่ะที่ได้ดู NAKED BOYS SINGING ไม่แน่ใจว่าคุณ lovejuice อาจจะเคยได้ดูละครเรื่องนี้เหมือนกันหรือเปล่า

MICHELANGELO’S MODELS ก็น่าดูมากๆเหมือนกันค่ะ

http://www.theatreforadifference.org/Theatre_For_A_Difference/theatre_for_a_difference.htm

ตอนนี้ละครเพลงที่อยากดูมากๆก็คือเรื่อง TERRORIST! THE MUSICAL ค่ะ ละครเพลงเรื่องนี้เปิดแสดงที่เทศกาลฟรินจ์ในเมืองเอดินเบอระห์ของสก็อตแลนด์ในเดือนส.ค. และรู้สึกว่าจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเนื่องจากเพิ่งเกิดเหตุการณ์ระเบิดลอนดอนในเดือนก.ค.พอดี

http://www.smirnoffunderbelly.co.uk/2005/whatson/reviews.php?shows_id=108


ส่วนละครเพลงเก่าๆของสหรัฐที่อยากดูมากก็คือเรื่อง ASSASSINS ที่เข้าชิงรางวัลโทนีในปีที่แล้วค่ะ เพราะว่าดิฉันชอบหนังเรื่อง THE ASSASSINATION OF RICHARD NIXON (2004, NIELS MUELLER, A+) เป็นอย่างมาก และรู้สึกว่าละครเรื่อง ASSASSINS จะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับแซมมวล บิค ซึ่งเป็นตัวละครในหนังเรื่องนี้ด้วย


ภาพจาก FROZEN
http://www.richardavedon.com/images/editorial2004/newyorker/frozen_full.jpg
http://www.showbusinessweekly.com/images/282/Frozen-in.jpg


ตอบคุณแฟรงเกนสไตน์

ได้ดู TSUMABUKI SATOSHI ใน SAYONARA KURO (2003, JOJI MATSUOKA, A-) แล้ว รู้สึกว่าเขาหล่อน่ารักมากๆเลยค่ะ อยากแปลงร่างเป็นหมาแล้วเข้าไปเลียเขาสักแผล็บสองแผล็บในหนังเรื่องนี้

รู้สึกดีใจค่ะที่ยังมีคนจำ “เงือกสาวเจ้าสระ” ได้ ไม่รู้เหมือนกันว่าจะหาละครญี่ปุ่นเก่าๆแบบนี้ดูได้อีกที่ไหน มีสิทธิว่าที่ญี่ปุ่นเองก็อาจจะหาดูลำบากเหมือนกัน (หรือเปล่า)

ตอนเด็กๆมักจะได้อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังหรือละครญี่ปุ่นจากนิตยสาร “ทีวีรีวิว” และหนังสือการ์ตูน “กิฟท์แม็กกาซีน” ของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ แต่น่าเสียดายที่จำเป็นต้องทิ้งหนังสือพวกนี้ไปหมดแล้ว ไม่รู้เหมือนกันว่าจะหาข้อมูลเหล่านี้จากที่ไหนได้อีก

มีละครญี่ปุ่นและนักร้องญี่ปุ่นหลายคนที่ชื่นชอบในวัยเด็ก แต่แทบไม่สามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ทางอินเทอร์เน็ตได้เลย เพราะข้อมูลส่วนใหญ่คงจะถูกพิมพ์เป็นภาษาญี่ปุ่น ก็เลยไม่สามารถอ่านได้

ถ้าหากคุณแฟรงเกนสไตน์อยากอ่านนิยายแนวลึกลับอิงประวัติศาสตร์แบบ DA VINCI’S CODE หรือ FLICKER (THEODORE ROSZAK, A+) อีก ดิฉันก็ขอแนะนำให้อ่านเรื่อง THE HISTORIAN ของ ELIZABETH KOSTOVA ค่ะ
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/0316011770/qid=1125072545/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/002-5019133-1439233?v=glance&s=books

http://images.amazon.com/images/P/0316011770.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


ตอบน้อง ZM

อิจฉาน้อง ZM มากๆเลยค่ะที่จะได้ไปเที่ยวไร่องุ่น

ส่วนเรื่องความคิดเห็นของคนที่ออกมาในแนว “ชาตินิยม” นั้น ดิฉันไม่เก็บมาใส่ใจหรอกค่ะ เขาจะคิดเห็นอย่างไรก็เรื่องของเขา เราก็แค่รับรู้ว่ามีคนอย่างนี้อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากเรา แต่เราก็แค่ “รับรู้” แต่ไม่ต้องเอามา “ปรุงแต่ง” ในจิตของเราให้เกิดอารมณ์โกรธ เมื่อเราไม่โกรธ เมื่อจิตของเราไม่นำเรื่องนี้มาปรุงแต่ง จิตของเราก็ไม่เป็นทุกข์ ก็ปล่อยให้คนที่คิดอย่างนั้นเขาเป็นทุกข์เป็นร้อนของเขาไปเอง

(ดิฉันเป็นคนที่ไม่มีความเป็น “ชาตินิยม” อยู่ในตัวเองเลยแม้แต่นิดเดียวค่ะ เพราะดิฉันเป็นคนประเภท “องคชาตนิยม” ค่ะ)


ตอบคุณอ้วน

นิตยสาร MOVIE TIME เล่มใหม่ หน้าปก THE DUKES OF HAZZARD มีบทวิจารณ์หนังเรื่อง SOMBRE (1998, PHILIPPE GRANDRIEUX, A+) ด้วยค่ะ โดยผู้เขียนคือคุณอุทิศ เหมะมูล

ชอบ 5x2 ในระดับ A+ เหมือนกันค่ะ ส่วน P.S. ชอบในระดับ A

ดู 5x2 แล้วมีอาการซึมเศร้าไปเลยค่ะ คุณอ้วนอาจจะเห็นอาการดิฉันในวันนั้น

รู้สึกว่าหนังบางเรื่องที่เปิดฉายในสัปดาห์ที่แล้ว มีอะไรเกย์ๆอยู่บ้างเล็กน้อย

1.5x2 มีตัวประกอบเป็นเกย์ และมีพระเอกเป็นไบเซ็กชวล สิ่งหนึ่งที่ทำให้รู้สึกสะใจมากๆในหนังเรื่องนี้ก็คือว่า (ถ้าเข้าใจไม่ผิด) พระเอกดูถูกความสัมพันธ์ของพี่ชายของเขาซึ่งเป็นเกย์ กับแฟนหนุ่มคนใหม่ว่าไม่น่าจะอยู่กันยืด โดยพระเอกให้เหตุผลว่าเพราะพวกเขายังไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กันเลย

แต่ปรากฏว่าความสัมพันธ์ของพระเอกนั่นแหละที่ไม่ยืด ถึงแม้ว่าพระเอกจะมีเพศสัมพันธ์กับแฟนสาวของตัวเองทั้งคนเก่า (GERALDINE PAILHAS) และคนใหม่ (VALERIE BRUNI-TEDESCHI) ก็ตาม

2.ใน P.S. GABRIEL BYRNE รับบทเป็นไบเซ็กชวล และดิฉันไม่แน่ใจว่าตัวละครที่ PAUL RUDD แสดงในหนังเรื่องนี้เป็นเกย์หรือเปล่า

3.ใน WEDDING CRASHERS (B+) ก็มีตัวประกอบเป็นเกย์เหมือนกัน

4.ใน HOUSE OF D (A-) อาจจะไม่มีตัวละครเป็นเกย์ แต่หนังพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเด็กหนุ่มกับชายวัยกลางคน (โรบิน วิลเลียมส์) และถึงแม้ชายวัยกลางคนจะไม่ได้เป็นเกย์ แต่เขาก็รักเด็กหนุ่มคนนี้มาก และรักแบบ “หึงหวงเพื่อน” ด้วย เขามักจะพูดเสมอว่าเด็กหนุ่มคนนี้ไม่สนใจผู้หญิงหรอก แต่เมื่อเด็กหนุ่มคนนี้แสดงความสนใจเพื่อนผู้หญิงขึ้นมา ชายวัยกลางคนก็แสดงอาการน้อยอกน้อยใจอย่างรุนแรงสุดๆ

หนึ่งในฉากที่สะเทือนใจที่สุดใน HOUSE OF D คือฉากที่เด็กหนุ่มตระหนักถึง “พลังแห่งความรัก” ที่ชายวัยกลางคนมีให้กับเขา

ชอบเอริกาห์ บาดูใน HOUSE OF D มากๆๆค่ะ
http://us.imdb.com/title/tt0372334/

รูปของ ANTON YELCHIN พระเอกของ HOUSE OF D
http://us.movies1.yimg.com/movies.yahoo.com/images/hv/photo/movie_pix/lions_gate_films/house_of_d/anton_yelchin/houseofd2.jpg

Sunday, August 21, 2005

BRAD ROWE AND FULL FRONTAL

ตอบคุณ OLIVER

สำหรับหนังเรื่อง FULL FRONTAL นั้น ดิฉันก็จำได้ว่าชื่อภาษาไทยฮามากค่ะ รู้สึกว่าจะชื่อ “พวกเราบานฉ่ำ” ซึ่งเป็นชื่อที่ไม่เกี่ยวอะไรกับเนื้อเรื่องเลย

ถ้าจะดูหนังเรื่องนี้เพื่อดู DAVID DUCHOVNY อาจจะไม่คุ้มก็ได้ค่ะ เพราะ DAVID DUCHOVNY บทน้อย และไม่ค่อยหล่อเท่าไหร่ในเรื่องนี้ คนที่เด่นจริงๆในเรื่องนี้ในความเห็นของดิฉันคือ CATHERINE KEENER ค่ะ

สำหรับคำถามที่ว่า FULL FRONTAL เป็นหนังดีหรือไม่นั้น ดิฉันก็ไม่แน่ใจเหมือนกันค่ะ แต่ถ้าถามว่าชอบหนังเรื่องนี้หรือเปล่า ดิฉันก็ตอบได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่าชอบสุดๆค่ะ และก็เป็นหนังของ SODERBERGH ที่ชอบที่สุดด้วย แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าหนังเรื่องนี้มันดียังไง แต่รู้สึกว่ามันเป็นหนังที่ถูกโฉลกกับตัวเองมากๆ รู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างในหนังเรื่องนี้สอดคล้องกับรสนิยมของตัวเอง ก็เลยดูด้วยความเพลิดเพลินเบิกบานใจมาก โดยไม่รู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกฝืนให้รับสารที่ตัวเองไม่เห็นด้วย และไม่รู้สึกว่าตัวเองกำลังถูกบีบให้มีอารมณ์ในแบบที่ตัวเองไม่ต้องการ

อย่างไรก็ดี ความชอบของดิฉันที่มีต่อ FULL FRONTAL มันเกิดจากรสนิยมส่วนตัวล้วนๆค่ะ เพราะฉะนั้นถ้าใครดูแล้วไม่ชอบ ก็เป็นเรื่องธรรมดา

สิ่งที่ชอบใน FULL FRONTAL

--รู้สึกว่าหนังมันไปเรื่อยๆของมันเอง โดยไม่รู้ว่ามันจะเป็นยังไงต่อไป รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันไม่อยู่ในกรอบที่คุ้นเคย ไม่อยู่ในกฎเกณฑ์ที่คุ้นเคย และไม่พยายามจะทำตัวเองให้อยู่ใน GENRE ใดอย่างชัดเจน หนังเรื่องนี้เสียดสีฮอลลีวู้ด แต่มันก็มีแง่มุมอื่นๆอยู่ในหนังด้วย ไม่ได้จงใจเสียดสีฮอลลีวู้ดเพียงอย่างเดียว หนังเรื่องนี้ถ่ายทอดชีวิตมนุษย์ แต่มันก็ไม่ได้ทำตัวเป็นหนังดรามาหนักๆ มันไม่ได้ถ่ายทอดชีวิตมนุษย์อย่างเป็นธรรมชาติเหมือนจริงซะทีเดียว แต่มีการเย้ยหยันอะไรบางอย่าง

หนังเรื่องนี้ไม่ได้เร้าอารมณ์แบบหนังดรามา แต่ดิฉันก็ไม่ได้รู้สึกเหินห่างจากตัวละคร ดิฉันรู้สึกว่า FULL FRONTAL นำเสนอตัวละครที่ดิฉันสนใจและจัดวางตัวละครในตำแหน่งที่พอเหมาะ ไม่ใกล้ชิดกับคนดูมากเกินไปและไม่เหินห่างจากคนดูมากเกินไป

ถึงแม้หนังเรื่องนี้ไม่จงใจเร้าอารมณ์ แต่มันก็ไม่แห้งแล้งอารมณ์ ดิฉันรู้สึกกระแทกกระเทือนใจอย่างรุนแรงมากกับบทของ CATHERINE KEENER ในเรื่องนี้ โดยเฉพาะในฉากที่เธอไล่พนักงานออกทีละคน และฉากที่เธอปะทะกับ SANDRA OH ซึ่งเป็นฉากที่ทำให้ดิฉันหัวเราะทุกครั้งที่นึกถึง

สรุปง่ายๆก็คือว่าดิฉันไม่รู้ว่า FULL FRONTAL เป็นหนังที่ดีหรือเปล่า แต่มันเป็นหนังที่ตรงใจตัวเองที่สุดเลยค่ะ ทั้งการถ่ายภาพ, สีสันของภาพ, ตัวละคร, การจิกกัดเล็กๆ, การนำเสนอชีวิตมนุษย์ที่มีทั้งแง่น่าขันปนขมขื่น และอารมณ์ของเรื่องที่ไปเรื่อยๆ

หนังอย่าง FULL FRONTAL อาจจะเป็นหนังที่ตรงข้ามกับ CRASH (2005) ในแง่นึงค่ะ ดิฉันชอบหนังทั้งสองเรื่องนี้ในระดับ A+ และมันก็เป็นหนังที่นำเสนอชีวิตคนหลายๆคนเหมือนกัน แต่ในขณะที่ดู CRASH ดิฉันรู้สึกว่าหนังพยายามจะบอกอะไรคนดูอยู่ตลอดเวลา รู้สึกว่าทุกสิ่งทุกอย่างใน CRASH ถูกใส่เข้ามาเพื่อ “ส่งสาร” ต่อคนดู รู้สึกว่าหลายสิ่งหลายอย่างใน CRASH จงใจเร้าอารมณ์อย่างรุนแรงมาก หนังเรื่องนี้เกิดจากการจัดวางทุกอย่างอย่างตั้งใจและจงใจมาก แต่โชคดีที่ “สาร” ที่ CRASH พยายามจะนำเสนอ ไม่ได้ทำให้ดิฉันรู้สึกต่อต้าน และโชคดีที่ CRASH “เร้าอารมณ์” ในแบบที่ดิฉันต้องการ ดิฉันก็เลยไม่มีปัญหากับความพยายามส่งสารและความพยายามเร้าอารมณ์ของ CRASH

ส่วน FULL FRONTALนั้น มันก็มีการถ่ายทอดอารมณ์และมีการส่งสารในบางฉากเหมือนกัน แต่ดิฉันรู้สึกว่ามันอยู่ในระดับที่เบาบางกว่า CRASH มาก และหลายฉากในหนังเรื่องนี้ ดิฉันก็ไม่รู้ว่ามันมีอยู่เพื่ออะไร ดิฉันไม่รู้ว่าบางฉากใน FULL FRONTAL ต้องการจะบอกอะไรกับคนดู, มีความสำคัญกับเนื้อเรื่องยังไง, มีเหตุผลอะไรถึงต้องมีฉากนี้อยู่ในหนัง ดิฉันรู้แต่เพียงว่าดิฉัน “รู้สึกสบายใจ” ที่ได้ดูฉากเหล่านี้ ถึงแม้จะไม่รู้และไม่เข้าใจเหตุผลในการมีอยู่ของมันก็ตาม

การดู CRASH (2005) ทำให้ดิฉันรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองถูกบังคับให้เดินไปตามทางเดินแคบๆที่มีคนบอกไว้ แต่โชคดีที่ดิฉันรู้สึกเพลิดเพลินใจกับทางเดินแคบๆนั้น ส่วนการดู FULL FRONTAL ทำให้ดิฉันรู้สึกว่า SODERBERGH ปล่อยดิฉันไว้ตรงหน้าท้องทุ่งกว้าง และดิฉันก็มีอิสระอย่างเต็มที่ที่จะเข้าไปวิ่งเล่นเริงร่าท้าแดดลมในท้องทุ่งนั้นได้ตามที่ใจตัวเองต้องการ

BRAD ROWE ดาราหนุ่มสุดหล่อจากหนังเกย์เรื่อง BILLY’S HOLLYWOOD SCREEN KISS ร่วมแสดงใน FULL FRONTAL ด้วยค่ะ นอกจากนี้ BRAD PITT ก็ร่วมแสดงใน FULL FRONTAL ด้วย ซึ่งดิฉันคิดว่าในบางมุมนั้น BRAD PITT กับ BRAD ROWE ดูคล้ายกันค่ะ

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ FULL FRONTAL ได้ที่นี่ค่ะ
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=9446

รูปของ BRAD ROWE
http://www.astabgay.com/celebrities/BradRowe.jpg
http://www.calapitter.net/dead/34/i/bradrowe.jpg


หลังจากการประกาศผลรางวัลภาพยนตร์สั้นของไทยผ่านพ้นไปแล้ว ตอนนี้รางวัลที่ต้องรอลุ้นกันต่อไปก็คือรางวัลเอ็มมีค่ะ ไม่รู้ใครเชียร์อะไรกันบ้าง

สถาบันจะประกาศรายชื่อผู้ชนะในวันที่ 18 ก.ย.

รายชื่อผู้เข้าชิงในสาขาสำคัญ

ละครดรามายอดเยี่ยม
"Deadwood" (HBO)
"Lost" (ABC)
"Six Feet Under" (HBO)
"24" (Fox)
"The West Wing" (NBC)

ละครเบาสมองยอดเยี่ยม
"Arrested Development" (Fox)
"Desperate Housewives" (ABC)
"Everybody Loves Raymond" (CBS)
"Scrubs" (NBC)
"Will & Grace" (NBC)

ดารานำหญิงในละครดรามา
แพทริเซีย อาร์เคทท์, "Medium" (NBC)
เกลนน์ โคลส, "The Shield" (FX)
ฟรานเซส คอนรอย, "Six Feet Under" (HBO)
เจนนิเฟอร์ การ์เนอร์, "Alias" (ABC)
มาริสกา ฮาร์จิเทย์, "Law & Order: Special Victims Unit (NBC)

ดารานำชายในละครดรามา
แฮงค์ อาซาเรีย, "Huff" (Showtime)
ฮิวจ์ ลอรี, "House" (Fox)
เอียน แมคเชน, "Deadwood"
เจมส์ สเปเดอร์, "Boston Legal" (ABC)
คีเฟอร์ ซูเธอร์แลนด์, "24"

ดาราประกอบหญิงในละครดรามา
แซนดรา โอห์, "Grey's Anatomy"
ไบลธ์ แดนเนอร์, "Huff"
ไทน์ ดาลี, "Judging Amy"
ซีซีเอช พาวน์เดอร์, "The Shield"
สต็อกการ์ด แชนนิง, "The West Wing"

ดาราประกอบชายในละครดรามา
วิลเลียม แชทเนอร์, "Boston Legal"
โอลิเวอร์ แพลทท์, "Huff"
นาวีน แอนดรูว์ส, "Lost"
เทอรี โอ'ควินน์, "Lost"
อลัน อัลดา, "The West Wing"

ดารารับเชิญหญิงในละครดรามา
สวูซี เคิร์ทซ์, "Huff"
คลอริส ลีชแมน, "Joan of Arcadia"
อแมนดา พลัมเมอร์, "Law & Order: Special Victims Unit"
แองเจลา แลนส์เบอรี, "Law & Order: Special Victims Unit/Trial By Jury"
จิล เคลย์เบิร์ก, "Nip/Tuck"

ดารารับเชิญชายในละครดรามา
เรด บัตตันส์, "ER"
เรย์ ลิออตตา, "ER"
ออสซี เดวิส, "The L Word"
ชาร์ลส์ เดิร์นนิง, "NCIS"
มาร์ติน แลนเดา, "Without a Trace"

ผู้กำกับละครดรามา
เควนติน ทารันติโน, "CSI: Crime Scene Investigation" ตอน Grave Danger
เกรกก์ ฟีนเบิร์ก, "Deadwood" ตอน Complications
ปีเตอร์ ฮอร์ตัน, "Grey's Anatomy" ตอน A Hard Days Night
สก็อตต์ ไวแนนท์, "Huff" ตอน Crazy, Nuts and All Messed Up
เจ.เจ. อาบรามส์, "Lost" ตอน Pilot (Part 1 & Part 2)
ปีเตอร์ โทลัน, "Rescue Me" ตอน Pilot
อเล็กซ์ เกรฟส์, "The West Wing" ตอน 2162 Votes

ดารานำหญิงในละครเบาสมอง
มาร์เซีย ครอส, "Desperate Housewives"
เทอรี แฮทเชอร์, "Desperate Housewives
เฟลิซิตี ฮัฟแมน, "Desperate Housewives"
แพทริเซีย ฮีทตัน, "Everybody Loves Raymond"
เจน แคกส์มาเรค, "Malcolm in the Middle" (Fox)

ดารานำชายในละครเบาสมอง
เจสัน เบทแมน, "Arrested Development"
แซค บราฟฟ์, "Scrubs"
เอริค แมคคอร์แมค, "Will & Grace"
เรย์ โรมาโน, "Everybody Loves Raymond"
โทนี ชาลูบ, "Monk" (USA)

ดาราประกอบหญิงในละครเบาสมอง
เจสสิกา วอลเตอร์, "Arrested Development"
ดอริส โรเบิร์ตส์, "Everybody Loves Raymond"
ฮอลแลนด์ เทย์เลอร์, "Two and a Half Men"
คอนชาตา เฟอร์เรลล์, "Two and a Half Men"
เมแกน มัลแลลลี, "Will & Grace"

ดาราประกอบชายในละครเบาสมอง
เจฟฟรีย์ แทมบอร์, "Arrested Development"
เจเรมี พิเวน, "Entourage"
ปีเตอร์ บอยล์, "Everybody Loves Raymond"
แบรด การ์เรทท์, "Everybody Loves Raymond"
ฌอน เฮย์ส, "Will & Grace"

ดารารับเชิญหญิงในละครเบาสมอง
แคธรีน จูสเตน, "Desperate Housewives"
ลูเป ออนติเวรอส, "Desperate Housewives"
จอร์เจีย เองเกล, "Everybody Loves Raymond"
คลอริส ลีชแมน, "Malcolm in the Middle"
ไบลธ์ แดนเนอร์, "Will & Grace"

ดารารับเชิญชายในละครเบาสมอง
เฟรด วิลลาร์ด, "Everybody Loves Raymond"
วิคเตอร์ การ์เบอร์, "Will & Grace"
เจฟฟ์ โกลด์บลูม, "Will & Grace"
บ็อบบี แคนนาเวล, "Will & Grace"
อเล็ค บาลด์วิน, "Will & Grace"

ผู้กำกับละครเบาสมอง
ชาร์ลส์ แมคดูกัลล์, "Desperate Housewives" ตอน Pilot
เดวิด แฟรงเคล, "Entourage" ตอน Pilot
เกรย์ ฮัลวอร์สัน, "Everybody Loves Raymond" ตอน Finale
แรนดี ซิสค์, "Monk" ตอน Mr.Monk Takes His Medicine
เจมส์ เบอร์โรว์ส, "Will & Grace" ตอน It's a Dad, Dad, Dad, Dad World

ภาพยนตร์สำหรับฉายทางโทรทัศน์
"The Life and Death of Peter Sellers" (HBO)
"Lackawanna Blues" (HBO)
"The Office Special" (BBC America)
"Warm Springs" (HBO)
"The Wool Cap" (TNT)

มินิซีรีส์ (มีผู้เข้าชิงเพียง 4 ราย)
"Elvis" (CBS)
"Empire Falls" (HBO)
"The 4400" (USA)
"The Lost Prince (Masterpiece Theatre)" (PBS)

ดารานำหญิงในมินิซีรีส์หรือภาพยนตร์
ฮัลลี เบอรี, "Their Eyes Were Watching God" (ABC)
ไบลธ์ แดนเนอร์, "Back When We Were Grownups (Hallmark Hall of Fame)" (CBS)
เอส. เอพาธา เมอร์เคอร์สัน, "Lackawanna Blues"
ซินเธีย นิกสัน, "Warm Springs"
เดบรา วิงเกอร์, "Dawn Anna" (Lifetime)

ดารานำชายในมินิซีรีส์หรือภาพยนตร์
เคนเนธ บรานากห์, "Warm Springs"
เอ็ด แฮร์ริส, "Empire Falls"
วิลเลียม เอช. เมซี, "The Wool Cap"
โจนาธาน ไรส์ เมเยอร์ส, "Elvis"
http://www.onelang.com/encyclopedia/images/thumb/2/25/250px-Jonathan_Rhys-Meyers.jpeg

เจฟฟรีย์ รัช, "The Life and Death of Peter Sellers"

ดาราประกอบหญิงในมินิซีรีส์หรือภาพยนตร์
แคมริน แมนไฮม์, "Elvis"
โจแอนน์ วูดเวิร์ด, "Empire Falls"
ชาร์ลิซ ธีรอน, "The Life and Death of Peter Sellers"
เจน อเล็กซานเดอร์, "Warm Springs"
แคธี เบทส์, "Warm springs"

ดาราประกอบชายในมินิซีรีส์หรือภาพยนตร์
แรนดี เควด, "Elvis"
พอล นิวแมน, "Empire Falls"
ฟิลิป ซีมัวร์ ฮอฟแมน, "Empire Falls"
คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์, "Our Fathers"
ไบรอัน เดนเนฮี, "Our Fathers"

ผู้กำกับยอดเยี่ยมในมินิซีรีส์หรือภาพยนตร์
เฟรด เชปิซี, "Empire Falls"
จอร์จ ซี. โวลฟ์, "Lackawanna Blues"
สตีเฟน ฮอปกินส์, "The Life and Death of Peter Sellers"
โจเซฟ ซาร์เจนท์, "Warm Springs"

รายการ reality show ที่มีการแข่งขัน
"The Amazing Race" (CBS)
"American Idol" (Fox)
"The Apprentice" (NBC)
"Project Runway" (Bravo)
"Survivor" (CBS)

รายการ reality show
"Antiques Roadshow" (PBS)
"Extreme Makeover: Home Edition" (ABC)
"Penn & Teller: Bullshit!" (Showtime)
"Project Greelight" (Bravo)
"Queer Eye For The Straight Guy" (Bravo)

คุณความดีพิเศษในการสร้างภาพยนตร์สารคดี
"Amerrican Undercover: Last Letters Home" (HBO)
"Death in Gaza" (HBO)
"Guerrilla: The Taking of Patty Hearst (American Experience)" (PBS)
"With All Deliberate Speed" (Discovery Channel)

ULLI LOMMEL

FASSBINDER’S LIST

7.BEST GERMAN FILMS

7.1 FORTY-EIGHT HOURS TO ACAPULCO (1967, KLAUS LEMKE)
http://www.kurzfilmtage.de/ikf/pages/sfe/index.php?id=168&lang_id=2


7.2 THE MARRIAGE OF MARIA BRAUN (FASSBINDER)

7.3 THE ENDLESS NIGHT (1963, WILL TREMPER)
http://www.esther-ofarim.de/endlose.htm


7.4 EFFI BRIEST (FASSBINDER)

7.5 THE MERCHANT OF FOUR SEASONS (FASSBINDER)

7.6 JANE IS JANE FOREVER (1977, WALTER BOCKMAYER)


7.7 MALATESTA (1969, PETER LILIENTHAL)
http://www.german-cinema.de/archive/film_view.php?film_id=1279


7.8 A DEGREE OF MURDER (1967, VOLKER SCHLONDORFF)

starring Anita Pallenberg with a score by Brian Jones of the Rolling Stones,


7.9 KINGDOM OF NAPLES (1978, WERNER SCHROETER)
http://portugalgay.pt/lxfilmfest/2000/king.asp


7.10 THE EXPULSION FROM PARADISE (1976, NIKLAUS SCHILLING)
http://www.visualfilm.de/visual.htm



8.THE MOST IMPORTANT GERMAN FILMS

8.1 THE CHRONICLE OF ANNA MAGDALENA BACH (1967, JEAN-MARIE STRAUB + DANIELE HUILLET, A)

8.2 GERMANY IN AUTUMN (VARIOUS DIRECTORS)

8.3 THE THIRD GENERATION (FASSBINDER)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B0002XGXBA.03.LZZZZZZZ.jpg

8.4 FILM OR POWER (1970, VLADO KRISTL)

8.5 IN A YEAR OF THIRTEEN MOON (FASSBINDER)

8.6 MADE IN GERMANY AND USA (1974, RUDOLF THOME)

8.7 NOT RECONCILED (1965, JEAN-MARIE STRAUB + DANIELE HUILLET)

8.8 SATAN’S BREW (FASSBINDER)

8.9 BEWARE OF A HOLY WHORE (FASSBINDER)

8.10 ARTISTS UNDER THE BIG TOP: PERPLEXED (1967, ALEXANDER KLUGE, A+)

8.10 IN TIMES OF DANGER AND GREATEST PERIL, THE PATH OF COMPROMISE LEADS TO DEATH (1974, ALEXANDER KLUGE)

8.10 STRONGMAN FERDINAND (1975, ALEXANDER KLUGE, A)

8.10 THE PATRIOT (1975, ALEXANDER KLUGE, A+)

8.10 YESTERDAY GIRL (1966, ALEXANDER KLUGER, A+)



9.THE MOST BEAUTIFUL GERMAN FILMS

9.1 FEAR EATS THE SOUL

9.2 TICKET OF NO RETURN (1979, ULRIKE OTTINGER, A+)

9.3 DETECTIVE (1968, RUDOLF THOME)

9.4 EIKA KATAPPA (1969, WERNER SCHROETER)

9.5 GODS OF THE PLAGUE (FASSBINDER)

9.6 A GIRL AND VIOLENCE (1970, ROGER FRITZ)

9.7 THE MORALS OF RUTH HALBFASS (1971, VOLKER SCHLONDORFF, B+)

9.8 DESPAIR (FASSBINDER)

9.9 RHEINGOLD (1977, NIKLAUS SCHILLING, A)

9.10 RED SUN (1969, RUDOLF THOME)



10. BEST GERMAN ACTRESSES

10.1 HANNA SCHYGULLA

10.2 MARGIT CARSTENSEN

10.3 BARBARA SUKOWA

10.4 BRIGITTE MIRA

10.5 EVA MATTES

10.6 BARBARA VALENTIN

10.7 RUTH DREXEL

10.8 KARIN BAAL

10.9 GISELA UHLEN

10.10 INGRID CAVEN



11.BEST GERMAN ACTORS

11.1 ARMIN MULLER-STAHL

11.2 KLAUS LOWITSCH

11.3 DIRK BOGARDE
http://www.astabgay.com/gayicons/unknown.jpg
http://www.astabgay.com/dirk.htm

11.4 ULLI LOMMEL
http://www.cinemagay.it/immagini/2237-1-amorepiufreddo.jpg

11.5 HARRY BAER

11.6 LOU CASTEL

11.7 HARK BOHM

11.8 GIAN-CARLO GIANNINI

11.9 GUNTHER KAUFMANN

11.10 VOLKER SPENGLER

Saturday, August 20, 2005

QUARTET (MULLIKA TANGSANGOB, A+)

อยากดู DARWIN’S NIGHTMARE มากๆเลยค่ะ หนังเรื่องนี้กำกับโดย HUBERT SAUPER
http://www.imdb.com/name/nm0767012/

BARBARA ALBERT กับ MARTIN GSCHLACHT ร่วมอำนวยการสร้าง DARWIN’S NIGHTMARE ด้วย
http://www.imdb.com/title/tt0424024/fullcredits

BARBARA ALBERT เป็นผู้กำกับหญิงชาวออสเตรีย เธอเคยกำกับหนังเรื่อง FREE RADICALS (2003, A+) และเคยเขียนบทหนังเรื่อง SO I SLEEPWALK IN BROAD DAYLIGHT (1994) ซึ่งผู้กำกับหนังชื่อยาวๆเรื่องนี้ก็คือ HUBERT SAUPER นั่นเอง

ส่วน MARTIN GSCHLACHT นั้น นอกจากจะอำนวยการสร้างหนังหลายเรื่องแล้ว เขายังเป็นตากล้องที่เคยถ่ายหนังออสเตรียดีๆมาแล้วหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึง
http://www.imdb.com/name/nm0345116/

1.ANTARES (2004, GOTZ SPIELMANN, A)
http://www.imdb.com/title/tt0419449/

2.HOTEL (2004, JESSICA HAUSNER, A+)

3.FREE RADICALS

4.LOVELY RITA (2001, JESSICA HAUSNER, A+)


ทวีปแอฟริกาเต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าเศร้ามาก นอกจาก DARWIN’S NIGHTMARE แล้ว หนังเกี่ยวกับแอฟริกาที่อยากดูมากในระยะนี้ก็รวมถึงหนังหลายเรื่องที่ฉายในเทศกาลเฟสปาโกในปีนี้ อย่างเช่นเรื่อง

1.THE HERO (ZEZE GAMBOA, ANGOLA) รู้สึก bioscope เคยพูดถึงหนังเรื่องนี้ไปแล้ว หนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับทหารผ่านศึกที่พยายามตั้งต้นชีวิตใหม่
http://www.imdb.com/title/tt0424142/



2.THE GOVERNOR’S NEW CLOTHES (MWEZE NGANGURA, CONGO)

หนังเพลง/เบาสมอง (!) ของคองโกเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากนิทานของ HANS CHRISTIAN ANDERSEN (!) ซึ่งเป็นชาวเดนมาร์ก แต่เนื้อหาของหนังเรื่องนี้พาดพิงไปถึงสงครามบอสเนีย (!)
http://www.international.ucla.edu/showevent.asp?eventid=3079


3.THE COLONIAL MISUNDERSTANDING (JEAN-MARIE TENO, CAMEROON)
http://www.e.bell.ca/filmfest/cinematheque/programmes_description.asp?progID=17&subProgID=226&progTitle=&subFlag=1

หนังสารคดีเรื่องนี้สำรวจประวัติศาสตร์ของมิชชันนารีเยอรมันในแอฟริกา และการที่เยอรมนีเคยทำสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในประเทศนามิเบีย


4.LA NUIT DE LA VERITE (FANTA REGINA NACRO, BURKINA FASO)
http://www.bbc.co.uk/worldservice/africa/fespaco2005/about_films/west_africa/verite.shtml


ตอบคุณ grappa

ชอบ THE ORDINARY ROMANCE ตรงความเรียบง่ายของมันค่ะ ส่วนตัวดิฉันแล้วจะชอบช่วงครึ่งแรกของเรื่องค่ะ เพราะได้เห็นหน้าคุณเปลวชัดดี ดิฉันรู้สึกว่าแกเล่นได้ดีพอสมควร และแววตาของแกในช่วงฉากแรกก็ดูเจ้าชู้ดีด้วย แต่ก็รู้สึกอยู่เหมือนกันว่าการตัดต่อระหว่างภาพนางเอกพูดกับภาพพระเอกพูดดูเหมือนอารมณ์ไม่สอดรับกันเท่าไหร่ พอผู้กำกับมาเฉลยทีหลังว่าตัดต่อมาจากคนละเทคกันก็เลยเข้าใจ

สำหรับช่วงครึ่งหลังของเรื่อง หนังเริ่มถอยกล้องออกห่างจากตัวละคร ดิฉันก็เลยเริ่มรู้สึกห่างๆจากตัวละครไปด้วย และก็เริ่มรำคาญนางเอกยังไงไม่รู้ จริงๆแล้วนางเอกเธอก็เป็นคนธรรมดาคนนึงนั่นแหละ เพียงแต่ไม่ใช่คนแบบที่ดิฉันสนใจมากนัก

อย่างไรก็ดี ยิ่งดิฉันรู้สึกรำคาญนางเอกมากเท่าไหร่ ดิฉันก็ยิ่งชอบพระเอกมากขึ้นเท่านั้น เพราะรู้สึกว่าเขาช่างมีความอดทนสูงเสียจริงๆที่ยินดีใช้เวลาอยู่กับผู้หญิงคนนี้ได้

หลายๆฉากในหนังเรื่องนี้ให้อารมณ์นิ่งเรียบเจือโรแมนติกในแบบที่ดิฉันรู้สึกว่าไม่ค่อยได้พบในหนังไทยสักเท่าไหร่ ดิฉันชอบโทนอารมณ์ของหนังเรื่องนี้ที่รักษาความไม่ฉูดฉาดโฉ่งฉ่างไปได้ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังไม่ค่อยเน้นบรรยากาศหรือการถ่ายภาพด้วย ในขณะที่หนังนิ่งๆหลายเรื่องมักจะเน้น “บรรยากาศ” หรือ “การถ่ายภาพ” มากกว่าหนังเรื่องนี้

มีฉากเดียวในเรื่องนี้ที่ดิฉันรู้สึกว่าให้อารมณ์ที่คุ้นเคย นั่นก็คือฉากนางเอกไปหาหมอดู ส่วนฉากอื่นๆให้อารมณ์ที่ไม่คุ้นเคย แต่ก็ชอบความไม่คุ้นเคยนี่แหละค่ะ

THE ORDINARY ROMANCE เป็นหนังรักที่ให้อารมณ์เย็นๆลอยๆ แทบไม่มีความเร่าร้อนอยู่ในหนังเลย แต่นั่นก็เป็นสิ่งที่ดีเหมือนกัน การที่ผู้ชายจะรักผู้หญิงสักคน สิ่งสำคัญคงไม่ได้อยู่เพียงแค่ว่าเขาพึงพอใจกับความสวย, ความน่ารัก, รูปร่างหน้าตา หรือต้องการมีเซ็กส์กับผู้หญิงคนนั้นเท่านั้น แต่เขาจะต้องเป็นคนที่ยอมอดทนฟังผู้หญิงคนนั้นพูดๆๆ บ่นๆๆๆ, ยอมอดทนใช้เวลาอยู่กับผู้หญิงคนนั้นนานๆโดยไม่มีการทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันได้ ซึ่งก็ดูเหมือนพระเอกของเรื่องจะสอบผ่านในข้อนี้

นึกไม่ออกด้วยว่าจะเอา THE ORDINARY ROMANCE ไปเทียบกับหนังเรื่องไหนดีที่มีความใกล้เคียง เพราะถึงแม้ THE ORDINARY ROMANCE จะเล่าเรื่องผ่านทางชีวิตธรรมดาของชายหนุ่มหญิงสาวที่มาพูดคุยกัน แต่หนังเรื่องนี้ก็ให้อารมณ์นิ่งๆ เนือยๆ และค่อนข้างเหินห่างจากตัวละครมากกว่าหนังของ ERIC ROHMER


--ยังไม่ได้ดู THE FACE OF JIZO เลยค่ะ หนังญี่ปุ่นเกี่ยวกับบาดแผลจากสงครามโลกครั้งที่สอง เท่าที่เคยดูก็มีเรื่อง

1.GRAVE OF THE FIREFLIES (1988, ISAO TAKAHATA, A)
http://www.imdb.com/title/tt0095327/

2.RHAPSODY IN AUGUST (1990, AKIRA KUROSAWA, B)


--เห็นพูดถึงฮิโรชิม่า ก็เลยนึกถึงข่าวเกี่ยวกับเคนโซ ทังเกะ สถาปนิกชาวญี่ปุ่นที่เสียชีวิตเมื่อต้นปีนี้ค่ะ ที่นึกถึงเขาก็เพราะว่าเขาเป็นคนที่ช่วยบูรณะฮิโรชิม่าช่วงหลังสงคราม

เว็บไซท์ของ KENZO TANGE อยู่ที่นี่ค่ะ
http://www.ktaweb.com/en_index2.html

มีภาพอาคารที่เขาออกแบบให้ดูมากมายเลย
http://www.ktaweb.com/works/en_index.html

ส่วนรายชื่อและรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ชนะรางวัล PRITZKER PRIZE คนอื่นๆนั้น สามารถดูได้จากเว็บไซท์นี้ค่ะ
http://www.pritzkerprize.com/main.htm


--พูดถึงสงครามโลกครั้งที่สอง ก็เลยนึกถึงหนังสือเล่มนึงที่อยากอ่านมากๆค่ะ นั่นก็คือ A PLAGUE UPON HUMANITY: THE SECRET GENOCIDE OF AXIS JAPAN’S GERM WARFARE OPERATION ที่เขียนโดย DANIEL BARENBLATT

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ได้ที่นี่ค่ะ
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/0060186259/qid=1124479493/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/102-8838989-8796126?v=glance&s=books

ชินจิ อาโอยามาเคยกำกับภาพยนตร์เรื่อง It's Not in the Textbook, Helpless, Two Punks, Wild Life, An Obsession และ Shady Grove

--AN OBSESSION (1997) มีเนื้อหาเกี่ยวกับตำรวจคนหนึ่งที่สูญเสียปืน, ปอด, ภรรยา และการควบคุมตัวเองไปในอุบัติเหตุทางการยิงปืน โดยนักวิจารณ์บอกว่าจุดเด่นของหนังเรื่องนี้อยู่ที่ layers และ textures ของหนัง โดยเฉพาะในเรื่องการใช้ “เสียง”

--นักวิจารณ์บางคนวิจารณ์ DESERT MOON ของ SHINJI AOYAMA ว่าเป็นหนัง “เมโลดรามายุคหลังจากฟาสบินเดอร์” (POST-FASSBINDER MELODRAMA)

--นักวิจารณ์บางคนบอกว่า A FOREST WITH NO NAME ของ SHINJI AOYAMA มีบางจุดทำให้นึกถึง CHARISMA (1999, KIYOSHI KUROSAWA, A+) และจัดเป็นหนังของ AOYAMA ที่เข้าใกล้หนังของ KIYOSHI KUROSAWA มากที่สุด
http://www.midnighteye.com/reviews/fornonam.shtml

--LAKESIDE MURDER CASE ของ SHINJI AOYAMA ได้รับคำวิจารณ์ว่าเป็นหนังที่ COMMERCIAL ที่สุดของเขา

โทษทีค่ะ ข้างบนใส่ลิงค์ของ LAKESIDE MURDER CASE ผิดไป
http://www.twitchfilm.net/archives/000802.html

ดาวน์โหลดหนังตัวอย่าง LAKESIDE MURDER CASE ได้ที่
http://www.lakeside-mc.com/index.html

--ยังไม่ได้ดูหนังใหม่เข้าโรงในสัปดาห์นี้เลย เมื่อวันพฤหัสบดีไปดู CRIMSON GOLD (2004, JAFAR PANAHI, A+) ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนวันศุกร์ไปดูละครเวทีเรื่อง QUARTET (มัลลิกา ตั้งสงบ, A+) ที่ศูนย์วัฒนธรรมแสงอรุณ ซอยสาทร 10

QUARTET จะเปิดแสดงรอบ 14.30 น. และ 19.30 น. ในวันเสาร์ที่ 20 ส.ค. และวันอาทิตย์ที่ 21 ส.ค.นี้ค่ะ ดูละครเวทีเรื่องนี้แล้วนึกถึงหนังดรามาจัดๆของ INGMAR BERGMAN ที่ให้ตัวละครที่มีบาดแผลทางใจมาปะทะกัน เพื่อให้ตัวละครเหล่านี้กะเทาะเปลือกลอกเอาความเจ็บช้ำน้ำใจ ปมทางจิตในอดีตออกมาตีแผ่เชือดเฉือนกัน ละครเวทีเรื่องนี้มีฉากการเผชิญหน้า, การสารภาพผิด, บรรยากาศของความตาย, ความเจ็บปวดรวดร้าวใจ, ความละอายใจ, ความรู้สึกผิด และความนิ่งงันเหมือนกับหนังของ INGMAR BERGMAN คนที่ชอบหนังอย่าง AFTER THE REHEARSAL (1984, A-) หรือ AUTUMN SONATA (1978, A+) ของ BERGMAN ก็อาจจะชอบละครเวทีเรื่อง QUARTET นี้เหมือนกันค่ะ (คำวิจารณ์ QUARTER ข้างต้น ดิฉันไม่ได้คิดเองค่ะ แต่พอดีไปอ่านคำวิจารณ์หนังเรื่อง AUTUMN SONATA ของ BERGMAN ในหนังสือ TIME OUT FILM GUIDE แล้วพบว่าคำวิจารณ์หนังของ BERGMAN สามารถนำมาใช้กับละครเรื่อง QUARTET ได้เลย)

อย่างไรก็ดี สิ่งที่ทำให้ QUARTET แตกต่างไปจากหนังของ INGMAR BERGMAN อย่างเห็นได้ชัด ก็คือประเด็นทางการเมืองที่อยู่ใน QUARTET ค่ะ

--ช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ได้ดูละครเวทีไป 3 เรื่อง อีก 2 เรื่องก็คือ “เส้นด้ายในความมืด” และ “กุหลาบสีเลือด” ซึ่งทั้ง 3 เรื่องนี้ชอบในระดับ A+ เหมือนกัน แต่ชอบในแบบที่แตกต่างกันไป “เส้นด้ายในความมืด” เป็นละครที่ให้แรงบันดาลใจอย่างมาก เป็นละครที่ให้กำลังใจในการต่อสู้กับอุปสรรค ทำให้รู้สึกฮึดสู้กับชีวิตโดยไม่ย่อท้อ ส่วน “กุหลาบสีเลือด” ให้ความสนุกสนานตื่นเต้นเพลิดเพลิน ในขณะที่ QUARTET ทำให้รู้สึกซาบซึ้งไปกับ “ชีวิตมนุษย์” ดู QUARTET แล้วให้ความรู้สึกเศร้าแต่ร้องไห้ไม่ออก ซึ่งเป็นความรู้สึกคล้ายๆกับตอนที่ดูหนังเรื่อง WAITING FOR THE CLOUDS

จริงๆแล้วรู้สึกว่าถ้าหากผู้สร้าง QUARTET และ WAITING FOR THE CLOUDS บิดเบือนเรื่องไปจากเดิมเล็กน้อยเพื่อบีบคั้นอารมณ์ผู้ชมอย่างเต็มที่ เขาก็อาจจะทำได้ง่ายมากๆ เขาสามารถทำให้ผู้ชมร้องไห้น้ำตาเป็นเผาเต่าได้ แต่เขาคงเลือกที่จะไม่ทำเช่นนั้นเอง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีแล้ว แต่บางทีมันก็ทำให้ดิฉันรู้สึกเหมือนกับมีน้ำท่วมขังอยู่ในปอด มันเป็นความรู้สึกเศร้าที่ท่วมขังอยู่ข้างใน แต่ไม่สามารถระบายมันออกไปจากตัวได้ด้วยการร้องไห้ให้เสร็จๆไป

ทั้ง QUARTET และ WAITING FOR THE CLOUDS ต่างก็มีตัวละครที่ใช้ชีวิตอยู่กับ REGRET พวกเขามีอดีตที่หม่นหมอง เจ็บช้ำ และพวกเขาก็ไม่สามารถแก้ไขอะไรในอดีตได้อีก พวกเขาจำเป็นต้องใช้ชีวิตต่อไปเรื่อยๆ โดยที่ REGRET นั้น หรือแผลเป็นที่ฝังอยู่ในใจนั้น คงจะไม่มีวันลบเลือนได้จนตลอดชีวิต


FASSBINDER’S LIST

ลิสท์รายการของสิ่งต่างๆที่ไรเนอร์ แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์ชอบมากที่สุดในชีวิต (จากหนังสือ THE ANARCHY OF THE IMAGINATION)

1.BEST FILMS
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=19753

2.BEST ACTRESSES
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=19837

3.BEST ACTORS
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=20489

4.หนังสือโปรดที่สุดของฟาสบินเดอร์

4.1 ANTONIN ARTAUD—VAN GOGH: SUICIDE THROUGH SOCIETY
http://www.antoninartaud.org/home.html

4.2 ARTHUR SCHOPENHAUER—THE WORLD AS WILL AND REPRESENTATION
http://www.latrobe.edu.au/screeningthepast/firstrelease/fr0301/kmfr12a.htm

4.3 LOUIS-FERDINAND CELINE—JOURNEY TO THE END OF NIGHT
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/0811208478/102-8838989-8796126

4.4 SIGMUND FREUD—MOSES THE MAN

4.5 ALFRED DOBLIN—BERLIN ALEXANDERPLATZ

4.6 JORIS-K. HUYSMANS—LA-BAS
http://www.elx.com.au/item/0140447679

4.7 JEAN PAUL—SIEBENKAS
http://www.german.leeds.ac.uk/RWI/2002-03project2/Jean%20Paul%20Richter.htm

4.8 JOHANN WOLFGANG VON GOETHE—THE ELECTIVE AFFINITIES

4.9 BUURHUS FREDERIC SKINNER—WALDEN II
http://www.ship.edu/~cgboeree/skinner.html

4.10 DJUNA BARNES—UNDER MILKWOOD

ดิฉันหาข้อมูลหนังสือเล่มนี้ไม่เจอ เจอแต่ NIGHTWOOD ของ DJUNA BARNES ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเลสเบียน
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/0811200051/qid=1124486994/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/102-8838989-8796126?v=glance&s=books

และเจอแต่ UNDER MILK WOOD, A PLAY FOR VOICES ของ DYLAN THOMAS
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/0811202097/qid=1124487119/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/102-8838989-8796126?v=glance&s=books



5.บทละครเวทีที่ฟาสบินเดอร์ชอบมากที่สุด

5.1 HEINRICH VON KLEIST—KATHCHEN OF HEILBRONN
http://www.litencyc.com/php/speople.php?rec=true&UID=5477

5.2 WILLIAM SHAKESPEARE—RICHARD III

5.3 HANS HENNY JAHNN—STREETCORNER
http://www.atlaspress.co.uk/index.cgi?action=view_printed_head&number=9&series=3


5.4 FRANK WEDEKIND—LULU
http://www.nthuleen.com/papers/711FilmLuluprint.html

5.5 MARIELUISE FLEISSER—PIONEERS IN INGOLSTADT

5.6 ERNST TOLLER—HINKEMANN
http://www.spartacus.schoolnet.co.uk/FWWtoller.htm

5.7 GEORG BUCHNER—WOYZECK

5.8 FERDINAND BRUCKNER—THE CRIMINALS
http://www.villagevoice.com/theater/0225,sightlines,35774,11.html

5.9 ARTHUR SCHNITZLER—LA RONDE
http://www.williams.edu/theatre/productions/laronde/laronde.jpg

5.10 GERHART HAUPTMANN—THE RATS
http://www.kirjasto.sci.fi/hauptman.htm


6.โอเปราที่ฟาสบินเดอร์ชื่นชอบที่สุด

6.1 GUISEPPE VERDI—LA TRAVIATA

6.2 GAETANO DONIZETTI—ROBERTO DEVEREUX
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/6305871116/102-8838989-8796126?v=glance
http://images.amazon.com/images/P/6305871116.01.LZZZZZZZ.jpg

6.3 RICHARD WAGNER—TRISTAN AND ISOLDE

6.4 LUDWIG VAN BEETHOVEN--FIDELIO
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B00004VVZB/qid=1124488756/sr=8-1/ref=pd_bbs_1/102-8838989-8796126?v=glance&s=music&n=507846

6.5 VINCENZO BELLINI—NORMA
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B00068CVDA/qid=1124488814/sr=8-1/ref=pd_bbs_1/102-8838989-8796126?v=glance&s=dvd&n=507846

6.6 GIOACCHINO ROSSINI

6.7 FRANZ LEHAR—GUIDITTA
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B0009TPBF6/qid=1124488916/sr=8-2/ref=sr_8_xs_ap_i1_xgl74/102-8838989-8796126?v=glance&s=dvd&n=507846


6.8 ALBAN BERG—LULU
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B00004R7X8/qid=1124488971/sr=8-1/ref=pd_bbs_1/102-8838989-8796126?v=glance&s=music&n=507846


6.9 ARNOLD SCHOENBERG—MOSES AND ARON

6.10 CLAUDIO MONTEVERDI—IL RITORNO D’ULISSE
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B00018D3AK/qid=1124489023/sr=8-7/ref=pd_bbs_7/102-8838989-8796126?v=glance&s=dvd&n=507846
http://images.amazon.com/images/P/B00018D3AK.01.LZZZZZZZ.jpg


ตอบคุณอิศวร์

โฮะ โฮะ โฮะ ดิฉันได้ไปซื้อ IMAGE มาแล้วค่ะ EWAN STRYDOM สามีคนใหม่ของคุณอิศวร์น่ารักมากค่ะ แต่เวลาเปิด IMAGE เล่มนี้จะรู้สึกแปลกๆ เพราะเวลาจะพลิกไปดูภาพเซ็กซี่บางภาพของสามีคุณอิศวร์ ก็อาจจะเปิดผ่านภาพนักบวชผู้ทรงศีลท่านนึงที่มาให้สัมภาษณ์ลงนิตยสารฉบับนี้ด้วย รู้สึกเหมือนกับดูหนังสือโป๊ที่มีภาพพระมาคั่นกลาง แต่ก็ดีเหมือนกัน ราคะจะได้ไม่ครอบงำจิตใจมากนัก (จริงเหรอ)

ได้ซื้อ POP ฉบับใหม่ สามีคุณอิศวร์ก็ถ่ายแบบลงเล่มนี้เหมือนกันค่ะ แต่แทบไม่เห็นอะไรเลยเมื่อเทียบกับที่ถ่ายลง IMAGE

อย่างไรก็ดี การได้ถ่ายแบบติดๆกันเช่นนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าสามีคุณอิศวร์กำลังมาแรงจริงๆค่ะ


ตอบคุณ paaae

เสียดายจังเลยค่ะ ไม่ได้ดูเรื่อง “บางเหตุการณ์”

ผลรางวัลหนังสั้นในครั้งนี้ก็มีทั้งที่ตรงใจและไม่ตรงใจค่ะ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่แต่ละคนจะมีความคิดเห็นแตกต่างกันไป แต่โดยรวมๆแล้ว ก็รู้สึกดีใจและพอใจมากกับผลรางวัลครั้งนี้ค่ะ เพราะ “สามผู้กำกับภาพยนตร์คนโปรด” ของดิฉัน ซึ่งได้แก่ คุณทศพล บุญสินสุข, คุณอุรุพงศ์ รักษาสัตย์ และคุณศาสตร์ ตันเจริญต่างก็ได้รับรางวัลในงานนี้กันทั้งสามคนเลย

ผู้กำกับอีกคนหนึ่งในตอนนี้ที่ดิฉันชอบสุดๆ ก็คือคุณทศพร มงคลค่ะ เพราะหลังจากได้ดูหนังของเขาสองเรื่อง (BUS-STOP กับ PUSSY) แล้วก็รู้สึกว่า เขาสุดยอดมากๆ



ตอบคุณ OLIVER

ถ้าจะเริ่มดูหนังของฟาสบินเดอร์ ดิฉันก็คิดว่าเรื่อง ALI: FEAR EATS THE SOUL อาจจะเหมาะดูเป็นเรื่องแรกค่ะ เพราะหนังเรื่องนี้ดูเข้าใจง่าย, เล่าเรื่องเป็นเส้นตรง, มีความเป็นเมโลดรามาสูง และให้อารมณ์ซาบซึ้งในขณะเดียวกัน หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของคุณป้าวัยดึกชาวเยอรมันที่ตกหลุมรักชายหนุ่มผิวดำที่มีอายุน้อยกว่าเธอมาก และความรักของเธอก็ต้องเผชิญกับการต่อต้านและความไม่เข้าใจของคนรอบข้าง ซึ่งรวมถึงจากลูกๆของเธอเอง

ทั้ง ALI: FEAR EATS THE SOUL และ FAR FROM HEAVEN (TODD HAYNES, A+) ต่างก็ดัดแปลงมาจากหนังเรื่อง ALL THAT HEAVEN ALLOWS (DOUGLAS SIRK, A+) เหมือนกันค่ะ

อ่านบทวิจารณ์หนังเรื่อง ALI: FEAR EATS THE SOUL ของคุณเจ้าชายน้อยได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/review/index-in.php?id=19154

นอกจาก ALI: FEAR EATS THE SOUL แล้ว หนังของฟาสบินเดอร์อีก 3 เรื่องที่ดิฉันคิดว่าสามารถติดตามเรื่องได้โดยง่าย ก็คือ FOX AND HIS FRIENDS (หนังเกย์), THE MARRIAGE OF MARIA BRAUN และ VERONIKA VOSS ค่ะ

http://www.thaishortfilm.com/

สวนจตุจักร โครงการ 27 หลังกองอำนวยการติดร้านลอดช่อง

http://www.thaishortfilm.com/shop.html
http://www.manager.co.th/daily/ViewNews.aspx?NewsID=9480000100116


TOP GAY BOOKS IN 1999
http://myweb.lsbu.ac.uk/~stafflag/topgaybooks99.html
1. Death in Venice by Thomas Mann
2. Giovanni's Room by James Baldwin
3. Our Lady of the Flowers by Jean Genet
4. Rememberance of Things Past by Marcel Proust
5. The Immoralist by André Gide
6. Orlando by Virginia Woolf
7. The Well of Loneliness by Radclyffe Hall
8. Kiss of the Spider Women by Manuel Puig
9. The Memoirs of Hadrian by Marguerite Yourcenar
10. Zami by Audre Lorde
11. The Picture of Dorian Gray by Oscar Wilde
12. Nightwood by Djuna Barnes
13. Billy Budd by Herman Melville
14. A Boy's Own Story by Edmund White
15. Dancer From the Dance by Andrew Holleran
16. Maurice by E. M. Forster
17. The City and the Pillar by Gore Vidal
18. Rubyfruit Jungle by Rita Mae Brown
19. Brideshead Revisited by Evelyn Waugh
20. Confessions of a Mask by Yukio Mishima
21. The Member Of The Wedding by Carson McCullers
22. City of Night by John Rechy
23. Myra Breckinridge by Gore Vidal
24. Patience and Sarah by Isabel Miller
25. The Autobiography of Alice B Toklas by Gertrude Stein
26. Other Voices, Other Rooms by Truman Capote
27. The Bostonians by Henry James
28. Two Serious Ladies by Jane Bowles
29. Bastard Out Of Caroline by Dorothy Allison
30. The Heart Is A Lonely Hunter by Carson McCullers

Friday, August 19, 2005

SOMERSAULT IN A COFFIN

FROM SCREENOUT WEBBOARD

--คำถามประจำวัน

“คุณบุญส่ง นาคภู่ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง 191 1 / 2 มือปราบทราบแล้วป่วน กับ มาดอนนา มีอะไรเหมือนกัน”

คำตอบ

ทั้งสองคนประสบอุบัติเหตุกระดูกไหปลาร้าหักในช่วงราวๆวันที่ 17 ส.ค. 2005 เหมือนกัน ขอแสดงความเสียใจเป็นอย่างยิ่งต่อบุคคลทั้งสองด้วยค่ะ (ข่าวเรื่องคุณบุญส่งได้ฟังมาจากในงานฉายหนังที่สี่แยกคอกวัวเมื่อวานนี้ ถ้าข่าวผิดดิฉันก็ต้องขออภัยด้วย)


--พูดถึงหนังเรื่อง SOMERSAULT แล้วก็นึกถึงหนังเรื่องนึงที่มีชื่อคล้ายๆกันค่ะ นั่นก็คือเรื่อง SOMERSAULT IN A COFFIN (1996, DERVIS ZAIM) หรือ TABUTTA ROVASATA ซึ่งนักวิจารณ์บางคนยกย่องให้เป็นหนังตุรกีที่ยอดเยี่ยมที่สุดในทศวรรษ 1990

DERVIS ZAIM เป็นชาวไซปรัส และ SOMERSAULT IN A COFFIN เป็นผลงานการกำกับเรื่องแรกของเขา หนังเรื่องนี้ใช้ทุนสร้างต่ำมาก และมีเนื้อหาเกี่ยวกับมาห์ซุน (AHMET UGURLU ซึ่งเป็นนักแสดงละครเวที) ชายหนุ่มขี้เหล้าที่ชอบนอนตามท้องถนนและยังชีพด้วยการขโมยรถ

หนังเรื่องนี้นำเสนอชีวิตของมาห์ซุนขณะที่เขาระเหเร่ร่อนไปเรื่อยๆ ซึ่งรวมถึงเรื่องที่เขามีความสัมพันธ์แบบลุ่มๆดอนๆกับโสเภณีขี้ยา และเรื่องการขโมยนกยูงมาจากอุทยานแห่งชาติ โดยหนังเรื่องนี้ใช้มาห์ซุนเป็นเครื่องมือในการนำเสนอกระแสแห่งความหวาดกลัวและความเกลียดชังที่แพร่กระจายอยู่ในหมู่ชาวตุรกียุคใหม่

DERVIS ZAIM บอกว่าเขาสร้างตัวละครมาห์ซุนขึ้นมาโดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากชีวิตคนจริงๆคนหนึ่ง

อ่านบทสัมภาษณ์ DERVIS ZAIM เกี่ยวกับ SOMERSAULT IN A COFFIN ได้ที่
http://www.wsws.org/arts/1997/sep1997/dervis.shtml

SOMERSAULT IN A COFFIN เคยเปิดฉายที่นิวยอร์คด้วย
http://www.filmlinc.com/archive/ndnf/ndnf98.htm

ดูรูปจาก SOMERSAULT IN A COFFIN ได้ที่
http://www.cypnet.co.uk/ncyprus/culture/mofa/cinema/dervishzaim/dz2a.htm
http://www.cypnet.co.uk/ncyprus/culture/mofa/cinema/dervishzaim/tr_scene1.jpg


หนังเรื่อง “แอปเปิ้ล ออฟ ดิ อาย” ของคุณปวิตร ตรีเมฆก็มีตัวละครเป็นโจรขโมยรถเช่นกัน


ตอบคุณอ้วน

เห็นคุณอ้วนเขียนไว้ในหน้า 59 ว่า ในหนังเรื่อง WERCKMEISTER HARMONIES มีการให้คนขี้เมามาจำลองระบบสุริยจักรวาลให้ผู้ชมดู ก็เลยนึกถึงหนังไทยที่เพิ่งได้ดูมา ซึ่งก็คือเรื่อง JUST A SECOND: THE KHONG LEGEND 2003 (2003, สันติภาพ อินกองงาม, A+) ค่ะ เพราะหนังเรื่องนี้พูดถึงชีวิตของคนในหลายๆประเทศตามแถบลุ่มน้ำโขง แต่มีการพูดถึงประเด็นเกี่ยวกับจักรวาลและกำเนิดโลกแทรกเข้ามาเป็นระยะๆด้วย ดูแล้วก็งงมาก แต่ก็รู้สึกว่ามันน่าทึ่งในขณะเดียวกัน ที่ผู้กำกับสามารถร้อยเรียงเรื่องของกำเนิดโลก, กำเนิดจักรวาล หรืออะไรทำนองนี้ เข้ากับเรื่องราวชีวิตชาวบ้านในถิ่นต่างๆแถบลุ่มน้ำโขง

หนังอีกเรื่องนึงที่โยงเข้าหาตำนานจักรวาลได้อย่างน่าทึ่ง ก็คือ Hitler: A Film From Germany (1977, Hans-Jurgen Syberberg, A+) ที่พูดถึงเรื่องราวของฮิตเลอร์ หนังเรื่องนี้มีความยาวประมาณ 7 ชั่วโมง แต่รู้สึกว่าเนื้อหาประมาณ 30 นาทีในเรื่องนี้ จะเป็นการโยงฮิตเลอร์เข้ากับตำนานก่อเกิดจักรวาลหรืออะไรทำนองนี้

เห็นคุณอ้วนบอกว่าชอบกินกาแฟสตาร์บัคส์ ก็เลยนึกถึงข่าวเกี่ยวกับหนังสารคดีเรื่อง STARBUCKING ค่ะ หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายคนหนึ่งที่เดินทางไปตระเวนกินกาแฟตามร้านสตาร์บัคส์ทุกๆที่บนโลกนี้
http://news.yahoo.com/news?tmpl=story&u=/ap/starbucking_movie



ตอบคุณ OLIVER

จำได้ว่าพอเห็นชื่อรายการ THE NAKED CHEF ก็รู้สึกประทับใจกับชื่อรายการมากเหมือนกันค่ะ มันช่างกระตุ้นจินตนาการดีแท้ๆ

เห็นพ่อครัวฝรั่งที่อยู่ตามโรงแรมในกรุงเทพ หลายคนก็หน้าตาดี และรูปร่างก็สูงโปร่งมาก ไม่รู้เหมือนกันว่าพวกเขาควบคุมน้ำหนักกันได้ยังไง

พูดถึงตัวละครที่มีปมในชีวิต ดิฉันมักจะประทับใจกับตัวละครหญิงมากกว่าตัวละครชายค่ะ ตัวละครนึงที่ประทับใจมากๆก็คือบทของแคเธอรีน คีเนอร์ใน FULL FRONTAL (2002, STEVEN SODERBERGH, A+) หนังไม่ได้บอกชัดว่าเธอมีปมอะไรในอดีต แต่ชีวิตปัจจุบันของเธอไม่ค่อยมีความสุขเท่าใดนัก และสิ่งที่ดิฉันประทับใจมากๆก็คือการที่ตัวละครคนนึงพูดถึงแคเธอรีน คีเนอร์ว่า “เธอเหมือนกับสุนัขที่โดนรถชน แต่ทำเหมือนกับว่าตัวเองไม่ได้โดนชน เธอเหมือนกับสุนัขที่โดนรถชนแล้วลุกขึ้นเดินต่อไปตามปกติโดยทำเหมือนกับว่าตัวเองไม่ได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด”



ตอบคุณ kit

--เห็นคุณ kit พูดถึง CASABLANCA ก็เลยอยากรู้ว่าคุณ kit ได้ดู BARB WIRE (1996, DAVID HOGAN) แล้วหรือยัง เพราะว่า BARB WIRE ดัดแปลงมาจาก CASABLANCA โดยให้พาเมลา แอนเดอร์สันมารับบทเดียวกับฮัมฟรีย์ โบการ์ตใน CASABLANCA (ชอบไอเดียนี้จริงๆ ไม่รู้คิดขึ้นมาได้ยังไง)

รูปของ TEMUERA MORRISON พระเอก BARB WIRE
http://www.rotoruanz.com/information/about_rotorua/history/images/temuera.jpg
http://www.imdb.com/gallery/ss/0115624/Ss/0115624/barb8.jpg?path=gallery&path_key=0115624




....เคยรู้สึกกับตัวละครหลายตัวในหนังหลายเรื่อง..ที่บุคลิกดูเรียบร้อยแต่น่าหมั่นไส้..ชวนให้เข้าไปตบ..หรือเข้าไปจับตัวเขย่าๆ.ให้หายเรียบร้อยซะที..ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า..มักเป็นตัวละครผู้หญิงที่ชอบทำหน้าเฉยๆ ทั้งหลายในหนังญี่ปุ่น..


เห็นด้วยกับคุณ kit เป็นอย่างยิ่งค่ะ แต่ระยะ 5-6 ปีมานี้ แทบไม่ได้ดูละครญี่ปุ่นหรือละครเอเชียใดๆเลยค่ะ พอนึกถึงละครญี่ปุ่นที่ตัวเองชอบดู ก็มักจะเป็นละครที่มีนางเอกนิสัยกล้าหาญชาญชัย ไม่ใช่ละครที่มีนางเอกนิสัยเรียบร้อย

ละครญี่ปุ่นที่ชอบดูสุดๆ

1.ละครเรื่อง “รวมพลังสาวซ่าส์” ที่นำแสดงโดย MAKIKO ESUMI ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพนักงานในแผนก “เบ็ดเตล็ด 2” แต่ขณะที่ดูละครเรื่องนี้ ก็จะนึกสงสัยอยู่ตลอดเวลาว่า แล้วอะไรคือ “แผนกเบ็ดเตล็ด 1” เพราะดูเหมือนบริษัทนี้จะไม่มีแผนกเบ็ดเตล็ด 1
http://www.jkdramas.com/jdramas/powerofficeladies.htm

2.สิงห์สาวนักสืบ ภาค 1-3 หรือ SUKEBAN DEKA ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักเรียนหญิงที่ทำงานปราบปรามเหล่าร้ายให้ตำรวจ

3.”บาปกตัญญู” ที่เคยมาฉายทางช่อง 9 และมีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กหญิงอายุ 12-13 ปี ที่พยายามฆ่าพ่อเลี้ยงของตัวเองด้วยการจุดไฟเผาบ้านตัวเองเพื่อให้ไฟคลอกพ่อเลี้ยงตาย (อันนี้เป็นเพียงเรื่องย่อตอนแรกของเรื่องเท่านั้น)

4.สายลับสองหน้า หรือ LOVE COMPLEX ที่นำแสดงโดย TAKASHI SORIMACHI และเต็มไปด้วยตัวละครผู้หญิงแรงๆหลายคน

5.ยอดหญิงชิงโอลิมปิก ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับกีฬาวอลเลย์บอล ที่ตัวละครเอกมีชื่อว่าจุง โคชิกะจำได้ว่าละครเรื่องนี้ฮิตมาก และมีหนังไทยเกี่ยวกับทีมวอลเลย์บอลหญิงที่มีท่าเล่นประหลาดๆสร้างออกมาตามหลังละครเรื่องนี้ด้วย จำได้ว่าในยอดหญิงชิงโอลิมปิกจะมี “ลูกตบฟ้าผ่า”, “ลูกตบฟ้าผ่าซ้ำซ้อน”, “ลูกตบประกายไข่มุก”, “ลูกตบสลาตัน”, ลูกเสิร์ฟหลังคา และมีท่า “ลอยตัวรับดุจเปลวเพลิง” หรืออะไรทำนองนี้ที่สามารถรับลูกตบฟ้าผ่าได้

6.เงือกสาวเจ้าสระ ที่เป็นเรื่องของนักกีฬาว่ายน้ำหญิง และมีท่ากลับตัวเหินฟ้า, กลับตัวเหินฟ้าสองครั้ง, กลับตัวน้ำหมุน, และกลับตัวจรวด

7.ละครเรื่องนึงที่มีโมโมเอะ ยามากุจิ กับ TOMOKAZU MIURA นำแสดง ปกติโมโมเอะมักรับบทเป็นผู้หญิงเรียบร้อย แต่มีเรื่องนึงที่บทเธอแรงดี ถ้าจำไม่ผิด เธอรับบทเป็นสาวนักเลงข้างถนนที่ตกหลุมรักหนุ่มร่ำรวย และต้องเผชิญกับอุปสรรคอย่างรุนแรง เสียดายที่
จำชื่อเรื่องไม่ได้ รู้สึกว่าจะฉายช่อง 5 ทุกคืนวันอาทิตย์ตอน 5 ทุ่ม ประมาณปี 1983-1984 ชื่อเรื่องคล้ายๆ “เพลิงรัก” หรืออะไรทำนองนี้ โดยที่เพลงไตเติลของเรื่องนี้ถูกนำมาทำใหม่เป็นภาษาไทย และมีเนื้อร้องว่า “เป็นชู้ทางใจ จึงมีปมด้อยเก็บไว้ ดวงใจปวดร้าว/ เป็นชู้ทางใจ จึงมีปมด้อยเปี่ยมล้น รักเธอจนวันตาย”


นอกจากนี้ ยังมีละครญี่ปุ่นเก่าๆที่จำชื่อเรื่องไม่ได้ และอยากดูซ้ำอีกอย่างมากๆ อย่างเช่นเรื่อง

1.เรื่องที่ไมโกะ อิโต นำแสดง โดยรับบทเป็นนักเรียนหญิงในโรงเรียนดัดสันดาน และต้องตบตีกับเจ้าแม่ของโรงเรียนดัดสันดานที่มีสมญานามว่า “โมนา ลิซ่า” หรืออะไรทำนองนี้ รู้สึกจะเคยมาฉายทางช่อง 5

2.เรื่องเกี่ยวกับหญิงสาวและเพื่อนๆที่พยายามจะจัดตั้งวงดนตรีร็อค แต่ต้องตบตีกับคนต่างๆมากมาย ฉากที่จำได้ไม่มีวันลืมคือฉากที่กลุ่มผู้ร้ายจะมาทำร้ายพวกนางเอก แต่กลุ่มผู้ร้ายก็ต้องหยุดชะงักและล่าถอยไปเมื่อเผชิญหน้ากับเด็กหญิงอายุประมาณ 10 ขวบที่ใช้ฉมวกหาปลาเป็นอาวุธ ละครเรื่องนี้เคยฉายทางช่อง 5 ประมาณปี 1986 มั้ง


ถ้าใครจำชื่อเรื่องภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษของละครเหล่านี้ได้ หรือมีรายละเอียดเกี่ยวกับละครเหล่านี้ก็ช่วยเล่าให้ฟังด้วยนะคะ คิดถึงละครพวกนี้มากค่ะ



ตอบคุณ TARENCE

ตอนที่เห็น SHAWN YUE ใน INFERNAL AFFAIRS ดิฉันยังไม่ค่อยปิ๊งเขาเท่าไหร่เลยค่ะ รู้สึกปิ๊งเฉินก๊วนซีมากกว่า แต่พอได้เห็น SHAWN YUE ไว้หนวดใน INITIAL D เท่านั้นแหละ ความรู้สึกชอบเขาก็พุ่งขึ้นมาในทันทีเลย รู้สึกว่ามาดของเขาใน INITIAL D เหมาะกับตัวเขามาก



ตอบคุณ ZM

--ดีใจค่ะที่คุณ ZM ก็ชอบ RON LIVINGSTON เหมือนกัน ดิฉันชอบเขามากๆจากหนังเรื่อง THE COOLER (2003, WAYNE KRAMER, A+/A) ค่ะ
http://www.hbo.com/city/img/episode/season06/ep76_jack_at_table.jpg

ล่าสุดเห็น RON LIVINGSTON ร่วมแสดงใน PRETTY PERSUASION (2005, MARCOS SIEGA) ด้วย โดยมี EVAN RACHEL WOOD ร่วมแสดงในเรื่องนี้ ดิฉันรู้สึกชอบ EVAN RACHEL WOOD อยู่เหมือนกัน ประทับใจเธอจากหนังเรื่อง THE MISSING (2003, RON HOWARD, A) และ THE UPSIDE OF ANGER (2005, MIKE BINDER, A-) รู้สึกว่าเธอไม่หน่อมแน้มเหมือนดาราวัยรุ่นหญิงคนอื่นๆ แต่ก็ยังไม่ได้ดูหนังเรื่อง THIRTEEN (2003, CATHERINE HARDWICKE) ที่ทำให้เธอโด่งดังขึ้นมา ก็เลยยังไม่ได้เห็นศักยภาพทางการแสดงของเธออย่างเต็มที่


ตอบคุณอิศวร์

--โอ้โห EWAN STRYDOM เซ็กซี่สุดๆเลย ท่าทางจะต้องไปซื้ออิมเมจมาเก็บไว้บ้างแล้ว

--เห็นรูปคุณอิศวร์อยู่ท่ามกลางสามีสองคนแล้ว ก็เลยนึกถึงชื่อหนังเรื่อง “สองกวนได้สามกำ” จำไม่ได้แล้วว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังเกี่ยวกับอะไรหรือหนังชาติอะไร และไม่รู้ด้วยว่าทำไมถึงชื่ออย่างนี้

--ดีใจค่ะที่คุณอิศวร์ชอบเรื่อง “เสือร้องไห้” และดีใจที่คุณอิศวร์ได้ดูหนังเรื่องนี้ เพราะหนังเรื่องนี้ออกจากโรงเร็วมาก และหลายคนก็บ่นไปตามๆกันว่าพลาดโอกาสดู คนรู้จักคนนึงบอกว่าเขาไปดูหนังเรื่องนี้ที่โรง UMG RCA ปรากฏว่าพนักงานขายตั๋วบอกว่ารอบนี้งดฉายค่ะ เพราะคนฉายหนังไม่อยู่ (มีอย่างนี้ด้วยหรือนี่) คนๆนั้นก็เลยพลาดโอกาสดู “เสือร้องไห้”ไปเลย

--ถ้าชอบหนังเกี่ยวกับชาวต่างจังหวัดกลับบ้าน ขอแนะนำให้ซื้อดีวีดีหนังเรื่อง “กลับบ้าน” (A-) จากนิตยสาร BIOSCOPE ค่ะ เพราะหนังสารคดีเรื่องนี้ก็นำเสนอชีวิตชาวต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในกรุงเทพเหมือนกัน และเป็นชีวิตคนที่ธรรมดามากๆ (เมื่อเทียบกับชีวิตคนใน “เสือร้องไห้” ที่ดูมีความแปลกจากคนทั่วๆไปอยู่บ้างนิดนึง)

--รู้สึกว่าระยะนี้เห็นหนังเกี่ยวกับ “ภูมิภาค” ในประเทศไทยออกมาเยอะ ซึ่งรวมถึง

1.หนังที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับภาคอีสาน อย่างเช่น

1.1 เสือร้องไห้
1.2 15 ค่ำเดือน 11
1.3 TO INFINITY AND BEYOND (2004, SOMPOT CHIDGASORNPONGES, A+)


2.หนังเกี่ยวกับภาคใต้ อย่างเช่น

2.1 0.29s (2005, บุญชัย กัลยาศิริ, A+)
2.2 MY COMMUNITY (2005, พิสุทธิ์ ศรีหมอก)
2.3 ONCE UPON A TIME IN PATTANEE (2005, นิลิสา สมุทรยากร)
2.4 HANNAH (2005, จิตรกัญญา อมรนพกุล)
2.5 หนังเด็กภูเก็ตหลายๆเรื่อง


3.หนังที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวกับภาคเหนือ อย่างเช่น

3.1 VIOLET BASIL (2005, ศุภโมกข์ ศิลารักษ์, A+) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาวเขาเผ่าปกาเกอญอ
3.2 จักรยานลานนา (2005, อุรุพงศ์ รักษาสัตย์, A+)
3.3 กลางวันและกลางคืน (2005, อุรุพงศ์ รักษาสัตย์, A+)
3.4 โศกนาฏกรรมล้านนา (2005, ชูชาติ มีแหวน, B+)
3.5 JUST A SECOND: THE KHONG LEGEND 2003 (2003, สันติภาพ อินกองงาม, A+)
3.6 VIRTUAL BORDERS (2003, MANU LUKSCH, A-) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชาวเขาเผ่าอาข่า
3.7 วัยอลวน 4: ตั้ม + โอ๋ รีเทิร์น (A+)

และก็มีหนังที่ดิฉันไม่แน่ใจว่าถ่ายทำในภาคเหนือหรือเปล่า อย่างเช่นเรื่อง

3.8 MY GUITAR (2005, พิรุณ ร่มแก้ว, A-)
3.9 A SHORT JOURNEY (2003, TANON SATTARUJAWONG, A+)



--เห็นหลายคนในเว็บบอร์ดนี้ท่าทางจะชอบละครเพลง ก็เลยนึกถึงละครเพลง (หรือการแสดงเต้นรำ) เรื่อง CALIFORNIA DREAM MEN ค่ะ อยากให้ละครเรื่องนี้มาเปิดแสดงในกรุงเทพจังเลย รู้สึกเหมือนละครเพลงเรื่องนี้จะเคยเปิดแสดงที่อิตาลีกับอังกฤษมาแล้ว

ผู้ออกแบบท่าเต้นให้กับการแสดงนี้คือ KARLA KAMA และ MELISSA WILLIAMS
http://www.porcellino.net/uomini/california.htm

รูปจากการแสดงชุด CALIFORNIA DREAM MEN
http://www.porcellino.net/uomini/california11.jpg
http://www.porcellino.net/uomini/california8.jpg
http://www.porcellino.net/uomini/california13.jpg
http://www.porcellino.net/uomini/california9.jpg
http://www.apriteilsipario.it/foto/Californiadreammen.jpg



ตอบคุณ paaae

เห็นด้วยค่ะว่าคริส มาร์ตินเร้าใจมาก เขาดูไม่หล่อมาก แต่ดูมีเสน่ห์ดึงดูดทางเพศในความเห็นของดิฉัน อย่างไรก็ดี ดิฉันก็ชอบกวิเน็ธ พัลโทรว์อยู่บ้างเหมือนกัน ก็เลยรู้สึกยินดีที่ทั้งคู่ได้กัน


ส่วนนักร้องที่ดิฉันสนใจในตอนนี้ก็คือคู่ดูโอ JASON AND DEMARCO ค่ะ คู่ดูโอนี้เป็นนักร้องเกย์หนุ่มสองคนที่เป็นคู่รักกัน แต่ทั้งสองทำในสิ่งที่แปลกประหลาดมากนั่นก็คือทั้งสองร้องเพลงศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งที่ศิลปินเกย์น้อยรายกระทำกัน

เว็บไซท์ของ JASON AND DEMARCO อยู่ที่นี่ค่ะ
http://www.jasonanddemarco.com/

อ่านบทความเกี่ยวกับ JASON AND DE MARCO ได้ที่นี่
http://www.planetout.com/entertainment/music/buzzworthy/article.html?sernum=784

http://www.mccchurch.org/mediaroom/2004/advocatejasondemarco_files/000_Untitled.jpg
http://images.amazon.com/images/P/B0002DKEZQ.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
http://images.amazon.com/images/P/B0002DFR12.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
http://www.giampetruzzi.com/images/images/Stories/Jason%20and%20demarco/Photo-1.jpg
http://www.whosoever.org/photos/jasondemarco.jpg


อัลบัมชุด SPIRIT POP ของ JASON AND DEMARCO
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/B0002DKEZQ/qid=1124266136/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/104-8699871-0219930

อัลบัมชุด SONGS FOR THE SPIRIT ของ JASON AND DEMARCO
http://www.amazon.com/exec/obidos/tg/detail/-/B0002DFR12/qid=1124266136/sr=1-2/ref=sr_1_2/104-8699871-0219930?v=glance&s=music

JASON AND DEMARCO เคยจะมาเปิดการแสดงที่สิงคโปร์เมื่อต้นปีนี้ค่ะ แต่รัฐบาลสิงคโปร์ห้ามทั้งสองมาเปิดคอนเสิร์ตด้วยเหตุผลที่ว่าทั้งสองเป็นเกย์

อ่านข่าวนี้ได้ที่
http://www.sodomylaws.org/world/singapore/sinews060.htm

โดยส่วนตัวแล้วชอบหนังรัสเซียมากค่ะ มีหนังรัสเซียเรื่องนึงที่อยากดูมากแต่ยังไม่ได้ดูก็คือเรื่อง LUNA PARK (1991, PAVEL LOUNGUINE) หนังเรื่องนี้มีขายเป็นวิดีโอแล้วที่อเมริกาค่ะ แต่ยังหาหนังเรื่องนี้ดูในเมืองไทยไม่ได้เลย

Wednesday, August 17, 2005

PUSSY (TOSAPORN MONGKOL, A+)

This summary is not available. Please click here to view the post.

Tuesday, August 16, 2005

BERLIN ALEXANDERPLATZ + QUERELLE

เนื่องจาก BERLIN ALEXANDERPLATZ ใกล้จะมาฉายแล้ว ก็เลยขอนำข้อความของคุณ MR. FILMHERALD ในเว็บบอร์ด BIOSCOPE มาแปะในนี้นะคะ


สถานที่ฉาย
ห้องกิจกรรมเรวัต พุทธินันท์ ชั้นใต้ดิน 2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

โทร 0-2613-3529 และ 0-2613-3520Tel: 0-2613-3529 และ 0-2613-3520เข้าชมฟรี! (กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์) ฉายด้วยต้นฉบับเสียงเยอรมันพร้อมคำบรรยายภาษาอังกฤษ

กำหนดการฉาย
อาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2548 12.00 น. – 18.00 น. ตอนที่ 1-5

อาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2548 12.00 น. – 18.00 น. ตอนที่ 6-10

อาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2548 12.00 น. – 18.00 น. ตอนที่ 11-13 และ ปัจฉิมบท

หมายเหตุ: มีช่วงพักระหว่างตอน 2 ครั้งเรื่องย่อภาพยนตร์

(สรุปความจากคำบอกเล่าของผู้กำกับ Rainer Werner Fassbinder - ไรแนร์ แวแนร์ ฟัสบินแดร์ )

Franz Biberkopf (ฟรันซ์ บิแบร์คอพฟ์) พ้นโทษจากเรือนจำหลังจากถูกจำคุกเป็นเวลา 4 ปีฐานฆาตกรรมแฟนสาวของตนเองด้วยไม้ตีไข่! Ida (อีด้า) แฟนสาวของเขาต้องกลายเป็นโสเภณีเพื่อหาเลี้ยงเขาในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก ณ กรุงแบร์ลินทศวรรษที่ 20 หลังออกจากคุก Franz ก็ประสบปัญหาจากอารมณ์กำหนัดทางเพศอย่างรุนแรง เขาระบายออกด้วยการพยายามข่มขืนน้องสาวของเหยื่อของเขาหลายครั้ง แต่สุดท้ายเขาก็มีโอกาสได้สานสัมพันธ์ครั้งใหม่กับ Lina (ลีน่า) หญิงสาวชาวโปแลนด์ ความสัมพันธ์ในครั้งนี้ทำให้ Franz มีความหวังที่จะกลับตัวเป็นคนดีและเริ่มต้นชีวิตใหม่อีกครั้ง แต่สถานการณ์ทางเศรษฐกิจก็ยังอยู่ในช่วงวิกฤติ แม้เขาจะพยายามหารายได้จากการขายเข็มกลัดติดเนคไท ขายหนังสือปกขาว และหนังสือพิมพ์ National Observerแต่เขาก็ยังไม่วายถูกกลุ่มเพื่อนฝูงและพลพรรคฝ่ายคอมมิวนิสต์เขม่น เขาจึงเปลี่ยนมาขายเชือกผูกรองเท้ากับลุงของ Lina แทน แต่ด้วยความไว้เนื้อเชื่อใจ เขาจึงตกเป็นเหยื่อถูกลุงของ Lina หลอกลวงไปอย่างน่าเจ็บแค้น Franz รู้สึกผิดหวังเป็นอย่างมาก เขาเลือกที่จะตัดขาดจากสังคมและผู้คนหันหน้าเข้าหาสุราเมามายอยู่หลายสัปดาห์จนเมื่อเขาได้พบกับ Reinhold (ไรน์โฮลด์) ชายหนุ่มที่คิดจะเอาดีในทางมิจฉาชีพ Franz รู้สึกถูกชะตากับ Reinhold เป็นอย่างมาก Reinhold ไหว้วานให้ Franz ช่วยกำจัดผู้หญิงที่เริ่มจะเข้ามาผูกมัดติดพันกับเขา Reinhold เป็นหนุ่มเจ้าชู้ที่ขาดผู้หญิงไม่ได้ แต่เขาก็เบื่อง่ายพอ ๆ กันและถ้าหากหน่ายใครเข้าแล้ว เขาจะต้องรีบหาทางกำจัดเธอทิ้งไปเสียโดยเร็ว Franz ยอมช่วยในครั้งแรก ๆ แต่เมื่อ Reinhold ไม่มีทีท่าว่าจะตกลงปลงใจกับผู้หญิงคนไหนจริงจัง Franz จึงปฏิเสธที่จะช่วยเหลือเขา ซึ่งก็เป็นชนวนแห่งความบาดหมางไม่ลงรอย ที่จะนำไปสู่ชะตากรรมสุดคาดเดาของชายทั้งสองผู้โคจรมาพบกันเพื่อทำลายวิญญาณของอีกฝ่ายหนึ่ง. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .

.ข้อมูลภาพยนตร์:

Berlin Alexanderplatz นับเป็นผลงานภาพยนตร์ชุดหรือ mini-series เรื่องยิ่งใหญ่ที่สุดของเยอรมันนี กำกับโดยผู้กำกับชื่อดัง Rainer Werner Fassbinder ผู้เปิดเผยรสนิยมรักร่วมเพศของตนเองต่อสาธารณะ หนังเรื่องนี้ดัดแปลงเรื่องราวจากนวนิยายชื่อเดียวกันของ Alfred Doblin ซึ่งก็ได้รับการยกย่องให้เป็นอันดับหนึ่งของวงการวรรณกรรมเยอรมันในช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 โดยหลายสถาบันวรรณกรรมในยุโรปถือว่าศักดิ์ศรีของงานเล่มนี้อยู่ทัดเทียมกับ Ulysses ของ เจมส์ จอยซ์ และเป็น 1 ใน 100 อันดับหนังสือยอดเยี่ยมตลอดกาลจากการโหวตของนักเขียนนานาชาติ

Fassbinder เล่าว่าเขาชื่นชมผลงานชิ้นนี้ของ Alfred Doblin มาตั้งแต่สมัยยังเป็นวัยรุ่น มูลเหตุแห่งความประทับใจที่เขามีต่อนวนิยายเล่มนี้ก็คือความสัมพันธ์อันประหลาดคลุมเครือของตัวละครทั้งสองในเรื่อง คือ Franz กับ Reinhold โดย Fassbinder ตีความมิตรภาพล้ำลึกของชายทั้งสองว่าเป็นความเสน่หาอย่างรักร่วมเพศแต่ด้วยกฎเกณฑ์ทางสังคมอันเคร่งครัดทำให้ทั้งคู่ไม่สามารถยอมรับความรักที่มีให้แก่กันได้

ตัวละคร Franz Biberkopf นับว่ามีอิทธิพลต่อทั้งชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานของ Fassbinder เป็นอย่างมาก ดังเช่นในภาพยนตร์ชิ้นเด่นเรื่องก่อนหน้าอย่าง Faustrecht der Freiheit [Fox and His Friends] (1975) เขาก็ตั้งชื่อตัวละครนำซึ่งเขาแสดงเองว่า Franz Biberkopf เช่นกัน และเมื่อเขามีโอกาสได้นำเอาบทประพันธ์ชิ้นนี้มาสร้างเป็นภาพยนตร์ Fassbinder จึงถ่ายทอดการตีความเฉพาะตัวที่เขามีต่อนิยายเรื่องนี้ออกมาอย่างยิ่งใหญ่อลังการ เปี่ยมไปด้วยความตั้งใจและฝีไม้ลายมือทั้งหมดทั้งมวลที่เขามีกลายเป็นงาน Masterpiece ชิ้นสำคัญที่บรรดานักวิจารณ์ทั่วโลกต่างยกย่องให้เป็นผลงานที่ดีที่สุดในชีวิตการทำงานของเขารวมทั้งของวงการภาพยนตร์เยอรมันBerlin Alexanderplatz ออกฉายทางโทรทัศน์ครั้งแรกในประเทศเยอรมันนีในปี 1980 ซึ่งก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นจนได้รับการออกฉายในโรงภาพยนตร์อีกครั้ง หลังจากนั้นหนังก็ได้รับการจัดจำหน่ายในหลาย ๆ ประเทศรวมถึงสหรัฐอเมริกา แต่ด้วยความยาวกว่า 15 ชั่วโมง ทำให้งานชิ้นนี้ได้รับการเผยแพร่อย่างจำกัดในเวลาต่อมา และได้กลายเป็นงานที่หาชมได้ยากที่สุดของ Rainer Werner Fassbinder แม้แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีการผลิตออกมาเป็น DVD หรือ VDO ที่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษ

อ่านเพิ่มเติมเรื่องราวของฟาสบินเดอร์ได้ในนิตยสาร BIOSCOPE เล่ม 3 หน้าปกหว่องคาร์ไว (ถ้าจำไม่ผิด)
http://www.brightlightsfilm.com/21/21_fassbinder.html

อันนี้เป็นรูปจากหนังเกย์เรื่อง QUERELLE (A) ที่กำกับโดย RAINER WERNER FASSBINDER ค่ะ หลายคนคงดูหนังเรื่องนี้ไปแล้วเรียบร้อย

http://www.radio-anthroposophie.de/ras-Querelle-088.jpg
http://www.moviemail-online.co.uk/images/small/QUEREL1_rgb.jpg
http://www.posterclassics.com/imagesDom/bigQuerelleGrn.jpg

http://www.brightlightsfilm.com/21/21_images/fass_querelle.jpg
http://blogsimages.skynet.be/images/000/370/405_querelle.GIF
http://www.follow-me-now.de/assets/images/Querelle-102.jpg

A HALF LIFE OF CARBON 14 (A+)

--ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ดิฉันมีเวลาว่างออกไปดูหนังฉายฟรีตามสถาบันต่างๆ เป็นประจำ อาจจะเป็นเพราะว่าดิฉันยังไม่มีเครื่องเล่นดีวีดีค่ะ :-) จริงๆก็กะว่าจะซื้อเครื่องเล่นดีวีดีตั้งนานแล้ว แต่ก็ยังมองไม่เห็นเลยว่าตัวเองจะมีเวลาว่างมานั่งดูดีวีดีเมื่อไหร่ อย่างไรก็ดี ดิฉันมักจะระบายความรู้สึกอยากดูดีวีดีด้วยการแนะนำดีวีดีออกใหม่ให้คนอื่นๆอ่าน เพราะถึงตัวเองไม่ได้ดูเอง แต่การได้กระตุ้นให้คนอื่นๆไปหามาดูก็เป็นการระบายความอยากได้ดีเหมือนกัน

--ลืมบอกคุณเต้ไปว่าที่คุยกันวันนั้น ดิฉันจำผิด ดิฉันนึกว่าคุณเต้ได้ดูหนังเรื่อง box ไปแล้ว ก็เลยคุยอะไรไปมากมายโดยตั้งอยู่บนความเข้าใจผิดว่าคุณเต้ได้ดูหนังเรื่องนั้นไปแล้ว พอคุยเสร็จ ก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า เอ๊ะ ที่จริงแล้วคุณเต้อาจจะยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนั้นนี่นา หวังว่าคุณเต้คงไม่งุนงงกับการคุยกันวันนั้นมากนัก :-)

--ตอนนี้รู้สึกว่ายิ่งได้ดูหนังของ “ทศพล บุญสินสุข + อุรุพงศ์ รักษาสัตย์ + ศาสตร์ ตันเจริญ” มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งรู้สึกอยากกราบเท้า 3 คนนี้มากเท่านั้น ทั้ง 3 คนนี้ทำหนังออกมาได้ตรงใจดิฉันมากๆ

--หลังจากได้ดูหนังสั้นรอบแรกและรอบสองในปีนี้ ก็พบว่ามันเหมือนกับปีก่อนๆในแง่ที่ว่า หนังที่ดิฉันชอบในระดับ A+ มักจะตกรอบแรกกันเกือบหมด และหนังส่วนใหญ่ที่เข้ารอบสองดิฉันมักจะชอบในระดับประมาณ B+ (แต่ดิฉันไม่ค่อยได้เอ่ยถึงชื่อหนังสั้นของไทยที่ดิฉันชอบในระดับต่ำกว่า A ลงไป เพราะอยากจะเขียนถึงหนังที่ชอบสุดๆมากกว่า)

--ถึงแม้หนังที่ดิฉันชอบสุดๆมักจะตกรอบแรกกันเกือบหมดในทุกๆปี แต่ดิฉันก็รู้สึกว่ามันเป็นเรื่องธรรมดา เพราะความรู้สึกชอบของดิฉันไม่ขึ้นอยู่กับหลักเหตุผลอะไรทั้งสิ้น นอกจากว่าดูแล้วตัวเองรู้สึกถูกใจ, มีความสุขเท่านั้นเอง ซึ่งนั่นคงไม่เกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับเกณฑ์ในการตัดสินหนังของคนอื่นๆ

--ได้ดู THE AUDIENCE ของคุณทศพล บุญสินสุขในวันเสาร์ที่ผ่านมา แล้วก็ต้องตกใจมากเมื่อพบว่าหนังเรื่องนี้มันมีเสียงประกอบตลอดทั้งเรื่องเลยนี่นา ทั้งๆที่ในการฉายรอบแรกหนังเรื่องนี้ไม่มีเสียงเลย แสดงว่ารอบแรกเกิดความผิดพลาดในการฉาย

--ดิฉันชอบ THE AUDIENCE เวอร์ชันผิดพลาดทางเทคนิคเป็นอย่างมาก แต่ในเวอร์ชันสมบูรณ์นั้น ดิฉันก็ยังชอบในระดับ A+ เหมือนเดิม เพียงแต่ว่ามันไม่เปิดกว้างทางจินตนาการมากเท่าเวอร์ชัน “ใบ้”

--THE AUDIENCE ไม่ใช่หนังเล่าเรื่อง แต่ดูเหมือนจะมีโครงสร้างบางอย่างใกล้เคียงกับหนังเล่าเรื่องโดยบังเอิญ (หรือจงใจก็ไม่รู้) เพราะหนังเรื่องนี้เหมือนกับจะแบ่งเป็น 3 องก์ และมีฉากที่ดิฉันรู้สึกว่าให้อารมณ์ PEAK คล้ายกับเป็นฉากไคลแมกซ์ในองก์ที่สาม นั่นก็คือฉากที่กล้องบุกเข้าไปในงานที่คนกำลังเต้นรำกันสุดเหวี่ยง

--ถ้าเข้าใจไม่ผิด ผู้กำกับหนังเรื่อง THE AUDIENCE โผล่หน้ามาแวบนึงในหนังด้วย


หนังที่ได้ดูในวันอาทิตย์

1.ครึ่งชีวิตคาร์บอน 14 (2005, PANLOP HORHARIN, A+)

ดูหนังเรื่องนี้ช่วงท้ายแล้วนึกถึง DAYS OF BEING WILD + IN THE MOOD FOR LOVE

2.THE ORDINARY ROMANCE (2005, TEEKHADET WATCHARATHANIN, A+)

3.กล่องความทรงจำ (เด็กภูเก็ต, A)

สิ่งหนึ่งที่รู้สึกฮามากในหนังเรื่องนี้ก็คือดิฉันไม่แน่ใจว่าดิฉันเข้าใจหนังเรื่องนี้ผิดหรือเด็กๆเข้าใจศัพท์ภาษาอังกฤษผิด เพราะหนังเรื่องนี้มีฉาก “1 year ago”, “2 years ago” และ “3 years ago” และดิฉันก็ดูด้วยความงุนงงว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับฉากย้อนอดีต หรือว่าที่จริงแล้วฉากเหล่านี้มันเป็นฉาก “อีก 1 ปีถัดจากนี้”, “อีก 2 ปีถัดจากนี้” และ “อีก 3 ปีถัดจากนี้” มากกว่า แต่เด็กๆใส่คำภาษาอังกฤษผิดก็เลยทำให้ฉาก FLASH FORWARD กลายเป็นฉาก FLASHBACK ไปโดยไม่ได้ตั้งใจ หรือดิฉันเข้าใจหนังเรื่องนี้ผิดเองก็ไม่รู้

หนังเริ่มเรื่องด้วยเด็กหญิงกลุ่มหนึ่งฝังกล่องความทรงจำไว้ในผืนทราย หลังจากนั้นหนังก็ค่อยๆย้อนอดีตไปเป็นเมื่อ 3 ปีก่อน และจบลงด้วยฉากที่เด็กหญิงคนหนึ่งพยายามขุดกล่องความทรงจำขึ้นมา บางทีเด็กๆอาจจะตั้งใจทำให้หนังเรื่องนี้เป็นหนัง SURREAL ก็ได้นะ ด้วยการแสดงให้เห็นว่า “การขุดกล่องขึ้นมาจากดิน” เกิดขึ้นก่อน “การฝังกล่องลงไปในดิน” :-)

ไม่ว่าความแปลกประหลาดนี้จะเกิดจากความตั้งใจ, ไม่ตั้งใจ หรือเกิดจากความเข้าใจผิดของดิฉัน ดิฉันก็ชอบความแปลกประหลาด (โดยบังเอิญ ?) ในหนังเรื่องนี้มากค่ะ


4.หน้าที่ (เด็กภูเก็ต, A-)

5.ความหวัง (เด็กภูเก็ต, A-)

6.เทพยุทธพิศดาร (เด็กภูเก็ต, A-)

7.นภากระจ่าง (B+)

8.มายา (B+)

9.ช่องว่างระหว่างมวน (B+)

10.แอปเปิล ออฟ ดิ อาย (B+)

11.The Toilet (ทิวา เมยไธสง, B+)

12.Stray Bullet (2001, ทิวา เมยไธสง, B+)

13.The Coin (ทิวา เมยไธสง, B)

14.ความนัยของถุงเท้าขาวกับกุหลาบแดง (2000, ทิวา เมยไธสง, B)

15.พันตา (2000, ทิวา เมยไธสง, B)

FAVORITE ACTOR
PLEO SIRISUWAN—THE ORDINARY ROMANCE


--หนังฟิลิปปินส์เรื่อง RED SAGA ที่ได้ดูมา จัดเป็นหนังการเมืองที่ทำออกมาได้ทรงพลังพอสมควร

--รู้สึกว่าฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ชอบทำหนังเมโลดรามา, หนังเกย์ และหนังการเมือง

--เมื่อพูดถึงหนังการเมืองในฟิลิปปินส์ ดิฉันมักจะนึกถึง

1.IMELDA (2003, RAMONA S. DIAZ, A) ที่พูดถึงอิเมลดา มาร์กอส

2.FIGHT FOR US (LINO BROCKA, A-) ที่พูดถึงเหตุการณ์เลวร้ายในยุคของนางคอราซอน อาควินโน

(ข้อมูลจากนสพ.กรุงเทพธุรกิจในปี 2002)

ผู้สนใจภาพยนตร์จากประเทศฟิลิปปินส์ไม่ควรพลาดชมภาพยนตร์เรื่อง Fight For Us ที่จะเปิดฉายที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันอาทิตย์ที่ 1 ก.ย.2002 เวลา 13.00 น.

Fight For Us เป็นภาพยนตร์ปี 1989 ที่สร้างจากเรื่องจริง และมีเนื้อหาเกี่ยวกับจิมมี คอร์เดโร อดีตนักบวชที่เพิ่งพ้นคุกหลังจากถูกคุมขังในสมัยรัฐบาลของประธานาธิบดีเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส อย่างไรก็ดี จิมมีพบว่ากลุ่มปกครองกลุ่มใหม่กลับทารุณกรรมครอบครัวของเขาและพี่น้องทั้งหมู่บ้าน โดยกลุ่มปกครองนี้อ้างว่าต้องการสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมและไม่ต้องการความเห็นที่แตกต่าง

Fight For Us ได้เข้าฉายในสาย Directors' Fortnight ในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ในปี 1989 และเป็นผลงานการกำกับของลิโน บร็อคกา ซึ่งเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฟิลิปปินส์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก เขาเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลปาล์มทองคำในเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์จากเรื่อง Jaguar ในปี 1980 และ Bayan Ko: My Own Country (1984) นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่อง Angela Markado (1983) ยังทำให้เขาได้รับรางวัลในเทศกาลภาพยนตร์ 3 ทวีปที่เมืองนองท์ด้วย

ลิโน บร็อคกา (1940-1991) เกิดในครอบครัวที่ยากจนในชนบท เขาเคยทำงานเป็นมิชชันนารีให้กับนิกายมอร์มอนในชุมชนโรคเรื้อน และมีชื่อเสียงโด่งดังเมื่อภาพยนตร์เรื่อง Insiang (1978) ของเขาได้รับเลือกให้เข้าฉายในเมืองคานส์ ทั้งนี้ ภาพยนตร์ของบร็อคกามักมีเนื้อหาสะท้อนสังคมและแสดงความเห็นอกเห็นใจคนยากจนและชนชั้นแรงงาน เขาเคยถูกจับขังคุก และพยายามต่อต้านกระบวนการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์มาโดยตลอด โดยภาพยนตร์บางเรื่องของเขาเคยถูกสั่งห้ามฉายในประเทศฟิลิปปินส์ด้วย

ราอูล ซาการ์บาร์เรีย โรโก รมว.ศึกษาธิการของฟิลิปปินส์ เคยอำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่อง You Are Weighed in the Balance But Are Found Wanting (1974) ที่กำกับโดยบร็อคกา โดยภาพยนตร์เรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความป่วยไข้ของสังคม

(ภาพยนตร์เกย์เรื่อง Macho Dancer ที่กำกับโดยลิโน บร็อคกา มีจำหน่ายแล้วในรูปแบบวิดีโอและดีวีดี)

--หลังจากที่วงการภาพยนตร์สร้างหนังที่โจมตีหญิงเหล็กอิเมลดา มาร์กอสกับคอราซอน อาควิโนไปแล้ว ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าท่านประธานาธิบดีกลอเรีย มาคาปากาล “โอ๊ยโหย๊ยโหย” (อิอิ) จะถูกวงการภาพยนตร์หยิบมาโจมตีเมื่อใด

--หนังฟิลิปปินส์ที่อยากดูมากในตอนนี้คือ Evolution of a Filipino Family ซึ่งมีความยาว 9 ชั่วโมงเต็ม

Evolution of a Filipino Family เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ซึ่งปกครองประเทศโดยใช้กฎอัยการศึกเป็นเวลาถึง 15 ปี โดยจุดศูนย์กลางของเรื่องนี้คือครอบครัวกัลลาร์โด ซึ่งเลี้ยงชีพด้วยการทำไร่

นอกจากการปกครองของมาร์กอสแล้ว ครอบครัวกัลลาร์โดยังต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆอีกมากมาย ซึ่งรวมถึงกลุ่มกบฏ, อาชญากรรมที่เพิ่มสูงขึ้น และสภาพบ้านเมืองที่ยุ่งเหยิงวุ่นวายขึ้นเรื่อยๆ โดยสมาชิกเพศชายในครอบครัวนี้เริ่มทิ้งครอบครัวไป ในขณะที่สมาชิกเพศหญิงส่วนใหญ่มีชะตาชีวิตที่ดีกว่าและยังคงปักหลักอยู่ในชนบท

Evolution of a Filipino Family เป็นภาพยนตร์ขาวดำที่ใช้เวลาถ่ายทำนาน 8 ปีและแทบไม่มีการใช้ดนตรีประกอบ ทางด้านนักวิจารณ์ให้ความเห็นว่าฉากเด่นในภาพยนตร์เรื่องนี้คือฉากที่ตัวละครได้วิทยุมาและเริ่มติดละครวิทยุ ซึ่งฉากดังกล่าวเป็นสัญญาณแสดงให้เห็นว่าวิถีชีวิตของตัวละครเปลี่ยนแปลงไปแล้ว นอกจากนี้ ฉากเด่นอีกฉากคือฉากที่แมงมุมตัวหนึ่งกัดกินอีกตัวหนึ่ง โดยฉากดังกล่าวถูกตัดสลับเข้ากับฉากการต่อสู้ระหว่างครอบครัวกัลลาร์โดกับกลุ่มกบฏ

ลาฟ ดิอาซ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ต้องการนำเสนอบาดแผลทางใจที่ชาวฟิลิปปินส์ได้รับจากการปกครองของมาร์กอส โดยดิอาซมองว่ามาร์กอสสร้างความเสียหายต่อฟิลิปปินส์ไม่น้อยไปกว่าสเปน, สหรัฐ และญี่ปุ่นซึ่งเคยเข้ามายึดครองฟิลิปปินส์ในอดีต

ดิอาซซึ่งเกิดปี 1958 เคยกำกับภาพยนตร์เรื่อง The Criminal of Barrio Concepcion (1999), Burger Boys (1999), Naked Under the Moon (1999), Hesus the Revolutionary (2002) และ Batang West Side (2002) โดยเรื่องหลังนี้เคยได้รับรางวัลภาพยนตร์เอเชียยอดเยี่ยมในเทศกาลภาพยนตร์สิงคโปร์

ตอบน้อง merveillesxx

พูดถึงหนังเรื่อง LORELEI: THE WITCH OF THE PACIFIC OCEAN ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรือดำน้ำญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ก็เลยนึกถึงข่าวที่ได้อ่านมาค่ะ

ข่าวอยู่ที่นี่
http://fullcoverage.yahoo.com/s/nm/20050811/film_nm/japan_nationalism_movie_dc

LORELEI: THE WITCH OF THE PACIFIC OCEAN และหนังเรื่อง AEGIS OF THE DOOMED COUNTRY สร้างจากนิยายของ HARUTOSHI FUKUI เหมือนกัน และก็มีบางคนกังวลว่าความนิยมในหนังเกี่ยวกับทหารสองเรื่องนี้ เกิดขึ้นพร้อมกับกระแสชาตินิยมในญี่ปุ่นขณะนี้พอดี

ส่วนในเกาหลีใต้นั้น เมื่อต้นปีนี้ก็ได้ยินข่าวว่ามีละครโทรทัศน์ที่ออกชาตินิยมหน่อยๆได้รับความนิยมอย่างน้อย 2 เรื่องค่ะ ซึ่งก็คือเรื่อง Emperor of the Sea ที่เล่าเรื่องของแจง โบ-โก ซึ่งเป็นพ่อค้าที่มีอิทธิพลเหนือการค้าในเอเชียตะวันออกในเวลากว่า 1,100 ปีก่อน ส่วนอีกเรื่องมีชื่อว่า Immortal Admiral Yi Sun-shin ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพลเรือเอกยี่ ซัน-ชิน ผู้บัญชาการกองทัพเรือเกาหลีในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นผู้ปฏิวัติการทำสงครามทางทะเลด้วยการใช้เรือชนิดใหม่ที่เรียกกันว่าเรือ "เต่า" จนเขาสามารถขับไล่ชาวญี่ปุ่นผู้รุกรานออกไปจากประเทศได้

ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรดิฉันก็ไม่รู้แน่เหมือนกัน เพราะหนังหรือละครเกี่ยวกับทหารบางเรื่อง ก็ไม่ได้มีความเป็นชาตินิยมเสมอไป หนังทหารบางเรื่องอาจจะสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมสันติภาพก็ได้

อย่างไรก็ดี ดิฉันก็ได้แต่หวังว่ากระแสชาตินิยมในเอเชียตะวันออกจะไม่เพิ่มพูนไปกว่านี้อีก เพราะรู้สึกว่าละแวกนั้นดูตึงเครียดจังเลย แถมมีคู่ตบกันหลายคู่ด้วย

เท่าที่ดิฉันลองคาดเดาดูเล่นๆ (ถ้าผิดก็ต้องขออภัยด้วย) รู้สึกว่าละแวกนั้นมีคู่ตบกันดังต่อไปนี้

1.จีนตบกับญี่ปุ่นเรื่องแบบเรียนสงครามโลกครั้งที่สอง

2.เกาหลีใต้ตบกับญี่ปุ่นเรื่องแบบเรียนสงครามโลกและเรื่องสิทธิเหนือหมู่เกาะ Tokto หรือหมู่เกาะ Takeshima

3.เกาหลีเหนือตบกับญี่ปุ่น (ซึ่งจะเห็นได้จากหนังเรื่อง AEGIS OF THE DOOMED COUNTRY)

4.เกาหลีเหนือตบกับเกาหลีใต้

5.จีนพยายามกีดกันผู้ลี้ภัยจากเกาหลีเหนือไม่ให้ทะลักเข้ามาในจีน

6.สหรัฐตบกับเกาหลีเหนือเรื่องอาวุธนิวเคลียร์

7.จีนตบกับไต้หวัน

8.ท่าทีของสหรัฐที่มีต่อปัญหาจีนและไต้หวัน

สรุปว่างานนี้ตบกันแหลกค่ะ ตบกันแหลก

ก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าจะมีหนังญี่ปุ่น, หนังเกาหลี, หนังจีน หรือหนังไต้หวันเกี่ยวกับอะไรทำนองนี้ออกมาหรือไม่ และรอดูว่าจะเกิดสงครามนิวเคลียร์ขึ้นมาหรือเปล่า (หวังว่าคงไม่เกิดนะ)

--AEGIS OF THE DOOMED COUNTRY กำกับโดย JUNJI SAKAMOTO ซึ่งเคยกำกับหนังการเมืองเรื่อง KT (2002) และหนังแปลกๆเรื่อง FACE (2000, A-)

AEGIS OF THE DOOMED COUNTRY
http://www.imdb.com/title/tt0457643/

FACE
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=4033

--ในขณะที่เกาหลีใต้ผลิตหนังที่พูดถึงความขัดแย้งทางการเมืองออกมาหลายเรื่อง หนังเรื่อง UMMA เป็นหนังเกาหลีใต้ที่ดิฉันได้ดูเรื่องแรกที่พูดถึงความขัดแย้งทางศาสนาในเกาหลีใต้ แต่ยังดีที่เป็นความขัดแย้งทางศาสนาในระดับครัวเรือนเท่านั้น