Saturday, March 25, 2006

WHERE THE TRUTH LIES (ATOM EGOYAN, A+++++)

ตอบคุณ TARENCE

คิดว่าตั้งเป็นกระทู้ใหม่หลังครบ 100 หน้าก็ดีเหมือนกันค่ะ เพราะเวลาคลิกย้อนหลังดูหน้าเก่าๆจะได้ง่ายยิ่งขึ้น

เดาว่าคุณ TARENCE น่าจะชอบหนุ่มจีน ดิฉันก็เลยมอบของชำร่วยให้คุณ TARENCE เป็น TIAN LIANG นักกระโดดน้ำชาวจีนวัย 27 ปีค่ะ
http://images.qianlong.com/mmsource/images/2004/06/04/tyhy20040604037.jpg
http://www.flipnrip.com/Olympians/Bio_Pictures/Tian_Liang.jpg
http://www.flipnrip.com/db/pictures/Pictures/5_26_2004/IMG_2398.jpg
http://202.84.17.11/aoyun/enaoyun/htm/20001001/152993A_0.jpg
http://www.kellysue.com/images/imagestopost/TianLiang.jpg
http://www.french.xinhuanet.com/french/2004-08/29/xin_c3f044c29aa54065afd942e8b401becb.jpg
http://english.people.com.cn/200409/07/images/0906_C24.jpg

และ LIU XIANG นักวิ่งแข่งชาวจีน
http://trantor.bioc.columbia.edu/~jiang/Liu_xiang.jpg
http://img.stern.de/_content/52/89/528973/xiang_600_600.jpg
http://images.sports.cn/2005/04/15/1803525349.jpg
http://eur.news1.yimg.com/eur.yimg.com/ng/sp/ap_photo/20050919/all/l1568189.jpg


ตอบน้อง LOVEJUICE

--ดีใจเช่นกันค่ะที่น้องชอบ V FOR VENDETTA

ฉากที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ คือฉากที่นาตาลี พอร์ทแมนพูดคำว่า “NO” อย่างหนักแน่นมั่นคงไม่หวั่นไหว รู้สึกว่าจะมีอยู่ 2 ครั้งในหนังที่เธอทำอย่างนี้ รู้สึกว่าเธอเล่นได้ดีมากในฉากนั้น และแสดงให้เห็นว่าคำว่า NO ที่หลุดออกมาจากปากในเวลานั้น มันมาจากความมั่นใจ ความไม่ลังเลสงสัย ความไม่หวาดหวั่นต่อสิ่งใดๆอีกต่อไป

เวลาที่ดิฉันรู้สึกอยากปะทะกับใครบางคน บางทีดิฉันจะรู้สึกลังเลสงสัยในใจตัวเองเป็นอย่างมาก ลังเลว่าควรปะทะกับเขาดีมั้ย หรือว่าควรศิโรราบให้กับความไม่ถูกต้องต่อไป ความหวาดกลัวในชีวิต ความหวาดกลัวว่าตัวเองจะสูญเสียความมั่นคงในชีวิต ความหวาดกลัวว่าตัวเองจะสูญเสียเงิน etc. ทำให้ดิฉันไม่สามารถพูดคำว่า NO ได้อย่างเต็มปากเต็มคำ และด้วยจิตใจที่สงบนิ่งแน่วแน่อย่างที่นาตาลี พอร์ทแมนพูดในหนังเรื่องนี้ เห็นเธอในฉากนั้นแล้วทำให้รู้สึกว่าตัวเองจะต้องทำอย่างเธอให้ได้บ้าง และจะต้องเอาชนะความกลัวต่างๆในใจตัวเองให้ได้

รู้สึกว่า V FOR VENDETTA จะเป็นหนังที่เต็มไปด้วยการใช้ศัพท์แสงที่รุนแรงมากด้วย รู้สึกสงสารคนแปลซับไตเติลหนังเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน
http://www.imdb.com/title/tt0434409/quotes

This visage, no mere veneer of vanity, is it vestige of the vox populi, now vacant, vanished, as the once vital voice of the verisimilitude now venerates what they once vilified. However, this valorous visitation of a by-gone vexation, stands vivified, and has vowed to vanquish these venal and virulent vermin van-guarding vice and vouchsafing the violently vicious and voracious violation of volition. The only verdict is vengeance; a vendetta, held as a votive, not in vain, for the value and veracity of such shall one day vindicate the vigilant and the virtuous. Verily, this vichyssoise of verbiage veers most verbose vis-a-vis an introduction, and so it is my very good honor to meet you and you may call me V.

รู้สึกว่าบทพูดตรงนี้เหมาะจะนำไปใช้ในการ AUDITION นักแสดงละครเวทีเนอะ

อยากได้บทพูดในหนังเรื่อง SMALL TIME CROOKS (2000, WOODY ALLEN, A+) ด้วยเหมือนกัน เพราะจำได้ว่าหนังเรื่องนี้มีฉากที่ ELAINE MAY พูดอะไรที่ฮามากๆ เพราะเธอจะเรียนคำศัพท์จากดิกชันนารี และศัพท์ที่เธอพูดก็จะเต็มไปด้วยคำที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษร A หรือ B เพราะเธอเพิ่งเรียนดิกชันนารีไปได้แค่ 2 ตัวอักษรแรก

สาเหตุที่ชอบ SMALL TIME CROOKS ในระดับ A+ ก็เป็นเพราะบทของ ELAINE MAY ในหนังเรื่องนี้นี่แหละ


--ชอบบทของ STEPHEN FRY ใน V FOR VENDETTA มากๆ ฉากที่เขาล้อเลียน V กับผู้นำประเทศว่าเป็นคนๆเดียวกัน ทำให้นึกถึงที่คุณเจ้าชายน้อยเขียนเอาไว้ว่า
http://www.bioscopemagazine.com/review/index-in.php?id=27553

แต่เราไม่มีคนเช่น วี หรอก และแน่นอนเราไม่ควรเรียกหา คนเช่น วี ด้วย เมื่อ 5 ปีที่แล้วเราเคยหลงว่า วี ของเราในตอนนั้น จะเข้ามากู้เศรษฐกิจที่พังพินาศลงได้ ก่อนที่ในที่สุดก็จะต้องออกมาขับไล่ วี คนนั้น ที่หลังหน้ากาก กาย ฟอว์ค เป็นโฉมหน้าของทุนนิยมสมบูรณ์ การได้ วี คนใหม่มาไม่ช่วยอะไร เพราะบุคคลไม่ยืนยาว

การที่ “วีรบุรุษ” กลายสภาพเป็น “เผด็จการ” ได้ในภายหลัง ทำให้อยู่ดีๆก็นึกไปถึง “ดาบมังกรหยก” ด้วยเหมือนกัน ไม่รู้ว่าตัวเองจำอะไรผิดพลาดไปบ้างหรือเปล่า เพราะไม่ได้ดูละครเรื่องนี้มานาน 20 ปีได้แล้วมั้ง แต่จำได้รางเลือนว่า ก๊วยเจ๋งหล่อ “กระบี่อิงฟ้า” กับ “ดาบฆ่ามังกร” ขึ้นมา เพราะหวังจะให้ผู้ถือดาบฆ่ามังกร ใช้ “ตำราพิชัยสงคราม” ที่ซ่อนอยู่ในดาบเล่มนี้ในการเป็นผู้นำมวลชนกอบกู้ประเทศชาติ ขับไล่ศัตรูออกไปจากประเทศ แต่ก๊วยเจ๋งเดาไว้ล่วงหน้าเช่นกันว่า เมื่อการกอบกู้ประเทศชาติเสร็จสิ้น และคนๆนั้นได้เป็นผู้นำประเทศแล้ว เขาก็อาจใช้อำนาจในทางที่ผิดและสร้างความทุกข์เข็ญให้ประชาชนได้ ดังนั้นก๊วยเจ๋งจึงหวังว่าผู้ที่ถือกระบี่อิงฟ้า จะฝึกวิชาใน “คัมภีร์เก้าอิม” ที่ซ่อนอยู่ในกระบี่อิงฟ้า และช่วยกำจัดผู้นำที่ไม่ดีในเวลาต่อมา


ตอบภรรยา JAKE GYLLENHAAL + คุณกาฬวนาลัย

--พูดถึงหนังที่ตัวละครอยู่ในสภาพ “ทะลักจุดแตก” พร้อมจะระเบิดอารมณ์ออกมาใส่คนอื่นๆอย่างรุนแรง ก็นึกถึงหนังเรื่อง THE CRISIS (1992, COLINE SERREAU, A-) ซึ่งเป็นหนังที่สนุก, บันเทิง และตลกมากๆ แต่พลังของหนังอาจจะสู้ CRASH ไม่ได้ เพราะมันเป็นหนังตลก หนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยตัวละครที่อยู่ในสภาพอารมณ์ใกล้เคียงกับ MICHAEL DOUGLAS ใน FALLING DOWN (1993, JOEL SCHUMACHER, B+) นั่นก็คือพวกเขาพร้อมที่จะตะโกนออกมาว่า “ทนไม่ไหวอีกต่อไปแล้ว”
http://www.imdb.com/title/tt0104025/

(ต่อไปนี้เป็นรายการบ่นบ้าของดิฉัน)

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมาก็รู้สึกว่าเป็นวันซวยของตัวเองเหมือนกัน ดีที่ระงับอารมณ์ได้ ก็เลยไม่ได้ปะทะกับใคร

ลำดับความซวยในวันนั้น

1.รู้สึกหงุดหงิดกับปัญหาบางอย่างในที่ทำงาน ซึ่งจริงๆเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานเป็นปีแล้ว แต่อยู่ดีๆวันนั้นก็รู้สึกหงุดหงิดกับเรื่องนี้ขึ้นมาโดยไม่มีสาเหตุ

2.ไปถึงโรงหนัง SF ที่มาบุญครองตั้งแต่ 14.30 และซื้อตั๋วหนังเรื่อง WHERE THE TRUTH LIES รอบ 16.25 น. แต่พอเข้าไปดูหนังตัวอย่างเสร็จ ปรากฏว่าหนังฉายเรื่อง MY GIRL & I ก็เลยออกไปถามพนักงานว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะที่ตั๋วของเรามีชื่อเรื่องพิมพ์ไว้ชัดเจนว่า WHERE THE TRUTH LIES รอบ 16.25 น. โรง 4 พนักงานก็โบ้ยให้ไปติดต่อสอบถามคนโน้นคนนี้กันไปเรื่อยๆ จนในที่สุดก็มีพนักงานคนนึงบอกว่า “ข้างในเขาเปลี่ยนรอบฉายหนังเรื่อง WHERE THE TRUTH LIES ค่ะ” ดิฉันก็เลยขอเงิน 120 บาทคืน รู้สึกว่าแย่มากๆที่ตัวเองต้องมาเจอเหตุการณ์แบบนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่าสาเหตุที่เขาเปลี่ยนรอบฉายเพราะอะไร ดูเหมือนพนักงานก็ไม่เต็มใจจะบอกตรงๆ แต่ทำทีเป็นว่ามันเป็นเหตุสุดวิสัย ดิฉันคิดว่าถ้าหากมันเป็นเหตุสุดวิสัยที่ไม่ได้เกิดจากความผิดของทางโรง ก็น่าจะพอให้อภัยได้ แต่ถ้าหากการเปลี่ยนรอบฉายครั้งนี้ไม่ได้เกิดจากเหตุสุดวิสัยอย่างที่ทางโรงว่าไว้แล้วล่ะก็ ก็ขอสาปแช่งให้ทางโรง SF มาบุญครองได้รับผลกรรมที่ตัวเองก่อไว้ให้สาสมก็แล้วกัน

3.หลังจากนั้นก็เลยไปดู EIGHT BELOW ที่โรง GRAND EGV SIAM DISCOVERY รอบ 16.40 น. ปรากฏว่าพอซื้อตั๋ว พนักงานชายที่เคาน์เตอร์ก็บอกว่าไม่มีรอบฉายรอบนี้ครับ แต่หลังจากนั้นเขาถึงก้มดูหน้าจอคอมพิวเตอร์ของตัวเอง แล้วบอกว่า “อ๋อ มีครับ” ไม่รู้ว่าพนักงานคนนั้นใจลอยหรืออะไร พอเจอลูกค้าถึงได้มีปฏิกิริยา REFLEX ด้วยการ “ปฏิเสธลูกค้าไว้ก่อน”

4.พอเข้าไปดู EIGHT BELOW ปรากฏว่าพอหนังเริ่มฉาย หนังก็ฉายผิดสเกล ภาพออกมาบิดเบี้ยวคล้ายๆจอสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซับไตเติลก็ไม่เห็น มันตกขอบจอไปเลย ดิฉันก็เลยวิ่งขึ้นมาบอกพนักงานหญิงตรงหน้าโรงว่า เขาฉายภาพผิดสเกล พนักงานหญิงคนนั้นกลับพูดในทำนองที่ว่า “อ๋อ มันเป็นที่ตัวหนังค่ะ ฉากแรกของหนังมันเป็นฉากที่ดูมัวๆอย่างนั้นอยู่แล้ว” ดิฉันก็เลยรอจนมีฉากที่ตัวละครพูด แล้วชี้ให้พนักงานดูว่า “เห็นมั้ยล่ะ (อีโง่) มันไม่มีซับไตเติลขึ้นมา” พนักงานหญิงคนนั้นถึงค่อยเชื่อในสิ่งที่ดิฉันพูด แล้วหลังจากนั้นอีกประมาณ 5 นาที ห้องฉายข้างบนถึงค่อยปรับภาพใหม่ให้ออกมาเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเต็มจอ

5.พอ EIGHT BELOW จบ ending credit ของหนังเรื่องนี้จะเป็นภาพวาดหมาที่น่ารักน่าชังมากๆ ปรากฏว่าทางโรงไม่ยอมฉาย ENDING CREDIT จนจบ ฉายไปไม่กี่วินาทีก็ปิดจอไปเฉยเลย

6. หลังจากนั้นพอดิฉันเดินเข้าซอย ก็โดนรถมอเตอร์ไซค์เฉี่ยวจนได้รับบาดเจ็บที่ข้อมือ

รู้สึกอารมณ์เสียกับสิ่งที่เจอที่โรงหนังในวันนั้นมากๆ แต่ก็ไม่ได้อารมณ์เสียมาก เพราะคิดว่าปัญหานี้แก้ได้ง่ายนิดเดียว นั่นก็คือตัดกิเลสความอยากดูหนังทิ้งไปซะ ถ้าหากดิฉันตัดกิเลสความอยากดูหนังทิ้งไปได้สำเร็จ ดิฉันก็จะไม่ต้องเจอกับความซวยที่โรงหนังเหล่านี้อีก

ก่อนหน้านี้ก็เคยเจอสิ่งที่ไม่ชอบใจตามโรงหนังบ้างเหมือนกัน อย่างเช่น

1.ตอนไปดู CRONICAS (2004, SEBASTIEN CORDERO, A+) ที่ GRAND EGV SIAM DISCOVERY ปรากฏว่าทางโรงฉายเพลงสรรเสริญ 2 รอบ

2.โรงเครือ APEX ก็มีสิ่งที่ดิฉันไม่ชอบเหมือนกัน โดยเฉพาะโรงสกาล่า เพราะรู้สึกว่าโรงสกาล่าจะไม่ค่อยเต็มใจฉาย ENDING CREDIT หรือไม่ก็ฉาย แต่เปิดให้ผู้ชมรอบต่อไปเดินเข้ามานั่งได้เลยขณะที่ฉาย ENDING CREDIT ยังไม่เสร็จ เจอมาหลายเรื่องและเจอมาหลายปีแล้ว นักวิจารณ์บางคนก็เคยร้องเรียนเรื่องนี้กับทางโรง แต่ก็ไม่เห็นทางโรงคิดจะปรับปรุงแก้ไขเรื่องนี้เสียที มันยากลำบากนักหรือยังไงกัน กับการฉาย ENDING CREDIT ให้จบน่ะ

3.ไปดู THE TIGER AND THE SNOW ที่ PARAGON เมื่อไม่กี่วันก่อน เพราะ PARAGON เป็นแห่งเดียวที่ฉายหนังเรื่องนี้ ปรากฏว่าที่ชั้น 5 ซึ่งเป็นชั้นขายตั๋ว+นั่งรอ ดิฉันหาถังขยะไม่เจอ ดิฉันจำได้ว่ามีถังขยะอยู่อย่างน้อย 2 จุดตรงชั้นนี้ ดิฉันจำโลเกชั่นของถังขยะได้แน่นอนเพราะสิงสถิตย์อยู่ที่ชั้นนี้มานาน 1 สัปดาห์เต็มๆตอนช่วงเทศกาลหนัง ในที่สุดดิฉันก็เลยต้องเดินไปที่ห้องน้ำเพื่อทิ้งขยะ (กระดาษห่อขนมเบเกอรีที่กินขณะนั่งรอดูหนัง) ไม่รู้เหมือนกันว่าช่วงที่ดิฉันไปดู THE TIGER AND THE SNOW ทาง PARAGON เอาถังขยะไปไว้ไหน และถังขยะจะกลับมาอีกหรือเปล่า แต่ถ้าถังขยะมันหายไปเลย ก็แสดงให้เห็นว่านโยบายของ PARAGON คือ “เรารักความสกปรกโสโครกค่ะ”

4.กะจะไปดู BUTTERFLY รอบ 14.50 น.ที่ EGV METROPOLIS แต่ไปถึงโรงตอน 15.00 น. และพนักงานบอกว่าทางโรงไม่ขายตั๋วให้แล้ว เพราะไม่มีคนดู เขาก็เลยงดการฉายหนังเรื่องนี้ไปเลย

ก่อนหน้านี้ก็เคยเจอเหตุการณ์อย่างนี้กับโรง MAJOR CINEPLEX รัชโยธินเหมือนกัน เพราะตอนนั้นจะไปดูเรื่อง WAIT TILL YOU’RE OLDER แต่ไปถึงโรงช้าไป 10 นาที เขาก็ไม่ยอมขายตั๋วให้

อย่างไรก็ดี ตอนช่วงต้นปีก็รู้สึกชอบโรง EGV METROPOLIS อยู่บ้างเหมือนกัน เพราะทางโรงยอมฉายหนังเกาหลีหลายเรื่อง ทั้งๆที่มีดิฉันดูอยู่คนเดียวทั้งโรง

ตอนไปดู “แค่เพื่อนค่ะพ่อ” (B+) ที่โรงเซ็นจูรี่ เดอะ มูฟวี่ พลาซ่า ก็รู้สึกว่าจะมีดิฉันดูอยู่คนเดียวทั้งโรงเหมือนกัน ดีที่ทางโรงฉายให้ดูตามปกติ


ตอบน้อง MATT

เห็นน้อง MATT สนใจสารคดี ก็เลยขอรายงานข้อมูลว่าตอนนี้มีสารคดีทั้งเก่าและใหม่น่าสนใจมากมาย อย่างเช่น

1.UNKNOWN WHITE MALE (2005, RUPERT MURRAY)
http://www.imdb.com/title/tt0436864/
http://www.villagevoice.com/film/0608,hoberman,72260,20.html

หนังสารคดีเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้ชายที่ความจำเสื่อม เขาจำไม่ได้ว่าตัวเองเป็นใครและทำอะไรมาบ้าง แต่เขาก็เริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยการทำ VIDEO DIARY เกี่ยวกับชีวิตใหม่ของเขาไปด้วย และผู้กำกับหนังเรื่องนี้ก็เลยถือโอกาสนำวิดีโอที่ชายความจำเสื่อมคนนี้ถ่ายไว้มาใช้ในหนังของตัวเองด้วยเลย รวมทั้งนำโฮมมูฟวี่ที่บันทึกภาพชายคนนี้ก่อนความจำเสื่อมมาใช้ในหนังด้วยเช่นกัน

ชายคนนี้รู้สึกตัวเมื่อเขานั่งอยู่บนรถไฟ เขาจำไม่ได้ว่าตัวเองเป็นใคร มาจากไหน และกำลังจะไปไหน เขาพบว่าตัวเองมีกระเป๋าตังค์ที่จดชื่อคนบางคนเอาไว้ และคนเหล่านั้นก็ช่วยให้เขารู้ว่าเขาคือ DOUG BRUCE อย่างไรก็ดี ถึงแม้เขาจะได้พบกับเพื่อนเก่า, แฟนเก่า, ครอบครัวของตัวเอง และได้รับรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ตัวเองเคยทำ ความทรงจำของเขาก็ไม่กลับคืนมา

ผู้กำกับหนังเรื่องนี้เป็นเพื่อนเก่าของ DOUG BRUCE ตัวผกก.พบว่ายิ่งเขาได้คุยกับ DOUG BRUCE คนใหม่มากเพียงไร เขาก็ยิ่งพบว่า DOUG BRUCE ก่อนและหลังความจำเสื่อมแตกต่างกันมากเพียงนั้น DOUG BRUCE คนใหม่มีนิสัยดีกว่าเดิม และเขาก็มีความสุขมากๆกับการได้สัมผัสสิ่งต่างๆในชีวิตเป็นครั้งแรก อย่างเช่น การได้กินไอติมเป็นครั้งแรกในชีวิต หรือการได้สัมผัสกับน้ำทะเลครั้งแรกในชีวิต ความจำเสื่อมช่วยให้ชายคนนี้ได้เกิดใหม่อีกครั้ง และเขาก็เริ่มตั้งต้นชีวิตได้ใหม่ เขามีความสุขกับชีวิตใหม่มากจนกระทั่งเขาหวาดกลัวว่าความทรงจำเก่าของเขาอาจจะหวนกลับมา
http://www.unknownwhitemalemovie.com/
http://www.unknownwhitemalemovie.com/gallery/images/popUp/image04.jpg
http://www.unknownwhitemalemovie.com/gallery/images/popUp/image02.jpg
http://www.unknownwhitemalemovie.com/gallery/images/popUp/image05.jpg
http://www.unknownwhitemalemovie.com/gallery/images/popUp/image01.jpg
http://www.up4u.net/movie/galleries/U/UnknownWhiteMale/unknownwhitemale_poster.jpg


2.A BIGGER SPLASH (1974, JACK HAZAN)
http://www.imdb.com/title/tt0071219/usercomments
http://www.amazon.com/gp/product/B000E6ESQW/qid=1143273935/sr=11-1/ref=sr_11_1/102-6983084-0404922?n=130
http://images.amazon.com/images/P/B000E6ESQW.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
http://www.davidhockney.com/

หนังสารคดีเรื่องนี้จะมีวางขายในรูปแบบ DVD ตั้งแต่วันที่ 18 เม.ย.ปีนี้ และมีเนื้อหาเกี่ยวกับ DAVID HOCKNEY ศิลปินชื่อดังที่เป็นเกย์ หนังเรื่องนี้ติดตามถ่ายทำชีวิตของ HOCKNEY ในช่วงที่ HOCKNEY กำลังจะเลิกกับสามีที่ชื่อ PETER SCHLESINGER โดยหนังเรื่องนี้บันทึกภาพการร่วมรักระหว่าง PETER SCHLESINGER กับชายหนุ่มอีกคนเอาไว้ด้วย

จุดเด่นของหนังสารคดีเรื่องนี้ก็คือการไม่ยิดติดกับความเป็นสารคดี แต่มีส่วนที่เป็นแฟนตาซีและละครน้ำเน่าแทรกเข้ามาในภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ด้วย

ภาพ A BIGGER SPLASH (1967) ของ HOCKNEY
http://www.ibiblio.org/wm/paint/auth/hockney/splash/
http://www.ibiblio.org/wm/paint/auth/hockney/splash/hockney.splash.jpg

MAN TAKING SHOWER IN BEVERLY HILLS (1964) ของ HOCKNEY
http://www.ibiblio.org/wm/paint/auth/hockney/hockney.shower-beverly-hills.jpg

PORTRAIT OF AN ARTIST (POOL WITH TWO FIGURES) (1971) ของ HOCKNEY (เห็นภาพนี้แล้วนึกถึงหนังเรื่อง BAD EDUCATION อย่างมากๆ)
http://www.ibiblio.org/wm/paint/auth/hockney/hockney.pool-2-figures.jpg

PORTRAIT OF NICK WILDER (1966) ของ HOCKNEY
http://www.ibiblio.org/wm/paint/auth/hockney/hockney.nick-wilder.jpg

A LAWN BEING SPRINKLED (1967) ของ HOCKNEY
http://www.ibiblio.org/wm/paint/auth/hockney/hockney.lawn-sprinkled.jpg

MODEL WITH UNFINISHED SELF-PORTRAIT (1977) ของ HOCKNEY
http://www.ibiblio.org/wm/paint/auth/hockney/hockney.unfinished-self.jpg

ภาพ DAY POOL WITH 3 BLUES ของ DAVID HOCKNEY
http://www.artinaclick.com/images/mcg/mcgh240a_1_1164.jpg

NICHOLS CANYON ของ DAVID HOCKNEY
http://www.artinaclick.com/images/mcg/mcgh243a_1_3044.jpg

A BIGGER SPLASH ได้รับรางวัลเสือดาวเงินจากเทศกาลภาพยนตร์โลคาร์โนในสวิตเซอร์แลนด์ โดยได้รับร่วมกับภาพยนตร์โปแลนด์เรื่อง THE FINGER OF GOD (1974, ANTONI KRAUZE) ส่วนรางวัลเสือดาวทองคำในปีนั้นเป็นของภาพยนตร์ฮังการีเรื่อง 25 FIREMAN’S STREET ที่กำกับโดย ISTVAN SZABO ที่ทุกคนรู้จักกันดีจากหนังอย่าง BEING JULIA (A), HANUSSEN (1988, A) MEPHISTO (1981, A) และ FATHER (1966, A+/A)

DVD FATHER
http://images.amazon.com/images/P/B0002CHIBU.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

DVD 25 FIREMAN’S STREET
http://images.amazon.com/images/P/B0002CHICO.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


JACK HAZAN ผู้กำกับ A BIGGER SPLASH เคยกำกับหนังอีกเรื่องหนึ่งที่น่าดูมากๆ นั่นก็คือเรื่อง RUDE BOY (1980) ที่เขากำกับร่วมกับ DAVID MINGAY โดยหนังเรื่องนี้ถ่ายทอดสภาพสังคมอังกฤษในยุคสมัยนั้น และแสดงให้เห็นว่าทั้งฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาต่างก็ปั่นหัวประชาชนเหมือนกันทั้งสองฝ่าย โดยตัวละครที่น่าสนใจในหนังเรื่องนี้คือแฟนเพลงวง THE CLASH คนหนึ่ง ซึ่งมีความโน้มเอียงที่จะเป็นฝ่ายขวา แต่เขากลับติดตามวง THE CLASH ซึ่งเป็นฝ่ายซ้าย นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังนำฟุตเตจงานคอนเสิร์ตวง THE CLASH ที่ยอดเยี่ยมมากๆมาใส่ไว้ในหนังด้วย อย่างไรก็ดี หนังเรื่องนี้สร้างความไม่พอใจให้กับทั้งฝ่ายขวาและวง THE CLASH

RUDE BOY มีขายแล้วในรูปแบบดีวีดี
http://images-eu.amazon.com/images/P/B0000AQVJI.02.LZZZZZZZ.jpg

เพลงดังของ THE CLASH รวมถึง ROCK THE CASBAH, LONDON CALLING และ SHOULD I STAY OR SHOULD I GO
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00008GRB9.02.LZZZZZZZ.jpg


สิ่งที่ได้ดูระหว่างวันเสาร์ที่ 18 มี.ค.-วันศุกร์ที่ 24 มี.ค.

1.WHERE THE TRUTH LIES (2005, ATOM EGOYAN, A+++++)
http://wherethetruthliesfilm.com/

2.CRYING CENTURY (2006, ธีรวัฒน์ มุลวิไล, A) ละครเวที
http://www.bfloortheatre.com/home.htm

3.THE EDGE (2006, สินีนาฏ เกษประไพ, A) ละครเวที

4.EIGHT BELOW (2006, FRANK MARSHALL, A-)
http://www.imdb.com/name/nm0550881/

5.THE PINK PANTHER (2006, SHAWN LEVY, A-)

6.THE TIGER AND THE SNOW (2005, ROBERTO BENIGNI, B+)

7.สงครามเพลง (1983, ฉลอง ภักดีวิจิตร, B+)

คุณบัณฑิต ฤทธิ์ถกลร่วมเขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย

8.MY BOYFRIEND IS TYPE B (2005, CHOI SUK-WON, B)

9.NAVY BOYS (วรพจน์ โพธิเนตร, A-/C+ = B-)
http://www.thaifilmdb.com/th/tt04002

รวมทั้งได้ดูละคร DEADWOOD (A+) ทางช่อง HBO และละครเรื่อง “จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า” (2006, เติม ชนินทร ประเสริฐประสาตร์, A+) ทางช่อง 3 ด้วย รู้สึกว่า “จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า” เป็นละครที่น้ำเน่าสุดๆ แต่ดูแล้วชอบมาก
http://www.thaitv3.com/drama/49moon/moon.html


ความรู้สึกต่อสิ่งที่ได้ดูในช่วงนี้

NAVY BOYS หรือ “น้ำพริกลงเรือ” (A-/C+ = B-)

สาเหตุที่ให้อันดับความชอบหนังเรื่องนี้แปลกๆ เพราะรู้สึกชอบ “ความสามารถ” ของผู้กำกับหรือผู้ตัดต่อหนังเรื่องนี้ในระดับ A- รู้สึกชอบจังหวะของหนังเรื่องนี้มาก รู้สึกว่าหนังดูสนุกสนานครื้นเครงเฮฮา ดูแล้วหัวเราะได้อย่างไม่ติดขัด รู้สึกว่าจังหวะการปล่อยมุกตลกหรือจังหวะของหนังเรื่องนี้ลงตัวถูกต้องความความรู้สึกของตัวเองเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับหนังไทยเรื่องอื่นๆอย่าง “ไฉไล” (C) และ “เพราะรัก ครับผม” (2005, ธนพล ธนังกูล, B-) ที่รู้สึกว่ามีปัญหาเรื่อง “จังหวะ” เป็นอย่างมาก

แต่สิ่งที่ตะขิดตะขวงใจในหนังเรื่องนี้ ก็คือท่าทีที่มีต่อเกย์และผู้หญิง ดูแล้วรู้สึกไม่ชอบตรงจุดนี้อย่างมาก จุดนี้ทำให้รู้สึกอยากให้หนังเรื่องนี้แค่ C+ เท่านั้น อย่างไรก็ดี ถ้าหากมองข้ามประเด็นเรื่องเกย์และผู้หญิงในหนังเรื่องนี้ไปแล้ว ก็คิดว่าผู้กำกับหนังเรื่องนี้น่าจะมีความสามารถพอสมควร น่าเสียดายจริงๆ นี่ถ้าหากไม่ติดใจตรงจุดนี้ ก็คิดว่าน่าจะชอบหนังเรื่องนี้ในระดับใกล้เคียงกับ “หมอเจ็บ” (2004, สมภพ เวชชพิพัฒน์, A-) ไปแล้ว

รู้สึกว่าวรพจน์ โพธิเนตร จะเคยกำกับหนังเรื่อง “ความรักของคุณฉุย 2 ตอนปัญญาชนคนกะลิง” (1993)
http://www.thaifilmdb.com/th/tt00308

รู้สึกว่ามีหนังไทยแนวตลกบ้าๆบอๆ ออกมาหลายเรื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นอกจาก “หมอเจ็บ” แล้ว อีก 3 เรื่องที่ชอบมากๆก็คือ

1.ทวารยังหวานอยู่ (2004, พรชัย หงษ์รัตนาภรณ์, A+)
http://www.thaifilmdb.com/th/tt00427

2.191 1/2 มือปราบทราบแล้วป่วน หรือ CRAZY COPS 191 1/2 (2003, บุญส่ง นาคภู่, A)

จริงๆแล้วรู้สึกไม่ชอบการนำเสนอภาพของเกย์ในหนังของคุณบุญส่งเรื่อง “LIFE ACTUALLY” (2005, A) แต่ดีที่ในหนังเรื่อง 191 1/2 มือปราบทราบแล้วป่วนนี้ ไม่มีปัญหาเรื่องการนำเสนอภาพเกย์ในทางลบ ก็เลยทำให้ชอบหนังเรื่องนี้ได้อย่างไม่ตะขิดตะขวงใจ

3.SARS WARS (2004, THAWEE WANTHA, A-)


นอกจาก NAVY BOYS แล้ว ก็มีหนังไทยอีกหลายเรื่องเช่นกันที่ความรู้สึกชอบลดลงเพราะการนำเสนอภาพเกย์หรือผู้หญิงในแบบที่ตัวเองไม่ชอบ โดยเฉพาะหนังของยุทธเลิศ สิปปภาค อย่าง “สายล่อฟ้า” (PATTAYA MANIAC) (2004, B) และหนังของกิตติกร เลียวศิริกุล อย่าง SAVING PRIVATE TOOTSIE (2002, B+) และ “อหิงสา จิ๊กโก๋มีกรรม” (2005, A-) โดยส่วนตัวแล้ว รู้สึกว่าคุณวรพจน์ โพธิเนตร, คุณยุทธเลิศ และคุณกิตติกรเป็นผู้กำกับที่มีความสามารถสูงมาก แต่อาจจะเป็นการดียิ่งขึ้นถ้าหากผู้กำกับเหล่านี้ทำหนังที่ไม่มีตัวละครเป็นกะเทย

ความรู้สึกที่ขัดแย้งกันระหว่าง “ความชอบในพลังของหนัง” กับ “ความไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงในทัศนคติของหนัง” เป็นสิ่งที่ปรากฏมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดิฉันรู้สึกเช่นนี้อย่างรุนแรงขณะที่ดู NAVY BOYS และก็เลยนึกถึงหนังหลายๆเรื่องในอดีตที่อาจจะมีคุณค่าอย่างสูงมากในทางศิลปะหรือในทาง “ความเป็นภาพยนตร์” แต่ในแง่ทัศนคติแล้ว หนังเหล่านี้ช่างน่าเคลือบแคลงเป็นยิ่งนัก

1.THE BIRTH OF A NATION (1915, D.W. GRIFFITH)
http://www.imdb.com/title/tt0004972/
หนังเรื่องนี้ได้รับข้อกล่าวหาว่าเหยียดผิว

2.TRIUMPH OF THE WILL (1935, LENI RIEFENSTAHL)

3.ON THE WATERFRONT (1954, ELIA KAZAN)
http://www.imdb.com/title/tt0047296/
หนังเรื่องนี้ได้รับข้อกล่าวหาว่าเข้าข้างคนที่ยอมก้มหัวให้กับกลุ่มปราบปรามคอมมิวนิสต์ในสหรัฐ

อ่านเพิ่มเติมเรื่องนี้ได้ที่
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=3398
http://www.pbs.org/wnet/americanmasters/database/kazan_e.html

และหนังหลายๆเรื่องที่เหมือนเป็นการโฆษณาชวนเชื่อให้กับคอมมิวนิสต์ หรือลำเอียงเข้าข้างคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง อย่างเช่น

4.I AM CUBA (1964, MIKHAIL KALATOZOV, A+)

5.STORM OVER ASIA (1928, VSEVOLOD PUDOVKIN, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0019286/


FAVORITE ACTRESS

1.พริมรตา เดชอุดม--จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า

2.ศรีริต้า เจนเซ่น—จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า

ก่อนหน้านี้เคยเห็นศรีริต้า เจนเซ่นจาก พันธุ์ X เด็กสุดขั้ว (2003, เหมันต์ เชตมี, B-/C+) รู้สึกว่าเธอดูแย่มาก แต่พอมาเห็นเธอใน “จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า” ก็รู้สึกดีกับเธอขึ้นมาก รู้สึกว่าความแตกต่างระหว่างศรีริต้าใน “จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า” กับใน “พันธุ์ X เด็กสุดขั้ว” เหมือนกับความแตกต่างระหว่างสวรรค์กับนรก

คงต้องยกความดีความชอบให้กับ “เติม” ผู้กำกับละครเรื่อง “จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า” ที่ทำให้ดิฉันเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อศรีริต้าไปอย่างสิ้นเชิง ถ้าจำไม่ผิด เมื่อหลายปีก่อนเคยดูละครช่อง 3 เรื่องนึงที่กำกับโดยคุณเติม รู้สึกว่าจะชื่อเรื่อง “แม่เลี้ยงคนใหม่” ที่นำแสดงโดยสิเรียม ละครเรื่องนั้นก็ทำให้เปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อสิเรียมไปโดยสิ้นเชิงเหมือนกัน เพราะไม่เคยชอบเธอมาก่อนเลย แต่พอได้มาดูเธอใน “แม่เลี้ยงคนใหม่” แล้ว ก็รู้สึกว่าสิเรียมก็มีดีเหมือนกัน เพียงแต่ว่าเธอต้องการ “ผู้กำกับ” ที่เก่งจริงๆที่จะดึงความสามารถที่แท้จริงในตัวเธอออกมาได้

3.ALISON LOHMAN—WHERE THE TRUTH LIES


FAVORITE ACTOR

KEVIN BACON—WHERE THE TRUTH LIES


FAVORITE SUPPORTING ACTRESS

1.AMY RYAN—CAPOTE
http://www.imdb.com/name/nm0752407/
ถ้าเข้าใจไม่ผิด เธอคือคนที่รับบทเป็นภรรยาตำรวจ (CHRIS COOPER) เธอเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลโทนี่สาขาดารานำหญิงสองครั้งจาก UNCLE VANYA (2000) และ A STREETCAR NAMED DESIRE (2005)

2.KRISTIN ADAMS (ALICE IN WONDERLAND)—WHERE THE TRUTH LIES
http://www.imdb.com/name/nm0011134/

เธอเคยเล่นหนังเรื่อง CHILDSTAR (2004, DON MCKELLAR, A-) ที่เคยมาฉายในงาน BKKIFF ต้นปี 2005
http://images.amazon.com/images/P/B0009WPL5I.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

3.เจเน็ต เขียว—จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า

4.DEBORAH GROVER (MRS. O’FLAHERTY)—WHERE THE TRUTH LIES
http://www.imdb.com/name/nm0344010/

เธอเคยรับบทเป็นแม่ชีใน AGNES OF GOD (1985, NORMAN JEWISON, A+) และรับบทเป็นผู้พิพากษาในภาพยนตร์เรื่อง OUR FATHERS (2005, DAN CURTIS) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระที่มีเซ็กส์กับเด็กๆ

5.ANNA GUNN—DEADWOOD
http://www.hbo.com/deadwood/cast/
http://www.imdb.com/name/nm0348152/


FAVORITE SUPPORTING ACTOR

DAVID HAYMAN (REUBEN)—WHERE THE TRUTH LIES
http://www.imdb.com/name/nm0371342/

เขาเคยรับบทเป็น MALCOLM MCLAREN ใน SID AND NANCY (1986, ALEX COX, A)
http://www.imdb.com/title/tt0091954/
http://images.amazon.com/images/P/B00004ZBVO.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


FAVORITE ART DIRECTION
WHERE THE TRUTH LIES
ชอบสีฟ้าเหลือบเงินในหนังเรื่องนี้มากๆ ไม่รู้เหมือนกันว่าสีฟ้าหลายๆเฉดสีในหนังเรื่องนี้มีชื่อเรียกกันว่าอะไรบ้าง


FAVORITE MUSIC
IMMORTEL (AD VITAM)—GORAN VEJVODA
http://www.amazon.fr/exec/obidos/ASIN/B0001HZ6N8/qid=1143261206/sr=1-1/ref=sr_1_8_1/171-2529580-4765027

ในอัลบัมนี้มีเพลงที่เพราะมากๆอย่าง
--MY DEAR FRIEND ของ JULIE DELPY

--JUNE IN JANUARY ของ JULIE LONDON

--NIGHTS IN WHITE SATIN ของ ALAIN BASHUNG


FAVORITE SCENE

WHERE THE TRUTH LIES
ฉากอลิซในแดนมหัศจรรย์ร้องเพลง


SPECIAL LIFETIME ACHIEVEMENT AWARD
สุมณฑา สวนผลรัตน์—THE EDGE และ CRYING CENTURY

ตอนนี้คุณสุมณฑา สวนผลรัตน์คงจะครองตำแหน่งหนึ่งในนักแสดงหญิงชาวไทยที่ดิฉันชอบมากที่สุดไปแล้ว (ส่วนนักแสดงหญิงคนอื่นๆที่ชอบมาก ก็มีเช่น ชไมพร จตุรภุช) เพราะได้ดูละครเวทีสองเรื่องที่เธอแสดงเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็รู้สึกว่าฝีมือการแสดงของเธอสุดยอดมากๆ โดยก่อนหน้านั้นเคยดูผลงานของเธอ 2 เรื่อง ซึ่งก็คือละครเวทีเรื่อง QUARTET (A+) กับ THAILAND-JAPAN PERFORMANCE EXCHANGE PROJECT: WITH OM-2 FROM JAPAN (2004, SHIGE MAKABE + TEERAWAT MULVILAI, A+++++) ก็รู้สึกว่าเธอเล่นได้ดีเช่นกัน โดยเฉพาะใน QUARTET
http://www.bfloortheatre.com/profile/om2/om2.htm

คุณแฟรงเกนสไตน์แห่งเว็บบอร์ด SCREENOUT เคยเขียนถึงคุณสุมณฑาไว้ใน SCREENOUT หน้า 73 ขอก็อปปี้ข้อความมาให้อ่านกันนะคะ

>>ส่วนที่น้องอ้วนเล่ามาเรื่อง ควอเต็ท ซึ่งมีคุณ จุ๋ม สุมณฑา สวนผลรัตน์ ร่วมแสดงด้วยนั้น ต้องบอกว่าพี่อยากดูแบบสุดๆ เลยครับ เพราะคุณจุ๋ม เป็นหนึ่งในนักแสดงละครเวทีที่พี่ชื่นชอบผลงานมาก จำได้ว่ามีละครเรื่องนึงของกลุ่มหน้ากากนิมิต ชื่อ บุษบาฆาตกรรม เป็นละครที่ใช้นักแสดงราวยี่สิบห้าแคแร็คเตอร์มาแชร์บทกัน คุณจุ๋มโผล่มาแจมเป็นนักแสดงรับเชิญในเรื่องด้วย พอดีพี่ได้ดูในรอบที่คุณจุ๋มเกิดแอคซิเดนท์เล็กน้อย มาถึงสถานที่แสดงค่อนข้างกระชั้นชิด ผมเผ้ายังไม่ทันเซ็ทเป็นเรื่องเป็นราว ตอนแรกพี่คิดว่าเธอเป็นคนดูที่เข้าโรงละครช้าเสียด้วยซ้ำ แต่พอเธอปรากฏตัวในเรื่องเท่านั้น ก็ฉายแสง และโดดเด่น โดยไม่ขโมยซีน รักษาขนาดและพื้นที่ทางการแสดงไว้ในขอบเขตอันพอเหมาะพอควร ในฉากเดียวกันเธอไม่ข่มใครให้จมลงด้วยการแสดง ตรงกันข้ามกลับพยายามหนุนส่งเพื่อนรุ่นพี่รุ่นน้องทั้งหน้าใหม่หน้าเก่าอย่างเต็มที่ แต่ช่วยไม่ได้ที่จังหวะและความชำนิชำนาญในทักษะละครของเธอจะทำให้เธอถูกจับจองทางสายตาขากคนดูได้มากที่สุด ครูแดง กิตติศักดิ์ สุวรรณโภคิน กล่าวถึงการแสดงของเธอในเรื่องว่า “เขี้ยวลากมาตั้งแต่หน้าประตู” ครับ ละครเรื่องอื่นๆ ของคุณจุ๋ม ที่พี่จำได้ว่าเคยดู ได้แก่ วีนัสปาร์ตี้ (A) ... เรื่องนี้เป็นละคร Physical ที่นำเสนอร่วมกับศิลปะสื่อผสม คุณจุ๋มแสดงในหลายแคแร็คเตอร์มากครับ มีอยู่ฉากนึงที่เธอต้องแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการเกิดเป็นผู้หญิงที่ไม่สวยและอ้วน ตัวละครของเธอในช่วงนี้ทำให้พี่รู้สึกว่าที่เรเน่ เซลวีเกอร์ แสดงไว้ใน ไดอารี่ของบริดเจ็ท โจนส์ เป็นมือสมัครเล่นไปเลย ที่สำคัญเธอแสดงฉากนี้สั้นๆ เพียงไม่กี่นาที ด้วยภาษาท่าทางล้วนๆ ไม่มีไดอะล็อคแม้แต่ประโยคเดียว แต่กลับทำให้คนดูทั้งหลาย “รู้สึก” ไปกับเธอได้อย่างเต็มที่ สมค่ากับการเป็นละครที่สื่อสารด้วยภาษาท่าทางเป็นหลักล้วนๆ จริงๆ Alone (A) ... เรื่องนี้เป็นผลงานของพี่กั๊ก จากกลุ่ม ดอกไม้การบันเทิง เจ้าของงานแสดงเดี่ยวที่โด่งดังแซ่บหลาย อย่าง ไฉไลไปรบ, คืนนี้ที่คีนู รีฟ จูบฉัน ฯลฯ คุณจุ๋มรับบทบาทเป็นทอมสาวห้าว ที่ต้องเผชิญหน้ากับสองหนุ่ม ว่าด้วยเรื่องวุ่นๆ ของหัวใจ หนึ่งหนุ่มที่ร่วมแสดง พี่จำชื่อไม่ได้ จำได้แค่ว่าเคยถ่ายแบบโป๊ๆ เปลือยๆ ในหนังสือเกย์ๆ หลายเล่ม (น่าจะชื่อเวย์ หรืออะไรนี่) เขาคนนี้มีเรือนร่างที่น่าหลงใหลเอามากๆ แถมพี่กั๊กแอบพยายามหนุนส่งให้เขาดันเสน่ห์ความเป็นชายออกมาอย่างเต็มที่ด้วยการให้เขาใส่เสื้อยืดรัดรูปสีขาว เห็นกระทั่งหัวนม แต่ด้วยความอ่อนหัดอย่างรุนแรงทางการแสดง เขาเป็นจุดอ่อนที่สมควรอย่างยิ่งที่จะถูกจำกัดบนเวที แต่ก็อีกนั่นแหละครับ พี่กั๊กมักใจดีให้หนุ่มอ่อนหัดเหล่านี้ได้มีประสบการณ์อันน่าประทับใจบนเวทีละครอยู่เสมอ (ก่อนหน้านี้พี่กั๊ก เคยให้ ปราโมทย์ แสงศร ได้สัมผัสอะไรทำนองนี้มาแล้วใน When a man love a man ละครที่มีประโยคเด็ดที่พี่แฟรงค์อยากลุกขึ้นยืนปรบมือให้อย่างหนักหน่วง นั่นคือ “ใครไปโกหกคุณว่าผู้ชายต้องรักกับผู้หญิง” ...ละครเรื่องนี้พี่แฟรงค์ไปดูกับแฟนหนุ่มน้อยแสนน่ารักคนที่สองด้วยฮะ เลยจำได้ดี หุหุ) การแสดงของคุณจุ๋ม ในเรื่องนี้ ต้องใช้คำว่า “สุดยอดมืออาชีพ” เลยครับ นักแสดงส่วนใหญ่มักพุ่งความสนใจไปที่ตัวละครของตัวเองเป็นหลัก พยายามดันการแสดงของตัวเองไปให้สุดในทุกฉากเท่าที่จะทำได้ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับความเชื่อส่วนตัวของพี่อย่างมาก พี่เชื่อว่า การแสดงที่ดีคือการโต้ตอบไปกับนักแสดงคนอื่น เพราะตัวละครของเราไม่ได้เกิดความรู้สึก คิด ตัดสินใจ ไปอย่างลอยๆ ตามบทละคร หรือการวางแนวทางการแสดงของนักแสดง แต่ตัวละครเห็น คิด พูด ทำ และรู้สึก อันเนื่องจากการรับและส่ง จากตัวละครอื่นๆ คุณจุ๋มรักษาตัวละครของตัวเองไว้ได้ตลอดทั้งเรื่อง ขณะเดียวกันก็ช่วยรับส่งโอบอุ้มการแสดงของคุณเวย์ไว้ทั้งเรื่องเช่นกัน ไม่มีฉากไหนที่พลังของละครดรอปลงเพราะตัวละครของคุณจุ๋มขณะเดียวกันก็ไม่มีฉากไหนที่เธอจะไม่ “เต็มที่” ไปกับการรับส่ง และหนุนเสริม ให้กับนักแสดงมือใหม่ สิ่งที่ชี้วัดได้อย่างชัดเจนก็คือ ช่วงสั้นๆที่พี่กั๊กโดดออกมาแจมในบทรับเชิญ ประกบกับคุณจุ๋มตัวต่อตัว ถ้าเป็นสำนวนนิยายกำลังภายในก็ต้องบอกประมาณว่า “มือกระบี่อันดับหนึ่งได้คู่ประลองที่คู่ควรแก่การชักกระบี่ออกจากฝัก เป็นการประลองยุทธ์ที่หมดจดงดงาม” ละครอีกเรื่องหนึ่งของคุณจุ๋มที่พี่พลาดไปไม่ได้ดู แล้วยังเสียดายจนวันนี้ กระทั่งชื่อยังจำไม่ได้ คุ้นๆว่า “นางฟ้า...” หรืออะไรสักอย่าง ทราบมาว่าเรื่องนี้เธอรับบทที่แอบมีฉากเซ็กซี่อีโรติคด้วย อยากดูมากกกกกกกกกกก เอาเป็นว่าพี่แฟรงค์เอาหัวเป็นประกันแล้วกันครับว่า ละครเรื่องไหนก็ตามที่มีนักแสดง ชื่อ สุมณฑา สวนผลรัตน์ ร่วมแสดงอยู่ ควักกระเป๋าจ่ายตังค์ซื้อบัตรเข้าชมได้เลยครับ ดูแค่การแสดงของเธอก็แสนจะคุ้มเหลือหลาย สำหรับใครหลายคนที่ไม่ใช่คอละครเวที อาจพอคุ้นหน้าเธอจากสปอตโฆษณาพีซีทีเมื่อราวปีสองปีก่อน เธอรับบทเป็นอาม้าจอมจุ้นที่คอยโทร.ตามจิกอาตี๋ตลอดเวลา (การแสดงของเธอฮามากๆๆ ครับ) หรือในหนังไทยเรื่อง สยิว เธอก็โผล่มาแจมในบทสาวออฟฟิศจิตหงุดหงิดจนใกล้จิตแตก การแสดงในเรื่องนี้อาจจะดูเกินๆ ไปบ้าง แต่ผมมองว่าเป็นผลจากการที่ผู้กำกับไม่ชัดเจนมากพอกับตัวละครของเธอและดีไซน์ตัวละครของเธอออกมาแบบนี้ ประมาณว่า “มีกลองดีก็กระหน่ำตีมันเข้าไปจนเสียเสนาะ”<<


--รู้สึกว่า VENUS PARTY มีขายแล้วในรูปแบบดีวีดี

--นักแสดงละครเวทีหญิงอีก 2 คนที่ดิฉันชอบมากในตอนนี้ก็คือ พัชร์รุจา กาญจนโกศล จาก MISSING YOU (A), หมาตอน (A+) และตึกแดง (A) เพราะเธอเปลี่ยนบุคลิกได้เก่งมากๆ

ส่วนอีกคนก็คือภาวิณี สมรรคบุตร จาก “พระเจ้าเซ็ง” (2006, นิกร แซ่ตั้ง, A+/A) และ “เส้นด้ายในความมืด” (2005, พนิดา ฐปนางกูร, A+) ยังไม่แน่ใจว่าเธอมีความสามารถทางการแสดงสูงมากหรือเปล่า แต่คิดว่าถ้าหากเธอได้รับบท “ผู้หญิงที่มีความมุ่งมั่นอันแรงกล้า” แล้วล่ะก็ เธอจะเปล่งพลังออกมาได้อย่างรุนแรงมากกับบทแบบนั้น


ตอบน้อง MERVEILLESXX

--ชอบหลี่เจียซินใน FALLEN ANGELS อย่างสุดๆ มาดเธอในหนังเรื่องนี้สุดยอดมาก หลี่เจียซินใน FALLEN ANGELS ดูสง่ากว่าบท “ศิษย์ผู้น้อง” ใน “เดชคัมภีร์เทวดาภาค 2” ประมาณ 100 เท่า

--FALLEN ANGELS ใช้เพลงประกอบของ MASSIVE ATTACK และ MARIANNE FAITHFULL ด้วย

อ่านข้อมูลเก่าเกี่ยวกับ MARIANNE FAITHFULL ได้ที่
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=5266

--ชอบมากที่หนังเรื่องนี้นำเพลงของ LAURIE ANDERSON มาใช้ในหนัง เพลงนั้นก็คือเพลง SPEAK MY LANGUAGE

Daddy Daddy,
it was just like you said
Now that the living outnumber the dead.
Where I come from
it's a long thin thread A
cross an ocean.
Down a river of red.
Now that the living outnumber the dead.
Speak my language.
Hello. Hello.
Here come the quick.
There go the dead.
Here they come.
Bright red.
Speak my language.

เพลงนี้อยู่ในอัลบัมชุด BRIGHT RED (1994, A+++++) ของ LAURIE ANDERSON ที่มี BRIAN ENO เป็นโปรดิวเซอร์
http://www.amazon.com/gp/product/B000002MP5/sr=8-9/qid=1143252800/ref=pd_bbs_9/102-6983084-0404922?%5Fencoding=UTF8

--จำเพลง ONLY YOU ในตอนจบของ FALLEN ANGELS ไม่ได้แฮะ จำไม่ได้แล้วว่าเวอร์ชันที่ได้ดูตอนจบเป็นเพลงอะไร

แต่ชอบเพลง ONLY YOU เวอร์ชันดั้งเดิมที่ร้องโดย ALISON MOYET อย่างมากๆ เพลงนี้อยู่ในอัลบัมชุด UPSTAIR AT ERIC’S ของวง YAZ หรือ YAZOO ซึ่งมี ALISON MOYET เป็นสมาชิก
http://www.amazon.com/gp/product/B000002KYC/qid=1143253721/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/102-6983084-0404922?s=music&v=glance&n=5174
http://images.amazon.com/images/P/B000002KYC.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

อัลบัมชุด UPSTAIRS AT ERIC’S (1982) มีเพลงชื่อเก๋ว่า “I BEFORE E EXCEPT AFTER C” ด้วย

http://www.mutelibtech.com/mute/yazoo/yazbiog.htm
นักวิจารณ์บอกว่า YAZOO ทำเพลงป็อปที่มีส่วนผสมของอิเล็กทรอนิกส์และบลูส์ โดยสมาชิกอีกคนหนึ่งของวงนี้คือ VINCE CLARKE โดยก่อนหน้าที่เขาจะมาร่วมวงนี้ เขาเคยเป็นสมาชิกวง DEPECHE MODE และหลังจากวง YAZOO ยุบไป VINCE CLARKE ก็ร่วมมือกับ ANDY BELL ในการก่อตั้งวง ERASURE

เพลงที่ดิฉันชอบมากที่สุดของ ALISON MOYET คือเพลง IT WON’T BE LONG ชอบเนื้อเพลงนี้มากๆ แม้จะไม่เข้าใจอย่างเต็มที่ว่ามันหมายถึงอะไร แต่รู้สึกว่ามันให้อารมณ์รุนแรงดี โดยเฉพาะท่อนที่ว่า “In the wallpaper stained by the cup that I threw at your head”

IT WON’T BE LONG อยู่ในอัลบัมชุด HOODOO (1991, A+)
http://www.amazon.com/gp/product/B0000AM78A/qid=1143254394/sr=1-4/ref=sr_1_4/102-6983084-0404922?s=music&v=glance&n=5174
http://images.amazon.com/images/P/B0000AM78A.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

One of these daysI'm waiting on a dayWhen nobody comes to trample my meadow (ชอบท่อนนี้)Biding my timeThere's gonna be a timeMight take a whileBut changes are coming
And it wont be longWhen everything you saidWon't sit around and pile up with the traffic in my headAnd when I wake upI wont see you on the bathroom floorIn the tangle of clothes we left lying thereIt wont be longOne of these nightsWith company I findI wont be inclined to leave before sunrise (ชอบท่อนนี้)When my eyes, my mouth, my hands, my headDon't tell me that nobody else will doAnd it wont be longWhen everything you saidWon't sit around and pile up with the traffic in my headAnd when I wake upI wont see you on the bedroom floorIn the tangle of rope we left lying there (ชอบท่อนนี้)It wont be longIt wont be long'Till it's all goneAnd it wont be longWhen everything you saidWon't sit around and pile up with the traffic in my headAnd when I wake upI wont see you by the bedroom doorIn the wallpaper stained by the cup that I threw at your head (กรี๊ดดดดดด ถูกใจสุดๆ)It wont be long

ส่วนเพลงที่ชอบที่สุดของ ERASURE คงจะเป็น A LITTLE RESPECT เพราะเคยโดนคุณป้าวาสนา วีระชาติพลีเปิดกรอกหูเกือบทุกวัน ส่วนเพลงที่ชอบรองลงมาอาจจะเป็น BLUE SAVANNAH และ TAKE A CHANCE ON ME ที่มีมิวสิควิดีโอที่คลาสสิคมากๆ
http://www.amazon.com/gp/product/B000002MHL/qid=1143254797/sr=2-2/ref=pd_bbs_b_2_2/102-6983084-0404922?s=music&v=glance&n=5174

--อัลบัมที่อยากได้ตอนนี้คือ FAB FOUR SUTURE ของ STEREOLAB ซึ่งออกวางแผงเมื่อวันที่ 7 มี.ค.ที่ผ่านมา
http://www.amazon.com/gp/product/B000E6GC7U/qid=1143255013/sr=2-1/ref=pd_bbs_b_2_1/102-6983084-0404922?s=music&v=glance&n=5174
http://images.amazon.com/images/P/B000E6GC7U.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

STEREOLAB ยังคงทำเพลงชื่อแปลกอยู่เหมือนเดิม เพลงที่บรรจุอยู่ในอัลบัมนี้ก็มีเช่น
--KYBERNETICKA BABICKA PART I
--GET A SHOT OF THE REFRIGERATOR
--VISIONARY ROAD MAPS
--EXCURSIONS INTO ‘OH, A-OH’
--I WAS A SUNNY RAINPHASE
--WINDOW WEIRDO

อ่านข้อมูลเก่าเกี่ยวกับ STEREOLAB ได้ที่
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=2904

เพลงที่ชอบมากของ STEREOLAB คือเพลง

1.REFRACTIONS IN THE PLASTIC PULSE ในอัลบัม DOTS AND LOOPS (1997, A++++++++++)
http://www.amazon.com/gp/product/B000002HQ3/ref=pd_bxgy_text_b/102-6983084-0404922?%5Fencoding=UTF8

2.CYBELE’S REVERIE ในอัลบัม EMPEROR TOMATO KETCHUP (1996, A+)
http://www.amazon.com/gp/product/B000002HK2/qid=1143255562/sr=2-2/ref=pd_bbs_b_2_2/102-6983084-0404922?s=music&v=glance&n=5174
http://images.amazon.com/images/P/B000002HK2.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

3.OUTER ACCELERATOR ในอัลบัม MARS AUDIAC QUINTET (1994, A+)
http://www.amazon.com/gp/product/B000002HG2/ref=pd_sim_m_3/102-6983084-0404922?%5Fencoding=UTF8&v=glance&n=5174

4.BLUE MILK ในอัลบัม COBRA AND PHASES GROUP PLAY VOLTAGE IN THE MILKY NIGHT (1999, A+)
http://www.amazon.com/gp/product/B00001P4OP/ref=pd_sim_m_5/102-6983084-0404922?%5Fencoding=UTF8&v=glance&n=5174

5.HALLUCINEX ในอัลบัม SOUND-DUST (2001, A+)
http://www.amazon.com/gp/product/B00005N5AA/ref=pd_sim_m_2/102-6983084-0404922?%5Fencoding=UTF8&v=glance&n=5174

6.SUGGESTION DIABOLIQUE ในอัลบัม SOUND-DUST

7.PAUSE ในอัลบัม TRANSIENT RANDOM NOISE BURSTS WITH ANNOUNCEMENTS (1993, A)
http://www.amazon.com/gp/product/B000002HDV/ref=pd_sim_m_2/102-6983084-0404922?%5Fencoding=UTF8&v=glance&n=5174


เนื้อเพลง GUS THE MYNAH BIRD ของ STEREOLAB ในอัลบัมชุด SOUND-DUST น่าสนใจดี

GUS THE MYNAH BIRD

A military regime in democratic disguisethat lies in all impunitytakes apart what it took people years to buildpublic institutionsthat promised a decent lifeself-determination should be fact not essentially a rightthere are the lobbies insurance companies (ประโยคนี้ทำให้นึกถึงฉากเปิด DARK HORSE (2005, DAGUR KARI, A))who want to change the whole countryinto a vast commercial counter for the pure consumerthe promise to give the generals a better placeself-determination should be fact in the face of corruption

เว็บไซท์
http://www.stereolab.co.uk/

อัลบัมชุด EMPEROR TOMATO KETCHUP ของ STEREOLAB รู้สึกว่าจะได้ชื่ออัลบัมมาจากภาพยนตร์ในปี 1971 ของ SHUJI TERAYAMA (FRUITS OF PASSION, “THROW AWAY YOUR BOOKS, RALLY IN THE STREETS”, PASTORAL – TO DIE IN THE COUNTRY) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กๆที่ยึดอำนาจการปกครองมาจากผู้ใหญ่ โดยมีฉากเด็กๆเปลือยกายข่มขืนผู้ใหญ่ด้วย
http://www.imdb.com/title/tt0066468/usercomments

The film is not pornographic in the least bit. Terayama was not interested in pornography, which he saw as a tool of state oppression, but in creating a vision of erotic utopia. So it has naked children raping adults, BIG deal. The film was made in answer to Nazi Holocaust camps, the atomic bomb, the rape of Nanking, the Vietnamese war etc. Terayama had lived through the firebombs that destroyed his town, leaving charred bodies of women and children littered about him when he was but 9 years old.


ตอบคุณเจ้าชายน้อย

ถึงแม้ในกรุงเทพจะมีดีวีดีหนังของ BUSTER KEATON ให้เราดูกันอย่างจุใจถึง 12 ชุด แต่ที่อเมริกาก็มีการออกดีวีดีหนังชุดใหม่ของ BUSTER KEATON ออกมาอีกแล้วค่ะ เมื่อวันที่ 7 มี.ค.ที่ผ่านมา นั่นก็คือ DVD ชุด BUSTER KEATON – THE 60 TH ANNIVERSARY COLLECTION โดยดีวีดีชุดนี้เป็นการรวมหนังสั้น 10 เรื่องที่หาดูยากมากของ KEATON มาไว้ด้วยกัน โดยเป็นหนังของเขาในปี 1939-1941 ถ้าเข้าใจไม่ผิด หนังช่วงนี้เป็นหนังช่วงที่เขาตกต่ำ และผลงานในช่วงนี้ก็ไม่ใช่ผลงานที่ดีนัก นักวิจารณ์บอกว่า ผู้ชมที่ยังไม่มีความรู้เรื่องของ BUSTER KEATON ไม่ควรจะดูดีวีดีชุดนี้ เพราะเดี่ยวจะเข้าใจผิดเกี่ยวกับความสามารถของ BUSTER KEATON แต่ดีวีดีชุดนี้เหมาะมากสำหรับคนที่เป็นแฟนตัวจริงของ BUSTER KEATON และต้องการสะสมผลงานทั้งหมดของเขา

http://www.amazon.com/gp/product/B000E1EHQI/qid=1143258213/sr=8-2/ref=sr_1_2/102-6983084-0404922?%5Fencoding=UTF8&v=glance&n=130
http://images.amazon.com/images/P/B000E1EHQI.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

หนังในดีวีดีชุดนี้ได้แก่เรื่อง

1.PEST FROM THE WEST (1939, DEL LORD)
2.GENERAL NUISANCE (1941, JULES WHITE)
3.HIS EX MARKS THE SPOT (1940, JULES WHITE)
4.SHE’S OIL MINE (1941, JULES WHITE)
5.MOOCHING THROUGH GEORGIA (1939, JULES WHITE)
6.THE TAMING OF THE SNOOD (1940, JULES WHITE)
7.THE SPOOK SPEAKS (1940, JULES WHITE) ชอบชื่อหนังเรื่องนี้จัง

When a magician, Mordini (Lynton Brent) becomes fearful of his magic secrets being stolen, he hires Buster (Buster Keaton) and Elsie (Elsie Anes) to protect his props. They discover what they assume to be a murder and go into action as amateur detectives, without realizing they are the victims of one of the magician's tricks.

8.NOTHING BUT PLEASURE (1940, JULES WHITE)

To save money, Buster and his wife decide to drive to Detroit to buy a new car, then drive it home.

9.PARDON MY BERTH MARKS (1940, JULES WHITE) เข้าใจว่าชื่อหนังเรื่องนี้ล้อคำว่า BIRTHMARK
Buster, a reporter, takes a train trip and winds up innocently involved with a gangster's wife.

10.SO YOU WON’T SQUAWK (1941, DEL LORD)


--พูดถึงไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ จะนึกถึงหนังสารคดีเรื่อง ARTIST PARTY (2005, ภาณุวัฒน์ จิตติวุฒิการ, A-) ค่ะ ได้ดูหนังสารคดีเรื่องนี้ในงานประกวดหนังสั้นปีที่แล้ว รู้สึกว่าจะมีฉากที่คุณไกรศักดิ์ขึ้นไปพูดบนเวทีด้วย หนังเรื่อง ARTIST PARTY เป็นหนังที่ทำหน้าที่ “ให้ข้อมูล” ได้ดีมากๆ แต่วิธีการนำเสนออาจจะทำให้หนังน่าเบื่อสักเล็กน้อยสำหรับคนที่ไม่ได้มีความสนใจในประเด็นนี้โดยตรง

Saturday, March 18, 2006

CAPOTE (BENNETT MILLER, A++++++++++)

ตอบคุณเจ้าชายน้อย

จริงๆแล้วดิฉันแทบไม่มีความรู้เรื่องการเมืองเลยค่ะ แต่ก็ฟังข่าวเรื่องสถานการณ์การชุมนุมที่ทำเนียบบ้างเหมือนกัน ด้วยเหตุผลส่วนตัวที่ว่า ได้ข่าวมาว่าแม่ดิฉันซึ่งมีอายุประมาณ 70 ปีอาจจะไปร่วมชุมนุมกับเขาด้วย ก็เลยทำให้รู้สึกเป็นห่วงสถานการณ์อยู่บ้าง (แต่ดิฉันจำอายุที่แน่นอนของแม่ตัวเองไม่ได้ค่ะ แต่เดาว่าตอนนี้น่าจะอายุใกล้ๆ 70 ปี จริงๆแล้วดิฉันจำอายุสมาชิกในครอบครัวไม่ได้เลยแม้แต่คนเดียว)


ตอบน้อง merveillesxx

--ชอบเพลงหลายเพลงที่เปิดใน J-POP อาทิตย์ที่แล้วมากค่ะ ซึ่งรวมถึงเพลง KEEP TRYIN ของ UTADA HIKARU


ตอบคุณแฟรงเกนสไตน์

ไม่รู้ว่าหนังเรื่อง GE GE ที่คุณแฟรงเกนสไตน์ได้ดูคือเรื่องอะไร แต่ดิฉันเคยดูหนังจีนเรื่องนึงชื่อ BROTHER (GEGE) (2001, YAN YAN MAK, A+/A) ซึ่งเป็นหนังที่ถ่ายทอดทัศนียภาพอันเวิ้งว่างว่างเปล่าในชนบทของจีนออกมาได้อย่างสวยงามถูกใจมากๆ

YAN YAN MAK ซึ่งเป็นผู้หญิง ต่อมาได้กำกับหนังเลสเบียนเรื่อง BUTTERFLY ซึ่งลงโรงฉายที่ EGV METROPOLIS ในขณะนี้ รู้สึกจะฉายวันละ 1 รอบ ตอน 14.50 น.

นอกจาก BROTHER (GEGE) แล้ว ก็มีหนังที่ถ่ายในจีน/มองโกเลียหลายเรื่องที่ให้ทัศนียภาพที่งดงามไม่แพ้กัน ที่ชอบมากก็มีเรื่อง

1.MONGOLIAN PING PONG (2005, NING HAO, A) ตากล้องของหนังชื่อ JIE DU
http://www.imdb.com/title/tt0461804/fullcredits

ดูภาพจาก MONGOLIAN PING PONG ได้ที่
http://outnow.ch/Media/Img/2005/LuCaoDi/
http://www.filmhai.de/kino/kinoplakat/bilder_0001/mongolian_ping_pong/index.php

ชอบภาพนี้ใน MONGOLIAN PING PONG
http://www.moviereporter.net/fotos/mongolian_ping_pong/mongolian3.jpg


2.THE STORY OF THE WEEPING CAMEL (2003, BYAMBASUREN DAVAA + LUIGI FALORNI, A) ถ่ายภาพโดย LUIGI FALORNI
http://www.imdb.com/title/tt0373861/
http://www.imdb.com/name/nm0266510/

อูฐในเว็บไซท์ของหนังเรื่องนี้น่ารักจังเลย
http://www.weepingcamelmovie.com/index2.html

ตัวอย่างภาพ
http://www.weepingcamelmovie.com/downloads/wc_poster.jpg
http://www.weepingcamelmovie.com/downloads/noble_camel.jpg
http://www.weepingcamelmovie.com/downloads/brothers_camels.jpg

3.JOAN OF ARC OF MONGOLIA (1989, ULRIKE OTTINGER, A+)
ถ่ายภาพโดย ULRIKE OTTINGER


ตอบภรรยา JAKE GYLLENHAAL

--ยังไม่ได้ดู MATCH POINT เลย แต่อ่านบทความเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ใน FILM COMMENT แล้ว เห็นบอกว่า WOODY ALLEN เคยเขียนเรื่องลงนิตยสาร THE NEW YORKER ที่มีเนื้อหาส่วนหนึ่งเกี่ยวกับ A housekeeper who had worked as a horse whisperer “BUT SUFFERED A NERVOUS BREAKDOWN WHEN A HORSE WHISPERED BACK.”

ชอบมุกฮาๆแบบนี้ในหนังของ WOODY ALLEN มาก โดยเฉพาะมุก NEVER TRUST A NAKED BUS DRIVER ใน ANYTHING ELSE (2003, A)
http://www.imdb.com/title/tt0313792/quotes

Jerry Falk: Dobel, you're a madman.

David Dobel: Yeah, that's what they said in Germany. You know there were actually groups in Germany called "Jews for Hitler"? They were deluded, they thought he'd be good for the country. They trusted a naked bus driver, never trust a naked bus driver.


ตอบคุณกาฬวนาลัย

หนังอีกเรื่องนึงที่ขอมอบรางวัล BEST ENSEMBLE HANDSOMENESS ให้ ก็คือเหล่าดาราประกอบใน FIREWALL ค่ะ โฮะๆๆๆ ทำไมไม่มีกลุ่มหนุ่มๆหน้าตาอย่างนี้มาจับดิฉันเป็นตัวประกันบ้างนะ ดิฉันคิดว่าผู้สร้างหนังฮอลลีวู้ดเขาเข้าใจจับจุดขายได้ดีเหมือนกัน เพราะเขารู้ว่าหนุ่มๆหลายคนไม่อยากไปดูหน้า HARRISON FORD ในหนังแน่ๆ ผู้ชมกลุ่มหนุ่มๆอายุ 18-49 ปี จำนวนมาก คงอยากไปดูหน้า PAUL BETTANY, NIKOLAJ COSTER-WALDAU, MATTHEW CURRIE HOLMES (BOBBY) และ KETT TURTON (VEL) มากกว่า
http://firewallmovie.warnerbros.com/img/stills/still_5.jpg
http://firewallmovie.warnerbros.com/img/stills/still_8.jpg

KETT TURTON
http://www.imdb.com/name/nm0878141/



--มีคนที่ดิฉันรู้จักตั้งคำถามว่ามีหนังเรื่องไหนบ้างที่ถ่ายทอด “กรุงเทพ” ได้อย่างดีมากๆ และอย่างสมจริง (ไม่ใช่ในแบบโรแมนติกเกินจริงอย่าง CITIZEN DOG) ซึ่งดิฉันก็คิดไม่ออกเหมือนกัน หนังส่วนใหญ่ของไทยอาจจะใช้ฉากหลังเป็นกรุงเทพ แต่อาจจะไม่ได้ใช้ “กรุงเทพ” เป็นตัวละครสำคัญของเรื่อง

Blog ของคนนั้นอยู่ที่
http://thegreatnamedropper.blogspot.com

อันนี้เป็นสิ่งที่ดิฉันเขียนตอบเขาไปค่ะ

I also can’t think of a film which shows BANGKOK in a realistic way. But my most favorite films about BANGKOK are BIRTH OF THE SEANEMA (2004, SASITHORN ARIYAVICHA, A+++++), which shows very little of the real Bangkok, but seems to reflect urban life in a positive way, not in a negative way like some other young Thai filmmakers.

Another film which shows Bangkok in a very romantic way is FAKE (2003, Thanakorn Pongsuwan, A+)

I also like the reflection of Bangkok in A BITE OF LOVE (2006, Siwaporn Pongsuwan, A-).

I like one short film very much. It’s called ROUGHT NIGHT (2001, Samart Imkum, A+++++). I think this film also shows Bangkok in a very romantic way. It is about a couple who is breaking up in a rough night. It shows the location near Chao Phraya River, and shows a scene of many cars running at night in Bangkok. The scene of the cars moving with their flashlights at night is very very beautiful. I think this film uses the song “Walk On By” as its soundtrack. And I’m not sure if this film also uses some song by TINDERSTICKS. I think this film should be shown together with FRIDAY NIGHT (CLAIRE DENIS, A+).

Another short film which I like very much is called BANGKOK AT 09:45 PM (2001, THANES MANEEJAK, A+++++). It shows a scene in the Skytrain station. The scene is contemporary, but it is shot as if it were done 30 years ago. It gives a very nostalgic feeling, but it is about BANGKOK at the present moment.

A short film called THE WORLD OF GARBAGE (1997, Monchai Noikamsin, A-) might show the downright filth of Bangkok. But I think there are many short films which show only the low-life side in Bangkok, while there are hardly any films which show many sides of Bangkok in the same film.

A short documentary called AMAZING THAILAND (1998, SORAYA NAKHASUWAN + PANATTA YUSUKSAWASDI, A+++++) also shows an interesting side of Bangkok. It shows the joviality of KHAO SARN ROAD at New Year’s time. This might not be interesting in foreigners’ point of view. But for me, this is the film which introduced me to Khao Sarn Road, and made me frequent the road for a while. This amazing film also shows Ayudhaya and Pattaya in a very interesting way.

By the way, I saw a film called LONDON (1994, PATRICK KEILLER, A) a few years ago. I like it a lot, especially its style and concept, but my listening comprehension is very bad. I guess I could catch only 10 % of what the narrator said in the film.

--รู้สึกว่า A HISTORY OF VIOLENCE เป็นหนังที่เหมาะดูควบกับ CAPOTE (2005, BENNETT MILLER, A++++++++++) และ THE MATADOR (2005, RICHARD SHEPARD, A) เพราะว่าถ้าหากผู้ร้ายสองคนนั้นไม่ได้ถูกพระเอกฆ่าตายใน A HISTORY OF VIOLENCE ชีวิตของผู้ร้ายสองคนนั้นอาจดำเนินต่อไปแบบในหนังเรื่อง CAPOTE

ส่วน THE MATADOR นั้นเหมือนกับเป็น THE PRESENT STATE OF VIOLENCE เพราะตัวละครใน THE MATADOR แทบไม่มีปฏิกิริยาในทางลบต่อ “นักฆ่า” หรือ “อาชญากร” อีกต่อไป พวกเขาต้อนรับนักฆ่าให้เข้ามาอยู่ในบ้านราวกับเป็นคนธรรมดา (ดูปฏิกิริยาของ HOPE DAVIS ที่มีต่อ PIERCE BROSNAN สิ) และ “ความรุนแรง” ใน THE MATADOR ก็กลายเป็นเพียง “กิจวัตรอันน่าเบื่อ” และ “สิ่งที่จำเป็นต้องทำเพื่อจะได้มีชีวิตอยู่ต่อไป”

ในขณะที่ A HISTORY OF VIOLENCE นำเสนอ “ความรุนแรง” ในแบบที่ทำให้ดิฉันตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ทำไมเราถึงยอมรับ “ความรุนแรง” ในบางกรณี และไม่ยอมรับ “ความรุนแรง” ในบางกรณีกันนะ” THE MATADOR กลับทำให้ดิฉันรู้สึกเหมือนกับว่า “คนยุคปัจจุบันนี้เขาไม่แคร์เรื่องนี้กันแล้วล่ะ เพราะพวกเขาคิดกันว่า ถ้าหากเรารู้สึกผิดที่เราใช้ความรุนแรงกับคนอื่นๆ เราก็ควรกำจัด “ความรู้สึกผิด” นั้นไปซะ ไม่ใช่เลิกใช้ความรุนแรงกับคนอื่นๆ” (ดิฉันคิดว่า THE MATADOR ไม่ได้สนับสนุนให้ใช้ความรุนแรงนะคะ แต่คิดว่าหนังเรื่องนี้ “เสียดสี” คนหลายคนในสังคมยุคปัจจุบันที่ทำร้ายคู่แข่งได้โดยไม่รู้สึกผิด ได้อย่างดีมากๆ)

ชอบฉากจบของ THE MATADOR อย่างสุดๆเหมือนกัน ฉากจบของหนังเรื่องนี้ดูเผินๆนึกว่าเป็นฉากจบหนังประเภท THE FAMILY STONE (2005, THOMAS BEZUCHA, A+) นั่นก็คือเป็นฉากตัวละครรำลึกถึงสมาชิกครอบครัวที่ตายไปแล้ว มันดูเหมือนเป็นฉากครอบครัวถวิลหาถึงกันแบบอบอุ่นเล็กๆ แต่จริงๆแล้วฉากจบของ THE MATADOR ให้ความรู้สึกตรงข้ามกับ THE FAMILY STONE อย่างสิ้นเชิง เพราะตัวละครที่ทำ “อบอุ่นๆกับครอบครัว” ในฉากจบของ THE MATADOR ต่างก็ “มือเปื้อนเลือด” ด้วยกันทั้งนั้น (โดยที่หนังแทบไม่ได้ให้เราเห็นเลือดเลย)

ฉากจบของ THE MATADOR ให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับฉากจบของ THE PLAYER (ROBERT ALTMAN, A+) ที่เป็นฉากพระเอก (TIM ROBBINS) ทำอบอุ่นกับครอบครัว แต่พระเอกเพิ่งฆ่าคนตายมา (ถ้าจำไม่ผิด)


--ได้ดูหนังที่สร้างจากการ์ตูนหลายเรื่องในช่วงนี้ และแต่ละเรื่องก็ให้อารมณ์, บรรยากาศ และสไตล์ภาพแตกต่างกันไป ซึ่งรวมถึง

1.A HISTORY OF VIOLENCE ที่สร้างจากการ์ตูนของ JOHN WAGNER (JUDGE DREDD, THE BOGIEMAN) + VINCE LOCKE
http://www.rzero.com/books/HistoryOfViolence.html

2.V FOR VENDETTA (2005, JAMES MCTEIGUE, A+) ที่สร้างจากการ์ตูนของ ALAN MOORE (THE LEAGUE OF EXTRAORDINARY GENTLEMEN, FROM HELL)
http://www.shadowgalaxy.net/Vendetta/images/gallery/cover_8.jpg
http://www.shadowgalaxy.net/Vendetta/images/gallery/collage.jpg

WATCHMEN ของ ALAN MOORE
http://www.amazon.com/gp/product/0930289234/ref=pd_sim_b_2/102-8479655-6664901?%5Fencoding=UTF8&v=glance&n=283155
http://images.amazon.com/images/P/0930289234.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

JUDGMENT DAY ของ ALAN MOORE
http://www.amazon.com/gp/product/0974166456/qid=1142653703/sr=2-3/ref=pd_bbs_b_2_3/102-8479655-6664901?s=books&v=glance&n=283155
http://images.amazon.com/images/P/0974166456.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
http://images.amazon.com/images/P/0974166456.01.IN03._SCLZZZZZZZ_.jpg

PROMETHEA ของ ALAN MOORE
http://images-eu.amazon.com/images/P/1840237732.02.LZZZZZZZ.jpg

TOM STRONG ของ ALAN MOORE
http://www.amazon.com/gp/product/1401205712/ref=pd_sbs_b_2/102-8479655-6664901?%5Fencoding=UTF8&v=glance&n=283155
http://images.amazon.com/images/P/1401205712.01._SCLZZZZZZZ_.jpg


3.IMMORTEL (AD VITAM) (2004, ENKI BILAL, A+) ที่สร้างจากการ์ตูนของ ENKI BILAL (TYKHO MOON, BUNKER PALACE HOTEL)
http://images-eu.amazon.com/images/P/2203353279.08.LZZZZZZZ.jpg
http://images-eu.amazon.com/images/P/2731614722.08.LZZZZZZZ.jpg
http://images-eu.amazon.com/images/P/B0000664MC.08.LZZZZZZZ

อ่านเพิ่มเติมเรื่องของ ENKI BILAL ได้ในหนังสือ “บุ๊คไวรัส 2”


ชอบสไตล์ภาพในหนัง 3 เรื่องนี้ (และอาจจะรวมถึง SIN CITY ของแฟรงค์ มิลเลอร์ด้วย) รู้สึกว่าสไตล์ภาพของ A HISTORY OF VIOLENCE ทำให้นึกถึงสไตล์ภาพของ ODETE (2005, JOAO PEDRO RODRIGUES, A+) บอกไม่ถูกว่ามันเรียกว่าสไตล์อะไร แต่มันให้ความรู้สึกเหมือนกับว่าเราสามารถสัมผัสความแข็งแกร่งของฝาผนังที่ปรากฏในภาพได้ รู้สึกว่าทุกอย่างในภาพ ทั้งสีสัน,แสงเงา มันออกมาเป๊ะๆๆ ตรงตามจุดที่กำหนดไว้และอยู่ในระดับความเข้มข้น/อ่อนเบาตามที่ผู้กำกับกำหนดไว้

ส่วนสไตล์ภาพโปสเตอร์ของ V FOR VENDETTA ก็ทำให้นึกถึงหนัง GERMAN EXPRESSIONIST ในทศวรรษ 1920-1930 แถมยังมีตัวละครชื่อ DEITRICH อีกต่างหาก

V FOR VENDETTA VS. METROPOLIS (1927, FRTITZ LANG)
http://vforvendetta.warnerbros.com/img/poster_dagger.jpg
http://vforvendetta.warnerbros.com/img/poster_rays_web.jpg
http://www.movieposter.com/posters/archive/main/6/MPW-3136

http://vforvendetta.warnerbros.com/img/poster_0.jpg
http://www.movieposter.com/posters/archive/main/9/b70-4721

http://vforvendetta.warnerbros.com/img/poster_redX_web.jpg
http://images.art.com/images/-/Metropolis-Style-B--C10133054.jpeg

ทางด้านสไตล์ภาพของ IMMORTEL (AD VITAM) ก็ดูสวยงามในแบบล่องลอยหลอกหลอน เป็นสไตล์ภาพที่ให้ความรู้สึกถึงบางสิ่งบางอย่างที่พลิ้วไหว ซึ่งตรงข้ามกับสไตล์ภาพใน A HISTORY OF VIOLENCE + ODETE ที่ให้ความรู้สึกแข็งแกร่ง


สิ่งที่ได้ดูในวันจันทร์-ศุกร์

1.CAPOTE (2005, BENNETT MILLER, A++++++++++)

2.ปลิว (2006, จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ, A+)
http://www.chaliang.com/Board-Detail.asp?ID=08738
http://www.nakedmasks.com/
ผู้กำกับละครเวทีเรื่องนี้หน้าตาดี และรู้สึกว่าจะอายุน้อยมาก

3.V FOR VENDETTA (2006, JAMES MCTEIGUE, A+)

4.IMMORTEL (AD VITAM) (2004, ENKI BILAL, A+)

5.ZATHURA (2005, JON FAVREAU, A-)
JON FAVREAU เคยกำกับหนังเรื่อง ELF (2003, B+/B)
http://www.imdb.com/name/nm0269463/


MOST DESIRABLE ACTOR
THOMAS KRETSCHMANN—IMMORTEL (AD VITAM)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/17/08/18373484.jpg

FAVORITE ACTOR
1.สุริยันต์ พะธะนะ—ปลิว

2.CLIFTON COLLINS JR.—CAPOTE
http://www.imdb.com/name/nm0004286/

FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
SINEAD CUSACK—V FOR VENDETTA

FAVORITE ART DIRECTION
IMMORTEL (AD VITAM)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/17/08/18373486.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/17/08/18366684.jpg


ความรู้สึกต่อหนังที่ได้ดูในช่วงนี้

--จำไม่ได้เลยว่าคุณผาเรือง ยั่งยืน จาก QUARTET (2005, มัลลิกา ตั้งสงบ, A+) มาเล่นใน “ไพรรีพินาศ” ด้วย ต้องขอบคุณคุณอ้วนมากๆที่บอกเรื่องนี้มา รู้สึกอิจฉานางนารีผลจริงๆที่ได้ดูดน้ำจากตัวเขามาหล่อเลี้ยงชีวิตของตัวเอง

--ใน V FOR VENDETTA รู้สึกจะมีตัวละครพูดว่า EVERYTHING IS CONNECTED

ขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ ก็รู้สึกว่าองค์ประกอบอย่างนึงในหนังเรื่องนี้ มีจุดเชื่อมโยงกัน นั่นก็คือดาราชาย 8 คนในหนังเรื่องนี้ ต่างก็เคยเล่นหนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเกย์มาแล้วทั้งนั้น ซึ่งได้แก่

1.HUGO WEAVING (V) จาก THE ADVENTURES OF PRISCILLA, QUEEN OF THE DESERT (1994, STEPHAN ELLIOTT, A+)

2.STEPHEN REA (หัวหน้าตำรวจ) จาก THE CRYING GAME (1992, NEIL JORDAN, A+)

3.STEPHEN FRY (DEITRICH) จาก WILDE (1997, BRIAN GILBERT, A) เขาเป็นเกย์ในชีวิตจริง

4.JOHN HURT (ADAM SUTLER) จาก LOVE AND DEATH ON LONG ISLAND (1997, RICHARD KWIETNIOWSKI, A+/A)

5.TIM PIGOTT-SMITH (CREEDY) จาก ALEXANDER (2004, OLIVER STONE, A-)

6.RUPERT GRAVES (ตำรวจหนุ่ม) จาก DIFFERENT FOR GIRLS (1996, RICHARD SPENCE, A/A-)

7.BEN MILES (DASCOMB) จาก IMAGINE ME & YOU (2005, OL PARKER) (หนังเลสเบียน)

8.GUY HENRY (HEYER) จาก ANOTHER COUNTRY (1984, MAREK KANIEVSKA)


--ดู V FOR VENDETTA แล้วรู้สึกว่ามันเป็นหนังที่นำเสนอแนวคิดทางการเมือง/สังคมในระดับคล้ายๆกับ LORD OF WAR (2005, ANDREW NICCOL, A) นั่นก็คือมันนำเสนอ “แนวคิด” เป็นหลัก ในขณะที่ตัวละครและเนื้อหาส่วนอื่นๆในหนังเป็นเพียงเรื่องรองๆเท่านั้น

รู้สึกว่าในบรรดาหนัง FICTION ที่นำเสนอแนวคิดแบบนี้ V FOR VENDETTA และ LORD OF WAR อาจจะอยู่ตรงกลางระหว่างหนังอย่าง THE FEVER (2004, CARLO NERO, A+/A) ที่ให้ตัวละครออกมาพูดแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งเป็นหนังที่สุดขั้วในแง่นึง ในขณะที่อีกขั้วนึง ก็เป็นหนังที่นำเสนอแนวคิดทางการเมืองในแบบที่ผสานกลืนเข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับความบันเทิงในหนังอย่างเช่น LAND OF THE DEAD (B+/B)


--รู้สึกว่าหนังหลายเรื่องที่มีสิทธิเข้าชิงออสการ์ประจำปี 2005 เป็นหนังที่เข้าทางตัวเองมากๆ เพราะทั้ง BROKEBACK MOUNTAIN, A HISTORY OF VIOLENCE และ CAPOTE ต่างก็เป็นหนังที่ตัวเองชอบสุดๆ และชอบมากกว่าหนังหลายเรื่องที่เข้าชิงออสการ์ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา

ถึงแม้จะชอบ MUNICH น้อยกว่าหนัง 3 เรื่องข้างต้น แต่ถ้าหากนำ MUNICH ไปเทียบกับหนังของสปีลเบิร์กด้วยกันเองแล้ว ก็รู้สึกว่า MUNICH จะเป็นหนังที่มีมาตรฐานสูงกว่าหนังเรื่องอื่นๆของเขาอีกหลายเรื่อง

สิ่งที่ดิฉันชอบมากใน MUNICH ก็รวมถึงการดึงดาราสุดโปรดของดิฉันอย่าง DANIEL CRAIG, MATHIEU KASSOVITZ, HANNS ZISCHLER, MICHAEL LONSDALE, MATHIEU AMALRIC, MORITZ BLEIBTREU และ VALERIA BRUNI TEDESCHI เข้ามาไว้ในหนังเรื่องเดียวกันได้ แทบนึกไม่ถึงว่าดาราสุดโปรดเหล่านี้จะได้มาประชันฝีมือกันในหนังของสปีลเบิร์ก นึกว่าเป็นเรื่องโกหก ชอบการแสดงของ MATHIEU AMALRIC ในหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ

ชอบคำวิจารณ์ของ NATHAN LEE ใน FILM COMMENT เกี่ยวกับ MUNICH ด้วย โดยเขาตั้งข้อสังเกตในทำนองที่ว่าเป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจมากที่สปีลเบิร์กไม่ได้ทำตอนจบแย่ๆใน MUNICH หลังจากที่สปีลเบิร์กเคยทำตอนจบห่วยแตกมาแล้วใน A.I., MINORITY REPORT และ WAR OF THE WORLDS

(สำหรับความเห็นของดิฉัน ดิฉันไม่ชอบฉากก่อนจบใน MUNICH สักเท่าไหร่ แต่ไม่มีปัญหาอะไรกับฉากจบหนังเรื่องนี้ ส่วนฉากจบใน A.I., MINORITY REPORT และ WAR OF THE WORLDS นั้น ก็มีทั้งจุดที่ดิฉันชอบและไม่ชอบ ส่วน THE TERMINAL นั้นดิฉันไม่ค่อยชอบตั้งแต่ต้นจนจบ)


ตอบภรรยา BRYAN GREENBERG + JUSTIN BARTHA

ดีใจมากๆค่ะที่น้องชอบ CAPOTE

----เป็นเรื่องที่ยากมากที่จะตัดสินว่าชอบหนังเรื่องไหนมากที่สุดตั้งแต่ต้นปี เพราะว่าแต่ละเรื่องก็ส่งผลกระทบในแบบที่แตกต่างกันไป BROKEBACK MOUNTAIN ให้ความรู้สึกว่าเป็นหนังที่ดีสมบูรณ์แบบ, THE SUN กับ INVISIBLE WAVES ก็อบอวลไปด้วยมนตร์เสน่ห์ทางบรรยากาศในแบบที่ดิฉันหลงใหล, OBABA ก็เป็นหนังที่กระตุ้นจินตนาการดิฉันมากที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี ส่วน STRONG SHOULDERS กับ CAPOTE ก็นำเสนอ “ตัวละคร” ที่ดิฉันชอบที่สุด

หลังจากได้ดู CAPOTE ดิฉันก็พบว่าถ้าหากดิฉันต้องเลือกระหว่าง BROKEBACK MOUNTAIN กับ CAPOTE ดิฉันก็อาจจะเลือก CAPOTE เพราะว่า CAPOTE “โดน” กว่าค่ะ และดิฉันเสียน้ำตาให้กับ CAPOTE มากกว่าเสียน้ำตาให้กับ BROKEBACK MOUNTAIN

แต่ดิฉันเดาว่าถ้าหากดิฉันได้ดู THE NEW WORLD (TERRENCE MALICK) ดิฉันก็อาจจะเปลี่ยนใจไปเข้าข้าง THE NEW WORLD ก็เป็นได้

THE NEW WORLD
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/37/85/18473109.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/37/85/18386881.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/37/85/18414430.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/37/85/18404098.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/37/85/18474995.jpg

ตอนนี้รู้สึกว่า BROKEBACK MOUNTAIN เป็นหนังที่ลงตัวและสมบูรณ์แบบกว่า CAPOTE แต่ถ้าหากดิฉันเป็นแจ็ค ดิฉันคงลืมเอนนิสไปภายในเวลาอันรวดเร็ว และคงไม่ได้เลือกใช้ชีวิตแบบแจ็ค ตัวละครอย่างแจ็คและเอนนิสเป็นตัวละครที่ห่างไกลจากดิฉันพอสมควร แต่ตัวละครอย่าง CAPOTE เป็นตัวละครที่ใกล้ดิฉันมากกว่าเยอะ ดิฉันพบว่าคาโปทีทำอะไรหลายๆอย่างหรือตัดสินใจอะไรหลายๆอย่างที่อาจจะใกล้เคียงกับดิฉัน เพราะหลายๆครั้งดิฉันรู้สึกสนใจอยากสัมภาษณ์ฆาตกรชาวไทยหลายๆคน แต่ก็ไม่กล้าพอ (และหลังจากดู CAPOTE จบแล้ว ดิฉันก็รู้สึกว่า “ความไม่กล้า” ของตัวเองอาจจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว) และดิฉันคงถูกดึงดูดเข้าหาเพอร์รี สมิธ (CLIFTON COLLINS JR.) อย่างรุนแรงในทันทีที่เห็นเขาในกรง ความผูกพันระหว่างคาโปทีกับเพอร์รี สมิธสร้างความรู้สึกซาบซึ้งกินใจให้ดิฉันอย่างมากๆ ถีงแม้มันจะเต็มไปด้วยการแสวงหาประโยชน์จากกันและกันก็ตาม

ชอบอารมณ์ใน CAPOTE ตลอดทั้งเรื่อง รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้รักษาระดับอารมณ์ความรู้สึกได้ดีสุดๆตั้งแต่ต้นจนจบ และรู้สึกว่าสิ่งที่ดิฉันเพิ่งเขียนบรรยายถึง MONSTER ไปเมื่อไม่กี่วันก่อน ก็สามารถนำมาใช้อธิบายความรู้สึกชอบของดิฉันที่มีต่อ CAPOTE ได้เช่นกัน

อ่านเนื้อหาตรงส่วนนี้ได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=27131

การแสดงของ CATHERINE KEENER ในเรื่องนี้ก็สุดยอดตรงใจดิฉันมากๆ

อย่างไรก็ดี ถ้าหากดิฉันเป็น CAPOTE ดิฉันคงไม่คิดแสวงหาประโยชน์จากฆาตกรเหมือนอย่างเขา แต่อาจจะทำดีกับฆาตกรด้วยความรู้สึกผูกพันอย่างแท้จริง

ถึงแม้ดิฉันจะไม่เห็นด้วยที่ CAPOTE แสวงหาประโยชน์จากฆาตกร แต่ก็ชอบที่หนังเรื่องนี้นำเสนอด้านลบของ CAPOTE อย่างไม่ปิดบัง ประโยคที่บาดใจที่สุดประโยคนึงในหนังเรื่องนี้คือประโยคที่ตำรวจถามคาโปทีในทำนองที่ว่า “ชื่อหนังสือ IN COLD BLOOD มันหมายถึงการกระทำของฆาตกร หรือมันหมายถึงการที่คุณยังคงคุยกับฆาตกรอยู่” หนังเรื่องนี้นำเสนอด้านมืดในตัว CAPOTE ออกมาได้อย่างน่าสนใจมาก ในขณะที่หนังเรื่องอื่นๆ นำเสนอตัวละครสีดำขาว หรือเทา แต่ตัวละครอย่าง CAPOTE และฆาตกรของเขาดูเหมือนจะเต็มไปด้วยสีดำ แต่ก็เป็นความดำในแบบที่แตกต่างกัน มีเฉดของสีดำที่แตกต่างกันในการตัดสินใจกระทำการแต่ละครั้ง มีความรู้สึกผิดบาปและความสุขที่เจือปนกันในสัดส่วนที่แตกต่างกันไปในการที่ตัวละครคิดชั่ว, พูดชั่ว หรือทำชั่วในแต่ละครั้ง ถ้าหาก CAPOTE เปลี่ยนชื่อเรื่องใหม่ ดิฉันคิดว่าหนังเรื่องนี้อาจตั้งชื่อได้ใหม่ว่า 40 SHADES OF BLACK หรือไม่ก็ TOUCH OF EVIL

เป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่าคาโปทีทำถูกหรือทำผิดที่ไม่ยอมช่วยเหลือฆาตกร เขาไม่ยอมช่วยเหลือฆาตกรด้วยเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ แต่ถึงแม้เขามีเจตนาที่ไม่ถูกต้อง การกระทำของเขาก็อาจจะถูกต้องแล้วก็ได้ ถ้าหากเขาช่วยเหลือฆาตกรอย่างเต็มที่ เขาอาจจะต้องสำนึกเสียใจในภายหลังแบบที่พระเอก CRONICAS (2004, SEBASTIEN CORDERO, A+) ต้องประสบก็เป็นได้ คาโปทีเหมือนกับเผชิญกับทางเลือกที่มีแต่เสียกับเสีย ไม่ว่าเขาจะช่วยหรือไม่ช่วยฆาตกร เขาก็ต้องเสียใจในภายหลัง เขาต้องเลือกเพียงแค่ว่าทางเลือกไหนที่จะทำให้เขาเสียใจน้อยกว่ากัน

แต่สิ่งที่บาดใจที่สุดและทำให้ดิฉันร้องห่มร้องไห้ขณะที่ดู CAPOTE ก็คือประโยคที่คาโปทีพูดว่า “It's as if Perry and I grew up in the same house. And one day he went out the back door and I went out the front.”

ดิฉันรู้สึกอินกับประโยคนี้อย่างรุนแรง และมันทำให้นึกถึงสิ่งที่ผู้หญิงคนนึงเพิ่งบอกกับดิฉันเมื่อไม่นานมานี้ว่า “ฉันเข้าใจความรู้สึกของคุณดี ฆาตกรหญิงสองคนใน BAISE-MOI เปรียบเสมือนกับน้องสาวของคุณเอง”

Tuesday, March 14, 2006

THANK GOD HE MET LIZZIE (B+)

ตอบคุณ INITIAL A

ชอบ MONSTER อาจจะด้วยเหตุผลหลายๆอย่างค่ะ อย่างนึงก็คือรู้สึกว่า “อารมณ์” ในหนังหรือวิธีการรักษาระดับอารมณ์ในหนังมันตรงใจ ถูกใจดิฉันมากๆ ตลอดทั้งหนังเรื่องนี้ ดิฉันรู้สึกว่าผู้กำกับรักษาระดับอารมณ์ในทุกๆฉากได้ดีมาก ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป (ตามความรู้สึกส่วนตัวของดิฉัน) ไม่เหมือนกับ MUNICH (A+/A) ที่ดิฉันรู้สึกว่าอารมณ์ในบางฉาก อย่างเช่นฉาก ERIC BANA มีเซ็กส์กับแฟนในช่วงท้ายเรื่อง ที่อารมณ์มัน “ล้นเกิน” เกินไปในฉากนั้น (อันนี้ก็ขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัวของแต่ละคน ว่าชอบระดับอารมณ์แบบไหนในการดูหนังแต่ละเรื่อง)

รู้สึกชอบวิธีการถ่ายทอด “มนุษย์” ในหนังด้วย ถึงหนังเรื่องนี้จะชื่อ MONSTER (ซึ่งอาจจะหมายถึงเซลบี้หรือไอลีนก็แล้วแต่) แต่ดูแล้วรู้สึกว่าตัวละครที่เป็น MONSTER มากที่สุดอาจจะเป็นคนที่ทำร้ายร่างกายไอลีนคนแรก ส่วนตัวละครคนอื่นๆอาจจะมีความเป็น MONSTER ในตัวอยู่บ้าง หรืออาจจะมีด้านลบในตัวอยู่บ้าง แต่หนังก็ถ่ายทอดความเป็นมนุษย์ของตัวละครหลายๆคน รวมทั้งคนอย่างไอลีนออกมาได้ดีมากๆ แน่นอนว่าไอลีนเป็นคนที่มีตัวตนจริง แต่ดิฉันคิดว่าอาจจะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะถ่ายทอดคนอย่างไอลีนออกมาได้อย่างซาบซึ้งกินใจขนาดนี้ สำหรับดิฉันแล้ว คนอย่างไอลีนใน MONSTER กลับสร้างความซาบซึ้งกินใจต่อดิฉันได้รุนแรงกว่าพระเอก RAY (A-) หรือพระเอก WALK THE LINE (A) เสียอีก ดูแล้วรู้สึกสงสารและเห็นใจไอลีน
อย่างมากๆ ทั้งที่ไม่ได้รู้สึกเข้าข้างเธอ, ไม่ได้เห็นด้วยกับการกระทำหรือความคิดของเธอ และไม่ได้เอาใจช่วยเธอให้ฆ่าคนสำเร็จเลย ไม่รู้ว่าผู้กำกับใช้เคล็ดลับหรือใช้หลักการอะไร ถึงสามารถทำให้เรารู้สึกสงสารเห็นใจตัวละครอย่างรุนแรง ทั้งๆที่เกลียดชังการกระทำของตัวละครไปด้วยในขณะเดียวกันได้อย่างนี้ นอกจากนี้ การถ่ายทอดลูกค้าสองคนของไอลีน ที่รู้สึกว่าคนนึงจะเป็นคนปัญญาอ่อน และอีกคนเป็นคนที่มีภรรยาพิการ ก็ทำออกมาได้อย่างน่าสงสารเห็นใจมากๆ หนังเรื่องนี้ไม่เพียงแต่ทำให้เรามองเห็นความเป็นมนุษย์ในตัวไอลีนเท่านั้น แต่ยังทำเราให้เราเห็นใจแม้แต่ผู้ชายที่มาใช้บริการของโสเภณีด้วย และไม่ได้มองภาพของผู้ชายประเภทนี้เหมือนๆกันไปหมด และดิฉันก็มักจะชอบหนังแนวนี้อยู่แล้ว ดิฉันมักจะเชื่อว่าการทำหนังให้คนดูเกิดจิตเมตตาต่อ “เด็กน้อยผู้บริสุทธิ์” ไม่ใช่เรื่องยาก แต่การทำหนังให้คนดูเกิดความรู้สึกเมตตาและเห็นใจเพื่อนมนุษย์ที่เป็นคนบาปหนาอย่างนี้สิ ที่คงจะเป็นเรื่องยาก (อันนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวค่ะ)

ชอบความเคร่งขรึมจริงจังหนักแน่นของหนังด้วย รู้สึกว่า MONSTER เล่าเรื่องด้วยวิธีการที่ธรรมดาที่สุด เรียบง่ายที่สุด ไม่มีโครงสร้างการเล่าเรื่องที่ซับซ้อน, ไม่มีการโชว์เทคนิคการถ่ายภาพที่สวยงามจนต้องร้องอู้ฮู ไม่มีอะไรที่ “ตื่นตา” เลย แต่ในฉากหน้าที่เรียบง่ายธรรมดา เล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมานี้ กลับมีความหนักแน่นทางอารมณ์บางอย่างที่ดิฉันรู้สึกจูนติดกับมันอย่างมากๆ ขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันไม่รู้สึกเลยว่ามีฉากไหน เสี้ยวไหนของหนังที่ดิฉันรู้สึกต่อต้าน หรือรู้สึกว่ามันไม่เข้าทางของดิฉัน รู้สึกว่าอารมณ์ในหนังมันออกมาตรงตามที่ดิฉันต้องการหมด ซึ่งดิฉันรู้สึกว่าไม่ค่อยพบหนังแนวนี้สักเท่าไหร่ เพราะหนังบางเรื่องที่ดิฉันชอบสุดๆ จะเป็นหนังที่สุดขั้ว, มีอะไรที่พิสดาร ฉีกแนว เฮี้ยนพิศวง เต็มไปด้วยหนุ่มหล่อ แต่หนังอย่าง MONSTER, A HOME AT THE END OF THE WORLD, THE ASSASSINATION OF RICHARD NIXON, “EVERYTHING’S FINE, WE’RE LEAVING” และรวมไปถึงหนังหลายเรื่องของ MAURICE PIALAT ก็เป็นหนังที่ดิฉันชอบสุดๆเหมือนกัน ทั้งๆที่หนังเหล่านี้เล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมาด้วยวิธีการที่ธรรมดามากๆ แต่มันมีความจริงจังหนักแน่นทางอารมณ์ในทุกๆฉากที่จูนตรงกับอารมณ์ของดิฉันอย่างเต็มที่ และหนังกลุ่มนี้นี่แหละที่ทำให้ดิฉันมักฉงนสงสัยอยู่เสมอว่าผู้กำกับทำทุกอย่างให้ออกมาลงตัวตรงใจของดิฉันได้ยังไง โดยไม่ต้องอาศัยความพิสดารมาล่อใจดิฉันเลย

ชอบฉากที่ไอลีนพยายามกลับตัวกลับใจเป็นคนดี ทำงานดีๆ แต่ทำไม่สำเร็จเหมือนกัน ฉากนั้นมันน่าเศร้ามากๆ และใน THE ASSASSINATION OF RICHARD NIXON ก็มีเนื้อหาที่พอเทียบเคียงกันได้กับส่วนนี้เหมือนกัน เพราะพระเอกของหนังเรื่องนั้นตั้งใจจะประกอบอาชีพบางอย่าง เขามีความฝันที่จะทำอาชีพการงานที่ดี แต่ความฝันของเขาก็พังทลายเหมือนๆกับไอลีน

(หนังอีกเรื่องนึงที่ชอบตรงจุดนี้ ก็คือ A LOT LIKE LOVE (A+) ที่พระเอกมีความใฝ่ฝันด้านอาชีพการงาน แต่สุดท้ายความฝันก็พังทลายไม่เหลือชิ้นดีเช่นกัน นอกจากนี้ เรื่องราวการสมัครงาน ยังทำให้นึกถึงหนังสารคดีเรื่อง LOVE AND DIANE (A+++++) ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องของสองแม่ลูกผิวดำ ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็ได้แต่ภาวนาให้แม่ลูกที่น่าสงสารคู่นี้ได้งานดีๆทำ มีอาชีพที่มั่นคง ถึงแม้จะรู้ว่ามันอาจจะเป็นไปได้ยากก็ตาม)

รู้สึกในฉากไอลีนไปสมัครงาน คนรับสมัครงานจะด่าเธออย่างเจ็บแสบว่า “Can I tell you something? When the beach party is over, you don't get to say. "You know what? Now I think I'd like to have what everybody else has worked their entire life for." It doesn't work that way.” ซึ่งสิ่งที่คนรับสมัครงานพูดอาจจะเป็นความจริงในแง่นึง แต่เราก็เข้าใจไอลีนว่าพอได้ยินประโยคนี้ มันจะรู้สึกบาดใจอย่างสุดๆเพียงใด
http://www.imdb.com/title/tt0340855/quotes

สิ่งที่ทำให้ MONSTER คงกระพันชาตรีอยู่ในใจดิฉัน ก็รวมถึงฉากช่วงท้ายเรื่องด้วยค่ะ ฉากที่ไอลีนเห็นแววตาของเซลบีในศาล ฉากนั้นรู้สึกเหมือนกับว่ามีใครเอาลิ่มมาตอกที่หัวใจของดิฉัน นอกจากนี้ ประโยคช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้ ยังเป็นประโยคที่ตรงใจสุดๆ เพราะมันเป็นประโยคที่ปฏิเสธตอนจบหรือแนวคิดในตอนจบของหนังหลายๆเรื่อง

“Love conquers all." "Every cloud has a silver lining." "Faith can move mountains." "Love will always find a way." "Everything happens for a reason." "Where there is life, there is hope." [laughs] Oh, well... They gotta tell you somethin'.

--ยังไม่ได้ดู CRASH ของ CRONENBERG เลยค่ะ

--อยากรู้จังเลยว่าประโยคภาษาไทยในซับนรกเหล่านี้มาจากภาษาอังกฤษว่าอะไร เข้าใจว่าอาจจะใช้ “โปรแกรมคอมพิวเตอร์” แปลจากอังกฤษเป็นไทย เพราะมนุษย์ไม่น่าจะแปลออกมาได้อย่างนี้

เทศกาลหนังออสเตรเลีย

เริ่มมีข่าวเกี่ยวกับเทศกาลหนังออสเตรเลียในเดือนเม.ย.ออกมาแล้ว อ่านรายละเอียดได้ที่นี่
http://www.onopen.com/2006/02/411

หนังที่มาฉายในงานนี้รวมถึง

1.BETTER THAN S-E-X (2000, JONATHAN TEPLITZKY)
http://www.imdb.com/title/tt0236019/
http://images.amazon.com/images/P/B00009QUH7.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
นำแสดงโดยสุดหล่อ DAVID WENHAM
http://www.mystic-knights.de/pics/misc/17.jpg
http://www.mystic-knights.de/pics/misc/157.jpghttp://www.mystic-knights.de/pics/misc/163.jpg


2.PRAISE (1998, JOHN CURRAN)
*****ห้ามพลาด ห้ามพลาด ห้ามพลาด*****
กำกับภาพโดย DION BEEBE
http://bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=12854

จอห์น เคอร์แรน ผู้กำกับ We Don't Live Here Anymore เป็นชาวสหรัฐที่ย้ายมาอาศัยอยู่ในออสเตรเลียตั้งแต่ปี 1988 เขาเคยได้รับคำชมอย่างมากจากการกำกับ Praise ที่ดัดแปลงมาจากนิยายแนวกึ่งอัตชีวประวัติของแอนดรูว์ แมคกาแฮน แมคกาแฮนเขียนบทภาพยนตร์ให้กับ Praise ด้วย โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับกอร์ดอน (ปีเตอร์ เฟนตัน นักร้องนำวง Crow) ผู้ชายวัย 25 ปีที่ชอบสูบบุหรี่, ดื่มเหล้า และเป็นโรคหอบหืด เขาอาศัยอยู่ในโรงแรมชั้นต่ำ และเคยทำงานในร้านขายเหล้า แต่เขาก็ลาออกจากงานเพราะเขาเป็นคนที่ไม่สามารถทนทำงานได้นานเกิน 4 วัน ต่อมาเขาก็มีสัมพันธ์รักกับซินเธีย (ซาชา ฮอร์เนอร์ จาก Paradise Road) สาวเสิร์ฟในบาร์ที่ชื่นชอบการมีเซ็กส์เป็นอย่างมาก แต่เธอป่วยเป็นโรคผิวหนังที่ทำให้มีอาการคันตามใบหน้าและลำตัว นักวิจารณ์บางคนตั้งข้อสังเกตว่าแทบไม่เคยมีคู่รักคู่ใดที่เหมือนกับคู่รักใน Praise มาก่อน โดยกอร์ดอนนั้นเป็นคนที่ไม่ค่อยมีชีวิตชีวาและไม่ค่อยกระตือรือร้นในเรื่องเพศ เขาชอบสูบบุหรี่, พูดคุย, นั่งนิ่งๆ และใช้ยาพ่นจมูกรักษาอาการหอบหืดของเขามากกว่า แต่ซินเธียนั้นเป็นคนที่ไม่รู้จักอิ่มในเรื่องเพศและเป็นคนที่คิดถึงเรื่องเซ็กส์ตลอดเวลา หลังจากซินเธียกับกอร์ดอนใช้เวลาอยู่ด้วยกันระยะหนึ่ง ซินเธียก็บอกกับกอร์ดอนว่าเธอคิดว่าเธอตกหลุมรักกอร์ดอน และเปิดเผยว่าเธอไม่ต้องการย้ายตามพ่อแม่ของเธอไปอาศัยอยู่ที่เมืองดาร์วินทางตอนเหนือของออสเตรเลีย แต่เธอตัดสินใจย้ายมาอาศัยอยู่กับกอร์ดอนในโรงแรม โดยโรงแรมแห่งนี้เป็นที่พำนักของคนติดเหล้าและคนจนอีกหลายคน ถึงแม้กอร์ดอนกับซินเธียจะแตกต่างจากกันอย่างมาก ทั้งสองก็เข้ากันได้ดีในช่วงที่ทั้งสองเล่นเกมสแครบเบิล อย่างไรก็ดี ความสัมพันธ์ของทั้งสองต้องเผชิญกับการท้าทายครั้งใหญ่เมื่อราเชล (มาร์ทา ดุสเซลดอร์ป) ซึ่งเป็นคนรักเก่าของกอร์ดอนปรากฏตัวขึ้น นักวิจารณ์ของซานฟรานซิสโก โครนิเคิลชื่นชอบ Praise เป็นอย่างมาก โดยระบุว่าภาพยนตร์เรื่องนี้มีทั้งความเป็นกวี, อารมณ์ในด้านมืด และอารมณ์ขันผสมผสานอยู่ด้วยกัน และเป็นภาพยนตร์ที่ท้าทายความหมายของคำว่าความรัก, โรแมนซ์, ความเอาใจใส่, ความลุ่มหลง และเซ็กส์แบบดิบเถื่อน โดยเซ็กส์ในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการนำเสนอในรูปแบบที่คล้ายกับพิธีกรรม นักวิจารณ์บางคนตั้งข้อสังเกตว่าเคอร์แรนถ่ายทอดบรรยากาศที่เลวร้ายในที่พักของกอร์ดอนได้เป็นอย่างดี และแสดงให้เห็นเป็นนัยๆว่าซินเธียกับกอร์ดอนอาจรักกันจริงๆ ไม่ได้แค่เพียงชอบที่จะมีเซ็กส์, ดื่มเหล้า และใช้ยาเสพติดด้วยกันเท่านั้น โดยหนึ่งในฉากที่อ่อนโยนที่สุดในเรื่องนี้คือฉากที่ซินเธียขอให้กอร์ดอนช่วยเกาหลังให้เธอ และกอร์ดอนก็เกาให้ซินเธียอย่างนุ่มนวล Praise กวาดรางวัลมาได้มากมาย ซึ่งรวมถึงรางวัลขวัญใจนักวิจารณ์นานาชาติ (FIPRESCI) ในเทศกาลภาพยนตร์โตรอนโต, รางวัลบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในเทศกาลภาพยนตร์กีคอนที่สเปน, รางวัลของสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์ออสเตรเลีย (FCCA) สาขาผู้กำกับ, ดารานำหญิง และบทภาพยนตร์, รางวัลสถาบันภาพยนตร์ออสเตรเลีย (AFI) สาขาดารานำหญิงและภาพยนตร์ และรางวัลของสมาคมช่างภาพอออสเตรเลียที่มอบให้กับดิออน บีบี ดิออน บีบี ตากล้องของ Praise เป็นชาวออสเตรเลีย และเคยเป็นตากล้องให้กับภาพยนตร์เรื่อง In the Cut (A+), Chicago (A-), Equilibrium (A-), Charlotte Gray, The Goddess of 1967, Forever Lulu, Holy Smoke, Floating Life, Crush (1992) เว็บไซท์ http://wsws.org ตั้งข้อสังเกตว่านอกจาก Praise แล้ว ภาพยนตร์ออสเตรเลียที่พูดถึงคนรุ่นหนุ่มสาวที่มีปัญหาในสังคมยุคปัจจุบันยังรวมถึง Kiss or Kill (A+), Angel Baby, The Boys, Idiot Box และ Head On อ่านบทวิจารณ์หนังเกย์เรื่อง HEAD ON ของคุณวารินได้ที่ http://www.xq28.net/screenout/reviews/html/headon.htm


3.HOTEL SORRENTO (1995, RICHARD FRANKLIN)
http://images.amazon.com/images/P/6304005040.01.LZZZZZZZ.jpg


4.SIAM SUNSET (1999, JOHN POLSON)
http://images.amazon.com/images/P/B0000897BL.01.LZZZZZZZ.jpg

นำแสดงโดย LINUS ROACHE ซึ่งเคยรับบทเป็นเกย์ใน PRIEST (A+++++)
http://universitas.uio.no/Arkiv/1997/31/bilder/priests.JPG
http://blog.so-net.ne.jp/_images/blog/ryon_cinema/458167.jpg
http://www.kinoweb.de/film2000/SiamSunset/pix/SiamSunset8.jpg


5.THANK GOD HE MET LIZZIE (1997, CHERIE NOWLAN, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0120316/
http://images.amazon.com/images/P/B00005NG06.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

นำแสดงโดย CATE BLANCHETT, FRANCES O’CONNOR และ RICHARD ROXBURGH เคยดูหนังเรื่องนี้ในเทศกาลบางกอกฟิล์ม แต่จำอะไรในหนังไม่ได้เลย


6.GARAGE DAYS (2002, ALEX PROYAS)
http://www.imdb.com/title/tt0280696/
http://images.amazon.com/images/P/B00023P4H4.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
http://www.cyber-cinema.com/original/garagedaysOrg.jpg


7.THUNDERSTRUCK (2004, DARREN ASHTON)
http://www.imdb.com/title/tt0316763/
http://images.amazon.com/images/P/B000A3DGFS.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

นำแสดงโดย CALLAN MULVEY
http://www.imdb.com/name/nm0612534/
http://www.lexode.com/galerie/galerie/2810/109895591629.jpg
http://www.lexode.com/galerie/galerie/309/109423376726.jpg
http://www.lexode.com/galerie/galerie/3008/109389422123.jpg
http://www.lexode.com/galerie/galerie/3008/109389430038.jpg
http://www.lexode.com/galerie/galerie/1605/108473795138.jpg
http://www.lexode.com/galerie/galerie/1905/10849778764.jpg

และ SAM WORTHINGTON สุดหล่อจาก SOMERSAULT (2004, A+)
http://www.imdb.com/name/nm0941777/


8.GETTING’ SQUARE (2003, JONATHAN TEPLITZKY)
http://www.imdb.com/title/tt0341376/

นำแสดงโดย SAM WORTHINGTON + DAVID WENHAM
http://ffmedia.ign.com/filmforce/image/article/654/654379/sam_worthington3a_1127903328.jpg


9.SWIMMING UPSTREAM (2003, RUSSELL MULCAHY)
http://www.imdb.com/title/tt0326664/
นำแสดงโดยสุดหล่อ JESSE SPENCER
http://www.jessespencer.com/
http://www.spunkys.curvedspaces.com/Superstars/jesse_spencer/images/jesse19.jpg
http://www.spunkys.curvedspaces.com/Superstars/jesse_spencer/images/jesse29.jpg
http://www.jessespencer.com/images/uptowngirls.jpg
http://eur.news1.yimg.com/eur.yimg.com/xp/wenn/20050929/06/2364167917.jpg
http://www.superiorpics.com/pictures/Spencer_AG966617914.jpg

ภาพของเขาใหญ่เกินไป เชิญเลือกคลิกดูได้ที่ลิงค์ข้างล่างนี้แล้วกัน
http://moodswings.sitesled.com/jesse/gallery/gindex.html

ภาพจาก SWIMMING UPSTREAM
http://moodswings.sitesled.com/jesse/gallery/SU.html
http://moodswings.sitesled.com/jesse/gallery/movies/upstream01.jpeg
http://moodswings.sitesled.com/jesse/gallery/movies/upstream04.jpeg
http://moodswings.sitesled.com/jesse/gallery/movies/upstream06.jpeg


10.NED KELLY (2003, GREGOR JORDAN)
นำแสดงโดย ORLANDO BLOOM + HEATH LEDGER

Sunday, March 12, 2006

VENGEANCE (PLEO SIRISUWAN, A-)

--โฮะๆๆ พอดิฉันเขียนไปได้สักพักนึงก็รู้สึกผิดเล็กน้อย จริงๆแล้วดิฉันไม่น่าจะเขียนเหมารวมหนังของไฉ่มิ่งเหลียงทั้งหมด เพราะความรู้สึกชอบที่ดิฉันมีต่อหนังแต่ละเรื่องของไฉ่มิ่งเหลียงก็อยู่ในระดับที่แตกต่างกันไป พอดีเมื่อกี้ขณะที่เขียน จะนึกถึง THE WAYWARD CLOUD (A+) เป็นลำดับแรกๆ ซึ่งเป็นหนังที่ดิฉันชอบน้อยเมื่อเทียบกับหนังของไฉ่เรื่องอื่นๆ แต่ถ้าหากนำหนังอย่าง GOODBYE DRAGON INN มาเทียบกับ ODETE แล้ว ก็อาจจะชอบ GOODBYE DRAGON INN ในระดับเท่ากับหรือมากกว่า ชอบตรงที่ตัวละครมันเดินกันไปเดินกันมา ส่วนมุกตลกในหนังนั้น ก็เป็นสิ่งที่ดูเพลินๆดี แต่ถ้าจะตัดออกไป เราก็อาจจะชอบมากขึ้นก็ได้ สรุปว่าความรู้สึกชอบหนังเรื่องไหนมากกว่าเรื่องไหนของดิฉันไม่มีความสำคัญอะไรทั้งสิ้น (ตอนนี้รู้สึกสับสนว่าตัวเองควรจะใช้สรรพนามบุรุษที่ 1 ว่าอะไรดี ถ้าหากดิฉันเปลี่ยนสรรพนามแทนตัวเองไปเรื่อยๆ หวังว่าคงไม่งงนะคะ)

--สิงห์สาวนักสืบเวอร์ชันที่คุณเจ้าชายน้อยได้ดู เป็นภาค 3 ค่ะ คนที่ใช้โยโย่เป็นน้องคนสุดท้อง ส่วนคนกลางคือคนที่ใช้เข็มถักนิตติ้ง สิงห์สาวปี 3 เป็นปีที่ดิฉันรู้สึกว่าเนื้อเรื่องค่อนข้างเละเทะค่ะ สู้ปี 2 ไม่ได้เลย แต่ก็พอดูได้ --ยังไม่มีเครื่องเล่นดีวีดีค่ะ แต่ยังไงก็ขอซื้อดีวีดี SUKEBAN DEKA เก็บไว้ก่อน เพราะละครเรื่องนี้เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อชีวิตเป็นอย่างมาก

--สำหรับคนที่ชอบ SUKEBAN DEKA
http://www.idollica.com/sukebanmovie1/SukebanMovie01.jpg

อันนี้เป็นรายละเอียดตัวละครสำคัญในทั้ง 3 ภาคค่ะ
http://www.idollica.com/sukebancharacters/sukebancharacters.html

อันนี้เป็นเรื่องย่อบางส่วนของละครภาค 3
http://www.idollica.com/sukeban3ep/sukebandeka3ep.html

--วันนี้ได้ดู

1.”ไอ้ทุย” (1971, ดอกดิน กัญญามาลย์, A)
http://www.thaifilmdb.com/th/tt02793

ชอบฉากที่อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา ร้องเพลงด่ากับผู้หญิงอีกคนนึงเพื่อแย่งสมบัติ เมทะนีอย่างมากๆ ผู้หญิงสองคนนี้ร้องเพลงโต้ตอบคล้องจองกันเป็นกลอน ชอบฉากนี้มากๆๆในระดับ A+++++
http://www.thaifilmdb.com/th/pp02684


2.ไพรรีพินาศ (VENGEANCE) (2006, เปลว ศิริสุวรรณ, A-)
http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/vengeance/prairee.html

ชอบการตั้งข้อสังเกตของคุณเจ้าชายน้อยมากๆเกี่ยวกับผู้หญิงในหนังสยองขวัญไทย ส่วน “ไพรรีพินาศ” อาจจะไม่ใช่หนังสยองขวัญเต็มตัว แต่ชอบมากที่ตัวละครหญิง 4 คนในหนังเรื่องนี้ ไม่มีใครที่เป็น HELPLESS CHARACTERS เลย ผู้หญิงทุกคนแข็งแกร่งหมด ตั้งแต่ ณัฐนันท์ จันทรเวช (กระแต), ณัฐจรี วิบูลย์เลิศ (คำแพง), แม่เฒ่า และจิรภัทร วงศ์ไพศาลลักษณ์ (สีอ่อน) ที่เล่นเป็นตัวละครที่มีบุคลิกดีมากๆ บทของ “สีอ่อน” ในหนังเรื่องนี้ดูสง่ามาก เห็นมาดของเธอในหนังเรื่องนี้แล้ว ทำให้นึกถึง “เยิ่นอิ๋งอิ๋ง” ใน SWORDSMAN II (1991, CHING SIU-TUNG + STANLEY TONG, A+++++) ที่รับบทโดยกวนจือหลิน และใน SWORDSMAN (1990, A+) ที่รับบทโดยจางหมิ่น
http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/vengeance/prairee_05.jpg

อาจจะชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+ ถ้าหากมีฉากตัวละครหญิง 4 คนนี้ใช้ความสามารถของตัวเองห้ำหั่นกันอย่างรุนแรง

หนังอาจจะดูแล้วไม่ได้มีโครงสร้างซับซ้อนยอกย้อนซ่อนเงื่อนเท่า “จอมขมังเวทย์” (A) หรือ “ลองของ” (A+) และดูจบแล้วก็รู้สึกงงๆกับรายละเอียดบางอย่าง แต่ก็ชอบการสร้างตัวละครบางตัวในหนังเรื่องนี้ รู้สึกว่าตัวละครบางตัวในหนังดูจริงจังดี

DESIRABLE ACTOR
ภุชงค์ พรหมพะเนาว์—VENGEANCE
http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/vengeance/prairee_07.jpg


--รู้สึกชอบ BROKEBACK MOUNTAIN (A+++) มากกว่า CRASH (A+) อย่างมากๆ แต่ความรู้สึกชอบของดิฉันไม่ได้เกี่ยวกับความดีของหนังแต่อย่างใด ความรู้สึกชอบของดิฉันเกิดจากว่าดิฉันดูหนังเรื่องนั้นแล้วได้รับความสุขมากแค่ไหนเท่านั้นเอง

ถ้าหากตัวเองมีมนตร์วิเศษ สามารถเสกรางวัลออสการ์ได้ตามใจชอบ (โดยต้องมอบให้กับหนังที่ใช้ดาราฮอลลีวู้ดเท่านั้น) ดิฉันก็อาจจะมอบรางวัลออสการ์ประจำปี 2005 ให้ BROKEBACK MOUNTAIN, มอบรางวัลออสการ์หนังยอดเยี่ยมปี 2004 ให้ THE ASSASSINATION OF RICHARD NIXON (2004, NIELS MUELLER, A+++++) และมอบรางวัลออสการ์ปี 2003 ให้หนังสองเรื่อง ซึ่งก็คือ MONSTER (2003, PATTY JENKINS, A+++++) กับ SYLVIA (2003, CHRISTINE JEFFS, A+++++) แต่นั่นไม่ใช่เพราะว่าหนังเหล่านี้เป็นหนังที่ดีที่สุดหรอกนะ ดิฉันไม่รู้หรอกว่าหนังเรื่องไหนดีที่สุด แต่หนังเหล่านี้เป็นหนังที่ให้ความสุขสุดยอดแก่ดิฉันเท่านั้นเอง

ตอนนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า BROKEBACK MOUNTAIN จะซึมลึกอยู่ในใจดิฉันเป็นเวลานานๆหรือเปล่า แต่ THE ASSASSINATION OF RICHARD NIXON, MONSTER และ SYLVIA เป็นหนังที่กระแทกหัวใจดิฉันอย่างรุนแรงที่สุด, หนักหนาที่สุด และฝังอยู่ในใจมากที่สุดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา คิดถึงหนัง 3 เรื่องนี้ทีไร ก็มีความสุขทีนั้น หนัง 3 เรื่องนี้ไม่ได้เข้าชิงรางวัล BEST PICTURE เลยด้วยซ้ำ แต่ดิฉันก็อยากจะบอกให้ผู้สร้างหนัง 3 เรื่องนี้ได้รู้เหมือนกันว่า ถ้าหากดิฉันมีมนตร์วิเศษ ดิฉันคงมอบรางวัลให้คุณอย่างแน่นอน

JOHN M. STAHL

หนังที่ได้ดูในวันเสาร์

1.HOME ALONE (2005, นภดล สุเนต์ตา, A)
ดูที่ TK PARK ดูโปรแกรมการฉายของที่นี่ได้ที่
http://www.tkpark.or.th/movie_room.php?grp_id=3

2.FINAL DESTINATION 3 (JAMES WONG, A-)
JAMES WONG เคยกำกับ THE ONE (2001) และ FINAL DESTINATION (2000, A-)

3.ดวงเนตร (2003, ณัฐ ฤทธารมย์, A-)

4.THE PASSENGER (2005, สมพบ แก้วบัณดิษฐ์, A-)


ความรู้สึกต่อหนังที่ได้ดูในช่วงนี้

--FINAL DESTINATION 3 (A-)

รู้สึกสนุกกว่าที่คาด เพราะปกติแล้วจะชอบหนังที่มีการเล่นเกม และหนังเรื่องนี้ก็มีการเล่นเกม “ตีความภาพถ่าย” ด้วย ก็เลยทำให้รู้สึกสนุกกับเกมนี้มาก

รู้สึกชอบภาคสองของ FINAL DESTINATION น้อยที่สุด แต่ชอบ MICHAEL LANDES (born 1972) พระเอกของภาคสองมากที่สุด
http://www.imdb.com/name/nm0484680/
http://www.nellmedia.com/landes/images/boston3.jpg
http://www.nellmedia.com/landes/images/houseluthor/12.jpg


--ความรู้สึกต่อหนังเกย์เรื่อง ODETE (2005, JOAO PEDRO RODRIGUES, A+)

ชอบมากที่คุณเจ้าชายน้อยพูดเปรียบเทียบ ODETE กับหนังของไฉ่มิ่งเหลียงในเว็บบอร์ด BIOSCOPE ตอนที่ดู ODETE ไม่ได้นึกถึงประเด็นนี้มาก่อน แต่พอมาเปรียบเทียบกันอย่างนี้แล้ว เรากลับรู้สึกชอบ ODETE มากกว่าหนังหลายๆเรื่องของไฉ่มิ่งเหลียงอีก เพราะเราไม่ได้ชอบอารมณ์ขันในหนังของไฉ่มิ่งเหลียงมากนัก ตอนแรกๆที่เราดูหนังของไฉ่มิ่งเหลียง เราก็รู้สึกชอบหนังของเขาอย่างสุดๆนะ โดยที่ไม่ได้แยกแยะว่าชอบส่วนไหนไม่ชอบส่วนไหนในหนังของเขา แต่มีอยู่ปีนึง ได้ดูหนังเรื่อง JACKY (2000, FOW PYNG HU + BRAT LJATIFI, A+++++) กับหนังเรื่อง WHAT TIME IS IT THERE? (TSAI MING-LAING, A+) ในเวลาใกล้เคียงกัน เราก็เลยรู้ตัวว่าอารมณ์ขันในหนังของไฉ่มิ่งเหลียงอาจจะไม่เข้าทางเราเท่าไหร่ เพราะ JACKY ก็เป็นหนังเกี่ยวกับชาวจีนที่ช้าๆนิ่งๆ เหมือนกัน และก็มีอารมณ์ขันแทรกอยู่บ้าง แต่น้อยกว่า WHAT TIME IS IT THERE? อย่างมาก ตั้งแต่นั้นเราก็เลยรู้สึกว่าถ้าหากไฉ่มิ่งเหลียงตัดอารมณ์ขันออกไปจากหนังของเขาให้หมด เราก็อาจจะชอบหนังของเขาเพิ่มขึ้นอีกเยอะก็ได้ เพราะปกติเราก็ไม่ชอบหนังตลกอยู่แล้ว และพอเราถามตัวเองว่าเราชอบอะไรมากกว่ากันระหว่างหนังประเภท THE WAYWARD CLOUD กับหนังประเภท ODETE เราก็รู้สึกว่า ODETE ถูกกับรสนิยมเรามากกว่า เรารู้สึกว่า THE WAYWARD CLOUD อาจจะเป็นหนังที่เปี่ยมไปด้วยความคิดสร้างสรรค์และมีเนื้อหาสาระมากกว่า ODETE นะ แต่เรารู้สึกชิดใกล้กับ ODETE มากกว่า

ข้อมูลเกี่ยวกับ JACKY ดูได้ที่
http://www.imdb.com/title/tt0246710/

แต่เราก็แค่เดาๆเอานะ บอกอะไรแน่นอนไม่ได้เหมือนกัน เพราะหนังอย่าง THE BEAUTIFUL WASHING MACHINE (2004, JAMES LEE, B+) ก็ให้ความรู้สึกบางอย่างคล้ายกับไฉ่มิ่งเหลียงเหมือนกัน และก็มีอารมณ์ขันน้อยกว่าด้วย แต่เราก็ไม่ได้ชอบมากเท่าหนังของไฉ่มิ่งเหลียง (แต่เพื่อนเราชอบหนังเรื่องนี้มากๆ)
http://www.imdb.com/title/tt0407568/
http://redfilms.com.my/tbwm.htm

รู้สึกเหมือนกันว่าถึงแม้ JOAO PEDRO RODRIGUES บอกว่าเขาสร้าง ODETE เพราะได้รับแรงบันดาลใจจากหนังเมโลดราม่า แต่เราก็เห็นความเป็นเมโลดราม่าในแบบที่คุ้นเคยแค่ในช่วงต้นเรื่องเท่านั้น โดยเฉพาะในฉากที่พอตัวละครเศร้าปุ๊บ ฝนก็ตกลงมาในทันที

แต่ในช่วงหลังจากนั้น เราก็รู้สึกว่าหนังมันเหมือนกับเอาองค์ประกอบบางอย่างของเมโลดราม่ามาใช้ แต่มาใช้ในบริบทที่ต่างออกไป บอกไม่ถูกเหมือนกัน เหมือนกับว่าเขาเอาการแสดงออกแบบเมโลดราม่ามาใช้ แต่ไม่ได้เอาความสัมพันธ์ของตัวละครแบบที่พบในหนังเมโลดราม่ามาใช้ เพราะในหนังเมโลดราม่ามันจะมีพระเอก, นางเอก, นางอิจฉา, ตัวโกง อะไรทำนองนั้น และคนดูหนังหรือละครเมโลดราม่าจะ “เข้าใจ” ความรู้สึกหรืออารมณ์ของตัวละครได้ในทันที เข้าใจว่าพระเอกมันต้องรู้สึกอย่างนี้กับนางเอก เข้าใจว่านางอิจฉามันต้องรู้สึกอย่างนี้กับนางเอก มันเหมือนกับว่าความสัมพันธ์และอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครในหนังเมโลดรามามันถูกกำหนดตายตัวไว้แล้ว ไม่ค่อยมีพลิกผันอะไรมาก และ “เหตุผลในการกระทำ” ของตัวละครก็มักจะถูกกำหนดตายตัวไว้แล้วล่วงหน้า (และในความเป็นจริงแล้ว หนังแนวอื่นๆนอกเหนือจากแนวเมโลดราม่า ก็มักจะมีการกำหนดไว้เช่นกันว่าพระเอกมักจะต้องเป็นอย่างนี้, นางเอกมักจะต้องเป็นอย่างนี้ และอารมณ์ความรู้สึกกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวละครจะต้องเคลื่อนไหวไปตามเส้นกราฟนี้)

แต่ใน ODETE มันไม่เป็นเช่นนั้นเลย ตัวละครอาจจะแสดงอารมณ์ฟูมฟาย แต่จิตใจของตัวละครมันลึกล้ำสุดหยั่ง มันพลิกผันไปมา มันบอกไม่ถูกว่าใครทำหน้าที่เป็นอะไรในเรื่อง ตอนที่เราไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ เราไปถามเพื่อนคนนึงที่ดูแล้วว่า “นางเอกหนังเรื่องนี้เป็นยังไงบ้าง” เพื่อนเราก็ถามกลับมาว่า “หมายถึงนางเอกคนที่เป็นผู้หญิงหรือนางเอกคนที่เป็นผู้ชาย” เราก็เลยรู้สึกชอบ ODETE ตรงส่วนนี้ด้วย เพราะมันเหมือนกับเอาองค์ประกอบบางอย่างของเมโลดราม่ามาใช้ แต่ก็ทำลายแบบแผนของเมโลดราม่าไปด้วยในขณะเดียวกัน โดยเฉพาะในเรื่องอารมณ์ความรู้สึกและความสัมพันธ์ของตัวละคร

ฉากที่ชอบมากๆใน ODETE ก็รวมถึงฉากที่ นางเอกทุ่มตัวลงไปบนหลุมศพ, ฉากที่ RUI (NUNO GIL) ทุ่มตัวลงไปบนหลุมศพ และฉากที่ทั้งสองคนจูบกันตอนเห็นแหวนเหมือนกัน เราชอบที่ตัวละครในหนังเรื่องนี้ทำสิ่งที่เราไม่ได้คาดหมายไว้ แต่ทำตามแรงกระตุ้นที่ผุดขึ้นมาอย่างฉับพลัน เพราะในชีวิตจริงเราก็มักเจอคนที่ทำในสิ่งที่เราไม่ได้คาดหมายไว้อยู่เสมอ

ดู ODETE เสร็จแล้ว เพลง MOON RIVER เลยติดค้างอยู่ในหัวเราไปเลย เราเคยดู BREAKFAST AT TIFFANY’S (1961, BLAKE EDWARDS, A-/B+) ตอนเด็กๆ แต่ตอนนั้นดูไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ และก็ไม่เคยชอบเพลง MOON RIVER มาก่อนเลย จนกระทั่งได้มาดู ODETE นี่แหละ ถึงทำให้ค่อยรู้สึกชอบเพลงนี้

ฟังดนตรี MOON RIVER ได้ที่
http://www.niehs.nih.gov/kids/lyrics/moonriver.htm

Moon riverWider than a mileI'm crossing you in styleSome day...Old dream makerYou heart breakerWherever you're goingI'm going your way...Two drifters (เข้าใจว่าคำสลักที่แหวนคงมาจากเนื้อเพลงตรงนี้)Off to see the worldThere's such a lot of worldTo see...We're after the same rainbow's endWaiting around the bendMy Huckleberry friendMoon River and me...

พูดแล้วก็นึกถึงเพลง BREAKFAST AT TIFFANY’S ของวง DEEP BLUE SOMETHING เป็นเพลงป็อปที่เคยชอบมากเพลงนึง

VERSE1:You say we've got nothing in commonNo common ground to start fromAnd we're falling apartYou say the world has come between usOur lives have come between usBut I know you just don't careCHORUS:And I said "What about Breakfast at Tiffany's?"She said "I think I remember the filmAnd as I recall, I think we both kinda liked it"And I said "Well, that's the one thing we've got"I see you, the only one who knew meBut now your eyes see through meI guess I was wrongSo what now? It's plain to see we're overI hate when things are overWhen so much is left undone

เพลงนี้อยู่ในอัลบัมชุด HOME (1995)
http://www.amazon.com/gp/product/B000001Y7D/103-7912176-2546234?v=glance&n=5174
http://images.amazon.com/images/P/B000001Y7D.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

เราว่าคำว่า TWO DRIFTERS มันเข้ากับตัวละคร ODETE และ RUI มากๆเลย เพราะตัวละครสองตัวนี้เหมือนไร้ที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจและอารมณ์จริงๆ

นอกจาก RAINER WERNER FASSBINDER กับ DOUGLAS SIRK แล้ว JOAO PEDRO RODRIGUES ก็บอกว่าเขาได้รับแรงบันดาลใจจากหนังเมโลดราม่าของ JOHN M. STAHL (1886-1950) ด้วยเช่นกัน

JOHN M. STAHL เคยกำกับหนังเรื่อง

1.IMITATION OF LIFE (1934)
http://www.imdb.com/title/tt0025301/
http://images.amazon.com/images/P/0783227647.01.LZZZZZZZ.jpg
http://www.americanphoto.co.jp/pages/celebrity/C/Previews/Plans-46854.jpg
หนังเรื่องนี้ได้รับการรีเมคในปี 1959 โดย DOUGLAS SIRK
http://www.imdb.com/title/tt0052918/

2.THE KEYS OF THE KINGDOM (1944)
http://images.amazon.com/images/P/6301628616.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

3.LEAVE HER TO HEAVEN (1945)
http://www.amazon.com/gp/product/B00074DY0M/qid=1142143696/sr=8-9/ref=sr_1_9/103-7912176-2546234?%5Fencoding=UTF8&v=glance&n=130
http://images.amazon.com/images/P/B00074DY0M.01._SCLZZZZZZZ_.jpg

4.FATHER WAS A FULLBACK (1949)
http://www.amazon.com/gp/product/6303450830/qid=1142143444/sr=8-15/ref=sr_1_15/103-7912176-2546234?%5Fencoding=UTF8&v=glance&n=404272
http://ec1.images-amazon.com/images/P/6303450830.01._SCLZZZZZZZ_.jpg