Wednesday, November 29, 2006

THE ANATTA TRILOGY

ตอบน้อง ZM

กรี๊ด อิจฉาน้อง ZM จังเลยที่จะได้ไปดูหนุ่มหล่อๆในฟิตเนส


--ตอบคุณ THE AESTHETICS OF LONELINESS จากที่แสดงความเห็นไว้ใน ENTRY นี้ค่ะ
http://celinejulie.blogspot.com/2006/11/what-happened-to-magdalena-jung.html#comments

ดีใจมากค่ะที่คุณ AOL (ขอเรียกสั้นๆว่าอย่างนี้นะคะ) ได้ไปดู WHAT HAPPENED OF MAGDALENA JUNG? ดิฉันเองก็ไม่เข้าใจหนังเรื่องนี้เลยแม้แต่นิดเดียวค่ะว่าหนังเรื่องนี้ต้องการจะสื่อถึงอะไร แต่ดิฉันรู้สึกฮามากๆกับ “ความเสียสติ” ของหนังเรื่องนี้ค่ะ แต่ถ้าหากผู้ชมบางคนจะไม่รู้สึกฮาไปกับหนังเรื่องนี้ ดิฉันก็คิดว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ เพราะผู้ชมแต่ละคนจะมี “สิ่งที่สร้างความฮา” ให้กับเขาแตกต่างกันไป

“สิ่งที่มักสร้างความฮา” ให้กับดิฉันก็อาจจะรวมถึง

1.ตัวละครหญิงที่ดูแรงๆ อย่างเช่น นักเล่นเปียโนใน WHAT HAPPENED OF MAGDALENA JUNG? จริงๆแล้วบทของเธอไม่มีอะไรเลย แต่เธอก็สามารถทำให้บทที่ไม่มีอะไรเลยนี้ กลายเป็นบทที่ผู้ชมไม่สามารถลืมได้ลง ด้วยการแสดงท่าทางจิกกระดาษโน้ตเพลงเพียงแค่ประมาณ 5 วินาทีเท่านั้น

หนังแนวผู้หญิงแรงๆที่สร้างความฮาอย่างมากๆให้กับดิฉันก็อาจจะรวมถึงหนังอย่างเช่น

1.1 PEPI, LUCI, BOM (1980, PEDRO ALMODOVAR, A+)

1.2 MADAME X: AN ABSOLUTE RULER (1978, ULRIKE OTTINGER, A+)

1.3 IN THE REALM OF THE SENSES (1976, NAGISA OSHIMA, A+)

1.4 HOUSE (1977, NOBUHIKO OBAYASHI, A+)
ในหนังผีญี่ปุ่นเรื่องนี้ มีตัวละครหญิงสาวคนนึงที่ใช้ “วิทยายุทธ” ต่อสู้กับผีอย่างรุนแรง

1.5 THE POWER OF EMOTION (1983, ALEXANDER KLUGE, A+)
ในหนังเยอรมันเรื่องนี้ มีตัวละครหญิงคนนึงที่มีไม้หนีบนับสิบอันมาหนีบผิวหนังบนใบหน้าของเธอ ไม่รู้เหมือนกันว่าเธอทำอย่างนั้นไปเพื่ออะไร


2.สิ่งที่ดูเหมือนไร้เหตุผล หรือไร้สาระ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดิฉันรู้สึกมากๆขณะที่ดู WHAT HAPPENED TO MAGDALENA JUNG? เพราะดิฉันไม่สามารถหาเหตุผลให้กับหลายๆสิ่งหลายๆอย่างที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่องนี้ได้

หนังที่สร้างความฮาอย่างสุดๆให้กับดิฉัน เพราะมันดูไร้เหตุผลมากๆสำหรับดิฉัน ก็มีเช่น

2.1 THE DISCREET CHARM OF THE BOURGEOISIE (1972, LUIS BUNUEL, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0068361/
ดิฉันรู้สึกฮามากๆกับฉากที่ตัวละครตัวนึงเข้าร้านอาหาร แต่ไม่สามารถสั่งอาหารที่ต้องการได้เลย และแม้แต่จะสั่งน้ำเปล่า ก็ไม่สามารถสั่งได้ ดิฉันไม่เข้าใจ “ความหมาย” ของฉากนี้ รู้แต่ว่าตัวเองหยุดหัวเราะไม่ได้ทุกทีเมื่อนึกถึงฉากนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะอะไร

2.2 HOUSE
ในหนังผีญี่ปุ่นเรื่องนี้ ฉากนึงที่ฮามากๆคือฉากที่ตัวละครชายหนุ่มขับเครื่องบินไปรบ แล้วฝนก็ตกลงมา แต่อยู่ดีๆคนขับเครื่องบินก็เปิดประทุนของเครื่องบินที่ครอบศีรษะของตัวเองออก และส่งผลให้ฝนตกลงมาในเครื่องบิน ดิฉันไม่รู้เหมือนกันว่าคนขับเครื่องบินทำอย่างนั้นทำไม แต่การที่เขาทำในสิ่งที่ดูไร้เหตุผลอย่างสิ้นเชิงเช่นนั้น ทำให้ดิฉันกับเพื่อนๆที่ดูหนังเรื่องนี้ด้วยกัน หัวเราะจนท้องคัดท้องแข็งไปหมด


2.3 THE NIKLASHAUSEN JOURNEY (1970, RAINER WERNER FASSBINDER + MICHAEL FENGLER, A+)
ในหนังเรื่องนี้ มีอยู่ฉากนึงที่ให้ตัวละครประมาณ 5 คน มายืนเรียงแถวหน้ากระดาน แล้วกล้องก็ค่อยๆซูมเข้าซูมออกไปที่ใบหน้าของตัวละครแต่ละคน โดยไม่มีสาเหตุใดๆทั้งสิ้น มันฮามากๆที่ได้เห็นอะไรที่เสียสติอย่างนี้ และเป็นการฮาแบบที่ไม่ต้องอาศัยพล็อตเรื่องหรืออะไรเลยด้วย แค่ใช้การซูมเข้าๆออกๆของกล้องโดยไม่มีเหตุผลรองรับ กับหน้าตาที่เฮี้ยนมากๆของตัวละคร แค่นั้นก็ฮาสุดๆแล้ว


2.4 WEEK-END (1967, JEAN-LUC GODARD, A+)
ฉากนึงที่ดิฉันกับเพื่อนหัวเราะจนหยุดไม่ได้ คือฉากที่ตัวละครชายหนุ่มหญิงสาวขับรถมากลางป่า แล้วอยู่ดีๆกล้องก็ตัดไปเป็นว่า มีมือใครจากไหนก็ไม่รู้ มาจิกหัวหญิงสาวในรถอย่างรุนแรง แล้วก็ตัดไปฉากอื่นเลย ไม่รู้เหมือนกันว่ามือนั้นเป็นมือของใคร มาจากไหน โผล่มากลางป่าได้ยังไง เกิดอะไรขึ้น มันหมายความว่ายังไง พวกเขาทะเลาะอะไรกัน


--หนังที่ได้ดูในวันนี้

1.HAPPY FEET (2006, GEORGE MILLER, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0366548/

2.CASINO ROYALE (2006, MARTIN CAMPBELL, A)

3.EMPLOYEE OF THE MONTH (2006, GREG COOLIDGE, A)
หนังเรื่องนี้มีตัวละครประกอบเป็นเกย์ (ถ้าเข้าใจไม่ผิดนะ)

4.SINKING OF JAPAN (2006, SHINJI HIGUCHI, A-/B+)

SHINJI HIGUCHI เคยกำกับ LORELEI: THE WITCH OF THE PACIFIC OCEAN (2005, B)


--หลังจากได้ดูภาพยนตร์เรื่อง ANAT(T)A (2006, AKRITCHALERM KALAYANAMITR + KOICHI SHIMIZU, A+) แล้ว ก็เลยได้ไอเดียเล่นๆว่า ถ้าหากมีการจัด “ภาพยนตร์ไตรภาค ชุด อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” ดิฉันก็อาจจะเลือกเรื่องดังต่อไปนี้

1.อนิจจัง = NOI ALBINOI (2003, DAGUR KARI, A+) เพราะดูแล้วรู้สึกว่าชีวิตคนเรามันไม่เที่ยงจริงๆ

2.ทุกขัง = HELEN THE BABY FOX (2006, KEITA KONO, A+) เพราะดูแล้วรู้สึกว่าการเกิดมามีชีวิตอยู่บนโลกใบนี้ มันช่างเต็มไปด้วยความทุกข์ยิ่งนัก

3.อนัตตา = ANAT(T)A

ไอเดียข้างบนเป็นแค่การคิดเล่นๆฮาๆเท่านั้น เพราะดิฉันเองไม่ได้นับถือศาสนา และก็ไม่ได้เข้าใจคำสอนทางศาสนาแต่อย่างใด

Tuesday, November 28, 2006

EYES WIDE OPEN

ตอบคุณโอลิเวอร์

ดีใจมากค่ะที่คุณโอลิเวอร์ชอบเพลง ONLY YOU ของ YAZOO

อีกเพลงนึงของ YAZOO ที่ดิฉันชอบมากคือ DON’T GO (1982) ค่ะ ดูมิวสิควิดีโอเพลงนี้ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=JHm4mOwq624


ตอบคุณโจ

ช่วงนี้น้องเก้าอี้มีพนักไปเชียงใหม่ค่ะ


ความเห็นที่มีต่อหนังและละครเวทีที่ได้ดูในช่วงนี้

WHAT HAPPENED TO MAGDALENA JUNG?

--ตอนที่ดู WHAT HAPPENED TO MAGDALENA JUNG? จบ ก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่าหนังเรื่องนี้มีสาระประโยชน์อะไรบ้าง รู้แต่ว่าได้รับความบันเทิงอย่างสุดขีดคลั่ง (เพราะดูแล้วแทบคลั่ง) จากหนังเรื่องนี้ แต่พอคุณ FILMSICK (FROM WEBBOARD BIOSCOPE) พูดถึงประเด็นเรื่องความวิเศษของภาพยนตร์ ก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่านี่เป็นประเด็นที่น่าสนใจเหมือนกัน ชอบ “สเปเชี่ยล เอฟเฟคท์” ในหนังเรื่องนี้มากๆ มันเป็นสเปเชียล เอฟเฟคท์ที่ “ชั้นต่ำ” ที่สุด แต่ดูเหมือนจะมีประสิทธิภาพสูงสุดในการส่งผลกระทบทางอารมณ์ต่อดิฉัน

--สามสาวหลังเครื่องบินในหนังเรื่องนี้เป็นอะไรที่ฮามากๆ ถ้าจำไม่ผิด ในขณะที่เหตุการณ์ในเครื่องบินพิสดารอยู่แล้ว ข้างนอกเครื่องบิน ยัยแมกดาลีน่าก็กำลังเหินเวหาอยู่อย่างไม่รู้อีโหน่อีเหน่ด้วย ตัดสินไม่ได้จริงๆว่าเหตุการณ์ข้างในหรือข้างนอกเครื่องบินที่เฮี้ยนกว่ากัน

--เทคนิคคนลอยผ่านฉากโดยไม่มีสาเหตุแบบใน WHAT HAPPENED TO MAGDALENA JUNG? นั้น เคยปรากฏอยู่ในภาพยนตร์เยอรมันเรื่อง THE LAST HOLE (1981, HERBERT ACHTERNBUSCH, A+++++) ด้วย โดยในหนังเรื่องนี้ จะมีฉากตัวละครนั่งรถไฟ และอยู่ดีๆก็มี “ยักษ์” ลอยอยู่นอกหน้าต่างรถไฟไปโดยไม่มีสาเหตุ
http://www.imdb.com/title/tt0082651/

พูดถึงฉากคนลอยแล้ว ก็ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง SUICIDE ME หรือ “นายอโศกกับนางสาวเพลินจิต” (2003, ทศพล ศิริวิวัฒน์, B-) ที่มีฉากตัวประหลาดๆลอยอยู่นอกหน้าต่างในฉากนึง แต่ฉากดังกล่าวค่อนข้างชัดเจนว่าต้องการสื่อถึงความรู้สึกอะไร และเป็นฉากที่ให้อารมณ์เก๋ๆ ในขณะที่ฉากตัวละครลอยผ่านหน้าต่างใน WHAT HAPPENED TO MAGDALENA JUNG? กับใน THE LAST HOLE เป็นฉากที่ดิฉันไม่สามารถให้คำอธิบายได้แม้แต่นิดเดียวว่ามันหมายความว่าอะไร รู้แต่ว่ามันฮามากๆ



ลักษณะพิเศษของละครเวทีและภาพยนตร์ที่ฉายตามแกลเลอรี่

--พูดถึงละครเวทีเรื่อง “ความฝันกลางเดือนหนาว” ของคุณคำรณ คุณะดิลกแล้ว ก็ทำให้นึกถึงความวิเศษอย่างนึงของ “ละครเวที” ที่มักไม่ค่อยปรากฏในภาพยนตร์ นั่นก็คือการที่คนดูต้องตัดสินใจเอาเองว่าจะโฟกัสสายตาของตัวเองไปที่ตัวละครตัวใด

ปกติแล้วละครเวทีมักไม่ค่อยนำคุณสมบัติพิเศษข้อนี้มาใช้ เพราะละครเวทีโดยทั่วๆไปอาจจะมีตัวละครอยู่บนเวทีไม่กี่ตัว หรือมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นเพียงอย่างเดียวบนเวทีในแต่ละวินาที

แต่ละครเวทีบางเรื่องอาจจะมีการใช้ลักษณะพิเศษนี้ โดยบางทีผู้สร้างอาจจะไม่ได้ตั้งใจก็ได้ โดยในละครเวทีเรื่อง “ความฝันกลางเดือนหนาว”นั้น ดิฉันพบว่ามันมีลักษณะนี้อยู่อย่างเด่นชัดมาก เพราะเวทีของละครเรื่องนี้มันยาวมากๆ ดิฉันรู้สึกเหมือนกับว่าเวลาดิฉันดูภาพยนตร์หนึ่งเรื่อง สายตาของดิฉันจะมองออกไปข้างหน้าในรัศมีประมาณ 90-120 องศาเท่านั้น แต่ในการชม “ความฝันกลางเดือนหนาว” ดิฉันต้องพยายามกวาดสายตาของตัวเองให้ได้ 180 องศาตลอดเวลา เพื่อจะได้ทันสังเกตว่าตัวละครตัวใดมาแอบผลุบโผล่อยู่มุมซ้ายมุมขวาของเวทีบ้าง บางทีดิฉันมัวแต่มองด้านซ้ายของเวที ก็เลยไม่ทันสังเกตว่าเกิดอะไรขึ้นที่ด้านขวาของเวที ต้องใช้เวลาปรับตัวอยู่ระยะนึงถึงค่อยปรับ “การใช้สายตา” ของตัวเองให้เหมาะสมกับการดูละครเวทีเรื่องนี้ได้

ละครเวทีเรื่องอื่นๆอาจจะไม่ได้ใช้เวทีที่ยาวกะเหลนเป๋นแบบ “ความฝันกลางเดือนหนาว” แต่ก็มีลักษณะเด่นตรงที่มีตัวละครหลายตัวทำกิจกรรมของตัวเองบนเวทีพร้อมๆกัน โดยอาจจะไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกัน ดังนั้นพอเจอฉากแบบนี้ ดิฉันก็ต้องพยายามรวบรวม “สมาธิ” และคุม “ประสาท” ของตัวเองให้มากกว่าปกติ เพื่อจะได้จับความเคลื่อนไหวของตัวละครหลายๆตัวบนเวทีให้ได้พร้อมๆกัน จะได้ไม่ “พลาด” เหตุการณ์สำคัญไป

ละครเวทีที่ดิฉันเคยเจอเหตุการณ์แบบนี้ก็มีเช่น “โชคล้านดวง” (2003, กำกับการแสดงโดย LINDA HARDY, A+/A) หรือ LES BELLES SOEURS ที่ในบางฉากจะมีตัวละครราว 10 กว่าตัวมาทำกิจกรรมของตัวเองบนเวที
http://www.siamzone.com/movie/news/index.php?id=1461

หรือแม้แต่เรื่อง “สีดา: ศรีราม” (2005, พรรัตน์ ดำรุง, A+++++) ก็มีบางฉากที่ดิฉันรู้สึกว่าต้องแบ่งประสาทตัวเองเพื่อมองดูอากัปกิริยาของตัวละครสองตัวพร้อมๆกันบนเวที โดยเฉพาะในฉากที่ศศิธร พานิชนก กับจิดาภา ฝ้ายเทศปรากฏตัวพร้อมกันบนเวที และแต่ละตัวละครก็ทำลีลาของตัวเองไป โดยดูเหมือนไม่ข้องเกี่ยวซึ่งกันและกัน ซึ่งปกติแล้วการมองดูตัวละครสองตัวพร้อมๆกันบนจอภาพยนตร์ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากแต่อย่างใด เพราะภาพยนตร์มักจะมีการโฟกัสภาพ หรือทำส่วนนึงชัด ทำส่วนนึงเบลอเพื่อช่วยในการโฟกัสสายตาของคนดูอยู่แล้ว แต่ในการดูละครเวทีนั้น บางครั้งดิฉันพบว่าเป็นการยากที่จะตัดสินใจให้ได้ในแต่ละวินาทีว่า วินาทีไหนเราควรมุ่งความสนใจไปที่ตัวละครตัวไหนบนเวทีกันแน่ และสิ่งนี้ก็คืออรรถรสแบบนึงที่ดิฉันชอบมากๆในละครเวที

ส่วนในภาพยนตร์นั้น ดิฉันนึกไม่ค่อยออกเหมือนกันว่ามีเรืองไหนที่มีลักษณะแบบนี้บ้าง เพราะแม้แต่ในภาพยนตร์ที่มีตัวละครเยอะๆอย่างภาพยนตร์ของโรเบิร์ต อัลท์แมน ดิฉันก็รู้สึกว่าตัวเองไม่ค่อยประสบปัญหาในการตัดสินใจว่าฉากไหนเราควรใช้สายตาจับจ้องตัวละครตัวใดกันแน่

ภาพยนตร์ที่มีลักษณะแบบนี้ เท่าที่นึกออกก็อาจจะมี HIDDEN (2005, MICHAEL HANEKE, A+) กับฉากจบของเรื่อง ที่หนังไม่ได้บอกว่าเราควรมองไปที่จุดใดในภาพนั้น จนดิฉันเองก็เลยไม่ได้มองไปที่สิ่งสำคัญในภาพนั้น หรือไม่ทันสังเกตสิ่งสำคัญในภาพนั้น ต้องรอให้คุณเต้มาบอกในภายหลัง ดิฉันถึงได้รู้ว่าตัวเองมองพลาดไปแล้ว

ภาพยนตร์อีกเรื่องนึงที่ฝึกประสาทการใช้สายตาเล็กน้อย ก็อาจจะรวมถึง HOPE AND THE SOUND OF FALLING METAL (2006, RYAN GRIFFITH, A/A-) ที่เปิดฉายที่หอกลาง จุฬาในขณะนี้ เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายบนจอ 3 จอพร้อมกัน และภาพในแต่ละจอก็ไม่เหมือนกัน แต่ในการชมภาพยนตร์เรื่องนี้นั้น ผู้ชมจะค่อยๆดูทีละจอก็ได้ หรือจะพยายามใช้สายตาของตัวเองจับภาพบนจอทีเดียวพร้อมกันทั้ง 3 จอก็ได้ โดยต้องเลือกจุดยืนที่เหมาะๆหน่อย จะได้ดูภาพบนจอทั้ง 3 จอได้พร้อมกัน (สองจอเป็นจอวิดีโอบนพื้นห้อง อีกจอนึงเป็นเพียงผนังมุมกำแพงห้อง)

การชม HOPE AND THE SOUND OF FALLING METAL และต้องหา “จุด” ที่เหมาะๆในการยืนดูภาพยนตร์เรื่องนี้นั้น ทำให้นึกถึงลักษณะพิเศษอย่างนึงของภาพยนตร์ที่ฉายตามแกลเลอรี่ที่เคยได้ยินมา นั่นก็คือผู้ชมภาพยนตร์ตามแกลเลอรี่นั้น ต้องรู้จัก “จัดระเบียบตัวเอง” มากกว่าผู้ชมภาพยนตร์ตามโรงหนัง เพราะผู้ชมตามโรงหนังนั้นมีจุดนั่งดูที่ “คงที่” หรือ “ตายตัว” อยู่แล้ว และมักจะรอจนภาพยนตร์จบแล้วจึงค่อย “เลิกดู” แต่ผู้ชมภาพยนตร์ตามแกลเลอรี่นั้น จะต้องรู้จักเลือกหาจุดที่เหมาะสมในการดู video installation แต่ละเรื่อง เพราะ “วิดีโอจัดวาง” แต่ละเรื่อง ก็จะบังคับให้ผู้ชมต้องจัดวางตัวเองในจุดที่ต่างๆกันไปในการชมวิดีโอเรื่องนั้น นอกจากนี้ ผู้ชมภาพยนตร์ตามแกลเลอรี่ ต้องรู้จักจัดระเบียบตัวเองเช่นกันว่าควรจะเลิกดูภาพยนตร์เรื่องใดเมื่อใดดีถึงจะเหมาะสมกับตัวเอง เพราะภาพยนตร์หลายเรื่องที่ฉายตามแกลเลอรี่เป็นภาพยนตร์ที่ไม่มีเนื้อเรื่อง คุณจะดูแค่แป๊บเดียวก็ได้ หรือจะดูจนมันฉายวนกลับมายังจุดเดิมก็ได้ คุณต้องเลือกเอาเองหรือตัดสินใจเองตลอดเวลาว่าจะเลิกดูเมื่อใดดี และภาพยนตร์หลายๆเรื่องที่ฉายตามแกลเลอรี่ ก็เป็นภาพยนตร์ที่คุณไม่มีวันดูได้ “ครบทั้งเรื่อง” อยู่แล้วด้วย อย่างเช่น

1.24 HOUR PSYCHO (1993, DOUGLAS GORDON) ซึ่งเป็นการนำ PSYCHO (1960, ALFRED HITCHCOCK, A+) มายืดความเร็วให้กลายเป็นภาพยนตร์ที่มีความยาว 24 ชั่วโมง
http://arts.guardian.co.uk/gallery/image/0,8543,-10104531576,00.html

2.FIVE YEARS DRIVE BY (DOUGLAS GORDON) ซึ่งเป็นการนำ THE SEARCHERS (1956, JOHN FORD) มายืดความเร็วให้กลายเป็นภาพยนตร์ที่มีความยาว 5 ปี หรือประมาณ 43,824 ชั่วโมง (กรี๊ดดดดดด) โดยนักวิจารณ์บางคนให้ความเห็นว่า เนื่องจากภาพในภาพยนตร์เรื่องนี้มีความเคลื่อนไหวน้อยมาก ดังนั้นภาพยนตร์เรื่องนี้จึงกลายเป็น "กึ่งภาพยนตร์ กึ่งประติมากรรม"

http://www.notam02.no/eart_in_public_space/index-e.php?side=verk_driveby-e&m=vp


การได้ “จัดระเบียบตัวเอง” ในการดูภาพยนตร์ตามแกลเลอรี่เป็นอีกสิ่งนึงที่ดิฉันชอบมากๆเลยค่ะ

Monday, November 27, 2006

CHRISTOPH SCHLINGENSIEF

SCREENOUT PAGE 162
http://xq28.net/s/viewtopic.php?t=3437&start=4025


ตอบคุณอ้วน

--ตอนแรกดิฉันไม่ทันได้คิดมาก่อนว่านางเอก LOVE PHOBIA กับนางเอก THE UNSEEABLE มีความแตกต่างกันอย่างไร แต่พอคุณอ้วนนำมาเปรียบเทียบกันแล้ว ก็เลยลองนำมาคิดดู และก็พบว่านางเอกหนังสองเรื่องนี้มีความยึดติดกับความรักที่แตกต่างกันจริงๆด้วย

--จำไม่ได้แล้วว่าในภาพยนตร์เรื่อง WARSAW มีการพูดถึงน้ำหอม FAHRENHEIT ว่าอย่างไรบ้าง จำได้แต่ว่าประทับใจกับฉากจบของหนังเรื่องนี้มากๆ จริงๆแล้วก็รู้สึกว่าฉากจบของหนังเรื่องนี้มัน “จงใจ๊ จงใจ” น่ะนะ แต่ก็รู้สึกซึ้งไปกับมันจริงๆ ที่อยู่ดีๆก็มียีราฟโผล่มาเดินกลางหิมะในเมืองใหญ่โดยไม่มีสาเหตุใดๆทั้งสิ้น


--เมื่อวานนี้ได้คุยกับคุณเต้ถึงภาพยนตร์เรื่อง WHAT HAPPENED TO MAGDALENA JUNG? ที่ได้ดูกันที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุยๆกันอยู่แล้วดิฉันก็หัวเราะจนแทบหยุดไม่ได้เมื่อนึกถึงฉากที่เด็กๆกลุ่มนึงถูกสอนให้ท่องประโยคที่ว่า LENA IS GREAT ซ้ำไปซ้ำมาหลายๆครั้ง โดยมีเด็กหญิงชาวเอเชียคนนึงรวมอยู่ในกลุ่มเด็กฝรั่งด้วย เด็กเหล่านี้ทำหน้าตายมาก และท่องประโยคที่ดูเหมือนกับว่าเป็น “ความจริงที่น่าเชื่อถือ” ประเภท “เด็กดีต้องรักชาติ” แต่สิ่งที่เด็กๆในหนังเรื่องนี้ท่องกลับเป็นความจริงที่ดูเหมือนไร้สาระมากๆ

อีกฉากนึงที่ชอบมากคือฉากคนกลุ่มนึงนั่งปั้นจิ้มปั้นเจ๋อกันอยู่บนรถไฟ แล้วคนบางคนในกลุ่มนั้นก็ลงจากรถไฟ พวกเขาเห็นคนทำกิจกรรมอะไรบางอยู่ข้างนอกรถไฟ แล้วอยู่ๆดีฉากนั้นก็ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง คนกลุ่มนั้นยังคงนั่งปั้นจิ้มปั้นเจ๋อกันอยู่บนรถไฟ ก่อนที่พวกเขาจะลงจากรถไฟ แล้วก็เจอคนทำกิจกรรมกันอยู่นอกรถไฟ (จำได้ว่ามีคนเล่นคาราเต้กันนอกรถไฟด้วย แต่จำไม่ได้ว่ากิจกรรมนี้อยู่ในฉากที่หนึ่งหรือฉากที่สอง และอีกกิจกรรมนึงก็คือกิจกรรมที่เหมือนให้คนเยอรมันแต่งตัวแบบชุดประจำชาติ ถ้าจำไม่ผิดน่ะนะ) ดิฉันตัดสินไม่ถูกจริงๆว่า “ฉากรถไฟซ้ำสองครั้ง” ในหนังเรื่องนี้ กับฉากรถไฟซ้ำสองครั้งในหนังเรื่อง “4” (2004, ILYA KHRZHANOVSKY, A+) ฉากไหนแรงกว่ากัน

เนื่องจากดิฉันประทับใจกับ WHAT HAPPENED TO MAGDALENA JUNG? มากๆ ก็เลยไปค้นประวัติของ CHRISTOPH SCHLINGENSIEF ดู แล้วก็พบว่าเขาเคยกำกับหนังไตรภาคชุด GERMAN TRILOGY ที่น่าสนใจมากๆ ซึ่งประกอบด้วยเรื่อง

1.100 YEARS OF ADOLF HITLER (1988) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับชั่วโมงสุดท้ายในชีวิตของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์


2.THE GERMAN CHAINSAW MASSACRE (1990, 63 MINUTES)

หนังเรื่องนี้ได้รับคำวิจารณ์ว่าเหมือนกับนำ THE TEXAS CHAINSAW MASSACRE (1974, TOBE HOOPER, A+) มาสร้างใหม่ โดยให้ BERTOLT BRECHT เป็นคนกำกับ!!!!! (กรี๊ดดดดดด) โดยเนื้อหาของหนังเรื่องนี้พูดถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เยอรมนีเหมือนกับ 100 YEARS OF ADOLF HITLER โดยเหตุการณ์ในเรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อเยอรมันตะวันออกกับตะวันตกรวมชาติกันได้ไม่กี่ชั่วโมง และชาวเยอรมันตะวันออกกลุ่มหนึ่งก็เดินทางเข้ามาในเยอรมันตะวันตก พวกเขาได้พบกับครอบครัวโรคจิตวิปลาสครอบครัวหนึ่งที่แนะนำชาวเยอรมันตะวันออกกลุ่มนี้ให้รู้จักกับความรื่นรมย์ของสิ่งที่เรียกกันว่า “ตลาดเสรี”?????

THE GERMAN CHAINSAW MASSACRE นำแสดงโดยเจ้าพ่อหนัง CULT – UDO KIER โดยมี VOLKER SPENGLER (IN A YEAR OF 13 MOONS, FANDANGO, THE THIRD GENERATION) มาร่วมแสดงด้วย

อย่าจำ VOLKER SPENGLER สลับกับ RUDIGER VOGLER (ALICE IN THE CITIES, THE WRONG MOVE, KINGS OF THE ROAD)


3.TERROR 2000 (1992, 80 MINUTES)

หนังเรื่องนี้พูดถึงการเหยียดผิวในสังคมเยอรมนี โดยมี ALFRED EDEL รับบทเป็นอดีตนักเลง และ PETER KERN รับบทเป็นลูกสมุนของเขา ทั้งสองมาเปิดร้านเฟอร์นิเจอร์ในเมืองเล็กๆแห่งหนึ่ง และทั้งสองก็เริ่มต้นทำร้ายครอบครัวของชาวต่างชาติและออกมารณรงค์ต่อต้านชาวต่างชาติในเยอรมนี หนังเรื่องนี้ได้รับคำวิจารณ์ว่า “ปั่นป่วนวุ่นวายมาก”

PETER KERN ดารานำของหนังเรื่องนี้เคยแสดงภาพยนตร์แรงๆมาแล้วมากมายหลายเรื่อง อย่างเช่น

3.1 FOX AND HIS FRIENDS (1975, RAINER WERNER FASSBINDER, A)

3.2 HITLER: A FILM FROM GERMANY (1978, HANS-JURGEN SYBERBERG, A+) เขารับบทเป็นตัวละคร 5 ตัวในหนังความยาว 7 ชั่วโมงเรื่องนี้ โดยหนึ่งในตัวละคร 5 ตัวนี้คือ M ฆาตกรโรคจิตจากหนังเรื่องดังของ FRITZ LANG

3.3 PRISON CAMP GIRLS, JAILED FOR LOVE (1983, PETER KERN + KURT RAAB)
http://www.imdb.com/title/tt0084139/

3.4 VIRGIN MACHINE (1988, MONIKA TREUT) หนังเลสเบียน
http://www.imdb.com/title/tt0095417/

3.5 JOAN OF ARC OF MONGOLIA (1988, ULRIKE OTTINGER, A+) หนังเลสเบียน

3.6 MALINA (1991, WERNER SCHROETER, A+)


ดารานำอีกคนใน TERROR 2000 คือ MARGIT CARSTENSEN ซึ่งเป็นดาราขาประจำของ RAINER WERNER FASSBINDER อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MARGIT CARSTENSEN ได้ที่
http://xq28.net/s/viewtopic.php?t=11017


CHRISTOPH SCHLINGENSIEF เคยร่วมมือกับสาวเฮี้ยน ELFRIEDE JELINEK (THE PIANO TEACHER, MALINA) ในการกำกับละครเวทีเรื่อง BAMBILAND และนี่คือรูปจาก BAMBILAND
http://www.schlingensief.com/bildergalerien/004/t041_1.jpg
http://www.schlingensief.com/bildergalerien/004/t041_6.jpg
http://www.schlingensief.com/bildergalerien/004/t041_8.jpg
http://www.schlingensief.com/bildergalerien/004/t041_9.jpg
http://www.schlingensief.com/bildergalerien/004/t041_24.jpg

บทประพันธ์อีกอันนึงของ ELFRIEDE JELINEK ที่ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ คือบทประพันธ์เรื่อง THE EXCLUDED ที่สร้างเป็นหนังในปี 1982 โดยมี FRANZ NOVOTNY เป็นคนกำกับและร่วมเขียนบท

THE EXCLUDED เป็นภาพยนตร์ที่น่าสนใจมาก เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ตัวละครเอกสองคนในเรื่องชื่อ HANS กับ SOPHIE SCHOLL เหมือนชื่อของพี่น้องหัวขบถที่ถูกฝ่ายฮิตเลอร์ฆ่าตายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ในภาพยนตร์เรื่องนี้ SOPHIE SCHOLL ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ในยุคนาซี แต่ใช้ชีวิตอยู่ในออสเตรียในทศวรรษ 1950 โซฟีไม่สามารถยอมรับสไตล์การใช้ชีวิตในยุคนั้นได้ เธอก็เลยกลายเป็นผู้ก่อการร้ายและลอบวางระเบิด
http://www.imdb.com/title/tt0083595/

Sunday, November 26, 2006

WHAT HAPPENED TO MAGDALENA JUNG? (A+)

--ขอแก้ไขข้อผิดพลาดค่ะ ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง DINING TIME (2006, A) ที่จริงชื่อ SHIGEAKI IWAI ค่ะ


ตอบคุณอ้วน

ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับคำชม

แนะนำมิวสิควิดีโอเกี่ยวกับการเดินอีก 2 อัน

1. PUISQUE VOUS PARTEZ EN VOYAGE
http://www.youtube.com/watch?v=9pGw_3ANHEs
แนะนำโดยคุณ pc แห่งเว็บบอร์ดไบโอสโคป

2.มิวสิควิดีโอเกี่ยวกับการเดินอีกอันที่เฮี้ยนมากคือ THE SENSUAL WORLD ของ KATE BUSH
http://www.youtube.com/watch?v=AJc64xncBt4

(อยากให้มีมิวสิควิดีโอที่ KATE BUSH, TORI AMOS และ NINA HAGEN เดินมาเจอกันที่ทางสามแพร่ง)


--พูดถึงหอกลาง จุฬา แล้วก็เสียดายเหมือนกันที่วันพฤหัสบดีที่ผ่านมามีฉายภาพยนตร์อิตาลีเรื่อง

1.CATERINA IN THE BIG CITY (2003, PAOLO VIRZI) ซึ่งเป็นทั้งหนังเด็กและหนังการเมือง
http://www.imdb.com/title/tt0366287/

Caterina, who loves music, moves at 12 from the sticks to Rome where her parents must care for an invalid aunt. At school, her simple and direct ways make her appealing to two cliques: one led by Margherita, the Bohemian daughter of leftist intellectuals, and the other headed by the preppy Daniela, daughter of one of Berlusconi's ministers. Caterina's navigating a new city, a new school, new friends, the onset of puberty, and the cross-cutting politics of wealth, class, and ideology in Rome is complicated by her parents, each profoundly unhappy. What hope is there for someone who doesn't play the game?
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/22/32/18395133.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/22/32/18392196.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/22/32/18392197.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/22/32/18392198.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/22/32/18375017.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/22/32/18375018.jpg


2.KISSES AND HUGS (1999, PAOLO VIRZI)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B000G8NZ0I.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V64177358_.jpg

It is the story of a group of people in despair (Mario with a failed restaurant and three brothers with a breeding of ostriches near Cecina) who casually meet together. Mario is the name of a man, who could save the breeding from the end and when the brothers meet the failed Mario (instead of the rich) at the station, they believe he is their savior. Mario would like to explain, but when he finds love and friendship in that big and fool family, he prefers to continue his lie.


--วันพฤหัสบดีที่ผ่านมามีงานฉายหนังที่น่าดูชนกันถึง 3 งาน ทั้งงานหนังอิตาลีที่หอกลางจุฬา, หนังเรื่อง IT’S RAINING ON SANTIAGO (1976, HELVIO SOTO) ที่ธรรมศาสตร์ และงานฉายหนังแอนิเมชั่นที่ศิลปากร แต่ก็รู้สึกว่าไม่ว่าตัวเองจะเลือกไปดูหนังที่ไหน ก็ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ “ไม่ผิด” ทั้ง 3 ทางเลือก

--ส่วนวันเสาร์ที่ผ่านมานั้น ตอนแรกลังเลว่าจะไปดูหนังที่ FLIP CAFE, ดูละครที่ถ.พระอาทิตย์ หรือดูละครที่ภัทราวดีเธียเตอร์ดี แต่ไปๆมาๆปรากฏว่าวันนั้นท้องเสีย ก็เลยต้องกลับมานอนซมอยู่ที่บ้าน ไม่ได้ออกไปดูละครที่ไหนทั้งสิ้น


ตอบคุณโอลิเวอร์ + คุณอ้วน

หลังกลับจากไปเที่ยวแล้วก็รู้สึกเซ็งๆมากค่ะที่ต้องกลับมาทำงานอีกครั้ง และสิ่งนี้ทำให้นึกถึงบทกวีสองบทของ ROBERT FROST ที่อาจจะไม่ได้พูดถึงความรู้สึกนี้ แต่สามารถนำมาเทียบเคียงกันได้

1.Stopping By Woods On A Snowy Evening

Whose woods these are I think I know.
His house is in the village though;
He will not see me stopping here
To watch his woods fill up with snow.
My little horse must think it queer
To stop without a farmhouse near
Between the woods and frozen lake
The darkest evening of the year.
He gives his harness bells a shake
To ask if there is some mistake.
The only other sound's the sweep
Of easy wind and downy flake.
The woods are lovely, dark and deep.
But I have promises to keep,
And miles to go before I sleep,
And miles to go before I sleep.

บทกวีนี้พูดถึงผู้ชายคนนึงที่อาจจะอยู่ในระหว่างการทำงาน เขากำลังขี่ม้า และเขาก็อยากจะหยุดพักผ่อนเหลือเกิน เขาหยุดม้าของเขาอยู่กลางป่า และมองดูหิมะตกลงมาเรื่อยๆในป่า นั่นเป็นสิ่งที่เขาอาจจะไม่ควรทำ เขาไม่ควรหยุดพักอยู่เฉยๆกลางป่าที่มืดมิด และมองดูหิมะตกลงมาเรื่อยๆเช่นนั้น แต่เขาก็อยากจะหยุดอยู่แค่นั้น เขาแทบไม่อยากจะเดินทางต่อไป แต่ในที่สุดเขาก็จำใจออกเดินทางต่อไป เขาต้องเดินทางต่อไปอีกหลายไมล์กว่าภารกิจของเขาจะเสร็จสิ้น และเขาถึงจะได้นอนหลับพักผ่อนเสียที

อ่านบทกวีนี้แล้วบางทีก็ทำให้นึกถึงความรู้สึกของตัวเองที่ไม่อยากจะลุกจากเตียงนอนไปทำงานเลย แต่ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจริงๆแล้วบทกวีนี้หมายถึงอะไร บางคนบอกว่าอ่านบทกวีนี้แล้วนึกถึงความรู้สึกของคนที่อยากฆ่าตัวตาย แต่ในที่สุดก็ตัดสินใจไม่ฆ่าตัวตายและมีชีวิตอยู่ต่อไป (สังเกตความรู้สึกหม่นหมองในบทกวีนี้ได้จากประโยคอย่างเช่น THE DARKEST EVENING OF THE YEAR)

2.BIRCHES

When I see birches bend to left and right

Across the lines of straighter darker trees,

I like to think some boy's been swinging them.

But swinging doesn't bend them down to stay.

Ice-storms do that. Often you must have seen them

Loaded with ice a sunny winter morning

After a rain. They click upon themselves

As the breeze rises, and turn many-coloured

As the stir cracks and crazes their enamel.

Soon the sun's warmth makes them shed crystal shells

Shattering and avalanching on the snow-crust

Such heaps of broken glass to sweep away

You'd think the inner dome of heaven had fallen.

They are dragged to the withered bracken by the load,

And they seem not to break; though once they are bowed

So low for long, they never right themselves:

You may see their trunks arching in the woods

Years afterwards, trailing their leaves on the ground,

Like girls on hands and knees that throw their hair

Before them over their heads to dry in the sun.

But I was going to say when Truth broke in

With all her matter-of-fact about the ice-storm,

I should prefer to have some boy bend them

As he went out and in to fetch the cows--

Some boy too far from town to learn baseball,

Whose only play was what he found himself,

Summer or winter, and could play alone.

One by one he subdued his father's trees

By riding them down over and over again

Until he took the stiffness out of them,

And not one but hung limp, not one was left

For him to conquer. He learned all there was

To learn about not launching out too soon

And so not carrying the tree away

Clear to the ground. He always kept his poise

To the top branches, climbing carefully

With the same pains you use to fill a cup

Up to the brim, and even above the brim.

Then he flung outward, feet first, with a swish,

Kicking his way down through the air to the ground.

So was I once myself a swinger of birches.

And so I dream of going back to be.

It's when I'm weary of considerations,

And life is too much like a pathless wood

Where your face burns and tickles with the cobwebs

Broken across it, and one eye is weeping

From a twig's having lashed across it open.

I'd like to get away from earth awhile

And then come back to it and begin over.

May no fate wilfully misunderstand me

And half grant what I wish and snatch me away

Not to return. Earth's the right place for love:

I don't know where it's likely to go better.

I'd like to go by climbing a birch tree,

And climb black branches up a snow-white trunk

Toward heaven, till the tree could bear no more,

But dipped its top and set me down again.

That would be good both going and coming back.

One could do worse than be a swinger of birches.

บทกวีนี้พูดถึงอะไรหลายๆอย่าง ลองค้นหาความหมายของบทกวีนี้ได้จากอินเทอร์เน็ต
http://www.cs.rice.edu/~ssiyer/minstrels/poems/1272.html

แต่สิ่งที่โดนใจดิฉันมากที่สุดในบทกวีนี้ก็คือบางท่อนของบทกวีที่ทำให้นึกถึงความรู้สึกของผู้ใหญ่คนนึงที่รู้สึกเหนื่อยล้ากับชีวิตมากเหลือเกิน เขารู้สึกว่าการดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันนี้มันเต็มไปด้วยเรื่องที่ต้องกังวล เรื่องที่ต้องเป็นห่วงมากมาย เขารู้สึกเหมือนกำลังเดินอยู่ในป่าที่ไม่มี “เส้นทาง” เขารู้สึกว่าเขากำลังเดินผ่านต้นไม้ที่ขึ้นอยู่รกทึบในป่า และถูกกิ่งไม้ข่วนหน้าข่วนตาจนเป็นแผล แถมกิ่งไม้ยังข่วนตาข้างนึงจนทำให้เขาต้องร้องไห้อีกด้วย

เมื่อชีวิตในปัจจุบันทำให้เขารู้สึกเป็นทุกข์เช่นนั้น เขาก็เลยนึกถึงชีวิตในวัยเด็กที่เขาได้ปีนไต่ไปตามกิ่งต้นเบิร์ช การได้ไต่กิ่งต้นเบิร์ชทำให้เขารู้สึกว่าเขาได้หลุดออกไปจากโลก และได้ไต่ขึ้นไปจนถึง “สวรรค์” และเขาก็อยากจะทำอย่างในวัยเด็กอีกครั้ง

เนื้อหาของบทกวีในท่อนนี้ทำให้นึกถึงความรู้สึกของคนที่อยากหยุดพักผ่อนจากการทำงานสักระยะ เพื่อหาความสุขสนุกสนานใส่ตัวเองให้เต็มที่ อยากจะลืม “โลกแห่งความเป็นจริง” สักระยะ อยากจะทำให้ตัวเองรู้สึกเหมือนอยู่ในสวรรค์

แต่เนื้อหาของบทกวีนี้ไม่ได้ยุให้คนละทิ้งหน้าที่การงานแต่อย่างใด เพราะบทกวีนี้บอกว่าเขาอยากจะไต่ต้นเบิร์ชขึ้นไปจนถึงสวรรค์ก็จริง แต่เขาก็อยากจะอยู่บนสวรรค์สักระยะนึงเท่านั้น และเขาก็จะไต่ต้นเบิร์ชกลับลงมายังพื้นโลกอีกครั้ง เขาบอกว่าสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเขาก็คือการไต่ขึ้นไปจนถึงสวรรค์และไต่กลับลงมายังโลก ไม่ใช่การไต่ขึ้นไปถึงสวรรค์แล้วไม่กลับลงมาอีกเลย

รูปต้นเบิร์ช
http://smart-studio.com/birches.jpg
http://www.gilbertart.com/images/Landscape/7020%20Birches.jpg
http://www.kgcphoto.com/Upper_Michigan_Landscapes/white-birches-horiz-1-2.jpg


หนังและละครเวทีที่ได้ดูในวันนี้

1.WHAT HAPPENED TO MAGDALENA JUNG? (1983, CHRISTOPH SCHLINGENSIEF, A++++++++++)
http://www.schlingensief.com/index_eng.html

รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เฮี้ยนพอๆกับหนังของ ULRIKE OTTINGER และ HERBERT ACHTERNBUSCH และนี่คงเป็นหนึ่งในหนังสั้นที่ชอบที่สุดในปีนี้อย่างแน่นอน

ดูหนังเรื่องนี้แล้วตัดสินไม่ได้จริงๆว่าตัวละครตัวไหนแรงที่สุดในเรื่อง ทั้งนางเอกที่เหาะเหินได้อย่างไม่มีสาเหตุ, พิธีกรโทรทัศน์หญิงที่ใช้เทคนิคด้านภาพในการสร้างความเฮี้ยนให้ตัวเอง (ด้วยการแบ่งหน้าจอออกเป็นสองช่อง แต่ละช่องพูดไม่ตรงเวลากัน และมีการสลับภาพกลับหัวกลับหางในบางระยะ), พิธีกรชาย, ผู้โดยสารหญิงในเครื่องบิน และสาวเล่นเปียโนที่มีท่าทางการจิกกระดาษโน้ตเพลงที่รุนแรงมาก

เว็บไซท์ของ CHRISTOPH SCHLINGENSIEF
http://www.schlingensief.com/index_eng.html

ภาพจากผลงานของเขา
http://www.schlingensief.com/bildergalerien/034/t052_1.jpg
http://www.schlingensief.com/bildergalerien/041/f047_1.jpg
http://www.schlingensief.com/bildergalerien/041/f047_4.jpg
http://www.schlingensief.com/bildergalerien/041/f047_7.jpg
http://www.schlingensief.com/bildergalerien/041/f047_16.jpg


2.THE GURU THEATRE (A+)
แสดงโดย B-FLOOR
กำกับโดย ธีระวัฒน์ มุลวิไล (TEERAWAT MULVILAI)


3.THE DEATH KING (1990, JORG BUTTGEREIT, A+)


4.PERFORMANCE BY LIFEWORK DANCE COMPANY (A+)
แสดงโดยคุณพิเชษฐ์ กลั่นชื่น และลูกศิษย์

ดูแล้วรู้สึกว่าคุณพิเชษฐ์ กลั่นชื่น เจ๋งมากๆ ไม่แพ้คุณประดิษฐ์ ประสาททอง (MAHAJANOK NEVER SAY DIE EPISODE II) และคุณมานพ มีจำรัส (วันทอง นางผู้เป็นมากกว่าหญิงสองใจ) รู้สึกชอบทั้งสามคนนี้อย่างมากๆ


5.เด็กชายชั่วคราว เด็กสาวชั่วคืน (A-)

แสดงโดย คณะละครมรดกใหม่
กำกับโดย ฐานชน จันทร์เรือง TANACHON CHANDRUNAG

--น้องเก้าอี้มีพนักแนะนำว่าในเดือนธ.ค.นี้จะมีการจัด THE SECOND INTERNATIONAL BUTOH FESTIVAL ที่หอศิลป์ตาดูด้วย ดูรายละเอียดได้ที่
http://www.pantip.com/cafe/chalermkrung/topic/C4899042/C4899042.html

HERO (2006, THAWEESAK SRITHONGDEE, A+)

4.HERO (2006, THAWEESAK SRITHONGDEE, A+++++++++++++++)
http://www.jfbkk.or.th/event/ft3d_eg.html

****เวลาที่ควรใช้ในการชมภาพยนตร์เรื่องนี้ – ไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง*****

ได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ JAPAN FOUNDATION หนังเรื่องนี้เป็นการนำภาพบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์หลายๆคนมาให้เราชม โดยไม่บอกว่าเป็นใคร และมีการนำเทคนิคต่างๆมาใช้กับภาพบุคคลสำคัญเหล่านี้

ดิฉันไม่รู้ว่า HERO มีความยาวเท่าไหร่ แต่ที่แน่ๆก็คือมีความยาวมากกว่า 1 ชั่วโมง รู้สึกเสียดายมากๆที่ไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้อย่างเต็มๆ เพราะดิฉันไม่รู้มาก่อนว่าหนังจะยาวขนาดนี้

หนังเรื่องนี้เปิดฉายตั้งแต่เวลา 09.00-19.00 น.ในวันธรรมดา จนถึงวันพฤหัสบดีที่ 30 พ.ย.นี้ ดิฉันนึกว่าหนังเรื่องนี้ไม่ยาว ก็เลยไปถึง JAPAN FOUNDATION ตอนเกือบจะ 18.00 น.แล้ว และยืนดูหนังเรื่องนี้ไปเรื่อยๆจนถึงเวลา 19.00 น. พบว่าหนังเรื่องนี้นำเสนอภาพ HERO ไม่ซ้ำกันเลยตลอดเวลา 1 ชั่วโมงที่ยืนดูอยู่นั้น บางทีถ้าหากดิฉันได้ดูหนังเรื่องนี้อย่างเต็มๆ หนังเรื่องนี้อาจจะยิ่งไต่อันดับสูงยิ่งขึ้นไปอีกในใจดิฉัน

รู้สึกทึ่งกับคุณ THAWEESAK SRITHONGDEE อย่างมากๆ ที่สามารถทำหนังยาวได้โดยไม่เล่าเรื่องเลย และเขาก็ใช้เทคนิคการทำหนังที่ดูเหมือนไม่ซับซ้อนด้วย แต่กลับทำให้ดิฉันรู้สึกไม่เบื่อเลยตลอดเวลาที่ยืนดูอยู่นั้น

จุดเด่นอีกจุดของหนังเรื่องนี้ก็คือ “จอ” ที่ใช้ฉายหนัง เพราะข้างซ้ายข้างขวาของจอนี้จะมีภาพประติมากรรมนูนๆสองภาพประดับอยู่ และทำให้ภาพที่ปรากฏทางด้านซ้ายและขวาของจอบิดเบี้ยวไปตามภาพประติมากรรมที่แปะอยู่สองข้างของจอ (อย่างไรก็ดี ไอเดียของ “จอภาพยนตร์” ที่ถูกใจดิฉันมากที่สุดในปีนี้ ยังคงเป็นของภาพยนตร์เรื่อง DINING TIME (2006, SHIGAKI IWAI, A) ที่ใช้โต๊ะกินข้าว 3 โต๊ะแทนจอภาพยนตร์)
http://www.jfbkk.or.th/event/dining_time_eg.html

ขณะที่ชมภาพยนตร์เรื่อง HERO (2006) ดิฉันรู้สึกเหมือนตัวเองกำลังเล่นเกมทศกัณฐ์อยู่ เพราะหนังเรื่องนี้นำเสนอภาพของบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมายที่ดิฉันไม่รู้จัก ถ้าหากใครที่ไปดูหนังเรื่องนี้แล้วสามารถจำได้ว่าหนังเรื่องนี้นำเสนอภาพของใครบ้าง ก็ช่วยบอกดิฉันมาด้วยนะคะ

บุคคลสำคัญที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง HERO เท่าที่ดิฉันรู้จัก ก็มีเช่น

4.1--ABRAHAM LINCOLN ที่ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วยการนั่งจานบิน

4.2--LENIN ที่นั่งรถยนต์ฝ่าหิมะและแมกไม้
http://www.antorcha.org/foto/lenin-19.gif

4.3--JOAN OF ARC ที่ขี่ม้ามาท่ามกลางท้องฟ้าอันมืดครึ้ม
http://www.mccullagh.org/db9/12/joan-of-arc.jpg

4.4--NAPOLEON
http://members.lycos.nl/spreekbeurt/ws/napoleon/Image41.gif

4.5--ANNE FRANK ที่ปรากฏตัวในวงกลมสีรุ้ง
http://www.jbs-anne-frank.de/BILD/anne_frank-portait.jpg

4.6--ALBERT EINSTEIN ที่แลบลิ้นปลิ้นตาใส่ผู้ชม

4.7--MUSSOLINI
http://www.gms-reisen.ch/images/Heft%2053/Mussolini-1f.jpg

4.8--CHE GUEVARA ที่ปรากฏตัวบนธงแดง

4.9--BIN LADEN

4.10--SADDAM HUSSEIN

4.11--GANDHI ที่ขยายร่างของตัวเองเป็นหลายๆร่างได้ และสีของแต่ละร่างลดหลั่นกันไปตั้งแต่สีน้ำตาลไปจนถึงสีชมพู

4.12--SHAKESPEARE
http://www.malaspina.org/gif/shakespeare.jpg

4.13—เหมาเจ๋อตุง ที่ใบหน้าของเขาในวงกลมอันใหญ่จะค่อยๆขยายขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ใบหน้าของเขาในวงกลมอันเล็กถูกดูดเข้าไปในวงกลมอันใหญ่

4.14--ริชาร์ด นิกสัน (ขณะจับมือกับเหมาเจ๋อตุง)
http://www.archives.nysed.gov/projects/legacies/Images/syrimages/syrCh_images/NixonMao.jpg

4.15--HITLER

นอกจากนี้ ยังมีภาพวาดฮีโร่อันหลากหลายในจินตนาการของเด็กๆชาวญี่ปุ่น ก่อนที่ภาพฮีโร่เหล่านี้จะถูกภาพฮิตเลอร์บดบังไปจนหมด


อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับทวีศักดิ์ ศรีทองดีได้ที่
http://www.positioningmag.com/magazine/Details.aspx?id=30570
http://www.hof-art.net/images/gallery/thaweesak.jpg

บล็อกของคุณทวีศักดิ์ ศรีทองดี หรือ “โลเล” อยู่ที่
http://lolay.exteen.com/

ส่วนนี่เป็นรายชื่อบุคคลสำคัญที่ดิฉันไม่แน่ใจว่าได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์เรื่อง HERO (2006) ด้วยหรือเปล่า

--SIGMUND FREUD
http://www.loc.gov/exhibits/freud/images/vc008467.jpg

--CHARLES DARWIN
http://www.biografiasyvidas.com/monografia/darwin/fotos/darwin_charles.jpg

--PLATO
http://www.livius.org/a/1/greeks/plato_cm.JPG


5.SUGAR & SPICE: WHAT LITTLE GIRLS ARE MADE OF (2006, ISAMU NAKAE, A+)

ชอบหนังเรื่องนี้มากๆ เพราะว่า

--YUYA YAGIRA กลายเป็นชายหนุ่มที่หน้าตาดีเกือบน้อยที่สุดในเรื่อง เพราะในหนังเรื่องนี้มีตัวละครชายหนุ่มที่หล่อเหลากว่า YUYA อีกราว 3-4 คน ซึ่งรวมถึงตัวละครที่มีศักดิ์เป็น “คุณปู่” ของ YUYA, แฟนเก่านางเอก และเพื่อนๆของยูยะ

--ตัวละครคุณย่าของ YUYA ที่แสดงโดย MARI NATSUKI เป็นตัวละครที่มีสีสันมากๆ และเป็นตัวละครที่ดิฉันมีอารมณ์ร่วมด้วยอย่างรุนแรงจนทำให้ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆในที่สุด (คุณโอลิเวอร์เคยเดาไว้ล่วงหน้าแล้วว่าดิฉันต้องชอบตัวละครตัวนี้)

ตัวละครคุณย่าคนนี้ตรงข้ามกับตัวละครคุณย่าแห่งนางาซากิในหนังเรื่อง RHAPSODY IN AUGUST (1991, AKIRA KUROSAWA, B+) เพราะคุณย่า FUJIKO ใน SUGAR & SPICE หลงใหลทหารจีไออย่างรุนแรง และจุดนี้ทำให้ดิฉันนึกถึงตัวละครคุณย่าในเรื่องสั้นเรื่อง “แท็กซี่แดนเซอร์” (A+) ของคุณภาณุ ตรัยเวช และตัวละครหญิงชราใน DEJA VU (1997, HENRY JAGLOM, A+++++) ที่มีความผูกพันกับทหารจีไอจนสร้างความสะเทือนใจให้กับดิฉันอย่างรุนแรงเช่นกัน

MARI NATSUKI มีหน้าตาที่ทำให้นึกถึงเหมยเยี่ยนฟางในบางครั้ง ผลงานของเธอที่เคยผ่านตาดิฉันก็คือหนังเรื่อง PING PONG (2002, FUMIHIKO SORI, A-) และถ้าจำไม่ผิด เธอเล่นหนังเรื่อง ANOTHER BATTLE – CONSPIRACY (2002, HAJIME HASHIMOTO, A+/A) ด้วยด
http://www.imdb.com/name/nm0622412/

--การที่ YUYA หน้าตาดีสู้ชายหนุ่มคนอื่นๆในเรื่องไม่ได้ สอดคล้องกับอีกจุดที่ดิฉันชอบในหนังเรื่องนี้ นั่นก็คือความรู้สึกที่ว่าตัวละคร “พระเอก” ของหนังเรื่องนี้ จริงๆแล้วมักจะเป็น “พระรอง” ในหนังแนวโรแมนติกเรื่องอื่นๆ หนังเรื่องนี้เหมือนกับหยิบเอาชีวิต “พระรอง” ในหนังเรื่องอื่นๆ มาตีแผ่ให้เห็นว่าจริงๆแล้ว “พระรอง” ก็มีหัวใจเหมือนกัน

--ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้ชอบการแสดงของ YUYA เป็นอย่างมาก รู้สึกว่าตัวละครของเขาเป็นตัวละครที่เล่นให้ดีได้ยากสุดๆ เพราะตัวละครตัวนี้มีบุคลิกที่ “จืดชืด” และเก็บอารมณ์อย่างมากๆ ถ้าหากนักแสดงไม่สามารถเข้าถึงตัวละครตัวนี้ได้อย่างสุดๆแล้วล่ะก็ หนังเรื่องนี้จะกลายเป็นหนังที่น่าเบื่อมาก

--หนังเรื่องนี้ใช้เพลง ONLY YOU ของ YAZOO มาประกอบด้วย เพลงนี้เป็นเพลงที่ชอบมากๆ

มิวสิควิดีโอ ONLY YOU
http://www.youtube.com/watch?v=u_0IKmq75UQ


--รู้สึกว่าเดี๋ยวนี้หนังญี่ปุ่นนำเพลงฝรั่งดีๆมาใช้ประกอบได้เพราะมาก ซึ่งรวมถึงหนังเรื่อง BLUE (2001, HIROSHI ANDO, A+) ที่มีการพูดถึงเพลงของ AZTEC CAMERA ซึ่งเป็นวงโปรดของดิฉันด้วย (ดิฉันอยากเป็นภรรยาของ RODDY FRAME ซึ่งเป็นนักร้องนำของ AZTEC CAMERA ค่ะ)

มิวสิควิดีโอ HOW MEN ARE ของ AZTEC CAMERA
http://www.youtube.com/watch?v=Mmvod4bZL9M



--จุดที่ไม่ชอบใน SUGAR & SPICE ก็คือฉากจบ


6.SAW III (2006, DARREN LYNN BOUSMAN, A+)

ถ้าหากเทียบกับไตรภาคหนังสยองขวัญอย่าง SCREAM แล้ว ก็รู้สึกชอบ SCREAM มากกว่า แต่อย่างไรก็ดี ไตรภาคหนังชุด SAW ก็เป็นไตรภาคที่ดิฉันชอบมากๆ เพราะชอบ SAW ภาคแรกในระดับ A+ และชอบภาคสองในระดับ A+/A


7.BELIEVE ME (2006, KATA_DUCK UNIT, A)

ดูที่ชั้น 7 หอกลาง จุฬา ภาพยนตร์แนวอินเทอร์แอคทีฟเรื่องนี้ฉายภาพของคนที่ส่ายหน้าไปมา แต่ผู้ชมสามารถควบคุมการส่ายของใบหน้าคนเหล่านี้ได้ด้วยคลื่นเสียงที่ผู้ชมเปล่งออกมาจากปากขณะชม


8.HOPE AND THE SOUND OF FALLING METAL (2006, RYAN GRIFFITH, A/A-)

ได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ชั้น 7 หอกลาง จุฬา ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของศิลปะจัดวาง และมีการฉายทีเดียว 3 จอพร้อมกัน โดยสองจอเป็นจอวิดีโอที่ฝังอยู่บนพื้น ส่วนอีกจอหนึ่งเป็นการฉายไปยังมุมกำแพงและแถวกิ่งไม้ปลอมที่ตั้งเรียงรายอยู่บนพื้น

รายละเอียดและแนวคิดของภาพยนตร์เรื่องนี้มีอยู่ในโบรชัวร์ที่แจกหน้างานอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นดิฉันจะไม่พูดซ้ำกับสิ่งที่มีอยู่ในโบรชัวร์แล้ว

--จอใหญ่ที่ฉายภาพลงบน “มุมกำแพงและแถวกิ่งไม้” นั้นเป็นภาพของสิ่งต่างๆที่กำลังร่วงหล่นลงมา แต่จะมีบางครั้งที่อยู่ดีๆภาพนั้นก็หายไปกลายเป็นภาพของตัวการ์ตูนขึ้นมาแทน

--ส่วนอีกสองจอเล็กที่ฝังอยู่บนพื้นนั้น ฉายภาพของสิ่งต่างๆมากมาย ตั้งแต่ภาพตัวอักษรคำว่า SLOT, ผู้ชายบนรถไฟฟ้า, ตุ๊กตา, ใบไม้, กิ่งไม้, กระดาษพับ (ไม่แน่ใจว่าเป็นธนบัตรหรือล็อตเตอรี่) ที่กำลังร่วงหล่น และคนขณะเล่นปาจิงโกะ

--รู้สึกว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ทำออกมาตรงจังหวะกับเหตุการณ์บ้านเมืองไทยในขณะนี้ที่กำลังมีปัญหาถกเถียงกันเรื่อง หวย” โดยที่ดิฉันเดาว่าผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้คงไม่ได้คาดเดาล่วงหน้าแต่อย่างใดว่าผลงานของเขาจะได้ฉายขณะที่เกิดปัญหานี้ในประเทศไทยพอดี

รู้สึกว่าปีนี้เมืองไทยมีการฉายภาพยนตร์ที่ “พ้องกับเหตุการณ์” โดยบังเอิญอย่างแทบไม่น่าเชื่อหลายครั้ง ตั้งแต่เหตุการณ์ในช่วงที่มีการฉาย V FOR VENDETTA (2005, JAMES MCTEIGUE, A+) ในช่วงต้นปี จนมาถึงเหตุการณ์ในช่วงที่มีการฉายเรื่อง THE LOST CITY (2005, ANDY GARCIA, A+) ในเดือนต.ค.ปีนี้ และมาถึง HOPE AND THE SOUND OF FALLING METAL ในเดือนพ.ย.


9.เขาชนไก่ (2006, วิทิต คำสระแก้ว, A-)

รู้สึกว่าหนังฟูมฟายเกินไปในหลายๆฉาก โดยเฉพาะการใช้ดนตรีประกอบที่ให้อารมณ์ฟูมฟายมาก แต่ก็ชอบหนังเรื่องนี้ในหลายๆจุด อย่างเช่น

--นักแสดงที่หน้าตาหล่อเหลา จนทำให้รู้สึกเสียดายเล็กน้อยที่หนังเรื่องนี้ไม่ใช่หนังเกย์ เห็นหน้าตานักแสดงในหนังเรื่องนี้แล้วทำให้จินตนาการว่าอยากให้มีการสร้างหนังเรื่องนี้ใหม่ให้ออกมาเป็นแบบ BEAU TRAVAIL (1999, CLAIRE DENIS, A+) หรือ 100 DAYS BEFORE THE COMMAND (1990, HUSSEIN ERKENOV, A+)

--ตอนแรกนึกว่าหนังเรื่องนี้จะเน้นตลกเป็นหลัก แต่ปรากฏว่าหนังเรื่องนี้กลับทำตัวเป็นหนังชีวิตวัยรุ่นเบาๆมากกว่าจะเป็นหนังตลก ก็เลยชอบมากๆ ตอนแรกนึกว่าหนังเรื่องนี้จะออกมาเป็นหนังแนว “ทหารเกณฑ์” ของไทยที่สร้างกันมากมายหลายสิบเรื่องในอดีต

ถ้าเทียบกับ “กั๊กกะกาวน์” (2004, วิทิต คำสระแก้ว + ฤทธิชัย สิริประสิทธิ์พงศ์ B+) แล้ว ก็รู้สึกชอบ “เขาชนไก่” มากกว่านิดนึง แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้ชอบมากกว่าเป็นเพราะ “หน้าตาของนักแสดง” ค่ะ

ส่วนจุดที่ไม่ค่อยชอบทั้งใน “กั๊กกะกาวน์” และ “เขาชนไก่” ก็คือตัวละครบางตัวในหนังสองเรื่องนี้ที่ดู STEREOTYPE อยู่บ้าง แต่ตัวละครเหล่านี้ก็ดูน่ารักและเป็นธรรมชาติถ้าหากเทียบกับตัวละครแนว STEREOTYPE ในหนังไทยเรื่องอื่นๆ

ไหนๆก็พูดถึง “กั๊กกะกาวน์” แล้ว ก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า หนึ่งในสิ่งที่ชอบที่สุดใน “กั๊กกะกาวน์” ก็คือฉากจบค่ะ รู้สึกว่า “กั๊กกะกาวน์” จบได้ถูกใจดิฉันมากกว่า SUGAR & SPICE: WHAT LITTLE GIRLS ARE MADE OF เสียอีก

ANAT(T)A (AKRITCHALERM KALAYANAMITR + KOICHI SIMIZU)

ภาพยนตร์ที่ได้ดูในวันศุกร์ที่ 24 – เสาร์ 25 พ.ย. 2006

1.ANAT(T)A (2006, AKRITCHALERM KALAYANAMITR อัคริศเฉลิม กัลยาณมิตร + KOICHI SHIMIZU, A++++++++++++++++++++)

*****เวลาที่ควรใช้ในการชมภาพยนตร์เรื่องนี้ – ประมาณ 1 ชั่วโมง*****

นี่คือภาพยนตร์ที่เตรียมชิงตำแหน่งอันดับหนึ่งในใจดิฉันประจำปี 2006 ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายที่ชั้น 7 หอกลาง จุฬา

ชื่อของภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการเล่นกับคำว่า “อนัตตา” ในภาษาไทย และ “ANATA” ในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า YOU ดิฉันไม่แน่ใจในความหมายของภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่เดาว่าคำว่า you ในที่นี้ อาจจะหมายถึงการที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ปล่อยให้ “ผู้ชม” แต่ละคนแต่งเรื่องในใจตัวเองได้ตามใจชอบ

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นการฉายภาพวิวทิวทัศน์ของกรุงเทพเป็นเวลาประมาณ 50-60 นาทีโดยไม่มีเนื้อเรื่องเลย บางภาพก็เป็นวิวบนรถเมล์, วิวสองข้างทางถนน, วิวแม่น้ำ, วิวในวัด, วิวท้องฟ้า, วิวกิ่งไม้ใบหญ้า แต่ที่สุดยอดที่สุดก็คือวิวพระอาทิตย์ขึ้นประมาณ 10 นาที และวิวอาทิตย์ตกประมาณ 10 นาที

อย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญที่สุดในภาพยนตร์เรื่องนี้ ไม่ใช่ภาพ แต่เป็นเสียง เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดโอกาสให้ผู้ชมทุกคนสร้างดนตรีประกอบขึ้นมาได้เอง โดยผู้ชมแต่ละคนสามารถเลือกกดปุ่มใดก็ได้ตามใจชอบจากปุ่มทั้งหมดราว 50 ปุ่มที่ห้อยระโยงระยางอยู่หน้าจอภาพยนตร์ โดยปุ่มแต่ละปุ่มจะแทนเสียงต่างๆกันไป ตั้งแต่เสียงหรีดหริ่งเรไร, เสียงหมาเห่า, เสียงนกแต่ละประเภท, เสียงรถตุ๊กๆ, เสียงประทัด, เสียงกุ๊งกิ๊ง โดยเมื่อผู้ชมกดปุ่มแต่ละปุ่มแล้ว โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะทำการผสมเสียงต่างๆออกมาให้ได้ยิน ดังนั้นในการชมภาพยนตร์เรื่องนี้แต่ละครั้งแต่ละรอบ เสียงซาวด์แทรคที่ผู้ชมได้ยินจะไม่เคยซ้ำกันเลย

เสียงซาวด์แทรคแต่ละอย่างที่ผู้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้นำมาให้เลือกกดนั้น ไพเราะเพราะพริ้งและช่วยกระตุ้นจินตนาการได้อย่างดีมากๆเลยค่ะ ฟังแล้วเพลินมากๆ

การได้นั่งดูพระอาทิตย์ค่อยๆขึ้นจากขอบฟ้าริมแม่น้ำ และการได้นั่งดูพระอาทิตย์ค่อยๆตกหายไปในหมู่เมฆเป็นเวลาราวสิบกว่านาทีในภาพยนตร์เรื่องนี้พร้อมกับได้ฟังดนตรีประกอบที่เลิศล้ำ เป็นประสบการณ์การชมภาพยนตร์ที่ให้ความสุขแก่ดิฉันมากที่สุดในปีนี้ค่ะ และทำให้ดิฉันได้ตระหนักว่าจริงๆแล้วความสุขที่สุดในชีวิตอยู่ใกล้ตัวอย่างแทบคาดไม่ถึงเลย

ปกติแล้วดิฉันรู้สึกชิงชังรังเกียจแสงอาทิตย์และพระอาทิตย์มากค่ะ เพราะพระอาทิตย์ขึ้นมักจะหมายถึงการต้องเริ่มลุกขึ้นมาทำงานที่น่าเบื่อ ห้องทำงานของดิฉันสามารถมองออกไปเห็นพระอาทิตย์ขึ้นได้ทุกวัน แต่ดิฉันต้องเริ่มทำงานตั้งแต่ 6 โมงเช้า เพราะฉะนั้นดิฉันจึงไม่เคยมีเวลาได้นั่งดูพระอาทิตย์ขึ้นในกรุงเทพพร้อมด้วยความรู้สึกที่เป็นสุขสบายใจแต่อย่างใด เพราะเมื่อใดก็ตามที่พระอาทิตย์ขึ้น นั่นก็หมายถึงว่าดิฉันต้องทำงานตัวเป็นเกลียวแล้ว

ระเบียงห้องนอนของดิฉันหันหน้าไปทางทิศตะวันตก แต่ดิฉันก็ไม่เคยได้ออกไปนั่งชมอาทิตย์ตกที่ระเบียงเลยค่ะ เพราะมีตึกอพาร์ทเมนท์มากมายบดบังไว้ไม่ให้ดิฉันได้มองเห็นท้องฟ้ายามเย็นอย่างถนัดๆ ปกติแล้วดิฉันจะได้มองเห็นความงามของท้องฟ้ายามเย็นก็เฉพาะตอนลงรถไฟฟ้าที่สถานีพญาไทตอนประมาณ 17.00-18.00 น.เท่านั้น เพราะวิวที่สถานีนี้สามารถมองออกไปเห็นท้องฟ้าทางทิศตะวันตกได้กว้างมากพอสมควร แต่ดิฉันก็ไม่เคยคิดที่จะนั่งเล่นอยู่บนสถานีเป็นเวลานานๆเพื่อมองการเคลื่อนไหวของพระอาทิตย์ เพราะพอตัวเองลงจากรถไฟฟ้าทีไร ก็จะรีบออกจากสถานีในทันที ไม่รู้ว่าเคยมีใครคิดจะนั่งชมวิวอยู่บนสถานีรถไฟฟ้าบ้างหรือเปล่า

ถึงแม้ดิฉันจะไม่ค่อยชอบพระอาทิตย์ในโลกแห่งความเป็นจริงมากนัก แต่คิดๆดูแล้วดิฉันก็พบว่าตัวเองมีความรู้สึกอย่างรุนแรงมากๆกับฉากพระอาทิตย์ที่ปรากฏในจอภาพยนตร์ อย่างเช่นใน

1.1 ตอนจบของ THE GREEN RAY (1986, ERIC ROHMER, A++++++++++) ที่นางเอกนั่งดูพระอาทิตย์ตกดิน และทำให้ THE GREEN RAY กลายเป็นหนึ่งในหนังที่ดิฉันชอบที่สุดในชีวิต และเป็นหนึ่งในหนังที่ทำให้ดิฉันร้องไห้หนักที่สุดในชีวิต

1.2 ฉากเปิดเรื่อง INDIA SONG (MARGUERITE DURAS, A++++++++++) ที่ฉายภาพพระอาทิตย์ค่อยๆเขยื้อนเป็นเวลาประมาณ 5 นาที พร้อมกับเสียงเพลงของหญิงวิกลจริต

1.3 ฉากสุริยคราสใน WOLF CREEK (2005, GREG MCLEAN, A++++++++++) ที่ติดอันดับหนึ่งในฉากที่ดิฉันชอบที่สุดในปีนี้

1.4 ฉากแสงอาทิตย์ลอดผ่านหน้าต่างใน WINDOWS (1999, APICHATPONG WEERASETHAKUL, A++++++++++) โดยไม่มีอะไรมากกว่านั้น เป็นเวลาประมาณ 22 นาที

1.5 ฉากคุณย่าจ้องพระอาทิตย์โผล่พ้นเหลี่ยมเขาใน SUGAR & SPICE: WHAT LITTLE GIRLS ARE MADE OF (A+)

สรุปว่า การได้ดู ANAT(T)A โดยเฉพาะการได้ดูพระอาทิตย์ค่อยๆขึ้น, ค่อยๆตก และการได้ดูก้อนเมฆแต่ละก้อนค่อยๆคืบคลานผ่านหน้าจอไป ทำให้ดิฉันได้รู้สึกขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งว่าจริงๆแล้วนั้น HEAVEN IS A PLACE ON EARTH (ตามที่ BELINDA CARLISLE ร้องเอาไว้ ฮ่าๆๆๆ) และยิ่งไปกว่านั้น หนังเรื่องนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกอีกว่า จริงๆแล้วนั้น HEAVEN IS A PLACE IN BANGKOK หรืออยู่ในใจของใครก็ได้บนโลกนี้ ถ้าหากคนๆนั้นเรียนรู้ที่จะทำให้สวรรค์อยู่ในใจของตัวเอง และพบว่าคนเราไม่ต้องการอะไรมากมายเลยในชีวิตนี้ เพราะเพียงแค่การได้นั่งดูก้อนเมฆค่อยๆเขยื้อนไปเรื่อยๆ นั่นก็คือ “สวรรค์ที่สุดของที่สุด” แล้ว

ปกติแล้วดิฉันไม่ใช่คนที่มีความเป็นชาตินิยมเลย ดิฉันเป็นคนที่นิยมต่างชาติอย่างมากๆ แต่ก็งงกับตัวเองเหมือนกันว่าทำไมภาพยนตร์ที่ครองอันดับ 1 ในใจตัวเองตั้งแต่ปี 2004, 2005 และอาจจะรวมไปถึงปี 2006 กลับเป็นภาพยนตร์ของคนไทย โดยอันดับ 1 ประจำปี 2004 คือ BIRTH OF THE SEANEMA ของ SASITHORN ARIYAVICHA, อันดับ 1 ประจำปี 2005 คือ AFTERNOON TIME ของ TOSSAPHOL BOONSINSUKH และอันดับ 1 ประจำปี 2006 ก็อาจจะเป็น ANAT(T)A ของอัคริศเฉลิม กัลยาณมิตร + KOICHI SHIMIZU นี่แหละ

ถ้าเข้าใจไม่ผิด ภาพที่นำมาใช้ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นฝีมือการถ่ายของคุณ NITIPHONG THINTHUPTHAI ซึ่งเคยกำกับภาพยนตร์เรื่อง OPPORTUNITIES (2005, A+) และ DUSK, DAWN (2004, A+++++)
http://www.thaiindie.com/filmmakers/Nitipong.html

ลักษณะแปลกๆของ ANAT(T)A ยังทำให้ดิฉันนึกถึงภาพยนตร์เรื่องอื่นๆอีกด้วย อย่างเช่น

1.6 FUMIYO IS A DESIGNER (2001, APICHATPONG WEERASETHAKUL, A)
หนังเรื่องนี้เปิดโอกาสให้ผู้ชมแต่ละคนแต่งเรื่องได้เอง

1.7 MASUMI IS A PC OPERATOR (2001, APICHATPONG WEERASETHAKUL, A)
หนังเรื่องนี้เปิดโอกาสให้ผู้ชมแต่ละคนแต่งเรื่องได้เอง

1.8 L’EXPERIENCE PREHISTORIQUE (2004, CHRISTELLE LHEUREUX, A++++++)
หนังเรื่องนี้เปลี่ยนเนื้อเรื่องไปเรื่อยๆในการฉายในแต่ละประเทศ



2.PUGILIST SERIES 449 (2006, ALEX DAVIES, A+++++++++++++++)

*****เวลาที่ควรใช้ในการชมภาพยนตร์เรื่องนี้—ประมาณ 30 นาที*****

ดูที่ชั้น 7 หอกลาง จุฬา ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายภาพของนักมวยหญิงที่ชก 5 ยก เป็นจำนวน 2 ครั้งติดต่อกัน โดย 5 ยกแรกเป็นภาพของการชกแบบเร่งสปีดให้เร็วเกินจริง และ 5 ยกหลังเป็นภาพการชกแบบสโลว์ โดยเธอจะชกเข้าใส่กล้องตลอดเวลาราว 30 นาที

นี่เป็นภาพยนตร์ที่ดิฉันดูแล้วรู้สึก “เจ็บปวดทางร่างกาย” มากที่สุดในปีนี้ รู้สึกเจ็บปวดยิ่งกว่าดู MASTERS OF HORROR: IMPRINT (2006, TAKASHI MIIKE, A+) เสียอีก เพราะในขณะที่ IMPRINT ทำให้ดิฉันรู้สึกเจ็บปวดแบบหวาดเสียว แต่ IMPRINT ก็ยังฉายให้เห็นภาพของ “ตัวละคร” ขณะที่ถูกกระทำทารุณกรรม

แต่ PUGILIST SERIES 449 นี้ ไม่ได้ฉายให้เห็นภาพของ “ตัวละคร” ที่ถูกชกแต่อย่างใด ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ดิฉันรู้สึกว่า “ตัวเอง” ถูกชกอย่างตรงๆ จังๆ ไม่ใช่ “ตัวละคร” ที่กำลังถูกชก อย่างไรก็ดี ขณะที่ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ ดิฉันกลับรู้สึกมีความสุขมากๆ และทำให้คิดว่าตัวเองคงมีความเป็น MASOCHIST อยู่ในตัวไม่มากก็น้อย ถึงได้รู้สึกมีความสุขมากๆกับการชมภาพยนตร์เรื่องนี้

ขณะที่ดูภาพยนตร์เรื่องนี้ ดิฉันไม่ทันได้สังเกตว่าผู้ชมคนอื่นๆมีอาการแบบเดียวกับดิฉันหรือเปล่า นั่นก็คือเผลอเอี้ยวตัวไปมาในบางครั้งเพื่อหลบ “หมัด” ที่พุ่งออกมาจากหน้าจอภาพยนตร์

จุดเด่นอีกอันนึงของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็คือการเล่นกับสปีดช้าเร็ว และจุดนี้ทำให้นึกถึงภาพยนตร์ที่ดิฉันชอบสุดๆเรื่อง TOTEM (2001, MAIDER FORTUNE, A+++++++++) ที่ฉายให้ภาพผู้หญิงสาวที่ทำอาการคล้ายๆกระโดดเชือก โดยที่สปีดของภาพจะค่อยๆช้าลงเรื่อยๆ

การได้ชมภาพยนตร์เรื่อง PUGILIST SERIES 449 นี้ทำให้นึกถึงความสุขสุดยอดที่ได้รับขณะชมภาพยนตร์เรื่อง PISCINE (2002, JEAN-BAPTISTE BRUANT + MARIA SPANGARO, A+++++++++++++++) เมื่อเดือนธ.ค.ปีที่แล้วด้วย เพราะภาพยนตร์ 2 เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ที่ “ไม่มีอะไรเลย” นอกจากการให้ตัวละครทำอาการซ้ำไปซ้ำมาหลายรอบเป็นเวลานานมาก แต่ดูแล้วดิฉันกลับไม่รู้สึกเบื่อเลยแม้แต่นิดเดียว โดยใน PISCINE นั้น ผู้ชมจะได้เห็นตัวละครกลุ่มนึงเดินวนไปวนมาในสระว่ายน้ำเป็นเวลา 1 ชั่วโมงเต็ม


3.BASHING (2005, MASAHIRO KOBAYASHI, A+++++++++++++++)
หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังญี่ปุ่นที่ดิฉันชอบมากที่สุดในชีวิต

ชอบ FUSAKO URABE นางเอกหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ การแสดงของเธอในฉากงานศพเป็นหนึ่งในการแสดงของนักแสดงหญิงที่ดิฉันชอบที่สุดในปีนี้

บท “สาวหัวดื้อ” ของ FUSAKO URABE ใน BASHING ทำให้นึกถึงไปถึงบทนางเอกใน SOPHIE SCHOLL – THE FINAL DAYS (2005, MARC ROTHEMUND, A++++++++++) ที่แสดงโดย JULIA JENTSCH และบทนางเอกใน THE NASTY GIRL (1990, MICHAEL VERHOEVEN, A+) ที่แสดงโดย LENA STOLZE (LENA STOLZE เอง ก็เคยรับบทเป็น SOPHIE SCHOLL มาแล้วใน THE WHITE ROSE (1984, MICHAEL VERHOEVEN))

REQUIEM (2006, HANS-CHRISTIAN SCHMID)

screenout page 162

http://xq28.net/s/viewtopic.php?t=3437&start=4025


ตอบน้อง MATT

--ขอบคุณน้อง MATT มากๆค่ะสำหรับคำชม

--พูดถึงเรื่องมหาลัยที่มีบรรยากาศร้างๆช่วงวันหยุดยาวแล้ว ก็เลยนึกถึงเรื่องสั้นเรื่องนึงของ “อัญชัน” จำชื่อเรื่องไม่ได้ว่าเรื่องอะไร แต่ถ้าจำไม่ผิด จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับนักศึกษาไทยที่อยู่หอพักมหาลัยในเมืองนอกตอนช่วงวันหยุดยาว หอพักของเขาจะร้างๆตอนช่วงวันหยุดยาว และเขาก็เลยเจอเหตุการณ์เขย่าขวัญพอสมควรในช่วงเวลานั้น โดยเรื่องสั้นเรื่องนี้มีจุดเด่นที่การบรรยายบรรยากาศช่วงหิมะตกหนักได้อย่างน่ากลัวมาก (ดิฉันไม่แน่ใจว่าดิฉันจำรายละเอียดในเรื่องได้ถูกต้องหรือเปล่า ถ้าจำผิดต้องขออภัยด้วยนะคะ)

--พูดถึงเรื่องสยองขวัญในมหาลัยเมืองนอกแล้ว อีกเรื่องนึงที่นึกถึงก็คือ THE EXORCISM OF EMILY ROSE (2005, SCOTT DERRICKSON, A+/A) ที่มีฉาก EMILY ROSE อยู่หอพักคนเดียวในมหาลัยช่วงวันหยุด แล้วเจอเหตุการณ์อาถรรพ์ตอนตี 3

--ส่วนอันนี้เป็นภาพจากหนังเรื่อง REQUIEM (2006, HANS-CHRISTIAN SCHMID) ที่สร้างจากเรื่องจริงเรื่องเดียวกับ THE EXORCISM OF EMILY ROSE ค่ะ

http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/62/82/53/18672493.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/62/82/53/18653305.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/62/82/53/18653307.jpg

SANDRA HUELLER + BURGHART KLAUSSNER ใน REQUIEM
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/62/82/53/18653308.jpg

WALTER SCHMIDINGER + SANDRA HUELLER + JENS HARZER ใน REQUIEM
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/62/82/53/18653306.jpg

ผู้สนใจภาพยนตร์เยอรมันอย่างเช่น REQUIEM สามารถไปชมได้ฟรีทุกวันพุธตั้งแต่เดือนธ.ค.นี้ ในเวลา 19.30 น.ที่สถาบันเกอเธ่ ซ.สาทร 1 ค่ะ ดูรายละเอียดโปรแกรมได้ที่
http://www.goethe.de/ins/th/ban/en907574.htm

WALKING IN MUSIC VIDEOS

--แนะนำมิวสิควิดีโอเกี่ยวกับการเดิน

ได้ลองเข้าไปดูมิวสิควิดีโอ HIGH TIDE ของ BOOMCLICK แล้ว รู้สึกชอบมากๆเลยค่ะ เพลงประกอบมิวสิควิดีโอนี้ก็เพราะมากๆเลยด้วย

HIGH TIDE (2004, BEN ROLLASON, A)
http://www.youtube.com/watch?v=L8AeEwzdFhA


ดูมิวสิควิดีโอ HIGH TIDE ที่ให้ตัวละครเดินตลอดทั้งมิวสิควิดีโอแล้ว ก็เลยนึกถึงมิวสิควิดีโอเกี่ยวกับการเดินเพลงอื่นๆ อย่างเช่นเพลง

1.UNFINISHED SYMPATHY (1991, A++++++++++) ของวง MASSIVE ATTACK กำกับโดย DAVID LYNCH
http://www.youtube.com/watch?v=ZOWtHuQ4a-U



2.BITTERSWEET SYMPHONY (1997) ของ THE VERVE ไม่แน่ใจว่าผู้กำกับมิวสิควิดีโอนี้เป็นใคร
http://www.youtube.com/watch?v=s3neR407MxU




3.มิวสิควิดีโอของหนึ่งในเพลงที่ดิฉันชอบที่สุดในชีวิต ซึ่งก็คือเพลง 1963 (1995, A+++++++++++++++) ของ NEW ORDER กำกับโดย GINA BIRCH
http://www.youtube.com/watch?v=IJoK5jIveJQ


ผลงานมิวสิควิดีโอที่น่าสนใจสุดๆอีกอันนึงของ GINA BIRCH ก็คือมิวสิควิดีโอ LOVE YOUR MONEY (1992, A+) ที่เธอกำกับให้กับ DAISY CHAINSAW
http://www.mvdbase.com/tech.php?last=Birch&first=Gina

4.PAST THE MISSION (1994, JAKE SCOTT, A+) ของ TORI AMOS
http://www.youtube.com/watch?v=tk7DihuDXKI



ชอบฉากที่ TORI AMOST เดินมาปะทะกับบาทหลวงหนุ่มในมิวสิควิดีโอนี้มากๆ

JAKE SCOTT เคยกำกับมิวสิควิดีโอ EVERYBODY HURTS (1993, A+) ของ R.E.M. ด้วย
http://www.mvdbase.com/tech.php?last=Scott&first=Jake


5.IN MY WORLD (1991, SEB JANIAK, A/A-) ของ NINA HAGEN
http://www.youtube.com/watch?v=g-ygHmk1BPg




SEB JANIAK เคยกำกับมิวสิควิดีโอ BURNIN’ (1997) ให้ DAFT PUNK
http://www.mvdbase.com/tech.php?last=Janiak&first=Seb

ดูมิวสิควิดีโอเกี่ยวกับการเดิน 6 เพลงนี้แล้ว ก็เลยอยากทำมิวสิควิดีโอเพลงที่ 7 ขึ้นมา เพื่อให้ BOOMCLICK, SHARA NELSON จาก MASSIVE ATTACK, THE VERVE, NEW ORDER, TORI AMOS และ NINA HAGEN เดินมากันคนละถนน และถนน 6 สายนี้ก็มาบรรจบกันที่ “วงเวียนใหญ่”


--อันนี้เป็นคลิปฉากตอนจบของภาพยนตร์เรื่อง ZABRISKIE POINT (1970, MICHELANGELO ANTONIONI, A+) ที่ดิฉันชอบมากๆ ขอยกให้เป็นหนึ่งในฉากตอนจบที่คลาสสิกที่สุดฉากหนึ่งในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์
http://www.youtube.com/watch?v=-f8DbODGsUM



คุณ pc แห่งเว็บบอร์ดไบโอสโคปเป็นผู้แนะนำฉากนี้ไว้ค่ะ อ่านรายละเอียดได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/web2006/webboard/index-in.php?id=39311

นอกจาก ZABRISKIE POINT แล้ว ฉากตอนจบของ THE ECLIPSE (1962, MICHELANGELO ANTONIONI, A++++++) และ THE PASSENGER (1975, MICHELANGELO ANTONIONI, A+) ก็ถือว่าสุดยอดมากๆเช่นกัน โดย THE ECLIPSE มีจุดเด่นตรงที่การไม่มีตัวละครปรากฏอยู่เลยเป็นเวลานานมาก ส่วน THE PASSENGER มีจุดเด่นที่การเคลื่อนกล้อง



ตอบคุณ OLIVER

ถ้าให้เลือกว่าจะนัดกันวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ ดิฉันก็สะดวกวันเสาร์มากกว่าวันอาทิตย์ค่ะ เพราะวันอาทิตย์อยากจะไปดูหนังที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์ และก็ไม่สามารถอยู่ดีกได้ แต่วันเสาร์ดิฉันสามารถอยู่โต้รุ่งได้

เห็นคุณ OLIVER มาแนะนำหนังเกย์เรื่อง EATING OUT 2: SLOPPY SECONDS (2006, PHILLIP J. BARTELL)
http://www.imdb.com/title/tt0795376/

ช่วงนี้ก็มีหนังเกย์ที่น่าดูมากๆอีกเรื่องนึงค่ะ นั่นก็คือเรื่อง BROKEN SKY (2006, JULIAN HERNANDEZ) ที่มีความยาว 140 นาที โดยตัวละครในเรื่องนี้แทบไม่พูดกันเลย และหนังเรื่องนี้ก็แทบไม่มีพล็อตเลยด้วย
http://www.buzzcinema.com/pic/movie/b/brokensky/
http://www.buzzcinema.com/pic/movie/b/brokensky/bs_11.jpg
http://www.buzzcinema.com/pic/galleries/movie/b/brokensky/bs_10.jpg
http://www.buzzcinema.com/pic/galleries/movie/b/brokensky/bs_11.jpg
http://www.buzzcinema.com/pic/galleries/movie/b/brokensky/bs_12.jpg
http://www.buzzcinema.com/pic/galleries/movie/b/brokensky/bs_13.jpg
http://www.buzzcinema.com/pic/galleries/movie/b/brokensky/bs_15.jpg

JULIAN HERNANDEZ เคยกำกับหนังเกย์เรื่อง A THOUSAND CLOUDS OF PEACE (2003) ที่มีดีวีดีเข้ามาวางขายในกรุงเทพนานแล้ว

THE INDIAN PICTURE OPERA -- A VANISHING RACE

อันนี้เป็นความเห็นของดิฉันที่โพสท์ไว้ในบล็อกของคุณ the aesthetics of loneliness ค่ะ
http://theaestheticsofloneliness.blogspot.com/2006/11/2.html

ท่าทางหนังสั้นเรื่องนี้จะน่าดูมากๆเลย

เพลงในวิดีโอที่เอามาโพสท์เพราะมากๆเลยค่ะ และภาพท้องถนนกับแสงไฟก็ถ่ายออกมาได้สวยมาก

ได้ดูวิดีโอที่เอามาโพสท์แล้ว ก็เลยนึกถึงหนังสั้นที่เราชอบสุดๆเรื่องนึงที่เป็นการถ่ายภาพท้องถนนประกอบกับเพลงเพราะๆเหมือนกัน หนังสั้นเรื่องนั้นคือเรื่อง ALABAMA: 2000 LIGHT YEARS FROM HOME (1969, WIM WENDERS, A+++++)
http://www.imdb.com/title/tt0063998/

ได้ดูหนังเรื่องนี้จากวิดีโอในห้องสมุดของสถาบันเกอเธ่เมื่อหลายปีก่อน จัดเป็นหนังที่ชอบที่สุดเรื่องนึงของวิม เวนเดอร์ส ชอบมากกว่าหนังยาวหลายๆเรื่องของเขาเสียอีก สาเหตุนึงที่ชอบ ALABAMA: 2000 LIGHT YEARS FROM HOME มากเป็นเพราะว่ามันไม่มีเนื้อเรื่อง (หรือมันมีเนื้อเรื่อง แต่ดิฉันดูไม่รู้เรื่องเอง ฮ่าๆๆ) มันมีแต่ “บรรยากาศ” เท่านั้น


--สืบเนื่องจากที่คุณ ANONYMOUS โพสท์ไว้ในบล็อกนี้
http://celinejulie.blogspot.com/2006/11/mahajanok-never-say-die-episode-2.html#comments

ก็เลยพบว่าตอนนี้มีดีวีดีน่าสนใจมากๆชื่อ THE INDIAN PICTURE OPERA – A VANISHING RACE ออกวางจำหน่ายแล้วตั้งแต่เดือนธ.ค.ที่ผ่านมาค่ะ ดีวีดีแผ่นนี้เป็นการนำภาพสไลด์ของ EDWARD S. CURTIS มารวบรวมไว้ด้วยกัน โดยเป็นสไลด์ที่บันทึกภาพของชาวอินเดียนแดงเมื่อ 100 ปีก่อน นอกจากนี้ ดีวีดีเรื่องนี้ยังนำดนตรีที่เคยใช้ประกอบการฉายสไลด์ชุดนี้เมื่อราว 100 ปีก่อนมาใช้อีกครั้งหนึ่งด้วย

This film is a journey through history, where famed photographer Edward S. Curtis explains Native American cultures in his own words, and photographs. This motion picture reconstruction of his 1911-1912 magic lantern slide show illuminates a time when Native Americans were forced from their land and cultures.

รายละเอียดเกี่ยวกับดีวีดีนี้
http://www.amazon.com/Indian-Picture-Opera-Vanishing-Race/dp/B000JUBF0K/sr=11-1/qid=1164481420/ref=sr_11_1/105-0968813-9430821

http://ec2.images-amazon.com/images/P/B000JUBF0K.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V38639029_.jpg

ตัวอย่างภาพที่ถ่ายโดย EDWARD S. CURTIS
http://www.edwardcurtis.com/

RUSH GATHERER
http://www.wisdomoftheelders.org/prog204/images/sl_rush_gatherer_arikara_edward_curtis_a2zcds.jpg

THE PIKI MAKER (1907)
http://lilt.ilstu.edu/rtdirks/images/piki_maker.jpg

ZUNI GOVERNOR
http://www.edwardcurtis.com/images/vintage/607.jpg

A CHIEF OF THE DESERT – NAVAHO
http://www.edwardcurtis.com/images/vintage/26.jpg


A HILLTOP CAMP – JICARILLA (1904)
http://www.edwardcurtis.com/images/vintage/024.jpg

Thursday, November 23, 2006

PHIL MULLOY IS GREAT

--วันศุกร์นี้ม.ศิลปากรฉาย CREMASTER 3 เฉพาะช่วง THE ORDER ที่ยาวแค่ 30 นาทีค่ะ

ต่อเนื่องจากที่ดิฉันโพสท์ไปในกระทู้นี้
http://www.bioscopemagazine.com/web2006/webboard/index-in.php?id=48881

วันนี้ได้รับการยืนยันจากทางผู้จัดงานแล้วว่า วันศุกร์นี้ ม.ศิลปากร วังท่าพระ จะฉาย THE ORDER ซึ่งเป็นฉากที่มีความยาวราว 30 นาทีจากภาพยนตร์เรื่อง CREMASTER 3 ค่ะ ไม่ได้ฉาย CREMASTER 3 เวอร์ชันที่มีความยาว 3 ชั่วโมงเต็มแต่อย่างใด


ตอบคุณ OLIVER

ตายแล้ว ผู้ชายที่คุณ OLIVER เอามาโพสท์หล่อมากๆเลยค่ะ


ตอบคุณตี๋หล่อมีเสน่ห์

--ยังไม่ได้ดู VISITOR Q เลยค่ะ

หนังของ TAKASHI MIIKE ที่เคยดู เรียงตามลำดับความชอบส่วนตัว

1.MASTERS OF HORROR: IMPRINT (2006, A+)

2.ONE MISSED CALL (2003, A+)

3.AUDITION (1999, A)

4.BLUES HARP (1998, A-)

5.THE BIRD PEOPLE IN CHINA (1998, A-)

6.THREE…EXTREMES: BOX (2004, A-/B+)

--ส่วนหนังที่ชอบที่สุดใน MASTERS OF HORROR ที่ได้ดูมา 10 เรื่อง ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเป็นเรื่องไหนดี ระหว่าง

1.HOMECOMING (JOE DANTE) ที่มีเนื้อหาสาระดีที่สุด และดูแล้วรู้สึกซาบซึ้งสะเทือนใจจนอยากร้องไห้ในบางฉาก

2.IMPRINT ที่เฮี้ยนมากๆ

3.PICK ME UP (LARRY COHEN) ที่สนุกมากๆ ถ้าให้เลือกเรื่องเดียวในตอนนี้ ก็ขอตอบว่าชอบ PICK ME UP มากที่สุดในบรรดา 10 เรื่องที่ได้ดูค่ะ


--สำหรับเรื่อง PICK ME UP นั้น ดิฉันพลาดดูช่วงต้นๆไปค่ะ เพราะในการฉายที่ HOUSERAMA นั้น ช่วงเวลาพักระหว่างหนังแต่ละเรื่องใน MASTERS OF HORROR สั้นมากๆ ดิฉันก็เลยพลาดไม่ทันดูประมาณ 10 นาทีแรกของ PICK ME UP ก็เลยไม่แน่ใจว่าสถานการณ์รถเสียในช่วงต้นเรื่องๆนั้นมีรายละเอียดเป็นยังไงบ้าง

แต่ถ้าหากตัวเองรถเสียกลางป่ากลางเขา แล้วมีคนที่ดูท่าทางน่าไว้ใจมาช่วยเหลือ ดิฉันก็คงยอมตามเขาไปค่ะ เพราะดิฉันเป็นคนที่ไร้เดียงสาและอ่อนต่อโลกมากๆ (ถึงแม้จะอายุ 33 ปีแล้ว ฮ่าๆๆๆๆ) ถ้ามีคนแปลกหน้าท่าทางน่าไว้ใจมาหลอก ดิฉันก็คงยอมให้ตัวเองถูกหลอกแต่โดยดี แล้วก็คงกลายเป็นศพไปตามระเบียบ

ยิ่งถ้าหากเจอฆาตกรโรคจิตหล่อๆอย่าง WARREN KOLE (1977) ใน PICK ME UP ด้วยแล้ว ดิฉันคงต้องเสร็จเขาอย่างแน่นอน ฮิๆๆๆๆ

WARREN KOLE
http://www.imdb.com/name/nm1504650/

คำขวัญของดิฉันคงไม่ใช่ NEVER TRUST A STRANGER แบบที่เพลงของ KIM WILDE บอกไว้

มิวสิควิดีโอ NEVER TRUST A STRANGER
http://www.youtube.com/watch?v=IwQKdqiz4Ys


แต่คำขวัญประจำตัวดิฉันอาจจะเป็นประโยคที่ BLANCHE DUBOIS (VIVIEN LEIGH) พูดไว้ใน A STREETCAR NAMED DESIRE (1951, ELIA KAZAN, A+) นั่นก็คือ “WHOEVER YOU ARE, I HAVE ALWAYS DEPENDED ON THE KINDNESS OF STRANGERS” (ESPECIALLY HANDSOME STRANGERS – อันนี้ดิฉันเติมเอง)

--ดิฉันทันได้ดูเรื่อง THE CRAFT (1996, ANDREW FLEMING, A-) ค่ะ รู้สึกชอบคอนเซปท์ของหนังเรื่องนี้มากๆ แต่พอดูตัวหนังแล้วก็รู้สึกว่าหนังไม่มันส์สุดๆในแบบที่ตัวเองคาดหวังไว้

--ชอบ FAIRUZA BALK มากเหมือนกันค่ะ รู้สึกว่าหน้าตาเธอดู “วีนๆ” ดี รู้สึกว่าเธอเหมาะปะทะกับดาราสาวหน้าวีนๆอย่าง

1.EVA GREEN
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/12/35/18688713.jpg

2.ASIA ARGENTO
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/60/17/94/18668421.jpg

3.ELIZA DUSHKU
http://www.imdb.com/name/nm0244630/
http://www.trucalling.it/images/eliza-dushku-12.jpg

4.BIRGIT MINICHMAYR
http://www.imdb.com/name/nm0591352/
http://www.burgtheater-ensemble.com/MemberPageModules/ShowImageUser.aspx?mid=77&memberId=66

5.SIMONE KESSELL จาก STICKMEN (2001, HAMISH ROTHWELL, A+/A)
http://www.imdb.com/name/nm0450274/
http://www.imdb.com/title/tt0251415/
http://www.stickmen.co.nz/images/shots_simatt.jpg

6.LAURA SMET
http://www.imdb.com/name/nm1357722/
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/40/31/18391210.jpg


--อันนี้เป็นอันดับหนังที่มาฉายในเทศกาลภาพยนตร์ยุโรปปีนี้ค่ะ เรียงตามลำดับความชอบส่วนตัว และรวมถึงหนังที่เคยดูนอกเทศกาลยุโรปปีนี้ด้วย

1.BLUE MOON (2002, ANDREA MARIA DUSL, AUSTRIA, A+)

ปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้มากที่สุด เพราะหนังเรื่องนี้เป็นหนัง “พาฝัน” สำหรับดิฉันเป็นอย่างมาก เพราะหนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้เราจะเป็นสาวโรคจิต ก็อาจจะมีชายหนุ่มมาหลงรักเราได้อยู่ดี

อีกจุดที่ทำให้ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้มากก็คือการที่ดิฉันเดาแนวทางของหนังเรื่องนี้ไม่ได้

1.1 หนังเรื่องนี้เปิดฉากด้วยการแนะนำตัวละครพระเอกที่เหมือนจะเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมหรืออาชญากรอะไรบางอย่าง ตอนแรกดิฉันก็เลยนึกว่าหนังเรื่องนี้จะออกมาแนวหนังยากูซ่า, หนังทาเคชิ คิตาโน่ หรือหนังเควนติน ทารันติโน่ หรือไม่ก็ออกมาโทนเบาๆแบบ A STRANGER OF MINE (2005, KENJI UCHIDA, A)

1.2 แต่ต่อมาเราก็ได้รู้ว่านางเอกหนังเรื่องนี้เป็นโรคจิตไม่แพ้ตัวละครในภาพยนตร์อย่าง SISTERS (1973, BRIAN DE PALMA, A+) ดิฉันก็เลยไม่แน่ใจว่าหนังเรื่องนี้จะออกมาแนวจิตวิทยาหรือเปล่า

1.3 แต่หนังเรื่องนี้ก็มีตัวละคร “เพื่อนพระเอก” ที่บ๊องๆบวมๆ ดิฉันก็เลยไม่แน่ใจว่าหนังเรื่องนี้จะออกมาเป็นหนังแนวโร้ดมูฟวี่ที่บ๊องๆบวมๆแบบ CHILDREN OF THE STORK (1998, TONY GATLIF, A+) หรือไม่
http://www.imdb.com/title/tt0211445/


1.4 ในขณะที่ดิฉันไม่แน่ใจว่าหนังเรื่องนี้จะเป็นหนังแนวหักเหลี่ยมเฉือนคม หลอกกันไปหลอกกันมา, หนังแนวจิตวิทยา หรือหนังตลก ในที่สุดหนังเรื่องนี้ก็จบลงด้วยการให้ความรู้สึกที่โรแมนติกที่สุดและ FEEL GOOD ที่สุดสำหรับดิฉัน ไม่แพ้ตอนจบของภาพยนตร์เรื่อง CROCODILE DUNDEE (1986, PETER FAIMAN, A)
http://www.imdb.com/title/tt0090555/


2.BYE BYE BLACKBIRD (2005, ROBINSON SAVARY, LUXEMBOURG, A+)

3.ACCUSED (2005, JACOB THUESEN, DENMARK, A+)

4.THE LITTLE LIEUTENANT (2005, XAVIER BEAUVOIS, FRANCE, A+)

5.THE CHILD (2005, JEAN-PIERRE DARDENNE + LUC DARDENNE, BELGIUM, A+)

6.EVIL (2003, MIKAEL HAFSTROM, SWEDEN, A+)

7.MANO (2006, GEORGE FELNER, PORTUGAL, A+)

8.SIMON (2004, EDDY TERSTALL, NETHERLANDS, A+)

9.IN THE NAME OF THE FATHER (1993, JIM SHERIDAN, IRELAND, A+)

10.WARSAW (2003, DARIUSZ GAJEWSKI, POLAND, A)

11.MAXIMUM VELOCITY (2002, DANIELE VICARI, ITALY, A)

12.HUKKLE (2001, GYORGY PALFI, HUNGARY, A-)

13.FC VENUS (2005, JOONA TENA, FINLAND, A-)

14.GO FOR ZUCKER (2004, DANI LEVY, GERMANY, A-)

15.THE RAIN FALLS ON OUR SOULS (2002, VLADO BALCO, SLOVAKIA, B+)

16.FADING LIGHT (2001, VASSILIS DOUROS, GREECE, B+)

17.SHADES (1999, ERIK VAN LOOY, BELGIUM, B)


--หนังที่ได้ดูในวันนี้

1.THE HISTORY OF THE WORLD: THE INVENTION OF WRITING AND DESTRUCTION (1994, PHIL MULLOY, A+)

2.SYNCHROMY (1971, NORMAN MCLAREN, A+)

3.CANON (1964, NORMAN MCLAREN + GRANT MUNRO, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0057912/

4.THE HISTORY OF THE WORLD: THE DISCOVERY OF LANGUAGE (1994, PHIL MULLOY, A+)

5.THE TEN COMMANDMENTS NUMBER 1: THOU SHALT NOT ADORE FALSE GODS (1994, PHIL MULLOY, A+)

6.DER RAUM EINNEHMEND (2004, DAAN SPRUIJT, A)

7.THE FLOATING WORLD (2004, DAAN SPRUIJT, A)

8.SCRATCH (2001, DOUG PRAY, A)

9.THE LETTERS TO DEATH (2006, KAPOL THONGPLUB, B-)

หนังเรื่องนี้มีบางจุดที่ทำให้นึกถึง “ผีแม่ชี” (2005, LUIS DE LA MADRID, A+) แต่จุดที่ต่างกันก็คือว่า ดิฉันรู้สึกว่าตัวละคร “หญิงวัยกลางคน” หลายๆตัวละครใน “ผีแม่ชี” เป็นตัวละครที่มีเสน่ห์มากๆ และดิฉันรู้สึกเอาใจช่วยพวกเธออย่างรุนแรงให้พวกเธอรอดตาย แต่ดิฉันกลับไม่รู้สึกเอาใจช่วยตัวละครใน THE LETTERS TO DEATH และรู้สึกว่าตัวละครในหนังไทยเรื่องนี้ไม่มีเสน่ห์ดึงดูดดิฉันเลย (นอกจากความหล่อ โฮะๆๆๆๆ)

Tuesday, November 21, 2006

LEMMING VS. THE MOUSTACHE VS. THE RING FINGER

--อันนี้เป็นความเห็นที่ไปเขียนตอบใน BLOG ของคุณ THE AESTHETICS OF LONELINESS
http://theaestheticsofloneliness.blogspot.com/2006/11/blog-post_19.html

แฮะ แฮะ เราไม่มีความเห็นเรื่องภาพวาดนะ เราไม่ค่อยมีความรู้ด้านนี้ แต่คิดว่าภาพแรกให้อารมณ์ที่น่าสนใจดี ถ้าไม่บอกก็ไม่รู้นะเนี่ยว่าได้แรงบันดาลใจมาจากหนังสยองขวัญ มันดู “กลางๆ” ดี จะให้มันเป็นตึกในหนังสยองขวัญก็ได้ หรือเป็นตึกในหนังแนวอื่นๆก็ได้

เราชอบ TOOLBOX MURDERS (2004, A+) มากเลยล่ะ แต่ดูบางฉากแล้วแทบอ้วกออกมา ตอนที่ตัวละครไปเจอศพหลายๆศพน่ะ เราดูเรื่องนี้ในโรงหนังที่เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน ก็เลยได้เห็นฉากศพเน่าใหญ่เต็มตา จอใหญ่ๆสามารถถ่ายทอดความน่าสะอิดสะเอียนได้มากเป็นพิเศษ

ถ้าพูดถึง “ตึก” ในหนังสยองขวัญแล้ว “ตึก” ที่เราชอบก็รวมถึง “ตึก” ในหนังเรื่อง

1.HOTEL (2004, JESSICA HAUSNER, A+)

2.INFERNO (1980, DARIO ARGENTO, A)
http://www.imdb.com/title/tt0080923/

3.DARK WATER (2005, WALTER SALLES, A+)

4.โรงแรมใน SILENT HILL (2006, CHRISTOPHE GANS, A-)

5.โรงแรมใน SEE NO EVIL (2006, GREGORY DARK, B+)


SCREENOUT PAGE 161
http://xq28.net/s/viewtopic.php?t=3437&start=4000

ตอบน้อง ZM

พูดถึงเวลาเจ็บคอแล้ว สิ่งที่พี่มักกินเป็นประจำเวลาเจ็บคอคือยาอมมะแว้งค่ะ พี่รู้สึกว่ามันใช้ได้ผลชะงัดกับตัวพี่มาก

รายละเอียดเกี่ยวกับยาอมมะแว้ง
http://www.med.cmu.ac.th/hospital/dis/drugs47/24/24_12_ma_waeng.htm

ยาอมมะแว้ง (MA-WAENG LOZENGE)


ข้อบ่งใช้ แก้ไอขับเสมหะ

วิธีใช้ อมครั้งละ 3 – 5 เม็ด เมื่อมีอาการไอ
ขนาดบรรจุ
ยาอม 1 เม็ด ประกอบด้วย ผลมะแว้ง 18.89 % , ใบกระเพราแดง 5.9 % , ใบตาลหม่อน 5.9 %, ใบสวาด 4.71 %,ขมิ้นอ้อย 4.425 % , สารส้ม 2.190 %

รู้สึกตลกดีเมื่อเห็นว่าวิธีใช้คืออมครั้งละ 3-5 เม็ด เพราะเวลาพี่อมที พี่กรอกหมดทั้งซองเข้าปากเลยค่ะ (ซองละ 20 เม็ด) รู้สึกว่ามันสะใจดี และพี่เป็นคนใจร้อน อยากหายเร็วๆ ก็เลยใช้วิธีอมยานี้ครั้งละ 20 เม็ดไปเลย


ตอบน้อง merveillesxx

--ช่วงนี้ก็ยุ่งมากเหมือนกันค่ะ ตั้งแต่ต้นเดือนต.ค.เป็นต้นมา ดิฉันก็ประสบความล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการบริหาร “เวลา” เพื่อตอบสนองกิเลสตัณหาของตัวเอง เพราะปกติแล้วดิฉันจะมีเวลาตามดูหนังโรงที่อยากดูได้ครบเกือบทุกเรื่อง และมีเวลาเล่นอินเทอร์เน็ตได้ไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ 15 ชั่วโมง แต่ตั้งแต่ต้นเดือนต.ค.เป็นต้นมา ดิฉันก็ไม่มีเวลาไปดูหนังโรงประมาณ 10 เรื่อง และเวลาเล่นอินเทอร์เน็ตก็เหลือน้อยมาก ตอนนี้ยังเหลือสิ่งที่อยากอ่านแต่ยังไม่ได้อ่านเยอะมาก อย่างเช่น

1.อ่านความเห็นของคนในเว็บบอร์ด SCREENOUT

2.อ่านสิ่งที่น้อง merveillesxx และคุณ pc เขียนในกระทู้ต่างๆ

3.อ่าน BLOG ของเพื่อนๆ

ไม่รู้เหมือนกันว่าเมื่อไหร่จะตามอ่านย้อนหลังได้หมด แต่เดาว่าพอหมดเทศกาลละครกรุงเทพช่วงสุดสัปดาห์นี้แล้ว ก็น่าจะมีเวลาว่างเยอะขึ้น

ส่วนหนังโรงที่พลาดการดูไปแล้ว ก็รวมถึงเรื่อง

1.STORMBREAKER

2.LUCKY LOSER

3.MASTERS OF HORROR: DREAMS IN THE WITCH-HOUSE (STUART GORDON)

4.MASTERS OF HORROR: SICK GIRL (2006, LUCKY MCKEE)

5.MASTERS OF HORROR: CIGARETT BURNS (2005, JOHN CARPENTER)

6.END OF THE SPEAR (2005, JIM HANON)
http://www.imdb.com/title/tt0399862/

7.BEWITCHING ATTRACTION (2006, HA LEE)
http://www.imdb.com/title/tt0778159/

8.BLOODY TIE (2006, HO CHOI)
http://www.imdb.com/title/tt0816437/

ส่วน FLYBOYS กับ MONSTER HOUSE ก็อาจจะไม่ได้ดูเช่นกัน

--ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เวลาเล่นอินเทอร์เน็ตหายไปเยอะมาก เป็นเพราะช่วงนี้เกิดอาการ “สุมหัวนินทา” กับเพื่อนๆหลังดูหนังเป็นประจำ โดยล่าสุดนี้เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา หลังจากดูละครเวทีเสร็จ ดิฉันกับเพื่อนๆกลุ่มสกรีนเอาท์ก็ไปปักหลักบริหารปากกันที่ถนนข้าวสารตั้งแต่สี่ทุ่มถึงตีสอง และเมื่อวานนี้หลังจากดูหนังที่ม.ศิลปากรเสร็จตอนประมาณทุ่มนึง ดิฉันกับน้องเก้าอี้มีพนักและเพื่อนๆก็ไปตั้งวงนินทาผู้คนกันต่อจนถึงสี่ทุ่ม

--ดู LEMMING แล้ว รู้สึกว่ามันเข้ากันได้ดีกับหนังเรื่อง LA MOUSTACHE (2005, EMMANUEL CARRERE, A+) และ THE RING FINGER (2005, DIANE BERTRAND, A+) เพราะมันพิศวงเหมือนๆกัน และ “สภาพจิต” หรือ “สภาพอารมณ์” ของตัวละครในหนังทั้งสามเรื่องนี้น่าสนใจมากๆ ดูหนังทั้ง 3 เรื่องนี้แล้วดิฉันพบว่าตัวเองไม่สามารถให้คำตอบได้กับปริศนาหลายๆอย่างที่อยู่ในหนัง หรือไม่ก็ไม่แน่ใจ 100 % เต็มว่าสิ่งที่ตัวเองคิดคือคำตอบที่ถูกต้อง

--ยังไม่เคยไปหอศิลป์สิริกิติ์เลยค่ะ แต่พอน้อง merveillesxx แนะนำก็เลยรู้สึกว่าน่าไปเหมือนกัน

--อีกงานนึงที่อยากให้น้อง merveillesxx ไปร่วมงานอย่างมากๆ เพื่อมาเขียนรายงานให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆได้ฟังกัน ก็คืองาน BANGKOK DJ FESTIVAL ดูรายละเอียดได้ที่
http://www.bkkdjfestival.com/
TUESDAY 28 NOVEMBER
AXWELL – BED SUPPERCLUB
DOC SCOTT – Q BAR

Wednesday 29 NOV
JAMIE LEWIS – BED
DJ PREMIER – Q

Thursday 30 NOV
AKBAR SAMI – BED
NIC FANCULLI – Q

Friday 1 DEC
KID MASSIVE – BED
HEATHER – Q

SATURDAY 2 DEC
BAR GROOVES BEN SOWTON & MATTY HELLBRONN– BED
FUNK AGENDA – Q

SUNDAY 3 DEC
*****LOUIE VEGA – BED SUPPERCLUB*****
(ชอบ LOUIE VEGA มากๆตอนเขาอยู่ในวง MASTERS AT WORK)
JAZZY JEFF – Q

MONDAY 4 DEC
STEPHANE POMPOUGNAC – BED
STEVE LAWLER – Q

--BED SUPPERCLUB เพิ่งจัดฉายงานวิดีโอเรื่อง FOSSIL ของ ADI KIRKETERP ศิลปินชาวเดนมาร์ก งานนี้จัดระหว่างวันที่ 7-20 พ.ย. ดิฉันไม่ได้ไปดูงานนี้ ไม่รู้มีใครได้ไปดูมาแล้วบ้าง เล่าให้ฟังหน่อยสิคะว่ามันเป็นยังไง
http://www.bedsupperclub.com/home.php


ดูตัวอย่างผลงานของ ADI KIRKETERP ได้ที่
http://www.artmixmedia.com/art.html

HIDDEN TEDDY (ADI KIRKETERP)
http://www.artmixmedia.com/images/Art/large_images/artwork_003.jpg
BLACK LADY (ADI KIRKETERP)
http://www.artmixmedia.com/images/Art/large_images/artwork_039.jpg

MBK (ADI KIRKETERP)
http://www.artmixmedia.com/images/Art/large_images/artwork_020.jpg


--เห็นน้อง merveillesxx เคยพูดถึงพันธบัตร ก็เลยนึกถึงข่าวที่เพิ่งได้อ่านเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน เขาบอกว่าเทรดเดอร์พันธบัตรในย่านวอลล์สตรีทของสหรัฐช่วงนี้มีรายได้ดีมาก

1.ในปีที่แล้วนั้น โบนัสปลายปีของเทรดเดอร์พวกนี้อยู่ที่ 125,500 ดอลลาร์ต่อคน หรือ 4,550,630 บาทต่อคน

2.รายได้ตลอดทั้งปีอยู่ที่ 289,664 ดอลลาร์ต่อคนในปีที่แล้ว หรือ 10,503,216 บาทต่อคน

3.เทรดเดอร์กลุ่มที่ได้รับค่าจ้างสูงสุด คือเทรดเดอร์ที่ทำงานเกี่ยวกับตราสารหนี้ CDO หรือ COLLATERIZED DEBT OBLIGATIONS

4.เทรดเดอร์พันธบัตรที่มีประสบการณ์ทำงาน 5 ปี ได้ค่าตอบแทนราว 800,000 ดอลลาร์ต่อปี หรือ 29,008,000 บาทต่อปี

5.เทรดเดอร์พันธบัตรที่มีประสบการณ์ทำงาน 12 ปี ได้ค่าตอบแทนราว 2 ล้านดอลลาร์ต่อปี หรือ 72,520,000 บาทต่อปี

6.เทรดเดอร์บางคนที่เก่งจนโดดเด่นก็เรียกร้องค่าตอบแทนสูงๆได้เช่นกัน โดยมีเทรดเดอร์บางคนที่มีอายุ 25 ปี และจบมหาลัยมาเพียง 2 ปี ก็ได้รับค่าตอบแทนสูงถึง 750,000 ดอลลาร์ต่อปี หรือ 27,195,000 บาทต่อปี

หวังว่าตัวเลขพวกนี้คงทำให้น้อง merveillesxx ขยันเรียนมากขึ้นนะจ๊ะ แต่เอ ไม่รู้ว่าเรียนจบมาแล้วน้องสามารถทำงานเป็นเทรดเดอร์พันธบัตรได้หรือเปล่า แต่ถ้าน้องไม่สามารถทำงานแบบนี้ได้ พี่ก็ขออวยพรให้น้องได้สามีหรือภรรยาเป็นเทรดเดอร์พันธบัตรย่านวอลล์สตรีทวัย 25 ปีที่มีรายได้ 750,000 ดอลลาร์ต่อปีแทนแล้วกันนะจ๊ะ ฮ่าๆๆๆๆ (เวลาไปเรียนต่อเมืองนอก ก็พยายามเลือก “จับ” สามีให้ดีๆล่ะ)


--อันนี้เป็นข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่อง CREMASTER 3 จากนสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับประจำวันที่ 23 พ.ค. 2002

ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์ชุด Cremaster ซึ่งมีทั้งหมด 5 ภาคและได้รับการยกย่องว่าเป็นงานทัศนศิลป์ร่วมสมัยที่มีความสำคัญมาก โดยแมทธิว บาร์นีย์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชุดนี้สร้างภาพยนตร์เรื่องนี้โดยไม่เรียงตามลำดับ โดยเขาเริ่มต้นด้วยการสร้าง Cremaster 4 ในปี 1994 ตามมาด้วย Cremaster 1 ในปี 1995, Cremaster 5 ในปี 1997 และ Cremaster 2 ในปี 1999

Cremaster 3 มีความยาว 182 นาทีและเป็นภาพยนตร์ที่ไม่เน้นการเล่าเรื่อง โดยผู้ชมจะได้เห็นภาพประติมากรรม, สถาปัตยกรรม, การเต้นรำ และฉากที่วิจิตรพิสดารมากมายในเรื่อง ในขณะที่เนื้อหาของเรื่องจะเป็นการผสมผสานกันระหว่างตำนานและเรื่องราวแปลกประหลาดต่างๆ โดยเฉพาะตำนานเกี่ยวกับลัทธิฟรีเมสัน และตำนานของชาวเคลท์ (ชนชาติที่อาศัยอยู่ในอังกฤษและไอร์แลนด์ในยุคโบราณ) ซึ่งรวมถึงเรื่องของพิณทองคำ, เหล้ากินเนส และยักษ์ที่สามารถขโมยเวลา

เนื้อหาส่วนใหญ่ของ Cremaster 3 เกี่ยวข้องกับตึกไครสเลอร์ในนครนิวยอร์คและพลังในการสร้างสรรค์และทำลายของศิลปิน โดยริชาร์ด เซร์รา ประติมากรชื่อดังรับบทเป็นฮิราม อาบิฟฟ์ในเรื่องนี้ ซึ่งอาบิฟฟ์นั้นเป็นบุคคลที่อยู่ในตำนานของลัทธิฟรีเมสันและมีผู้เชื่อว่าเขาเป็นผู้ออกแบบวิหารโซโลมอนในอียิปต์โบราณ ในขณะที่บาร์นีย์ยกให้อาบิฟฟฟ์มีตำแหน่งเป็นบิดาของการก่อสร้างตึกระฟ้าในภาพยนตร์เรื่องนี้

ตัวละครสำคัญอีกคนในเรื่องนี้คือ the Entered Apprentice (แมทธิว บาร์นีย์) ซึ่งพยายามเดินทางจากชั้นล้อบบีของอาคารไครสเลอร์ขึ้นไปยังชั้นบน และในระหว่างทางเขาต้องพบกับเหตุการณ์แปลกประหลาดพิสดารมากมาย ซึ่งรวมถึงเหตุการณ์ในบาร์ Cloud Cafe และเหตุการณ์สยองขวัญในห้องทำฟันซึ่งเป็นฉากที่นักวิจารณ์กล่าวขวัญถึงอย่างมาก โดยในฉากห้องทำฟันนี้ the Apprentice จะถูกจับเปลื้องผ้าจนเห็นอวัยวะเพศที่มีลักษณะพิกลพิการ และเขาถูกบังคับให้กินชิ้นส่วนรถยนต์เข้าไปจนกระทั่งกระเพาะและลำไส้ของเขาพังยับเยินและไหลกองออกมาอยู่นอกตัว

ชื่อเรื่อง Cremaster นั้นมาจากชื่อกล้ามเนื้อในอวัยะเพศชายที่ใช้ควบคุมการเคลื่อนไหวของอวัยวะเพศ โดยนักวิจารณ์ตั้งข้อสังเกตว่าการที่บาร์นีย์ตั้งชื่อเรื่องเช่นนี้เป็นเพราะว่าศิลปินส่วนใหญ่มักได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องเพศ นอกจากนี้ บาร์นีย์มักเน้นย้ำถึงเรื่องการเคลื่อนที่ในแนวตั้งและเปรียบเทียบรูปทรงของตึกระฟ้ากับอวัยวะเพศชายในภาพยนตร์ของเขาด้วย

นักวิจารณ์บางคนเปรียบเทียบ Cremaster ว่ามีลักษณะคล้ายคลึงภาพยนตร์ของเดวิด โครเนนเบิร์ก (Crash, Naked Lunch, The Fly), สแตนลีย์ คูบริก (Eyes Wide Shut, A Clockwork Orange, 2001: A Space Odyssey), ไคลฟ์ บาร์เกอร์ (Lord of Illusions, Nightbreed, Hellraiser), ปีเตอร์ กรีนอะเวย์ (The Cook,the Thief, his Wife & her Lover, A Zed and Two Noughts, Pillow Book) และเคนเน็ธ อังเกอร์ (Lucifer Rising) และกล่าวว่าผลงานของบาร์นีย์ชุดนี้เป็นภาพยนตร์แฟนตาซีที่เป็นขั้วตรงข้ามกับภาพยนตร์อย่าง Lord of the Rings, Harry Potter และ Star Wars ถึงแม้จะมีลักษณะที่เหมือนกันหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นงานด้านภาพที่หรูหราตระการตา, การสร้างติดต่อกันหลายภาค และการขายสินค้าประกอบภาพยนตร์ก็ตาม

บาร์นีย์เคยทำงานเป็นนายแบบมาก่อน เขาเคยเป็นนักศึกษาแพทย์ก่อนจะตัดสินใจย้ายมาเรียนด้านทัศนศิลป์เพื่อเจริญรอยตามแม่ของเขาที่เป็นจิตรกรแนวแอบสแตรคท์ ทั้งนี้ เขาประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย โดยเมื่อเขาอายุได้เพียง 24 ปี เขาก็สามารถจัดโชว์ผลงานเดี่ยวของตัวเองในพิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่แห่งซานฟรานซิสโกได้แล้ว

Cremaster 3 ได้รับการยกย่องว่าเป็นภาพยนตร์ที่สามารถทำลายช่องว่างทางศิลปะระหว่างประติมากรรมและสื่อภาพยนตร์ ในขณะที่สตีเฟน โฮลเดน นักวิจารณ์ของนิวยอร์คไทม์กล่าวว่าภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างปริศนาที่เหนือกว่าทุกๆปริศนา ทางด้านฮิลารี เอ็ม. ชีทส์ จากนิตยสาร Art News กล่าวว่าบาร์นีย์คือตัวอย่างของศิลปินประเภทที่ไม่เน้นสร้างความเข้าใจต่อผู้ชม ส่วนแพท สเตียร์ ซึ่งเป็นศิลปินเช่นกันนั้นก็กล่าวถึงบาร์นีย์ว่า "คนที่คุ้นเคยกับงานของบาร์นีย์จะรู้ว่าเขาไม่ได้มีจุดประสงค์ที่จะให้คนเข้าใจผลงานของเขา"



--ในเว็บไซท์ SENSES OF CINEMA ในบทความ GLEANING THE FUTURE FROM THE GALLERY FLOOR ของ CHRIS DERCON มีการระบุชื่อของศิลปินผู้กำกับภาพยนตร์แนวพิสดารที่น่าสนใจคนอื่นๆที่น่านำมาเทียบเคียงกับ MATTHEW BARNEY ด้วย
http://www.sensesofcinema.com/contents/03/28/gleaning_the_future.html

ผู้กำกับกึ่งศิลปินกลุ่มนี้รวมถึง

1.DOUGLAS GORDON
หนึ่งในนักสร้างภาพยนตร์ที่น่าสนใจที่สุดในยุคปัจจุบัน โดยภาพยนตร์เรื่อง 10MS-1 (1994, A+) ของเขาเพิ่งมาเปิดฉายในกรุงเทพในเดือนส.ค.ปีนี้
http://celinejulie.blogspot.com/2006/08/nirvana-szuper-gallery.html


2.SHARON LOCKHART
อ่านเรื่องของ SHARON LOCKHART ได้ที่
http://www.sensesofcinema.com/contents/01/17/lockhart.html

ภาพยนตร์เรื่อง GOSHOGAOKA (1997) ของ SHARON LOCKHART เคยมาเปิดฉายในกรุงเทพในวันเสาร์ที่ 11 ธ.ค.ปี 1999 แต่ดิฉันไม่ได้ไปดูค่ะ
http://www.imdb.com/title/tt0150767/

ผู้กำกับภาพยนตร์ที่มีอิทธิพลต่อ SHARON LOCKHART รวมถึง CHANTAL AKERMAN, JEAN ROUCH และ JAMES BENNING
http://www.findarticles.com/p/articles/mi_m0268/is_6_38/ai_59923226


3.PIERRE BISMUTH

ภาพยนตร์ที่น่าสนใจของเขารวมถึง RESPECT THE DEAD (2001-2002) ที่เป็นการนำเอาภาพยนตร์หลายๆเรื่องมาตัดต่อเข้าด้วยกัน โดยซีเควนซ์ของหนังแต่ละเรื่องจะถูกตัดไปยังเรื่องอื่นในทันทีเมื่อใดก็ตามที่มีคนตายคนแรกบนหน้าจอ

หนังเรื่อง RESPECT THE DEAD นี้เป็นการให้ความสำคัญกับตัวละครและเหตุการณ์ที่ดูเหมือนไม่สำคัญเมื่ออยู่ในภาพยนตร์ฉบับดั้งเดิม

ผลงานของ PIERRE BISMUTH


3.1 SOMETHING LESS SOMETHING MORE
http://www.kunstnet.at/koenig/picts/BISMUTH0401.jpg

3.2 ONE THING MADE FROM ANOTHER; ONE THING USED AS ANOTHER (2006)
http://jameswagner.com/mt_archives/005739.html
http://jameswagner.com/mt_archives/BismuthOneThing.jpg


4.MARK LEWIS

ภาพยนตร์ของเขามักจะกระตุ้นให้ผู้ชมตระหนักถึงความซ้ำซากและขนบธรรมเนียมของภาพยนตร์ทั่วไป โดยผลงานภาพยนตร์ของเขารวมถึง SMITHFIELD (2000), PEEPING TOM (2000) และ NORTH CIRCULAR (2000)

LANDSCAPES (2006, MARK LEWIS)
http://www.mnac.ro/previous2005.htm
http://www.mnac.ro/mark.jpg
http://www.mnac.ro/mark%20lewis/mark-lewis_1.jpg
http://www.mnac.ro/mark%20lewis/mark-lewis_3.jpg

ALGONQUIN (MARK LEWIS)
http://www.portfoliocatalogue.com/37/05.jpg


5.GEORGINA STARR

ผลงานของเธอรวมถึง STATIC STEPS (1992), VISIT TO A SMALL PLANET (1995) ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์ของ JERRY LEWIS, HYPNODREAMDRUFF (1996) และ TUBERAMA (1998)

CRYING (1993, GEORGINA STARR)
http://www.cca.kiev.ua/exhib/museum/museum15.html
http://www.cca.kiev.ua/exhib/museum/museum_b/museum15.jpg
http://www.cca.kiev.ua/exhib/museum/museum_b/museum05.jpg


6.STAN DOUGLAS

ONOMATOPOEIA (1985-1986)
http://www.medienkunstnetz.de/assets/img/data/2758/bild.jpg
ในงานชิ้นนี้ สแตน ดักลาสนำภาพขาวดำ 154 ภาพของโรงงานร้างมาฉายเป็นสไลด์ต่อเนื่องบนจอขาวที่แขวนอยู่บนเปียโนตัวหนึ่งที่เล่นเพลง BEETHOVEN’S C MINOR SONATA, OPUS 11

WIN, PLACE, OR SHOW (1998, STAN DOUGLAS)
http://www.medienkunstnetz.de/works/win-place-or-show/
http://www.medienkunstnetz.de/assets/img/data/1800/bild.jpg


7.SAM TAYLOR-WOOD

ผลงานดังของเธอคือภาพยนตร์เรื่อง DAVID ที่เป็นการบันทึกภาพเดวิด เบคแฮมขณะนอนหลับ และภาพถ่ายชุด CRYING MEN ที่ทางนิตยสาร BIOSCOPE เคยลงไปแล้ว

BRAM STOKER’S CHAIR VI (2005, SAM TAYLOR-WOOD)
http://www.balticmill.com/images/mmImages/exhibition/Sam%20Taylor-Wood/SamTaylorWood425.jpg


8.PIERRE HUYGHE
http://www.pierrehuyghe.com/
http://www.modernamuseet.se/v4/templates/template3.asp?lang=Eng&id=2632&bhcp=1

ATARI LIGHT (1999, PIERRE HUYGHE)
http://www.mariangoodman.com/Huyghe/artist/bottom_img_01.jpg

LES GRANDS ENSEMBLES (2001, PIERRE HUYGHE)
http://www.mariangoodman.com/Huyghe/artist/bottom_img_03.jpg

TWO MINUTES OUT OF TIME (PIERRE HUYGHE)
http://www.mariangoodman.com/Huyghe/artist/bottom_img_04.jpg

PIERRE HUYGHE + STEAMBOAT SWITSERLAND
http://www.smba.nl/shows/72/72.htm
http://www.smba.nl/shows/72/pierre%20huyghe+%20steamboat%20switserland.jpg

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ PIERRE HUYGHE ได้ในนิตยสาร ART IN AMERICA ฉบับเดือนก.ย.ปีนี้ นิตยสารเล่มนี้มีขายที่ร้านคิโนะคุนิยะ โดยในเล่มนี้มีพูดถึงภาพยนตร์เรื่อง GHOST OF ASIA (2005, APICHATPONG WEERASETHAKUL + CHRISTELLE LHEUREUX, A+/A) ด้วย

Monday, November 20, 2006

MATTHAUS PASSION: NEW GENERATION REMIX

ตอบคุณ BUIBERRY

ลองค้นดูแล้ว พบว่ามิวสิควิดีโอของ DJ SHADOW ที่กำกับโดย WONG KAR-WAI คือเพลง SIX DAYS ค่ะ ขอบคุณมากค่ะที่แนะนำมิวสิควิดีโอเพลงนี้มา

http://www.youtube.com/watch?v=lHJ0xOk9Nhs



ภาพยนตร์ที่ได้ดูในวันนี้ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ

1.MATTHAUS PASSION: NEW GENERATION REMIX (2003, GERALD VAN DER KAAP, A++++++++++) หรือ “กะหรี่ศักดิ์สิทธิ์”
http://www.xs4all.nl/~00kaap/framednew.html

ตัวอย่างผลงานของ GERALD VAN DER KAAP

HOVER HOVER (ROOM 16) (1991)
http://img1.artprice.com/img/classifieds/original/102/102751_1.jpg

HOVER HOVER (ROOM 17) (1991)
http://www.xs4all.nl/~00kaap/theworksmedia/91005_400.JPG

YAWNING GIRL (2000)
http://www.xs4all.nl/~00kaap/theworksmedia/00002_400.jpg


2.DOTSCAPE (สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา, A+)


3.TO LAUGH, RUN, AND RETURN (2003, ARNO NOLLEN, A)

ตัวอย่างผลงานของ ARNO NOLLEN
http://www.arnonollen.com/
http://www.zeno-x.com/shows_zeno_x/AN2005/AN2005_17b.jpg
http://www.artfacts.net/artworkpics/3120b.jpg
http://www.noorderlicht.com/img/fest99/wonder/nollen/ph1.jpg
http://www.noorderlicht.com/img/fest99/wonder/nollen/ph2.jpg


4.ดงนา (ปรัชญา พินทอง, A)


5.LEVITATION (2001, ERIK DETTWILER, A)
http://www.k3zh.ch/download/autor/139_dettwiler-levitation.jpg


6.SIDE BY SIDE (2002, ERNST WIRZ + COM & COM, B+)
http://www.videoart.ch/en/videodetail.php?v_id=31

Sunday, November 19, 2006

MAHAJANOK NEVER SAY DIE EPISODE 2

ได้อ่านหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ BIZWEEK เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา พบว่าในเซกชั่น ET ENTERTREND ในคอลัมน์ EXHIBITION มีลงข่าวว่าภาพยนตร์เรื่อง CREMASTER 3 (2002, MATTHEW BARNEY) จะมาฉายที่ลานอาจารย์ศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ในวันศุกร์ที่ 24 พ.ย.นี้ด้วย ในเวลา 18.00-21.00 น.

ดิฉันไม่สามารถยืนยันได้ด้วยตัวเองว่า CREMASTER 3 จะมาฉายจริงหรือไม่ แต่ก็ขอให้ได้มาฉายจริง เพราะอยากดูมากๆ ภาพยนตร์เรื่องนี้มีความยาว 182 นาที และดิฉันก็หวังว่าจะได้ดูภาพยนตร์เรื่องนี้อย่างเต็มๆทั้ง 3 ชั่วโมง เพราะดีวีดี THE ORDER – FROM MATTHEW BARNEY’S CREMASTER CYCLE 3 ที่มีวางขายตามท้องตลาดในขณะนี้ครอบคลุมเนื้อหาเพียง 30 นาทีของ CREMASTER 3 เท่านั้น

รายละเอียดเกี่ยวกับดีวีดี THE ORDER
http://www.amazon.com/Order-Matthew-Barneys-Cremaster-Cycle/dp/B0004Z32U6/sr=1-1/qid=1163945292/ref=pd_bbs_sr_1/102-3236020-4723312?ie=UTF8&s=dvd
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B0004Z32U6.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1106282615_.jpg

ช่วงนี้มีงานฉายภาพยนตร์ที่น่าสนใจหลายงาน ซึ่งรวมถึง

1.SILPAKORN NEW MEDIA SHOW 01
ลานอาจารย์ศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
18.00-21.00 น.

1.1 MONDAY 20 NOVEMBER
1.1.1 DRIVING FAST THROUGH A SLOW MOTION LANDSCAPE (VIDEO ART SELECTED BY HILDE TEERLINCK)
1.1.2 VIDEO ART BY สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา
1.1.3 VIDEO ART BY ปรัชญา พินทอง

1.2 TUESDAY 21 NOVEMBER
1.2.1 SCRATCH (2001, DOUG PRAY)

A feature-length documentary film about hip-hop DJing, otherwise known as turntablism. From the South Bronx in the 1970s to San Francisco now, the world's best scratchers, beat-diggers, party-rockers, and producers wax poetic on beats, breaks, battles, and the infinite possibilities of vinyl.

DJ SHADOW ร่วมให้สัมภาษณ์ในภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย

http://www.amazon.com/gp/product/B00006AL1G/imdb-adbox/
http://ec2.images-amazon.com/images/P/B00006AL1G.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056718239_.jpg
1.2.2 KOYAANISQATSI (LIFE OUT OF BALANCE) (1983, GODFREY REGGIO)
http://ec3.images-amazon.com/images/P/B000068OCS.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056715607_.jpg


1.3 WEDNESDAY 22 NOVEMBER
ANTENNA MUSIC VIDEO


1.4 THURSDAY 23 NOVEMBER
1.4.1 ANIMATION WORKS BY NORMAN MCLAREN
http://www.imdb.com/name/nm0572235/

1.4.2 EXTREME ANIMATION BY PHIL MULLOY (กรี๊ดดดดดดดดดด)
http://www.imdb.com/name/nm0612465/
http://www.awn.com/gallery/mulloy/Cowboys.gif
http://www.awn.com/gallery/mulloy/Steal.gif
http://www.shortfilm.com/shop/images/Intolerance_lg.jpg
http://www.filmski.net/slike/slike/news/16/phil-dosje-ins2.jpg
http://www.awn.com/gallery/mulloy/Sound-of-Music.gif

1.4.3 TWO SHORT FILMS BY DAAN SPRUIJT
http://www.imdb.com/name/nm1294975/
http://www.daanspruijt.nl/#
http://www.daanspruijt.nl/site/media/image/work/morning%20lemon/full/Morning-Lemon-13.jpg
http://www.daanspruijt.nl/site/media/image/work/floating%20world/full/The-Floating-World-08.jpg
http://www.daanspruijt.nl/site/media/image/work/der%20raum/full/Der-Raum-einnehmend-01.jpg
http://www.daanspruijt.nl/site/media/image/work/lightsleepers/full/lightsleepers-15.jpg
http://www.daanspruijt.nl/site/media/image/work/teerwater/full/teerwater-14.jpg
http://www.daanspruijt.nl/site/media/image/work/grime/full/weird_woman_01.jpg
http://www.daanspruijt.nl/site/media/image/work/grime/full/miss_nose_02.jpg
http://www.daanspruijt.nl/site/media/image/work/grime/full/nose_creature_01.jpg
http://www.daanspruijt.nl/site/media/image/work/grime/full/old_girl_01.jpg
http://www.daanspruijt.nl/site/media/image/work/grime/full/squid_man_02.jpg


1.5 FRIDAY 24 NOVEMBER
CREMASTER 3
http://www.cremaster.net/crem3.htm
http://www.pbs.org/art21/slideshow/artists/b/barney-photo-002.jpg
http://www.lelitteraire.com/IMG/degree1_orderoftherainbowforgirls.jpg
ดูตัวอย่าง CREMASTER 3 ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=GMYHQdl8krI




2.ภาพยนตร์สื่อสารข้ามวัฒนธรรม
http://www.sac.or.th/subdetail/declaration/ethno_film/TU-Films.doc

กำหนดการจัดฉายภาพยนตร์
เรียนรู้วัฒนธรรมจากสื่อภาพยนตร์
จัดโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
ระหว่างวันที่ 20 – 21 พฤศจิกายน 2549 เวลา 17.30 – 20.00 น.
ณ ห้องสมุด ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2549 เวลา 17.30 – 20.00 น.
ฉายภาพยนตร์ ครั้งที่ 1 “เรื่องเล่าของชีวิต” โดยมีภาพยนตร์ที่จัดฉาย ดังนี้
--ภาพยนตร์เรื่อง The Da-Ang (ภาพยนตร์จากการประกวด)
--ภาพยนต์เรื่อง In the Land of the War Canoes (47 min)
A film by: Edward S. Curtis, 1914
Cinematographer Edmund August Schwinke
--ภาพยนตร์เรื่อง Into the Field (28 min)
A Film by: Alyssa Grossman, 2004

Cinematography/
Sound: Alyssa Grossman,
Selena Kimball
Production: Granada Centre for Visual Anthropology,
University Manchester, Great Britain
วิทยากรร่วมเสวนา Andrea และคุณชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ


วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน 2549 เวลา 17.30 – 20.00 น.
ฉายภาพยนตร์ ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “ความเชื่อ” โดยมีภาพยนตร์ที่จัดฉายดังนี้
--“อัสสามุอะลัยกุม” (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) (ภาพยนตร์จากการประกวด)
--โต๊ะโหมด (ภาพยนตร์จากการประกวด)
--ภาพยนตร์เรื่อง The Veil nveiled (30 min)
A Film by Vanessa Langer, 2004
Distribution: Vanessa Langer, Ethos Video Production
Chemin de Beau-Rivage 10, Switzerland
วิทยากรร่วมเสวนา คุณธีระนันท์ ช่วงพิชิต และคุณชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ


วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน 2549 เวลา 17.30 – 20.00 น.
ฉายภาพยนตร์ ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “สายตาของฉัน” โดยมีภาพยนตร์ที่จัดฉายดังนี้
--ภาพยนตร์เรื่อง เหล่าดู่.เดือน 7.47 (ภาพยนตร์จากการประกวด)
--ภาพยนตร์เรื่อง Cease! Fire! More broken promises, more broken lives. (49 min) (A+)
A film by Kaw lah films, 2004
Distribution by P.O. Box 39, Mae Sariang, MHS,
58110, Thailand
--ภาพยนตร์เรื่อง จังหวะชีวิตของละหู่แซแล (15 min)
A film by ลาหู่แซแล
วิทยากรร่วมเสวนา คุณชีวสิทธิ์ บุณยเกียรติ และ วิทยากรจากประเทศพม่า


3.THE SECOND SCIENCE FILM FESTIVAL
http://www.bioscopemagazine.com/web2006/webboard/index-in.php?id=48786
ดิฉันเคยเขียนถึงหนังบางเรื่องใน THE FIRST SCIENCE FILM FESTIVAL ที่มาเปิดฉายในกรุงเทพในเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว อ่านได้ที่
http://celinejulie.blogspot.com/2005_11_01_celinejulie_archive.html


4.IT’S RAINING ON SANTIAGO (1976, HELVIO SOTO)
THURSDAY 23 NOVEMBER
17.00
THAMMASAT LIBRARY
http://library.tu.ac.th/staff/user4/songyod/Nov06.htm


5.สำหรับวันเสาร์ที่ 25 พ.ย. ดิฉันยังตัดสินใจไม่ได้ว่าตอนเย็นจะทำอะไรดีระหว่าง

5.1 ดูหนังเรื่อง WE CAN’T GO HOME AGAIN (2006, TOSHI FUJIWARA) ที่ FLIP CAFE ตอนทุ่มนึง
Tokyo, at the beginning of the 21st century. The lives of five young people, each of them struggling to find meanings of their existence, start to cross mysteriously with each other, and will experience unexpected turns in their paths.
http://www.thaiindie.com

5.2 ดูละครเวทีเรื่อง FRANKENSTEIN: THE MONSTER & THE MYTH ที่ภัทราวดีเธียเตอร์ ตอนสองทุ่ม
http://www.patravaditheatre.com

5.3 ดูละครเวทีในเทศกาลละครกรุงเทพ
http://www.lakorn.org/


6.โปรแกรมภาพยนตร์เนตรวิถี
http://library.tu.ac.th/staff/user4/movies/ArtFilm_index.htm


ภาพยนตร์และละครเวทีที่ได้ดูระหว่างวันจันทร์ที่ 13 พ.ย. ถึงวันอาทิตย์ที่ 19 พ.ย. 2006

1.MAHAJANOK NEVER SAY DIE EPISODE 2 (A++++++++++)
แสดงโดย กลุ่มละครมะขามป้อม
DIRECTED BY PRADIT PRASARTTHONG ประดิษฐ ประสาททอง
เวอร์ชันที่ดิฉันได้ดูเป็นเวอร์ชันภาษาอังกฤษที่ใช้นักแสดงเพียง 2 คน แต่มีอีกเวอร์ชันนึงเป็นเวอร์ชันภาษาไทยที่ใช้นักแสดง 4 คน


2.BE LOVED หรือ เธอ...ที่รัก (A+++++)
แสดงโดย FLOWER OF LOVE ENTERTAINMENT
DIRECTED BY WANNASAK SIRILAR


3.LEMMING (2005, DOMINIK MOLL, A+)


4.HER VOICE หรือ “หญิงเปรย” (A+)
แสดงโดย ON BOX THEATRE GROUP
DIRECTED BY SAIFAH TANTHANA


5.MY TASTY HUBBY RECIPE! เพราะรักช้ำ จึงหม่ำผัว (A+)
แสดงโดย THE INVISIBLE ACTOR TROUPE
DIRECTED BY GRISANA PUNPENG กฤษณะ พันธุ์เพ็ง


6.MASTERS OF HORROR: IMPRINT (2006, TAKASHI MIIKE, A+)
จุดนึงที่ไม่ชอบในหนังเรื่องนี้คือรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ “โหด” เกินไปสำหรับดิฉัน แต่สิ่งที่ชอบสุดๆในหนังเรื่องนี้คือ “โครงสร้างการเล่าเรื่อง”

รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีความ “งดงาม” ในแบบของมันเอง ถึงแม้ว่ามันจะโหดเกินไปสำหรับดิฉัน ความรู้สึกที่มีต่อหนังเรื่องนี้ในบางจุดคล้ายๆกับความรู้สึกที่มีต่อ SALO OR 120 DAYS OF SODOM (1975, PIER PAOLO PASOLINI, A+) เพราะดูหนังสองเรื่องนี้แล้วรู้สึกว่าทั้ง MIIKE และ PASOLINI มีความสามารถสูงมากๆ แต่พวกเขาเลือกใช้ความสามารถของตัวเองในการนำเสนอ “นรก”

ดูหนังเรื่องนี้แล้วรู้สึกว่ามันเหมาะจะฉายควบกับ MEMOIRS OF A GEISHA (2005, ROB MARSHALL, A-) ฮ่าๆๆๆๆ


7.VIVA ALGERIA (2004, NADIR MOKNECHE, A+)
ดูที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์


8.MASTERS OF HORROR: THE FAIR-HAIRED CHILD (2006, WILLIAM MALONE, A+)
แทบไม่น่าเชื่อว่าผู้กำกับหนังเรื่องนี้คือคนเดียวกับที่กำกับ FEARDOTCOM (2002, C+)


9.LOVE PHOBIA (2006, KANG JI-EUN, A+/A)

LOVE PHOBIA เป็นหนึ่งในหนังโรแมนติกเกาหลีที่ดิฉันชอบมากที่สุดในชีวิต แต่รู้สึกว่าช่วงท้ายเรื่องฟูมฟายมากไปหน่อย

รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เหมาะจะจัดเป็นหนึ่งในไตรภาคหนังชุด “เขาอาจเป็นมนุษย์ต่างดาว” ร่วมกับหนังเรื่อง

A.SCIENCE FICTION (2002, DANNY DEPREZ, BELGIUM, A-)
http://www.imdb.com/title/tt0314624/

B.MAN FACING SOUTHEAST (1986, ELISEO SUBIELA, ARGENTINA, A-)

A new patient mysteriously appears in a psychiatric ward. He claims to come from another planet to study humans and their behavior. The alien is gentle but criticizes humans for their harsh treatment of each other. The assigned psychiatrist is himself unhappy, and affected by the patient's insight. But he is ordered to treat the patient according to institutional procedure.

แต่ถึงแม้ไตรภาคหนังชุดนี้จะมีตัวละครที่น่าสงสัยว่าอาจเป็นมนุษย์ต่างดาวเหมือนกัน แต่หนังสามเรื่องนี้กลับมีแนวทางที่แตกต่างจากกันอย่างสิ้นเชิง เพราะ LOVE PHOBIA เป็นหนังโรแมนติก, SCIENCE FICTION เป็นหนังสำหรับเด็ก ส่วน MAN FACING SOUTHEAST เป็นหนังที่อาจจะแฝงแนวคิดเชิงปรัชญา


10.THE BANQUET (2006, FENG XIAOGANG, A+/A)


11.VILLAGE ALBUM (2004, MITSUHIRO MIHARA, A)
ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็นึกถึง OBABA (2005, MONTXO ARMENDARIZ, A+) เพราะ VILLAGE ALBUM นำเสนอภาพถ่ายของชาวบ้าน แต่ไม่ได้เจาะลึกลงไปในชีวิตของชาวบ้านแต่ละคนที่ปรากฏในภาพถ่าย แต่ OBABA นำพาพวกเราเข้าไปรู้จักกับชาวบ้านแต่ละคนที่ปรากฏในภาพถ่าย และตีแผ่ให้เห็นว่าจริงๆแล้วชีวิตของแต่ละคนชิบหายยังไงบ้าง


12.THE DANGERS OF TOBACCO + THE SWAN SONG (A/A-)
แสดงโดย THE INVISIBLE ACTOR TROUPE
DIRECTED BY PANNATAT PO-DHIVEJAKUL ปัณณทัต โพธิเวชกุล


13.SECRET OF NGOM-NGAM ความลับของงอมแงม (A-)
แสดงโดย OUI THEATRE
กำกับโดย SIRINCHA WATCHARAPORNIN สิริญชา วัชราภรณินทร


14.BEAR HUG (2004, WANG SIU-DI, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0446927/
ดูที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์


15.VIVA TONAL (2004, CHEN-TI KUO + WEI-SSU CHIEN, B+)
http://www.taiwanesevoice.net/viva/content_en.html
http://publish.gio.gov.tw/FCJ/past/04052141.html
ดูที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์


16.MASTERS OF HORROR: HAECKEL’S TALE (2006, JOHN MCNAUGHTON, B+)


17.STEP UP (2006, ANNE FLETCHER, B+)


18.MASTERS OF HORROR: CHOCOLATE (2005, MICK GARRIS, B+)


FAVORITE ACTRESS
LORI PETTY – MASTERS OF HORROR: THE FAIR-HAIRED CHILD

FAVORITE ACTOR
TATSUYA FUJI – VILLAGE ALBUM
แต่การแสดงของ TATSUYA FUJI ที่ถูกใจดิฉันมากที่สุด ยังคงเป็นการแสดงของเขาใน IN THE REALM OF THE SENSES (1976, NAGISA OSHIMA, A+)


FAVORITE SCENE

1.MASTERS OF HORROR: CHOCOLATE
ฉากที่พระเอกร่วมรักกับชายหนุ่มรูปร่างกำยำอีกคนนึงโดยผ่านทางสัมผัสที่หก

2.VIVA ALGERIA
ฉากสาวใช้ทำมือร่ายรำขณะทำงานรับใช้เจ้านาย