Wednesday, July 30, 2014

KICK (2014, Sajid Nadiadwala, India, A-/B+)

KICK (2014, Sajid Nadiadwala, India, A-/B+)
 
ชอบที่มีการเปลี่ยน genre หนังอย่างฉับพลันในช่วงกลางเรื่อง แต่องค์ประกอบอื่นๆของหนังเราเฉยๆ
 
 

Tuesday, July 29, 2014

FOR THE BOSS (Misak Chinphong, A-)


FOR THE BOSS (Misak Chinphong, A-)

เพื่อลูกพี่ (2013, มีศักดิ์ จีนพงษ์)


 

หนังน่ารักดี ชอบที่มีการใช้ genre ของหนังคาวบอยมาปรับใช้ในหนังเรื่องนี้ แต่องค์ประกอบอื่นๆของหนังเรารู้สึกเฉยๆ

 

จากหนังเรื่องนี้ ทำให้เราเพิ่งรู้ว่ามันมีโครงการประกวดหนังขององค์การอาหารและยาด้วย และมีหนังให้เราดูมากมายในโครงการนี้ ซึ่งรวมถึงเรื่อง “ไม่อ้วนเอาเท่าไหร่” (ชัชชัย ชาญธนวงศ์, A+) ที่ฉายในงานมาราธอนปีที่แล้ว

DEAD FRIEND (2014, Pasiwat Boonrach, A+10)


DEAD FRIEND (2014, Pasiwat Boonrach, A+10)

เพื่อนตาย (ภาสิวัชร บุญราช)


 

ตายแล้ว เพิ่งได้ดูหนังเรื่องนี้ แล้วพบว่าเนื้อหาของหนังมันเชื่อมโยงกับหนังเรื่องอื่นๆของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษด้วย เพราะตัวละครเจ๊กะเทยในหนังเรื่องนี้ เป็นน้องชายของนักค้ายาเสพติดที่ปรากฏตัวอยู่ในหนังเรื่อง RUN E-LA RUN (คมสันต์ ศรสันต์, A+15) และมีการใช้ฟุตเตจจากหนังเรื่อง RUN E-LA RUN มาประกอบในหนังเรื่องนี้ด้วย

 

เนื้อหาในหนังของ RUN E-LA RUN ก็เชื่อมโยงกับหนังเรื่อง “จุดเปลี่ยน” (ธนะชัย ป้องกัน) และ  “เด็กหอ..ย” (เมธี พลศักดิ์) และอาจจะเชื่อมโยงกับหนังเรื่อง “สืบไอซ์” (เกียรติศักดิ์ เชื้อนิล) ด้วย สรุปว่าการวางโครงสร้างของหนังชุดนี้มันรุนแรงมากๆ เพราะมันเชื่อมโยงหนัง 5 เรื่องเข้าด้วยกัน

 

การเล่นเกมเชื่อมโยงหนังในเทศกาลมาราธอนแบบนี้ ทำให้นึกถึงปี 2005 ที่มีหนังไตรภาคเรื่อง “โตเต้” (25min), “ซัมเป้” (24min) และ “คมกริช&สุรวี” (30min) ของ Natham Homsup + Dhan Lhaow เข้าฉาย แล้วเนื้อหาในหนัง 3 เรื่องนี้เชื่อมโยงกัน :-)

Sunday, July 27, 2014

IN BETWEEN (2014, Anuwat Amnajkasem, A+25)


IN BETWEEN (2014, Anuwat Amnajkasem, A+25)

 

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าตัวเองเข้าใจหนังเรื่อง ระหว่างกัน” ถูกหรือเปล่า เพราะเราไม่ค่อยได้ยินเสียงตัวละครคุยกัน แต่เราเข้าใจว่าตัวละครตัวนึงเพิ่งเลิกกับแฟน แล้วเขาก็ตกอยู่ในความเศร้า ในขณะที่เพื่อนสนิทของพระเอก (ซึ่งเราไม่รู้ว่าพระเอกแอบชอบอยู่หรือเปล่า เพราะพระเอกเหมือนมองเพื่อนด้วยสายตาแปลกๆ) ที่นั่งอยู่ในห้องเดียวกัน ก็ดูเหมือนไม่สามารถคลายความเศร้าของพระเอกลงได้

 

สิ่งที่เราชอบสุดๆใน “ระหว่างกัน” ก็คือมันทำให้เรานึกถึงความรู้สึกแปลกแยกของตัวเองน่ะ คือเรารู้สึกว่าพระเอกกับเพื่อนสนิทนั่งอยู่ในห้องเดียวกัน คุยกันบ้างเป็นบางครั้ง แต่ก็เหมือนพระเอกกับเพื่อนต่างก็อยู่ใน bubble ของตัวเอง พระเอกเหมือนถูกห่อหุ้มด้วยความเศร้าหรือความทุกข์ใจอะไรบางอย่าง แล้วพระเอกก็ยังไม่สามารถเอาชนะความทุกข์ใจนั้นได้ แล้วเพื่อนพระเอกก็ไม่สามารถคลายความทุกข์ใจให้พระเอกด้วย

 

สิ่งที่เราชอบมากก็คือ

 

1.มันแสดงให้เห็นว่า ความทุกข์ในใจคนเราบางครั้ง มันเอาชนะไม่ได้ง่ายๆ ก้าวพ้นไม่ได้ง่ายๆ และเพื่อนสนิทก็ช่วยอะไรเราไม่ได้ (ซึ่งมันแตกต่างจากหนังเรื่องที่ฉายก่อนหน้าเรื่องนี้ ซึ่งก็คือเรื่อง “รองเท้าคู่เก่า” ซึ่งเป็นเรื่องที่เราชอบมาก แต่มันสรุปเรื่องด้วยการบอกว่า เราสามารถก้าวพ้นความทุกข์จากการสูญเสียเพื่อนได้)

 

2.เราชอบหนังเหงาๆเศร้าๆ ตัวละครเอกว้าเหว่ โดดเดี่ยว แต่เราเบื่อหนังที่แสดงความเหงาของตัวละครเอก ด้วยการให้เห็นตัวละครเอกเดินอยู่บนสะพานลอยคนเดียว, เดินขึ้นบันไดคนเดียว หรือเดินอยู่ท่ามกลางอะไรเวิ้งว้างคนเดียว เพราะความเหงาของคนเรานั้น ถ้ามันเหงาจริง ถึงเราจะอยู่กับเพื่อนสนิท เราก็จะยังรู้สึกเหงาในใจเราอยู่ดี ซึ่งหนังเรื่อง “ระหว่างกัน” นี่แหละ มันใช่เลย มันตอบโจทย์เราได้เป๊ะๆมากเลย เพราะการจะสะท้อน empty space ที่อยู่ในใจคนเราบางคนนั้น มันไม่ควรจะต้องสะท้อนด้วยการให้ตัวละครตัวนั้นไปอยู่ท่ามกลาง empty space จริงๆ มันต้องสะท้อนด้วยการให้ตัวละครตัวนั้นอยู่กับเพื่อนสนิทนี่แหละ และถึงแม้ตัวละครตัวนั้นมันจะอยู่กับเพื่อนสนิท มันก็จะยังรู้สึกเหงาอยู่ รู้สึกทุกข์อยู่ และรู้สึกว่ามี empty space ที่กว้างใหญ่อยู่ในจิตวิญญาณของตัวเองอยู่ดี

 

ชอบฉากเครื่องปรับอากาศใน “ระหว่างกัน” มากๆด้วย โดยไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม แต่มันติดตาติดใจเรามากๆ และทำให้เรานึกถึงหนัง contemplative cinema แบบ INDIA SONG (1974, Marguerite Duras) ที่จะมีฉากพัดลมเพดานหมุนช้าๆ อ้อยอิ่ง คือมันทำให้เราคิดว่า เออ หนังที่สะท้อนความว่างเปล่าบางอย่างในจิตใจตัวละครที่เนื้อเรื่องมันเกิดในยุคเก่า มันก็ใช้พัดลมเพดานหมุนช้าๆ แต่ถ้าหากเนื้อเรื่องมันเกิดในยุคปัจจุบัน มันก็ต้องไปจับภาพที่เครื่องปรับอากาศแบบในหนังเรื่อง “ระหว่างกัน” หรือเปล่า 555

 

เท่าที่ดูหนังของคุณอนุวัชร์มา 4 เรื่อง ตอนนี้ชอบเรื่อง “ระหว่างกัน” มากที่สุดครับ เพราะมันทำให้นึกถึงความเหงาหรือความรู้สึกแปลกแยกของตัวเอง ส่วนอีก 3 เรื่องนั้น

 

1.DISPOSABLE เรื่องนี้ชอบน้อยสุด คือเรื่องนี้เราชอบการเสียดสีคนกรุงที่ต้านเขื่อน แต่ใช้ไฟฟ้าสิ้นเปลือง แต่การสะท้อนภาพชนบทด้วยภาพเด็กที่ใช้ถ่านไฟฉายฟังวิทยุทรานซิสเตอร์ท่ามกลางท้องทุ่งเขียวขจี มันเป็นการสะท้อนภาพชนบทที่ดู stereotype ยังไงไม่รู้

 

2.CAPTURE เรื่องนี้ชอบมากพอสมควร แต่ประเด็นเรื่องการรับน้องเป็นประเด็นที่ค่อนข้างเฝือนิดหน่อย และเราเป็นคนที่มักชอบหนังที่เน้นการดำดิ่งไปในห้วงอารมณ์ความรู้สึกอะไรสักอย่าง มากกว่า “หนังที่เน้นประเด็น” หรือ “หนังที่เน้นเนื้อเรื่อง” เราก็เลยชอบ “ระหว่างกัน” มากกว่า

 

3.WHERE IS MY SHORTS? เรื่องนี้ชอบมากๆ ฉากที่นางเอกแอบดูพระเอกเปลี่ยนกางเกง เป็นฉากที่คลาสสิคฉากนึงในความเห็นของเรา 555 แต่เราไม่เคยมีประสบการณ์อะไรแบบตัวละครในหนังเรื่องนี้ เราก็เลยอาจจะชอบ “ระหว่างกัน” มากกว่าหนังเรื่องนี้นิดนึง แต่ในอนาคต เราอาจจะชอบหนังเรื่องนี้มากกว่า “ระหว่างกัน” ก็ได้ ยังไม่แน่เหมือนกัน :-)

 

Thursday, July 24, 2014

NUDE DOCUMENTARY FILM (2014, Pimploy Sudlar, documentary, A+30)


NUDE DOCUMENTARY FILM (2014, Pimploy Sudlar, documentary, A+30)

 

เราชอบ “นางเปลือย” ตรงที่

 

1.ประเด็นมันน่าสนใจดี เพราะเราไม่เคยรู้เรื่องวงการนู้ดมาก่อน คือเราไม่เคยผ่านตาหนังสือประเภทนี้มาก่อนด้วยซ้ำ เราเคยเห็นแต่หนังสือโป๊น่ะ แต่เราไม่เคยเห็นหนังสือภาพเปลือยที่มีความเป็นศิลปะแบบนี้ หนังเรื่องนี้ก็เลยทำให้เราได้รู้ว่ามันมีวงการนี้อยู่ในไทยด้วย

 

2.ผู้สัมภาษณ์หรือผู้กำกับกับตัว subject หรือ “อีฟ” เหมือนจะจูนกันติดอย่างมากๆ เรารู้สึกว่าอีฟเขากล้าแสดงตัวตน, ความคิด, ความรู้สึกออกมามากพอสมควรน่ะ คือถ้าผู้สัมภาษณ์กับผู้ให้สัมภาษณ์มันจูนกันติด หนังสารคดีเรื่องนั้นก็จะทำให้เรารู้สึกดูเพลินอย่างมากๆ

 

3.หนังเรื่องนี้ทำให้เรามองนางแบบวงการนี้ในแง่บวกเพิ่มขึ้นมาก คือก่อนหน้านี้เราอาจจะมองว่านางแบบประเภทนี้มีแต่พวกสวยแต่โง่ หรืออาจจะมองเขาเป็น object มากกว่าเป็นมนุษย์ แต่หนังเรื่องนี้นอกจากจะนำเสนอนางแบบวงการนี้ในฐานะมนุษย์อย่างสมบูรณ์แล้ว หนังยังทำให้เรารู้สึกว่าจริงๆแล้วการทำงานนางแบบประเภทนี้มันยากมากๆด้วย เพราะการโพสท่าบางท่ามันเกร็งมากๆ และมันดูทรมานทรกรรมมากๆ

 

4.ชอบตากล้องภาพเปลือยที่เป็นผู้หญิงในหนังเรื่องนี้ด้วย เราว่าผู้หญิงที่เป็นตากล้องคนนี้น่าสนใจมากๆ

Wednesday, July 23, 2014

CHILDREN OF MEKONG (2014, Kittisapt Erbsuk, documentary, A+25)


ให้ประมาณ A+25 จ้า เราชอบมากๆที่หนังแสดงให้เห็นภาพสังคมชนบทในหมู่บ้านนั้นว่ามีแต่คนแก่กับเด็ก เราว่ามันน่าสนใจดี

 

ชอบการที่หนังไปสัมภาษณ์แม่ของเด็กคนนึงที่มาทำงานในกรุงเทพด้วย เราอินกับตัวคุณแม่มากที่สุดในหนังเรื่องนี้ รู้สึกว่าเธอสู้ชีวิตดี และรู้สึกดีที่หนังไม่พยายามสร้างอารมณ์ซาบซึ้งกับเธอมากเกินไป

 

สิ่งที่ติดใจมากๆคือฉากที่ลุงคนนึงบอกว่าจับปลาแทบไม่ได้เลย แต่แพรวาบอกว่าลุงคนนี้จับปลาได้เป็นร้อยๆตัว สรุปว่าความจริงมันคืออะไร 55555

 

มีสิ่งที่ชอบเล็กๆน้อยๆเยอะมากในหนังเรื่องนี้ อย่างเช่นฉากที่ครูบอกให้เด็กพูดภาษากลาง, ฉากที่เด็กบอกว่าโตขึ้นอยากเป็นหมอ เพราะจะได้มีเงิน, ฉากที่เด็กบอกว่าอยากเป็นกระเป๋า (รถเมล์?) และการจับสังเกตภาพเด็กๆเล่นกันที่ริมแม่น้ำในช่วงท้ายเรื่อง

 

แต่สาเหตุที่เราไม่ได้ชอบถึงขั้น A+30 อาจจะเป็นเพราะเราไม่ชอบเด็กๆน่ะ คือเรามักจะอินกับหนังที่นำเสนอความโกรธเกลียดเคียดแค้นชิงชังหรือหดหู่น่ะ และเด็กๆมักจะเป็นวัยที่ขาดอารมณ์แบบนี้ 55555

 

 

THERE IS NO SPACE FOR ME (2013, Anusorn Soisa-ngim, A)


THERE IS NO SPACE FOR ME (2013, Anusorn Soisa-ngim, A)

 

เคยดูรอบแรกตอนฉายที่สถาบันปรีดี พนมยงค์แล้วชอบในระดับประมาณ A- ครับ แต่วันนี้พอดูรอบสองแล้วชอบมากขึ้นในระดับ A

 

สิ่งที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือฉากการพลอดรักกันของคู่รักเกย์ครับ 555 คิดว่าฉากนั้นเป็นฉากที่ไม่ค่อยเจอในหนังสั้นไทยทั่วๆไป มันก็เลยกลายเป็นฉากที่โดดเด่นและ unique ขึ้นมา ชอบการนำเสนอปัญหาเรื่องบทบาทรุกรับบนเตียงด้วย

 

ฉากการสัมภาษณ์คนต่างๆก็ชอบในระดับนึงครับ เป็นเรื่องที่น่าสนใจดีที่ได้เห็นว่า หลายๆคนยังคงยอมรับไม่ได้ถ้าหากประมุขของประเทศจะเป็นเกย์ หรือถ้าหากหลายคนเลือกได้ ก็คงเลือกให้มีแค่เพศชายเพศหญิงเท่านั้น

 

แต่โดยส่วนตัวแล้วคิดว่า การนำเสนอประเด็นเรื่องการเมืองผ่านทางคลิปต่างๆบนจอโทรทัศน์ในหนังเรื่องนี้ มันดูเหมือนแยกส่วนมากเกินไปจากเนื้อหาชีวิตเกย์น่ะครับ คือผมชอบ quote คำพูดของคุณคำ ผกาที่เอามาใส่ในหนังเรื่องนี้มากๆ แต่มันยังดูเหมือนไม่เข้ากับหนังเรื่องนี้ยังไงไม่รู้ โดยส่วนตัวแล้วก็เลยคิดว่าถ้าหากตัดประเด็นการเมืองหรือจอโทรทัศน์ออกไปจากหนังเรื่องนี้ หนังมันอาจจะเข้าทางผมมากยิ่งขึ้น

 

ส่วนที่ชอบน้อยที่สุดในหนังก็คือส่วนของผีกะเทยน่ะครับ มันดูลอยๆมากๆ โดยเฉพาะการที่ผีกะเทยบอกว่าตัวเองตายเพราะเป็นกะเทย คือประโยคนี้มันดูลอยๆ ขาดที่มาที่ไปยังไงไม่รู้ และมันก็เลยทำให้ฉากการร้องไห้ของดรัสพงศ์ในช่วงท้ายเรื่องมันดูลอยๆด้วย คือผมไม่รู้สึกเจ็บปวดอะไรไปกับตัวละครดรัสพงศ์หรือผีกะเทยเลย คือผมรู้สึกว่าความเจ็บปวดของตัวละครสองตัวนี้มันดูค่อนข้างไร้ที่มาน่ะครับ

 

แต่ชอบการถ่ายนิ่งๆในบางฉากนะครับ ทั้งฉากตัวละครเปลี่ยนชุดช่วงต้นเรื่อง, ฉากตัวละครไหว้แท่นบูชาบริทนีย์ช่วงต้นเรื่อง และฉากดรัสพงศ์ร้องไห้ คือผมชอบที่หนังถ่ายสามฉากนี้ด้วยการตั้งกล้องนิ่งๆน่ะครับ

 

สรุปว่าสิ่งที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือการนำเสนอชีวิตบนเตียงของคู่เกย์ครับ แต่ผมว่าประเด็นการเมืองในหนังเรื่องนี้มันดูเป็นส่วนเกินสำหรับผม

 

แต่ผมชอบ “PRESENT PERFECT แค่นี้ก็ดีแล้ว” ในระดับ A+15 นะครับ เป็นหนังเกย์ที่โรแมนติกมากๆสำหรับผม :-) :-) :-)

Tuesday, July 22, 2014

ENDLESSLY (2014, Sivaroj Kongsakul, A+30)


--เราร้องไห้กับ ENDLESSLY ตรงฉากที่คุณยายจ้องมองมาที่กล้อง ส่วนหนังสั้นอีกเรื่องที่ทำให้เราร้องไห้อย่างรุนแรงในปีนี้คือ OLDS (วัชรพล แสงอรุณโรจน์) โดยเราร้องไห้ฉากที่พระเอกส่องกระจก รู้สึกประหลาดดีเหมือนกันที่หนังสองเรื่องนี้ทำให้เราร้องไห้ในฉากที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่าเราได้สบสายตาหรือได้เห็นสายตาของตัวละคร

 

--สิ่งหนึ่งที่ชอบมากใน ENDLESSLY คือการที่หนังทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่าเราได้สัมผัสกับจิตวิญญาณหรือสามารถจินตนาการถึงประวัติชีวิตของตัวละครทั้งๆที่หนังไม่ได้เล่าประวัติชีวิตของตัวละครออกมาตรงๆ โดย ENDLESSLY ทำให้เราจินตนาการถึงประวัติชีวิตตัวละครคุณยายโดยผ่านทาง

 

1.ตัวละครเด็กหญิง ที่น่าจะเหมือนกับคุณยายในวัยเด็ก

2.เนื้อเรื่องของข้างหลังภาพ

3.เนื้อเพลงที่ใช้ใน soundtrack

4.สิ่งของต่างๆภายในบ้าน ซึ่งรวมถึงผ้าม่าน, คราบบนฝ้า และผ้าพันคอ

 

ในแง่หนึ่ง ENDLESSLY ทำให้เรานึกถึงหนังเรื่อง “กิ่งอ่อนที่บ้านเก่า” (2007, ศศิกานต์ สุวรรณสุทธิ) ในแง่ที่ว่า ผู้กำกับหนังสองเรื่องนี้มีวิธีการมหัศจรรย์บางอย่างที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่าเราได้สัมผัสกับจิตวิญญาณและเข้าใจประวัติชีวิตของตัวละคร ทั้งๆที่หนังไม่ได้เล่าประวัติชีวิตของตัวละครออกมาตรงๆ

FAVORITE UNINTENTIONAL TRILOGIES


FAVORITE UNINTENTIONAL TRILOGY

(คิดว่าหนังกลุ่มนี้เป็นหนังที่เหมือนจะเป็นไตรภาคกันโดยผู้สร้างไม่ได้ตั้งใจ)

 

1. TRILOGY OF THREE IMPORTANT DAYS IN THAI POLITICS

 

1.1 THE SKY ON NOVEMBER 1ST, 2013 (2013, Theeraphat Ngathong)


 

1.2 THIS FILM HAS BEEN INVALID TOO (2014, Theeraphat Ngathong)


 

1.3 I WISH THE WHOLE COUNTRY WOULD SINK UNDER WATER (2014, Theeraphat Ngathong)


 

 

2.TRILOGY OF DOCUMENTARIES ABOUT THE WORKING LIFE OF A BEAUTIFUL WOMAN

 

2.1 MATOOM (2011, Benjamas Rattanaphech, 17min)

 

2.2 ARISARA (2013, Charttakarn Wedchagit, 33.49min)

 

2.3 NUDE DOCUMENTARY FILM (2014, Pimploy Sudlar, 37.33min)

 

 

3.TRILOGY OF FILMS ABOUT PORTRAIT SKETCHES

 

3.1 A PORTRAIT OF CRAZY C ภาพเหมือนครึ่งตัวของเครซี่ ซี (2010, Eakalak Maleetipawan, 21min)

 

3.2 ENDLESS REALM อาณาจักรใจ (2013, Eakalak Maleetipawan, 16.22min)

 

3.3 A FOREST IS ALWAYS FULL OF SURPRISE ในป่าเต็มไปด้วยเรื่องอัศจรรย์ (2014, Eakalak Maleetipawan, 11.04min)

 

 

4. TRILOGY OF DOCUMENTARIES ABOUT THE NORTHEAST OF THAILAND

 

4.1 KON KOM KWAN คนคมขวาน (2013, Wiroon Kingpaiboon)

 

4.2 RASESALAI (2012, Narong Srisophab, 20min)

 

4.3 CHILDREN OF MEKONG เด็กโขง (2014, Kittisapt Erbsuk, 20min)

 

 

5.TRILOGY OF FILMS ABOUT SPLIT PERSONALITIES

 

5.1 EMPTILESS LANDSCAPE (2003, Nat Satayamas, 7min)

 

5.2 LONG FOR ขอให้น้ำแข็งละลาย (2014, Pavinee Satawatsakul, 30min
http://www.youtube.com/watch?v=fMkg-vSak6c

 

5.3 MEETING เจอกัน (2014, Nattapol Pawangthut, 15.28min)


 

 

6.TRILOGY OF FILMS ABOUT ARCHITECTURES AND POLITICAL IMPLICATIONS

 

6.1 THE NATIONAL MEMORIALS (อนุสรณ์สถานแห่งชาติ) (2012, Theeraphat Ngathong, 13.05min)

 

6.2 ON PROGRESS (2013, Abhichon Rattanabhayon)


 

6.3 BRUTALITY IN STONE (1960, Alexander Kluge + Peter Schamoni, West Germany)

Saturday, July 19, 2014

SHOKUNIN (2014, Nuttachai Jiraanont, A+30)


SHOKUNIN (2014, Nuttachai Jiraanont, A+30)

 

ความเห็นที่มีต่อ “ซูชิเนื้อคน”

 

1.เราไม่คิดว่าหนังเรื่องนี้เป็น thriller หรือ horror อย่างเต็มตัวนะ เพราะมันไม่ได้มีความลุ้นระทึก สนุก ตื่นเต้น แบบหนัง thriller หรือ horror ทั่วๆไปน่ะ และมันก็ไม่ได้เป็น psychological study อะไรด้วย มันดูเป็นหนัง revenge แบบ stylish มากกว่า เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับเราในหนังเรื่องนี้จึงไม่ใช่ความสนุก, ตื่นเต้น หรือเนื้อเรื่องที่น่าติดตาม หรือสัญลักษณ์อะไรก็ตามที่อาจจะมี (แต่เราไม่ได้สนใจมัน) แต่กลับเป็น style ของมัน เราว่าถ้าใครชอบ style ของหนังเรื่องนี้ ก็อาจจะชอบหนังเรื่องนี้มากๆก็ได้

 

จริงๆแล้วเราไม่สามารถเรียกหนังเรื่องนี้ว่าเข้าข่ายหนังประเภท “STYLE IS THE SUBSTANCE” (style กลายเป็นสาระสำคัญของหนัง) นะ เพราะหนังเรื่องนี้อาจจะมีสาระสำคัญอื่นๆนอกเหนือจาก style เหมือนกัน แต่เพียงแค่ว่าสิ่งที่เราชอบมากในหนังเรื่องนี้ค่อนไปทาง “สไตล์” มากกว่า “เนื้อเรื่อง” น่ะ

 

2.ฉากที่ติดตาเรามากที่สุดในเรื่องนี้คือฉากที่กล้องโคลสอัพเข้าไปที่ดวงตาของ Shokunin เราว่าช็อตนี้สวยมากๆ, ติดตามากๆ และทรงพลังมากๆ โดยที่เราไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม แต่มันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราชอบสไตล์ของหนังเรื่องนี้

 

3.ส่วนฉากผู้ร้ายกินลูกตาของหนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงหนังผีเรื่อง HOUSE ของ Nobuhiko Obayashi

 

4.สิ่งที่เราชอบสุดๆในหนังเรื่องนี้คือบุคลิกของตัวละครหญิง 2 ตัวที่มันดูนิ่งสงบ, เลือดเย็น และเข้าทางเรามากๆ เราจะชอบตัวละครหญิงสองตัวในหนังเรื่องนี้มากๆ คือถ้าหากเราแต่งนิยายหรือสร้างหนัง เราก็จะสร้างตัวละครหญิงออกมาคล้ายๆแบบในหนังเรื่องนี้แหละ

 

ตัวนางเอกในหนังเรื่องนี้ดูแล้วทำให้เรานึกถึงตัวละครแบบนางเอกของเรื่อง “เจ้านาง” และเรื่อง “ล่า” นะ คือนางเอกแบบนี้จะเริ่มต้นด้วยการตกเป็นเหยื่อหรือผู้ถูกกระทำก่อน แล้วเธอก็จะลุกขึ้นมาแก้แค้น แล้วก็กลายเป็นคนใจคอโหดเหี้ยมอำมหิตไร้หัวใจไปเองในที่สุด

 

5.การที่เราชอบ “บุคลิก” ของตัวละครหญิงสองตัวในหนังเรื่องนี้มากๆ ทำให้เรานึกถึงทฤษฎีที่เราเคยได้ยินมา นั่นก็คือผู้ชมภาพยนตร์บางคน โดยเฉพาะผู้ชมภาพยนตร์ที่เป็นเกย์หรือกะเทย จะหลงใหลภาพยนตร์บางเรื่องมากๆ แต่ไม่ใช่เพราะเนื้อเรื่องของมัน แต่เป็นเพราะ “การโพสท่าของตัวละครหญิง” ในหนังเรื่องนั้น และเราว่าเราชอบหนังเรื่องนี้มากๆ เพราะสาเหตุนี้นี่แหละ เราชอบอากัปกิริยาและบุคลิกของตัวละครหญิงสองตัวในหนังเรื่องนี้

 

6.อีกสิ่งหนึ่งที่เราคิดว่าน่าสนใจดี ก็คือหนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึง “การ hybrid กันของหนังสยองขวัญกับหนังอาร์ท” น่ะ คือมันทำให้เรานึกถึงหนังประเภท

 

6.1 หนังในยุค 1970 พวกที่กำกับโดย Jesus Franco, Jean Rollins อะไรพวกนี้ คือหนังพวกนี้มันมีเนื้อเรื่องเหมือนหนังสยองขวัญ มีตัวละครแวมไพร์ดูดเลือด แต่มันไม่มีความสยองขวัญน่ากลัวอะไรเลย สิ่งที่สำคัญในหนังประเภทนี้คือความสง่างามของตัวแวมไพร์, การตัดภาพแมงป่องเข้ามาเป็นระยะๆโดยไม่รู้ว่าสื่อถึงอะไร, การตัดภาพให้เข้ากับจังหวะเพลงไซคีดีลิก, การโพสท่าของตัวละคร ฯลฯ

 

คือ ซูชิเนื้อคน มันไม่ได้คล้ายคลึงอะไรกับหนังของ Jesus Franco หรือ Jean Rollins นะ แต่มันทำให้เรานึกถึงหนังกลุ่มนี้ เพราะมันเป็นหนัง stylish ที่มีองค์ประกอบของหนังสยองขวัญเหมือนกัน

 

6.2 หนังนอกกระแสเกี่ยวกับการกินเนื้อคน อย่างเช่น

 

6.2.1 PAIN (1994, Eric Khoo, Singapore)

6.2.2 THE COOK, THE THIEF, HIS WIFE & HER LOVER (1989, Peter Greenaway)

6.2.3 TROUBLE EVERY DAY (2001, Claire Denis)

 

เราคิดว่ามันน่าสนใจดีที่หนังอาร์ทหรือหนังนอกกระแสหลายเรื่องนำเสนอเรื่องการกินเนื้อคน มันเหมือนกับว่าการกินเนื้อคนถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่แตกต่างกันไปในหนังแต่ละเรื่องน่ะ เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าการกินเนื้อคนใน “ซูชิเนื้อคน” มีความหมายเชิงสัญลักษณ์อะไรหรือเปล่า แต่เราว่าคงเป็นเรื่องดีถ้าหากจะมีนักวิจารณ์หนังคนไหนหยิบประเด็นเรื่องการกินเนื้อคนในหนังเหล่านี้มาเขียนวิเคราะห์เปรียบเทียบให้พวกเราได้อ่านกัน

 

 (จริงๆแล้ว เต้ ไกรวุฒิเคยเขียนวิเคราะห์ถึง TROUBLE EVERY DAY ไปแล้วใน BIOSCOPE เล่มเก่าๆได้อย่างดีมาก)