Sunday, August 31, 2014

MADAM ANNA, NIPPLES, MACARON, PONYANGKAM, AND BASIC EDUCATION (2014, Ratchapoom Boonbunchachoke, 41min, A+30)


MADAM ANNA, NIPPLES, MACARON, PONYANGKAM, AND BASIC EDUCATION (2014, Ratchapoom Boonbunchachoke, 41min, A+30)
แหม่มแอนนา หัวนม มาคารอง โพนยางคำ และการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ดูแล้วนึกถึงสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้

1.ชอบตอนจบมากๆ รู้สึกว่าตอนจบมันเสียดสีในประเด็นที่ตรงใจเรามากๆ

2.มีฉากที่ชอบมากหลายฉากในหนังเรื่องนี้ ฉากแรกก็คือฉากที่แหม่มแอนนาวางแก้วน้ำไว้ แล้วน้ำในแก้วก็ค่อยๆหายไปจนหมด โดยทับทิมบอกว่า “ผีบ้านผีเรือน” ที่อยู่ในบ้านนี้มานานมากแล้วและมักจะกินเครื่องเซ่น เป็นผู้ที่มาเอาน้ำในแก้วไป แล้วแหม่มแอนนาก็ประหลาดใจที่ประเทศนี้ยังมีความเชื่อเรื่องผีบ้านผีเรือนอยู่

เราไม่รู้เหมือนกันว่าฉากนี้มีความหมายอะไร แต่สาเหตุที่ทำให้เราชอบฉากนี้มากๆ เพราะมันทำให้เรานึกถึง “เงินภาษีของประชาชนไทยที่อยู่ดีๆก็ถูกสูบหายไป”

3.ประเด็นอื่นๆในหนังก็ชอบมาก แต่ก่อนอื่นเราขอบอกว่าเราเข้าใจหนังเรื่องนี้แค่เพียงผิวเผินเท่านั้นนะ เราเข้าใจแต่เฉพาะประเด็นที่ตัวละครพูดออกมาเท่านั้น ส่วนประเด็นอื่นๆที่อาจจะมีซ่อนอยู่ลึกซึ้งกว่านั้นเป็นสิ่งที่เราอาจจะยังขบคิดไม่ออกจ้ะ

หนึ่งในประเด็นที่ชอบมากก็คือการที่แหม่มแอนนา ซึ่งเป็นตัวแทนของความศิวิไลซ์และเป็นตัวแทนของ “การช่วยเหลือคนอื่นเพราะมองว่าคนอื่นต่ำต้อยด้อยกว่าและช่างโง่เง่า” นั้น ไม่ได้เป็นชาว Caucasian แล้วในปัจจุบัน แต่กลับมีสภาพเหมือนสาวฐานะดีเชื้อสายไทย/จีนที่ได้ไปเรียนต่อเมืองนอกมา แหม่มแอนนาในเรื่องนี้มองว่าชาวบ้านเป็นพวกที่ช่างด้อยการศึกษาและควรได้รับการแปลงโฉมเสียใหม่ เธอคิดว่าสิ่งที่เธอทำคือการทำดีอย่างหนึ่ง แต่ไปๆมาๆ เธอกลับพบว่าเธอไม่ต้องการให้ชาวบ้านพวกนั้นได้เผยอหน้าขึ้นมาทัดเทียมกับเธอ เธอยินดีที่จะช่วยเหลือชาวบ้าน ก็ต่อเมื่อชาวบ้านอยู่ในฐานะที่ด้อยกว่าเธอเท่านั้น เธอต้องการจะช่วยชาวบ้าน และต้องการจะรักษาสถานะของตัวเองให้สูงส่งกว่าชาวบ้านไว้ต่อไป

การที่แหม่มแอนนาในเรื่องนี้ไม่ได้เป็นฝรั่ง แต่มีสภาพเหมือน “สาวไทย/จีนฐานะดี” จึงทำให้เรารู้สึกว่า หนังเรื่องนี้สามารถสะท้อนทั้งประวัติศาสตร์ในอดีตและสถานการณ์ในปัจจุบัน และสะท้อนทั้งประวัติศาสตร์โลกและประวัติศาสตร์ไทยไปด้วยในขณะเดียวกัน การที่ตัวละครเรื่องนี้ใช้ชื่อว่า “แหม่มแอนนา” ทำให้เรานึกถึงประวัติศาสตร์ไทย และการที่ตัวละครเรื่องนี้พูดถึงอาณานิคมในอินเดีย, แอฟริกา และพวกอินเดียนแดง ทำให้เรานึกถึงประวัติศาสตร์โลก แต่การที่ตัวละครแหม่มแอนนาในเรื่องนี้มีสภาพเป็นสาวไทย/จีนฐานะดี ทำให้เรานึกถึงลักษณะบางอย่างในสังคมไทยในยุคปัจจุบัน

4.หนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงประเด็นเรื่องการปลูกฝังความเชื่อและวัฒนธรรมด้วย โดยเฉพาะเรื่องความลักลั่นในการรับความเจริญทางวัตถุจากต่างประเทศ แต่ไม่ยอมรับแนวคิดที่ดีๆจากต่างประเทศมาใช้ด้วย เพราะแนวคิดเหล่านั้นมันจะเป็นการทำลายฐานอำนาจของกลุ่มผู้ทรงอิทธิพล

5.ชอบการเสียดสีความเป็นไทยและความรักชาติในหนังเรื่องนี้มากๆ โดยเฉพาะการเสียดสีด้วยการเจาะลึกเข้าไปในประวัติศาสตร์ อย่างเช่นเรื่องที่ว่ามะละกอก็ไม่ใช่พืชท้องถิ่นของไทย เพราะฉะนั้นส้มตำมันเป็นอาหารไทยแท้จริงหรือ อะไรกันแน่คือความเป็นไทย (และมันทำให้เรานึกถึงเรื่องที่ว่าศาสนาพุทธจริงๆแล้วก็เป็นของต่างชาติ เพราะเป็นสิ่งที่มาจากอินเดีย) ความเป็นไทยมันเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง หรือมันเป็นสิ่งที่คนบางกลุ่มอุปโลกน์ขึ้นมากันแน่ บางทีมันอาจจะเป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจบางกลุ่มอุปโลกน์ขึ้นมา แล้วก็สั่งสอนให้ผู้อยู่ใต้อำนาจเชื่อตามๆกันไป

 6.เนื่องจากเราชอบเปรียบเทียบ เราก็เลยขอนำหนังของอุ้ย Ratchapoom ไปเปรียบเทียบกับผู้กำกับคนอื่นๆดังต่อไปนี้

6.1 เราว่าหนังของอุ้ยมีบางอย่างที่ทำให้นึกถึงหนังของ Alexander Kluge ในแง่ที่ว่า มันเป็นหนัง narrative ที่มีความเป็นหนัง essay ผสมอยู่ด้วย แต่สิ่งที่ตรงข้ามกันก็คือว่า ตัวละครนางเอกในหนังของอุ้ย 2 เรื่องหลัง ซึ่งได้แก่เรื่องแหม่มแอนนา และมะนีจันเปล่งเสียงไม่ได้ในทวิภูมิทางภาษาของคุณ เป็นตัวละครที่สมควรถูกตบด้วยตีน เพราะพวกเธอเป็นสาวฐานะดีที่ดัดจริต ทำเป็นอยากช่วยเหลือชนกลุ่มน้อย, ชนชั้นล่าง แต่ใจจริงแล้วพวกมึงก็ดูถูกเหยียดหยามเขาอยู่ในใจ อีห่า กูอยากจะตบอีคนพวกนี้มากๆ

ส่วนในหนังของ Alexander Kluge นั้น ตัวละครนางเอกจะไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้น่าโดนตบแบบนี้ แต่ตัวละครนางเอกมักจะเป็นสาวหัวแข็งที่มีความขบถต่อสังคมในแบบของตนเอง คือเรานึกถึงนางเอกในหนังอย่าง YESTERDAY GIRL (1966), ARTISTS AT THE TOP OF THE BIG TOP: DISORIENTATED (1968), OCCASIONAL WORK OF A FEMALE SLAVE (1973) และ THE PATRIOT WOMAN (1979) น่ะ

6.2 การที่หนังของอุ้ยมีตัวละครมาถกเถียงกันด้วยประเด็นที่มีเนื้อหาสาระ มันทำให้เรานึกถึงหนังยุคแรกๆของ Prap Boonpan โดยเฉพาะเรื่อง “ทวิภพในเอกภพ”, “หนังผี: 16 ปีแห่งความหลัง” (2006) และ “ความลักลั่นในงานรื่นเริง” (2007) และเราก็ชอบหนังแบบนี้มากๆ

เนื่องจากปัจจุบันนี้คุณ Prap Boonpan ดูเหมือนจะไม่ได้ทำหนังในสไตล์แบบเดิมอีกแล้ว เราก็เลยดีใจมากที่อุ้ยทำหนังแบบนี้อยู่ เพราะเราพบว่ามีผู้กำกับไทยที่ทำหนังสไตล์นี้น้อยมาก และเราว่าหนังสไตล์นี้มันจะออกมาดีจริงๆได้ยากมาก เพราะผู้กำกับ/คนเขียนบทต้องมีความรู้แน่นจริงๆ ถึงจะทำให้สิ่งที่ตัวละครพูดมันมีประเด็นที่น่าขบคิดหรือให้ความรู้แก่ผู้ชมได้

แต่หนังของอุ้ยกับหนังของปราปต์ก็มีสิ่งที่แตกต่างกันอยู่ อย่างเช่น

6.2.1 หนังของอุ้ยจะใช้ภาษาทางภาพยนตร์ที่แพรวพราวกว่า ส่วนหนังของปราปต์จะไม่เน้นเทคนิคทางภาพยนตร์

6.2.2 แต่เราชอบหนังของปราปต์ตรงที่มันมี “ความเคียดแค้น” อยู่ในหนัง โดยเฉพาะใน LETTERS FROM THE SILENCE และความลักลั่นในงานรื่นเริง ในขณะที่หนังของอุ้ยจะเป็นหนังที่ปราศจากอารมณ์ความรู้สึกแบบสะเทือนใจ

6.3 ถ้าหากเทียบหนังของอุ้ยกับหนังต่างประเทศแล้ว เราก็จะนึกถึงหนังที่นำเสนอประเด็นต่างๆมากมายต่อคนดูอย่างเช่น COSMOPOLIS (David Cronenberg, A+30), หนังของ Alexander Kluge และหนังของ Jean-Luc Godard แต่หนังของอุ้ยดูง่ายกว่าหนังของ Godard มาก คือเราว่าหนังของอุ้ยทำให้เรานึกถึงหนังประเภท LA CHINOISE (1967, A+30) ซึ่งเป็นหนังที่ตัวละครถกเถียงประเด็นสำคัญกันอย่างตรงไปตรงมาอยู่น่ะ ในขณะที่หนังของ Godard ในยุคหลังๆอย่าง SLOW MOTION (1980), PASSION (1982), FIRST NAME: CARMEN (1983), DETECTIVE (1985) และ KING LEAR (1987) เป็นหนังที่เราดูแล้วชอบสุดๆ แต่ไม่สามารถจับประเด็นอะไรในหนังได้อีกต่อไป 5555

พอพูดอย่างนี้แล้ว เราก็แอบสงสัยเหมือนกันว่า ในอนาคตหนังของอุ้ยจะเป็นหนังแบบ Godard หรือเปล่า อุ้ยจะเปลี่ยนจากการทำหนังที่นำเสนอประเด็นอย่างค่อนข้างตรงไปตรงมาแบบในปัจจุบัน ไปเป็นหนังที่เหวอสุดๆไปเลยแบบ FIRST NAME: CARMEN หรือเปล่า

7.ประเด็นหนึ่งที่เรากับเพื่อนๆถกเถียงกันเมื่อวานนี้ก็คือว่า อุ้ยควรจะเปลี่ยนสไตล์การทำหนังหรือเปล่า

สำหรับเรา เราขอตอบว่า อุ้ยจะเปลี่ยนหรือไม่ก็เป็นเรื่องของอุ้ยเอง เปลี่ยนก็ดี ไม่เปลี่ยนก็ดี สิ่งที่สำคัญก็คือว่า ถ้าจะเปลี่ยนก็ควรเปลี่ยนเพื่อความสนุกของตัวเอง หรือเพื่อท้าทายตัวเอง แต่อย่าเปลี่ยนเพื่อหวังจะเอาใจผู้ชม

สำหรับเรา เราขอบอกว่าเรา happy มากกับการดูหนังสไตล์นี้ เพราะคนที่ทำหนังสไตล์นี้มีน้อยมากทั้งในต่างประเทศและในเมืองไทย

แต่ถ้าหากถามว่าสไตล์หนังของอุ้ยเป็นสไตล์ที่เราชอบที่สุดหรือเปล่า มันก็อาจจะไม่ใช่นะ เพราะสไตล์หนังแบบที่เราชอบที่สุดอาจจะเป็นสไตล์ของ Teeranit Siangsanoh, Marguerite Duras, Werner Schroeter อะไรพวกนั้นน่ะ

แต่สิ่งที่แน่ๆก็คือว่า เราไม่ได้ต้องการให้อุ้ยมาทำหนังสไตล์แบบที่เราชอบที่สุด หรือมาทำหนังสไตล์ของ Teeranit Siangsanoh เราต้องการให้ผู้กำกับแต่ละคนทำหนังสไตล์ที่ตัวเองชอบ ไม่ใช่ทำหนังสไตล์ที่เราชอบที่สุด คือเวลาที่เราบอกว่าสไตล์หนังของผู้กำกับคนนู้นคนนี้ ไม่เข้าทางเราซะทีเดียว มันเป็นแค่ประโยคบอกเล่าความจริงอย่างนึง มันไม่ใช่การบอกว่า ผู้กำกับทุกคนควรจะทำหนังสไตล์ Marguerite Duras ไม่งั้นฉันจะไม่ชอบ

ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็คือว่า ถ้าหากมีใครถามว่าเราชอบอาหารชาติอะไรมากที่สุด เราก็จะตอบว่าเราชอบอาหารอิตาเลียน แต่ถ้าหากเราต้องเลือกใช้ชีวิตอยู่ในห้างที่มีร้านอาหาร 10 ร้าน แล้วเราต้องเลือกระหว่าง

1.ห้างที่มีร้านอาหารอิตาเลียน 10 ร้าน
2.ห้างที่มีร้านอาหารอิตาเลียน 3 ร้าน, ญี่ปุ่น 1 ร้าน, ไทย 1 ร้าน, เอธิโอเปีย 1 ร้าน, ฟิวชั่น 1 ร้าน, เยอรมัน 1 ร้าน, ฝรั่งเศส 1 ร้าน และเกาหลี 1 ร้าน

เราก็ขอใช้ชีวิตอยู่ในห้างแบบที่สองดีกว่า เพราะถึงแม้เราชอบอาหารอิตาเลียนมากที่สุด เราก็ไม่ได้อยากกินอาหารอิตาเลียนทุกวัน

ฉันใดก็ฉันนั้น ถึงแม้สไตล์หนังของอุ้ยอาจจะไม่ใช่สไตล์หนังแบบที่เราชอบมากที่สุด เพราะมันขาดอารมณ์สะเทือนใจ, เพราะมันเต็มไปด้วยความหมาย ฯลฯ แต่เราก็ไม่ได้ต้องการให้อุ้ยเปลี่ยนสไตล์หนังของตัวเองเพื่อมาทำหนังในแบบที่เราชอบมากที่สุด เพราะเราไม่ต้องการร้านอาหารอิตาเลียนเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ร้าน สิ่งที่เราต้องการคือร้านอาหารเอธิโอเปีย



Wednesday, August 27, 2014

ROMEO THE GREATEST LOVER (2014, Pisal Pattanaperadech, stage play, A/A-)


ROMEO THE GREATEST LOVER (2014, Pisal Pattanaperadech, stage play, A/A-)

ความรู้สึกที่มีต่อละครเวทีเรื่องนี้

1.ชอบการแสดงของคุณเกษมพัฒน์ วาณิชธัญญะในระดับ A+30 (หรือชอบสุดๆ) เลย ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะคุณเกษมพัฒน์เล่นดี หรือเป็นเพราะเราอินกับการใช้นักแสดงชายมาเล่นเป็นจูเลียต หรือจริงๆแล้วคงเป็นเพราะทั้งสองสองปัจจัย

ช่วงที่คุณเกษมพัฒน์ออกมา ซึ่งเป็นฉากที่จูเลียตออกมาที่ระเบียงนั้น เรารู้สึกว่ามันพีคมากๆ ไม่รู้เป็นเพราะอะไร แต่ดูฉากนี้แล้วแทบร้องไห้ ทั้งๆที่ฉากนี้ไม่ใช่ฉากเศร้า และเราไม่เคยรู้สึกอินอะไรกับฉากนี้มาก่อนในการดู ROMEO AND JULIET หลายเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้

2.เราว่าการใช้พระราชนิพนธ์ของร.6 เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เราไม่ได้ชอบละครเรื่องนี้มากนัก (แต่มันอาจจะเป็นสิ่งที่ดีกับผู้ชมคนอื่นๆก็ได้นะ) เพราะว่า

2.1 ถ้าเราจำไม่ผิด เราเคยดูละคร ROMEO AND JULIET เวอร์ชั่นที่ดัดแปลงมาจากพระราชนิพนธ์ของร. 6 มาแล้ว โดยในตอนนั้นจัดแสดงโดยกลุ่มหน้ากากเปลือยในชื่อเรื่องว่า “เจ้าหญิงหมาป่ากับเจ้าชายรัตติกาล” (2009, A-) เพราะฉะนั้นการได้ดูอะไรแบบนี้ซ้ำอีกก็เลยทำให้เรารู้สึกเบื่อ

2.2 เราว่าคุณพิศาลกับคุณเกษมพัฒน์พูดบทกลอนของร.6 ออกมาได้ดีสุดๆ คือเหมือนกับว่าทั้งสองคนนี้ใช้ approach อะไรบางอย่างที่ลงตัวสุดๆกับการแสดงละครเวทีแบบใช้บทกลอนแบบนี้ แต่การแสดงของคนอื่นๆโดยเฉพาะของฟลุก ธีรภัทร โลหนันท์ในบทพระเอกนั้น มันทำให้เรารู้สึกว่า พวกเขาพูดกลอนได้ดี, คล่อง, สื่ออารมณ์ความรู้สึกได้ดีในระดับนึง แต่ในขณะเดียวกัน มันก็ทำให้เราอดจินตนาการไม่ได้ว่า ถ้าหากพวกเขาแสดงละครเวทีเรื่องนี้ โดยไม่ต้องพูดเป็นกลอน แต่ใช้ dialogue แบบสมจริง หรือแบบดราม่าเล็กน้อย มันอาจจะออกมาเข้าทางเรามากกว่านี้มากๆ คือเราจินตนาการว่า ถ้าหากพวกเขาไม่ต้องพูดเป็นกลอน แต่พูดบทออกมาแบบเป็นธรรมชาติ หรือทำให้ดูเหมือนด้นสดเล็กน้อย หรืออะไรทำนองนี้ พวกเขาอาจทำให้คำแต่ละคำที่เปล่งออกมาจากปากของพวกเขา มันสามารถสื่ออารมณ์ที่ละเอียดอ่อน หรืออารมณ์ที่ลึกซึ้ง หรืออารมณ์ที่ออกมาจากก้นบึ้งของหัวใจได้ คือเรารู้สึกเหมือนกับว่าการต้องพูดเป็นบทกลอน มันกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางนักแสดงหลายคนในเรื่องนี้จากการสื่ออารมณ์ความรู้สึกแบบออกมาจากก้นบึ้งของหัวใจน่ะ

ไม่ใช่ว่าพวกเขาเล่นไม่ดีนะ เราว่าพวกเขาแสดงใช้ได้แล้วล่ะ แต่ style ของละครเรื่องนี้เป็นอุปสรรคขัดขวางพวกเขาจากการแสดงในแบบที่ตัวเองถนัดที่สุด หรือ style ของละครเรื่องนี้เป็นอุปสรรคขัดขวางเราในฐานะคนดูจากการอินไปกับอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร คือแทนที่ “คำ, น้ำเสียง และการหยุดระหว่างคำ เพราะเหมือนมีก้อนอะไรมาจุกอยู่ที่คอหอย” ที่ตัวละครพูด/แสดงออกมา จะสามารถกระทบอารมณ์ความรู้สึกของเราได้โดยตรง การพูดเป็นกลอนมันทำให้นักแสดงไม่สามารถสื่อความรู้สึกออกมาได้แบบเป็นธรรมชาติ และมันทำให้เราในฐานะคนดูต้อง “แปลจากร้อยกรองกลับมาเป็นร้อยแก้ว” ในหัวเป็นเวลาระยะนึงด้วย เพราะฉะนั้นอารมณ์ความรู้สึกที่เราได้รับจากละครเรื่องนี้จึงสูญหายไปเยอะพอสมควรเพราะกลอนเป็นอุปสรรค

3.นอกจากการแสดงของคุณเกษมพัฒน์แล้ว สิ่งที่เราชอบเป็นอันดับสองในละครเรื่องนี้ก็คือมันกระตุ้นให้เราตั้งคำถามต่างๆต่อเรื่องราวของ ROMEO AND JULIET

คือตอนที่เราดูละครเรื่องนี้จบ เราพบว่าเราไม่เข้าใจละครเรื่องนี้ทั้งหมดนะ เรางงๆเล็กน้อยกับตอนจบ ไม่เข้าใจว่าละครต้องการจะสื่ออะไรกันแน่ แต่นั่นไม่ได้สำคัญมากสำหรับเรา คือถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้เข้าใจละครเรื่องนี้ซะทีเดียว แต่มันก็ทำให้เราคิดตั้งคำถามต่างๆมากมาย อย่างเช่น

3.1 ความรักของโรมีโอ เป็นเพียงแค่ความหลงชั่วครู่ชั่วยาม หรือเป็นเพียงแค่ตัณหาราคะที่ทำให้หน้ามืดตามัวเพียงแค่ชั่วครู่ชั่วยามหรือเปล่า

3.2 ความรักของ Romeo กับ Juliet เกิดขึ้นในเวลาที่สั้นมาก เพราะฉะนั้นถ้าหากทั้งสองไม่ตาย แล้ว Romeo ได้เรียนรู้แง่มุมอื่นๆของจูเลียต เขาจะยังรักจูเลียตเหมือนเดิมหรือเปล่า คือมันเหมือนกับว่าโรมีโอได้รู้จักจูเลียตเพียงแค่ด้านที่งดงามที่สุดเท่านั้น ซึ่งด้านนั้นอาจจะเป็นเพียงแค่ 20 % ของ “ความเป็นมนุษย์ทั้งหมดของจูเลียต” แต่ถ้าหากทั้งสองได้อยู่ด้วยกันต่อไป โรมีโอก็จะได้รู้จักกับ 80% ที่เหลือของจูเลียต แล้วเขาจะยังรักจูเลียตเหมือนเดิมไหม

3.3 ถ้าทั้งสองไม่ตาย แล้วอยู่ด้วยกันต่อไปอีกสัก 5-10 ปี มันก็ไม่แน่ว่า โรมีโออาจจะเริ่มนอกใจจูเลียตเพราะเขาเกิดรักแรกพบกับหญิงสาวคนใหม่ขึ้นมาก็เป็นได้

4.ตัวละครเทวดาในเรื่องนี้ ทำให้เรานึกถึงปีศาจใน FAUST ด้วย และเราก็ชอบไอเดียที่เหมือนมีการผสม FAUST เข้ากับ ROMEO AND JULIET

5.แต่ถึงแม้เราจะชอบ “ไอเดีย” ของละครเรื่องนี้อย่างมากๆ ที่เหมือนเป็นการตั้งคำถามต่อแง่มุมบางอย่างใน ROMEO AND JULIET เรากลับพบว่าเรารู้สึกเบื่อขณะดูละครเรื่องนี้ (ยกเว้นในฉากของคุณเกษมพัฒน์) มันเหมือนกับว่าละครเรื่องนี้มีไอเดียที่ดี แต่วิธีการนำเสนอหรือ execution of idea มันไม่เข้าทางเราสักเท่าไหร่

ความเบื่อหน่ายของเรามันเกิดจากการต้องดูเรื่องราวใน ROMEO AND JULIET ซ้ำน่ะ ซึ่งผู้ชมคนอื่นๆอาจจะไม่รู้สึกเหมือนเรา แต่เรารู้สึกเบื่อเรื่องราวใน ROMEO AND JULIET มากๆ เพราะเมื่อไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ เราเพิ่งดูหนังสองเรื่องที่ดัดแปลงจากบทประพันธ์นี้ของเชคสเปียร์เหมือนกัน ซึ่งก็คือเรื่อง RAM LEELA (2013, Sanjay Leela Bhansali, India) กับเรื่อง ROMEO AND JULIET (2013, Carlo Carlei) เพราะฉะนั้นการต้องมาดู ROMEO AND JULIET เวอร์ชั่นที่ 3 ภายในเวลาไล่เลี่ยกันแบบนี้ มันเลยทำให้เรารู้สึกเบื่อมาก แต่ผู้ชมคนอื่นๆที่ไม่ได้ดูอะไรแบบนี้ในเวลาไล่เลี่ยกันเหมือนเรา คงจะไม่รู้สึกเบื่อเหมือนเรา

6.ดูจบแล้วเราก็ตั้งคำถามต่อตัวเราเองเหมือนกันว่า แล้วละครแบบไหนที่จะเข้าทางเรา เราคิดว่าละครแบบที่ตั้งคำถามต่อบทประพันธ์ชื่อดังหรือตัวละครชื่อดังนั้น มันจะเข้าทางเราถ้าหากมันตัดตัวบทประพันธ์เดิมทิ้งไปเลย คือไม่ต้องเล่าเรื่องเดิมซ้ำอีกแล้ว แล้วก็สร้างละครเรื่องใหม่ขึ้นมาโดยเอาตัวละครชื่อดังตัวนั้นมาใช้ คือเรานึกถึงละครอย่าง

6.1 LOST GIRLZ (2008, นินาท บุญโพธิ์ทอง) ที่เป็นการเอาตัวละครประเภทซินเดอเรลล่า, เจ้าหญิงนิทรา, สโนว์ไวท์มาปะทะกัน

6.2 สีดา-ศรีราม? (พรรัตน์ ดำรุง, A+30) ที่เอาตัวละครประเภทสีดา, นางสำมนักขา มาดัดแปลงใหม่ โดยเอามาเปรียบเทียบกับบทบาทผู้หญิงในยุคปัจจุบัน โดยไม่ต้องเล่าเรื่องของนางสีดาและนางสำมนักขาซ้ำใหม่

6.3 นางร้ายในลงกา (นิกร แซ่ตั้ง, A+30) ที่เป็นการเอาตัวละครในรามเกียรติ์มาปะทะกัน โดยเหมือนกับตัดเอาเรื่องราวในรามเกียรติ์ทิ้งไปเลย ไม่ต้องเล่าซ้ำ แค่เอาตัวละครมาใช้เท่านั้น

คือเราว่าช่วงที่เป็นการ intervene เข้าไปในบทประพันธ์เดิมใน ROMEO THE GREATEST LOVER เป็นช่วงที่เราชอบ แต่ช่วงที่เป็นการเล่าเนื้อเรื่องดั้งเดิมเป็นช่วงที่เราเบื่อมาก เราก็เลยคิดว่า บางทีละครเรื่องนี้อาจจะเข้าทางเรามากยิ่งขึ้นก็ได้ ถ้าหาก

1.มันตัดเนื้อเรื่องเดิมทิ้งไปเลย แบบละครเวทีเรื่องอื่นๆที่เรายกตัวอย่างมาข้างต้น
2.ทำเป็นละครซ้อนละคร โดยอาจจะเป็นเรื่องของนักศึกษามหาลัยกลุ่มหนึ่งที่ดู ROMEO AND JULIET แล้วนักศึกษากลุ่มนี้ก็พูดคุยกันเองเพื่อเปรียบเทียบวิเคราะห์ตัวละครโรมีโอ โดยนำมาเทียบกับไอ้ขวัญในแผลเก่า, โกโบริในคู่กรรม, พี่มากในแม่นาค, ฯลฯ โดยที่นักศึกษาแต่ละคนในกลุ่มนี้ต่างก็มีปมความรักในใจตัวเองอยู่ด้วย คือถ้าใช้วิธีการแบบนี้ ระดับการ intervene เข้าไปในบทประพันธ์เดิมมันจะกลายเป็นสิ่งที่สำคัญสุดๆ และมันจะกลายเป็นละครที่เข้าทางเรา

สรุปว่าเราเบื่อเนื้อหาของ ROMEO AND JULIET มากๆ แต่เราชอบไอเดียบางอย่างใน ROMEO THE GREATEST LOVER และเราชอบการแสดงของคุณเกษมพัฒน์ในเรื่องนี้อย่างสุดๆ




Monday, August 25, 2014

THIS YEAR IN CZERNOWITZ (2004, Volker Koepp, documentary, Germany/Ukraine, 133min, A+30)


THIS YEAR IN CZERNOWITZ (2004, Volker Koepp, documentary, Germany/Ukraine, 133min, A+30)

นี่เป็นหนังสารคดีเรื่องที่ 3 ของ Volker Koepp ที่เราได้ดู และทุกเรื่องได้ A+30 หมด อีกสองเรื่องที่เราได้ดูก็คือ WITTSTOCK, WITTSTOCK (1999) ที่ตามถ่ายชีวิตผู้หญิง 3 คนในเยอรมันตะวันออกเป็นเวลาราว 30 ปี กับเรื่อง COLD HOMELAND (1995) ที่ทำให้เราร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง

THIS YEAR IN CZERNOWITZ ก็ทำให้เราร้องไห้เช่นกัน โดยไม่รู้เหมือนกันว่าร้องไห้ทำไม แต่มันโดนเราอย่างรุนแรงมากๆ

Czernowitz เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์น่าสนใจมาก เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 มันเคยเป็นของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ก่อนจะตกเป็นของโรมาเนียในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แล้วก็ตกเป็นของโซเวียตแป๊บนึง ก่อนที่โรมาเนียกับนาซีจะร่วมมือกันยึดไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และฆ่าชาวยิวตายไปหลายแสนคน หลังจากนั้นมันก็กลับคืนเป็นของโซเวียต และกลายเป็นเมืองในยูเครนในปัจจุบัน

หนังเรื่องนี้สัมภาษณ์ผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ และผู้คนที่เคยมีบรรพบุรุษอาศัยอยู่ในเมืองนี้ และเรื่องราวของแต่ละคนมันรุนแรงมากๆ

ฉากนึงที่ประทับใจสุดๆคือฉากที่ชายแก่สองคนยืนกอดกัน เพราะสองคนนี้คงเคยเป็นเพื่อนกันช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง คนนึงเป็นชาวยิวที่เคยมีสมาชิกครอบครัวถูกฆ่าตายไปหลายคนในช่วงสงคราม ส่วนอีกคนเราไม่แน่ใจว่าเป็นคนชาติอะไร ชายคนที่สองพูดเล่าประวัติตัวเองไปเรื่อยๆ แต่พอเขาเล่าว่าพี่สาวของเขาไปเยอรมนีในปี 1940 เขาก็หยุดชะงักไปแป๊บนึง เราเข้าใจว่าพี่สาวเขาคงเป็นนาซี และเขาคงไม่กล้าพูดเรื่องนี้ต่อเพราะมันจะสะเทือนใจเพื่อนเขาที่ถูกพวกนาซีฆ่าล้างโคตร แต่เพื่อนเขามองเขาอย่างเข้าใจและพูดว่า It’s all right. It’s all right. อากัปกิริยาที่ทั้งสองคนแสดงออกต่อกันในตอนนั้นมันเป็น magical moment สำหรับเรามากๆ

ส่วนฉากที่อยู่ในรูปนี้คือฉากที่ชายในรูปเล่าให้ฟังว่า ยายของเขาที่เป็นคนตาบอดถูกฆ่าตายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองโดยถูกพวกนาซีจับโยนจากรถไฟ



Sunday, August 24, 2014

Films seen on 23-24 August, 2014


Films seen on 23-24 August, 2014

1.JOE (2013, David Gordon Green, A+25)

2.MARDAANI (2014, Pradeep Sarkar, India, A+20)

3.DISGRACE (2008, Steve Jacobs, A+15)

4.WHEN YOU’RE STRANGE (2009, Tom DiCillo, documentary, A+10)

5.THE DOORS (1991, Oliver Stone, A+5)

The photo comes from the lecture at Reading Room about DISGRACE.



MY LIFE DURING WARTIME

MY LIFE DURING WARTIME

SUN 24 AUG
1230 THE DOORS @THAMMASAT
1450 WHEN YOU’RE STRANGE (86min)
1720 JOE @centralworld ถ้ามาดูทัน

MONDAY 25 AUG
ทยอยสะสางงานที่คั่งค้างมาตั้งแต่เดือนพ.ค.,มิ.ย.,ก.ค.,ส.ค. (ชีวิตล่มมากค่ะในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา)

TUESDAY 26 AUG
1800 THE POPE’S TOILET (2007, César Charlone + Enrique Fernández, Uruguay/Brazil) @bacc

WEDNESDAY 27 AUG
1900 EARLY ONE MORNING (2011, Jean-Marc Moutout) @alliance

THURSDAY 28 AUG
1500 EXPERIMENTAL VIDEO ART EXHIBITION @7TH FLOOR BACC
1830 ARCHIVE EX 1

FRIDAY 29 AUG
1700 CLERMONT FERRAND
1900 ศรีบูรพา บันทึกแห่งอิสรา

SAT 30 AUG
1100 JENESYS 2.0
1500 INTER 2
1700 DIGITAL FORUM 1
1830 FRENCH CONNECTION

SUN 31 AUG
1100 ดุ๊ก 1 (ดูเฉพาะ “ไก่ชน”)
1300-1830 SPECIAL PRESENTATION

MONDAY 1 SEP
2000 LITTLE ROOM IN ETIENNE MARCEL @THE JAM FACTORY

TUESDAY 2 SEP
1830 INTER 1

WEDNESDAY 3 SEP
1700 S-EXPRESS PHILIPPINES
1830 LETTERS FROM THE SOUTH

THURSDAY 4 SEP
1830 ELECTRIC EEL TRAINEE SHOWCASE

FRIDAY 5 SEP
1700 S-EXRESS INDONESIA
1830 INTER 3

SATURDAY 6 SEP
1300 S-EXPRESS MALAYSIA
1500 S-EXPRESS SINGAPORE
1700 ARCHIVE EX 2
1830 QUEER

SUNDAY 7 SEP
1230 MY WAY HOME (1978, Bill Douglas)@thammasat

1400 THE BEST INTENTIONS (1992, Bille August) @thammasat

Friday, August 22, 2014

KRISTY (2014, Oliver Blackburn, A+30)

KRISTY (2014, Oliver Blackburn, A+30)

ตายแล้วววววววววววววว ดิฉันอินกับหนังแบบนี้มากค่ะ ดูแล้วนึกถึงความสุขตอนเด็กๆเวลาดูหนังอย่าง HALLOWEEN II (1981, Rick Rosenthal) และ TRAPPED (1989, Fred Walton) ที่เป็นเรื่องของหญิงสาวที่ต้องต่อสู้กับฆาตกรโรคจิตภายในเวลาหนึ่งคืนในสถานที่จำกัดเหมือนกัน โดย HALLOWEEN II ใช้สถานที่เป็นโรงพยาบาล ส่วน TRAPPED ใช้สถานที่เป็นอาคารสำนักงาน ทางด้าน KRISTY ใช้สถานที่เป็นมหาวิทยาลัย

ประหลาดใจเหมือนกันที่เราอินกับ KRISTY, HALLOWEEN II และ TRAPPED มากๆ แต่ไม่ค่อยอินกับ P2 (2007, Franck Khalfoun) มากนัก ทั้งๆที่มันเป็นหนังกลุ่มเดียวกัน ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม

ชอบดนตรีประกอบของหนังเรื่องนี้มากๆ มันทำให้นึกถึงหนังสยองขวัญยุคปลายทศวรรษ 1970-ต้นทศวรรษ 1980

ชอบการเคลื่อนกล้องในบางฉากมากๆ ทั้งการเคลื่อนกล้องขึ้นสูงในช่วงต้นเรื่อง เพื่อให้ผู้ชมเห็นวิทยาเขตได้ทั้งหมด โดยการมองจากมุมสูงในบางฉากในหนังเรื่องนี้ ยังทำให้นึกถึงมุมมองของพระเจ้า และการที่ตัวละครบางตัวตั้งคำถามเกี่ยวกับพระเจ้าด้วย

แต่การเคลื่อนกล้องที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้อยู่ในช่วงกลางเรื่อง เราจำรายละเอียดไม่ได้แน่นอน ถ้าเราจำไม่ผิด ในฉากนั้นกล้องจะเคลื่อนประมาณ 180 องศาไปด้านหลังของนางเอก และจบลงด้วยการที่คนดูได้เห็น “ใบหน้าอีกซีกนึง” ของนางเอก เรารู้สึกว่าการเคลื่อนกล้องในฉากนั้นส่งผลกระทบทางอารมณ์กับเราอย่างรุนแรงมากๆ




Wednesday, August 20, 2014

THE SWIMMERS (2014, Sopon Sukdapisit, A+20)

THE SWIMMERS (2014, Sopon Sukdapisit, A+20)
 
SPOILERS ALERT:
 
 
 
 
 
ตอนแรกไม่เคยคิดจะเขียนถึงหนังเรื่องนี้ เพราะดูเหมือนหนังจะดังมากพอแล้ว แต่พอดีมีเพื่อนถามว่า “แอบอยากรู้ว่าน้องจิตรคิดยังไงกับ ฝากไว้ในกายเธอ ครับ หมายถึงหนังนะฮะ ไม่ใช่นมน้องมาร์ช
 
เราก็เลยเขียนตอบเพื่อนไปดังนี้ 555:
 
ก็เป็นหนังที่ชอบมากนะครับ สาเหตุเป็นเพราะ
 
1.ความหล่อของนักแสดงนำชายสองคนน่ะแหละ เพราะเราไม่เคยดู HORMONES มาก่อนเลย และเราว่าหนังเรื่องนี้ใช้ประโยชน์จากเสน่ห์ทางเพศของนักแสดงนำชายสองคนได้อย่างเต็มที่ 555  เราว่าน้องมาร์ชมีเสน่ห์มากๆเวลาเล่นหนัง (ในสายตาของเรา) คือเวลาเขาถ่ายแบบเป็นภาพนิ่ง ภาพนิ่งมันไม่สามารถดึงเสน่ห์ของเขาออกมาได้มากนัก เพราะเสน่ห์ของเขามันอยู่ที่การเล่นหูเล่นตาของเขาเวลาแสดงหนัง
 
2.สิ่งที่เราชอบมากในหนังเรื่องนี้ก็คือว่ามันจบผิดคาดจากที่เราคิดไว้มาก คือเราไม่นึกว่าคนเลว (เพิร์ธ) จะเป็นผู้ชนะในตอนจบน่ะ เรานึกว่าหนังมันจะลงโทษคนเลวแบบจริงๆจังๆกว่านี้ คือในตอนจบของหนังเรื่องนี้ เพิร์ธจะถูกหลอกหลอนด้วยความรู้สึกผิดบาปในใจตลอดไป แต่เขาก็ประสบความสำเร็จในด้านอื่นๆของชีวิตเป็นอย่างดี ซึ่งมันเป็นตอนจบแบบที่เราไม่ได้คาดไว้ การจบแบบที่คนเลวเป็นผู้ชนะแบบนี้ (ถึงแม้จะชนะไม่ 100%) มันเป็นสิ่งที่เราชอบมากๆ เพราะเราว่ามันสะท้อนสังคมได้ดี และมันผิดไปจากที่เราคาดไว้ด้วย
 
คือในตอนแรกเรานึกว่ามันจะจบแบบ A KISS BEFORE DYING (1991, James Dearden) น่ะ ซึ่งมันสร้างจากนิยายของ Ira Levin และเราเคยอ่านตัวนิยายในบางส่วนด้วยเหมือนกัน คือตอนที่เราดู THE SWIMMERS เราจะนึกถึง A KISS BEFORE DYING มากๆ เพราะมันเล่าเรื่องผ่านทางมุมมองของพระเอกที่เป็นคนเลวเหมือนกัน (ในตัวนิยายจะมีการเล่าเรื่องผ่านทาง 3 มุมมอง ถ้าจำไม่ผิด ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นมุมมองของพระเอกที่เป็นคนเลว) แต่ A KISS BEFORE DYING จบลงด้วยการที่คนเลวเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เราก็เลยนึกว่า THE SWIMMERS จะจบแบบเดียวกัน พอมันจบไปอีกทางนึง เราก็เลยผิดคาดมากๆ
 
3.สิ่งที่ชอบสุดๆในหนังเรื่องนี้ก็คือมันทำให้เรารู้สึก guilty pleasure ในสองระดับ โดย guilty pleasure ระดับแรกเป็นสิ่งที่เราเจอบ่อยๆ นั่นก็คือการที่หนังดึงเสน่ห์ทางเพศของนักแสดงชายออกมาได้เต็มที่ แต่ความรู้สึก guilty อันที่สองเป็นสิ่งที่เราเจอไม่บ่อยนักในหนังไทย นั่นก็คือมันทำให้เรารู้สึก “แปดเปื้อน” ในใจตลอดเวลา เพราะขณะที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราจะรู้สึกเอาใจช่วยเพิร์ธและเกลียดชังเพิร์ธไปด้วยในขณะเดียวกัน คือขณะที่ดูหนัง เราจะรู้สึกว่าเพิร์ธเลวมากๆ แต่เราก็อดเอาใจช่วยเขาไม่ได้ในบางครั้ง
คือในขณะที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราจะรู้สึก “อยากให้เพิร์ธรอด” กับ “อยากให้เพิร์ธตาย” พร้อมๆกันในเวลาเดียวกันน่ะ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนักเวลาเราดูหนัง แล้วเราจะรู้สึกตรงข้ามกันในเวลาเดียวกันเกือบตลอดเวลาแบบนี้ คือเราอยากให้ตัวละครตัวนี้ตายเพราะเรารู้ว่าตัวละครตัวนี้เลว แต่การที่หนังเล่าเรื่องผ่านทางมุมมองของตัวละครตัวนี้ แล้วสร้างเสน่ห์ให้กับตัวละครตัวนี้แบบสุดๆ รวมทั้งการที่เราไม่ได้มองว่าตัวละครตัวนี้เป็นคนเลวแบบสุดๆในช่วงต้นเรื่อง มันก็เลยทำให้เราอดเอาใจช่วยตัวละครตัวนี้ไปด้วยไม่ได้
 
เพราะฉะนั้นเวลาที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยรู้สึก guilty เพราะเรารู้ว่าเราเอาใจช่วยคนเลวในระดับนึง และความ guilty นั้นก็ทำให้เรารู้สึกแปดเปื้อนในใจแบบแปลกๆ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เราไม่ได้รู้สึกบ่อยครั้งนักกับหนังเรื่องอื่นๆ
 
การที่เราเอาใจช่วยคนเลวในหนังเรื่องนี้ มันเป็นเพราะว่าตัวละครเพิร์ธมันดูเลวแบบโง่ๆนิดนึงด้วย คือถ้ามันฉลาดเกินไป เราอาจจะไม่เอาใจช่วยมันมากเท่านี้ และมันก็มีหนังหลายๆเรื่องแหละ ที่มันเล่าเรื่องผ่านทางมุมมองของคนเลวในบางส่วน อย่างเช่น FRENZY (1972, Alfred Hitchcock) และ PEEPING TOM (1960, Michael Powell) แต่เราไม่ได้เอาใจช่วยคนเลวในหนังสองเรื่องนี้ เพราะมันเป็นฆาตกรโรคจิตที่น่ากลัวมาก และเราก็ไม่ได้เอาใจช่วยพระเอกที่เป็นคนเลวใน MATCH POINT (2005, Woody Allen) กับใน A KISS BEFORE DYING ด้วย ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมเราถึงไม่เอาใจช่วยหนุ่มหล่อเลวสองคนใน MATCH POINT กับ A KISS BEFORE DYING แต่กลับเอาใจช่วยคนเลวใน THE SWIMMERS ให้รอดจากสถานการณ์คับขันในบางครั้ง
 
ความรู้สึก guilty แบบนี้เราเจอไม่บ่อยครั้งนัก เราก็เลยรู้สึกว่ามันยากพอสมควรในการจะสร้างตัวละครคนเลวที่ทำให้เรารู้สึกทั้งรักทั้งเกลียดตลอดเวลาแบบนี้ ถ้าหากจะถามว่ามีตัวละครตัวไหนที่เคยทำให้เรารู้สึกแบบนี้บ้าง นั่นก็คือตัวละคร อีฟ” ในมินิซีรีส์เรื่อง MASTER OF THE GAME (1984, Kevin Connor + Harvey Hart, 413min, A+30) โดยตัวละครตัวนี้เป็นหญิงสาวเจ้าเล่ห์ที่พยายามวางแผนฆ่าน้องสาวของตัวเองตลอดเวลา เธอเป็นตัวละครที่ชั่วสุดๆ แต่เธอก็เป็นตัวละครที่มีเสน่ห์มากๆในขณะเดียวกัน และเวลาที่เราดูมินิซีรีส์เรื่องนี้ เราก็จะรู้สึกคล้ายๆกับที่ดู THE SWIMMERS นั่นก็คือเราจะรู้สึก “อยากให้อีฟตาย” กับ “อยากให้อีฟรอด” พร้อมๆกันในเวลาเดียวกัน
 
(แต่ตัวละครอีฟกับเพิร์ธก็แตกต่างกันมากๆในบางจุดนะ เพราะอีฟเป็นตัวละครที่ฉลาดสุดๆ และคู่ปรับของอีฟเป็นคุณย่าของเธอ ซึ่งก็เป็นผู้หญิงที่เลวและฉลาดสุดๆเหมือนกัน ในขณะที่คู่ปรับของเพิร์ธไม่ใช่คนที่ดูเลวมากนัก การเอาใจช่วยของเราที่มีต่ออีฟกับเพิร์ธก็เลยต่างกันเล็กน้อย เพราะอีฟเป็นตัวละครที่ต้องตบตีกับหญิงเลวด้วยกันเอง)
 
4.ชอบตัวละครมิ้นท์ (วิโอเล็ต วอเทียร์) มากๆ เราอินกับตัวละครตัวนี้ที่สุด และเราก็เลยชอบสุดๆที่ตัวละครตัวนี้ไม่ได้ถูกลงโทษในหนังเรื่องนี้ คือเรานึกว่าตัวละครผู้หญิงแบบนี้ เวลาอยู่ในหนังไทย จะต้องถูกลงโทษไง แต่ปรากฏว่าตัวละครตัวนี้ทำในสิ่งที่เราต้องการ และก็ได้ในสิ่งที่เราต้องการด้วย นั่นก็คือการมีเซ็กส์กับเพิร์ธไปเรื่อยๆ เราก็เลยแฮปปี้กับจุดนี้มากๆ
 
ฉากที่ติดตาเรามากที่สุดฉากนึงในหนังเรื่องนี้ ก็คือฉากที่มิ้นท์มองเพิร์ธด้วยสายตาเหมือนจะสำรวจความจริงอะไรสักอย่าง ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมเราถึงติดตากับฉากนี้มากๆ
 
5.อีกสิ่งที่เราชอบสุดๆในหนังเรื่องนี้ ก็คือการกินไข่อย่างบ้าคลั่งกับการมโนว่าตัวเองตั้งครรภ์นั่นแหละ คือการกินไข่อย่างบ้าคลั่งในหนังเรื่องนี้มันกระทบอารมณ์ความรู้สึกของเราอย่างรุนแรงกว่าฉากผีทุกฉากในหนังเรื่องนี้ซะอีก คือเราว่าฉากผีในหนังเรื่องนี้มันธรรมดามากๆ มันไม่มีอะไรน่าจดจำสำหรับเรา แต่การกินไข่อย่างบ้าคลั่งในหนังเรื่องนี้มันกระทบเราอย่างรุนแรงกว่ามาก
 
เรารู้สึกเหมือนได้รับ pleasure แบบแปลกๆนะกับการกินไข่ในหนังเรื่องนี้ เราก็เลยมีทฤษฎีว่า บางที pleasure แบบแปลกๆที่เรารู้สึกนี้ เป็นเพราะว่ามันตอบสนองแฟนตาซีทางเพศของเรา คือการได้เห็นหนุ่มหล่อกินน้ำข้นๆเหนียวๆเยิ้มๆเป็นปริมาณมากๆ แล้วหลังจากนั้นก็มโนว่าตัวเองตั้งครรภ์น่ะ มันเหมือนกับการตอบสนองแฟนตาซีทางเพศของเราในการกิน sperm ของผู้ชายเข้าไปแล้วก็ตั้งครรภ์ 55555
 
สรุปว่าที่เราชอบ THE SWIMMERS มากๆเป็นเพราะว่าเราหลงใหลในความหล่อของนักแสดงชาย, เรารู้สึก “อยากให้เพิร์ธตาย” กับ “อยากให้เพิร์ธรอด” พร้อมๆกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่รู้สึกกับหนังเรื่องอื่นๆ และการที่หนังตอบสนองแฟนตาซีทางเพศของเราในการกินน้ำข้นๆเหนียวๆเยิ้มๆแล้วก็ตั้งครรภ์