Thursday, October 29, 2015

WHITE GOD (2014, Kornél Mundruczó, Hungary, A+30)

WHITE GOD (2014, Kornél Mundruczó, Hungary, A+30)

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.พอดูถึงตอนจบของหนังเรื่องนี้ เราก็นึกถึงสิ่งที่คุณ Ratchapoom Boonbunchachoke เขียนถึงหนังเรื่อง SICARIO (2015, Denis Villeneuve) ขึ้นมาเลย โดยคุณอุ้ยเขียนว่า

โดยปกติตามโครงสร้างหนังทั่วไป ถ้า plot a คือภารกิจหลักที่หนังต้องดำเนิน ส่วน plot b คือพล็อทรองที่ช่วยเผยแง่มุมตัวละครในเชิงลึก ให้เราเห้นว่าจริง ๆ เขาเป้นคนอย่างไร ถ้า plot a เดินเรื่องไปข้างหน้า plot b ก็จะเดินในแนวดิ่ง ขุดลึกลงไป 


โดยปกติ plot b จะตัดกับ plot a ในจุดที่ว่า ตัวละครหลักที่มัวแต่เดินเรื่องพล็อทเอ จนถึงทางตัน เขานึกหาทางออกไม่ได้ แต่สิ่งที่เขาสร้างหรือเดินเรื่องกับพล็อทบี อันมักจะเป็นเส้นความสัมพันธ์ เส้นที่ทำให้เราเห้นความเป็นมนุษย์ของเขา ตัวละครรองในพล็อทบีจะปรากฏขึ้นมาและบอกหลักธรรมคำสอนอะไรบางอย่าง แล้วตัวละครหลักก็จะปิ๊ง แล้วเดินกลับไปสู่กับอุปสรรคในพล็อทเอจนชนะ นี่คือจุดตัดกันของพล็อทเอและบี

เราว่า WHITE GOD เหมือนเป็นตัวอย่างที่ดีอันนึงของพล็อตเรื่องสไตล์ข้างต้นเลย คือ plot a ของ WHITE GOD อาจจะเป็นเรื่องการผจญภัยของหมา แต่ plot b ของเรื่องคือปัญหาในการฝึกซ้อมดนตรีของนางเอก ซึ่งอยู่ดีๆในฉากคับขันหรือฉากไคลแมกซ์ช่วงท้ายของเรื่อง สิ่งที่นางเอกสั่งสมไว้ใน plot b ก็ช่วยให้นางเอกเอาชีวิตรอดใน plot a ของเรื่องได้ 555

2.ดูแล้วนึกถึงหนังหลายๆเรื่องนะ โดยหลักๆแล้วจะรู้สึกว่ามันเหมือนเป็นการผสมผสานเนื้อเรื่องแบบ AU HASARD, BALTHAZAR (1966, Robert Bresson)  กับ THE BIRDS (1963, Alfred Hitchcock) เข้าด้วยกัน พร้อมกับใส่ประเด็นการเมืองเรื่องเชื้อชาติเข้าไปด้วย โดย THE BIRDS นั้นทุกคนคงรู้จักกันดีอยู่แล้ว ส่วน AU HASARD, BALTHAZAR นั้นเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างลากับเด็กสาวคนนึง โดยลากับเด็กสาวจะเคยอยู่ด้วยกันระยะนึง แล้วลาตัวนั้นก็ต้องจากเด็กสาวไปเพื่อไปเผชิญกับชีวิตระหกระเหิน เจอเจ้านายเหี้ยๆห่าๆ ตกระกำลำบาก เปลี่ยนเจ้าของไปเรื่อยๆ ถูก abuse ไปเรื่อยๆเหมือนกับสุนัขใน WHITE GOD ส่วนเด็กสาวใน AU HASARD, BALTHAZAR ก็เจออะไรเหี้ยๆห่าๆในชีวิตคล้ายกับเด็กหญิงใน WHITE GOD

3.การกำกับสุนัขทำออกมาได้ดีมาก และจริงๆแล้วเราเป็นคนเกลียดสุนัขนะ ตอนก่อนที่เราจะไปดูหนังเรื่องนี้ เราก็ไม่แน่ใจว่าเราจะชอบหนังหรือเปล่า เพราะถ้าหากมันเป็นหนังที่ “เน้นขายความน่ารักของสุนัข” หรือหนังที่ “เน้นด่าคนเกลียดสุนัข” เราก็คงจะไม่ค่อยชอบหนังเรื่องนี้แน่ๆ แต่โชคดีที่ WHITE GOD ไม่ได้เข้าข่ายสองอย่างข้างต้น คือ “คนเกลียดสุนัข” ในหนังเรื่องนี้ มันค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นสัญลักษณ์แทนคนเกลียดผู้อพยพหรือชาวต่างชาติหรือะไรทำนองนั้นน่ะ เราก็เลยไม่รู้สึกว่าเราโดนด่าขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ 555

4.จริงๆแล้วตอนจบทำออกมาได้น่าประทับใจในระดับนึงนะ การเล่นดนตรีในฉากจบทำให้เรานึกถึงฉากที่บาทหลวงเป่าโอโบเพื่อกล่อมคนป่าอะเมซอนใน THE MISSION (1986, Roland Joffé) ด้วย เพราะหนังสองเรื่องนี้ต่างก็ใช้ดนตรีเป็นภาษาสากลในการสื่อสารระหว่างคนต่างชาติต่างภาษาเหมือนกัน

อย่างไรก็ดี ฉากจบของ WHITE GOD ทำให้เรารู้สึกหยึยๆอย่างบอกไม่ถูกนิดนึงน่ะ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร

ก่อนหน้านี้เราเคยดูหนังของ Kornél Mundruczó อีกแค่เรื่องเดียว ซึ่งก็คือ PLEASANT DAYS (2002) ซึ่งก็เป็นหนังที่เราชอบมากๆเหมือนกัน แต่เหมือนมันมีอะไรสักอย่างในหนังสองเรื่องนี้ ที่ไม่ทำให้เราชอบมันจนถึงขั้นที่จะติดอันดับประจำปี โดยตอนจบของ PLEASANT DAYS ก็ทำให้เรารู้สึกก้ำกึ่งเล็กน้อยเหมือนตอนจบของ WHITE GOD ด้วย คือเรารู้สึกว่าตอนจบของ PLEASANT DAYS มันดี, น่าพึงพอใจ แต่ในแง่นึงมันก็เหมือนเป็นสูตรสำเร็จของหนังอาร์ตกลุ่มนึงที่ต้องจบแบบนี้ อะไรทำนองนี้

สรุปว่าหลังจากดู WHITE GOD กับ PLEASANT DAYS แล้ว เราว่า Kornél Mundruczó เป็นผู้กำกับหนังอาร์ตที่มีฝีมือพอตัวแหละ คือถ้าเทียบกับหนังอาร์ตหรือหนังเทศกาลด้วยกันแล้ว มันก็เหมือนกับว่าหนังสองเรื่องนี้ของเขาทำตามสเต็ปขั้นตอนของหนังอาร์ตได้ครบถ้วนสมบูรณ์ ขาดก็แต่เพียงคุณสมบัติสำคัญอย่างนึงที่ว่า “หนังของเขามันยังไม่สะเทือนใจเราเป็นการส่วนตัว”

5.คือถ้าหากเทียบ WHITE GOD กับ AU HASARD, BALTHAZAR แล้ว อาจจะเห็นอะไรที่น่าสนใจก็ได้นะ คือ WHITE GOD มันเป็นหนังที่มีคุณค่าในเชิงการเมืองน่ะ มันให้ความรู้สึกอะไรที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ง่าย เหมือนความรู้สึกที่เราได้จากการดู WHITE GOD มันเหมือนก้อนดินน้ำมันงดงามก้อนนึงที่เราจับขยำได้อย่างถนัดมือ แต่ AU HASARD, BALTHAZAR มันให้ความรู้สึกกึ่งๆ spiritual กับเราน่ะ มันเหมือนความรู้สึกที่ได้จาก AU HASARD, BALTHAZAR เป็นอะไรที่รุนแรงมากๆ แต่บรรยายได้ยากมากๆ มันเหมือนเป็นก๊าซพิสดารที่พอเราสูดเข้าไปแล้ว มันจะแอบฝังอยู่ในกระแสเลือด, ในสมอง และในหัวใจของเรา แล้ววันดีคืนดีมันก็จะทำให้เรารู้สึก “เจ็บปวดหัวใจ” ขึ้นมาโดยที่เราไม่รู้ตัว
  
WHITE GOD ยังมีฉายที่เอสพลานาด รัชดาภิเษกนะจ๊ะ



SICKPACKERS (2015, Nattapol Waiprib, A+20)

SICKPACKERS (2015, Nattapol Waiprib, A+20)

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.ดูจบแล้วก็ไม่แน่ใจว่าหนังต้องการจะสื่ออะไรนะ แต่ชอบที่หนังมัน “ไม่ง่าย” ดี คือรู้สึกว่าผู้กำกับต้องใจแข็งพอประมาณ ถึงจะทำหนังที่กระตุ้นความคิด หรือเซอร์เรียลหน่อยๆแบบนี้ออกมาได้ คือเราคิดว่านักศึกษามหาลัยส่วนใหญ่ เวลาเขากำกับหนัง เขาก็อาจจะเลือกทำหนังที่ส่งสารง่ายๆกับผู้ชม, ตีความได้ง่าย หรือเน้นสร้างอารมณ์สนุกสนานเฮฮากับผู้ชมที่เป็นเพื่อนนักศึกษามหาลัยด้วยกันเป็นหลักน่ะ หรือไม่ก็ทำหนังที่จะปูทางไปสู่การทำงานสร้างภาพยนตร์บันเทิงกระแสหลักในอนาคตต่อไป แต่เราว่าหนังเรื่องนี้มันดูมีความทะเยอทะยานจะสร้างอะไรที่ไม่ “เอาใจผู้ชมส่วนใหญ่” ในระดับนึง มันเหมือนกับว่าผู้สร้างหนังต้องใช้ความคิดในระดับนึง มันถึงจะออกมาเป็นหนังเรื่องนี้ได้ และหนังก็กระตุ้นให้ผู้ชมใช้ความคิดมากๆตามไปด้วย ว่าจริงๆแล้วมันเกิดอะไรขึ้นในหนัง สิ่งต่างๆในเรื่องจริงๆแล้วมันคืออะไรกันแน่

2.ซึ่งแน่นอนว่าการที่ผู้ชมแต่ละคนตีความผิดหรือเข้าใจหนังผิด ไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่อย่างใดในสายตาของเรา สิ่งสำคัญคือการกระตุ้นให้ผู้ชมใช้ความคิดต่างหาก และเราว่าหนังเรื่องนี้มันดูเปิดกว้างดีในระดับนึง เพราะเราเองก็ดูแล้วไม่แน่ใจเหมือนกันว่าหนังจะสื่อถึงอะไร

3.แล้วเวลาเราดูหนังเรื่องนี้ เราคิดถึงอะไรโดยที่หนังอาจจะตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจทำให้เราคิดถึงบ้าง สิ่งที่เราคิดถึงก็คือเรื่องของความต้องการจะหลีกหนีจากชีวิตประจำวันอันน่าเบื่อหน่ายน่ะ คือเรามองว่าตัวละครอาจจะเป็นคนที่เบื่อหน่ายชีวิตประจำวันมากๆ และมันสะท้อนออกมาในช่วงครึ่งหลังของเรื่อง เราว่าสภาพความเป็นอยู่ของเขาในโรงพยาบาลโรคจิต ที่ดูซึมกระทือมากๆ ดูไม่เป็นมิตรกับคนรอบข้างมากๆ (ยกเว้นกับเพื่อนสนิทเพียงคนเดียว) และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ก็มีเพียงแค่ดาดฟ้าธรรมดาๆท่ามกลางตึกรามมากมาย มันทำให้เราคิดถึงชีวิตประจำวันอันน่าเบื่อหน่ายน่ะ ไม่ว่าจะเป็นชีวิตของนักศึกษาที่อาจจะไม่มีความสุขกับการเรียน หรือชีวิตของพนักงานออฟฟิศที่อาจจะทำงานไปเรื่อยๆเพียงเพื่อแค่ให้ตัวเองมีเงินเลี้ยงชีพเท่านั้น

การที่ตัวละคร “หนี” ไปเที่ยวในช่วงต้นเรื่อง มันก็เลยทำให้เรานึกถึงการหลีกหนีจากสภาพความเป็นจริงอันน่าเบื่อหน่ายเพียงชั่วครู่ชั่วยามน่ะ ซึ่งคนทั่วๆไปมักจะทำด้วยการไปเที่ยวทะเล, ภูเขากับเพื่อนๆ (ส่วนเราคือการหยุดงานเพื่อดูหนังในเทศกาลหนัง) มันคือการตัด “ความรับผิดชอบ” และความกังวลต่างๆในชีวิต หรือความน่าเบื่อหน่ายของชีวิตจริงไปชั่วขณะหนึ่ง แต่แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ไม่สามารถลางานได้ตลอดไป หรือหยุดงานได้ตลอดไป พอถึงกำหนด พวกเราก็ต้องกลับมาทำงานประจำอันน่าเบื่อหน่ายในเมืองใหญ่ต่อไป

ส่วนเรื่องกุญแจมือนั้น มันทำให้เรานึกถึงความสัมพันธ์ขณะไปเที่ยวกับเพื่อนๆด้วยนะ คือบางทีมันก็รำคาญกัน อึดอัดกัน ไม่พอใจกัน อย่างเช่น อีเพื่อนบางคนอยากจะเดินช้อปปิ้งสักชั่วโมงนึง แล้วเราก็ต้องเดินตามมันไปด้วย ทั้งๆที่กูไม่ได้อยากจะช้อปปิ้งด้วยเลย อะไรทำนองนี้ แต่ถ้าหากเพื่อนที่ไปเที่ยวด้วยกัน สามารถรักษาระยะห่างกันได้เหมาะสมในสถานการณ์ต่างๆ การไปเที่ยวก็จะราบรื่นมากขึ้น

แน่นอนว่าสิ่งต่างๆข้างต้นอาจจะไม่ใช่สิ่งที่หนังต้องการจะสื่อ แต่มันเป็นสิ่งที่เราคิดขึ้นมาเองขณะดูหนังเรื่องนี้ และถึงแม้เราจะตีความผิด หรือเข้าใจหนังผิด แต่เราก็ happy แล้วที่เราได้ใช้ความคิดกับหนังเรื่องนี้ และความที่เราไม่แน่ใจว่าหนังมันต้องการจะสื่ออะไรกันแน่ ก็ทำให้หนังมันค้างคาใจเราได้นานขึ้นด้วย 555

ความรู้สึกของเราข้างต้นที่มีต่อหนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงบทกลอน BIRCHES ของ Robert Frost ด้วยนะ มันเป็นบทกลอนของคนที่เห็นต้นเบิร์ช แล้วก็อยากจะปีนต้นเบิร์ชเล่น โหนต้นเบิร์ชเล่นแบบเด็กๆ ไต่ขึ้นไปเรื่อยๆจนถึงสวรรค์ เพื่อจะได้หลีกหนีจากโลก, จากความเป็นจริง, จากความกังวลมากมาย, จากเส้นทางชีวิตที่มาถึงทางตัน, จากการร้องไห้, จากบาดแผลในชีวิต มันเป็นความรู้สึกของคนที่อยากจะหนีจากโลกไปสักระยะหนึ่ง ก่อนที่จะกลับลงมาสู่โลกอีกครั้งเพื่อสู้ชีวิตต่อไป

อ่านบทกลอน BIRCHES ได้ที่นี่นะ

4.ชอบฉากที่ถ่ายด้านหลังตัวละครสองคน ทั้งที่บนกระท่อมและที่ดาดฟ้า และก็ชอบฉากที่ตั้งกล้องนิ่งถ่ายตัวละครนั่งกันในโรงพยาบาลด้วย ฉากจูบก็ชอบมาก 555

5.ฉากจบก็คลาสสิคมาก ชอบมาก เราเดาว่ามันเป็นการฟรีซภาพนะ เพราะก้อนเมฆไม่ขยับเลย ซึ่งในความเป็นจริงก้อนเมฆมันต้องขยับใช่ไหม เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าฉากนี้จะสื่อถึงอะไร แต่เราว่ามันทรงพลังดี ที่แช่ภาพก้อนเมฆกับเสาสัญญาณอะไรสักอย่างอย่างเนิ่นนานขณะนั้น ภาพในฉากนี้มันทำให้เรานึกถึงความน่าเบื่อของชีวิตในเมืองใหญ่ หรือจริงๆแล้วเราก็ไม่แน่ใจว่าหนังเรื่องนี้มันเป็นหนังการเมือง แล้วฉากสุดท้ายมันคือสภาพของการถูกแช่แข็งทางการเมืองหรือเปล่า 555

6.การที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้เล่าเหตุการณ์ตามความเป็นจริง แต่เล่าผ่านทางการเปรียบเปรยถึงอะไรสักอย่างผ่านทางการหนีไปเที่ยวทะเลและสภาพความเป็นอยู่ในโรงพยาบาลโรคจิต มันแสดงให้เห็นว่าผู้กำกับหนังเรื่องนี้มีการใช้ความคิดอะไรบางอย่างอย่างดีพอสมควรในการคิดสร้างสถานการณ์เซอร์เรียลแบบนี้ออกมาน่ะ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าหนังต้องการจะสื่ออะไร แต่ก็อย่างที่เราเขียนไปข้างต้นแหละว่า มันทำให้เรานึกถึง “สภาพจิต” ของคนที่ต้องการหลีกหนีจากความน่าเบื่อหน่ายในชีวิตประจำวันน่ะ

แล้วมันทำให้เรานึกถึงหนังเรื่องอะไรอื่นๆอีกบ้างที่ทำให้เรารู้สึกคล้ายๆกัน หนังที่เรานึกถึงก็คือเรื่อง THE ECLIPSE (1962, Michelangelo Antonioni) กับ RED DESERT (1964, Michelangelo Antonioni) น่ะ ในแง่การสะท้อนสภาพจิตของตัวละคร ผ่านทาง landscape และสภาพแวดล้อมของตัวละครเหมือนกัน คือในหนังกลุ่มนี้สภาพจิต,อารมณ์, ความรู้สึกของตัวละครจะไม่ได้ถูกสื่อสารออกมาผ่านทางบทสนทนา หรือผ่านทางการแสดงออกโดยตรง แต่มันจะถูกสื่อออกมาผ่านทางสภาพแวดล้อมและ landscape ซึ่งหนังเรื่อง SICKPACKERS ทำให้เรานึกถึงจุดนี้เหมือนกัน ทั้งสภาพแวดล้อมที่ชายทะเล, โรงพยาบาล และดาดฟ้า ซึ่งทำหน้าที่เป็นทั้ง real landscape และ emotional landscape เหมือนกับหนังบางเรื่องของ Antonioni


7.สรุปว่าชอบหนังเรื่องนี้มากพอสมควร เราว่าในแง่เทคนิคและการแสดง หนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้โดดเด่นมากนัก แต่ในแง่การใช้ความคิดและการเลือกใช้วิธีการที่ซับซ้อนขึ้นมาหน่อยในการสื่อสาร เราว่ามันน่าสนใจมาก 

GODARD AND SHADOW OF A DOUBT

สืบเนื่องจากโพสท์ของเราก่อนหน้านี้ เพื่อนบางคนอาจจะสงสัยว่าทำไม Jean-Luc Godard ถึงด่าหนังเรื่อง SHADOW OF A DOUBT (1943, Alfred Hitchcock) เราก็เลยเอา quote เต็มๆที่ Godard เขียนมาให้อ่านค่ะ

“If SHADOW OF A DOUBT is in my opinion Hitchcock’s least good film, as M was the least good of Lang’s, it is because a cleverly constructed script is not enough to support the mise en scène. These films lack precisely what FORREIGN CORRESPONDENT (1940, Alfred Hitchcock) and MANHUNT (1941, Fritz Lang) are criticized for. Is so rare a gift really to be questioned? I believe the answer lies in the innate sense of comedy possessed by the great filmmakers. Think of the interlude between Yvette Guilbert and Jannings in FAUST (1926, F.W. Murnau), or on more familiar ground, of the comedies of Howard Hawks. The point is simply that all the freshness and invention of American films spring from the fact that they make the subject the motive for the mise en scène.”

Wednesday, October 28, 2015

NOT MY TYPE (2014, Lucas Belvaux, France, A+30)

NOT MY TYPE (2014, Lucas Belvaux, France, A+30)

หนึ่งในสิ่งที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้ ก็คือนางเอกซึ่งเป็นช่างตัดผมในชนบทเป็นฝ่ายที่เรียกร้องที่จะมีเซ็กส์กับพระเอกเอง คือพอเธอออกเดทกับพระเอกสักระยะนึง เธอก็เงี่ยนพระเอก เธอก็เลยเป็นฝ่ายบุกไปหาพระเอกที่โรงแรมเพื่อจะได้มีเซ็กส์กับเขา และพอมีเซ็กส์กันแล้ว พระเอกก็ให้ของขวัญเธอเป็นหนังสือ CRITIQUE OF PURE REASON ของ Immanuel Kant

อยากให้นางเอก+พระเอกหนังไทยทำแบบนี้บ้าง


อันนี้เป็นหนังเรื่องที่ 6 ของ Lucas Belvaux ที่เราได้ดู และเราชอบเรื่องนี้มากที่สุด

Tuesday, October 27, 2015

MURNAU

“There was theatre (Griffith), poetry (Murnau), painting (Rossellini), dance (Eisenstein), music (Renoir). Henceforth there is cinema. And the cinema is Nicholas Ray.”—Jean-Luc Godard

ในงาน FILMVIRUS IN WEIMAR GERMANY เราไม่ได้ฉายหนังของ Nicholas Ray นะคะ แต่เรามีหนังของ F.W. Murnau ฉายสองเรื่องค่ะ ซึ่งก็คือเรื่อง TARTUFFE (1926, 64min) กับ PHANTOM (1922, 120min) มาดูหนังสองเรื่องนี้ได้ที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ในวันอาทิตย์ที่ 1 พ.ย.นะคะ


รูปนี้มาจาก TARTUFFE

SCIENTIFIC DOCUMENTARIES IN WEIMAR GERMANY

เกร็ดเกี่ยวกับงาน FILMVIRUS IN WEIMAR GERMANY ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

นอกจาก OUR HEAVENLY BODIES (1925, Hans Walter Kornblum, Germany, documentary, A+30) แล้ว เราเพิ่งรู้ว่าจริงๆแล้วในเยอรมนียุคนั้นมีการสร้างหนังสารคดีแนววิทยาศาสตร์เยอะแยะหลายร้อยเรื่อง เราเดาว่าสาเหตุส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ายุคนั้นยังไม่มีโทรทัศน์ก็ได้ ก็เลยมีการสร้างหนังสารคดีวิทยาศาสตร์ออกฉายโรงเป็นจำนวนมากมาย แต่พอมีโทรทัศน์เกิดขึ้น สารคดีวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ก็น่าจะเปลี่ยนตัวเองไปเป็นรายการทีวีแทน

แต่ดูเหมือนหนังสารคดีวิทยาศาสตร์หลายร้อยเรื่องเหล่านี้ไม่ค่อยได้รับการเผยแพร่ในยุคปัจจุบันเหมือนอย่างหนัง fiction เราเดาว่าสาเหตุส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะข้อมูลวิทยาศาสตร์ในหนังสารคดีทศวรรษ 1920-1930 เหล่านี้มันอาจจะล้าสมัยไปแล้วก็ได้ และพอข้อมูลวิทยาศาสตร์ในหนังเหล่านี้มันล้าสมัยไปแล้ว หนังเหล่านี้ก็อาจจะสูญเสีย “คุณค่าหลัก” ในตัวมันเองไปโดยปริยาย โดยมันอาจจะมีคุณค่าเหลือในแง่ประวัติศาสตร์และในแง่ความเป็นหนังสารคดียุคเก่า แต่คุณค่าในแง่ “ความรู้ทางวิทยาศาสตร์” ของมันอาจจะหมดไปแล้ว

เหมือนอย่างหนังสารคดีเรื่อง OUR HEAVENLY BODIES ที่เราเพิ่งได้ดูไป เพราะหนังเรื่องนี้มีเนื้อหาส่วนหนึ่งเกี่ยวกับระบบสุริยจักรวาล แต่ไม่ได้พูดถึงดาวพลูโต เพราะว่าหนังสารคดีเรื่องนี้สร้างขึ้นในปี 1925 แต่ดาวพลูโตได้รับการค้นพบหลังจากนั้น

อันนี้เป็นรายชื่อส่วนหนึ่งของหนังสารคดีเยอรมันยุคเก่า

1.THE STAG BEETLE (1920/1921, Ulrich K.T. Schulz)

2.INVISIBLE CLOUDS (1932, Martin Rikli, 12min)

3.IN THE OBEDSKA BARA: STUDIES WITH TELEPHOTO LENS AND MICROPHONE IN THE BIRD PARADISE OF YUGOSLAVIA (1933/1934, Ulrich K.T. Schulz)

4.MARINE LIFE IN THE ADRIATIC SEA (1933/1934, Ulrich K.T. Schulz)

5.STATE OF THE ANTS (1934, Ulrich K.T. Schulz)

6.THE INNER LIFE OF THE PLANTS (1937, Ulrich K.T. Schulz)

7.X-RAYS (1937, Martin Rikli)

8.ARE ANIMALS CAPABLE OF THINKING? (1938, Fritz Heydenreich)

9.RADIUM (1939/1940, Martin Rikli)

10.ZOOLOGICAL GARDEN OF SOUTH AMERICA (1940, Werner Buhre)

ส่วนรูปนี้มาจากหนังเรื่อง THE EINSTEIN THEORY OF RELATIVITY (1923, Dave Fleischer, USA) ซึ่งเป็นหนังสารคดีวิทยาศาสตร์ของสหรัฐในยุคนั้น สังเกตได้ว่าทั้งหนังเรื่องนี้และ OUR HEAVENLY BODIES ต่างก็ชื่นชมยกย่องไอน์สไตน์อย่างรุนแรงมาก




Monday, October 26, 2015

ASIATOPIA 2015 SCHEDULE

ตารางการแสดงในงาน ASIATOPIA ที่ชั้น 4 BACC

Performance Art Days 
28 ตุลาคม 2558 
17.00 - 20.30 น. 

remembrance to Paisan Plienbangchang 
Organize By Lay Down 
Project Action Poetry / Music / 
Performance Art : ASIATOPIA 
Kai Lam / Jeremy Hiah 

29 ตุลาคม 2558 

15.00 - 16.30 น. Artist Talk ; Xian performance Art / Guyu action By Xiang Xishi ; translate in to Thai 
17.00 - 20.00 น. Performance Art Su Bai wai / Surapol Phanyawhachira/ Wang Ming Feng / Sompong Tawee 

30 ตุลาคม 2558 

17.00 น. BACC director welcome the Artists from ASIATOPIA 
17.30 - 19.30 น.Performance Art Christian Messier / Wang Chuyu / Han SiaoHan / Jittima Pholsawek 

31 ตุลาคม 2558 
Performance Art 

16.30 - 17.00 น. Vasan Sitthiket 
17.00 - 17.30 น. Megumi Shimizu 
17.30 - 18.00 น. Qiao Shengxu 
18.00 - 18.30 น. Sakiko Yamaoka 
18.30 - 17.30 น. Vichukorn Tangpaiboon 
19.30 - 20.00 น. Richard Martel 

1 พฤศจิกายน 2558 
Performance Art 
16.30 - 17.30 น. Zentai Project Yuzuru Maeda 

17.30 - 18.00 น. Nopawan Sirivejkul 
18.00 - 18.30 น. Xiang Xishi 
18.30 - 19.30 น. Plienbangchang 
19.30 - 20.00 น. Arai Shin-ichi 
20.00 - 20.30 น. Watan Wuma

สงสัยว่าในบรรดาเพื่อนเราจะมีใครเป็นตัวแทนไปดูการแสดงของวสันต์ สิทธิเขตต์ไหม 555

FILMS SEEN ON SUNDAY, OCTOBER 25, 2015

OUR HEAVENLY BODIES (1925, Hans Walter Kornblum, Germany, documentary, A+30)
ชอบที่หนังเรื่องนี้เล่าตั้งแต่ทฤษฎีจักรวาลของปโตเลมี ไปจนถึงจินตนาการของการเดินทางข้ามจักรวาลแบบ INTERSTELLAR ในอนาคต ชอบฉากที่ตัวละครในอวกาศ มองมาที่โลกแล้วเห็นเหตุการณ์ในอดีต เพราะแสงต้องใช้เวลาหลายปีในการเดินทาง ดูแล้วก็สงสัยว่ามนุษย์ต่างดาวที่อยู่ห่างจากโลกไปสัก 30 ปีแสง ถ้าเขามองมาที่โลกก็อาจจะเห็นเรานั่งรถตุ๊กตุ๊กสะกดรอยตามผู้ชายที่สามย่านเมื่อ 30 ปีก่อน อะไรทำนองนี้

MELODY OF THE WORLD (1929, Walter Ruttmann, Germany, documentary, A+30)
นึกว่าสร้างขึ้นมาเพื่อตบกัMAN WITH A MOVIE CAMERA ของ Dziga Vertov เพราะเป็นหนังที่มีจุดเด่นที่การตัดต่อที่สุดยอดมากๆ

THE MARTIAN (2015, Ridley Scott, A+20)

 ชอบมากนะ แต่เราจะชอบหนังแบบ ALL IS LOST (2013, J.C. Chandor, A+30) มากกว่า เพราะตอนที่ดู ALL IS LOST เราจะไม่ค่อยแน่ใจว่าพระเอกจะรอดหรือเปล่า และมันไม่มีฉากที่ทำให้เรารู้สึกหยึยๆ ซึ่งก็คือฉากที่คนทั่วโลกพากันลุ้นให้พระเอกรอดตายแบบใน THE MARTIAN คือความที่คนทั้งโลกไม่แคร์ว่าพระเอก ALL IS LOST จะอยู่หรือตาย มันเป็นสิ่งที่เราชอบสุดๆน่ะ และพอพระเอก THE MARTIAN มันอยู่ในสถานะตรงกันข้าม มันก็เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้เราไม่ได้อินกับหนังเรื่องนี้แบบสุดๆเหมือน ALL IS LOST

THE LITTLE SHOP OF HORRORS (2015, Stephen Thomas, stage play, A+5)

THE LITTLE SHOP OF HORRORS (2015, Stephen Thomas, stage play, A+5)
ร้านดอกไม้กระหายเลือด

--ก่อนหน้านี้เราเคยดูเวอร์ชันหนังรีเมคในปี 1986 ที่กำกับโดย Frank Oz ซึ่งเป็นหนังที่เราชอบสุดๆ เพราะเราชอบสามสาวคอรัสผิวดำในหนังมากๆ และเพลงในหนังก็ดีมากๆ เพราะฉะนั้นพอมาดูเวอร์ชั่นนี้ เราก็เลยรู้สึกว่ามันไม่ค่อยเข้าทางเราเท่าเวอร์ชั่นปี 1986 เพราะมันไม่มีเพลง และที่สำคัญก็คือมันไม่มี “สามสาวคอรัส” ซึ่งเป็นสิ่งที่เราชอบสุดๆ

--แต่สิ่งที่เราชอบมากในเวอร์ชั่นนี้ ก็คือเราชอบมากที่ตัวละครพระเอกของเรื่องนั้น จริงๆแล้วอาจจะเรียกได้ว่าเป็นฆาตรกรโรคจิตที่ชั่วร้ายคนนึง แต่เขากลับทำบุคลิกเหมือนเป็น loser หรือเป็นผู้ชายที่น่าสงสาร น่าเห็นใจ น่าปลอบประโลมตลอดเวลา คือตัวละครฆาตกรโรคจิตในเรื่องนี้ มันมีบุคลิกเหมือนพระเอกที่พบได้ในหนังทั่วไปน่ะ เพราะฉะนั้นการเอาบุคลิกพระเอกผู้น่าสงสาร น่าเห็นใจ มาดัดแปลงให้กลายเป็นฆาตกรโรคจิตผู้ชั่วร้าย มันก็เลยเป็นสิ่งที่เราชอบมากๆ เพราะในขณะที่หนังหรือละครเวทีหลายๆเรื่อง มันแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างจากกันระหว่าง “พระเอกผู้มีจิตใจดีงาม” กับ “คนร้ายจิตใจเลวทราม” เพื่อให้คนดูรู้สึกผูกพันกับฝ่ายพระเอก, identify ตัวเองกับฝ่ายพระเอก และพยายามเอาใจช่วยพระเอก ละครเวทีเรื่องนี้กลับไม่ทำเช่นนั้น และการที่ “พระเอก” กับ “ฆาตกรโรคจิตผู้ชั่วร้าย” กลายเป็นคนๆเดียวกัน มันก็เลยทำให้เราหันมามองว่า จริงๆแล้ว “มนุษย์ธรรมดาๆที่มักจะคิดว่าตัวเองเป็นคนดี” นี่แหละ ที่อาจจะทำในสิ่งเลวร้ายต่างๆ โดยที่ตัวเองไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำเลว เอารัดเอาเปรียบคนอื่นๆในสังคม หรือไม่ก็รู้สึกว่าตัวเองทำเลว ทำในสิ่งที่เห็นแก่ตัว แต่ก็พยายาม justify การทำเลวของตัวเองตลอดเวลา เพื่อทำให้รู้สึกว่าจริงๆแล้วเราก็ไม่ได้เลวร้ายกว่าคนอื่นๆในสังคมแต่อย่างใด

จริงๆแล้วนี่อาจจะไม่ใช่สิ่งที่หนังหรือละครเวทีเรื่องนี้ต้องการจะบอกก็ได้นะ แต่มันเป็นสิ่งที่เราคิดขึ้นมาเองจากการได้ดูละครเวทีเรื่องนี้น่ะ คือขณะที่ดู เราจะแทบไม่รู้สึกเลยว่า พระเอกของเรื่องเป็น “คนชั่วร้ายมากๆ” เพราะเขาไม่ได้เป็นฆาตกรโรคจิตที่ออกไปไล่ฆ่าคนเพื่อความสะใจ แต่เป็นผู้ชายแหยๆ น่าสงสารคนนึง แต่พอดูจบแล้ว แล้วเราลองคิดทบทวนการกระทำของเขา เราก็พบว่าการกระทำของเขามันก็ไม่ต่างอะไรจากสิ่งที่คนชั่วๆทำกัน โดยเฉพาะการหลอกโสเภณีไปฆ่าเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง เพียงแต่ว่าตัวละครพระเอกของเรื่องนี้ไม่ได้ทำชั่วพร้อมกับ “สร้างภาพให้ตัวเองดูเหมือนคนชั่ว” ไปด้วย เขาทำในสิ่งที่เลวร้ายมากๆ พร้อมกับ “สร้างบุคลิกภาพว่าตัวเองน่าสงสารมากๆ” ในขณะเดียวกัน เพราะฉะนั้น ขณะที่เราดูละครเวทีเรื่องนี้  เราก็เลยแทบไม่ได้รู้สึกกับเขาในแบบเดียวกับที่รู้สึกกับคนร้ายจิตใจโหดเหี้ยมอำมหิต เพราะเราถูก “บุคลิกภาพพระเอกผู้น่าสงสาร” ของเขาบังตาไว้

--ตัวละครพระเอกเองก็คงจะไม่ได้มองว่าตัวเองเป็นคนเลวมากนักด้วย คือเขาเองก็ดูเหมือนมีความ innocence บางอย่างอยู่ในใจ คือเขาเป็นทั้งฆาตกรที่ฆ่าคนบริสุทธิ์เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง แต่ก็มีความ innocence อยู่ในบางแง่มุมด้วย เพราะฉะนั้นมันก็เลยเป็นตัวละครที่น่าสนใจมากๆ

--จริงๆแล้วเราก็ไม่แน่ใจนะว่า ละครเวทีเรื่องนี้ต้องการจะสื่ออะไร มันอาจจะต้องการจะสื่อถึงความละโมบเหมือนในเวอร์ชั่นภาพยนตร์ปี 1960 ก็ได้ แต่จุดที่เราชอบก็คือจุดที่ได้เขียนถึงข้างต้นนั่นแหละ คือมันทำให้เรามองว่า จริงๆแล้ว  “คนธรรมดา” หลายๆคนก็อาจจะมีลักษณะคล้ายกับพระเอกของเรื่องนี้ นั่นก็คือมองว่าตัวเองเป็นคน innocent, เป็น loser, เป็นเหยื่อของสังคม และต้องพยายามหาทางตะเกียกตะกายในสังคม โดยที่ไม่ได้ตระหนักว่า ในบางครั้งตัวเองได้ทำร้ายคนอื่นๆ, เอารัดเอาเปรียบคนอื่นๆ หรือทำในสิ่งที่เห็นแก่ตัว หรือบางทีพวกเขาอาจจะรู้ตัวก็ได้ว่า พวกเขากำลังทำในสิ่งที่เห็นแก่ตัว แต่พวกเขาก็พยายาม justify ให้กับตัวเองว่า มันเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ

--อีกจุดที่ชอบมากในเรื่องนี้ ก็คือตัวละครเจ้าของร้าน ซึ่งเป็นตัวละครที่มีลักษณะกำกวมทางศีลธรรมเช่นกัน เพราะเขาก็ดูเหมือนไม่ได้สบายใจกับการปล่อยให้ต้นไม้กินคนต่อไปเรื่อยๆในร้านของเขา แต่เขาก็ไม่ยอมกำจัดมันเสียที ซึ่งมันก็อาจจะเหมือนกับคนหลายๆคนในสังคม ที่อาจจะรู้เห็นเป็นใจกับสิ่งเลวร้ายบางอย่าง แต่ถ้าหากตราบใดที่สิ่งเลวร้ายนั้นมันยังไม่ได้ทำร้ายตัวเขาเองโดยตรง เขาก็จะยังคงอยู่นิ่งเฉย และปล่อยให้สิ่งเลวร้ายนั้นดำเนินต่อไป  และกัดกินคนอื่นๆต่อไป

--เรื่องราวของพระเอกที่อ่อนแอ แต่จริงๆแล้วเป็นฆาตกรโรคจิต อาจจะพบได้ในหนังอย่าง PSYCHO และ THE VOICES (2014, Marjane Satrapi) ด้วยนะ แต่ตัวละครพระเอกแบบนี้จะเป็นคนที่มีปัญหาทางเพศน่ะ และเวลาที่เราดูเรื่องราวแบบนี้ เราจะไม่มองว่าตัวละครพระเอกเป็นตัวแทนของคนหลายๆคนในสังคม ซึ่งแตกต่างจาก THE LITTLE SHOP OF HORRORS ที่เรามองว่า ตัวละครพระเอกทำให้เรานึกถึงคนหลายๆคนในสังคมที่ละโมบและเห็นแก่ตัว แต่กลับมองว่าตัวเองเป็นคนบริสุทธิ์และอ่อนแอ


-- ชอบการแสดงของกวิน พิชิตกุลมากเป็นพิเศษ ตอนที่เขารับบทเป็นคนที่กินดอกไม้เป็นอาหาร เพราะเรารู้สึกว่าบทนั้นมันอาศัยฝีมือทางการแสดงล้วนๆเลยน่ะ ในการทำให้ตัวละครตัวนี้น่าสนใจขึ้นมาได้

Saturday, October 24, 2015

VANISHING POINT (2015, Jakrawal Nilthamrong, A+30)

VANISHING POINT (2015, Jakrawal Nilthamrong, A+30)

ยกให้เป็นหนังที่ทำให้เรารู้สึกพิศวงมากที่สุดเท่าที่ได้ดูในปีนี้ โดยสามารถเอาชนะ NUDE AREA (2014, Urszula Antoniak), LUKAS THE STRANGE (2013, John Torres), HOW TO DISAPPEAR COMPLETELY (2013, Raya Martin) และ JAUJA (2014, Lisandro Alonso) ไปแล้ว ในฐานะหนังที่ทำให้เรารู้สึกพิศวงมากที่สุดเท่าที่ได้ดูในปีนี้ แต่ไม่ได้หมายถึงชอบมากที่สุดนะ เพราะเราชอบ NUDE AREA มากกว่า

ชอบมากที่มีคนกล้าทำหนังพิศวงมากๆแบบนี้ออกมา ชอบการเคลื่อนกล้องในฉากพระเล่าความฝัน กับฉากที่ถ่ายโขดหินอะไรสักอย่างกลางป่ามากๆ โขดหินนั้นดูแล้วนึกถึง PICNIC AT HANGING ROCK (1975, Peter Weir) ด้วย

หนังอีกเรื่องนึงที่นึกถึงมากๆขณะดูหนังเรื่อง VANISHING POINT คือหนังฝรั่งเศสเรื่อง WE WON’T GO THERE TO DIE (2011, Jean Berthier, A+30) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับพ่อแม่ลูกที่ขับรถไปเที่ยวต่างจังหวัดด้วยกัน แต่ระหว่างที่ขับรถอยู่บนทางหลวงในต่างจังหวัด รถยนต์ของพวกเขาก็รับคลื่นสถานีวิทยุจากโลกอนาคตได้ และสถานีวิทยุนั้นก็รายงานข่าวว่า รถของพ่อแม่ลูกครอบครัวนี้จะคว่ำตายหมดทั้งคันรถ พ่อแม่ลูกครอบครัวนี้ก็เลยต้องตัดสินใจว่า “จะเดินทางต่อไปหรือไม่” และหนังฝรั่งเศสเรื่องนี้ก็มีตอนจบที่พิศวงงงวยช่วยไม่ได้มากๆ แต่ทำให้เรารู้สึก “ปลงตกกับชีวิต” อย่างรุนแรงมากๆ เราก็เลยยกให้ WE WON’T GO THERE TO DIE กลายเป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบมากที่สุดในชีวิตไปเลย


สรุปว่า ไม่ขอเล่าอะไรใน VANISHING POINT นะ เพราะเราไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป จบ

Friday, October 23, 2015

HOR TAEW TAEK 5 (2015, Poj Arnon, A+20)

HOR TAEW TAEK 5 (2015, Poj Arnon, A+20)
หอแต๋วแตก แหกนะคะ

--มีสิทธิ์เป็นหนังที่ชอบที่สุดของพจน์ อานนท์

--ที่ชอบเพราะรู้สึกว่ามันตลกมากในหลายๆฉาก แต่ไม่ได้ชอบในระดับ A+30 เพราะรู้สึกว่าช่วงท้ายของหนังตรรกะมันล่มมากจริงๆ

--จริงๆแล้วหนังของพจน์ อานนท์นี่อาจจะมีปัญหาตรรกะล่มเกือบทุกเรื่องนะ 555 แต่พอมันเป็นหนังตลกเสียสติแบบ “หอแต๋วแตก” ข้อเสียประเภท “ตรรกะล่ม” มันจะไม่ทำร้ายหนังได้มากนักน่ะ คือข้อเสียแบบ “ตรรกะล่ม” มันจะทำร้ายหนังได้อย่างรุนแรง ถ้าหากมันเป็นหนังดราม่า หนัง realistic อะไรทำนองนี้ แต่พอมันเป็นหนังบ้าบอคอแตกแบบนี้แล้ว เราก็เลยรู้สึกแค่ขัดใจเล็กน้อยกับความตรรกะล่มของมัน แต่ไม่ได้อารมณ์เสียกับมันอย่างรุนแรง

--สาเหตุที่เราชอบหนังเรื่องนี้มากกว่าหนังเรื่องอื่นๆของพจน์ อานนท์ อาจจะเป็นเพราะว่า

1.เราว่าเขาอาจจะไม่ถนัดกับ “การเล่าเรื่อง”, “การนำเสนอประเด็น” และการยึดโยงกับตรรกะก็ได้นะ เพราะฉะนั้นหนังแบบหอแต๋วแตกอาจจะเป็นหนังที่เข้าทางเขามากที่สุดน่ะ เพราะความเพลิดเพลินที่ได้จากหนังชุดนี้ มันไม่ต้องอิงกับเนื้อเรื่อง, ประเด็น, ตรรกะ, originality อะไรทั้งสิ้น ความเพลิดเพลินที่ได้จากเรื่อง คือมุขตลก ซึ่งหนังเรื่องนี้พอจะมีอยู่บ้าง

คือเรามีปัญหากับหนังของพจน์ที่พยายามจะมี “ประเด็น” มากๆ อย่างเช่น เอ๋อเหรอ (2005), ศพเด็ก 2002 (2011), วัยเป้งง นักเลงขาสั้น (2014) เราว่าเขาไม่เหมาะจะทำหนังที่ต้องพึ่งพาเนื้อเรื่องและประเด็นเท่าไหร่ หนังแบบยิงมุขตลกไปเรื่อยๆนี่แหละ ที่อาจจะเหมาะกับเขามากที่สุด

2.และแน่นอนว่า หนังแบบ “หอแต๋วแตก” มันดูแล้วเพลิดเพลินกว่าหนังอย่าง ม.6/5 ปากหมาท้าแม่นาค (2014) อย่างมากๆ เพราะมันอาศัยนักแสดงตลกที่มีฝีมือจริงๆมาเล่นน่ะ ในขณะที่หนังอย่างม.6/5 นี่ หนุ่มๆที่มาเล่นมันไม่ค่อยมีความสามารถทางการแสดงเท่าไหร่ และหนังก็ไม่สามารถขาย sex appeal ของหนุ่มๆเหล่านี้ได้มากนักด้วย เพราะฉะนั้นพอหนังอย่าง หอแต๋วแตก แหกนะคะ ให้ความสำคัญกับนักแสดงตลกอย่างเต็มที่ และแทบไม่ได้ให้ความสำคัญกับกลุ่มหนุ่มหล่อในหนังเลย มันก็เลยเป็นสิ่งที่ลงตัวกับหนังเรื่องนี้

3. costume ในหนังเรื่องนี้หนักมาก

4.หนังเรื่องนี้มีข้อดีข้อนึงที่เหมือนกับหนังหลายๆเรื่องของพจน์ อานนท์ นั่นก็คือ “การบันทึกยุคสมัย” เพราะมุขตลกหลายๆมุขในหนังเรื่องนี้มันอิงกับสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมาอย่างมากๆ อย่างเช่นมุขล้อเลียน STRONGER TOGETHER และ PRAY FOR THAILAND


ไม่นึกว่าเกิดมาในชีวิตนี้ จะมีปีใดปีนึงที่เราชอบหนังของพจน์ อานนท์มากกว่าหนังของหม่อมน้อย แต่ก็มีปีนี้นี่แหละ คือหนังแบบ หอแต๋วแตก แหกนะคะ นี่มันอาจจะดูต่ำกว่าหนังอย่าง “แม่เบี้ย” ก็จริง แต่เรารู้สึกว่า การจะสร้างหนังที่ทำให้เราหัวเราะได้ในหลายๆฉากแบบ “หอแต๋วแตก แหกนะคะ” นี่ มันไม่ใช่เรื่องง่ายนะ เราเองก็ไม่สามารถคิดไอเดียมุขตลกอะไรแบบนี้ได้ แต่เราคิดว่ามีผู้กำกับอีกหลายๆคนในไทย ที่สามารถสร้างหนังเรื่อง “แม่เบี้ย” ได้ดีกว่าหม่อมน้อย 555

WATERBOYY (2015, Rachyd Kusolkulsiri, A+15)

WATERBOYY (2015, Rachyd Kusolkulsiri, A+15)

--จริงๆแล้วชอบหนังในระดับ A+30 มาตลอดทั้งเรื่องเลยนะ แต่มันมาตกม้าตายตรงประมาณ 15 นาทีสุดท้ายของเรื่อง ที่ทำให้ความชอบของเราหล่นฮวบอย่างรุนแรง เหมือนกับว่าหนังมันจะพยายาม “สร้างอารมณ์ซึ้งๆ” ให้ได้ในช่วงท้ายน่ะ ตัวละครมันก็เลยทำอะไรที่ไม่เข้ากับตรรกะของเราอย่างมากๆ เพื่อจะได้นำพาไปสู่สถานการณ์ซึ้งๆในฉากจบ แต่เราไม่โอเคกับวิธีการแบบนี้อย่างมากๆ

เหมือนหนังไทยที่ฉายโรงใหญ่หลายเรื่องมีปัญหานี้ทั้งนั้นเลยนะ อย่าง THE DOWN นี่เราก็ชอบในระดับประมาณ A+ ถึง A+10 มาตลอดทั้งเรื่องเลยนะ แต่พอหนังมันพยายามใส่ “ประโยคคมๆ” เข้าไปในฉากจบ แล้วไอ้ประโยคคมๆนี่มันเป็นอะไรที่ต่ำมากๆ ความชอบของเราก็เลยหล่นฮวบมาเป็น A+/A

หนังเกย์สองเรื่องอย่าง MY BROMANCE และ LOVELOVEYOU อยากบอกให้รู้ว่ารัก (2015, ณภัทร ใจเที่ยงธรรม) เราก็มีปัญหากับองก์ที่สามของหนังหรือช่วงท้ายของหนังอย่างรุนแรงมากๆเช่นกัน คือถ้าหากตัดองก์ที่สามของหนังสองเรื่องนี้ทิ้งไป ระดับความชอบของเราที่มีต่อหนังสองเรื่องนี้จะพุ่งพรวดขึ้นมาทันที

อย่างไรก็ดี ถ้าหากเทียบกับ MY BROMANCE และ LOVELOVEYOU แล้ว เราชอบ WATERBOYY มากกว่าหนังสองเรื่องนั้นมากๆเลยนะ เราว่า WATERBOYY มันดู flow กว่า smooth กว่า อารมณ์มันดูไหลลื่นเป็นธรรมชาติมากกว่าหนังสองเรื่องนั้น

อีกสิ่งหนึ่งที่รู้สึกขึ้นมาขณะดู WATERBOYY ก็คือ เรารู้สึกอิจฉาเด็กมัธยมยุคนี้อย่างรุนแรงที่มีหนังอย่าง WATERBOYY มาให้ดู คือเรารู้สึกว่า ถ้าหากเราได้ดูหนังแบบนี้ขณะที่เรายังเป็นวัยรุ่น เราคงจะมีความสุขอย่างสุดๆมากๆ ฝันหวานมากๆๆๆๆๆๆ คือหนังแบบนี้มันคงทำให้เราขณะเป็นวัยรุ่น “มีความฝันว่าวันพรุ่งนี้เราอาจจะได้เจออะไรแบบในหนัง หรือเจอผู้ชายแบบในหนัง” ก็ได้ อะไรทำนองนี้ แต่ตอนนี้เราอายุ 42 ปีแล้ว เพราะฉะนั้นขณะที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราก็ไม่สามารถฝันหวานว่าเหตุการณ์ในหนังมันจะสามารถเกิดขึ้นได้กับชีวิตเราอีกต่อไปแล้วน่ะ

ขณะที่เราดู WATERBOYY เราก็นั่งนึกย้อนไปเหมือนกันนะว่า ตอนที่เราเป็นวัยรุ่น หนังเรื่องไหนที่มีอิทธิพลต่อ “จินตนาการชีวิตเกย์ในอนาคต” ของเรา และเราก็พบว่า มันอาจจะเป็นหนังเรื่อง “ฉันผู้ชายนะยะ” (1987, M.L. Bhandevanop Devakul) ที่เราได้ดูในโรงหนังสยาม คือในยุคนั้นหนังเกย์มันยังเป็นสิ่งที่หายากมากๆเลยน่ะ แล้วพอเราได้ดูหนังอย่าง “ฉันผู้ชายนะยะ” และอ่านนิยายอย่าง “ประตูที่ปิดตาย” ของกฤษณา อโศกสิน และ “ใบไม้ที่ปลิดปลิว” ของทมยันตีในตอนที่เราเป็นเด็ก จินตนาการของเราที่มีต่อชีวิตเกย์ของเราในอนาคต มันก็เลยออกมาไม่ค่อยสวยงามเท่าไหร่ มันไม่ใช่ว่านิยายและหนังเหล่านี้ไม่ดีนะ แต่นิยายและหนังเหล่านี้มันสะท้อนชีวิตเกย์ที่ไม่ค่อยสมหวังน่ะ และมันไม่ถูก balance ด้วย “หนังเกย์พาฝัน” เลย มันก็เลยเหมือนกับว่า ตอนที่เราเป็นเด็ก เราได้รับรู้แต่ “ภาพเกย์ระทมทุกข์” ผ่านทางภาพยนตร์และนิยายเพียงด้านเดียว และไม่ได้รับรู้ “ภาพเกย์พาฝัน” เพื่อมาถ่วงดุลกัน

คือถ้าหากเราได้ดูหนังอย่าง WATERBOYY ในปี 1987 เราก็ไม่รู้เหมือนกันนะว่า มันจะส่งผลกระทบต่อทัศนคติของเราอย่างไรบ้าง บางที ชีวิตเราอาจจะเปลี่ยนไปจากนี้ก็ได้ 555

ตอนที่เราดู WATERBOYY เราจะนึกถึงประโยคนึงในหนังซอมบี้เรื่อง COOTIES (2014, Jonathan Milott + Cary Murnion, A+25) อย่างรุนแรง ซึ่งมันเป็นหนึ่งในประโยคจากภาพยนตร์ที่เราชอบมากที่สุดในปีนี้ (ถ้าจำไม่ผิด) คือมันจะมีตัวละครตัวนึงพูดในทำนองที่ว่า “ผมเป็นครู และผมไม่มีความสุขกับการเป็นครู เพราะเวลาที่ผมสอนเด็กๆ ผมรู้ดีว่า เด็กๆที่ผมสอนยังมีอนาคตรออยู่ข้างหน้า พวกเขาอาจจะกลายเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตได้ในอนาคต แต่ตัวผมเองไม่มีโอกาสแบบนั้นอีกแล้ว ผมอิจฉาเด็กๆที่ผมสอนมาก เพราะพวกเขามีอนาคตรออยู่ มีโอกาสรออยู่ แต่ผมไม่มีโอกาสแบบนั้นอีกแล้ว”

ตอนที่เราดู WATERBOYY เราก็รู้สึกทำนองคล้ายๆกัน เรารู้สึกอิจฉาเด็กเกย์มัธยมยุคนี้มากๆที่ได้ดูหนังอย่าง WATERBOYY ตั้งแต่ตัวเองยังเป็นเด็ก เรารู้สึกอิจฉาเด็กเกย์ยุคนี้มากๆ ที่พวกเขาอาจจะได้เริงรักแบบในหนัง WATERBOYY ตั้งแต่อยู่มัธยมหรือมหาลัยก็ได้ ในขณะที่เราไม่มีโอกาสแบบนั้นอีกแล้ว