Sunday, January 31, 2016

RIP JACQUES RIVETTE

AN ADVENTURE OF NINON (1995, Jacques Rivette, 1 min, A+30) + RIP JACQUES RIVETTE

You can watch AN ADVENTURE OF NINON here:

เพิ่งรู้จากเพจ bookvirus and filmvirus ว่ามีหนังสั้นเรื่องนี้อยู่ในยูทูบ เราดูแล้วก็ชอบสุดๆ เพราะเราเป็นสาวกของ Rivette อยู่แล้ว และถึงแม้ว่าหนังเรื่องนี้จะสั้นเพียงแค่ 1 นาที แต่มันก็มีคุณสมบัติของสิ่งที่เราชอบสุดๆในหนังของ Rivette เรื่องอื่นๆอยู่ด้วย อย่างเช่น

1.ความรู้สึกถึงความเป็นอิสระ อันนี้เป็นสิ่งที่เราอธิบายไม่ถูกว่ามันคืออะไรกันแน่ แต่เวลาที่เราดูหนังของ Rivette มันจะมีความรู้สึกถึงความเป็นอิสระบางอย่างที่เราไม่พบไม่เจอในหนังของผู้กำกับส่วนใหญ่ มันเหมือนกับว่าหนังของ Rivette มันขจัด “กรอบ” บางอย่างที่เรามักเจอในหนังของผู้กำกับคนอื่นๆน่ะ แต่เราก็ชี้เฉพาะเจาะจงลงไปไม่ได้ว่า ไอ้ “กรอบ” นั้นมันคืออะไรกันแน่

แต่เราเดาว่า “ความเป็นอิสระ” ที่เรามักเจอในหนังของ Rivette นั้น บางทีมันอาจจะมาจากการที่

1.1 หนังของเขาไม่อยู่ภายใต้ระบบสัญลักษณ์ที่เคร่งครัดตายตัว หนังของเขามักจะไม่ค่อยมีสัญลักษณ์ให้เราต้องขบคิดตีความโดยมีคำตอบตายตัวเพียงหนึ่งเดียว

1.2 หนังของเขาไม่ถูกครอบงำโดย “สารที่ต้องการจะสื่อถึงผู้ชม” คือผู้กำกับประเภทที่ทำหนัง “ส่งสาร” มักจะเขียนบทเพื่อรองรับ “สาร” นั้น แต่ถ้าบทภาพยนตร์เรื่องใดมันต้องการจะ “ส่งสาร” มากเกินไป จักรวาลในหนังเรื่องนั้นก็จะถูกลดทอน “ความเป็นไปได้” อะไรบางอย่างออกไป และตัวละครในหนังเรื่องนั้น ก็มักจะถูกลดทอนแง่งามของความเป็นมนุษย์ออกไป

1.3 หนังของเขาไม่ถูกครอบงำโดยโลกทัศน์ของเขาเพียงคนเดียว เพราะเขามักจะเขียนบทร่วมกับนักแสดง และเราคิดว่าพอเขาทำเช่นนี้ ตัวละครในหนังของเขามันเลยเป็นอิสระมากขึ้น ตัวละครในหนังของเขามันก็เลยไม่ใช่ “ตัวละครที่ผู้กำกับคิดขึ้นมาเพื่อบังคับให้มันตอบสนองความต้องการอะไรบางอย่างของผู้กำกับอย่างเต็มที่” เพราะพอนักแสดงมันมีส่วนควบคุมลักษณะนิสัยและการกระทำของตัวละครด้วย มันก็เลยทำให้ตัวละครเป็นคนจริงๆ คนที่คิด, พูด, ทำในสิ่งที่อาจจะขัดใจกับผู้กำกับ หรือไม่ยอมปล่อยให้เนื้อเรื่องเดินตรงดิ่งไปในทางที่ผู้กำกับต้องการตลอดเวลา

1.4 หนังของเขาไม่ถูกครอบงำโดย “บทภาพยนตร์” โดยเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า

"ผมใช้วิธีการด้นสดแบบนี้กับหนัง 3 เรื่องแล้ว โดยใช้วิธีการนี้กับหนังเรื่อง L'AMOUR FOU (1969, 252 นาที) มากกว่าใน CELINE AND JULIE GO BOATING (1974, 193 นาที) และใช้วิธีการนี้กับหนังเรื่อง OUT 1 (1971, 773 นาที) มากที่สุด ผมเกลียดความรู้สึกที่ว่าทุกอย่างถูกกำหนดไว้ตายตัวแล้ว และไม่มีอะไรที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งในระหว่างการถ่ายทำและการตัดต่อ ผมปฏิเสธ "บทภาพยนตร์" โดยสิ้นเชิง หรืออย่างน้อยก็ปฏิเสธสิ่งนี้ตามความหมายปกติของมัน ผมชอบใช้สิ่งที่เรียกว่า "โครงเรื่อง" มากกว่า เพราะสิ่งนี้บ่งชี้ถึงพลวัต, แนวคิดหรือหลักการมากมายที่เราสามารถใช้เป็นจุดตั้งต้น เพื่อที่เราจะได้ค้นหาวิธีการที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการถ่ายทำ ตอนนี้ผมต้องการให้ตารางการถ่ายทำของผมสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ และต้องการให้ช่วงเวลาในการตัดต่อนานที่สุดเท่าที่จะทำได้"

อ่านประเด็นนี้เพิ่มเติมได้ในส่วน comment ของรูปในลิงค์นี้
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=4750800571304&set=a.2900190747215.2155569.1333811571&type=3&theater

2.หนังเรื่อง AN ADVENTURE OF NINON มีอีกองค์ประกอบสำคัญที่เราชอบสุดๆเหมือนในหนังของ Jacques Rivette เรื่องอื่นๆ ซึ่งก็คือ “การทำให้สถานที่ธรรมดาๆกลายเป็นสถานที่แห่งการผจญภัยแบบขำๆ”

คือหนังของ Rivette หลายเรื่องจะมีองค์ประกอบแบบนี้น่ะ มันใช้ฉากเป็นท้องถนนตึกรามบ้านช่องธรรมดาๆ แต่มันทำให้ฉากธรรมดาๆแบบนี้กลายเป็นสถานที่แห่งการผจญภัยได้ ซึ่งมันจะเข้ากับตัวเรามากๆ เพราะเราก็ชอบ “จินตนาการ” อะไรแบบนี้ คือเราไม่ได้จินตนาการโลกผจญภัยที่วิลิศมาหราแบบในหนังของ Terry Gilliam และไม่ได้จินตนาการ “การผจญภัยแบบซีเรียสจริงจัง” แบบในหนัง action thriller ทั่วๆไป แต่เรามักจะจินตนาการว่าอยากให้ไอ้ท้องถนนตึกรามบ้านช่องที่เราเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนี่แหละ กลายเป็นสถานที่ที่มีเรื่องราวผจญภัยเล็กๆน้อยๆเกิดขึ้นอย่างสนุกสนานได้

ซึ่งลักษณะแบบนี้จะพบได้ในหนังหลายๆเรื่องของ Jacques Rivette โดยเฉพาะ PARIS BELONGS TO US (1961), OUT 1: NOLI ME TANGERE (1971), CELINE AND JULIE GO BOATING (1974), DUELLE (UNE QUARANTAINE) (1976), LE PONT DU NORD (1981), GANG OF FOUR (1989), UP DOWN FRAGILE (1995) และ VA SAVOIR (2001)

และถ้าหนังของผู้กำกับคนอื่นๆมีลักษณะแบบนี้ มันก็จะกลายเป็นหนังที่เราชอบสุดๆไปเลยนะ อย่างเช่นเรื่อง

2.1 SLEEPWALK (1986, Sara Driver)
2.2 MULHOLLAND DRIVE (2001, David Lynch)
2.3 TURTLES SWIM FASTER THAN EXPECTED (2005, Satoshi Miki)
2.4 THEY ALL LIE (2009, Matías Piñeiro, Argentina)
2.5 MEETING DR. SUN (2014, Yee Chih-yen, Taiwan)

3.ความคาดเดาไม่ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ไม่ได้เกิดจากการที่ Rivette ชอบทำหนังหักมุม แต่เป็นเพราะเรารู้สึกว่าจักรวาลในหนังของ Rivette มันเป็นจักรวาลที่มี “ความเป็นไปได้” สูงกว่าในหนังทั่วๆไป หนังบางเรื่องของเขามันทำให้เรารู้สึกว่า “ถ้าอยู่ดีๆตัวละครจะเหาะขึ้นมาได้ในองก์สุดท้ายของหนังโดยไม่มีสาเหตุอะไรทั้งสิ้น เราก็จะไม่ประหลาดใจอีกต่อไป” น่ะ คือจักรวาลในหนังของเขามันทำให้เรารู้สึกอย่างนั้นจริงๆน่ะ มันทำให้เรารู้สึกถึงความเป็นไปได้ที่จะหลุดออกจากกรอบอะไรบางอย่างที่ครอบงำหนังของผู้กำกับคนอื่นๆเอาไว้ (ย้อนกลับไปอ่านข้อ 1)

อย่างใน AN ADVENTURE OF NINON นี่ก็เหมือนกัน คือตอนดูรอบแรก เรามัวแต่โฟกัสว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับตัวเด็กผู้หญิงในเรื่อง เราก็เลยประหลาดใจมากๆกับช่วงท้ายของหนัง และเราก็ชอบอะไรแบบนี้มากๆ คือเราประหลาดใจที่ “เด็กหญิง” ที่เราคิดว่าจะเป็นตัวละครที่สำคัญที่สุดในเรื่อง ไปๆมาๆแล้วกลับไม่ใช่ซะทีเดียวน่ะ

--จริงๆแล้วตัวละคร Ninon สาวสเก็ตในเรื่องนี้ เป็นตัวละครที่มาจากหนังเรื่อง UP, DOWN, FRAGILE (1995) นะ

JACQUES RIVETTE’S FILMS THAT I SAW
In preferential order

1.CELINE AND JULIE GO BOATING (1974, 193min)

2.UP DOWN FRAGILE (1995, 169min)

3.SECRET DÉFENSE (1998, 170min)

4.LA BELLE NOISEUSE (1991, 238min)

5.OUT 1: NOLI ME TANGERE (1971, 729min)

6.DUELLE (UNE QUARANTAINE) (1976, 121min)

7.GANG OF FOUR (1989, 160min)

8.WUTHERING HEIGHTS (1985, 130min)

9.PARIS BELONGS TO US (1961, 141min)

10.THE NUN (1966, 135min)

11.LUMIÈRE AND COMPANY: AN ADVENTURE OF NINON (1995, 1min)

12.VA SAVOIR (2001, 154min)

13.LE COUP DE BERGER (1956, 28min)

I made this photo album in 2011 to collect other people’s writing on Jacques Rivette.

Wednesday, January 27, 2016

FOSSILS (2016, Ninart Boonpothong, stage play, A+20)

FOSSILS (2016, Ninart Boonpothong, stage play, A+20)
เด็กซิ่ว

1.ดูแล้วนึกถึงหนังของ Robert Altman มากๆ และเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องดี เพราะเรามองว่ามีหนังไทยหรือละครเวทีไทยเพียงแค่ไม่กี่เรื่องที่ทำออกมาในแนว Robert Altman ทั้งๆที่มันถือเป็นแนวหนังที่น่าสนใจมากๆ เพราะฉะนั้นก็เลยเป็นเรื่องที่น่าดีใจมากที่มีละครเวทีแนวนี้ออกมา

คำว่าหนังแนว Robert Altman ในที่นี้เราหมายถึงหนังที่เจาะไปที่ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง แล้วนำเสนอประเด็นนั้นออกมาผ่านทางตัวละครจำนวนมากและเส้นเรื่องหลายๆเส้นน่ะ ซึ่ง FOSSILS ก็ทำแบบนี้ เพราะ FOSSILS มีตัวละครจำนวนมาก และก็มีเส้นเรื่องหลายเส้นเล่าตัดสลับกันไปมา โดยเส้นเรื่องเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกันในแบบหลวมๆ และก็มีการตัดสลับฉากเป็นระยะๆด้วยการให้นักแสดงออกมาพูดประโยคสั้นๆเกี่ยวกับประเด็นของละครด้วย

2.จริงๆแล้วเราชอบละครเรื่องนี้มากๆเลยนะ แต่อาจจะไม่ได้ชอบแบบสุดขีดในตอนนี้ เพราะในขณะที่ละครเรื่องนี้มีข้อดีเหมือนหนังของ Robert Altman นั่นก็คือการนำเสนอประเด็นใดประเด็นหนึ่งได้อย่างกว้างขวางครอบคลุม ละครเรื่องนี้ก็มีข้อด้อยเหมือนหนังของ Robert Altman เช่นกัน นั่นก็คือพอมันเล่าเส้นเรื่องหลายเส้นและตัวละครหลายตัวภายในเวลาอันจำกัด มันก็เลยไม่สามารถพัฒนาเส้นอารมณ์ใดเส้นอารมณ์หนึ่งให้ค่อยๆทวีความเข้มข้น เคร่งเครียดขึ้นเรื่อยๆจนถึงจุดที่นำไปสู่ climax อย่างรุนแรง และเกิดอารมณ์ซาบซึ้งสะเทือนใจอย่างรุนแรงขึ้นมาได้ คืออารมณ์มันกระจัดกระจายเกินไปน่ะ คือเส้นเรื่องแต่ละเส้นในละครเรื่องนี้ ถ้าหากมันอยู่เดี่ยวๆและเล่าแบบต่อเนื่อง มันอาจจะสร้างอารมณ์ climax แบบสุดขีดขึ้นมาได้ แต่พอมันถูกเล่าแบบตัดสลับกันไปมากับเส้นเรื่องอื่นๆ อารมณ์มันเลยสะดุดเป็นระยะๆ และเราจะไม่เกิดอารมณ์ต่อเนื่องกับตัวละครตัวนั้น อารมณ์ของเส้นเรื่องแต่ละเส้นมันเลยไม่ถูกบีบให้เกิดความ dramatic แบบสูงสุด

แต่อันนี้เป็น ข้อดี-ข้อด้อยของวิธีการแต่ละแบบนะ ไม่ใช่สิ่งที่ละครเรื่องนี้ควรปรับปรุงหรือแก้ไข คือยังไงคุณก็ต้องเลือกวิธีการใดวิธีการหนึ่งอยู่แล้วล่ะ และไม่มีวิธีการใดที่ ดีที่สุดเพราะแต่ละวิธีการมันก็มีข้อดีข้อด้อยของมันเอง คือถ้าคุณเลือกวิธีการแบบ Robert Altman คุณก็จะสามารถสะท้อนภาพกว้างๆของชีวิตมนุษย์ที่หลากหลายได้ แต่ถ้าคุณเลือกเล่าเส้นเรื่องเดียว คุณก็จะสามารถสร้างอารมณ์ dramatic เข้มข้นได้ แต่ไม่สามารถสะท้อนความหลากหลายของชีวิตมนุษย์ได้

แต่การที่ละครเวทีเรื่องนี้และหนังบางเรื่องของ Altman ไม่สามารถสร้างอารมณ์ dramatic เข้มข้นได้นั้น มันก็ไม่ใช่ข้อด้อยแบบ 100% นะ เพราะในแง่นึง การใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบนี้ก็อาจจะช่วยหลีกเลี่ยงความเป็นเมโลดราม่าหรือการบีบคั้นอารมณ์จนเกินควรได้เหมือนกัน

เพราะฉะนั้นเราว่าการที่ละครเวทีเรื่องนี้เลือกใช้วิธีการแบบ Altman ก็เป็นสิ่งที่ดีแล้วล่ะ เพราะถึงแม้มันจะมีข้อด้อย แต่มันก็มีข้อดีของมันเอง และมันเป็นวิธีการที่เราไม่ค่อยเห็นหนัง+ละครเวทีไทยใช้กัน

3.เนื่องจากเราเป็นคนที่ชอบดูหนัง เพราะฉะนั้นเวลาที่เราดูละครเวทีของนินาท เราก็มักจะจินตนาการไปด้วยว่า ถ้าหากมีคนเอาละครเวทีเรื่องนั้นไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ เราอยากให้เขาดัดแปลงออกมาอย่างไรบ้าง

เราว่าถ้าหากมีการดัดแปลงละครเรื่องนี้เป็นภาพยนตร์ เราอยากให้เขาตัดเนื้อหาบางส่วนทิ้งไปน่ะ และอาจจะเน้นไปที่สองเส้นเรื่องที่เราชอบที่สุด ซึ่งก็คือ

3.1 เส้นเรื่องของหญิงสาวที่มีความสัมพันธ์กับชายหนุ่มอารมณ์ร้อน (ฟลุ๊ค ธีรภัทร โลหนันทน์ เล่นได้ดีสุดๆกับบทนี้ เราจำเขาแทบไม่ได้เลย) เพราะเราอินกับเส้นเรื่องนี้มากที่สุด มันเป็นการตอบสนอง fantasy ของเราด้วยแหละ ในการสมมุติตัวเองเป็นตัวละครหญิงตัวนี้ (นักแสดงที่รับบทเป็นตัวละครหญิงตัวนี้ก็เล่นได้ดีมากๆ เราประทับใจกับการแสดงของคนนี้มากที่สุดเลยในฐานะนักแสดงหน้าใหม่)

นอกจากเส้นเรื่องนี้จะเป็นการตอบสนอง fantasy ของผู้ชมอย่างเราได้อย่างดีมากๆแล้ว ตัวเส้นเรื่องเองมันก็สามารถทำให้เป็นอะไรที่ dramatic เข้มข้นรุนแรงสุดๆได้นะ เพราะขณะที่ดู เราจะลุ้นมากๆไปกับความสัมพันธ์ของคนคู่นี้ และพอมันเกิดเรื่องรุนแรงขึ้น มันก็สะเทือนความรู้สึกของเรามากๆเหมือนกัน นอกจากนี้ ซับพล็อตเกี่ยวกับแม่, แฟนเลสเบียนของแม่ และแฟนเก่าของผู้หญิงคนนั้นก็ช่วยสร้างสีสันให้กับเรื่องได้ดีมากๆด้วย

3.2 เส้นเรื่องของพนักงาน HR หญิง (ขนิษฐา นงนุช) เราชอบตัวละครตัวนี้มากๆเลย ดูแล้วนึกถึงตัวละครที่ Catherine Keener เล่นใน FULL FRONTAL (2002, Steven Soderbergh) ที่เล่นเป็นพนักงาน HR ที่ต้องรับมือกับพนักงานคนอื่นๆในบริษัทและต้องรับมือกับปัญหาชีวิตส่วนตัวเหี้ยๆห่าๆของตัวเองไปด้วย

เราว่าบทพนักงาน HR นี่เป็นอะไรที่น่าสนใจมากๆ คือมันต้องเย็นชากับมนุษย์ที่น่าสงสารคนอื่นๆเมื่อคุณต้องปลดเขาออกจากงานน่ะ คือมันเป็นพนักงานที่ต้องดีลกับ ความจัญไรในชีวิตเพื่อนร่วมบริษัทโดยตรง ซึ่งมันต้องอาศัยคนที่มีความแข็งแกร่งทางอารมณ์และจิตใจมากๆในการทำงานแบบนี้ เราก็เลยชอบมากที่ละครเวทีเรื่องนี้สร้างตัวละครแบบนี้ขึ้นมา และสามารถสร้างฉากคลาสสิคจากชีวิตการทำงานของตัวละครแบบนี้ออกมาได้ ทั้งฉากที่ต้องดีลกับ พนักงานที่ไม่แคร์กับการโดนไล่ออก เพราะกูมีที่ไปอยู่แล้วและฉากที่ต้องดีลกับ พนักงานที่จิตแตกเป็นเสี่ยงๆเมื่อโดนไล่ออก
ส่วนเส้นเรื่องปัญหาส่วนตัวของพนักงาน HR นั้น เราก็ชอบมากๆเช่นกัน ทั้งความสัมพันธ์กับแฟนที่ดูเหมือนจะมาจากครอบครัวหัวโบราณ, ความสัมพันธ์กับหนุ่มตากล้องที่ดูกุ๊กกิ๊กคิกคาปู้มากๆ และความสัมพันธ์กับเด็กหนุ่มที่คอย stalk เธอ

คือเราว่าทั้งตัวละคร HR หญิง และตัวละครหญิงสาวกับชายหนุ่มอารมณ์ร้อนนี่ จริงๆแล้วสามารถพัฒนาเป็นหนังสองเรื่องแยกกันได้เลยนะ เพราะตัวละครทั้งสองตัวนี้มีเรื่องราวที่น่าสนใจมากในตัวเองอยู่แล้ว แต่ถ้ามันเป็นหนังจริงๆ เราก็อยากให้ทั้งสองตัวนี้อยู่ในหนังเรื่องเดียวกันมากกว่า

อย่างไรก็ดี เส้นเรื่องอื่นๆในละครเวทีเรื่องนี้สามารถ ลดระดับความสำคัญลงไปได้ ถ้าหากมีการนำไปสร้างเป็นหนังนะ อย่างเช่นเส้นเรื่องของชายหนุ่มที่ลาออกจากมหาลัยเพราะ แคร์เพื่อนตากล้องมากเกินไปเราว่าเส้นเรื่องนี้จริงๆแล้วมันน่าสนใจ แต่มันไม่พีคเท่าสองเส้นเรื่องแรกน่ะ

แต่ในอีกแง่นึง เราว่า ประโยค มึงเอาเวลาของกูคืนมาที่นิสิตหนุ่มพูดกับตา
กล้องนี่ จริงๆแล้วมันสามารถเป็นประโยคที่สะเทือนอารมณ์อย่างรุนแรงสุดๆได้เลยนะ แต่มันต้องอาศัยการเล่าเรื่องแบบใหม่น่ะ มันถึงจะทำให้ประโยคนี้กลายเป็นประโยค ซึ้งๆได้ คือประโยคนี้ในละครเวทีเรื่องนี้ มันเหมือนมาในแบบ หักมุมไง คือหลังจากเราเห็นนิสิตหนุ่มคนนี้ในหลายๆฉาก เราถึงมาสำเหนียกภายในเวลาเพียง 2-3 นาทีว่าจริงๆแล้วตัวละครนิสิตหนุ่มคนนี้เคยร้าวรานใจกับเพื่อนตากล้องมากขนาดไหน เพราะฉะนั้นถึงแม้ประโยคนี้มันมีศักยภาพที่จะทรงพลังมากๆ แต่เวลาเพียง 2-3 นาทีที่เราได้รับรู้อดีตที่แท้จริงของตัวละครนิสิตหนุ่มคนนี้ มันไม่มากพอที่จะทำให้เราเข้าถึงความเจ็บปวดที่แท้จริงในใจตัวละครได้น่ะ เพราะฉะนั้นประโยคนี้มันก็เลยทำให้เรารู้สึกก้ำกึ่งว่า มันทรงพลังก็จริง แต่จริงๆแล้วมันถูกใช้ในแบบที่สามารถขุดเอาพลังของประโยคนี้ออกมาได้ 100% เต็มหรือเปล่า

คือจริงๆแล้วตัวละครนิสิตหนุ่มคนนี้เป็นตัวละครที่มีศักยภาพที่จะทำให้เราซึ้งกับมันได้มากๆนะ เพียงแต่ว่ามันต้องเล่าใหม่โดยให้เราสำเหนียกได้ถึงความเจ็บปวดของตัวละครตัวนี้เป็นเวลานานพอสมควรน่ะ และพอทำเช่นนั้นแล้ว เมื่อถึงเวลาที่ตัวละครตัวนี้พูดประโยคที่ว่า มึงเอาเวลาของกูคืนมามันถึงจะสามารถทำให้เราร้องไห้ไปด้วยได้ (อันนี้ไม่ได้ต้องการจะบอกว่า นินาทใช้วิธีการเล่าที่ผิดพลาดกับตัวละครตัวนี้นะ เพียงแต่จะบอกว่า เราจินตนาการว่า ถ้าหากละครเวทีเรื่องนี้ถูกดัดแปลงเป็นหนัง ตัวละครตัวนี้สามารถกลายเป็นตัวละครที่ทำให้เราร้องห่มร้องไห้ไปกับมันได้ ถ้าหากชีวิตของมันถูกเล่าด้วยวิธีการอย่างไร)

ส่วนเส้นเรื่องที่เราว่าอาจจะตัดทิ้งไปได้ ก็คือเส้นเรื่องของ พ่อที่ลงเรียนมหาลัยเดียวกับลูกสาวน่ะ คือเราไม่รู้ว่ามันมาจากเรื่องจริงหรือเปล่านะ แต่ตอนที่เราดูละครเวทีเรื่องนี้ เรารู้สึกว่ามันเป็น เหตุการณ์ที่ดูไกลตัวเราไปหน่อยน่ะ มันเหมือนเป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสน้อยที่เราจะได้พบเจอในชีวิตจริง เราก็เลยชอบเส้นเรื่องนี้น้อยที่สุด

4.แต่ถึงแม้เราจะชอบเส้นเรื่อง พ่อที่ลงเรียนมหาลัยเดียวกับลูกสาวน้อยที่สุด แต่เราก็ว่าคุณขรรค์ชัยแสดงบทพ่อได้ดีมากนะ และรายละเอียดในแต่ละซีนมันก็ดีน่ะ โดยเฉพาะซีนที่อาจารย์มหาลัยต้องรับมือกับนักศึกษาแต่ละคนในห้องที่มีปัญหาไม่ซ้ำกัน, ซีนที่พ่อเล่าถึงเพื่อนที่เรียนหมอ ทั้งๆที่อยากเดินทางท่องเที่ยว และซีนที่พ่อเปิดเผยความจริงเกี่ยวกับธุรกิจของตนเอง คือเราว่าเรื่องราวของตัวละครตัวนี้และลูกสาวของตัวละครตัวนี้มันน่าสนใจมากๆในตัวมันเองอยู่แล้วแหละ โดยที่ตัวละครตัวนี้ไม่จำเป็นต้องไปลงเรียนมหาลัยเดียวกับลูกสาวก็ได้

5.อีกสิ่งที่เราจินตนาการเล่นๆเกี่ยวกับเวอร์ชั่นภาพยนตร์ของละครเวทีเรื่องนี้ก็คือว่า เราจะ ซึ้งกับตัวละครต่างๆได้อย่างรุนแรงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตัวละครหญิงสาวกับแม่เลสเบียน ถ้าหากมันมี moment ที่ตัวละครอยู่เฉยๆ ไม่ต้องพูดหรือทำอะไรน่ะ คือ moment แบบนี้มันมีอยู่ในภาพยนตร์ที่เราชอบมากๆหลายๆเรื่องนะ แต่ในสือประเภทละครเวทีนั้น เราสังเกตแล้วพบว่า มันอาศัยการให้ตัวละครพูดหรือทำอะไรตลอดเวลาเพื่อขับเคลื่อนเนื้อเรื่องให้เดินหน้าต่อไปโดยไม่หยุดยั้งน่ะ มันไม่มี moment ที่ให้ตัวละครหยุดพัก ผ่อนคลาย นั่งนิ่งๆอยู่ในห้องตามลำพังเพื่อครุ่นคิดถึงอะไรบางอย่าง ซึ่งเราจะชอบ moment แบบนี้มากๆในสื่อภาพยนตร์ แต่พอละครเวทีขาด moment แบบนี้ไป มันก็เลยเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรารู้สึกไม่พีคกับละครเวทีมากเท่าที่ควร คือพอหนังมันมี moment ที่ตัวละครหยุดนิ่ง เราจะรู้สึกเหมือนถูกดูดซึมเข้าไปในตัวละครตัวนั้นน่ะ แต่ถ้าหากตัวละครพูดหรือทำอะไรตลอดเวลา เราจะรู้สึกเหมือนกับว่าสมองของเราต้องคอยตามเนื้อเรื่องให้ทัน และพอสมองของเราถูกใช้ไปกับการตามเนื้อเรื่องให้ทัน อารมณ์ความรู้สึกของเราก็จะไม่มีโอกาสถูกดูดซึมเข้าไปในตัวละครได้มากนัก

6.ประเด็นหลักของละครเวทีเรื่องนี้คืออะไร เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันนะ แต่สิ่งที่เราประทับใจจากละครเวทีเรื่องนี้ก็คือมันทำให้เรานึกถึงประเด็นเรื่องทางเดินในชี่วิตน่ะ คล้ายๆกับบทกวี THE ROAD NOT TAKEN ของ Robert Frost ทั้งการเลือกเรียนสายวิทย์หรือสายศิลป์, การเลือกว่าจะเรียนคณะอะไร, การต้องตัดสินใจว่าจะลาออกจากมหาลัยเพื่อเอ็นท์ใหม่ดีหรือไม่, การเลือกแฟน, การเลือกว่าจะทำงานโดยเน้นไปที่ ผลงานหรือเน้นไปที่ สวัสดิภาพของลูกน้อง”, การตัดสินใจว่าจะลาออกจากงานเพื่อไปหางานใหม่ดีหรือไม่ โดยที่การเลือกและการตัดสินใจต่างๆเหล่านี้ บางครั้งมันก็เลือกใหม่ได้ ย้อนกลับไปเริ่มต้นใหม่ได้ โดยที่เราต้องยอมเสียเวลา แต่ในบางครั้งมันก็เลือกใหม่ไม่ได้ อย่างเช่นในกรณีของพนักงานบริษัทที่แท่นขุดเจาะกลางทะเล (ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด) และกรณีของหญิงสาวกับหนุ่มหล่ออารมณ์ร้อน

7.ชอบการแสดงของนักแสดงเกือบทุกคนในเรื่องนี้ โดยเฉพาะนักแสดงหน้าเก่า เรารู้สึกเหมือนกับว่ามันเป็นการถ่วงสมดุลกับเรื่อง DEAR ANGEL (2015) ของนินาทที่ใช้นักแสดงหน้าใหม่หมด คือใน DEAR ANGEL นั้น ความดีงามของเรื่องมันต้องพึ่ง เนื้อเรื่องเป็นอย่างมาก ไม่สามารถพึ่งพาความสามารถของนักแสดงหน้าใหม่ได้ แต่ใน FOSSILS นี้ เราได้รับอรรถรสจากความสามารถของนักแสดงอย่างเต็มที่

จริงๆแล้วชอบเกือบทุกคนในเรื่องนะ บทแม่เลี้ยงเลสเบียนเราก็ชอบมาก, บทเด็กหนุ่ม stalker เราก็ชอบมาก อีกคนที่ชอบมากก็คือคุณฉัตร วงษ์ชัยบูรณ์ในบทอาจารย์มหาลัย เพราะเราว่าตัวละครตัวนี้ดูแล้วแอบนึกถึงคุณฮูก อรรถพล อนันตวรสกุล นักแสดงละครเวทีที่เป็นอาจารย์มหาลัยจริงๆ

8.อันนี้ไม่เกี่ยวกับละคร แค่จะบอกว่าเราก็เป็นเด็กซิ่วเหมือนกัน 555 เราเรียนสายศิลป์คำนวณตอนอยู่มัธยม แล้วก็สอบเทียบตอนจบม. 5 แล้วไปเรียนบัญชี จุฬาอยู่ปีนึง แต่พอปีต่อมาเราก็ตัดสินใจเอ็นท์ใหม่แล้วก็ติดอักษร จุฬา เพราะฉะนั้นตอนที่ดูละครเวทีเรื่องนี้ เราก็เลยนึกถึง ทางเดินในชีวิตตัวเองอยู่เหมือนกัน

เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเราตัดสินใจถูกหรือเปล่านะ คือถ้าย้อนเวลากลับไปช่วงตันปี 1990 ได้ เราก็คงจะเลือกเรียนบัญชีปีนึง แล้วค่อยไปเข้าอักษร จุฬาในปีต่อมาเหมือนเดิมน่ะแหละ 555 เพราะรู้สึกว่าช่วงเวลาตอนนั้นมันลงตัวดี ช่วงเวลาที่เราเรียนบัญชีปีนึง เราก็มีความสุขมากๆ เพราะเราแทบไม่เข้าห้องเรียนเลย เราใช้เวลาไปขลุกอยู่กับเพื่อนๆมัธยมและนั่งจัดอันดับเพลงกันอย่างบ้าคลั่งแทน


แต่ถ้าย้อนเวลากลับไปตั้งแต่ต้นปี 1988 เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเราจะยังเลือกเรียนสายศิลป์คำนวณเหมือนเดิมหรือเปล่านะ บางทีเราก็แอบจินตนาการว่า ถ้าหากเราเลือกเรียนสายวิทย์ตอนมัธยมปลาย ตอนนี้ชีวิตเราจะเป็นอย่างไรไปแล้วบ้าง บางทีตอนนี้ชีวิตเราอาจจะเป็นเหมือนเดิมก็ได้ หรือบางทีตอนนี้เราอาจจะมีผัวไปแล้วก็ได้ ใครจะไปรู้

Monday, January 25, 2016

45 YEARS (2015, Andrew Haigh, UK, A+25)

45 YEARS (2015, Andrew Haigh, UK, A+25)



1.จริงๆแล้วชอบทุกอย่างในหนังนะ ชอบองค์ประกอบทุกอย่างเลย เพราะฉะนั้นเราจะละมันไว้ ยังไม่พูดถึงมัน เพราะมันดีอยู่แล้ว และคนอื่นๆก็คงจะเขียนถึงความดีงามของหนังเรื่องนี้ไปแล้ว

2.แต่ตัวเรายังไม่ได้ชอบหนังเรื่องนี้ในระดับสุดๆถึงขั้น A+30 นะ แต่นั่นไม่ใช่เพราะว่าหนังมีข้อบกพร่องนะ แต่เป็นเพราะเรารู้สึกว่าตัวละครเคท (Charlotte Rampling) ซึ่งเป็นนางเอกของเรื่องนี้ เป็นคนที่แตกต่างจากเรามากๆน่ะ เหมือนเป็นคนที่มีทัศนคติตรงข้ามกับเราในเรื่องสำคัญ และมีชีวิตที่ไม่เหมือนกับเราเลยด้วย และพอหนังเน้นไปที่ตัวเธอ แต่เราไม่สามารถ identify อะไรกับตัวละครตัวนี้ได้เลยเราก็เลยรู้สึกว่าตัวเอง ไม่เข้ากับหนังในระดับนึง

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าตัวละครตัวนี้ไม่สมจริงหรือ Charlotte Rampling เล่นได้ไม่ดีนะ เราว่าแรมพลิงเล่นได้ดีสุดๆ และตัวละครตัวนี้ก็สมจริง เป็นมนุษย์จริงๆ เพียงแต่ว่าเป็นมนุษย์ที่มีแนวคิดอะไรต่างๆไม่เหมือนเราเท่านั้นเอง

แต่เราก็ไม่แน่ใจว่าเราเข้าใจตัวละครในหนังเรื่องนี้ได้อย่างถูกต้องหรือเปล่านะ และไม่แน่ใจว่าเราเข้าใจหนังเรื่องนี้ถูกต้องหรือเปล่าด้วย เพราะฉะนั้นถ้าหากเราเข้าใจอะไรผิดตรงไหน ก็บอกได้นะ

3.คือเรารู้สึกแปลกแยกจากเคทตั้งแต่ช่วงแรกของเรื่องแล้ว คือเคททำเหมือนไม่พอใจที่สามีของเธออยากเดินทางไปดูศพของคนรักเก่า พอเราเห็นเช่นนั้นเราก็เลยเริ่มมองว่าเคทเป็นคนที่ตรงข้ามกับเราในทันที เพราะถ้าหากเราเป็นเธอ เราก็คงรีบพาสามีเดินทางไปดูศพคนรักเก่าในทันทีที่สะดวก ถ้าหากสามีเราต้องการเช่นนั้น เพราะเราไม่เห็นว่ามันจะเสียหายอะไรตรงไหน สนุกดีเสียอีก และเราก็จะปล่อยให้เขารำลึกถึงอดีต พูดถึงอดีต mourn ถึงอดีตได้อย่างเต็มที่เลยด้วย เพราะเรารู้สึกว่ามันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ และพออดีตมันได้รับการ mourn อย่างเต็มที่แล้ว มันก็จะ จบไปได้ในระดับนึง 

และเรารู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่เสียหายอะไรเลย ถ้าหากสามีเราจะรักคนรักเก่ามากๆน่ะ คือมันก็เป็นธรรมชาติของมนุษย์น่ะ มึงจะไปเรียกร้องอะไรจากสามีมึงมากมายนัก คือเรารู้สึกเหมือนกับว่าเคทเรียกร้องอะไรต่างๆจากสามีในสิ่งที่เราเองคงไม่เรียกร้องน่ะ คือถ้าหากเรามีอายุขนาดนั้น สิ่งที่เราต้องการจากสามีก็คงมีเพียงแค่ มึงอย่าสร้างความลำบากเดือดร้อนให้ชีวิตกูก็พอแล้วและแน่นอนว่าเรากับสามีคงยึดหลัก open relationship เป็นหลัก คือใครจะไปมีเซ็กส์อะไรกับใครอื่นก็ตามสบาย เพราะฉะนั้นการที่สามีจะมารำลึกถึงคนรักเก่าที่ตายไปนานมากแล้วอะไรนี่ มันเป็นสิ่งที่ขี้ปะติ๋วมากๆในสายตาของเรา 

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเรามองว่าเจฟฟ์เป็นฝ่ายถูกไปซะทั้งหมดนะ เพราะเราว่าเขาก็ทำผิดที่ไม่ได้เล่าความจริงทั้งหมดในอดีตให้เคทฟัง เราว่าการปกปิดความจริงอะไรแบบนี้เป็นปัญหาสำคัญอย่างนึงเลยทีเดียว แต่การที่เขาจะนั่งดูรูปแฟนเก่าเป็นชั่วโมงๆ หรือพูดถึงแฟนเก่าอย่างรุนแรงหลังจากมีการพบศพเธอนี่ มันเป็นอะไรที่ธรรมดามากๆ สำหรับเรา

คือขนาดเราเอง ยังสามารถใช้เวลาเป็นชั่วโมงๆนั่งนอนรำลึกนึกถึงความสุขตอนแต่งหน้ากับเพื่อนๆมัธยมเมื่อ 26 ปีก่อนได้เลย คือเราว่าการนั่งรำลึกถึงอดีตนี่มันเป็นอะไรที่เราชอบทำมากๆน่ะ เพราะฉะนั้นการที่เคทเหมือนจะไม่พอใจที่สามีทำเช่นนั้น มันก็เลยเป็นอะไรที่เรารู้สึกตรงข้ามกับเธอมากๆ

คือเรารู้สึกว่า ถ้าหากเราเป็นเคท สิ่งต่างๆที่เจฟฟ์ทำในหนังเรื่องนี้นี่ มันคงจะไม่สร้างความเจ็บปวดอะไรให้เรามากนักน่ะ คือเราอาจจะไม่พอใจบ้างที่เขาโกหกหรือไม่พูดความจริงทั้งหมดกับเรา แต่สิ่งที่เขาโกหกเรานั้นมันก็ไม่ใช่ความผิดอะไรร้ายแรงสำหรับเรานะ

คือถ้าหากเจฟฟ์รักผู้หญิงคนนั้นมากกว่าเรา หรือรักผู้หญิงอีก 5 คนมากกว่าเรา หรือรักผู้หญิงอีก 5 คนกับผู้ชายอีก 3 คนมากกว่าเรา นี่มันเป็นอะไรที่ไม่สำคัญสำหรับเราเลยนะ คือขอแค่ให้เขารักเรา ในระดับที่พอเหมาะก็พอแล้ว ไม่ต้องรักเรามากเป็นอันดับหนึ่งอะไรทั้งสิ้น คือเราจะรับเจฟฟ์ไม่ได้ และขอหย่าจากเจฟฟ์ในทันที ก็ต่อเมื่อเราค้นพบความจริงว่าในอดีตนั้น เขาเคยมีส่วนสนับสนุนรัฐบาลทหารในชิลี, อาร์เจนตินา หรือบราซิลอะไรทำนองนั้นมากกว่า คือสำหรับเราแล้ว การที่มึงรักคนอื่นๆมากกว่ากู นี่เป็นอะไรที่โอเคมากๆ ตราบใดที่มึงรักกูและปฏิบัติดีต่อกูในระดับที่กูต้องการ แต่ถ้ากูรู้ความจริงว่าในอดีตมึงเคยสนับสนุนรัฐบาลทหารในอเมริกาใต้อะไรนี่ กูคงรับไม่ได้ และขอหย่าขาดจากมึงในทันที อะไรทำนองนี้ 555

4.แต่เราไม่ได้มองว่าเคท ผิดนะ คือที่เขียนมาคือจะบอกว่า เคท แตกต่างจากเรามากๆน่ะ เราก็เลยไม่ได้มีอารมณ์ร่วมกับหนังอย่างเต็มที่ 

จริงๆแล้วความไม่อินกับเคทในหนังเรื่องนี้ ทำให้เรานึกถึงการตอบคำถามทางจิตวิทยาที่เรากับเพื่อนๆเกย์เคยคุยกันเมื่อราว 25 ปีก่อนด้วยนะ เราจำได้ว่าในช่วงนั้นเรากับเพื่อนๆเกย์ในกลุ่มเคยตอบคำถามทางจิตวิทยา เพื่อใช้ในการวัดว่าคนๆนั้นให้ความสำคัญกับอะไรในชีวิตในลำดับมากน้อยแค่ไหน คือคนแต่ละคนจะจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆในชีวิตไม่เหมือนกัน ระหว่าง love, family, sex, tradition, integrity, money อะไรทำนองนี้ และผลการตอบคำถามก็คือว่า เรากับเพือนอีกคน ให้ความสำคัญกับ integrity มากที่สุด ในขณะที่เพื่อนคนนึงให้ความสำคัญกับเซ็กส์มากที่สุด ส่วนเพื่อนเกย์ส่วนใหญ่ในกลุ่มให้ความสำคัญกับ love มากที่สุด และเกือบทุกคนในกลุ่มให้ความสำคัญกับ tradition น้อยที่สุด

คือผลการทดสอบตอนนั้นทำให้เราค้นพบว่า ตัวเองไม่ได้ให้ความสำคัญกัlove มากนักน่ะ แต่ให้ความสำคัญกับ integrity มากกว่าเยอะ ซึ่งมันทำให้เราแตกต่างจากเพื่อนๆส่วนใหญ่ในกลุ่ม และพอเรามาดู 45 YEARS และพบว่าเราไม่อินกับอีเคทในหนังเรื่องนี้เลย มันก็เลยทำให้เราสงสัยว่า มันเป็นเพราะปัจจัยนี้ด้วยหรือเปล่า การที่เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับ love มากนัก คือสิ่งที่ทำให้เราแตกต่างจากเคทอย่างรุนแรงหรือเปล่า

5.ตอนดู 45 YEARS จะนึกถึงหนังอีกสองเรื่องที่ชอบมากๆด้วยนะ ซึ่งก็คือ

5.1 ALWAYS (1989, Steven Spielberg, A+30) เพราะมันใช้เพลง SMOKE GETS IN YOUR EYES เป็นเพลงธีมหลักของหนังเหมือนกัน แต่เราชอบ ALWAYS มากกว่าเยอะ เพราะมันเป็นหนังที่พูดถึง ความยินดีที่เห็นคนที่เรารัก ไปมีความรักใหม่กับคนใหม่น่ะ ซึ่งแน่นอนว่าอีเคทเป็นอะไรที่ตรงข้ามกับแบบนี้

5.2 INNOCENCE (2000, Paul Cox, Australia, A+30) หนังเรื่องนี้พูดถึงคู่รักที่พลัดพรากจากกันไป 40 ปีก่อนจะได้กลับมาเจอกันอีกครั้ง แต่ฝ่ายหญิงมีสามีใหม่ไปแล้ว (ใครจะรอนาน 40 ปีจ๊ะ) เพราะฉะนั้นมันก็เลยกลายเป็นรัก 3 เส้าของคนชราที่งดงามมากๆๆๆๆๆ แต่เราก็ชอบหนังเรื่องนี้มากกว่า 45 YEARS เยอะนะ เพราะในที่สุดแล้ว เรารู้สึกว่ามันทำให้เรารู้สึกถึง การปล่อยวางจากความรักและคนรักในระดับนึงน่ะ ในขณะที่เรารู้สึกว่าตัวละครใน 45 YEARS มันไม่ปล่อยวาง

6.เอาล่ะ กลับมาถึงสิ่งที่เราชอบมากๆในหนัง เราชอบความใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของชีวิตน่ะ ชอบรายละเอียดเล็กๆน้อยๆในหนังเกือบทั้งหมดเลย ตั้งแต่การที่เคทจำได้ว่าสามีอ่าน Kierkegaard ถึงบทไหน, การพูดถึงเพื่อนที่ในอดีตเคยเป็นคอมมิวนิสต์แต่ตอนนี้กลายเป็นทุนนิยมขั้นสูงไปแล้, การพูดถึงคุณป้า racist ในหมู่บ้าน, การด่ากับภรรยาเรื่องมาร์กาเร็ต แธทเชอร์ อะไรทำนองนี้ เรามองว่าการนำเสนอรายละเอียดเล็กๆน้อยๆแบบนี้มันทำให้ตัวละครในหนังดูสมจริงมากๆและเป็นมนุษย์มากๆ การใช้เพลงในหนังก็ดีมาก

7.ในอีกแง่นึง เราก็ชอบที่การล่มสลายทางใจของเคท มันดูเหมือนมาจากสิ่งเล็กๆน้อยๆในสายตาของเราด้วย คือถึงแม้เราจะไม่ได้อินกับเคท แต่เราก็มองว่ามนุษย์เรามันก็เป็นแบบนี้นี่แหละ คือแต่ละคนจะมีจุดอ่อนไม่เหมือนกัน และจุดอ่อนของบางคน หรือสิ่งที่สร้างความทุกข์ใจอย่างยิ่งยวดให้กับบางคน บางครั้งมันก็เป็นสิ่งเล็กน้อยในสายตาของคนอื่นๆ 

8.ชอบฉากตอนกลางเรื่องที่เป็นเคทนั่งตามลำพังในเรือและเหมือนคิดอะไรอยู่ในใจด้วย คือเราว่าฉากแบบนี้นี่แหละเป็นอะไรที่ ละครเวทีทำไม่ได้ หรือทำได้ยากน่ะ

คือพอดีช่วงที่ผ่านมาเราได้ดูละครเวทีที่เราชอบมากๆหลายเรื่อง และบางทีมันก็ทำให้เราตั้งคำถามถึงข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันระหว่างสื่อภาพยนตร์กับละครเวทีน่ะ และเราก็พบว่า ไอ้ฉากในภาพยนตร์ที่ เน้น landscape โดยที่ตัวละครไม่มี action อะไร และไม่พูดอะไรนี่แหละ คือสิ่งหนึ่งที่เราชอบมากๆในภาพยนตร์ แต่ละครเวทีทำไม่ได้ หรือทำได้ยาก เพราะละครเวทีส่วนใหญ่มันไม่เน้น landscape แม่น้ำ, ท้องทุ่งอะไรอยู่แล้ว มันขาดพลังจาก landscape ไป และละครเวทีส่วนใหญ่เน้นให้ตัวละคร พูดหรือ เคลื่อนไหวด้วย แต่เรามักจะชอบ moment ในภาพยนตร์ที่ตัวละครนั่งเฉยๆ, เดินเฉยๆ ไม่ต้องพูดอะไร และไม่ต้องสร้าง action อะไรที่ทำให้เกิด เนื้อเรื่องขึ้นมา ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สื่อละครเวทีทำไม่ได้หรือทำได้ยาก เราก็เลยชอบ moment ช่วงที่เคทนั่งอยู่คนเดียวในเรือตอนกลางเรื่อง moment แบบนี้มันมักทำให้เรารู้สึกเหมือนได้ ค่อยๆซึมเข้าไปในตัวละครน่ะ 

9.เราว่าการที่หนังไม่ใช้ flashback เลย เป็นอะไรที่น่าสนใจมากๆนะ คือปกติแล้วเราจะชอบหนังแบบนี้น่ะ คือหนังที่ไม่ใช้ flashback เลย แต่กับหนังเรื่องนี้นั้น เราแอบสงสัยนิดนึงว่า การที่มันไม่มี flashback เลยนี่ เป็นสาเหตุนึงหรือเปล่าที่ทำให้เราไม่อินกับเคท และไม่เข้าใจว่าทำไมเธอต้อง insecure อะไรขนาดนั้น

10.ยังไงก็ดีใจสุดๆที่ได้ดู 45 YEARS นะ คือมันเป็นหนัง แนวที่เราชอบสุดๆน่ะแหละ หนังที่เน้นถ่ายทอดชีวิตมนุษย์ธรรมดาอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่ต้องมีอะไรยิ่งใหญ่มากมาย แต่เน้นการจับสังเกตรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของมนุษย์ คล้ายๆกับหนังของ Eric Rohmer

HALF-HUMAN KRASUE (2016, Bhin Banloerit, A+25)

HALF-HUMAN KRASUE (2016, Bhin Banloerit, A+25)
กระสือครึ่งคน


นึกว่า EVEN DWARFS STARTED SMALL (1970, Werner Herzog) ผสมกับ "บ้านผีปอบ" ชอบจักรวาลในหนังมากๆ มันดูเถื่อน ๆถ่อยๆแบบบ้าๆบอๆดี guilty pleasure of the year

Sunday, January 24, 2016

GHOST EXPERIENCE

วันนี้ได้ฟังเรื่องผีจากเพื่อนทางเฟซบุ๊คคนนึงที่เจอกันโดยบังเอิญหน้าโรงหนัง แล้วทำให้นึกถึงหนังเรื่อง THE NIGHTMARE (2015, Rodney Ascher) มากๆ เพื่อนเล่าว่า เมื่อหลายปีก่อนเขาเคยทำไปทำละครเวทีที่จัดแสดงที่เอยูเอ แล้วมีคืนนึงตอนช่วงที่ซ้อมละคร ตอนนั้น 5 ทุ่มแล้ว มีคนอยู่ในสถานที่ซ้อมละครที่เอยูเอประมาณ 20-30 คน ตอนนั้นรุ่นพี่รุ่นน้องที่คณะกำลังเถียงๆอะไรกันอยู่ แล้วเพื่อนของเราอยู่ดีๆก็มองขึ้นไปที่ระเบียง แล้วก็เห็นคนใส่ชุดขาว เดินด้วยอาการตุปัดตุเป๋คล้ายปู จากระเบียงฝั่งหนึ่งไปยังระเบียงอีกฝั่งหนึ่ง แล้วก็หายวับเข้ากำแพงไปเลยทั้งๆที่ไม่มีประตูอะไรอยู่ตรงนั้น เพื่อนเราก็ตกใจมาก เขาก็เลยถามเพื่อนที่อยู่ข้างๆเขาว่า “เมื่อกี้มึงเห็นอะไรเหมือนอย่างที่กูเห็นหรือเปล่า” เพื่อนคนนั้นก็ตอบว่า “เห็น” แล้วทั้งสองคนก็รีบลาเพื่อนๆอีก 20 คนตรงนั้นเพื่อขอตัวกลับบ้านก่อนในทันที

แต่ปรากฏว่าทั้งสองคนไม่ได้เห็น “ภาพ” เดียวกัน เพราะเพื่อนที่อยู่ข้างๆบอกว่า เขาเห็น “คนตัวขาด” ไม่มีท่อนล่าง เคลื่อนตัวจากระเบียงฝั่งนึงไปยังระเบียงอีกฝั่งนึง

มันก็เลยทำให้เรานึกถึงหนังสารคดีเรื่อง THE NIGHTMARE ขึ้นมา เพราะสำหรับเราแล้ว ฉากที่คลาสสิคที่สุดใน THE NIGHTMARE คือฉากที่ชายหนุ่มคนนึงถูกผีอำ แล้วเขาเห็นผีตัวนั้นเป็น “เงาดำตัวใหญ่มหึมาตาสีแดง” มาข่มขู่คุกคามเขา แต่ปรากฏว่าเพื่อนผู้หญิงที่นอนหลับอยู่ข้างๆเขา อยู่ดีๆก็ร้องกรี๊ดแล้วก็ตื่นขึ้นมา แล้วเธอก็เล่าว่าเมื่อกี้เธอฝันเห็น “แมวดำตาสีแดง” มานอนอยู่บนตัวเธอ แล้วแมวดำตัวนั้นก็พูดกับผู้ชายด้วยภาษาที่แปลกประหลาดพิสดารมาก

เราก็เลยสนใจมากๆว่า มันเคยมีกรณีแบบนี้อีกบ้างไหม ที่คนตั้งแต่สองคนขึ้นไป เห็นผีพร้อมกันในเวลาเดียวกัน แต่เห็น “ไม่เหมือนกัน”  เพราะอย่างใน THE NIGHTMARE นั้น คนสองคนเห็นผีพร้อมกันในที่เดียวกันเวลาเดียวกัน แต่คนนึงเห็นเป็นเงามนุษย์ตัวใหญ่มหึมา แต่อีกคนเห็นเป็นแมวดำ ส่วนในกรณีของเพื่อนเรานั้น คนนึงเห็นเป็น “คนมีขาเดินตุปัดตุเป๋” ส่วนอีกคนเห็นเป็น “คนตัวขาด ไม่มีขา”

เราอยากรู้มากๆว่า มันมีคำอธิบายทางไสยาศาสตร์อะไรหรือเปล่า ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ (มันคงไม่มีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์อยู่แล้วล่ะมั้ง) เพราะเราว่ามันน่าสนใจดี ทำไมมนุษย์สองคนที่สัมผัสหรือเห็น “พลังงานลึกลับก้อนเดียวกัน” ถึงรับรู้มันในรูปทรงที่ต่างกันไป แสดงว่า “สมอง” ของแต่ละคนมันมีการดัดแปรภาพการรับรู้ก้อนพลังงานลึกลับนั้นในแบบที่แตกต่างกันไปก่อนที่จะส่งข้อมูลเข้าสู่จิตสำนึกของเราหรือเปล่า


อีกอย่างที่น่าสนใจก็คือว่า ทำไมเอยูเอมันถึงเฮี้ยน เคยมีเรื่องผีอื่นๆที่เอยูเออีกบ้างไหม สถานที่ตรงนั้นมันเคยเป็นอะไรมาก่อนจะเป็นเอยูเอ แล้วตอนนี้เอยูเอก็โดนทุบไปแล้ว แล้วสถานที่ตรงนั้นมันจะเป็นอะไรต่อไป

FILMS SEEN RECENTLY

หนัง + ละครเวทีที่ได้ดูในช่วงนี้แต่ยังไม่มีเวลาเขียนถึง

1.THRONE OF BLOOD (1957, Akira Kurosawa, Japan, A+20)

2.THE LAST GLORY OF TROY (1962, Giorgio Venturi, Italy, A+15)

3. MISS PORADOK นางสาวโพระดก (1981, Ruj Ronnapop, A+15) ดูแล้วอยากได้พอเจตน์ แก่นเพชรเป็นผัวมากๆ ชอบหนุ่มชนบทบ้านนาแบบนี้

4. FOSSILS เด็กซิ่ว (2016, Ninart Boonpothong, stage play, A+20)

5. GHOST DOG: THE WAY OF THE SAMURAI (1999, Jim Jarmusch, A+30)

6. THE LIMITS OF CONTROL (2009, Jim Jarmusch, A+30)

7. ONLY LOVERS LEFT ALIVE (2013, Jim Jarmusch, A+30)


8. 45 YEARS (2015, Andrew Haigh, UK, A+25)

Thursday, January 21, 2016

GRACE (2016, Pun Homchuen + Onusa Donsawai, A+20)

GRACE (2016, Pun Homchuen + Onusa Donsawai, A+20)
อวสานโลกสวย


มันมีทั้งจุดที่ชอบและไม่ชอบเมื่อเทียบกับเวอร์ชั่นหนังสั้นนะ จุดที่ชอบก็คือเนื้อเรื่องมันสมจริงมากขึ้น เพราะในเวอร์ชั่นหนังสั้นมันดูเหมือนมีอะไรไม่สมเหตุสมผลอยู่บ้าง (อย่างเช่นการให้ตัวร้ายมาเล่าประวัติตัวเอง) แต่มันมีจุดนึงที่เราชอบมากๆในเวอร์ชั่นหนังสั้น แต่ในเวอร์ชั่นนี้มันดันหายไป นั่นก็คือเรารู้สึกว่าในเวอร์ชั่นหนังสั้นนั้น ตัวละคร net idol กับเพื่อนสนิท มันดูเป็นผู้หญิงที่ strong มากๆทั้งสองคนน่ะ มันดูเป็นผู้หญิงที่มีธาตุความแรงอะไรบางอย่างอยู่ในตัวทั้งสองคน เพราะฉะนั้นพอผู้หญิงที่ strong มากสองคนมาปะทะกับฆาตกรโรคจิตหญิง มันก็เลยทำให้เรารู้สึก “เลือดในกายฉีดพล่าน” เวลาดูเวอร์ชั่นหนังสั้นน่ะ เพราะเรามักจะมีความสุขมากๆเวลาได้ดูหนังที่มีตัวละครหญิงแรงๆมาปะทะกัน (อย่างเช่น MAPS TO THE STARS) แต่พอมาในเวอร์ชั่นหนังยาวนี้ เรารู้สึกว่าตัวละคร net idol กับเพื่อนสนิท มันดูไม่ค่อยมี “ธาตุความแรง” แบบในเวอร์ชั่นหนังสั้น มันดูเป็น “คนธรรมดา” มากขึ้น แล้วพอผู้หญิงธรรมดาสองคนมาปะทะกับฆาตกรโรคจิตหญิง มันก็เลยไม่ค่อยกระตุ้นความรู้สึกเรามากเท่ากับเวอร์ชั่นหนังสั้น

Tuesday, January 19, 2016

COP CAR (2015, Jon Watts, A+30)

COP CAR (2015, Jon Watts, A+30)

1.ชอบ landscape ในหนังเรื่องนี้มากๆ มันดูเป็นชนบทอเมริกาธรรมดา แต่ทำไมเราดูแล้วชอบมากก็ไม่รู้ เหมือนผู้กำกับมันดึงพลังบางอย่างออกมาจาก landscape ได้อย่างดีมากๆ แต่เราก็ชี้ชัดลงไปไม่ได้ว่า พลังที่เราชอบมากๆจาก landscape ในหนังเรื่องนี้มันคืออะไรกันแน่ หรือมันมีความพิเศษยังไงกันแน่ บอกได้แต่ว่า landscape ในหนังเรื่องนี้มันทรงพลังมากๆสำหรับเรา เราว่า landscape ในหนังเรื่องนี้มันทรงพลังกว่า landscape ในหนังอย่าง THE DRESSMAKER (2015, Jocelyn Moorhouse, A+30) ที่มีการออกแบบ “ภูมิทัศน์” เป็นอย่างดีเสียอีก

ในแง่นึงเราว่า landscape ใน COP CAR มันดูน่ารื่นรมย์ดีนะ มันดูเป็นธรรมชาติชนบทโล่งๆดี แต่ในอีกแง่นึง landscape แบบนี้ก็มักปรากฏอยู่ในหนังสยองขวัญด้วยเหมือนกัน และหนังเรื่องนี้ก็ดึงศักยภาพ “ความสยองขวัญ” ของ landscape ท้องถนนในชนบทออกมาได้อย่างสุดตีนมากๆในช่วงท้ายๆของเรื่อง

คือในขณะที่เรารู้สึกรื่นรมย์กับสภาพธรรมชาติชนบทอันร่มรื่นในช่วงต้นของเรื่อง เราก็เข้าใจตัวละครจริงๆว่า “แสงไฟของเมืองใหญ่” มันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนามากขนาดไหนในช่วงท้ายของเรื่อง และเราก็ชอบที่หนังทำให้เรารู้สึกรุนแรงกับ “แสงไฟของเมืองใหญ่” ได้มากขนาดนี้

2.ชอบ character เด็กสองคนในเรื่องมากๆ คือมันคือขั้วตรงข้ามของตัวละคร “เด็กน้อยใสซื่อ” ในหนังอย่าง THE 5TH WAVE (2016, J Blakeson, B  ) น่ะ คือหนังฮอลลีวู้ดทั่วๆไปชอบสร้างตัวละครเด็กน้อยใสซื่อแบบใน THE 5TH WAVE ออกมา ซึ่งเป็นตัวละครแบบที่เราเบื่อมากๆ แต่พอเราเห็นตัวละครเด็กสองคนใน COP CAR เราก็รู้สึกว่าหนังน่าสนใจขึ้นมาทันที เพราะมันเป็นเด็กชายสองคนที่หนีออกจากบ้าน และคงผ่าน “ความเหี้ยห่าจัญไรของครอบครัวและชีวิต” มามากพอแล้ว คือหนังไม่ได้มีแฟลชแบ็คเล่าอะไรพวกนี้ตรงๆเลย แต่สิ่งที่สอดแทรกอยู่ในบทสนทนาของตัวละคร ก็ทำให้เราจินตนาการได้เองว่า เด็กสองคนนี้มันต้องมี “บาดแผลของชีวิต” มามากพอสมควร ก่อนที่หนังเรื่องนี้จะเริ่มต้นขึ้น และเราก็ชอบตัวละคร “เด็กน้อยกร้านโลก” แบบนี้มากๆ

3.ซึ่งอีกจุดที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้ก็คือการที่มันทำตัวเข้ากับหลักการสำคัญที่ Ray Carney บอกไว้นั่นแหละ นั่นก็คือหลักการที่ว่า “ตัวละครมีตัวตนตั้งแต่ก่อนหนังเริ่ม” โดยเฉพาะตัวละคร 4 ตัวหลักของหนังเรื่องนี้ (เด็กน้อยสองคน, Kevin Bacon และคนท้ายรถ) และหนังไม่พยายามจะบอกเราว่า อดีตของตัวละครเหล่านี้สามารถสรุปให้เราฟังง่ายๆในเวลา 5 นาทีได้อย่างไร

คือเราชอบมากที่หนังทำให้เรารู้สึกอย่างรุนแรงว่า ตัวละครหลัก 4 ตัวในหนังเรื่องนี้ “มีชีวิตมาตั้งแต่ก่อนหนังเริ่ม” น่ะ ซึ่งหนังทำแบบนี้ได้สำเร็จ ผ่านทางการ hint อย่างชาญฉลาด และผ่านทางการให้ข้อมูลในระดับที่มากพอที่จะเข้าใจเนื้อเรื่อง แต่ไม่มากเกินไป

และมันน่าสนใจดีสำหรับเราในแง่ที่ว่า การที่หนังให้ข้อมูลน้อยกว่าปกติแก่คนดู เกี่ยวกับตัวละครหลัก 4 ตัวนี้ มันกลับทำให้เราเชื่อถือในตัวละครหลัก 4 ตัวนี้มากขึ้น และมองว่ามันเป็นตัวละครที่ใกล้เคียงกับมนุษย์จริงๆมากขึ้น หรือทำให้สถานการณ์ในหนังสมจริงมากขึ้น คือ “ยิ่งให้ข้อมูลน้อย ตัวละครกลับยิ่งเข้าใกล้ความเป็นมนุษย์มากขึ้น” คือมันดูเป็นอะไรที่ไม่น่าจะเป็นไปได้นะ แต่เราว่าหนังเรื่องนี้ทำได้สำเร็จในแง่นี้จริงๆ

4.คือเวลาที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราจะนึกถึงหนังเรื่อง THE CALL (2013, Brad Anderson, A+30) ที่มีการลักพาตัวเด็กในรถยนต์ และนึกถึงหนัง thriller เรื่องอื่นๆด้วย แต่สิ่งที่ทำให้เราชอบ COP CAR มากๆ ก็คือการที่มันไม่ได้พยายามจะทำตัวตามสูตรหนัง thriller เป๊ะๆ และการที่มันทำให้เรารู้สึกอย่างรุนแรงว่า “ตัวละครมีชีวิตมาตั้งแต่ก่อนหนังเริ่ม” น่ะ

คือเอาง่ายๆ อย่างใน THE CALL ซึ่งเป็นหนังที่เราชอบสุดๆเหมือนกัน (แต่ด้วยเหตุผลที่ต่างกันไป) เราจะรู้สึกว่าทั้งตัวละครนางเอก, เหยื่อที่ถูกลักพาตัว และผู้ร้ายของเรื่อง “ได้รับการอธิบายชีวิตอย่างสมบูรณ์ในตัวหนังเองแล้ว” น่ะ เรารู้สึกว่าหนังให้ข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์เกี่ยวกับตัวละครหลักๆในหนังเรื่อง THE CALL หมดแล้ว ซึ่งมองเผินๆมันเหมือนจะเป็นสิ่งที่ดี, ถูกต้อง และสมควรทำ แต่ในอีกแง่นึง มันกลับทำให้เรารู้สึกว่า เรากำลังดู “ตัวละคร” ขณะที่ดูหนังเรื่อง THE CALL เรากำลังดู “ตัวละคร” ที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างดี เพื่อทำหน้าที่ตามบทบาทที่ตัวเองสมควรทำตามสูตรสำเร็จของหนัง thriller “อดีต” ของตัวละครหลักแต่ละตัวใน THE CALL ได้รับการออกแบบมาอย่างดีแล้วเพื่อให้สอดคล้องกับ genre หนัง

และเราว่าหนังหลายๆเรื่องก็ทำแบบ THE CALL นะ ซึ่งมันไม่ใช่สิ่งผิด แต่มันน่าสนใจดี ที่พอหนังเหล่านี้ “ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอดีตของตัวละครในระดับที่มากพอสมควร” มันกลับทำให้เรารู้สึกว่า เรากำลังดู “ตัวละครที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี” อยู่ เพราะอดีตของตัวละครเหล่านี้ เป็นสิ่งที่สามารถสรุปรวบยอดได้อย่างง่ายๆ เพื่อป้อนเข้าสู่สมองผู้ชมได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว แต่พอ COP CAR “ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอดีตของตัวละครในระดับที่น้อยกว่าปกติ” มันกลับทำให้เรารู้สึกว่า ตัวละครในหนังเข้าใกล้ความเป็นมนุษย์จริงๆมากขึ้น เพราะเรามองว่าอดีตของมนุษย์แต่ละคน มันไม่ใช่สิ่งที่สามารถสรุปรวบยอดได้อย่างง่ายๆแบบที่หนังหลายเรื่องทำกัน

5.สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า มันก็มีหนังหลายๆเรื่องที่อาจจะทำแบบ COP CAR นะ ที่เหมือนเล่าอดีตของตัวละครน้อยกว่าปกติ แต่ปกติแล้วมันไม่ใช่หนังที่กระเดียดไปทาง thriller แบบหนังเรื่องนี้น่ะ คือหนังที่ทำแบบนี้มันรวมถึงหนังชีวิตดราม่าอย่าง THOSE WHO LOVE ME CAN TAKE THE TRAIN (1998, Patrice Chereau) และ NO SCANDAL (1999, Benoît Jacquot) ที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนกันว่า ตัวละครมีอดีตที่น่าสนใจมากมายที่หนังไม่ยอมเล่าให้เราฟัง  แต่พอ COP CAR เอาวิธีการแบบนี้มาใช้กับหนังที่มีกลิ่น thriller มันก็เลยกลายเป็นสิ่งที่น่าสนใจขึ้นมา

เราว่าการผสมผสาน “ความสมจริงแบบหนังชีวิต” เข้ากับ “เนื้อเรื่องที่เอื้อต่อการเป็นหนัง thriller” มันคือปัจจัยหลักอีกอันนึงที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้แบบสุดๆด้วยแหละ  คือถ้าหากหนังเรื่องนี้เป็นหนัง coming of age ธรรมดาไปเลย แบบ THE KINGS OF SUMMER (2013, Jordan Vogt-Roberts) เราก็คงไม่ชอบมันมากเท่านี้ หรือถ้าหากหนังเรื่องนี้ทำตัวเป็นหนัง thriller ไปเลย แบบ THE CALL หรือ INTENSITY (1997, Yves Simoneau, 187min, A+30) เราก็คงไม่ชอบมันมากเท่านี้ เพราะถ้าหากมันทำตัวเป็นหนัง thriller ไปเลย เราก็จะรู้สึกว่าเรากำลังดู “ตัวละครที่ทำหน้าที่ตามบทบาทในหนัง thriller อยู่” แต่พอ COP CAR ไม่ได้ทำตัว belong to genre แคบๆอันใดอันหนึ่งอย่างชัดเจน มันก็เลยทำให้เรารู้สึกว่า เรากำลังดู “จักรวาลที่มีความเป็นไปได้มากกว่าจักรวาลในหนัง thriller” ทั่วๆไป” และมันทำให้เรามีความสุขเวลาได้ดูอะไรแบบนี้

6.อีกจุดที่ชอบมากก็คือ เรารู้สึกว่า หนังเรื่องนี้ไม่ได้เน้นไปที่ “เด็กๆจะใช้ไหวพริบในการเอาตัวรอดได้อย่างไร” แบบในหนัง thriller ทั่วๆไป แต่เหมือนหนังจะเน้นไปที่ “ผู้ร้ายจะใช้ไหวพริบ ปฏิภาณในการเอาตัวรอดได้อย่างไร” มากกว่า ซึ่งเราว่ามันเป็นสิ่งที่หนังส่วนใหญ่ไม่ค่อยทำกัน ยกเว้นหนังของ Alfred Hitchcock

7.เราชอบที่หนังเรื่องนี้ตรึงความสนใจเราไว้ได้โดยตลอดด้วย ทั้งๆที่เราไม่ได้ identify กับตัวละครตัวใด หรือเข้าข้างตัวละครตัวใดเลย ซึ่งมันแตกต่างจากหนัง thriller ทั่วๆไปอย่าง THE CALL, INTENSITY หรือแม้แต่หนัง genre อื่นๆอย่าง SPOTLIGHT ที่มันจะมีตัวละครที่เรา “เข้าข้าง” ได้อย่างชัดเจน

ส่วนใน COP CAR นั้น แน่นอนว่าเราย่อมต้องเห็นว่า “เด็ก” ดีกว่า “ผู้ร้ายสองฝ่าย” ในเรื่อง แต่สิ่งที่เราชอบก็คือว่า มันเป็นการเปรียบเทียบระหว่าง ตัวละครที่เราเห็นว่า “ไม่ดี” ทั้ง 3 ฝ่ายน่ะ คือเราจะไม่ identify กับตัวเด็กอย่างแน่นอน เพราะเรารู้สึกว่าอีเด็กพวกนี้โง่มาก แส่หาเรื่องเอง มึงอยู่เฉยๆก็ไม่มีปัญหาแล้ว และมึงก็สามารถยุติปัญหาได้ง่ายๆตลอดเวลาด้วยในช่วงครึ่งแรกของเรื่อง แต่มึงเสือกแส่หาเรื่องเอง อยู่ดีไม่ว่าดีแท้ๆ เพราะฉะนั้นเราก็เลย “ไม่เข้าข้าง” เด็กๆในเรื่อง หรือไม่ได้เอาใจช่วยเด็กๆในเรื่องมากนัก

ส่วนตัวละครของ Kevin Bacon นั้น แน่นอนว่ามันเป็นผู้ร้ายที่เราไม่น่าจะ identify ด้วย แต่ก็อย่างที่เราบอกไว้ข้างต้นนั่นแหละ เราว่าหนังมันน่าสนใจมากๆ ที่มันเน้นไปยังจุดที่ว่า ตัวละครผู้ร้ายใจโหดตัวนี้ จะใช้ไหวพริบปฏิภาณในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างไร เพราะฉะนั้นหนังจึงทำให้คนดูตกอยู่ในสถานะที่น่าสนใจมากๆ เพราะคนดูไม่รู้ว่าควรจะรู้สึกอย่างไรดีกับสถานการณ์ที่ผู้ร้ายตัวนี้เผชิญอยู่ โดยเฉพาะในฉากอย่าง “การใช้เชือกผูกรองเท้า” เราซึ่งเป็นคนดู ควรจะเอาใจช่วยตัวละครตัวนี้ให้ใช้เชือกผูกรองเท้าได้สำเร็จดีมั้ย และในฉากที่ Kevin Bacon เจอตำรวจสั่งให้หยุดรถด้วยเช่นกัน เราควรจะเอาใจช่วยให้ตัวละครตัวนี้เอาตัวรอดได้มั้ย


คือในแง่นึงมันก็ทำให้เรานึกถึง FUNNY GAMES (1997, Michael Haneke) นะ เพราะมันทำให้เราลุ้นให้คนตัวร้ายเอาตัวรอดไปได้เรื่อยๆน่ะ คือรู้ทั้งรู้ว่ามันเป็นคนร้ายที่ชั่วมากๆ เลวมากๆ แต่เราก็ลุ้นให้มันเอาตัวรอดไปได้เรื่อยๆ “เพื่อความสนุกของเรา” เพราะถ้าหากคนร้ายมันล้มเหลวซะตั้งแต่ต้นเรื่องหรือกลางเรื่อง ความสนุกก็อาจจะจบลง เราก็เลยลุ้นให้คนร้ายเอาตัวรอดไปให้ได้เรื่อยๆก่อน หนังจะได้มีความสนุกต่อไป 555