Monday, November 28, 2016

FIMS LIKE DOGVILLE

มีเพื่อนใน Facebook คนนึง ถามเกี่ยวกับหนังกลุ่ม DOGVILLE เราก็เลยตอบเขาไปตามนี้จ้ะ

หนังกลุ่มที่ไม่ปกปิดพื้นที่จริงในการถ่ายทำ แบบ DOGVILLE อาจจะแบ่งได้เป็นกลุ่มย่อยๆหลายกลุ่มด้วยกัน อย่างเช่น

1.หนังกลุ่มที่เราว่า minimal ที่สุดในบรรดาหนังประเภทนี้ คือหนังที่กำกับโดย Jean-Marie Straub กับ Danièle Huillet เพราะหนังอย่าง DOGVILLE นั้น ตัด “ความสมจริงด้านฉาก” ทิ้งไปหมดเลย แต่ยังอาศัยความสมจริงด้านการแสดง, ความสมจริงด้านเสื้อผ้า และการสร้างอารมณ์ดราม่าแบบหนังทั่วไปอยู่ด้วย ในขณะที่หนังหลายเรื่องของ Straub/Huillet ตัดการสร้างอารมณ์ดราม่าแบบหนังทั่วไปทิ้งไปด้วย คือเท่าที่เราได้ยินมา หนังหลายเรื่องของ Straub/Huillet เป็นการให้นักแสดงมายืนหรือนั่งอ่านบทละครเวทีโบราณกลางป่า คือหนังพวกนี้จะเหมือนกับ DOGVILLE ในแง่ที่ว่า มันไม่ต้องอาศัยการสร้างฉากให้สมจริงตามเนื้อเรื่องอีกต่อไป แต่มันไปไกลกว่า DOGVILLE อีกหลายขั้นในแง่ที่ว่า นักแสดงไม่ต้องมาแสดงลีลาท่าทาง สร้างอารมณ์ดราม่าแบบหนังทั่วไปด้วย นักแสดงแค่มายืนพูดบทละครไปเรื่อยๆกลางป่าเท่านั้น และหนังจะให้ความสำคัญกับอะไรอื่นๆอีกมากมายแทนการสร้างอารมณ์ดราม่า อย่างเช่นให้ความสำคัญกับ “แสงอาทิตย์ที่เคลื่อนคล้อย”, ความสัมพันธ์ระหว่างบทละครโบราณในอดีต กับยุคสมัยปัจจุบัน, ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักแสดงกับตัวละครที่เขาเล่น, การที่ตัวบทที่นักแสดงพูดถูกขับเน้นให้ลอยเด่นออกมาในหนังประเภทนี้ มากกว่าในหนังทั่วๆไป, การพยายามสร้าง perceptions ใหม่ๆให้กับผู้ชม, การให้อิสระแก่ผู้ชมในการประกอบสร้างความหมายจากภาพและเสียงที่ได้รับรู้ ฯลฯ

แต่เราก็ไม่รู้ว่าเราบรรยายหนังของ Straub/Huillet ถูกหรือเปล่านะ เพราะเราก็ไม่เคยดูหนังกลุ่มข้างต้นของ Straub/Huillet เลย เพราะไม่มีใครเอาเข้ามาฉายในไทยเสียที ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด หนังในกลุ่มนี้ก็มีเช่นเรื่อง OTHON (1969), HISTORY LESSONS (1972), FORTINI/CANI (1976), FROM THE CLOUDS TO THE RESISTANCE (1979), THESE ENCOUNTERS OF THEIRS (2006), etc.

แต่หนังของ Straub/Huillet ก็ไม่ได้เป็นแบบนี้ทุกเรื่องนะ หนังอย่าง CLASS RELATIONS (1984) ของพวกเขา ก็มีการอาศัยฉากแบบสมจริงเหมือนหนังทั่วไป ส่วนหนังอย่าง MOSES AND ARON (1975) ของพวกเขา ก็เหมือนหนังอย่าง DOGVILLE คือไม่ได้มีการอาศัยฉากสมจริง แต่มีการให้นักแสดงมาเล่นอารมณ์ดราม่าบ้างเล็กน้อย โดย MOSES AND ARON นั้น เป็นการเอาตำนานโมเสสมาเล่า แต่แทนที่หนังจะอาศัยฉากสมจริง+ทุนสร้างสูงแบบ EXODUS: GODS AND KINGS (2014, Ridley Scott) ที่เล่าตำนานโมเสสเหมือนกัน Straub/Huillet กลับเล่าตำนานโมเสสโดยใช้ฉากเพียงแค่สนามกีฬาฉากเดียวเท่านั้น ถ้าจำไม่ผิด คือเขาให้นักแสดงมาแสดงตำนานโมเสสในสนามกีฬาไปเลย แต่ก็เล่าออกมาได้สนุกมากๆ

2.หนังที่เราว่าคล้าย DOGVILLE มากในการเล่าหนังทั้งเรื่องโดยใช้ฉากโล่งๆบนเวทีละคร คือ BREMEN FREEDOM (1972, Rainer Werner Fassbinder) ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบมากที่สุดในชีวิต หนังสร้างจากเรื่องจริงของผู้หญิงที่ฆ่าคนไปราว 15 คน

3.หนังของ Hans-Jürgen Syberberg บางเรื่อง ก็ใช้ฉากเวทีละครแบบไม่สมจริงมาประกอบการเล่าเรื่องด้วยเช่นกัน อย่างเช่น

3.1 LUDWIG: REQUIEM FOR A VIRGIN KING (1972)
3.2 HITLER: A FILM FROM GERMANY (1977)

แต่หนังของ Syberberg ที่น่าจะนำมาเปรียบเทียบกับ DOGVILLE มากๆในแง่ “การกระตุ้นให้ผู้ชมจินตนาการ settings ต่างๆเอาเอง” คือ LUDWIG’S COOK (1972) ที่เป็นการเอาบทบันทึกของคนเมื่อ 100 ปีก่อน มาให้นักแสดงคนนึงพูด โดยนักแสดงคนนี้จะเดินไปเรื่อยๆในปราสาทของกษัตริย์ลุดวิกในยุคปัจจุบัน แต่สิ่งที่นักแสดงคนนี้พูด คือสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในปราสาทนี้เมื่อ 100 ปีก่อน เพราะฉะนั้นระหว่างที่ดูหนังเรื่องนี้ ผู้ชมจะได้เห็นภาพปราสาทยุคปัจจุบัน แต่ผู้ชมจะต้องจินตนาการภาพปราสาทนี้ในอดีต, คนต่างๆในอดีต และเหตุการณ์ต่างๆในอดีตเอาเอง โดยใช้สิ่งที่นักแสดงพูดเป็นวัตถุดิบในการจินตนาการ

หนังไทยอย่าง “มนัส จรรยงค์ คืนวันหนึ่งที่ถนนตะแลงแกง” (2008, ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ) ก็มีลักษณะบางอย่างคล้ายๆ LUDWIG’S COOK ด้วยเช่นกัน

4.หนังของ Derek Jarman ซึ่งไม่ได้ minimal มากเท่ากับ DOGVILLE แต่ก็มีความ minimal กว่าหนังทั่วไปอยู่มาก เพราะหนังหลายเรื่องของ Derek Jarman เป็นการเล่าเรื่องราวในยุคอดีตหลายร้อยปีก่อน แต่หนังใช้ฉากแบบ minimal มากๆ มีของประกอบฉากเพียงแค่ชิ้นสองชิ้นเท่านั้น และมีการใส่เสียงมอเตอร์ไซค์หรือเสียงรถราในยุคปัจจุบันเข้ามาประกอบเรื่องราวเมื่อหลายร้อยปีก่อนด้วย โดยหนังในกลุ่มนี้ก็มีเช่นเรื่อง CARAVAGGIO (1986), THE GARDEN (1990), EDWARD II (1991) และ WITTGENSTEIN (1993)

5.จริงๆแล้วหนังเรื่อง PERCEVAL LE GALLOIS (1978, Eric Rohmer) ก็สามารถเทียบเคียงได้กับหนังของ Derek Jarman ด้วยเหมือนกัน เพราะ PERCEVAL LE GALLOIS เล่าเรื่องราวของอัศวินในยุคโบราณ แต่ใช้ฉากหลังแบบ minimal มากๆเหมือนกัน

แต่เราว่าอารมณ์ของ PERCEVAL LE GALLOIS แตกต่างจากอารมณ์ในหนังของ Derek Jarman อยู่มาก เพราะเราว่าหนังของ Derek Jarman งดงามสุดๆ แต่ PERCEVAL LE GALLOIS ให้อารมณ์ที่แข็งกระโด๊กมากๆ แต่ไม่ใช่ว่าหนังเรื่องนี้ไม่ดีนะ เราว่าการแสดง+ฉากหลังที่แข็งกระโด๊กมากๆในหนังเรื่องนี้ มันเป็นเสน่ห์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครของหนังเรื่องนี้

6.มีหนังฝรั่งเศสหลายเรื่องที่เล่าเรื่องในยุคโบราณ แต่ใช้ setting ในยุคปัจจุบัน โดยไม่อินังขังขอบกับความผิดยุคผิดสมัยแต่อย่างใด เพราะคนดูหนังกลุ่มนี้มีหน้าที่จินตนาการ “ฉาก” เอาเอง และความผิดยุคผิดสมัยจริงๆแล้วมักจะเป็นประเด็นสำคัญประเด็นหนึ่งของหนังกลุ่มนี้ โดยหนังกลุ่มนี้ก็มีเช่นเรื่อง

6.1 THE LIVING WORLD (2003, Eugène Green) หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องอัศวินปราบยักษ์ในยุคโบราณ แต่หนังใช้ setting เป็นยุคปัจจุบัน และนักแสดงก็เล่นไปตามนั้น และคนดูก็มีหน้าที่ต้องใช้จินตนาการสูงมากๆ อย่างเช่น นักแสดงชี้นิ้วไปที่หมาตัวนึง และเรียกมันว่า “สิงโต” คนดูก็มีหน้าที่ต้องจินตนาการว่า หมาตัวนี้คือสิงโตไปตลอดจนจบเรื่อง หรือนักแสดงชี้ไปที่ต้นไม้ต้นนึงแล้วเรียกมันว่า “ยักษ์” คนดูก็มีหน้าที่ต้องจินตนาการว่าต้นไม้ต้นนี้เป็นยักษ์ไปจนจบเรื่อง (ถ้าเข้าใจไม่ผิด หนังเรื่องนี้พยายามจะพูดถึง ความสำคัญของการใช้ “คำ” ไปกำหนดความหมายของสิ่งต่างๆบนโลกนี้)

6.2 PARTAGE DE MIDI (2011, Claude Mouriéras) หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องเมื่อ 80-100 ปีก่อน และเนื้อเรื่องจริงๆแล้วเกิดขึ้นในฉากหลังที่ exotic มากๆ อย่างเช่นนครเซี่ยงไฮ้ยุค 100 ปีก่อน แต่นักแสดงในหนังเรื่องนี้กลับแต่งตัวในเครื่องแต่งกายยุคปัจจุบัน และพูดบทละครไปเรื่อยๆ ในบ้านโทรมๆหลังนึงในยุคปัจจุบัน แต่หนังก็ออกมาทรงพลังสุดๆ

6.3 THE SCREEN ILLUSION (2010, Mathieu Amalric) หนังเรื่องนี้ใช้ฉากยุคปัจจุบัน แต่ให้นักแสดงพูดบทละครที่ประพันธ์ขึ้นเมื่อราว 500 ปีก่อน และผลที่ได้ก็คือ ความขัดแย้งระหว่างยุคสมัยที่น่าสนใจและน่าขบคิดมากๆ

7.มีหนังบางเรื่องที่สามารถประหยัดทุนในการสร้างฉากแบบสมจริง ด้วยการพยายามให้นักแสดงเล่าเรื่องดราม่าบนเวทีละครโล่งๆ แต่หนังกลุ่มนี้มันไม่ได้หนักข้อแบบ DOGVILLE เพราะในหนังกลุ่มนี้ ผู้ชมจะรู้สึกเหมือนกับว่ากำลังดูนักแสดงซ้อมละครเวทีบนเวทีโล่งๆ โดยหนังในกลุ่มนี้ก็มีเช่นเรื่อง

7.1 THE FALSE SERVANT (2000, Benoît Jacquot)

7.2 VANYA ON 42ND STREET (1994, Louis Malle)

8.หนังของ Miklós Jancsó บางเรื่องเล่าเรื่องโดยใช้ทุ่งโล่งๆทุ่งเดียวเป็นฉากหลัง และคนดูก็มีหน้าที่จินตนาการฉากต่างๆเอาเอง โดยหนังในกลุ่มนี้ก็มีเช่นเรื่อง ELECTRA, MY LOVE (1974) และ RED PSALM (1972) โดยหนังบางเรื่องในกลุ่มนี้อาจจะเล่าเรื่องในตำนานเมื่อหลายพันปีก่อน แต่อยู่ดีๆก็มีเฮลิคอปเตอร์บินเข้ามาในฉาก เพื่อย้ำให้ผู้ชมรู้ว่า จริงๆแล้วหนังต้องการสะท้อนไปที่อะไรบางอย่างในยุคปัจจุบัน (อย่างเช่นการด่าคอมมิวนิสต์)

9.ในส่วนของหนังไทยนั้น เรื่องที่เรานึกออกในตอนนี้ก็คือ

9.1 สามัคคีเภทคำฉาล (2013, Theeraphat Ngathong) ที่เล่าเรื่องราวในตำนาน โดยไม่ต้องอาศัยความสมจริงใดๆอีกต่อไป

9.2 ฆาตรกรรมสวาท ประหลาดน่านฟ้า ทำให้คนหายตัวไป หรือ POLITICALLY LAWYER AND NARRATIVE CINEMA (2009, Chaloemkiat Saeyong, 27min) ที่เล่าเรื่องราวการฆาตกรรมคน แต่หนังแทบไม่ได้นำเสนอภาพที่ตรงกับเรื่องที่เล่าเลย เหมือนหนังให้ส่วนประกอบในการปรุงอาหารมา และบอกวิธีการทำอาหาร แต่ผู้ชมต้องเอาส่วนประกอบนั้นไปปรุงอาหารเอง ถึงจะได้ภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ โดยฉากคลาสสิคของหนังเรื่องนี้คือฉากสถานที่ต่างๆ และมี text ขึ้นมาว่า “จงจินตนาการว่าที่นี่คือสนามบิน”


Tuesday, November 22, 2016

FANTASTIC BEASTS AND WHERE TO FIND THEM (2016, David Yates, A+25)


MULTIVERSE DVARAVATI NO. 2 (2016, Rinyaphat Nithipattaraahnan, video installation)

 วิดีโอนี้จัดแสดงที่ BACC ชั้นสองนะ ใช้เวลาดูประมาณ 10 นาที น่าสนใจดีที่อยู่ดีๆก็มีการผลิตวิดีโอเกี่ยวกับ “ยุคทวาราวดี” และโบราณสถานยุคทวาราวดีในนครปฐมออกมาในเวลาไล่เลี่ยกันในช่วงนี้ เพราะวิดีโอ LEVITATING EXHIBITION (2016, Ukrit Sa-nguanhai, A+30) ก็น่าจะพูดถึงโบราณสถานที่ใกล้เคียงกัน และน่าสนใจดีด้วยที่วิดีโอสองชิ้นนี้ไม่มีอะไรเหมือนกันเลย ทั้งๆที่อาจจะได้รับแรงบันดาลใจจากโบราณสถานยุคทวาราวดีแห่งเดียวกัน

FANTASTIC BEASTS AND WHERE TO FIND THEM (2016, David Yates, A+25)

1.ถือว่าชอบมากกว่าหนังหลายๆภาคในหนังชุด HARRY POTTER แต่เราก็ไม่ได้ชอบในระดับ A+30 นะ และถือว่าชอบน้อยกว่าหนังกลุ่ม โลกเวทมนตร์อย่าง THE CIRCLE (2015, Levan Akin, Sweden) และ L.O.R.D: LEGEND OF RAVAGING DYNASTIES (2016, Guo Jingming, China) อย่างรุนแรง แต่นั่นไม่ได้เกี่ยวกับประเด็นที่ว่าหนังเรื่องไหนดีกว่าหนังเรื่องไหน แต่เกี่ยวกับเรื่องที่ว่ารสนิยมส่วนตัวของเราเป็นยังไง คือเรารู้สึกว่า FANTASTIC BEASTS AND WHERE TO FIND THEM อาจจะเป็นหนังที่ดีกว่าอีกสองเรื่องนั้น เพราะมันดูออกแบบโลกเวทมนตร์มาอย่างดีกว่ามาก คือมันดูคิดมาละเอียดกว่ามาก ในขณะที่โลกเวทมนตร์ใน LEGEND OF RAVAGING DYNASTIES ดูเหมือนคิดมายังไม่เสร็จ เหมือนคิดมาครึ่งเดียวแล้วทำเป็นหนังออกมาเลย แล้วค่อยกลับไปคิดเพิ่มตอนสร้างภาคสอง อะไรทำนองนั้น เพราะฉะนั้น LEGEND OF RAVAGING DYNASTIES จึงเรียกได้ว่าเป็นหนังที่แย่กว่า FANTASTIC BEASTS แต่เป็นหนังที่เราชอบมากกว่า FANTASTIC BEASTS ประมาณ 10 เท่า
2.คือพอดู FANTASTIC BEASTS แล้วก็ทำให้เข้าใจว่า ทำไมเราถึงไม่อินกับ HARRY POTTER น่ะ เพราะเราว่าโลกเวทมนตร์ใน HARRY POTTER และ FANTASTIC BEASTS มันขาดองค์ประกอบสองอย่างที่สำคัญสุดๆสำหรับเรา นั่นก็คือตัวละครหญิงที่เต็มเปี่ยมไปด้วย พลังของความเกลียดชังและ ความต้องการจะทำลายล้างศัตรูอย่างรุนแรงมาก” (ซึ่งเราพบสิ่งนี้ได้ใน THE CIRCLE) และความมืดมนจริงๆ (ซึ่งเราพบสิ่งนี้ได้ใน LORD OF RAVAGING DYNASTIES) คือตัวละครหลักใน HARRY POTTER และ FANTASTIC BEASTS มันเป็นผู้ชายที่มี ความสว่างอยู่ในตัวมากเกินไปสำหรับเราน่ะ มันเหมือนพวกตัวละครประเภท SUPERMAN และ SPIDERMAN อะไรพวกนี้ ซึ่งตัวละครผู้ชายที่ดูสว่างมากๆแบบนี้ เราจะไม่อินด้วยเวลาดู และเรามักจะรู้สึกว่าตัวละครประเภทนี้มันทำให้หนังไม่สนุกสำหรับเรา เพราะตัวละครคนดีแบบนี้ยังไงก็ต้องเอาชนะศัตรูได้แน่ๆ และตัวละครเพื่อนๆของเขาก็มักจะมีความสว่างอยู่ในตัวมากเกินไปสำหรับเราด้วย เพราะฉะนั้นเราก็จะไม่อินกับตัวประกอบที่อยู่ฝ่ายเดียวกับพระเอกในหนังชุด HARRY POTTER และ FANTASTIC BEASTS ด้วยเช่นกัน
เพราะฉะนั้นหนังแบบ THE CIRCLE และ LEGEND OF RAVAGING DYNASTIES ก็เลยตอบสนองความต้องการของเราได้ตรงกว่า คือตัวละครพระเอกใน LEGEND OF RAVAGING DYNASTIES จริงๆแล้วมันก็ดูสว่างสดใสเป็นคนดีเหมือนกับพระเอก FANTASTIC BEASTS น่ะนะ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือว่า ช่วงครึ่งหลังของ LEGEND OF RAVAGING DYNASTIES ตัวละครพระเอกแทบไม่มีบทบาทเลย อยู่ดีๆช่วงครึ่งหลังของหนังก็เป็นการต่อสู้กันอย่างรุนแรงของตัวละครอิทธิฤทธิ์สูงราว 10 ตัวที่เราไม่แน่ใจว่าใครเป็นคนดีหรือคนเลวกันแน่ และเราก็ชอบสถานการณ์แบบนี้มากๆ สถานการณ์ที่มีตัวละครอิทธิฤทธิ์สูงตบกันไปมา โดยเราไม่แน่ใจเลยว่าใครจะอยู่หรือใครจะตาย เพราะเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าใครดีหรือใครเลว คือสถานการณ์แบบนี้ยิ่งตอบสนองความต้องการของเราได้ตรงกว่าหนังชุด X-MEN อีกน่ะ เพราะหนังชุด X-MEN ก็เข้าทางเราในแง่ของการสร้างตัวละคร สีเทาที่มีอิทธิฤทธิ์สูงหลายๆตัวมาตบกันเหมือนกัน แต่ในหนังชุด X-MEN เราพอจะรู้ล่วงหน้าว่าตัวละครหลายๆตัวมันจะรอดตาย มันก็เลยทำให้เรารู้สึก ปลอดภัยมากเกินไปนิดนึง เราชอบหนังแบบที่ดูแล้วรู้สึก ไม่ปลอดภัยแบบ LEGEND OF RAVAGING DYNASTIES มากกว่า โดยคำว่า ไม่ปลอดภัยในที่นี้หมายถึงว่า ไม่มีอะไรจะรับประกันได้ว่า ตัวละครตัวไหนจะอยู่หรือตาย ทุกตัวมีสิทธิตายได้ การเป็นพระเอก, เป็นนางเอก, เป็นคนดี หรือเป็นเพื่อนพระเอก ไม่ได้รับประกันว่าคุณจะมีชีวิตอยู่รอดจนถึงตอนจบของเรื่อง
คือปัจจัยเดียวกันนี้แหละมันทำให้เราไม่อินกับ HARRY POTTER และ FANTASTIC BEASTS มากนัก เพราะมันมี sense ของความปลอดภัยมากเกินไปสำหรับเรา เราชอบโลกจินตนาการแบบที่ทำให้เรารู้สึก insecure มากกว่า
ส่วน THE CIRCLE นั้นก็ตอบโจทย์เราในแง่ของการสร้างความรู้สึกไม่ปลอดภัยได้ดีมากๆเหมือนกัน เพราะตัวละครที่เราคิดว่าเป็นนางเอกของเรื่อง อยู่ดีๆก็ถูกฆ่าตายไปเลยก่อนถึงกลางเรื่อง เราก็เลยรู้สึก insecure ไม่รู้แล้วว่าใครจะเป็นนางเอกกันแน่ และไม่รู้แล้วว่าตัวละครหญิงที่เหลืออยู่อีก 4-5 คน ใครกันแน่จะเป็นนางเอกของเรื่อง และมีอยู่กี่คนที่จะเหลือรอดชีวิตจนถึงตอนจบ
3.อีกจุดที่ทำให้ดูแล้วเข้าใจว่า ทำไมเราถึงไม่อินกับ HARRY POTTER และ FANTASTIC BEASTS ก็คือฉากไคลแมกซ์ของเรื่อง คือใน FANTASTIC BEASTS นั้น ตัวละครพระเอกเหมือนจะต่อสู้ในฉากไคลแมกซ์เพราะมันเป็นสิ่งที่ควรทำ, เป็นสิ่งที่ถูกต้อง, ใช้ความดีงามเข้าสู้อะไรทำนองนั้นน่ะ มันไม่ได้มีพลังของความโกรธแค้นชิงชัง หรือความต้องการจะเข่นฆ่าศัตรูอย่างรุนแรงอยู่ในจิตใจของพระเอก
ซึ่งนั่นแตกต่างจากใน THE CIRCLE เพราะในฉากไคลแมกซ์ของ THE CIRCLE นั้น เราอินกับตัวละครหญิงบางตัวมากๆ เพราะพลังจิตของตัวละครหญิงบางตัวในหนังเรื่องนี้ มันเหมือนจะต้องอาศัย ความต้องการจะทำลายล้างศัตรูอย่างรุนแรงเป็นเชื้อเพลิงในการต่อสู้กับศัตรูน่ะ และเราจะอินกับอารมณ์ความรู้สึกทำนองนี้มากกว่าเยอะ
4.เห็นการใช้สัตว์ของพระเอกในบางฉาก แล้วทำให้นึกถึง หนูเตียวสายฟ้าของตัวประกอบหญิงในแปดเทพอสูรมังกรฟ้า
5.ฉากที่ชอบที่สุดสำหรับเราใน FANTASTIC BEASTS ก็คือฉากที่กลุ่มของ Samantha Morton ปะทะกับกลุ่มของ Jon Voight คือฉากแบบนี้นี่แหละที่เราอินด้วย หรือเรารู้สึกว่าสนุกดี เพราะเรารู้สึกว่าตัวละครสองกลุ่มนี้มันเลวทั้งคู่ มันเป็นกลุ่มคนเลวปะทะกับกลุ่มคนเลว และเราตัดสินใจไม่ได้ว่าใครเลวกว่ากัน หรือใครควรจะชนะ เรารู้แต่ว่า พอเห็นตัวละครคนเลวสองกลุ่มแบบนี้มาปะทะกัน แล้วเรารู้สึกว่าอารมณ์มันพลุ่งพล่านมาก มันกระตุ้นอารมณ์เราได้ดีสุดๆ แต่ถ้าเป็นตัวละครคนดีที่มีจิตใจสว่างมากๆ (ตามขนบหนัง superhero) มาปะทะกับคนเลว เราจะรู้สึกว่ามันไม่ค่อยสนุก
6.ดีใจที่ปีนี้มีหนังเกี่ยวกับโลกเวทมนตร์ที่เราชอบออกมาหลายเรื่อง นอกจาก 3เรื่องข้างต้นแล้ว เราก็ชอบ MISS PEREGRINE’S HOME FOR PECULIAR CHILDREN (2016, Tim Burton), DOCTOR STRANGE (2016, Scott Derrickson), THE BFG (2016, Steven Spielberg) และ ALICE THROUGH THE LOOKING GLASS (2016, James Bobin) มากในระดับหนึ่งด้วย เราว่าหนังทุกเรื่องในกลุ่มนี้สร้างสรรค์โลกเวทมนตร์ออกมาได้สวยงามดีสำหรับเรา
เราชอบ FANTASTIC BEASTS ในระดับพอๆกับ MISS PEREGRINE และ DOCTOR STRANGE นะ ข้อดีของ MISS PEREGRINE สำหรับเราก็คือว่า มันมีตัวละครที่มีอิทธิฤทธิ์สูงหลายๆตัวน่ะ (ซึ่งเป็นปัจจัยเดียวกับที่ทำให้เราชอบ X-MEN, THE CIRCLE และ LORD OF RAVAGING DYNASTIES) ส่วน DOCTOR STRANGE นั้น เราชอบในจุดที่ว่า มันเป็นการขยายจักรวาลของมาร์เวลเข้ามาในส่วนของโลกเวทมนตร์ด้วย มันก็เลยทำให้รู้สึกว่าจักรวาลของมาร์เวลมันกว้างใหญ่ดีสำหรับเรา
ส่วน THE BFG และ ALICE THROUGH THE LOOKING GLASS นั้น เราชอบในระดับประมาณ A+15 หรือน้อยกว่า FANTASTIC BEASTS หน่อยนึง เพราะเราว่าโลกเวทมนตร์ใน THE BFG กับ ALICE มัน ใสเกินไปสำหรับเรา
7.สรุปว่าชอบ FANTASTIC BEASTS มาก แต่มันไม่ใช่หนังในแนวทางเรา เพราะตัวละครหลักของหนังเรื่องนี้ มีความปลอดภัยในชีวิตมากเกินไป และ มีความสว่างในตัวเองมากเกินไป” (เหมือนกับในหนัง superhero ส่วนใหญ่) เราชอบหนังเกี่ยวกับโลกเวทมนตร์แบบ THE CIRCLE และ LEGEND OF RAVAGING DYNASTIES มากกว่าเยอะ เพราะตัวละครใน THE CIRCLE “ดูเหมือนไม่ค่อยมีความปลอดภัยในชีวิต” (ซึ่งตรงกับสิ่งที่เรารู้สึกในชีวิตประจำวัน) และเรารู้สึกว่า พลังความมืดใน LEGEND OF RAVAGING DYNASTIES มันดูรุนแรงทรงพลังกว่าใน FANTASTIC BEASTS และหนังโลกเวทมนตร์ส่วนใหญ่ที่สร้างโดยฮอลลีวู้ด


Thursday, November 17, 2016

HAUNTED SCHOOL

โรงเรียนผี (2016, Manussanan Pongsuwan, B+ )

--รู้สึกว่าเป็นหนังที่ตั้งใจทำมากกว่าหนังผีไทยทั่วไป นักแสดงหลายคนก็เล่นใช้ได้เลย แต่เราไม่รู้สึกตลกหรือน่ากลัวไปกับตัวหนังน่ะ ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมเราจูนไม่ติดกับหนังเรื่องนี้เลย คือการจูนไม่ติดกับพาร์ทตลกนี่อาจจะเป็นเรื่องปกตินะ เพราะเรามักจะไม่มีอารมณ์ร่วมกับหนังตลกไทยอยู่แล้ว แต่ในส่วนของพาร์ทน่ากลัว เราก็เฉยๆ

--เหมือนมันมีองค์ประกอบบางอย่างที่น่าจะเข้าทางเรานะ อย่างเช่น “การสืบหาคนที่เคยยืมหนังสือเล่มเดียวกันมาก่อน”, “ความหวาดกลัวพัดลมเพดานจะร่วงตกลงมา”, “การไม่กล้าเปิดหน้าต่าง เพราะกลัวจะมองออกไปแล้วเห็นอะไร”, “การล้อมวงกันเล่าเรื่องผี” คือเราชอบ 4 อย่างนี้น่ะ แต่รู้สึกว่าหนังไม่สามารถใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ได้จากองค์ประกอบ 4 อย่างนี้

--ถ้าเทียบกับ “บองสรันโอน” (2015) ของผู้กำกับคนเดียวกัน เราชอบบองสรันโอนมากกว่าเยอะเลย

--ถ้าหากถามว่า หนังผีไทยแบบไหนที่เราดูแล้ว “กลัว” เราก็ต้องตอบว่า หนังผีแบบ 10 AUDIENCES (2016, Jakkrapan Sriwichai) และถ้าหากถามว่าหนังผีไทยแบบไหนที่สอดแทรกอารมณ์ตลกในแบบที่เข้าทางเรามากที่สุด เราก็ต้องตอบว่า “ฝันสามบาท” (2016, Sompong Soda) จ้ะ



Wednesday, November 16, 2016

THE BLUE HOUR (2009, Michaël Blier + Alice de Vestele, France, short, A+)

THE BLUE HOUR (2009, Michaël Blier + Alice de Vestele, France, short, A+)

เป็นหนังสั้นที่เรียบเกินไปสำหรับเรา 555 หนังเล่าเรื่องชีวิตประจำวันของพยาบาลหญิงคนนึง ที่ต้องทำงานดูแลผู้ป่วยในเวลากลางวัน และชอบเที่ยวไนท์คลับในเวลากลางคืน เรารู้สึกว่าเหตุการณ์ในหนังมันเรียบมากๆจนเราพลาดจุด dramatic turning point ของมันไปเลยน่ะ และพอดูจบ เราก็เลยงงว่าหนังเรื่องนี้ต้องการจะบอกอะไรกับเรา


ปกติแล้วเราจะชอบหนังแนว “ชีวิตประจำวัน” ที่ไม่ต้องมี drama รุนแรงอะไรนะ หรือแม้แต่หนังที่ลดทอนความ drama ลงอย่างรุนแรง อย่าง AFTERNOON (2007, Angela Schanelec, Germany, A+30) เราก็ชอบมากๆ แต่ทำไมเราถึงไม่อินกับหนังสั้นฝรั่งเศสเรื่องนี้ เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน ทั้งที่จริงๆแล้วสไตล์ของหนังมันน่าจะเข้าทางเรามากพอสมควร และตัวละครนางเอกที่เป็นผู้หญิงที่กล้าแสดงออกถึงความต้องการทางเพศของตัวเอง ก็น่าจะเป็นตัวละครที่เข้าทางเรามากพอสมควร

Thai Films I saw on Sunday, July 24, 2016

Thai Films I saw on Sunday, July 24, 2016

1.Unknown ปัจจุบัน วันเก่า (สุภาณี ลิ้มโรจน์นุกูล, 2016, A+30)

2.การตายของหิ่งห้อย (จิรัฐติกาล พระสนชุ่ม/พสิษฐ ตันเดชานุรัตน์, 2016, documentary, A+30)

3.To Reach the Dream กว่าจะถึงฝั่งฝัน (กุลญาดา แจ่มปัญญากุล, 2016, documentary, A+30)

4.Under the Light Everything Comes and Goes (ตุลยวัต สัจจะธีระกูล, 2016, documentary, A+30)

5.ไกลลิบ..นานเหลือ (ศิวโรจณ์ คงสกุล, 2015, A+30)

6.Uncensored (บวรลักษณ์ สมรูป, 2016, A+30)

7.Uranus (Tussana Autcha, 2016, A+30)

8.Vertical Line Is Broken | แนวตั้งที่หักลง (สุกฤษฎิ์ รัตนาพงษากุล, 2016, A+30)

9.Will (อาภาภรณ์ ทะนะ, 2016, A+30)

10.Undercovered Memory (กฤษดา นาคะเกตุ, 2016, A+30)

11.กระดาษทรายกับลูกแกะที่หายไป (ชิดชนก เชอร์มา, 2016, A+25)

12.ก่อนที่โอบกอดจะหายไปตลอดกาล (เด่นชัย แขสิงห์, 2016, A+25)

13.White Memories ความทรงจำสีขาว (ศิวัช ยอดแก้ว, 2016, A+25)

14.Untitled Sequence 001 (วรัญญา บูรณากาญจน์, 2016, A+25)

15.Journey of Friendship การเดินทางของเพื่อน (จักรพันธ์ ศรีวิชัย, 2015, documentary, A+15)

16.ไกลลืมใกล้ THE PHONE CALL FROM MOTHER (จิรัฏฐ์ จุฬารัตน, 2015, A+10)

17.Wasan (มาร์วิน นครพัฒน์, 2015, A+10 )

18.WTF: What the Fear (ชนัฏฏา เพ็งสกุล, 2015, A+)

19.กวีวัธน์ (จักรพันธ์ ศรีวิชัย, 2015, A)

20.กักขฬะ (สุรศักดิ์ ตรีธวัชชัยวงศ์, 2015, A )

21.When I Poo (อนุชิต อภัยสุวรรณ, 2016, A)

22.If ก็คิงบอกให้ฮาถ้า (สิรภพ เดชสุวรรณ, 2016, A-)

23.Wanna (ธนิต ชินบุตร, 2016, animation, A- )




Monday, November 14, 2016

YOUR NAME (2016, Makoto Shinkai, Japan, animation, A+30)

YOUR NAME (2016, Makoto Shinkai, Japan, animation, A+30)

1.ในบรรดาหนังของMakoto Shinkai ที่เราได้ดูมา ตอนนี้เราชอบ YOUR NAME เป็นอันดับหนึ่ง, CHILDREN WHO CHASE LOST VOICES (2011) เป็นอันดับสอง, 5 CENTIMETERS PER SECOND (2007) เป็นอันดับสาม, VOICES OF A DISTANT STAR (2002) เป็นอันดับสี่ และ THE PLACE PROMISED IN OUR EARLY DAYS (2004) เป็นอันดับห้า ส่วนเรื่องอื่นๆเรายังไม่ได้ดู

สาเหตุที่ชอบ THE PLACE PROMISED IN OUR EARLY DAYS น้อยสุด เพราะเราดูไม่รู้เรื่องเลย 555 คิดว่าถ้าได้ดูรอบสองอาจจะชอบมากขึ้นเยอะ แต่ตอนดูรอบแรก นี่เรางงจริงๆ

ต่อไปนี้เป็นการเขียนถึงประสบการณ์ปีศาจของตัวเอง ไม่ใช่การเขียนวิจารณ์หนังนะ มันไม่เกี่ยวกับคุณค่าทางสุนทรียะของหนังใดๆทั้งสิ้น แต่สาเหตุที่เราชอบ YOUR NAME มากๆมันเป็นเพราะทำให้นึกถึงประสบการณ์ปีศาจ ไสยาศาสตร์ของตัวเองต่างหาก 555

2.สาเหตุที่ชอบ YOUR NAME มากๆ เพราะเราชอบที่หนังจับเอาสิ่งหนึ่งที่เราเจอบ่อยๆในชีวิตตัวเอง มาดัดแปลงเป็นหนังได้อย่างรุนแรงมากน่ะ นั่นก็คืออาการ “จำได้ว่าเมื่อคืนฝันถึงอะไรบางอย่างที่รุนแรงมาก แต่จำเนื้อหาในฝันไม่ได้แล้ว” และอาการที่ว่า ถ้าหากตื่นนอนแล้วไม่รีบจดบันทึกความฝันใน 3 นาทีแรก เราจะลืมความฝันนั้นไปหมดเลย ซึ่งอาการแบบนี้บางคนอาจจะไม่เป็น เพราะเพื่อนเราบางคนบอกว่าเขาแทบไม่เคยฝันเลย แต่เรามีอาการอะไรแบบนี้บ่อยมาก คือ

2.1 บางคืนตื่นนอนมาแล้วจะจำความฝันได้เยอะ แต่พอลุกไปฉี่เสร็จ ปรากฏว่าลืมเนื้อหาในฝันไปหมดแล้ว

2.2 เราก็เลยแก้ไขปัญหานี้ ด้วยการที่ตื่นนอนมาปุ๊บ แล้วถ้าหากจำความฝันได้ เราจะรีบจดบันทึกลง diary ในทันที เพราะไม่งั้นมันจะเลือนหายไปจากหัวสมองเราหมดภายใน 3-5 นาที ซึ่งมันเป็นอะไรที่ประหลาดมากๆ เรางงมากๆว่าทำไมมันถึงเลือนหายไปได้เร็วมาก เราก็เลยชอบที่หนังหยิบเอาประเด็นนี้มาเล่น

2.3 อีกอาการที่เราเคยเป็น ประมาณปีละครั้งสองครั้ง คือตื่นนอนมาแล้วร้องไห้อย่างรุนแรงมากๆ เศร้าใจ ปวดใจมากๆๆ แต่จำไม่ได้ว่าฝันอะไร ทำได้แต่เพียงร้องไห้อย่างรุนแรงไปเรื่อยๆ โดยไม่รู้สาเหตุ แล้วก็นอนกอดตุ๊กตาหมีเพื่อหลับต่อ เผื่อจะได้ฝันต่อ แล้วจำความฝันได้

สรุปว่าสาเหตุหลักที่ชอบ YOUR NAME ก็คือการที่มันหยิบเอาอาการนี้ (ซึ่งเป็นอาการที่เราเป็นบ่อยมาก) มาขยายเป็นหนังในแบบที่เข้าทางเราน่ะแหละ

3.จริงๆแล้วประเด็นเรื่อง “การสลับใช้ชีวิตระหว่างโลกฝันกันโลกจริง” ใน YOUR NAME ทำให้นึกถึงหนังอีกสองเรื่องนะ ซึ่งก็คือ PASSION OF MIND (2000, Alain Berliner) ที่ต่ำมากๆ เราเกลียดหนังเรื่องนี้มาก กับหนังเรื่อง SHATTERED IMAGE (1998, Raoul Ruiz) ที่เราชอบมากพอสมควร แต่ในหนังสองเรื่องนี้ เหมือนตัวละครมันจะจำความฝันได้ดีหลังจากตื่นนอนแล้วน่ะ (ถ้าจำไม่ผิด) เพราะฉะนั้นการที่ตัวละครสับสนระหว่างโลกฝันกับโลกจริงในหนังสองเรื่องนี้ ก็เลยไม่ใช่อะไรที่เราจะโยงมาเข้ากับชีวิตประจำวันของตัวเอง เพราะเราไม่เคยประสบอาการแบบเดียวกับ PASSION OF MIND และ SHATTERED IMAGE ซึ่งต่างกับอาการใน YOUR NAME ที่เราเป็นบ่อยๆ

4.เอาล่ะ ต่อไปนี้เป็นประสบการณ์ปีศาจ + จินตนาการมโนแจ่มของตัวเองค่ะ

เรื่องก็มีอยู่ว่า ในอดีตนั้น เราเคยประสบอุบัติเหตุใหญ่ครั้งนึง ในช่วงท้ายของวันวันนึง แต่เราไม่สามารถเล่ารายละเอียดของอุบัติเหตุในที่นี้ได้ เพราะสาเหตุจำเป็นบางประการ

แต่เราจำได้ว่า ในเช้าของวันที่เราเจออุบัติเหตุนั้น เรามีอาการประหลาดอย่างนึงน่ะ คือเราจำรายละเอียดของเช้าวันนั้นไม่ได้แล้วนะ แต่ถ้าจำไม่ผิด คือเช้าวันนั้น เราตื่นนอนประมาณตี4 หรือตี 5 แล้วก็พบว่า เราเจ็บปวดรวดร้าวอย่างรุนแรงมากไปทั้งตัว เราก็เลยงงมากว่าเกิดอะไรขึ้น ทำไมเราถึงเจ็บปวดรวดร้าวไปทั้งตัวแบบนี้ มันเกิดอะไร เราฝันเห็นอะไรเหรอ เราจำความฝันไม่ได้ด้วย

คือวันก่อนหน้านั้น เราก็ไปวิ่งออกกำลังกายที่ fitness ตามปกติน่ะ เหมือนวิ่ง 1 ชั่วโมง เบิร์นไป 600 กิโลแคลอรี่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราทำบ่อยๆอยู่แล้ว และก็ไม่เคยตื่นมาเจ็บปวดรวดร้าวไปทั้งตัวแบบนี้

พอเราตื่นมาแล้ว เจ็บปวดรวดร้าวไปทั้งตัว โดยหาสาเหตุไม่ได้แบบนี้ เราก็เลยเดาว่า สงสัยเป็นเพราะเมื่อวานไปวิ่งออกกำลังกายมามั้ง แต่ใจนึงเราก็แอบคิดว่า มันจะเป็นไปได้ยังไง เพราะเราก็วิ่งแบบนั้นอยู่แล้วสัปดาห์ละ 2-3 วัน ไม่เคยเจ็บมาก่อน ทำไมอยู่ดีๆเช้านี้ถึงเจ็บมาก

อีกใจนึงเราก็คิดว่า หรือว่าอาการเจ็บปวดรวดร้าวไปทั้งตัวแบบนี้ มาจากความฝัน แต่เราจำไม่ได้เลยว่าเราฝันเห็นอะไรในคืนนั้น นึกยังไงก็นึกไม่ออกจริงๆ

และอาการเจ็บปวดรวดร้าวอย่างรุนแรงไปทั้งตัวนี้ ก็มีสิทธิเป็นอาการที่ตกค้างมาจากความฝันจริงๆ เพราะพอเรานอนต่ออีกราวหนึ่งชั่วโมง ตื่นมาอีกที ร่างกายเราก็กลับเป็นปกติ เราก็เลยสรุปไม่ได้ว่ามันเป็นอาการทางกาย หรืออาการทางจิต แต่มันเหมือนเป็นอาการที่เราไม่เคยเป็นมาก่อนเลยในชีวิต

แล้วในช่วงท้ายของวันวันนั้น เราก็ประสบอุบัติเหตุร้ายแรง

หลังจากนั้น เราก็ชอบจินตนาการเล่นๆว่า หรือว่าคืนนั้นมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรืออะไรบางอย่างพยายามมาเข้าฝันเราเพื่อเตือนเราล่วงหน้าหรือเปล่า เราจินตนาการว่า บางทีคืนนั้นเราอาจจะฝันเห็นอะไรบางอย่างที่เป็นการเตือนเราล่วงหน้าก็ได้ และถ้าหากเพียงแต่เช้านั้น เราจำความฝันได้ เราอาจจะหลีกเลี่ยงอุบัติเหตุนั้นได้ไปแล้ว แต่ชาติก่อนเราคงทำบาปมากเกินไป ตื่นนอนมาแล้ว เราเลยจำความฝันของคืนนั้นไม่ได้เลย เหลือแต่เพียงอาการเจ็บปวดรวดร้าวอย่างรุนแรงไปทั้งร่างโดยไม่มีสาเหตุ และเราก็ต้องเผชิญกับชะตากรรมที่เลวร้ายโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้


เพราะฉะนั้นพอเราดู YOUR NAME มันก็เลยทำให้นึกถึงจินตนาการเล่นๆของเราเองน่ะ หนังเรื่องนี้มันสอดรับกับจินตนาการไสยาศาสตร์ ต่วยตูนพิเศษของเราเองมากๆ 

FROM THE LAND OF THE MOON (2016, Nicole Garcia, France, A+15)

FROM THE LAND OF THE MOON (2016, Nicole Garcia, France, A+15)
spoilers alert
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
1.เราอยู่ในกลุ่มที่ชอบ twist ช่วงท้ายเรื่องนะ แต่ไม่ได้ชอบแบบสุดๆนะ เพียงแต่ว่ามันทำให้เราชอบหนังมากขึ้นกว่าเดิมหน่อยนึง คือว่าตอนช่วงแรกๆเราจะชอบหนังแค่ในระดับ A+ น่ะ คือรู้สึกว่าหนังมันดี แต่เราไม่ได้อินกับมันมากเท่าที่ควร แต่พอมันมา twist ช่วงท้ายเรื่อง เราก็รู้สึกว่ามันซึ้งดี แต่ก็ไม่ได้ซึ้งสุดๆจนถึงขั้นที่จะทำให้เราชอบในระดับ A+30

2.เหมือนเราไม่อินกับตัวละครนางเอกมากเท่าที่ควรน่ะ ทั้งๆที่โดยปกติแล้วเราจะอินกับตัวละครผู้หญิงที่มีความต้องการทางเพศสูง หรือมี passion ที่รุนแรง แต่มันก็ไม่ใช่ในทุกๆกรณี อย่างตัวละครนางเอกหนังเรื่องนี้ คือเธอแสดงออกถึงความต้องการทางเพศมากกว่านางเอกในหนังทั่วๆไป แต่เธอก็ไม่ได้บ้าผู้ชายในแบบเดียวกับเรา เหมือนกับว่าสเปคผู้ชายที่นางเอกชอบกับที่เราชอบ มันคนละกลุ่มกัน เพราะฉะนั้นเราก็เลยไม่อินกับเธอ และเราก็เลยไม่ได้รู้สึกอะไรมากนักทั้งในช่วงต้นเรื่องและกลางเรื่อง ที่นางเอกพยายามจะจับครูและทหารผ่านศึกมาเป็นผัว คือความรักระหว่างนางเอกกับทหารผ่านศึกมันดู passionate ดี แต่เราดูมันด้วยความรู้สึกห่างเหินมากพอสมควร

แต่พอช่วงท้ายเรื่อง หนังก็พลิกจากการสะท้อน “ความรักที่นางเอกมีต่อทหารผ่านศึกยุคปลายจักรวรรดินิยม” มาเป็น “ความรักที่คนงานฝ่ายซ้ายมีต่อนางเอก” แทน และเราก็รู้สึกว่ามันซึ้งดี คือพอหนังมันเปลี่ยนมาสะท้อนหัวจิตหัวใจของตัวละครคนงานที่เฝ้าอดทนคอยดูแลนางเอกที่ละเมอเพ้อพกมาโดยตลอด มันก็เลยซึ้งมากสำหรับเรา อาจจะเพราะตัวเราก็เหมาะที่จะมีสามีแบบนี้ก็ได้มั้ง เขาเป็นผู้ชายที่ดู solid มากๆ เป็นที่พึ่งพาได้จริงๆ ฮิฮิ

3.ไม่รู้หนังตั้งใจจะสะท้อนการเมืองอะไรด้วยหรือเปล่า แต่เราว่ามันน่าสนใจดี ที่ setting ของหนังคือฝรั่งเศสยุคทศวรรษ 1950-1960 ซึ่งเป็นช่วงที่จักรวรรดินิยมฝรั่งเศสล่มสลาย ฝรั่งเศสสูญเสียทั้งอินโดจีนและแอลจีเรีย และสิ่งนี้ก็ดูเหมือนจะสะท้อนผ่านทางตัวละครนางเอกที่ยังคงหลงละเมอเพ้อพกกับทหารผ่านศึกที่ป่วยหนัก ในขณะที่ตัวละครคนงานน่าจะเป็นฝ่ายซ้ายที่เคยต่อสู้กับนายพลฟรังโกในสเปนมาก่อน เขาเป็นคนที่ติดดินมาก แข็งแกร่งมากๆ และคนแบบนี้นี่แหละที่น่าจะเป็นรากฐานที่มั่นคงให้กับฝรั่งเศสได้ต่อไป เขามองดูนางเอกหลงละเมอกับโลกจักรวรรดินิยมอยู่หลายปี จนในที่สุดนางเอกก็ต้องยอมรับความจริงว่าโลกนั้นมันจบสิ้นไปนานหลายปีแล้ว และเดินหน้ามีชีวิตอยู่ต่อไปในโลกแห่งความเป็นจริง

4.ชอบประเด็นเรื่องโรคนิ่ว เราชอบที่ตัวละครมีโรคประจำตัว และเจ็บปวดรวดร้าวจริงๆจากโรคนั้น เพราะเราก็มีโรคประจำตัวเหมือนกัน 555 ชอบประเด็นเรื่องการรักษาโรคนิ่วในสมัยโบราณด้วย เพราะเหมือนเราไม่เคยดูอะไรแบบนี้ในหนังมาก่อน

ถ้าจำไม่ผิด หนังอีกเรื่องที่ประเด็นเรื่องโรคนิ่วมีความสำคัญต่อพล็อตหนัง คือเรื่อง CRAZY STONE (2006, Ning Hao)

5.ชอบรายละเอียดเล็กๆน้อยๆบางอย่างในหนังด้วย อย่างเช่นตัวละครน้องสาวนางเอก คือเธอเป็นสาวสวยที่ดูเผินๆแล้วน่าจะมีชีวิตสมบูรณ์แบบ แต่ปรากฏว่าชีวิตสมรสเธอก็ล้มเหลวเหมือนกัน มันก็เลยดูเหมือนชีวิตมนุษย์จริงๆดี ที่ไม่ว่าคุณจะเป็นคนบ้าหรือคนดี สวยหรือไม่สวย ชีวิตมันก็มีข้อบกพร่องเหมือนกันหมด

6.ฉากที่ติดตามากที่สุดคือฉากที่เหมือนเป็นการตัดจากโลกแห่งความเป็นจริงเข้าสู่โลกแห่งความฝันน่ะ นั่นคือฉากที่นางเอกวิ่งไล่ตามรถของทหารผ่านศึก แล้วล้มลงกับพื้นหญ้า แล้วก็เหมือนเข้าสู่หน้าหนาว

7.FROM THE LAND OF THE MOON เป็นหนังเรื่องที่ 3 ที่กำกับโดย Nicole Garcia ที่เราได้ดู ส่วนอีกสองเรื่องคือ THE FAVORITE SON (1994) กับ PLACE VENDOME (1998) ปรากฏว่าเราชอบ THE FAVORITE SON มากที่สุดในสามเรื่องนี้ ทั้งๆที่มันเป็นหนังที่เน้นตัวละครผู้ชาย

อย่าง PLACE VENDOME นี่มันก็มีตัวละครหญิงที่น่าจะเข้าทางเราในทางทฤษฎี แต่เรากลับไม่อินกับมันเช่นกัน คือ PLACE VENDOME เล่าเรื่องผ่านทางตัวละครหญิงแกร่งที่ต้องเผชิญมรสุมชีวิต แต่เรากลับดูแล้วรู้สึกคล้ายๆ FROM THE LAND OF THE MOON ในแง่ที่ว่า มันเป็นหนังที่เล่าเรื่องได้ดี ดูมีคลาส แต่เรารู้สึกมีระยะห่างจากมันในทางอารมณ์มากพอสมควร ส่วน THE FAVORITE SON นี่มีตัวละครที่ไม่น่าจะเข้าทางเราเลย เพราะมันดูเป็นผู้ชาย macho แต่ไปๆมาๆเรากลับโอเคกับหนังเรื่องนี้มากที่สุด


สรุปได้ว่า Nicole Garcia เป็นผู้กำกับหญิงที่ประหลาดดีสำหรับเรา เพราะเราไม่ค่อยอินกับตัวละครหญิงในหนังของเธอ แต่เรามักจะผูกพันกับตัวละครผู้ชาย macho ในหนังของเธอ

Sunday, November 13, 2016

DOUBLE BILL WISH LIST FOR "YOUR NAME"

ถ้าต้องฉาย YOUR NAME (2016, Makoto Shinkai, A+30) ควบกับหนังอีกหนึ่งเรื่อง คุณจะเลือกฉายควบกับเรื่องอะไร (ถ้ายังไม่ได้ดู ไม่ควรอ่านต่อนะ)
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--

1.AUGUST IN THE WATER (1995, Sogo Ishii) เพราะมันเป็นหนัง supernatural แบบญี่ปุ่นที่ไปสุดทางมากๆ
2.FREQUENCY (2000, Gregory Hoblit)
3.A HEARTFUL OF LOVE (2005, Akihiko Shiota)
A group of people suddenly find themselves 20 years in the past. Hiroshi, a 30 year-old businessman, regard it as an opportunity to help a young woman from his past, the memory of whom he has always cherished.
4.THE LITTLE GIRL WHO CONQUERED TIME (1983, Nobuhiko Obayashi)
5.MELANCHOLIA (2011, Lars von Trier)
6.หวานมันส์ฉันคือเธอ (1987, สักกะ จารุจินดา)

หรือมีเรื่องอื่นๆอีกในใจคุณก็บอกมาได้นะ