WHAT WE TALK ABOUT WHEN WE DON’T TALK ABOUT THE ELEPHANT IN THE
ROOM (2017, Wichaya Artamat, stage play, A+30)
ไม่มีอะไรจะพูด
1.ตอนดูจะนึกถึงหนังเรื่อง THE DISCREET CHARM OF THE BOURGEOISIE (1972,
Luis Buñuel) ในแง่
1.1 ความประหลาด การสร้างโลกเซอร์เรียลหรือแฟนตาซีขึ้นมา มันเป็นโลกที่มียักษ์และมีหอยสุมอย
และนอกจากมันจะทำให้นึกถึงหนังของบุนเยลแล้ว มันยังทำให้นึกถึงหนังอย่าง THE LOBSTER (2015, Yorgos
Lanthimos) ในแง่การสร้างโลกที่มีกฎเกณฑ์ประหลาดๆขึ้นมาด้วย
เราว่าความเป็นบุนเยลนี่มันเข้ากับสังคมไทยมากๆเลยนะ
เพราะมันเป็นสังคมที่ตรรกะทุกอย่างพังพินาศไปหมดแล้ว 555
1.2 การเล่าเรื่องเป็น fragments แทนที่จะเล่าเรื่องเป็น
linear narrative โดยที่บาง fragments จะเชื่อมโยงกัน
และบาง fragments จะดูเหมือนไม่รู้เชื่อมโยงกับส่วนอื่นๆได้ยังไง
1.3 การตีความได้บ้างไม่ได้บ้าง
1.4 ความเป็นอิสระในระดับหนึ่งจาก “ประเด็น” ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดที่เราชอบที่สุด
เพราะหนังอย่าง THE DISCREET CHARM นั้น เราดูแล้วเราก็ตีความไม่ได้ทุกฉาก
บอกไม่ได้ว่าหนังมันพูดประเด็นเดียวหรือหลายประเด็น แต่เราชอบอะไรแบบนี้น่ะ
คือหนังแนวสะท้อนสังคมมันอาจจะแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มหลักๆคือ
1.4.1 หนังแนว FEVER MOUNTS AT EL PAO (1959, Luis Buñuel) ที่เล่าถึงเผด็จการกดขี่ประชาชนตรงๆไปเลย พูดถึงประเด็นเผด็จการเป็นประเด็นหลักชัดๆเน้นๆประเด็นเดียวไปเลย
หรือถ้าเป็นหนังไทย ก็มีเช่น IN THE FLESH (2016, Kong Pahurak), 329
(2014, Tinnawat Chankloi), DOGMATIST (2015, Patipol Teekayuwat) ที่สร้างโลกสมมุติ,
ประเทศสมมุติ หรือโลกอนาคตขึ้นมา โดยที่ประเทศสมมุตินั้นใช้ระบอบเผด็จการ
1.4.2 หนังอย่าง THE DISCREET CHARM, THE PHANTOM OF LIBERTY (1974,
Luis Buñuel) และหนังหลายๆเรื่องของ Alexander Kluge ที่มันสะท้อนสังคม แต่มันดูเหมือนเปิด รูรั่ว หรือช่องว่าง เอาไว้เยอะมาก
เพราะมันจะมีหลายๆฉากในหนังกลุ่มนี้ที่เราดูแล้วจะตอบไม่ได้ว่า มันโยงกับธีมหลักยังไง,
มันหมายถึงอะไร มันดูเหมือนหนังกลุ่มนี้เป็นอิสระจากประเด็นของมันในระดับหนึ่งน่ะ
คือแทนที่มันจะตั้งหน้าตั้งตาพูดว่าเผด็จการเลวร้ายอย่างโน้นอย่างนี้ในทุกๆฉาก หรือพูดถึงธีมหลักของมันในทุกๆฉาก
หนังกลุ่มนี้กลับใส่ฉากที่ไม่รู้ว่าคืออะไรเข้ามาเป็นระยะๆ
และฉากแบบนี้มันก็เหมือนรูรั่ว, ช่องว่าง, รูให้เราได้มีอากาศหายใจ
ไม่ต้องถูกกดทับหรือบีบรัดด้วยธีมหลัก, จุดกระตุ้นความคิดผู้ชม ฯลฯ
คือหนังในกลุ่ม 1.4.1 ดูเหมือนจะสะท้อนสังคมด้วยการพูด A,B,C,D,E เรียงต่อกันไปเรื่อยๆ
แต่หนังในกลุ่ม 1.4.2 จะพูด A, ก,ƒ,‡ B, sin, cos,
tan, C,œ เรียงต่อกันไปเรื่อยๆ
และโดยทั่วไปแล้วเราจะชอบหนังในกลุ่ม 1.4.2 มากกว่า
เพราะมันดูแล้วเป็นอิสระดี และมันเข้ากับมุมมองของเราที่มีต่อชีวิตดี
เพราะเราไม่ได้มองว่าชีวิตเรามีมิติการเมืองแค่มิติเดียว ถึงแม้ว่าการเมืองจะแทรกซึมเข้ามาในเกือบทุกมิติของชีวิตในรูปแบบต่างๆก็ตาม
คือ ไม่มีอะไรจะพูด กับ THE DISCREET CHARM ไม่ได้พูดประเด็นเดียวกัน
แต่ลักษณะบางอย่างดังที่กล่าวไปข้างต้นทำให้เรานึกไปถึง THE DISCREET CHARM
น่ะ และมันก็เลยทำให้เราชอบ “ไม่มีอะไรจะพูด”มากๆ
เพราะเรารู้สึกว่าเราแทบไม่ค่อยเจอหนังไทยแนวสะท้อนสังคมที่ใช้โครงสร้าง/ลักษณะแบบ
THE DISCREET CHARM มาก่อน (เราขอนำ “ไม่มีอะไรจะพูด”
ไปเทียบกับหนังไทยที่เราเคยดูมานะ เพราะเราไม่ได้ดูละครเวทีมานาน 14 เดือนแล้ว
เราก็เลยไม่สามารถนำ “ไม่มีอะไรจะพูด” ไปเทียบกับละครเวทีเรื่องอื่นๆได้)
2.ดูแล้วจะจับเนื้อเรื่องได้เป็น 3 ก้อนใหญ่ๆนะ นั่นก็คือ
2.1 เรื่องของหอยสุมอย ที่สะท้อนประเทศชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
และรวมไปถึงความสัมพันธ์ทางอำนาจในระดับล่างๆลงมา อย่างเช่นครูกับศิษย์
2.2 เรื่องของนางยักษ์, เมรี, รถเสน
และร้านอาหารของเมรีที่ได้รับข้อกล่าวหา อันนี้เหมือนกับสะท้อนประเด็นทางสังคมในระดับนึง
2.3 เรื่องความสัมพันธ์ของเกย์ ที่ดูเหมือนจะสะท้อนความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างมนุษย์กับมนุษย์
และก็มี fragments ยิบย่อยที่เราไม่แน่ใจว่ามันคืออะไรยังไง
แต่ก็ชอบมาก อย่างเช่นฉากที่ชายหนุ่มสองคนคุยกันด้วยประเด็นต่างๆ
แต่ต้องทำหน้าตายิ้มแย้มเข้าหากัน และเล่นสะบัดเสื้อใส่กันตลอดเวลา, หรือเนื้อหาบางส่วนที่เราไม่รู้ว่าคืออะไร
อย่างเช่น การที่สาวเสิร์ฟคนหนึ่งเห็นผี
ในส่วนของเนื้อเรื่อง 3 ก้อนนั้น เราชอบส่วนของหอยสุมอยที่สุดนะ
เราว่ามันสะท้อนสังคมได้ดีมากๆ และมันทำให้น่าคิดมากๆว่า คนไทยในอีก 100
ปีข้างหน้า จะมองคนไทยแต่ละกลุ่มในปี 2017 ด้วยมุมมองอย่างไรบ้าง
เราว่าส่วนของหอยสุมอย มันสะท้อนสังคมที่เลวร้ายด้วยอารมณ์ขันได้ดีด้วยแหละ
มันก็เลยแตกต่างจากหนังสะท้อนสังคมเรื่องอื่นๆของไทยที่ทำออกมาในแนวเคร่งเครียดเป็นส่วนใหญ่
คือถ้าละครเวทีเรื่องนี้มันมีแต่ส่วนของหอยสุมอยส่วนเดียว
เราก็จะเทียบมันกับหนังเรื่อง THE LOBSTER นะ
ในแง่การสร้างโลกวิปริตผิดเพี้ยนขึ้นมาเพื่อสะท้อนอะไรบางอย่างในโลกความเป็นจริง
แต่พอละครเวทีเรื่องนี้มีส่วนของนางเมรีและเรื่องเกย์คุยกันเข้ามาด้วย
เราก็เลยนำมันไปเทียบกับ THE DISCREET CHARM และหนังของ Alexander Kluge
น่ะ ในแง่ความเป็นอิสระจากประเด็น
คือจริงๆแล้วบางคนอาจจะตีความเรื่องของเมรีและเกย์ให้โยงเข้ากับธีมหลักในหอยสุมอยก็ได้นะ
แต่เราขี้เกียจคิดเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน เราขี้เกียจตีความ
และเราชอบที่มันดูเหมือนไม่เชื่อมโยงกันง่ายๆแบบนี้นี่แหละ มันดูเป็นอิสระดี
มันเปิดช่องว่างให้เราได้หายใจหายคอดี มันคือความสุขแบบเดียวกับที่เราได้รับจาก Luis
Buñuel และ Alexander Kluge
No comments:
Post a Comment