Saturday, August 31, 2019

THE WORKSHOP


THE WORKSHOP (2017, Laurent Cantet, France, A+30)

1.ชอบสุดๆ หนังมีความคล้าย THE CLASS (2008, Laurent Cantet) ตรงที่มีฉากตัวละคร debate กันอย่างจริงจังและรุนแรง ซึ่งเราจะชอบอะไรแบบนี้มากๆ ฉากที่ตัวละครปะทะกันอย่างเดือดๆนี่ดูแล้วนึกถึง THE BANGKOK BOURGEOIS PARTY (2007, Prap Boonpan) เลย

2.ชอบที่หนังมันนำเสนอสภาพสังคมฝรั่งเศสหลังเหตุก่อการร้ายที่ Bataclan และ Nice ด้วย เพราะเราอยากรู้ว่าสังคมฝรั่งเศสได้รับผลกระทบอย่างไรจากเหตุก่อการร้ายดังกล่าว และหนังเรื่องนี้นำเสนอมุมมองที่แตกต่างออกไปจาก THE SOURCE (2018, William S Touitou, France, A+25) เพราะ THE SOURCE นำเสนอประเด็นนี้ผ่านทางชุมชนชาวมุสลิมในฝรั่งเศส แต่ THE WORKSHOP เน้นไปที่ "ฝ่ายขวาจัด" ในฝรั่งเศส ซึ่งเป็นอะไรที่ดู controversial กว่า และหมิ่นเหม่กว่าในสายตาของเรา เพราะเวลาที่เราดู THE SOURCE นั้น เรารู้สึกเข้าข้างและเห็นใจตัวละครได้ในทันที แต่ใน THE WORKSHOP นั้น เราไม่รู้ว่า เราควรจะรู้สึกอย่างไรกับพระเอก ซึ่งมาจากสังคมขวาจัด

3.ชอบการสร้างตัวละครพระเอกมากๆ มันเหมือนเป็นการยกระดับจาก THE CLASS เพราะใน THE CLASS นั้น ถ้าเราจำไม่ผิด มันไม่มี “ตัวละครที่มีศักยภาพที่จะเป็นฆาตกรโรคจิต” แต่พระเอกของ THE WORKSHOP มันเป็นคนที่ดูเหมือนจะเข้าอกเข้าใจผู้ก่อการร้าย, ฆาตกรโรคจิต, นักกราดยิง, คนที่ฆ่าคนเพียงเพราะรู้สึกอยากฆ่าคน เพราะฉะนั้นการที่พระเอกของหนังเรื่องนี้ดูเหมือนจะเข้าอกเข้าใจฆาตกรโรคจิต และการที่เขาทำในสิ่งที่ล้ำเส้นคนทั่วไป มันก็เลยทำให้เกิดความรู้สึกน่าหวาดกลัวตลอดเวลาว่า ตัวเขาเองก็มีศักยภาพที่จะเป็นฆาตกรโรคจิตด้วยหรือไม่ และคนอื่นๆในสังคมควรจะปฏิบัติต่อเขาอย่างไร หรือควรจะทำตัวอย่างไร เมื่อเจอคนแบบนี้ในสังคมเดียวกับเรา

4.จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้มีบางจุดที่คล้ายกับ THE SCYTHIAN LAMB (2018, Daihachi Yoshida) แต่ในขณะที่ THE SCYTHIAN LAMB เลือกจะทำตัวเป็นหนัง thriller หนังเรื่องนี้ก็เลือกที่จะทำตัวเป็นหนังมนุษยนิยมตามสไตล์ถนัดของ Laurent Cantet

หนังมีบางจุดที่ทำให้นึกถึง THE LIFE OF JESUS (1997, Bruno Dumont) ในแง่การสะท้อนภาพวัยรุ่นขวาจัดในฝรั่งเศส และมีบางจุดที่ทำให้นึกถึง VOX LUX (2018, Brady Corbet) ในแง่ที่มันทำให้เราตระหนักถึง “การอาศัยอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยการก่อการร้าย, การกราดยิง” เหมือนๆกัน แต่แน่นอนว่า หนังของ Laurent Cantet ทำให้เรารู้สึกอบอุ่นปลอดภัยมากกว่าหนังแบบ VOX LUX

แต่ถึงแม้หนังของ Laurent Cantet มันจะดูมนุษยนิยมมากๆ และดูอบอุ่น+มีความหวัง แต่มันก็ไม่ทำให้เรารู้สึก “กึ๋ยๆ” แบบหนังของ Robert Guediguian นะ คือเราว่า Robert Guediguian ก็ชอบทำหนังมนุษยนิยม และมีทัศนคติทางการเมืองที่ถูกต้องเหมือนกัน แต่หนังของ Robert Guediguian มันอบอุ่นมากเกินไปนิดนึง, มัน romanticize มากเกินไปนิดนึง หรือมันมี sense แบบ activist มากเกินไปนิดนึงน่ะ มันเหมือนกับว่าหนังของ Robert Guediguian มองปัญหาสังคมด้วยสายตาของ actvisit ในขณะที่หนังของ Laurent Cantet มันจะมองปัญหาสังคมด้วยสายตาของนักสังคมวิทยาน่ะ

5. ชอบการที่หนังมันเหมือน self reflexive หรือเหมือนจะล้อตัวเองและหนังอย่าง THE CLASS ด้วย ซึ่งไม่รู้ว่าเป็นความจงใจหรือเปล่า
คือรู้สึกว่าหลายๆอย่างในหนังเรื่องนี้ มันสะท้อนตัวหนังเองน่ะ อย่างเช่น

5.1 ตัวละครตั้งคำถามว่า limit ของการเขียนนิยายคืออะไร เราสามารถบรรยายฆาตกรโรคจิตในแบบไหนได้บ้าง การที่เราเขียนสิ่งที่หลายคนบอกว่า sick นั้น จริงๆแล้วมัน “ผิด” หรือเปล่า

ซึ่งเราว่าการที่หนังเรื่องนี้นำเสนอตัวละครพระเอกและเพื่อนๆพระเอกที่มีแนวคิดขวาจัด และมีพฤติกรรมหมิ่นเหม่ มันก็เหมือนๆจะเป็นการลองแตะเส้นของ “สิ่งที่เหมาะสม/ไม่เหมาะสม”  คล้ายๆกับที่ตัวละครตั้งคำถาม

5.2 ตัวละครถกกันว่า การที่เราบรรยายความคิดในหัวฆาตกรโรคจิตนั้น มันไม่ได้หมายความว่าคนเขียน “เข้าข้าง” ฆาตกรโรคจิตเสมอไป เพราะนักประพันธ์สามารถบรรยาย “ความคิด หรือแนวคิด” ต่างๆอย่างละเอียดลออได้ เพื่อจะได้ “ประณาม” แนวคิดนั้นๆ มันไม่ใช่ว่านักประพันธ์ต้องเห็นด้วยกับสิ่งที่ตัวละครคิดหรือพูด เพราะนักประพันธ์อาจจะเห็นตรงข้ามกับสิ่งที่ตัวละครคิดหรือพูดก็ได้

ซึ่งเราว่า นี่แหละคือจุดหลักที่เราชอบในหนังของ Laurent Cantet หลายๆเรื่อง เพราะหนังของเขาเหมือนจะเปิดโอกาสให้ตัวละครแสดงความเห็นได้อย่างเต็มที่ โดยที่นั่นไม่ได้หมายความว่า Laurent Cantet ต้องเห็นด้วยกับสิ่งที่ตัวละครพูดเสมอไป

5.3 นางเอกเป็นนักประพันธ์ชื่อดัง แต่พระเอกซึ่งเป็นหนุ่มวัยรุ่นบอกว่านางเอกบรรยายความคิดในหัวของฆาตกรได้อย่างไม่สมจริง นางเอกก็เลยพยายามสัมภาษณ์พระเอก เพื่อที่เธอจะได้เข้าใจคนแบบเขา และจะได้เอาสิ่งนี้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์เวลาเธอเขียนถึงตัวละครบางตัว แต่พระเอกกลับมองว่า นางเอกพยายาม exploit เขาเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง

จุดนี้ของหนังทำให้เราสงสัยว่า มันคือกลวิธีที่ Laurent Cantet ใช้ในการสร้างหนังแบบ THE CLASS และหนังเรื่องอื่นๆ หรือเปล่า เพราะเราว่าหนังแบบ THE CLASS นั้น สิ่งที่ตัวละครแต่ละตัวพูด มันไม่น่าจะออกมาจากหัวของ “คนเขียนบท/คนเขียนหนังสือ” เพียงอย่างเดียว แต่มันน่าจะมาจากความเข้าใจวัยรุ่นจริงๆด้วย และคนเขียนบท/คนเขียนหนังสือจะเข้าใจวัยรุ่นจริงๆได้ ก็ด้วยการตามสังเกต, สัมภาษณ์, คลุกคลี คล้ายๆกับที่นางเอกหนังเรื่อง THE WORKSHOP ทำกับคนต่างๆในเวิร์คช็อปของเธอ

6.สรุปว่า เราก็เลยชอบ THE WORKSHOP อย่างสุดๆในสอง layers หลักๆ ทั้งในส่วนของเนื้อเรื่องที่มันสะท้อนสภาพสังคมฝรั่งเศสหลังการก่อการร้าย+สะท้อนพวกขวาจัด และใน layer ของความเป็น self-reflexive ที่อะไรหลายๆอย่างในหนังเรื่องนี้ มันสะท้อนตัวหนังเอง

HUGBY BANBAG (2019, Bhin Bunluerit, A+30)
ฮักบี้ บ้านบาก

1.รักคุณครูในหนังเรื่องนี้ที่สุดเลย 555555 รักมัดกล้ามของคุณครู แผงอกของคุณครู และรักทัศนคติของคุณครูมากๆ

2.เหมือนโครงหลักของมันเป็นหนังสูตรสำเร็จนะ ดูแล้วจะนึกถึงหนังญี่ปุ่นประเภท TUG OF WAR! (2012, Nobuo Mizuta) หนังประเภททีมกีฬา loser ที่พยายามไต่เต้าขึ้นไปให้ได้น่ะ

ซึ่งเอาเข้าจริง เราว่าฮักบี้ บ้านบาก ไม่ค่อยแม่นในเรื่อง “การเร้าอารมณ์ตามขนบหนังสูตรสำเร็จ”นะ อารมณ์ในหนังมันเลยไม่ได้เป็นกราฟขึ้นลงอย่างสวยงามตามจังหวะหนังสูตรสำเร็จที่เราคุ้นเคย ซึ่งมันก็เป็นทั้งข้อดีและข้อเสียของหนัง ข้อเสียของมันก็คือ ผู้ชมทั่วไปอาจจะไม่รู้สึกสนุกกับมันอย่างเต็มที่ หรือลุ้นกับมันอย่างเต็มที่ แต่ข้อดีของมันก็คือ เราเองก็เบื่อกราฟอารมณ์ที่ขึ้นลงแบบหนังสูตรสำเร็จน่ะ 555 เพราะฉะนั้นการที่หนังเรื่องนี้ไม่ค่อยแม่นในเรื่อง “การเร้าอารมณ์” มันก็เลยทำให้เรารู้สึกว่าหนังมันมีอะไรบางอย่างที่เป็นธรรมชาติกว่าหนังสูตรสำเร็จเรื่องอื่นๆ

3.ชอบที่ครึ่งหลังของหนังจริงจังกับการแข่งขันอย่างเต็มที่

4.แอบรู้สึกว่าหนัง romanticize ชนบทมากเกินไปนิดนึง และรู้สึกว่าสีเขียวของทุ่งหญ้าในหนังมันดูเขียวใสแสงมรกตมากเกินไป ดูแล้วแอบสงสัยว่า ทุ่งหญ้ามันเขียวอย่างนั้นจริงๆ หรือมันถูกทำให้เขียวเกินจริง
                                                                          
5.พอดูหนังเรื่องนี้ใกล้ๆกับ PRO MAY แล้วทำให้รู้เลยว่า เราชอบ “ฮักบี้ บ้านบาก” มากกว่า เพราะความสุขของชีวิตเราไม่ใช่ “การเป็นอันดับหนึ่งของโลก” แต่ความสุขของเราคือการได้แดก MK สุกี้ แค่นี้ก็พอแล้ว

SAAHO (2019, Sujeeth, India, A+25)
                       
หนังเว่อร์มากจนขำ 555555                              

เราดูที่พารากอน ตั๋ว 450 บาทนะ แต่หนังยาว 3 ชั่วโมง มีพักครึ่ง


Thursday, August 29, 2019

READY OR NOT

READY OR NOT (2019, Matt Bettinelli-Olpin, Tyler Gillett, A+15)

1.เป็นโชคร้ายของหนังเรื่องนี้ที่เราได้ดูหนังเรื่องนี้ต่อจาก MIDSOMMAR ที่นำเสนอ "ลัทธิอุบาทว์" เหมือนกัน แต่เรารู้สึกว่า MIDSOMMAR มีความคิดสร้างสรรค์มากกว่าเยอะ สำหรับเราแล้ว การดู MIDSOMMAR เหมือนการเดินชมพิพิธภัณฑ์ที่มีอะไรละลานตาเต็มไปหมด ส่วนการดู READY OR NOT เหมือนการเล่นเกมแปะแข็ง ที่สนุกดี แต่เหมือนเราเล่นเกมแบบนี้บ่อยจนเริ่มเบื่อแล้ว

2.เหมือนนางเอกมันธรรมดาเกินไปสำหรับเราน่ะ เราอยากได้นางเอกเก่งๆแบบ YOU'RE NEXT (2011, Adam Wingard)  หรือฉลาดๆแบบพระเอก MACGYVER (1985-1992)

3.แต่จุดที่ชอบสุดๆในหนังเรื่องนี้ คือการที่หนังเรื่องนี้นำเสนอกลุ่มผู้ร้ายในฐานะ "คนรักสถาบันครอบครัว" คือเหมือนตัวร้ายจะพร่ำพูดตลอดเวลาว่า ฉันรักครอบครัว ฉันต้องทำเพื่อครอบครัว เราก็เลยคิดว่า หนังเรื่องนี้มี attitude  บางอย่างที่เข้าทางเรามากๆ

อีกจุดที่ชอบมาก คือการที่หนังเรื่องนี้เหมือนให้พลังในการลุกขึ้นตบคน 555 คือเหมือนหนังทำให้เรารู้สึกว่า การหงอคน กลัวคนอื่นๆ กลัวแม่ผัว = มึงโง่ สมควรตาย แต่ถ้าหากมึงลุกขึ้นสู้คน ตบคน มึงถึงจะรอด

THE NORTHERNERS (1992, Alex van Warmerdam, Netherlands, A+30)

ชอบความประสาทแดกของหนัง

I LOVE YOU THAILAND (2019, Charinthorn Rachurutchata, video installation, 5min, A+25) จัดแสดงที่ชั้นสอง River City

ITALIAN RENAISSANCE (2019, video installation, A) มันยาวแค่ราว 30 นาทีเองน่ะ ดูแล้วรู้สึกไม่คุ้มเท่าไหร่

ONLY THE CAT KNOWS (2018, Shotaro Kobayashi, Japan, A+20)

 หนัง "หวาน" เกินไปสำหรับเรา

Tuesday, August 27, 2019

27 AUG – 2 SEP 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 35
27 AUG – 2 SEP 1989

1.TOO MUCH – Bros (New Entry)
+ SECRET RENDEZVOUS – Karyn White

2. A ZILLION KISSES – Tommy Page
+ REST OF THE NIGHT – Natalie Cole
              
3. TROUBLE MAKER – Yoko Minamino
+SONG FOR WHOEVER – The Beautiful South

4.DON’T WANNA LOSE YOU – Gloria Estefan
+ SEA AND ISLAND – Shonentai

5. IT’S ALRIGHT – Pet Shop Boys
+ LONDON NIGHTS – London Boys

6. HARRY HOUDINI – Kon Kan

7.GIVE YOU ALL MY LOVE – Stacey Q

8. MAITTANE KONYA – Shonentai

9. CHA CHA HEELS – Eartha Kitt and Bronski Beat (New Entry)

10. 101 – Sheena Easton (New Entry)

PARADISE:LOVE

MY GRANDPA' S GARDEN (2016, Martin Esposito, France, documentary, A+25)

1. ดูแล้วนึกถึงหนังฝรั่งเศสประเภท WHAT'S LIFE? (1999, Francois Dupeyron), THE GIRL FROM PARIS (2001, Christian Carion) และ SUN IN WINTER (2005, Samuel Collardey) เพราะหนังกลุ่มนี้เล่าเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรรุ่นเก่ากับรุ่นใหม่เหมือนๆกัน เหมือนเกษตรกรรุ่นใหม่ควรพยายามสืบทอดความรู้จากรุ่นเก่าๆ

พอดูแล้วก็เลยสงสัยว่า ทำไมเรานึกถึงแต่หนังฝรั่งเศสที่พูดถึงประเด็นนี้ 555 เหมือนหนังเยอรมันที่เราได้ดู ตัวละครก็มักไม่ค่อยทำงานเป็นเกษตรกร ในขณะที่หนังอเมริกากับหนังยุโรปประเทศอื่นๆ ตัวละครก็มักเป็นหนุ่มสาวในชนบทที่มักดิ้นรนจะเข้าสู่เมืองใหญ่

ส่วนหนังไทยเราก็นึกไม่ค่อยออกเหมือนกัน เหมือนตัวละครเกษตรกรมักจะเป็นคนรุ่นผู้ใหญ่ (หนังของ Uruphong Raksasad และ Boonsong Nakphoo) ในขณะที่หนุ่มสาวอย่างใน ไทบ้านเดอะซีรีส์ หรือในหนังสารคดีไทยบางเรื่องที่เราเคยดู ก็พยายามจะทำการเกษตรในแนวทางของตัวเอง (ซึ่งก็อาจจะเป็นสิ่งที่ดีแล้ว แบบไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง) ในขณะที่พ่อแม่ของพวกเขา ก็มักจะไม่พอใจที่พวกเขาเลือกที่จะเป็นเกษตรกร ทั้งๆที่เรียนจบปริญญาตรีมาแล้ว

ก็เลยรู้สึกว่า บริบทของแต่ละสังคม น่าจะส่งผลเป็นอย่างมากต่อหนังเกี่ยวกับเกษตรกรในแต่ละประเทศ

2.ชอบการถ่ายทอดความรู้เรื่อง การปลูกพืชแต่ละประเภทตามข้างขึ้น ข้างแรมมากๆ ไม่เคยรู้มาก่อนว่าข้างขึ้นข้างแรมจะมีอิทธิพลชี้เป็นชี้ตายต่อการอยู่รอดของพืชบางประเภทมากขนาดนี้

3.ชอบ "การบันทึกความแก่ชรา" ของตัว subject มากๆ คือแค่ดูอากัปกิริยาของตัว subject ไปเรื่อยๆ เราก็รู้สึกสะเทือนใจอย่างรุนแรงแล้ว

 PARADISE: LOVE (2012, Ulrich Seidl, Austria, A+30)

1.ตอนแรกที่ดูหนังเรื่องนี้ ก็งงว่าทำไม Charlotte Rampling ไม่โผล่มาในหนังสักที อ้าว ที่แท้เราจำเรื่องย่อหนังเรื่องนี้สลับกับหนังเรื่อง HEADING SOUTH (2005, Laurent Cantet) 55555

2.ดูแล้วก็นึกถึงทั้ง HEARTBOUND: A DIFFERENT KIND OF LOVE STORY (2018, Janus Metz, Sine Plambech, Denmark, documentary) และ BANGKOK NITES (2016, Katsuya Tomita) นะ ในแง่ที่หนังพวกนี้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนต่างชาติเหมือนกัน โดยมี "เงิน" หรือ "ฐานะ" เป็นปัจจัยสำคัญ แต่รู้สึกว่าตัวละครใน PARADISE: LOVE น่าสงสารที่สุด

เรารู้สึกเห็นอกเห็นใจตัวละครนางเอกใน PARADISE: LOVE นะ ในแง่นึงเธอก็อาจจะไม่ได้แตกต่างไปจากฝรั่งชายใน HEARTBOUND และใน HAPPY (2016, Carolin Genreith, Germany/Thailand) ก็ได้ แต่เธอโชคไม่ดีเท่าฝรั่งชายในหนังสองเรื่องนั้น เธอต้องการ "ความรัก" แต่มันก็เป็นเรื่องยากจริงๆนั่นแหละที่เธอจะได้ในสิ่งที่เธอต้องการ เพราะความรักและความจริงใจมันเป็นสิ่งที่หายาก และต้องการ "เวลา" ในการพิสูจน์และทดสอบ

ดูแล้วนึกถึง ALI: FEAR EATS THE SOUL (1974, Rainer Werner Fassbinder) ด้วย แต่นางเอกของ FEAR EATS THE SOUL เหมือนจะโชคดีกว่านางเอก PARADISE: LOVE

3.แอบคิดว่า การที่หนังของ Ulrich Seidl ชอบนำเสนอตัวละครด้วยสายตา "เย็นชา" มันทำให้ผู้ชมแต่ละคนมองหนังด้วยสายตาที่แตกต่างกันไปได้ คือผู้ชมบางคนอาจจะมองว่า หนังเรื่องนี้ต่อต้านการค้าบริการทางเพศก็ได้ (แต่เราไม่ได้มองแบบนั้น) หรืออาจจะมองว่าหนังเรื่องนี้มอง "ผู้หญิงที่สำส่อน" ในทางไม่ดีก็ได้ (ในขณะที่เราไม่ได้มองแบบนั้น) คือในมุมมองของเรา เรามองว่า หนังนำเสนอ "ความจริงที่น่าเศร้า" ได้ดีมากๆ และเรามองว่าสิ่งที่นางเอกและเพื่อนๆนางเอกทำ ไม่ใช่สิ่งที่ผิดหรือน่าละอายแต่อย่างใด พวกเธอเพียงแค่ต้องการหาความสุขใส่ตัวแค่นั้นเอง

Monday, August 26, 2019

STEPPING OUT (1999, Eva Heldmann, documentary, A+30)


STEPPING OUT (1999, Eva Heldmann, documentary, A+30)

1.สุดฤทธิ์ รักหนังเรื่องนี้ที่สุด นี่แหละ "นางเอก" ในนิยายหรือหนังในจินตนาการของเรา

คือถ้าหากเราแต่งนิยาย หรือสร้างหนัง เราก็คงสร้างตัวละครนำหญิงสักตัวที่มีลักษณะคล้าย Dr. Annette ซึ่งเป็น subject ของหนังเรื่องนี้นั่นแหละ

Subject ของหนังเรื่องนี้เป็นอาจารย์มหาลัยสาวชาวเยอรมันที่ชอบการมีเซ็กส์กับทหารหนุ่มชาวอเมริกันมากๆ โดยเฉพาะทหารผิวดำ และหนังสารคดีเรื่องนี้ก็ติดตามพฤติกรรมทางเพศของเธอ และนำเสนอความคิดความรู้สึกของเธอออกมาอย่างหมดเปลือก

ชอบมากๆที่ตัว subject เล่าถึงเรื่องที่เธอมีความสัมพันธ์กับผู้ชาย 3 คนในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องรู้สึกผิดอะไร ไม่ต้องให้สายตาอีหน้าหมาตัวไหนในสังคมมาตัดสินเธอ ชอบที่เธอเล่าว่า พอทหารคนนี้นอนกับเธอแล้วจากไปตอนตีสอง อีกคนก็มาหาเธอตอนตีห้า หลังจากที่เขาเพิ่งไปนอนกับผู้หญิงอีกคนมา คือทุกคนเหมือนเป็น open relationship ที่ไม่ต้องหึงหวงอะไรกันเลย

ชอบที่เธอบรรยายถึงสิ่งต่างๆและการกระทำต่างๆที่ช่วยกระตุ้นอารมณ์ทางเพศของเธอด้วย

2.หนึ่งในจุดที่ชอบที่สุด คือการที่เธอบรรยายว่า การที่เธอชอบไปค่ายทหารเปรียบเหมือนกับการที่ผู้ชายบางคนชอบไปเที่ยวซ่อง เพราะเวลาที่เธอเดินเข้าไปในค่ายทหาร เธออยากนอนกับทหารคนไหน ทหารคนนั้นก็เต็มใจจะนอนกับเธอ เหมือนกับที่ผู้ชายไปเที่ยวซ่องแล้วสามารถเลือกได้ว่าจะนอนกับโสเภณีคนไหนก็ได้

3.น่าสนใจมากๆที่เธอเล่าว่า ทหารที่เธอนอนด้วย จะไม่ยอมเล่าถึงประสบการณ์ของตัวเองในสงครามเวียดนาม แต่ยอมเล่าประสบการณ์ของตัวเองใน Gulf War

4.เป็นเรื่องที่โชคดีมากๆที่ตัวผู้กำกับได้เจอ subject ที่ยอมถ่ายทอดเรื่องแบบนี้อย่างหมดเปลือก

พอดูหนังเรื่องนี้แล้วก็เลยนึกถึงว่า จริงๆแล้วเราก็เคยได้ยินหรือรู้จักผู้หญิงที่ “รักการมีเซ็กส์กับผู้ชายหลายๆคน” มาบ้างน่ะ แต่ผู้หญิงที่เรารู้จักคงไม่ต้องการเปิดเผยตัวเองต่อสาธารณชนแบบในหนังเรื่องนี้  ทั้งที่จริงๆแล้ว เราอยากให้มีคนถ่ายทอดประสบการณ์ของผู้หญิงเหล่านี้ออกมาเป็นหนังสารคดีแบบ STEPPING OUT มากๆ

หนึ่งใน subject ที่อยากให้มีคนทำเป็นหนังสารคดี เป็นเรื่องที่เพื่อนกะเทยคนนึงเล่าให้ฟัง เกี่ยวกับหญิงสาวชาวไทยคนนึงที่ชอบมีเซ็กส์กับทหารไทยหลายๆคน ตอนที่เราได้ฟังเรื่องนี้ เรารู้สึก “นับถือ” และ “อิจฉา” หญิงสาวคนนี้มากๆ คือเรามองหญิงสาวคนนี้ในทางชื่นชมน่ะ อยากรู้รายละเอียดชีวิตของเธอมากๆว่าเธอเป็นใคร อะไรยังไง

อีกเรื่องที่ชอบมากๆ เป็นเรื่องที่สาวยุโรปคนนึง (สมมุติว่าชื่อ Y) เล่าให้เราฟังเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเรื่องที่เธอเล่าเป็นเรื่องจริงหรือเปล่า แต่เราก็ชอบเรื่องที่เธอเล่าอยู่ดี คือเธอเล่าว่า เธอเคยอยู่อินเดียหลายปี, เธอชอบจัดงานปาร์ตี้ (เหมือนเธอเป็นนักธุรกิจที่ร่ำรวย ถ้าจำไม่ผิด) และก็มีเซ็กส์กับหนุ่มๆอินเดียหลายคน รวมทั้งมีเซ็กส์กับเจ้าชายบางแคว้นในอินเดียด้วย

หนึ่งในเรื่องที่เธอเล่าแล้วเราชอบมาก ก็คือเธอบอกว่า เมียหลวงของเจ้าชายอินเดียชอบเธอมากๆ และเมียของผู้ชายอินเดียคนอื่นๆที่เธอมีเซ็กส์ด้วยก็ชอบเธอมากๆเช่นกัน เมียหลวงของเจ้าชายอินเดียชอบชวนเธอมากินข้าว,ดื่มน้ำชาด้วย

สาเหตุที่ทำให้บรรดา “เมียหลวง” เหล่านี้ชอบเธอมากๆ เป็นเพราะว่า เธอเป็นคนสอน “บรรดาผัวๆ” ของผู้หญิงเหล่านี้ว่า การทำให้ผู้หญิงมีความสุขสุดยอดขณะมีเซ็กส์นั้น เขาทำกันยังไง คือเหมือนผัวๆเมียๆอินเดียเหล่านี้ไม่ช่ำชองเรื่องเซ็กส์แบบเธอน่ะ แต่เธอช่ำชองมากๆ เพราะฉะนั้นเวลาเธอมีเซ็กส์กับผู้ชายบางคน เธอก็จะสอนเขาไปด้วยว่า เวลาเขากลับไปมีเซ็กส์กับเมียตัวเอง เขาควรทำอย่างนี้ๆนะ แล้วเขาก็กลับไปทำตามที่เธอสอน เมียๆของผู้ชายเหล่านี้ก็เลย happy ไปตามๆกัน เพราะผัวๆของพวกเธอได้รับการฝึกปรือมาอย่างดีจาก Y แล้ว

แล้วเมียหลวงของเจ้าชายอินเดียก็ชอบ Y มากๆ เพราะ Y ไม่มีความเป็นคู่แข่งของเมียหลวงเลย เพราะสิ่งที่ Y ต้องการ คือ “เซ็กส์” เท่านั้น Y ไม่ต้องการ “ความรัก”, ไม่ต้องการ “เงิน” (Y รวยอยู่แล้ว), ไม่ต้องการมีลูกกับเจ้าชาย เพราะฉะนั้นเมียหลวงก็เลยดีใจที่เจ้าชายไปมีเซ็กส์กับ Y เพราะสิ่งที่ Y ต้องการมีแค่เซ็กส์ แต่ไม่ได้เรียกร้องอะไรไปมากกว่านั้น และไม่ต้องการจะแย่งอะไรอย่างอื่นๆไปจากบรรดาเมียหลวงเหล่านี้เลย

เราได้ฟังเรื่องของ Y แล้วก็ชอบสุดๆ นี่แหละคือ “นางเอก” ในนิยายหรือหนังในจินตนาการของเรา แต่ก็เสียดายที่คงถ่ายทอดมันออกมาเป็นหนังสารคดีไม่ได้ คงเขียนเล่าได้เฉพาะเรื่องที่เธอเล่าบางเรื่องแบบนี้นี่แหละ

Sunday, August 25, 2019

CAMBODIA


วันนี้ในงาน talk เรื่อง sci-fi philia และ Andrei Tarkovsky คุณก้อง ฤทธิ์ดี พูดถึงหนังตลกของ Soviet Union ที่จริงๆแล้วเนื้อหาของหนังเป็นการเสียดสีรัฐบาล และเคยเข้ามาฉายในเทศกาลหนังตลกในกรุงเทพในปี 2009 เราก็เลยนึกขึ้นได้ว่า เราเคยดูหนังสองเรื่องในกลุ่มนี้ ซึ่งก็คือ KIDNAPPING, CAUCASIAN STYLE (1967, Leonid Gaidai) กับ OPERATION Y AND OTHER SHURIK'S ADVENTURES (1965, Leonid Gaidai)
อยากให้มีคนนำหนังเก่าๆแบบนี้กลับมาฉายอีกเยอะๆ

INTERREGNUM (2017, Adrian Paci, Albania, video installation, A+30)

พอดูไปเรื่อยๆ จะรู้สึกว่ามันตลก แต่หลังนั้นจะรู้สึกว่ามันน่ากลัว
INTERREGNUM (2017, Adrian Paci, Albania, video installation, A+30)

พอดูไปเรื่อยๆ จะรู้สึกว่ามันตลก แต่หลังนั้นจะรู้สึกว่ามันน่ากลัว

CAMBODIA (1985, Toranong Srichue, A+30)
กัมพูชา 

1.เหมาะฉายควบกับ IVAN'S CHILDHOOD (1962, Andrei Tarkovsky, Soviet Union/Ukraine) และ BALANGIGA: HOWLING WILDERNESS (2017, Khavn, Philippines) มากๆ เพราะหนังสามเรื่องนี้นำเสนอชีวิตเด็กที่ต้องผจญภัยในสงครามได้อย่างน่าสะเทือนใจพอๆกัน แน่นอนว่าหนังของทรนง ศรีเชื้อไม่สามารถสู้กับหนังของทาร์คอฟสกีและ Khavn ได้ในแง่ศิลปะ แต่ในแง่ "ความโหดร้ายของเนื้อหา" นี่สามารถสู้ได้อย่างแน่นอน 555

2.ดูแล้วทำให้เกิดข้อสงสัยมากๆว่า ถ้าหากชาวเขมรได้ดูหนังเรื่องนี้จะมีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง และนักประวัติศาสตร์จะมีความเห็นอย่างไรบ้าง เพราะหนังเรื่องนี้พูดถึงประเด็นต่างๆที่เราไม่เคยเจอจากหนังเขมรสิบกว่าเรื่องที่เคยดูมาเลย

คือเราไม่มีความรู้เรื่องสงครามกลางเมืองในเขมรเลยน่ะ ความรู้ของเราในประเด็นนี้ก็มาจากหนังกัมพูชาราว 10 กว่าเรื่องที่เคยดูมาที่เกี่ยวกับสงครามกลางเมือง ซึ่งทุกเรื่องพูดเหมือนกันว่า เขมรแดงเลวร้ายสุดๆ และทุกเรื่องเหมือนจะบอกกลายๆว่า เป็นเรื่องดีแล้วที่ทหารเวียดนามบุกเข้ามา และยุติการปกครองของเขมรแดง เพราะฉะนั้นพอเราได้ดูหนังกัมพูชาเหล่านี้ เราก็เลยมองทหารเวียดนามในแง่ดีมากๆ

แต่ "กัมพูชา" ของทรนงพูดในทางตรงกันข้าม เพราะหนังเรื่องนี้เหมือนจะบอกว่า ทหารเวียดนามที่บุกเข้ามาในกัมพูชาภายใต้การนำของ "เฮง สัมริน" เป็นกลุ่มที่เลวร้ายที่สุด เข่นฆ่าชาวกัมพูชาผู้บริสุทธิ์ตายไปมากมาย พยายามทำลายชาติกัมพูชาอย่างรุนแรงที่สุด ส่วนเขมรแดงเป็นกลุ่มสีเทา เพราะกลุ่มนี้เคยฆ่าชาวกัมพูชาไปมากก็จริง แต่ก็พยายามสู้กับทหารเวียดนาม ส่วนกลุ่มเขมรเสรีภายใต้การนำของ "ซอน ซาน" ดูเหมือนจะเป็นกลุ่มที่ดีที่สุด

เราซึ่งไม่มีความรู้ในประเด็นเหล่านี้เลย พอดู "กัมพูชา" ก็เลยสงสัยมากๆว่า เรื่องจริงเป็นอย่างไร โดยข้อสงสัยก็มีเช่น

2.1 ถ้าหากสิ่งที่ "กัมพูชา" นำเสนอเป็นความจริง ทำไมเราถึงไม่เคยดูหนังกัมพูชาที่พูดถึงประเด็นเหล่านี้เลย มีปัจจัยอะไรที่ทำให้ชาวกัมพูชาทำแต่หนังที่พูดถึงความเลวร้ายของเขมรแดง แต่ไม่พูดถึงความเลวร้ายของเฮง สัมริน+ทหารเวียดนาม

2.2 ถ้าหากสิ่งที่ "กัมพูชา" นำเสนอ ไม่เป็นความจริง ทำไม "กัมพูชา" ถึงนำเสนอเรื่องที่ไม่จริง มีสาเหตุอะไรที่ทำให้หนังเรื่องนี้นำเสนอแบบนี้ หนังเรื่องนี้ต้องการจะ propaganda แนวคิดอะไร ภายใต้ความต้องการอะไรของรัฐบาลไทยในยุคนั้น (ยุคเปรม)

3.เหมือนหนังเรื่องเดียวที่เราเคยดู ที่พูดถึงปัญหาเวียดนาม-กัมพูชา คือหนังเรื่อง DAY BY DAY (2015, Nguyen Thi Thanh Mai) ที่เคยมาฉายที่ Jim Thompson น่ะ โดยหนังสารคดีเรื่องนี้พูดถึงชาวเวียดนามที่อพยพมาอยู่ในกัมพูชา หลังจากทหารเวียดนามบุกกัมพูชาในยุคนั้น แต่หลังจากนั้นชาวเวียดนามกลุ่มนี้ก็กลายเป็นคนไร้รัฐ พวกเขาไม่ได้รับการรับรองจากทั้งรัฐบาลกัมพูชาและเวียดนาม และต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างยากลำบากในปัจจุบัน

4.ดู "กัมพูชา" แล้วนึกถึง ONE STEP ON A MINE, IT'S ALL OVER (1999, Sho Igarashi) และ THE KILLING FIELDS (1984, Roland Joffe) มากๆ ในแง่ที่มันเป็นมุมมองของคนต่างชาติที่มีต่อสงครามกลางเมืองในกัมพูชาเหมือนกัน

YASUJIRO OZU RETROSPECTIVE


ที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีจัด retrospective ของ Yasujiro Ozu ด้วยนะ จัดโดยอ.ทรงยศ แววหงษ์ รู้สึกว่าจะจัดฉายทุกเสาร์เว้นเสาร์ เริ่มฉายตอน 12.30 น.

โปรแกรม
7 SEP A MOTHER SHOULD BE LOVED (1934) + AN INN IN TOKYO (1935)
21 SEP THE ONLY SON (1936) + THERE WAS A FATHER (1942)
5 OCT LATE SPRING (1949) + EARLY SUMMER (1951)
19 OCT THE FLAVOR OF TEA OVER RICE (1952) + TOKYO STORY (1953)
2 NOV EARLY SPRING (1956) + TOKYO TWILIGHT (1957)
16 NOV EQUINOX FLOWER (1958) + GOOD MORNING (1959)
30 NOV FLOATING WEEDS (1959) + LATE AUTUMN (1960)
14 DEC THE END OF SUMMER (1961) + AN AUTUMN AFTERNOON (1962)
28 DEC I LIVED, BUT ... (1983, Kazuo Inoue, documentary, 123min) + TALKING WITH OZU (1993, Kogi Tanaka, documentary, 40min) + TOKYO-GA (1985, Wim Wenders, documentary, 88min)

Thursday, August 22, 2019

MIDSOMMAR


MISSION MANGAL (2019, Jagan Shakti, India, A+30)

1.หนังอินเดียที่สร้างจากเรื่องจริงเกี่ยวกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ได้ไอเดียว่า วิธีการทอดแป้งทำอาหารของเธอสามารถใช้ในการส่งดาวเทียมจากอินเดียไปดาวอังคารได้

กลายเป็นหนังที่ดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างหนักหนาสาหัสที่สุดในปีนี้ เพราะบทสนทนาของตัวละครหลังจากไปเที่ยวดิสโก้เธค เหมือนมันไปจี้ใจดำอะไรบางอย่างของเรา หลังจากนั้นเราก็เลยร้องไห้อย่างหยุดไม่อยู่อีกต่อไป

2.เรื่องการบิ๊วอารมณ์คนดูนี่ ยกให้หนังอินเดียเป็นอันดับหนึ่งจริงๆ บิ๊วอารมณ์ได้เก่งสุดๆ
MIDSOMMAR (2019, Ari Aster, A+30)

1.ชอบสุดๆ ชอบมากกว่า HEREDITARY (2018, Ari Aster, A+30) หลายเท่า เพราะเราเป็นคนที่หลงใหลเรื่องแม่มดและเวทมนตร์น่ะ และเรารู้สึกว่า การดำรงอยู่ของ "ลัทธิแปลกๆ" ใน HEREDITARY มันเป็นการดำรงอยู่เพื่อ "สร้างความหวาดกลัวให้ผู้ชม" คือเหมือนลัทธินี้มันไม่ได้ exist อยู่เอง แล้วหนังไปนำเสนอบางส่วนของมันออกมา แต่เหมือนมันถูกสร้างขึ้นอย่างเฉพาะเจาะจง "เพื่อผลกระทบทางอารมณ์ที่มีต่อผู้ชม" เราก็เลยรู้สึกว่า HEREDITARY นำเสนอลัทธิแม่มดในแบบที่ไม่ได้เข้าทางเราซะทีเดียว คือมันไม่ได้เป็นแบบว่า "ฉันรักลัทธิแม่มดมาก ฉันก็เลยสร้างหนังเพื่อนำเสนอลัทธิที่ฉันรัก" แต่มันเหมือนกับว่า "ฉันต้องการทำให้ผู้ชมรู้สึกสยองขวัญ ฉันก็เลยสร้างลัทธิแม่มดขึ้นมาเพื่อทำให้ผู้ชมรู้สึกหวาดกลัว"

(จริงๆแล้วนี่ก็เป็นปัญหาหนึ่งที่เรามีกับหนังสั้นไทยอย่าง "OTW เพื่อนตาย ร่วมทาง" และ THE BUSH เหมือนกัน ในแง่การดำรงอยู่ของกลุ่มผู้ร้ายเพียงเพื่อผลกระทบบางอย่างต่อผู้ชม แต่พอมันเป็นหนังสั้น มันก็เลยเข้าใจได้ว่าทำไมหนังถึงไม่มีเวลานำเสนอแง่มุมอื่นๆของกลุ่มผู้ร้าย)

ในทางตรงกันข้าม การนำเสนอลัทธิแปลกๆใน SUSPIRIA (2018) และ MIDSOMMAR มันเข้าทางเรามากกว่าเยอะ คือการดำรงอยู่ของลัทธิแปลกๆในหนังสองเรื่องนี้ มันไม่ได้มีหน้าที่เพียงแค่ "สร้างอารมณ์สยองขวัญ ลึกลับ ตื่นเต้น น่าหวาดกลัวให้แก่ผู้ชม" เพียงอย่างเดียว แต่เหมือนมันดำรงอยู่ของมันเอง แล้วหนังก็ไปนำเสนอส่วนหนึ่งของมันออกมา คือหนังสองเรื่องนี้ทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า ลัทธิแปลกๆในหนังมันใหญ่กว่าตัวหนัง ในขณะที่หนังสยองขวัญโดยทั่วไปมักจะทำให้เรารู้สึกว่า หนังทั้งเรื่องบรรจุทั้งหมดของลัทธิอุบาทว์นั้นๆไว้ในตัวหนังแล้ว

2.เนื่องจากเราเป็นคนที่ชอบจินตนาการ เราก็เลยชอบสุดๆที่ MIDSOMMAR มันทำให้เราตระหนักด้วยว่า เราไม่จำเป็นต้องจินตนาการว่า "ตัวละคร A ไปเจอลัทธิแปลกๆ แล้วตัวละคร A จะต้องรับมือกับลัทธินี้อย่างไรบ้าง" เหมือนในเรื่องเล่า narrative ทั่วๆไป คือในการจินตนาการแบบนี้นั้น เราจะจินตนาการตัวละคร A ก่อน แล้วค่อยจินตนาการองค์ประกอบต่างๆของลัทธิขึ้นมา เฉพาะในส่วนที่จะมีผลกระทบต่อตัวละคร A เท่านั้น ซึ่งมันจะเป็นจินตนาการที่แคบมาก และน่าเบื่อมาก

คือเหมือนกับว่า การดู MIDSOMMAR มันช่วยขยายขอบเขตจินตนาการของเราออกไปมากน่ะ เราชอบสุดๆที่เราไม่เข้าใจว่าพิธีกรรมและรายละเอียดอะไรหลายๆอย่างในชุมชนในหนังเรื่องนี้ มันมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ว่าอย่างไร หรือมันมีความสำคัญต่อเส้นเรื่องและต่อตัวละครเอกอย่างไร เพราะฉะนั้นตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยรู้สึกเหมือนกับว่า อะไรหลายๆอย่างในชุมชนในหนังเรื่องนี้ มัน exist ของมันเอง ไม่ว่ามันจะมีความสำคัญอะไรหรือเปล่าต่อเส้นเรื่อง, ตัวละครเอก หรือพัฒนาการของตัวละครเอก เราชอบอะไรแบบนี้มากๆ

คือการดู MIDSOMMAR มันทำให้เราตระหนักว่า เวลาเราจะมีความสุขกับโลกจินตนาการของเรา เราไม่จำเป็นต้องจินตนาการเป็น "เส้นเรื่อง" แบบเดิมๆก็ได้ แต่เราจินตนาการแบบ นักมานุษยวิทยา ก็ได้ คือจินตนาการชุมชนสมมุติ ดินแดนสมมุติอะไรบางอย่างขึ้นมา แล้วจินตนาการรายละเอียดหลายๆอย่างในชุมชนนั้น ประวัติความเป็นมา ธรรมเนียมประเพณี ภาษา อาหาร ความเชื่อ พืชพันธุ์ในชุมชน สัตว์ในชุมชน กิจวัตรประจำวันของคนในชุมชน สถาปัตยกรรม, ประติมากรรม, จิตรกรรมของคนในชุมชน โดยไม่ต้องไปผูกติดอยู่กับว่า รายละเอียดเหล่านี้มันมี "ความหมาย" อย่างไร หรือมีความสำคัญอย่างไรต่อตัวละครที่ผ่านเข้ามาประสบพบเจอ

ถ้ายกตัวอย่างให้เป็นรูปธรรมก็คือว่า ก่อนหน้านี้ ถ้าหากเรามีเวลาว่าง และเราอยากจะจินตนาการเรื่องอะไรเล่นๆขึ้นมาในหัวของเรา เราจะจินตนาการเป็นเหมือน "เส้นตรงที่มีมิติเดียว" น่ะ คือลากจากจุดหนึ่งไปสู่จุดหนึ่ง เรามักจะจินตนาการแบบว่า ตัวละคร A เดินทางไปเที่ยวป่า แล้วหลงเข้าไปใน "เมืองลับรู" ที่มีชายหนุ่มหล่อล่ำบึ้กเต็มเมือง ไม่มีผู้หญิงแม้แต่คนเดียว ตัวละคร A จะรับมือกับเมืองนี้อย่างไรบ้าง คือเหมือนเราจะจินตนาการโดยคำนึงถึงพัฒนาการของตัวละคร A เป็นหลัก แล้วจินตนาการองค์ประกอบต่างๆของเมืองลับรูนี้เฉพาะส่วนที่จะเข้ามาปฏิสัมพันธ์กับเส้นเรื่องของตัวละคร A เท่านั้น

แต่พอดู MIDSOMMAR เราก็เลยได้คิดว่า ถ้าหากเราจะจินตนาการอะไรเล่นๆในเวลาว่าง เราไม่ต้องคิดอะไรแคบๆเป็นเส้นตรงมิติเดียวแบบนั้นก็ได้ เราจินตนาการเป็นภาพหลายมิติไปเลยก็ได้ นั่นก็คือจินตนาการรายละเอียดของเมืองลับรูไปเรื่อยๆก็ได้ ว่าประวัติของเมืองนี้เป็นยังไง ชีวิตของคนในเมืองนี้ในปัจจุบันเป็นอย่างไร มีความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณีอย่างไร มีการแต่งกายอย่างไร ฯลฯ โดยไม่ต้องสนใจว่ารายละเอียดเหล่านี้มันมีความสำคัญต่อตัวละคร A หรือเปล่า

MIDSOMMAR ก็เลยมีคุณูปการต่อเรามากๆ มันช่วยให้เราค้นพบวิธีสร้างความบันเทิงให้ตัวเองได้ดีมากๆ

3.อีกจุดที่ชอบสุดๆก็คือว่า การฆาตกรรมตัวละครหลายๆตัวในหนังเรื่องนี้เกิดขึ้น OFFSCREEN น่ะ คือถ้าหากเป็นในหนังสยองขวัญโดยทั่วๆไป เวลาที่ตัวละครจะถูกฆ่าตาย หนังจะพยายามสร้างอารมณ์สนุกตื่นเต้นลุ้นระทึกสุดขีดจากเหตุการณ์เหล่านี้ ตัวละครเหยื่อแต่ละคนจะพยายามหนีสุดฤทธิ์ สู้สุดฤทธิ์ เพื่อให้คนดูได้ลุ้นระทึกตื่นเต้น แต่ใน MIDSOMMAR นั้น ชุมชนนี้เหมือนไม่ได้ exist เพื่อสร้างอารมณ์สยองขวัญลุ้นระทึกตื่นเต้นให้แก่ผู้ชมน่ะ ชุมชนนี้เหมือน exist อยู่เพื่อตัวของเขาเอง หนังก็เลยปล่อยให้การฆาตกรรมตัวละครหลายๆตัวเกิดขึ้น offscreen ไปเลย

4.ดูหนังเรื่องนี้แล้วแอบนึกถึงชุมชนชาวอามิชในอเมริกา และชุมชนชาวพุทธบางชุมชนในไทย ในแง่ของการเป็นชุมชนที่ยึดถือหลักการความเชื่อของตัวเองอย่างเคร่งครัดมากๆ แต่หนังเรื่องนี้คงไม่ได้ต้องการจะโจมตีชุมชนชาวอามิชหรือชุมชนเคร่งศาสนาแต่อย่างใด เราเดาว่าหนังคงจะแค่ใช้แรงบันดาลใจจากหลายๆแหล่งในการจินตนาการชุมชนนี้ขึ้นมา และชุมชนอามิชอาจจะเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจหลายๆแหล่งในการสร้างชุมชนสมมุตินี้

5. ในบรรดาหนังกลุ่มนี้ เราจะเรียงตามลำดับความชอบได้ดังนี้
5.1 US (2019, Jordan Peele)
5.2 MIDSOMMAR
5.3 IT FOLLOWS
5.4 GET OUT (2017, Jordan Peele)
5.5 UNDER THE SILVER LAKE (2018, David Robert Mitchell)
5.6 HEREDITARY

จริงๆแล้วอยากจะรวม THE VVITCH (2015, Robert Eggers), THE NEON DEMON (2016, Nicolas Winding Refn) กับ SUSPIRIA (2018, Luca Guadagnino) เข้าไปด้วย เพราะมันก็เป็นหนังสยองขวัญแบบแปลกๆเหมือนกัน แต่ขี้่เกียจจัดอันดับ 555
หนังสยองขวัญอีกเรื่องที่ชอบสุดๆคือ FEBRUARY (2015, Oz Perkins) หนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้มีความแปลก หรือ innovative เหมือนหนังกลุ่มข้างต้น แต่ถือเป็นหนังที่ชอบสุดๆในระดับที่มากกว่าหรือเท่ากับหนังกลุ่มข้างต้น


MIDSOMMAR (ต่อ)

6.ขอบันทึกความทรงจำต่ออีกหน่อย เพราะเมื่อกี้ลืมเขียนไปว่า สาเหตุที่ทำให้เราชอบ MIDSOMMAR อย่างสุดๆ คือสาเหตุเดียวกับที่ทำให้เราชอบ WOLF CREEK (2005, Greg McLean) และ “กระสือครึ่งคน” THE DWARVES MUST BE CRAZY (2016,  Bin Bunloerit) 55555

ตอนดู MIDSOMMAR เราจะนึกถึง WOLF CREEK ในแง่ที่ว่า WOLF CREEK มัน treat ตัวละครฝ่ายเหยื่อ เหมือนกับว่ามันไม่ได้ “เกิดมาเพื่อเป็นเหยื่อ” น่ะ แต่มัน treat ตัวละครฝ่ายเหยื่อเหมือนกับมันเป็นมนุษย์จริงๆ มีความรักความหลง ความอะไรต่างๆในชีวิตมากมาย ก่อนจะมาเจอกับฆาตกรโรคจิต เราก็เลยรัก WOLF CREEK อย่างสุดๆ เพราะมันเหมือนหลุดพ้นจากกรอบหนังสยองขวัญที่เราเคยดูๆมา

ส่วน MIDSOMMAR นั้น มัน treat ตัวละครฝ่ายผู้ร้ายในแบบที่เกินเลยกว่าตัวละครผู้ร้ายในหนังสยองขวัญทั่วๆไปน่ะ เหมือนอย่างที่เราเขียนไปแล้วว่า ตัวละครฝ่ายผู้ร้ายในหนังเรื่องนี้ มันเหมือนเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตของมันเอง มันดำรงชีวิตของมันไปเองเรื่อยๆ มันไม่ได้มีชีวิตอยู่เพื่อทำให้ผู้ชมรู้สึกตื่นเต้น

เราก็เลยชอบ MIDSOMMAR มากๆในแง่เดียวกับที่เราชอบ WOLF CREEK

ส่วนสาเหตุที่ทำให้นึกถึง “กระสือครึ่งคน” นั้น ก็เป็นเพราะว่า ถ้าหากพูดถึงหนังที่สร้าง “ชุมชนจินตกรรม” ขึ้นมาแล้ว นอกจาก MIDSOMMAR ก็มี “กระสือครึ่งคน” นี่แหละที่เราชอบสุดๆในด้านนี้ ถึงแม้ว่าหนังสองเรื่องนี้มันจะดูเหมือนตรงข้ามกันก็ตาม 555