Saturday, December 18, 2004

THE PHANTOM OF LUIS BUNUEL'S CHAMBERMAID

อ่านข้อมูลเล็กๆน้อยๆเกี่ยวกับหลุยส์ บุนเยลได้ที่นี่ค่ะ
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=2837

หนังของหลุยส์ บุนเยลที่เคยดู เรียงตามลำดับความชอบส่วนตัว

1.THE DISCREET CHARM OF THE BOURGEOISIE (1972, LUIS BUNUEL) A+
การปะทะกันครั้งประวัติศาสตร์ของสามเจ้าแม่ STEPHANE AUDRAN, DELPHINE SEYRIG และ BULLE OGIER ในหนังที่ล้อเลียนพฤติกรรมของพวกผู้ดีตีนแดง ตะแคงตีนเดิน ตัวละครในเรื่องนี้พยายามจะกินอาหาร แต่ก็กินไม่ได้สักที มีฉากฮาๆหลายฉากในเรื่องนี้ ซึ่งรวมถึงฉากที่ตัวละครเข้าไปในร้านอาหาร แต่สั่งอะไรมาดื่มก็ไม่ได้ เพราะทุกอย่างหมดไปแล้ว แม้แต่น้ำเปล่าก็หมด เวลาดิฉันเข้าร้านอาหารทีไรแล้วพบว่าอาหารในเมนูที่ต้องการจะกินหมดไปแล้ว ก็จะนึกถึงฉากนี้ทุกครั้ง ในหนังเรื่อง THE SKYWALK IS GONE (A) ของไฉ่มิ่งเหลียง ก็มีฉากคล้ายๆอย่างนี้ด้วย
อีกฉากที่ชอบมากในเรื่องนี้ก็คือฉากที่ตัวละครเข้าไปในร้านอาหารและกำลังจะกิน แต่พบว่าอาหารอันน่าโอชะที่วางอยู่บนโต๊ะเป็นเพียงของปลอมที่กินไม่ได้ พวกเขาตกใจมาก และพอพวกเขาไปหันไป ก็พบว่าฝาผนังอีกด้านในร้านเป็นม่านที่รูดเปิดออก และพวกเขาก็พบว่าจริงๆแล้วตัวเองกำลังอยู่บนเวทีละครโดยไม่รู้ตัว

ในขณะที่ตัวละครในเรื่องเจอกับเหตุการณ์ซวยๆไปเรื่อยๆ หนังก็จะตัดสลับกับฉากตัวละครกลุ่มนี้เดินอยู่กลางถนน เดินไปเรื่อยๆโดยไม่มีทีท่าว่าจะไปถึงจุดหมายสักที

2.BELLE DE JOUR (1967, LUIS BUNUEL) A+

แคเธอรีน เดอเนิฟนางเอกของเรื่องนี้มีสามีที่หล่อราวเทพบุตร, นิสัยดี แถมยังเป็นหมอ แต่นางเอกก็ตัดสินใจใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยการไปทำงานเป็นโสเภณีในเวลากลางวัน โดยมีมิเชล ปิคโคลี รับบทเป็นเพื่อนสามี บทของเขาดูแล้วคล้ายๆกับเป็นปีศาจที่มา tempt นางเอกให้ทำตามธรรมชาติฝ่ายต่ำ

จุดเด่นของหนังคือฉากจินตนาการอันพรึงเพริดของนางเอก, การไม่เฉลยว่าอะไรอยู่ในกล่อง, การปรากฏของน้ำในรูปแบบต่างๆ (บางฉากมาเพียงแค่เสียง) ในลักษณะที่คล้ายกับเครื่องชำระล้างบาป, การต่อสู้กันระหว่างสามีนางเอกกับมิเชล ปิคโคลีโดยมีจิตวิญญาณของนางเอกเป็นเดิมพัน, เรื่องของ guilt, expiation และการสารภาพบาป ฯลฯ

หนังเรื่องนี้เคยเข้ามาฉายตามโรงภาพยนตร์ปกติในประเทศไทยเมื่อกว่า 30 ปีมาแล้ว

3.THE PHANTOM OF LIBERTY (1974) A+

หนึ่งในหนังที่ฮาที่สุดในโลกในความเห็นของดิฉัน หนังเล่าเรื่องราวไร้สาระต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ โดยหลายเรื่องดูเหมือนจะมีการใช้หลักเหตุผลในแบบที่ตรงข้ามกับความเป็นจริง แต่ก็สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อหลายๆอย่างในสังคมที่เชื่อต่อๆกันมาโดยไม่รู้ว่าจริงๆแล้วมันสมควรหรือถูกต้องหรือไม่

ฉากที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้รวมถึงฉากที่

1.ตัวละครหลายๆคนถือว่าภาพถ่าย “วิวทิวทัศน์” เป็นสิ่งที่ “หยาบโลน”, “อนาจาร”, “น่ารังเกียจขยะแขยงอย่างสุดๆ”

2.ตัวละครหลายๆคนมองว่าการอุจจาระเป็นพฤติกรรมที่ควรทำอย่างโจ่งแจ้งต่อหน้าธารกำนัลและผู้คนจำนวนมาก แต่การกินอาหารเป็นพฤติกรรมที่น่ารังเกียจ ควรทำในที่ลับเท่านั้น ห้ามทำต่อหน้าคนอื่นๆเป็นอันขาด

3.ศาลตัดสินฆาตกรโรคจิตคนหนึ่งว่ามีความผิดจริงในการสังหารคนตายไปหลายๆคน ดังนั้นศาลจึงปล่อยตัวฆาตกรโรคจิตคนนั้นให้เป็นอิสระ

4.เด็กหญิงคนหนึ่งหายตัวไปเป็นเวลาไม่กี่ชั่วโมง แต่พ่อแม่และตำรวจก็ยังคงวุ่นวายกับกระบวนการสืบสวนหาตัวเด็กหญิงคนนั้นต่อไปเรื่อยๆ ทั้งๆที่เด็กหญิงคนนั้นกลับมาตั้งนานแล้ว

5.ฉากล้อเลียนนักบวช และฉากที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมซาดิสม์มาโซคิสม์ ซึ่งรู้สึกว่าฉากสองอย่างนี้จะมีอยู่ในหนังหลายๆเรื่องของบุนเยล

3.UN CHIEN ANDALOU (1928, LUIS BUNUEL + SALVADOR DALI) A+
4.THE MILKY WAY (1969) A

หนังล้อเลียนสงครามศาสนาที่เกิดจากการที่คนเชื่อถือในความเชื่อที่แตกต่างจากกันเพียงนิดเดียว ตัวละครบางตัวจะฆ่ากันตายเพียงเพราะว่าพวกเขามีความเชื่อเรื่องขนมปังกับเหล้าองุ่นไม่เหมือนกัน

ฉากที่ชอบมากในเรื่องนี้รวมถึงฉากที่ตัวละครคนหนึ่งเดินมาเจอคนจนกับคนรวย แล้วเขาก็เลยบริจาคเงินให้คนรวย

5.LAND WITHOUT BREAD (1933) A

หนังสารคดีเกี่ยวกับดินแดนที่ยากจนข้นแค้นที่สุดแห่งหนึ่งในสเปน หมู่บ้านในหนังเรื่องนี้อยู่ในสภาพล้าหลังมาก และโครงสร้างของหนังเรื่องนี้ก็น่าสนใจมาก เพราะฉากต่างๆในหนังเรื่องนี้มักจะมาในรูปแบบ 3 ขั้นตอน

1.ฉากแต่ละฉากจะเริ่มต้นด้วยเหตุการณ์ที่ดูน่าสิ้นหวัง
2.ต่อมาเหตุการณ์นั้นจะเริ่มแสดงสัญญาณแห่งความหวังว่าจะคลี่คลายไปได้ด้วยดี
3.แต่ในที่สุดเหตุการณ์นั้นกลับยิ่งทวีความเลวร้ายลงไปกว่าเดิมอีก

ยกตัวอย่างฉากในหนังเรื่องนี้ (ถ้าจำไม่ผิด)
1.ชาวบ้านถูกงูกัด (สถานการณ์ซวย)
2.ชาวบ้านเอาสมุนไพรมาพอก (เริ่มมีความหวัง)
3.ชาวบ้านตาย เพราะสมุนไพรเป็นพิษ ทั้งๆที่เขาไม่ได้ถูกงูพิษกัด (สถานการณ์ซวยหนักกว่าเดิม)

ตัวอย่างที่สอง
1.ชาวบ้านเดินทางไปค้าขายลำบาก (ความซวย)
2.แต่ชาวบ้านก็สามารถใช้ลาเป็นพาหนะช่วยในการเดินทางออกจากหุบเขากันดาร (มีความหวัง)
3.ปรากฏว่าลาตกเขาตาย (ซวยบรมซวย)


5.THAT OBSCURE OBJECT OF DESIRE (1977, LUIS BUNUEL) A-
6.DIARY OF A CHAMBERMAID (1964, LUIS BUNUEL) A-/B+

JEANNE MOREAU รับบทเป็นสาวใช้ที่ทำเหมือนกับว่าตัวเองเป็นผู้ดี บทของเธอในหนังเรื่องนี้อาจจะมีอิทธิพลต่อบทของ EMMANUELLE BEART ใน 8 WOMEN (FRANCOIS OZON, A)

ดูรายชื่อผลงานของบุนเยลได้ที่
http://www.imdb.com/name/nm0000320/


ศิษย์เอกของหลุยส์ บุนเยลคือ ARTURO RIPSTEIN ซึ่งเป็นผู้กำกับชาวเม็กซิโก
ดิฉันเคยดูหนังของริปสไตน์ไปแค่ 3 เรื่อง รู้สึกว่าหนังของเขามีความเปรี้ยวแร่ดจัดจ้านในแบบที่ดิฉันชอบมาก
http://www.imdb.com/name/nm0728149/

หนังของอาร์ตูโร ริปสไตน์ที่เคยดู

1.EL EVANGELIO DE LAS MARAVILLAS (1998) A+
สร้างจากเรื่องจริง หนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับลัทธิประหลาดแห่งหนึ่งที่หญิงสาวผู้เป็นเจ้าลัทธิไม่ต้องการให้สาวกหญิงในลัทธิทำบาปด้วยการมีเซ็กส์กับผู้ชาย ดังนั้นเธอจึงสั่งให้ผู้ชายทุกคนในลัทธิมีเซ็กส์กับเธอได้เพียงคนเดียวเท่านั้น เพื่อที่เธอจะได้รับบาปทั้งหมดมาไว้ที่ตัวเธอเอง

2.SUCH IS LIFE (2000) A+
ดัดแปลงจากตำนานนางมีเดียของกรีก

3.THE RUINATION OF MEN (2000) A

หลุยส์ บุนเยล มักร่วมงานกับ JEAN-CLAUDE CARRIERE ในการเขียนบทหนัง ผู้สนใจสามารถอ่านบทความที่เขียนโดย JEAN-CLAUDE CARRIERE ได้ในหนังสือฟิล์มไวรัสเล่ม 2
http://www.imdb.com/name/nm0140643/

CARRIERE เปิดเผยไว้ในบทความนี้ว่าตอนที่ THAT OBSCURE OBJECT OF DESIRE ออกฉายในต่างประเทศ คนดูหลายๆคนที่ไม่รู้เบื้องหลังของหนังเรื่องนี้ดูเสร็จแล้วก็ยังไม่รู้ว่าบทนางเอกของหนังเรื่องนี้ใช้ดาราหญิงสองคนที่ใบหน้าไม่ได้คล้ายกันเลยแม้แต่นิดเดียวมาเล่น สิ่งนี้ทำให้ CARRIERE งุนงงมากว่ามันเป็นไปได้อย่างไรที่คนดูบางกลุ่มไม่ได้สังเกตจุดนี้เลย โดยคนดูบางคนให้ความเห็นว่า “มีบางอย่างที่ประหลาดในตัวนางเอกหนังเรื่องนี้ แต่บอกไม่ถูกว่ามันประหลาดยังไง”

CARRIERE เดาว่าบางทีสื่อภาพยนตร์อาจมีอิทธิพลต่อจิตใต้สำนึกของผู้ชมบางคน และทำให้ผู้ชมบางคนคิดไปว่าตัวเองเห็นในสิ่งที่ตาตัวเองไม่ได้เห็น เหมือนกับในกรณีที่เกิดกับหนังเรื่อง ROSEMARY’S BABY เพราะในหนังเรื่องนั้นหนังไม่ได้แสดงให้เห็นภาพของเด็กทารก แต่ผู้ชมหลายคนดูเสร็จแล้วบรรยายออกมาเป็นฉากๆว่าเด็กทารกในเรื่องหน้าตาเป็นยังไงบ้าง!!!!

ส่วนบทความเกี่ยวกับตัวหลุยส์ บุนเยลเองอยู่ในหนังสือ “ฟิล์มไวรัสเล่ม 1” ค่ะ

ติดต่อคนทำหนังสือ “ฟิล์มไวรัส” ได้ที่
filmvirus@yahoo.com

Friday, December 17, 2004

THE JEALOUSY OF THE TOOLBOX WIVES

JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME PART II

ชอบฉากตอนจบกับฉากที่ผู้ชายสองคนนอนประกบกันเหมือนกันค่ะ ตอนที่ดิฉันดูฉากตอนจบ ดิฉันก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าตกลงลูกสาวเธออิจฉาพระเอกหรือเธอชอบพระเอกกันแน่ ตอนที่เธอเจอหน้าพระเอกครั้งแรก ดูเหมือนเธอจะชอบพระเอก (ดิฉันก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน) แต่พอในฉากจบ ดิฉันก็เริ่มไม่แน่ใจเหมือนกันว่าบางทีเธออาจจะอิจฉาพระเอกก็ได้

นึกถึงอีกฉากนึงเหมือนกันในเรื่องนี้ ฉากที่นางเอกไปนอนค้างบ้านเพื่อนผู้หญิงคนนึงที่มีลูกสาวอยู่ด้วย แล้วลูกสาวคนนั้นก็จ้องนางเอกอยู่พักนึง โดยที่ไม่ได้แสดงอารมณ์อย่างชัดเจนว่าเธอรู้สึกยังไงที่มีเพื่อนแม่มานอนห้องด้วยกัน

อีกสองสามฉากที่ดูเหมือนไม่มีความหมาย แต่ฝังใจดิฉัน ก็คือ
1.ฉากเปิดเรื่อง ที่พระเอกมองออกไปนอกหน้าต่าง แล้วเห็นเด็กๆกำลังเต้นตามเพลงฝรั่ง
2.ฉากที่เพื่อนพระเอกมองออกไปนอกหน้าต่างในช่วงต้นเรื่อง แล้วเห็นเหมือนหนุ่มสาวทะเลาะกัน
3.ฉากที่ลูกสาวมองออกไปนอกหน้าต่างในช่วงท้ายเรื่อง แล้วเห็นนางเอกกับพระเอกคุยกัน (ตอนนั้นพระเอกปฏิเสธที่จะย้ายออกจากบ้านของเจ้านายตามคำขอของนางเอก)

ฉากพวกนี้อาจไม่มีความหมายในเชิงสัญลักษณ์อะไรก็ได้ แต่มันติดตาติดใจดีจัง อีกฉากนึงที่ทำออกมาเรียบง่ายดี ก็คือฉากที่พ่อตาของเจ้านายชวนเจ้านายไปลองซิการ์กับบุหรี่ (หลังจากจับได้ว่าลูกเขยของตัวเองมีชู้) แล้วก็บอกลูกเขยว่า “ไม่ต้องสูบจนหมดก็ได้ ลองให้พอรู้รสชาติก็พอแล้ว”


STEPFORD WIVES

ชอบ THE STEPFORD WIVES (2004, A) มากๆค่ะ มันแร่ดๆฮาๆดี บางทีอาจจะเป็นเพราะดิฉันยังไม่เคยดูเวอร์ชันต้นฉบับก็ได้ ก็เลยทำให้ชอบเวอร์ชันล่าสุดนี้มาก ดิฉันยังไม่ได้อ่านคำวิจารณ์ THE STEPFORD WIVES สักเท่าไหร่ค่ะ แต่เดาว่าบางทีการที่เวอร์ชันนี้โดนถล่ม อาจเป็นเพราะว่านักวิจารณ์เคยดูเวอร์ชันต้นฉบับมาแล้ว

ในส่วนของดิฉันนั้น พูดจริงๆว่าถ้าหากไม่ได้ดู JU-ON มาก่อน ก็คงทำให้ชอบ THE GRUDGE มากขึ้นกว่าเดิมประมาณ 10 เท่าเหมือนกัน

ชอบฉากเปิดของ THE STEPFORD WIVES มากๆค่ะ ฉากเปิดของหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงหนังบางเรื่องของ BRUCE CONNER และหนังบางเรื่องของ MATTHIAS MULLER เพราะผู้กำกับสองคนนี้ดูเหมือนจะมีความผูกพันอะไรบางอย่างกับทศวรรษ 1950 ถึงต้นทศวรรษ 1960 เขาสามารถนำลักษณะอันเด่นชัดของทศวรรษนั้นๆมาทำให้เป็นอะไรที่ดูหลอนๆ ไม่น่าไว้วางใจ ซึ่งก็เข้ากันได้กับฉากเปิดของ THE STEPFORD WIVES ที่เป็นภาพของการโฆษณาชวนเชื่อที่ดูแล้วไม่น่าไว้วางใจยังไงพิกล

ชอบ BETTE MIDLER ในเรื่องนี้มาก เธอฮามาก

Speech ตอนจบของผู้ร้ายใน THE STEPFORD WIVES ทำให้นึกถึง speech ตอนใกล้จบของผู้ร้ายใน SLEEPY HOLLOW (TIM BURTON, A-/B+) เหมือนกันค่ะ ใน SLEEPY HOLLOW นั้น ตัวผู้ร้ายเล่าบรรยายเฉลยอย่างละเอียดยิบเลยค่ะว่าตัวเองทำอะไรมาบ้างตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบเรื่อง ซึ่งการเฉลยอย่างเป็นขั้นเป็นตอน อธิบายเป็นฉากๆอย่างนี้คงจะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับคนดูหนังในวัยมัธยม แต่คงดูตลกๆสำหรับคนที่ดูหนังมานานแล้ว (แต่การที่ดิฉันชอบ SLEEPY HOLLOW ถึงขั้นประมาณ A-/B+ เป็นเพราะว่าดิฉันชอบตัวละครแม่ของจอห์นนี เดปป์ในเรื่องนี้มากค่ะ เธอโผล่มาแค่ไม่กี่ฉาก แต่เป็นตัวละครที่น่าสะเทือนใจมาก)

พูดถึงการทำให้ตัวละครมีสามมิติ ก็เลยนึกถึงหนังสยองขวัญเรื่อง THE TOOLBOX MURDERS (A+) กับเรื่อง SAW (A+) ดู THE TOOLBOX MURDERS แล้วรู้สึกว่าหนังมันโง่มาก แต่ดู SAW แล้วรู้สึกว่าหนังมันฉลาดมาก แต่ปรากฏว่าชอบ THE TOOLBOX MURDERS มากกว่าเยอะเลย ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเพราะอะไร ใน SAW นั้น ดิฉันรู้สึกเหมือนกับว่าผู้สร้างเขาพยายามทำให้หนังออกมาดูดีตามหลักเกณฑ์ของความเป็นหนังดี ตัวละครต้องมีที่มาที่ไป การกระทำต้องมีเหตุผลรองรับ ตัวละครต้องมีแบคกราวด์ อะไรเทือกๆนั้น ซึ่งเขาก็ทำออกมาได้ดีถูกต้องตาม “หลักเกณฑ์” เขาทำให้ตัวละครดูมีสามมิติ แต่ไปๆมาๆ การสร้างตัวละครที่ดีตาม “หลักเกณฑ์” ตาม “มาตรฐาน”ในหนังเรื่องนี้ กลับทำให้ตัวละครกลายเป็นตัวละครประเภท “จงใจให้เป็นสามมิติ” ยังไงไม่รู้ และทำให้ดิฉันรู้สึกว่าตัวละครในหนังเรื่องนี้มันช่างถูกจัดสร้างปรุงแต่งมาจริงๆ

ตรงข้ามกับ THE TOOLBOX MURDERS ซึ่งดูเหมือนผู้สร้างสร้างตัวละครที่ดูดาดดื่น บางครั้งก็ดู cliche แต่การที่ผู้สร้างไม่แคร์กับกฎเกณฑ์ของความเป็นหนังดี ไม่แคร์กับมาตรฐานความเป็นหนังดี ไม่สนไม้บรรทัดที่มาใช้วัดว่าอะไรสองสามสี่มิติ กลับทำให้ดิฉันมีความสุขมากๆกับการดูหนังเรื่องนี้ และรู้สึกผูกพันกับตัวละครในหนังเรื่องนี้มากกว่าใน SAW เยอะเลย มันไม่มี “ความจงใจให้เป็นหนังดี” แบบ SAW การที่ผู้สร้างไม่ไปพยายามปรุงแต่งตัวละครมากเกินไป บางครั้งก็ให้ผลดีเหมือนกัน

นึกถึงหนังอีกสองเรื่องที่ฉายในเวลาไล่เลี่ยกัน ซึ่งก็คือ DON’T SAY A WORD (2001, GARY FLEDER, B/B-) กับ JEEPERS CREEPERS (2001, VICTOR SALVA, A+++++++) ซึ่งเรื่อง DON’T SAY A WORD นั้น ดูเหมือนจะแคร์กับกฎเกณฑ์ของความเป็นหนังดี, กฎเกณฑ์ของการสร้างตัวละครสามมิติ, การหาเหตุผลให้กับเนื้อเรื่องและตัวละครเป็นอย่างมาก แต่ดิฉันดูแล้วกลับไม่รู้สึกอินไปกับเรื่องแม้แต่น้อย ในขณะที่ JEEPERS CREEPERS กลับดูเหมือนจะโยนกฎเกณฑ์เหล่านี้ทิ้งไปจากหนังและโยนเหตุผลทิ้งไปจากหนัง และดิฉันก็กลับอินกับหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ

วกกลับมาที่นิโคล คิดแมนใน STEPFORD WIVES มีอยู่จุดนึงที่ดิฉันรู้สึกแปลกดี นั่นก็คือ ดิฉันชอบ THE STEPFORD WIVES กับ THE HUMAN STAIN (A+) ของนิโคล คิดแมนมาก แต่ไม่ค่อยชอบ COLD MOUNTAIN (B+) เท่าไหร่ แต่ปรากฏว่า COLD MOUNTAIN กลับเป็นหนังที่ดังที่สุดในบรรดา 3 เรื่องนี้

จริงๆแล้วดิฉันไม่ค่อยถูกโฉลกกับหนังแนวครอบครัวอบอุ่นสักเท่าไหร่ แต่ THE INCREDIBLES (A) นี่ชอบมาก สาเหตุสำคัญเป็นเพราะว่าผู้หญิงในเรื่องนี้มีบทบาทเยอะดี หนังเรื่องนี้เปิดโอกาสให้ตัวละครผู้หญิงได้ใช้ความสามารถสูงมาก ก็เลยทำให้ชอบเรื่องนี้มากค่ะ

ปีนี้ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะเชียร์ใครดีในเวทีลูกโลกทองคำหรือออสการ์ แต่การที่ไม่มีหนังฟอร์มใหญ่อย่าง LORD OF THE RINGS มา ก็เลยทำให้รู้สึกดีมากๆเลยค่ะ การชิงรางวัลจะได้สนุกขึ้น ไม่ชอบเวลาที่มีหนังฟอร์มใหญ่มากวาดรางวัลเยอะๆ อยากให้รางวัลเฉลี่ยๆกันไปมากกว่า

แต่ดูรายชื่อหนังในปีนี้แล้วก็ไม่มีผู้กำกับคนโปรดสุดๆของตัวเองได้ชิงรางวัลเลยเหมือนกัน ผู้กำกับอย่าง MIKE NICHOLS, CLINT EASTWOOD, ALEXANDER PAYNE, MARTIN SCORSESE ก็เป็นผู้กำกับที่ดิฉันชอบแต่ขี้เกียจเชียร์ยังไงไม่รู้ รู้สึกว่าถึงผู้กำกับพวกนี้ได้รางวัลออสการ์มา ดิฉันก็รู้สึกงั้นๆ แต่ถ้าหากเป็นเดวิด ลินช์ได้ออสการ์นี่สิ ดิฉันคงดีใจเต้นระบำไปรอบๆอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

อย่างไรก็ดี ปีนี้ก็ไม่มีหนังที่ดิฉันรู้สึกต่อต้านได้เข้าชิงรางวัลค่ะ เพราะในปีก่อนๆนั้น ดิฉันไม่ค่อยอยากให้หนังอย่าง GLADIATOR (A-) หรือ A BEAUTIFUL MIND (A-) ได้รางวัลสักเท่าไหร่

ชอบ MIKE LEIGH กับ ALEJANDRO AMENABAR มาก แต่เนื่องจากหนังเรื่อง VERA DRAKE กับ THE SEA INSIDE เป็นหนังที่ดังระเบิดและได้รับคำชมอย่างรุนแรงจากทั่วทุกสารทิศอยู่แล้ว ดิฉันก็เลยรู้สึกว่าหนังมันได้รับคำชมเพียงพอแล้ว ก็เลยไม่รู้สึกอยากเอาใจช่วยอะไรมากนัก

หนังที่อยากดูในตอนนี้
หนังที่อยากดูในตอนนี้คือ KOMRADES (2003) ที่กำกับโดย STEVE KOKKER ค่ะ หนังเรื่องนี้ถ่ายทอดชีวิตของทหารหนุ่มๆรูปร่างกำยำวัยฉกรรจ์ชาวรัสเซีย

PETER HANDKE VS. YASUJIRO OZU

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโอสุได้ที่
http://www.filmlinc.com/fcm/9-10-2003/ozu2.htm

ยังไม่ได้ดู EARLY SUMMER กับ FLOATING WEEDS เลยค่ะ ตอนนี้ได้ดูหนังของโอสุไปแค่ 4 เรื่องเอง ซึ่งถ้าจัดตามความชอบของตัวเองจะได้ดังนี้

1.EARLY SPRING (1956) A+
2.LATE AUTUMN (1960) A-
3.AN AUTUMN AFTERNOON (1962) A-
4.I WAS BORN, BUT (1932) B+

ดิฉันมักจะจำชื่อ 2 เรื่องแรกไม่ได้เสมอ ไม่แน่ใจว่าตัวเองดูหนังเรื่อง EARLY SPRING, LATE SPRING, EARLYSUMMER หรือ LATE AUTUMN กันแน่ ต้องคอยกลับไปเช็คที่ตัวเองจดไว้ทุกครั้งว่าตัวเองดูหนังเรื่องอะไรของโอสุมา

ที่ชอบ EARLY SPRING มากที่สุดสาเหตุส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าเป็นเรื่องของหนุ่มสาว ก็เลยรู้สึกมีอารมณ์ร่วมได้ง่ายหน่อย ในขณะที่ LATE AUTUMN กับ AN AUTUMN AFTERNOON เป็นเรื่องของคนแก่ และ I WAS BORN, BUT… เป็นเรื่องของเด็ก

รู้สึกทึ่งกับฝีมือการกำกับของ OZU มากค่ะ ฝีมือแกแน่มาก จังหวะอารมณ์ของหนังดีมากจริงๆ และก็ดีใจมากที่คุณเจ้าชายน้อยชอบแก ดิฉันรู้สึกเสียดายมากๆเลยที่พลาดเทศกาลหนัง “เวนเดอร์ส-โอสุ” ที่เคยมาจัดในกรุงเทพประมาณปี 1994 ตอนนั้นมีหนังหายากของโอสุเข้ามาฉายเป็นสิบเรื่อง แต่ตอนนั้นดิฉันยังไม่ได้เป็นนักดูดูหนังฟรีตามสถาบัน เห็นโปสเตอร์เทศกาลนี้ปิดไว้ตามจุดต่างๆ ก็ไม่เคยคิดที่จะไปดู ปรากฏว่าตอนนี้ปี 2004 เข้าไปแล้ว หนังในเทศกาลนั้นก็ไม่เห็นจะเวียนมาฉายอีกเลย เสียดายจริงๆ

ส่วนดิฉันเป็นแฟนของ NAGISA OSHIMA ค่ะ สาเหตุสำคัญเป็นเพราะว่าหนังของเขามักนำเสนออารมณ์ที่ใกล้เคียงกับชีวิตประจำวันของดิฉัน ดิฉันก็เลยมีอารมณ์ร่วมกับหนังของเขามากกว่าของผู้กำกับคนอื่นๆ แต่ในส่วนของโอสุนั้น ถึงดิฉันจะชอบฝีมือของแกมาก แต่ประเด็นในหนังของแกโดยเฉพาะประเด็นเรื่องความผูกพันระหว่างสมาชิกในครอบครัวเป็นประเด็นที่ห่างไกลจากชีวิตจริงของดิฉันอย่างมากๆ ดิฉันก็เลยไม่ได้เป็นแฟนของแก แหะ แหะ แหะ

แถมเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับโอสุให้อ่านเล่นๆ

1.ไม่รู้ว่าคุณเจ้าชายน้อยเคยดูหนังญี่ปุ่นเรื่อง ABNORMAL FAMILY (1983, MASAYUKI SUO, A+) หรือเปล่า ถ้าเข้าใจไม่ผิด หนังฮาบ้ากามเรื่องนี้สร้างขึ้นเพื่อล้อเลียนหนังของโอสุกับโอชิม่าค่ะ เพราะหนังเรื่องนี้พูดถึงความสัมพันธ์อันอบอุ่นของสมาชิกในครอบครัว แต่อบอุ่นแบบทุกคนมั่วเซ็กส์กัน
http://www.imdb.com/title/tt0085671/

2.อยากดู CAF E LUMIERE ของโหวเสี่ยวเซี่ยนมากเลยค่ะ เพราะหนังเรื่องนี้สร้างขึ้นเพื่อคารวะโอสุโดยเฉพาะ อ่านคำวิจารณ์หนังเรื่องนี้ได้ที่
http://www.slantmagazine.com/film/film_review.asp?ID=1295

ตอนนี้ดิฉันได้ดูหนังของโหวเสี่ยวเซี่ยนไปแค่ 2 เรื่อง ซึ่งก็คือ MILLENNIUM MAMBO (A+) กับ CITY OF SADNESS (1989, A-) ชอบแกมากๆเลย ได้ยินมาว่าโหวเสี่ยวเซี่ยนเป็นคนที่ชื่นชอบโอสุอย่างมากๆ ด้วย
ที่ดิฉันให้ CITY OF SADNESS ได้แค่ A- ไม่ใช่เป็นเพราะหนังไม่ดีนะค่ะ แต่เป็นเพราะว่าดิฉันดูหนังเรื่องนี้ไปแค่รอบเดียว แล้วดูไม่รู้เรื่อง ถ้าหากได้ดูรอบสอง ก็คงชอบเพิ่มมากขึ้นเยอะ หนังเรื่องนี้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไต้หวันน่ะค่ะ ดิฉันเคยค้นดูในอินเทอร์เน็ต เจอคนนึงเขียนวิจารณ์วิเคราะห์หนังเรื่องนี้ออกมาได้ประมาณ 70 หน้าด้วยกัน เพราะหนังมีประเด็นทางประวัติศาสตร์แฝงไว้เยอะ ก็เลยมีเรื่องให้โยงใยพูดถึงได้เยอะมาก

3.ถ้าชอบโอสุก็ต้องห้ามพลาดหนังเรื่องนี้นะค่ะ TOKYO-GA (1985, WIM WENDERS) เข้าใจว่าร้านแว่นน่าจะมีขายแล้ว เป็นหนังที่เวนเดอร์สทำขึ้นเพื่ออุทิศให้โอสุเหมือนกัน แต่ดิฉันยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้เลย
http://www.imdb.com/title/tt0090182/

4.ในหนังเยอรมันเรื่อง THE LEFT-HANDED WOMAN (1977, PETER HANDKE, A+++++++) มีฉากที่นางเอก (แสดงโดย EDITH CLEVER) นอนหลับอยู่หน้าจอโทรทัศน์ที่ฉายหนังของโอสุ และหนังที่ฉายอยู่นั้นเป็นฉากที่สมาชิกหญิงคนหนึ่งในครอบครัวญี่ปุ่นต้องกล้ำกลืนความทุกข์อะไรบางอย่างเอาไว้เพื่อเห็นแก่ความสุขของครอบครัว นักวิจารณ์ตีความว่าฉากนี้สื่อความหมายใน THE LEFT-HANDED WOMAN ได้ดีมาก การที่ EDITH CLEVER หลับอยู่หน้าจอทีวีที่ฉายหนังของโอสุ เพราะสถานะของเธอในตอนนั้นตรงข้ามอย่างสิ้นเชิงกับสถานะของนางเอกในหนังของโอสุ เพราะนางเอกเรื่อง THE LEFT-HANDED WOMAN เป็นผู้หญิงที่ขอแยกทางจากสามีโดยไม่มีสาเหตุใดๆทั้งสิ้น และเธอก็ค่อยๆเรียนรู้ที่จะมีความสุขกับชีวิตอิสระของตัวเอง เธอไม่ต้องใช้ชีวิตอย่างทุกข์ทรมานแบบผู้หญิงในหนังของโอสุอีกต่อไป

5.นักวิจารณ์ยังตีความอีกด้วยว่ากลวิธีการถ่ายทำบางฉากใน THE LEFT-HANDED WOMAN คล้ายคลึงกับกลวิธีการถ่ายทำในหนังของ OZU อย่างมาก แต่ดิฉันอ่านที่นักวิจารณ์เขียนแล้วไม่ค่อยเข้าใจ เพราะเขาใช้ศัพท์ทางเทคนิค และดิฉันก็ดูหนังของโอสุมาน้อย ถึงแม้จะดู THE LEFT-HANDED WOMAN มาแล้ว แต่อ่านบทวิจารณ์แล้วก็ยังไม่เข้าใจว่ามันเหมือนกับหนังของโอสุตรงไหนกันแน่

แต่พอได้อ่านบทวิจารณ์ FLOATING WEEDS ของคุณเจ้าชายน้อย ก็เดาได้ว่าสิ่งหนึ่งที่น่าจะคล้ายกันก็คือย่อหน้านี้ของคุณเจ้าชายน้อยค่ะ

“หมู่บ้านชาวประมงในเรื่องก็ทำหน้าที่เป็นตัวเอกตัวหนึ่ง หนังถ่ายภาพงดงาม ตามตรอกซอกซอยเล็กๆ ประจกสีน้ำเงินขาวแดง ของบาร์แห่งเดียวในเมือง ภาพเนินเขาเขียวชอุ่ม ประภาคารสีขาวตัดท้องฟ้าสีฟ้า เรือประมงสีสันจัดจ้าน และสายลมแกว่งไกว เป็นภาพที่ถูกซ้อนเข้ามาในเรื่องอยู่เนืองๆ ไม่ได้มีความหายสัญลักษณ์ใดๆ หากขับเน้นถึงความเป็นกวีของหนังเอง “

พออ่านประโยคนี้ แล้วก็นึกถึงภาพในหนังเรื่อง THE LEFT-HANDED WOMAN ขึ้นมาทันที เพราะฉากนึงที่ติดตาอย่างไม่มีวันลืมในหนังเรื่องนี้ก็คือฉากรถไฟแล่นผ่านสถานที่ต่างๆในเมือง และพอรถไฟแล่นผ่าน ก็จะทำให้เกิด “แรงลม” และทำให้ “แอ่งน้ำเล็กๆ” ที่อยู่ใกล้ๆทางรถไฟ เกิด “ระลอกกระเพื่อม”ขึ้นมา ฉากนี้ในหนังดูเหมือนไม่มีความสัมพันธ์ใดๆทั้งสิ้นกับตัวเนื้อเรื่อง แต่เป็นฉากที่นักวิจารณ์บางคนให้ความสำคัญกับมันอย่างมาก และ “ภาพแอ่งน้ำเล็กๆเกิดการกระเพื่อมไหวเพราะแรงลมจากรถไฟที่แล่นผ่าน” ก็เป็นภาพที่ให้ความรู้สึกงดงามอย่างสุดๆจริงๆ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าฉากนี้ได้รับอิทธิพลจากหนังของโอสุหรือเปล่า ดิฉันคงต้องดูหนังของโอสุมากกว่านี้ถึงจะตอบได้

PETER HANDKE ผู้กำกับหนังเรื่อง THE LEFT-HANDED WOMAN เคยเขียนบทหนังเรื่อง THE GOALIE’S ANXIETY AT THE PENALTY KICK (A) ให้กับวิม เวนเดอร์สค่ะ ส่วนวิดีโอหนังเรื่อง THE LEFT-HANDED WOMAN มีให้ยืมดูที่สถาบันเกอเธ่ ซ.สาทร 1

6.เพิ่งดูหนังเรื่อง THE RAINBOW SEEKER (1996, YOJI YAMADA, A-) และหนังเรื่องนี้ก็นำฉากจาก TOKYO STORY ของ OZU มาใส่ไว้ในหนังด้วย ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่น่าประหลาดใจเท่าไหร่ เพราะรู้สึกว่าหนังของ YOJI YAMADA กับหนังของ YASUJIRO OZU มีอารมณ์เล็กๆบางอย่างเชื่อมถึงกันได้ แต่สิ่งที่ประหลาดใจมากๆใน THE RAINBOW SEEKER และทำให้ความรู้สึกชอบหนังเรื่องนี้พุ่งพรวดขึ้นมาอย่างรุนแรง ก็คือการที่พระเอกของ THE RAINBOW SEEKER ชื่นชอบหนังเรื่อง SUCH A LONG ABSENCE (1960, HENRI COLPI, A+) อย่างมากๆ

ดิฉันเคยดู SUCH A LONG ABSENCEมานานประมาณ 8 ปีแล้ว และก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ถึงจะได้มีโอกาสได้ดูหนังเรื่องนี้อีกในชีวิตนี้ รู้สึกปลงไปแล้วว่าบางทีชีวิตนี้อาจจะไม่มีวันได้ดูหนังเรื่องนี้อีก ดังนั้นพอได้มาเห็นฉากบางฉากจากหนังเรื่องนี้มาปรากฏอยู่ใน THE RAINBOW SEEKER ก็เลยรู้สึกประหลาดใจและดีใจเป็นล้นพ้น

อ่านบทวิจารณ์หนังเรื่อง THE RAINBOW SEEKER ได้ที่
http://pears.lib.ohio-state.edu/Markus/Review/Films96/Niji.html

7.นักวิจารณ์บางคนตั้งข้อสังเกตว่าในขณะที่หนังของโอสุค่อนข้างมองสถาบันครอบครัวญี่ปุ่นอย่างเป็นกลาง และแสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของครอบครัวญี่ปุ่นแบบดั้งเดิม ผู้กำกับอีกคนที่อยู่ในรุ่นเดียวกับโอสุกลับสร้างหนังที่ตั้งคำถามต่อครอบครัวแบบญี่ปุ่นได้อย่างน่าสนใจมาก และผู้กำกับคนนั้นก็คือ MIKIO NARUSE

MIKIO NARUSE เป็นที่ชื่นชอบของนักวิจารณ์หญิงอย่างมากๆ ซึ่งรวมถึง SUSAN SONTAG หนังของเขามักมีตัวละครหญิงที่แข็งแกร่ง แต่เนื่องจากนักวิจารณ์ชายไม่ค่อยชอบหนังของเขา และเนื่องจากหนังของเขาไม่มี”ลายเซ็นทางกล้อง” (ยืมคำมาจากหนังสือบุ๊คไวรัสเล่ม 1 ของคุณสนธยา ทรัพย์เย็น) แต่เป็นหนังที่เหมาะสำหรับผู้ชมที่มีประสบการณ์ชีวิตมาแล้วจริงๆ ดังนั้นชื่อของเขาจึงมักอยู่ล่างๆ YASUJIRO OZU, AKIRA KUROSAWA และ KENJI MIZOGUCHI อยู่เสมอ ทั้งที่จริงๆแล้วไม่ควรเป็นเช่นนั้นแม้แต่น้อย
8.ผู้กำกับญี่ปุ่นยุคเดียวกับโอสุที่น่าสนใจมีอีกหลายคนมาก ผู้กำกับคนหนึ่งที่ดิฉันยังไม่เคยดูหนังของเขาเลยก็คือ KEISUKE KINOSHITA เห็นข้อมูลบอกว่าเขาถนัดในการทำหนังเกี่ยวกับผู้หญิงที่ทุกข์ทรมานเหมือนกัน

อ่านข้อมูลเกี่ยวกับ KEISUKE KINOSHITA ได้ที่
http://www.filmref.com/directors/dirpages/kinoshita.html
http://www.midnighteye.com/reviews/carmen.shtml
http://www.sensesofcinema.com/contents/cteq/04/33/twenty_four_eyes.html

9.นางเอกขาประจำของโอสุคือ SETSUKO HARA โดยโอสุเคยกล่าวถึงลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของดาราหญิงคนนี้ว่า “ดาราหญิงทุกคนมีความสามารถมากพอที่จะเล่นบทโสเภณีได้ แต่มีดาราหญิงเพียงไม่กี่คนที่สามารถแสดงบทคุณหนูลูกผู้ดีให้ออกมาดูน่าเชื่อถือได้ และเซ็ทสึโกะ ฮาระก็เป็นหนึ่งในนั้น” (ดิฉันจำคำพูดไม่ได้แน่นอนค่ะ ถ้าจำผิดต้องขออภัยด้วย) และหนังของโอสุก็มักเกี่ยวข้องกับเรื่องของคนที่เป็นผู้ดีจริงๆ

Sunday, December 12, 2004

CAROLYN JONES' LAST TRAIN FROM GUN HILL

รู้สึกอยากดู HEARTBURN ใหม่อีกรอบเหมือนกัน เพราะหนังหลายเรื่องที่ดิฉันดูตอนเด็กๆ ดูแล้วไม่ค่อยซาบซึ้งเท่าที่ควร คงเป็นเพราะว่ายังไม่เข้าใจชีวิตของผู้ใหญ่สักเท่าไหร่ หนังอย่าง PLENTY, HEARTBURN, CRIMES OF THE HEART, JULIA, ON GOLDEN POND เป็นหนังที่ดูตอนเด็กๆแล้วรู้สึกเฉยๆ แต่ถ้ามาได้ดูตอนนี้ คงรู้สึกซาบซึ้งมากกว่าเดิมขึ้นอีกหลายเท่า

รู้สึกหนังที่ใกล้เคียงชีวิตส่วนโรแมนติกของดิฉันมากที่สุด คงเป็นเรื่อง A SUMMER’S TALE (1996, ERIC ROHMER, A+++++) ค่ะ หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของชายหนุ่มคนนึงที่ไปเที่ยวชายหาดในฤดูร้อน และปฏิกิริยาของเขาที่มีต่อหญิงสาว 3 คนที่เขาพบที่ชายหาดนั้น http://movie-reviews.colossus.net/movies/s/summers_tale.html

มีหญิงสาว 1 ใน 3 คนนี้ที่ดิฉันรู้สึกอินกับเธอมากๆค่ะ เธอชอบพระเอกมาก แต่เธอก็เหมือนจะเป็นได้เพียงเพื่อนที่ดีของพระเอกเท่านั้น เธอช่วยเหลือพระเอกในเรื่องสัมพันธ์รักที่พระเอกมีต่อหญิงคนอื่นๆ ทั้งๆที่ใจจริงเธอคงอยากจะรับประทานพระเอกเสียเอง

ชีวิตของ Margot (Amanda Langlet) ใน A Summer’s Tale ทำให้นึกถึงความสุขที่ได้รับเวลาไปเที่ยวชายหาดค่ะ เวลาไปเที่ยวชายหาด เรามักเจอหนุ่มหล่อน่ากินเสมอ แต่หนุ่มหล่อน่ากินนั้นมักจะเป็นได้เพียงเพื่อนที่ดีของเรา เพราะเขาต้องการจะจีบเพื่อนหญิงของเรา แทนที่จะจีบเรา เราทำได้เพียงเป็นเพื่อนหรือเป็นแม่สื่อให้เขากับเพื่อนหญิงของเราเท่านั้น อย่างไรก็ดี ถึงแม้เราจะไม่ได้ในสิ่งที่เราหวัง 100 % เต็ม แต่การได้รู้จัก, เป็นเพื่อน และได้ใกล้ชิดนิดหน่อยกับหนุ่มหล่อเหล่านี้ และได้เห็นเขามีความสุขกับเพื่อนๆของเรา ก็ทำให้การไปเที่ยวชายหาดแต่ละครั้งเป็นความทรงจำที่งดงามมากๆค่ะ

ไปที่ร้านคิโนะคุนิยะ เอ็มโพเรียม เจอหนังสือ ENCYCLOPEDIA OF WAR MOVIES ด้วยค่ะ แต่พอหยิบมาดูแล้วก็ตัดสินใจไม่ซื้อ เพราะหนังสือเล่มนี้ไม่ค่อยมีภาพทหารหนุ่มหล่อๆกล้ามโต ดิฉันอยากได้หนังสือรวมภาพทหารหนุ่มหล่อในหนังมากกว่าค่ะ

เจอหนังสือน่าสนใจเล่มอื่นๆในร้านด้วยเช่นกัน ซึ่งรวมถึงหนังสือ REMUSCULARIZATION OF KOREAN CINEMA ที่วิเคราะห์เพศชายในหนังเกาหลียุคใหม่, หนังสือรวมโปสเตอร์หนังยุคทองของเม็กซิโก (ทศวรรษ 1930-1950) และหนังสือเกี่ยวกับหนังคาวบอย

เพิ่งได้ดูหนังคาวบอยเรื่อง LAST TRAIN FROM GUN HILL (1959, JOHN STURGES) ทางช่อง CINEMAX จัดเป็นหนังคาวบอยที่ชอบมากเรื่องนึง นำแสดงโดยเคิร์ค ดักลาสกับแอนโธนี ควินน์ แต่คนที่ดิฉันชอบมากๆในหนังเรื่องนี้คือ CAROLYN JONES เธอรับบทเป็นสาวใจเพชรที่เป็นตัวแปรสำคัญของเรื่อง ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้อยากดูหนังคาวบอยเรื่อง 3:10 TO YUMA (1957, DELMER DAVES) มากค่ะ เพราะได้ยินว่าหนังเรื่องนี้มีเนื้อหาคล้ายคลึง LAST TRAIN FROM GUN HILL แต่ 3:10 TO YUMA (ซึ่งชื่อเรื่องบ่งบอกถึงการรอขบวนรถไฟเที่ยวตัดสินชะตาชีวิตเหมือนกัน) มีเนื้อหาเข้มข้นกว่ามาก นอกจากนี้ DELMER DAVES ยังเป็นผู้กำกับคนโปรดของ BERTRAND TAVERNIER ด้วย

หนังที่ได้ดูเมื่อวานนี้

1.VANITY FAIR (2004, MIRA NAIR) A มีดาราชายที่ดิฉันปรารถนา 3 คนในเรื่องนี้ค่ะ ซึ่งก็คือ JONATHAN RHYS-MEYERS (ในบทคู่รักของอเมเลีย), JAMES PUREFOY (ในบทคู่รักของเบคกี้) และ TOM STURRIDGE ในบทลูกชายของอเมเลีย

TOM STURRIDGE เกิดปี 1986 ค่ะ ดูรูปของเขาได้ที่ http://www.digitalhit.com/galleries/17/257/4

2.หมานคร (2004) A- พระเอกหล่อดี แต่ดิฉันดูแล้วหลับค่ะ

3.BLADE TRINITY (2004) C+/C ชอบหนังเรื่องนี้แค่ในระดับ C ค่ะ แต่เนื่องจากมีฉากไรอัน เรย์โนลด์สไม่ใส่เสื้อ ก็เลยให้ขยับขึ้นมาครึ่งอันดับ

JAMES PUREFOY IS HANDSOME

ชอบ FAR FROM HEAVEN (A+/A) มากเหมือนกันค่ะ พอดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้อยากดูหนังต้นฉบับของ DOUGLAS SIRK อย่างมากๆ ก็เลยไปหามาดู และก็พบว่าตัวเองชอบ ALL THAT HEAVEN ALLOWS (1955, DOUGLAS SIRK, A+) อย่างมากๆเลยค่ะ ด้วยเหตุผลสำคัญที่ว่า ROCK HUDSON ในหนังเรื่องนี้ดูน่ารักอบอุ่นมากๆ แหม อยากมีคนสวนอย่างนี้บ้างจัง โฮะ โฮะ โฮะ โฮะ ฮิ
http://www.wolfsden3.homestead.com/rockhudson.html

ตอนนี้ได้ดูหนังของ DOUGLAS SIRK ไปแค่ 3 เรื่องเองค่ะ ซึ่งก็คือ ALL THAT HEAVEN ALLOWS (A+), WRITTEN ON THE WIND (1956, A+/A) และ LA HABANERA (1937, B+/B) แต่ก็อยากดูหนังของเขาอีกหลายๆเรื่อง เพราะรู้สึกว่าฌอง-ลุค โกดาร์ด จะชื่นชอบหนังบางเรื่องของดักลาส เซิร์คมาก
http://www.imdb.com/name/nm0802862/

ยังไม่ได้ดู ICHI THE KILLER เลยค่ะ ตอนนี้ดิฉันได้ดูหนังของ TAKESHI MIIKE ไปแค่ 3 1/3 เรื่องเท่านั้นเอง ซึ่งได้แก่เรื่อง

1.AUDITION (1999) A
2.BLUES HARP (1998) A- หนังเกย์ นำแสดงโดย HIROYUKI IKEUCHI ที่เคยแสดงใน CHARISMA (1999, KIYOSHI KUROSAWA, A+)
3.THREE…EXTREMES (2004) A- หนังสั้นของ MIIKE ดูหลอนดี ส่วนตอนของฟรุต ชานดูแร่ดๆดี ในขณะที่ตอนที่เป็นหนังเกาหลีดูสนุกดี
4.THE BIRD PEOPLE IN CHINA (1998) B+

น่าอิจฉาจังเลยค่ะที่ได้ดู MOUCHETTE แล้ว ดูตัวละครพระเอกใน JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME แล้วนึกไปถึงตัวละครแวน โก๊ะห์ (Jacques Dutronc) ใน VAN GOGH (1991, MAURICE PIALAT, A+) กับตัวละคร ซูซานน์ (SANDRINE BONNAIRE) ใน TO OUR LOVES (1983, MAURICE PIALAT, A) ค่ะ เพราะสีหน้าสีตามันดูไปกันได้ดี มันเป็นตัวละครที่อมทุกข์ แต่อมทุกข์ในแบบที่ดิฉันดูแล้วรู้สึกมีอารมณ์ร่วมไปด้วยอย่างรุนแรงค่ะ

ฉากที่ชอบมากใน JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME รวมถึงฉากที่พระเอกเช็ดปัสสาวะของตัวเอง กับฉากที่พระเอกโทรศัพท์คุยกับแฟนเก่า แล้วมีเรื่องขัดใจกับแฟนเก่า, หลังจากนั้นสาวเจ้าของบ้านเช่าก็เข้ามากวนใจพระเอก ก็เลยถูกพระเอกระเบิดอารมณ์โมโหใส่อย่างรุนแรง, แล้วเจ้านายพระเอกก็โทรมากวนใจพระเอก ทำให้อารมณ์ของพระเอกยิ่งทวีความกดดันมากขึ้นไปอีก, แต่คนที่ซวยต้องมารองรับอารมณ์ทุกข์ของพระเอก กลับเป็นสาวอ้วนที่ถูกพระเอกจอดรถขวางทางเอาไว้ โดยที่พระเอกไม่ยอมเลื่อนรถหลีกทางให้ แต่กลับนอนอยู่เฉยๆแล้วเอาทรายโรยหน้าตัวเอง

ดูฉากนี้ใน Jealousy Is My Middle Name แล้วก็นึกถึงตัวเองเหมือนกัน ในบางครั้งดิฉันก็อารมณ์เสียเพราะการกระทำของนางสาว A หรือนางสาว B แล้วดิฉันก็เผลอไประบายอารมณ์เสียใส่นางสาว C ที่เผอิญซวยผ่านเข้ามาพอดี

อีกอย่างนึงที่ติดใจในหนังเรื่องนี้ ก็คือการที่หนังจงใจปกปิดหน้าตาแฟนเก่าของพระเอกตลอดเวลา เธอมักจะอยู่ในเงามืด, ปรากฏมาแค่เสียง หรือไม่ก็ถูกประตูลิฟท์เลื่อนมาบังหน้าเอาไว้พอดี ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะอะไร

ชอบตัวละครสาวเจ้าของบ้านเช่าในหนังเรื่องนี้มากเหมือนกันค่ะ ตอนแรกจะรู้สึกว่าตัวละครตัวนี้น่ารำคาญมาก แต่พอได้เห็นปัญหาชีวิตของเธอ ก็รู้สึกเห็นใจตัวละครตัวนี้มากขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกว่าถ้าเป็นในหนังเกาหลีเรื่องอื่น ตัวละครตัวนี้ต้องกลายเป็นนางเอกไปแล้ว เพราะปัญหาชีวิตเธอรุนแรงกว่าตัวละครอื่นๆในเรื่องหลายเท่า ไหนจะพ่อเป็นบ้า, พี่ชายเป็นบ้า, ต้องดูแลร้าน, รักพระเอกแต่พระเอกก็ไม่รัก, อยากตรวจครรภ์ แต่ถ้าหากหนังเรื่องนี้ให้ตัวละครตัวนี้เป็นนางเอกจริงๆ หรือถ้าหากหนังเรื่องนี้พยายามทำให้ตัวละครตัวนี้เป็นเพียง “นางรองธรรมดาๆที่ไม่มีปัญหาชีวิตเป็นของตัวเอง” หรือเป็นเพียง “นางอิจฉาที่ไม่มีความทุกข์ใจในด้านอื่นๆของชีวิต” ดิฉันคงชอบหนังเรื่องนี้ลดลงกว่าเดิมประมาณ 10 เท่า การที่หนังเรื่องนี้ให้ตัวละครตัวนี้เป็นเพียงตัวละครตัวหนึ่งที่มีชีวิตจิตใจความทุกข์ความรักความสมหวังความผิดหวังความสิ้นหวังเป็นของตัวเอง ไม่ใช่ “นางเอก” ไม่ใช่ “นางรองธรรมดาๆ” ไม่ใช่ “นางอิจฉาธรรมดาๆ” และไม่ให้ความสำคัญกับปัญหาชีวิตของเธอในระดับที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป คือสิ่งที่ทำให้ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้มากๆค่ะ ตัวละครตัวนี้เป็นตัวละครที่ดิฉันแทบไม่ค่อยพบในหนังเรื่องอื่นๆ มันคือตัวละครประกอบที่มีชีวิตจิตใจเป็นของตัวเองในแบบที่ดิฉันชอบมากๆ

ตัวละครนางเอกใน JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME ก็เป็นตัวละครนางเอกหนังเกาหลีที่ดิฉันชอบมากที่สุดในชีวิตคนนึงค่ะ เพราะเธอดูเป็นผู้ใหญ่ดี ปกติแล้วในหนังเกาหลีดิฉันมักเจอนางเอกอยู่สองประเภท ซึ่งก็คือประเภทสาวสวยน่ารัก ซึ่งเป็นประเภทที่ดิฉันเกลียดมาก (เพราะดิฉันตรงข้ามกับพวกเธอ) และประเภทสาวโรคจิต ซึ่งเป็นประเภทที่ดิฉันชอบมาก แต่ก็อยากเจอตัวละครนางเอกหนังเกาหลีที่เป็นมนุษย์ธรรมดาๆ ไม่สวยและก็ไม่เป็นโรคจิตบ้าง และนางเอก JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME คือนางเอกที่ตรงสเปคดิฉันมากที่สุดค่ะ

ไม่ค่อยประทับใจกับ THE MAN WITHOUT A PAST (B+) เหมือนกันค่ะ ถ้าดิฉันเป็นกรรมการเมืองคานส์ปีนั้น ดิฉันอาจจะลงคะแนนให้ปาล์มทองกับ DIVINE INTERVENTION และมอบรางวัลสเปเชียล จูรี ไพรซ์ให้ SPIDER ของเดวิด โครเนนเบิร์ก แต่จริงๆแล้วดิฉันเพิ่งได้ดูหนังชิงปาล์มทองปีนั้นไปเพียงแค่ 8 เรื่องเองค่ะ

หนังของ AKI KAURISMAKI ที่เคยดู เรียงตามลำดับความชอบ

1.THE MATCH FACTORY GIRL (1990) A+ รู้สึกว่าเรื่องนี้จะได้อิทธิพลจาก ROBERT BRESSON มา ก็เลยอาจเป็นเหตุผลที่ทำให้ชอบเรื่องนี้มากที่สุด
2.DRIFTING CLOUDS (1996) A-
3.JUHA (1999) A-
4.SHADOWS IN PARADISE (1986) A-/B+
5.THE MAN WITHOUT A PAST (2002) B+

หนึ่งในเพลงเกี่ยวกับหน้าหนาวที่ดิฉันชอบที่สุดก็คือเพลง WINTER SONG ของวง DREAMS COME TRUE จากญี่ปุ่นค่ะ
http://www.lyricsdownload.com/dreams-come-true-winter-song-lyrics.html
http://www.japan-zone.com/modern/dct.shtml


ชอบหลี่เจียซินใน FALLEN ANGELS มากเหมือนกันค่ะ โดยเฉพาะในช่วงต้นเรื่องตอนที่เธอออกไปสำรวจสถานที่ ท่าเดินของเธอแสดงถึงความ “ไม่ยี่หระ” อย่างมากๆ

ชอบเพลงของลอรี แอนเดอร์สันใน FALLEN ANGELS มากๆเลยค่ะ เมื่อเร็วๆนี้เห็นนิตยสาร INTERVIEW เล่มหน้าปก GAEL GARCIA BERNAL มีบทสัมภาษณ์บียอร์คด้วย ซึ่งจริงๆแล้วบทสัมภาษณ์บียอร์คอาจไม่ใช่สิ่งที่น่าตื่นเต้นในระดับสุดขีด แต่สิ่งที่ทำให้บทสัมภาษณ์นี้น่าตื่นเต้นสุดขีดก็คือการที่ผู้สัมภาษณ์คือ “ลอรี แอนเดอร์สัน” เรียกได้ว่าเป็นการปะทะกันครั้งสำคัญของนางสิงห์สองตัวแห่งวงการเพลงพิสดารเลยทีเดียว น่าเสียดายที่บทสัมภาษณ์นี้มีแค่ไม่กี่หน้า ก็เลยตัดสินใจไม่ซื้อนิตยสารเล่มนี้มา รู้สึกว่าจะหมดแล้วด้วย เพราะเห็นเล่มใหม่มาวางแผงแล้ว

ชอบเพลงเจงกิสข่านใน PLATFORM มากเหมือนกันค่ะ ดิฉันดูหนังเรื่องนี้ในโรงใหญ่ ดูแล้วยังแยกหน้าตัวละครไม่ออกเหมือนกันว่าตกลงใครเป็นใครกันแน่ ฉากที่จำได้ดีที่สุดฉากนึงในหนังเรื่องนี้คือฉากที่สองสาวโดนหลอกให้เต้นระบำฟรี

นอกจาก PLATFORM แล้ว ยังมีหนังอีก 2 เรื่องที่ดิฉันดูแล้วงงๆค่ะว่าตกลงใครเป็นใครกันแน่ในเรื่อง และหนังสองเรื่องนี้ก็ดูเหมือนจะให้ความสำคัญกับ “ยุคสมัย”, “สถานการณ์ในยุคสมัยนั้นๆ” และ “ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือวัฒนธรรมในยุคสมัยนั้นๆ” เหมือนกับเรื่อง PLATFORM เหมือนกัน ซึ่งหนังสองเรื่องนี้ก็คือเรื่อง A BRIGHTER SUMMER DAY (1991, EDWARD YANG, A-)
http://www.filmref.com/directors/dirpages/yang.html

กับ A CITY OF SADNESS (1989, HOU HSIAO-HSIEN, A-) ค่ะ สรุปว่าหนัง 3 เรื่องนี้เป็นหนังที่ดูเผินๆเหมือนจะดำเนินเรื่องอย่างเชื่องช้า แต่ดิฉันกลับตามเนื้อเรื่องในหนังไม่ทันเลยแม้แต่นิดเดียว
http://www.filmref.com/directors/dirpages/hou.html#city

ดีใจมากๆๆๆค่ะที่คุณอ้วนชอบหนังเรื่อง THE SILENCE ของอิงมาร์ เบิร์กแมน เป็นหนังที่แสดงอารมณ์เหงาออกมาในแบบที่ตรงใจดิฉันมากๆ

พูดถึงหนังญี่ปุ่นที่มีฉากรถไฟ ดิฉันมีที่ชอบอย่างสุดใจขาดดิ้นอยู่ 2 เรื่องค่ะ ซึ่งก็คือเรื่อง HARU (1996, A+++++) กับ AND THEN (1985, A++++++) และหนังสองเรื่องนี้ก็กำกับโดย YOSHIMITSU MORITA เหมือนกัน ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะอะไรผู้กำกับคนนี้ถึงสามารถทำให้ฉากรถไฟประทับอยู่ในความทรงจำได้อย่างไม่มีวันลืมเลือนเช่นนี้ แต่ฉากรถไฟในหนังสองเรื่องนี้แตกต่างกันมาก เพราะฉากรถไฟใน AND THEN เป็นฉากเซอร์เรียลที่เหมือนกับหลุดมาจากมิวสิควิดีโอ RUNNING UP THAT HILL ของ KATE BUSH ส่วนฉากรถไฟใน HARU เป็นฉากที่โรแมนติคซาบซึ้งกินใจมาก
http://www.imdb.com/name/nm0605741/

รู้สึกชอบ AMELIE ในระดับประมาณ A/A- ค่ะ จริงๆชอบแค่ A- แต่เนื่องจากพระเอกตรงสเปคมากก็เลยให้คะแนนพิเศษเพิ่มขึ้นมาหน่อย รู้สึกอยู่เหมือนกันว่า Amelie มีอะไรบางอย่างที่ไม่ค่อยตรงใจตัวเอง ชอบ DELICATESSEN มากกว่าค่ะ

ฉากนั้นใน THE THIN RED LINE เป็นฉากที่ดูแล้วแทบร้องไห้ค่ะ รู้สึกว่าจะเป็นฉากที่มีหมอกโรยตัวลงมาด้วย ดูแล้วเศร้ามาก อีกฉากนึงที่จำติดตามากในหนังเรื่องนี้คือฉากที่จิม คาวีเซลเปลือยท่อนบนเล่นน้ำ โฮะ โฮะ โฮะ

FROM HERE TO ETERNITY ยังไม่ได้ดูเลยค่ะ เคยดูแค่แว่บๆทางช่องเคเบิลทีวี รู้สึกว่าต้องเป็นคนที่ชอบหนังเก่าๆหรือเข้าใจอารมณ์หนังเก่าๆถึงจะชอบหนังเรื่องนี้มากๆ เพราะหนังเรื่องนี้ไม่ได้มีความพิสดารเหมือน THE THIN RED LINE และก็ไม่ได้เร้าอารมณ์เต็มที่แบบหนังฮอลลีวู้ดยุคปัจจุบัน แต่มีความงามในแบบคลาสสิค ส่วนตัวดิฉันนั้น ดิฉันอยากดูหนังเรื่องนี้มากๆเพราะ MONTGOMERY CLIFT ค่ะ

เพิ่งเจอบทความวิจารณ์หนังเรื่อง CLEO FROM 5 TO 7 (1961, AGNES VARDA, A+) ในหนังสือ POSITIF 50 YEARS ที่มีวางขายอยู่ในถนนข้าวสาร ดิฉันชอบชื่อบทความนี้มากเลยค่ะ เพราะชื่อบทความนี้คือ “CLEO FROM HERE TO ETERNITY” เพราะดิฉันรู้สึกว่าหนังเรื่อง CLEO FROM 5 TO 7 นี้เป็นหนังที่ควรค่ากับคำว่า ETERNITY จริงๆ


ชอบ MIKE LEIGH ซึ่งเป็นผู้กำกับของ ALL OR NOTHING มากๆค่ะ เขาสร้างตัวละครได้ดูมีเลือดมีเนื้อมีชีวิตจิตใจมากๆ และก็มักเป็นตัวละครที่ไม่ร่ำรวยด้วย ไม่น่าแปลกใจที่เรย์ คาร์นีย์จะชื่นชมเขามากๆ

ดูหนังของเขาแล้วรู้สึกว่าตัวละครในหนังของเขาช่างเต็มไปด้วยข้อบกพร่องและนิสัยเสีย แต่กลับไม่รู้สึกเกลียด
ตัวละครพวกนี้เลย ดูแล้วกลับทำให้รู้สึกเห็นใจตัวละครพวกนี้อย่างมากๆ ตัวละครในหนังของเขามีความเลวแตกต่างกันไปในตัวละครแต่ละตัว แต่ดูหนังของเขาแล้วทำให้รู้สึกรักเพื่อนมนุษย์และเห็นใจเพื่อนมนุษย์เพิ่มขึ้นอีกมาก

หนังของไมค์ ลีห์ เรียงตามลำดับความชอบในตอนนี้

1.ABIGAIL’S PARTY (1977) A+ หนังเรื่องนี้เหมาะสำหรับคนที่ชอบละครเวทีเกี่ยวกับผู้หญิงค่ะ
2.SECRETS & LIES (1996) A+
3.TOPSY-TURVY (1999) A+
4.MEANTIME (1984) A+
PETER WIGHT รับบทประกอบในหนังเรื่องนี้ เขาเล่นได้อย่างสุดยอดมากๆ และดิฉันหวังว่าหนังเรื่อง VERA DRAKE ของไมค์ ลีห์จะทำให้ดาราชายคนนี้ได้รับความสนใจอีกครั้ง
http://www.imdb.com/name/nm0927835/

5.NAKED (1993) A+/A
6.CAREER GIRLS (1997) A
7.LIFE IS SWEET (1990) A
8.NUTS IN MAY (1976) A-


เพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังที่เพิ่งได้ดู

ชอบ CHERRY JONES ใน OCEAN’S TWELVE (A) มากๆเลยค่ะ เธอได้รับบทที่สง่ามากๆในหนังเรื่องนี้ จริงๆแล้วเคยดูเธอในหนังหลายเรื่องก่อนหน้านี้ แต่เธอไม่ได้รับบทที่โดดเด่นติดตาเหมือนอย่างใน OCEAN’S TWELVE มาก่อน

ก่อนหน้านี้ CHERRY JONES (เกิดปี 1956) เคยแสดงหนังเรื่อง
1.THE VILLAGE (A)
2.JULIAN PO (1997, ALAN WADE, A-)
3.ERIN BROCKOVICH (A-)
4.SIGNS (B+)
5.DIVINE SECRETS OF THE YA-YA SISTERHOOD (2002, CALLIE KHOURI, B)

ส่วนหนังของ STEVEN SODERBERGH เรียงตามลำดับความชอบได้ดังนี้ค่ะ
1.FULL FRONTAL (2002) A++++++++ หรือในชื่อภาษาไทยว่า “พวกเราบานฉ่ำ”
2.OUT OF SIGHT (1998) A+
3.SEX, LIES, AND VIDEOTAPE (1989) A ดูตอนเด็กๆ คิดว่าคงต้องเอามาดูใหม่อีกรอบ
4.OCEAN’S TWELVE (2004) A
5.KAFKA (1991) A/A- เรื่องนี้ก็ดูตอนที่ยังเด็กเกินไปเหมือนกัน
6.KING OF THE HILL (1993) A- เอเดรียน โบรดี้ในหนังเรื่องนี้น่ารักมากๆ
7.ERIN BROCKOVICH (2000) A-
8.TRAFFIC (2000) A-
9.OCEAN’S ELEVEN (2001) B-

ส่วน VANITY FAIR นั้นก็เป็นหนังที่เต็มไปด้วยดาราหญิงที่ชอบมากหลายคนค่ะ ซึ่งรวมถึง

1.GERALDINE MCEWAN ในบทของเลดี้เซาธ์ดาวน์ที่เรียกเสียงฮาได้ทุกครั้งที่เธอเอ่ยปากพูด ก่อนหน้านี้เธอเคยรับบทเป็นเลสเบียนมาแล้วใน THE LOVE LETTER (1999, PETER CHAN) และเคยฝากฝีมือการแสดงที่ยอดเยี่ยมอย่างสุดๆไว้ในละครทีวีชุด THE PRIME OF MISS JEAN BRODIE (1978, A+) นอกจากนี้ เธอยังเคยเล่นหนังเลสเบียนเรื่อง ORANGES ARE NOT THE ONLY FRUIT (1990) ที่กำกับโดย BEEBAN KIDRON จาก BRIDGET JONES: THE EDGE OF REASON ด้วย
http://www.imdb.com/name/nm0568603/

2.NATASHA LITTLE ในบทของเลดี้ เจน ชีพแชงค์ ผู้ชอบช่วยเหลือน้องชายสุดหล่อของสามี ก่อนหน้านี้นาตาชา ลิตเติลเคยรับบทเป็นเบคกี้ ชาร์ปมาแล้วใน VANITY FAIR (1998, MARC MUNDEN) เวอร์ชันที่มีความยาว 5 ชั่วโมงเต็ม
http://www.imdb.com/title/tt0159090/

นาตาชา ลิตเติลกำลังจะเล่นหนังเรื่องใหม่ในบทของผู้หญิงที่อยากมีผัวอย่างมากๆ ซึ่งก็เรื่อง THE DAY I RAN INTO ALL MY EX-BOYFRIENDS (2005, PETER PAMELA ROSE) สิ่งหนึ่งที่น่าแปลกก็คือผู้กำกับหนังเรื่องนี้เป็นผู้หญิง แต่มีชื่อว่า PETER ค่ะ และเธอก็มีแม่ชื่อ PETER เหมือนกัน ตอนแรกดิฉันนึกว่า PETER เป็นเฉพาะชื่อของผู้ชายซะอีก

อ่านประวัติของ PETER PAMELA ROSE ได้ที่
http://www.imdb.com/name/nm0741612/bio

3.EILEEN ATKINS ในบทของมาทิลดา ครอว์ลีย์ ยายแก่ปากร้าย เธอเป็นตัวละครยายแก่ที่ขโมยซีนในหนังย้อนยุคแนว COSTUME DRAMA ได้อย่างยอดเยี่ยมมาก ตัวละครทำนองนี้ที่ดิฉันชอบมากอีกคนนึงคือตัวละครมาดาม เดอ โรสมองด์ในหนังเรื่อง VALMONT (1989, MILOS FORMAN) ที่ชอบผล็อยหลับอยู่ตลอดเวลา (ถ้าจำไม่ผิด) น่าเสียดายที่ FABIA DRAKE ที่รับบทเป็นมาดาม เดอ โรสมองด์เสียชีวิตหลังจากแสดงหนังเรื่องนี้
http://www.imdb.com/name/nm0236902/

4.KELLY HUNTER ในบทของ LADY STEYNE
http://www.imdb.com/name/nm0402901/

5.CAMILLA RUTHERFORD ในบทของเลดี้ กอนท์ เธอดูสวยดีค่ะ และก่อนหน้านี้เธอก็เคยรับบทเป็นสาวผู้ดีมาแล้วใน GOSFORD PARK
http://www.imdb.com/name/nm0751950/

6.KATHRYN DRYSDALE ในบทของโรดา สวอร์ทซ์ หญิงสาวที่ต้องการใช้เงินล้านซื้อชายหนุ่มรูปหล่อมาเป็นผัว

7.HELEN COKER ในบทของสาวใช้ที่ชิงดีชิงเด่นกับนางเอก เธอเล่นหนังเรื่อง ALL OR NOTHING กับ VERA DRAKE ด้วย

8.MEG WYNN OWEN ในบทของเลดี้ ครอว์ลีย์ที่มีสภาพเหมือน “ไม่ใช่ชีวิตแต่เป็นซากชีวิต”


ดูหนังเรื่อง VANITY FAIR แล้วทำให้นึกถึงหนังย้อนยุคเกี่ยวกับผู้หญิงที่เน้นเครื่องแต่งกายสวยๆงามๆอีกหลายเรื่องค่ะ โดยเฉพาะหนังที่สร้างจากบทประพันธ์คลาสสิค

หนังย้อนยุคแนวนี้ที่ชอบมากกว่า VANITY FAIR ได้แก่เรื่อง
1.ONEGIN (1998, MARTHA FIENNES, A+) สร้างจากงานเขียนของ ALEXANDER PUSHKIIN การถ่ายภาพในหนังเรื่องนี้งดงามมากๆ
2.UNE VIE (1958, ALEXANDRE ASTRUC, A+)
3.SAINT-CYR (2000, PATRICIA MAZUY, A+) สร้างจากนิยายของ YVES DANGERFIELD
4.DANGEROUS LIAISONS (1988, STEPHEN FREARS, A+) สร้างจากงานเขียนของ CHODERLOS DE LACLOS
5.THE AGE OF INNOCENCE (1993, MARTIN SCORSESE, A+) จากงานของ EDITH WHARTON

ส่วนหนังย้อนยุคแนวนี้ที่ชอบน้อยกว่า VANITY FAIR ได้แก่เรื่อง

1.MANSFIELD PARK (1999, PATRICIA ROZEMA, A) จากงานของเจน ออสเตน โดยมี JAMES PUREFOY เล่นหนังเรื่องนี้ด้วย นอกจากนี้ JAMES PUREFOY ยังเคยเล่น RESIDENT EVIL (A-) ด้วยค่ะ แต่รู้สึกว่าเขาจะดูดีที่สุดตอนที่เล่น VANITY FAIR (2004) นี่แหละ

2.EMMA (1996, DOUGLAS MCGRATH, A-) จากงานของเจน ออสเตน

3.SENSE AND SENSIBILITY (1995, ANG LEE, A-) จากงานของเจน ออสเตน เพิ่งรู้ว่า IMELDA STAUNTON เล่นหนังเรื่องนี้ด้วย

4.MADAME BOVARY (1991, CLAUDE CHABROL) A- จากงานของกุสตาฟ โฟลแบร์

5.PRIDE AND PREJUDICE (1995, SIMON LANGTON, A-) จากงานของ JANE AUSTEN หนังเรื่องนี้ได้คะแนน 9.2/10 จากการโหวตของผู้ชม 5,162 คน

6.THE EARRINGS OF MADAME DE… (1953, MAX OPHULS) A- นำแสดงโดย DANIELLE DARRIEUX จาก 8 WOMEN สร้างจากนิยายของ LOUISE DE VILMORIN
http://www.ecinemacenter.com/earringsofde.html

7.ELINE VERE (1992, HARRY KUMEL, A-) จากนิยายของ LOUIS COUPERUS

8.ANNA KARENINA (1997, BERNARD ROSE, A-/B+) จากงานของ LEO TOLSTOY ชอบฉากที่นางเอกเดินผ่านห้องหลายๆห้องค่ะ

รู้สึกว่าในบรรดาหนังที่สร้างจากงานเขียนของตอลสตอย หนังที่ได้รับคำชมอย่างสุดๆก็คือเรื่อง KREUTZER SONATA (1987, MIKHAIL SCHWEITZER + SOFIA MILKINA) ค่ะ เป็นหนังเกี่ยวกับชีวิตสมรสที่เลวร้ายและนักวิจารณ์นำไปเปรียบกับละครเวทีของ EDWARD ALBEE และหนังของอิงมาร์ เบิร์กแมนด้วย

9.JANE EYRE (1995, FRANCO ZEFFIRELLI, A-/B+) จากงานของชาร์ลอตต์ บรอนเต

10.THE MARQUISE OF O (1976, ERIC ROHMER) A-/B+ จากงานของ HEINRICH VON KLEIST

และก็มีหนังย้อนยุคแนวนี้ที่อยากดูแต่ยังไม่ได้ดูอีกหลายเรื่องค่ะ ซึ่งรวมถึง

1.หนังที่สร้างจากงานเขียนของ WILLIAM MAKEPEACE THACKERAY เหมือน VANITY FAIR ซึ่งได้แก่เรื่อง

1.1 BARRY LYNDON (1975, STANLEY KUBRICK)
1.2 BECKY SHARP (1935, ROUBEN MAMOULIAN) เรื่องนี้ท่าทางจะได้รับคำชมสูงกว่า VANITY FAIR (2004) อย่างมาก

2.THE HOUSE OF MIRTH (2000, TERENCE DAVIES) จากงานของ EDITH WHARTON

3.MOLL FLANDERS (1996, PEN DENSHAM) ที่สร้างจากงานของ DANIEL DEFOE

4.หนังที่สร้างจากงานเขียนของ HENRY JAMES ซึ่งรวมถึงเรื่อง THE PORTRAIT OF A LADY (1996, JANE CAMPION), THE WINGS OF THE DOVE (1997, IAIN SOFTLEY) และ THE EUROPEANS (1979, JAMES IVORY)

แต่หนังที่สร้างจากงานเขียนของ HENRY JAMES และได้รับคำชื่นชมอย่างรุนแรงสุดๆคือเรื่อง WHAT MAISIE KNEW (1975, BABETTE MANGOLTE) ค่ะ โดยมี YVONNE RAINER กับ PHILIP GLASS ร่วมแสดงหนังเรื่องนี้ด้วย

BABETTE MANGOLTE เป็นหนึ่งในผู้กำกับหญิงที่น่าสนใจที่สุดค่ะ เธอเคยร่วมงานกับ CHANTAL ACKERMAN, MICHAEL SNOW, SALLY POTTER, JACKIE RAYNAL และ JEAN-PIERRE GORIN
http://visarts.ucsd.edu/faculty/bmangolt.htm
http://www.chireader.com/movies/archives/2004/0404/040402.html

หนังเกย์ที่อยากดูที่สุดในตอนนี้

หนังเกย์ที่อยากดูที่สุดในตอนนี้คือ SHINER (2004, CHRISTIAN CALSON) ไม่รู้เหมือนกันว่าเมื่อไหร่หนังเรื่องนี้จะมีเข้ามาในไทย เสียงวิจารณ์บอกว่านี่คือ IRREVERSIBLE หรือ TROUBLE EVERY DAY (2004, CLAIRE DENIS, A+) ในแบบของหนังเกย์ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับเกย์คู่หนึ่งที่ชอบทำร้ายร่างกายกันเพื่อกระตุ้นอารมณ์เพศ และมีเนื้อหาเกี่ยวกับนักมวยหนุ่มหล่อรูปร่างบึกบึนที่ถูกชายหนุ่มสะกดรอยตาม
http://www.imdb.com/title/tt0368268/
http://www.shinermovie.com/
http://images.amazon.com/images/P/B0002TT0A0.01.LZZZZZZZ.jpg



Friday, December 10, 2004

MALINA (A+++++, WERNER SCHROETER)

ยังไม่ได้ดู ANGELS IN AMERICA (2003, Mike Nichols) เลยค่ะ แต่อยากดูหนังเรื่อง CLOSER ของ MIKE NICHOLS มากเลย เพราะเรื่องนี้มีจูด ลอว์ปะทะกับไคลฟ์ โอเวน (หลังจากที่ทั้งสองเคยเล่นหนังเกย์เรื่อง BENT ด้วยกันมาแล้ว แต่ดิฉันจำไม่ได้ว่าจูด ลอว์โผล่มาตอนไหนใน BENT)

หนังของ MIKE NICHOLS ที่เคยดู เรียงตามลำดับความชอบส่วนตัว

1.WORKING GIRL (1988, A/A-)
2.POSTCARDS FROM THE EDGE (1990, A/A-)
3.NEIL SIMON’S BILOXI BLUES (1988, A-) รู้สึกว่าในหนังเรื่องนี้จะมีพูดถึงทหารเกย์นิดนึง
4.THE BIRDCAGE (1996, B+) Dan Futterman น่ารักมากๆ
5.WOLF (1994, B+)
6.REGARDING HENRY (1991, B+)
7.HEARTBURN (1986, B) ดูตอนเด็ก จำอะไรไม่ค่อยได้แล้ว

หนังที่ได้ดูในช่วงนี้

1.MALINA (1991, WERNER SCHROETER) A++++++

หนังเรื่องนี้จะเปิดฉายในวันเสาร์นี้เวลา 19.00 น.ที่ร้านเฮมล็อค ถ.พระอาทิตย์ค่ะ อ่านรายละเอียดได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/webboard/index-in.php?id=12811

อ่านประวัติของ Werner Schroeter ซึ่งเป็นเกย์ได้ที่
http://www.sensesofcinema.com/contents/directors/03/schroeter.html

ชอบ CAN TOGAY ดาราหนุ่มชาวฮังการีที่รับบทเป็นคู่รักของ ISABEL HUPPERT ในหนังเรื่องนี้มากๆเลยค่ะ
http://www.imdb.com/name/nm0865557/


MATHIEU CARRIERE ซึ่งเคยเล่นหนังเรื่อง MANILA และมารับบทเป็น MALINA ในหนังเรื่อง MALINA อาจจะคุ้นหน้าคุ้นตาหลายๆคน เพราะเขาเคยแสดงในหนังหลายเรื่องที่เพิ่งมาเปิดฉายในโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพ ซึ่งรวมถึงหนังดังต่อไปนี้

1.INDIA SONG (1975, MARGUERITE DURAS) A+++++

MATHIEU CARRIERE รับบทเป็นผู้ช่วยทูตหนุ่มน้อยที่เดินไปเดินมาในงานเลี้ยงรับรอง เขาเป็นคนที่กล้าเข้าไปคุยกับเอกอัครราชทูตจาก LAHORE

หลังจากนั้น MATHIEU CARRIERE ก็เล่นหนังให้ DURAS อีกครั้งใน LE NAVIRE NIGHT (1979) รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เคยได้รับการผลิตเป็นวิดีโอออกมาแล้วที่เมืองนอก แต่ไม่รู้ว่าจะหาหนังเรื่องนี้ดูได้ที่ไหนในเมืองไทย

2.YOUNG TORLESS (1966, VOLKER SCHLONDORFF) A
สร้างจากนิยายของ ROBERT MUSIL

3.LE COUP DE GRACE (1976, VOLKER SCHLONDORFF) A-/B+
สร้างจากนิยายของ MARGUERITE YOURCENAR

4.POLICE PYTHON 357 (1976, ALAIN CORNEAU) B+
http://www.imdb.com/title/tt0075082/

5.SHINING THROUGH (1992, DAVID SELTZER) B+/B

6.CHRISTOPHER COLUMBUS: THE DISCOVERY (1992, JOHN GLEN) B
ชอบ GEORGE CORRAFACE พระเอกหนังเรื่องนี้ค่ะ

นอกจากนี้ MATHIEU CARRIERE ยังเคยเล่นหนังหลายเรื่องให้ ANDRE DELVAUX สุดยอดผู้กำกับชาวเบลเยียมอีกด้วย ดูเหมือนว่าเขาจะเป็นดาราชายที่ผ่านมือผู้กำกับระดับปรมาจารย์มาแล้วหลายคน ไม่ว่าจะเป็น DURAS, DELVAUX, SCHROETER, SCHLONDORFF, HERBERT VESELY, ERIC ROHMER, KRZYSZTOF ZANUSSI, HELMA SANDERS-BRAHMS หรือผู้กำกับระดับรองๆลงไปอย่าง HARRY KUMEL, ROGER VADIM, DAVID HAMILTON, ROBERT VAN ACKEREN, EDOUARD MOLINARO

ISOLDE BARTH ที่รับบทเป็นแม่ของ MALINA ก็เคยเล่นหนังให้ RAINER WERNER FASSBINDER กับ CLAUDE CHABROL มาแล้วหลายเรื่อง นอกจากนี้ เธอยังเล่นหนังเรื่อง FREVEL (1984, PETER FLEISCHMANN) A+++++++++ ด้วย
http://www.imdb.com/title/tt0085565/


PETER KERN ชายร่างอ้วนตุ้ยนุ้ยที่มารับบทประกอบเป็นชาวบัลแกเรียใน MALINA ก็เป็นอีกคนที่น่าสนใจมากๆ เพราะหนังหลายเรื่องของเขาเพิ่งมาเปิดฉายในโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะหนังของเขาที่กำกับโดย FASSBINDER, HANS-JURGEN SYBERBERG และ WIM WENDERS ดูเหมือนว่าเขาจะถูกโฉลกกับผู้กำกับแสบๆของเยอรมันเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากเขาจะเล่นหนังให้กับจอมแสบอย่าง FASSBINDER, SYBERBERG และ SCHROETER แล้ว เขายังเล่นหนังให้สองสาวซูเปอร์แสบสไตล์เลสเบียนอย่าง ULRIKE OTTINGER และ MONIKA TREUT ด้วย

แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ PETER KERN เคยกำกับหนังหลายเรื่องด้วยเช่นกัน และก็มีหนังเกย์ที่น่าสนใจมากๆรวมอยู่ด้วย

ผลงานการกำกับของ PETER KERN รวมถึง

1.PRISON CAMP GIRLS, JAILED FOR LOVE (1983)
http://www.imdb.com/title/tt0084139/

2.CRAZY BOYS (1987)
http://www.peterkern.de/inhalt/bilder/crazy_boys.htm

3.KISS, CUDDLE, AND CELEBRATE (1998)
หนังเรื่องนี้เป็นหนังสารคดีที่รู้สึกว่าจะมีดีวีดีออกขายในเยอรมนีแล้ว

ดูตัวอย่างรูปจากหนังของ PETER KERN ได้ที่
http://www.peterkern.de/inhalt/bilder/gossenkind.htm
http://www.peterkern.de/inhalt/bilder/als_junges_maedchen.htm


2.OCEAN’S TWELVE (2004, STEVEN SODERBERGH) A
ชอบมากกว่าภาคแรกมากเลยค่ะ ในภาคนี้รู้สึกว่าScott Caan น่ารักที่สุดค่ะ

3.HERR LEHMANN (2003, LEANDER HAUSSMANN) B+


ส่วนที่จตุจักรนั้น รู้สึกว่าสัปดาห์นี้จะออกดีวีดีหนัง 6 เรื่องที่ดิฉันเคยดูแล้วค่ะ เรียงตามลำดับความชอบได้ดังนี้

1.THE DISCREET CHARM OF THE BOURGEOISIE (1972, LUIS BUNUEL)
การปะทะกันครั้งประวัติศาสตร์ของสามเจ้าแม่ STEPHANE AUDRAN, DELPHINE SEYRIG และ BULLE OGIER

2.BELLE DE JOUR (1967, LUIS BUNUEL) A+
3.UN CHIEN ANDALOU (1928, LUIS BUNUEL + SALVADOR DALI) A+
4.LE COMBAT DANS L’ILLE (1962, ALAIN CAVALIER) A+
5.THAT OBSCURE OBJECT OF DESIRE (1977, LUIS BUNUEL) A-6.DIARY OF A CHAMBERMAID (1964, LUIS BUNUEL) A-/B+

Thursday, December 09, 2004

NOVEMBER CHART

อันดับหนังประจำเดือนพ.ย.2004
NOVEMBER 2004
1.MIXED UP (1999, NADIA FARES) A+
2.THE HOURS AND TIMES (1991, CHRISTOPHER MUNCH) A+
3.JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME (2002, PARK CHAN-OK) A+
4.THE TOOLBOX MURDERS (2004, TOBE HOOPER) A+
5.THE FINAL CUT (2004, OMAR NAIM) A+

6.2/DUO (1996, NOBUHIRO SUWA) A+
7.HARMFUL INSECT (2002, AKIHIKO SHIOTA) A+
8.VAMPIRE HUNTER D: BLOODLUST (2000, YOSHIAKI KAWAJIRI) A+
9.SAW (2004, JAMES WAN) A+
10.GHETTOKIDS (2002, CHRISTIAN WAGNER) A

11.FASTER, PUSSYCAT! KILL! KILL! (1965, RUSS MEYER) A
12.HORSE THIEF (1986, TIAN ZHUANGZHUANG)
13.MON ONCLE (1958, JACQUES TATI) A
14.SILMIDO (2003, WOO-SUK KANG) A
15. TRAIN FANTOME (1999, THOMAS THUMENA) A

16.CASSHERN (2004, KAZUAKI KIRIYA) A
17.BREAKING NEWS (2004, JOHNNY TO) A
18.THE MAN WHO KNEW TOO MUCH (1934, ALFRED HITCHCOCK) A
19. I CAPTURE THE CASTLE (2003, TIM FYWELL) A
20.DUMPLINGS (2004, FRUIT CHAN) A

21.CELLULAR (2004, DAVID R. ELLIS) A
22.WILD LIFE (1997, SHINJI AOYAMA) A
23.AFTER THE REHEARSAL (1984, INGMAR BERGMAN) A-
24.ALEXANDER (2004, OLIVER STONE) A-
25.WAS WIE WANN WOHIN GEHORT (1999, WAGEH GEORGE) A-

26.AFTER THE LIFE (2002, LUCAS BELVAUX) A-
27.ON THE RUN (2002, LUCAS BELVAUX) A-
28.THROWDOWN (2004, JOHNNY TO) A-
29.THE AMAZING COUPLE (2002, LUCAS BELVAUX) A-
30.DANGAN RUNNER (1996, SABU) A-

31.IF ONLY (2004, GIL JUNGER) A-
32.DODGEBALL (2004, RAWSON MARSHALL THURBER) A
33.RACLETTE CURRY (1999, KAMAL MUSALE) A-
34.TAXI (2004, TIM STORY) A-
35. PING PONG BATH STATION (1998, GEN YAMAKAWA) B+

36.HOPP SCHWYZ (1999, FULVIO BERNASCONI) B+
37.HOME ALONE? (1999, CHRISTIAN DAVI) B+
38.AFTER THE SUNSET (2004, BRETT RATNER) B+
39.LOVE ME IF YOU DARE (2003, YANN SAMUELL) B+
40.FORMULA 17 (2004, D.J. CHEN/YIN-JUNG CHEN) B+

41.ANANSI (2002, FRITZ BAUMANN) B+
42.WIMBLEDON (2004, RICHARD LONCRAINE) B+
43.BLUE SPRING (2001, TOSHIAKI TOYODA) B
44.MAKING OF A JEW (1999, STINA WERENFELS) B
45.LADDER 49 (2004, JAY RUSSELL) B

46.SIX (2004) B
47.LIZARD WOMAN (2004, มานพ อุดมเดช) B-
48.CHOLESTEROL LOVE (2004) C-

MOST DESIRABLE ACTOR
CHRIS EVANS—CELLULAR

FAVORITE ACTRESS
ANGELA BETTIS—THE TOOLBOX MURDERS

FAVORITE ACTOR
HIDETOSHI NISHIJIMA—2/DUO

FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
BAI LING—DUMPLINGS

FAVORITE SUPPORTING ACTOR
MUN-SEONG KUN—JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME

FAVORITE DOCUMENTARY
MIXED UP (1999)—NADIA FARES

FAVORITE MUSIC
MIXED UP

FAVORITE CINEMATOGRAPHY
TAK FUJIMOTO—THE FINAL CUT

FAVORITE EDITING
JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME

FAVORITE OPENING
BREAKING NEWS

FAVORITE ENDING
MIXED UP

FAVORITE SENTENCE
จำประโยคแน่นอนไม่ได้ แต่เป็นประโยคใน MIXED UP ที่ออกมาในทำนองที่ว่า “สักวันหนึ่ง ฉันหวังว่าฉันจะสามารถยืนได้อย่างมั่นคง โดยเท้าข้างหนึ่งอยู่ที่เชิงเขาแอลป์ และเท้าอีกข้างหนึ่งอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำไนล์”

AUGUST CHART

AUGUST 2004
1.INDIA SONG (1974, MARGUERITE DURAS) A+
2.BIRTH OF THE SEANEMA (2004, SASITHORN ARIYAVICHA) A+
3.KICKFLIPPER: FRAGMENTS EDIT (SHAUN GLADWELL) A+ http://www.shermangalleries.com.au/artists_exhib/artists/gladwell.html
4.BUS-STOP (2004, TOSAPORN MONGKOL) A+
5.For You (2000)/Dir:Heidi Kocevar/Poet :Jacques Prevert/3mins A+ http://xtream.online.fr/Prevert/indexeng.html

6.Lonely Boy (2002)/Dir:Becalelis Brodskis/Poet :Jonathan Lewis/2mins A+
7.DOWN THE RIVER (2004, ANUCHA BOONYAWATANA) A+
8. MY FIRST BOYFRIEND (2004, ISSARA MANEEWAT) A+
9.KOMA (2004, LAW CHI-LEUNG) A+
10.LE PETIT SOLDAT (1960, JEAN-LUC GODARD) A+

11.LINEAGE OF THE DIVINE (MONIKA TICHACEK) A+
12.Broken Glass (2002)/Dir:Marte Holth/Poet :Hal Sirowitz/5mins A+
13.HAUNTED HOUSES (2001, APICHATPONG WEERASETHAKUL) A+
14.LOVE (TRACEY MOFFATT) A+
15.THE ADVENTURE OF IRON PUSSY (2003, APICHATPONG WEERASETHAKUL + MICHAEL SHAOWANASAI) A+

16.THE GHOST SHIP (1943, MARK ROBSON) A+
17.The Burdened Ass (2002)/Dir:Adrian Hedgecock/Poet :John Oxenham/12mins A+
18.SOOTH: HIS PURE STORY (2003, PATANA CHIRAWONG) A+
19.PIK-BAAN-HAO (2004, SUPAWUT BOONMAHATHANAKORN + SAMART SUWANNARAT) A+
20.TO INFINITY AND BEYOND (2004, SOMPOT CHIDGASORNPONGES) A+

21.RUSH HOUR (2001, ANTONIN PERETJATKO) A+
22.MUMMO (GRANNY) (2003, TATU POHJAVIRTA + MARK STAHLE) A+
23.The Man With Beautiful Eyes (2000)/Dir:Jonathan Hodgson/Poet :Charles Bukowski/5mins A+
24.Not Waving (2002)/Dir:Jane Rogoyska/Poet :Stevie Smith/4mins A+
25.DEATH IN THE CHAFF-CUTTER (1991, NICO HOFMANN) A+

26.THE SEVENTH VICTIM (1943, MARK ROBSON) A
27.The Tyre (2000)/Dir:Brian Hill/Poet :Simon Armitage/9mins A
28.The Minister For Exams (1999)/Dir:Paul Trewartha/Poet :Brian Patten/2mins A
29.TWO WORLDS IN ONE WORLD (2004, PRAP BOONPAN) A
30.OTHER PEOPLE’S DREAMS OF ME (JAMES LYNCH) A

31.LA CHATTE ANDALOUSE (2002, GERALD HUSTACHE-MATHIEU) A
32.FORCED INTO IMAGES (DESTINY DEACON + VIRGINIA FRASER) A
33.IN THE TUNNEL (2004, PICHET BANGPRASERT) A
34.FATHER (1966, ISTVAN SZABO) A
35.EVAPORATED MUSIC I (a-c) (PHILIP BROPHY) A

36.DAS RAS (CHRIS STENNER + ARVID UIBEL + HEIDI WITTLINGER) A
37.WATER FROM MARS (MILLA DELANEY) A 3
8.LOST AT SEA (15/15 FILM FESTIVAL) A
39.THE VILLAGE (2004, M. NIGHT SHYAMALAN) A
40.MOOD STOCK (2004, PIYAWUT PIYAMAT) A

41.ฝรั่งใจ (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล) A
42.ROOM NO. 3 (2004, NAVARUTT ROONGAROON) A
43.TERMINAL BAR (STEFAN NADELMAN) A
44.MEPHISTO (1981, ISTVAN SZABO) A
45.COLLATERAL (2004, MICHAEL MANN) A

46.HOUSE OF SAND AND FOG (2003, VADIM PERELMAN) A
47.THE BOURNE SUPREMACY (2004, PAUL GREENGRASS) A
48.ELLA ENCHANTED (2004, TOMMY O’HAVER) A
49.QUALITY TIME (15/15 FILM FESTIVAL) A
50.Summer with Monika (2000)/Dir:Corrina Askin/Poet :Roger McGough/5mins A

51.YU THA KAN TAMIN (2003, SIRIPHONG TIPAYAKESORN + JINARONG WONGSULTORN) A
52.BUNGALOWZEN: THE AMERICAN TRILOGY (2003, TAIKI SAKPISIT) A
53.MR.WEIRDO AND ANOMALOUS SPACE (2004, ARNONT NONGYAOW) A
54.THE LAST SKY PASSENGER (2004, TOSSAPOL BOONSINSUKH) A
55.HANUSSEN (1988, ISTVAN SZABO) A

56.THE THOUGHT THAT COUNTS (2003, ROBERT LUNDMARK) A
57.THE BLACK BOX (2002, ANGELO CIANCI) A
58. STRIPSEARCH (15/15 FILM FESTIVAL) A
59. -30 DEGREES (2003, OSKAR OSTERGREN + FREDRIK OSKARSSON) A-
60. STATIC NO. 8 (DANIELCROOKS) A-

61.URBAN ARMY MAN (TV MOORE) A- http://www.artspace.org.au/2000/tvmoore.html
62.HE MUST NOT CRY (LYNDAL JONES) A-
63.HANDKERCHIEFS FOR SALE (2003, JAN ANDERSSON) A-
64.TOO YOUNG TO DIE (2002, PARK JIN-PYO) A-
65.หมอเจ็บ (THE EX-TURNS) (2004, สมภพ เวชพิพัฒน์) A-

66.GROUP BEHAVIOUR—SPAGHETTI ARMS (DAMP) A-
67.WITHOUT YOU (DAVID ROSETZKY) A- http://www.kalimangallery.com/web_pages/Previous/june_04b/rosetzky/rosetzky.html
68.IN BOCCA AL LUPO (PATRICIA PICCININI) A-
69.SLOW SERVICE (MARCUS LYALL) A-
70.UNIVERSAL LOVE ACTION (GUY BENFIELD) A-

71.J’ATTRENDRAI LE SUIVANT (2002, PHILIPPE ORREINDY) A-
72.LIFT (MARC ISAACS) A-
73.BLOOD (IVAN SEN) A-
74.SUPER SIZE ME (2004, MORGAN SPURLOCK) A-
75. .BLURRING THE BOUNDARIES (CRAIG WALSH) A- http://www.acmi.net.au/blurringtheboundaries.jsp

76. DAY-LIGHT GHOST (2003, TAYART DATSATHEAN) A-
77. 30 SECONDS OF TORTURE (15/15 FILM FESTIVAL) A-
78.MANN IM MOND (1999, CHRIS STENNER + ARVID UIBEL) A-
79.LASILEUKA (GLASS JAW) (2003, ZAIDA BERGROTH) A-
80.THE SPADE (2003, JENS JONSSON) A-

81.STRAWBERRY FAIR (15/15 FILM FESTIVAL) A-
82.DIVINE INTERVENTION (15/15 FILM FESTIVAL) A-
83.PLASMID REGION (PATRICIA PICCININI) A-
84.The Old Fools (2002)/Dir:Ruth Lingford/Poet :Philip Larkin/6mins A-
85.ALIEN VS. PREDATOR (2004, PAUL W.S. ANDERSON) A-

86.LA CALVITUDE (2002, JULIEN WEILL) A-
87.เอ็กซ์แมน แฟนพันธุ์เอ็กซ์ (2004, ธนกร พงษ์สุวรรณ) B+
88. CUT (2004, ROYSTAN TAN) B+
89.THE CURSE OF THE CAT PEOPLE (1944, ROBERT WISE + GUNTHER VON FRITSCH) B+
90.SCORCHED (2003, GAVIN GRAZER) B+

91.MOLTKE (1988, HAJO GIES) B+
92.INDI (GENEVIEVE BAILEY + JARRAH GURRIE) B+
93.KIDS PLAY OUTSIDE (2002, PER HANEFJORD) B+
94.THE LADYKILLERS (2004, ETHAN COEN + JOEL COEN) B+
95.BEN’S BIG BREAK (DECLAN MORTIMER EIPPER + BEN WHIMPEY) B+

96.DUMPING KATIE (15/15 FILM FESTIVAL) B+
97.ENGAGE (15/15 FILM FESTIVAL) B+
98.HOUSE OF FLYING DAGGERS (2004, ZHANG YIMOU) B+
99.The Elevator (2000)/Dir:Alrick Riley/Poet :Lemn Sissay/4mins B+
100.SAM’S ORCHESTRA (2002, LISETTE BOMAN) B+

101.Picassoesque (1997)/Dir:Sally Ann Arthur/Poet :Julia Darling/3mins B+
102.ROAD KILL (15/15 FILM FESTIVAL) B+
103.L’UNION FAIT LA FORCE (HANS PETTER MOLAND) B+
104. BORN TO FIGHT (2004, PANNA RITTIKRAI) B
105. PISO DALAWANG PISO (2003, DENNIS EMPALMADO) B

106.RAISING HELEN (2004, GARRY MARSHALL) B
107.HOME SWEET HOME (2002, PER CARLESON) B
108.WELCOME TO THE JUNGLES (THE KINGPINS) B
109.KILER (1997, JUKIUSZ MACHULSKI) B
110.BOTTLE HORROR (15/15 FILM FESTIVAL) B

111.The Lines (2001)/Dir:Suzie Hanna/Hayley Winter/Poet :Andrew Motion/3mins B
112.DURIAN (FARISHAD I. LATJUBA) B
113.THE TWINS EFFECT 2 (2004, COREY YUEN + PATRICK LEUNG) B
114.PIGLY (2001, SANDRINE AUVERTIN + PHILIPPE TAILLIEZ) B-
115.BELLY-GOD’S PIGEON (2004, RAEESHA TANVIR ALTAF) B-

116.THE NOTEBOOK (2004, NICK CASSAVETES) B-
117.WINDSTRUCK (2004, KWAK JAEYONG) B-
118.THE SOUL KEEPER (2002, ROBERTO FAENZA) C+
119.THE WHOLE TEN YARDS (2004, HOWARD DEUTCH) C+
120.KILER 2 (1998, JUKIUSZ MACHULSKI) C-

MOST DESIRABLE ACTOR
RUSSELL WADE—THE GHOST SHIP
http://www.skgiessen.de/movies/showfilm.php?filmfile=4322.txt&pfad=4049

SPECIAL MENTION FOR ENSEMBLE LOVELY ACTORS
SCORCHED --IVAN SERGEI + JOSHUA LEONARD + PAULO COSTANZO + MARCUS THOMAS

FAVORITE ACTRESS
ANGELICA LEE—KOMA
KARENA LAM—KOMA

FAVORITE ACTOR
MICHAEL SHAOWANASAI—THE ADVENTURE OF IRON PUSSY

FAVORITE SUPPORTING ACTRESS
JADA PINKETT-SMITH—COLLATERAL

FAVORITE SUPPORTING
ACTOR RON ELDARD—HOUSE OF SAND AND FOG

FAVORITE ANIMATION
FOR YOU—HEIDI KOCEVAR

FAVORITE DOCUMENTARY
MY FIRST BOYFRIEND—ISSARA MANEEWAT

FAVORITE CINEMATOGRAPHY
BIRTH OF THE SEANEMA

FAVORITE MUSIC AND SONGS
THE ADVENTURE OF IRON PUSSY

FAVORITE EDITING
LOVE—TRACEY MOFFATT

FAVORITE OPENING
WATER FROM MARS (MILLA DELANEY)

FAVORITE ENDING
DOWN THE RIVER

Monday, December 06, 2004

LIFE AND NOTHING BUT

หนังเกี่ยวกับผลกระทบของสงครามที่ดิฉันชอบมากๆ รวมถึงเรื่อง

1.LIFE AND NOTHING BUT (1989, BERTRAND TAVERNIER) A+ หนึ่งในหนังที่ดิฉันชอบที่สุดในชีวิต หนังเรื่องนี้ใช้ฉากหลังเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ในฝรั่งเศส โดยมี SABINE AZEMA รับบทเป็นหญิงวัยกลางคนที่ออกติดตามหาสามีที่หายสาบสูญไปในช่วงสงคราม และในระหว่างการค้นหานี้ เธอก็ได้รู้จักกับหญิงสาวอีกคนที่ออกติดตามหาชายคนรักที่หายสาบสูญไปเช่นกัน

ดิฉันเดาว่า LIFE AND NOTHING BUT อาจจะมีบางอย่างพอนำมาเทียบเคียงได้กับ A VERY LONG ENGAGEMENT (2003, JEAN-PIERRE JEUNET) ที่นำแสดงโดย AUDREY TAUTOU แต่ดิฉันก็เดาอีกเช่นกันว่า A VERY LONG ENGAGEMENT น่าจะสร้างความประทับใจในรูปแบบที่แตกต่างไปจาก LIFE AND NOTHING BUT เพราะ JEUNET น่าจะทำหนังที่ดูสนุกตื่นตา แต่ไม่รู้ว่าจะทำหนังที่ซาบซึ้งกินใจดูแล้วรู้สึกอยากสลายตัวไปกับพื้นปฐพีอย่าง LIFE AND NOTHING BUT ได้หรือเปล่า

SABINE AZEMA ท่าทางจะเหมาะกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เพราะต่อมาเธอก็เล่นหนังเรื่อง THE OFFICER’S WARD (FRANCOIS DUPEYRON, A-) ที่พูดถึงผลกระทบอันเลวร้ายของสงครามเช่นกัน

2.THE LAST HOLE (1981, HERBERT ACHTERNBUSCH) A+
หนังที่ฮามากๆและเจ็บปวดมากๆ หนังเล่าถึงชายเยอรมันคนหนึ่งที่รู้สึกเสียใจอย่างสุดแสนคณานับกับการตายของชาวยิว 6 ล้านคนในช่วง WWII ดังนั้นเขาก็เลยพยายามจะดื่มเหล้าให้ครบ 6 ล้านแก้วเพื่อไว้อาลัยให้กับชาวยิวเหล่านั้น ฉากเด็ดในหนังเรื่องนี้มีหลายฉาก ซึ่งรวมถึงฉากที่ตัวละครนั่งรถไฟ แล้วอยู่ดีๆก็มียักษ์ลอยผ่านหน้าต่างรถไฟไปโดยไม่มีสาเหตุใดๆทั้งสิ้น และฉากนางเอกปะทะกับแม่บ้านสมองทึบหน้าตาบรมโง่ที่สั่งสอนเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักหลาบจำที่เชิงภูเขาไฟสตรอมโบลี

จำไม่ได้ว่าเป็นหนังเรื่อง THE LAST HOLE หรือหนังเรื่อง HEAL HITLER! (1986, HERBERT ACHTERNBUSCH, A+) กันแน่ ที่ตัวละครในหนังจะหมกมุ่นกับคำถามคาใจไม่รู้ลืมที่ว่า ทำไมนาซีถึงเอาศพชาวยิว 6 ล้านคนมาทำปุ๋ย แต่ไม่ยักเอาศพชาวรัสเซีย 20 ล้านคนที่ถูกนาซีฆ่าตายในช่วง WWII มาทำปุ๋ยบ้าง

3.MURIEL, OR THE TIME OF RETURN (1963, ALAIN RESNAIS) A+

4.ARARAT (ATOM EGOYAN) A+

5.CARLA’S SONG (KEN LOACH) A+

6.LANDSCAPE AFTER A BATTLE (1970, ANDRZEJ WAJDA) A+

7.SOPHIE’S CHOICE (1982, ALAN J PAKULA) A+ สร้างจากนิยายของวิลเลียม สไตรอน

8.ALMOST PEACEFUL (2002, MICHEL DEVILLE) A+ เจอหนังสือที่พูดถึงหนังของ MICHEL DEVILLE ในห้องสมุด Alliance ด้วย แต่น่าเสียดายที่เป็นหนังสือภาษาฝรั่งเศส

9.LESSONS IN DARKNESS (1992, WERNER HERZOG) A+

10.GRAVES OF THE FIREFLIES (1988, ISAO TAKAHATA) A+/A

11.THE MURDERERS ARE AMONG US (1946, WOLFGANG STAUDTE) A-

12.REGRET TO INFORM (1998, BARBARA SONNEBORN) A-

13.A SELF-MADE HERO (1995, JACQUES AUDIARD) A- นำแสดงโดย MATHIE KASSOVITZ ในบทของหนุ่มหล่อที่แอบอ้างว่าตัวเองเป็นวีรบุรุษสงคราม

14.RHAPSODY IN AUGUST (1990, AKIRA KUROSAWA) B+/B

ส่วนเพลงเกี่ยวกับสงครามที่ชอบมากคือเพลง ARMY DREAMERS ของ KATE BUSH http://www.sing365.com/music/lyric.nsf/Army-dreamers-lyrics-Kate-Bush/0AAD43591AD3DCCA482569A0002F8392

หนังเกี่ยวกับสงครามที่อยากดูมากๆ คือหนังยาว 4 ชั่วโมงเรื่อง THE UNDECLARED WAR (1992, BERTRAND TAVERNIER)

หนังเกี่ยวกับทหารที่อยากดูมากๆคือภาพยนตร์ความยาว 5 ชั่วโมงเรื่อง Spiritual Voices ที่กำกับโดยอเล็กซานเดอร์ โซคูรอฟ และมีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตของทหารรัสเซียที่เฝ้าพรมแดนทาจิกิสถาน-อัฟกานิสถานในปี 1994

FOTOGRAF BY KAZIM OZ

หนังเกี่ยวกับสงครามและทหารที่ดิฉันชอบมาก รวมถึงหนังดังต่อไปนี้

1.FOTOGRAF (KAZIM OZ) A++++++ เรื่องของชายหนุ่มสองคนที่น่าจะได้เป็นเพื่อนรักกัน แต่กลับมาต้องมารบราฆ่าฟันกัน เพราะคนหนึ่งเป็นชาวตุรกี ส่วนอีกคนเป็นชาวเคิร์ด เนื้อหาของหนังเรื่องนี้สอดคล้องกับบทกลอน THE MAN HE KILLED ของ THOMAS HARDY อย่างมาก http://www.bartleby.com/103/3.html

2.COME AND SEE (1985, ELEM KLIMOV) A+

3.THE THIN RED LINE A+

4.CASUALTIES OF WAR (1989, BRIAN DE PALMA) A+ เขียนบทโดย DAVID RABE ซึ่งเคยเขียนบท STREAMERS มาก่อน

5.DON’T CRY, NANKING (1995, WU ZINIU) A+

6.WAR AND REMEMBRANCE (1989, DAN CURTIS) A+ http://www.geocities.com/warmoviedatabase/mwarrem.htm

7.STREAMERS (1983, ROBERT ALTMAN) A+ หนังเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับทหารเกย์ด้วย

8.NIGHT AND FOG (1955, ALAIN RESNAIS) A+ http://www.filmref.com/directors/dirpages/resnais.html

9.MY MOTHER’S COURAGE (1995, MICHAEL VERHOEVEN) A+

10.THE CRANES ARE FLYING (1957, MIKHAIL KALATOZOV) A+

11. 100 DAYS BEFORE THE COMMAND (1990, KHUSEIN ERKENOV) A+

12.BENT (1996, SEAN MATHIAS) A+

13.DEBAJO DEL MUNDO (1986, BEDA DOCAMPO FEIJOO + JUAN BAUTISTA STAGNARO) A+

14.THREE KINGS (1999, DAVID O RUSSELL) A+

15.SILMIDO (2003, WOO-SUK KANG) A

16.TIGERLAND (2000, JOEL SCUMACHER) A

17.KIPPUR (2000, AMOS GITAI) A-

18.LA GRANDE ILLUSION (1937, JEAN RENOIR) A-

19.FORBIDDEN GAMES (1952, RENE CLEMENT) A-

20.ONE STEP ON A MINE, IT’S ALL OVER (1999, SHO IGARASHI) A- นำแสดงโดย TADANOBU ASANO http://www.asianfilms.org/japan/jirai.html

REZA PARSA

copy จาก Screenout) หนังอิหร่านที่ดิฉันชอบ รวมถึงเรื่อง
1.TASTE OF CHERRY (1997, ABBAS KIAROSTAMI) A+
2.UNDER THE MOONLIGHT (2001, REZA MIR KARIMI) A+
3.UNFINISHED SONG (2001, MAZIAR MIRI) A+
4.GABBEH (1996, MOHSEN MAKHMALBAF) A+/A
5.WILLOW AND WIND (1999, MOHAMMAD ALI TALIBI) A
6.CHILDREN OF HEAVEN (1997, MAJID MAJIDI) A เดาว่าคุณแฟรงเกนสไตน์น่าจะชอบหนังเรื่องนี้มากๆ
7.FRIENDLY PERSUASION (2000, JAMSHEED AKRAMI) B+

ผู้กำกับชาวอิหร่านคนนึงที่ดิฉันชอบสุดๆก็คือ REZA PARSA ค่ะ แต่เขาเป็นผู้กำกับที่อพยพไปทำหนังนอกอิหร่าน (เหมือนกับ SOHRAB SHAHID SALESS และ AMIR NADERI) ดิฉันเคยดูหนังเรื่อง BEFORE THE STORM ที่ REZA PARSA กำกับในสวีเดน และหนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังที่ดิฉันชอบที่สุดในชีวิต

ผู้กำกับชาวอิหร่านที่ดิฉันอยากดูหนังของเขามากๆรวมถึง
1. SHIRIN NESHAT สุดยอดผู้กำกับหญิงชาวอิหร่าน
http://www.culture.pl/en/culture/artykuly/wy_wy_neshat_csw
2.BAHRAM BEIZAI เทศกาลหนังเวียนนาเคยจัดงาน retrospective ให้ผู้กำกับคนนี้ในปี 1995 http://www.imdb.com/name/nm0067323/
3.MASUD KIMIAI
http://www.imdb.com/name/nm0453953/
http://www.farhangsara.com/kimiai.htm
4.AMIR NADERI

SOHRAB SHAHID SALESS

(ก็อปปี้มาจาก SCREENOUT)
SOHRAB SHAHID SALESS สุดยอดผู้กำกับหนังอิหร่าน

พอดีดิฉันค้นเจอข้อมูลของ SOHRAB SHAHID SALESS ในนิตยสาร FILM COMMENT ค่ะ รู้สึกว่าน่าสนใจมากเลย เพราะเขาบอกว่าหนังของ SOHRAB SHAHID SALESS มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1.ตัวละครของเขาจะไม่รอดพ้นจากความทุกข์
2.ไม่มี POSITIVE ROLE MODELS ในหนังของเขา
3.ไม่มี “ความรู้สึกดีๆ” ในหนังของเขา
4.ไม่มีการปลอบโยนผู้ชมในหนังของเขา
5.ตัวละครในหนังของเขาไม่มี “ความเมตตา”, “ความรัก” และ “ความต้องการจะทำให้ชีวิตดีขึ้น” และสาเหตุที่ตัวละครในหนังของเขาเป็นเช่นนี้ เพราะเขาต้องการจะให้ผู้ชมทำตรงข้ามกับตัวละคร เขาต้องการแสดงให้ผู้ชมเห็นว่าถ้าหากผู้ชมขาดความเมตตา, ความรัก และความต้องการจะปรับปรุงชีวิตตัวเอง โลกและสังคมจะเป็นเช่นใด
6.หนังเยี่ยมๆของเขามีความยาวเกินกว่า 3 ชั่วโมง
7.หนังของเขาเน้นการถ่ายลองเทค
8.การแสดงในหนังของเขาเป็นแบบ NONACTING
9.หนังของเขาเต็มไปด้วย EMPTY SPACES และ EMPTY EXISTENCE
10.หนังของเขาเต็มไปด้วย AGGRESSIVE SILENCE
11.สุดยอดหนังของเขาคือเรื่อง ORDER (1980) ซึ่งเป็นหนังที่พูดถึง LONELINESS คุณสมบัติสำคัญของหนังเรื่องนี้ก็คือ
11.1 หนังเรื่องนี้แทบไม่มีภาพ (images)
11.2 หนังเรื่องนี้แทบไม่มีความเคลื่อนไหว
11.3หนังเรื่องนี้แทบไม่มีบทสนทนา
11.4 หนังเรื่องนี้แทบไม่มีมนุษย์ปรากฏตัวอยู่
12. SOHRAB SHAHID SALESS เคยกำกับหนังไตรภาคชุด LONELINESS ด้วย ซึ่งประกอบด้วยเรื่อง
12.1 FAR FROM HOME (1975)
12.2 COMING OF AGE (1975) เกี่ยวกับโสเภณีและลูกชาย
12.3 DIARY OF A LOVER (1976)
13.เขาเคยนำบทประพันธ์ของอังตวน เชคอฟมาสร้างเป็นหนังเรื่อง THE WILLOW (1984) (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังของเชคอฟได้ในหนังสือ “บุ๊คไวรัส 1”)
http://www.imdb.com/name/nm0758137/

IF ONLY PEGGY SUE GOT MARRIED

ข้อความข้างล่างก็อปปี้มาจากเว็บบอร์ด Screenout)

------เพิ่งได้อ่านบทวิจารณ์ 10 THINGS I HATE ABOUT YOU ใน TIME OUT FILM GUIDE รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ได้รับคำชมสูงกว่าหนังวัยรุ่นโดยทั่วๆไปมาก ก็เลยเสียดายที่ยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้อยากดูหนังเรื่องนี้ก็เป็นเพราะว่าหนังเรื่องนี้กำกับโดย GIL JUNGER และดิฉันเพิ่งดูหนังเรื่อง IF ONLY (A-) ที่กำกับโดย GIL JUNGER ไป ซึ่งเป็นหนังที่ประทับใจมากๆเรื่องนึง

หนังเรื่อง IF ONLY เป็นหนังน้ำเน่าสูตรสำเร็จที่มีบางอย่างทำให้นึกถึงหนังเรื่อง CROSSROADS (C-) ที่นำแสดงโดยบริทนีย์ หอก เพราะหนังเรื่อง IF ONLY มีการยัดเยียดขายผลงานเพลงของ JENNIFER LOVE HEWITT เข้ามาด้วย ในขณะที่ CROSSROADS ก็พยายามขายเพลง I’M NOT A GIRL, NOT YET A WOMAN ของบริทนีย์ หอกเหมือนกัน แต่ถ้าหากเทียบ If Only กับ CROSSROADS แล้ว ดิฉันรู้สึกว่า IF ONLY เป็นอะไรที่ลงตัวและเข้าท่ากว่ามากๆ ถึงแม้มันจะน้ำเน่า ถึงแม้มันจะสูตรสำเร็จ แต่มันก็มีเสน่ห์และความซาบซึ้งในแบบของมันเอง ดาราในหนังก็ได้แสดงความสามารถในระดับที่น่าพอใจ IF ONLY ถือเป็นหนังที่ประทับใจเกินคาดเรื่องนึงค่ะ

ในนิตยสาร FLICKS เล่มใหม่ คุณมโนธรรม เทียมเทียบรัตน์ เขียนวิจารณ์ IF ONLY กับ THE FINAL CUT ด้วยค่ะ

-----สำหรับกั๊วะฟู่เฉิงนั้น ดิฉันเคยชอบเขามากๆจาก “ตายกี่ชาติ ก็ขาดเธอไม่ได้” ค่ะ หนังเรื่องนี้มีชื่อเรื่องภาษาอังกฤษว่า SAVIOUR OF THE SOUL (1992, DAVID LAI + COREY YUEN) ในเรื่องนี้ กั๊วะฟู่เฉิงรับบทเป็นผู้ร้ายที่เท่สุดๆ และเขาต้องต่อสู้กับเหมยเยี่ยนฟางเพื่อพยายามจะฆ่าเธอให้ได้ ดิฉันชอบการบู๊สะบั้นหั่นแหลกของเหมยเยี่ยนฟางในเรื่องนี้มากๆ และชอบหลิวเจียหลิงในเรื่องนี้ด้วย เพราะในเรื่องนี้เธอรับบทเป็นเจ้าแม่ที่มีอิทธิฤทธิ์สูงเหมือนกัน http://www.imdb.com/title/tt0104322/

หนังอีกเรื่องนึงที่ทำให้รู้สึกว่ากั๊วะฟู่เฉิงน่ารับประทานเป็นอาหารมากๆก็คือเรื่อง ANNA MAGDALENA (1998, CHUNG-MAN HAI, B+) ค่ะ เพราะในเรื่องนี้ เขาเล่นประกบกับทาเคชิ คาเนชิโร่ด้วย แต่ดิฉันรู้สึกว่าทาเคชิค่อนข้างผอมและสวยไปหน่อย ในขณะที่กั๊วะฟู่เฉิงจะดูเนื้อแน่นและดูแมนกว่า http://www.imdb.com/title/tt0159251/

-----ได้ดูหนัง 5 เรื่องค่ะ
1.A HOME AT THE END OF THE WORLD (2004, MICHAEL MAYER) A+
2. 8 WOMEN (FRANCOIS OZON) A
3.THE INCREDIBLES (2004, BRAD BIRD) A
4.THE RAINBOW SEEKER (1995, YOJI YAMADA) A-
5.กั๊กกะกาวน์ (B+/B)

-----JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME คือหนังเกาหลีที่ชอบที่สุดเรื่องนึงในปีนี้ค่ะ ชอบพอๆกับ UNINVITED (2003, LEE SU-YEON, A+) ตัดสินได้ยากว่าชอบเรื่องไหนมากกว่ากัน เพราะทั้งสองเรื่องนี้มันก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงด้วย ดู JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME แล้ว ทำให้นึกถึงความเป็นธรรมชาติของหนังเรื่อง PAS DE SCANDALE (1999, BENOIT JACQUOT, A+) ค่ะ หนังสองเรื่องนี้ไม่ได้มีอะไรเหมือนกันเลย แต่ดูหนังสองเรื่องนี้แล้วรู้สึกว่าตัวละครในหนังสองเรื่องนี้มันเป็นมากกว่าตัวละคร มันเหมือนกับว่าตัวละครมันมีชีวิตจริงๆ
ดิฉันเคยเขียนถึง PAS DE SCANDALE ไว้ที่นี่ด้วยค่ะ
http://www.imdb.com/title/tt0209223/usercomments

ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม แต่พอดูพระเอก JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME แล้ว ทำให้นึกไปถึงตัวละครในหนังของ MAURICE PIALAT ด้วยเหมือนกัน เพราะพระเอกของ JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME เหมือนกับมีความขึ้งเคียด คับข้องใจอยู่ภายใน แต่เขาไม่ได้เกรี้ยวกราดอย่างรุนแรง เขาระเบิดอารมณ์ออกมาบ้างในระดับที่พอประมาณเหมือนกับคนทั่วๆไป ตัวละครในหนังเรื่องอื่นๆมักจะแสดงอารมณ์ออกมาอย่างชัดเจนราวกับเล่นละครเวที แต่ตัวละครใน JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME หรืออาจจะรวมไปถึงตัวละครใน A HOME AT THE END OF THE WORLD ค่อนข้างเก็บอารมณ์ในแบบที่ดิฉันชอบมาก พวกเขาเต็มไปด้วยความรู้สึกที่รุนแรงอยู่ภายในใจ แต่การแสดงออกทางสีหน้าหรือทางคำพูดของพวกเขาอยู่ในระดับที่พอเหมาะ หรืออยู่ในแบบที่ดิฉันชอบมาก

จริงๆแล้ว ดิฉันชอบ THE HOURS (A++++++) มากกว่า A HOME AT THE END OF THE WORLD (A+) ประมาณ 5 เท่าค่ะ แต่จุดนึงที่ชอบมากใน A HOME ก็คือการที่หนังเรื่องนี้เลือกใช้วิธีการนำเสนอที่แตกต่างจาก THE HOURS อย่างสิ้นเชิง แต่ถึงแม้วิธีการนำเสนอจะแตกต่างกัน แต่กลับทำให้ดิฉันประทับใจได้มากๆเหมือนกัน ดูหนังเรื่อง A HOME แล้ว ทำให้ดิฉันเข้าใจเพื่อนบางคนค่ะว่าทำไมเขาถึงบอกว่า THE HOURS เป็นหนังที่ “ฟูมฟายเกินไป จงใจเร้าอารมณ์มากเกินไป จงใจบีบคั้นอารมณ์คนดูมากเกินไป” A HOME ดูเหมือนจะแก้ไขข้อเสียของ THE HOURS ได้ในแบบที่ดิฉันชอบมากๆ

Sunday, November 28, 2004

KENNY DOPE GONZALEZ AND JUREK BECKER

วันนี้เพิ่งรู้ข่าวที่ทำให้ดีใจและเสียใจในเวลาเดียวกันค่ะ เพราะเพิ่งรู้ว่ารายการวิทยุ HUTCH UNIVERSAL SOUND ทางช่อง 102.5 FM กำลังจะเลิกจัดในช่วงสิ้นปีนี้ ก็เลยรู้สึกเสียใจมากๆ ถึงแม้ระยะหลังไม่ค่อยได้ฟังวิทยุแล้วก็ตาม

แต่ข่าวที่ดีใจก็คือการที่ดีเจในรายการนั้นบอกว่าดีเจ KENNY DOPE GONZALEZ ซึ่งเป็นหนึ่งในคู่ดูโอของ MASTERS AT WORK อาจจะมาเปิดแผ่นในคลับแห่งหนึ่งในกรุงเทพในเร็วๆนี้ค่ะ ดิฉันคงจะไม่ได้ไปดู แต่รู้สึกดีใจแทนคนที่จะได้มีโอกาสไปรับฟังเสียงดนตรีที่ KENNY DOPE GONZALEZ จะคัดสรรมาให้

ดีเจบอกว่า KENNY DOPE GONZALEZ ได้ค่าตัวในการมาเปิดแผ่นประมาณ 1 ล้านบาทต่อ 3 ชม. ดิฉันลองคำนวณคร่าวๆแล้วก็ทำให้สรุปได้ว่า KENNY DOPE GONZALEZ ทำงาน 1 ชั่วโมง ได้เงินมากกว่าดิฉันทำงานตลอดทั้งปีซะอีก

ตอนนี้เพลงที่ชอบมากๆคือเพลง SEVERAL SPECIES OF SMALL FURRY ANIMALS GATHERED TOGETHER IN A CAVE AND GROOVING WITH A PICT ในอัลบัมชุด UMMAGUMMA ของ PINK FLOYD ค่ะ เป็นเพลงที่ฟังแล้วทำให้นึกถึงเพลงของ THE FUTURE SOUND OF LONDON หรือวงอะไรทำนองนี้ที่ออกมาในทศวรรษ 1990 ถ้าไม่บอกชื่อวง ดิฉันคงไม่นึกว่าเป็นเพลงที่ออกมาในปี 1969

เพิ่งได้ดู MON ONCLE (1958, JACQUES TATI, A) ไปเมื่อวานนี้ สรุปว่าตอนนี้ได้ดูหนังของ TATI ไปแล้ว 4 เรื่อง ซึ่งรวมถึงเรื่อง PARADE (1974, A-), TRAFFIC (1971, A) และ MR.HULOT’S HOLIDAY (1954, A)

ส่วนหนังของ JOHNNY TO ที่เคยดูมีดังนี้

1.THE HEROIC TRIO (1993, A+)
2.BREAKING NEWS (2004, A)
3.HELP!!! (2000, A-)
4.THROWDOWN (2004, A-)
5.WU YEN (2001, B+)
6.TURN LEFT TURN RIGHT (2003, B)
7.HEROIC TRIO 2: EXECUTIONERS (1993, B)
8.NEEDING YOU (2000, B) (Raymond Wong Ho Yin น่ารักมาก)
http://www.lovehkfilm.com/people/wong_raymond2.htm
9.LOVE ON A DIET (2001, B)

วันนี้ไปที่สถาบันเกอเธ่ เจอเขานำหนังสือในห้องสมุดมาขาย และมีหนังสือแปลภาษาอังกฤษของนักประพันธ์ชื่อดังหลายคนมาขายในราคาเล่มละประมาณ 10 บาทด้วย ถูกจริงๆ หนังสือที่น่าสนใจที่เขามาขายในงานนี้รวมถึงหนังสือแปลภาษาอังกฤษของ

1.GUNTER GRASS (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับนักเขียนคนนี้ได้ใน “บุ๊คไวรัส เล่ม1”)

2.BERTOLT BRECHT (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับนักเขียนคนนี้ได้ใน “บุ๊คไวรัส เล่ม1”)

3.FRIEDRICH NIETZSCHE

4.ARTHUR SCHNITZLER
http://www.imdb.com/name/nm0774217/

5.ROLF HOCHHUTH
http://www.imdb.com/name/nm0387827/

6.GERHART HAUPTMANN
http://nobelprize.org/literature/laureates/1912/hauptmann-autobio.html

7.PETER HANDKE (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับนักเขียนคนนี้ได้ใน “บุ๊คไวรัส เล่ม1”)

8.MAX FRISCH
http://www.fortunecity.de/lindenpark/goethe/1/frischebio.htm

9.JUREK BECKER
http://www.imdb.com/name/nm0065475/
หนังของเขา 4 เรื่องเพิ่งเข้ามาฉายในไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้แก่เรื่อง JACOB THE LIAR (1975, FRANK BEYER, A); THE HIDING PLACE (1977, FRANK BEYER, A-); DAVID (1979, PETER LILIENTHAL, A) และ JACOB THE LIAR (1999, PETER KASSOVITZ, B+)

10.STEFAN ZWEIG
http://www.imdb.com/name/nm0959003/

11.KAZUO ISHIGURO (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับนักเขียนคนนี้ได้ใน “บุ๊คไวรัส เล่ม1”)

12.NICOLAS BORN (1937-1979)
http://www.imdb.com/name/nm0959003/

13.ARNO SCHMIDT
http://www.complete-review.com/authors/schmarn.htm


รายชื่อนักเขียนข้างบนคือรายชื่อของคนที่มีผลงานวางขายในภาษาอังกฤษค่ะ นอกจากนี้ ยังมีหนังสือภาษาเยอรมันอีกหลายเล่มที่วางขายในงานในราคาเล่มละ 10 บาทเช่นกัน ซึ่งรวมถึงผลงานของ INGEBORG BACHMAN (อ่านเรื่องราวของเธอได้ใน Bioscope เล่มเดือนพ.ย.)
บางครั้งดิฉันก็เจอหนังสือเหล่านี้วางขายในห้องสมุดเกอเธ่ในวันธรรมดาด้วย

JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME (A+)

ขอบคุณค่ะสำหรับข่าวหนังของ PETE TONG รู้สึกว่าเมื่อราว 10 ปีก่อน ช่อง 95.5 FM เคยเอาเทปรายการของ PETE TONG มาเปิดออกอากาศทุกคืนวันเสาร์หรืออะไรทำนองนี้ เป็นรายการที่ฟังแล้วมีความสุขมากๆ นอกจาก PETE TONG แล้ว ดีเจที่ดิฉันชอบมากยังรวมถึง-- (ดีเจที่ดิฉันชอบมีแต่ดีเจรุ่นโบราณ โบราณ แก่หงำเหงือก เต้นทีฟันปลอมหลุด น้ำหมากกระเด็นค่ะ เพราะดิฉันไม่ได้ติดตามวงการเพลงแดนซ์มาประมาณ 10 ปีแล้ว)

1.FRANKIE KNUCKLES

2..DAVID MORALES (ดิฉันอยากเป็นภรรยาของเขาค่ะ)

3.MASTERS AT WORK

4.ROGER S. หรือ ROGER SANCHEZ

5.DJ TIESTO

6.DANNY TENAGLIA

7.PAUL OAKENFOLD

8.PAUL VAN DYK (หล่อจังเลย หล่อจังเลย) อัลบัมชุด The Politics of Dancing นี้มีเทปลิขสิทธิ์ออกขายในไทยด้วย

9.TIMO MAAS

10.FERRY CORSTEN หรือ SYSTEM F หรือ GOURYELLA


เห็นคุยถึงนักร้องตาบอด ก็เลยนึกถึงนักดนตรีหญิงคนหนึ่งที่ดิฉันเคยได้ยินข่าวว่าเธอหูหนวกค่ะ นั่นก็คือ EVELYN GLENNIE ที่เล่นเพอร์คัสชันมานานแล้ว และเคยมีเทปลิขสิทธิ์ของเธอขายในไทยด้วย ไม่รู้เหมือนกันว่าเธอเล่นดนตรีได้ยังไง แต่รู้สึกว่าตัว Evelyn Glennie เองไม่ต้องการให้คนพูดถึงความหูหนวกของเธอ

อัลบัม Greatest Hits ของ Evelyn Glennie บรรจุเพลง MY SPINE ที่ร่วมงานกับบียอร์คไว้ด้วย

ชอบ THE DAY I BECAME A WOMAN ตอนที่ 2 มากเหมือนกันค่ะ เคยดู THE GIRL IN SNEAKERS (B+) เหมือนกันค่ะ แต่จำรายละเอียดอะไรไม่ค่อยได้แล้ว นอกจากตอนต้นกับตอนจบ ดีมากค่ะที่คุณอ้วนช่วยเตือนความจำเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้และทำให้อยากดูหนังเรื่องนี้อีกครั้ง เ

คยดูหนังของ RASUL SADRAMELI อีกเรื่องนึง ซึ่งก็คือ I, TARENEH, AM FIFTEEN (A-) ชอบชื่อหนังเรื่องนี้มากเลยค่ะ ตัวละครผู้หญิงในหนังเรื่องนี้ก็แตกต่างจากในเรื่องอื่นๆเหมือนกัน เพราะในเรื่องนี้นางเอกเป็นเด็กหญิงอายุแค่ 15-16 ปีที่ตั้งครรภ์และมีลูก

หนังเกี่ยวกับผู้หญิงอิหร่านที่ดิฉันชอบสุดๆ รวมถึงเรื่อง THE CIRCLE (A+) กับหนังสารคดีเรื่อง OUR TIMES (2002, RAKHSHAN BANI ETEMAD, A+++++++) ด้วยค่ะ โดยเฉพาะเรื่อง OUR TIMES นี่จบได้โดนใจมากๆ

ส่วนหนังเกี่ยวกับผู้หญิงอิหร่านที่อยากดูสุดๆแต่ยังไม่ได้ดู ก็คือเรื่อง THE EXAM (2002, NASSER REFAIE) ค่ะ เรื่อง DAUGHTERS OF THE SUN (2000, MARYAM SHAHRIAR) ก็อยากดูเหมือนกัน

เคยซื้อเทป MICHAEL BALL ชุดนึงด้วยค่ะ นั่นก็คือชุด MICHAEL BALL ในปี 1992 ชอบเพลง BEAUTIFUL HEARTACHE ในอัลบัมชุดนั้นมากๆ

พูดถึงความหลอกหลอนจากสงคราม ดิฉันเคยรู้จักกับฝรั่งที่เป็นทหารผ่านศึกเวียดนามคนนึงค่ะ เขายังมีอาการกระตุกทุกครั้งเวลาได้ยินเสียงคล้ายๆเสียงปืน มีวันนึงดิฉันอยู่กับเขา เขานอนหลับอยู่ อยู่ดีๆเขาก็ลุกพรวดพราดขึ้นมาด้วยอาการตกใจ เพราะเขาได้ยินเสียงคล้ายๆเสียงปืนจากวัดที่จัดงานศพอยู่ใกล้ๆ ตัวดิฉันเองแทบไม่ได้สำเหนียกถึงเสียงนั้นแม้แต่น้อย แต่เขาซึ่งนอนหลับอยู่กลับมีอาการประสาทไวมากกับเสียงพวกนี้ ก็เลยทำให้ได้รู้ว่าสงครามครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อจิตประสาทของเขาอย่างรุนแรงจริงๆ

พูดถึงความหลอกหลอนจากความทุกข์ทรมานในอดีต ดิฉันก็นึกถึงแม่ของเพื่อนคนนึงค่ะ เพื่อนดิฉันเล่าให้ฟังว่าแม่ของเขาอายุ 40-50 ปีแล้ว แต่บางคืนยังฝันร้ายอยู่เลยว่า “ยังทำรายงานไม่เสร็จ” เพราะความทุกข์ทรมานของการเรียนหนักในสมัยมหาลัยยังคงติดตามหลอกหลอนแม่เพื่อนถึงแม้เธอจะจบมหาลัยและมีผัวมีลูกจนลูกโตไปแล้ว

พูดถึงหนังเกี่ยวกับทหารที่กลับจากสงคราม มีอยู่เรื่องนึงน่าดูมากเลยค่ะ เป็นหนังรัสเซียชื่อ MY STEP-BROTHER FRANKENSTEIN ที่ยังไม่มีเข้ามาขายในไทยในตอนนี้ หนังพูดถึงทหารพิการที่กลับจากสงครามเชชเนียและมีอาการทางจิตที่น่าสงสารมาก ส่วนที่ดิฉันได้ดูเอง มีอยู่เรื่องนึงที่ชอบมากค่ะ นั่นก็คือเรื่อง MARIA’S LOVERS (1984, ANDREI KONCHALOVSKY, A-) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับทหารหนุ่มน่ารัก (John Savage) ที่กลับจากสงคราม แต่ปรากฏว่าเขามีอาการทางจิตที่ทำให้เขาไม่สามารถมีเซ็กส์กับภรรยาตัวเอง (นาตาชา คินสกี้) ซึ่งเป็นสาวสวยได้ แต่เขากลับมีเซ็กส์กับหญิงวัยกลางคนที่เข้ามายั่วยวนเขาได้ จริงๆแล้วดิฉันก็จำไม่ได้เหมือนกันว่าที่พระเอกเป็นเช่นนี้เป็นเพราะสงครามหรือเป็นเพราะอะไรกันแน่

ส่วนเพลงเกี่ยวกับผลกระทบจากสงครามที่มีต่อทหารที่ดิฉันชอบสุดๆเพลงนึงก็คือ CAMBODIA ของ KIM WILDE ค่ะ เพลงนี้มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับทหารคนนึงที่ประจำการในประเทศไทย และถูกส่งไปปฏิบัติภารกิจบางอย่างในกัมพูชา ภารกิจนั้นทำให้ทหารคนนี้มีอาการผิดปกติบางอย่างที่ทำให้ภรรยาเขาสงสัย ภารกิจนั้นอาจเป็นภารกิจชั่วร้ายที่มีผลต่อจิตสำนึกของทหารคนนั้นอย่างรุนแรงมาก

อีกเพลงนึงที่ดิฉันชอบมากๆคือ summer rain ของ BELINDA CARLISLE ค่ะ เพลงนี้เกี่ยวกับหญิงสาวที่สูญเสียแฟนหนุ่มไปในสงคราม ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชอบเพลงนี้มากเพราะทหารในมิวสิควิดีโอเพลงนี้หล่อมาก เวลาดิฉันฟังเพลงนี้ทีไรดิฉันก็เลยรู้สึกอยากร้องไห้เพราะรู้สึกเหมือนกับว่าตัวเองได้สูญเสียแฟนหนุ่มที่หล่อมากๆไปอย่างไม่มีวันได้คืนมา

สรุปอันดับหนังโรงที่ได้ดูในช่วง 2 วันนี้

1.JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME (2002, PARK CHAN-OK, A++++++++++) ดูที่ลิโด

2.VAMPIRE HUNTER D: BLOODLUST (2000, YOSHIAKI KAWAJIRI, A+) ดูที่ HOUSE RCA

3.ALEXANDER (2004, OLIVER STONE, A-)

4.THROWDOWN (2004, JOHNNY TO, A-) ดูที่เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน กั๊วะฟู่เฉิงในเรื่องนี้หล่อน่ารักตรงสเปคดิฉันมากๆ เขายังหล่อเหมือนกับเมื่อ 10-15 ปีที่แล้ว แต่กู่เทียนเล่อเรื่องนี้ดูโทรมมาก หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับกีฬา JUDO ค่ะ ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้อยากเล่นกีฬา “จู+โด่” กับกั๊วะฟู่เฉิงมากๆเลยค่ะ

5.IF ONLY (GIL JUNGER, A-)

6.PING PONG BATH STATION (1998, GEN YAMAKAWA, B+) YOSUKE KUBOZUKA พระเอกหนุ่มจากหนังเรื่อง PING PONG (2002, FUMIHIKO SORI, A-) มาร่วมแสดงหนังเรื่องนี้ด้วย นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังมีตัวประกอบเป็น TRANSSEXUAL ด้วยค่ะ

FAVORITE ACTOR
PARK HAE-IL—JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME

FAVORITE ACTRESS
BAE CHONG-OK—JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME

FAVORITE SUPPORTING ACTOR
MUN-SEONG KUN—JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME

FAVORITE MUSIC
JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME

FAVORITE ENDING
JEALOUSY IS MY MIDDLE NAME

A CHILD IN THE CROWD (GERARD BLAIN, A+)

NIKOLAJ COSTER-WALDAU ค่ะ เกิดวันที่ 27 ก.ค. 1970 เป็นชาวเดนมาร์ค

ผลงานการแสดงของเขาที่พอหาดูได้ในไทย

1.BLACK HAWK DOWN (2001, RIDLEY SCOTT, B+)
เรื่องนี้หนุ่มหล่อๆเยอะดีแต่แทบไม่ได้ขายความหล่อของดาราที่มาเล่นเลย ก็เลยทำให้ดิฉันผิดหวังเล็กน้อย อิอิอิ

2.ENIGMA (2001, MICHAEL APTED, A-)
เรื่องนี้น่าจะหาวีซีดีลิขสิทธิ์ดูได้ไม่ยากนัก ในหนังเรื่องนี้ นอกจากเราจะได้เห็นความหล่อของ NIKOLAJ COSTER-WALDAU แล้ว เรายังได้ชื่นชมความหล่อของ JEREMY NORTHAM และความน่ารักของ DOUGRAY SCOTT ด้วย

3.BENT (1997, SEAN MATHIAS, A+++++++++)
อันนี้เป็นหนังเกย์ที่อาจจะหาซื้อได้ตามร้านบางร้าน ในหนังเรื่องนี้ NIKOLAJ COSTER-WALDAU รับบทเป็นเกย์ค่ะ โดยมี CLIVE OWEN กับ RUPERT GRAVES มาร่วมแสดงเป็นเกย์ในเรื่องนี้ด้วย และมี JUDE LAW กับ PAUL BETTANY มารับบทเล็กๆ

ในเรื่อง WIMBLEDON ดิฉันชอบทั้งพระเอก, เพื่อนพระเอก, น้องชายพระเอก และก็ศัตรูของพระเอกค่ะ แต่ถ้าให้เลือกคนเดียว ดิฉันก็เลือกเพื่อนพระเอกค่ะ

บทน้องชายพระเอกแสดงโดย JAMES MCAVOY (เกิดปี 1979) หลายคนคงคุ้นหน้าคุ้นตาเขาเป็นอย่างดีเพราะเขาเคยเล่นหนังเรื่อง BRIGHT YOUNG THINGS (A+), THE POOL, REGENERATION (1997, GILLIES MACKINNON) รวมทั้งเล่นมินิซีรีส์เรื่อง CHILDREN OF DUNE และ BAND OF BROTHERS (รับบทเป็น Pvt. James Miller) ส่วนบทศัตรูพระเอกแสดงโดย AUSTIN NICHOLS (เกิดปี 1980) ก่อนหน้านี้เขาเคยเล่นหนังเรื่อง THE DAY AFTER TOMORROW (B-) และ HOLIDAYS IN THE SUN (C+)
ได้ลองเข้าไปอ่านข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่อง SYBIL (1976, DANIEL PETRIE) แล้วน่าสนใจมากๆเลยค่ะ เป็นหนังที่น่าดูมากๆเลย เพราะในเรื่องนี้ SALLY FIELD รับบทเป็นหญิงที่มี 16 บุคลิกภาพ และมีโจแอนน์ วูดเวิร์ดรับบทเป็นจิตแพทย์ (ก่อนหน้านี้โจแอนน์ วูดเวิร์ดเคยรับบทเป็นผู้หญิงที่มี 3 บุคลิกภาพมาแล้วในหนังเรื่อง THE THREE FACES OF EVE (1957, NUNNALLY JOHNSON)) และมีสุดหล่อ BRAD DAVIS มาร่วมเล่นหนังนี้ด้วย


ยังไม่ได้ดูเรื่อง DAS BOOT เลยค่ะ และก็นึกถึงหนังที่ทำให้เห็นใจฝ่ายเยอรมนี, ญี่ปุ่น หรือฝ่ายอักษะไม่ค่อยออกเหมือนกัน แต่รายชื่อหนังข้างล่างนี้อาจจะพอเข้าข่ายได้บ้าง เพราะหนังเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าประชาชนเยอรมันและอิตาลีบางคนก็ตกเป็นเหยื่อรัฐบาลของตัวเองในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเหมือนกัน ไม่ใช่ประชาชนเยอรมันหรืออิตาลีทุกคนที่เข้าข้างรัฐบาลของตัวเองอย่างเต็มที่ในการก่อสงคราม พวกเขาซวยที่เกิดมาในประเทศที่มีรัฐบาลเลวๆ

1.STALINGRAD (1993, JOSEPH VILSMAIER, A-/B+)

หนังสร้างโดยชาวเยอรมัน และเล่าถึงความลำบากยากแค้นแสนเข็ญที่ทหารเยอรมันต้องประสบขณะไปรบท่ามกลางฤดูหนาวในรัสเซีย หนังเรื่องนี้ไม่ได้เข้าข้างรัฐบาลนาซี แต่แสดงให้เห็นว่าทหารเยอรมันซึ่งไม่ได้เป็นคนออกนโยบายสงคราม ก็ประสบกับความทุกข์เข็ญจากการตัดสินใจของรัฐบาลนาซีเช่นกัน

2.TWIN SISTERS (2002, BEN SOMBOGAART, A-)

หนังเรื่องนี้ทำให้เห็นใจทั้งสองฝ่าย ทั้งฝ่ายประชาชนชาวเยอรมันในช่วงสงคราม และฝ่ายที่ไม่มีวันยอมให้อภัยชาวเยอรมันเพราะชาวเยอรมันฆ่าคนที่ตัวเองรัก

3.HITLER: A FILM FROM GERMANY (1978, HANS-JURGEN SYBERBERG, A+)

หนังความยาว 7 ชั่วโมงเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้ดิฉันรู้สึกเห็นใจฮิตเลอร์ แต่จุดหนึ่งที่ตัวละครในหนังเรื่องนี้ย้ำถามหลายครั้งก็คือว่าการที่ฮิตเลอร์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวมันเลวร้ายกว่าการที่ชาวสหรัฐอเมริกาฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอินเดียนแดงในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อย่างนั้นหรือ

4.CAPTAIN CORELLI’S MANDOLIN (2002, JOHN MADDEN, B)

หนังเรื่องนี้ไม่น่าพอใจนัก แต่จุดนึงที่น่าสนใจก็คือหนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นความน่าสงสารของทหารอิตาลีที่อยู่ในฝ่ายอักษะ เพราะตอนแรกพวกเขาต้องรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร แต่พอรัฐบาลอิตาลีเปลี่ยนมาเข้าข้างฝ่ายสัมพันธมิตร ทหารอิตาลีก็ได้รับคำสั่งให้รบกับทหารเยอรมันแทน สรุปว่าทหารอิตาลีซวยทั้งขึ้นทั้งล่อง

5.LIBERATORS TAKE LIBERTIES (1992, HELKE SANDER)
หนังความยาว 3 ชั่วโมงกว่าเรื่องนี้กำกับโดยผู้หญิงชาวเยอรมัน และเป็นหนังสารคดีที่บันทึกเรื่องจริงของผู้หญิงเยอรมันหลายคนที่ถูกทหารฝ่ายสัมพันธมิตรข่มขืนในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

6.GERMANY PALE MOTHER (1980, HELMA SANDERS-BRAHMS)

ในชีวิตจริงนั้น HELMA SANDERS-BRAHMS ผู้กำกับหญิงชาวเยอรมันของหนังเรื่องนี้เคยเห็นแม่ของตัวเองถูกทหารอเมริกันข่มขืนต่อหน้าต่อตาเธอตอนที่เธอยังเป็นเด็ก ดังนั้นเมื่อเธอโตขึ้น เธอก็เลยถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตอันโหดร้ายที่ตัวเองพบในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองลงในหนังเรื่องนี้

7.TWIST OF FATE (1989, IAN SHARP, B+)

มินิซีรีส์เรื่องนี้เคยมาฉายทางช่อง 3 เมื่อหลายปีก่อน พระเอกของหนังเรื่องนี้เป็นทหารเยอรมันยศสูงที่ปลอมตัวเป็นชาวยิวในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สองเพื่อที่ตัวเองจะได้ไม่ต้องตกเป็นฝ่ายพ่ายแพ้สงคราม หนังเรื่องนี้ไม่ได้ทำให้เห็นใจนาซี แต่อาจทำให้เห็นใจพระเอกของเรื่องนี้ซึ่งเป็นทหารนาซีเพราะว่าเขาหล่อ

8.THE TURNING POINT (1983, FRANK BEYER, A+)

พระเอกของหนังเยอรมันตะวันออกเรื่องนี้ก็เป็นทหารหนุ่มหล่อชาวเยอรมันเช่นกันค่ะ เขาไม่ได้ทำความเลวร้ายอะไรมากนักในช่วงสงคราม แต่พอสงครามสิ้นสุด เขากลับถูกเข้าใจผิดว่าเคยก่ออาชญากรรมที่ร้ายแรงในช่วงสงคราม และเขาต้องได้รับโทษทัณฑ์อย่างหนักสำหรับความผิดที่ตัวเองไม่ได้ก่อ ความหนุ่มแน่นของพระเอกหนังเรื่องนี้ทำให้ดิฉันเห็นใจเขามากๆเลยค่ะ

นอกจากนี้ ยังมีหนังบางเรื่องที่นำเสนอมุมมองของคนที่เข้าข้างนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองด้วยเช่นกัน ซึ่งคนที่เข้าข้างนาซีในหลายๆกรณีก็ไม่ใช่คนที่ชั่วบริสุทธิ์ แต่เป็นเพราะว่านาซีเป็นศัตรูกับ “สตาลิน” ซึ่งเป็นทรราชย์ที่ฆ่าคนในโซเวียตตายไปหลายล้านคน หากเราต้องเลือกระหว่างนาซีกับประชาธิปไตย เราย่อมเลือกได้ง่ายๆว่าเราเลือกประชาธิปไตย แต่ถ้าหากเราไม่มีสิทธิ์เลือกประชาธิปไตย ถ้าหากตัวเลือกของเรามีเพียง “นาซี” หรือ “สตาลิน” (ซึ่งเลวร้ายกว่าเลนินมาก) มันก็ย่อมจะเลือกได้ยากมาก ชีวิตจริงในหลายๆครั้งมันก็เป็นเช่นนี้ เราไม่สามารถเลือกระหว่าง “ชั่ว” หรือ “ดี” แต่เราต้องเลือกระหว่าง “ชั่วร้าย” หรือ “เลวทราม” (ลองนึกถึงการเลือกตั้งในบางประเทศดูสิ) นอกจากนี้ โซเวียตรัสเซียในยุคก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองก็ทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ของบางประเทศในยุโรปด้วย โดยเฉพาะประชาชนในฟินแลนด์และโปแลนด์ เพราะฉะนั้นการที่คนบางคนในฟินแลนด์และโปแลนด์จะหันไปเข้าข้างฝ่ายนาซี จึงเป็นสิ่งที่น่าเห็นใจอยู่เหมือนกัน

หนังที่เข้าข่ายนี้ก็อาจรวมถึง

1.ASCENT (1976, LARISA SHEPITKO)
ผู้กำกับหนังเรื่องนี้เป็นผู้หญิงค่ะ และหนังพูดถึงทหารสองคนในรัสเซียที่ถูกพวกที่ฝักใฝ่นาซีจับตัวไป
Larisa Shepitko's last film is one of the most beautiful war films in cinema history.

2.LACOMBE LUCIEN (1974, LOUIS MALLE)
หนังเรื่องนี้เล่าถึงเด็กหนุ่มคนหนึ่งในฝรั่งเศสที่หันไปสวามิภักดิ์กับทหารนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และสิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้อื้อฉาวอย่างสุดๆก็คือการที่หนังไม่ได้ตัดสินให้ตัวละครตัวนี้เป็นผู้ร้าย

3.ENIGMA (MICHAEL APTED, A-)

4.AMBUSH (1999, OLLI SAARELA, A-)
หนังเชิดชูวีรกรรมของทหารหนุ่มๆชาวฟินแลนด์ที่ต่อสู้กับทหารรัสเซียอย่างกล้าหาญในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง คาดว่าคนที่ชอบ BAND OF BROTHERS น่าจะชอบเรื่องนี้ด้วย

5. HIROSHIMA MON AMOUR (1959, ALAIN RESNAIS, A+)
6.A CHILD IN THE CROWD (1976, GERARD BLAIN, A+)
7.MALENA (2000, GIUSEPPE TORNATORE, A-)

หลังจากฝรั่งเศสเป็นอิสระจากนาซีในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวฝรั่งเศสหลายคนก็จับเพื่อนร่วมชาติที่เคยคบค้ากับนาซีไปกระทำทารุณอย่างโหดเหี้ยมอำมหิต อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ไม่ค่อยได้รับการนำเสนอในหนังบ่อยนัก

อย่างไรก็ดี ในหนังเรื่อง HIROSHIMA MON AMOUR, A CHILD IN THE CROWD และ MALENA นั้น มีตัวละครผู้หญิงบางตัวในเรื่องที่คงไม่ใช่คนเลวโดยกมลสันดาน เพียงแต่พวกเธอไปหลงรักหรือไปคบค้ากับทหารหนุ่มหล่อชาวเยอรมันที่เข้ามายึดครองประเทศของพวกเธอเท่านั้นเอง (ดิฉันคิดว่าตัวเองพอเข้าใจความรู้สึกของพวกเธอค่ะ) แต่หลังจากเยอรมันพ่ายแพ้สงคราม ผู้หญิงเหล่านี้ก็ถูกประชาชนรุมประชาทัณฑ์อย่างรุนแรง หรือไม่ก็ถูกฆ่าตาย

Thursday, November 25, 2004

HARMFUL INSECT (AKIHIKO SHIOTA, A+)

เมื่อวานนี้ได้ดูหนังสองเรื่องค่ะ ซึ่งก็คือ HARMFUL INSECT (2002, AKIHIKO SHIOTA, A+) กับ BLUE SPRING (2001, TOSHIAKI TOYODA, B)

ชอบเรื่อง WEDDING BANQUET (1993, Ang Lee, A-) มากเหมือนกันค่ะ หนังเรื่องนี้เป็นหนังเกย์เรื่องแรกๆที่ได้ดูในโรงหนัง จำได้ว่าดูที่โรงหนังในห้างสยามเซ็นเตอร์หรือไงนี่แหละ ชอบ Winston Chao พระเอกหนังเรื่อง WEDDING BANQUET ด้วยเหมือนกัน และก็ชอบดาราชายคนนี้มากๆตอนที่เขาไปเล่นหนังเรื่อง RED ROSE WHITE ROSE (1994, STANLEY KWAN, A)

ใช่ ใช่ โจวเทียนไฉ น่ารักมากๆ ปากเขาสวยมากๆ แต่รู้สึกว่าเขาอาจจะเหมาะเล่นบทที่ออกไปในทางเพลย์บอยมากกว่าบทหนุ่มไร้เดียงสา รู้สึกว่าหน้าตาเขามันดูกรุ้มกริ่ม ดวงตาเป็นประกายแวววับ ดูแล้วไม่ค่อยเชื่อเท่าไหร่ว่าเขาไร้เดียงสาจริงๆ

เมื่อประมาณเกือบ 10 ปีที่แล้วเคยเขียนจม.ไปหา STARPICS ค่ะ จำไม่ได้แล้วว่าใช้นามปากกาว่าอะไร แต่เขียนไปถามข้อมูลเกี่ยวกับดาราหนุ่มๆชาวฝรั่งเศส ยุคนั้นยังไม่มีอินเทอร์เน็ต หาข้อมูลเกี่ยวกับดาราหนุ่มๆฝรั่งเศสลำบากมาก ก็ได้ STARPICS นี่แหละที่ช่วยตอบคำถามให้

ใช่แล้ว ตอนนี้หนังสือเกย์ออกมาเยอะมาก ซื้อกันไม่หวาดไม่ไหวเหมือนกัน เคยซื้อหนังสือ “เรื่องรักของบางเรา” ของคุณ โตมร ศุขปรีชามาอ่าน แต่รู้สึกว่ายังอ่านไม่จบ เคยซื้อนิยายเกย์บางเล่มมาอ่าน แต่ก็อ่านไม่จบเหมือนกัน ซึ่งได้แก่เรื่อง อิสระและอานิต้า ของกิจจา บุรานนท์ กับเรื่อง ทางสายที่สาม ของกีรติ ชนา ส่วนนิยายเกย์ที่เคยอ่านจบตอนเด็กๆก็ได้แก่เรื่อง ประตูที่ปิดตาย (A) ของกฤษณา อโศกสิน และเรื่อง ใบไม้ที่ปลิดปลิว (A-) ของทมยันตี ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับคนที่ผ่าตัดแปลงเพศเป็นผู้หญิง และหลงรักอาหนุ่มของตัวเอง โดยเขาแอบไปผ่าตัดแปลงเพศโดยที่พ่อของเขาไม่รู้ ตอนหลังพ่อของเขามาเจอเขาโดยบังเอิญ พ่อของเขาก็เลยพูดจีบหญิงสาวคนนี้โดยหารู้ไม่ว่านั่นคือลูกชายของตัวเอง (ดิฉันไม่ค่อยแน่ใจเนื้อเรื่องนะคะ เพราะอ่านมานานมากๆแล้ว)

พูดถึงหนังเรื่อง Kinsey แล้วก็เลยอยากดูหนังเกี่ยวกับนักจิตวิทยาเซ็กส์อีกเรื่องนึงมากเลยค่ะ นั่นก็คือเรื่อง W.R. –MYSTERIES OF THE ORGANISM (1971, DUSAN MAKAVEJEV) ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ Wilhelm Reich (มีใครรู้จักเขาบ้างไหมคะ)เพราะเคยดูหนังของ MAKAVEJEV แล้วชอบมากๆ

SOUND AND FURY (JEAN-CLAUDE BRISSEAU, A+)

ตอบไม่ถูกเหมือนกันว่าครูคนไหนทำให้ชีวิตดิฉันเปลี่ยนไปมากหรือน้อยเพียงใด นึกถึงชีวิตสมัยเรียนประถมมัธยม ก็เจอครูดีๆเลวๆมาหลายคนเหมือนกัน ตอนอยู่มัธยมจะมีครูที่ชอบมากหลายคนและเกลียดมากหลายคน ในบรรดาครูที่ชอบก็มีคุณครูสอนคณิตศาสตร์ตอนม.3 ชอบคุณครูคนนี้มากเพราะเธอกล้าคัดค้านนโยบายเสียสติของครูเลวคนอื่นๆ ครูสอนวิทยาศาสตร์ตอนม. 3 ก็ชอบมากเหมือนกัน เพราะคุณครูคนนี้อนุญาตให้นักเรียนกินอาหารได้ตามสบายขณะที่เรียน เพราะฉะนั้นชม.เรียนของคุณครูคนนี้นักเรียนจึงต้มบะหมี่กินไปด้วยเรียนไปด้วยได้

ตอนอยู่ม.ปลายจะชอบครูประจำชั้นคนนึงที่สอนวิทยาศาสตร์มากเลยค่ะ เขาประจำชั้นห้องที่เพื่อนสนิทดิฉันเรียนอยู่ และเขาอนุญาตให้นักเรียนจัดแถวโต๊ะที่นั่งได้ตามใจชอบ เพราะฉะนั้นแถวโต๊ะที่นั่งในห้องนี้จะพิสดารมาก บางโต๊ะก็แยกเดี่ยว บางโต๊ะก็ติดกัน 2 ตัว บางโต๊ะก็ติดกัน 5 ตัว ฯลฯ และแถวที่นั่งจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามอารมณ์ของนักเรียนว่าชั่วโมงไหนวันไหนอยากจับกลุ่มนั่งกันยังไง เวลาดิฉันไปเยี่ยมเพื่อนในห้องนี้ทีไร หลายครั้งหาทางออกมาแทบไม่ได้ เพราะโต๊ะมันเรียงกันเหมือนเขาวงกต หรือเหมือนค่ายกลดอกท้อ เดินเข้าไปแล้วงง หาทางออกไม่เจอ นึกถึงครูใจดีๆอย่างนี้แล้วมีความสุขมากเลยค่ะ

หนังเกี่ยวกับโรงเรียนประจำเรื่องนึงที่ดิฉันชอบสุดๆก็คือ PHENOMENA (1985, DARIO ARGENTO, A+++++) ค่ะ แต่อันนี้เป็นโรงเรียนประจำที่มีฆาตกรโรคจิตออกไล่ฆ่าเด็กสาวๆในโรงเรียน นำแสดงโดยเจนนิเฟอร์ คอนเนลลี

ส่วนหนังเกี่ยวกับคุณครูจากนรกที่น่าสนใจเรื่องนึงคือ ALL THINGS FAIR (1995, BO WIDERBERG, A-) ค่ะ หนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวระหว่างคุณครูสาววัย 37 ปีกับหนุ่มวัย 15 ปี

อีกเรื่องนึงคือหนังที่สร้างจากเรื่องจริงชื่อ THE MARY KAY LETOURNEAU STORY: ALL-AMERICAN GIRL (2000, LLOYD KRAMER, B+) ที่เคยมาฉายทางเคเบิลทีวีประเภทช่อง HBO นำแสดงโดยเพเนโลป แอนน์ มิลเลอร์ ในบทของคุณครูที่มีเซ็กส์กับเด็กหนุ่มวัย 13 ปี

หนังเกี่ยวกับครูผู้หญิงดีๆที่ดิฉันชอบมากก็มีหลายเรื่องค่ะ ซึ่งรวมถึงเรื่อง GHETTOKIDS (2002, CHRISTIAN WAGNER, A) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคุณครูหญิงที่กลับมาจากกรีซและมาสอนเด็กนักเรียนเหลือขอในเยอรมนี ลูกศิษย์ของเธอเป็นเด็กที่เกเรมากๆ ทั้งค้ายาเสพติด, จี้ปล้น และนักเรียนชายบางคนในชั้นเรียนของเธอที่หน้าตาดีหน่อยก็ไปขายตัวตามสถานีรถไฟ ตอนแรกคุณครูก็รู้สึกเอือมระอามาก (แบบเดียวกับ DANGEROUS MINDS) เธอนึกว่าถ้าย้ายไปอยู่โรงเรียนของพวกชนชั้นกลางแล้วสถานการณ์จะดีขึ้น แต่ปรากฏว่าพวกเด็กๆลูกของชนชั้นกลางกลับเหยียดหยามลูกชายของเธอที่เป็นลูกครึ่งชาวกรีซอย่างรุนแรง พวกเขาดูถูกรังแกทุบตีทำร้ายลูกชายของเธอจนได้รับบาดเจ็บ เพียงเพราะลูกชายของเธอเป็นลูกครึ่งกรีซ ไม่ได้มีเชื้อสายเยอรมันเต็มตัว เหตุการณ์นี้ก็เลยทำให้เธอ (และดิฉันในฐานะคนดูหนังเรื่องนี้) ได้ประจักษ์แก่ใจว่าโรงเรียนไหนกันแน่ที่น่าสยดสยองกว่ากัน (หนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง) IOANNIS TSIALAS แสดงได้เก่งมากใน GHETTOKIDS ในบทของนักเรียนชายที่ขายบริการทางเพศตามสถานีรถไฟ

ส่วนหนังเกี่ยวกับคุณครูหญิงนิสัยดีอีกเรื่องที่ชอบมากก็คือ SOUND AND FURY (1988, JEAN-CLAUDE BRISSEAU, A+++++) ค่ะ มี FABIENNE BABE รับบทเป็นคุณครูใจดีที่ต้องรับมือกับนักเรียนเกเรที่ชอบทำ BLOW JOB กันในห้องเรียน

ส่วนใน LES CHORISTES นั้น ดิฉันชอบ FRANCOIS BERLEAND ดาราที่รับบทเป็นคุณครูตัวร้ายค่ะ จริงๆก็ไม่ได้รู้สึกว่าเขาเล่นเก่งอะไรมากมาย แต่รู้สึกว่าระยะนี้ได้ดูหนังของเขาบ่อยมากจนเขากลายเป็นคนคุ้นหน้าไปแล้ว รู้สึกว่าเขารับบทผู้ร้ายได้ดี และน่าจะปะทะกับ BERNARD GIRAUDEAU (THAT DAY, LA PETITE LILI, A MATTER OF TASTE, WATER DROPS ON BURNING ROCKS) เพราะดาราชายสองคนนี้ดูร้าย, น่ากลัว, วิปริต, โรคจิตไม่แพ้กัน

หนังของ FRANCOIS BERLEAND (เกิดปี 1952) ที่เคยดู เรียงตามลำดับความชอบส่วนตัว

1.THE SCHOOL OF FLESH (1998, BENOIT JACQOUT) A+
2.L’APPAT (1995, BERTRAND TAVERNIER) A+
3.CAMILLE CLAUDEL (1988, BRUNO NUYTTEN) A+
4.FILLES UNIQUES (2003, PIERRE JOLIVET) A
5.PLACE VENDOME (1998, NICOLE GARCIA) A-
6.A SELF-MADE HERO (1996, JACQUES AUDIARD) A-
7.DEEP IN THE WOODS (2000, LIONEL DELPLANQUE) A-
8.MY LITTLE BUSINESS (1999, PIERRE JOLIVET) B+
9.LES CHORISTES (2004, CHRISTOPHE BARRATIER) B
10.MON IDOLE (2002, GUILLAUME CANET) B
11.MARCHE A L’OMBRE (1984, MICHEL BLANC) C+
12.THE TRANSPORTER (2002, LOUIS LETERRIER + COREY YUEN) C

Carla's Song and The Last Bolshevik

ชอบ DEAD POETS SOCIETY (1989, A+) มากเหมือนกันค่ะ ตอนจบของหนังเรื่องนี้ทำออกมาได้ซึ้งมากๆ หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังเรื่องแรกๆที่ดิฉันได้ยินเสียงคนดูในโรงหลายคนปรบมือให้ในตอนจบ (โดยที่ดิฉันไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจ) ตอนนั้นดูที่โรงแมคเคนนา

หนังเรื่องอื่นๆที่ได้ยินเสียงคนดูในโรงปรบมือแล้วรู้สึกดีใจมากๆก็คือ
1.BRIDGES ON MADISON COUNTY (CLINT EASTWOOD, A+)
2. PRIEST (ANTONIA BIRD, A+, ดูที่ฮอลลีวู้ดสตรีท)
3.CARLA’S SONG (1996, KEN LOACH, A+, ดูที่ศาลาเฉลิมกรุง)
รู้สึกว่า CARLA’S SONG จะเป็นหนังที่ดิฉันปรบมือให้หนักที่สุดในชีวิต ปรบจนเจ็บมือเลย เพราะตอนนั้นอารมณ์มันพาไป และก็มีคนในโรงหลายคนช่วยกันปรบด้วย จริงๆแล้วยังมีหนังอีกหลายเรื่องที่อยากปรบมือให้ดังๆ แต่ไม่มีคนในโรงปรบมือกัน ดิฉันก็เลยไม่กล้าปรบมือแปะแปะอยู่คนเดียว และก็มีหนังอีกหลายเรื่องเหมือนกันที่คนดูปรบมือกันทั้งโรง แต่ดิฉันขี้เกียจร่วมด้วย สรุปว่าการได้ยินเสียงคนดูทั้งโรงปรบมือให้หนังที่เรารัก เป็นประสบการณ์ที่ดีต่อความทรงจำมากๆค่ะ

ลองมองดูหนัง 4 เรื่องนี้แล้ว รู้สึกว่าตอนจบของหนัง 4 เรื่องนี้ให้อารมณ์ที่บรรเจิดมากๆ ผู้สร้างหนังทั้ง 4 เรื่องนี้จัดจังหวะอารมณ์ของตอนจบออกมาได้ถูกใจมากๆ และสิ่งที่อาจคล้ายกันอยู่บ้างก็คือ ตอนจบของหนัง 3ใน 4 เรื่องนี้จบลงด้วยการที่ตัวละครในเรื่องแสดงความเข้าอกเข้าใจหรือเห็นอกเห็นใจอีกฝ่ายหนึ่ง การที่ตัวละครคนหนึ่ง “รู้ซึ้งถึงหัวอก” ของตัวละครอีกตัวหนึ่งในตอนจบ เป็นจุดที่มักทำให้ดิฉันรู้สึก “จี๊ด” อย่างรุนแรงมากๆเลยค่ะ และมักเป็นจุดที่เรียกน้ำตาดิฉันได้จริงๆ ในช่วงท้ายของ DEAD POET’S SOCIETY ความเข้าอกเข้าใจกันระหว่างครูกับนักเรียนเป็นสิ่งที่ซึ้งมากๆ ในขณะที่ตอนจบของ PRIEST นั้นจะว่าไปแล้วก็ให้อารมณ์บางอย่างละม้าย DEAD POET’S SOCIETY เหมือนกัน เพราะตอนจบของ PRIEST จบลงด้วยการที่พระเอกของเรื่องถูกกระทำเหมือนกับเป็นคนนอก ถูกด่าว่าประณามเหยียดหยาม แต่ก็มีคนๆหนึ่งกล้าแสดงออกว่าเขาเห็นอกเห็นใจพระเอก ความเห็นอกเห็นใจที่ตัวละครตัวนั้นแสดงต่อพระเอกของ PRIEST ในตอนจบ การที่ตัวละครตัวนั้นกล้าเดินออกมากลางโบสถ์โดยไม่เกรงกลัวหน้าอินทร์หน้าพรหมหรือสายตาชาวบ้านร้านตลาดใดๆทั้งสิ้น การที่ตัวละครตัวนั้นรู้ดีว่าอะไรกันแน่คือสิ่งที่สำคัญ-- “หลักการ”, “กฎระเบียบ” หรือ “หัวใจ” –ทำให้ดิฉันรู้สึกจี๊ดเท่ากับการได้ฟังประโยค oh captain my captain ใน DEAD POETS SOCIETY เลยค่ะ

ส่วนตอนจบของ CARLA’S SONG นั้น ดิฉันก็ร้องไห้ให้กับประโยคสนทนาของ SCOTT GLENN กับ ROBERT CARLYLE ค่ะ ในช่วงท้ายของหนังสองเรื่องนี้ ตัวละครทั้งสองโต้ตอบกันด้วยประโยคบางประโยคที่ทำให้ดิฉันร้องไห้ออกมา รู้สึกว่า ROBERT CARLYLE จะพูดกับ SCOTT GLENN ว่า “I’M A BUS DRIVER.” ซึ่งถ้ามันออกมาอยู่นอกบริบท มันคงเป็นประโยคที่ไม่มีความหมายอะไรเลยเหมือนกับประโยค “OH CAPTAIN MY CAPTAIN” แต่พอมันไปอยู่ในบริบท พอมันไปอยู่ในฉากนั้น ในเวลานั้น ในจังหวะนั้น ในอารมณ์นั้น ประโยคที่ดูเหมือนธรรมดาๆอย่าง “I’M A BUS DRIVER.” และประโยค “OH CAPTAIN MY CAPTAIN” กลับกลายเป็นประโยคที่ทำให้ทำนบน้ำตาแตกออกมาได้

ประโยคที่ดูเหมือนธรรมดาอีกอันนึงที่ทำให้ดิฉันร้องไห้เป็นวรรคเป็นเวรก็คือประโยคตอนจบของ THE LAST BOLSHEVIK (1992, CHRIS MARKER, A+++++) ในตอนจบของหนังเรื่องนี้ MARKER ถ่ายให้เห็นภาพเด็กๆรุมกันเหยียบย่ำอนุสาวรีย์ที่แตกหักของเลนิน ก่อนจะถ่ายให้เห็นภาพเด็กคนนึงกอดตุ๊กตาไดโนเสาร์และอมยิ้ม และในขณะเดียวกัน MARKER ก็พูดกับดวงวิญญาณของ ALEXANDER MEDVEDKIN ว่า “คุณมันเป็นไดโนเสาร์ แต่ดูสิ่งที่เด็กๆทำกับไดโนเสาร์สิ เด็กๆรักมัน” ประโยคนี้มันเป็นประโยคที่ธรรมดามากๆถ้าหากออกมาอยู่นอกบริบท—“เด็กๆรักไดโนเสาร์”—มันไม่เห็นจะเป็นประโยคที่พิเศษหรือมีคุณค่าอะไรตรงไหนเลย แต่พอมันใส่เข้าไปในจุดที่ถูกต้องลงตัวใน THE LAST BOLSHEVIK มันกลับกลายเป็นอะไรที่ซึ้งมากๆ ดิฉันเดาว่าจริงๆแล้วหัวใจของ CHRIS MARKER คงจะต้องการพูดกับดวงวิญญาณของ ALEXANDER MEDVEDKIN ว่า “ถึงคนจะเหยียบย่ำชิงชังคุณขนาดไหน ถึงคนจะประณามคุณว่าเป็นคนหัวโบราณคร่ำครึ ดูถูกเหยียดหยามคุณ หรือมองคุณในทางลบมากขนาดใดก็ตาม ผมก็ยังคงรักคุณอยู่เสมอ” แต่แทนที่ MARKER จะพูดออกมาตรงๆ เขากลับใช้ประโยคว่า “เด็กๆรักไดโนเสาร์” แทน และมันก็กลายเป็นสิ่งที่ซึ้งมากๆ (จริงๆแล้วประโยค “เด็กๆรักไดโนเสาร์” อาจจะไม่ได้มีความหมายอย่างนี้ หรืออาจจะมีความหมายมากกว่านี้ แต่ดิฉันก็ขอเลือกจดจำความประทับใจจากหนังเรื่องนี้ไว้ในรูปแบบนี้แล้วกันค่ะ)

วกกลับมาถึงโรบิน วิลเลียมส์ ตอนนี้ดิฉันรู้สึกชอบเขามากค่ะ ตอนช่วงทศวรรษ 1990 ดิฉันไม่ค่อยชอบเขามากเท่าไหร่ แต่หลังจากได้ดู INSOMNIA (2002, CHRISTOPHER NOLAN, A-), ONE HOUR PHOTO (2002, MARK ROMANEK, A-) และ THE FINAL CUT (2004, OMAR NAIM, A+) ดิฉันก็รู้สึกชอบหนังของเขามากๆ ดิฉันไม่ได้รู้สึกทึ่งในฝีมือการแสดงของเขา แต่ชอบหนัง 3 เรื่องนี้มากๆ เพราะมันเป็นหนังที่มี “ความวังเวง” อะไรบางอย่างที่โดนใจดี การที่ดิฉันชอบหนัง 3 เรื่องนี้ก็เลยพลอยทำให้รู้สึกดีกับโรบิน วิลเลียมส์ไปด้วย โดยเฉพาะใน THE FINAL CUT นั้น ดิฉันรู้สึกว่าเขาถ่ายทอดอารมณ์ “เหนื่อยหน่ายโลก” ออกมาได้อย่างถูกใจมากๆเลยค่ะ ความซังกะตายและความไร้ชีวิตชีวาของโรบิน วิลเลียมส์ใน THE FINAL CUT เป็นสิ่งที่เข้ากับบรรยากาศของหนังและถูกใจดิฉันมากๆ