Wednesday, February 25, 2015

KINGSMAN: THE SECRET SERVICE (2015, Matthew Vaughn, A+30)

KINGSMAN: THE SECRET SERVICE (2015, Matthew Vaughn, A+30)

สรุปว่าเราถูกโฉลกกับ Matthew Vaughn สุดๆ เพราะเราชอบทั้ง STARDUST (2007), KICK-ASS (2010), X-MEN: FIRST CLASS (2011) และก็เรื่องนี้มากๆ แต่เรายังไม่ได้ดู LAYER CAKE (2004)

จำไม่ได้แล้วว่าทำไมเราถึงชอบ STARDUST อย่างสุดๆ แต่ใน KICK-ASS นั้น เราชอบความเจ็บปวดของตัวละคร Hit-Girl มากๆ ส่วนใน X-MEN: FIRST CLASS นั้น เราชอบความโฮโมอีโรติกระหว่าง James McAvoy กับ Michael Fassbender และก็ตัวประกอบหญิงในหนัง ส่วนใน KINGSMAN นั้น เรารู้สึกว่าโลกในหนังเรื่องนี้มันใกล้เคียงกับโลกจินตนาการในหัวของเราน่ะ นั่นก็คือโลกจินตนาการแบบละครโทรทัศน์ชุด “สิงห์สาวนักสืบ” (SUKEBAN DEKA) ที่มันจะดูเว่อร์ๆหน่อยๆ คือมันจะไม่ซีเรียสแบบเจมส์ บอนด์ หรือหนังชุด Jason Bourne แต่มันก็ไม่ใช่โลกที่พระเอกเป็นยอดมนุษย์ที่แข็งแกร่งมากๆแบบหนังซูเปอร์ฮีโร่ของฮอลลีวู้ดส่วนใหญ่ด้วย เราก็อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน สรุปว่าเรารู้สึกว่าโลกใน KINGSMAN มันไม่ได้ห่างไกลจากโลกของ “สิงห์สาวนักสืบ” มากนักน่ะ นั่นก็เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้เราชอบ KINGSMAN อย่างสุดๆ

ดู KINGSMAN เสร็จแล้วเราก็จินตนาการอะไรไปเรื่อยๆนะ คือเราจินตนาการว่า อยากให้มีใครเอาละครทีวีชุด SUKEBAN DEKA ภาคสอง ที่นำแสดงโดยโยโกะ มินามิโนะมาสร้างใหม่เป็นหนังใหญ่หลายๆภาคน่ะ แต่เรื่องราวในหนังชุดนี้จะไม่เริ่มด้วยการให้ตัวละครนางเอก 3 คน ที่ประกอบด้วยสิงห์สาวหน้ากากเหล็ก, สิงห์สาวผ้าพันคอ กับสิงห์สาวลูกแก้ว มาเจอกันในตอนต้นเรื่อง แต่เราอยากให้หนัง 3 ภาคแรกเป็นเหมือนกับ prequels และเล่าเรื่องราวการผจญภัยของนางเอก 3 คนนี้ก่อนที่จะมาเจอกัน โดยเราจินตนาการว่า

1.เราอยากให้ Matthew Vaughn กำกับเรื่องราว prequel ของยูคิโนะ หรือสิงห์สาวผ้าพันคอ เพราะยูคิโนะเป็นลูกคนรวย เป็นคุณหนู และเราว่า Matthew Vaughn สามารถกำกับหนังแอคชั่นทริลเลอร์ที่ดูมีคลาส ดูสวยๆงามๆได้

2.เราอยากให้ตู้ฉีฟ่งมากำกับเรื่องราว prequel ของสิงห์สาวหน้ากากเหล็ก เพราะตัวละครตัวนี้เต็มไปด้วยความเจ็บปวดทางจิตใจ และเราว่าตู้ฉีฟ่งเจาะลึกจิตใจตัวละครได้ดีกว่า Matthew Vaughn น่ะ คือเราอยากได้ความเจ็บปวดจริงๆทั้งทางร่างกายและจิตใจน่ะ และเรารู้สึกว่าฉากบู๊อย่างใน DRUG WAR (2012, Johnnie To, A+30) มันทำให้เรารู้สึกว่าตัวละครมันเจ็บปวดทางร่างกายจริงๆ มันถึงเลือดถึงเนื้อจริงๆ และมันสะเทือนใจอย่างสุดๆด้วย ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราอาจจะหาไม่ได้จากหนัง 2 เรื่องหลังของ  Vaughn

แต่เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าใครควรมากำกับ prequel ของสิงห์สาวลูกแก้ว และใครควรมากำกับหนังที่เล่าเรื่องราวของสิงห์สาวทั้ง 3 คนตอนที่มาเจอกัน 555

จริงๆแล้วที่เราจินตนาการหนังพวกนี้ขึ้นมา ก็เป็นเพราะว่าเราชอบผู้กำกับ 2 คนนี้มากๆนั่นแหละ คือเราไม่ใช่แฟนหนังแอคชั่นหรอก แต่เราชอบหนังของ 2 คนนี้มากๆ เพราะเราว่า 2 คนนี้ออกแบบตัวละครหญิงได้ถูกโฉลกกับเรามากๆ โดยเฉพาะใน “สวยประหาร” (1993, Johnnie To)

ส่วนผู้กำกับหนังแอคชั่นคนอื่นๆที่ออกแบบตัวละครหญิงได้เข้าทางเรามากๆก็มีเช่น Robert Rodriguez, Luc Besson กับฉีเคอะ แต่เรารู้สึกว่าผลงานของ 3 คนนี้ดูไม่ค่อยคงเส้นคงวาสักเท่าไหร่ คือบางเรื่องเราก็ชอบสุดๆ แต่บางเรื่องเราก็ไม่ได้ชอบมากนัก


สรุปว่าเราชอบ Matthew Vaughn อย่างสุดๆ และเราฝันว่าในอนาคตจะมีหนังแบบ “สิงห์สาวนักสืบ” ออกมา โดยที่ผู้กำกับหนังเรื่องนั้นมีความสามารถเหมือน Matthew Vaughn  รวมกับตู้ฉีฟ่ง  จบ

Saturday, February 21, 2015

THIS IS MY {DAY} LIGHT (2015, Wannasak Sirilar + Paksupa Polpatpootanun, stage play, A+25)

THIS IS MY {DAY} LIGHT (2015, Wannasak Sirilar + Paksupa Polpatpootanun, stage play, A+25)

--ชอบโครงสร้างของเรื่องมากๆ คือโครงสร้างของเรื่องนี้เป็นเรื่องสั้นๆของผู้คน 12 คนที่เกี่ยวข้องกับอพาร์ทเมนท์แห่งหนึ่ง โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่การฆาตกรรมหญิงสาวคนนึงในอพาร์ทเมนท์แห่งนั้น (ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด) ซึ่งโครงสร้างแบบนี้ทำให้เรานึกถึงหนังอย่าง 9-9-81 (2012) และ THE DEAD GIRL (2006, Karen Moncrieff)

อย่างไรก็ดี เนื้อหาของละครเวทีเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องผีหรือเรื่องสยองขวัญ แต่เป็นการนำเสนอเสี้ยวชีวิตเล็กๆของคนที่เกี่ยวข้องกับอพาร์ทเมนท์แห่งนี้ และเราก็รู้สึกว่าละครเรื่องนี้นำเสนอเสี้ยวชีวิตต่างๆออกมาได้อย่างมีเสน่ห์, น่าประทับใจ และเพลิดเพลินดี

เราว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้ละครเรื่องนี้มีเสน่ห์ ก็คือมันไม่ได้พยายามจะตลกมากเกินไปด้วยแหละ คือเราว่ามันตลกในระดับพอเหมาะ แต่ถ้าหากมันจงใจจะตลกมากกว่านี้ สมดุลทางอารมณ์มันจะเสียไป

--ชอบช่วงที่เดย์ ฟรีแมนรับบทเป็นพระมากๆ เพราะเราว่า moment ตรงนี้มันมีพลังที่น่าสนใจของความเป็นละครเวที ซึ่งเป็นสิ่งที่ภาพยนตร์ไม่สามารถให้ได้ ซึ่งสิ่งที่เราว่าน่าสนใจมากๆในฉากนี้ ก็คือ “การที่นักแสดงต้องใช้พลังทางจิตที่กล้าแข็งมากๆในการกลั้นหัวเราะให้ได้” 555

คือในฉากนี้เดย์ ฟรีแมนรับบทเป็นพระที่สงบสำรวมน่ะ แต่มันมีความฮาอยู่ในฉากนี้ และทั้งเรากับผู้ชมคนอื่นๆก็หัวเราะกันอย่างรุนแรงในฉากนี้ และเราก็รู้สึกว่าเดย์ ฟรีแมนต้องใช้พลังทางจิตที่กล้าแข็งมากๆในการกลั้นหัวเราะให้ได้ในฉากนี้ คือถ้าหากเราต้องแสดงในบทเดียวกับเดย์ ฟรีแมนในฉากนี้ เราไม่สามารถกลั้นหัวเราะได้อย่างแน่นอน เราต้องหลุดออกจากบทแน่ๆ

คือเรารู้สึกว่าคลื่นเสียงหัวเราะของผู้ชมในฉากนี้มันรุนแรงมากๆน่ะ และนักแสดงต้องมีกำแพงทางจิตบางอย่างที่เข้มแข็งมากๆในฉากนี้ ถึงจะกลั้นหัวเราะเอาไว้ได้ และสามารถแสดงเป็นพระที่สงบสำรวมต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

คือเราว่าสิ่งนี้มันเป็นสิ่งที่ไม่เกิดขึ้นในการชมภาพยนตร์น่ะ เพราะเสียงหัวเราะของผู้ชมในขณะชมภาพยนตร์ มันไม่สามารถกระทบตัวภาพยนตร์ได้ แต่เสียงหัวเราะของผู้ชมขณะชมละครเวที มันมีพลังที่สามารถทำลายล้างการแสดงที่เกิดขึ้นต่อหน้าเราได้อย่างมากๆ เราก็เลยรู้สึกว่า moment ตรงนี้มันน่าสนใจมากๆ

ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนกับว่า มันเหมือนเราได้เห็น “ตุ๊กกี้” รับบทเป็นนางเอกของหนังเรื่อง THE BABADOOK น่ะ คือถ้าหากตุ๊กกี้รับบทเป็นนางเอก THE BABADOOK ในสื่อภาพยนตร์ มันก็ไม่ใช่เรื่องยาก แต่ถ้าหากตุ๊กกี้รับบทเป็นนางเอก THE BABADOOK ในสื่อละครเวที และผู้ชมหัวเราะไม่หยุดต่อหน้าการแสดงของเธอ แต่ตุ๊กกี้ก็สามารถคุมการแสดงของตัวเองให้อินกับบทนางเอก THE BABADOOK ต่อไปได้ เราว่ามันเป็นสิ่งที่ยากมากๆ

--ชอบช่วงที่เป็นร้านเสริมสวยด้วย ดูแล้วนึกถึงละครทีวียุคเก่าๆอย่าง “จิตไม่ว่าง 24” (1981, สมชาย นิลวรรณ) ที่มันนำเสนอความประสาทแดกของตัวละครหญิงชิบหายๆหลายๆตัวน่ะ คือพอดูฉากนี้ในละครเวทีเรื่องนี้แล้ว มันทำให้เรารู้สึกว่าละครเวทีเรื่องนี้สามารถดัดแปลงเป็น “ละครทีวี” ได้เลย โดยอาจจะตั้งชื่อเรื่องว่า “อพาร์ทเมนท์นรก” 555

คือเราว่าละครเวทีเรื่องนี้มันนำเสนอตัวละครที่มีเสน่ห์น่าสนใจหลายๆตัวน่ะ และมันทำให้เราเชื่อในแง่นึงว่า ตัวละครเหล่านี้ มันมีชีวิตของมันจริงๆ และมันน่าจะมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมากมายอยู่ในชีวิตของตัวละครเหล่านี้และในชีวิตของคนอื่นๆในอพาร์ทเมนท์แห่งนี้ด้วย เราก็เลยรู้สึกว่า ละครเวทีเรื่องนี้มันสามารถดัดแปลงเป็นละครทีวีได้ง่ายมาก เพราะโครงสร้างของเนื้อเรื่องมันดีมาก และตัวละครของมันน่าสนใจมากๆ

--แต่สาเหตุที่ทำให้เราชอบละครเวทีเรื่องนี้แค่ในระดับ A+25 หรือชอบเกือบสุดๆ แต่ยังไม่ถึงขั้น “ชอบสุดๆ” นั้น อาจจะเป็นเพราะว่าเราเป็นคนที่ชอบ tragedy มากกว่า comedy น่ะ เพราะฉะนั้นในฉากจบของเรื่องนี้ เราก็เลยรู้สึกว่ามันให้อารมณ์ค่อนไปในทาง comedy มากไปหน่อยถ้าหากวัดจากรสนิยมส่วนตัวของเรา


แต่เราก็บอกไม่ถูกนะว่า จริงๆแล้วเราอยากให้ฉากจบมันออกมาเป็นยังไง เราบอกได้แต่ว่า เรารู้สึกเหมือนกับว่าด้วยโครงสร้างของเนื้อเรื่องแล้ว เราอยากให้ฉากจบมันออกมาในแนว “สะเทือนใจ” น่ะ แต่พอมันออกมาเป็นแบบนี้แล้ว เราก็เลยรู้สึกว่ามันก็โอเคนะ แต่มันไม่ได้ฟินสุดๆสำหรับเราเท่านั้นเอง

Thursday, February 19, 2015

BIRDMAN (2014, Alejandro González Iñárritu, A+25)

BIRDMAN (2014, Alejandro González Iñárritu, A+25)

อยากฉายควบกับ LA FEMME PUBLIQUE (1984, Andrzej Zulawski, A+30) เพราะหนังสองเรื่องนี้มันอีเล็กโทนโอลามีนเหมือนๆกัน คือมันบ้าพลังเหมือนกัน และมันเกี่ยวข้องกับนักแสดงละครเวทีที่แยกไม่ออกระหว่างเรื่องจริงกับเรื่องแต่งเหมือนๆกัน

แต่จริงๆแล้ว BIRDMAN เป็นหนังที่เรา admire นะ แต่ไม่ใช่หนังที่เราชอบเป็นการส่วนตัว คือเราชอบความเป็นตัวของตัวเองของมันมากๆ และชอบความรู้สึกที่เหมือนกับการอ่านนิยายแนว stream of consciousness ที่ไม่มีจุด full stop น่ะ

แต่ที่เราไม่ได้ชอบเป็นการส่วนตัว เพราะเราไม่ได้อินกับมันน่ะ ซึ่งนั่นไม่ใช่ความผิดของหนังนะ คือเราอินกับหนังอย่าง MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg, A+30) อย่างรุนแรงมากๆ และฝังใจกับ “ภาพหลอน” ของบรรดาตัวละครใน MAPS TO THE STARS มากๆ แต่ใน BIRDMAN นั้น เราแค่เพลิดเพลินและสนุกกับมันน่ะ แต่มันไม่ได้ touch เราอย่างรุนแรงแบบ MAPS TO THE STARS แต่นั่นไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับความดีงามของหนัง มันเป็นเรื่องส่วนตัว


ฉากใน BIRDMAN ที่เราคิดว่ามี wavelength ตรงกับเรามากที่สุด ก็คือฉากที่ เมียเก่าของพระเอก (Amy Ryan) คุยกับพระเอกในช่วงท้ายเรื่องน่ะ เราชอบการพูดถึงความทรงจำเก่าๆในฉากนี้มากๆ

Wednesday, February 18, 2015

BRIGHT DAYS AHEAD (2013, Marion Vernoux, France, A+20)

BRIGHT DAYS AHEAD (2013, Marion Vernoux, France, A+20)

หนังเรื่องนี้เป็นหนังเรื่องที่ 4 ของ Marion Vernoux ที่เราได้ดู ก่อนหน้านี้เราเคยดูเรื่อง A HELL OF A DAY (2001), EMPTY DAYS (1999) กับ NOBODY LOVES ME (1994) ซึ่งเราชอบในระดับประมาณนี้แหละ คือเราชอบ EMPTY DAYS กับ NOBODY LOVES ME ในระดับพอสมควร และก็ชอบ A HELL OF A DAY แค่นิดหน่อย

เราว่าทั้ง 4 เรื่องนี้มีจุดเด่นที่เสน่ห์ของนักแสดงหญิงนะ สาเหตุที่เราชอบ EMPTY DAYS มากที่สุด เป็นเพราะว่าเราชอบ Valeria Bruni Tedeschi เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ส่วน NOBODY LOVES ME นั้นนำแสดงโดย Bulle Ogier ซึ่งเป็นดาราคนโปรดของเราเหมือนกัน ในขณะที่ A HELL OF A DAY นำแสดงโดย Karin Viard กับ Hélène Fillières ซึ่งเป็นดาราที่เราเฉยๆ และนั่นก็เลยอาจจะเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้เราชอบ A HELL OF A DAY น้อยที่สุด

เราว่า Marion Vernoux ขาด magic touch นะ คือเรามีความสุขกับการดูหนังของเธอมากพอสมควร แต่มันขาด “ความวิเศษ” อะไรบางอย่างที่ผู้กำกับหญิงชาวฝรั่งเศสคนอื่นมีน่ะ คือเราว่าถ้าหากหนังของ Marion Vernoux เป็นหนังไทย มันก็จะถือเป็นหนังไทยที่ดีมากๆเรื่องนึง แต่พอมันไปเทียบกับหนังฝรั่งเศสด้วยกันเองแล้ว มันก็จะเป็นเพียงหนังที่ดีปานกลางเท่านั้น เพราะมันมีหนังฝรั่งเศสเรื่องอื่นๆที่ใกล้เคียงกัน แต่ทำออกมาได้จั๋งหนับกว่านี้มาก

คือเรานึกถึงผู้กำกับหญิงฝรั่งเศสอย่าง Laetitia Masson, Noemie Lvovsky และ Josee Dayan น่ะ เราว่าทั้ง 3 คนนี้กับ Marion Vernoux เป็นผู้กำกับรุ่นไล่เลี่ยกัน ทำหนังดราม่าชีวิตผู้หญิงเหมือนๆกัน แต่ Marion Vernoux ธรรมดาสุดในบรรดา 4 คนนี้

เราว่า Laetitia Masson อาจจะน่าสนใจสุดในบรรดา 4 คนนี้นะ เราว่าตัวละครหญิงในหนังของ Masson มันมีปริศนาทางจิตวิญญาณบางอย่างซุกซ่อนอยู่น่ะ เราก็เลยถูกโฉลกกับหนังของ Masson มากๆ

ส่วน Lvovsky นั้นเราเคยดูหนังของเธอไปแค่ 3 เรื่อง เราก็เลยยังไม่แน่ใจว่าอะไรคือลายเซ็นของ Lvovsky เพราะหนัง 3 เรื่องของเธอที่เราได้ดูค่อนข้างจะมีความแตกต่างจากกัน แต่หนังของเธอก็ดูแล้วมีความพิเศษอะไรบางอย่างนะ มันอาจจะไม่ได้มีความลึกซึ้งทางจิตวิญญาณมากเท่า Masson และอาจจะไม่ได้เจ็บปวดมากเท่า Dayan แต่มันก็มีความน่าจดจำมากกว่าหนังของ Vernoux น่ะ

ส่วน Josee Dayan นั้นส่วนใหญ่ทำหนังเพื่อฉายทางโทรทัศน์ แต่เราว่าหนังของ Dayan มันสุดยอดมากๆ มันดีกว่าหนัง 60% ที่เปิดฉายตามโรงปกติน่ะ เราว่าหนังบางอย่างของ Dayan มันถ่ายทอดความเจ็บปวดบางอย่างได้ดีมากๆ โดยเฉพาะ A BAD ENCOUNTER (2011) กับ TO DIE OF LOVE (2009)

เราว่าความเจ็บปวดนี่แหละคือสิ่งที่ขาดหายไปจากหนังของ Vernoux คือหนังของ Vernoux มีตัวละครหญิงที่เผชิญกับปัญหาชีวิตบางอย่าง แต่พอเราดูจนจบแล้ว เรากลับพบว่าตัวละครหญิงเหล่านี้ผ่านปัญหาชีวิตมาได้อย่างค่อนข้าง chill chill น่ะ ซึ่งต่างจากหนังของ Dayan และ Masson ที่ตัวละครหญิงอาจจะก้าวผ่านปัญหาชีวิตไปไม่ได้ หรือถึงแม้ก้าวผ่านไปได้ หัวใจของคนดูอย่างเราก็แหลกสลายเป็นผุยผงไปแล้วก่อนจะจบเรื่อง

คือที่เขียนมาทั้งหมดเหมือนด่าหนังของ Vernoux  แต่จริงๆแล้วเราก็ชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+20 นะ แต่เราขี้เกียจบรรยายถึงสิ่งที่เราเห็นว่าถูกต้องดีงามแล้วในหนังเรื่องนี้

จุดหนึ่งที่ชอบมากก็คือว่า มันคงยากที่จะเห็นหนังไทยแบบนี้น่ะ เพราะหนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับหมอฟันที่เกษียณอายุตอน 60 ปี เธอมีสามีและลูกสาวสองคน และเธอก็ไปมีชู้กับครูสอนคอมพิวเตอร์หนุ่มหล่อ เขาเป็นคนที่เจ้าชู้มาก แต่เธอก็พยายามทำใจยอมรับในจุดนี้ได้


ดูแล้วก็อยากให้มีหนังไทยแบบนี้นะ หนังเกี่ยวกับชีวิตเซ็กส์หฤหรรษ์ของหญิงวัย 60 ปีที่นำเสนอออกมาอย่างนุ่มนวลและเข้าอกเข้าใจ คืออย่างที่บอกน่ะแหละ หนังของ Vernoux มันธรรมดาถ้าเทียบกับหนังฝรั่งเศสด้วยกันเอง แต่ถ้าหากมันเป็นหนังไทย มันจะกลายเป็นหนังที่น่าสนใจสุดๆโดยอัตโนมัติ

Tuesday, February 17, 2015

STILL ALICE (2014, Richard Glatzer + Wash Westmoreland, A+20)

STILL ALICE (2014, Richard Glatzer + Wash Westmoreland, A+20)

รู้สึกว่า Kate Bosworth ในหนังเรื่องนี้น่าตบดี 555

การที่หนังเรื่องนี้ชอบทำภาพให้มันเลือนๆเพื่อสื่อถึงความจำที่เลอะเลือนของนางเอกเป็นวิธีการที่น่าสนใจดี

ดูหนังอัลไซเมอร์ของไทยมาหลายเรื่อง รวมถึงเรื่องนี้ด้วย แล้วพบว่าทุกเรื่องจะเน้นตัวละครที่ “มีครอบครัว” ทั้งนั้นเลย พอเราดูหนังพวกนี้แล้วก็เลยตั้งข้อสงสัยว่า ถ้าหากคนหัวเดียวกระเทียมลีบที่หาผัวไม่ได้อย่างเราเกิดเป็นอัลไซเมอร์ขึ้นมา ก็คงจะไม่สามารถมี “ดราม่าความรักในครอบครัว” แบบในหนังพวกนี้แน่ๆ




Thursday, February 12, 2015

THE CAMPUS


THE CAMPUS วิทยาเขตสังหาร (2015, a stage play by Young Pack Action, A+10)

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
--ไม่แน่ใจว่าใครเขียนบทและกำกับ แต่เดาว่าเป็นฝีมือของ Ninart Boonpothong เพราะบทมีความซับซ้อนในระดับนึง และเต็มไปด้วยตัวละครที่ทรยศหักหลังกัน ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่พบบ่อยในบทละครของ Ninart จนเหมือนกับเป็นลายเซ็นอันนึงของเขา 555

--สิ่งที่ชอบที่สุดในเรื่องก็คงเป็นบทละครนี่แหละ เหมือนบทมันแบ่งได้เป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ ซึ่งก็คือช่วงที่ค่อยๆแนะนำตัวละครแต่ละตัวจนครบ 7 คน, ช่วงที่ตัวละครแต่ละตัวผลัดกันเล่าเรื่องผี และช่วงที่ตัวละครแต่ละตัวปะทะกันอย่างรุนแรง

--ชอบช่วงที่ 3 ของเรื่องมาก เพราะเราไม่รู้มาก่อนว่าละครมันจะออกมาในทำนองนี้ คือระหว่างที่เราดูช่วงแรกของเรื่องเรานึกว่ามันจะออกมาเป็นเรื่องผีสยองขวัญแนว THE EYES DIARY (2014, Chookiat Sakveerakul, A+30) แต่พอช่วง 3 เนื้อเรื่องมันพลิกออกไปในอีกทางนึง เราก็เลยชอบมาก

--เราว่าบทมันดีมากในแง่ที่ว่า เนื้อเรื่องในช่วง 2 กับช่วง 3 มันล้อกัน มันสอดคล้องกัน ซึ่งการเขียนบทโดยวางโครงสร้างได้ดีแบบนี้มันไม่ใช่เรื่องง่าย คือนอกจากคุณต้องเขียนบทหลักบทนึงแล้ว คุณต้องคิด “เรื่องผี” อีก 6 เรื่องมาใส่ในบทหลักนี้ แล้วคุณก็ต้องคิดที่มาที่แท้จริงของ “เรื่องผี” 6 เรื่องนี้ด้วย เพื่อที่เรื่องราวยิบย่อยทั้งหมดจะผูกโยงกันและนำไปสู่ธีมหลักของละคร คือเราว่าคนที่คิด layer  3 ชั้นที่มีเรื่องราวยิบย่อยแบบนี้ได้มันต้องเก่งจริง และไม่ใช่คนเขียนบทละคร/บทภาพยนตร์ไทยหลายๆคนจะทำแบบนี้ได้

--แต่บทมันก็ไม่ได้สุดยอดมากถ้าหากนำไปเทียบกับบทละครเรื่องอื่นๆของ Ninart นะ คือบทละครเรื่องอื่นๆของ Ninart มันสุดๆกว่านี้น่ะ คือถ้าหากนำเรื่องนี้ไปเทียบกับงาน masterpiece อย่าง “เกมยุติธรรม” บทละครเรื่องนี้ก็อาจจะดูเหมือนเป็นแค่ “โปรเจคท์ขำๆ” ของนินาท แต่บทละครเรื่องนี้ก็ถือว่าดีมากๆอยู่ดี

--แต่เราก็ตามเนื้อเรื่องไม่ทันในช่วง 3 อยู่เหมือนกันนะ คือเราตามไม่ทันหมดหรอกว่าตกลงแล้วมันเกิดอะไรขึ้นบ้าง ใครหักหลังใคร ใครซ้อนแผนใคร แต่อันนี้เราไม่ถือว่าเป็นข้อเสียของละครเรื่องนี้

--แต่เราอาจจะมีปัญหากับตอนจบอยู่นิดนึง เพราะตอนจบตัวละครหลายๆตัวเหมือนผิดหวังกับการ “สูญเสียความเป็นเพื่อน” เราก็เลยรู้สึกอารมณ์สะดุดเล็กน้อย คือพอความจริงทุกอย่างมันเปิดเผยออกมาอย่างนี้แล้วนี่ มันคงไม่ต้องพูดถึงความเป็นเพื่อนกันอีกแล้วล่ะ 555 คือจริงๆแล้วเราอยากให้ตัวละครบางตัวเดินออกไปจากห้องโดยไม่ต้องพูดสรุปอะไรเลยจะดีกว่า คือพอตัวละครบางตัวพูดประโยคสรุปของตัวเอง แล้วเดินออกจากห้องไป มันดูเหมือนเป็นการรวบรัดปัญหาและรวบรัดอารมณ์ของตัวละครแต่ละตัวยังไงไม่รู้ แต่สิ่งที่บางตัวละครพูดก็ใช้ได้นะ แต่เรารู้สึกว่าตัวละครบางตัวอาจจะเดินออกไปจากห้อง โดยไม่ต้องพูดอะไรเลยก็ได้เหมือนกัน อย่างไรก็ดี อันนี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่สำหรับเราแต่อย่างใด มันเป็นเพียงแค่สิ่งที่เรารู้สึกสะดุดเล็กน้อย

--ในช่วงที่สองของละครนั้น เราชอบเรื่องผีนิเทศของตัวละครตัวนึงมากๆ เพราะเรื่องนี้มันมีทั้งผีและฆาตกรโรคจิตอยู่ในเรื่องเดียวกันน่ะ แล้วปกติเราจะกลัวฆาตกรโรคจิตมากกว่ากลัวผี เรื่องนี้ก็เลยน่ากลัวที่สุดสำหรับเราเมื่อเทียบกับเรื่องผีเรื่องอื่นๆ

--เราว่าคนที่เล่นเป็นพระเอกของเรื่อง เล่นดีมากๆ เราว่าผู้กำกับละครเรื่องนี้คิดถูกที่เอาคนนี้มาเล่นเป็นพระเอก คือมันมีบางช่วงที่นักแสดงคนนี้เปล่งพลังทางอารมณ์ออกมาได้ดีมากๆ โดยเฉพาะช่วงที่สามของเรื่อง และพอละครเรื่องนี้เอาคนที่เก่งจริงมาเล่นเป็นตัวหลัก มันเลยเหมือนมีเสาหลักที่แข็งแรงมาพยุงละครเรื่องนี้ให้ตลอดรอดฝั่ง

--นักแสดงคนอื่นๆก็เล่นใช้ได้นะ อาจจะดูเหมือนมีอะไรขัดๆเขินๆอยู่บ้าง แต่เราก็เข้าใจว่านี่คือนักแสดงหน้าใหม่ เราก็เลยไม่ได้รู้สึกว่าความขัดเขินพวกนี้เป็นอุปสรรคสำคัญแต่อย่างใด

--แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือการออกแบบฉากของเรื่อง ที่เป็นห้องอุดอู้ที่เต็มไปด้วยขยะ คือมันเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่จนลืมไม่ลงเลยแหละค่ะ แต่อาจจะไม่ใช่ในทางบวกนะ 555

คือเวลาที่เราดู เราจะเสียสมาธิเล็กน้อย แต่มันอาจจะเป็นเพราะว่าเราเป็นโรคจิตเองแหละ คือเราว่าห้องมันมีกลิ่นแปลกๆ แล้วเราก็จะจินตนาการว่า ถ้าหากขยะมันทิ้งไว้ในห้องหลายวันแบบนี้ แล้วมันจะเป็นการบ่มเพาะเชื้อโรคอะไรหรือเปล่า แล้วนี่ฉันกำลังสูดดมเชื้อโรคอะไรที่ลอยอยู่ในอากาศเข้าไปหรือเปล่า คือพอเราจินตนาการแบบนี้ เราก็เลยเสียสมาธิเล็กน้อย 555

โดยส่วนตัวแล้ว เราว่าฉากแบบนี้ เหมาะใช้เป็นสถานที่ติดตั้ง installation art หรือ video installation ที่มีความยาวไม่เกิน 15 นาทีนะ แต่การที่ต้องอยู่ในห้องแบบนี้นานกว่า 1 ชั่วโมงนี่ มันเป็นประสบการณ์ที่โหดสัสเหมือนกัน และเราก็รู้สึกนับถือนักแสดงทุกคนในเรื่องนี้จริงๆ ที่สามารถแสดงในห้องแบบนี้ได้ คือแค่เรานั่งอยู่เฉยๆในห้อง เราก็คุมสมาธิแทบไม่ได้แล้ว ไม่รู้นักแสดงทำได้ยังไง

--อย่างไรก็ดี ฉากในเรื่องนี้ก็น่าสนใจดีเหมือนกัน คือนอกจากมันจะแปลกใหม่แล้ว มันยังกระตุ้นให้เราจินตนาการในช่วงต้นๆเรื่องอีกด้วยว่า จริงๆแล้วตัวละครพวกนี้มันตายไปแล้วหรือเปล่า 555 คือถ้าหากละครเรื่องนี้มันเฉลยว่า ตัวละครทุกตัวตายไปแล้ว เราจะไม่แปลกใจเลย เพราะฉากในละครเรื่องนี้มันเหมือนไม่ใช่โลกแห่งความเป็นจริง แต่มันเหมือนกับเป็น “กึ่งๆนรก” 555





Wednesday, February 11, 2015

TOMORROWS (2013, Bénédicte Pagnot, France, A+25)

TOMORROWS (2013, Bénédicte Pagnot, France, A+25)


ชอบฉากที่ตัวละครหนุ่มสาวในเรื่องถกเถียงกันมากๆ ชอบที่ตัวละครแต่ละตัวดูเหมือนจะเป็นพวกต่อต้านทุนนิยมหรือระบบสังคมเหมือนๆกัน แต่จริงๆแล้วทุกคนมีแนวคิดเป็นของตัวเอง และมีความเห็นไม่ซ้ำกันในประเด็นต่างๆ เราว่าการที่บทหนังแจกแจงให้ตัวละครหลายๆตัวมีแนวคิดเป็นของตัวเองแบบนี้มันไม่ใช่เรื่องง่าย

Monday, February 09, 2015

THE IMITATION GAME (2014, Morten Tyldum, A+30)

THE IMITATION GAME (2014, Morten Tyldum, A+30)

หนังดีงามมาก แต่มันเหมือนอยู่ในขนบอะไรบางอย่างที่เราอธิบายไม่ถูก ซึ่งไอ้ขนบนี้ทำให้เราไม่ได้อินกับมันแบบสุดๆ คือหนังมัน touch เราในระดับนึง แต่มันเหมือนยังมีส่วนลึกที่สุดในจิตใจเราที่หนังยัง touch ไปไม่ถึง

แต่ก็ให้ A+30 นะ คือมันก็ดีงามในแบบของมันน่ะ ถึงแม้ว่าโดยส่วนตัวแล้ว ถ้าหากพูดถึงหนังชีวประวัติเกย์ เราจะชอบวิธีการแบบหนัง SAINT LAURENT (2014, Bertrand Bonello) มากกว่า


พอคุยกับเพื่อนถึงเรื่องพวกนี้แล้ว ทำให้เราตั้งข้อสงสัยว่า สาเหตุที่เราไม่ได้อินกับ THE IMITATION GAME และ FOXCATCHER แบบสุดๆ อาจจะเป็นเพราะหนังมีความพยายามจะอธิบายปมทางจิตบางอย่างของตัวละคร หรือตัวละครถูกอธิบายภายในมากเกินไป ซึ่งในบางครั้งเราจะมีปัญหากับหนังดราม่าที่อิงกับคำอธิบายทางจิตวิทยาแบบนี้ และเรามีแนวโน้มที่จะชอบหนังที่ไม่ได้ใช้วิธีการแบบนี้มากกว่า อย่างเช่น SAINT LAURENT และหนังหลายๆเรื่องของ Claude Chabrol คือเราว่าโดยตัวโครงเรื่องแล้ว FOXCATCHER มันมีอะไรบางอย่างที่ทำให้นึกถึงหนังของ Claude Chabrol แต่ถ้าหากเป็น Chabrol ตัวละครมันจะมี “ความไม่สามารถอธิบายได้” หรือ “ความยากที่จะอธิบาย” มากกว่านี้

เพิ่มเติม

เราชอบช่วงเด็กของหนังมากในระดับนึงนะ เพราะมันตรงกับประสบการณ์ของเรา  คือถ้าเอาเฉพาะ “เนื้อหา” ของช่วงเด็ก นี่มันเข้าทางเรามากๆ

แต่เราก็ไม่ชอบช่วงเด็กของหนังในระดับ A+30 นะ เพราะถึงแม้ “เนื้อหา” ของช่วงเด็กมันตรงกับประสบการณ์ชีวิตเรามากๆ แต่มันก็ไม่ได้สะเทือนใจเราอย่างสุดๆ และเราก็สงสัยว่ามันอาจจะเป็นเพราะ “วิธีการนำเสนอ” และ “วิธีการใช้ประโยชน์” จากช่วงเด็กในหนังเรื่องนี้น่ะ คือเราคิดว่าที่เราไม่ได้สะเทือนใจสุดๆ เป็นเพราะว่า

1.หนังไม่ได้นำเสนอช่วงเด็กในฐานะประเด็นหลักของหนัง ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่เข้าใจได้ว่าเพราะอะไร

2.หนังนำเสนอช่วงเด็กในฐานะ flashback และนำเสนอมันในฐานะของ “เหตุ” และนำเสนอปัจจุบัน (ทศวรรษ 1940) ในฐานะของ “ผล” คือพอช่วงเด็กของหนังมันถูกนำเสนอในฐานะ “ฉากที่มีเป้าประสงค์ชัดเจน” หรือ “ฉากที่มีเหตุผลชัดเจนว่าถูกใส่เข้ามาในหนังเพราะอะไร” มันก็เลยทำให้ฉากเด็กมันถูกลดทอนมิติอะไรบางอย่างออกไป มันทำให้ฉากเด็กขาดมิติอะไรบางอย่างที่มันจะเข้าทางเราอย่างเต็มที่น่ะ

คือเราไม่ได้คิดว่า THE IMITATION GAME ทำผิดอะไรนะ ที่นำเสนอฉากวัยเด็กในฐานะ flashback หรือในฐานะ “เหตุ” ของสิ่งต่างๆที่ทำให้พระเอกกลายเป็นคนแบบนั้นในเวลาต่อมา แต่โดยรสนิยมส่วนตัวแล้ว เราอาจจะชอบหนังที่นำเสนอ “เสี้ยวชีวิตต่างๆ” โดยไม่ต้องเป็นเหตุเป็นผลกันมากกว่าน่ะ ซึ่ง SAINT LAURENT เป็นตัวอย่างที่ดีของหนังที่เข้าทางเราแบบนี้


แต่บางทีมันอาจจะเหมาะสมแล้วก็ได้นะ เพราะ THE IMITATION GAME เป็นหนังเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ สิ่งต่างๆที่ถูกใส่เข้ามาในหนังเรื่องนี้ มันเลยมี “เหตุ” มี “ผล” มีอะไรรองรับไปหมดว่ามันถูกใส่เข้ามาในหนังเพราะอะไร ในขณะที่ SAINT LAURENT เป็นหนังเกี่ยวกับดีไซเนอร์ มันก็เลยเต็มไปด้วยฉากที่ดูเหมือนว่าอาจจะไม่จำเป็นต้องใส่เข้ามาในหนังก็ได้ หรือฉากที่ไม่รู้ว่ามันเกี่ยวพันกับฉากอื่นๆยังไง 555

Friday, February 06, 2015

FILMS WITH REPEATING OR CIRCUITOUS STRUCTURES

FILMS WITH REPEATING OR CIRCUITOUS STRUCTURES

(This list is made for a friend)

1.EUROPA 2005, 27 OCTOBER (2006, Jean-Marie Straub + Danièle Huillet)

2.THE FOURTHLAND OF HEAVEN (2013, Pramote Sangsorn)

3.MARILYN TIMES FIVE (1973, Bruce Conner)

4.REPEATING DRAMATIC (2008, Arpapun Plungsirisoontorn)

5.LA RONDE (1950, Max Ophuls)

6.THE ROOM (2011, Pesang Sangsuwan)
เรื่องของชายหนุ่มที่ตื่นขึ้นมาในห้องๆนึงและออกจากห้องนั้นไม่ได้ และเหตุการณ์ก็เป็นแบบนี้ซ้ำๆกันทุกวัน

7.SMOKING/NO SMOKING (1993, Alain Resnais)

8.GHOST IN THE CLASSROOM (2011, Ukrit Sa-nguanhai)
อันนี้ที่เป็นฉากครูทำร้ายนักเรียนหน้าห้อง แล้ววนซ้ำไปซ้ำมา

9.OBSERVATION OF THE MONUMENT (Michael Shaowanasai)

10.PISCINE (2002, Jean-Baptiste Bruant + Maria Spangaro)

อันนี้เป็นหนังความยาว 60 นาที ที่มีแต่ฉากกลุ่มคนเดินไปเดินมาในสระว่ายน้ำ เราไม่แน่ใจว่าหนังวนลูปหรือเปล่า

11.เสี้ยวหนึ่งของความเป็นไปได้ทั้งหมดในการให้ แต่จะรับหรือไม่รับก็แล้วแต่พิจารณา (2014, ณัฐวุฒิ นิมิตชัยโกศล)


นอกจากนี้ ยังมีหนังบางเรื่องที่ไม่ได้เล่าเนื้อเรื่องแบบวนลูป แต่มีอะไรบางอย่างใกล้เคียงกับหนังกลุ่มข้างต้น เพราะหนังประเภทนี้จะเล่าถึงตัวละครที่ติดอยู่ในสถานการณ์พิสดารที่หาทางออกไม่ได้เหมือนๆกัน อย่างเช่น

--CIRCLE เส้นทางวงกลม (2012, Raksak Janpisu)
--DAY วันดีคืนดี (2012, Piyathida Supkut) นำแสดงโดยวัชรพล สายสงเคราะห์


BERLIN FILM FESTIVAL WISH LIST


BERLIN FILM FESTIVAL WISH LIST

1.BALIKBAYAN (Kidlat Tahimik)
2.BLOCHIN: THE LIVING AND THE DEAD (2015, Matthias Glasner, 360min)
3.BUTTERFLY (2015, Marco Burger)
4.COUNTING (2015, Jem Cohen, documentary)
5.FEELINGS ARE FACTS: THE LIFE OF YVONNE RAINER (2015, Jack Walsh, documentary)
6.FISH TAIL (Joaquim Pinto + Nuno Leonel, documentary)
7.THE FORBIDDEN ROOM (2015, Guy Maddin + Evan Johnson)
8.JOURNEY INTO POST-HISTORY (Vincent Dieutre, documentary)
9.THE LAST SUMMER OF THE RICH (2015, Peter Kern)
10.THE MISPLACED WORLD (2015, Margarethe von Trotta)
11.MURDER IN PACOT (2015, Raoul Peck)
12.THE NEW MAN (2015, Aldo Garay, documentary)
13.OVER THE YEARS (Nikolaus Geyrhalter, documentary, 188min)
14.THE RESISTORS (2015, Katrin Seybold+ Ula Stockl, documentary)
15.STORY OF JUDAS (Rabah Ameur-Zaimeche)
16.STRANGE VICTORY (1948, Leo Hurwitz, documentary)
17.THEN IS IT THE END? THE FILM CRITIC MICHAEL ALTHEN (2015, Dominik Graf, documentary)
18.THANATOS, DRUNK (2015, Chang Tso-chi)
19.TOUGH LOVE (2015, Rosa von Praunheim)
20.WHAT HAPPENED, MISS SIMONE? (2015, Liz Garbus, documentary)

ภาพจาก THE RESISTORS


Sunday, February 01, 2015

Japanese Films seen on Sunday, February 1, 2015


Japanese Films seen on Sunday, February 1, 2015

1.AKKO-CHAN: THE MOVIE (2012, Taisuke Kawamura, A+30)

เราว่าถ้าพลิกนิดเดียว มันจะกลายเป็นหนังเกย์ได้เลยน่ะ คือนางเอกหนังเรื่องนี้ให้ความสำคัญกับการแต่งหน้ามากๆ และเธอต้องพยายามปกปิดไม่ให้พระเอกหนุ่มหล่อในที่ทำงานรู้ว่า เธอไม่ใช่ WOMAN จริงๆ คือ WOMAN ในหนังเรื่องนี้หมายถึงผู้หญิงที่โตเต็มที่แล้ว เพราะจริงๆแล้วนางเอกยังเป็นแค่ girl หรือเด็กหญิงอายุ 10 ขวบเท่านั้น แต่การที่นางเอกของหนังเรื่องนี้ ไม่ใช่ WOMAN จริงๆ มันก็เลยทำให้สถานะของนางเอกในหนังเรื่องนี้มันใกล้เคียงกับ “กะเทย” โดยที่หนังเองก็อาจจะไม่ได้ตั้งใจ หนังเรื่องนี้ก็เลยตอบสนองโลกพาฝันของเกย์อย่างเราได้ดีมากๆ 555

2.THE LIGHT SHINES ONLY THERE (2014, Mipo O, A+15)

คุยกับเพื่อนๆหลังหนังจบแล้วเลยได้ประเด็นที่น่าสนใจมากๆ คือโดยส่วนตัวแล้ว เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ทำตามสูตรหนังแนวที่เราชอบ แต่เรากลับไม่รู้สึกรุนแรงกับมันเท่าที่ควร ซึ่งตรงข้ามกับหนังอย่าง AKKO-CHAN คือหนังอย่าง AKKO-CHAN เป็นหนัง genre ที่เราไม่น่าจะชอบมาก (หนังพาฝันสำหรับเด็ก) แต่มันกลับนำความปลื้มปีติมาให้เรามากๆ แต่หนังอย่าง THE LIGHT SHINES ONLY THERE เป็นหนัง genre ที่เราชอบ แต่เรากลับไม่ได้ชอบมันมากเท่าที่ควร

คือปกติแล้วเราชอบหนังที่ตัวละครเต็มไปด้วยความเจ็บปวดทางจิตใจน่ะ เราก็เลยชอบหนังอย่าง HIMIZU (2011, Sion Sono, A+30) สุดๆ เราก็เลยมาคิดว่า ทำไมเราถึงชอบ HIMIZU มากๆ แต่เราชอบ THE LIGHT SHINES ONLY THERE แค่ในระดับ A+15 เท่านั้น ซึ่งเราว่าเป็นเพราะ

2.1 ตัวละครพระเอกนางเอกใน HIMIZU มันมี “เพลิง” อยู่ในใจน่ะ มันเหมือนมีความแผดเผา กราดเกรี้ยวบางอย่างอยู่ในใจ เราก็เลยอินกับตัวละครพระเอกนางเอกใน HIMIZU มากกว่าในเรื่องนี้

2.2 อีกประเด็นนึงที่เราคิดขึ้นมาหลังจากคุยกับเพื่อนๆก็คือว่า บางครั้งการพยายามดำดิ่งเจาะลึกเข้าไปในจิตใจตัวละคร ก็อาจจะประสบความสำเร็จในระดับที่มากน้อยแตกต่างกันไปในหนังแต่ละเรื่อง คือถ้าหากเปรียบเทียบ “การพยายามถ่ายทอดความเป็นมนุษย์ของตัวละคร” เป็นการถ่ายภาพ เราก็รู้สึกว่า หนังบางเรื่องมันทำได้แค่เป็นภาพเซลฟี่โง่ๆน่ะ คือหนังบางเรื่องมันถ่ายทอดความจริงในชีวิตมนุษย์ออกมาได้ก็จริง แต่มันก็ขาดเสน่ห์ เหมือนภาพเซลฟี่โง่ๆภาพนึงที่แสดงให้เห็นถึงความจริงบนใบหน้ามนุษย์คนนึงอย่างตรงไปตรงมา แต่ถ้าหากเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่เก่งจริง ผลงานที่ออกมามันจะเหมือนภาพ self portrait ของ Rembrandt หรือจิตรกรคนอื่นๆ คือภาพที่ออกมามันอาจจะไม่ได้ตรงกับความจริงเท่าภาพถ่ายเซลฟี่ แต่มันมีความลึกซึ้งทางจิตวิญญาณอยู่ในภาพวาดภาพนั้น

แต่การที่ผู้กำกับคนไหนจะทำหนังแล้วออกมาเหมือนภาพเซลฟี่ หรือทำออกมาแล้วเหมือนภาพ self portrait ของ Rembrandt อันนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับฝีมือของแต่ละคนแล้วล่ะ แต่เราก็ยืนยันว่า ความพยายามที่จะถ่ายทอดชีวิตมนุษย์จริงๆเป็นสิ่งที่เราชอบมากนะ แต่การที่จะถ่ายทอดให้ออกมาดีได้นั้น บางทีมันอาจจะต้องอาศัยฝีมือมากพอสมควรด้วย

แต่ที่เขียนมานี้ เราไม่ได้จะบอกว่า THE LIGHT SHINES ONLY THERE เหมือนภาพเซลฟี่โง่ๆนะ เพราะจริงๆแล้วเราก็ชอบหนังเรื่องนี้ถึงขั้น A+15 แต่สาเหตุสำคัญที่เราไม่ได้ชอบถึงขั้น A+30 เป็นเพราะว่าเราไม่อินกับพระเอกนางเอกในหนังเรื่องนี้เท่านั้นแหละ แต่เราจะอินกับพระเอกนางเอกใน HIMIZU อย่างรุนแรงมาก

อันนี้เป็นรูปของ Masaki Okada พระเอกของ AKKO-CHAN


Japanese Films seen on Saturday, January 31, 2015

Japanese Films seen on Saturday, January 31, 2015

1.A STORY OF YONOSUKE (2013, Shuichi Okita, A+30)
ฉากที่สะเทือนใจเราที่สุดคือฉากของดีเจ

2.SAUDADE (2011, Katsuya Tomita, A+30)
ฉากที่สะเทือนใจเราที่สุดคือฉากในช่วงท้ายที่พระเอกเดินไปตามถนนที่คล้าย RCA ในยุครุ่งเรือง ก่อนที่จะพบว่า....

3.TUG OF WAR! (2012, Nobuo Mizuta, A+20)
ดูแล้วมีบางจุดที่ทำให้นึกถึง A LEAGUE OF THEIR OWN (1992, Penny Marshall)

อันนี้เป็นรูปของพระเอก TUG OF WAR!