Tuesday, August 25, 2020

MEW

 MEW หวังดีเสมอ อย่างอื่นไม่หวังแล้ว (2020, เขมิสรา กาญจนพยัคฆ์, short film, A+30)


1.ชอบบทภาพยนตร์มากๆ เหมือนบทภาพยนตร์มันเล่าเรื่องรักสามเส้าระหว่างกลุ่มเพื่อนสนิทออกมาได้อย่างน่าประทับใจ โดยที่เหตุการณ์ทั้งหมดในหนังเกิดขึ้นในคืนเดียว

 คือบทภาพยนตร์สามารถทำให้เรารู้สึกได้จริงๆว่าตัวละครมีชีวิตมาก่อนที่หนังจะเริ่ม และการที่ปมความสัมพันธ์ในหนังถูกคลี่คลายภายในคืนเดียวก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างสมจริง ไม่ได้ดูฝืนหรือดูรวบรัดมากเกินไป

2. ดูแล้วนึกถึงทั้ง FRIENDS SHIFT (2013, Boonyarit Wiangnon) และ FLOWERS ON A GLOOMY DAY (2020,  อารีดา อารยรุ่งโรจน์) เพราะ FRIENDS SHIFT ก็เล่าเรื่องรักหลายเส้าในกลุ่มเพื่อนมหาลัยออกมาได้อย่างสมจริงและงดงามมากๆเหมือนกัน แต่เหมือน MEW จะพยายามเล่นท่ายากกว่า FRIENDS SHIFT นิดนึง ด้วยการกำหนดให้หนังเล่าเหตุการณ์แค่เพียงคืนเดียวเท่านั้น

ส่วน FLOWERS ON A GLOOMY DAY ก็เหมือนจะเล่าเรื่องรัก 3 เส้าเหมือนกัน (ครู, เด็กสาว, เด็กหนุ่ม) มีตัวละครเลสเบียนเหมือนกัน และนำเสนอแค่ "จุดหักเหของความสัมพันธ์" เหมือนกัน แต่เราชอบ MEW มากกว่าหน่อย เพราะเรารู้สึกว่า MEW ปั้นสถานการณ์ให้ผู้ชมรู้สึกลุ้นไปกับตัวละครได้มากกว่า และเรื่องราวแบบใน MEW เป็นเรื่องที่เราอินได้ง่ายกว่าน่ะ เพราะ MEW เป็นเรื่องของ " เพื่อนที่แอบรักเพื่อน แต่ไม่รู้ว่าจะสารภาพรักดีมั้ย" ซึ่งคนที่เคยมีประสบการณ์แบบนี้จะอินได้ง่ายในทันที ส่วน FLOWERS  ON A GLOOMY DAY นำเสนอ "ตัวละครที่เหมือนอยู่ในความสัมพันธ์มานานระยะนึงแล้ว" มันก็เลยยากกว่าสำหรับเราในการที่จะอินไปกับตัวละคร

Monday, August 24, 2020

HAPPY 20TH BIRTHDAY

 

HAPPY 20TH BIRTHDAY (2020, เคียงดาว บัวประโคน, 21min, A+30)

 

1.ปีนี้ได้ดูหนัง thesis ของ ICT ไปแค่ 18 เรื่อง ปรากฏว่าชอบเรื่องนี้มากที่สุด 55555 คือถ้าพูดในแง่ aesthetics, art, filmmaking อะไรพวกนี้ หนังเรื่องนี้ก็สู้หนังแบบ UNDERGROUND CEMETERY ไม่ได้หรอก แต่ความสุขที่เราได้รับจากหนังแต่ละเรื่องมันแตกต่างกันไป หนังบางเรื่องก็ให้ความสุขแแก่เราผ่านทาง "ศิลปะ", บางเรื่องก็ให้ความสุขแก่เราผ่านทาง "ความบันเทิง", บางเรื่องก็ให้ความสุขแก่เราผ่านทาง “ข้อคิด”, บางเรื่องก็ให้ความสุขแก่เราผ่านทาง “สาระความรู้” และบางเรื่องก็ให้ความสุขแก่เราผ่านทาง “การทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า ตัวตนของเราได้รับการยอมรับ” และ HAPPY 20TH BIRTHDAY ก็คือหนึ่งในหนังกลุ่มหลังสุดนี้

 

2.ดูแล้วรู้สึกดีใจที่อดทนมีชีวิตอยู่มา 47 ปีจนถึงวันที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ คือมันเป็นหนังไทยแบบที่เราอยากเห็นมานานมากๆแล้ว แต่ก็ไม่เคยมีคนไทยสร้างมันออกมาให้เราได้ดูในเลยในช่วง 47 ปีที่ผ่านมา นึกว่าการได้ดูหนังเรื่องนี้คือการได้นอนตายตาหลับเสียที 55555 เพราะมีคนทำในสิ่งที่เราปรารถนามานาน 47 ปีให้สำเร็จได้ในที่สุด

 

3.สาเหตุที่เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆก็คือว่า ถ้าหากเราเกิดเป็นหญิงสาวที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนนางเอกหนังเรื่องนี้ เราก็อาจจะตัดสินใจทำทุกอย่างคล้ายนางเอกหนังเรื่องนี้น่ะ (แต่จริงๆแล้วเราคงไม่รอจนอายุ 20 ปีหรอก 55555) คือนางเอกหนังเรื่องนี้ “ทำในสิ่งที่เราอยากจะทำ” ซึ่งเป็นสิ่งที่เราอยากเห็นมานานมากแล้วในหนังไทย แต่เราแทบไม่เคยเจอมาก่อน

 

คือหนังไทยส่วนใหญ่ที่เราได้ดูนั้น ตัวละครนางเอกมักจะ “ไม่ค่อยกล้าแสดงความปรารถนาทางเพศ” น่ะ ตัวละครนางเอกหนังไทยมักจะเรียบร้อย หรือถ้าหนังไทยเรื่องไหนมีตัวละครนางเอกแรงๆ มันก็จะแรงไปในทางด้านอื่นๆ (อย่างเช่นมีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะแก้แค้น) ไม่ใช่แรงไปในทางเงี่ยนๆ

 

ตัวละครผู้หญิงที่กล้าแสดงความต้องการทางเพศในหนังไทย มักจะตกเป็นบทของนางอิจฉา, ดาวยั่ว, เพื่อนนางเอก หรือ “นางเอกแบบ anti-heroine” และตัวละครเหล่านี้ มักจะ “ถูกลงโทษ” ในที่สุด ซึ่งอาจจะรวมถึงตัวละครในหนังแบบ “อีพริ้ง คนเริงเมือง” และ “ผู้หญิงห้าบาป” ด้วย

 

(แต่แน่นอนว่า มันก็มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง ซึ่งก็มีน้อยมาก มันมีหนังสั้นไทยบางเรื่องที่ก้าวข้ามจุดนี้ไปได้ หรือหนังอย่าง BLISSFULLY YOURS ที่การแสดงความต้องการทางเพศคือความงดงาม)

 

เพราะฉะนั้น เวลาที่เราดูหนังไทย เราก็เลยรู้สึกเหมือนกับว่า “ตัวตนของเราไม่ได้รับการยอมรับ” เพราะ “ความปรารถนาของเราไม่ได้รับการยอมรับ” จากหนังไทยส่วนใหญ่ คือถึงแม้ว่าเราจะเป็นเกย์ และมีหนังเกย์ไทยหลายเรื่องที่ “ยอมรับตัวตนของเรา” ผ่านทางการนำเสนอตัวละครเกย์ที่เรา identify ด้วยได้ แต่เราก็มีแฟนตาซี, ความใฝ่ฝัน หรือจินตนาการมาตั้งแต่เด็กแล้ว ว่าเราอยากเป็น “สาวสวย” และเราก็อยากจะดูหนังไทยที่นำเสนอ “นางเอกในจินตนาการของเรา” ที่ “ทำในสิ่งที่เราอยากจะทำ” ซึ่งก็คือนางเอกที่แสดงความต้องการทางเพศออกมาอย่างเต็มที่ โดยที่ไม่ต้อง “ถูกลงโทษ”

 

HAPPY 20TH BIRTHDAY ก็เลยเหมือนเป็นหนังไทยเรื่องแรกที่เราได้ดูในช่วง 47 ปีที่ผ่านมา ที่นำเสนอ “นางเอก” ที่ตรงกับ “นางเอกในจินตนาการของเรามากที่สุด” หรือตรงกับ “ผู้หญิงในแบบที่เราอยากจะเป็นมากที่สุด” นางเอกหนังเรื่องนี้ “ทำในสิ่งที่เราอยากจะทำ” จริงๆ

 

4.ชอบการแสดงของนางเอกมากๆ เธอเล่นได้ทั้งมาดเรียบร้อยและมาดเซ็กซี่ และเราว่าถ้าหากให้เธอรับบท “ร้ายๆ” ในหนังเรื่องอื่นๆ เธอก็น่าจะเล่นได้เหมือนกัน

 

5. HAPPY 20TH BIRTHDAY อาจจะไม่ใช่หนังไทยเรื่องแรกที่นำเสนอตัวละคร “นางเอก” ที่กล้าแสดงความต้องการแบบนี้ แต่ตัวละครนางเอกในหนังเรื่องนี้มันตรงกับ “แฟนตาซีของผู้หญิงที่เราอยากจะเป็น” มากที่สุดน่ะ เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงที่สุด

 

คือถ้าหากพูดถึงหนังไทยที่นำเสนอตัวละครหญิงแบบนี้นั้น มันก็มีหลายเรื่องด้วยกัน แต่ตัวละครมันจะแค่ “เฉียดๆ” กับแฟนตาซีของเราเท่านั้นน่ะ มันไม่ตรงกับแฟนตาซีของเรามากเท่าเรื่องนี้  โดยหนังไทยในกลุ่มนี้ก็มีเช่น

 

5.1 THOM (2009, Suphisara Kittikunarak) ที่ตัวละครนางเอกแรงมาก แต่เหมือนหนังเน้นไปที่ปัญหาทางจิตของตัวละคร และไม่ได้ celebrate ความต้องการทางเพศของนางเอกแบบใน HAPPY 20TH BIRTHDAY

 

5.2 PLAISIRS (2017, Lucy Day) ที่ให้หญิงสาวชาวไทยบางคนมาคุยกันถึงประสบการณ์ความรัก แต่หนังเรื่องนี้เหมือนนำเสนอ “ความจริงของชีวิต” น่ะ มันก็เลยไม่ได้ทำหน้าที่ “ตอบสนองแฟนตาซี” เหมือนอย่าง HAPPY 20TH BIRTHDAY

 

5.3 VANZ (2018, Krisada Pengboon) ตัวละครนางเอกหนังเรื่องนี้ก็ “ทำในสิ่งที่เราอยากจะทำ” เหมือนกัน นั่นก็คือการได้ร่วมรักกับชายหนุ่มหลายๆคน แต่หนังมันเล่าเรื่องจากมุมมองของตัวละครชายน่ะ มันไม่ได้เล่าเรื่องจากมุมมองของนางเอก

 

5.4 QODESH (2018, Pannin Palasoon, Sataporn Wongsa) ตัวละครนางเอกหนังเรื่องนี้เงี่ยนเกินไป (ถ้าเทียบกับผู้หญิงที่เราอยากจะเป็น) นึกว่าเธอต้องปะทะกับนางเอก IN THE REALM OF THE SENSES

 

5.5 ตัวละครน้องสาวนางเอกใน “มนต์รักดอกผักบุ้ง” (2020) และตัวละครเพื่อนนางเอกใน “รักข้ามคาน” (2020) ก็เงี่ยนผู้ชายจนออกนอกหน้า และมีฉากตัวละครทั้งสองเลือดกำเดาไหลเหมือนกัน และตัวละครทั้งสองก็ “ไม่ถูกลงโทษ” เหมือนกัน แต่ตัวละครทั้งสองไม่ใช่ “นางเอก” น่ะ มันก็เลยเหมือนกับว่า พฤติกรรมเงี่ยนผู้ชายแบบนี้ ยังไม่ใช่พฤติกรรมแบบที่ผู้สร้างหนังต้องการจะ celebrate จริงๆ

 

6. คิดว่า HAPPY 20TH BIRTHDAY เหมาะฉายควบกับ GIRLFRIENDS (2000, Caroline Vignal, France) มากๆ เพราะ GIRLFRIENDS เป็นหนังฝรั่งเศสที่เล่าเรื่องของเด็กสาวบุคลิกเรียบร้อย แต่จริงๆแล้วเธออยากจะเสียตัวอย่างรุนแรง และเธอก็เลยพยายามหาประสบการณ์ในเรื่องนี้ และเรียนรู้เรื่องพวกนี้ (เราเคยเลือกหนังเรื่อง GIRLFRIENDS มาฉายที่ Alliance เมื่อหลายปีก่อน 55555)

https://www.imdb.com/title/tt0229226/?ref_=nm_flmg_wr_4

 

7.อยากให้มีการดัดแปลง HAPPY 20TH BIRTHDAY มาสร้างเป็นหนังยาวมากๆ โดยตัวหนังยาวอาจจะเล่าถึงความสัมพันธ์ของนางเอกกับผู้ชายแต่ละคนที่ผ่านเข้ามาในชีวิต 55555

AWKWARD SMILE

 

DAOVIKARN ดาววิกาล (2020, เหมือนดาว กมลธรรม, A+30)

 ชอบที่หนังเลือกนำเสนอตัวละครนางเอกเป็น "หญิงวัยกลางคนที่ทำงานคาราโอเกะในชนบท" คือทั้งอายุตัวละคร, อาชีพตัวละคร, ฐานะของตัวละคร และ setting มันดูแตกต่างจากหนังนักศึกษาส่วนใหญ่ เหมือนเป็นการทำหนังในแบบที่ออกจาก comfort zone ได้ดีมาก

ชอบที่หนัง "ไม่พาฝัน" ด้วย ดูแล้วรู้สึกว่าชีวิตคนมัน "ไม่ง่าย" จริงๆ

ชอบ casting มากๆ

เหมาะฉายควบกับ VENUS BEAUTY INSTITUTE (1998, Tonie Marshall, France) ที่เล่าเรื่องของหญิงพนักงานร้านเสริมสวยวัยราว 50 ปีที่เหมือนมาถึงทางตันของอาชีพ

AFTER A LONG WALK, HE STANDS STILL (2020, กันตาภัทร พุทธสุวรรณ, 30min, A+30)

หนังเกี่ยวกับปัญหาการเกณฑ์ทหารที่น่าประทับใจมากๆ

FLOWERS ON A GLOOMY DAY (2020,  อารีดา อารยรุ่งโรจน์, 19min,.A+25)

 หนังเลสเบียน ชอบการใช้ดอก cutter เป็นอุปมาอุปไมย

AWKWARD SMILE (2020, ธนกฤต กิตติอภิธาน, 29min, A+30)
กระดูกหมูตุ๋นยาจีน

1.โดยปกติแล้วเราเกลียดหนังตลก และเราเกลียด "หนังรักครอบครัว" แต่เราร้องไห้ให้หนังเรื่องนี้ ยอมพ่ายแพ้จริงๆ

2.ตอนแรกนึกว่ามันจะเป็นหนังสูตร "ลูกกลับมาเยี่ยมบ้าน" แบบซึ้งๆธรรมดาๆ แต่อยู่ดีๆตัวละครพ่อก็ปล่อยมุกตลกเห่ยๆออกมาเรื่อยๆ มันก็เลยทำให้เรารู้สึกว่า หนังมันน่าสนใจขึ้นมามากๆ เพราะเหมือนหนังมันไม่สนใจ genre หนังแบบปกติ แต่เหมือนมันจะสร้าง genre ขึ้นมาเอง คืออยู่ดีๆก็ตลกเห่ยๆเป็นระยะๆ โดยไม่ได้พยายามทำตัวเป็นหนังตลกเต็มตัว

3.มุกตลกในหนังก็มีแป้กบ้างเป็นระยะๆ ซึ่งการยิงมุกแป้กบ่อยๆแบบนี้ ถ้าหากหนังเรื่องนี้มันเป็น "หนังตลก" แบบทั่วไป มันก็อาจจะแสดงให้เห็นว่าหนังเรื่องนี้ล้มเหลว (ในการทำให้ผู้ชมหัวเราะกับทุกมุก)

4.แต่พอดูถึงช่วงจบ เราก็ร้องไห้ และรู้สึกเหมือนกับว่ามุกแป้กไม่ใช่ความล้มเหลวของหนัง แต่อาจจะเป็นส่วนนึงของความสำเร็จของหนัง เราว่าหนังมันซึ้งหรือเศร้าสุดๆสำหรับเรา มันเหมือนเป็นเรื่องของพ่อที่ล้มเหลวอย่างรุนแรงในชีวิต แต่พยายามจะ connect กับลูกชาย ผ่านทาง "ความพยายามจะสร้างเสียงหัวเราะ" มันเหมือนเป็นหนังที่ถ่ายทอดอารมณ์ของคนที่อยากจะร้องไห้อย่างรุนแรง แต่พยายามหัวเราะให้เสียงดังที่สุดเพื่อกลบเกลื่อนก้อนสะอื้นเอาไว้ ซึ่งมันเป็นอารมณ์ที่สะเทือนใจเรามากๆ กราบบบบบ

Sunday, August 23, 2020

ABOUT ENDLESSNESS

 

ABOUT ENDLESSNESS (2019, Roy Andersson, Sweden, A+30)

1.ดีใจที่มีคนนำหนังแบบนี้มาฉายในไทย เพราะในแง่นึงมันก็เหมือน "หนังทดลอง" ที่ไม่ประนีประนอมกับผู้ชมใดๆทั้งสิ้น และเป็นหนังที่ช่วยขยายขอบเขตของ "ภาพยนตร์" ออกไปได้ดีมาก

2.รู้สึกถูกโฉลกกับหนังแนว "ซีนสั้นๆที่ไม่ค่อยเกี่ยวกัน มาเรียงร้อยต่อกัน" แบบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไมเรามักรู้สึกมีความสุขสุดๆกับการดูหนังแนวนี้ บางทีอาจจะเป็นเพราะเราเบื่อ "เนื้อเรื่อง" ในหนังทั่วไปที่มันซ้ำๆกัน และบางทีอาจจะเป็นเพราะ หนังกลุ่มนี้มัน "เปิดที่ว่าง" ทางจินตนาการให้เรามากๆ ในการจินตนาการ "ความเชื่อมโยงกันของแต่ละซีน" และจินตนาการ "เนื้อเรื่อง" ที่มาก่อนหน้าและที่มาหลังจากซีนนั้นๆ

3.ฉากที่กระตุ้นจินตนาการเรามากที่สุด คงเป็นฉาก "หญิงสาวผู้ไร้ยางอาย" ที่ยืนมองวิวจากตึกสูงในข่วงต้นๆเรื่อง 555 คือคำว่า "หญิงสาวที่ไร้ยางอาย" นี่ มันเหมาะเป็นตัวละครที่สามารถมีชีวิตอยู่รอดได้ใน my imaginary film มากๆ

4.  ฉากรองเท้าส้นสูงหัก เราก็ชอบสุดๆ โดยไม่รู้เหมือนกันว่าทำไม

5. ฉากที่ตัวละครพูดถึงพลังงานไม่สูญสลายก็ดีงามมากๆ นึกว่าการเวียนว่ายตายเกิด 555

6. ดูแล้วนึกถึงหนังกลุ่มที่เราเขียนถึงในข้อ 2 อย่างเช่น SONGS FROM THE SECOND FLOOR (2000, Roy Andersson), VIDEO 50 (1978, Robert Wilson), 71 FRAGMENTS OF A CHRONOLOGY OF CHANCE (1994, Michael Haneke, Austria), A WHOLE NIGHT (1982, Chantal Akerman, Belgium), THE BURIED FOREST (2005, Kohei Oguri, Japan), DISORDER (2009, Huang Weikai, China, documentary)

ถ้าเทียบกับหนังในกลุ่มข้างต้นแล้ว เราว่า ABOUT ENDLESSNESS จัดอยู่ในกลุ่มดูยากเกือบที่สุดนะ แต่ดูยากในที่นี้หมายถึง "ยากในการเชื่อมโยงแต่ละฉากเข้าด้วยกัน" นะ ไม่ได้หมายถึงยากในแง่ "ไม่บันเทิง"

เพราะหนังในกลุ่มข้างต้น ส่วนใหญ่แล้วแต่ละฉากมันมีความเชื่อมโยงกันอย่างเห็นได้ง่ายในบางแง่มุมน่ะ อย่าง DISORDER ก็มีธีมชัดเจน,  THE BURIED FOREST ทุกฉากก็เหมือนเกิดในเมืองเดียวกัน,  A WHOLE NIGHT ก็เน้นความโรแมนติกในทุกฉาก, 71 FRAGMENTS ก็มีเนื้อเรื่องเชื่อมกันในจุดนึง

แต่ ABOUT ENDLESSNESS มีความกระจัดกระจายสูงมากเมื่อเทียบกับหนังหลายเรื่องในกลุ่มข้างต้น เราก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันท้าทายมาก

แต่หนังที่เราชอบที่สุดในกลุ่มนี้ ก็คือ VIDEO 50 นะ ซึ่งน่าจะมีความกระจัดกระจายที่สุดแล้ว มันเป็นหนังที่ประกอบด้วยฉากที่กระจัดกระจาย 50 ฉาก แต่เรารู้สึกว่า VIDEO 50 มันมี "ความประสาทแดก" บางอย่างที่จูนติดกับเราอย่างรุนแรง
 
7. พอ ABOUT ENDLESSNESS มันมีความคริสต์ (ฉากไม้กางเขน, ฉากบาทหลวง, มุมมองของเทวดา?) เราก็เลยจินตนาการว่า อยากให้มีผู้กำกับหนังไทยทำหนังพุทธๆ แนวนี้ออกมาบ้าง โดยเอาแรงบันดาลใจมาจากภาพปริศนาธรรมต่างๆมาเรียงร้อยต่อกัน 555 อย่างเช่นสร้างหนังไทยที่ประกอบด้วย 13 ฉาก  ฉากนึงนำเสนอโทมนัส, ฉาก 2  นำเสนอชรามรณะ, 3 ชาติ, 4 ภพ, 5 อุปาทาน, 6 ตัณหา, 7 เวทนา, 8 ผัสสะ, 9 สฬายตนะ, 10 นามรูป, 11 วิญญาณ, 12 สังขาร, 13 อวิชชา  โดยเอาแรงบันดาลใจมาจากจิตรกรรมในสวนโมกข์ 55555

Saturday, August 22, 2020

ADULTS IN THE ROOM

 ADULTS IN THE ROOM (2019, Costa-Gavras, France/Greece, A+30)


Spoilers alert
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--

1. กราบ Costa-Gavras เขาสามารถดัดแปลงหนังสือ non-fiction ให้ออกมาเป็นหนังที่สนุกมากๆได้ ใครจะนึกว่า "การประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซน" จะป็นอะไรที่สนุกสุดขีดขนาดนี้

2.เราชอบหนัง/ละครทีวี ที่นำเสนอ "กระบวนการทำงานของนักการเมือง" โดยเฉพาะการ debate ของนักการเมืองน่ะ เพราะฉะนั้นเราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ ชอบพอๆกับ VICTOR SCHOELCHER, L'ABOLITION (1998, Paul Vecchiali, France), LINCOLN (2012, Steven Spielberg) และ CORN IN PARLIAMENT (2003, Jean-Stephane Bron, Switzerland, documentary) เลย แต่ ADULTS IN THE ROOM จะแตกต่างจากหนัง 3 เรื่องนี้ในแง่ที่ว่า  หนัง 3 เรื่องนี้นำเสนอ "การถกเถียงกันเกี่ยวกับการออกนโยบายภายในประเทศ" ส่วน ADULTS IN THE ROOM นำเสนอการถกเถึยงกันในเวทีระหว่างประเทศ

3.ถึงหนังเรื่องนี้ดูเผินๆเหมือนจะพูดถึง "สิ่งที่ผ่านไปแล้ว" ซึ่งก็คือ วิกฤติหนี้กรีซ แต่การดูหนังเรื่องนี้ในตอนนี้ กลับร่วมสมัยอย่างมากๆ เพราะประเทศสมาชิกอียูก็เพิ่งตบตีกันทางการเงินอย่างรุนแรงในปีนี้เหมือนกัน เพราะวิกฤติไวรัส

 ในหนังเรื่องนี้นั้น เหยื่อคือ กรีซ ส่วนผู้ร้ายคือรมต.คลังเยอรมนี กับกลุ่มทรอยกา (IMF, ธนาคารกลางยุโรป, คณะกรรมาธิการยุโรป) ส่วนในปีนี้นั้น เหยื่อคือสเปนกับอิตาลี ส่วนผู้ร้ายคือประเทศกลุ่ม frugal four (ออสเตรีย, เนเธอร์แลนด์, เดนมาร์ก, สวีเดน) แต่ยังดีที่ปีนี้ปท.สมาชิกอียูบรรลุข้อตกลงกันในการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูศก.ยุโรปได้ในที่สุด

เพราะฉะนั้นตอนดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยจินตนาการไปด้วยตลอดเวลาว่า การตบตีกันในอียูในปีนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง

4.สิ่งนึงที่ชื่นชม Costa-Gavras ก็คือว่า เขาทำหนังเกี่ยวกับ "คนที่ต่อสู้อย่างดีที่สุดแล้ว แต่ก็พ่ายแพ้" น่ะ ทั้งหนังเรื่องนี้,  Z  (1969) และ AMEN (2002) มันเหมือนกับว่า หนังพวกนี้มันยอมรับความจริงที่ว่า "คนดีอาจพ่ายแพ้คนชั่ว แต่เราก็ต้องสู้อย่างดีที่สุดต่อไป แม้จะไม่ชนะก็ตาม"

THE NIGHT OF NEMESIS (2020, Gunpawit Puwadolwisit, A+25)
คืนยุติ-ธรรม

1.ถ้าเทียบกับหนังไทยด้วยกัน เราก็ชอบมากๆนะ เหมือนมันค่อนข้างจริงจังกว่าหนังไทยทั่วไป และแตกต่างจากหนังไทยทั่วไป

แต่ถ้าเทียบกับ "หนังฮ่องกง" เราว่าหนังเรื่องนี้ดูจืดกว่าหนังฮ่องกงมากๆ

2.เราว่า ผู้ร้ายในหนัง มันดูไม่ค่อยน่ากลัว 555 ซึ่งเป็นปัญหาเดียวกับที่เรามีกับหนังเรื่อง AVA คือพอผู้ร้ายในหนังมันไม่น่ากลัว เราก็เลยรู้สึกว่าหนังมันไม่สนุกเท่าที่คาด

JUMBO (2020, Zoe Wittock, France/Belgium/Luxembourg, A+30)

คลาสสิค เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ กับหนังอย่าง IN MY SKIN (2002, Marina de Van) ซึ่งพูดถึงผู้หญิงที่มีความสุขหฤหรรษ์กับ "การกรีดเฉือนตัวเอง" และ หนังเกย์ไทยเรื่อง "เราล้วนเว้าแหว่งในตำแหน่งที่แตกต่างกัน" (2018, Kiattisak Kingkaew) ที่พูดถึงอารมณ์ทางเพศที่เกี่ยวข้องกับความพิการทางร่างกาย อาจจะเรียกได้ว่าเป็น "หนัง queer สำหรับโลกยุคนี้"

เพราะหนัง queer ยุคเก่า ที่พูดถึง ชายรักชาย และหญิงรักหญิง นั้น ในปัจจุบันมันกำลังจะกลายเป็นสิ่งปกติในสังคมมากขึ้นเรื่อยๆน่ะ หนังเกย์มันกำลังจะสูญเสียสถานะ "ความประหลาด" ไปแล้ว และกำลังจะกลายเป็น "ความธรรมดาสามัญ" ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดีงามมาก

เพราะฉะนั้น ถ้าหากเราต้องการแสวงหาอารมณ์ทางเพศที่ประหลาดๆในหนังยุคนี้ เราก็อาจจะต้องมองหาจากหนังแบบ IN MY SKIN, JUMBO และ "เราล้วนเว้าแหว่งในตำแหน่งที่แตกต่างกัน" นี่แหละ

Thursday, August 20, 2020

AVA

 

AVA (2020, Tate Taylor, A+20)

1. ไม่รู้เป็นเพราะได้ Tate Taylor มากำกับหรือเปล่า เราเลยรู้สึกว่า ตัวละครนางเอกมันดูเป็นมนุษย์มากกว่าตัวละครในหนังบู๊โดยทั่วไป แต่ความบู๊ในหนังเรื่องนี้มันง่อยมาก

2. ตัวร้ายมันง่อยมาก ทั้ง Diana Silvers, Joan Chen และ Colin Farrell  คือทุกตัวดูมาดดีมาก แต่พอสู้กันจริงๆแล้วมันดู "ไม่น่ากลัว" ยังไงไม่รู้ แล้วพอตัวร้ายมันไม่น่ากลัว หนังก็เลยไม่สนุกเท่าที่ควร

3. ตอนแรกนึกว่าหนังจะ tribute ให้ THE LONG KISS GOODNIGHT (1996, Renny Harlin) ผ่านทางการใช้จีน่า เดวิส แต่ก็ไม่

4.รู้สึกเสียดายที่หนังบู๊ผู้หญิงส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมีภาคต่อ ยกเว้น RESIDENT EVIL ซึ่งแตกต่างจากหนังบู๊ผู้ชายแบบJames Bond, DIE HARD, TERMINATOR, JOHN WICK, etc. ที่มีภาคต่อเยอะมาก เราเดาว่าคงเป็นเพราะผู้ชมส่วนใหญ่ไม่ค่อยชอบดูหนังบู๊ผู้หญิง และดาราหญิงส่วนใหญ่ก็อาจจะขี้เกียจเล่นหนังที่ต้องเจ็บตัวแบบนี้

5.อยากให้มีการ cross จักรวาลกันระหว่างตัวละครในหนังบู๊ผู้หญิงเหล่านี้มากๆๆ

5.1  AVA

5.2 PEPPERMINT (2018, Pierre Morel)

5.3 RED SPARROW (2018, Francis Lawrence)

5.4 MARDAANI ภาค 1-2 (2014, Pradeep Sarkar, India)

5.5 HANNA (2011, Joe Wright)

5 6 COLOMBIANA (2011, Olivier Megaton)

 5.7 CHOCOLATE (2008, Prachya Pinkaew)

5.8  KILL BILL (2003, Quentin Tarantino)

5.9 SUKEBAN DEKA หรือสิงห์สาวนักสืบ

 5.10 CHARLIE'S ANGELS (2019, Elizabeth Banks)

5.11 SO CLOSE (2002, Corey Yuen)

5.12 NAKED WEAPON (2002, Ching Siu-tung)
 
5.13 LA FEMME NIKITA (1990, Luc Besson)

ถ้าตัวละครจากหนังข้างต้นมาปะทะกัน คุณเชียร์ใครคะ ดิฉันเชียร์  ซากิ อาซามิยา ( Yoko Minamino) จากสิงห์สาวนักสืบค่ะ

WHITE SNAKE (2019, Amp Wong, Ji Zhao, China, animation, A+30)

1. ปรากฏว่า ชอบมากกว่า GREEN SNAKE (1993, Tsui Hark) และ
THE SORCERER AND THE WHITE SNAKE (2011, Ching Siu-tung) อีก เข้าใจว่าหนังทั้งสามเรื่องน่าจะมาจากตำนานเดียวกัน ชอบที่ WHITE SNAKE พลิกเนื้อเรื่องไปจากเดิมมากพอสมควร โดยเฉพาะการตัดสินใจของพระเอก

2. แต่ถ้าเทียบกับหนังจีนแนว "ปีศาจสาวอยากได้ผัวมนุษย์" แล้ว เราก็ชอบหนังเรื่องนี้น้อยกว่า PAINTED SKIN (2008, Gordon Chan) และ
GOLDEN SWALLOW โอม สู้แล้วอย่าห้าม (1988, O Sing-Pui) นะ

Wednesday, August 19, 2020

WHATEVER HAPPENED TO MY REVOLUTION

 WHATEVER HAPPENED TO MY REVOLUTION (2018, Judith Davis, France, A+30)


1.ชอบสุดๆที่หนังเรื่องนี้เหมือนจะล้อเลียนเสียดสีทั้ง “ฝ่ายทุนนิยม” และ “ฝ่าย activists ต่อต้านทุนนิยม” ในระดับที่เกือบจะเท่าๆกัน คือจริงๆแล้วหนังเรื่องนี้ก็ต่อต้านทุนนิยมเหมือนหนังฝรั่งเศสส่วนใหญ่ที่เราเคยดูมาน่ะแหละ แต่หนังฝรั่งเศสส่วนใหญ่ที่เราเคยดูมา อย่างเช่น BLOW FOR BLOW (1972, Marin Karmitz), WORK HARD, PLAY HARD (2003, Jean-Marc Moutout), TWO DAYS, ONE NIGHT (2014, Jean-Pierre Dardenne + Luc Dardenne), THANK YOU, BOSS! (2015, François Ruffin, documentary) และ CORPORATE (2017, Nicolas Silhol) มักจะเน้นนำเสนอแค่ความเลวร้ายของระบบทุนนิยมน่ะ และมักจะนำเสนอ activists ในแง่บวกเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นหนังเรื่อง MY REVOLUTION นี้ก็เลยโดดเด้งขึ้นมามากๆ เพราะหนังเรื่องนี้มันเน้นนำเสนอความประสาทแดกอย่างรุนแรงของ activists บางคนด้วย 55555

2. สาเหตุที่เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ เพราะมันทำให้นึกถึง “การตบตีด่าทอกันเองของฝ่ายซ้าย/ฝ่ายหัวก้าวหน้าในไทย” หรือ “การ debate กันอย่างรุนแรง หรืออย่างไม่เกรงใจกันเลยแม้แต่นิดเดียวของฝ่ายซ้าย/ฝ่ายหัวก้าวหน้าในไทย” ตามเว็บบอร์ด, facebook page, facebook status หรือ twitter ที่ในบางครั้งก็เป็นการ debate กันอย่างเป็นประโยชน์มากๆ และสามารถนำเสนอมุมมองที่แตกต่างกันของแต่ละฝ่ายได้ดีมาก, ในบางครั้งก็เป็นการ debate กันในประเด็นที่ดี แต่เป็นประเด็นที่เราไม่สนใจ, ในบางครั้งก็เป็นการ debate กันในประเด็นที่เรามองว่าไร้สาระ หรือในบางครั้งก็เป็นการแสดงความเห็นในแบบที่เรามองว่า “มึงประสาทแดก หรือเคร่งครัดเกินไป, หรือจ้องจับผิดคนอื่น หรือตีความคำพูดของคนอื่นในทางที่ผิด โดยเป็นการตีความคำพูดของคนอื่นตามตัวอักษร แทนที่จะพยายามทำความเข้าใจเจตนารมณ์ของผู้พูด, etc.”

3.ฉากต่างๆที่ activists ในหนังด่าทอกันเองอย่างรุนแรงเลยเป็นฉากที่เราหัวเราะจนน้ำหูน้ำตาไหล เพราะมันทำให้นึกถึงเรื่องใกล้ตัวใน facebook ของเพื่อนๆมากๆ เราจำรายละเอียดการด่าทอกันในแต่ละฉากไม่ได้แล้ว แต่มันออกมาในทำนองที่ว่า

A: เราควรจะ debate กันในประเด็นนี้นะ... (ซึ่งเป็นประเด็นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์)

แล้วตัวละครก็ debate กันไปสักพักนึง จนกระทั่ง

B: มึงอย่า judge someone สิ

C: แต่ก่อนอื่นเราต้องหาทาง define คำว่า “judging someone” ให้ตรงกันก่อนนะ

D: เพราะฉะนั้นเราต้อง define คำว่า “someone” ให้ตรงกันก่อนด้วยนะ

E: คำว่า someone มันประกอบขึ้นมาจากคำว่า some และ one มารวมกันนะ

เรายกให้ฉากข้างต้นเป็นหนึ่งในฉากที่เราชอบที่สุดในปีนี้เลย เพราะมันสะท้อนความประสาทแดกที่เราพบเจอในชีวิตจริงได้ดีมากๆ คือแทนที่จะ debate กันในสิ่งที่มีประโยชน์ในการดำรงชีวิต มันกลับกลายไปเป็นการด่าทอกันเองเพื่อหาคำจำกัดความของคำว่า some และ one 55555

4.สรุปว่าดู MY REVOLUTION แล้วอยากให้มีคนทำหนังไทยที่คล้ายๆกันนี้ออกมามากๆ โดยดัดแปลงมาจากการต่าทอตบตีกันของคนต่างๆใน facebook นี่แหละ โดยเฉพาะการตบตีกันเองของ “ฝ่ายเดียวกัน” รับรองว่าหนังออกมาดราม่ารุนแรงแน่นอน 55555

Monday, August 17, 2020

TOKYO OLYMPIAD

 

WET SEASON (2019, Anthony Chen, Singapore, A+30)

1. อยากโดนแบบในหนังเรื่องนี้มากๆเลยค่ะ นึกว่า "ฝันที่เป็นจริง"

2.ดูแล้วนึกถึง MARY KAY LETOURNEAU: ALL AMERICAN GIRL (2000, Lloyd Kramer) ที่สร้างจากเรื่องจริงของครูสาวกับนักเรียนหนุ่ม แต่สิ่งที่ดีมากๆก็คือว่า WET SEASON มันทำให้ความสัมพันธ์ในหนังดูงดงาม

3.ดูแล้วนึกถึง PERFECT LOVE (1996, Catherine Breillat) กับ KUNG-FU MASTER! (1988, Agnes Varda) ที่พูดถึงรักข้ามวัยระหว่างหญิงสาวกับเด็กหนุ่มด้วย แต่เราชอบ KUNG-FU MASTER! มากสุดในกลุ่มนี้

4. เห็นนางเอกหนังเรื่องนี้ แล้วคิดถึง จางอ้ายเจีย มากๆ

รักนะ ซุปซุป (2020,  Kriangkrai Monwichit, A+)

1.เหมือนเป็นหนังที่เรารักความ exotic แต่เกลียดความ cliche ของมัน เราชอบที่หนังเรื่องนี้พาเราไปรู้จักอาหารและวัฒนธรรมบางอย่างของชาวมุสลิมที่เราไม่เคยรู้มาก่อน แต่เราเกลียดความ cliche แบบละครทีวีไทยในหนังเรื่องนี้

2.สิ่งที่ชอบที่สุดในหนัง ก็คือลูกพี่ลูกน้องของนางเอก หล่อน่ารักมาก ส่วนเข้ม หัสวีร์ นั้น หล่อมากก็จริง แต่เขาดูเหมือนเป็น อาหารกระป๋องสำเร็จรูปที่ผลิตกันมานานกว่า 30-40 ปีแล้วตามสูตรสำเร็จของ "พระเอกละครไทย" เขาก็เลยดูไม่เย้ายวนน่ากินเท่าลูกพี่ลูกน้องนางเอก

3.จำนุ๊ก สุทธิดา ไม่ได้เลย จนเครดิตขึ้นตอนท้ายเรื่อง

4.หนังคงจะเข้าทางเรา ถ้าหากทำออกมาแบบ  LITTLE FOREST (2015, Junichi Mori)

TOKYO OLYMPIAD (1965, Kon Ichikawa, Japan, documentary,A+30)

1. เหมือนไม่เห็นนักกีฬาจีนในหนังเรื่องนี้เลย พอดีเราไม่เคยตามวงการกีฬา เราก็เลยเดาว่า นักกีฬาจีนน่าจะเริ่มดังในเวทีโลกตั้งแต่ทศวรรษ 1990 หรือเปล่า

2. เสียดายที่เรายังไม่เคยดู OLYMPIA (1938, Leni Riefenstahl) เราก็เลยเปรียบเทียบกันไม่ได้

3.ชอบเรื่องของประเทศ Chad มากๆ

4.ไม่แน่ใจว่า การแข่งขันวอลเลย์บอลในโอลิมปิกครั้งนี้ เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างตัวละคร "แม่ของจุง โคชิกะ" ในละครทีวี ยอดหญิงชิงโอลิมปิกหรือเปล่า

5.เพลิดเพลินกับหนังมากๆ


Saturday, August 15, 2020

THE APOSTLE

 THE APOSTLE (2011, Fernando Cortizo, Spain, animation, A+30)


หนังสยองขวัญ animation ที่ดูขลังสุดๆ ดูแล้วนึกถึงหนังแบบ THE BARON (2011, Edgar Pera, Portugal) และหนังสยองขวัญในยุค 1960 ของ Roger Corman

WHERE TO LAND (2020, Sawandi Groskind, Finland, short film, A+30)

พิสดารมาก นึกว่าต้องตั้งชื่อหนังว่า "เสียงที่ออกไม่ได้ในจักรวรรดิทางภาษาของคุณ" เหมือนหนังของ Ratchapoom 55555

THE CHICKEN (2020, Neo Sora, Japan, short film, A+30)

ดูแล้วชอบสุดๆ แม้เราจะจับประเด็นอะไรในหนังไม่ได้เลย ต้องมาอ่านที่เพื่อนคนอื่นๆเขียนถึงค่อยเข้าใจหนังมากขึ้น 555

Thursday, August 13, 2020

ENGKWENTRO

 

ENGKWENTRO (CLASH) (2009, Pepe Diokno, Philippines, 60min, A+30)

 

หนังยาว 60 นาทีที่เหมือนมีการตัดภาพแค่ไม่กี่ครั้ง ฉากส่วนใหญ่ในหนังเรื่องนี้เป็น long take ยาวหลายสิบนาทีที่น่าทึ่งสุดๆในแง่การวางแผนการถ่ายทำ เพราะมันเป็น long take ที่ติดตามตัวละครที่เดินไปเดินมาในสลัมที่สลับซับซ้อนและคับแคบมากๆ และหลายครั้งตัวละครก็วิ่งไล่กวดกันในตรอกซอกซอยแคบๆนี้ด้วย เรียกว่าคนที่ถือกล้องถ่ายหนังในเรื่องนี้ต้องทรหดมากพอสมควร

 

ประเด็นของหนังก็น่าสนใจด้วย เพราะมันพูดถึงอาชญากรรุ่นกระจอกในฟิลิปปินส์ที่มักถูกฆ่าตายโดยกลุ่ม vigilantes (ศาลเตี้ย) ในยุคนั้น เหมือนหนังเรื่องนี้เป็นการทำนายล่วงหน้าถึงการก้าวขึ้นสู่อำนาจของ Duterte ในอีกหลายปีต่อมา

 

แต่เหมือนพอหนังเรื่องนี้เน้นที่เทคนิคการถ่าย long take อย่างยากลำบาก มันก็เลยเหมือนกับว่า “ความงามทางจิตวิญญาณ” บางอย่างมันหายไป ดูแล้วจะนึกถึงหนังลองเทคแบบ VICTORIA (2015, Sebastian Schipper) ที่เราก็ชอบมากๆ แต่เหมือนมันขาดอะไรบางอย่าง หรือแม้แต่หนังลองเทคอย่าง RUSSIAN ARK (2002, Alexander Sokurov) ที่เราชอบสุดๆ เราก็รู้สึกว่ามันสู้หนัง “ไม่ลองเทค” อย่าง THE SUN (2005, Alexander Sokurov) ไม่ได้

 

เหมือน ENGKWENTRO มันก็ดีแหละ แต่ถ้าพูดถึงหนังสลัมฟิลิปปินส์แล้ว เราก็ชอบหนังอย่าง MONDOMANILA, OR: HOW I FIXED MY HAIR AFTER A LONG JOURNEY (2010, Khavn) หรือ INSIANG (1976, Lino Brocka) มากกว่า เหมือนพอมันไม่ลองเทค แล้วมันนำเสนอจิตวิญญาณตัวละครได้ดีกว่า

 

ดู ENGKWENTRO ได้ในเทศกาล locarno online นะ

https://play.locarnofestival.ch/

 

MEMORIES OF MY BODY (2018, Garin Nugroho, Indonesia, A+30)

 

หนังเกย์จากอินโดนีเซียที่งดงามสุดๆ นึกว่า MALILA: THE FAREWELL FLOWER (2018, Anucha Boonyawatana) ผสมกับ PAIN AND GLORY (2019, Pedro Almodóvar) ผสมกับการแสดงของพิเชษฐ์ กลั่นชื่น

 

หนังดูได้ฟรีจากเทศกาล Locarno Online นะ ก่อนที่จะหมดเขตเร็วๆนี้

https://play.locarnofestival.ch/

Wednesday, August 12, 2020

ZOMBI CHILD

 

ดวงแบบนี้ไม่มีจู๋ EPISODE 4

 

--ชอบฉาก 5 สาวตบกันมากๆ

 

--ขอฉาก ชาย ชาตโยดม กับ เดี่ยว สุริยนต์ ว่ายน้ำโชว์หุ่นด้วยค่ะ อย่าปล่อยให้ออกัสว่ายน้ำแค่คนเดียว 55555

 

อยากให้ชาย ชาตโยดมกับเดี่ยว สุริยนต์เล่นเป็นผัวเมียกันมากๆ แทนที่จะเล่นเป็นพ่อลูกกัน พอลองเช็คอายุดูแล้ว พบว่าชาย ชาตโยดมแก่กว่าเดี่ยว สุริยนต์แค่ 6 ปีเอง

 

--เหมือนเราไม่ได้ตามดูละครทีวีมานานมาก พอมาดูเรื่องนี้แล้วเลยตกใจที่ขวัญฤดี กลมกล่อมเล่นเป็นแม่แล้ว เพราะเราติดภาพเธอจาก รัตนาวดี (1988)  และก็ตกใจที่ชาย ชาตโยดมเล่นเป็นพ่อแล้ว เพราะเราติดภาพเขาจาก 303 กลัว กล้า อาฆาต (1998, สมจริง ศรีสุภาพ)

 

ZOMBI CHILD (2019, Bertrand Bonello, France, A+30)

 

หนังจะฉายที่ Alliance วันที่ 26 ส.ค.นะ เวลา 18.30 น. ส่วนอันนี้เราดูที่ศาลายา

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

1.ชอบดนตรีประกอบของ Bertrand Bonello อย่างมากๆ เราว่ามันระทึกมากๆ

 

2.แต่ปรากฏว่าสิ่งที่ “ระทึก” ที่สุดในหนังคือ ดนตรีประกอบ 55555 เพราะหนังมันเหมือนใช้ดนตรีและการตัดต่อในการกระตุ้นให้ผู้ชมคาดเดาว่า จะต้องเกิดเหตุการณ์รุนแรง เหตุการณ์ร้ายๆ แต่ในที่สุดก็ไม่เกิดอะไร 55555  ชอบที่หนังเหมือนหยิบยืมเอากลเม็ดและอารมณ์บางอย่างของหนังสยองขวัญมาใช้ แต่ในที่สุดมันก็ประกาศตัวว่า กูไม่ใช่หนังสยองขวัญจริงๆหรอกนะ

 

3.ดูแล้วนึกถึง PERSONAL SHOPPER (2016, Olivier Assayas) ในบางแง่มุม เพราะว่า

 

3.1 ทั้งสองเรื่องเหมือนหยิบเอาองค์ประกอบบางอย่างของหนังลึกลับสยองขวัญมาใช้ แต่ตัวมันเองจริงๆไม่ได้มีจุดประสงค์เดียวกับหนังสยองขวัญ

 

3.2 เราไม่สามารถตีความหนังทั้งสองเรื่องได้ เหมือนหนังทั้งสองเรื่องมีจุดประสงค์หรือมีอะไรบางอย่างในหนังที่อยู่นอกเหนือจากความสามารถในการตีความของเรา

 

3.3 หนังทั้งสองเรื่องบอกว่า “สิ่งเหนือธรรมชาติ” บางอย่าง เป็นสิ่งที่อธิบายได้ เพราะมันเกิดจากการกระทำของมนุษย์ โดยเฉพาะมนุษย์ผู้ชั่วร้ายและวางแผนการมาเป็นอย่างดี

 

3.4 แต่หนังทั้งสองเรื่องก็ดูเหมือนจะเปิดพื้นที่ให้เราเข้าใจได้ว่า “สิ่งเหนือธรรมชาติ” จริงๆ ก็อาจจะมีอยู่ได้เช่นกัน ไม่ใช่ว่ามันไม่มีจริง

 

4. ชอบที่หนังเหมือนจะบอกว่า ซอมบี้ในเกาะไฮติ จริงๆแล้วน่าจะเกิดจากความรู้ด้านพืชสมุนไพรของหมอผีวูดูที่สืบทอดกันมานานแล้ว เหมือนหมอผีสามารถใช้สมุนไพรในการทำให้คนกลายเป็นซอมบี้ เพื่อนำมาใช้เป็นทาสแรงงาน

 

นึกถึง “ยาสั่ง” ของไทยเลย เหมือนคนโบราณจริงๆแล้วมีความรู้เรื่องพืชสมุนไพรที่ลึกซึ้งมากๆ ไม่รู้เหมือนกันว่าคนรุ่นปัจจุบันได้เก็บรักษาความรู้พวกนี้เอาไว้มากน้อยแค่ไหน

 

5.กลุ่มตัวละครเด็กวัยรุ่นในหนังเรื่องนี้ เหมือนเป็นขั้วตรงข้ามกับตัวละครหนุ่มสาวใน NOCTURAMA (2016, Bertrand Bonello) เพราะหนุ่มสาวใน NOCTURAMA หัวขบถมากๆ ส่วนเด็กสาวในหนังเรื่องนี้ดูอยู่ในกรอบสังคมผู้ดีมากๆ

 

พออย่างนี้แล้ว ชื่อเรื่อง ZOMBI CHILD ก็เลยดูน่าสนใจดี เพราะพอพูดว่า “เด็กซอมบี้” ตอนแรกเราจะนึกถึงเด็กแบบ THE GIRL WITH ALL THE GIFTS (2016, Colm McCarthy) ที่ก้าวร้าว รุนแรง และมาเพื่อทำลายและเปลี่ยนแปลงโลก แต่เด็กๆใน ZOMBI CHILD คือเด็กที่ดูเซื่องๆ และไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรในสังคมได้ทั้งสิ้น

RED ANINSRI

 

RED ANINSRI; OR, TIPTOEING ON THE STILL TREMBLING BERLIN WALL (2020, Ratchapoom Boonbunchachoke, 30min, A+30)

 

spoilers alert

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

1. ดูอนินทรีย์แดงแล้ว ก็ชอบมากนะ แต่อาจจะชอบแหม่มแอนนามากกว่า เพราะแหม่มแอนนาดูเฮี้ยนกว่า และในหนังเรื่องแหม่มแอนนานั้น มันดูเหมือนว่า “ฝ่ายที่ถูกกดขี่” สามารถลุกขึ้นมาตอบโต้ ตบตีฝ่ายปกครองได้มากกว่า มันก็เลยดู “สะใจ” กว่า ในขณะที่อนินทรีย์แดงนั้น มันดูเหมือนว่า ฝ่ายกดขี่เป็นฝ่ายที่ชนะโดยสมบูรณ์ ส่วนผู้ถูกกดขี่ก็ดูเหมือนจะพ่ายแพ้ไปเกือบหมดในตอนจบ มันก็เลยขาดความสะใจตรงนี้ไป

 

คืออนินทรีย์แดงมันก็คงจะสะท้อนความเป็นจริงตรงนี้แหละ ที่ฝ่ายกดขี่ดูเหมือนจะเป็นฝ่ายชนะ แต่เวลาที่เราดูหนัง fiction บางทีเราก็อาจจะอยากหลีกหนีจากความเป็นจริงที่โหดร้ายบ้าง 555 เพราะฉะนั้นหนังแบบ US (2019, Jordan Peele), CAPTIVE STATE (2019, Rupert Wyatt), FREAKS (2018, Zach Lipovsky, Adam B. Stein, Canada) ก็เลยเติมเต็มเราได้ในส่วนนี้ ที่ฝ่ายที่ถูกกดขี่ลุกขึ้นมาตอบโต้ได้อย่างสะใจจริงๆ

 

2.ดูแล้วนึกถึง LUST, CAUTION (2007, Ang Lee) มากๆ เพียงแต่สลับกันระหว่างฝ่ายคนดี คนร้าย เพราะในอนินทรีย์แดงนั้น ฝ่ายสายลับคือฝ่ายผู้ร้าย

 

3.ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างหนังเรื่องนี้กับหนังเรื่องก่อนๆของอุ้ย อาจจะเป็น “ความรัก” ระหว่างตัวละครในเรื่องมั้ง เพราะหนังดูจะสะท้อนความรัก ความผูกพัน ความห่วงใยระหว่างตัวละครจิตกับอินออกมาได้มากพอสมควร เหมือนอารมณ์ความรักแบบนี้เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยเห็นในหนังของอุ้ยเรื่องก่อนๆ

 

4.ชอบดนตรีประกอบในหนังมากๆ มันช่วยสร้างอารมณ์ในหนังได้ดีมากๆ

 

5.การจัดแสงสีช่วงครึ่งแรกของเรื่องก็สวยงามดีมาก

 

6.เราอาจจะแบ่งหนังออกได้เป็นสองส่วนมั้ง ส่วนแรกคือส่วนหนังพากย์ ที่มีการจัดแสงสีสวยงาม และเน้นทำให้นึกถึงหนังยุคสงครามเย็น แบบหนัง Hitchcock, อินทรีย์แดง และส่วนที่สองคือช่วง workshop ที่แสงสีดูจืดลง และเน้นการถ่าย handheld เหมือนหนังร่วมสมัยยุคปัจจุบัน ตัวละครพูดโดยใช้เสียงจริง คิดว่า ref ของส่วนที่สองอาจจะมาจากฉาก workshop ใน HAPPY HOUR (2015, Ryusuke Hamaguchi) ด้วย 555

 

ชอบที่หนังเรื่องนี้มีการเล่นกับสไตล์หนังที่แตกต่างกันระหว่างยุคอดีต-ปัจจุบันแบบนี้

 

ดูแล้วนึกถึง WONDERSTRUCK (2017, Todd Haynes) ด้วย ในแง่หนังที่เล่นกับสไตล์หนังยุคอดีต-ปัจจุบันเหมือนกัน

 

สิ่งที่ประหลาดดีก็คือว่า ในขณะที่หนังยุค Hitchcock นั้น เป็นการพูดถึงภัยคอมมิวนิสต์ และฝ่ายรัฐบาลคือฝ่ายประชาธิปไตย แต่ในหนังเรื่องนี้นั้น ฝ่ายรัฐบาลคือฝ่ายเผด็จการที่สนับสนุนจีนคอมมิวนิสต์ ส่วนฝ่ายต่อต้านคือฝ่ายประชาธิปไตย

 

7.ชอบการใช้อุปมาอุปไมยเรื่องเสียงพากย์-เสียงจริง กับสิทธิเสรีภาพในการแสดงความเห็นของประชาชน

 

ชอบที่แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ในยุคปัจจุบันมีการใช้เสียงจริงกันแล้ว แต่เสียงบางเสียงก็ยังถูกผลักให้เป็นชายขอบอยู่ อย่างเช่นเสียงเล่าเรื่องหื่นๆ และในยุคปัจจุบันมีการโน้มน้าวให้เสียงจริงของแต่ละคน ถูกนำมาใช้ในการเชิดชูสถาบันครอบครัวอะไรกันต่อไป

 

8.การพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับพระจักรพรรดิในญี่ปุ่นก็ดีมากๆ

 

9.ชอบการ refer ถึง CHUNGKING EXPRESS ผ่านทางตัวละครนักฆ่าในวิกผมทอง ซึ่งจริงๆแล้วประเด็นใน CHUNGKING EXPRESS ก็ใกล้เคียงกับในหนังเรื่องนี้ด้วย เพราะใน CHUNGKING EXPRESS นั้น ตัวละครของหลินชิงเสีย ก็ “ไม่ได้เป็นตัวของตัวเองที่แท้จริง” ในช่วงแรก เพราะเธอเลือกจะใส่วิกผมทอง เนื่องจากเธอตกหลุมรักฝรั่งหนุ่มคนนึงที่ชอบมี sex กับสาวเอเชียที่ใส่วิกผมทอง แต่พอเธอหมดรักฝรั่งคนนั้นแล้ว เธอก็เลยโยนวิกผมทองทิ้ง

 

ประเด็นเรื่อง “การไม่เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง” ใน CHUNGKING EXPRESS ก็เลยมีความใกล้เคียงกับอนินทรีย์แดงด้วยเหมือนกัน เพียงแต่ใน CHUNGKING EXPRESS นั้นพูดถึง “ความรัก” ที่ทำให้คนเราไม่เป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง แต่ในอนินทรีย์แดงนั้น “การกดขี่จากรัฐบาล” คือสาเหตุที่ทำให้คนเราไม่เป็นตัวของตัวเอง

 

10.ชอบการถ่ายทอดบรรยากาศ บ้านเรือน ท้องถนนในช่วงครึ่งแรกของหนังด้วย

 

11.คิดว่าผู้ชมต่างชาติอาจจะไม่เข้าใจการ refer ถึงจิตร ภูมิศักดิ์ นะ ส่วนเราดูตัวละครจิตแล้วก็นึกถึงเนติวิทย์ด้วย 555 ซึ่งผู้ชมต่างชาติก็อาจจะไม่ get เช่นกัน แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องสำคัญอะไร

 

การเล่นกับผลไม้ ก็คงเป็นการ refer ถึงหนังเรื่องเก่าๆของอุ้ย ซึ่งก็เป็นอะไรที่น่ารักดี

 

12.จริงๆแล้วคิดว่าหนังมันจะน่าสนใจมากขึ้น ถ้าหากมัน package ฉายรวมกับแหม่มแอนนาและมะนีจัน พร้อมกับ statement เรื่อง French, British, American colonial เพราะถ้าดูแบบแยกๆกันอย่างนี้ ผู้ชมคงไม่เข้าใจถึงภาพรวมของหนังชุดนี้ แต่เราว่า “ภาพรวม” ของหนังชุดนี้ ที่เป็น COLONIAL TRILOGY มันดูน่าสนใจดี

 

13.จุดที่เรามีปัญหากับหนัง คือเราแยกเสียงไม่ออกระหว่างจิตกับอินในช่วงท้ายของเรื่อง 555 ที่เป็นฉากตัวละครเต้น แล้วมีเสียง voiceover ของตัวละครสองตัวนี้คุยกัน แล้วเราแยกไม่ออกว่าอันไหนเป็นเสียงของจิต อันไหนเป็นเสียงของอิน เราเลยต้องดูรอบสอง เพื่อจะแยกเสียงให้ออก เหมือนเสียงของอินจะ “หนา” กว่า แล้วเสียงของจิตจะ “บาง” กว่า พอดูรอบสองแล้วเลยแยกเสียงออกจากกันได้

 

14.โดยส่วนตัวแล้ว เรารู้สึกว่า หนังมัน “จริง” เกินไป (เมื่อเทียบกับความต้องการของเรา) ในแง่ที่ว่า ในท้ายที่สุดแล้ว ตัวละครก็ต้องอยู่กันอย่างแกนๆภายใต้ระบอบกึ่งเสรีกึ่งเผด็จการกันต่อไป ในขณะที่ฝ่ายผู้กดขี่ก็อยู่กันอย่างสบายๆต่อไป

 

คือถ้าหากเราเป็นอิน เราก็คงจะกลายเป็นฝ่ายต่อต้านรัฐบาลไปเลยน่ะ อาจจะเป็นเจ้าแม่ขบวนการมือระเบิดพลีชีพไปเลยในตอนจบ 555

 

DIGITAL FUNERAL: BETA VERSION (2020, Sorayos Prapapan, documentary, 6MIN, A+30)

 

1.หนังเรื่องนี้คืออะไร 55555

 

2. ชอบที่ภาพในหนังมันเหมือนไม่เล่าเรื่องแบบหนังทั่วไป เพราะในหนังทั่วไปนั้น ภาพในหนังจะแสดงให้เห็น “ตัวละครทำกิจกรรมสำคัญอะไรสักอย่าง” เพื่อเล่าเรื่อง แต่หนังเรื่องนี้มีสองฉาก ฉากแรกเป็น subject ถ่ายรูป แล้วเดินหายไปจากเฟรมภาพ แล้วกล้องก็ล้มลง ส่วนฉากที่สองเป็นกล้องหมุนไปแบบ 360 องศาในห้องของ subject ขณะที่ subject เหมือนนั่งทำอะไรสักอย่างอยู่บนเตียง กล้องเผยให้เราเห็นสิ่งของต่างๆในห้องของ subject ซึ่งดูเหมือนไม่ได้มีอะไรที่สำคัญหรือพิสดาร ยกเว้นจอทีวีที่ฉาย “ฉาก subject เดินไปมา”

 

เรารู้สึกว่าสองฉากนี้มันแปลกประหลาดในความธรรมดาของมันน่ะ ในทั้งสองฉาก subject ดูเหมือนไม่ได้ทำอะไรที่สำคัญ และทั้งสองฉากนี้ก็นำเสนอดาดฟ้าธรรมดา กับห้องธรรมดาด้วย สองฉากนี้มันก็เลยดูเป็นอะไรที่แตกต่างจากหนังทั่วไปดี เพราะในหนังทั่วไป subject ต้องทำอะไรสักอย่างที่สำคัญในฉาก

 

“การเล่าเรื่อง” เท่าที่พอจับได้ในหนัง ก็มีเพียงแค่เสียง voiceover ที่บอกคล้ายๆกับว่า subject อยากจัดงานศพของตัวเองให้ออกมาแบบนิทรรศการศิลปะ ที่ผู้มางานศพสามารถเลือกดูหนังของ subject จากโฟลเดอร์ได้

 

สรุปว่า เราชอบความ “ไม่รู้ว่าเราควรดูอะไรหรือควรรู้สึกอะไรกับแต่ละฉาก” ในหนังเรื่องนี้

 

3.หนังเรื่องนี้ทำให้เราแอบคิดถึงความฝันของตัวเอง เพราะเราก็เคยวาดฝันเกี่ยวกับงานศพของตัวเองไว้เช่นกัน เหมือนถ้าหากพูดถึง “งานศพของเรา” เราก็คิดไว้สองแบบ คือแบบ realistic กับแบบ fantasy 55555

 

3.1 ในแบบ realistic ก็คือว่า เราก็อยากตายแบบเงียบๆนะ คือถ้าหากเราตายไปด้วยสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ ก็จัดงานศพแบบธรรมดาน่ะแหละ แบบในกลอน ODE ON SOLITUDE ของ Alexander Pope ที่ลงท้ายว่า

https://www.poetryfoundation.org/poems/46561/ode-on-solitude

 

Thus let me live, unseen, unknown;

   Thus unlamented let me die;

Steal from the world, and not a stone

                            Tell where I lie.

 

ให้ฉันได้มีชีวิตอยู่ โดยไม่ต้องมีคนพบเห็น ไม่ต้องมีคนรู้จัก

ให้ฉันได้ตายไปโดยไม่ต้องมีใครมาเศร้าโศกเสียใจ

จากโลกนี้ไปอย่างเงียบๆ และไม่ต้องมีแม้แต่หิน

มาปักบนหลุมศพของฉัน

 

ก็คือตอนที่เรามีชีวิตอยู่ เราก็ไม่อยากเจอคนเยอะๆ เราไม่อยากมีชื่อเสียงโด่งดัง เราอยากใช้ชีวิตอย่างเงียบๆพอเราตายแล้ว ก็จบกัน ไม่ต้องมีใครมาเศร้าโศกเสียใจอะไรทั้งสิ้น ให้เราได้ตายไป เหมือนกับว่าไม่เคยมีเราอยู่บนโลกนี้เลยก็ได้ อันนี้คือความใฝ่ฝันถึงงานศพของเราในแบบ realistic

 

3.2 ส่วนงานศพของเราแบบ fantasy มันคือสิ่งที่เราเคยฝันไว้เมื่อราว 15-20 ปีก่อน คือถ้าหากเรารวยล้นฟ้า (ซึ่งไม่มีวันเป็นจริงได้)  เราก็อยากให้งานศพของเรามีการจัดฉายหนัง 100 เรื่องที่เราชื่นชอบสุดๆ แบบหนังในลิสท์นี้ 55555

http://beyondthecanon.blogspot.com/2009/09/jit-phokaew.html

 

เราเดาว่าศิลปินบางคน ก็อาจจะอยากให้ผู้คนจดจำผลงานศิลปะของเขาหลังจากเขาตายไปแล้ว ผู้กำกับภาพยนตร์บางคน ก็อาจจะอยากให้มีคนจัด retrospective หนังของเขา หลังจากเขาตายไปแล้ว ส่วน cinephile บางคน ก็อาจจะอยากให้มีคนดูหนังในลิสท์หนังสุดโปรดของเขา หลังจากเขาตายไปแล้ว 55555