Tuesday, August 20, 2013

WANG PLOENG INTERSECTION (2012, Natpakhan Khemkhao, 20min, A+30)

 
WANG PLOENG INTERSECTION (2012, Natpakhan Khemkhao, 20min, A+30)
สี่แยกวังเพลิง (ณัฐปคัลภ์ เข็มขาว)
 
สิ่งที่นึกถึงหลังจากดูหนังเรื่องนี้
 
1.ชอบสุดๆเพราะปัจจัยหลายๆอย่าง อย่างแรกก็คือประเด็นของหนังที่เกี่ยวกับความเลวร้ายของกฎหมายวิดีทัศน์ เราเคยได้ยินคดีของคนจนๆที่ซวยเพราะกฎหมายนี้เมื่อหลายปีก่อน แต่หลังจากนั้นเราก็ลืมเลือนเรื่องนี้ไป หนังเรื่องนี้ช่วยย้ำเตือนเราไม่ให้ลืมเรื่องนี้ และเราจะได้ไม่เผลอกระทำผิดจนต้องตกเป็นเหยื่อของกฎหมายนี้เหมือนตัวละครในเรื่องด้วย
 
2.หนังวิพากษ์ความเลวร้ายในหลายๆจุดได้ดี เพราะนอกจากปัญหาจะเกิดจากตัวกฎหมายเองแล้ว สองสามีภรรยาคู่นี้ยังประสบปัญหาต่างๆจาก
 
2.1 การรับเงินของตำรวจ เพราะสิ่งที่ตำรวจทำก็คือต้องการไถเงินจากสองสามีภรรยาคู่นี้ โดยใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ ถ้าตำรวจไม่ต้องการไถเงิน สองสามีภรรยาคู่นี้ก็ไม่ต้องชีวิตล่มแบบนี้ (หนังสื่อถึงจุดนี้ผ่านทางประโยคที่ตัวละครแม่พระเอกพูดเพียงประโยคเดียว ซึ่งแค่นั้นก็เพียงพอแล้ว โดยไม่มีความจำเป็นต้องจำลองฉากที่ตำรวจต้องการรีดเงินตรงๆแต่อย่างใด)
 
2.2 ทนายความก็ดูเหมือนจะไม่เต็มใจช่วยสองสามีภรรยาคู่นี้เท่าไหร่ สังเกตได้จากฉากที่นางเอกโทรศัพท์ไปหาทนาย อย่างไรก็ดี ถึงแม้ทนายความเต็มใจจะช่วย ผลของคดีก็อาจจะออกมาเหมือนเดิม
 
2.3 อำนาจอันจำกัดของสภาทนายความ โดยในหนังเรื่องนี้ สภาทนายความไม่ได้ทำอะไรผิด แต่หนังก็แสดงให้เห็นว่าปัญหาเรื่องนี้เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนืออำนาจของสิ่งที่สภาทนายความจะยื่นมือเข้าไปช่วยได้
 
2.4 เพื่อนบ้านที่ดูเหมือนจะไม่ให้พระเอกยืมเงิน ซึ่งหนังนำเสนอตรงจุดนี้ได้ดี เราจะเห็นว่าเพื่อนบ้านหลบอยู่ในบ้าน ไม่ยอมออกมาหาพระเอก แต่พอพระเอกเดินจากไปแล้ว เพื่อนบ้านถึงค่อยแง้มหน้าต่างออกมาดู
 
เราชอบมากที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ด่าประณามเพื่อนบ้านคนนั้นว่าเป็นคนเลวที่ไม่ให้พระเอกยืมเงิน เพราะเพื่อนบ้านคนนั้นอาจจะเป็นคนใจดำจริงๆ หรือเขาอาจจะมีเหตุผลของตัวเองก็ได้ที่ไม่ให้พระเอกยืมเงิน หนังแสดงให้เห็นว่าว่าปัญหาของพระเอกอาจจะบรรเทาลงได้ถ้าหากเพื่อนบ้านยอมให้ความช่วยเหลือ หรือมีฐานะมากพอที่จะให้ความช่วยเหลือ แต่หนังก็ไม่ได้ตัดสินอย่างง่ายๆว่าคนที่ไม่ช่วยพระเอกจะต้องกลายเป็นคนเลวโดยอัตโนมัติ
 
3.ประเด็นที่ติดใจคนดูหลายคนก็คือการ ellipsis หรือการที่หนังดูเหมือนจะเล่าข้ามฉากที่โดยปกติแล้วจะต้องมีในหนังทั่วๆไป นั่นก็คือฉากที่แสดงให้เห็นว่าขาพระเอกหายไปไหน
 
ในหนังเรื่องนี้ ดูเหมือนว่าขาพระเอกจะหายไปในช่วงกลางเรื่อง แล้วหนังก็ไม่บอกว่าเพราะอะไร ซึ่งเราก็ไม่รู้เหมือนกัน แต่ถ้าหากให้เราเดา เราก็เดาว่าพระเอกคงบาดเจ็บที่ขามาตั้งแต่ช่วงต้นของเนื้อเรื่องแล้ว (สังเกตได้จากการเดินกะเผลกเล็กน้อยของพระเอกในฉากท้ายสุดของหนัง ซึ่งถ้าหากเรียงตามลำดับเวลาของเหตุการณ์ในเรื่อง เหตุการณ์ในฉากสุดท้ายน่าจะเป็นเหตุการณ์แรกสุดของหนังเรื่องนี้) และอาการบาดเจ็บคงลุกลามในเวลาต่อมาจนเขาต้องตัดขาทิ้งไป
 
สิ่งที่เป็นปริศนาอีกอย่างนึงก็คือว่า การตัดขาของเขาเป็นผลพวงมาจากการที่เขาไม่มีเงินค่ารักษาพยาบาล เพราะต้องเก็บเงินไว้จ่ายค่าปรับของนางเอกหรือไม่ อันนี้เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน
 
หรือว่าการตัดขาของเขาจะเป็นสัญลักษณ์อะไรบางอย่าง
 
สรุปว่าไม่ว่าขาของพระเอกจะหายไปไหน เราก็คิดว่าจุดนี้มันน่าสนใจดี และเทคนิคการ ellipsis แบบนี้ หรือการเล่าเรื่องแบบข้ามจุดสำคัญแบบนี้ มันก็ทำให้เรานึกถึงหนังที่เราชอบสุดๆ อย่างเช่นเรื่อง AU HASARD BALTHAZAR (1966, Robert Bresson) กับเรื่อง LORNA’S SILENCE (2008, Jean-Pierre Dardenne + Luc Dardenne) ด้วย
 
4.ชอบที่หนังไม่เร้าอารมณ์เราโดยไม่จำเป็น ชีวิตของพระเอกในหนังเรื่องนี้มันสาหัสสากรรจ์มากอยู่แล้ว คือแค่ตัวเนื้อเรื่องมันก็รันทดและเศร้าสุดๆอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นหนังก็ไม่จำเป็นต้องเร้าอะไรเรามากไปกว่านี้อีก และพอหนังมันไม่เร้าอารมณ์เราโดยไม่จำเป็น เราก็จะยิ่งรู้สึกว่าสิ่งที่เกิดในหนังเรื่องนี้มันจริงมากๆ เราจะรู้สึกว่ามันต้องมีชีวิตคนจริงๆที่เป็นแบบนี้แน่นอน แทนที่จะรู้สึกว่ามันเป็นเพียงแค่เรื่องของ “ตัวละครสมมุติ” กลุ่มหนึ่ง
 
การที่หนังเรื่องนี้ไม่เร้าอารมณ์มากเกินไป หรือไม่ฟูมฟาย ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ทำให้เรานึกไปถึงหนังของ Robert Bresson กับสองพี่น้อง Dardenne ด้วยเหมือนกัน และเราก็หวังว่าในอนาคตจะมีหนังไทยที่ออกมาในสไตล์ของ Bresson กับ Dardenne อีก
 
5.ชอบการแคสติ้งในหนังเรื่องนี้ด้วย หนังเลือกผู้แสดงที่สมจริงมากๆ คือการแสดงของบางคนอาจจะดูแข็งๆ แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่สำคัญเลยในหนังเรื่องนี้ (เช่นเดียวกับในหนังของ Bresson) เพราะหน้าตาและบุคลิกของคนแสดงที่ดูสมจริงมันก็เพียงพอแล้ว
 
6.การตัดสลับเหตุการณ์ในเรื่องก็น่าสนใจดี ถ้าเรียงตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่อง เหตุการณ์แรกสุดน่าจะเป็นฉากสุดท้าย, เหตุการณ์ที่สองน่าจะเป็นฉากรองสุดท้าย, เหตุการณ์ที่สามน่าจะเป็นฉากที่สองของหนัง และเรียงตามนั้นไปเรื่อยๆ ส่วนฉากแรกสุดของหนังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกลางเรื่อง
 
ตอนที่เราดูรอบแรก การเรียงสลับฉากกันไปมาแบบนี้ เราว่ามันน่าสนใจดีนะ มันทำให้เราอยากรู้ว่า จริงๆแล้วผัวเมียคู่นี้เจอปัญหาจากกฎหมายอะไร และเราไม่รู้ว่าเขาทำผิดจริงหรือไม่ผิดจริงในสายตาของเราหรือเปล่า ก่อนที่เราจะรู้ในช่วงท้ายของเรื่องว่า เขาทำผิดกฎหมายจริงๆ แต่เขาไม่ได้ทำผิดอะไรเลยในสายตาของเรา
 
แต่น้องอุ้ย Ratchapoom ก็นำเสนอไอเดียที่ดีมากๆเหมือนกันว่า ถ้าหากหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องเรียงตามลำดับเวลา จุด focus ของหนังอาจจะเปลี่ยนไป ซึ่งอาจจะทำให้หนังดีขึ้นก็ได้
 
สรุปว่า โดยส่วนตัวแล้ว เราคิดว่าเราคงชอบทั้งสองแบบน่ะแหละ เราชอบทั้งสี่แยกวังเพลิงเวอร์ชั่นปัจจุบัน ที่ไม่ได้เล่าเรื่องเรียงตามลำดับเวลา แต่ถ้าหากหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องเรียงตามลำดับเวลา เราก็คงชอบมากๆเหมือนกัน
 
7.ชอบการ zoom out ในฉากแรกของเรื่อง ที่พอพระเอกตัดสินใจฆ่าตัวตายแล้ว กล้องก็ zoom out ออกมาจากห้องนั้นจนเห็นลูกพระเอกนั่งดูทีวีอยู่ มันเป็นการแสดงให้เห็นถึงปัจจัยที่ทำให้พระเอกอยากฆ่าตัวตาย โดยใช้เทคนิคทางกล้องที่ดูเหมาะสมดี
 
8.ชอบอะไรเล็กๆน้อยๆในหลายๆฉาก อย่างเช่น
 
8.1 ฉากที่ลูกชายเอาพัดลมมาจ่อที่พระเอก มันเป็นการแสดงความรักระหว่างพ่อลูกที่ดีมากๆ
 
8.2 ฉากที่ลูกสาวถามแม่ว่าต้องล้างผักมั้ย มันเป็นการแสดงความเหนื่อยหน่ายของตัวนางเอกได้ดีมากๆ
 
8.3 ฉากที่เห็นรูปถ่ายของพระเอกนางเอกกับลูกในสมัยก่อน มันเป็นภาพความสุขที่เจ็บปวดมากๆ เพราะชีวิตมันไม่มีทางกลับไปเป็นเหมือนเดิมได้อีกแล้ว
 
9.มีหนังไทยหลายๆเรื่องที่ทรงพลังแบบนี้ และนำเสนอด้วยสไตล์หนังแบบนี้ แต่หนังกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะนำเสนอปัญหาทางกฎหมายของชนกลุ่มน้อย  อย่างเช่นเรื่อง OVERSEAS (2012, Wichanon Somumjarn + Anocha Suwichakornong) หรือไม่ก็เป็นหนังสารคดีไปเลย สี่แยกวังเพลิงก็เลยมีความน่าสนใจสำหรับเราในแง่ที่ว่า มันเป็นหนังที่นำเสนอปัญหาสำหรับคนไทยโดยทั่วไป แต่เรามักไม่ค่อยพบสไตล์แบบนี้ในหนังทั่วๆไปในยุคปัจจุบัน เรากลับพบสไตล์แบบนี้ในหนังเกี่ยวกับชนกลุ่มน้อยเป็นส่วนใหญ่
 
สรุปว่าเราชอบประเด็นของหนังเรื่องนี้มากๆ และก็ชอบสไตล์ของหนังเรื่องนี้มากๆด้วย หนังเรื่องนี้ไม่เร้าอารมณ์, ไม่ฟูมฟาย และนำเสนออะไรหลายๆอย่างในหนังได้ด้วยวิธีการที่กระชับ, รัดกุมมากๆ
 

Sunday, August 18, 2013

PAGE 2 STAGE PROJECT 2

 
PAGE 2 STAGE โครงการ 2
 
1.นี่ไม่ใช่บทละคร (A+)
 
สิ่งที่เราชอบมากในเรื่องนี้คือเรารู้สึกว่าสิ่งที่สำคัญสำหรับเราไม่ใช่ปฏิกิริยาระหว่างตัวละคร แต่เป็นปฏิกิริยาระหว่างความรู้สึกของเรากับสิ่งที่ตัวละครพูด โดยรวมๆแล้วเรารู้สึกว่าสิ่งที่ตัวละครพูดกันในเรื่องนี้ มันเหมือนเป็นการรวมเอาลักษณะการสนทนากันทาง Facebook หรืออะไรทำนองนี้มารวมไว้ด้วยกัน ซึ่งเริ่มด้วยการสนทนากันแบบปรัชญาขั้นสูงที่เราไม่เข้าใจ แต่มองด้วยความชื่นชม  ไล่เรียงมาจนถึงการสนทนาเกี่ยวกับข่าวประจำวันที่ไร้สาระ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราอาจจะมองด้วยความดูถูก ส่วนตัวละครที่คิ้มเล่นก็อาจจะทำให้เรานึกถึงใครบางคนที่ติดอยู่ในกรอบความคิดอะไรบางอย่าง และเป็นคนประเภทที่ไม่สามารถทำให้การสนทนานำไปสู่อะไรที่เป็นประโยชน์ได้อย่างแท้จริง
 
2.เมื่อท้องฟ้าเป็นสีฟ้า (A+15)
บทโดยอรดา ลีลานุช
กำกับโดยนายท่าน จันทร์เรือง
 
ชอบช่วงต้นของเรื่องนี้มากๆ เพราะมันเป็นเรื่องของคนที่มีความทุกข์ในจิตใจ และการปฏิบัติธรรมหรืออะไรก็ตามก็ไม่สามารถทำให้เขาพ้นทุกข์ได้
 
แต่ตอนจบเราไม่แน่ใจว่าผู้สร้างละครเรื่องนี้คิดตรงกับเราหรือเปล่า แต่นั่นไม่ใช่สิ่งสำคัญสำหรับเรามากนัก เพราะเราสามารถจินตนาการตอนจบของละครเรื่องนี้ต่อด้วยตัวเองได้ ฮาๆๆ
 
ตอนจบของเรื่องนี้ อาจจะมองว่าเป็น happy ending ก็ได้ แต่เราจินตนาการต่อว่ามันไม่ happy ending เพราะเราไม่เชื่อว่าตัวละครจะสามารถสลัดบาดแผลในใจได้ เราเชื่อว่าเขาแค่สลัดมันทิ้งได้แค่ชั่วครู่ชั่วยาม แล้วมันก็จะกลับมาใหม่
 
สาเหตุที่เราเชื่อเช่นนั้น เพราะเราเชื่อในสิ่งที่ Claude Lanzmann ผู้กำกับหนังเรื่อง SHOAH พูดเอาไว้ เพราะเขาพูดในทำนองที่ว่า “วันที่นาซีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวด้วยการรมแก๊สตายกันเป็นเบือน่ะ วันนั้นท้องฟ้าก็เป็นสีฟ้าสวยงามเหมือนอย่างวันนี้นี่แหละ”
 
เพราะฉะนั้นถึงแม้ท้องฟ้าวันนี้จะสวยงาม มันก็สวยงามเหมือนกับวันที่เกิดการสังหารหมู่นั่นแหละ มันไม่ต่างอะไรกันหรอก และการสังหารหมู่ก็อาจจะเกิดขึ้นได้อีกครั้งในอนาคต สิ่งที่เราทำได้ก็อาจจะเป็นเพียงแค่ enjoy ความงามของท้องฟ้าวันนี้ให้มากที่สุดเท่านั้นเอง
 
 
3.เรื่อง/ของ/เรื่อง (A+5)
บทโดยปณิธาน ลักษณเกียรติ
กำกับโดยศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
 
สิ่งที่ชอบมากก็คือการที่เราไม่รู้สึกเข้าข้างตัวละครฝ่ายใดได้อย่างสนิทใจเลย แต่เราไม่รู้ว่าผู้สร้างละครเรื่องนี้คิดเหมือนกับเราหรือเปล่า เพราะเขาอาจจะเข้าข้างตัวละครพ่อก็ได้ แต่มันก็ไม่ชัดเจนในจุดนี้ ก็เลยกลายเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเราไป
 
เรารู้สึกว่ามุมมองระหว่างคนต่างรุ่นมันเป็นสิ่งที่น่าสนใจดี และมันก็เป็นเรื่องดีถ้าหากจะมีหนังหรือละครที่นำเสนอมุมมองที่แตกต่างกันของแต่ละคนโดยไม่ตัดสินถูกผิด และปล่อยให้ผู้ชมรับฟังมุมมองต่างๆกันเหล่านี้และตัดสินใจเอาเอง
 
ถ้าหากเราเป็นลูก เราก็คงไม่พอใจที่พ่อของเราผลาญเงินไปกับของฟุ่มเฟือยเหล่านี้ แต่เราก็จะเคารพเขาในแง่ที่ว่า มันเป็นเงินของเขา ไม่ใช่เงินของเรา เพราะฉะนั้นเขาอยากผลาญเงินไปกับอะไรก็ผลาญไป แต่เขาอย่ามาเสือกกับชีวิตกูหรือเงินของกูเป็นพอ ฮ่าๆๆ
 
 

Thursday, August 15, 2013

DOUBLE BILL FILM WISH LIST: HER LIFE


DOUBLE BILL FILM WISH LIST (ต่อ)

 

6. HER LIFE (Kanvara Lomthaisong)

+

BELLE DE JOUR (1967, Luis Buñuel)

+

A PREVIOUS TIME (แด่อดีต) (2011, Janenarong Sirimaha, 10min)


+

CHUTIMA (2007, Ratchapoom Boonbunchachoke)

+

MA-LAI  (2007, Weera Kempetch, 22min)

มาลัย (วีระ เข็มเพ็ชร)

 

Each of these five films presents a heroine who becomes a prostitute with no regret. I identify myself very strongly with the heroine of HER LIFE. She does what I really want her to do. The first part of HER LIFE, which shows the heroine stalking her female neighbor, unintentionally reminds me of CELINE AND JULIE GO BOATING (1974, Jacques Rivette), DESPERATELY SEEKING SUSAN (1985, Susan Seidelman), and BIRDCAGE INN (1998, Kim Ki-duk), each of which also presents a scene in which a woman is stalking another woman.

 

The first part of HER LIFE also unintentionally reminds me of 301/302 (1995, Park Cheol-su), because both films present a strange relationship between two female neighbors living in the same building.

 

What I like very much in these five films is the fact that these five films don’t condemn prostitution. The heroine of HER LIFE reminds me of the heroine of BELLE DE JOUR, because each of them sells herself without obvious reasons. Each of them has her own reasons, but their reasons are not as obvious as the financial reasons which motivate the heroines of A PREVIOUS TIME and MALAI to become prostitutes.

 

CHUTIMA is the most radical among these five films. I don’t remember the details of CHUTIMA. If I remember it correctly, the heroine of CHUTIMA has sex with many men, and she  doesn't want money from them, but she treats the men as if they are the prostitutes themselves. Comparing these five heroines together, I think the heroines of HER LIFE, A PREVIOUS TIME, and MALAI are like real human beings, while the heroines of BELLE DE JOUR and CHUTIMA seem like symbols or representations of some theories or concepts. The heroines of BELLE DE JOUR and CHUTIMA provoke us to think.

 

Another thing I like very much in HER LIFE is that it shows that human beings are very complicated. Some of us need something which is very difficult to explain. What the heroine in HER LIFE does unintentionally makes me think about what the heroine of GILLES’ WIFE (2004, Frédéric Fonteyne) does at the end of the film. Why does the heroine of HER LIFE try to be a prostitute when she has enough money and a boyfriend already? Why does the heroine of GILLES’ WIFE do that thing when she has already accomplished what she seems to want the most in her life? The heroines of HER LIFE and GILLES’ WIFE are the kind of characters I love the most. It’s the kind of characters who seems to do something which is against logic and reasons, but deep down inside I know I really understand them. These are the characters I really sympathize with and want to see more and more in films.

Wednesday, August 14, 2013

DOUBLE BILL FILM WISH LIST: ANARCHY IN MY MIND


DOUBLE BILL FILM WISH LIST

 

I want to screen these films together for my own fun.

 

1.ANARCHY IN MY MIND (2012, Narong Srisophab, 15.56min)

ผมไม่ใช่คอมมิวนิสต์ (ณรงค์ ศรีโสภาพ)

+

LA VIE DE JÉSUS (1996, Bruno Dumont)

 

These two films are very different from each other, but I want to screen them together to compare and contrast how rural life is portrayed in Thailand and in France. The protagonists of both contemplative films are lonely young men. The village in LA VIE DE JÉSUS seems to suffer from racism, while the village in ANARCHY IN MY MIND doesn’t treat the protagonist fairly because of some superstitious beliefs. Both films are works of low key realism. The mood and the pace of both films are great.

 

 

2.DIFFERENCE (Krissana Tepakam, 6.44min)

ความแตกต่างระหว่าง... (กฤษณ เทพาคำ)

+ P’MEW (2013, Norapat Sakartornsup, documentary)



 

DIFFERENCE is about the antagonistic relationship between a university student and a copyshop girl. P’MEW is a documentary about a woman who works in a shop in a university.

 

 

3.FATHER AND I (2013, Tanaphon Inthong, documentary)

+

HOMEMADE SAKE (2001, Satoshi Ono)



 

Both films are home movies made by the filmmakers who turned a camera on his own father. FATHER AND I lets us witness a game played between the son and the father. HOMEMADE SAKE lets us witness the father of the filmmaker making sake.

 

4.FRIENDS SHIFT (2013, Boonyarit Wiangnon, 36.51min)

FRIENDS SHIFT (บุญฤทธิ์ เวียงนนท์)

+

HOW I GOT INTO AN ARGUMENT (MY SEXUAL LIFE) (1996, Arnaud Desplechin)

 

Both films deal with highly fluid relationships among a group of friends. The emotions and feelings in both films are very realistic.

 

 

5.GREEN HOUSE EFFECT I (Kompai Kangrang, documentary, 31.20min)

GREEN HOUSE EFFECT I (คมไผ่ แข็งแรง)

+

IN COMPARISON (2009, Harun Farocki, documentary)

 

IN COMPARISON shows us how to make brick in many countries, and also shows us the differences between the traditional ways and the modern ways of making brick. GREENHOUSE EFFECT I shows us how to build a house in a rural part of Thailand. If IN COMPARISON (unintentionally) makes me fear the modern technology used in making brick and houses, GREENHOUSE EFFECT I doesn’t make me trust traditional houses, either. Hahaha

Tuesday, August 13, 2013

A VAGRANT SINGING BEGGAR (2013, Poopaan Sornwismongkol, documentary, 33.13min, A+30)

 
A VAGRANT SINGING BEGGAR (2013, Poopaan Sornwismongkol, documentary, 33.13min, A+30)
วณิพกพเนจร (ภูพาน สรวิศมงคล)
 
ดูแล้วนึกไปถึงหนังรัสเซียเรื่อง PALMS (1993, Artur Aristakisyan, A+30) ที่นำเสนอภาพชีวิตคนจน, ขอทาน หรือคนในสลัมได้ทรงพลังสุดๆแบบนี้เหมือนกัน
 
ในความเป็นจริงนั้น เราไม่เคยหยุดฟังวณิพกเขาเล่นเพลงจริงๆจังๆเลย แต่พอได้มาดูหนังเรื่องนี้ ก็รู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากๆ เพราะสิ่งที่สำคัญมันอาจจะไม่ได้อยู่ที่ ความไพเราะของเพลงแต่มันเหมือนเป็นการสื่อสารทางจิตถึงความลำบากยากเย็นของชีวิตระหว่างคนดูกับคนเล่นดนตรี คือในขณะที่เราฟังคอนเสิร์ตปกติ สิ่งที่สำคัญคือการปล่อยใจไปกับเสียงดนตรีที่เราได้ยิน แต่เวลาเราดูหนังเรื่อง วณิพกพเนจรกับหนังเรื่อง รังไหมดิบ สยาม ไทรโศก” (กำกับโดยธีรนิติ์ เสียงเสนาะ) ที่จับภาพวณิพกขณะเล่นดนตรีเป็นเวลานานๆ เรากลับรู้สึกว่าสิ่งที่สำคัญมันเป็นมากกว่าเสียงดนตรี แต่มันเป็นชีวิตหรือจิตวิญญาณของคนเล่นดนตรี ชีวิตที่เราอาจจะไม่รู้หรอกว่าจริงๆแล้วเขาผ่านความทุกข์ยากอะไรมาบ้าง แต่ภาพที่เราได้เห็นมันก็กระตุ้นจินตนาการเรามากๆว่าชีวิตเขาเคยเจออะไรมาบ้าง และชีวิตของเขาก็อาจจะแตกต่างจากเรามากพอสมควร การดูหนังเรื่องนี้มันเหมือนเป็นการปะทะกับโลกของคนที่อาจจะมีชีวิตแตกต่างจากเรามาก แต่เขาก็เป็นมนุษย์คนนึง และหนังเรื่องนี้ก็เปิดโอกาสให้เราได้สัมผัสเศษเสี้ยวของจิตวิญญาณเขาชั่วขณะหนึ่ง และมันก็เป็นประสบการณ์ที่ทรงพลังมากๆ
 
ชอบช่วงที่มีผู้ชายอีกคนนึงเอาเสื่อหรือของอะไรบางอย่างมาให้วณิพกด้วย มันดูน่าประทับใจมาก
 
หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง “สามัญชน” (THE PORTRAIT OF A YOUNG MAN) (2006, Manussa Vorasingha, 30min, A+30) ด้วย เพราะ THE PORTRAIT OF A YOUNG MAN จับภาพของชายเร่ร่อนคนหนึ่งอย่างนิ่งนาน และให้ความรู้สึกที่บรรยายไม่ถูกเหมือนกัน มันเป็นความรู้สึกคล้ายๆจะหดหู่ แต่ก็ไม่ได้หดหู่แบบหนังสงคราม หรือหนังที่ตีแผ่ความชั่วร้ายของมนุษย์ แต่เป็นความเศร้าต่อโลกมนุษย์ในแบบที่เรายังนึกหาคำเหมาะๆไม่ได้
 
ถ้าหากเอาหนังในกลุ่มนี้มาเทียบเคียงกันแล้ว PALMS อาจจะมีลักษณะความเป็นกวีสูงสุด ส่วน “รังไหมดิบ สยาม ไทรโศก” ทำให้เราร้องไห้มากที่สุด เพราะมันมีการเร้าอารมณ์ด้วยกล้อง, ด้วยผู้คนในสยามสแควร์ ด้วยเสารถไฟฟ้าที่ใหญ่มหึมา และด้วยการเอาเพลงไทรโศกไปใส่ไว้ในรถไฟฟ้าตอนช่วงแรกๆของเรื่อง (ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมจุดนี้ถึงมีส่วนในการทำให้เราร้องไห้ แต่มันเหมือนเป็นการแสดงให้เห็นว่า ถึงคุณไม่ได้ยินเสียงเพลงนี้ด้วยหูของคุณ เพลงนี้ก็อาจจะอยู่ในจิตวิญญาณของคุณ หรือความอาดูรของโลกนี้มีอยู่ในทุกๆแห่ง) ในขณะที่จุดดีของวณิพกพเนจร คือการไม่เร้าอารมณ์ และเปิดโอกาสให้ subject ของเรื่องได้แสดงตัวตนของตัวเองออกมามากกว่า “รังไหมดิบ สยาม ไทรโศก”
 
น่าเสียดายที่เราจำรายละเอียดใน THE PORTRAIT OF A YOUNG MAN ไม่ได้แล้ว แต่เราสงสัยมานานแล้วว่าหนังเรื่องนี้มันเป็นสารคดีหรือมีความเป็นสารคดีผสมอยู่ด้วยหรือเปล่า
 
The photo you see is from PALMS.