Wednesday, November 30, 2022

THEERAWORAGARNT

 

ธีรวรกานต์ (ธนกฤต ศิริประทุม, 128.54 นาที, DOCUMENTARY, A+15)

 

https://www.youtube.com/watch?v=YhgoAOYcQFg&t=6829s

 

1.ยอมรับว่าเราดูหนังเรื่องนี้ในช่วงแรก ๆ แบบไม่ได้ตั้งใจดู 100% เต็ม 55555 โดยเราเล่นมือถือไปด้วยและ shopping online ไปด้วย เพราะดูเหมือนว่าหนังเรื่องนี้จะไม่ได้นำเสนอเนื้อหาอะไรที่สำคัญแบบที่ต้องตั้งอกตั้งใจดูแบบหนังทั่วไป

 

2.ตอนแรกก็ลังเลว่าจะดูหนังเรื่องนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ดีไหม เพราะเนื้อหาของหนังดูเหมือนจะไม่ได้มีความสำคัญอะไรสำหรับเรา แต่ก็ตัดสินใจดูต่อไปเรื่อย ๆ ก่อน เพราะเราชอบ gaze ของหนัง ซึ่งเรื่อง gaze นี่ก็เป็นอะไรที่อธิบายไม่ถูกเหมือนกัน แต่เหมือนหนังมี gaze ที่ค่อนข้างโอเคสำหรับเรา ตรงกับ wavelength ของเราในระดับนึง และไม่ทำให้เราเบื่อ ถึงแม้ดูเหมือนว่าในแต่ละฉากจะไม่ได้มีเหตุการณ์อะไรสำคัญเกิดขึ้น

 

เหมือนเราถูกโฉลกกับหนังตั้งแต่ฉากแรก ๆ ที่ถ่ายเด็กนักเรียนเดินเข้าหรือเดินออกจากประตูโรงเรียน คือฉากนั้นทำให้นึกถึง LEAVING THE FACTORY (1895, Louis Lumiere) ที่เป็นหนังเรื่องแรกของโลก ซึ่งก็ไม่รู้ว่าผู้กำกับจงใจพาดพิงถึงหนังเรื่องนั้นหรือเปล่า 5555

 

3.ถ้าหากเทียบกับหนังกลุ่ม “หนังสือรุ่น” ด้วยกัน หนังเรื่องนี้ก็แตกต่างจากหนังใน genre เดียวกันด้วยเหมือนกัน เพราะหนังกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มักจะนำเสนอความผูกพันอันซาบซึ้งระหว่างเพื่อน ๆ มัธยม และระหว่างนักเรียนกับครู ซึ่งหนังใน genre “หนังสือรุ่น” ที่ทำแบบนี้ก็จะได้อย่างเสียอย่าง เพราะหนังที่ทำแบบนี้ก็จะสามารถบันทึกมวลอารมณ์ความรู้สึกของผู้สร้างหนังกับกลุ่มเพื่อน ๆ เอาไว้ได้ดีมาก แต่ผู้ชมที่เป็น “คนนอก” ก็จะรู้สึกเหมือนตัวเองถูกตอกย้ำความเป็นคนนอกไปด้วย 555

 

แต่หนังเรื่องธีรวรกานต์นี้เหมือนจะไม่ได้นำเสนอบทสนทนาแบบส่วนตัวระหว่างเพื่อน ๆ หรือไม่ได้นำเสนอความผูกพันอันซาบซึ้ง น้ำตาไหลพราก ๆ ระหว่างนักเรียนกับครูแบบหนังใน genre เดียวกัน ซึ่งเราว่ามันน่าสนใจดี คือการรักษาระยะห่างแบบนี้ทำให้หนังมันอาจจะดูเย็นชาและน่าเบื่อกว่าหนังใน genre “หนังสือรุ่น” เรื่องอื่น ๆ แต่มันก็ทำให้หนังเรื่องนี้ดูแตกต่างออกไปจากหนังใน genre เดียวกัน

 

4.ตอนช่วงแรก ๆ เราชอบหนังเรื่องนี้ในระดับแค่ A+ เพราะเราว่าเนื้อหาของมันไม่ได้น่าสนใจสำหรับเรามากนัก แต่ความชอบของเราก็พุ่งขึ้นมาเป็น A+15 ในช่วงท้ายของหนัง เพราะเราชอบฉาก “วิชาชีวิตศาสตร์” ในหนังมาก ๆ เหมือนเนื้อหาของช่วงนี้มันเป็นสิ่งที่ผู้ชมที่เป็นคนนอกอย่างเราสนใจ แต่น่าเสียดายที่การบันทึกเสียงในฉากนี้ทำได้ไม่ดีนัก เราก็เลยฟังสิ่งที่คุณ “อุ๊บอิ๊บ” (ไม่แน่ใจว่าชื่อนี้หรือเปล่า) พูดไม่ออกเลย แต่เราชอบสิ่งที่คุณแป้งและคุณต้องตาพูดมาก ๆ

 

คือสิ่งที่คุณแป้งพูดในฉากนี้มันตรงใจเรามาก ๆ ทั้งเรื่องราวแบบ THE ROAD NOT TAKEN ความหลอนไปตลอดชีวิตว่า “ทำไมเราถึงไม่เลือกทางเดินชีวิตเส้นนั้นเมื่อ 10 ปีก่อน” “ถ้าเมื่อ 10 ปีก่อน เราเลือกเดินทางนั้น เราเลือกเข้าเรียนคณะนั้น ป่านนี้ชีวิตเราจะเป็นอย่างไรไปแล้ว” ซึ่งเรื่องนี้มันจริงมาก ๆ สำหรับเรา และเรื่องที่คุณแป้งแนะให้นักเรียนสารภาพรักกับคนที่ชอบไปเลยก่อนเรียนจบ ไม่เช่นนั้นเราจะทุกข์ทรมานใจไปตลอดเป็นเวลานานหลายปี โดยเฉพาะเมื่อเราได้เจอเขาอีกทีในอีกหลายปีต่อมา และพบว่าเขามีเมียมีลูกไปแล้ว

 

คือชอบสิ่งที่คุณแป้งพูดในฉากนี้มาก ๆ มันสอดคล้องตรงกับความคิดของเราจริง ๆ

 

5.ถึงแม้เราจะชอบช่วงท้ายของหนังอย่างสุด ๆ แต่เราก็ไม่ได้ชอบหนังทั้งเรื่องมากถึงขั้น A+30 นะ เพราะมันยาวเกินไปสำหรับ “คนนอก” อย่างเราน่ะ 5555 คือถ้าช่วงครึ่งแรกของหนังมันสั้นกว่านี้ หรือหนังเลือกใช้วิธีอื่น ๆ ในการนำเสนอ อย่างเช่นใส่บทสนทนาแบบส่วนตัวเข้าไป หรือใส่ความเป็น fiction ลงไปด้วย แบบที่หนังใน genre หนังสือรุ่นบางเรื่องทำกัน เราก็อาจจะ enjoy กับหนังมากยิ่งขึ้น

 

6.ถ้าหากพูดถึงหนังใน genre  “หนังสือรุ่น” และหนังกลุ่ม “สารคดีบันทึกความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน”  โดยรวมแล้ว เรารู้สึกว่าเรามักจะได้ดูหนังแบบนี้ในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนของไทยมาแล้วแค่ไม่กี่เรื่องมั้ง ซึ่งรวมถึงเรื่อง

 

6.1 “หนังสือรุ่น” (2005, เบญจพรรณ รุ่งศุภตานนท์) ที่ได้รางวัลช้างเผือก และเหมือนเป็นการเปิดศักราชของหนัง genre นี้

 

6.2 6 OR 5 (2006, Sarawan Weerawat, 56min) สารคดีเกี่ยวกับกลุ่มเพื่อนหญิง 6 คนที่คบกันมาตั้งแต่สมัยมัธยม ก่อนที่บางคนจะหายไปจากกลุ่ม

 

6.3 MY ROOM AND I (2010, Ka-nes Boonyapanachoti) ชอบที่หนังเรื่องนี้เหมือนบันทึก moments ของผู้กำกับกับเพื่อน ๆ ขณะเรียนใน ICT ศิลปากรเอาไว้ด้วย

 

6.4 HELL นรก (2013, Theeraphat Ngathong, 20min) ที่เป็นบันทึกงานคอนเสิร์ตโรงเรียน แต่มีความเป็นหนังทดลองอยู่ด้วย

 

6.5 ALL OF US: PART 8 MEDICAL ENTRANCE EXAMS AT RATCHABURI (2014, Theeraphat Ngathong, 102min) เป็นหนังที่ความยาวสูสีกับ “ธีรวรกานต์” แต่หนังเรื่องนี้อาจจะดูง่ายกว่าหน่อย เพราะมันมีเนื้อเรื่องอยู่ด้วย เป็นบันทึกการเดินทางของเด็กมัธยม 6 คนที่เดินทางไปสอบเข้ามหาลัยที่ราชบุรี

 

6.6 BEFORE FRI(END) (2022, ศรัณย์ภัทร กองสุข, 41min) ชอบเรื่องนี้สุดขีด เพราะมันผสมความเป็น fiction เข้ามาด้วย และมันออกมาดีงามมาก ๆ

 

และก็มีหนังเรื่องอื่น ๆ อีกที่เป็นหนังแนว “หนังสือรุ่น” ที่เราได้ดู แล้วเรานึกชื่อเรื่องไม่ออก จำได้ว่ามีเรื่องนึงที่ครูกับนักเรียนร้องห่มร้องไห้ร่ำลากันหนักมาก และมีอีกเรื่องหนึ่งที่เราชอบสุด ๆ ที่เหมือนมีการ reenact เหตุการณ์ตอนกะเทยเต้นหลีดเอาไว้ด้วย

 

ถ้าใครนึกชื่อหนังเรื่องไหนในกลุ่มนี้ออก ก็บอกมาด้วยนะ

 

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าต่างประเทศมีการผลิตหนังกลุ่มนี้ออกมาบ้างหรือเปล่า คิดว่าคงมีทำกันออกมาบ้าง แต่ผู้สร้างคงมองว่าเป็นหนังส่วนตัว หนังเหล่านี้ก็เลยไม่ได้เผยแพร่ในเทศกาลอะไรจนมาถึงสายตาผู้ชมที่เป็นคนนอกโรงเรียนมากนัก

 

ก็ถือได้ว่าเป็นหนังกลุ่มที่น่าสนใจดี แต่หนังกลุ่มนี้มันก็มีข้อจำกัดในตัวของมันเองอยู่แหละ นั่นก็คือผู้ชมที่เป็นคนนอกก็อาจจะไม่อินด้วย และพอมันเป็น “สารคดี” แบบนี้ มันก็จะไม่สามารถสะท้อนความรู้สึกบางอย่างออกมาได้ คืออย่างเรานี่ถ้าหากนึกถึงตอนมัธยมเราก็จะนึกถึง “ครูบางคนที่เราเกลียดชังอย่างรุนแรงมาก” อะไรทำนองนี้ด้วย ซึ่งความเกลียดชังแบบนี้คงใส่เข้าไปในหนังสารคดีแบบนี้ไม่ได้ 555 นอกจากว่าจะทำให้มันเป็น fiction ไปเลย

Tuesday, November 29, 2022

CHRISTMAS EVE -- TATSURO YAMASHITA

 

ดีใจที่รัสเซียเลือกหนังห่วย ๆ มาชนกับ WORLD FILM เราจะได้ไม่รู้สึกว่าพลาดอะไรไป คือถ้าหากรัสเซียจัดงาน retrospective ฉายหนัง 20 เรื่องของ Nikita Mikhalkov อะไรอย่างนี้เพื่อชนกับ WORLD FILM เราคงกรีดร้องสุดเสียงด้วยความเสียดาย 55555

 

ปีนี้กะว่าจะพยายามสังเกตว่า ตัวเองได้ยินเพลง ALL I WANT FOR CHRISTMAS IS YOU ของ Mariah Carey กี่รอบ วันนี้ได้ยินไปแล้ว 1 รอบตอนเดินใน SILOM COMPLEX

 

ส่วนภาพมาจากหนึ่งในเพลงคริสต์มาสที่เราชอบที่สุดในชีวิต ซึ่งก็คือ CHRISTMAS EVE (1983) ของ Tatsuro Yamashita ที่ดีเจสุทธิธรรม สุจริตตานนท์ชอบเปิดบ่อย ๆ เมื่อราว 30 ปีก่อน

https://www.youtube.com/watch?v=nhmHpI1hT4U

 

หนังสั้นมาราธอน 29 (Marathon 29)

พฤหัสบดี 24 พฤศจิกายน 2565 13.00 Thu 24 Nov 2022 (1 PM.)

.

216. ท่วงทำนองที่ระลึก / เอกภพ นนทภา / 16.04 นาที [E] DOCUMENTARY

A+30

 

หนังสารคดีเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายของ “ประกายฟ้า” เศร้ามาก ๆ

 

217. ท๊อป ออฟ เดอะ เวิลด์ / ธนากร สุทธิประภา / 17.57 นาที

A+

 

218. แทนปิติ / กุลพัทธ์ เอมมาโนชญ์ / 16.20 นาที [E] DOCUMENTARY

A+15

 

219. ธีรวรกานต์ (2022, ธนกฤต ศิริประทุม, 128.54 นาที, DOCUMENTARY, A+15)

https://www.youtube.com/watch?v=YhgoAOYcQFg&t=6829s

Monday, November 28, 2022

UK CHARTS

 

ในช่วงเดือนมี.ค. 2020 เราเคยสั่งซื้อหนังสือชาร์ทเพลงอังกฤษทศวรรษ 1980+1990 ไปทาง AMAZON.CO.UK แต่ปรากฏว่าเวลาผ่านไปนาน 2 เดือน หนังสือก็ยังส่งมาไม่ถึงเรา ในขณะที่เพื่อนที่สิงคโปร์ที่สั่งซื้อหนังสือเล่มนั้นเหมือนกันได้หนังสือไปเป็นเวลานานแล้ว เราก็เลยทำเรื่องขอเงินคืนจาก AMAZON ซึ่งทางนั้นก็คืนเงินให้เรามาในทันทีในช่วงราวเดือนพ.ค.2020 เราเดาว่าคงเป็นเพราะ COVID ระบาดทั้งที่อังกฤษและที่ไทยในช่วงนั้น ก็เลยเป็นสาเหตุที่ทำให้เราไม่ได้หนังสือ แต่ความผิดหลัก ๆ คงอยู่ที่อะไรสักอย่างในประเทศไทยนี่แหละ เพราะเพื่อนที่สิงคโปร์ได้หนังสือ แต่เราไม่ได้หนังสือ

 

ตอนนี้เราเห็นว่าโควิดน่าจะซา ๆ ลงแล้ว ก็เลยสั่งซื้อหนังสือสองเล่มนี้ไปทาง AMAZON.CO.UK เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 พ.ย. ปรากฏว่าวันนี้เราได้หนังสือแล้ว ดีใจมาก สรุปว่าใช้เวลาไม่ถึง 4 วัน หนังสือที่สั่งจากประเทศอังกฤษก็ส่งมาถึงมือเรา โธ่ แล้วตอนนั้นกูก็นั่งตาละห้อย ตั้งตาคอยไปทุกวัน ทุกวัน เป็นเวลานาน 2 เดือน ก่อนจะตัดสินใจขอเงินคืน

 

จริง ๆ แล้วข้อมูลในหนังสือเล่มนี้เป็นสิ่งที่หาได้จากอินเทอร์เน็ตนะ แต่เหมือนเราเติบโตมาในยุคที่ชินกับหนังสือเป็นเล่ม ๆ น่ะ เพราะฉะนั้นถึงแม้ข้อมูลเหล่านี้จะหาได้ฟรีทางอินเทอร์เน็ต เราก็ยังอยากซื้อตัวหนังสือเก็บไว้อยู่ดี

 

ความสุขของชีวิตเราก็คือการเอาชื่อเพลงในทศวรรษ 1980-1990 ไปเสิร์ชในยูทูบ แล้วก็ฟังเพลงของช่วงสองทศวรรษนี้นี่แหละ เพราะเพลงเหล่านี้ทำให้เรานึกถึงชีวิตวัยมัธยม, มหาลัย, และตอนเริ่มทำงาน ช่วงที่เรายังขายออก ช่วงที่สุขภาพยังดีอยู่ ช่วงที่เรายังคงรู้สึกเหมือนกับว่า “น่าจะยังมีชีวิตที่ดีรอเราอยู่ข้างหน้า” ช่วงที่ LIFE IS STILL AHEAD OF US

 

รายงานผลประกอบการประจำวันจันทร์ที่ 21 พ.ย. 2022

(ผ่านมานาน 1 สัปดาห์แล้ว เพิ่งมีเวลาแปะ)

 

1.SPEAK NO EVIL (2022, Christian Tafdrup, Denmark/Netherlands, A+30)

ดูที่ PARAGON รอบ 11.30

 

2.TOXIC (2022, Jo Yong-sun, South Korea, A+30)

ดูที่ PARAGON รอบ 14.00

 

3.THE BLUE SKIES AT YOUR FEET (2022, Yuki Saito, Japan, A+20)

ดูที่ PARAGON รอบ 16.30

 

4.THE MENU (2022, Mark Mylod, A+25)

ดูที่ PARAGON รอบ 19.00

 

 

 

 

 

 

Sunday, November 27, 2022

VINES

 

เถาวัลย์  (ศรัณย์พล วารีวะนิช, 20.27 นาที, A+30)

 

1.ชอบมาก ๆ ที่เอาเรื่องความไม่ลงรอยกันระหว่างสุนทรภู่กับร. 3 และเรื่องการออกผนวชของร. 4 มาทำเป็นหนัง คือเหมือนเราได้ยินเรื่อง gossip ทำนองนี้มาตั้งแต่เด็กแล้ว แต่ก็เหมือนไม่เคยเห็นใครนำมาทำเป็นหนังเลย ก็เลยชอบมาก ๆ ที่มีคนเอาเรื่องแบบนี้มาทำเป็นหนัง

 

2.แต่ก็รู้สึกว่าหนังนำเสนอตัวละครสุนทรภู่ในทางลบมากกว่าที่เราคาดไว้นะ แต่เราก็ไม่ได้รู้สึกในทางลบกับหนังมากนักในจุดนี้ เพราะหนังบอกไว้ตั้งแต่ต้นเรื่องแล้วว่า สิ่งที่อยู่ในหนังเรื่องนี้เป็น fiction ไม่ใช่ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ เพราะฉะนั้นถ้าหากหนังเรื่องนี้จะนำเสนอ “ตัวละคร” ในทางบวกหรือลบมากกว่าความเป็นจริง มันก็เป็นสิทธิที่ fiction จะทำได้ ตราบใดที่มันไม่แอบอ้างว่าเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

 

สรุปว่าการที่สุนทรภู่ดูเป็นคนไม่ค่อยดีนักในหนังเรื่องนี้ ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกในทางลบกับหนังมากนัก แต่ก็ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกดีกับหนังมากขึ้นเช่นกัน 555

 

3.ยอมรับว่าสิ่งหนึ่งที่ชอบมาก ๆ ก็คือ สุนทรภู่กับร.3 ในหนังเรื่องนี้หล่อมาก 555

 

4.ชอบการใช้กลอนในหนังเรื่องนี้ด้วย เราว่าการพูดกลอนในหนังเรื่องนี้มันฟังดูไพเราะมาก ๆ สำหรับเรา ทั้งที่เป็น diegetic sound และ non-diegetic sound

 

5.ชอบทั้งฉากในวังและฉากป่า เราว่าฉากในวังมันดู minimal ดี นึกว่าหนังของ Derek Jarman 5555 ไม่แน่ใจว่าที่มันออกมาดู minimal แบบนี้เป็นเพราะตั้งใจจะให้มันออกมาดู minimal อยู่แล้ว หรือต้องการให้มันดูคล้ายละครเวทีอยู่แล้วหรือเปล่า หรือเป็นเพราะข้อจำกัดทางงบประมาณ แต่เราชอบสไตล์แบบนี้อยู่แล้วล่ะ เพราะเราชอบหนังของ Derek Jarman

 

6.ส่วนฉากป่านั้นเราชอบ location มาก ๆ เหมือนพอหนังมันตั้งชื่อว่า “เถาวัลย์” หนังก็เลยเหมือนพยายามหา location ป่าที่มันมีเถาวัลย์หรือมีอะไรห้อยระโยงระยาง ซึ่งเราว่ามันออกมาดูน่าประทับใจมากสำหรับเรา

 

7.สิ่งหนึ่งที่เราชอบสุดๆ  แต่ไม่แน่ใจว่าหนังตั้งใจแบบนั้นหรือเปล่า ก็คือการที่ชื่อเรื่อง “เถาวัลย์” มันทำให้นึกถึงกลอนของสุนทรภู่มาก ๆ ที่บอกว่า

 

"แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน
บิดามารดารักมักเป็นผล
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน
เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา
แม้ใครรักรักมั่งชังชังตอบ
ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
"

 

ซึ่งตอนที่หนังเปิดออกมาว่าพูดเรื่องสุนทรภู่ในช่วงต้นเรื่อง เราก็นึกว่าหนังจะต้องใส่ quote บทกลอนนี้เข้าไปในหนัง แต่ปรากฏว่าดูจนจบเรื่องแล้ว หนังก็ไม่ได้ quote บทกลอนนี้ใส่เข้าไป เราก็เลยไม่แน่ใจว่าหนังเรื่องนี้จงใจจะพาดพิงถึงบทกลอนนี้ผ่านทางชื่อหนังจริง ๆ หรือเปล่า

 

แต่ไม่ว่าหนังจะตั้งใจพาดพิงถึงบทกลอนนี้ผ่านทางชื่อหนังหรือไม่ก็ตาม เราว่าบทกลอนนี้มันก็เข้ากับหนังมากจริง ๆ นั่นแหละ โดยเฉพาะสิ่งที่สุนทรภู่ต้องทำในช่วงผลัดแผ่นดิน นั่นก็คือการ “รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี”

 

สรุปว่าชอบหนังแนวนี้มาก ๆ เป็นการส่วนตัวจ้ะ

 

 

 

TULANG BAAN NA FASANG

 

หนังสั้นมาราธอน 28 (Marathon 28)

พุธ 23 พฤศจิกายน 2565 18.00 Wed 23 Nov 2022 (6 PM.)

.

202.ด่วนมรณะ / สรวิชญ์ ปักษี / 16.22 นาที HORROR

B+

 

203. ดอกไม้ไฟ / กรภัทร์ จีระดิษฐ์ / 5 นาที

A+15

 

เข้าใจว่าเป็นหนังส่งประกวดโครงการอะไรสักอย่างที่เขากำหนดความยาวราว 5 นาที ตัวละครในหนังเรื่องนี้เลยพูดกันเร็วปรื๋อจนเรา process ข้อมูลตามไม่ทัน 555 คือหนังออกแบบตัวละครมาดีมากน่ะ แต่มันควรจะยาวราว 15 นาทีเป็นอย่างต่ำนะ ถ้าหากจะให้ผู้ชมอย่างเราซีมซับไปกับอารมณ์และประวัติของตัวละคร 555

 

204. ดาบพลังลำแสงร้ายแรงกว่าแสงเลเซอร์ / จักรพันธ์ ศรีวิชัย / 4.58 นาที

A-

 

205. ดำ คิด ดู / ณัฐภัทร โนรีวงค์ / 6.14 นาที [N]

เสียดายเราออกไปเข้าห้องน้ำ เลยพลาดช่วงต้น ๆ ของหนังเรื่องนี้

 

206. ดีสะพัด / ธนชาต ใจหล่อ / 5 นาที

F

 

207. เดอะ เคส สตัดดี้ THE CASE STUDY / วิบูล มาสุทธิธรรม / 24.13 นาที [E] SCI-FI

A+30

 

208. แด่เธอที่รัก HAPPINESS BELONGS TO YOU / คณิน บำรุงวงศ์ศิริ / 18.46 นาที

A+30

 

209. ตะโกนให้ลั่นฉันเป็นใคร / ชลภฤศ วิปุลพงษ์ / 24.30 นาที

A+30

 

210. ตะวันฉาย THE SUN SHINES / บุรภัทร จันทร์ประทัด / 7.40 นาที DOCUMENTARY

A+30

 

211. ตุ๊หล่าง บ้านนาฟ้าสาง / นวรัตน์ รุ่งอรุณ / 19.04 นาที DOCUMENTARY

A+30

 

สุดฤทธิ์ ไม่เคยรู้มาก่อนว่าเมืองไทยมีข้าวพันธุ์ต่าง ๆ ที่น่ากินมากมายขนาดนี้ อยากลองกินข้าวต่าง ๆ ในภาพยนตร์เรื่องนี้มาก ๆ โดยเฉพาะข้าวเพชรราตรี และข้าวเหนียวหอมกุสุมา ที่เขาบอกว่าเวลากินเข้าไปแล้ว เราจะรู้สึกเหมือนตัวเราลอยอยู่บนก้อนเมฆ

 

212. ถล่มรังแม่ตุ้ม สำนักงานกะทิ / ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ / 3.05 นาที [N]

A+15

213. ถั่วงอก / กัลป์วีร์ จันทร์ดี, เอกราช พานิช / 22.11 นาที

A+30

 

เหมือนปีนี้มีหนังดี ๆ เกี่ยวกับประเด็น “ท้องไม่พร้อม” หลายเรื่องมาก ๆ เข้าใจว่าน่าจะมาจากโครงการสร้างหนังขององค์การอะไรสักอย่างหรือเปล่า

 

214. ถ้ำค้างคาว / อนันต์ เกษตรสินสมบัติ / 3.24 นาที [N]

A+

 

เวลาดูหนังบางเรื่องของคุณอนันต์ เราจะรู้สึกว่ามันมีความ Chaloemkiat Saeyong + National Geographic

 

215. เถาวัลย์ / ศรัณย์พล วารีวะนิช / 20.27 นาที [E]

A+30

RIP LINDA KATUNCHAROEN

 

RIP ลินดา ค้าธัญเจริญ

 

ชอบลุคของเธอมาก ๆ

 

ผลงานภาพยนตร์ของลินดาที่เราเคยดู

 

 1.“แก้ว” (1980, Piak Poster)

 

2. เพชรตัดเพชร (1984, สักกะ จารุจินดา)

 

3. “ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด” (1985, วิจิตร คุณาวุฒิ)

 

4. สะแกกรัง (1986, ดาวไสว)

 

5.สายน้ำไม่ไหลกลับ (1987, บรรจง โกศัลวัฒน์)

 

ส่วนละครทีวีของลินดานั้น ส่วนใหญ่แล้วเรามักเห็นโฆษณาแบบผ่าน ๆ ตา หรือไม่ก็อาจจะเคยดูแค่ไม่กี่ตอน ซึ่งละครทีวีของลินดาที่เราเห็นโฆษณาบ่อย ๆ จนฝังใจในวัยเด็ก หรืออาจจะเคยดูบางตอนก็มีเรื่อง

 

1.ศิขริน-เทวินตา (1980) จากนิยายของโสภาค สุวรรณ

 

2.รัศมีจันทร์ (1981) คลาสสิคมาก ๆ จากนิยายของทมยันตี

 

3.พิษสวาท (1981) จากนิยายของทมยันตี เวอร์ชั่นที่รัชนู บุญชูดวงเล่นเป็นนางเอก น่ากลัวสุดขีด ขลังมาก ๆ

 

4.เลื่อมสลับลาย (1983) จากนิยายของกฤษณา อโศกสิน

 

5.มฤตยูเขียว (1985) จากนิยายของจินตวีร์ วิวัธน์ เรายังจำได้เลยว่า ตอนที่ละครเรื่องนี้ฉาย มีเพื่อนผู้หญิงมา role play ฉากที่ลินดาถูกอสูรกายฆ่าตายให้เพื่อนคนอื่น ๆ ได้ดูกันที่โรงเรียนด้วย

Thursday, November 24, 2022

ANGRY GENERATION

 

หนังสั้นมาราธอน 26 (Marathon 26)

อังคาร 22 พฤศจิกายน 2565 18.00 Tue 22 Nov 2022 (6 PM.)

.

186. โควิโท COVIDO – THE OPERA / กฤษดา เรเยส / 19.07 นาที [E] OPERA MUSICAL

A+30

 

น่าจะเป็นหนึ่งในหนัง Thai opera musical เพียงไม่กี่เรื่องที่เคยได้รับการผลิตขึ้นมาบนโลกนี้ แถมยังเป็นหนังเกี่ยวกับตุ๊กตาหมีพูดได้อีกด้วย

 

187. จนกว่าจะวายชีวาวาตม์ YOUTHLESS / ประกาศิต สอดศรี / 11.45 นาที [E]

A+30

 

188. จ้างวานข้า / ธนากร สำราญสุขทิวาเวทย์ / 9.56 นาที DOCUMENTARY

A+30

 

189. จิตวินาศ RUINATION OF MIND / ณัฐหภัทร แพรขาว / 7.55 นาที [N] HORROR

A+25

 

ชอบมากที่มันเหมือนเป็นหนังทดลอง + หนังสยองขวัญ ที่เราดูแล้วก็ไม่ได้มีความเข้าใจแต่อย่างใด แต่เรายังไม่ได้ชอบถึงขั้น A+30 เพราะเรารู้สึกว่า gaze ของหนังมันยังไม่เข้าทางเราซะทีเดียวน่ะ เหมือนการสร้างบรรยากาศและการถ่ายภาพมันยังไม่ “รุนแรง” มากนักในสายตาของเรา แต่ก็ถือเป็นหนังที่ “เกือบ” จะเข้าทางเราแล้ว

 

190. จีบ(s)able / ฐิตินันท์ คุ้มตะสิน / 1.35 นาที

A

 

191. จุดนัดพบ STILL / พิสิษฐ์ เดชาวัฒนะพงศ์ / 9 นาที

A+30

 

ถ้าเข้าใจไม่ผิด หนังเรื่องนี้มาจากราชมงคลกรุงเทพ ซึ่งเหมือนในยุคหลัง ๆ เราแทบไม่ค่อยได้ดูหนังจากมหาวิทยาลัยนี้แล้วในเทศกาลมาราธอน ก็เลยดีใจที่ยังมีหนังจากมหาลัยนี้ส่งมาให้ได้ดูกัน

 

-- เจนนี่ / ณัฐฐามาศ เนตรสาลี / 3.15 นาที [N] ANIMATION

เคยดูแล้ว

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10228862866739816&set=a.10227993335122069

 

192. เจเนอเรชันโกรธ / ธีร์ชนินทร์ โตรุ่ง / 19 นาที

A+30

 

หนักที่สุดในชีวิตการแสดง

 

193.ฉันคือรถไฟ / อมรเทพ กมลศักดิ์กำจร / 6.18 นาที [E] DOCUMENTARY

A+

 

194. ฉากชีวิต / สิรมา จะเรตรัมย์ / 4.07 นาที

A-

 

195.ชั่วขณะ-นิรันดร์ / บุญลีย์ ตันตินราวัฒน์ / 31.08 นาที

A+30

 

เราว่าหนังเลือกจับ moments ที่ประหลาดดี เป็นวิธีการทำหนังแบบ slice of life ที่น่าสนใจมาก ๆ ชอบฉากแม่เก็บผักริมรั้ว 555

 

196. ชีวา / ชนน น้อยศรี / 11.17 นาที HORROR

A+

 

ฉันว่าผู้ร้ายที่น่ากลัวที่สุดในเรื่องไม่ใช่คุณลุง แต่เป็นเจ้านายของพระเอก

 

197.ชีวิต / เดินทาง / กรุงเทพฯ (BANGKOK / LIFE / TRANSPORT)

/ ธนัท ศักดิ์เพ็ญศรี / 16 นาที DOCUMENTARY

A+

 

เป็นหนังที่ประหลาดมากสำหรับเรา เพราะเราอยู่อพาร์ทเมนท์แถวราชเทวี เพราะฉะนั้นการที่หนังเหมือนมานำเที่ยวห้าง MBK, BACC, SAMYAN MITRTOWN มันเลยเหมือนเป็นการพลิกมุมมองสำหรับเรามาก ๆ เพราะสถานที่เหล่านี้มันเป็นสิ่งที่เราเห็นอยู่ทุก ๆ วัน แต่หนังเรื่องนี้เหมือนมองว่าสถานที่เหล่านี้ไม่ใช่สถานที่สำหรับชีวิตประจำวัน แต่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว มันก็เลยประหลาดดีสำหรับเรา

 

เราก็เลยไม่ได้ประทับใจกับ “เนื้อหา” ของหนัง เพราะหนังมันนำเสนอภาพที่เราเห็นอยู่แล้วในทุก ๆ วัน แต่เราชอบ “ความใสซื่อ” บางอย่างในมุมมองของหนัง

 

198.ชีหลง MUNDANE HERSTORY / ชิตพล แพงเวียงจันทร์ / 7.53 นาที

A+5

 

เหมือนหนังสั้นไปหน่อยจนเราจับอะไรไม่ค่อยได้

 

--เช้าแล้ว / ธีรภัทร ประภัศร / 14.36 นาที [E]

เคยดูแล้ว เขียนถึงหนังไว้ที่นี่

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10229031703360626&set=a.10227993335122069

 

199. เชื่อในการจากลา / กฤษดา ธรรมสันต์ / 5 นาที

A+30

 

200.ใช้ร้อยชิงล้าน / พิเชษฐ์ กระจ่างผัด / 2.47 นาที ADVERTISEMENT

A+

 

มีการส่งโฆษณาชิงโชคเข้ามาในเทศกาลหนังสั้นด้วย 55555

 

201.ซาก / ธนชาต ใจหล่อ / 4.58 นาที SCIENCE FILM

A+25