Tuesday, March 31, 2015

PADDINGTON (2014, Paul King, UK, approximately A+25)

PADDINGTON (2014, Paul King, UK, approximately A+25)

--เสียดายหลับไปวูบนึงช่วงกลางเรื่อง เพราะร่างกายเราไม่พร้อม ถ้าถามว่าตอนนี้ชอบมากน้อยขนาดไหน ก็ตอบได้ว่าชอบประมาณ A+25 แต่ถ้าหากเราได้ดูแบบไม่หลับ เราก็อาจจะชอบมากกว่านี้ก็ได้นะ เพราะการหลับช่วงกลางเรื่องทำให้อารมณ์มันสะดุด และอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เราไม่ซึ้งมากนักกับพัฒนาการของตัวละครหรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครในช่วงท้ายเรื่อง

--หมีน่ารักน่ากอดมากๆ

--นำเสนอประเด็นเรื่องผู้อพยพได้อย่างงดงาม ชอบมากๆที่หนังพาดพิงถึงเด็กมากมายในยุโรปช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ถูกส่งไปอยู่บ้านของคนไม่รู้จักเพื่อหนีภัยสงคราม เพราะเราเคยดูหนังสารคดีเกี่ยวกับเด็กอพยพในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเหล่านี้ เราก็เลยรู้สึกซึ้งกับประเด็นนี้มากๆ

--ฉากสถาบันนักภูมิศาสตร์ทำให้นึกถึงหนังบางเรื่องของ Terry Gilliam

--ชอบบทหนังในแง่ที่ว่า มันใส่รายละเอียดเล็กๆน้อยๆไว้มากมายในช่วงต้นเรื่อง ซึ่งดูเหมือนเป็นสิ่งไม่สำคัญ แต่ปรากฏว่ารายละเอียดเล็กๆน้อยๆเหล่านี้ถูกนำมาใช้ประโยชน์หมดเลยในช่วงท้ายเรื่อง


--สาเหตุที่ทำให้เราไม่ชอบในระดับ A+30 นอกจากจะเป็นเพราะว่าเราหลับช่วงกลางเรื่องแล้ว ยังเป็นด้วยเหตุผลส่วนตัวนั่นก็คือว่า เรามีปัญหากับ “สถาบันครอบครัว” ในหนังเรื่องนี้น่ะ คือถ้าหากเทียบกับ “หนังสำหรับเด็ก” ด้วยกันแล้ว เราโอเคกับการนำเสนอภาพสถาบันครอบครัวในหนังเรื่อง MATILDA (1996, Danny DeVito, A+30) มากที่สุด แต่สถาบันครอบครัวที่ถูกนำเสนอในหนังเรื่องนี้ ทำให้เราไม่อินกับหนังจ้ะ จบ

Sunday, March 29, 2015

WAGES OF RESISTANCE: NARITA STORIES

Films seen on Saturday, March 28, 2015

1.THE WAGES OF RESISTANCE: NARITA STORIES (2014, Koshiro Otsu + Daishima Haruhiko, Japan, documentary, A+30)

--ดูแล้วรู้สึกว่ามันคล้ายกับหนังเรื่อง PEÕES (2004, Eduardo Coutinho, Brazil documentary) ในแง่ที่ว่า หนังทั้งสองเรื่องนี้มันเป็นการตามถ่ายผู้คนในยุคปัจจุบันที่เคยมีส่วนร่วมในการประท้วงสำคัญเมื่อหลายสิบปีก่อนเหมือนกัน แต่เราว่าหนังญี่ปุ่นเรื่องนี้มันซึ้งกว่า PEÕES เยอะ เพราะเหมือนกับว่าผู้กำกับหนังญี่ปุ่นเรื่องนี้มันจูนติดกับคนให้สัมภาษณ์มากกว่า มันก็เลยสามารถนำเสนอผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคนได้อย่างน่าประทับใจกว่า นอกจากนี้ การที่ผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคนเคยปรากฏตัวในหนังสารคดีเรื่องก่อนๆมาแล้ว ก็เลยส่งผลให้หนังเรื่องนี้สามารถนำฟุตเตจมากมายของผู้ให้สัมภาษณ์เมื่อหลายสิบปีก่อนมาใช้ในหนังเรื่องนี้ด้วย และการได้เห็นความเปลี่ยนแปลงผู้ให้สัมภาษณ์แต่ละคนเมื่อเวลาผ่านไป 40 ปี มันก็สร้างความสะเทือนใจได้สูงมาก ในขณะที่ PEÕES มันไม่ค่อยมีฟุตเตจเก่าๆมากนัก มันก็เลยไม่สามารถสร้างความสะเทือนใจตรงนี้ได้

--ชอบอารมณ์สงบของหนังเรื่องนี้ ชอบอารมณ์ของคนที่ผ่านอะไรมามากแล้ว ซึ่งมันจะแตกต่างจากหนังเรื่อง NARITA: PEASANTS OF THE SECOND FORTRESS (1971, Ogawa Shinsuke) ที่เราได้ดูใน SALAYA DOC ปีแรก คือ PEASANTS OF THE SECOND FORTRESS มันเป็นหนังที่พาเราเข้าไปอยู่ท่ามกลางการประท้วงเลยไง (ถ้าจำไม่ผิด) และมันดูยุ่งเหยิงวุ่นวายปวดหัวมากๆ ซึ่งในแง่นึงมันก็ดีที่มันทำให้เราได้สัมผัสความหฤโหดของการประท้วงตรงนั้นได้ แต่เราจะชอบอารมณ์สงบแบบใน THE WAGES OF RESISTANCE มากกว่า

--การที่หนังเรื่องนี้แสดงให้เราเห็นว่า “หนุ่มแน่นวัยฉกรรจ์” หลายๆคนในทศวรรษ 1970 มีสภาพเป็นเช่นไรในปัจจุบัน ทำให้เรารู้สึกสะเทือนใจมาก 555 การร่วงโรยของสังขารมนุษย์นี่มันน่ากลัวจริงๆ

แต่สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือว่า ชายชราหลายคนในหนังเรื่องนี้ ไม่ค่อยอ้วนลงพุงเท่าไหร่เลยนะ ในขณะที่เรารู้สึกว่าเพื่อนผู้ชายไทยหลายๆคนรวมทั้งตัวเราเอง อ้วนลงพุงกันหมดแล้วทั้งๆที่อายุแค่ 40 ปี มันเป็นเพราะอะไรกันคะ

--ชอบที่ผู้ให้สัมภาษณ์สองคนฝังใจมากกับเสียงอุทานว่า ahhhhhhhhhhhhh ของคนที่พบศพเพื่อนคนแรก คือแสดงว่าเสียงอุทานนั้นมันต้องฝังใจจริงๆน่ะ ผู้ให้สัมภาษณ์สองคนถึงกล่าวถึงเรื่องที่ดูเหมือนไม่สลักสำคัญนี้ตรงกันโดยไม่ได้นัดหมาย ทั้งๆที่เวลาผ่านมา 40 ปีแล้ว


2.PROMISED PARADISE (2006, Leonard Retel Helmrich, Indonesia, documentary, A+30)

--ดูแล้วนึกถึงนักแสดงละครเวทีสองคนของไทย 555

--กลัวดวงตาของ terrorist ที่ให้สัมภาษณ์ในหนังเรื่องนี้มากๆ เราว่าดวงตาของคนบ้า+ฆาตกรโรคจิตบางคนมันมีลักษณะคล้ายกันน่ะ และเราก็บรรยายเป็นคำพูดไม่ได้ว่ามันคล้ายกันยังไง แต่ดูดวงตาของ terrorist ในหนังเรื่องนี้แล้วทำให้นึกถึงดวงตาของ Charles Manson ที่มันเหมือนสามารถฉายความน่ากลัวบางอย่างออกมาทางแววตาได้เหมือนกัน

--ชอบที่หนังเรื่องนี้กับหนังเรื่องอื่นๆของ Leonard Retel Helmrich มีฉากความฝันหรือฉากจินตนาการอยู่ด้วย เพราะมันทำให้หนังไม่ติดอยู่ในกรอบของความเป็นหนังสารคดี อย่างเช่นในหนังเรื่องนี้จะมีภาพตอนที่นักเชิดหุ่นถูก paranormal advisor สะกดจิต แล้วหนังก็เหมือนจะนำเสนอภาพที่นักเชิดหุ่นเห็นขณะถูกสะกดจิตในช่วงแรก ซึ่งเป็นภาพตอนที่เดินทางไปที่บาร์แห่งหนึ่งในบาหลี


3.X+Y (2014, Morgan Matthews, UK, A+10)


--ดูแล้วนึกถึง THE THEORY OF EVERYTHING (2014, James Marsh) ในแง่ที่ว่า สิ่งที่เราชอบที่สุดในเรื่อง คือ “ตัวประกอบ” ที่ไม่ใช่พระเอกหรือนางเอก คือในเรื่อง X+Y เราจะสะเทือนใจกับเรื่องของลุคมากที่สุด ส่วนใน THE THEORY OF EVERYTHING เราจะสะเทือนใจกับเรื่องของชู้รักของนางเอกมากที่สุด

Saturday, March 28, 2015

NATIONAL GALLERY

Films seen on Friday at Salaya Documentary Film Festival

1.NATIONAL GALLERY (2014, Frederick Wiseman, 180min, A+30)


2.THE TRUTH SHALL NOT SINK WITH SEWOL (2014, Lee Sang-ho + Ahn Hae-ryong, South Korea, A+)

Thursday, March 26, 2015

POSITION AMONG THE STARS

Films seen today in the Salaya Documentary Film Festival

1.POSITION AMONG THE STARS (2010, Leonard Retel Helmrich, Indonesia,  A+30)

--ชอบฉากที่หญิงชราปฏิเสธการใช้เตาแก๊สมากๆ คือมันเป็นอะไรที่ดูเหมือนไม่น่าเชื่อ ว่าเตาแก๊สใช้ง่ายๆแค่นี้ แต่หญิงชราคนนี้กลับใช้ไม่เป็น และก็ไม่พยายามที่จะใช้ให้เป็น เธอเลือกที่จะใช้ชีวิตอย่างลำบากด้วยการไปเก็บฟืนต่อไป แต่นี่แหละคือเรื่องจริง มนุษย์เรามันเป็นอย่างนี้จริงๆ และเราก็ไม่โทษหญิงชราคนนี้ด้วยนะ เพราะในแง่นึงเรารู้สึกว่าเราเข้าใจเธอ ว่าทำไมเธอถึงปฏิเสธที่จะทำให้ชีวิตตัวเอง “ง่าย” ขึ้น

--เราว่าจุดสำคัญที่ทำให้เรารู้สึกพีคมากกับหนังเรื่องนี้ เกิดจาก
1.ความสนิทสนมระหว่างผู้กำกับกับครอบครัวที่ถูกถ่าย เพราะความสนิทสนมนี้ส่งผลให้ตัว subjects กล้าแสดงออกต่อหน้ากล้องเป็นอย่างมาก
2.ความผูกพันระหว่างคนดูกับตัว subjects คือพอเราได้เห็นพัฒนาการของคนเหล่านี้ในช่วงเวลาหลายปี เราก็เลยรู้สึกผูกพันกับพวกเขามากกว่าในหนังทั่วไป

2.03-FLATS (2014, Lei Yuan Bin, Singapore, A+30)

ชอบ form ของหนังเรื่องนี้มากๆ ในแง่นึงมันทำให้เรานึกถึงหนังอย่าง NEWS FROM HOME (Chantal Akerman) ในแง่ที่ว่า มันทำให้เราต้องจูน wavelength ของตัวเองใหม่ในขณะที่ดูหนังเรื่องนี้น่ะ คือเวลาเราดูหนังทั่วไป เราจะ focus อารมณ์ของเราให้ไหลไปตามเนื้อเรื่องหรือตัวละคร แต่เวลาเราดู 03-FLATS กับ NEWS FROM HOME เรารู้สึกว่าเราไม่สามารถ focus อารมณ์ของตัวเองไปที่ “คน” หรือ “เหตุการณ์” ได้น่ะ แต่เราต้อง focus อารมณ์ของเราไปยัง “สถานที่” หรือ “สิ่งของ” ด้วย

3.LUCID REMINISCENCE ยามเมื่อแสงดับลา (2015, Wattanapume Laisuwanchai, A+15)

--เป็นหนังที่โอเคมากนะ แต่เราอาจจะชอบมากกว่านี้ ถ้าหากมันเป็นหนังยาวที่เน้นสัมภาษณ์คนแบบยาวๆเกี่ยวกับหนังเก่าๆที่เคยดูในโรงหนังเก่าๆไปเลยน่ะ เราอยากให้หนังมันยาว 2 ชั่วโมงแบบ THE MASTER ของเต๋อไปเลย เพราะเราอยากรู้เรื่องหนังเก่าๆที่เคยฉายโรงในไทยมากๆ

4.LOVE IS ALL: 100 YEARS OF LOVE & COURTSHIP (2014, Kim Longinotto, A+5)

--ชอบที่เราไม่รู้จักหนังที่ถูกเอามาใช้ในหนังเรื่องนี้เลย ยกเว้น MY BEAUTIFUL LAUNDRETTE

--ชอบประเด็นเรื่องความรักระหว่างสีผิว, เกย์, เลสเบี้ยน, ชนกลุ่มน้อย

--แต่เราว่าเพลงมันไม่เข้ากับหนัง คือเพลงมันเพราะดี แต่มันถูกเอามาใช้แบบไม่ได้ช่วยส่งเสริมศักยภาพของภาพสักเท่าไหร่ คือจังหวะของภาพกับจังหวะของเพลงมันไม่ได้ไปด้วยกันน่ะ มันเหมือนคนเปิดเทปเพลงทิ้งไว้มากกว่า

--ถึงแม้เราว่าหนังเรื่องนี้โอเค แต่เราก็อดรู้สึกไม่ได้ว่า Kim Longinotto กำลังทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัดหรือเปล่า คือเราว่าเขากำกับหนังสารคดีได้ดีมาก แต่พอเขามากำกับหนังเรื่องนี้ ซึ่งมันมีลักษณะใกล้เคียงกับหนังทดลอง เราก็เลยอดนำหนังเรื่องนี้ไปเปรียบเทียบกับหนัง found footage ของ Matthias Müller, Martin Arnold หรือ Tracey Moffatt ไม่ได้ และเรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ไม่ทรงพลังเท่ากับพวกหนังทดลองแนว found footage น่ะ เพราะหนังทดลองพวกนั้นมันมีพลังเชิง poetic, มันมีความเข้ากันของภาพและเสียงอย่างรุนแรง และมันดึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในแต่ละคลิปออกมาได้อย่างจั๋งหนับมากๆ

เราว่า Kim Longinotto น่าจะทำหนังเรื่องนี้ให้ออกมาแบบ WORKERS LEAVING THE FACTORY (1995, Harun Farocki) อาจจะดีกว่า เพราะเราว่า Kim ไม่มีพลังในการตัดต่อภาพเชิง poetic แต่เธอน่าจะมี sense ในการวิเคราะห์ประเด็นเชิงสังคมที่อยู่ในฟุตเตจหนังเก่าๆเหล่านี้ เพราะฉะนั้นถ้าหากเธอวิเคราะห์มันแบบตรงๆไปเลย มันอาจจะออกมาน่าสนใจกว่า


--ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้นึกถึงที่ใครบางคนเคยพูดว่า จริงๆแล้วหนัง fiction ทุกเรื่องถือเป็น “หนังสารคดี” ในแง่นึง เพราะหนัง fiction ทุกเรื่องมันได้บันทึกความคิดฝันของคนจริงๆกลุ่มนึงในยุคสมัยนึงในสังคมนึงเอาไว้

Wednesday, March 25, 2015

DIE BEFORE BLOSSOM

Films seen today

1.DIE BEFORE BLOSSOM (2014, Ariani Djalal, Indonesia, documentary, A+30)

--ชอบ “สีหน้า” ของ Kiki อย่างรุนแรงมาก ชอบมากที่เธอแทบไม่ยิ้มเลยตลอดทั้งหนังเรื่องนี้ ชอบสุดๆที่เธอทำหน้าบอกบุญไม่รับหรือทำหน้าเฉยชาตลอดทั้งเรื่อง

--การที่ Kiki ทำหน้าเฉยชาตลอดทั้งเรื่อง ทำให้เราไม่แน่ใจว่าเธอรู้สึกยังไง เธอรู้สึกสุข, เศร้า, เบื่อ, โมโห, เฉยๆ หรือรู้สึกยังไงกันแน่ แต่การที่เธอไม่แสดงอารมณ์ของตัวเองออกมาอย่างชัดเจนแบบนี้ ในแง่นึงมันก็เลยทำให้เรา project อารมณ์ของตัวเองเข้าไปกับตัวเธอได้ง่ายขึ้น ถึงแม้ว่าจริงๆแล้วเราไม่รู้ว่าเธอรู้สึกยังไงก็ตาม

มันทำให้เรานึกถึงหนังสารคดีเรื่อง FROM THE JOURNALS OF JEAN SEBERG (1995, Mark Rappaport, A+30) ที่พูดถึงทฤษฎีของ Lev Kuleshov น่ะ ที่เกี่ยวกับการนำเสนอภาพนักแสดงที่ทำหน้าเฉยๆ แล้วคนดูก็จะ associate ตัวละครตัวนั้นกับอารมณ์ต่างๆเอง ทั้งๆที่จริงๆแล้วนักแสดงแค่ทำหน้าเฉยๆ ไม่ได้แสดงอารมณ์อะไรออกมา

--ชอบจริตจะก้านของเด็กนักเรียนหญิงหลายๆคนในหนังเรื่องนี้ เราว่าวัยป.6 ในหนังเรื่องนี้เป็นวัยที่น่าสนใจน่ะ ในแง่ของการแสดงจริตจะก้านต่างๆ เพราะเราว่าถ้าเป็นวัยที่เด็กกว่านี้ เด็กหญิงเล็กๆก็จะไม่มีจริตจะก้าน แต่ถ้าหากเป็นเด็กสาวมัธยมปลาย จริตจะก้านที่แสดงออกก็จะเป็นสิ่งที่ผ่านการควบคุมและไตร่ตรองมาแล้ว ซึ่งมันจะไม่น่าสนใจในสายตาของเราเท่ากับ อากัปกิริยาของคนที่แสดงออกมาโดยไม่ได้ผ่านการควบคุมมาเป็นอย่างดี ซึ่งเราว่าเด็กหญิงในวัยป.6-มัธยมต้นจะยังมีลักษณะที่น่าสนใจแบบนี้อยู่ แต่เด็กผู้ชายจะไม่มีลักษณะแบบนี้นะ

เราว่าจริตจะก้านเล็กๆน้อยๆพวกนี้เป็นสิ่งที่หายากในหนัง fiction ด้วย เพราะการแสดงออกในหนัง fiction ส่วนใหญ่มันก็จะผ่านการไตร่ตรองมาเป็นอย่างดีแล้ว มันก็เลยจะไม่มีจริตจะก้านเล็กๆน้อยๆที่น่าสนใจแบบนี้ออกมา

2.ON MY WAY (2013, Emmanuelle Bercot, France, A+25)

3.SOUTHEAST ASIAN CINEMA: WHEN THE ROOSTER CROWS (2014, Leonardo Cinieri Lombroso, documentary, A+5)

--ชอบช่วงของ Garin Nugroho อย่างสุดๆ แต่ช่วงอื่นเฉยๆ

Tuesday, March 24, 2015

NO WORD FOR WORRY (2014, Runar Jarle Wiik, A+30)


Documentary Films seen today in Salaya Doc 2015

1.NO WORD FOR WORRY (2014, Runar Jarle Wiik, A+30)

--ชอบคุณฮุคมาก กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ช่วยด้วย กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

--ชอบที่มันเหมือนเป็นหนัง fiction แนวผจญภัย คือปกติเราไม่ค่อยได้ดูหนังสารคดีที่ให้อารมณ์แบบนี้น่ะ ชอบฉากที่ฮุคต้องไปหา “สตรีผู้รอบรู้ที่อาศัยอยู่บนเรือในป่าชายเลนในเมียนมาร์” มากๆ คือมันเหมือนเป็นฉากในหนัง fiction แนว INDIANA JONES หรือ TOMB RAIDER หรืออะไรทำนองนี้ ที่ตัวเอกต้องตามหาใครสักคนที่รอบรู้เรื่องวัตถุโบราณ (ซึ่งในหนังสารคดีเรื่องนี้คือวิธีการสร้างเรือแบบโบราณ) แต่กว่าจะตามหาคนๆนั้นได้ ก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคหลายขั้นตอน

--จริงๆแล้วเราไม่ได้อินกับเรื่องวัฒนธรรมมอแกนเป็นการส่วนตัว แต่ในแง่นึง ความพยายามที่จะอนุรักษ์วิธีการสร้างเรือแบบโบราณในหนังเรื่องนี้ ก็ทำให้นึกถึงตัวเราเองที่อยากจะให้มีการอนุรักษ์โรงหนังแบบโบราณเอาไว้ (จริงๆแล้วเราอยากให้อนุรักษ์โรงหนังรามา ซึ่งปัจจุบันโดนทุบทิ้งไปแล้ว) หรือนึกถึงคนบางกลุ่มที่อยากให้อนุรักษ์อาคารศาลฎีกาตรงสนามหลวงเอาไว้ (ซึ่งปัจจุบันก็โดนทุบทิ้งไปแล้วเหมือนกัน) คือคนแต่ละคนหรือคนแต่ละกลุ่มก็คงมีสิ่งเก่าๆที่ตัวเองอยากอนุรักษ์เอาไว้นั่นแหละ เพราะฉะนั้นถึงเราไม่ได้มี passion อะไรเลยกับเรือโบราณในหนังเรื่องนี้ แต่เราก็อาจจะเข้าใจ passion ของพวกเขาได้ในระดับนึง

--สิ่งที่เราชอบจริงๆในหนังเรื่องนี้ ก็เลยไม่ได้เป็นเรื่องของความพยายามจะอนุรักษ์เรือโบราณ แต่เป็นการที่หนังได้พาเราไปเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของชาวมอแกนในไทยและพม่า ซึ่งดูเหมือนว่าชีวิตของพวกเขาจะยากลำบากมากกว่าที่เราได้เห็นจากหนังสารคดีหลายๆเรื่องเกี่ยวกับชีวิตชาวมอแกนในปี 2005-2007

คือในช่วงหลังเกิดสึนามิ เราจำได้ว่ามีหนังสั้นไทยหลายเรื่องที่เกี่ยวกับชาวมอแกนออกมาในช่วงนั้น แต่ดูเหมือนว่าชีวิตชาวมอแกนในหนังกลุ่มนั้นจะไม่ได้ยากลำบากมากเท่ากับในหนังเรื่องนี้ และดูเหมือนว่าหนังสั้นกลุ่มนั้นจะไม่ได้สร้าง characters ของชาวมอแกนที่น่าจดจำมากเท่านี้ แต่จะเป็นการมองภาพชาวมอแกนในเชิง objective มากกว่า และมีระยะห่างจากตัว subjects มากกว่า ซึ่งก็อาจจะเป็นสิ่งที่ดีกันไปคนละแบบ

2.SHAPE OF THE MOON (2004, Leonard Retel Helmrich, Indonesia, A+25)


Sunday, March 22, 2015

BENJAKHAPRADIJHA

BENJAKHAPRADIJHA เบญจางคประดิษฐ์ (2013, Pittawat Apinyanont, A+20)

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่


ความรู้สึกที่มีต่อหนังเรื่องนี้

1.ชอบมากๆในระดับนึง ความชอบของเราที่มีต่อหนังเรื่องนี้จะคล้ายๆกับความชอบของเราที่มีต่อหนังประเภท BARAKA (1992, Ron Fricke), NAQOYQATSI (2002, Godfrey Reggio) และหนังหลายๆเรื่องของนักศึกษา KMUTT (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี) น่ะ คือเราว่าหนังกลุ่มนี้มันมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.1 เป็น visual montage นำฉากที่ถ่ายทำอย่างสวยงามในประเด็นเดียวกันมาร้อยเรียงเข้าด้วยกันในเชิงกวี และส่วนใหญ่แล้วหนังกลุ่มนี้จะตัดต่อเข้ากับจังหวะเพลงอย่างมากๆ

1.2 เราว่าหนังกลุ่มนี้ทำยากมากๆในระดับนึง เพราะคนทำต้องมี sense ที่ดีมากทั้งในด้านการถ่ายภาพ, การเลือกเพลง, การตัดต่อให้เข้ากับจังหวะเพลง,การตัดต่อให้ได้อารมณ์ในเชิงกวี, การตัดต่อให้สื่อประเด็นได้อย่างราบรื่น

1.3 เราว่าหนังเรื่องนี้ทำสำเร็จตามคุณลักษณะข้างต้นนะ เพราะหนังเรื่องนี้ถ่ายภาพได้ทั้งสวยงามและสื่อประเด็น, รู้จักสังเกตสิ่งต่างๆที่เข้ากับประเด็นแล้วเลือกถ่ายออกมาได้ดี, เลือกเพลงได้ดี, ตัดต่อได้เข้ากับจังหวะเพลงมาก, ตัดต่อให้ได้อารมณ์สอดคล้องกันดี และตัดต่อในแบบที่สื่อประเด็นได้ดีหรือกระตุ้นความคิดผู้ชมได้ดีด้วย อย่างเช่นการตัดต่อฉากรำแก้บนกับฉากเต้นระบำเปลือย

2.เราว่าภายในเวลาเพียงแค่ 3 นาที หนังเรื่องนี้สามารถสะท้อนอะไรหลายๆอย่างเกี่ยวกับศาสนาพุทธในไทยได้ดีมาก โดยที่หนังไม่ต้องใช้เสียงบรรยายอะไรเลย เราได้เห็นการกราบไหว้บูชาทั้งในแบบที่เป็นการกราบพระและกราบภูติผีเทวดา, ได้เห็นพุทธพาณิชย์, ได้เห็นความประพฤติที่อาจจะไม่เหมาะสมของพระ, ได้เห็นอภิสิทธิ์ของพระในสังคมไทย, ได้เห็นทั้งความงดงามและความน่าเกรงขามกึ่งหลอนๆของพระพุทธรูป สรุปว่ามันเป็น 3 นาทีที่แน่นมากทั้งในด้านประเด็นและความงดงามทางภาพและเสียง

3.แต่ถ้าหากถามว่าทำไมเราถึงไม่ชอบหนังเรื่องนี้ถึงขั้น A+30 อันนี้มันก็เป็นรสนิยมส่วนตัวของเรานะ เพราะจริงๆแล้วหนังกลุ่มนี้หลายๆเรื่องเราก็ไม่ได้ชอบถึงขั้น A+30 เราจะชอบประมาณ A+15 น่ะ คือเราชอบหนังกลุ่มนี้ในแง่ที่ว่ามันเป็นหนังไม่เล่าเรื่อง และเป็นหนังที่ให้อารมณ์เชิงกวีหรือคล้ายๆหนังทดลองน่ะ แต่โดยส่วนตัวแล้ว เราจะชอบหนังที่เป็นหนังทดลองแบบ 100% เต็มหรือหนังเชิงกวีที่เน้นบรรยากาศหรืออารมณ์ความรู้สึกไปเลย โดยไม่ต้องสื่อประเด็นใดๆทางสังคมมากกว่าน่ะ อย่างเช่นพวกหนังของ Teeranit Siangsanoh ที่จะเป็นการนำภาพจิปาถะของสิ่งต่างๆมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน แล้วไม่ต้องสื่อประเด็นใดๆ แต่พอเราดูแล้วเรากลับรู้สึกมีความสุขกับมันมากๆ อะไรทำนองนี้

เพราะฉะนั้นการที่เราไม่ได้ชอบหนังเรื่องนี้ถึงขั้น A+30 จึงไม่ใช่ความผิดของหนังแต่อย่างใด และเราก็เข้าใจดีว่านักศึกษาหลายๆมหาลัยมักจะทำหนังทำนองนี้ออกมา คือเป็นหนังที่ “สื่อประเด็นชัดเจน” เพื่อส่งอาจารย์น่ะ และพอเราเจอหนังประเภทนี้ในเทศกาลภาพยนตร์มาราธอน เราก็มักจะชอบประมาณ A+15 น่ะแหละ 555


4.ชอบฉากเปิดมากเลยนะ มันทำให้เราสงสัยขึ้นมาเลยว่า ตุ๊กตาแมคโดนัลด์ของประเทศอื่นๆมันทำท่าไหว้แบบนี้หรือเปล่า หรือว่าเราจะเห็นตุ๊กตาแบบนี้แค่ในไทยเท่านั้น แต่ช่วงท้ายของหนังที่เป็นเมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา เราจะรู้สึกเฉยๆ และไม่แน่ใจว่าหนังมันเลือกใช้ภาพได้เข้ากับพรหมวิหาร 4 จริงๆหรือเปล่า 555

SALAYA DOC FEST 2015 DAY ONE


Documentary Films seen on Saturday, March 21, 2015

1.MADAME PHUNG’S LAST JOURNEY (2014, Nguyen Thi Tham, Vietnam, A+30)
รู้สึกผูกพันกับกะเทยในหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรง ถ้าหากเราไม่ได้เกิดที่ไทย แต่ไปเกิดที่เวียดนาม เราก็อาจจะกลายเป็นหนึ่งในกะเทยกลุ่มนี้ไปแล้ว

2.THE LOOK OF SILENCE (2014, Joshua Oppenheimer, Indonesia, A+30)

3.THE STORM MAKERS (2014, Guillaume Suon, Cambodia, A+30)
มีแม่สองคนในหนังเรื่องนี้ที่เกลียดลูกของตนเองอย่างรุนแรงมากๆ ความเกลียดชังระหว่างแม่กับลูกแบบนี้เป็นสิ่งที่เราไม่ค่อยได้เห็นในหนังส่วนใหญ่ อีกสิ่งหนึ่งที่ชอบมากคือภาพลักษณ์ของคนพิการในหนังเรื่องนี้ เพราะหญิงพิการขาขาดในหนังเรื่องนี้ไม่ใช่คนน่าสงสาร แต่อาจจะเป็น “อาชญากรตัวร้าย”

4.FLOWERS OF TAIPEI: TAIWAN NEW CINEMA (2014, Chinlin Hsieh, Taiwan, A+30)
ชอบฉากที่ Wang Bing ด่าทอหนังของ Zhang Yimou กับ Chen Kaige อย่างรุนแรง อีกฉากที่ชอบมากคือฉากที่ Oliver Assayas กับ Jean-Michel Frodon ถกเถียงกันอย่างรุนแรงเรื่อง aesthetics ที่แตกต่างกันระหว่างหนังจีนกลุ่ม Fifth Generation กับหนังกลุ่ม New Taiwan Cinema เพราะฉากนั้นทำให้เรานึกถึงความสุขเวลาได้ฟังเพื่อน cinephiles อย่างเช่น Filmsick กับ Ratchapoom ถกเถียงกัน

5.LADY OF THE LAKE (2014, Zaw Naing Oo, Myanmar, A+15)



Saturday, March 21, 2015

ALTERMAJIBE

ALTERMAJIBE 2538 อัลเทอร์มาจีบ (2015, Yanyong Kuruangura, A+25)

--แคสต์นักแสดงชายได้ดีมาก จบ 555

--ดิฉันไม่ใช่นักวิจารณ์ เพราะฉะนั้นดิฉันจะไม่วิจารณ์หนังเรื่องนี้นะคะ ดิฉันแค่จะจดบันทึกว่าหนังเรื่องไหนทำให้นึกถึงชีวิตตัวเองยังไงบ้าง 555

--เหมือนหนังเรื่องนี้กับ “แฟนฉัน” มันพาเราย้อนอดีตแบบเฉียดไปเฉียดมากับ “ยุคสมัยที่ฝังใจเราเป็นการส่วนตัว” น่ะ คือแฟนฉันมันย้อนไปต้นยุค 1980 มีรายการโลกดนตรี มีวงสาวสาวสาว ส่วนหนังเรื่องนี้กับ CONCRETE CLOUDS มันพาเราย้อนไปกลาง-ปลายทศวรรษ 1990 ซึ่งมันเป็นช่วงที่เราเริ่มทำงานแล้ว ช่วงนั้นเราเริ่มไม่ได้พบปะกับเพื่อนๆเป็นประจำแล้ว เพราะเราจบมหาลัยปี 1994 หลังจากนั้นเพื่อนๆมหาลัยกับเพื่อนๆมัธยมที่อายุเท่าๆกับเรา ก็เริ่มไปเรียนต่อเมืองนอกกัน หรือไม่ก็เริ่มทำงาน

เพราะฉะนั้นเราก็เลยรู้สึกว่า แฟนฉัน, CONCRETE CLOUDS, ALTERMAJIBE มันตอบสนองความถวิลหาอดีตของเราได้มากในระดับนึง แต่ไม่ได้มากสุดๆ เพราะช่วงที่เราผูกพันกับเพื่อนๆ ฟังเพลงกับเพื่อนๆบ่อยๆ คือช่วงปี 1988-1994 และส่วนใหญ่เราก็ฟังแต่เพลงฝรั่งกับเพลงญี่ปุ่นในช่วงนั้น เพราะฉะนั้นพอเวลาดูหนังพวกนี้ เราก็เลยจะมีความสุขกับมันมากในระดับนึง แต่ในขณะเดียวกัน มันก็จะกระตุ้นให้เราจินตนาการว่า มันคงจะดีมากๆเลย ถ้าหากมีใครสร้างหนังที่พาเราย้อนกลับไปยังอดีตยุคที่ฝังใจเราจริงๆ และตัวละครฟังเพลงแนวเดียวกับเราจริงๆ (แต่หนึ่งในปัญหาที่สำคัญที่สุดของการสร้างหนังแนวนี้ก็คือ ค่าลิขสิทธิ์เพลงมันแพงมาก)

--เพราะฉะนั้นจุดที่ตอบสนองความถวิลหาอดีตของเราได้มากที่สุดในหนังเรื่องนี้ จึงไม่ใช่เพลง เพราะเราไม่ได้ฟังเพลงแบบในหนังเรื่องนี้ แต่เป็นเรื่องของตู้โทรศัพท์สาธารณะ เพราะตอนเด็กๆเราใช้มันบ่อยมากน่ะ ตอนเด็กๆบ้านเราไม่มีโทรศัพท์ บ้านเราเพิ่งมีโทรศัพท์ใช้ตอนเราขึ้นม.4 (ประมาณปี 1988) เพราะฉะนั้นตอนมัธยมต้นเราก็เลยใช้ตู้โทรศัพท์สาธารณะบ่อยมาก การที่ตู้โทรศัพท์สาธารณะถูกใช้ในแง่ “หมุดหมายของอดีตกาล” ในหนังเรื่องนี้ จึงตอบโจทย์ของเรามากๆ และมันทำให้เราหวนนึกถึงอดีตตลอดเวลาว่า เราเคยใช้ตู้โทรศัพท์สาธารณะโทรหาใครอะไรยังไงบ้างในวัยเด็ก

--ไปๆมาๆแล้ว หนังที่ตอบสนองความถวิลหาอดีตของเราได้ดีที่สุดเรื่องนึง คงจะเป็น THE ROMANTIC (2013, Tani Thitiprawat + Teeranit Siangsanoh) แต่นั่นเป็นเพราะว่าหนังเรื่องนี้มันเป็นการเอาฟุตเตจหนังเก่า+คลิปจิปาถะในทศวรรษ 1980 มาตัดรวมกัน มันก็เลยทำหน้าที่ตอบสนองความ nostalgia ได้อย่างตรงเป้า โดยไม่ต้องรับมือกับ “การเล่าเรื่อง” ไปด้วย ในขณะที่หนังอย่าง ALTERMAJIBE นั้น การที่มันพยายามทำทั้งตอบสนองความ nostalgia และ “พยายามจะเล่าเรื่องให้น่าประทับใจ” ไปด้วยในขณะเดียวกัน มันก็เลยอาจจะทำหน้าที่ทั้งสองอย่างได้อย่างไม่เต็มที่เท่าใดนัก

--สรุปว่าชอบความ nostalgia ของหนัง, ชอบเสน่ห์ของนักแสดงชาย แต่เราว่าบทมันดูเหมือนมีอะไรไม่เข้าที่ยังไงไม่รู้ โดยเฉพาะช่วงท้ายของเรื่อง

--หวังว่าจะมีการสร้างหนังแนว nostalgia อีก โดยใช้เพลงนี้เป็นเพลงสำคัญค่ะ

Tuesday, March 17, 2015

CHAPPIE (2015, Neill Blomkamp, A+30)

CHAPPIE (2015, Neill Blomkamp, A+30)

--หลังจากผิดหวังอย่างรุนแรงกับ ELYSIUM (2013, B+ ) ตอนนี้ Neill Blomkamp กอบกู้ศรัทธากลับคืนมาได้หมดแล้ว

--สิ่งหนึ่งที่หนังเรื่องนี้ทำให้เราคิดถึงโดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจก็คือว่า หุ่นยนต์ในหนังเรื่องนี้มันลอกเลียนแบบคำพูดและการกระทำของมนุษย์ได้ มันวาดภาพเลียนแบบสิ่งที่เห็นตรงหน้าได้ แต่เราอยากรู้ว่า มันจะสามารถประดิษฐ์ “ศัพท์” ใหม่ๆขึ้นมาได้เองเพื่อสื่อถึงความรู้สึกของตัวเองได้ไหม

คือเราเชื่อว่าในอนาคตมันคงมีหุ่นยนต์ที่สามารถเลียนแบบคำพูดและการกระทำของมนุษย์ได้จริงน่ะ แต่เราอยากรู้ว่ามันจะมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบไหนที่มันจะกระตุ้นให้หุ่นยนต์คิดศัพท์ใหม่ได้เองหรือเปล่า และถ้าหุ่นยนต์คิดศัพท์ใหม่ได้เอง ศัพท์ที่หุ่นยนต์คิดขึ้นมาเองมันจะเป็นแบบไหน

คือเรานึกถึงเพื่อนๆมัธยม+มหาลัยของเราที่ชอบคิดศัพท์ใหม่ๆขึ้นมาสื่อสารกันเองน่ะ ประเภท “อีเล็กโทนโอลามีน”, “ถวายจิ๋ม ยิ้มด้วยแคม”, “อีจ๊วกเนรคุณ”, “ปาฐกกระโถน”, “วาทศิลป์บิณฑบาต”, “อาตมาฮิตเต็ง”, “เฉิ่มเสลิ่นเปิ่นตระหนก”, “เดินฉ่ำฉีบานหีหลุด” อะไรพวกนี้ แล้วก็เลยสงสัยว่า ถ้าหากหุ่นยนต์มีความสามารถเหมือนมนุษย์ หุ่นยนต์ก็น่าจะคิดศัพท์ใหม่ๆขึ้นมาเองได้ แล้วศัพท์ใหม่ๆที่หุ่นยนต์คิดขึ้นมาเอง มันจะเป็นยังไง มันจะให้อารมณ์ยังไงเมื่อเราได้ยินมัน

--ชอบที่ผู้หญิงในหนังเรื่องนี้มีแค่ Sigourney Weaver กับ Yolandi Visser คือปกติแล้วในหนังพวกนี้มันจะมีตัวละครประเภทเมียพระเอกที่เป็นสาวสวยตามขนบอยู่ด้วยไง แต่หนังเรื่องนี้มันไม่มีสาวสวยตามขนบอยู่ในหนังเลย เราก็เลยชอบมาก

--ชอบบุคลิกของ Yolandi Visser มากๆ รู้สึกว่าเธอกับนินจาได้บทที่เหมาะกับตัวเองมากพอสมควร เราก็เลยสงสัยว่า บทหนังเรื่องนี้เขียนขึ้นมาก่อน แล้วค่อยเลือก Die Antwoord มาแสดง หรือว่าผู้เขียนบทรู้มาก่อนว่า Die Antwoord จะมาเล่น แล้วเลยเขียนบทที่เข้ากับบุคลิกของสองคนนี้มากๆออกมา

--ดูแล้วคิดถึง OLIVER TWIST 555 คือตัว Chappie มันเหมือนเด็กกำพร้าที่ต้องผจญกับโลก+สังคมโหดร้ายน่ะ และตัวแชปปี้ก็เข้าไปพัวพันกับแก๊งอาชญากรรมที่พยายามจะใช้ประโยชน์จากมันด้วย เราก็เลยนึกถึงโอลิเวอร์ ทวิสต์ในแง่นี้

--เราว่าหนังเก่งในการสร้างบุคลิกแบบเด็กๆให้กับแชปปี้ มันทำให้แชปปี้ดูแตกต่างจากตัวละครหุ่นยนต์ในหนังเรื่องอื่นๆอีกหลายเรื่อง


แต่ตัวละครหุ่นยนต์ที่เราชอบที่สุดในบรรดาหนังที่ได้ดูมาก็ยังคงเป็นตุ๊กตาหมีใน A.I. (2001, Steven Spielberg) 555  ส่วนตัวละครหุ่นยนต์ที่ฝังใจเรามากๆคือหุ่นยนต์กระป๋องที่ทำงานเป็นคนใช้ในละครโทรทัศน์เรื่อง “ขบวนการคนใช้” (1977, ภัทราวดี ศรีไตรรัตน์) น่ะ ฉากที่ติดตาเราตอนเด็กๆคือฉากที่หุ่นยนต์กระป๋องตัวนี้แกว่งเปลเด็กแล้วก็เต้นเพลง LADY BUMP ไปด้วย คือตอนนี้ผ่านมา 30 กว่าปีแล้ว ฉากนี้ยังฝังใจเราอยู่เลย 555


Monday, March 16, 2015

RUN ALL NIGHT (2015, Jaume Collet-Serra, A+15)

RUN ALL NIGHT (2015, Jaume Collet-Serra, A+15)

ยังไม่ได้ดู UNKNOWN (2011) แต่ชอบหนังของ Jaume Collet-Serra มากในระดับนึง ทั้ง ORPHAN (2009), HOUSE OF WAX (2005) และ NON-STOP (2014) สรุปว่าเป็นผู้กำกับหนังเมนสตรีมที่เข้าทางเรามากพอสมควร


จริงๆแล้วรู้สึกว่าใน RUN ALL NIGHT มันไม่มีอะไรใหม่เลยนะ ทุกอย่างดูซ้ำซาก และเราก็ไม่อินกับความสัมพันธ์พ่อ-ลูกชายด้วย แต่ที่เราดูเพลินกว่าที่เราคาดไว้ อาจจะเป็นเพราะว่าหนังมันให้น้ำหนักกับ “ดราม่า” มากเกินคาดน่ะ คือเรานึกว่าหนังมันจะให้น้ำหนักกับฉากแอคชั่นหรือฉากบู๊มากกว่านี้ แต่พอมันเทน้ำหนักให้กับดราม่า มันก็เลยเข้าทางเราในระดับนึง เพราะจริงๆแล้วเราไม่ใช่แฟนหนังบู๊ 555

KEEP ON KEEPIN’ ON (2014, Alan Hicks, documentary, A+5)

KEEP ON KEEPIN’ ON (2014, Alan Hicks, documentary, A+5)


เป็นหนังสารคดีที่เรารู้สึกว่ามันดีมากนะ ชอบที่มันไม่ฟูมฟายกับความเป็นคนพิการและความเจ็บป่วยทางร่างกายของ subjects ทั้งสองคน แต่เหมือนเราจูนไม่ติดกับหนังในระดับนึง ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะอะไร อาจจะเป็นเพราะว่าเราไม่ได้เป็นแฟนเพลง jazz หรืออาจจะเป็นเพราะว่า subjects ของหนังเรื่องนี้มีพลังในทางบวกสูงมาก แต่เราเป็นคนที่มีพลังในการทำลายล้างสูงมาก ธาตุแท้ในตัวเราก็เลยเกิดอาการต่อต้านหนังเรื่องนี้โดยที่เราไม่รู้ตัว

WHAT NOW? REMIND ME (2013, Joaquim Pinto, Portugal, documentary, A+30)

WHAT NOW? REMIND ME (2013, Joaquim Pinto, Portugal, documentary, A+30)

--เสียดายที่ซับไตเติลขึ้นช้าไปประมาณ 10 วินาทีตลอดทั้งเรื่อง แต่โชคดีที่หนังเรื่องนี้ 95% เป็น voiceover ของคนๆเดียว เพราะฉะนั้นเราก็เลยไม่งงว่าตอนไหนใครพูดอะไร

--รู้สึกว่าผู้กำกับเก่งมากๆทั้งในแง่ของการเลือกภาพ, เลือกดนตรีประกอบ และการร้อยเรียง voiceover ของตนเอง เพราะในแง่ concept แล้ว หนังเรื่องนี้มีโอกาสสูงมากที่จะเป็นหนังน่าเบื่อน่ะ เพราะมันเป็นหนังของผู้ป่วยโรคเอดส์ที่พูดถึงชีวิตของตนเองในอดีตกับในปัจจุบัน ซึ่งถ้าหากทำออกมาไม่ดี มันอาจจะเป็นหนังที่ไม่มีอะไรน่าสนใจเลย แต่หนังเรื่องนี้กลับออกมา poetic และ touching มากๆสำหรับเรา

--ชอบการนำเสนอชีวิตประจำวัน เรื่องสัพเพเหระต่างๆนานามากๆ ชอบการที่ผู้กำกับไม่ได้นำเสนอเส้นเรื่องแบบ 1 2 3 4 แต่เป็นคล้ายๆ stream of consciousness

--ชอบภาพแมลงในหนังเรื่องนี้มากๆ เราว่ามันทรงพลังและจับใจสุดๆ แต่ก็บรรยายไม่ได้ว่ามันสื่อถึงอะไร

--ในแง่นึงหนังเรื่องนี้มันทำให้นึกถึงการทำใจสงบก่อนตายน่ะ การรำลึกถึงความหลัง ความสุขในอดีต การซึมซับถึงความงามของสิ่งธรรมดาต่างๆบนโลกใบนี้ การมองเห็นความงามของแสงแดด ของแมลง ของธรรมชาติรอบๆตัว คือถ้าหากเราใช้ชีวิตประจำวัน หาเงินยังชีพไปเรื่อยๆ เราอาจจะมองข้ามความงามของธรรมชาติรอบๆตัวเราไปน่ะ แต่พอเราป่วยหนัก แล้วตอนหลังหายป่วยหรือสร่างไข้ เราจะรู้สึกว่า แค่การมีแรงเดินไปซื้อข้าวกินตอนเช้า แล้วมีแสงแดดอุ่นๆกระทบใบหน้า มีลมพัดมาเอื่อยๆ ได้ยินเสียงนกร้อง แค่นี้มันก็เป็นความสุขสุดยอดในชีวิตแล้ว

--คือนอกจากหนังเรื่องนี้จะพูดถึงความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยโรคเอดส์ที่ต้องทดลองยาไปเรื่อยๆแล้ว เราก็ชอบมากที่หนังเรื่องนี้เหมือนมีการ “มองธรรมชาติ”, “มองโลก” และ “มองประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ” ควบคู่กันไปด้วย เราว่าการที่หนังเรื่องนี้นำเสนอทั้งเรื่องที่ personal มากๆ ไปพร้อมๆกับการครุ่นคำนึงถึงเรื่องธรรมชาติและโลกมนุษย์ไปด้วยในขณะเดียวกัน มันเป็นสิ่งที่งดงามสุดๆ



Saturday, March 14, 2015

GRADIVA (2006, Alain Robbe-Grillet, A+25)


GRADIVA (2006, Alain Robbe-Grillet, A+25)

ชอบที่มันเหมือนเป็นโลกแห่งความฝันจริงๆ เป็นโลกที่ ไม่มี logic ใดๆอีกต่อไป



PENGUINS IN THE SKY – ASAHIYAMA ZOO (2009, Masahiko Makino, Japan, A+)

PENGUINS IN THE SKY – ASAHIYAMA ZOO (2009, Masahiko Makino, Japan, A+)

หนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริง จุดที่เราชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้คือเรื่องของลิงกอริลล่าเพศเมียชื่อ มาริ เธอเป็นลิงกอริลลาที่หลงรักเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ชายคนนึง แต่พอเจ้าหน้าที่สวนสัตว์ชายคนนี้ทำตัวห่างเหินจากเธอ กล้ามเนื้อหัวใจของมาริก็ค่อยๆกลายเป็นพังผืด และส่งผลให้ในเวลาต่อมาหัวใจของมาริก็ทำงานไม่ได้ และมาริก็ตรอมใจตายไป


เรารู้สึกว่าเรื่องนี้มันหนักมากสำหรับเรา ความรักที่เป็นไปไม่ได้ระหว่างลิงกอริลลากับมนุษย์ผู้ชาย และเมื่อความรักไม่สมหวัง กล้ามเนื้อหัวใจเลยกลายสภาพเป็นพังผืด มันหนักมากค่ะ

Wednesday, March 11, 2015

KEEP RUNNING SIR YES SIR


KEEP RUNNING SIR YES SIR ร.ด.เขาชนผี ที่เขาชนไก่ (2015, Tanwarin Sukkhapisit, A+5)


ดูหนังเรื่องนี้มานานแล้ว แต่เพิ่งมีเวลาจดบันทึกว่ารู้สึกยังไงบ้าง

1.ในแง่นึงเราก็พอใจกับหนังเรื่องนี้นะ เพราะตอนเด็กๆเราจะฝังใจว่า มันมีหนังไทยกลุ่ม “ทหารเกณฑ์” กับ “ทหารเรือ” ที่เป็นหนังตลกที่เละตุ้มเป๊ะมากๆน่ะ คือเราแทบไม่เคยดูหนังกลุ่มนี้แบบจริงๆจังๆหรอก แต่เราเคยดูผ่านๆเป็นบางฉากเวลาที่มันมาฉายทางทีวีตอนเด็กๆ แล้วเราจะรู้สึกว่ามันเป็นหนังตลกแบบที่ไม่เข้าทางเรามากๆ เราก็เลยมีความรู้สึกที่ไม่ดีกับหนังกลุ่มนี้ในตอนเด็ก

เราก็เลยคิดว่าในแง่นึงมันก็เป็นเรื่องดีที่มีหนังเรื่องนี้ออกมา เพราะมันเหมือนเป็นการเอาหนึ่งใน genre หนังที่ “ไม่เข้าทาง” เรามากที่สุด genre นึงมาดัดแปลงใหม่ให้กลายเป็นหนังตลกที่มีน้ำมีเนื้อ มีเส้นเรื่อง มีธีมในระดับนึง ไม่ใช่หนังตลกที่เละตุ้มเป๊ะ หรือโสมากๆแบบที่ฝังใจเราในตอนเด็ก

2.อีกจุดนึงที่เราชอบหนังเรื่องนี้ก็คือว่า หนังเรื่องนี้มันทำให้เรานึกถึงหนังหลายๆเรื่องของพจน์ อานนท์ที่ระดมนักแสดงหนุ่มหล่อมาไว้หลายคนในหนังเรื่องเดียวกัน คือพอเอาไปเทียบกับหนังของพจน์ อานนท์แล้ว เราว่าหนังเรื่องนี้ออกมาเป็นชิ้นเป็นอันกว่ากันมาก เนื้อเรื่องดูเป็นเนื้อเรื่องจริงๆกว่ามาก คือบทมันดูคิดมาในระดับนึงน่ะ ในขณะที่หนังของพจน์บางเรื่องนี่บทมันเละมากๆในความเห็นของเรา

คือสรุปว่าเราชอบร.ด.เขาชนผีมากพอสมควร ถ้าหากเอาหนังเรื่องนี้ไปเทียบกับหนังไทยกลุ่ม “ทหารเกณฑ์” หรือเทียบกับหนังของพจน์ อานนท์กลุ่มที่ใช้นักแสดงหนุ่มหล่อหลายๆคน

3.อย่างไรก็ดี มีเพื่อนบางคนสงสัยว่าทำไมหนังเรื่องนี้ถึงได้แค่ A+5 สำหรับเรา ซึ่งสาเหตุมันเป็นเพราะว่า เราเอาหนังเรื่องนี้ไปเทียบกับหนังอีกกลุ่มนึงด้วย นั่นก็คือหนังเกย์จริงๆแบบ MY BROMANCE, LOVE’S COMING และ TEACHERS AND STUDENTS น่ะ

คือเวลาที่เราดู ร.ด.เขาชนผี เรารู้สึกว่ามันยั่วเย้าอารมณ์เพศของเราแบบไม่ฟินเลยน่ะ มันก็เลยดูแล้วรู้สึกทั้งดีและขัดอกขัดใจไปด้วยพร้อมๆกัน

คือถ้าหากร.ด.เขาชนผี เป็นหนังที่ออกฉายเมื่อ 10-15 ปีก่อน เราคงชอบหนังเรื่องนี้มากกว่านี้เยอะน่ะ เพราะเรามองว่า หนังเรื่องนี้เป็นหนังที่ “gay friendly” มากๆ แต่ไม่ใช่หนังเกย์จริงๆ ซึ่งการที่มีหนังไทยฉายโรงแบบ gay friendly เมื่อ 10-15 ปีก่อน มันคงเป็นสิ่งที่เราพึงพอใจมากๆในระดับนึง

แต่พอเราได้ดูหนังเกย์จริงๆแบบสามเรื่องข้างต้นในปี 2014 และมาได้ดูหนัง gay friendly อย่างร.ด.เขาชนผีในปีนี้ เราก็เลยรู้สึกว่าในแง่การตอบสนองอารมณ์เสี้ยนส้านของเรานั้น ร.ด.เขาชนผีไม่สามารถตอบสนองเราได้แบบหนังสามเรื่องนั้นน่ะ แต่ไม่ใช่ว่าหนัง 3 เรื่องนั้นเป็นหนังที่ดีกว่านะ อันนี้เราพูดเฉพาะ aspect ของการตอบสนองอารมณ์ทางเพศเท่านั้น

คือเรามองว่า ร.ด.เขาชนผีไม่ได้ทำอะไรผิดหรอกนะ ที่เลือกจะทำตัวเป็นหนัง gay friendly แทนที่จะทำตัวเป็นหนังเกย์จริงๆไปเลย เพราะถ้าหากร.ด.เขาชนผีเลือกจะทำตัวเป็นหนังเกย์จริงๆไปเลย ร.ด.เขาชนผีก็คงจะต้องฉายที่เอสพลานาด รัชดาโรงเดียวแบบหนังเกย์จริงๆกลุ่มนั้น แทนที่จะได้ปูโรงฉายทั่วประเทศแบบนี้ คือมันเป็นทางที่ต้องเลือกน่ะแหละ ถ้าหากคุณทำหนัง gay friendly แบบนี้ คุณก็ได้ฉายทั่วประเทศ แต่ถ้าหากคุณทำหนังเงี่ยนๆเกย์ๆไปเลย คุณก็อาจจะได้ฉายแค่โรงเดียว

แต่ก็นั่นแหละ พอร.ด.เขาชนผีไม่สามารถทำให้เราเสพสมอารมณ์หมายได้ เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้แค่ระดับ A+5 เท่านั้น

4.ฉากเต้นในโรงอาบน้ำนี่อาจจะกลายเป็นฉากคลาสสิคในอนาคตนะ เพราะเราว่ามันน่าจดจำมากๆ แต่ในแง่นึงมันอาจจะเป็นฉากตัวอย่างที่อธิบายอารมณ์ “ดีๆแต่ขัดอกขัดใจ” ของเราในข้อ 3 ได้ด้วย คือฉากนี้หากดูผิวเผินแล้ว มันเป็นฉากที่น่าจะตอบสนองอารมณ์ทางเพศของเราได้ดีมากเลยน่ะ เพราะเราได้เห็นผู้ชายหล่อล่ำเต้นโชว์ขณะใส่กางเกงในตัวเดียว

อย่างไรก็ดี ฉากนี้ก็ไม่ได้ตอบสนองอารมณ์ทางเพศของเราแบบหนังเกย์จริงๆ เพราะแทนที่กล้องในฉากนี้จะทำหน้าที่โลมไล้ไปตามเรือนร่างผู้ชายแบบหนังเกย์ อารมณ์ในฉากนี้กลับทำออกมาแบบ “ตลกโปกฮา” แทนที่จะเป็นอีโรติก (เพราะถ้าทำออกมาเป็นอีโรติก ผู้ชมกลุ่มหลักที่เป็น straight ก็อาจจะเกิดอาการรับหนังเรื่องนี้ไม่ได้) เพราะฉะนั้นฉากนี้มันก็เลยทำให้เราเกิดทั้งอารมณ์ดีๆ ที่ได้เห็น “ผู้ชายหล่อล่ำโชว์เรือนร่าง” แต่ก็เกิดอารมณ์ขัดอกขัดใจในขณะเดียวกัน เพราะกล้องไม่ได้ปฏิบัติต่อเรือนร่างของผู้ชายในฉากนี้ในแบบที่เราต้องการเลย

5.ชอบ “ความรู้สึกต่อต้านอำนาจนิยม” ในหนังเรื่องนี้มากๆ เราว่าตรงนี้คนเขียนบทเก่งดี ที่สามารถทำหนังเกี่ยวกับทหารได้ โดยที่เรารู้สึกว่าจริงๆแล้วหนังเรื่องนี้ไม่ได้เชิดชูสถาบันทหารแต่อย่างใด

6.เราว่าจุดนึงที่หนังไทยกลุ่ม gay friendly แบบนี้ควรปรับปรุง คือเรื่องการสร้างตัวละครประกอบให้มันน่าจดจำกว่านี้น่ะ คือหนังแบบนี้มันมีแต่หนุ่มหล่อวัยรุ่นหน้าตารูปร่างคล้ายๆกันไปหมด เพราะฉะนั้นถ้าหากบทหนังมันไม่เก่งจริง คนดูจะแยกตัวประกอบหลายๆตัวออกจากกันไม่ได้ เพราะตัวประกอบแม่งหล่อแบบพิมพ์เดียวกันไปหมด เพราะฉะนั้นถึงแม้เราจะสนับสนุนให้มีการสร้างหนังที่เต็มไปด้วยหนุ่มหล่อแบบนี้ต่อไป เราก็อยากให้คนเขียนบทใช้ความสามารถในการทำให้ตัวละครประกอบแต่ละตัวมีจุดเด่นน่าจดจำกว่านี้ด้วย

7.พอได้ดูหนังเกี่ยวกับทหารที่เต็มไปด้วยหนุ่มหล่อแบบนี้แล้ว เราก็ฝันอยากให้มีนายทุนรวยๆที่ไหนใจป้ำ ออกเงินให้มีการสร้างหนังเกี่ยวกับทหารไทย แต่ทำออกมาแบบ BEAU TRAVAIL (1999, Claire Denis) มากๆ 555