Tuesday, March 24, 2015

NO WORD FOR WORRY (2014, Runar Jarle Wiik, A+30)


Documentary Films seen today in Salaya Doc 2015

1.NO WORD FOR WORRY (2014, Runar Jarle Wiik, A+30)

--ชอบคุณฮุคมาก กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ช่วยด้วย กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด

--ชอบที่มันเหมือนเป็นหนัง fiction แนวผจญภัย คือปกติเราไม่ค่อยได้ดูหนังสารคดีที่ให้อารมณ์แบบนี้น่ะ ชอบฉากที่ฮุคต้องไปหา “สตรีผู้รอบรู้ที่อาศัยอยู่บนเรือในป่าชายเลนในเมียนมาร์” มากๆ คือมันเหมือนเป็นฉากในหนัง fiction แนว INDIANA JONES หรือ TOMB RAIDER หรืออะไรทำนองนี้ ที่ตัวเอกต้องตามหาใครสักคนที่รอบรู้เรื่องวัตถุโบราณ (ซึ่งในหนังสารคดีเรื่องนี้คือวิธีการสร้างเรือแบบโบราณ) แต่กว่าจะตามหาคนๆนั้นได้ ก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคหลายขั้นตอน

--จริงๆแล้วเราไม่ได้อินกับเรื่องวัฒนธรรมมอแกนเป็นการส่วนตัว แต่ในแง่นึง ความพยายามที่จะอนุรักษ์วิธีการสร้างเรือแบบโบราณในหนังเรื่องนี้ ก็ทำให้นึกถึงตัวเราเองที่อยากจะให้มีการอนุรักษ์โรงหนังแบบโบราณเอาไว้ (จริงๆแล้วเราอยากให้อนุรักษ์โรงหนังรามา ซึ่งปัจจุบันโดนทุบทิ้งไปแล้ว) หรือนึกถึงคนบางกลุ่มที่อยากให้อนุรักษ์อาคารศาลฎีกาตรงสนามหลวงเอาไว้ (ซึ่งปัจจุบันก็โดนทุบทิ้งไปแล้วเหมือนกัน) คือคนแต่ละคนหรือคนแต่ละกลุ่มก็คงมีสิ่งเก่าๆที่ตัวเองอยากอนุรักษ์เอาไว้นั่นแหละ เพราะฉะนั้นถึงเราไม่ได้มี passion อะไรเลยกับเรือโบราณในหนังเรื่องนี้ แต่เราก็อาจจะเข้าใจ passion ของพวกเขาได้ในระดับนึง

--สิ่งที่เราชอบจริงๆในหนังเรื่องนี้ ก็เลยไม่ได้เป็นเรื่องของความพยายามจะอนุรักษ์เรือโบราณ แต่เป็นการที่หนังได้พาเราไปเห็นชีวิตความเป็นอยู่ของชาวมอแกนในไทยและพม่า ซึ่งดูเหมือนว่าชีวิตของพวกเขาจะยากลำบากมากกว่าที่เราได้เห็นจากหนังสารคดีหลายๆเรื่องเกี่ยวกับชีวิตชาวมอแกนในปี 2005-2007

คือในช่วงหลังเกิดสึนามิ เราจำได้ว่ามีหนังสั้นไทยหลายเรื่องที่เกี่ยวกับชาวมอแกนออกมาในช่วงนั้น แต่ดูเหมือนว่าชีวิตชาวมอแกนในหนังกลุ่มนั้นจะไม่ได้ยากลำบากมากเท่ากับในหนังเรื่องนี้ และดูเหมือนว่าหนังสั้นกลุ่มนั้นจะไม่ได้สร้าง characters ของชาวมอแกนที่น่าจดจำมากเท่านี้ แต่จะเป็นการมองภาพชาวมอแกนในเชิง objective มากกว่า และมีระยะห่างจากตัว subjects มากกว่า ซึ่งก็อาจจะเป็นสิ่งที่ดีกันไปคนละแบบ

2.SHAPE OF THE MOON (2004, Leonard Retel Helmrich, Indonesia, A+25)


No comments: