Sunday, September 30, 2012

THE EXPERIMENTING ANGEL (2010, Bill Mousoulis, A+20)

THE EXPERIMENTING ANGEL (2010, Bill Mousoulis, A+20)

Highly recommended for those who love TIME OF THE LAST PERSECUTION (2012, Taiki Sakpisit), Matthias Mueller's films, Martin Arnold's films, and HOME COMPUTER (2011, Teeranit Siangsanoh).

The details about THE EXPERIMENTING ANGEL:

The brilliant use of found footage in THE EXPERIMENTING ANGEL reminds me of TIME OF THE LAST PERSECUTION (2012, Taiki Sakpisit), LOVE (2003, Tracey Moffatt), Matthias Mueller's films, and Martin Arnold's films, though THE EXPERIMENTING ANGEL goes one step further because the film mixes the found footage with the still photos of the present time.

The use of unharmonious music in THE EXPERIMENTING ANGEL reminds me of HOME COMPUTER (2011, Teeranit Siangsanoh).

Theeraphat Ngathong remarked that the music in THE EXPERIMENTING ANGEL plays a very important part in the film, and it is not merely a soundtrack. I think the same can be said about his own film A HOTEL AT MAE RUMPUENG BEACH (2012). The music in this film is not just a soundtrack, too. :-)
http://www.youtube.com/watch?v=ObW_LwBSoBY


THE EXPERIMENTING ANGEL is partly about Maximilian Le Cain, an Irish experimental filmmaker and the editor of http://www.experimentalconversations.

You can watch Maximilian Le Cain's films at:

Saturday, September 29, 2012

I CARRIED YOU HOME (2011, Tongpong Chantarangkul, A+25)

I CARRIED YOU HOME (2011, Tongpong Chantarangkul, A+25)

1.เรารู้สึกอินกับหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆเลยจ้ะ เพราะมันมีบางส่วนที่ทำให้นึกถึงชีวิตของเราเอง และครอบครัวของเราเอง ไปๆมาๆเราชอบหนังเรื่องนี้มากกว่าหนังอย่าง P-047 อีกนะ เพราะ I CARRIED YOU HOME นี่มันโดนความรู้สึก ในขณะที่ P-047 เหมือนมันกระทบสมองเรามากกว่าความรู้สึก

2.เรารู้สึกสบายใจอย่างบอกไม่ถูกในขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าไอ้ความรู้สึกปลอดโปร่งสบายใจนี่มันเกิดจากอะไร บางทีมันอาจจะเกิดจากการที่หนังไม่ค่อยมีเนื้อหามากนักก็ได้

3.ชอบความอึดอัดและเข้ากันไม่ได้ของคนสามคนที่ต้องเดินทางไปด้วยกันมากๆ

4.แต่สาเหตุที่ทำให้ยังไม่ให้ A+30 กับหนังในตอนนี้ เพราะเราอยากให้สองพี่น้องคืนดีกันไม่ได้มากกว่า และเราว่าตอนจบมันดูซึ้งเกินไปหน่อยสำหรับชีวิตเรา คือมันอาจจะไม่ซึ้งเกินไปสำหรับชีวิตตัวละครนะ แต่มันซึ้งเกินไปหน่อยสำหรับตัวเราเอง

5.ฉากที่ชอบที่สุดในเรื่องคือฉากที่สองพี่น้องคุยกันที่บันไดหนีไฟในโรงแรม เราไม่รู้ว่าเพราะอะไรเราถึงรู้สึกได้ถึง "ความชื้น" และ "ความเย็น" ในฉากนั้น บางทีเราอาจจะบ้าไปเอง หรือมันแค่พ้องกับประสบการณ์บางอย่างในชีวิตเรา แต่เราชอบฉากนั้นมากๆนะ และก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมฉากนั้นทำให้เรารู้สึกได้ถึง "อุณหภูมิ" กับ "ความชื้นในบรรยากาศ" ด้วย

แต่ก็ประหลาดใจเหมือนกันที่ตัวเองชอบหนังเรื่องนี้มากขนาดนี้ เพราะ WINGS OF BLUE ANGELS (2008, Tongpong Chantarangkul) นี่เราชอบแค่ในระดับ A+/A แต่ไม่สามารถจำอะไรใน WINGS OF BLUE ANGELS ได้เลยแม้แต่นิดเดียวในตอนนี้



ON THE FILMS OF TEERANIT SIANGSANOH

ON THE FILMS OF TEERANIT SIANGSANOH

ข้อความข้างล่างก็อปปี้มาจากที่เขียนคุยกับเพื่อนในนี้จ้ะ

หนังของ Teeranit Siangsanoh บางเรื่องจะทำให้เรานึกถึงหนังของ Fred Kelemen และ James Benning นะ เพราะมันเป็นการจ้องมองอะไรบางสิ่งอย่างยาวนานมากๆเหมือนกัน ซึ่งนักวิจารณ์ชื่อดังบางคนจะเกลียดหนังของ James Benning มากๆ โดยนักวิจารณ์กลุ่มนี้เขาจะให้เหตุผลว่ามันเป็นการถ่ายหนังแบบขี้เกียจมาก เพราะเขามองว่ามันเป็นการตั้งกล้องถ่ายบางสิ่งเฉยๆ โดยที่ตัวผู้กำกับแทบไม่ต้องทำอะไรเลย

แต่สำหรับเราแล้ว ความรู้สึกชอบไม่ชอบที่เรามีต่อหนังแต่ละเรื่อง มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าผู้กำกับลงทุนลงแรงไปมากแค่ไหน แต่มันขึ้นอยู่กับว่าเรามีความสุขมากแค่ไหนที่ได้ดูหนังเรื่องนั้น หนังที่ผู้กำกับลงทุนสูง, ตั้งใจทำมากๆ แต่เราดูแล้วไม่มีความสุข เราก็ไม่ชอบหนังเรื่องนั้น หนังเรื่องไหนที่ดูเหมือนถ่ายง่ายๆ อย่าง NO ONE AT THE SEA (2005, Tossapol Boonsinsukh) แต่มันกลับก่อให้เกิดความรู้สึกประทับใจกับเรามากๆ เราก็ชอบหนังเรื่องนั้นจ้ะ

เราว่า Teeranit กับเราชอบจ้องมองในอะไรบางอย่างคล้ายๆกันด้วยแหละ อย่างพระจันทร์หรือท้องฟ้ามืดๆ เพราะฉะนั้นเราก็เลยชอบหนังของเขา เพราะรสนิยมตรงกัน แต่ถ้าหากใครจะไม่ชอบหนังของเขา ก็เป็นเรื่องปกติจ้า

หนังของ Teeranit Siangsanoh ทำให้เรานึกถึงประเด็นเหล่านี้ด้วยจ้ะ

1.ผู้กำกับที่ชอบตั้งกล้องแช่นิ่งนานแต่ละคน ก็คงมีเหตุผลของตัวเองแตกต่างกันไป James Benning ก็คงมีเหตุผลอย่างนึง แต่ที่น่าสนใจคือเหตุผลของ Fred Kelemen ซึ่งเป็นคนที่มีอิทธิพลต่อ Teeranit โดยตรง (Teeranit ทำหนังโดยได้รับแรงบันดาลใจจากบทความเกี่ยวกับหนังของ Fred Kelemen) โดย Kelemen บอกว่าเวลาเขาถ่ายตัวละครที่นั่งอยู่บนเก้าอี้ พอตัวละครลุกออกจากเก้าอี้และเดินออกจากฉากไป เขาจะยังไม่ตัดภาพ ถึงแม้ว่านั่นเป็นวิธีการที่ผู้กำกับส่วนใหญ่นิยมทำกัน โดยตัว Kelemen นั้นเขาจะยังถ่ายภาพเก้าอี้ตัวนั้นต่อไปเรื่อยๆจนกว่าไออุ่นจากนักแสดงคนนั้นที่ทิ้งร่องรอยไว้บนเก้าอี้จางหายไปจนหมดแล้ว เพราะนั่นแสดงให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เราแต่ละคนทำไป มันมีผลกระทบ แม้มันจะเป็นสิ่งที่แทบมองไม่เห็นหรือรู้สึกไม่ได้ อย่างเช่นการทิ้งไออุ่นไว้บนตัวเก้าอี้

อ่านเกี่ยวกับ Fred Kelemen เพิ่มเติมได้จากหนังสือ "ฟิล์มไวรัส 2" จ้ะ และจากบทความนี้

"เคเลเมนกล่าวว่าเขาเป็นพวกต่อต้านการตัดต่อ สำหรับเขาการจ้องมองไม่ใช่วิธีการจำพวก ถ่ายใบหน้า ตัดไปที่มือ และวกลับมาที่ตา สำหรับเขาการจ้องมองคือระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอ โดยไม่ตัดต่อหากไม่จำเป็น เขาใช้เวลาซักซ้อมยาวนานกับนักแสดง จากบทคร่าวๆ ที่มีอยู่ในมือ แล้วให้นักแสดงจัดการส่วนที่เหลือ หลังจากซักซ้อมจนเป็นที่พอใจ และนำนักแสดงไปสู่จุดสูงสุดทางอารมณ์เขาจึงเริ่มลงมือถ่ายทำ หนังยาว 80 นาทีเรื่อง FATE (1994) นี้ประกอบขึ้นด้วยฉากยาวๆ เพียง12 ฉาก และแต่ละฉากอาศัยพลังของนักแสดง ปะทะกับพลังทางภาพแบบEXPRESSIONIST ของเขา โดยการแช่กล้องไว้นาน ๆ ในแต่ละฉาก เคเลเมนกล่าวว่า เมื่อคุณถ่ายคนในห้องหนึ่ง แล้วเมื่อเขาเดินออกจากห้องคุณตัดภาพไปทันที ห้องห้องนั้นก็ไม่ได้มีอยู่เลย มันเป็นแค่การมีอยู่ของคนเท่านั้น แต่ถ้าคุณทิ้งภาพไว้อีกสักระยะ รอจนบรรยากาศของการมีอยู่ของมนุษย์จางไป คุณจะมองเห็นห้องนั้นในฐานะสถานที่ ไม่สัมพันธ์กับผู้คนอีกต่อไป มนุษย์กลายเป็นเพียงส่วนยิบย่อย ในจักรวาลอันกว้างใหญ่ไพศาล ในขณะเดียวกัน มันก็เป็นการติดตาม ร่องรอยของมนุษย์ที่เคยดำรงคงอยู่ เหมือนคุณนั่งเก้าอี้แล้วลุกไป เมื่อมีคนมานั่งต่อเขาจะรู้สึกถึงความอุ่นที่คุณทิ้งไว้ และผม (เคเลเมน) พยายามคว้าจับเอาส่วนนั้น ผมจะถ่ายเก้าอี้จนกระทั่งความอุ่นนั้นจางลง"

(นอกจาก Fred Kelemen จะเป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ที่เราชื่นชอบที่สุดแล้ว เขายังเป็นตากล้องให้กับ TURIN HORSE ของ Bela Tarr ด้วย)

2. เราไม่แน่ใจเหมือนกันว่า การที่เรารู้สึกดีมากๆกับหนังของ Teeranit และมีความสุขกับการจ้องมองสิ่งๆเดียวกับสิ่งที่ Teeranit จ้องมอง มันเป็นสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด หรือเป็นสิ่งที่พัฒนาไปตามกาลเวลา หลังจากได้ดูหนังทำนองนี้มาแล้วหลายเรื่อง แต่เราเดาว่ามันคงเป็นเพราะทั้งสองปัจจัยน่ะแหละจ้ะ

2.1 ที่เราคิดว่า มันเป็นสิ่งที่ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด เพราะว่านักวิจารณ์ชื่อดังบางคน ที่คุ้นชินกับการดูหนังอาร์ทนิ่งช้ามาแล้วหลายเรื่อง เขาก็ไม่ได้ชอบหนังของ James Benning เหมือนกับเรา เพราะฉะนั้นการดูหนังอาร์ทนิ่งช้าจำนวนมาก ก็ไม่ได้เป็นการรับประกันว่าคุณจะสามารถจูนติดกับหนังของ James Benning ได้ หรือจะมีความสุขกับหนังของ James Benning ได้ มันคงมีมีปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย ซึ่งปัจจัยหนึ่งในนั้นก็คือการที่เราทุกคนมีรสนิยมแตกต่างกันไปตั้งแต่เกิด

2.2 แต่เราก็คิดว่า ถ้าหากเราได้ดูหนังของ Teeranit Siangsanoh เร็วกว่านี้ เราก็อาจจะไม่ชอบหนังของเขามากเท่านี้ก็ได้นะ เราได้ดูหนังของเขาในจังหวะที่เหมาะสมพอดีน่ะ เราก็เลยจูนคลื่นติดกับหนังของเขาพอดี เราจำได้ว่า ตอนเราอยู่มัธยมต้น เราก็เกลียดหนัง+ละครที่เดินเรื่องช้าๆเหมือนกัน เราจำได้ว่าตอนนั้นเราให้ความสำคัญกับพล็อตเรื่องเพียงอย่างเดียว และจะรำคาญละครทีวีที่ "เนื้อเรื่องไม่เดินหน้าไปถึงไหน" หรือ "เล่าเรื่องยืดยาด"

แต่ในปัจจุบันนี้ เรากลับเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับตัวเราเองในอดีต เพราะหนังหลายเรื่องที่เราชอบมากๆ ในตอนนี้ คือหนังที่ "แทบไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย" หรือ "แทบไม่มีเนื้อเรื่องเลย" เพราะฉะนั้น "เวลา", "ประสบการณ์ชีวิต" และ "ประสบการณ์การดูหนังและเสพงานต่างๆ" ก็เป็นปัจจัยสำคัญเหมือนกัน ในการทำให้ความรู้สึกชอบที่เรามีต่อสิ่งต่างๆเปลี่ยนแปลงไปจากหน้ามือเป็นหลังตีน

3.ถ้าหากจะเปรียบหนังกับวรรณกรรม หนังยาวทั่วไปก็คงเหมือนนิยาย หนังสั้นทั่วไปก็คงเหมือนเรื่องสั้น และหนังของ Teeranit Siangsanoh และ Tossapol Boonsinsukh ก็อาจจะเหมือนบทกวี อย่างเช่น บทกวี THE RED WHEELBARROW (1923) ของ William Carlos Williams

"so much depends
upon
a red wheel
barrow
glazed with rain
water
beside the white
chickens.
"

ที่เราเปรียบเทียบหนังของ Teeranit กับบทกวีบทนี้ เพราะเรารู้สึกว่าเสน่ห์ในหนังของ Teeranit

3.1 ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเนื้อเรื่อง

3.2 ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความหมายที่แน่นอนตายตัว เราว่าหนังของ Teeranit และบทกวีข้างต้นเปิดโอกาสให้ผู้ชมหรือผู้อ่านตีความอะไรต่างๆได้อย่างเต็มที่ หรือจะไม่ตีความอะไรเลยก็ได้

3.3 ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความอลังการงานสร้างในส่วนของภาพยนตร์ หรือการใช้ถ้อยคำที่วิลิศมาหราในส่วนของบทกวี มันเป็นการเอาภาพ, ช็อต หรือซีนที่ดูเหมือนจะไม่ได้ปรุงแต่งอะไรมาก และการเอาคำศัพท์ง่ายๆ มาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน แต่การเอาอะไรที่เรียบง่ายมาเรียงร้อยเข้าด้วยกันนี้ มันกลับก่อให้เกิดความรู้สึกแปลกๆอะไรบางอย่างที่บรรยายไม่ถูกในตัวผู้ชม/ผู้อ่าน ซึ่งเราว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยากมากๆ

3.4 แต่นั่นก็ขึ้นอยู่กับผู้อ่าน/ผู้ชมแต่ละคนด้วยเช่นกัน เป็นเรื่องปกติที่ผู้อ่านบางคนจะรู้สึกว่าบทกวี THE RED WHEELBARROW ไม่ทำให้เขารู้สึกอะไรเลย หรือผู้ชมบางคนจะรู้สึกว่าหนังของ Teeranit ไม่ก่อให้เกิดความรู้สึกพิเศษอะไรในตัวเขาเลย

4.เราว่าหนังของ Teeranit มีเสน่ห์บางอย่างคล้ายๆงานศิลปะประเภท conceptual art และ minimal art นะ ถ้าสนใจงานประเภทนี้ ก็อ่านได้จากหนังสือที่สนพ.เคล็ดไทยพิมพ์ออกมาได้จ้ะ

และเราก็รู้สึกว่าหนังของ Teeranit (และอาจจะรวมไปถึง Tossapol Boonsinsukh) มีเสน่ห์คล้ายๆกับภาพเขียนของ Agnes Martin ด้วยเหมือนกัน มันดู minimal มาก แต่มันดูทรงพลังมากสำหรับเรา

4.ที่เราว่าประสบการณ์การดูหนัง อาจจะมีส่วนช่วยหล่อหลอมให้เราชอบหนังของ Teeranit ด้วยนั้น เราก็เลยคิดว่าเราควรจะทำลิสท์หนังกลุ่มที่มีอะไรบางอย่างคล้ายๆกับหนังของ Teeranit ขึ้นมาด้วยจ้ะ เผื่อใครที่ชอบหนังของ Teeranit ก็อาจจะชอบหนังกลุ่มนี้ด้วย หรือใครที่อยากจะ "จูนติด" กับหนังของ Teeranit ก็อาจจะลองดูหนังกลุ่มนี้ด้วย เผื่ออาจจะทำให้เข้าใจเสน่ห์ของหนังกลุ่มนี้มากขึ้น

4.1 AUTOHYSTORIA (2007, Raya Martin, Philippines)
เรื่องนี้เรามีแผ่น

4.2 CORRIDOR (1994, Sharunas Bartas, Lithuania)
เรื่องนี้น่าจะมีให้ดาวน์โหลดทางอินเทอร์เน็ต
"ความไม่นำไปสู่สิ่งใดในหนังเรื่องหนึ่งทำหน้าที่คล้ายกับเครื่องหมายของความล้มเหลวทางภาพยนตร์ หนังที่ดูไม่รู้เรื่อง ย่อมไม่มีคุณค่าความหมายให้ชื่นชม แต่ตรรกะแบบนั้นไม่สามารถใช้ได้กับหนังของSHARUNAS BARTAS   ในโลกของภาพเคลื่อนไหวซึ่งร้อยเรียงต่อกันไปของเขา ไม่ได้ใช้รูปรอยการเล่าในแบบอันคุ้นเคยอีกต่อไป  เขาโยนสิ่งที่หนังต้องทำในโลกอื่นทิ้งไป และหยิบเอาส่วนเสี้ยวซึ่งถูกมองข้าม ยกออกไปในหนังเรื่องอื่นมาบรรจุเอาไว้แทนที่ ทิ้งส่วนที่ผู้สร้างแบกรับในจักรวาลหนึ่งให้เป็นภาระของผู้ชมในอีกจักรวาลหนึ่ง
"

4.3 EMPLOYEES LEAVING THE LUMIÈRE FACTORY (2010, Chaloemkiat Saeyong)
เรื่องนี้เรามีแผ่น

4.4 EUROPA 2005 -- 27 OCTOBER (2006, Jean-Marie Straub + Danièle Huillet)
ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่นี่

4.5 KITTYPIE (2007, Jennifer MacMillan)
จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้ไม่ได้คล้ายหนังของ Teeranit นะ นอกจากว่ามันเป็นหนังเชิงกวีเหมือนกัน และเราว่าหนังเรื่องนี้ถ่ายเงาของแสงอาทิตย์ที่ส่องลอดเข้ามาในห้องได้สวยมากๆ เราก็เลยนึกถึงหนังของ Teeranit เพราะเราว่าหนังของเขาถ่าย "แสง" ต่างๆออกมาได้สวยมากเหมือนกัน

ดู KITTYPIE ได้ที่นี่

4.6 NATHALIE GRANGER (1972, Marguerite Duras, France)
เรื่องนี้มีดีวีดีขายในไทย
"หนังทั้งเรื่องถูกถ่ายทำอย่างเรียบง่าย ภาพทั้งหมดแทบไร้การเคลื่อนไหว หญิงสาวไร้นามที่รับบทโดยJeanne Marraeu เป็นคนดูแลบ้าน หนังให้เราจ้องมองเธอทำความสะอาดโต๊ะ ล้างจาน เก็บเศษไม้ในสวน เย็บผ้า ลอกเอาเศษขยะในสระน้ำ ราวกับเธอนางไร้นามผู้รับเหมาภาระทั้งหมดในบ้าน ขณะที่Lucia Bose' รับบท Elisabeth  ผู้ที่ตลอดทั้งเรื่องเราจะเห็นเธอซีดเศร้า เธอจ้องมองไปยังนอกถนน ไปยังสวน จากกรอบหน้าต่างขอบ้าน เธอผเชิญกับความปั่นป่วนที่จะไม่ได้พบลูกสาวอีก  เราเห็นเธอทำงานบ้านเพียงครั้งเดียว นั่นคือการรีดผ้า เธอทำไม่สำเร็จ  รีดเสื้อให้ลูกสาวแล้วเอามันมาแนบอก ทิ้งเตารีดค้างเอาไว้อย่างนั้น  ตลอดเวลาที่เหลือเธอนั่งฟังวิทยุเลื่อนลอย เหม่อมองไปยังที่อื่น เสียงวิทยุเล่าข่าวแบบรายงานสดติดตามการตามล่าตัวฆาตกรหนุ่มสองคนที่กำลังหลบหนี  แต่มันถูกปล่อยให้ล่องลอยทอดทิ้งไม่ใยดี  จนมันกลายเป้นเหมือนเพียงเสียงรบกวนเล็ฏๆจากโลกอื่น
"

"ความนิ่งเงียบของ Nathalie Granger อาจทำให้หลายคนเบื่อหน่ายส่ายหน้าหนี ในขณะเดียวกันความเงียบในหนังเรื่องนี้คือภาวะอันแปลกประหลาด  ความสงบนิ่งแบบที่ไม่ได้ผ่อนคลาย  ความตึงเครียดขมวดมุ่นแล้วผ่วเบา บางครั้งเลื่อนไหลไปกับอาการเหม่อลอย บรรยากาศที่กล่าวไปนั้นอาจฟังดูง่ายดายเมื่อเราบรรยาด้วยตัวอักษร แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่จะเล่ามันออกมาผ่านทางภาพ หาก Maguerite Duras กลับบันทึก บรรยากาศยามบ่าย นั้นลงบนแผ่นฟิล์มได้อย่างสวยสดงดงามยิ่ง
"

4.7 NEWS FROM HOME (1976, Chantal Akerman)
เรื่องนี้มีดีวีดีขายในไทย

4.8 ZOETROPE (2011, Rouzbeh Rashidi, Ireland)
เรื่องนี้เรามีแผ่น

นอกจากนี้ หนังอย่างเช่น WINDOWS (1999, Apichatpong Weerasethakul) และ BIRTH OF THE SEANEMA (2004, Sasithorn Ariyavicha) ก็ทำให้เรานึกถึงหนังของ Teeranit เหมือนกัน แต่หนังสองเรื่องนี้อาจจะหาดูได้ยากหน่อยจ้ะ

The photo is from PHENOMENON 1 (2012, Teeranit Siangsanoh, 28.32 min).




FILMS SEEN RECENTLY

Films that I have seen recently and like them very much:

1.THE END OF SILENCE (2011, Roland Edzard, France, A+30)
2.THE TRAUMATIC ENCOUNTER (2011, Josée Dayan, France, A+30)
3.QUEST FOR JUSTICE (1982, Serge Leroy, France, A+30)
4.EINSTEIN WAS A REFUGEE (2010, Solange Cicurel, Belgium, A+30)
5.I CARRIED YOU HOME (2011, Tongpong Chantarangkul, Thailand, A+25)
6.CARREFOUR (1938, Curtis Bernhardt, France, A+25)
7.THE KINDNESS OF WOMEN (2011, Marc Dugain + Yves Angelo, A+15)
8.ÉDUCATION NATIONALE (2011, Alaa Eddine Aljem, Morocco, A+15)
9.HIT AND RUN (2012, David Palmer + Dax Shepard, A+5)
10.DREDD (2012, Pete Travis, A+)

The photo is from THE END OF SILENCE.




Favorite Songs 26: PRIMADONNA -- Marina and the Diamonds

Favorite Songs 26: PRIMADONNA -- Marina and the Diamonds

Friday, September 28, 2012

SOME WILD FILMS I LIKE

Some wild films I like:

1.BANANA-SUCKING BAT ค้างคาวดูดกล้วย (2001, Kullachat Jitkajornwanit + Benjamin Traipipat, 22min, Thailand)

2.BUNZAI CHAIYO: THE ADVENTURE OF IRON PUSSY II (1999, Michael Shaowanasai, 22min, Thailand)

3.EDEN AND AFTER (1970, Alain Robbe-Grillet, France)

4.I-BE AREA (2006, Ryan Trecartin, USA)
ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่

5.KILLED THE FAMILY AND WENT TO THE MOVIES (1969, Julio Bressane, Brazil)

6.THE KINGDOM (1973, Katsu Kanai, Japan)

7.LOOK OF LOVE (2006, Yoshiharu Ueoka, Japan)

8.MADAME X: AN ABSOLUTE RULER (1977, Ulrike Ottinger, West Germany)

9.OUR LADY OF THE TURKS (1968, Carmelo Bene, Italy)

10.WHAT HAPPENED TO MAGDALENA JUNG? (1983, Christoph Schlingensief, West Germany)
ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่นี่

The list is inspired by this article

Thanks to Theeraphat Ngathong for telling us about this article.

Sunday, September 23, 2012

ON IMPROVISATION AND OTHER THINGS


ข้อความข้างล่างก็อปปี้มาจากที่เขียนคุยกับเพื่อนใน Facebook ครับ:

--ดีใจมากครับที่ได้รู้ว่าน้องจะมีอะไรใหม่ๆมาให้ดู ถ้าน้องมีไอเดียอะไรตอนนี้ น้องก็ควรทำตามไอเดียนั้นหรืออย่างน้อยก็จดบันทึกไอเดียนั้นเอาไว้นะครับ เพราะวัยของน้องเป็นวัยที่มีความคิดสร้างสรรค์สูงมาก

อันนี้พี่เขียนจากประสบการณ์ของพี่เองน่ะครับ ช่วงที่พี่อยู่มัธยมปลายกับเรียนปริญญาตรีในมหาลัย เป็นช่วงที่พี่กับเพื่อนๆมีความคิดสร้างสรรค์สูงมาก พี่จำได้ว่าช่วงนั้นเพื่อนๆพี่สามารถคิดค้นคำศัพท์ใหม่ๆประหลาดๆหรือคำด่าแบบใหม่ๆออกมาพูดกันได้ทุกวัน แต่ตอนแรกพี่ไม่คิดจะจดคำศัพท์เหล่านั้นเอาไว้ เพราะนึกว่ามันไม่ใช่สิ่งที่น่าจะลืมได้ง่ายๆ แต่ตอนหลังพี่เริ่มเฉลียวใจและเริ่มจดบันทึกศัพท์แปลกๆที่เพื่อนๆพูดกัน แต่ก็จดได้เพียง 1% ของที่เคยพูดกันมาเท่านั้น ส่วนอีก 99% ก็หายสาบสูญไปตลอดกาล

ปัจจุบันนี้พี่ผ่านพ้นช่วงเวลานั้นมาได้ราว 20 ปีแล้ว และพี่ก็ค้นพบว่าเพื่อนๆพี่ในยุคปัจจุบันแทบไม่สามารถคิดค้นศัพท์ใหม่ๆได้อีกต่อไป ไม่รู้ว่าความสามารถด้านนี้มันหายไปตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่เหมือน "ความคิดสร้างสรรค์" บางอย่างในตัวเรามันค่อยๆหายไปเรื่อยๆเมื่อเราเริ่มแก่ขึ้น หลังจากที่มันขึ้นไปแตะจุดสูงสุดตอนเราอายุ 15-23 ปี

เพราะฉะนั้นถ้าน้องมีไอเดียอะไรในช่วงนี้ อย่างน้อยก็ควรจดบันทึกไอเดียเหล่านั้นเอาไว้นะครับ :-)

--น้องสอบเข้ามศว.จะเรียนคณะไหนเหรอครับ ถ้าได้เรียนด้านภาพยนตร์และสื่อดิจิตอล ในวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม ของมศว.ประสานมิตรก็จะดีมากๆเลยนะครับ เพราะจะได้ตรงกับที่น้องชอบ และนิสิตคณะนี้อย่างคุณอุกฤษณ์ สงวนให้ ก็ทำหนังสั้นที่ดีมากๆออกมาแล้วถึง 3 เรื่อง

แต่ถึงน้องไม่ได้เรียนคณะนี้ ก็เรียนคณะไหนก็ได้ครับที่จบออกมาแล้วมีเงิน ฮ่าๆๆ เพราะปัญหานึงสำหรับคนทำหนังนอกกระแสบ้านเราก็คือเงินทุนครับ พี่เห็นนิสิตด้านภาพยนตร์หลายคนทำหนังที่ดีมากๆตอนเป็นนิสิต แต่พอเรียนจบแล้วก็ไปเป็นแอร์โฮสเตส หรือไปทำงาน+เรียนต่อด้านอื่นๆ แล้วก็ไม่ได้ทำหนังอีกเลยเพราะไม่มีเงินทุน+แรงใจ เพราะฉะนั้นถึงน้องไม่ได้เรียนด้านภาพยนตร์ แต่ได้เรียนสาขาวิชาที่จะช่วยให้มีเงินทุนสำหรับทำหนังในยามว่าง นั่นก็อาจจะเป็นสิ่งที่ดีในอีกทางหนึ่งก็ได้นะครับ ฮ่าๆๆ เพราะถ้าเรามีเงินทุนเป็นของตัวเอง เราก็จะสามารถทำหนังในแบบที่เราชอบได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องง้อนายทุนแต่อย่างใด

Alexander Kluge ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้กำกับที่พี่ชื่นชมมากๆ เขาก็ไม่ได้เรียนด้านภาพยนตร์ครับ เขาจบปริญญาเอกด้านกฎหมาย แต่หนังของเขาพิศวงพิสดารมากๆ ส่วน Krzysztof Zanussi ผู้กำกับชาวโปแลนด์ที่ทำหนังดีมากๆ เขาก็เรียนจบด้านฟิสิกส์กับปรัชญามา

สรุปว่าพี่ขออวยพรให้น้องได้เรียนคณะที่ต้องการนะครับ ถ้าน้องได้เรียนด้านภาพยนตร์ พี่ก็จะดีใจมากๆ แต่ถึงน้องได้เรียนด้านอื่นๆ พี่ก็มั่นใจว่ามันจะไม่เป็นอุปสรรคสำหรับน้องแต่อย่างใด ถ้าหากน้องรักจะทำหนังจริงๆ โดยเฉพาะหนังทดลอง

--คู่ของ Godard กับ Karina นี่เป็นคู่ที่เริ่ดมากที่สุดในวงการเลยนะครับ พี่ก็ขอเป็นกำลังใจให้น้องได้เจอนักแสดงคู่บุญแบบนี้เช่นกัน โกดาร์ดนี่หาเมียได้ดีมากๆเลย เพราะเมียอีกคนของเขาที่ชื่อ Anne-Marie Mieville ก็เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ที่น่าสนใจมากๆ พี่ยังไม่เคยได้ดูหนังที่ Anne-Marie Mieville กำกับแบบเดี่ยวๆ แต่ได้ยินว่าหนังของเธอน่าสนใจมากๆ โดยเฉพาะเรื่อง WE'RE STILL HERE (1997, 80min) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแม่บ้านสองคนที่คุยกันขณะทำงานบ้าน แต่บทสนทนาที่แม่บ้านสองคนคุยกันนี้จริงๆแล้วดัดแปลงมาจากบทสนทนาระหว่างเพลโตกับโสคราตีส !!!!!

--ใช่แล้วครับ พี่สนับสนุนให้น้องเล่นหนังที่ตัวเองกำกับเอง เพราะมันจะช่วยลดปัญหาในการกำกับการแสดงลงไปได้มากๆเลย และพี่ก็คิดว่าน้องแสดงได้ดีมากใน THE WIND

หนังบางเรื่องที่ผู้กำกับเล่นเองกำกับเองนี่มันก็สุดยอดมากๆ อย่างเช่น ACTRESSES (2007, Valeria Bruni Tedeschi), THE BRIDGES OF MADISON COUNTY (1995, Clint Eastwood), F FOR FAKE (1973, Orson Welles), "I, YOU, HE, SHE" (1976, Chantal Akerman),PERFUMED NIGHTMARE (1977, Kidlat Tahimik) และ THE WITCH (2009, Alwa Ritsila) ฮ่าๆๆ หนังอย่าง ACTRESSES, PERFUMED NIGHTMARE และ THE WITCH นี่มันต้องอาศัยความบ้าคลั่งทางการแสดงอย่างรุนแรงมากๆ ซึ่งถ้าผู้กำกับไม่ได้เล่นเอง มันคงไม่สามารถถ่ายทอดอารมณ์บ้าคลั่งออกมาได้ขนาดนี้

--ส่วนที่น้องเขียนว่า "การ ไปถ่ายอะไรมาก็ได้ แล้วมา Montage มาลำดับเวลาใหม่ หรือใส่เนื้อหาเพิ่มเติมลงไปให้เกิดเนื้อเรื่องใหม่ขึ้นมา มันง่ายที่ในขั้นตอนการถ่าย แต่มันสนุก ตื่นเต้น ท้าทายในเวลาที่เราได้ตัดต่อและสร้างเนื้อหาครับ
" ทำให้นึกถึงสิ่งที่พี่สนธยา ทรัพย์เย็นเคยพูดหลังจากดูหนังของคุณ Sasithorn Ariyavicha เลยครับ คุณ Sasithorn เขากำกับหนังเรื่อง BIRTH OF THE SEANEMA (2004, 70min) ซึ่งเป็นหนังไทยที่พี่ชอบที่สุดในชีวิต แล้วหลังจากการฉายหนังเรื่องนี้ ก็มีการเสวนากัน และก็เลยทำให้ได้รู้ว่าวิธีการทำหนังของคุณศะศิธรนั้นตรงข้ามกับผู้กำกับทั่วๆไป เพราะผู้กำกับทั่วๆไป เขา "คิดก่อนถ่าย" นั่นก็คือเขาคิดเขียนบทก่อน แล้วค่อยออกไปถ่ายหนังเพื่อนำมารองรับบทที่คิดไว้แล้ว

แต่ของคุณ Sasithorn หรือผู้กำกับหนังทดลองบางคนนั้น เขา "ถ่ายก่อนคิด" ครับ นั่นก็คือเขาจะพกกล้องติดตัวเสมอ และเมื่อเขาเจออะไรที่น่าสนใจ เขาก็จะถ่ายหรือบันทึกภาพเหตุการณ์นั้นไว้ในทันที พี่คิดว่าวิธีการแบบนี้มันเป็นการให้ความสำคัญกับอารมณ์ความรู้สึกและจิตใต้สำนึกเป็นสำคัญครับ เมื่อเราเจออะไรที่มันกระทบใจเราปุ๊บ เราก็ถ่ายมันไว้ก่อนในทันที แล้วเราค่อยนำมันมาร้อยเรียงเข้าด้วยกันเป็นหนังในภายหลัง ซึ่งหนังที่ออกมาจะดีหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถเชิงกวีของเรา ซึ่งพี่คิดว่า Sasithorn Ariyavicha, Teeranit Siangsanoh และ Wachara Kanha ทำสิ่งนี้ได้ดีมากๆ ส่วนผู้กำกับหนังฝรั่งที่ทำหนังแบบนี้ก็น่าจะมีเช่น Jonas Mekas ที่กำกับหนังเรื่อง AS I WAS MOVING AHEAD OCCASIONALLY I SAW BRIEF GLIMPSES OF BEAUTY (2000, 320min) ซึ่งพี่ยังไม่ได้ดู แต่เห็นเขาบอกว่าหนังที่มีความยาว 5 ชั่วโมง 20 นาทีเรื่องนี้รวบรวมมาจากเศษฟิล์มเศษโฮมวิดีโอ แต่เขาสามารถนำเอาเศษโฮมวิดีโอเหล่านี้มาเรียงร้อยต่อกันให้เป็นหนังที่พิลาศพิไลสุดๆได้

"Mekas beautifully edits together the scraps of film that fell to his cutting room floor while he was working on projects he "perceived" as important, not realizing that what was truly important were the details that he missed, that he left out in favor of the shot in focus, the shot in composition. He strings together these family films of his children, his wife, his friends, New York during a lightning storm, all while narrating the film from what seems to be "His Death Bed." This film is by far one of the more touching, more emotional films I have ever seen. It is an homage to life as much as it is a recognition that beauty lies in the places we least expect it and as we walk we may occasionally catch brief glimpses of it, if we are lucky enough to have our eyes that wide open.
"

ส่วนผู้กำกับคนล่าสุดที่ดูเหมือนจะทำหนังแนวนี้ก็คือ Jon Lazam จากฟิลิปปินส์ครับ พี่เพิ่งได้ดูหนังของเขาในเทศกาลหนังสั้นปีนี้ เขาเป็นผู้กำกับที่น่าจับตามองจริงๆ

--ส่วนวิธีการทำหนังของน้องนั้น พอได้ฟังแล้วก็เลยทำให้เข้าใจขึ้นมาบ้างว่าทำไมหนังของน้องมันถึงได้มีความพิสดารในแบบที่พี่ชอบ เพราะพี่ชอบวิธีการทำหนังแบบด้นสดแบบนี้แหละครับ มันเหมือนเป็นวิธีการที่ถ่อมตัวดี เพราะวิธีการแบบนี้ผู้กำกับจะต้องคอยสังเกตสิ่งต่างๆและเปิดใจยอมรับสิ่งต่างๆที่จะเข้ามาให้แรงบันดาลใจแก่ตัวเอง

หนังต่างประเทศที่พี่ชอบเป็นอันดับสองของปีที่แล้ว ก็คือเรื่อง OUT 1: NOLI ME TANGERE (1971, Jacques Rivette, 773min) ครับ หนังเรื่องนี้มีความยาว 12 ชั่วโมง 53 นาที และเกิดจากการด้นสดของผู้กำกับกับนักแสดงไปเรื่อยๆ และมันก็ออกมาสุดยอดมากๆ

อันนี้เป็นสิ่งที่ Jacques Rivette เขาพูดไว้ในปี 1974 ครับ

"ผมใช้วิธีการกำกับแบบนี้กับหนัง 3 เรื่องแล้ว โดยใช้วิธีการนี้กับหนังเรื่อง L'AMOUR FOU มากกว่าใน CELINE AND JULIE GO BOATING และใช้วิธีการนี้กับหนังเรื่อง OUT 1 มากที่สุด ผมเกลียดความรู้สึกที่ว่าทุกอย่างถูกกำหนดไว้ตายตัวแล้ว และไม่มีอะไรที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งในระหวางการถ่ายทำและการตัดต่อ ผมปฏิเสธ "บทภาพยนตร์" โดยสิ้นเชิง หรืออย่างน้อยก็ปฏิเสธสิ่งนี้ตามความหมายปกติของมัน ผมชอบใช้สิ่งที่เรียกว่า "โครงเรื่อง" มากกว่า เพราะสิ่งนี้บ่งชี้ถึงพลวัตร, แนวคิดหรือหลักการมากมายที่เราสามารถใช้เป็นจุดตั้งต้น เพื่อที่เราจะได้ค้นหาวิธีการที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ในการถ่ายทำ ตอนนี้ผมต้องการให้ตารางการถ่ายทำของผมสั้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ และต้องการให้ช่วงเวลาในการตัดต่อนานที่สุดเท่าที่จะทำได้"

"I have been going in this direction for three films now, in L'Amour Fou more than in Celine et Julie, and in Out 1 most of all. I hate to have the feeling, either during the shooting or the editing, that everything is fixed and nothing can be changed. I reject the word 'script' entirely -- at any rate in the usual sense. I prefer the old usage -- usually scenario -- which it had in the Commedia dell'Arte, meaning an outline or scheme: it implies a dynamism, a number of ideas and principles from which one can set out to find the best possible approach to the filming. I now prefer my shooting schedules to be as short as possible, and the editing to last as long as possible."