Tuesday, May 31, 2022

PRASART (1975, Piak Poster, Rerngsiri Limaksorn, second viewing, A+30)

 

PRASART (1975, Piak Poster, Rerngsiri Limaksorn, second viewing, A+30)

ประสาท

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

1.ดีใจสุด ๆ ที่ได้ดูหนังเรื่องนี้รอบสอง หลังจากที่เราเคยดูรอบแรกไปแล้วในปี 1998 และยกให้เป็นหนึ่งในหนังที่ชอบที่สุดในชีวิตเลย เพราะหนังมันมีอะไรบางอย่างที่ถูกโฉลกกับเราอย่างสุด ๆ

 

2. พอเราได้ดูหนังเรื่องนี้รอบสองที่ศาลายาเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา เราก็เข้าห้องน้ำที่ชั้นล่างของโรงหนัง และได้ยินลุง ๆ ในห้องน้ำเมาท์มอยกันถึงหนังเรื่องนี้ ลุง ๆ คุยกันว่าหนังเรื่องนี้ดีมาก ๆ มันแสดงให้เห็นว่าตัวละครแต่ละคนมีพฤติกรรม “คิดไปเอง” กันทั้งนั้น โดยเฉพาะในช่วงท้าย ๆ ของเรื่องที่ตัวละครหลาย ๆ ตัว “คิดไปเอง” “มโนไปเอง” และด่วนตัดสินอะไรต่าง ๆ โดยตั้งอยู่บนจินตนาการแบบคิดเอง เออเองของตนเอง ทั้งตัวละครชายและตัวละครหญิง

 

ชอบสิ่งที่ลุง ๆ คุยกันนี้มาก ๆ ประทับใจการเมาท์มอยของผู้ชมในห้องน้ำในครั้งนี้อย่างสุด ๆ

 

3.เป็นหนังที่สร้างตัวละครนำหญิงทั้ง 3 ตัวได้ออกมาตรงใจเรามาก ๆ เหมือนทั้ง 3 ตัวมีฤทธิ์และความน่าสนใจแตกต่างกันไป ทั้งเนติญา (เปียทิพย์), พรรัชนี (มยุรฉัตร) และอรอนงค์ (ทัศน์วรรณ)

 

4. เหมือนเนติญาจะเป็นตัวละครที่ดูตื้นที่สุด แต่แรงที่สุด พอดูแล้วอยาก role play เป็นเธอในทุกฉากมาก ๆ เพราะเธอดู ICONIC มาก ๆ ทั้งเสื้อผ้าหน้าผม, ลีลาท่าทาง เธอแรงทุกฉาก ตั้งแต่ฉากเปิดตัวฉากแรกที่เธอเดินเข้ามาในบาร์ และฉากท้าย ๆ ที่เธอมาขอยาแก้ปวดหัว ด้วยชุดที่หนักมาก ๆ และด้วยลีลาการโพสท่าที่หนักมาก ๆ

 

เนติญาเป็นเศรษฐีนีม่ายที่สามีตาย และเธอเพิ่งออกจากโรงพยาบาลประสาท เธอหวงน้องชายมาก ๆ จนเหมือนเธอแอบมีความ incest อยู่ในใจ นพ (สรพงศ์) ซึ่งเป็นน้องชายของเธอก็เลยไม่กล้าคบกับผู้หญิงดี ๆ เพราะไม่มีผู้หญิงดี ๆ คนไหนรับมือกับเปียทิพย์ได้ นพก็เลยไปคบกับอรอนงค์ เพราะเขาคิดว่าอรอนงค์กร้านโลกพอที่จะรับมือกับเปียทิพย์ได้

 

เนติญาเป็นคนที่มีความต้องการทางเพศสูงมากด้วย พอเธอเจอกรุง ศรีวิไล เธอก็ขอให้เขาแก้ผ้าว่ายน้ำต่อหน้าเธอ และพยายามมี sex กับเขาทุกคืน และพอเธอเจอภิญโญ ทองเจือ ซึ่งเป็นสามีของพรรัชนี และเป็นคนพิการ เธอก็พูดว่า “สงสารพรรัชนีเนอะ สงสัยคงได้ (มี sex กับผัว) แค่ปีละครั้ง” แต่พอพรรัชนีไม่อยู่บ้าน เธอก็รีบคว้าโอกาสนี้ในการไปมี sex กับภิญโญ ทองเจือในทันที

 

5. อรอนงค์ก็เป็นตัวละครที่เราชอบสุดๆ เราว่าทัศน์วรรณดูสวยมาก ๆ ด้วยแหละในบทนี้ เธอดูเหมือนนักร้องเพลงแนว psychedelic ในยุคนั้น เธอเป็นสาวกร้านโลก ไม่ยอมหงอหรืออ่อนข้อให้เนติญาแม้แต่นิดเดียว

 

เราชอบที่หนังเหมือนให้เราคอยสังเกตพฤติกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ของอรอนงค์ที่ดูเป็นคนใจร้อน ตั้งแต่ฉากที่เธอด่ากับเนติญาจนเธอลืมรองเท้า และฉากที่เธอลืมถุงใส่เสื้อผ้าไว้ในร้านอาหาร และนั่นก็อาจจะอธิบายได้ดีถึงการตัดสินใจแบบหุนหันพลันแล่นของอรอนงค์ในเหตุการณ์ต่อ ๆ มา ทั้งการที่เธอตัดสัมพันธ์กับนพอย่างฉับพลัน และหันไปเอาผัวฝรั่ง แต่พอเธอเจออรอนงค์มาเป่าหู เธอก็ตัดสินใจทิ้งผัวฝรั่งในทันที

 

เราว่าหนังสร้างตัวละครนี้มาในแบบที่เข้าทางเราอย่างสุด ๆ ด้วยแหละ คือในขณะที่ตัวละครอย่างเนติญาดูเป็น “นางอิจฉา/นางร้าย/ดาวยั่ว” อย่างเต็มที่ ตัวละครของอรอนงค์กลับดูไม่ออกว่าเป็นนางเอกหรือนางอิจฉาหรือนางอะไร คือเธอดูเป็นมนุษย์มาก ๆ มีผิดชอบชั่วดี มีข้อบกพร่องของตนเอง คือเหมือนเธอดูเป็นมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่ง มากกว่าตัวละคร “นางเอก” ในหนังหลาย ๆ เรื่องที่จะถูกกรอบของความเป็นนางเอกแบบพิมพ์นิยมไปกดทับไว้

 

6. พรรัชนีนี่ก็ถือเป็นตัวละครที่เราชอบเพราะสาเหตุข้างต้นเหมือนกัน คือเธอดูเหมือนเป็นนางเอกของเรื่อง แต่เธอไม่ได้เป็นนางเอกเพราะเธอเป็นสาวสวยนิสัยดี แต่เป็นเพียงเพราะเธอมีบทเด่นที่สุดในหนังเท่านั้นเอง และเราก็รู้สึกว่าบทของเธอดูเป็น “มนุษย์” ที่มีความซับซ้อนน่าสนใจมาก ๆ โดยไม่ได้ถูกกรอบของความเป็น “นางเอก” แบบพิมพ์นิยมไปกดทับไว้เช่นกัน

 

พรรัชนีเป็นนักแต่งนิยายที่ได้แต่งงานกับภิญโญ ทองเจือ แต่พอเขาประสบอุบัติเหตุจนกลายเป็นคนพิการ เธอก็ต้องมาอยู่พัทยาเพื่อดูแลเขา เธอรู้สึกว่าตนเองขาดประสบการณ์ชีวิต และก็เลยคิดว่าจะเอาเรื่องคนต่าง ๆ รอบตัวมาแต่งเป็นนิยาย

 

เราชอบมากที่หนังไม่แสดงออกตรง ๆ ว่าเธอเก็บกดทางเพศเพราะมีผัวพิการหรือเปล่า แต่เราเดาว่าเธอเก็บกด และเราหมั่นไส้ความพยายามจะทำตัวเรียบร้อยของเธอ เพราะในฉากแรกนั้น เธอปรากฏตัวมาในมาดผู้ดี แต่พอเพื่อนสาวของเธอที่มีนิสัยโผงผางเดินเข้ามา เธอก็พูดว่า “อีแร่ดมาแล้ว”

 

เราว่าหนังสร้างความ contrast ระหว่างเธอกับเพื่อนสนิทคนนี้ได้ดีด้วยแหละ คือเพื่อนสนิทของเธอคนนี้ดูเป็นคนไม่เก็บกด มีอะไรก็แสดงออกมาตรง ๆ ในขณะที่พรรัชนีดูเป็นคนแบบน้ำนิ่งไหลลึก

 

ฉากที่เราชอบสุด ๆ ก็คือฉากที่นพพยายามจะจีบเธอ แล้วเธอทำหน้าทำตา ทำลีลาท่าทางอะไรสักอย่างตรงขั้นบันได แล้วพูดกับนพว่า “อย่าแหย่เสือหลับสิคะ” เราว่ามยุรฉัตรแสดงฉากนี้ได้ดีสุด ๆ คือในขณะที่การแสดงของเปียทิพย์ในหนังเรื่องนี้เป็นแบบ “มากเต็มที่” ลีลาการแสดงของมยุรฉัตรในหนังเรื่องนี้ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นแบบ “น้อยแต่มาก”

 

และเราชอบความซับซ้อนของพรรัชนีมาก ๆ เพราะในที่สุดเธอก็เหมือนจะยอมรับว่า เธออยากได้นพ แต่แทนที่เธอจะทำตามต้องการทางเพศของตัวเอง เธอกลับบอกว่าเธอไม่อยากทำบาป และพยายามไปเกลี้ยกล่อมอรอนงค์ให้ไปคืนดีกับนพซะ

 

คือเราว่าการตัดสินใจของพรรัชนีตรงนี้เป็นอะไรที่เราชอบสุด ๆ และเราชอบที่หนังไม่ได้บอกว่า สิ่งที่พรรัชนีทำ (ฉัน want ผู้ชาย แต่ฉันไม่อยากนอกใจผัวพิการ ฉันก็เลยพยายามให้ผู้ชายคนนั้นกลับไปคืนดีกับแฟนเก่า) มันเป็นการกระทำของนางเอกแบบแม่พระ ผู้มีหิริโอตตัปปะ เกรงกลัวต่อบาป หรือเป็นการตัดสินใจของ “คนโรคประสาท” 55555

 

7. รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้สามารถปะทะได้กับหนัง “ผู้หญิงแรง ๆ ปะทะกัน” ที่เราชอบสุด ๆ เรื่องอื่น ๆ ได้สบายเลยน่ะ ทั้ง WOMEN ON THE VERGE OF A NERVOUS BREAKDOWN (1988, Pedro Almodovar) และ MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg)

 

อยากฉายหนังเรื่องนี้ควบกับหนังที่เราชอบที่สุดของ Woody Allen ด้วย ซึ่งก็คือหนังเรื่อง SEPTEMBER (1987) เพราะเราชอบที่หนังทั้งสองเรื่องนี้นำเสนอสภาพจิตของตัวละครหญิงได้อย่างละเอียดอ่อนและงดงามมาก ๆ

 

8.ชอบเครื่องแต่งกายในหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ ชุดตัวละครหญิงแต่ละตัวนี่ดีงามมาก ๆ

 

9. ฉากที่ภิญโญ ทองเจือค่อย ๆ เดินมาในความมืด จาก background ของภาพ มาถึง foreground ของภาพ ดูแล้วนึกถึง INDIA SONG (1975, Marguerite Duras) 55555

 

10. ตอนดูหนังเรื่องนี้รอบแรกในปี 1998 เราจำได้แต่ว่าเปี๊ยก โปสเตอร์กำกับ เราก็เลยแอบแปลกใจว่าทำไมคุณเปี๊ยกทำหนังที่ดูมีความ feminine และมีลีลาการโพสท่าแบบกะเทยสูงมากแบบนี้ ได้รับอิทธิพลมาจาก Ingmar Bergman หรืออย่างไร

 

แต่พอมาดูรอบนี้ แล้วได้ทราบว่าจริง ๆ แล้วหนังเรื่องนี้มีคุณเริงศิริ ลิมอักษรร่วมกำกับด้วย ทุกองค์ประกอบแห่งความเป็นกะหรี่และทุกอณูแห่งความเป็นกะเทยในหนังเรื่องนี้ ก็เลยกระจ่างว่ามันน่าจะมีที่มาอย่างไร 55555

 

ลีลาการโพสท่าของเปียทิพย์ในบางฉากนี่ มันคือลีลาเดียวกับที่ใหม่ เจริญปุระแสดงใน “คนเริงเมือง (1988, เริงศิริ ลิมอักษร) เลยนะ

Monday, May 30, 2022

“TOP GUN”, MY LIFE AND HOW “TOP GUN” PLAYED AN IMPORTANT PART IN MY LIFE AS A CINEPHILE

 

“TOP GUN”, MY LIFE AND HOW “TOP GUN” PLAYED AN IMPORTANT PART IN MY LIFE AS A CINEPHILE

 

เป็นเรื่องที่เราเคยเขียนไปแล้ว แต่พอ TOP GUN: MAVERICK (2022, Joseph Kosinski, A+30) เข้าโรงฉายในตอนนี้ เราก็เลยขอจดบันทึกอัตชีวประวัติของตัวเองอีกครั้งก็แล้วกัน เพราะ TOP GUN (1986, Tony Scott) นี่ถือเป็นหนึ่งในภาพยนตร์ที่มีบทบาทมากที่สุดเรื่องหนึ่งต่อชีวิตของเรา ถึงแม้เราอาจจะไม่ได้ชอบหนังเรื่องนี้แบบสุดขีดก็ตาม

 

คือ TOP GUN ถือเป็น “วิดีโอ” ม้วนแรกที่เราซื้อในชีวิตน่ะ ตอนนั้นเรามีอายุราว 13 ปี และเราก็ได้เห็นรูป Tom Cruise ที่ใช้ในการโปรโมท TOP GUN ตามสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะตามโปสเตอร์ขนาดใหญ่ที่วางขายข้างถนน เราก็เลยรู้สึกตกหลุมรักเขาอย่างรุนแรง รู้สึกว่าเขาหล่อที่สุด ตรงสเปคเราที่สุด นี่แหละผู้ชายในฝันของเรา ถ้าหากเราจินตนาการถึงผัวของเรา เราก็อยากได้ผัวรูปร่างหน้าตาแบบ Tom Cruise ใน TOP GUN มาก ๆ เรียกได้ว่า Tom Cruise ได้กลายเป็น “ผัวทิพย์” ของเราตอนที่เราอายุราว 13 ปี

 

คือก่อนหน้านั้นเราคงเคยเห็นเขาผ่าน ๆ ตาจากรูปจากหนังเรื่อง THE OUTSIDERS (1983, Francis Ford Coppola) ในนิตยสารทีวีรีวิว แต่ตอนนั้นเขายังไม่โดดเด่นเลย ถูก Matt Dillon, Rob Lowe, Ralph Macchio อะไรพวกนี้กลบรัศมีหมด และหลังจากนั้นเราก็คงเคยเห็นเขาในโฆษณาหนังเรื่อง RISKY BUSINESS (1983, Paul Brickman) แต่เขาก็ยังไม่ตรงสเปคเรา เพราะเขาดูเป็นหนุ่มวัยรุ่นกะล่อน ๆ ในเรื่องนั้น เราจำได้ว่าในช่วงปี 1983-1984 เรากำลังคลั่งไคล้อธิป ทองจินดา, อำพล ลำพูน, Jon-Erik Hexum จากละครทีวีชุด VOYAGERS! และ Tim Matheson จากละครโทรทัศน์ชุด TUCKER’S WITCH อย่างรุนแรง แต่ยังไม่เห็น Tom Cruise อยู่ในสายตาแต่อย่างใด

 

แต่พอเราได้เห็น Tom Cruise ในภาพนิ่งต่าง ๆ จากหนังเรื่อง TOP GUN เราก็ตกหลุมรักเขาอย่างถอนตัวไม่ขึ้น แต่หนังเรื่อง TOP GUN มันออกจากโรงฉายในไทยไปแล้วในตอนนั้น แล้วเราจะทำอย่างไรล่ะ เราก็เลยทำได้แค่ซื้อโปสเตอร์ภาพของ Tom Cruise จากหนังเรื่องนี้เก็บไว้, ซื้อภาพถ่ายเล็ก ๆ ของเขาจากร้าน “โลกใบเล็ก” ที่มาบุญครองมาใส่กระเป๋าสตางค์ และซื้อเทป SOUNDTRACK ของ TOP GUN เก็บไว้ ซึ่งน่าจะเป็นเทป SOUNDTRACK ม้วนแรกที่เราซื้อในชีวิต เราชอบเพลง MIGHTY WINGS ของ Cheap Trick มากที่สุดในอัลบั้มชุดนี้

 

หลังจากนั้นเราก็พบว่าร้านแมงป่องที่มาบุญครอง มีวิดีโอ TOP GUN ขายในราคาม้วนละ 200 บาท แต่เราไม่สามารถขอเงินแม่มาซื้อของแบบนี้ได้แน่นอน เราก็เลยอดอาหารกลางวัน 10 วันในช่วงปิดเทอมฤดูร้อน เพื่อเก็บเงินวันละ 20 บาท จนได้ครบ 200 บาทเพื่อมาซื้อวิดีโอตอบสนองความเงี่ยนผู้ชายของเรา

 

คือในช่วงปิดเทอมฤดูร้อน แม่เราจะให้เงินเราซื้อข้าวกลางวันวันละ 20 บาทน่ะ ซึ่งปกติเราก็จะซื้อ “ข้าวผัดใส่ไข่” ในซอยกิน ซึ่งข้าวผัดใส่ไข่ หรือราดหน้าหมี่กรอบ หรืออาหารจานเดียวในซอยเราตอนนั้นคิดราคาแค่ห่อละ 8 บาทเองมั้ง แม่เราก็เลยให้เงินเราวันละ 20 บาทเพื่อไว้ซื้อข้าวกลางวันกินเองในตอนนั้น แต่เราไม่กินจ้ะ เรารักผู้ชาย เรา want ผู้ชาย เราอยากได้ Tom Cruise เป็นผัว ให้เราอดข้าวกลางวัน 10 วันนี่เราทำได้เพื่อผัวในจินตนาการของเรา เราก็เลยอดข้าวกลางวัน 10 วันจนเก็บเงินได้ครบ 200 บาทแล้วก็ไปซื้อวิดีโอ TOP GUN มาจากร้านแมงป่อง

 

ประสบการณ์ครั้งนั้นให้คติสอนใจแก่เราว่า “ความเงี่ยนผู้ชายอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น” จริง ๆ ค่ะ

 

ซึ่งพอเราได้ดู TOP GUN จริง ๆ แล้วก็ดูหนังรู้เรื่องแค่ประมาณ 60% เองมั้ง เพราะวิดีโอเทปที่เราซื้อมานี้มันพูดอังกฤษ, ไม่มีซับไตเติลใด ๆ ทั้งสิ้น แล้วตอนนั้นเราอายุแค่ 14 ปี (ตอนที่ซื้อวิดีโอเทป) จะให้ฟังภาษาอังกฤษออกเองมันก็เกินความสามารถไป แล้วยิ่งหนังมันเป็นหนังเกี่ยวกับการขับเครื่องบินรบ ซึ่งเราไม่มีพื้นความรู้ด้วย เพราะฉะนั้นปมขัดแย้งอะไรต่าง ๆ ในหนัง หรือฉากแอคชั่นอะไรต่าง ๆ นี่เราดูไม่รู้เรื่องเลย 55555 แต่นั่นไม่ใช่จุดประสงค์ของเราในการซื้อวิดีโอเทปม้วนนี้อยู่แล้ว เพราะเราแค่อยากดู Tom Cruise หล่อ ๆ และในหนังก็มีหนุ่มหล่ออีกหลายคนด้วย โดยเฉพาะในฉาก Volleyball ที่เราขอยกให้เป็นหนึ่งใน one of my most favorite scenes of all time ไปเลย

 

เพราะฉะนั้นเราก็เลยบอกยากว่าเราชอบ TOP GUN ภาคแรกมากขนาดไหน เพราะเราดูไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่ก็ชอบบรรยากาศท้องฟ้าเวิ้งว้าง, ชอบเพลงประกอบ, ชอบดนตรีประกอบ, ชอบบุคลิกของนางเอกมาก ๆ เพราะเธอไม่ใช่สาวอ่อนแอ, ชอบ Meg Ryan และชอบมวลพลังความหล่อของผู้ชายในเรื่อง

 

จำได้ว่าพอครบ 1-2 ปีที่ TOP GUN ออกฉายครั้งแรก หนังเรื่องนี้ก็วนกลับมาเข้าโรงในไทยอีกเป็นรอบที่สองด้วย ที่โรงพาต้าปิ่นเกล้า แต่เหมือนถ้าหากเราอยากดูหนังเรื่องนี้ เราไม่สามารถแอบไปดูได้น่ะ เพราะรอบฉายมันเย็นเกินไปหรืออะไรสักอย่าง  คือในยุคนั้นเราแอบไปดูหนังโรงหลายเรื่องโดยไม่บอกทางบ้าน เพราะทางบ้านเราไม่สนับสนุนให้เราออกไปดูหนังโรง แต่พอเราแอบไปดูหนังโรงเสร็จแล้วเราก็ต้องรีบกลับบ้าน เพื่อไม่ให้ทางบ้านผิดสังเกต แต่เหมือนรอบฉายของ TOP GUN  ตอนที่มันเข้าโรงในไทยครั้งที่สองมันไม่เอื้ออำนวยให้เราแอบหนีออกจากบ้านไปดูได้น่ะ เราก็เลยจำเป็นต้องขอทางบ้านตรง ๆ แต่ทางบ้านของเราก็ไม่อนุญาต เราก็เลยอดดู TOP GUN ภาคแรกในโรงมาจนถึงปัจจุบันนี้

 

ความคลั่งไคล้ Tom Cruise ของเรามันส่งผลในทางอ้อมให้เรากลายเป็น cinephile มาจนถึงบัดนี้ด้วย เพราะนอกจาก TOP GUN จะเป็นวิดีโอเทปม้วนแรกที่เราซื้อแล้ว ความคลั่งไคล้ Tom Cruise อย่างรุนแรงของเรา ก็ส่งผลให้เราตัดสินใจออกไปดูหนังโรงด้วยตัวคนเดียวเป็นครั้งแรกด้วย และหนังเรื่องนั้นก็คือ THE COLOR OF MONEY (1986, Martin Scorsese) ที่โรงฮอลลีวู้ด

 

คือตอนนั้นพอเราตกหลุมรัก Tom Cruise จาก TOP GUN แต่เราพลาดดูหนังเรื่องนี้ในโรงไปแล้ว เราก็พบว่ามีหนังเรื่อง THE COLOR OF MONEY เข้าฉายในไทยในเวลาต่อมา เราก็เลยตัดสินใจออกไปดูหนังเรื่องนี้ด้วยตัวคนเดียวเลย ตอนนั้นเราน่าจะมีอายุราว 14 ปีมั้ง

 

คือก่อนหน้านั้นเราไม่เคยดูหนังโรงคนเดียวมาก่อนนะ หนังโรงเรื่องแรกที่เราได้ดูในชีวิต ก็คือหนังเรื่อง ROCK ‘N ROLL WOLF หรือ MA-MA (1976, Elisabeta Bostan, Romania) ที่เข้าฉายในไทยโดยใช้ชื่อว่า “วิมานเนรมิต” เราน่าจะได้ดูหนังเรื่องนี้ตอนอายุแค่ไม่กี่ขวบ โดยครอบครัวพาไปดู แต่หลังจากนั้นเราก็เหมือนได้ดูหนังโรงอีกแค่ไม่กี่เรื่อง ซึ่งได้แก่เรื่อง “นางพญาหอยขาว” (DEADLY SNELLS VS. KUNG FU KILLERS) (1977) ที่ครอบครัวพาไปดู, GANDHI (1982, Richard Attenborough) ที่ครอบครัวพาไปดู, FLASHDANCE (1983, Adrian Lyne) ที่เราไปดูกับพี่สาวและเพื่อนพี่สาว, มหาราชดำ (1981, ทรนง ศรีเชื้อ) ที่ทางโรงเรียนพาไปดู และ “น้ำพุ” ที่ทางโรงเรียนพาไปดู

 

คือตอนเด็ก ๆ เหมือนเราได้ดูหนังโรงแค่ 6 เรื่องนี้เองมั้ง เพราะครอบครัวของเราไม่สนับสนุนการดูหนังน่ะ เพราะฉะนั้น E.T., STAR WARS อะไรพวกนี้นี่เราไม่เคยได้ดูในโรงเลย

 

แต่พอเราตกหลุมรัก Tom Cruise จากภาพนิ่งต่าง ๆ จากหนังเรื่อง TOP GUN แล้ว เราก็เลยบอกตัวเองว่า ฉันจะต้องออกไปดู THE COLOR OF MONEY ให้ได้ ไม่มีอะไรจะสามารถยับยั้งเราจากความเงี่ยน Tom Cruise ได้ “NOTHING GONNA STOP ME NOW” และเราก็เลยทำตามนั้น ออกจากบ้านเพื่อไปดูหนังเรื่องนี้คนเดียวตอนที่เราอายุ 14 ปี

 

และเราก็มีความสุขมาก ๆ การไปดูหนังคนเดียวนี่มันช่างดีจริง ๆ ตัวหนัง THE COLOR OF MONEY ก็ดีสุด ๆ เราก็เลยออกไปดู THE COLOR OF MONEY รอบสอง และออกไปดูหนังโรงคนเดียวเป็นประจำตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

เพราะฉะนั้นมันก็เลยเหมือนกับว่า TOP GUN มันส่งผลในทางอ้อมให้เรากลายเป็น cinephile เพราะ TOP GUN มันนำเสนอภาพลักษณ์ของ Tom Cruise ในแบบที่หล่อตรงสเปคเรามาก ๆ (มากกว่าหนังเรื่องก่อน ๆ หน้านั้นของ Tom Cruise) เราก็เลยเงี่ยน Tom Cruise มาก ๆ และเราก็ระบายความเงี่ยนของเราด้วยการเก็บเงินซื้อวิดีโอม้วนแรก และตัดสินใจออกไปดูหนังเรื่อง THE COLOR OF MONEY ด้วยตัวคนเดียวตอนเราอายุ 14 ปี และเราก็ติดใจการออกไปดูหนังโรงคนเดียวตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

แต่มันก็แค่ส่งผลใน “ทางอ้อม” ให้กับการเป็น cinephile ของเรานะ เพราะถึงแม้เราจะชอบออกไปดูหนังโรงคนเดียวตั้งแต่ต้นปี 1987 เป็นต้นมา แต่เราก็ยังไม่ได้หลงใหลการดูหนังอย่างรุนแรงในตอนนั้นน่ะ คือเหมือนการดูหนังเป็นอะไรที่เราชอบมากในตอนนั้น ตอนที่เราเป็นเด็กมัธยม แต่เราไม่ได้คลั่งไคล้ใหลหลงมันอย่างรุนแรง เพราะตอนนั้นเราคลั่งไคล้การอ่านนิยายมากกว่า โดยเฉพาะนิยายของทมยันตี, ตรี อภิรุม, จินตวีร์ วิวัธน์, ม. มธุการี, แก้วเก้า, Sidney Sheldon, Stephen Kings, Dean Koontz, etc. เราก็เลยอยากเป็นนักแต่งนิยายในตอนนั้น

 

หนังที่ส่งผลใน “ทางตรง” ให้กับเราในการกลายเป็น cinephile ก็คือหนังเรื่อง CLASS ENEMY (1983, Peter Stein, West Germany) ที่เราได้ดูที่สถาบันเกอเธ่ซอยสาทร 1 ในปี 1995 นี่แหละ เพราะพอเราได้ดู CLASS ENEMY ในปี 1995 มันก็เหมือนทำให้เราได้ตระหนักว่า โลกแห่งภาพยนตร์นี่มันไม่ได้มีแค่หนังฮอลลีวู้ดเท่านั้น แต่มันมีหนังแปลก ๆ ที่ช่างน่าหลงใหล มีอะไรที่ทรงพลังรุนแรงและเหมาะกับเรารอให้เราค้นพบอยู่ เราก็เลยเริ่มหลงใหลการดูหนังอย่างหัวปักหัวปำตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา

 

ในส่วนของ Tom Cruise นั้น เราคลั่งไคล้เขาอยู่แค่ไม่กี่ปีได้มั้ง 5555 โดยในตอนแรกนั้น นอกจากเราจะรู้สึกว่าเขาหล่อสุด ๆ แล้ว เรายังชอบมาก ๆ ที่เขาแต่งงานกับ Mimi Rogers ที่อายุแก่กว่าเขา 6 ปีด้วย

 

แต่ Tom Cruise ก็เริ่มตกกระป๋องไป เมื่อเราได้เห็น Hiroshi Abe ในนิตยสาร “ทีวีรีวิว” ตอนที่เขาเริ่มโด่งดังจากภาพยนตร์เรื่อง HAIKARA-SAN GA TORU (1987, Masamichi Sato) ที่เขานำแสดงคู่กับ Yoko Minamino และหนังเรื่องนี้สร้างมาจากหนังสือการ์ตูนของ Yamato Waki และหลังจากนั้น เราก็รับ Hiroshi Abe เข้ามาครองตำแหน่ง “ผัวทิพย์” ของเราแทนที่ Tom Cruise

 

แต่ก็ดีใจนะ ที่ผัวทิพย์ทั้งสองคนของเราจากปี 1986-1988 ยังคงมีหนังดี ๆ ให้เล่นอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ แน่นอนว่าตอนนี้เรารัก Hiroshi Abe มากกว่า Tom Cruise มากมายหลายเท่าค่ะ

 

พอเราได้ดู TOP GUN: MAVERICK ในโรง เราก็อยากร้องไห้นะ ไม่ใช่เพราะหนังมันซาบซึ้งกินใจ แต่เป็นเพราะมันทำให้เรานึกถึงอดีตเมื่อ 35-36 ปีก่อน ตอนที่เราอดข้าวกลางวัน 10 วัน, ตอนที่เราเริ่มออกไปดูหนังโรงด้วยตัวคนเดียวครั้งแรก ๆ , ตอนที่เรายังคง “ไร้เดียงสา”, มองโลกอย่างโง่ ๆ, ตอนที่เราหวาดกลัวคอมมิวนิสต์และสหภาพโซเวียตอย่างรุนแรง, ตอนที่เรายังคงมองอเมริกาในแง่ชื่นชมมาก ๆ ในยุคสงครามเย็น, ตอนที่เรายังคงมีความหวังและความฝันมากมายในชีวิต ตอนที่เราอายุ 13-14 ปี ตอนที่เราคาดว่าชีวิตอาจจะดีขึ้นได้ในวันข้างหน้า ตอนที่เราคิดว่าชีวิตเราในอนาคตอาจจะมีความสุข ตอนที่เรายังไม่รู้หรอกว่า ชีวิตที่รอเราอยู่ในอนาคตมันจะโหดร้ายกับเราได้ถึงเพียงนี้ เหมือนการได้ดูหนังภาคสองที่ห่างจากภาคแรกนานถึง 36 ปีแบบนี้ มันทำให้เราได้หวนคิดถึงความ INNOCENCE บางอย่างของเราเมื่อ 36 ปีก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่เราได้สูญเสียมันไปแล้วตลอดกาล

 

 

Tuesday, May 24, 2022

MENTAL-VERSE AND MY LIFE

 

UPDATE ข้อมูลในโพสท์นี้ เกี่ยวกับหนังที่มีอะไรพ้องกันอย่างน่าประหลาดใจ และออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยคราวนี้เราเพิ่มรายชื่อหนังใหม่เข้าไปอีก 3 คู่ คู่แรกเป็นคู่หนังฮ่องกงที่คุณ Rock Leenut เคยแนะนำมา ส่วนคู่ที่สองคือ  SHOCK WAVE 2 (2020, Herman Yau, Hong Kong) กับ DETECTIVE CONAN: THE SCARLET BULLET (2021, Tomoka Nagaoka, Japan, animation) เพราะหนังสองเรื่องนี้พูดถึงการก่อวินาศกรรมโดยใช้รถไฟเป็นอาวุธเหมือนกัน โดยที่ผู้ร้ายกระทำไปเพราะความแค้นที่มีต่อความอยุติธรรมที่ไม่ได้รับจากองค์การตำรวจเหมือนกัน และคู่ที่สามคือ DOCTOR STRANGE IN THE MULTIVERSE OF MADNESS (2022, Sam Raimi) กับEVERYTHING EVERYWHERE ALL AT ONCE (2022, Dan Kwan, Daniel Scheinert) เพราะหนังสองเรื่องนี้พูดถึง multiverse เหมือนกัน, ต้นตอของปัญหาก็เกิดจาก “ความเป็นแม่” เหมือนกัน และตัวละครในทั้งสองเรื่องก็มี “ตาที่สาม” ในบางช่วงของหนังด้วย 55555

 -------------------

MENTAL-VERSE จักรวาลใจ (2022, Wattanapume Laisuwanchai, video installation, A+30)

 

สรุปว่าไม่ได้เขียนเกี่ยวกับหนัง แต่เขียนเกี่ยวกับชีวิตตัวเอง และเขียนคุยกับตัวเองถึงเรื่องบ้าบอต่าง ๆ ไปเรื่อย ๆ 55555

 

1.ชอบความสั่นไหวของจอฉายภาพมาก ๆ เราเขียนถึงประเด็นนี้ไปแล้วที่นี่

 

https://web.facebook.com/jit.phokaew/posts/pfbid051naMCmc292xyvg3gu1eR434JAJaDxyAQggxzUp6FfLpYw6DbR8tGmaVtEtgkjTal

 

2.ชอบหนังอย่างสุด ๆ รู้สึกเหมือนได้กำลังใจในการมีชีวิตอยู่อย่างรุนแรงมาก ๆ เพราะถ้าหากเราต้องเจอประสบการณ์ชีวิตแบบ subjects ทั้ง 3 คนในหนังเรื่องนี้ เราอาจจะฆ่าตัวตายไปนานแล้วก็ได้

 

คือเหมือนประสบการณ์ของทั้ง 3 คนในหนังเรื่องนี้ มันมีบางส่วนที่ relate กับเราน่ะ แต่เราไม่อยากเล่าเรื่องบางเรื่องในชีวิตส่วนตัวของเรา เราก็เลยไม่ขอเล่าก็แล้วกันนะ แต่บอกได้เลยว่า หนังเรื่องนี้มันทำให้นึกถึงชีวิตของตัวเราเองมาก ๆ

 

เราเองก็เคยคิดฆ่าตัวตายบ่อย ๆ ในวัยเด็ก แต่เราก็ไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้านะ พอมาดูหนังเรื่องนี้แล้วก็เลยสงสัยว่า หรือเป็นเพราะสิ่งที่เราเคยเจอในวัยเด็ก มันไม่ได้หนักหนาสาหัสแบบพวกเขา เราก็เลยรอดจากโรคซึมเศร้าหรือโรคทางจิตที่รุนแรงต่าง ๆ มาได้ (จริง ๆ เราก็คิดว่าเราก็อาจจะเป็นโรคจิตนะ แบบโรคอยากมีลูกเป็นตุ๊กตาหมี แต่มันคงไม่ได้ถือเป็นโรคจิตแบบรุนแรงมั้ง 555)

 

อีกปัจจัยหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า ตอนเป็นวัยรุ่นเรามี “กลุ่มเพื่อน” ด้วยมั้ง คือเหมือนพอเรามีกลุ่มเพื่อน มันก็เลยเหมือนมี OASIS กลางทะเลทรายที่ทำให้ความรู้สึกอยากฆ่าตัวตายลดลง คือถ้าหากเราไม่มีกลุ่มเพื่อน เราก็คงรู้สึกว่าตัวเองเดินอยู่กลางทะเลทรายที่ไม่มีแหล่งพักพิงใด ๆ เลย และเราคงจะฆ่าตัวตายไปนานแล้ว แต่พอเรามีกลุ่มเพื่อนที่อาจจะนัดเจอกันสัปดาห์ละครั้ง มันก็เลยทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า เราเดินอยู่กลางทะเลทรายที่มี oasis เล็ก ๆ รออยู่ทุก ๆ 100 กิโลเมตร และพอเรารู้ว่ามันมี oasis รออยู่ทุก ๆ 100 กิโลเมตร เราก็เลยมีกำลังใจเดินข้ามทะเลทรายไปเรื่อย ๆ เรื่อย ๆ ได้ในตอนนั้น

 

แต่เราเข้าใจว่า subjects ในสองเรื่องแรกของ MENTAL-VERSE อาจจะไม่ได้มีที่พักพิงทางใจแบบเราในช่วงวัยรุ่นก็ได้มั้ง ชีวิตของพวกเขาก็เลยหนักกว่าเรามาก ๆ ในหลายๆ ด้าน คือขนาดเรามีกลุ่มเพื่อน เรายังเคยคิดฆ่าตัวตายหลายครั้งหลายหน แล้วถ้าหากชีวิตของเราต้องเจอแบบ subjects ในหนังเรื่องนี้ เราอาจจะไม่มีชีวิตรอดก็ได้

 

บางทีเราก็คิดว่า อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เรารอดชีวิตมาได้ อาจจะเป็นเพราะพ่อเราตายด้วยอุบัติเหตุตั้งแต่เราอายุ 3 ขวบด้วยแหละมั้ง เราก็เลยไม่รู้หรอกว่าพ่อเราเป็นคนยังไง แต่ถ้าหากเรามีพ่อที่เป็นเผด็จการ กดขี่ลูก ๆ เลี้ยงดูลูกด้วยความเข้มงวด และมีปัญหากับความเป็นเกย์ของเรา เราก็คงมีแรงกดดันเพิ่มขึ้นมาในชีวิตอีกมากมายหลายเท่า และเราอาจจะฆ่าตัวตายไปนานแล้วก็ได้ หรือถ้าหากพ่อเราเป็นคนใจดี ชีวิตเราอาจจะดีกว่านี้ก็ได้ เราก็ตอบไม่ได้เหมือนกัน (มันไม่มี multiverse ให้เราไปแอบดูว่า ในอีกจักรวาลนึง ถ้าหากพ่อเรายังคงมีชีวิตอยู่ เราคงฆ่าตัวตายไปแล้วตั้งแต่เด็ก หรือชีวิตเราอาจจะดีกว่านี้)

 

3.เสียดายที่เราพลาด ไม่ทันได้ดูช่วงต้น ๆ ในพาร์ทแรกของคุณมินนี่ เพราะอี google map พาเราหลงทางไปนานมาก เราเดินวน ๆ อยู่ในซอยหาร้านไม่เจอตั้งครึ่งชั่วโมง ก็เลยส่งผลให้เราไม่ได้ดูช่วงแรก ๆ ของหนัง และตอนที่เราเข้าไปนั่งดูหนังในช่วงแรก ๆ เราก็ยังไม่มีสมาธิด้วย เพราะมัวแต่โกรธอี google map อยู่

 

คือเหมือน YELLOW LANE ตั้งอยู่ที่เลขที่ 92/2 แต่ถ้าหากเรากดขอทราบเส้นทางจาก google maps มันจะพาเราไปยังเลขที่ 92 น่ะ ซึ่งอยู่ห่างจาก YELLOW LANE ราว ๆ 300 เมตร กูก็โง่หลงเชื่ออี google map ก็เลยเดินวนๆ หาไม่เจออยู่ในซอยราวครึ่งชั่วโมง

 

4.ปัญหาเรื่องครอบครัวของคุณมินนี่มีส่วนที่ทำให้นึกถึงชีวิตตัวเองเหมือนกัน ชอบที่คุณมินนี่พยายามทำความเข้าใจและยอมรับความเป็นมนุษย์ที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่องของคนในครอบครัวตัวเองมาก ๆ เพราะเราก็พยายามคิดแบบนั้นเหมือนกัน

 

5.เรื่องของคุณฝันก็หนักมาก โดยเฉพาะเรื่องที่พ่อชอบปิดแอร์ แล้วคุณฝันไม่สามารถบอกความต้องการของตัวเองออกไปได้ คุณฝันทำได้แค่เปิดพัดลม แล้วก็พยายามนอนต่อไปท่ามกลางความร้อนระอุ

 

 คือเราไม่ได้เจอเหตุการณ์แบบเดียวกับคุณฝันนะ แต่เราเหมือนก็เคยมีประสบการณ์ที่สร้างความทุกข์ทรมานทางใจอย่างยิ่งยวดในแบบที่คล้ายคลึงกันมั้ง นึกถึงความเก็บกดบางอย่างในวัยเด็กที่เราเคยเจอ นึกถึงความรู้สึกในวัยเด็ก อยากมีสถานที่ที่เราสามารถร้องกรี๊ดๆ ๆ ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ๆๆ ออกไปให้สุดเสียงได้โดยไม่ต้องถูกจับตัวส่งโรงพยาบาลบ้า

 

นึกถึงตัวเองตอนเล่นวิดีโอนี้ในปี 1991 ด้วย มันเหมือนเป็นการได้ระบายบางอย่างที่เก็บกดไว้ออกมา
https://web.facebook.com/jit.phokaew/videos/10201256824966025/

 

6.ในส่วนของเรื่องที่ 3 นั้น พอ “แม่ณี” เล่าว่าเคยนั่งรถเมล์สาย 18 เพื่อจะไปฆ่าตัวตายที่สะพานแห่งนึง แต่จำไม่ได้แล้วว่าสะพานอะไร เราก็สงสัยขึ้นมาเลยว่า มันเป็นสะพานซังฮี้หรือสะพานพระราม 7 เพราะรถเมล์สาย 18 มันผ่านสองสะพานนี้

 

คือถ้าแม่ณีเคยคิดจะฆ่าตัวตายที่สะพานซังฮี้ มันก็จะตรงกับเราโดยบังเอิญ เพราะตอนเด็ก ๆ เราก็เคยคิดจะฆ่าตัวตายที่สะพานนี้เหมือนกัน เพราะมันอยู่ใกล้บ้านเราในวัยเด็ก เราจำได้ว่าในวัยเด็กบางครั้งเราก็เดินน้ำตาไหลอยู่ในซอยแถวนั้น กะจะเดินไปลงแม่น้ำเจ้าพระยาแถวสะพานซังฮี้ แต่ก็ไม่ได้ทำ

 

7.เรื่องของแม่ณีทำให้นึกถึงเรื่องของผู้หญิงบางคนที่เรารู้จักด้วย คนที่อยากทิ้งผัว แต่ก็ยอมกล้ำกลืนฝืนทนอยู่กับผัว รอจนลูก ๆ โตจนจบมหาลัยแล้วค่อยหย่ากับผัว แต่กว่าจะถึงเวลานั้น ทั้งชีวิตของผู้หญิงคนนั้นและลูก ๆ ต่างก็เต็มไปด้วยบาดแผลทางใจอย่างหนักหนาสาหัสมาก ๆ

 

บางทีนี่อาจจะเป็นสาเหตุนึงก็ได้มั้งที่ทำให้เราชอบหนังกลุ่ม “ผู้หญิงทิ้งผัว” อย่างสุด ๆ ทั้ง THE LEFT-HANDED WOMAN, SHIRLEY VALENTINE, FAST & FEEL LOVE (2022, Nawapol Thamrongrattanarit), etc. เพราะเราก็คงทำแบบนางเอกในหนังกลุ่มนี้เหมือนกัน ตัดไฟแต่ต้นลม คือเหมือนชีวิตของผู้หญิงคนอื่น ๆ มันเป็น “ตัวอย่าง” ให้เราได้เห็นแล้วว่า ถ้าหากเราทนอยู่ต่อไป แล้วจะเกิดอะไรขึ้น และเมื่อเราได้เห็นตัวอย่างจากชีวิตของคนอื่น ๆ แล้ว เราก็จะตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่า สิ่งที่เราต้องการจริง ๆ จากชีวิตคืออะไร

 

แต่เราไม่ได้คิดว่าคนที่ตัดสินใจทนอยู่กับผัวทำอะไรผิดนะ เพราะความสุขของเขามันแตกต่างจากเรา ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ คนเรามันไม่เหมือนกัน ความสุขของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน ตัวละครนางเอกใน IT’S A FLICKERING LIFE (2021, Yoji Yamada, A+30) ยอมทนใช้ชีวิตอยู่กับผัวขี้เหล้า, ติดการพนัน, เป็นหนี้เป็นสิน เพราะตัวละครผู้หญิงคนนี้เขาคงรู้ดีแหละว่า สำหรับตัวเขาแล้ว การหย่ากับผัวไม่ได้ทำให้เขาเป็นสุขก็ได้ ซึ่งก็มีแต่ตัวเขาเองที่ตอบได้แหละว่า ความสุขของเขาคืออะไร เพราะฉะนั้นเขาจะตัดสินใจเลือกทางเดินชีวิตอะไร มันก็คงเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับตัวเขาที่สุดแล้ว เพียงแต่เรารู้ว่า ถ้าหากเป็นเรา ความสุขของเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับผัวแบบนั้น เราก็คงตัดสินใจแตกต่างจากเขา และเลือกเส้นทางชีวิตที่เหมาะสมกับความสุขของเราเอง

 

สิ่งที่เรายึดไว้เป็นหลักการสำหรับตัวเองก็คือว่า เราต้องจริงใจกับความรู้สึกของตัวเอง อย่าให้สังคมมาหลอกเราว่าทำแบบนู้นดี, ทำแบบนี้ดี เพราะความสุขของคนเรามันไม่เหมือนกัน สิ่งที่สังคมบอกมันอาจจะดีกับคนอื่นๆ หรือสร้างความสุขให้คนอื่น ๆ แต่ถ้าหากสิ่งที่สังคมบอกมันไม่ได้สร้างความสุขให้เรา เราก็ต้องจริงใจกับความสุขของตัวเองว่ามันไม่เหมือนกับคนอื่น ๆ หรือไม่เหมือนกับสิ่งที่สังคมต้องการหรือเรียกร้องจากเรา และเราก็จะทำในสิ่งที่ตัวเองมีความสุข โดยไม่ต้องไปแคร์ความเห็นของใครในแบบที่มากเกินไป

 

8.ฉากที่ประทับใจเราอย่างรุนแรงสุด ๆ ฉากนึงใน MENTAL-VERSE คือฉากที่คุณฝันเล่าถึงการจินตนาการเห็นภาพตัวเองโอบกอดตัวเองอยู่

 

มันทำให้นึกถึงตัวเราเองมาก ๆ ไอ้ “อ้อมกอดทิพย์” ที่ช่วยปลอบประโลมจิตใจนี่ เพราะเราก็ใช้ “อ้อมกอดทิพย์” แบบนี้ ในการช่วยปลอบประโลมจิตใจตัวเองมาตั้งแต่เด็กจนแก่เหมือนกัน แต่ในกรณีของเรามันไม่ได้เป็นจินตภาพว่าเป็นตัวเองโอบกอดตัวเอง โดยในกรณีของเรานั้น อ้อมกอดทิพย์มาใน 3 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่

 

8.1 ผัวทิพย์ ที่เราจินตนาการมาตั้งแต่เด็ก 55555 จินตนาการว่าสักวันนึงเราจะมีผัวหนุ่มหล่อ ที่เข้าใจความเจ็บปวดในจิตใจเรา เขาจะโอบกอดเราไว้อย่างอบอุ่น เราจะบอกเขาว่า my home is in your arms อะไรทำนองนี้ 55555 ส่วนหน้าตาของผัวทิพย์ในจินตนาการของเราก็จะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ แล้วแต่ว่าตอนนั้นเราคลั่งไคล้ใคร อย่างเช่นตอนป.6 เราคลั่งไคล้คุณครูหนุ่มคนนึง หน้าตาของผัวทิพย์ก็จะเป็นหน้าของคุณครูคนนั้น แล้วพอเราเข้าสู่วัยมัธยม เราก็คลั่งไคล้ Tom Cruise กับ Hiroshi Abe มาก ๆ หน้าตาของผัวทิพย์ที่มาโอบกอดเราในจินตนาการก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามนั้น แล้วก็เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ

 

8.2 ตุ๊กตาหมี คือพอเราหาผัวในชีวิตจริงไม่ได้สักที เราก็กอดตุ๊กตาหมีแล้วให้ตุ๊กตาหมีกอดเราแทนก็ได้ เพราะตุ๊กตาหมีก็เข้าใจความเจ็บปวดในจิตใจเราเหมือนกัน 55555

 

8.3 “ภาพยนตร์” คือภาพยนตร์บางเรื่องมันเหมือนเข้าใจความเจ็บปวดในใจเรา หรือมัน touch ส่วนลึกบางอย่างในใจเราน่ะ การได้ดูภาพยนตร์บางเรื่องที่ทำให้เรารู้สึกเช่นนั้นได้ มันก็เลยเหมือนได้รับ “อ้อมกอดอันอบอุ่น” จากใครสักคนเช่นกัน แต่ใครคนนั้นไม่ใช่หนุ่มหล่อในจินตนาการ, ไม่ใช่ตุ๊กตาหมี แต่เป็นภาพยนตร์บางเรื่องที่มันเหมือนช่วยโอบกอดเราไว้ ช่วยให้เราไม่รู้สึกเดียวดาย ช่วยให้เรารู้สึกว่าเหมือนมีอะไรสักอย่างที่เข้าใจความเจ็บปวดของเรา ถึงแม้ผู้สร้างหนังเรื่องนั้นไม่ได้ตั้งใจอะไรแบบนั้นเลยก็ตาม

 

แน่นอนว่าเมื่อใดก็ตามที่เราได้เจอภาพยนตร์แบบนี้ เราจะรู้สึกชอบหนังเรื่องนั้นอย่างรุนแรงสุดๆ และก็ไม่ได้คาดหวังว่าคนอื่น ๆ จะต้องชอบหนังเรื่องนั้นเหมือนกับเราแต่อย่างใด เพราะความเจ็บปวดในใจของแต่ละคน มันย่อมแตกต่างจากกันอย่างรุนแรงมาก ๆ อยู่แล้ว

 

หนังที่ดูเหมือน touch บางอย่างในใจเราได้อย่างรุนแรง ก็มีอย่างเช่น หนังเรื่อง MENTAL-VERSE นี่แหละ, WHAT SHE LIKES (2021, Shogo Kusano) ที่ลงโรงฉายอยู่ตอนนี้ ก็เข้าใจความเจ็บปวดในใจเรามาก ๆ, “บั้งไฟสไลเดอร์” (2022, Tayakee Promkomol) ก็ทำให้เรารู้สึกเหมือน “มีตัวตน” มาก ๆ และก็มีหนังเรื่องอื่น ๆ อีก อย่างเช่น TENDERNESS (2017, Gianni Amelio, Italy), MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg), TENDERNESS (2009, John Polson), MULHOLLAND DRIVE (2001, David Lynch), LOVELY RITA (2001, Jessica Hausner), BUNNY (2000, Mia Trachinger), VALERIE FLAKE (1999, John Putch), MISS FIRECRACKER (1989, Thomas Schlamme) , etc. ที่ทำให้เรารู้สึกเหมือนถูกโอบกอดจากหนัง

 

บางทีอ้อมกอดที่เราได้รับจากการดูภาพยนตร์เรื่องต่าง ๆ นี่แหละ ที่ช่วยประคับประคองชีวิตเราไว้ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ประคับประคองจิตใจเราไว้ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา การได้ดูหนังบางเรื่อง อย่างเช่น MAPS TO THE STARS มันเหมือนกับการที่ใครสักคนมาสัมผัสเราอย่างอ่อนโยน แล้วพูดกับเราว่า “I understand your pain.” แล้วโอบกอดเราไว้

 

ก็คงได้แต่ขอบคุณผู้สร้างหนังเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงผู้สร้าง MENTAL-VERSE ด้วย สำหรับอ้อมกอดทิพย์เหล่านี้

 

Sunday, May 22, 2022

MENTAL-VERSE

 

หนึ่งในสิ่งที่ชอบสุดๆ ที่ได้ดูใน MENTAL-VERSE จักรวาลใจ (2022, Wattanapume Laisuwanchai, video installation, A+30) ในวันนี้ คือจอภาพที่วูบไหวไปมาเล็กน้อย ซึ่งเราไม่รู้ว่าทางทีมงานจงใจหรือเปล่านะ แต่เหมือนจอภาพในงานนี้มันไม่ได้ถูกขึงตึงแบบจอภาพในโรงภาพยนตร์ หรือโรงหนังกลางแปลงน่ะ เรารู้สึกว่าจอภาพมันมีการวูบไหวไปมา ทำให้ในบาง moments ภาพมันเหมือนถูกฉายไปบนผ้าม่านที่พลิ้วไหวไปตามกระแสลมที่พัดผ่าน แต่เราก็ไม่แน่ใจว่ามันเกิดจากจอภาพไหว หรือภาพที่ฉายไปบนนั้นมันถูก designed ให้ดูเหมือนพลิ้วไหวในบางจุดอยู่แล้ว หรือสายตาเราไม่ดีเอง 55555

 

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าทำไมเราถึงรู้สึกว่าการพลิ้วไหวของภาพมันงดงามมาก ๆ บางทีการพลิ้วไหวของภาพมันอาจจะทำให้เรารู้สึกว่าภาพที่เราได้เห็นมันเป็น mental images มากขึ้น ไม่ได้เป็นเพียงแค่ digital images ที่แน่นอนตายตัว

 

จริง ๆ แล้วเราอยากให้จอภาพมันพลิ้วไหวอย่างรุนแรงแบบภาพในมิวสิควิดีโอ EVENING FALLS (1989) ของ Enya นะ คือเอาพัดลมมาตั้งให้จอภาพมันพลิ้วไหวไปมาตลอดเวลา แต่ไม่รู้ว่าผู้ชมคนอื่น ๆ จะชอบแบบเดียวกับเราหรือเปล่า 555
https://www.youtube.com/watch?v=MhMJ78-Szi8

Monday, May 16, 2022

HEMA MALINI

 

พูดถึงหนังอินเดียแล้วเราก็นึกถึงความทรงจำประหลาดในวัยเด็ก คือในช่วงยุคต้นทศวรรษ 1980 ซึ่งเป็นช่วงที่เรายังเรียนอยู่ชั้นประถมนั้น หนังอินเดียยังคงได้รับความนิยมมากในไทยอยู่ เหมือนมีหนังอินเดียเข้าฉายที่โรง “ควีนส์” หรืออะไรทำนองนี้เป็นประจำมั้ง ถ้าจำไม่ผิด แต่เราไม่เคยไปดูเลย เพราะตอนนั้นเรายังเด็กเกินไป ออกมาดูหนังโรงด้วยตัวคนเดียวไม่ได้

 

เราจำได้ว่าตอนนั้นเพื่อนประถมคนนึงชอบพูดประโยคว่า “เฮม่า มาลินี หัวใจเธอเท่ากาละมัง” “เฮม่า มาลินี หัวใจเธอเท่ากาละมัง” ซึ่งตอนนั้นเราก็นึกว่าเพื่อนของเราคงจำประโยคนี้มาจากสโลแกนโฆษณาหนังอินเดียเรื่องอะไรสักเรื่อง เราก็ไม่ได้คิดอะไร แต่รู้สึกว่าเป็นสโลแกนโฆษณาหนังที่เปรี้ยวมาก ๆ

 

แต่พอเราโตขึ้น เราก็เริ่มสงสัยว่า เอ๊ะ มันมีหนังอินเดียที่ใช้สโลแกนโฆษณาแบบนี้จริงๆ เหรอ หรือเพื่อนเราแต่งประโยคนี้ขึ้นมาเอง เราก็เลยจะถามว่า มันมีหนังอินเดียที่ใช้สโลแกนโฆษณาตอนเข้าฉายในไทยว่า “เฮม่า มาลินี หัวใจเธอเท่ากาละมัง” จริง ๆ หรือเปล่า แล้วมันคือโฆษณาหนังอินเดียเรื่องอะไร หรือว่าเพื่อนเราแต่งประโยคนี้ขึ้นมาด้วยตัวเอง 55555