Wednesday, September 29, 2021

GREETINGS FROM MYANMAR (2020, Andreas J. Riiser, Sunniva Sundby, Norway, 5min, A+30)

 

GREETINGS FROM MYANMAR (2020, Andreas J. Riiser, Sunniva Sundby, Norway, 5min, A+30)

 

1.ดูแล้วนึกถึง Michael Haneke โดยที่หนังคงไม่ได้ตั้งใจ เพราะหนังเรื่องนี้นำเสนอภาพฝรั่งผิวขาวที่พักผ่อนในโรงแรมแห่งหนึ่งในเมียนมาอย่างมีความสุข โดยหนังบอกว่าห่างจากโรงแรมนี้ไปเพียงไม่กี่กิโลเมตร ชาวโรฮิงญาจำนวนมากกำลังถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์อยู่

 

สาเหตุที่นึกถึง Michael Haneke เพราะหนังเหมือนนำเสนอตัวละครในหนังด้วยความเย็นชาน่ะ เหมือนหนังไม่ได้บอกให้เราเกลียดหรือสงสารใครตรง ๆ แต่การที่หนังนำเสนอภาพตัวละครที่มีความสุขด้วยความเย็นชา พร้อมกับเตือนให้เราตระหนักรู้ถึงความสยดสยองบางอย่างที่อาจเกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อมกับตัวละครที่มีความสุขเหล่านั้น มันทำให้เรารู้สึกขนลุกขนพองและเยียบเย็นในหัวใจในแบบที่คล้าย ๆ กับเวลาที่เราดูหนังของ Michael Haneke

 

2.เหมือนหนังเป็นภาคกลับของ BEYOND RANGOON (1995, John Boorman) เพราะ BEYOND RANGOON นำเสนอตัวละครฝรั่งผิวขาวที่ไปเที่ยวพม่า แล้วพบเห็นการสังหารโหดของทหารพม่า เธอก็เลยเหมือนถูกปลุกจิตสำนึกรักมนุษยธรรมขึ้นมา แต่ตัวละครใน GREETINGS FROM MYANMAR ดูเหมือนชินชากับข่าวความเลวร้ายที่เกิดขึ้น (แต่นั่นก็เกิดจากการมองอย่างผิวเผินนะ เพราะหนังไม่ได้บอกว่าแขกแต่ละคนที่มาพักในโรงแรม หรือพนักงานโรงแรมแต่ละคนคิดอะไรอยู่ในใจ ใครจะรู้ว่าพวกเขาบางคนอาจจะเข้าข้างชาวโรฮิงญาอยู่ในใจก็ได้)

 

3.ดูแล้วนึกถึง UNDER A SERPENT SUN (2011, Annee Olofsson, Sweden, 26min, video installation) ด้วย เพราะ UNDER A SERPENT SUN นำเสนอภาพตัวละครฝรั่งผิวขาวที่อาบแดดอย่างมีความสุข ขณะที่เสียงวิทยุรายงานข่าวเหตุการณ์เลวร้ายต่าง ๆ มากมายตลอดเวลา

 

#signesdenuit2021

Tuesday, September 28, 2021

LOCKED OUT (2020, Julien Goudichard, France, documentary, A+30)

 

LOCKED OUT (2020, Julien Goudichard, France, documentary, A+30)

 

1.นึกว่าภาคสองของ ON THE EDGE OF THE WORLD (2013, Claus Drexel, France, documentary) เพราะหนังเรื่องนี้ก็เน้นพูดถึงคนไร้บ้านในฝรั่งเศสเช่นกัน แต่หนังเรื่องนี้เป็นการสำรวจว่า โควิดและมาตรการล็อกดาวน์ส่งผลกระทบต่อคนไร้บ้านในฝรั่งเศสอย่างไรบ้าง

 

2.ชอบที่หนังเรื่องนี้นำเสนอข้อมูลพวกนี้ออกมา เพราะช่วงที่ผ่านมาเราก็รู้สึกว่า ชีวิตคนไทยในช่วงโควิดนี่มันชิบหายวายป่วงสุด ๆ อยู่แล้ว ทั้งในช่วงเดือนมี.ค.-พ.ค. 2020 และตั้งแต่ช่วงเดือนเม.ย.ปีนี้เป็นต้นมา จนเราไม่มีเวลาและไม่มีกะจิตกะใจที่จะไปตามหาข้อมูลว่า ชาวบ้านในประเทศอื่น ๆ เขาเผชิญความยากลำบากอย่างไรบ้าง หนังเรื่องนี้ก็เลยเหมือนช่วยให้ข้อมูลในสิ่งที่เราสนใจ แต่ไม่ได้ไปตามหาอ่านหรือหาดูในช่วงที่ผ่านมา

 

3.เหมือนชีวิตคนไร้บ้านพวกนี้ที่แย่มากอยู่แล้วก็ยิ่งเลวร้ายลงไปอีกในช่วงโควิด เพราะคนไร้บ้านบางคนยังชีพด้วยการขอทาน หรือบางคนก็ยังชีพด้วยการเก็บเศษตังค์ที่หล่นลงท่อระบายน้ำ แต่พอมีโควิดระบาด คนทั่วไปก็เลยไม่ออกมาเดินตามท้องถนน ก็เลยไม่มีคนให้เงินขอทาน และไม่มีคนทำตังค์หล่นลงตามพื้นถนนด้วย ชีวิตก็เลยยากลำบากขึ้นมาก

 

4.ชอบที่หนังไปสัมภาษณ์โสเภณีในช่วงโควิดด้วย ซึ่งชีวิตของพวกเธอก็ยิ่งเลวร้ายหนักกว่าเดิมเช่นกัน เพราะพอโควิดระบาด ลูกค้าที่มาใช้บริการก็ลดน้อยลงไปด้วย

Monday, September 27, 2021

BELGRADE FOREST INCIDENT...AND WHAT HAPPENED TO MR. K? (2020, Jan Ijäs, Finland, documentary, A+30)

 

BELGRADE FOREST INCIDENT...AND WHAT HAPPENED TO MR. K? (2020, Jan Ijäs, Finland, documentary, A+30)

 

หนังเกี่ยวกับคดีฆาตกรรม Jamal Khashoggi หนังเรียบเรียงข้อมูลได้ดีมาก เหมือนเป็นการรวบรวมข้อมูล, ย่อย และสรุปข้อมูลออกมาให้ผู้ชมเข้าใจง่าย โดยผ่านทางเสียงบรรยายในหนัง ส่วนภาพของหนังส่วนใหญ่แล้วเป็นสถานที่ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคดีนี้ ดูแล้วก็สะเทือนขวัญมาก ๆ

 

ตอนแรกดูชื่อหนังแล้วก็งง ๆ นึกว่าเหตุเกิดใน Serbia แต่จริง ๆแล้ว Belgrade Forest มันอยู่ในนครอีสตันบูลของตุรกี

 

#signesdenuit2021

DESERT LIGHTS (2021, Félix Blume, Mexico, documentary, A+30)

 

DESERT LIGHTS (2021, Félix Blume, Mexico, documentary, A+30)

 

1.Félix Blume นี่อาจจะเป็น auteur หรือผู้กำกับที่มีลายเซ็นชัดเจนเป็นของตัวเองในอนาคตก็ได้นะ เพราะ DESERT LIGHTS นี่มีส่วนคล้าย CURUPIRA, CREATURE OF THE WOODS (2018, Félix Blume, Brazil) ในแง่นึงเหมือนกัน เพราะหนังทั้งสองเรื่องเป็นสารคดีที่สำรวจความเชื่อเรื่องภูติผีปีศาจสิ่งเหนือธรรมชาติเหมือน ๆ กัน และหนังทำออกมาได้ขลังมาก ๆ สุดตีนมาก ๆ ทั้งสองเรื่อง โดย CURUPIRA เป็นการสำรวจความเชื่อเรื่องนางไม้ปีศาจ Curupira ในป่าอะเมซอน ส่วน DESERT LIGHTS นี่เป็นการสำรวจความเชื่อเรื่องลูกไฟปีศาจในทะเลทรายในเม็กซิโก

 

เหมือนเราไม่เคยได้ยินเรื่องของ Curupira มาก่อนเลยด้วยนะ ส่วนเรื่องลูกไฟปีศาจนี่เราไม่แน่ใจ เหมือนเคยได้ยินอะไรคล้าย ๆ แบบนี้มาก่อนในหนังเม็กซิโกสักเรื่อง แต่นึกไม่ออกว่าเรื่องไหน

 

2.ชอบความเห็นของผู้ให้สัมภาษณ์คนนึงมาก ๆ ที่เขาเชื่อว่า ลูกไฟพวกนี้จริง ๆ แล้วเป็นผู้หญิงที่บินได้ เหมือนบางครอบครัวถ่ายทอด “วิชา” นี้ให้แก่ทายาทหญิงกันมารุ่นต่อรุ่น สืบทอดกันมานานหลายร้อยปีแล้ว แต่ปัจจุบันนี้เราจะไม่ค่อยเห็นลูกไฟพวกนี้แล้ว เพราะภูมิทัศน์ของเม็กซิโกในปัจจุบันมันไม่ได้เป็น “ทะเลทรายเวิ้งว้างสุดลูกหูลูกตา” เหมือนแต่ก่อน เพราะฉะนั้นทายาทหญิงของตระกูลพวกนี้ก็เลยชอบไปเต้นรำในคลับกันแทนในยุคปัจจุบัน และขี้เกียจเรียนวิชาบินได้จากคุณยายของพวกเธอกันแล้ว (ถ้าจำไม่ผิด)

 

3.อยากให้ Félix Blume ทำหนังสไตล์แบบนี้ต่อไปมาก ๆ เพราะความเชื่อพวกนี้มันน่าหลงใหลมาก ๆ สำหรับเรา และเราว่าในอเมริกากลาง, อเมริกาใต้ และหมู่เกาะ West Indies นี่น่าจะอุดมไปด้วยผีสางอะไรแบบนี้เยอะมาก ๆ หรือความเชื่อของอินเดียนแดงเผ่าต่าง ๆ ในแคนาดาและสหรัฐก็น่าสนใจด้วย คือจริง ๆ แล้วเราชอบเรื่องราวความเชื่อแบบนี้ทั่วโลกแหละ ในไทยก็น่าจะมีอะไรแบบนี้เยอะอยู่ (กูโตมากับนิตยสาร ต่วยตูนพิเศษ  ค่ะ 55555)

 

4.และเอาจริงแล้วเราว่าหนังสารคดีแบบนี้นี่มันคือ fertile ground สำหรับการพัฒนาต่อไปเป็นหนัง horror fiction ได้สบายเลยนะ แบบ Curupira จากป่าอะเมซอน ปะทะคุณยายบินได้จากทะเลทรายเม็กซิโก ปะทะ แวมไพร์จากทรานซิลเวเนีย ปะทะ นาง Banshee จาก Ireland ปะทะ Aswang จากฟิลิปปินส์ ปะทะ เทวีแมงป่องจากอียิปต์ ปะทะ Baba Yaga จากรัสเซีย ปะทะ ปอบผีฟ้าจากไทย ในงานกาล่าดินเนอร์ของพิพิธภัณฑ์สะสมของโบราณแห่งนึง 55555

 

5.เราว่าหนังของ Félix Blume มันมีความขลังและมีพลังคล้าย ๆ หนัง horror ด้วย ทั้ง ๆ ที่มันไม่ใช่หนัง horror ตามขนบ เราก็เลยชอบสุด ๆ ที่มีคนสร้างหนังกึ่ง ๆ horror แบบนี้ออกมา และผู้กำกับแต่ละคนก็สร้างออกมาในแบบที่แตกต่างกันไป เราว่า Olivier Smolders นี่ก็เป็นอีกคนที่สร้างหนัง horror หรือกึ่ง horror ออกมาได้สุดตีนมาก ๆ (เขาชอบเอาภาพถ่ายเก่า ๆ มาบรรยายและถ่ายทอดได้ในแบบที่ขนลุกขนพองมาก ๆ) หรือ David Lynch ก็เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดสำหรับการทำหนังในสไตล์ของตนเองที่มีกลิ่นอายของ horror อยู่ด้วย

 

#signesdenuit2021

Saturday, September 25, 2021

BLASTOGENESIS X (2021, Conrad Veidt, Charlotte Maria Kätzl, Germany, 27min, A+30)

 

วันนี้ตอนพระอาทิตย์กำลังจะตกดิน เรายก dumbbell อยู่ดี ๆ แล้วส่วนประกอบต่าง ๆ ใน dumbbell มันก็แยกตัวออกจากกัน แล้วชิ้นส่วนต่าง  ๆ ของมันก็ตกลงพื้น เราก็เลยร้องวี้ดสุดเสียง ไม่รู้ว่ามันเกิดขึ้นได้ยังไง เพราะก่อนยกเราก็รู้สึกว่ามันแน่นหนาดีแล้ว โชคยังดีนะที่มันไม่หล่นลงโดนเท้า ไม่งั้นเราต้องเข้าโรงพยาบาลแน่ ๆ

 

เราไม่กล้าซ่อมอะไรพวกนี้เองด้วย ก็เลยโยนมันทิ้งไปเลย ไม่รู้ว่ามันเกิดจากแค่น็อตหลวมอะไรหรือเปล่า แต่เราก็กลัวว่าเหตุการณ์แบบนี้มันอาจจะเกิดขึ้นได้อีก มันน่าจะมีอายุมานานเกิน 10 ปีแล้วแหละ บางทีความเก่าของมันคงเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้

--------------------

THE FALLING FRUIT, THE FROZEN TIME, AND THE FIVE VARIATIONS ON MANI KAUL’S USKI ROTI (2021, Jay Kholia, India, 12min, A+30)

 

งดงามมาก ๆ ไม่นึกว่าการเห็นสายฝนตกใส่ใบมะม่วงมันจะกลายเป็นอะไรที่งดงามสุด ๆ พิลาศพิไลขนาดนี้

 

เสียดายเราเคยดูหนังของ Mani Kaul แค่เรื่องเดียว ซึ่งก็คือ DUVIDHA (1973) ที่เราชอบอย่างสุดขีด อยากให้มีคนจัด retrospective ของเขามาก ๆ

 

#signesdenuit2021

 

GREEN THOUGHTS (2020, William Hong-Xiao Wei, UK, 20min, A+30)

 

เรื่องนี้ก็งดงามสุด ๆ เหมือนกัน รู้สึกว่าการเล่าเรื่องแบบเสียงรำพึงรำพันแบบนี้ทำให้นึกถึง Marguerite Duras แต่ภาพมันคือ Alexander Sokurov

 

#signesdenuit2021

 

BLASTOGENESIS X (2021, Conrad Veidt, Charlotte Maria Kätzl, Germany, 27min, A+30)

 

ชอบสุด ๆ บ้าคลั่งมาก นึกว่า E. Elias Merhige เอา “ฉลุยหิน คนไข่สุดขอบโลก” (1995) มารีเมคใหม่ 555555

 

#signesdenuit2021

NEW ABNORMAL (2021, Sorayos Prapapan, 15min, A+30)

 

NEW ABNORMAL (2021, Sorayos Prapapan, 15min, A+30)

 

1.ดีใจที่มีคนรวบรวมเรื่องราวเหี้ย ๆ ห่า ๆ ช่วงนี้เอาไว้ในรูปแบบภาพยนตร์ ชอบตั้งแต่ฉากที่ 2 ของหนัง ซึ่งจริง ๆ แล้วทำให้นึกถึงเหตุการณ์ในปีที่แล้วที่สินค้าหลายอย่างขาดตลาดอยู่ระยะนึง อย่างเช่น หน้ากากอนามัย และแอลกอฮอล์ เราจำได้เลยว่าตอนช่วงประมาณเดือนก.พ.-มี.ค.ปี 2020 มั้ง ที่มีคนพูดว่า “ตอนนี้หน้ากากอนามัยหายากกว่าทองอีก”

 

ฉากที่ 2 ของหนังทำให้นึกถึงหนังเรื่อง THE DISCREET CHARM OF THE BOURGEOISIE (1972, Luis Buñuel) โดยไม่ได้ตั้งใจด้วย เพราะในหนังเรื่องนั้นมีฉากที่ตัวละครไปร้านอาหาร แต่ไม่ว่าเธอจะเลือกสั่งอะไรในเมนู บริกรก็จะตอบว่า ไม่มี หรือ หมดแล้ว จนในที่สุดเธอก็ตัดสินใจสั่งน้ำเปล่า แต่บริกรก็ตอบว่า หมดแล้ว

 

คือจริง ๆ แล้วสถานการณ์ของไทยในตอนนี้ก็อาจจะคล้าย ๆ กับฉากนั้นในหนังของบุนเยลในแง่นึงนะ เพราะเหมือนฉากนั้นแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ที่ “สิ่งที่ควรจะมี ดันไม่มี” และสำหรับเมืองไทยในตอนนี้ สิ่งนั้นก็คือ วัคซีนที่มีคุณภาพและเข้าถึงได้ง่าย

 

3.ฉากที่ 3 ของหนังก็ตลกดี ซึ่งก็คือฉากล้างมือ และเรารู้สึกชอบมากที่ใส่ฉากนี้เข้ามา เพราะเราว่าฉากอื่น ๆ มันแสดงให้เห็นถึงผลกระทบทางการเมือง ผลกระทบที่เกิดจากการที่รัฐบาลไทยชุดนี้รับมือกับโควิดได้อย่างเลวร้ายที่สุด แต่ฉากที่ 3 เราว่ามันเป็นเรื่องของ “ความโง่ของมนุษย์” ที่เสือกยื่นมือให้คนอื่นจับ แล้วอีกฝ่ายก็โง่ไปจับ 55555 ซึ่งความโง่ของมนุษย์แบบนี้น่าจะเป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่ใช่เรื่องการเมือง เพราะคนโง่แบบนี้เราน่าจะพบได้ในทุกสังคม ทั้งในไทยและต่างประเทศ เราก็เลยชอบมากที่ใส่ฉากที่แสดงให้เห็นถึงคนโง่ๆ หรือการกระทำโง่ ๆ แบบนี้เข้ามาด้วย เหมือนเป็นการแสดงให้เห็นว่าภายใต้วิกฤติโควิดแบบนี้ เราต้องรับมือกับทั้งรัฐบาลไทยชุดนี้ และต้องระวังคนโง่ ๆ ที่เราอาจจะเจอได้ในชีวิตประจำวันด้วย 55555

 

4.ดีใจที่เห็นนิยายเรื่อง FLICKER ของ Theodore Roszak ปรากฏอยู่ในหนังเรื่องนี้ด้วย

 

5.ชอบการนั่งหลับตลอดเวลาของคนในห้องประชุมมาก ๆ คิดว่าผู้ชมต่างชาติหลายคนคงไม่เข้าใจตรงจุดนี้ แต่คนไทยคงเข้าใจดี

 

6.ชอบการรวบรวมปัญหาต่าง ๆ เข้ามาไว้ในหนังเรื่องเดียวกัน ทั้ง CURFEW ที่ไม่มีประโยชน์ แต่ทำชีวิตประชาชนเดือดร้อนตาม ๆ กันไปหมด, การไม่ยอมเข้า COVAX, การบริหารจัดการวัคซีนที่เลวร้ายที่สุด, นโยบายของรัฐบาลที่ไม่เห็นใจคนจน, การเอาเงินไปซื้อเรือดำน้ำ, ผู้นำเหี้ย ๆ, และการที่รัฐบาลไทย “ไม่คิดที่จะช่วยเหลือ แต่เอาแต่ซ้ำเติมประชาชน”

 

7.ชอบ “การข้ามของเสียง” จากฉากนึงไปอีกฉากนึง เหมือนในฉากตัวละครที่เป็นนักศึกษาออนไลน์ เราจะได้ยินเสียงรถชนกันในฉากถัดมาข้ามเข้ามาด้วย และในฉากการประชุมของผู้นำ เราจะได้ยินเสียงการไล่จับคนจากฉากก่อนหน้านี้ข้ามเข้ามาด้วย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะฉากเหล่านี้มันมีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันทางเหตุและผลอยู่ด้วยหรือเปล่า เลยมีการจงใจให้เสียงของฉากนึงข้ามเข้ามาในอีกฉากนึง

 

8.สิ่งที่สะเทือนใจเรามากที่สุดเป็นการส่วนตัว คงเป็นฉากของนักดนตรีที่ตกงาน เพราะมันทำให้เรานึกถึงคุณ “ประกายฟ้า” ที่ฆ่าตัวตายไปในเดือนมิ.ย. ถึงแม้หนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ตั้งใจให้นึกถึงก็ตาม

https://www.dailynews.co.th/regional/852602/?fbclid=IwAR1vQIKTd7Jhc_TfisOD408uIYlrqlcSxlwGLClZeQtp-h_o44tKMxZz_z0

 

Wednesday, September 22, 2021

DARKNESS WITHIN DARKNESS (2021, Chia-Yun Wu, UK, 7min, A+30)

 

THE GOLDEN AGE (2018, Eric Minh Cuong Castaing, 20min, A+25)

 

ดูแล้วนึกถึงหนังเรื่อง STRANGE DAYS (1995, Kathryn Bigelow) ที่เป็นหนังไซไฟที่จินตนาการว่า ในอนาคตจะมีคนผลิตเครื่องมือนึงที่บรรจุ sensation ของคนอื่นเอาไว้ อย่างเช่น sensation ขณะ “วิ่งที่ชายหาด” แล้วถ้าหากคนพิการขาขาดเอาเครื่องมือนี้ไปสวมที่ศีรษะ เขาก็จะรู้สึกมีความสุขราวกับว่าตัวเองยังคงมีขาอยู่ และได้วิ่งที่ชายหาดด้วยตัวเอง

 

เหมือนกับว่าหนังเรื่องนี้ทำให้สิ่งที่ STRANGE DAYS เคยทำนายไว้เข้าใกล้ความจริงขึ้นมา

 

AKA (2020, Dorothée Murail, France, 15min, A+25)

 

A SCREAM IN THE VOID (2021, Luyckx Jonas, Belgium, 12min, A+25)

 

STAYING WITH THE TROUBLE (2018, Alyona Larionova, UK, 14min, A+30)

 

จริง ๆ แล้วเราก็ไม่เข้าใจเรื่องนี้ ไม่แน่ใจว่าเขาเปรียบเทียบนกอินทรี-คนเลี้ยง, นักยูโด กับการตรวจร่างกายที่ด่านเพราะอะไร 55555 แต่ตอนจบของหนังทำให้เราสงสัยว่า ทำไมนกอินทรีถึงไม่บินหนีไป ทำไมมันบินกลับมาหาคนเลี้ยง

 

 คือพอเห็นนกอินทรีทำแบบนี้ เราก็เลยนึกถึงคำว่า “ทาสที่ปล่อยไม่ไป” ขึ้นมา ซึ่งจะเห็นตัวอย่างได้จากคนบางคนแถว ๆ นี้ 55555 หรือในหนังพีเรียดอย่าง LETTER OF FORGIVENESS (2020, Alina Serloan, Romania) ที่พูดถึงทาสที่ไม่อยากเป็นไท

 

#signesdenuit2021

 

DARKNESS WITHIN DARKNESS (2021, Chia-Yun Wu, UK, 7min, A+30)

 

ขลังสุด ๆ ชอบมาก ๆ นึกว่าหนังต้องสาปอาถรรพณ์ สร้างขึ้นมาจากไสยเวทย์มนตร์ดำ 55555

#signesdenuit2021

 

 

Tuesday, September 21, 2021

PARANORMAL ACTIVITY IN ROGER FILMS STUDIO

 

ทำพิธีเสร็จแล้ว มาเมาส์กัน (2021, Roger Films Studio, documentary, A+30)

+ หมอเยี่ยม so shall be it live

https://www.facebook.com/watch/live/?v=1385981175132118&ref=watch_permalink

https://www.facebook.com/soshallitbeseer/videos/1496709077355282

 

เนื้อหาต่อจากโพสท์ก่อน ๆ หน้านี้เกี่ยวกับปราสาทตุ๊กตาผีสิงในเพจของ Roger Films Studio หนักที่สุด มีสิทธิติดอันดับประจำปี

 

สิ่งที่ชอบมาก

 

1.เธอไม่ใช่วิญญาณคนตาย แต่เธอน่าจะเป็นปีศาจที่เกิดจากคุณไสยมนต์ดำ

 

2.แล้วเธอเป็นปีศาจที่มีอิทธิฤทธิ์สูงมากด้วย  เธอมีพลังงานในตัวเยอะมาก เพราะใครที่มายุ่งกับคนใน studio เธอจะ mark ไว้แล้วตามไปหลอกที่บ้าน ซึ่งภูติผีทั่วไปจะทำไม่ได้ถึงขั้นนี้

 

3.แล้วเธอพยายามทำให้ studio เป็นทางผีผ่าน เธอเหมือนไปชวนผีตายโหงแถว ๆ นั้นมารวมตัวกันที่ชั้น 3 ของ studio เหมือนเธอจะเปิด nursery เพราะผีส่วนใหญ่ที่เธอชวนมาเป็นผีเด็ก แล้วมีผีเด็กตัวนึงที่หน้าเละไปครึ่งหน้าด้วย

 

4.มีลูกเพจหลายคนถูกหวยเพราะเธอ แต่ต้องเตือนบรรดาลูกเพจว่าอย่าไปทำบุญให้เธอ อย่าไปอวยยศเธอ เพราะมันไปเสริมพลังให้เธอ เธอจะกลับมามีพลังมากยิ่งขึ้น เธอจะกลับมาซ่าส์ได้อีก

 

5.เธอตามไปหลอกคนนึงใน studio ด้วยการปรากฏกายมาในรูปของผีที่มีเส้นผมยาวจากหัวจรดตีน เดินขึ้นบันไดมาหาคนคนนั้น คนที่เจอผีก็เลยวิ่งหนีเข้าห้องน้ำแล้วอาบน้ำ

 

6.ส่วนอีกคนใน studio เจออิทธิฤทธิ์ด้วยการพบรอยช้ำที่หัวเข่าโดยไม่มีที่มาที่ไป แล้วพอคนนั้นโทรศัพท์ไปคุยกับเพื่อน เพื่อนก็ได้ยินเสียงแปลก ๆ จากปลายสาย

 

7. เธอไม่ค่อยไปยุ่งกับคุณอ๋อง เพราะมีวิญญาณผู้หญิงคนนึงคอยปกป้องคุณอ๋องอยู่

 

8. ตอนหมอเยี่ยมจะไปปราบเธอ เธอก็ส่งเส้นผมไปพันรอบตัวหมอ แต่หมอสู้ได้

 

9.เรื่องที่เธอไปนั่งทับคนในวัดที่แม่ฮ่องสอนก็น่ากลัวมาก ๆ  เพราะปกติแล้วผีน่าจะกลัววัด แต่นี่เป็นปีศาจร้าย

 

10.เธอมาจากญี่ปุ่น แต่เธอก็สื่อสารกับพวกเราได้ เพราะมันเป็นการสื่อสารทางดวงจิต ไม่ได้ใช้ภาษาเป็นสื่อ

 

11. การที่เธอไปทำให้คุณโธมัส (หุ่นหนุ่มหล่อ) ตาเหลือก แล้วมีรอยป้ายที่กระจก เหมือนเป็นการประกาศอาณาเขตของเธอ

 

12.เจ้าที่ที่ studio ช่วยอะไรไม่ได้ เพราะคนใน studio ไปพูดเชิญเธอเข้ามาเองโดยไม่ได้ตั้งใจ

 

หนักมาก ๆ คือเรื่องพวกนี้เอาไปดัดแปลงเป็นหนังได้แน่นอน

LANDSCAPE ZERO (2020, Bruno Pavic, Croatia, documentary, A+30)

 

LANDSCAPE ZERO (2020, Bruno Pavic, Croatia, documentary, A+30)

 

เป็นหนังแนวปัญหามลพิษในแบบที่แปลกใหม่มาก ไม่เคยพบเคยเห็นมาก่อน เพราะหนังทั้งเรื่องไม่มีการสัมภาษณ์ใครเลย แต่เหมือนถ่ายชีวิตประจำวันของชาวบ้านในเมือง ๆ นึงไปเรื่อย ๆ แล้วพอเราดูก็จะงง ๆ คิดว่าน่าจะเป็นหนังที่เหมาะกับการดูมากกว่า 1 รอบขึ้นไป

 

ขำ statement ของหนังที่บอกว่ามี subjects หลักอยู่ 4 คน แต่พอเราดูจริง ๆ ก็ไม่รู้ว่า 4 คนนี้คือใครกันแน่ เพราะเหมือนหนังถ่ายชาวบ้านเยอะมาก เป็น 10 คนได้มั้ง ที่ติดตาเราก็มีหญิงขายนมแพะ, ชายเลี้ยงแพะ และชายที่เหมือนระแวงโรงงานในเมือง

 

ฉากที่ติดตาก็คือฉากที่ชาวบ้านหลายคนมาดูหนังข่าวยุคเก่าตอนที่ Tito มาเปิดโรงงานในเมือง (ถ้าเข้าใจไม่ผิด) แล้วผู้ชมส่วนหนึ่งก็ยังคงเทิดทูนบูชา Tito อยู่อย่างเห็นได้ชัด

 

ดูแล้วนึกถึง HUKKLE (2002, György Pálfi, Hungary) ที่เป็นหนัง fiction แต่ HUKKLE เป็นหนังที่ถ่ายทอดชีวิตชาวบ้านมากมายในเมือง ๆ นึงเหมือนกัน โดยหนังทั้งเรื่องแทบไม่มี dialogue เหมือนกัน, หนังทั้งสองเรื่องดูเผิน ๆ แล้วแทบไม่ได้เล่าเรื่องเหมือนกัน แต่จริง ๆ แล้วหนังทั้งสองเรื่องแอบเล่าเรื่องเหมือนกัน 55555 โดยใน LANDSCAPE ZERO นั้น หนังเหมือนถ่ายทอดปัญหามลพิษแบบอ้อม ๆ ไม่ได้พูดตรง ๆ ส่วน HUKKLE นั้นเล่าเรื่องราวแผนการฆาตกรรมในเมืองแบบอ้อม ๆ

 

#signesdenuit2021

Sunday, September 19, 2021

SURFACES (2021, Cristina Motta, Argentina/Colombia, documentary, A+30)

 

SURFACES (2021, Cristina Motta, Argentina/Colombia, documentary, A+30)

 

1.หนังถ่ายสวยมาก sense ด้าน visual ของมันดีมาก ๆ

 

2.เนื้อหาของหนังพูดถึงการที่คนหลายคนหายสาบสูญไปและกลายเป็นศพ เข้าใจว่าน่าจะเป็นใน Colombia และ Argentina คือหนังไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรในแต่ละคดีเลย เราเดาว่าถ้าหากเป็นคน Colombia หรือ Argentina มาดูหนังเรื่องนี้ ก็น่าจะเข้าใจหนังได้ดี แต่พอเราเป็นคนนอก แล้วหนังไม่ได้ให้ข้อมูลใด ๆ เราก็เลยงง ๆ มากพอสมควร

 

3.ดูแล้วนึกถึง INTO THIN AIR (2018) ของผู้กำกับคนเดียวกัน ที่พูดถึงการหายสาบสูญของผู้หญิงหลายคนเหมือนกัน แต่ INTO THIN AIR เน้นพูดถึงประวัติศาสตร์ และดูมีความเป็นรูปธรรมมากกว่าหนังเรื่องนี้

 

4.ตอนแรกชอบหนังเรื่องนี้แค่ในระดับ A+25 เพราะดูแล้วขัดอกขัดใจเล็กน้อยที่หนังเน้นถ่ายภาพสวย ๆ แต่แทบไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรที่เราอยากรู้เลย แต่ไป ๆ มา ๆ ปรากฏว่า หนังทิ้งอะไรค้างคาใจเราได้ดีมาก และเป็นแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งในการทำให้เราแต่งเรื่อง “กฎของการใช้ PROMOTION ในแอปสั่งอาหาร” ขึ้นมา เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+30 ในที่สุด

 

#signesdenuit2021

SOME BUDDHIST LEGENDS I LOVE

 

วันนี้ก็ยังคงกินอาหารตามหนังเรื่อง THE SAKO TAPES (2019, Macheil van den Heuvel, Netherlands, documentary) ในเทศกาล Signes de Nuit ต่อไปค่ะ 55555 เป็นอาหารตามหลักศาสนาเชน หรือ Jain Food มี Chapati + daal makhni + raita + papadum และผักเครื่องเคียง #แดกตามหนัง

-----

เห็นเพื่อนคุยกันถึงเรื่องเกี่ยวกับ “ซาตาน” ในศาสนาคริสต์ และ “พญามาร” หรือ “ปรนิมมิตวสวัตตีมาร” ในศาสนาพุทธ แล้วน่าสนใจมาก ๆ เพราะเราเองก็ไม่เคยนึกเปรียบเทียบกันมาก่อนเลย ว่าถึงแม้ทั้งสองฝ่ายดูเป็นตัวชั่วร้ายที่สุดในแต่ละศาสนา แต่ก็แตกต่างกันมาก ๆ คือเราเองก็ไม่ได้นับถือคริสต์ ก็เลยไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับซาตานเลย รู้แต่ว่าพอพูดถึงซาตานก็จะนึกถึงแต่หนังผี หนังสยองขวัญ และนึกถึง “นรก” แต่ถ้าหากพูดถึง “ปรนิมมิตวสวัตตีมาร” นี่ เราไม่เคยนึกถึงผี ๆ สาง ๆ เลย เหมือนปรนิมมิตวสวัตตีมารนี่ทำให้เรานึกถึงกิเลสต่าง ๆ มากกว่า และปรนิมมิตวสวัตตีมารนี่จริง ๆ แล้วเป็นเทพที่ปกครองสวรรค์ชั้น 6 ด้วย (ชั้นสูงสุดของสวรรค์ชั้นฉกามาพจร แต่เหนือกว่านั้นยังมีสวรรค์ชั้นพรหมอีก 16 ชั้น และชั้นอรูปพรหมอีก 4 ชั้น ถ้าหากจำไม่ผิด กูจำเรื่องพวกนี้มาจากนิยายของตรี อภิรุม 555555) ก็เลยทำให้ซาตานกับปรนิมมิตวสวัตตีมารยิ่งแตกต่างกันมากยิ่งขึ้นไปอีก

 

พออ่านใน Wikipedia แล้วก็พบว่ามันน่าสนใจดี เพราะปรนิมมิตวสวัตตีมาร พยายามขัดขวางพระพุทธเจ้าจากการบรรลุธรรม เพราะถ้าหากพระพุทธเจ้าบรรลุธรรม ก็จะสั่งสอนให้คนไปนิพพาน เพราะฉะนั้นคนก็จะตายไปแล้วไม่มาขึ้นสวรรค์กันอีก ปรนิมมิตวสวัตตีมารก็เลยมาขัดขวาง แต่ถูกพระแม่ธรณีบีบมวยผมต้านไว้ได้

 

คือเหมือนพอเรานึกถึงซาตาน เราจะนึกถึงการลงนรกน่ะ แต่เหมือนปรนิมมิตวสวัตตีมารไม่ได้ต้องการให้คนลงนรกหรือเปล่า แต่ต้องการให้คนขึ้นสวรรค์กันเยอะ ๆ มาก ๆ และมองว่าการไปนิพพานเป็นการขัดขวางคนจากการขึ้นสวรรค์กันเยอะ ๆ มาก ๆ อย่างที่ปรนิมมิตวสวัตตีมารต้องการ

 

ก็เลยรู้สึกว่าความแตกต่างกันอย่างรุนแรงระหว่าง ซาตาน กับปรนิมมิตวสวัตตีมาร นี่มันน่าสนใจมาก ๆ แต่ถ้าหากเราเข้าใจอะไรผิดไป ก็มาช่วยเสริมข้อมูลที่ถูกต้องกันได้นะ เพราะเอาจริง ๆ แล้วเราก็ไม่ได้มีความรู้เรื่องพวกนี้แต่อย่างใด

---------------------

 

จริง ๆ แล้วเราก็ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธอย่างจริง ๆ จัง ๆนะ แต่เราชอบพวกเรื่องตำนานชาดกต่าง ๆ ในพุทธศาสนามาก ๆ เราว่ามันเฮี้ยนมาก ๆ รุนแรงมาก ๆ เหมาะนำมาดัดแปลงสร้างเป็นหนังมาก ๆ เราเคยคุยกับเพื่อนเมื่อนานมาแล้วว่า อยากให้มีคนเอาตำนานชาดกต่าง ๆ ในพุทธศาสนามาสร้างเป็นหนังแบบ ARABIAN NIGHTS (1974, Pier Paolo Pasolini) มาก ๆ คือเป็นหนังที่ไม่ต้องเล่าตำนานชาดกเรื่องใดเรื่องนึงตั้งแต่ต้นจนจบ แต่เล่าเฉพาะ “ฉากเด็ด ๆ” จากตำนานต่าง ๆ มาต่อ ๆ กัน

 

ตำนานต่าง ๆ ที่เราชอบมาก ๆ ก็รวมถึง

 

1.เรื่องของ “พระภัททากุณฑลเกสาเถรี” ชอบเรื่องนี้มากที่สุด

 

2.เรื่องอดีตชาติของนางจิญจมาณวิกา ที่ร่วมรักกับทหาร 64 คน อยากสร้างหนังเกี่ยวกับเรื่องนี้มาก ๆ

https://www.facebook.com/jit.phokaew/posts/10215342513939446

 

3.จุลปทุมชาดก ในชาดกนี้มีทั้งเรื่องกษัตริย์ที่หวาดระแวงลูกชาย, สามีที่ฆ่าภรรยาเพื่อกินเป็นอาหาร, ภรรยาที่ดื่มเลือดสามี, ผู้หญิงที่นอกใจเจ้าชายเพื่อไปเอากับโจร และก็มีพญาเหี้ยด้วย อยากให้ Jan Svankmajer เอาชาดกแบบนี้ไปดัดแปลงเป็นหนังแอนิเมชั่นสำหรับเด็ก

https://www.silpa-mag.com/featured/article_2652?fbclid=IwAR28zbgwtfNyI8cEkZIKkxxXDMwTk4XqJy4m8wIxXq46tfWkEFx9y5QJonQ

 

4.มหาปโลภนชาดก

https://84000.org/tipitaka/atita100/jataka.php?i=272208&fbclid=IwAR1q5v2DcAlG5-vPNRHVF7elg_Gp5QwkVLvlrxQaqiPq5xbbOgMY1H0yQ1U

 

5.เรื่องของพระมเหสีของพระเจ้าพิมพิสาร ชอบฉากการไปเยี่ยมพระเจ้าพิมพิสารในคุกมาก ๆ

 

พระเจ้าอชาติศัตรู ได้ทำอัตวินิบาตกรรม กับผู้ที่เป็นบิดาพระเจ้าพิมพิสาร ด้วยการจับเข้าไปขังในคุก และปล่อยให้อดอาหารโดยหมายจะให้สิ้นพระชนม์

เวลาผ่านไป จนพระองค์แน่พระทัยว่าเสด็จพ่อสิ้นพระชนม์แล้วเนื่องจากอดอาหารนั่นเอง แต่กลับไม่เป็นอย่างที่คิด

เหตุเพราะในระหว่างนั้นผู้เป็น มารดาของพระองค์ ได้เข้าไปเยี่ยม พระเจ้าพิมพิสาร ผู้เป็นพระสวามี โดยในการเยี่ยมแต่ละครั้ง พระนางได้นำเอาน้ำผึ้งและเนยมาทาตัว

เมื่อถึงที่คุมขัง ก็เปลื้องผ้าออก เพื่อให้พระเจ้าพิมพิสาร ได้ดูดกินน้ำผึ้งและเนยที่ทาอยู่กับตัวนั้น เป็นการประทังชีวิต

 

 

6.อีกฉากที่ชอบมากคือฉากแผ่นดินไหวในเรื่องของ พระภัททกาปิลานีเถรี คือนึกว่าเรื่องนี้เป็นภาคกลับของ ROMEO + JULIET เพราะเป็นเรื่องของหนุ่มสาวที่แต่งงานกันทั้งที่ไม่อยากแต่งงานกัน เพราะถูกคนส่งสารกลั่นแกล้ง

 

ในเรื่องนี้ฝ่ายหญิงคือภัททกาปิลานี อายุ 16 ปี ส่วนฝ่ายชายคือปิปผลิมาณพ อายุ 20 ปี เขาถูกพ่อแม่รบเร้าให้แต่งงาน ทั้งที่เขาไม่อยากแต่งงาน เขาเลยคิดอุบายให้หล่อรูปปั้นทองของหญิงที่งดงามมาก ๆ คนนึงขึ้นมา แล้วบอกว่า ถ้าหากไม่เจอหญิงที่งดงามดั่งรูปปั้นทองนี้ เขาก็จะไม่แต่งงานด้วย แล้วแม่ของเขาก็ให้พราหมณ์ 8 คนแห่รูปปั้นทองนี้ไปตามเมืองต่าง ๆ เพื่อหาหญิงที่งามเสมอดั่งรูปปั้นนี้ แต่พอแห่รูปปั้นไปเรื่อย ๆ ก็ดันไปเจอกับแม่นมของนางภัททกาปิลานีเข้า แล้วก็เลยได้รู้ว่ามีนางภัททกาปิลานีที่งดงามเสมอดั่งรูปปั้นทองนี้

 

พอพ่อแม่ของทั้งสองฝ่าย ต้องการจะให้ทั้งสองฝ่ายแต่งงานกัน ทั้งปิปผลิมาณพและนางภัททกาปิลานี ก็เลยส่งจดหมายไปหาอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อบอกว่า “ตนไม่ต้องการจะแต่งงาน” แต่คนส่งสารของทั้งสองฝ่ายดันมาเจอกันระหว่างทาง และแอบอ่านจดหมาย แล้วก็เลยฉีกจดหมายเก่าทิ้ง แล้วเขียนจดหมายขึ้นมาใหม่ เพื่อแสดงความพึงใจซึ่งกันและกัน แล้วทั้งสองก็เลยต้องแต่งงานกัน

 

เมื่อแต่งงานกันแล้ว หนุ่มสาวทั้งสองก็ยังประพฤติพรหมจรรย์ โดยทั้งสองต่างก็เอาพวงดอกไม้พวงหนึ่งวางไว้ กลางที่นอน มาณพขึ้นที่นอนทางด้านขวา นางภัททากาปิลานีขึ้นที่นอนทางด้านซ้าย แล้วกล่าวว่า ดอกไม้ในด้านของคนใดเหี่ยว พวกเขาจะรู้ได้ว่า ราคจิตเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้นั้น คนทั้งสองนั้นนอนไม่หลับตลอดทั้งราตรี เพราะกลัวจะถูกตัวของกันและกัน

 

หลังจากนั้นทั้งสองก็ตัดสินใจว่าจะออกบวช และเมื่อถึงทางสองแพร่ง ทั้งสองก็ตัดสินใจเดินแยกกันไปคนละทาง แล้วก็เกิดแผ่นดินไหวสะเทือนเลื่อนลั่นขึ้น

ในเวลาที่ท่านทั้งสองนั้นแยกทางกัน มหาปฐพีนี้ได้สะเทือนเลื่อนลั่น เหมือนจะพูดว่า เราสามารถรองรับเขาจักรวาล และเขาสิเนรุได้ แต่ไม่อาจรองรับคุณความดีทั้งสองของพวกท่านได้ ในอากาศมีเสียงเหมือนฟ้าผ่า ภูเขาจักรวาลก็โอนโน้มลง

 

http://www.dharma-gateway.com/bhikunee/pra-pattaka-pilanee.htm

 

จริง ๆ แล้วมีชาดกอื่น ๆ อีกที่เราชอบมาก และอยากเห็นมันถูกนำมาดัดแปลงสร้างเป็นหนังมาก ๆ แต่ตอนนี้ยังจำชื่อชาดกบางเรื่องที่ชอบมากไม่ได้ เพราะมันเยอะมาก 5555