Monday, September 30, 2019

THE ZOYA FACTOR

THE ZOYA FACTOR (2019, Abhishek Sharma, India, A+30)

 1.เป็นหนังบันเทิงแนวที่เราชอบมากๆ เราขอเรียกหนังกลุ่มนี้ว่า หนังกลุ่ม "พาฝันแบบหน้าไม่อาย" 55555 นั่นก็คือหนังกลุ่มที่เน้นตอบสนอง "ความอยากมีผัวหนุ่มหล่อน่ารักนิสัยดี" ของผู้ชมอย่างเต็มที่ โดยที่อาจจะไม่ต้องคำนึงถึงความสมจริงใดๆอีกต่อไป คือหนังกลุ่มนี้มันตั้งใจจะ "พาฝัน" น่ะ เพราะฉะนั้นในเมื่อเราจะ "ฝัน/ฝันเปียก" แล้ว เราก็ไปให้สุดได้เลย ไม่ต้องคำนึงถึงโลกแห่งความเป็นจริง 555

เหมือนเวลาดูหนังกลุ่มนี้ เราจะปรับโหมดใหม่ในการดูหนังโดยอัตโนมัติน่ะ คือแทนที่จะดูว่าหนังมันสมเหตุสมผล สมจริงมากแค่ไหน เหมือนเวลาดูหนังปกติ เราก็จะดูว่า หนังเรื่องนี้ มันตอบสนอง "ความอยากมีผัว แบบเจ้าชายในฝัน" ของเราได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าหนังมันทำให้เราอินกับตัวละครนางเอกได้ และทำให้เราน้ำแตกกับพระเอกและตัวละครชายคนอื่นๆในเรื่องได้ เราก็จะชอบหนังเรื่องนั้นอย่างสุดๆ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่หนังดีหากวัดตามเกณฑ์ปกติก็ตาม

ซึ่ง THE ZOYA FACTOR ก็พาฝันเราได้สำเร็จตรงจุดนี้  เพราะ Dulquer Salmaan พระเอกหนังเรื่องนี้ หล่อน่ารักน่ากินมากๆ Angad Bedi ผู้ร้ายของหนังเรื่องนี้ก็หล่อมากๆ หุ่นดีสุดๆ นอกจากนี้ หนุ่มๆคนอื่นๆในทีมคริกเก็ตก็น่ากินมากๆเช่นกัน ส่วนตัวละครนางเอกก็เงี่ยนผู้ชายมากพอสมควร และไม่ได้ทำอะไรที่ขัดใจเรามากนัก

2.ชอบที่หนังเรื่องนี้เน้นพูดถึงกีฬาคริกเก็ต, ความเชื่อเรื่องโชคลาง ความงมงาย และการคลั่งชาติด้วย มันก็เลยช่วยให้หนัง "พาฝัน อยากมีผัว" เรื่องนี้ดูมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจอยู่บ้าง

3.หากเทียบกับบรรดาหนังกลุ่ม "พาฝัน อยากมีผัว" แล้ว รู้สึกว่า  THE ZOYA FACTOR อยู่ตรงกลางระหว่าง หนังที่ "ดูมีความเป็นไปได้ในโลกแห่งความเป็นจริงมากที่สุด" อย่าง BRIDGET JONES'S DIARY (2001, Sharon Maguire) กับหนังที่ "หลุดโลก จนกู่ไม่กลับ" แบบ FALL IN LOVE AT FIRST KISS (2019, Yu Shan Chen, Taiwan) 555

หนังอีกเรื่อง ที่เรารู้สึกว่า อยู่กึ่งกลาง หมือนๆกัน ก็คือ STRINGS ATTACHED (2019, Wirin Kongsuwan, Supawinee Weeranakin)

แต่ถึงแม้เราจะชอบหนังกลุ่มนี้มากๆ แต่มันก็มีหนังกลุ่มนี้ที่เราดูแล้วไม่อินเลยเหมือนกันนะ อย่างเช่น CRAZY RICH ASIANS, THE PRINCE AND ME (2004, Martha Coolidge) และ MAID IN MANHATTAN (2002, Wayne Wang)

Friday, September 27, 2019

JENESYS 2019

FILMS SEEN IN JENESYS PROGRAM 2019 (in showing time order)

 1.“ใคร” /3 min /ณัฐพิชฌา บุญเสริม/ โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย A
 2. 2 Think / 3 min / วีระพัฒน์ ตั้งไทยขวัญ/ โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย A+
 3. ANGST /2.36 min /ธนกฤต หนูพันธ์/ โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย A+20
 4.BATHROOM /2.52 min /ณัฐฐิรา รื่นบุญ/ โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ A+25 พี่สาวเข้าห้องน้ำนาน น้องสาวเลยตอบโต้ด้วยการอุจจาระทิ้งไว้หน้าห้องน้ำ เป็นหนังที่ไอเดียรุนแรงมาก ไม่รู้คิดขึ้นมาได้ไง หรือว่ามาจากประสบการณ์จริง 555
 5. Bed Room /2.51 min / พัสกร แก่นเมือง/ โรงเรียนสรรพวิทยาคม A- ดูไม่รู้เรื่อง
 6. Can you think about other people? /1.57 min/ ภูเบศ นิลาบุตร/ โรงเรียนสระบุรีวิทยาคม A+
 7. Careless Man /2.18 min / พีรพัฒน์ พรหมชาติ/โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย A+15
 8.Change /2.59 min / ปริญญา เมืองมา / โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม A+20
 9. Change / 3 min / ศักรินทร์ ศิลาอ่อน/ โรงเรียนเชียงกลาง"ประชาพัฒนา" A
 สนใจชุดนักเรียนของโรงเรียนนี้มาก แปลกดี ไม่เคยเห็นชุดแบบนี้มาก่อน
 10.Confession | คำสารภาพ / 3 min / ธัญวรัตน์ มานันตพงศ์/ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา A+25 ชอบที่ไอเดียของหนังเรื่องนี้ไม่ซ้ำกับหนังเรื่องอื่นๆเลยในโปรแกรม เพราะหนังหลายๆเรื่องในโปรแกรมนี้พูดถึงเรื่อง "การทิ้งขยะเกลื่อนกลาด" แต่หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของหญิงสาวที่รีบไปสอบสัมภาษณ์ เธอก็เลยตัดสินใจแซงคิวรอวินมอเตอร์ไซค์ แต่หารู้ไม่ว่าคนที่เธอแซงคิวไปคือกรรมการสอบสัมภาษณ์ กรรมก็เลยตามสนองเธอ 11. Daisan'nome /2.51 min / นายศศิธร จันทรสุข/ โรงเรียนเจริญศิลป์ศึกษา"โพธิ์คำอนุสรณ์" A+20 เรื่องของชายหนุ่มที่แอบถ่ายใต้กระโปรงเพื่อนผู้หญิง ชอบที่เนื้อหาของหนังเรื่องนี้ไม่ซ้ำกับหนังเรื่องอื่นๆในโปรแกรม 12. Dascribe || บทพูด /3 min / รสกาญจน์ เขียนสุวรรณ / โรงเรียนศรียาภัย A จริงๆแล้วเราว่าหนังเรื่องนี้นำเสนอประเด็นที่ dilemma มากที่สุดสำหรับเราในโปรแกรม เพราะหนังเล่าเรื่องของเด็กนักเรียนที่ก็อปปี้งานของคนอื่นๆ แล้วเอารายงานนั้นไปส่งครู แล้วครูก็เลยหักคะแนนเด็กๆกลุ่มนี้ แต่หนังมาเฉลยในภายหลังว่า เด็กชายคนหนึ่งในกลุ่มนี้เป็นคนที่แอบไปบอกครูเองว่า เพื่อนๆในกลุ่มก็อปปี้งาน แล้วหนังก็ทำเหมือนกับว่า เด็กชายที่ทำตัวเป็น whistleblower นี้ จริงๆเป็นคนที่เลวที่สุดในกลุ่ม ซึ่งพอดูหนังจบ เราก็เลยเกิดคำถามว่า เอ๊ะ การเป็น whistleblower ในกรณีนี้มันเป็นการทำเลวจริงๆเหรอ เหมือนเราเคยเกิดคำถามคล้ายๆกันนี้กับหนังเรื่อง SCENT OF A WOMAN (1992, Martin Brest) ด้วยเหมือนกัน 13. Escape the problem / 3 min / ศตพล บุดดี/ โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน A- ดูแล้วงง 14. Friend's Girlfriend / 2.02 min / วริสรา ค้ำจุล/ โรงเรียนเจริญศิลป์ศึกษา"โพธิ์คำอนุสรณ์" A+ 15. Glass(คนดี..ป่ะ) / 2.47 min/ พีระพัฒน์ จำปาสิม/ โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา A+25 เป็นหนึ่งในหนังที่แปลกแหวกแนวที่สุดในโปรแกรม หนังเล่าเรื่องของหนุ่มหล่อที่เจอ "เทพแห่งความดี" ในกระจก ชอบแนวคิดอย่างนึงในหนังมากๆที่บอกว่า "คนที่ทำดีกับเรา ไม่ได้หมายความว่า คนคนนั้นเป็นคนดี" 16. Good Man /1.55 min/ นภัสวรรณ พรหมสีทอง/ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี A+ 17. Help /2.59 min / นภัสวรรณ พรหมสีทอง/ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี A+30 เป็นหนึ่งในหนังที่ชอบที่สุดในโปรแกรมนี้ หนัง cult มากๆ หนังเล่าเรื่องของสามหนุ่มวัยมัธยมที่กินเหล้า แล้วเกิดอารมณ์ทางเพศ ก็เลยขอให้เพื่อนในวงเหล้าช่วยเหลือ 18. Hero /2.57 min/เมส/โรงเรียนแม่ปะวิทยาคม A 19. HUMAN /2.59 min /พัชรพล ชาวลี้เเสน/โรงเรียนวัดราชโอรส A ชอบไอเดียที่ทำเป็นหนังแบบ "ต่อต้านความสมจริง" โดยให้ตัวละครเปลี่ยนชุดไปเรื่อยๆ และวิ่งไล่กันแบบข้ามวันข้ามคืน 20. Human and Garbage /2.28 min /ธิดา ต่ายใหญ่กรีด/โรงเรียนมัธยมวิภาวดี A+ 21. I AM SORRY / 2.59 min /กิตดนัย ปาลี/โรงเรียนสันกำเเพง A- 22. I look /3 min /ภูมินทร์ มาตจินดา/โรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา A- ดูแล้วงง 23. Just Do IT /3 min /ธนวัฒน์ เสาร์ศิริ/โรงเรียนภูซางใหญ่วิทยาคม A+20 *** รายชื่อจัดฉายภาพยนตร์ ช่วงที่ 2 : เวลา 14.15 (รวม 62 นาที) *** 24. Library / 2:44 min /แพรศรีทอง ดีเกษม/โรงเรียนจ่านกร้อง A+25 ชอบสุดๆ หนังเล่าเรื่องของกลุ่มเด็กสาวที่คุยเสียงดังในห้องสมุด ก็เลยโดนด่า สมน้ำหน้าอีพวกนี้ 25. Little Deep / 2.45 min /รเณศ แสนเทพ/โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย A+20 ชอบที่หนังมีความ FEEL BAD หนังเล่าเรื่องของชายหนุ่ม A ที่เก็บเงินที่ชายหนุ่ม B ทำตก ชายหนุ่ม A เอาเงินนั้นไปกินอาหารอย่างสำราญใจ ถึงแม้เขาจะเห็นว่าชายหนุ่ม B ได้รับความทุกข์ทรมานจากความหิวโหย หนังเหมือนเปิดโอกาสให้คนดูจินตนาการเอาเองว่า ชายหนุ่ม A จะตัดสินใจช่วยชายหนุ่ม B หรือไม่ 26. Little yakuza /2.51 min /จักรี แสงสว่าง/โรงเรียนเจริญศิลป์ศึกษา"โพธิ์คำอนุสรณ์" A+20 27. Log Out / 3 min/อนิรุจ วรรณกัมมิโก/โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ A+25 ชอบเนื้อเรื่องของหนังมากๆ หนังเล่าเรื่องของหญิงสาวที่แอบไปใช้แชทของเพื่อนหญิงคนหนึ่ง แล้วแชทไปหลอกแม่ของเพื่อนคนนั้นว่า "หนูท้องค่ะ" เหมือนเธอเล่นสนุกพิเรนทร์ๆ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้นตามมาได้ ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้มันไม่ดีมากๆ แต่มันก็เป็นสิ่งที่เราหรือเพื่อนๆของเราก็อาจจะเคยทำอะไรคล้ายๆแบบนี้มาบ้างตอนเป็นวัยรุ่น 28. Loop /2.54 min /กัลยกร ศิริดำรงค์ศักดิ์/โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล A 29. Lost precept /3 min /ธนัช สัมฤทธิ์มีผล/โรงเรียนหอวัง A 30.Mute /3 min /พีรวัฒน์ มูลกาย/โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล A 31. My dream / 3.01 min /ทวีศักดิ์ ชิณสีห์/โรงเรียนชาติตระการวิทยา A+15 เป็นหนังที่เศร้ามากๆเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย หนังเล่าเรื่องของพ่อที่พร่ำบอกลูกชายวัยเด็กเป็นประจำว่า "เรียนไปก็ไม่ได้สัญชาติหรอก" 32. Myself /2.30 min /ชยณัฐ หน่อท้าว/โรงเรียนเชียงกลาง"ประชาพัฒนา" A- ดูแล้วงง 33. My World / 2.58 min /นภัทร ริวรรณ์/โรงเรียนมารีวิทยา ปราจีนบุรี A+ 34.No one causes troubles to you more than yourselves /2.56 min /ปิติภัทร เป็นตามวา/โรงเรียนสุรวิวัฒน์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี A+ 35.Outside the box / 2.10 min /อิสระ ผูกจิตต์/โรงเรียนคุรุราษฎร์รังสฤษฏ์ A+10 หนังเกี่ยวกับ street art 36. passion / 3.06 min /จิรวัฒน์ อุปวรรณ์ /โรงเรียนปทุมวิไล A+20 หนังน่ารักสุดๆ เกี่ยวกับเด็กหนุ่มมัธยมที่อยากมีแฟน ก็เลยไปตะโกนว่าอยากมีแฟนหน้าเสาธง 37. PROJECT / 3 min / นัยนา จำปาทิพย์ / โรงเรียนพระแม่สกลสงเคราะห์ A+10 ดูแล้วนึกถึงหนังเก่าๆของ Chantana Tiprachart 55555 หนังเล่าเรื่องของเด็กสาวสามคนที่ทำรายงานกลุ่มเดียวกัน แต่คนนึงบอกว่าเธอต้องไปช่วยแม่ทำงาน ก็เลยขอตัวไม่ช่วยทำรายงานในครั้งนี้ แต่เพื่อนในกลุ่มจับได้ว่า อีนี่ไม่ได้ไปช่วยแม่ทำงาน แต่เอาเวลาไปกกผัว 38. Rights / 2.30 min /ชินวัตร สมคำแสง / โรงเรียนมารีวิทยา ปราจีนบุรี A 39. ROGUE / 2.57 min /บุณณดา ฮ่มซ้าย /โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร A+ 40. SHIN & KIN / 3 min / อังศุธร สง่าสิน /โรงเรียนดงสว่างวิทยา A+20 41. Stand by me / 2.55 min /ปิยังกูร คูณหอม /โรงเรียนเเก่งคอย A+15 หนังเหมือนเป็นสารคดีที่สัมภาษณ์ผู้ชายที่ย้ายมาเรียนที่จังหวัดใหม่ แล้วโดนล้อว่าพูดเหน่อ เขาก็เลยเอาเวลาไปอยู่ร้านเกมเป็นหลัก 42. Switch. / 3 min /ภาคิน คีรีรัตน์ /โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย2 A+10 43.That's selfish เห็นแก่ตัว / 1.57 min /ดลยา ปาวรีย์ /โรงเรียนอัสสัมชัญศึกษา A+15 หนังเดือดมาก เรื่องของแก๊งสาวอันธพาลที่แซงคิวซื้ออาหาร ก็เลยถูกสาวๆคนอื่นๆในคิวด่าแหลก 44.The Answer / 2.59 min / ธีรดา พลบูรณ์ /โรงเรียนเบญจมราชูทิศราชบุรี A 45. The Cactus / 2.59 min / อนวัช มีเพียร /โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา A+10 46. The cigarette /2.23 min / ธีรวัฒน์ อัดถะสาน /โรงเรียนเจริญศิลป์"ศึกษาโพธิ์คำอนุสรณ์" A *** รายชื่อจัดฉายภาพยนตร์ ช่วงที่ 3 : เวลา 15.30 (รวม 57 นาที) *** 47. The day before after... / 2.59 min /ณฐพงค์ เจริญพานิชย์ /โรงเรียนราชโบริกานุเคราะห์ ราชบุรี ดูไม่ทัน 48. The Elevator / 1.29 min /ศิวกร รัตนภิญโญวงศ์/โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย A- เด็กตดในลิฟท์ 49. The IF /2.50 min /ธัญรัตน์ สิงห์วงษ์ /โรงเรียนขามสะแกแสง A+10 50.The scholarship / 3 min /อารีรัตน์ เล็กยิ้ม /โรงเรียนจ่านกร้อง A+10 51. The vitim / 2.59 min / รณยุทธ อินธิจักษ์ /โรงเรียนเจริญศิลป์ศึกษา "โพธิ์คำอนุสรณ์" A+20 สองหนุ่มดมกาว คนนึงเหมือนเห็นภาพหลอนจนตายไป 52.The Way / 2.21 min /ณัฐพร ประจวบกลาง /โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย 2 A- 53. Think your self /2.59 min /ศุภกฤต สูญจันทร์/โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย 2 A+15 54. Toilet /2.50 min / สุดารัตน์ ช่างยันต์ /โรงเรียนเบญจมราชูทิศราชบุรี A 55.Two sisters. / 2.57 min /จักรภัทร สมิตานันท์/โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ชลบุรี A+20 เรื่องของน้องสาวที่ขโมยตังค์พี่สาว แต่หารู้ไม่ว่าจริงๆแล้วพี่สาวหาเลี้ยงชีพด้วยการร้องเพลงเล่นกีตาร์อยู่ข้างถนน 56.Violence / 2.49 min / เบญญาดา พฤกษ์พงศกร/โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสซาเวียร์คอนแวนต์ A+10 นึกว่า "เพลิงพ่าย" เรื่องของหญิงสาวหน้าด่างที่เคยโดนเพื่อนๆผู้หญิงรุมตบกลางโรงเรียน ตอนหลังเธอก็เลยลุกขึ้นตบกลับ แต่หนังดูเหมือนจะไม่ค่อยสนับสนุนการลุกขึ้นสู้ของเธอเท่าไหร่ เพราะหนังขึ้น text ว่า "ความรุนแรงจะไม่หยุด ถ้าหยุดด้วยความรุนแรง" ถือเป็นหนังที่ dilemma สำหรับเรา บอกไม่ถูกว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับหนัง 57.Would you like something to drink ? / 3 min / อัสฟัน ยูโซะ /โรงเรียนคณะราษฏรบำรุงจังหวัดยะลา A 58. ขยะ / 2.07 min / จิรพัทธ์ หะรังษีโรจนคุณ /โรงเรียนมัธยมด่านขุนทด A-/B+ 59. ขายปลา (Selfish) / 1.54 min /ณัฐวิภา สิงห์ภูกัน/โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร A+ 60. คนขยะ / 2.39 min /เขมจิรา ฮู้ทรง / โรงเรียนสารสาสน์วิเทศธนบุรี A+30 หนัง feel bad มากๆ ชอบสุดๆ หนังเล่าเรื่องของหนุ่มหล่อที่ทำงานเก็บขยะ เขาเอาเงินไปซื้อบะหมี่กิน แล้วก็ถูกพวกอันธพาลในซอยรุมกลั่นแกล้ง แล้วเขาก็โดนรถชนตาย คือหนังเรื่องนี้มันโดดเด่นจากหนังหลายๆเรื่องในโปรแกรมนี้ เพราะหนังหลายๆเรื่องในโปรแกรมนี้จะแสดงให้เห็นว่า "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" น่ะ แต่ "คนขยะ" นี่ตรงกันข้ามเลย 61. ความเป็นจริง / 3 min/พรนภัส อนุรัตน์/โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยนครปฐม(พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) A เป็นหนังที่ SELF-REFLEXIVE เพราะหนังพูดถึงโครงการ JENESYS ด้วย 62. คิดในใจ / 2.24 min / กรพล ลิมปิชาติ/ โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ A+15 63. จุด / 3 min / ปรีชา วงศรีลา /โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย A- ดูแล้วแอบงงเล็กน้อย เหมือนหนังจะเล่าเรื่องของพ่อที่เผาใบไม้ แล้วลูกชายก็โดนน้ำฝน แล้วลูกชายก็ป่วย เหมือนหนังจะพูดถึงกรรมสนองกรรมแบบ environmentalist หรือเปล่า 64. เด็กบาส / 2.53 min / นีร ไชยวรรณ / โรงเรียนวชิรวิทย์ เชียงใหม่ A+30 ชอบความเป็นธรรมชาติสมจริงของหนังเรื่องนี้มากๆ หนังเล่าเรื่องของพระเอกที่ต้องการให้แม่ไปส่งที่สนามบาส แต่แม่ไปส่งไม่ได้ เพราะต้องทำกับข้าวและซักผ้าก่อน ดูแล้วรู้สึกเลยว่ากิจกรรมของตัวละครในหนังเรื่องนี้มันโดดเด่นโดดเด้งจากกิจกรรมของตัวละครในหนังเรื่องอื่นๆมากๆ ทั้งๆที่มันเป็นกิจวัตรประจำวันสามัญธรรมดาที่สุดของมนุษย์ อย่างเช่นการทำกับข้าวและซักผ้า 65. ทำไปทำไม / 2.31 min / ภานุพงศ์ เพ็ญพักตร์/โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย A/A- 66.นักเลง / 3.03 min / ภูมิรพี คงอ่อน /โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ นนทบุรี A- 67. เปลี่ยนเปรียบ (เซาเห็นแก่โตเถาะ) / 3 min / หทัยกาญจน์ สินสุขเจริญ / โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล A- 68. ไม่เคยว่าง / 1.10 min /วรลักษณ์ คล้ายจินดา/โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ ดูแล้วงงมาก ไม่สามารถให้เกรดได้ 69.ห้ะ!! เสือดำ /2.48 min / นชานนท์ ศรีเจริญ / โรงเรียนอยุธยานุสรณ์ A+15

Thursday, September 26, 2019

INTERNATIONAL RESCUE

ช่วงนี้ได้ดูหนังเกี่ยวกับการเดินทางในอวกาศทั้ง SOLARIS (1972, Andrei Tarkovsky), SOLARIS (2002, Steven Soderbergh), AD ASTRA (2019, James Gray) และ MISSION MANGAL (2019, Jagan Shakti, India, ไปแค่ตัวยาน ไม่มีคนไปด้วย) แล้วก็พบว่า ยังไม่มีหนังเรื่องไหนสานต่อสิ่งที่เราอยากเห็นเลย นั่นก็คือ การสร้างหนังแบบมิวสิควิดีโอ INTERNATIONAL RESCUE (1989) ของวง Fuzzbox ที่นำเสนอ "กลุ่มมนุษย์ต่างดาว" ในแบบของ "ผู้ชายใส่กางเกงในตัวเดียว" 55555 อยากให้มีคนเอาไอเดียนี้ของวง Fuzzbox ไปสร้างเป็นหนังยาวมากๆ น่าจะออกมา cult พอๆกับ DARK STAR (1974, John Carpenter)

Wednesday, September 25, 2019

REVENGE ON THE MOON (2019, Wiroth Suwannarakgoon, short film, A+25)


REVENGE ON THE MOON (2019, Wiroth Suwannarakgoon, short film, A+25)

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่นี่

1.ในแง่ filmmaking เราก็คงไม่มีความเห็นอะไรนะ 5555 รู้สึกว่ามันเป็นงานที่มาตรฐานดี ตอบโจทย์ได้ดีอยู่แล้ว หนังดูเพลินมากๆ สนุก ดูมีความเท่ๆเก๋ๆด้วย ชอบการเปลี่ยนเฟรมภาพ, การใช้ภาพเบลอในบางช่วง ดูมีความแพรวพราวด้านสไตล์ภาพ คิดว่าน่าจะเป็นเพราะทีมงานคุ้นเคยกับงานโฆษณาและ MV ทุกอย่างก็เลยออกมาดูสนุก สามารถตรึงความสนใจผู้ชม “ออนไลน์” ได้ตลอด

คือหนังที่ดูสนุก บันเทิง แบบนี้ จริงๆแล้วอาจจะไม่ใช่ทางเราซะทีเดียว แต่เข้าใจว่าผู้ชมกลุ่มเป้าหมายของหนังเรื่องนี้น่าจะเป็นผู้ชมวัย 15-35 ปีที่ดูหนังออนไลน์น่ะ ซึ่งผู้ชมกลุ่มนี้น่าจะสมาธิสั้นกว่าผู้ชมหนังยาวในโรงหนัง เพราะการดูออนไลน์มันถูก distract ได้ง่ายมากๆ เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้มันจึงต้องหาทางเร้าความสนใจผู้ชมตลอดเวลาผ่านทางการซอยช็อตให้สั้นๆ และแต่ละช็อตดูมีอารมณ์ที่ชัดเจนจับต้องได้ง่าย

เราก็เลยคิดว่าหนังเรื่องนี้น่าจะตอบโจทย์ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายได้ดีทีเดียว (ซึ่งอาจจะครอบคลุมถึงผู้ชมกลุ่มเดียวกับที่ชอบหนัง GDH และหนังของเต๋อ นวพล) ถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่ใช่ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายของหนังเรื่องนี้

2.ชอบความ self-reflexive ของหนัง ดูแล้วไม่แน่ใจว่ามันมาจากชีวิตจริงของผู้สร้างหนังมากน้อยแค่ไหน ชอบความ “ฟิล์มบำบัด” ของมัน

คือถ้าหากหนังเรื่องนี้มันสะท้อนความรู้สึกของตัวผู้สร้างหนังออกมาจริงๆ  เราก็ชอบสุดๆที่ผู้สร้างหนังดัดแปลง “พลังในทางลบมากๆ” ในใจตัวเองออกมาผ่านทางการสร้างภาพยนตร์ หรือผ่านทางการสร้างงานศิลปะน่ะ ดีกว่าที่จะออกไปทำร้ายคน หรือก่อเรื่องที่ไม่ดี

คือถ้าหากการสร้างหนังเรื่องนี้มันช่วย exorcise the demon ในใจผู้สร้างหนังออกมาได้ มันก็เป็นสิ่งที่ดีมากๆเลยนะ เราสนับสนุนให้คนเราจัดการกับ “ความคิดชั่วร้ายในใจตัวเอง” ด้วยวิธีการแบบนี้ คือเวลาที่เราถูกครอบงำด้วยความคิดชั่วร้ายนั้น สิ่งที่ดีที่สุดก็คือการหาทางดับความคิดชั่วร้ายในใจตัวเองนั้นซะ ค่อยๆหาทางดับมันไป

แต่ถ้าหากดับความคิดชั่วร้ายในใจตนเองไม่ได้ เราก็ควรใช้ประโยชน์จากมันด้วยการดัดแปลงมันเป็นงานศิลปะ หรือถ่ายทอดมันออกมาผ่านทางการแต่ง fiction, สร้างหนังโป๊, สร้างภาพยนตร์ หรืออะไรก็ตามที่ “ไม่ใช่การสร้างความเดือดร้อนให้แก่คนอื่นๆ” น่ะ

เราก็เลยชอบที่หนังเรื่องนี้มันน่าจะทำหน้าที่เป็น “ฟิล์มบำบัด” อย่างนึง เป็นการระบายออกอย่างนึง และหวังว่าผู้สร้างหนังน่าจะรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้ระบายมันออกไปจากตัวเอง

3.ถ้าหากถามว่าดูหนังเรื่องนี้แล้วคิดถึงหนังเรื่องอะไร  เราก็จะตอบว่า เรารู้สึกว่ามันเหมือนกับเป็นส่วนผสมระหว่างหนังของวีระ รักบ้านเกิด กับหนังเรื่อง “โมโฟ สิ้นชีวี อีดอกทอง” (2007, Alwa Ritsila, Komvish Zally)

คือวีระ รักบ้านเกิด ทำหนังสั้นหลายเรื่องที่เป็นการพร่ำรำพันถึงความอกหัก ความเหงาน่ะ ส่วนหนังเรื่อง “โมโฟ สิ้นชีวี อีดอกทอง” ก็เป็นหนังที่ใช้ตุ๊กตาบาร์บี้เล่น โดยเนื้อหาของมันเกี่ยวกับการแก้แค้นหญิงคนรักกับชายชู้ด้วยวิธีการที่โหดเหี้ยมทารุณอย่างสุดๆ

เพราะฉะนั้นตอนดู REVENGE ON THE MOON เราก็เลยรู้สึกว่ามันมีองค์ประกอบบางอย่างที่ทำให้นึกถึงหนังเหล่านี้ แต่ยังดีที่ระดับความโหดของมันน้อยกว่า “โมโฟ สิ้นชีวี อีดอกทอง” อย่างมากๆ

4.ดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึงหนังกลุ่ม romantic autobiography หรือหนังที่ดัดแปลงมาจากชีวิตรักของผู้สร้างหนังด้วย ซึ่งในบรรดาหนังกลุ่มนี้นั้น ถ้าหากพูดถึงเฉพาะหนังไทยแล้ว หนังที่เราชอบที่สุด ก็น่าจะเป็นเรื่อง TIME ACTUALLY PASSES SLOWER IN DREAM (2016, Alwa Ritsila, Lucy Day, Watcharapong Narongphine)

ส่วนในบรรดาหนังต่างประเทศนั้น หนังแนว romantic autobiography ที่เราชอบสุดๆ ก็คือหนังหลายๆเรื่องของ Philippe Garrel อย่างเช่น THE BIRTH OF LOVE (1993) และ PHANTOM HEART (1996)

5.แต่ถ้าถามว่า ทำไมเราถึงไม่ชอบ REVENGE ON THE MOON ถึงขั้น A+30 เราก็ขอตอบว่า เราเกลียดตัวละครพระเอกหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงจ้า 55555 เราเกลียดคนแบบนี้อย่างสุดๆ เพราะเรามองว่าคนแต่ละคนไม่มีใครเป็น “เจ้าของ” ใครน่ะ พ่อแม่ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของลูก ลูกก็ไม่ได้เป็นเจ้าของพ่อแม่ ผัวก็ไม่ได้เป็นเจ้าของเมีย เมียก็ไม่ได้เป็นเจ้าของผัว เพราะฉะนั้นถ้าหากใครอยากจะเลิกรากับใคร ก็เป็นสิทธิอันชอบธรรมของคนแต่ละคนที่จะเลิกรากับคนรักของตัวเองได้  โดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลใดๆเลยก็ได้ด้วย เพราะฉะนั้นเราก็เลยรู้สึกเกลียดทัศนคติหรือความคิดของตัวละครพระเอกมากๆ เพราะเขามองเหมือนกับว่า นวลวาฬ เป็นสมบัติของเขา

แต่ถ้าหากเขามองว่า นวลวาฬ ไม่ใช่ของของเขา และเขารักตัวเอง ภาคภูมิใจในตัวเองได้ มีความสุขกับตนเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความรักจากคนอื่นๆมาช่วยรับประกันเสริมหนุนค้ำยันอัตตาของตนเอง ให้ตนเองเป็นคนตัดสินคุณค่าของตนเอง ไม่ใช่ให้คนรักเป็นคนตัดสินคุณค่าของตัวเรา ถ้าหากเขามีทัศนคติแบบนั้น เราถึงจะรักพระเอกหนังเรื่องนี้ 555

และโดยส่วนตัวแล้ว ในบรรดา “หนังที่เราชอบที่สุดตลอดกาล” my most favorite films of all time นั้น หลายเรื่องมันเป็นหนังเกี่ยวกับ “ผู้หญิงทิ้งผัว” น่ะ  ไม่รู้ว่าทำไมเราถึงอินกับตัวละครกลุ่มนี้มากเป็นพิเศษ ทั้ง THE LEFT-HANDED WOMAN (1978, Peter Handke, West Germany) ที่เล่าเรื่องของผู้หญิงที่ทิ้งผัวโดยไม่มีเหตุผลใดๆทั้งสิ้น, VALERIE FLAKE (1999, John Putch) และ SHIRLEY VALENTINE (1989, Lewis Gilbert, UK) ที่เล่าถึงผู้หญิงที่ทิ้งผัว/คนรักแสนดีไป เพราะเธออยากอยู่เป็นโสดมากกว่า เพราะฉะนั้นเราก็เลยเหมือนจะอยู่ “ฝ่ายตรงข้าม” กับพระเอกหนังเรื่อง REVENGE ON THE MOON โดยปริยายน่ะ เพราะเรามักจะอินกับตัวละครนางเอกที่ทิ้งผัว เราก็เลยรู้สึกเป็นปฏิปักษ์กับตัวละครพระเอกของหนังเรื่องนี้โดยอัตโนมัติ 55555

LIKE TWO DROPS OF WATER

RAMBO: LAST BLOOD (2019, Adrian Grunberg, A+)

1. ไม่เคยดู RAMBO มาก่อนเลย เคยดูแต่ ROCKY BALBOA (2006, Sylvester Stallone)  ซึ่งอันนั้นเราชอบพอสมควร เพราะหนังเรื่องนั้นมันสะท้อนชีวิตมนุษย์ มากกว่าเป็นหนังบู๊ แอคชั่น

ส่วน RAMBO ภาคนี้ไม่เข้าทางเราเลย นึกว่า TAKEN (2008, Pierre Morel) ผสมกับ HOME ALONE (1990, Chris Columbus)

2.ดูแล้วรู้สึกว่ามันเป็น "ด้านกลับ" ของหนังฆาตกรโรคจิตน่ะ เพราะมันเหมือนเป็นการ "ขายความสนุก สะใจ จากความรุนแรง" คล้ายๆกัน เพียงแต่ว่าหนังฆาตกรโรคจิต จะทำให้คนดู identify ตัวเองกับ " ผู้ถูกล่า" ส่วน RAMBO: LAST BLOOD ทำให้คนดู identify ตัวเองกับ "ผู้ล่า"

ที่คิดถึงหนังฆาตกรโรคจิตขึ้นมา เพราะหน้าตาของสตัลโลนในหนังเรื่องนี้ ดูไร้อารมณ์มากๆ นึกว่าเขาใส่หน้ากากแบบ ผู้ร้ายใน   HALLOWEEN และ TEXAS CHAINSAW MASSACRE

3.แอบสงสัยว่า หนังเรื่องนี้สนับสนุนนโยบาย "สร้างกำแพงกั้นเม็กซิโก" ของทรัมป์หรือเปล่า

 LIKE TWO DROPS OF WATER (1963, Fons Rademakers, Netherlands, A+30)

หนังเหมือนเป็นการผสม MR. KLEIN (1976, Joseph Losey) กับ BLACK BOOK (2006, Paul Verhoeven) เข้าด้วยกัน

ถือว่าเป็นหนังที่สนุกสุดขีดสำหรับเรา ดูแล้วรู้สึกลุ้นมากๆ มีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครเอกมากๆ

หนังเล่าเรื่องของ Ducker ชายหนุ่มชาวดัทช์คนหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศอยู่ภายใต้การกดขี่ของนาซี วันหนึ่งเขาได้พบกับชายหนุ่มชื่อ Dorbeck ที่มีหน้าตาเหมือนกับเขา และ Dorbeck ก็ชวนให้เขาเข้าร่วมทำงานให้กับหน่วยลับต่อต้านนาซี และหลังจากนั้นชีวิตของ Ducker ก็เผชิญกับเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นและเสี่ยงภัยมากขึ้นเรื่อยๆในปฏิบัติการลับเหล่านี้

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่า การที่เรารู้สึกมีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละครพระเอกมากๆเป็นเพราะว่า "ผู้กำกับหนังเรื่องนี้เก่งมากๆ" หรือเป็นเพราะว่า "ประเทศไทยในช่วงนี้เหมือนอยู่ภายใต้การปกครองของนาซี" 555

แต่ก็ดีใจที่ตอนนี้ตัวเองไม่ได้อยู่ในยุโรปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะถ้าหากตัวเองไปอยู่ในยุโรปในช่วงนั้น มันก็คงจะเผชิญกับทางเลือกที่ยากลำบาก เพราะจะให้เราเข้าข้างนาซี ก็เป็นไปไม่ได้อย่างแน่นอน และจะให้เราอยู่นิ่งเฉย ไม่ทำอะไรเลย มันก็ทำใจลำบากมากๆถ้าจะเลือกทางแบบนั้น แต่ถ้าจะให้เราทำแบบพระเอก ด้วยการเข้าร่วมกับหน่วยปฏิบัติการลับ มันก็ต้องเผชิญกับ "โลกที่ไว้วางใจใครไม่ได้เลย" เพราะคนทุกคนในครอบครัวเรา ก็พร้อมจะทรยศเราได้ทุกเมื่อ และทุกคนในหน่วยปฏิบัติการลับ ก็ไว้วางใจไม่ได้ ไม่รู้ว่าใครเป็นสายลับสองหน้าบ้างหรือเปล่า หรือใครกำลังถูกนาซีหลอกใช้โดยไม่รู้ตัวหรือเปล่า มันเหมือนอยู่ในโลกที่อันตรายสุดขีด

Tuesday, September 24, 2019

THE ASSAULT (1986, Fons Rademakers, Netherlands, A+30)


THE ASSAULT (1986, Fons Rademakers, Netherlands, A+30)

1.นึกว่า "แบบทดสอบความเป็นมนุษย์" ชอบเนื้อเรื่องและสถานการณ์ในหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ ถึงแม้จะรู้สึกว่าการกำกับมันยังไม่ลงตัวมากนัก อาจจะเป็นเพราะมันเป็นหนังชีวิตที่เล่าชีวิตตัวละครในระยะเวลายาว 40 ปีก็ได้มั้ง มันก็เลยคุมจังหวะ, อารมณ์อะไรยากมาก และพอมันเป็นความพยายามจะถ่ายทอด "ชีวิตคน" อารมณ์ในหนังมันก็เลยไม่ได้มุ่งไปในทิศทางเดียว หรือโทนเดียว เพราะชีวิตคนมันมีหลากหลายอารมณ์ หนังมันก็เลยคุมโทนยาก

2.หนังเล่าเรื่องของ Anton เด็กชายชาวดัทช์ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงที่นาซีเข้ามายึดครองเนเธอร์แลนด์ ค่ำวันนึง Ploeg ชายดัทช์ที่เข้าข้างนาซีก็ถูกฝ่ายต่อต้านยิงตายที่หน้าบ้านของ Korteweg ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของ Anton แต่ Korteweg กับลูกสาวกลับรีบออกมาย้ายศพของ Ploeg มาไว้ที่หน้าบ้านของ Anton ทั้งๆที่ครอบครัวของ Anton ดีกับครอบครัวของ Korteweg มาโดยตลอด ในขณะที่ครอบครัว Aarts ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านอีกฝั่งหนึ่งของ Korteweg แทบจะไม่เคยสุงสิงกับครอบครัวอื่นๆเลย

พี่ชายของ Anton พยายามจะย้ายศพของ Ploeg ไปไว้ที่หน้าบ้านของ Mrs. Beumer แทน แต่ไม่ทัน ฝ่ายทหารนาซีมาพอดี พวกเขาฆ่าพ่อแม่ของ Anton, เผาบ้านของ Anton ทิ้ง, ฆ่าตัวประกันชาวดัทช์อีกเกือบ 20 คนเพื่อเป็นการแก้แค้นให้ Ploeg ส่วนพี่ชายของ Anton ก็ดูเหมือนจะหายสาบสูญไป นาซีส่ง Anton ซึ่งเป็นเด็กเล็กไปอยู่กับลุงที่เมืองอื่นแทน

Anton ผ่านสงครามโลกครั้งที่สองมาได้ เขาเติบโตมาเป็นหมอหนุ่มหล่อ แต่เขาก็ต้องเผชิญกับ trauma ในช่วงเวลาอีก 40 ปีต่อมา เขาดูเหมือนไม่ได้ผูกใจเจ็บอะไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่ในส่วนลึกของจิตใจ เราเดาว่าเขาคงตั้งคำถามว่า ใครมีส่วนผิดมากน้อยแค่ไหนกับการตายของพ่อแม่ของเขา ระหว่าง

2.1 ทหารนาซีที่ฆ่าพ่อแม่ของเขาโดยตรง

2.2 Ploeg ที่ไปเข้าข้างนาซี เป็นสายให้นาซึ และเคยมีส่วนในการตายของผู้บริสุทธิ์หลายคน จนในที่สุดก็มาถูกฆ่าตายหน้าบ้านของเพื่อนบ้านเขา

2.3 ฝ่ายต่อต้านนาซี ที่มาฆ่า Ploeg ในละแวกบ้านของ Anton ทั้งๆที่รู้ว่านาซีน่าจะต้องล้างแค้นให้ Ploeg

2.4 ครอบครัว Korteweg ที่ย้ายศพ Ploeg มาหน้าบ้าน Anton แทนที่จะทิ้งไว้หน้าบ้านตนเอง หรือย้ายศพไปหน้าบ้านครอบครัว Aarts

3. แล้วหนังก็ค่อยๆคลี่คลายเหตุการณ์ในอดีต ทีละเปลาะๆ Anton ค่อยๆเรียนรู้ความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ความจริงที่ว่า คนแต่ละคนในเหตุการณ์นั้นมีเหตุผลอะไรถึงทำแบบนั้น ถึงตัดสินใจแบบนั้น ถึงทำในสิ่งที่ต้องลงเอยด้วยการตายของพ่อแม่ของ Anton

4.ชอบเรื่องราวของหนังอย่างสุดๆ เพราะมันไปไกลกว่า “นาซี ปะทะ ประชาชนผู้บริสุทธิ์” หรือไปไกลกว่า “ฝ่ายขาวจัด กับ ฝ่ายดำจัด” น่ะ ตัวละครแต่ละตัวในหนังเรื่องนี้มีเฉดสีเทา และหลายๆตัวละครก็ทำให้เราต้องตั้งคำถามว่า “เราอาจจะมองว่าเขาผิดในตอนแรก แต่ถ้าหากเราเจออะไรต่างๆนานาแบบเขา และต้องตกอยู่ในสถานการณ์แบบเดียวกับเขา เราเองก็อาจจะตัดสินใจแบบเดียวกับเขาหรือเปล่า”

5.รักหนังที่โอบรับ “มนุษย์ผู้เปราะบาง, เห็นแก่ตัวในระดับนึง และทำผิดพลาดได้” อะไรแบบนี้มากๆ คือหนังที่เชิดชู “ฮีโร่ ผู้เสียสละ” เราก็ชอบนะ แต่บางทีเราก็ต้องการหนังที่รักคนที่ “ไม่ใช่ฮีโร่ แต่เป็นมนุษย์ปุถุชน มีผิดชอบชั่วดี รักตัวกลัวตาย” อะไรบ้างน่ะ

6.หนังไม่ได้มีแค่ประเด็นเรื่องสงครามโลกครั้งที่สองเท่านั้น แต่มีประเด็นเรื่องที่โซเวียตสังหารหมู่ชาวฮังการีในช่วงประมาณปี 1956 และเรื่องสงครามเวียดนามเข้ามาด้วย เพราะมันก็เป็นสถานการณ์เฉดสีเทาเหมือนกัน คือการที่โซเวียตสังหารหมู่ชาวฮังการี มันไม่ใช่สิ่งที่ดี แต่นั่นหมายถึงว่า “ลัทธิคอมมิวนิสต์ในตัวมันเอง” เป็นสิ่งที่เลวหรือเปล่า หรือเรื่องของสงครามเวียดนามนั้น มันก็น่าตั้งคำถามว่า ถ้าหากคุณเดินขบวนต่อต้านโซเวียตในปี 1956 แล้วคุณจะเดินขบวนต่อต้านสหรัฐอเมริกาที่พยายามต่อสู้กับโซเวียตผ่านทางสงครามเวียดนามด้วยมั้ย คือเราว่าอะไรแบบนี้มัน “สีเทา” ดีมากๆ

7.พอดูจบแล้ว ก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้สามารถปะทะกับ INCENDIES (2010, Denis Villeneuve), SOPHIE’S CHOICE (1982, Alan J. Pakula) และ SONG OF THE EXILE (1990, Ann Hui) ได้เลย เพราะหนังทั้งสี่เรื่องนี้นำเสนอผลกระทบจากสงครามที่มีต่อจิตใจของผู้รอดสงคราม และก่อให้เกิด trauma ที่ดำรงคงอยู่ในจิตใจของผู้รอดสงครามมานานหลายสิบปีเหมือนกัน (จริงๆ แล้ว SONG OF THE EXILE อาจจะไม่ได้เข้าข่ายนี้ซะทีเดียว แต่มันมี “ความซึ้ง” อะไรบางอย่างที่มันเข้ากันกับหนังกลุ่มนี้ได้)

24 SEP – 30 SEP 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 39
24 SEP – 30 SEP 1989

1. SANCTUARY – Miho Nakayama (New Entry)

2. MY FIRST NIGHT WITHOUT YOU – Cyndi Lauper

3. IF I COULD TURN BACK TIME – Cher

4. KISSES ON THE WIND – Neneh Cherry

5. VIRGIN EYES – Miho Nakayama

6. HARRY HOUDINI – Kon Kan

7. SABISHII NETTAIGYO – Wink

8. LAY ALL YOUR LOVE ON ME – Information Society

9. SEKAI DE ICHIBAN ATSUI NATSU – Princess Princess

10. BLAME IT ON THE BOOGIE – Big Fun (New Entry)

11. I DO – Natalie Cole and Freddie Jackson (New Entry)

12. AIN’T TOO PROUD TO BEG – Rick Astley (New Entry)

13. KNOCKED OUT – Paula Abdul (New Entry)

14. WOULDN’T CHANGE A THING – Kylie Minogue

15. SAYONARA O SUGITE – Noriko Sakai (New Entry)


Monday, September 23, 2019

AD ASTRA

SOLARIS (2002, Steven Soderbergh, A+30)

 1.เหมือนพอเทียบกับหนังของ Tarkovsky แล้ว เรารู้สึกว่า หนังของ Soderbergh พยายามทำให้ทุกอย่างมันชัดเจน และดูเป็นรูปธรรมจับต้องได้น่ะ เหมือนเป็นการ paraphrase บทกวี (หนังของ Tarkovsky)

คือถ้าหนังของ Tarkovsky มีความอ่อนไหว นุ่มนวล ละเอียดอ่อน แบบ "น้ำ"  หนังของ Soderbergh ก็ให้ความรู้สึกเหมือน โลหะหนัก

หรือหนังของ Tarkovsky ให้ความรู้สึกเหมือนภาพวาดแบบ impressionist ส่วนหนังของ Soderbergh ให้ความรู้สึกเหมือน "ภาพถ่าย"

2.เหมือนพอดูจบแล้ว สิ่งที่ติดอยู่ในหัวของเราหลังดูหนังของ Soderbergh คือ ใบหน้าของนักแสดง ทั้ง George Clooney, Natascha McElhone, Jeremy Davies และ Viola Davis

 แต่สิ่งที่ติดอยู่ในหัวของเราหลังดูหนังของ Tarkovsky คือภาพใบไม้พลิ้วไหวใต้สายน้ำ, ฝนตกในบ้าน, ท้องถนนในญี่ปุ่น

BTS SUKHUMVIT LINE DEPOT (2019, Charlie Freedman, 4min, A+30)

 ให้อารมณ์เหมือนหนังในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนมากๆ หนังจับภาพการกระทำของผู้หญิงคนหนึ่งในลานจอดรถ ดูแล้วเหมือนหนังสารคดี แต่ก็ไม่แน่ใจว่ามันเป็น mockumentary  หรือเปล่า

ดูที่ cinema oasis

VOICES FROM THE SILENCE (2018, Joshua Wahlen, Alessandro Seidita, Italy, documentary, A+25)

 หนังเลือกประเด็นได้น่าสนใจดี นั่นก็คือคนที่ใช้ชีวิตแบบ hermit (ฤาษี) ในอิตาลี  แต่หนังเลือกใช้วิธีนำเสนอแบบ talking head เป็นหลัก และคนเหล่านี้ก็เน้นพูดเรื่องจิตวิญญาณ นามธรรม ซึ่งเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก และน่าจะแปลจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งได้ยากด้วย (จากภาษาอิตาเลียน เป็นภาษาอังกฤษ)  เราก็เลยดูแล้วรู้สึกงงๆกับเรื่องที่คนต่างๆในหนังเรื่องนี้พูดถึง

AD ASTRA (2019, James Gray, A+30)

1.ชอบหนังมากๆ ยกเว้นช่วงองก์สุดท้ายที่รู้สึกอารมณ์มัน drop ลงนิดนึง

2.ก่อนหน้านี้เคยดูหนังของ James Gray แค่สามเรื่อง ซึ่งก็คือ LITTLE ODESSA, THE YARDS กับ WE OWN THE NIGHT รู้สึกว่าหนังของเขาดีมาก แต่เราดูแล้วจะไม่ค่อยอิน เดาว่าเป็นเพราะประเด็นเรื่อง "ครอบครัว" กับลักษณะ macho ของตัวพระเอกใน THE YARDS กับ  WE OWN THE NIGHT ที่ทำให้เราดูแล้วถอยห่างจากหนัง

AD ASTRA น่าจะเป็นหนังที่เราดูแล้วอินสุดแล้วมั้งในบรรดา 4 เรื่องนี้ เพราะถึงตัวพระเอกจะดู "มาดแมน" มากๆ แต่ก็ไม่ได้มากเท่าพระเอก THE YARDS กับ   WE OWN THE NIGHT และการที่หนังเรื่องนี้ตั้งคำถามกับ "hero"  และ "พ่อ" ก็เลยทำให้หนังไม่ได้ดู "รักความ macho ของเพศชาย" มากเกินไปสำหรับเรา

แต่องก์สุดท้ายของหนัง มันมีอารมณ์แบบ "ครอบครัว" เข้ามา ก็เลยดีดเราออกจากหนังนิดนึง

3.ผู้กำกับอีกคนที่เรามีปัญหาคล้ายๆกัน คือ Jacques Audiard


Saturday, September 21, 2019

ZHANG FAMILY

ZHANG FAMILY (2019, Woradol Sukjaroenmitr, Meenmaythapak Tanasupapol, Apassara Mahawajn, A+25)

หนังเพลงที่ทำออกมาได้น่ารักดี ชอบที่เพลงมันดูไม่ค่อยเป็นเพลงเท่าไหร่ 55555

MANNEQUIN (2019, Rawiwan Foongkiatskul, A+20)

หนังน่าจะได้รับแรงบันดาลใจจาก PSYCHO แล้วดัดแปลงมาเป็นเรื่องของกะเทยช่างตัดเสื้อ ชอบการแสดงของตัวเอกมากๆ การแสดงของนักแสดงมันช่วยให้ตัวละครดูดี มีมิติ และทำให้ตัวละครดูน่าเห็นใจ ถึงแม้ว่าเธอจะเป็นฆาตกรโรคจิต

Friday, September 20, 2019

ASH IS PUREST WHITE

ASH IS PUREST WHITE (2018, Jia Zhangke, China, A+30) 1.ชอบช่วงกลางของหนังมากที่สุด ซึ่งเป็นช่วงที่นางเอกไม่ได้อยู่กับผัว และต้องผจญภัยตามลำพัง ช่วงนั้นเหมือนนางเอกจะตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ และทำตัวเป็นมิจฉาชีพซะเอง 2.ชอบที่หนังเหมือนเน้นทัศนียภาพของ "เมือง" หรืออาคารบ้านเรือนมากเป็นพิเศษ คือจริงๆแล้วเนื้อหาของหนังเรื่องนี้กับ MOUNTAINS MAY DEPART (2015, Jia Zhangke) มันเอื้อให้เป็นหนังเมโลดราม่าชีวิตผู้หญิงแนว "คนเริงเมือง" , "บัลลังก์เมฆ", "สงครามชีวิตโอชิน" อะไรพวกนี้ได้ง่ายมาก เพราะมันเล่าเรื่องชีวิตผู้หญิงคนหนึ่งที่ระหกระเหิน เผชิญกับอะไรต่างๆในระยะเวลาราว 20 ปี แต่พอมันเป็นหนังของ Jia มันก็เหมือนกับว่า จุดประสงค์จริงๆของเขาอาจจะไม่ใช่การสร้างตัวละครที่น่าเห็นใจ เพื่อให้ผู้ชม identify หรือเอาใจช่วย แต่เราเดาว่าเขาเหมือนจะใช้ตัวละครของเขาเป็นเครื่องมือในทางอ้อมในการสะท้อนอะไรบางอย่างในสังคมจีนมากกว่า เนื่องจากทางการจีนมีการเซ็นเซอร์ที่เข้มงวดมาก เผด็จการมาก เพราะฉะนั้นหนังของเขาก็เลยไม่ได้พูดอะไรตรงๆ ซึ่งเราก็ตีความหนังของเขาไม่ออกแต่อย่างใด ว่า ASH IS PUREST WHITE สะท้อนอะไรบ้างในสังคมจีน หรืออะไรต่างๆในหนังเป็นสัญลักษณ์แทนอะไร แต่เรารู้สึกเหมือนกับว่า มันน่าจะมี layer อะไรอยู่ในหนังที่มากไปกว่าการสะท้อนชีวิตตัวละครอย่างตรงไปตรงมาน่ะ และจุดหนึ่งที่ทำให้คิดแบบนี้เป็นเพราะว่า หนังของเขาเน้นให้เราเห็น "ตัวละครท่ามกลางสภาพบ้านเรือน สิ่งแวดล้อม" แทนที่จะพยายามบีบเค้นอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครออกมาอย่างรุนแรงแบบหนังเมโลดราม่า 3.รู้สึกว่าหนังที่ปะทะกับ ASH IS PUREST WHITE ได้อาจจะเป็น THE MARRIAGE OF MARIA BRAUN (1979, Rainer Werner Fassbinder, West Germany) ที่นำเสนอชีวิตผู้หญิงต้องสู้เป็นเวลานานหลายปีเหมือนกัน และใช้มันเป็นสัญลักษณ์สะท้อนแง่มุมต่างๆในสังคมเหมือนกัน

Thursday, September 19, 2019

MR. DEU (2019, Chainarong Tampong, A+)


MR. DEU (2019, Chainarong Tampong, A+)
มิสเตอร์ดื้อ กันท่าเหรียญทอง (ไชยณรงค์ แต้มพงษ์)

(คะแนนเต็มคือ A+30 นะ บอกไว้ก่อน เดี๋ยวเผลอมีขาจรผ่านมาอ่านแล้วเข้าใจผิดว่าเราชอบหนังเรื่องนี้มากๆ 55555)

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.แอบสงสารนักแสดง รู้สึกว่านักแสดงแต่ละคนตั้งใจเล่นมาก โดยเฉพาะนางเอกที่เล่นดีมากๆๆในความเห็นของเรา แต่นักแสดงเหล่านี้ควรจะได้เล่นหนังที่ดีกว่านี้

2.จริงๆแล้วก็ไม่ได้ชอบหนังเท่าไหร่ แต่ก็ชอบความหล่อน่ารักของพระเอกมากๆ ชอบการแสดงของนางเอกมากๆ และก็ไม่ได้อยากด่าหนังมากนัก เพราะเรารู้สึกว่า เราไม่ใช่ “ผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย” ของหนังอยู่แล้วน่ะ ด้วย genre ของหนังที่เป็น romantic comedy ที่ให้น้ำหนักกับ comedy เป็นหลัก ซึ่งมันไม่ใช่หนังแนวทางเราอยู่แล้ว

คือตอนดูเราจะรู้สึกว่า หนังเรื่องนี้มันถูก “ฝืน” ให้เป็น comedy ยังไงไม่รู้ แต่มันอาจจะเป็นเพราะเราไม่ชอบหนัง comedy อยู่แล้วก็ได้มั้ง คือเรารู้สึกเหมือนกับว่า ผู้สร้างหนังตั้งโจทย์ว่า เกือบทุกฉากของหนังต้องมีอารมณ์ comedy อยู่ไม่ต่ำกว่า 60% ของฉากนั้น เพราะฉะนั้นคนเขียนบทก็เลยต้องพยายามคิดซีน คิดสถานการณ์ฮาๆ บ้าๆบอๆ คิดบทสนทนาที่น่าจะฮา ยัดใส่เข้ามาในหนังเรื่อยๆ เรื่อยๆน่ะ แต่เรารู้สึกเหมือนกับว่า ทีมเขียนบทหนังเรื่องนี้ จริงๆแล้วไม่ได้มี sense ทาง comedy ที่เก่งมากๆสักเท่าไหร่ เหมือนพวกเขาต้องใส่อารมณ์ comedy เข้าไปตามที่โจทย์กำหนดมา เพราะฉะนั้นตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราเลยรู้สึกเหมือนกับว่า มันมีความฝืนๆยังไงไม่รู้

แต่ถ้าให้เราต้องคิดซีนตลกๆอะไรพวกนี้ เราก็ทำไม่ได้เหมือนกันนะ เราว่าการเขียนบทหนัง comedy จริงๆแล้วมันเป็นเรื่องที่ยากสุดๆเหมือนกันน่ะ คือมันต้องอาศัยความถนัดเฉพาะตัวจริงๆ คนที่ไม่มี sense ตลกแบบเรา ไม่มีทางทำได้

3.เพราะฉะนั้น ตอนที่ดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยแอบเสียดาย คือเราว่าถ้าหากหนังเลือกจะเป็น romantic drama หรือเลือกที่จะเป็นหนัง romantic ที่ใส่ความตลกเข้ามาแบบเบาๆ แบบไม่ต้องฝืน ไม่ต้องยัดเยียด หนังมันน่าจะเข้าทางเรามากกว่านี้เยอะ

4.ชอบอาชีพของนางเอกมากๆ เพราะเราป่วยเป็นโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน เคยไปทำกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลหลายครั้งเหมือนกัน ก็เลยชอบที่หนังเลือกให้นางเอกมีอาชีพเป็นนางพยาบาลกายภาพบำบัด แต่เสียดายที่หนังไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรมากนักตรงจุดนี้

5.แอบขำที่หนังเรื่องนี้เหมือน “ทำตัวตรงข้าม” กับ WHERE WE BELONG (2019, Kongdej Jaturanrasamee, A+30) เพราะนางเอกของ WHERE WE BELONG กับพระเอกของ MR. DEU ประสบปัญหาเดียวกัน นั่นก็คือ พ่อของทั้งสองทำร้านก๋วยเตี่ยวหรืออะไรทำนองนี้ และพยายามบีบบังคับกลายๆให้ลูกของตนเองสืบทอดกิจการเหมือนกัน ในขณะที่ฝ่ายลูกก็ไม่ต้องการจะสืบทอดกิจการเหมือนๆกันทั้งสองเรื่อง และต้องการจะหนีจากเมืองบ้านเกิดเหมือนๆกันด้วย

แต่ในขณะที่ WHERE WE BELONG ดูเหมือนจะสนับสนุนการตัดสินใจของนางเอกในการหนีไปจากบ้านเกิด และหนีไปจากการทำงานที่ตนเองไม่ต้องการ MR.DEU กลับดูเหมือนจะสนับสนุนให้พระเอกทำตัวตรงกันข้าม

6.หนังเรื่องนี้คงมีสิทธิได้ A+30 จากเราอย่างแน่นอน ถ้าหากมันเปลี่ยนมาเล่าเป็นเรื่องของน้าสาวที่อยากได้หลานชายตนเองเป็นผัวอย่างมาก และพยายามยั่วยวนหลานชายตนเองสุดฤทธิ์ โดยนางเอกจะบอกกับหลานว่า หลานไม่ต้องคบเราเป็นแฟน ไม่ต้องควงเราไปไหนมาไหนหรอก แค่กลับบ้านมาเย็ดเราในที่รโหฐานก็พอแล้ว



JACKIE BROWN

JACKIE BROWN (1997, Quentin Tarantino, A+30)

--ชอบฉากที่  Robert Forster ไปหาซื้อเทปเพลงของวง The Delfonics เพื่อฟังเพลงตาม Jackie Brown มากๆ รู้สึกว่ามันโรแมนติกดี ชอบที่มันเป็น "เทปเพลง" ด้วย ไม่ใช่ซีดีหรือแผ่นเสียง เพราะเราก็ฟังเทปเพลงเป็นหลักเหมือนกัน 555

--ชอบตัวละครของ Robert De Niro มากๆ ชอบความคาดเดาไม่ได้ของตัวละครตัวนี้

TURKISH DELIGHT (1973, Paul Verhoeven, Netherlands, A+30)

ชอบหลายๆ ฉากมาก โดยเฉพาะฉากที่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลพยายามกีดกันไม่ให้พระเอกกับนางเอกได้เข้าเฝ้าราชินีเนเธอร์แลนด์ เพราะนางเอกใส่ชุดโชว์นม

Wednesday, September 18, 2019

CITY HUNTER: SHINJUKU PRIVATE EYES (2019, Kenji Kodama, Japan, animation, A+15)


CITY HUNTER: SHINJUKU PRIVATE EYES (2019, Kenji Kodama, Japan, animation, A+15)

1.ทำไมดูแล้วรู้สึกว่าพระเอกดูหื่นมากๆ (แต่ก็น่ากิน เวลาเห็นกล้ามแขน) แล้วก็เลยสงสัยว่า

1.1 ความหื่นของพระเอกในเรื่องนี้ เป็นสิ่งปกติในยุคปัจจุบัน แต่ตัวเราไม่ค่อยได้ดูการ์ตูนญี่ปุ่นยุคปัจจุบัน ก็เลยไม่คุ้นกับพระเอกหื่นๆ

1.2 หรือว่า ความหื่นของพระเอกเรื่องนี้ เป็นสิ่งปกติในทศวรรษ 1980 ตอนที่การ์ตูนเรื่องนี้ดัง แต่หลังจากนั้น กระแสความนิยมในสังคมค่อยๆเปลี่ยนแปลงไปทีละน้อย พระเอกแนวหื่นๆได้รับความนิยมน้อยลงเรื่อยๆ ความหื่นของพระเอกเรื่องนี้ ก็เลยกลายเป็นสิ่งที่แปลกหูแปลกตาในยุคปัจจุบัน

คือมันจะแตกต่างไปจากพระเอก James Bond ที่ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยน่ะ เพราะถ้าเราเข้าใจไม่ผิด พระเอก James Bond ยุคแรกจะดูเจ้าชู้มากๆ แล้วความเจ้าชู้ก็ดูจะลดน้อยลงเรื่อยๆเมื่อเวลาผ่านไป และในที่สุด James Bond ก็ดูเหมือนจะกลายเป็นวัตถุทางเพศซะเองใน CASINO ROYALE (2006, Martin Campbell)

1.3 หรือว่า ความหื่นของพระเอก CITY HUNTER เป็น “เอกลักษณ์สำคัญ” อย่างหนึ่งของการ์ตูนเรื่องนี้ ตั้งแต่ยุคอดีตมาจนถึงปัจจุบัน

2.แอบขำที่หนังการ์ตูนญี่ปุ่นเหมือนมีญาณวิเศษ เข้าฉายในไทยในจังหวะที่เหมาะมากๆ เพราะว่า WEATHERING WITH YOU ก็เข้าฉายในไทยช่วงที่ไทยเจอปัญหาฝนตกหนักมากพอดี แล้ว CITY HUNTER ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับ “การสาธิตความร้ายแรงของอาวุธโดรน” ก็เข้าฉายในไทยตอนที่มีข่าวว่า กลุ่มฮูตีในเยเมนใช้โดรนโจมตีโรงงานน้ำมันในซาอุดิอาระเบียในวันเสาร์ที่ 14 ก.ย. แล้วก็เลยส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกพุ่งขึ้น 19.5% ในวันจันทร์ที่ 16 ก.ย. คือเหมือนกับว่า กลุ่มผู้ร้ายในโลกแห่งความเป็นจริง ก็กำลังสาธิตความร้ายแรงของอาวุธโดรนที่สามารถส่งผลกระทบต่อคนทั้งโลกได้ พร้อมๆกับกลุ่มผู้ร้ายในหนังเรื่อง CITY HUNTER พอดี 55555 

Tuesday, September 17, 2019

DREAM GIRL (2019, Raaj Shaandilyaa, India, A+25)


DREAM GIRL (2019, Raaj Shaandilyaa, India, A+25)

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.ชอบความ incest ของหนังมากๆ หนังเล่าเรื่องของพระเอกที่ทำงานเป็นสาว sex phone เพราะเขาดัดเสียงเป็นผู้หญิงได้เก่งมาก เขาก็เลยปลอมเสียงเป็นหญิงสาว และคอยเอาใจลูกค้าชายมากมายที่โทรมาหาเขา

แต่เขาไม่รู้ว่า ลูกค้าคนนึงที่ติดใจเขา จนถึงขั้นจะแต่งงานด้วย คือพ่อของเขาเอง

รู้สึกว่าหนังมันไปไกลเกินคาดมากๆตรงจุดนี้ นึกว่าต้องปะทะกับหนัง incest อย่าง I SENT A LETTER TO MY LOVE (1980, Moshé Mizrahi, France) ที่เล่าเรื่องของผู้ชายที่ตกหลุมรัก pen friend โดยหารู้ไม่ว่า pen friend คนนั้นคือน้องสาวของเขาเอง


2.จริงๆแล้วหนังมีจุดที่ชอบเยอะมาก แต่ไม่สามารถให้ A+30 ได้ เพราะช่วงท้ายบทภาพยนตร์พังมากๆ คือบทภาพยนตร์เรื่องนี้เหมือนพยายามทำตามสูตรสำเร็จ และตั้งเป้าไว้ล่วงหน้าว่า ตัวละครสำคัญทุกตัวต้องมารวมกันในฉากท้ายๆ เพื่อให้พระเอกกล่าว speech ซึ้งๆกินใจให้ทุกคนฟัง ซึ่งมันเป็นฉากจบแบบที่นิยมกันมากในหนังฮอลลีวู้ดเมื่อราว 20 ปีก่อน ที่พระเอก/นางเอกต้องกล่าว speech สั่งสอนผู้ชม

แต่เหมือนบทภาพยนตร์ของหนังเรื่องนี้ ไม่สามารถสร้างเหตุผลรองรับที่น่าเชื่อถือ เพื่อเอื้อให้เกิดสถานการณ์ดังกล่าวในช่วงท้ายของหนังได้น่ะ เพราะฉะนั้นช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้ จึง “เป๊ะมาก” ในทางอารมณ์แบบหนังบอลลีวู้ดทั่วไป คือถ้าดูแค่กราฟอารมณ์อย่างเดียว หนังเรื่องนี้ก็ทำสำเร็จตามเป้าหมาย สามารถสร้าง speech กินใจ ทำให้ผู้ชมรู้สึกซาบซึ้ง สนุก สะใจ ฟูฟ่องได้

แต่ถ้าหากคิดดีๆแล้ว จะรู้สึกว่าตรรกะมันพังมากๆในฉากนี้ แบบว่าตัวละครนี้ตัดสินใจทำอย่างนี้ทำไม แล้วตัวละครนี้ไปเจอตัวละครอีกตัวจากไหน แล้ว speech ของหนังฟังแล้วก็ดูไม่ดีเท่าไหร่ เหมือนกับหนังพยายามจะทำตัวมีสาระมากเกินไป เหมือนกับว่าต้องใส่ speech เข้ามาตามสูตรสำเร็จ ทั้งที่จริงๆแล้วมันไม่ต้องทำแบบนั้นก็ได้

17 SEP – 23 SEP 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 38
17 SEP – 23 SEP 1989

1. SEKAI DE ICHIBAN ATSUI NATSU – Princess Princess (New Entry)
+ VIRGIN EYES – Miho Nakayama (New Entry)

2. IF I COULD TURN BACK TIME – Cher (New Entry)
+ WOULDN’T CHANGE A THING – Kylie Minogue

3. MY FIRST NIGHT WITHOUT YOU – Cyndi Lauper
+ RIGHT HERE WAITING – Richard Marx https://www.youtube.com/watch?v=S_E2EHVxNAE

4.KISSES ON THE WIND – Neneh Cherry (New Entry)
+ COLD HEARTED – Paula Abdul

5. SABISHII NETTAIGYO – Wink (New Entry)
+ LAY ALL YOUR LOVE ON ME – Information Society (New Entry)

6. HITOMI NO NAKA NO MIRAI – Yoko Minamino

7. KOI NO ROCK ‘N’ ROLL CIRCUS – Yui Asaka

8. FRIENDS – Jody Watley featuring Eric B. & Rakim

9. IT ISN’T, IT WASN’T, IT AIN’T NEVER GONNA BE – Aretha Franklin & Whitney Houston (New Entry)

10. SWING THE MOOD – Jive Bunny and the Mastermixers (New Entry)