Saturday, April 30, 2022

THE HOUSE OF THE LOST ON THE CAPE

 FATE/KALEID LINER PRISMA ILYA -- LICHT NAMELESS GIRL (2021, Shin Oonuma, Japan, Animation, A+15)


เป็นหนังตระกูล FATE ภาคที่ 6 ที่เราได้ดู และเราก็เริ่มรู้สึกอิ่มตัวกับมันแล้ว 555 คือก่อนหน้านี้เราเคยชอบหนังชุดนี้มาก ๆ เพราะมันเต็มไปด้วยตัวละครหญิงสาวอิทธิฤทธิ์แรง ๆ ที่บู๊สะบั้นหั่นแหลกน่ะ เหมือนเอาตัวละครจาก SAILOR MOON มาใส่ในการ์ตูนบู๊ ๆ ของผู้ชาย ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าทางเรามาก ๆ

แต่พอเราดูมาแล้ว 6 ภาค (เหมือนเราพลาดไป 2 ภาคจากที่เข้ามาฉายในไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา) เราก็เริ่มรู้สึกว่า อยากให้หนังชุดนี้มันมีอะไรมากกว่านั้นบ้าง 555
---
ปีนี้ครบรอบ 40 ปีที่วรายุฑ มิลินทจินดา ถูกโฉมฉาย ฉัตรวิไล ใช้ทุเรียนตบหน้า?

หนึ่งใน "ฉากคลาสสิค" ที่ดูเหมือนจะหายสาบสูญไปแล้วตลอดกาล น่าจะเป็นฉากจากละครโทรทัศน์เรื่อง "สงครามพิศวาส" (1982) ที่วรายุฑ ถูกโฉมฉาย ฉัตรวิไลใช้ "ทุเรียน" ตบหน้า

คือเราก็ไม่ได้ดูละครเรื่องนี้นะ ไม่รู้ว่าฉากดังกล่าวได้รับการถ่ายทอดออกมาบนจอทีวีอย่างไร แต่เหมือนในยุคนั้นคนจำนวนมากพูดกันถึงเนื้อหาจุดนี้ของละครอย่างรุนแรงมาก ๆ จนเราคิดว่า ฉากการใช้ทุเรียนตบหน้านี่มันต้องเป็นฉาก classic อมตะนิรันดร์กาลฉากนึงแน่ ๆ น่ะ คนเลยพูดถึงอย่างรุนแรงขนาดนี้

แต่เหมือนไม่มีใคร upload ฉากนี้ลงยูทูบหรืออะไรเลย ฉากคลาสสิคฉากนี้ก็เลยเหมือนหายสาบสูญไปตลอดกาล เสียดายที่สุด ไม่งั้นฉากนี้อาจจะกลายเป็น gif หรือมีม หรือมีคนทำ tribute ให้ใน tiktok เพื่อฉลองครบรอบ 40 ปีไปแล้วก็ได้ แบบซื้อทุเรียนมาถ่าย tiktok ถ่ายเสร็จก็แดกทุเรียนต่อ

มีใครทันได้ดูฉากคลาสสิคฉากนี้บ้างไหมคะ

ภาพจากเพจ "ภาพจากหนังสือเรื่องย่อละครไทย" ใน facebook
---

เมื่อวานนี้เรานั่งรถไฟฟ้าสายสีทอง เห็นผู้โดยสารหญิงคนนึงในโบกี้หน้าไปยืนติดหน้าต่างด้านหน้าโบกี้ และใช้มือถือถ่ายวิวรางรถไฟด้านหน้าโบกี้ไปเรื่อย ๆ เราก็เลยนึกถึงหนังเรื่อง CHICAGO (1996, Juergen Reble) ขึ้นมาเลย (ภาพจากสูจิบัตรเทศกาลภาพยนตร์ทดลองกรุงเทพครั้งที่ 3 ในปี 2001)
---

MARONA'S FANTASTIC TALES (2019, Anca Damian, France/Romania/Belgium,, animation, A+30)

Spoilers alert
--
--
--
--
--

1.ชอบงานด้านภาพของ animation นี้อย่างสุด ๆ รู้สึกว่ามันงดงามในแบบที่ตรงใจเรามาก ๆ นึกว่าต้องปะทะกับ THE BOY AND THE WORLD (2013 Ale Abreu, Brazil) ที่เป็นหนัง animation ที่มีงานด้านภาพสวยสุดขีดเหมือนกัน

2.หนังเล่าเรื่องชีวิตหมาตัวนึง แต่หนังมันสะท้อนชีวิตมนุษย์ได้อย่างน่าสะเทือนใจมาก ๆ เหมือนมันสะท้อนขีดจำกัดของมนุษย์ผ่านทางชีวิตของเจ้านายแต่ละคนของมัน

2.1 เจ้านายคนแรกรักมันมาก เขาเป็นนักแสดงมายากลข้างถนน แต่พอ cirque du soleil หรืออะไรทำนองนี้มาชวนเขาเข้าร่วมทีมเพื่อออกทัวร์ เขาก็เลยต้องแยกทางกับหมาตัวนี้

2.2 หมาตัวนี้ได้ไปอยู่กับหญิงชรา แต่หญิงชราที่เดินไม่ค่อยสะดวกสดุดหมาล้ม ทั้งสองก็เลยต้องแยกทางกัน

2.3 หมาตัวนี้ได้ไปอยู่กับลูกชายหญิงชรา เขารักหมามาก แต่เมียเขาเกลียดหมา หมากับคนก็เลยต้องแยกทางกัน ถ้าจำไม่ผิด

2.4 เด็กหญิงคนนึงเก็บหมาไปเลี้ยง เธอรักหมามาก แต่พอเธอโตขึ้นเป็นสาว เธอก็เน้นเอาเวลาไปหาผัว ไม่มีเวลาให้หมามากเหมือนแต่ก่อน

2.5 แม่ของเด็กหญิงก็ต้องหาเลี้ยงครอบครัวตามลำพัง เลี้ยงทั้งลูก ทั้งพ่อของเธอในวัยชรา เธอก็เลยเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้ากับชีวิตอย่างรุนแรง

พอดูแล้วก็เลยรู้สึกว่าหนังมันสะท้อนข้อจำกัดต่าง ๆ ของชีวิตมนุษย์ได้ดีมากน่ะ ก็เลยชอบหนังอย่างสุดขีด

---

C'MON C'MON (2021, Mike Mills, A+25)

1.ชอบส่วนที่เป็นการสัมภาษณ์เด็ก ๆ มาก ๆ

2. รู้สึกว่าหนังมันดีมาก แต่ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมเราดูแล้วไม่ค่อยอิน 555 ตอนแรกก็นึกว่าอาจจะเป็นเพราะเราไม่มีสมาธิในการดูมากเท่าที่ควร แต่คิดดูแล้ว เราก็ไม่ได้อินเป็นการส่วนตัวกับ 20TH CENTURY WOMEN (2016, Mike Mills, A+30) เหมือนกัน ก็เลยคิดว่ามันอาจจะเป็นเรื่องของ wavelength ของเราที่ไม่ตรงกับของผู้กำกับ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถอธิบายได้

3.แต่รู้สึกได้เลยว่า เราคล้ายกับ "พ่อเด็ก" มากกว่าพระเอกในหนังเรื่องนี้ เหมือนอย่างที่เราให้สัมภาษณ์ไปแล้วว่า เราเป็นคนที่รู้สึกว่าตัวเองแบกรับปัญหาชีวิตไว้มากเกินพอแล้ว เพราะฉะนั้นถ้ามีปัญหาชีวิต หรือภาระเหี้ยห่าอะไรเพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งอย่าง กูจะทนไม่ไหวและจะไม่ทนอะไรอีกต่อไป เราก็เลยเหมือน identify ตัวเองกับพ่อเด็กที่ nervous breakdown มากกว่าจะ identify ตัวเองกับพระเอก



---
THE END OF THE PALE HOUR (2021, Hana Matsumoto, Japan, A+30)

Spoilers alert
--
--
--
--
--
1.เป็นหนังที่ "จริงจนเจ็บ" สำหรับเรา พระเอกเพิ่งจบมหาลัย ไขว่คว้าดิ้นรนที่จะประสบความสำเร็จทั้งในด้านความรักและหน้าที่การงาน แต่ในที่สุดก็ล้มเหลว อยู่เป็นโสด และทำงานต๊อกต๋อยต่อไป

แน่นอนว่าดูแล้วนึกถึงชีวิตตัวเอง และรู้สึกว่ามันช่วยเติมเต็มหนังเรื่อง FAST & FEEL LOVE ได้ดีมาก เพราะไม่ว่าคุณจะเป็นแชมป์โลก หรือเป็นพนักงานระดับล่าง ชีวิตมันก็เต็มไปด้วยความทุกข์และความไม่สมหวังแบบนี้นี่แหละ
ดูแล้วนึกถึง one of my most favorite TV series of all time เรื่อง "จุดนัดฝัน" (1995) ด้วย

รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เหมือนเป็นขั้วตรงข้ามของหนังอย่าง THE SECRET OF MY SUCCESS (1987, Herbert Ross) ที่ทำให้เรามีความหวังว่าจะประสบความสำเร็จในระบบทุนนิยม คือเหมือนหนังฮอลลีวู้ดยุคทศวรรษ 1980  มันบรรจุความฝันที่หอมหวานของระบบทุนนิยมแบบนี้ไว้เยอะมั้ง ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด บางทีอาจเป็นเพราะยุคนั้นมันเป็นยุคสงครามเย็น

2.รู้สึกว่า Takumi Kitamura ในเรื่องนี้ ดูคล้ายสันติสุข พรหมศิริ ในบางมุม 555
---
THE BATMAN (2022, Matt Reeves, A+30)

1. นึกว่าได้รับแรงบันดาลใจจาก "กาหลมหรทึก" 55555  ฆาตกรต่อเนื่องที่ทิ้งปริศนาพาสนุกไว้ในการฆ่าแต่ละครั้ง

ดูแล้วนึกถึงหนังชุด SAW มาก ๆ ด้วย แต่เราชอบเรื่องนี้มากกว่า SAW เพราะ SAW มันโหดไปสำหรับคนใส ๆ อย่างเรา 555

2. กลายเป็นแบทแมนภาคที่ชอบที่สุด คงเป็นเพราะการออกแบบบรรยากาศและตัวละครพระเอกที่เข้าทางเรามาก ๆ ชอบพระเอกที่มีอาการหมดอาลัยตายอยาก เซ็งโลกแบบนี้ เพราะมันเข้ากับอารมณ์ของเรา

แต่อย่างที่เคยเขียนไปแล้วว่า พระเอกโทนหม่นแบบนี้ ทำให้เรานึกถึง "โป้วอั้งเสาะ" ใน จอมดาบหิมะแดง แต่ยังไงก็ชอบ โป้วอั้งเสาะ มากที่สุดอยู่ดีนะ

3.เหมือนเราเฉยมาก ๆ กับ BATMAN ยุค Michael Keaton, Val Kilmer, George Clooney  เราเริ่มมาชอบหนังชุดนี้ก็ยุคของ Christian Bale + Christophet Nolan นี่แหละ

เหมือน BATMAN ยุคก่อนหน้านั้นเข้าทางเราแค่ 15% ส่วน BATMAN ยุคของ Bale เข้าทางเราประมาณ 60%  ส่วน BATMAN ภาคนี้เข้าทางเราประมาณ 75%

4. ชอบช่วงท้ายของหนังมาก ๆ เพราะมันพูดถึงหนึ่งในสิ่งที่เราหวาดกลัวที่สุด นั่นก็คือการกราดยิงแบบ ISIS หรือแบบที่เคยเกิดขึ้นในงานคอนเสิร์ตในบางประเทศ

คือก่อนหน้านั้นเราไม่ค่อยกลัวสิ่งที่เกิดขึ้นในหนังน่ะ เพราะเหมือน RIDDLER มันฆ่าแต่ผู้มีอิทธิพลเลว ๆ เพราะฉะนั้นถึงแม้เราจะชอบบรรยากาศของหนังอย่างรุนแรงที่สุด หนังก็ไม่ได้จี้จุดความกลัวของเรา

แต่ช่วงท้ายนี่แหละที่จี้จุดความกลัวของเรา เรื่องของกลุ่มคนที่ร่วมกันกราดยิงฆ่าคนบริสุทธิ์ เพราะเรารู้สึกว่าอะไรแบบนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ในชีวิตเราหรือในชีวิตของเพื่อน ๆ เรา
---
THOSE WHO CARE (DEBOUT LES FEMMES) (2021, Gilles Perret, Francois Ruffin, France, documentary, A+30)

ดีงามมาก ๆ หนังสารคดีที่ติดตามนักการเมืองฝรั่งเศสในการไปสำรวจปัญหาการทำงานของ caretakers พวกคนที่ดูแลคนชรา คนพิการตามบ้านในยุคโควิด เพราะคนกลุ่มนี้ไม่ใช่ลูกจ้างประจำของบริษัท เพราะฉะนั้นเงินชดเชยโควิด สวัสดิการอะไรต่าง ๆ จึงมีปัญหา และเหมือนไม่มีสหภาพแรงงานของคนอาชีพนี้ด้วย

เหมือนจุดเริ่มต้นมันเกิดจากการที่สส.ฝรั่งเศสคนนึงสนใจเรื่องความเป็นอยู่ของภารโรงประจำรัฐสภาฝรั่งเศสมั้ง คือเริ่มจากอะไรใกล้ตัวเลย คือในขณะที่สส.ทำงานกันอยู่ ภารโรงในรัฐสภาได้ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมแล้วยัง ได้สวัสดิการที่เป็นธรรมแล้วยัง เหมือนภารโรงบางคนต้องตื่นตั้งแต่ตี 4 เพื่อจะได้เดินทางมาทำงานให้ทัน อะไรทำนองนี้

ถ้าเข้าใจไม่ผิด สส.ที่มีแนวคิดเอียงซ้ายคนนี้ ได้รับความช่วยเหลือจาก celebrity ฝ่ายขวาคนนึงในประเด็นนี้ด้วย เพราะคนดังคนนั้นมีลูกพิการที่ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจาก  caretaker อย่างรุนแรง คนดังคนนั้นเลยเหมือนเข้าใจหัวอกของ caretaker

พอสส.สำรวจข้อมูลปัญหาได้เยอะมากแล้ว เขาก็เสนอร่างกม.เพื่อแก้ปัญหา แต่ร่างกม.ของเขาก็ถูกปัดตกเกือบหมด หรือถูกแปรญัตติจนแทบไม่มีค่าอะไร

แต่หนังเรื่องนี้เหมือนหาทางลงที่ดี ด้วยการให้แรงงานกลุ่มนี้มาส่งเสียงแสดงความต้องการของตนเองร่วมกันในช่วงท้าย คือถึงแม้ยังออกกม.ใหม่ไม่ได้ดังใจ อย่างน้อยปัญหาและเสียงของคนกลุ่มนี้ก็ได้รับการบันทึกไว้แล้ว

เหมือนฝรั่งเศสน่าจะเป็นประเทศที่มีหนังเกี่ยวกับแรงงานออกมามากที่สุดแล้วมั้ง ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็นึกถึงทั้ง PRECARIAT WOMEN (2005, Marcel Trillat, documentary) และ COUP POUR COUP (1972, Marin Karmitz)
--
COMPARTMENT NO. 6 (2021, Juho Kuosmanen, Finland/Russia, A+30)

1.แน่นอนว่าดูแล้วนึกถึง WISH US LUCK (2013, Wanweaw Hongwiwat + Weawwan Hongwwat, documentary) 555

2.ปรากฏว่าชอบมากกว่า THE WORST PERSON IN THE WORLD ถึงแม้เราคิดว่า THE WORST ดีกว่าในแง่การกำกับนะ ส่วน COMPARTMENT นั้น การกำกับอาจจะธรรมดา แต่เราดูแล้วอินกว่ามาก ๆ เพราะอย่างที่เราเคยเขียนไว้แล้วว่า นางเอก THE WORST เป็นประเภท "สวยเลือกได้"น่ะ เราก็เลยไม่อินมากนัก แต่นางเอก COMPARTMENT ดูติดดินกว่ามาก ๆ เราก็เลยอินกว่ามาก ๆ

3. COMPARTMENT มันมีความ "พาฝัน" ที่ตอบโจทย์เรามากกว่า THE WORST ด้วยแหละ เหมือน THE WORSTมันสะท้อนความซับซ้อนในจิตใจมนุษย์ที่น่าเจ็บปวด ส่วน COMPARTMENT มันพาฝัน แบบฉันอยากไปเที่ยว แล้วเจอหนุ่มห่าม ๆ ทึ่ม ๆ ทื่อ ๆ แต่จริงใจแบบนี้ 555

4.แต่ชอบสุด ๆ นะ ที่มันกลายเป็น "มิตรภาพ" ไม่ใช่ความรักแบบผู้หญิงผู้ชาย มันดูเป็นความสัมพันธ์ที่อิสระและสบายใจดี

5.แต่เรารับไม่ได้นะที่พระเอกไปขโมยรถคนอื่นเขามา 555

6.ชอบเพลงตอนจบมาก ๆ VOYAGE, VOYAGE ของ DESIRELESS

7.อีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ เพราะมันทำให้นึกถึง one of my most favotite films of all time เรื่อง THE GREN RAY (1986, Eric Rohmer) เพราะมันเป็นเรื่องการเดินทางของผู้หญิงที่ไม่ได้สวยมากนัก, มีปัญหาในการเข้าสังคม และมีความหงุดหงิดงุ่นง่านบางอย่างในใจเหมือนกัน แต่ THE GREEN RAY มหัศจรรย์กว่าหนังเรื่องนี้มาก ๆ
--
GANGUBAI KATHIAWADI (2022, Sanjay Leela Bhansali, India, A+30)

1.หนังเล่าเรื่องชีวิตกะหรี่สาวที่ไต่เต้าขึ้นมาเป็นแม่เล้า และกลายเป็น "เจ้าแม่" ในที่สุด ชอบมาก ๆ หนังเรื่องนี้สามารถปะทะกับ "เทพธิดาโรงแรม"  HOTEL ANGEL (1974, Chatrichaloem Yukol) ได้สบาย ๆ

2.ปัจจัยนึงที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีดมาก ๆ ในแบบส่วนตัว คือตัวละครผู้ร้ายของหนังที่เป็นกะเทย และเป็นเจ้าแม่ที่คุมย่านค้ากาม เธอมีชื่อว่า Raziabai

คือในการที่นางเอกจะก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าแม่คุม "ย่านพัฒน์พงศ์ของอินเดีย" ได้นั้น  เธอต้องโค่นอำนาจของเจ้าแม่คนปัจจุบันให้ได้ก่อน และเจ้าแม่คนนั้นก็คือ Raziabai เราชอบพล็อตตรงนี้มาก ๆ

ชอบตัวละคร Raziabai อย่างสุด ๆ เพราะเป็นตัวละครกะเทยที่ทรงพลัง สง่า น่าเกรงขามมาก ๆ ฉากแรกที่เธอปรากฏตัวบนขบวนแห่นี่ทรงพลังสุด ๆ

ถึงตัวละครตัวนี้เป็นตัวร้าย แต่เราก็ไม่รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เกลียดเกย์/กะเทยแต่อย่างใดนะ เหมือนความเลวของตัวละครตัวนี้เป็นเพราะเธอเป็นมนุษย์คนนึง ไม่ได้เป็นเพราะว่าเธอเป็นกะเทย

และสิ่งที่ทำให้ชอบหนังเป็นการส่วนตัว เพราะ Raziabai ทำให้เรานึกถึงอดีตเพื่อนกะเทยคนนึงที่อยู่ในกลุ่มเพื่อนสนิทของเราสมัยมัธยม คือดูแล้วได้แต่นึกในใจว่า ถ้าหากเราจะสร้างนิยาย/ละคร/หนัง โดยได้รับแรงบันดาลใจจากอดีตเพื่อนสนิทคนนี้ ตัวละครตัวนั้นก็อาจจะออกมาแบบ Raziabai นี่แหละ

สรุปว่าขอยกให้ Raziabai เป็น one of my most favorite characters of the year ไปเลย

3. ดูแล้วนึกถึงนิยายเรื่อง "คลื่นชีวิต" ของทมยันตีมาก ๆ เลยด้วย ที่เล่าเรื่องของ "อ้อย บีเอ็ม"  ซึ่งเป็นนิยายที่เราชอบสุด ๆ

เราก็เลยสงสัยว่า ทำไมถึงไม่เคยมีใครเอา "คลื่นชีวิต ของทมยันตี" มาสร้างเป็นหนังหรือละครบ้างเลย หรือเพราะว่ากลัวไม่มีคนดู ผู้ชมส่วนใหญ่อาจจะอยาก identify ตัวเองเป็นนางเอกคู่กรรมหรือทวิภพ อาจจะมีเพียงแค่ไม่กี่คนที่อยากดูชีวิตอ้อย บีเอ็มเหมือนเรา

แต่ถ้าหากจะมีการเอา "คลื่นชีวิต ของทมยันตี" มาสร้างเป็นหนังจริง ๆ เราก็อยากให้เอามาตีความใหม่เป็นหนังแนว "กระแสสำนึก" ไปเลยนะ 55555 คือไม่ต้องเล่าชีวิตของอ้อย บีเอ็ม เรียงตามลำดับเวลา แต่เล่าเป็นห้วงความคิด ความทรงจำ fragments ต่าง ๆ ในชีวิตเธอแทน
--
 
THE HOUSE OF THE LOST ON THE CAPE (MISAKI NO MAYOIGA) (2021, Shinya Kawatsura, Japan, animation, A+30)

ชอบแบบสุดขีดมาก ๆ ชอบโลกจินตนาการที่หนังสร้างขึ้นมาก ๆ โลกที่ภูตผีปีศาจและตัวละครในตำนานปรัมปราต่าง ๆ มีจริง และมาปะทะกัน บางจุดของหนังทำให้นึกถึงนิยายของจินตวีร์ วิวัธน์ด้วย พวกตำนานลี้ลับของสถานที่ในชนบท

ปีศาจในหนังทำให้นึกถึงปีศาจของคริสต์ในแง่นึงนะ เพราะมันเป็นปีศาจที่ได้รับพลังจากจิตด้านมืดของมนุษย์ และจิตด้านมืดของมนุษย์ในเรื่องนี้ก็น่าสนใจ เพราะมันไม่ใช่ "คนเลว" ที่คิดชั่วทำเลว แต่เป็น "ความเศร้าโศก" ของกลุ่มคนที่รอดชีวิตจากแผ่นดินไหว

ฉากที่ตัวละครตัวนึงมองทะเลยามพระอาทิตย์ตกดิน แล้วปีศาจก็แอบมาสูบพลังจากตัวละครตัวนั้นไป เป็นฉากที่ฝังใจเรามาก ๆ เหมือนหนังไม่บอกว่าตัวละครตัวนั้นคิดอะไรอยู่ในใจ แต่เราก็เดาได้เองว่าเธอคงคิดถึงคนรักหรือสมาชิกครอบครัวที่เสียชีวิตจากแผ่นดินไหว แล้วเกิดความอาดูรขึ้นมา

ตัวละครเด็กหญิงใส่ชุดกิโมโนที่อยู่ใน "บ้านลวงตาแบบทันสมัย" คือใครน่ะ มันคงเป็นตัวละครในตำนานที่คนญี่ปุ่นรู้จักดี แต่เราไม่รู้จัก

ดูแล้วนึกถึง DESTINY: THE TALE OF KAMAKURA (2017, Takashi Yamazaki) มาก ๆ ในแง่การผสาน โลกผี+ตำนานเทพนิยาย+โลกมนุษย์ เข้าด้วยกันได้ในแบบที่ตรงใจเราอย่างสุด ๆ

---

Friday, April 29, 2022

THE SOUND OF DEVOURING DUST (2021, Jessada Chan-yaem, 34min, A+30)

 

THE SOUND OF DEVOURING DUST (2021, Jessada Chan-yaem, 34min, A+30)

นครฝุ่น

 

(ที่เราเขียนข้างล่างนี้เอามาจาก message ที่เราเคยเขียนคุยกับตัวผู้กำกับนะ เพราะฉะนั้นภาษาที่เราใช้ในนี้อาจจะดูแตกต่างจากที่เราเขียนคุยกับตัวเองในบันทึกความทรงจำถึงหนังเรื่องอื่น ๆ 55555)

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

 

1.ชอบสุด ๆ ในหลาย ๆ ส่วนเลยครับ อันแรกเลยก็คืองานด้านภาพ ที่ถ่ายได้ทรงพลังดีงามมาก ตั้งแต่ฉากแรกที่เป็นห้อง ก็ถ่ายออกมาแล้วได้บรรยากาศดี แล้วฉากต่อมาที่เป็นการถ่ายผ่านกระจกมัว ๆ ในห้องน้ำนี่สุดยอดมาก ๆ เป็น visual ที่ดีมาก

 

ชอบการเล่นกับ effect ทางภาพด้วยครับ อย่างฉากจูบกันแล้วซ้อนกันเป็น 4 คนนี่ติดตามาก ๆ

 

การเลือนภาพเข้าด้วยกันก็ดีงามมากครับ โดยเฉพาะการเลือนภาพจากตอนที่รถวิ่งแล้วเห็นแสงไฟรถ เข้ากับภาพรอยแตกปริบนฝาผนัง ถือเป็นอีกหนึ่ง visual ที่ติดตามาก ๆ จากหนังเรื่องนี้

 

2.ชอบกลวิธีการเล่าเรื่องผ่านทางเสียงกับภาพที่ไม่สัมพันธ์กันซะทีเดียวด้วยครับ นึกถึงพวกหนังของ Marguerite Duras ซึ่งเป็นวิธีการที่ผมชอบมาก ๆ เพราะงานด้านภาพของหนังมันก็ทรงพลัง น่าดูมาก ๆ อยู่แล้ว และเสียงเล่าเรื่องของหนัง ทั้งเสียง voiceover ของผู้หญิง+ผู้ชาย และเสียงตัวละครในฉากนึง มันก็ช่วยกระตุ้นจินตนาการผู้ชมให้นึกภาพในหัวควบคู่กันไปด้วย

 

ตัวเรื่องที่เล่าผ่านทางเสียงก็ทรงพลังมาก ๆ ครับ ทั้งเรื่องของหญิงสาวที่ถูกตบตีอย่างรุนแรง, เรื่องของผู้ชายที่ได้ยินเสียงเปรต, เรื่องของผู้ชายที่รู้สึกว่าเวลาวนอยู่แค่ 12.00-15.00 น. และเรื่องของผู้ชายที่ฝันว่าตัวเองเป็นเด็กผู้หญิงที่ต้องไปทำงานที่จังหวัดเพชรบูรณ์

 

3. ชอบ sound effect อย่างสุดๆ ด้วยครับ มันทรงพลังมาก และบางช่วงมันก็ดูเหมือนมีหลาย layer มาก ๆ ชอบที่บางครั้งเหมือนมีเสียงเครื่องดนตรีแว่วมาเบาๆ และตอนท้ายของหนังก็เหมือนมีเสียงโทรศัพท์ด้วย

 

4.ชอบที่มี “สี” ขึ้นมาในฉากนึงด้วยครับ ฉากนั้นทรงพลังมาก ๆ ที่เป็นผู้ชายนอนอยู่บนเตียง ลืมตา แต่เหมือนอึดอัด ขยับตัวไม่ได้

 

5.ประเด็นของหนังก็น่าคิดมาก ๆ เริ่มตั้งแต่ “ฝุ่น” ที่ทำให้นึกถึง 3 อย่าง ซึ่งได้แก่

 

5.1 ปัญหาสิ่งแวดล้อม PM2.5

 

5.2 ปัญหาการเมืองไทย ฝุ่นในที่นี้อาจจะคล้าย ๆ สลิ่ม 55555

5.3 พอตอนหลังตัวละครต่าง ๆ ในเรื่องเล่าสลายกลายเป็นฝุ่น อันนี้ก็ทำให้นึกถึง ashes หรืออัฐิ เพราะสุดท้ายทุกคนก็ต้องตายไป ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ไม่รู้ว่าหนังตั้งใจหรือเปล่า แต่ “ฝุ่น” ในหนังทำให้นึกถึง 3 อย่างดังที่ว่ามานี้ครับ

 

6.ชอบที่หนังพูดถึงปัญหาการเกณฑ์ทหารด้วย

 

7.สิ่งที่ไม่รู้ว่าหนังตั้งใจหรือเปล่า แต่เราดูแล้วนึกถึง ก็คือเรื่องการสังหารหมู่เสื้อแดงในปี 2010 ซึ่งหนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจก็ได้

 

ปัจจัยที่ทำให้นึกถึงเรื่องการสังหารหมู่เสื้อแดงก็คือ

 

7.1 เสียงประหลาดกลางใจเมือง เพราะตัวละครบอกว่าตัวเองอยู่กลางเมือง เปรตไม่น่าจะเข้ามาได้ แล้วเสียงร้องขอความช่วยเหลือที่ตัวละครได้ยินกลางเมืองน่าจะมาจากที่ใด หรือว่าเป็นเสียงของวิญญาณผู้ที่ถูกสังหารหมู่ในปี 2010

 

7.2 หลังจากฉากที่ตัวละครจูบกัน เราเห็นตัวละครเหมือนนอนอยู่บนพื้น หรือนอนอยู่บนเตียง เหมือนตายแล้ว เหมือนมีแสงแฟลชจาก camera ถ่ายรูปตัวละครที่นอนตายอยู่ และตัวละครก็มีรอยฟกช้ำอย่างรุนแรงที่แผ่นหลังด้วย

ส่วนเสียง sound effect ในฉากนั้นเหมือนเสียงยิงปืน ภาพกับเสียงในฉากนั้นก็เลยทำให้เราคิดถึงเรื่องการสังหารหมู่เสื้อแดงขึ้นมา เพราะมันคือเสียงของ “ปืนยิง” บวกกับภาพของศพคน

 

การที่ตัวละครเหมือนนอนตายโดยโพสท่าต่าง ๆ กันไป ก็ทำให้นึกถึงการตัดต่อแบบในหนังเรื่อง LAST YEAR AT MARIENBAD ด้วยครับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมชอบมาก ๆ มันเป็นการตัดต่อหรือการนำเสนอฉากที่ดูทั้งจริงและไม่จริงในเวลาเดียวกัน

 

7.3 การใส่ฉากรูปสลักของกลุ่มคนเข้ามาต่อจากฉากนั้น ก็ทำให้นึกถึงประเด็นทางการเมืองด้วยเช่นกัน ชอบมาก ๆ ด้วยที่มีการเลือนฉากนางรำเข้ามาต่อจากฉากนี้

 

7.4 การที่ตัวละครฝันถึงเด็กที่ต้องไปทำงานที่เพชรบูรณ์ แล้วมีการพูดประโยคที่ว่า “คนพวกนั้นมืชื่อ แต่จะมีค่าอะไรถ้าไม่ถูกจดจำ” ก็เป็นประโยคที่ทำให้นึกถึงการสังหารหมู่เสื้อแดงเช่นกันครับ

 

8.ชอบที่หนังนำเสนอพระอาทิตย์ในทางไม่ดีด้วย เพราะพระอาทิตย์ในหนังเหมือนสร้างความแสบร้อนเผาไหม้ให้กับตัวละคร ซึ่งเป็นสิ่งที่แปลกดี เพราะปกติแล้วพระอาทิตย์มักไม่ค่อยถูกนำเสนอในทางลบ

 

9.ฉากที่ติดตาที่สุดฉากนึง คือฉากที่เราเห็นชิงช้าอันนึงยังแกว่งไกวอยู่ แต่ไม่มีคนนั่งอยู่บนชิงช้าแล้ว เป็นฉากที่ทรงพลังมาก หลอนมาก ทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้วอาจเป็นเพียงแค่ “แรง” ที่ยังหลงเหลืออยู่ หลังจากที่มีคนผลักชิงช้าก่อนหน้านั้น

 

10. ชอบรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ บางอย่างในหนังด้วย อย่างเช่นการให้ตัวละครตัวนึงไอโขลกตลอดเวลา

 

11.ตอนแรกนึกว่าฉากสุดท้ายเป็นการ replay ฉากแรก เพราะเสียงเล่ามันเหมือนกัน แต่ปรากฏว่าไม่ใช่ เพราะฉากแรกตัวละครเหมือนเอาผ้าเช็ดตัวมาเช็ดจู๋ด้วย (ถ้าเข้าใจไม่ผิด) แล้วก็ค้างผ้าเช็ดตัวไว้ที่จุดนั้น ก่อนที่จะตัดเป็นหน้าตัวละคร แต่ฉากสุดท้ายตัวละครเหมือนไม่ได้เช็ดจู๋ แต่ปล่อยให้ผ้าเช็ดตัวตกลงพื้นไป 555 แต่ผมมองไม่ออกว่าตัวละครที่เช็ดตัวในฉากสุดท้ายเป็นผู้ชายคนเดียวกับในฉากแรกหรือเปล่า แต่ผมเดาว่าอาจจะเป็นคนละคนกัน

 

12. ชอบการใช้ไซต์ก่อสร้างในช่วงท้ายด้วย ตรงนี้จะทำให้นึกถึงหนังสั้นเรื่องนึงโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งก็คือหนังสั้นเรื่อง “นครอัศจรรย์” MIGHT (2011, วชร กัณหา, 30min) ที่เหมือนเป็นการถ่ายไซต์ก่อสร้างในกรุงเทพทั้งเรื่อง ประกอบกับเสียงบรรยายของทนายความคนนึงที่พยายามช่วยเหลือคนเสื้อแดงที่ถูกคดีเผาอาคารราชการในอุบลในปี 2010 มั้ง ถ้าหากเราจำไม่ผิด คือเหมือนหนังทั้งสองเรื่องนี้เป็นหนังการเมืองไทยเหมือนกัน และมีการใช้ภาพไซต์ก่อสร้างในกรุงเทพในฐานะสัญลักษณ์หรืออะไรสักอย่างเหมือนกัน 5555 แต่ในกรณีของ MIGHT นั้นหนังใช้แต่ภาพไซต์ก่อสร้างไปเลยนาน 30 นาที

 

13.อีกสิ่งหนึ่งที่หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงโดยไม่ได้ตั้งใจ ก็คือทำให้นึกถึงบทกวี “ก่อนลั่นดาล” ของคุณไอดา อรุณวงศ์ในนิตยสาร “อ่าน” ฉบับเดือนก.ค.-ธ.ค. 2013 ครับ โดยผ่านทางตัวละครหญิงสาวในเรื่องที่เล่า เพราะหญิงสาวคนนั้นถูกตบตี แต่เธอก็ไม่โต้ตอบ ได้แต่เงียบ หรือร้องไห้ คือสิ่งที่หญิงสาวในเรื่องเล่านั้นถูกกระทำ มันทำให้นึกถึงบทกวีท่อนที่ว่า

 

ยอมเจียม ยอมเงียบ ยอมหยุด

จมจนจ่อม จมจนทรุด จนที่สุดของการข่มเหง

เป็นจำเลยไม่จำนรรจ์ลั่นบรรเลง

โจทก์มันสูง โจทก์มันเก่ง โจทก์มันเทวดา”

 

สรุปว่าชอบหนังอย่างสุด ๆ ครับ

 

Wednesday, April 27, 2022

RIP KENNETH TSANG

 

พอได้ข่าวว่าเจิงเจียง (Kenneth Tsang) เสียชีวิตด้วยวัย 86 ปี เราก็เลยขอโพสท์คลิปนี้เพื่อระลึกถึงเขา เป็นหนึ่งในฉากใน “มังกรหยก” (1983) ที่เราประทับใจที่สุดในชีวิต เพราะเป็นฉากที่ “มารบูรพา อึ้งเอี๊ยะซือ” ปะทะกับ “ลี้มกโช้ว” โดยในฉากนี้ลี้มกโช้วลักพาตัว “เที้ยเอ็ง” กับ “เล็กบ้อซวง” ไป แต่อึ้งเอี๊ยะซือเข้ามาขัดขวาง และช่วยเที้ยเอ็งเอาไว้ได้  ส่วนลี้มกโช้วสามารถชิงตัวเล็กบ้อซวงไปได้

 

เหมือนเราฝังใจกับฉากนี้ตั้งแต่เด็ก ๆ พอมาดูอีกทีก็ประทับใจสุดขีด เหมือนฉากนี้ยาวแค่ 30 วินาที แต่มันหนักมาก ๆ การตัดต่ออะไรก็สุดตีนมาก ๆ ทำไมมันคลาสสิคขนาดนี้คะ

 

ใครอยากดูเต็ม ๆ สามารถดูได้ในลิงค์ข้างล่างนี้นะ

https://mvhubplus.com/vdo/952/ep/EP.1

 

 

สิ่งหนึ่งที่แอบสงสัยมานาน 38 ปีแล้วก็คือว่า มีใครกรี๊ดกร๊าด “เตียจี่เก่ง” ใน “มังกรหยก ภาค 4” (1983) เหมือนเราหรือเปล่า 5555555 คือเหมือนยุคนั้นคนกรี๊ดกร๊าดกันแต่หลิวเต๋อหัว, ทังเจิ้นเยี่ย และเยิ่นต๊ะหัวในละครทีวีเรื่องนี้ ซึ่งจริง ๆ แล้วเราก็ชอบทั้ง 3 คน แต่เราชอบเตียจี่เก่งมาก ๆ ด้วย แต่เหมือนไม่เห็นมีคนกรี๊ดกร๊าดเขาเหมือนเราเลย และนิตยสารดาราในยุคนั้นก็ไม่มีลงข้อมูลไว้ด้วยว่า คนที่แสดงเป็นเตียจี่เก่งในละครทีวีเรื่องนี้คือใคร

 

ต้องขอบคุณ Wikipedia เพราะตอนนี้เราได้รู้แล้วว่า ดาราที่แสดงเป็นเตียจี่เก่งในละครทีวีเรื่องนี้คือ Kam Kwok-wai หรือ Gam Kwok-wai

 

มีใครเคยชอบเขาเหมือนเราบ้างไหมคะ นี่เราชอบเขามานาน 38 ปีแล้วหรือเนี่ย

------------------

ช่วงสองปีกว่าที่ผ่านมา เวลาเราถอด mask หรือหน้ากากอนามัยในที่ชุมนุมชน อย่างเช่นใน food court แล้วมีผู้ชายหล่อ ๆ อยู่แถวนั้น เราจะจินตนาการว่าตัวเองคือ “มู่หวั่นชิง” (หยางพ่านพ่าน) ใน 8 เทพอสูรมังกรฟ้า (1982) เวลาถอด mask ออกมาแล้วหนุ่มหล่อจะต้องหลงใหลในความงามของเรา 55555

Tuesday, April 26, 2022

SLR

 

วันนี้แชทคุยกับเพื่อน ๆ สมัยประถม พบว่าตัวเองยังจำเหตุการณ์นึงในตอนป.6 ในปี 1984 หรือเมื่อ 38 ปีมาแล้วได้ นั่นก็คือจำได้ว่าตัวเองสอบได้คะแนน 93 เต็ม 100 ในวิชานึง คืองงมากที่ตัวเองยังจำเหตุการณ์นี้ได้ 555555 เพราะตอนนั้นเรา want ครูหนุ่มที่สอนวิชานั้นอย่างรุนแรงมาก ๆ เราก็เลยตั้งอกตั้งใจเรียนวิชานั้น ทุ่มสุดตัว และก็สอบได้คะแนน 93 เต็ม 100 ในวิชานั้น รู้สึกภาคภูมิใจสุด ๆ นี่สินะ พลังแห่งความเงี่ยน พลังแห่งความรัก ฉันตั้งใจเรียนเพราะฉันรักคุณครูอย่างสุดหัวใจ 55555

 

ไม่นึกว่าตัวเองจะยังจำคะแนนวิชานั้นได้อยู่หลังจากเวลาผ่านมานาน 38 ปีแล้ว บางทีที่เราจำได้อาจจะเป็นเพราะว่าคะแนนนั้นไม่ได้เป็นตัวชี้วัดระดับความเก่งของเรา แต่เป็นตัวชี้วัดระดับความรักและระดับความบ้าผู้ชายของเราในตอนป.6 55555

 ---------------

SLR กล้องติดตาย (2022, Lertsiri Boonmee + Wutthichai Wongnoppadol, A+)

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

1. กลายเป็นว่า สิ่งที่เราชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้คือ “เหยื่อ” ของกล้องทั้ง 6 คน 55555 คือชอบมากกว่าตัวละครนำฝ่ายดี 3 คนและตัวร้ายของหนังน่ะ เพราะเรารู้สึกว่าเหยื่อทั้ง 6 คนนี้มันดูมีอะไรน่าจดจำมากกว่าเหยื่อโง่ ๆ ในหนังสยองขวัญเรื่องอื่น ๆ

 

คือเรารู้สึกว่าในหนังสยองขวัญโดยทั่ว ๆ ไป หนังจะเน้นไปที่ตัวนำฝ่ายดีและฝ่ายเลวน่ะ แต่เรารู้สึกว่าตัวละครนำฝ่ายดีทั้ง 3 คนและตัวละครนำฝ่ายผู้ร้ายในหนังเรื่องนี้มันดูไม่ได้มีอะไรพิเศษกว่าหนังสยองขวัญเรื่องอื่น ๆ มากนัก คือพวกเขาดูหล่อมาก และดูมีเสน่ห์มาก แต่นั่นก็เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่เราจะพบตัวละครนำที่หล่อและมีเสน่ห์ในหนังโดยทั่ว ๆ ไป

 

ปมเรื่องรัก 3 เส้า เราก็ว่ามันธรรมดา แต่เราว่าหนังเรื่องนี้ handle ตรงนี้ได้ดีพอสมควรนะ เราชอบที่ปมรัก 3 เส้าไม่ได้ทำให้ตัวละครต้องผิดใจกันจนกลายเป็นคนเลวหรืออะไรทำนองนี้

 

ส่วนปมในใจของพระเอกที่ต้องดิ้นรนเพื่อไปเมืองนอก เราก็ว่ามันยังไม่ได้ดูมีความรุนแรงอะไรมากนักจนถึงขั้นที่มัน “พิเศษ” สำหรับเราน่ะ

 

ส่วนตัวผู้ร้ายที่ดูเหมือนพวกบูชาปีศาจ ลูกสมุนซาตานนั้น เราว่าก็ดู “ใช้ได้” คือจริง ๆ แล้วเราชอบการแสดงของคุณนพพันธ์ บุญใหญ่ในบทนี้มาก ๆ เราว่าเขาแสดงได้ถูกใจเรามาก ๆ แต่ตัวบทมันไม่เอื้อให้ตัวละครตัวนี้มีอะไรที่พิเศษมากนักน่ะ เหมือนเราสามารถพบตัวละครแบบนี้ได้ในหนังสยองขวัญฝรั่งโดยทั่ว ๆ ไปอย่างเช่น HEREDITARY (2018, Ari Aster) อยู่แล้ว

 

แต่สิ่งที่ประทับใจเราจริง ๆ คือการสร้าง characters ให้กับเหยื่อทั้ง 6 คนน่ะ เพราะว่าในหนังสยองขวัญโดยทั่วไป เหยื่อมักจะดู bland มาก ๆ  มักจะเป็นหนุ่มสาววัยรุ่นนิสัยไม่ดี โง่ ๆ หรือหนุ่มหล่อสาวสวยโง่ ๆ ที่ไม่มีอะไรพิเศษ ไม่มีอะไรน่าจดจำ ทำนองนี้ หรือไม่ก็เป็นคนเลวที่สมควรถูกผีมาล้างแค้น อะไรทำนองนี้

 

แต่เราว่าหนังเรื่องนี้ทำให้เหยื่อทั้ง 6 คนนี้น่าจดจำสุด ๆ สำหรับเรา เราก็เลยประทับใจมาก ๆ ทั้งเหยื่อคนแรกที่เป็นนักกีฬาพิการ, เหยื่อคนที่ 2 กับ 3 ที่เหมือนเป็นผู้ประกอบการ Gen X เจ้าของร้านผัดไทย และเหยื่อคนที่ 4,5,6 ที่เป็นกลุ่มหนุ่มสาวรุ่นใหม่ เจ้าของกิจการสตาร์ทอัพ ที่แต่ละคนก็มีความสามารถแตกต่างกันไป

 

คือเหมือนหนังทำให้เราเชื่อว่า เหยื่อทั้ง 6 คนนี้มีชีวิตมาก่อนหน้านี้แล้ว เหมือนพวกเขาไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพียงเพื่อให้ถูกฆ่าตายอย่างโง่ ๆ แบบในหนังสยองขวัญทั่วไปน่ะ โดยเฉพาะเหยื่อคนแรกนี่เห็นชัดมาก ๆ ว่าเขามีอะไรน่าสนใจในตัวเยอะมาก ๆ ทั้งครอบครัวของเขา, ความพิการของเขา, ความเป็นนักกีฬาของเขา และเหยื่อคนที่ 4-5-6 ก็ดูเหมือนเป็นตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นราวกับว่าจะโดน spin off ไปเป็นหนังแนว APP WAR แทนที่พวกเขาจะต้องจบชีวิตลงภายในเวลาไม่ถึง 10 นาที 5555

 

เราก็เลยชอบการสร้างตัวละคร “เหยื่อ” ในหนังเรื่องนี้อย่างมาก ๆ ชอบมาก ๆ ด้วยที่เหยื่อทั้ง 3 กลุ่มดูไม่เหมือนกันเลย ทั้ง “ผู้ด้อยโอกาส”, “เจ้าของกิจการรุ่น GEN X” และ “หนุ่มสาวรุ่นใหม่เจ้าของกิจการสตาร์ทอัพที่กำลังมาแรง” แต่ในที่สุดคนทั้ง 3 กลุ่มนี้ต่างก็ต้องดับสิ้นลงด้วยน้ำมือของคนอื่นเหมือน ๆ กัน

 

2. เห็นด้วยกับเพื่อนมาก ๆ ที่บอกว่า ตอนแรกนึกว่าจะเป็นหนังการเมือง เพราะสภาพศพที่ผูกคอตายกับคำว่า 6 ต.ค.ในหนัง มันทำให้นึกถึงเหตุการณ์ 6 ต.ค. 2519 มาก ๆ แต่หลังจากนั้นก็ดูเหมือนหนังจะไม่ได้แตะประเด็นการเมืองอะไรที่ชัดเจน

 

3.ชอบตัวละครคุณแม่ของพระเอกที่คุณดวงใจ หิรัญศรีเล่นมาก ๆ ด้วย กับชอบตัวละครน้องเค้ก สาวร่าน 55555 อยากแต่งเรื่องใหม่ให้กล้องถ่ายรูปคุณแม่กับน้องเค้ก แต่ทั้งสองคนนี้ไม่เป็นอะไรเลย เพราะจริง ๆ แล้วทั้งสองคนนี้มีอิทธิฤทธิ์อะไรบางอย่างในตัวที่กล้องก็ยังสู้พวกเธอไม่ได้ 55555

 

4.ชอบตอนที่พระเอกพูดจาแสดงความเกลียดชังกลุ่มเจ้าของกิจการ startup ด้วย เราว่าตรงนั้นมันทำให้ตัวละครพระเอกดูน่าสนใจขึ้นมาชั่ววูบนึง ทำให้ตัวละครตัวนี้ดูมีอะไรที่น่าสนใจในตัวขึ้นมาบ้าง แทนที่จะเป็นเพียงแค่หนุ่มหล่อนิสัยดี

 

ตอนที่พระเอกคิดจะใช้กล้องฆ่าลุงของตัวเอง ก็เป็นจุดที่น่าสนใจเช่นกัน

 

5. จุดที่เราผิดหวังกับหนังเรื่องนี้ ก็คือรู้สึกว่าปัญหาบางอย่างดูแก้ไขง่ายไปน่ะ โดยเฉพาะการได้ของวิเศษสองอย่างมาช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างง่ายดายมาก และตัวเจ้าของร้านขายของวิเศษ ก็ดูเป็นคนธรรมดามาก ๆ ดูไม่ขลังเลย 55555 คือจริง ๆ มันก็ได้อารมณ์ขำ ๆ ตรงนี้นะ แต่ในแง่นึงเราก็อยากได้อะไรที่มันขลัง ๆ มากกว่าขำ ๆ

 

6.ตอนดูหนังเรื่องนี้เราจะแอบเปรียบเทียบกับ “พี่นาค 3” ตลอดเวลา เพราะมันเป็นหนังเกี่ยวกับคำสาปอาถรรพณ์เหมือน ๆ กัน แต่มันมีจุดที่แตกต่างกันมากหลายจุด และเราว่าจริง ๆ แล้วเราชอบพี่นาค 3 มากกว่า เพราะมันให้อารมณ์เป็นเหมือนการไปผจญภัยบ้า ๆ บอ ๆ กับแก๊งเพื่อนกะเทย 55555

 

จุดที่นึกเปรียบเทียบกัน

 

6.1 พี่นาค 3 ดูเป็นตำนานไทย ๆ มาก ๆ ส่วน SLR ดูเป็นฝรั่งมาก ๆ ซึ่งจริงๆ แล้วก็เก๋ดี ดูแล้วนึกถึงทั้ง OCCULUS (2013, Mike Flanagan) และ SINISTER (2012, Scott Derrickson) ที่พูดถึงวัตถุต้องสาปของฝรั่งเหมือนกัน แต่เราว่า OCCULUS กับ SINISTER มันดู “ขลัง” กว่าเยอะน่ะ โดยเฉพาะ SINISTER นี่น่ากลัวสุดขีด แต่ SLR นี่มันดูไม่ค่อยน่ากลัวเท่าไหร่สำหรับเรา

 

6.2 จุดที่เราชอบ SLR มากกว่า “พี่นาค 3” ก็คือเรื่องการสร้างตัวละครนี่แหละ เพราะเราว่า “พี่นาค 3” สร้างตัวละครทั้งนำทั้งประกอบได้ไม่น่าสนใจเลย แต่ SLR นี่อย่างน้อยก็สร้างตัวละครประกอบได้น่าสนใจสุด ๆ สำหรับเรา

 

6.3 เราว่าการแก้ไขปัญหาใน SLR มันดูง่ายเกินไปสำหรับเรา เราก็เลยชอบจุดนี้ใน “พี่นาค 3” มากกว่า เหมือนตัวละครในพี่นาค 3 ต้องดั้นด้นไปผจญภัยในจุดต่าง ๆ ต้องไปเจอกับพระธุดงค์ เจอกับกลุ่มชาวบ้านลึกลับ กว่าจะแก้ไขปัญหาได้น่ะ ในขณะที่การหาของวิเศษใน SLR มันดูง่ายเกินไปมาก ๆ

 

6.4 แต่เราก็ชอบที่เมื่อถึงที่สุดแล้ว การแก้ไขปัญหาใน SLR ทำได้ด้วย “ความพยายามต่อสู้ของกลุ่มตัวละคร” เองน่ะ แต่การแก้ไขปัญหาใน “พี่นาค 3” ต้องพึ่ง “ผู้มีอำนาจบาตรใหญ่ที่แท้จริง” ซึ่งก็คือ “พญานาค” มันเหมือนกับว่าตัวละครใน “พี่นาค 3” จะแก้ปัญหาได้ก็ต้องพึ่ง “เบื้องสูง” แต่ตัวละครใน SLR แก้ปัญหาได้ด้วยตัวเอง

Monday, April 25, 2022

RIP Jacques Perrin (1941-2022)

 

RIP Jacques Perrin (1941-2022)

 

เป็นนักแสดงที่เราเคยดูหนังของเขาหลายเรื่อง แต่เหมือนเขาไม่ค่อยได้รับบทที่ต้องเค้นอารมณ์หนัก ๆ แบบบทของ Gerard Depardieu, Daniel Auteuil อะไรทำนองนี้มั้ง เหมือนเขามักจะรับบทเป็นผู้ชายที่ค่อนข้างเป็นผู้ดี, สุขุม และสุภาพเป็นส่วนใหญ่มั้ง ถ้าหากเราจำไม่ผิด

 

หนังของเขาที่เราเคยดู

 

1.REMI, NOBODY’S BOY (2018, Antoine Blossier)

2.HELL (2005, Danis Tanovic)

3.THE YOUNG LIEUTENANT (2005, Xavier Beauvois)

4.THE CHORUS (2004, Christophe Barratier)

5.VICTOR SCHOELCHER, L’ABOLITION (1998, Paul Vecchiali)

6.FLIGHT OF THE INNOCENT (1992, Carlo Carlei, Italy)

7.DRUMMER-CRAB (1977, Pierre Schoendoerffer)

8.THE DESERT OF THE TARTARS (1976, Valerio Zurlini, Italy)

9.DONKEY SKIN (1970, Jacques Demy) เขารับบทเป็น Prince Charming ในหนังเรื่องนี้

10.Z (1969, Costa-Gavras)

11.THE YOUNG GIRLS OF ROCHEFORT (1967, Jacques Demy)

 

และเราก็เคยดูหนังที่เขากำกับด้วย 2 เรื่อง ซึ่งก็คือ WINGED MIGRATION (2001, กำกับร่วมกับ Jacques Cluzaud, Michel Debats, documentary) กับ OCEANS (2009, กำกับร่วมกับ Jacques Cluzaud, documentary)

 

ถ้าหากพูดถึงตัวหนังที่เขาแสดงแล้ว เราชอบหนังที่เขาแสดงอย่างสุด ๆ ถึง 9 จาก 11 เรื่อง มีเพียงแค่ REMI กับ THE CHORUS  แค่ 2 เรื่องที่เราไม่ได้ชอบถึงขั้นสุดๆ ส่วนอีก 9 เรื่องที่เหลือนี่เราชอบมาก ๆ ๆ เลย

 

ถ้าหากพูดถึงฝีมือการแสดงแล้ว เราชอบเขามากที่สุดใน VICTOR SCHOELCHER, L’ABOLITION นะ เพราะในเรื่องนี้เขาเป็นพระเอก และเขาได้แสดงฝีไม้ลายมืออย่างเต็มที่ ตัวหนังเรื่องนี้ก็ดีงามอย่างที่สุดของที่สุดด้วยแหละ เพราะมันสร้างจากเรื่องจริงเกี่ยวกับการเลิกทาสในอาณานิคมของฝรั่งเศส และการเลิกทาสในหนังเรื่องนี้ กระทำผ่านทาง “การถกเถียงของนักการเมือง” ตลอดทั้งเรื่อง คือตลอดทั้งหนังเรื่องนี้เราได้เห็นแต่นักการเมืองโต้เถียงกันด้วยเหตุผลในห้องประชุม คัดง้างกันด้วยเหตุผล จนได้ข้อสรุปเป็นการตัดสินใจเลิกทาสในอาณานิคมฝรั่งเศสทั้งหมด (ถ้าจำไม่ผิด) ถือเป็นหนึ่งในหนังการเมืองที่เราชื่นชอบมากที่สุดในชีวิตเลย คือพอดูหนังเรื่องนี้แล้วเราก็ต้องขอก้มลงกราบตีน Paul Vecchiali ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ด้วย

 

แน่นอนว่า Jacques Perrin ก็เป็นหนึ่งในดาราชายฝรั่งเศสยุคเก่าที่เราเคยอยากได้เป็นผัว ถึงแม้ว่าอยากได้เขาน้อยกว่า Maurice Ronet, Jean-Louis Trintignant, Jean-Claude Brialy, Jean Sorel และ Jean-Pierre Leaud ตอนหนุ่ม ๆ ก็ตาม 55555 โดยหนังที่ทำให้เราคลั่งไคล้ความหล่อน่ารักของ Jacques Perrin ก็คือหนังเรื่อง DRUMMER-CRAB นี่แหละ อยากได้เขาในหนังเรื่องนี้มาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ 55555 ตัวหนังก็ดีงามอย่างที่สุดเลยด้วย

 

RASADRUMS: A BEAT OF THE DEFIANT (2022, Soifa Saenkhamkon, Tippawan Narintorn, video installation, approximately 20mins, A+30)

 

ฉายที่ WTF GALLERY

 

วิดีโอสัมภาษณ์กลุ่มราษฎร์ดรัมส์ ดีงามมาก ๆ ที่มีการบันทึกเรื่องราวของคนกลุ่มนี้เอาไว้ เหมือนเป็นการช่วยบันทึกเรื่องราวของคนธรรมดาที่ลุกขึ้นสู้และเปล่งประกายแสงสว่างในตัวเองออกมาในช่วงเวลาแห่งความมืดมิดของประเทศไทย

 

รู้สึกเหมือนหนังตัดภาพเร็วมาก ๆ ไม่แน่ใจว่าจังหวะของหนังเรื่องนี้ต้องการให้สอดคล้องกับการที่คนกลุ่มนี้เป็น “นักตีกลอง” หรือเปล่า หรือเราแค่ไม่ชินกับหนังที่ตัดภาพเร็ว ๆ 55555

 

ดูแล้วก็นึกถึงหนังไทยบางเรื่องที่ได้ดูในปีที่ผ่านมาด้วย ที่หนังแต่ละเรื่องก็เหมือนเป็นการบันทึกแต่ละ “เสี้ยว” ของม็อบในปี 2020-2021 เอาไว้ ทั้งหนังเรื่อง MOB 2020-2021 (2021, Supong Jitmuang, 118MIN) ที่เหมือนเป็นการบันทึกภาพรวม, THE SHOW MUST GO ON (2021, Chanon Noinongyao) ที่ตามถ่าย performance artist คนนึงในม็อบ ซึ่งเขาก็เหมือนมาปรากฏตัวเป็นระยะ ๆ ในหนังเรื่อง RASADRUMS นี้ด้วย และหนังเรื่อง (R)EVOLUTION (2021, Nawapas Pongsing) ที่สัมภาษณ์คุณ Nawat Leangwattana ซึ่งเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง

 

คิดว่าหนังกลุ่มนี้น่าจะเป็นบันทึกทางกาลเวลาหรือหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่ามากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป