Sunday, December 31, 2017

28 UP (1984, Michael Apted, UK, documentary, A+30)

28 UP (1984, Michael Apted, UK, documentary, A+30)

--ชอบฉากที่นีล ซึ่งเป็นคนไร้บ้าน พูดถึง “พระเจ้า” มากๆ

--ชอบปีเตอร์มากๆที่ด่ามาร์กาเร็ต แธทเชอร์อย่างรุนแรง แต่น่าเสียดายที่เขาถูกสื่อมวลชนเลวๆโจมตี เขาก็เลยถอนตัวออกไปเลยหลังจากแสดงใน 28 UP และไม่ยอมมาให้สัมภาษณ์ใน 35 UP, 42 UP กับ 49 UP แต่พอเขาแก่ตัวแล้ว เขาก็กลับมาปรากฏตัวใหม่อีกใน 56 UP เพื่อโปรโมทวงดนตรีของตัวเอง 555

--ในภาค 4 นี้ หลายคนมีครอบครัว มีลูกแล้ว และปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องที่ว่า สามีกับภรรยาจะแบ่งภาระหน้าที่ในการเลี้ยงลูกยังไง สามีหรือภรรยาต้องลาออกจากงานเพื่อมาเลี้ยงลูกหรือเปล่า ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่อินกับประเด็นนี้ 555

--เหมือนผู้สร้างหนังพยายามจะสะท้อนปัญหาสังคมเรื่องคนรวย คนจน แต่ “คนจน” หลายคนในเรื่อง ก็บอกว่าตัวเองไม่อิจฉาคนรวยเลย ตัวเองมีความสุขดี ตัวเองมีทุกอย่างที่ตัวเองต้องการแล้ว แม้แต่นีล ซึ่งเป็นคนไร้บ้าน ก็บอกว่าตัวเอง content กับชีวิต

ซึ่งเราเชื่อว่า หลายคนพูดจริงนะ เพราะ “คนจน” หลายคนในเรื่อง มีบ้านอยู่สุขสบายน่ะ คือย่าน “working class neighborhood” ของคนจนผิวขาวชาวอังกฤษในหนังเรื่องนี้ ดูเผินๆมันก็เหมือนย่านชนชั้นกลางในกรุงเทพน่ะ มันไม่ได้เป็นแฟลตนรกแบบในหนังของ Mike Leigh หรือ Ken Loach

คือดูแล้วเห็นได้ชัดเลยว่า “ชนชั้นแรงงาน” ผิวขาวในอังกฤษนี่ ฐานะดีกว่าเราหลายเท่า คือเราอายุ 44 ปีแล้ว ยังไม่มีเงินซื้อบ้านหรือคอนโดของตัวเองเลย แต่ชนชั้นแรงงานในอังกฤษนี่ อายุ 20 กว่าปี ก็มีบ้านหลังเล็กอยู่อย่างสุขสบายแล้ว ทั้งๆที่พวกเขาไม่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยแต่อย่างใด

ตัวโทนี่ ก็น่าสนใจมาก คือเขาทำงานเป็นคนขับรถแท็กซี่ แต่พอโตขึ้นจนอายุ 49 ปี เขาก็มีบ้านสองหลังในอังกฤษ และก็มีบ้านอีกหลังนึงในสเปนด้วย เราไม่เคยรู้มาก่อนว่าการทำงานขับรถแท็กซี่ 20 กว่าปี จะส่งผลให้เรามีเงินซื้อบ้านได้ถึง 3 หลัง อาชีพนี้ทำเงินได้ดีเกินคาดจริงๆ

แต่แน่นอนว่า หลายคนในหนังก็ย้ำแหละว่า พวกเขาคือตัวเขาเอง พวกเขาไม่ใช่ “representation” ของคนกลุ่มใดกลุ่มนึงแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นเราก็ไม่สามารถเหมารวมได้หรอกว่า เราสามารถตัดสิน “ชนชั้นแรงงาน” ในอังกฤษ โดยดูจากคนหลายๆคนในหนังเรื่องนี้ได้

--ถ้าเข้าใจไม่ผิด ในหนังชุด UP SERIES ชุดนี้นั้น ผู้สร้างหนังแค่นัดเจอ subjects แต่ละคนทุกๆ 7 ปีน่ะ คือไม่ได้ตามถ่ายตลอดเวลา คือเหมือนกับว่า พอครบ 7 ปี subjects แต่ละคนก็ไปนั่งให้สัมภาษณ์บวกกับให้ถ่ายภาพชีวิตแค่ 1-2 วันเท่านั้นเอง หนังมันเลยไม่ได้ “สุดยอด” มากเท่าที่ควร เพราะหนังไม่ได้ถ่ายให้เราเห็นชีวิตประจำวันของตัวละคร หนังแค่ให้ตัวละครมาเล่าสรุปชีวิตตัวเองในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาเท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่า subjects หลายๆคนก็คงไม่เปิดเผยด้านลบของตัวเองมากนัก


แต่แค่นี้ก็ชอบหนังสุดๆแล้วนะ เพียงแต่ว่าตัว subjects กับผู้สร้างคงไม่ได้สนิทกันมากนักน่ะ เพราะนัดเจอกันแค่ 7 ปีครั้งนึง แล้วก็ถ่ายทำกันแค่วันสองวันเท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นมันก็เลยอาจจะไม่ได้ลึกซึ้งเหมือนหนังสารคดีบางเรื่อง โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับหนังสารคดีเรื่อง ROMANS D’ADOS 2002-2008 (2010, Béatrice Bakhti, Switzerland) ที่ถ่ายทำชีวิตเด็กวัยรุ่นนาน 6 ปี เราว่าหนังเรื่องนั้นถ่ายทอด “ส่วนลึก” ในตัว subjects แต่ละคนได้ดีกว่า UP SERIES มากๆ แต่มันก็ดีกันไปคนละแบบน่ะแหละ คือ ROMANS D’ADOS มันลึกได้ เพราะมันเจาะช่วงเวลาแค่ 6 ปี ในขณะที่ UP SERIES คง “ลึก” ไม่ได้ เพราะมันครอบคลุมเวลา 49 ปีเข้าไปแล้ว

21 UP (1977, Michael Apted, documentary, UK, A+30)

21 UP (1977, Michael Apted, documentary, UK, A+30)

ทำไมดูแล้วร้องห่มร้องไห้ ทั้งๆที่เนื้อหาของหนังก็เป็นแค่เรื่องราวชีวิตคนธรรมดากลุ่มนึง บางทีคงเป็นเพราะเราได้เห็นอดีตและอนาคตของแต่ละคนมั้ง คือถ้าหากหนังเรื่องนี้เพียงแค่สัมภาษณ์คนธรรมดา 14 คนขณะอายุ 21 ปี เราก็คงไม่รู้สึกอะไรมากขนาดนี้ แต่นี่เป็นเพราะเรารู้จัก “อดีต” ของแต่ละคนเป็นอย่างดี และเป็นเพราะเรารู้ว่า “อนาคต” ของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร เราก็เลยเกิดความรู้สึกที่บรรยายไม่ถูกเมื่อได้เห็นแต่ละคนขณะอายุ 21 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ชายแต่ละคนอยู่ในช่วงที่ดูดี น่ากินที่สุดแล้ว

นีลคงเป็น “subject” ที่น่าสนใจที่สุดสำหรับเรา ชีวิตเขามันชิบหายมากๆ และเราว่าสิ่งที่เขาพูดก็น่าสนใจมากๆ

บรูซถือเป็นผู้ชายที่เรารู้สึกสนใจมากที่สุดในแง่ spiritual เราว่าเขาน่าสนใจดี ในแง่ที่ว่า เขาดูเหมือนจะเกิดในครอบครัวฐานะดี และเขาก็เหมือนจะมีความรักความเมตตาความต้องการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์มากๆ ตอนที่เขาเป็นเด็ก 7 ขวบเขาต้องการจะไปทวีปแอฟริกา เพื่อไปช่วย civilize คนที่นั่น และพอโตขึ้น เขาก็ไปทำงานในบังกลาเทศ เราว่าบรูซเป็นคนที่ตรงข้ามกับเราในแบบที่เราต้องการน่ะ คือเราเป็นคนที่ “ขาดความรัก” แต่บรูซเป็นคนที่ “มีความรักเปี่ยมล้นอยู่ในใจ และต้องการมอบความรักให้เพื่อนมนุษย์” คือเราเป็นคนที่มีพลังในทางลบ หรือพลังอำนาจในการทำลายล้างสูงมาก แต่บรูซเป็นคนที่มีพลังบวกสูงมาก เราก็เลยรู้สึกว่าเขาเป็นผู้ชายแบบที่จะช่วยเสริมในสิ่งที่เราขาดได้ 555


แต่ถ้าถามว่าอยากได้ใครเป็นสามีมากที่สุดในเรื่องนี้ ดิฉันก็ขอเลือกนิค นักนิวเคลียร์ฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดค่ะ เราว่านิคเป็นเด็กผู้ชายที่ดูหน้าตาแย่สุดในเรื่องตอน 7 ขวบ แต่กลายเป็นผู้ชายที่ดูน่ากินที่สุดตอนอายุ 21 ปี ผู้ชายบางคนนี่ประมาทไม่ได้จริงๆ เขาอาจจะดูเห่ยมากๆตอนเด็กๆ แต่พอโตเป็นหนุ่มฉกรรจ์แล้วนี่ ...

246247596248914102516...AND THEN THERE WERE NONE (2017, Arin Rungjang, video installation, A+30)

จุดตัด/กับดักนักท่องเที่ยว (2017, Qenji Yoshida + Wantanee Siripattananuntakul, video installation, A+25)

เสียดายที่ฟังไม่ออกว่าศิลปินสองคนในวิดีโอคุยกันว่าอะไรบ้าง แต่ชอบการบันทึกภาพ urban landscape ในญี่ปุ่นกับในกรุงเทพมากๆ  

246247596248914102516...AND THEN THERE WERE NONE (2017, Arin Rungjang, video installation, A+30)

ถ้าหาก NEVER CONGREGATE, NEVER DISREGARD (2007, Arin Rungjang) ทำให้เราประทับใจกับประวัติศาสตร์ส่วนบุคคล และ GOLDEN TEARDROP (2013, Arin Rungjang) ทำให้เราประทับใจกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ งานชิ้นล่าสุดของ Arin ก็ทำให้เราประทับใจมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมันเหมือนเป็นการนำเอาพลังของทั้งประวัติศาสตร์ส่วนบุคคล และบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์มารวมเข้าไว้ด้วยกัน

ช่วงที่เป็นการแสดงของดุจดาวกับนักแสดงชายอีกคนมันน่าสนใจดีในแง่ที่ว่า  มันทำให้หัวสมองของเราต้องทำงานหนักกว่าปกติ 555 เพราะหัวของเราต้องจินตนาการภาพตามเสียง voiceover ไปด้วย และต้องพยายามตีความว่าท่าทางของนักแสดงกำลังสื่อถึงอะไรไปด้วย และแน่นอนว่า เราตีความไม่ออกหรอก เพราะฉะนั้นพอดูไปเรื่อยๆ เราก็เลยเลิกตีความไปเองว่าท่าทางของนักแสดงเป็นการสื่อถึงอะไร

คือจริงๆแล้วมันมีหนังหลายๆเรื่องที่กระตุ้นให้ผู้ชม “ดูภาพบนจอ” และ “จินตนาการอีกภาพหนึ่งในหัว” ไปพร้อมๆกันน่ะ อย่างเช่นหนังอย่าง A.K.A. SERIAL KILLER (1969, Masao Adachi), THEODOR HIERNEIS OR HOW TO BECOME A FORMER COURT COOK (1972, Hans-Jürgen Syberberg) THE TRUCK (1977, Marguerite Duras), DECODINGS (1988, Michael Wallin) คือหนังกลุ่มนี้จะเล่าเรื่องผ่านเสียงบรรยาย และนำเสนอภาพที่ไม่ตรงกับเสียงบรรยายซะทีเดียว คือผู้ชมจะต้องจินตนาการภาพในหัวของตัวเองไปด้วย และต้องใช้ตาของตัวเองดูภาพบนจอไปด้วย

ซึ่งในบางส่วนของ 246247596248914102516...AND THEN THERE WERE NONE ก็คล้ายๆหนังกลุ่มข้างต้นนะ อย่างเช่นในฉากที่เสียงบรรยายเล่าเรื่องของทูตไทยในนาซีเยอรมนี และเราเห็นภาพของการหล่อประติมากรรมปูนปั้น คือในฉากเหล่านี้ หัวสมองของเราต้อง “จินตนาการภาพในหัวจากเสียงบรรยาย” และ “หาทางเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับเสียง” ด้วย


แต่พอเป็นฉากที่เสียงบรรยายเล่าเรื่องของทูตไทยในนาซีเยอรมนี และเราเห็นภาพการแสดงของดุจดาว มันเหมือนกับว่าหัวสมองของเราต้องทำงานหนักขึ้นน่ะ เพราะภาพที่เห็นมันก็เป็นภาพที่ “กระตุ้นจินตนาการ” ในตัวของมันเอง มันเหมือนกับว่าลีลาการเคลื่อนไหวของดุจดาวกับนักแสดงชายอีกคนมันกระตุ้นให้เราตีความ หรือจินตนาการถึงสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในภาพนั้นๆด้วย มันก็เลยเหมือนกับว่า ทั้ง “เสียง voiceover” ก็กระตุ้นให้เราจินตนาการภาพนึง (อย่างเช่นภาพทหารรัสเซียจำนวนมาก) และ “ลีลาของดุจดาว” ก็กระตุ้นให้เราจินตนาการถึงอะไรอย่างอื่นอีก และเราก็ต้องหาทางเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกันอีก มันก็เลยเป็นอะไรที่น่าสนใจดี 

7 PLUS SEVEN (1970, Michael Apted, documentary, A+30)

7 PLUS SEVEN (1970, Michael Apted, documentary, A+30)

หลังจากดูภาค 1, ภาค 7 และภาค 8 ไปแล้ว ก็ได้เวลาดูภาคสอง นี่เรากะว่าจะดูภาค 3-6 ให้ทันก่อนปีใหม่ ยังลุ้นอยู่ว่าจะทันไหม 555

ทำไมดูแล้วรู้สึกเจ็บปวดก็ไม่รู้ เหมือนข้อคิดหลักที่ได้จากการดูหนังสารคดีที่ถ่ายทำยาวนาน 49 ปีชุดนี้ก็คือว่า “เด็กคนไหนเกิดมารวย ก็มีชีวิตที่ร่ำรวยและสุขสบายตลอดไป ใครเกิดมาจน ก็จนตลอดไป”

หนึ่งใน sequence ที่เจ็บปวด ก็คือฉากที่ตัดสลับเด็กๆหลายคนพูดถึงการท่องเที่ยวของตัวเอง เด็กหลายคนพูดถึงการไปเที่ยวเมืองนอก ไปเที่ยวประเทศต่างๆอย่างสนุกสนาน อย่างเช่นไปเล่นสกีที่สวิตเซอร์แลนด์ แต่เด็กผิวดำบอกว่า เขาเคยไปเที่ยวแค่พิพิธภัณฑ์ต่างๆที่ทางโรงเรียนพาไปเท่านั้น อย่างเช่นพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งของมาดามทุสโซด์


เหมือนเราเห็นตัวเองในฉากนั้นน่ะ ในแง่นึงเราก็เหมือนเด็กผิวดำคนนั้นใน UP SERIES คือในขณะที่เพื่อนๆหลายๆคนใน facebook ไปเที่ยวเมืองนอกกันโครมๆ แต่สำหรับเรานั้น ในช่วง2-3 ปีที่ผ่านมา เราได้ไปไกลสุดแค่จังหวัดนครปฐมเพื่อดูหนังที่ศาลายาเท่านั้น 555

Thursday, December 28, 2017

SEVEN UP! (1964, Paul Almond, UK, documentary, A+30)

SEVEN UP! (1964, Paul Almond, UK, documentary, A+30)

พอดีช่วงต้นปีได้ดู 49 UP (2005, Michael Apted+Paul Almond) กับ 56 UP (2012, Michael Apted + Paul Almond) ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปแล้ว ก็เลยมาตามดูภาคแรกๆในช่วงปลายปี

พอมาดูภาคแรกแล้วแทบร้องไห้ เพราะ Neil ในภาคแรกนี่ สดใส น่ารักมากๆๆๆๆๆๆ คือเราเห็นเขาแล้วเราจินตนาการได้เลยว่า เขาต้องมองโลกสดใสขนาดไหนในตอนที่ยังเป็นเด็ก 7 ขวบในตอนนั้น

แต่พอดีเราดูสองภาคล่าสุดไปแล้ว เราก็เลยรู้ดีว่า เด็ก 7 ขวบที่เต็มไปด้วยความสดใสและความหวังเปี่ยมล้นในชีวิตนี่แหละ ที่โตขึ้นมาจะต้องเผชิญกับความยากจน กลายเป็นคนไร้บ้าน และชีวิตจะโหดร้ายและโบยตีเขาอย่างรุนแรงมากขนาดไหน

นีลตอน 7 ขวบในปี 1964 ยังไม่รู้อนาคตของตัวเอง เขายังคงสดใสร่าเริงอยู่ เขาไม่รู้หรอกว่า ความขมขื่นและความเจ็บช้ำรอเขาอยู่ในอนาคต


ส่วนเราคนดูในปี 2017 เรารู้อนาคตของนีลแล้ว มันทำให้เรานึกถึงความเชื่อทางศาสนาขึ้นมาเลยนะ ความเชื่อที่ว่า อยากจะนิพพานไปซะ ไม่อยากจะเกิดมาเป็นมนุษย์อีกต่อไป

Wednesday, December 27, 2017

GLOBAL MIGRATION FILM FESTIVAL 2017

FILMS SEEN IN THE GLOBAL MIGRATION FILM FESTIVAL 2017

IN PREFERENTIAL ORDER

1.IT WAS HOTEL CAMBRIDGE (2016, Eliane Caffé, Brazil, A+30)

2.SOUND OF TORTURE (2013, Keren Shayo, Israel, documentary, A+30)

3.PROBLEMSKI HOTEL (2015, Manu Riche, Belgium, A+30)

4.KSHITIJ (A HORIZON) (2016, Manouj Kadamh, India, A+30)

5.LUCKY SPECIALS (2017, Rea Rangaka, South Africa, A+30)

6.THE FORGER (2016, Pamela Druckerman, Samantha Stark, Alexandra Garcia, documentary, A+30)

7.THE CIRCLE (2016, Ruken Tekes, Turkey, short film, A+30)

8.TWELVE (2008, Lester Alfonso, Canada, documentary, A+25)

9.HOME (2016, Daniel Mulloy, UK, short film, A+25)

10.IN CANADA (2014, Michael Morein, Canada, documentary, A+15)

--นอกจากนี้ ในเทศกาลยังมีการฉายคลิปสั้นๆ SOY MIGRANTE จากอาร์เจนตินาด้วย เราได้ดูไป 3 คลิป ชอบมากๆเลย ถ้าจำไม่ผิด คลิปนึงเป็นเรื่องของสาวเฮติในอาร์เจนตินา อีกคลิปนึงเป็นเรื่องของหนุ่มอุรุกวัยที่มาทำขนมปังในอาร์เจนตินา และอีกคลิปนึงเป็นเรื่องของสาวลาตินอเมริกา (จำประเทศไม่ได้) ที่มาเรียนปริญญาโทหรือทำงาน NGO ในอาร์เจนตินา

ชอบเรื่องของหนุ่มอุรุกวัยในอาร์เจนตินามาก คือก่อนหน้านี้เรามักจะมองว่า ผู้อพยพพวกนี้มันไม่น่าจะเจอปัญหาอะไรเลยนะ เพราะมันพูดภาษาสเปนเหมือนกัน หน้าก็คล้ายๆกัน คือเวลาพวกเขาไปไหนมาไหนในอาร์เจนตินา พวกเขาไม่น่าจะถูกเหยียด เพราะคนอาร์เจนตินาไม่น่าจะมองออกว่าพวกเขาเป็นชาวต่างชาติ แล้วเราก็ไม่รู้ด้วยว่า ประเทศต่างๆในอเมริกาใต้มันมีการเหยียดกันยังไงบ้าง หรือมีลำดับชั้นในการเหยียดยังไงบ้าง

แต่หนุ่มอุรุกวัยเล่าว่า ยุคแรกๆที่เขามาทำงานในอาร์เจนตินา เขาใช้รถที่มีป้ายทะเบียนอุรุกวัย เขาก็เลยถูกคนอาร์เจนตินาตะโกนด่าว่า “กลับประเทศมึงไป” อะไรทำนองนี้

เขาบอกว่า เขาคิดถึงภาษาพื้นเมืองอะไรสักภาษาของเขาด้วย คือเราจำชื่อภาษาไม่ได้ แต่มันไม่ใช่ภาษาสเปน เราก็เลยได้ความรู้ใหม่ว่า คนอุรุกวัยบางกลุ่มเขาก็มีภาษาของตนเองที่ไม่ใช่ภาษาสเปนเหมือนกัน

--อยากรู้ว่าใคร curate หนังในเทศกาลนี้ เพราะรสนิยมมันตรงกับเราอย่างสุดๆ

--ฉากที่ชอบที่สุดฉากนึงในปีนี้ อยู่ใน IT WAS HOTEL CAMBRIDGE เป็นฉากที่ตัวละครหญิงชาวบราซิลคนนึงเจอหนุ่มหล่อชาวปาเลสไตน์ เธอก็เลยชวนเขามาที่ห้อง แล้วเล่าประวัติตัวเองให้หนุ่มปาเลสไตน์ฟัง เธอเล่าว่า เธอเคยอยู่คณะละครสัตว์ และสนิทกับช้างตัวนึง เธออาบน้ำให้ช้างตัวนี้เป็นประจำ แต่มีวันนึงเธอป่วย คณะละครสัตว์ก็เลยให้คนอื่นมาอาบน้ำให้ช้างตัวนี้ แล้วช้างตัวนี้ไม่พอใจ ก็เลยทำร้ายคนที่มาอาบน้ำให้ ทางคณะละครสัตว์ก็เลยต้องฆ่าช้างตัวนี้ทิ้งไป เธอก็เลยเสียใจมากๆ มันเป็นปมชีวิตที่ฝังใจเธอมานานหลายปีแล้ว

แล้วเธอก็บอกกับหนุ่มหล่อชาวปาเลสไตน์ว่า “คุณรู้มั้ยว่า คุณมาที่นี่ทำไม คุณมาที่นี่ก็เพื่อจะทำให้ช้างตัวนี้ได้กลับมาเกิดใหม่ในครรภ์ของดิฉันยังไงล่ะ” แล้วเธอก็พยายามเสยหีใส่หนุ่มหล่อชาวปาเลสไตนอย่างรุนแรง


แน่นอนว่า IT WAS HOTEL CAMBRIDGE เป็นหนึ่งในหนังเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยที่ดิฉันชอบมากที่สุดในชีวิตค่ะ

Wednesday, December 20, 2017

A QUOTE FROM NOI ALBINOI

พอพูดถึงทางเลือกของชีวิตในหนังเรื่อง BRAD’S STATUS แล้ว เราก็เลยนึกถึงหนังเรื่อง NOI ALBINOI (2003, Dagur Kari, Iceland) ขึ้นมา จำได้ว่ามันมีประโยคในหนังที่เราชอบมากๆ พอลอง search ดูเลยพบว่า ประโยคในหนังเรื่องนี้มันมาจาก Søren Kierkegaard มั้ง ถ้าเข้าใจไม่ผิด

“Marry, and you will regret it; don’t marry, you will also regret it; marry or don’t marry, you will regret it either way. Laugh at the world’s foolishness, you will regret it; weep over it, you will regret that too; laugh at the world’s foolishness or weep over it, you will regret both. Believe a woman, you will regret it; believe her not, you will also regret it… Hang yourself, you will regret it; do not hang yourself, and you will regret that too; hang yourself or don’t hang yourself, you’ll regret it either way; whether you hang yourself or do not hang yourself, you will regret both. This, gentlemen, is the essence of all philosophy.”


มันคือสัจธรรมของชีวิตจริงๆ

Wednesday, December 13, 2017

RHIZOME 2017

Films seen in RHIZOME 2017
(in viewing order)

1.Q (2017, James Bascara, animation, A+30)
2.HARMALA PSYCHOTRIA (2016, Frederik Jan Depickere, documentary, A+20)
3.BLAHA LUJZA SQUARE (Antonin Blanc, Hungary, documentary, A+25)
4.TO ALL SONS OF OUR MOTHER (Antonin Blanc, A+10)
5.PORT (2016, Hiroshi Sunairi, 26min, A+30)
6.SNAKESKIN (2014, Daniel Hui, Singapore, 105min, second viewing, A+30)
7.POSTOCULA (2013, Jon Lazam, Philippines, A+25)
8.MEETING PLACE (2010, Jon Lazam, Philippines, A+30)
9.DARNA: A STONE IS A HEART YOU CANNOT SWALLOW (2012, Jon Lazam, Philippines, second viewing, A+30)
10.PANTOMIME FOR FIGURES SHROUDED BY WAVES (2013, Jon Lazam, Philippines, second viewing, A+30)
11.THE MOON IS NOT OURS (2011, Jon Lazam, Philippines, A+15)
12.TASTE OF GOOSEBERRY (2016, Jon Lazam, Philippines, A+30)
13.THREE ENCHANTMENTS (2016, Jon Lazam, Philippines, second viewing, A+30)
14.PIRACY (2017, Jon Lazam, Philippines, A+30)
15.BALIKTARAN STUDY 01 (2016, Jon Lazam, Philippines)
16.SLEEP HAS HER HOUSE (2017, Scott Barley, UK, 90min, A+30)
17.A SUBSEQUENT FULFILMENT OF A PRE-HISTORIC WISH (2015, Johannes Gierlinger, Austria, A+25)
18.THE FORTUNE YOU SEEK IS IN ANOTHER COOKIE (2014, Johannes Gierlinger, Austria, 74min, A+30)
19.PEOPLE POWER BOMBSHELL: THE DIARY OF VIETNAM ROSE (2017, John Torres, Philippines, 89min, A+30)
20.THE ETHEREAL MELANCHOLY OF SEEING HORSES IN THE COLD (2012, Scott Barley, UK, A+20)
21.NIGHTWALK (2013, Scott Barley, UK, 6min, A+25)
22.ILLE LACRIMAS (2014, Scott Barley, UK, 20min, A+30)
23.HOURS (2015, Scott Barley, UK, 3min, A+25)
24.SHADOWS (2015, Scott Barley, UK, 20min, A+30)
25.HUNTER (2015, Scott Barley, UK, 14min, A+30)
26.CLOSER (2016, Scott Barley, UK, 7min, A+30)
27.HINTERLANDS (2016, Scott Barley, UK, 7min, A+30)
28.THE GREEN RAY (2017, Scott Barley, UK, 12min, A+30)
29.WOMB (2017 Scott Barley, UK, 17min, A+30)         

--ปกติเราชอบจัดอันดับหนังที่ได้ดูนะ แต่งานนี้ขี้เกียจจัด ว่าชอบเรื่องไหนมากหรือน้อยกว่าเรื่องไหน เพราะมันมีหนังที่ชอบในระดับ A+30 เยอะมาก แล้วหนังของ Scott Barley มันแยกจากกันยากมากๆ โดยเฉพาะหนังกลุ่ม ILLE LACRIMAS, HUNTER, CLOSER, HINTERLANDS ที่เราแทบแยกไม่ออกว่า 4 เรื่องนี้มันต่างกันยังไง คือถ้าให้เรียงลำดับว่าใน 4 เรื่องนี้ชอบเรื่องไหนมากที่สุด เราก็คงต้องดูซ้ำใหม่อีกรอบ แล้วเราจะดูซ้ำใหม่ไปทำไมเพียงเพื่อจัดอันดับว่าชอบหนังเรื่องไหนมากกว่ากัน 555

จริงๆแล้ว THE GREEN RAY ก็คล้ายกับหนัง 4 เรื่องในกลุ่มข้างต้นมากๆ แต่ THE GREEN RAY มันจำง่าย เพราะถ้าเราเข้าใจไม่ผิด มันคือส่วนหนึ่งของหนังเรื่อง SLEEP HAS HER HOUSE น่ะ มันเป็นฉากที่กล้องตั้งนิ่งๆถ่ายธรรมชาติในช่วงอาทิตย์อัสดงจนอาทิตย์ลาลับขอบฟ้าไป และมีฟ้าผ่าปรากฏขึ้นมา คือถ้าเทียบกับ 4 เรื่องข้างต้นแล้ว เราก็ชอบ THE GREEN RAY มากที่สุด

--ถ้าถามว่าชอบเรื่องไหนมากที่สุดในงานนี้ ก็คงเป็น PEOPLE POWER BOMBSHELL: THE DIARY OF VIETNAM ROSE กับ SLEEP HAS HER HOUSE นั่นแหละ ตัดสินไม่ได้ว่าชอบเรื่องไหนมากกว่ากัน เพราะชอบกันคนละแบบ

จริงๆแล้วตอนดูเสร็จใหม่ๆจะชอบ PEOPLE POWER BOMBSHELL มากกว่า เพราะเราชอบหนังที่เล่นสนุกกับ “วิธีการเล่าเรื่อง” น่ะ และเราชอบมากๆที่หนังเรื่องนี้มันทำให้เรามีมุมมองใหม่กับ “ฟิล์มเน่า”

คือปกติแล้วเวลาดูหนังเก่า แล้วพบว่าฟิล์มมันเน่าจนเกือบดูไม่ได้แล้ว เราจะรู้สึกเศร้าเสียใจและอารมณ์เสียไง แต่ปรากฏว่า PEOPLE POWER BOMBSHELL กลับ treat สภาพฟิล์มที่ย่ำแย่ว่าเป็นสิ่งที่งดงาม ยิ่งภาพในฟิล์มมันขยุกขยุย มีรอยเปื้อน รอยขูดขีด ช้ำเลือดช้ำหนองมากเท่าไหร่ มันกลับยิ่งสวย ยิ่งทรงคุณค่ามากขึ้นเท่านั้น ซึ่งต่างจากเวลาดูหนังเก่าที่ restoration แล้ว ที่พยายามทำให้ฟิล์มดูสดใหม่ปราศจากรอยขูดขีดมากที่สุด
                                                                         
เราก็เลยรู้สึกว่า การดู PEOPLE POWER BOMBSHELL ทำให้เราตระหนักว่า ความรู้สึกของเราที่มีต่อบางสิ่งบางอย่าง มันไม่ใช่ความรู้สึกที่ผุดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ แต่เป็นความรู้สึกที่ถูกกำกับควบคุมไว้แล้วผ่านระบบระเบียบที่คนอื่นๆกำหนดมา มันไม่ใช่ความรู้สึกที่ “เป็นธรรมชาติ” ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด แต่เป็นความรู้สึกที่ถูกโปรแกรมไว้แล้วโดยคนอื่นๆในสังคมน่ะ

คือการดู “ฟิล์มเน่า” ในสถานการณ์นึง เรากลับรู้สึกเลวร้ายมาก แต่การดู “ฟิล์มเน่า” ในอีกสถานการณ์นึง เรากลับรู้สึกว่ามันงดงามสุดๆ มันเป็นเพราะอะไร ทั้งๆที่มันเป็นฟิล์มเน่าเหมือนกัน นั่นแสดงให้เห็นว่า มันเป็นเพราะเราไม่ได้มีความรู้สึกต่อฟิล์มเน่าเหล่านั้นโดยตรง เราไม่ได้มองฟิล์มเน่าแล้วเรารู้สึกอะไรขึ้นมาในดวงจิตของเราในทันที แต่ก่อนที่เราจะรู้สึกอะไรต่อฟิล์มเน่า เราผ่านการ “คิดถึงเจตนาของผู้สร้าง” ก่อนที่จะประมวลผลออกมาเป็นความสุขหรือความเศร้าในดวงจิตของเราเมื่อเห็นฟิล์มเน่า

คือเวลาดูหนังเก่า แล้วเห็นฟิล์มเน่า เรารู้สึกเศร้า เพราะเรารู้ว่าผู้สร้างหนังไม่ได้ต้องการให้ฟิล์มมันเน่า ภาพมันเสียแบบนั้น แต่พอดู PEOPLE POWER BOMBSHELL หรือดูหนังอย่าง 100 TIMES REPRODUCTION OF A COCK KILLS A CHILD BY PECKING ON THE MOUTH OF AN EARTHEN JAR (2017, Chulayarnnon Siriphol), 1/4/C REGENERACIONES DE VHS A VHS (1999-2000, Antoni Pinent, Spain), REPEATING DRAMATIC (2008, Arpapun Plungsirisoontorn)  หรือแม้แต่มิวสิควิดีโอ FOUND A CURE ของ Ultra Nate ที่เล่นกับ “ภาพเสีย” เรากลับรู้สึกว่าภาพยิ่งเน่า แล้วมันยิ่งงาม เพราะเรารู้ว่าผู้สร้างจงใจให้ภาพมันยับยู่ยี่แบบนั้น

เพราะฉะนั้นพอดู PEOPLE POWER BOMBSHELL เราก็เลยคิดไปถึงงานศิลปะบางอันที่เป็นการเอา found object มากำหนดให้เป็นงานศิลปะน่ะ อย่างเช่น TOWARDS MYSTICAL REALITY ของ Simon Soon ที่เอายากันยุงที่จุดใช้แล้ว มาจัดแสดงในฐานะงานศิลปะ แล้วเราก็ชอบงานอะไรแบบนี้มากๆ เพราะเราว่างานแบบนี้กับหนังอย่าง PEOPLE POWER BOMBSHELL มันทำให้เราตระหนักว่า ความรู้สึกชอบ/ชังของเราต่อบางสิ่งบางอย่าง มันไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นมาโดยตรง แต่เป็นสิ่งที่ผ่านตัวแปรหลายๆอย่างในหัวของเรามาแล้ว แล้วเลยออกมาเป็นความรู้สึกชอบ/ชังนั้น เพราะฉะนั้นในบางครั้ง เราสามารถ “เขียนโปรแกรมใหม่” ในหัวของเราก็ได้ เพื่อกำหนดให้เราชอบ/ชังสิ่งต่างๆได้เอง โดยไม่ต้องให้คนอื่นๆในสังคมกำหนดก็ได้ เหมือนเราเห็นวัตถุ A แล้วเรารู้สึกเกลียด เราก็จะถามตัวเองว่า เราเกลียดเพราะอะไร ใครกำหนดให้เราเกลียดมัน หรือเราเกลียดมันเองโดยไม่มีใครกำหนด แล้วถ้าเราเกลียดมันตามที่คนอื่นๆบอกสอนมา แล้วเราจะตั้งโปรแกรมใหม่ในหัวของเราให้เราชอบมันดีมั้ย เราสามารถสร้างคุณค่าให้กับวัตถุ A ในหัวของเราได้เองมั้ย อะไรทำนองนี้ 555


ส่วน SLEEP HAS HER HOUSE นั้น ตอนดูจบใหม่ๆก็ชอบมากนะ แต่อาจจะชอบน้อยกว่า PEOPLE POWER BOMBSHELL เพราะ SLEEP HAS HER HOUSE มันมีตัวเปรียบเทียบเยอะ ทั้งหนังของ Teeranit Siangsanoh, Enzo Cillo, James Benning อะไรทำนองนี้น่ะ แต่พอเวลาผ่านไปนานๆ เราก็ชอบ SLEEP HAS HER HOUSE มากขึ้น เพราะเหมือน “พลังสนธยา” ของมันติดค้างอยู่กับเรามากกว่า PEOPLE POWER BOMBSHELL น่ะ คือ PEOPLE POWER BOMBSHELL เหมือนกระทบความคิดของเรา ส่วน SLEEP HAS HER HOUSE เหมือนกระทบจิตใต้สำนึกของเรา เราก็เลยบอกยากว่าชอบหนังเรื่องไหนมากกว่ากัน

Monday, December 11, 2017

SUPERBUG (2017, Wachara Kanha, 22min, A+30)

SUPERBUG (2017, Wachara Kanha, 22min, A+30)

1.วชรยังคงเป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ไทยที่เราชอบมากที่สุดเหมือนเดิม เพราะเขาเป็นคนทำหนังแนวกวีที่ดูเหมือนจะมีคนไทยทำน้อยมาก และเขาก็ทำออกมาได้ดีมากๆด้วยในสายตาของเรา

หนังเรื่องนี้ของวชรเป็นการนำภาพสามัญธรรมดามากมายที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกัน มาเรียงร้อยเข้าด้วยกันได้อย่างงดงาม โดยมีเสียง voiceover เป็นการอ่านบทกวี (หรือบทรำพึงรำพัน) ของรอนฝัน ตะวันเศร้า โดยตัวบทกวีจะพูดถึงการรอคอยนาน 10 วัน ในช่วงระหว่างวันที่ 9 เดือน 9 จนถึงวันที่ 19 เดือน 9 ก่อนที่จะพบว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป

สำหรับความหมายของหนังเรื่องนี้ในความเห็นของเรานั้น เราขอไม่เขียนถึงนะ คิดว่าผู้ชมแต่ละคนควรจะตีความด้วยตัวเองจะดีกว่า
                                                   
เราชอบการเรียงร้อยภาพธรรมดาสามัญที่ไม่เกี่ยวข้องกันแบบนี้เข้าด้วยกันมากๆ เราว่ามีผู้กำกับหนังไทยเพียงไม่กี่คนที่ทำแบบนี้ได้ คือผู้กำกับหนังไทยที่ทำแบบนี้ได้เท่าที่เราเคยดูก็มีแค่ Teeranit Siangsanoh, Arnont Nongyao, Tanatchai Bandasak, Jutha Saovabha, Tanakit Kitsanayanyong และก็อาจจะมีอีกไม่กี่คนที่เรายังนึกชื่อไม่ออกในตอนนี้น่ะ คือเราว่าประเทศไทยขาดแคลนผู้กำกับหนังแนวนี้มากๆ (แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้นะ เพราะการทำหนังแนวนี้ไม่สามารถทำเงินได้น่ะ มันไม่ใช่หนังที่สามารถแปรมูลค่าเป็นตัวเงินได้)

ในส่วนของตัวภาพนั้น เราได้เห็นภาพของกองดิน, หน้าต่างหอศิลป์กทม., พุ่มไม้ในซอกตึก, ผ้าม่าน, คนจำนวนมากยืนนิ่งก่อนที่จะนั่งลง, วชรนั่งอยู่เฉยๆ, การเผาหญ้า, ปูว่ายน้ำ, เด็กชาวเขา, เด็กนักเรียนประถมในชนบท, ถังแดง, เด็กมุสลิม, งานศพ, ฯลฯ ภาพเหล่านี้เป็นภาพที่เราดูหลายรอบได้ไม่เบื่อ คือมันไม่ได้เป็นภาพที่งดงามแบบสุดๆ หรือเป็นภาพที่ freeze แล้วจะเหมือน painting แต่มันเป็นภาพที่ “มีความเป็นอิสระ” และ “มีความเป็นธรรมชาติ” อยู่ในตัวมันน่ะ มันเหมือนเป็นภาพที่ไม่ได้ถูกครอบไว้ด้วยความหมายที่ชัดเจน แล้วถ้าหากเราตีความความหมายของภาพออก เราก็จะเข้าใจสารทั้งหมด คือเราว่าภาพที่เป็นสัญลักษณ์สื่อความหมายในหนังบางเรื่อง มันจะหมดรสชาติ หรือหมดคุณค่าไป เมื่อเราเข้าใจมันน่ะ คือพอเราเข้าใจมันแล้ว มันก็เหมือนภาพนั้นเป็นกล่องนมที่เราดูดนมออกไปหมดแล้ว เราได้รับทุกอย่างจากมันไปแล้ว แล้วมันก็หมดคุณค่าไป แต่ภาพในหนังของวชร และ Teeranit มันเหมือนยังมีความเป็นอิสระและความมีชีวิตอยู่ในตัวมันด้วย คือแน่นอนว่าภาพแต่ละภาพหรือซีนบางซีนในหนังของสองคนนี้มันอาจจะมีความหมายแฝงอยู่ แต่ความหมายของภาพหรือความสำคัญเชิงสัญลักษณ์ของภาพมันไม่ได้ครอบภาพไว้ทั้งหมดน่ะ ภาพแต่ละภาพมันยังมีลมหายใจของมันที่มากไปกว่าการเป็นสัญลักษณ์อยู่ด้วย และเราก็ชอบภาพหรือหนังแบบนี้มากๆ เพราะเราไม่ใช่คนที่ชอบตีความสัญลักษณ์ 555

อย่างเช่นภาพเด็กนักเรียนในหนังเรื่องนี้ คือดูภาพเด็กนักเรียนในหนังเรื่องนี้แล้วเราก็ไม่เข้าใจอย่างชัดเจนว่ามันจะสื่อถึงอะไร หรือผู้กำกับต้องการให้เรารู้สึกอย่างไรกับภาพที่เห็น และพอมันเกิดความไม่แน่ใจทางความหมายและอารมณ์แบบนี้ มันก็เลยเกิดความรู้สึกที่ “เป็นอิสระ” ขึ้นมาสำหรับเรา และเราชอบอะไรแบบนี้มากๆ เราจะตีความภาพเด็กนักเรียนนี้อย่างไรก็ได้ หรือเราจะรู้สึกอย่างไรก็ได้ เราอาจจะรู้สึกสิ้นหวังและสงสารเมื่อเห็นภาพเด็กนักเรียนในประเทศที่ล่มสลายแห่งนี้ก็ได้ โดยที่หนังไม่จำเป็นต้องบอกเรา หรือเราอาจจะ enjoy การจับสังเกตปฏิกิริยาของนักเรียนแต่ละคนก็ได้ ซึ่งมันก็อาจจะคล้ายกับการดูหนังเรื่องแรกของโลกอย่าง WORKERS LEAVING THE LUMIERE FACTORY (1895, Louis Lumiere) ที่หนังไม่จำเป็นต้องสื่อว่าชีวิตสาวโรงงานมันดีหรือเลว เราแค่มองภาพคนเดินออกจากโรงงาน โดยไม่ต้องเอาความหมายใดๆไปครอบมันไว้ หรือไปกำหนดว่าเราต้องรู้สึกอย่างไรกับภาพที่เห็น และปล่อยให้ภาพมันมีชีวิตและลมหายใจของมันเอง

2.ตัวบทกวีของรอนฝัน ตะวันเศร้านั้นก็น่าสนใจดี เราว่ามันดีมากๆเลยที่มีการเอาบทกวีมาดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ได้แบบนี้ ซึ่งเราว่ามันเป็นเรื่องที่ยากมากๆในการดัดแปลงบทกวีออกมาเป็นหนัง

ท่อนที่ชอบมากในบทกวีนี้ก็คือท่อนที่พูดถึง “พื้นที่คุยกับฉัน” และท่อนที่พูดว่า “ความคิด วิเคราะห์ แยกแยะของฉัน และควยอันแสนเศร้าของฉัน ยังคงคุยกับเศษหนังกำพร้าของคณะราษฎร์ เราคุยถึงพุทธศักราช 2475 ที่หายไป”

เราว่าการนำบทกวีมาดัดแปลงเป็นหนัง มันควรทำออกมาเป็นหนังแบบนี้แหละ คือไม่ใช่การสร้างภาพตามที่บทกวีบอกน่ะ เพราะถ้าหนังแค่จำลองภาพตามสิ่งที่บทกวีเขียนถึง แล้วจะทำหนังออกมาทำไม เราแค่อ่านบทกวีแล้วจินตนาการภาพเองก็พอแล้ว แต่สิ่งที่หนังเรื่องนี้ทำก็คือภาพที่เห็นกับเสียง voiceover ที่พูดบทกวีไม่จำเป็นต้องสัมพันธ์กันเสมอไป มันคือการสร้างอีก layer นึงซ้อนทับขึ้นมาจากบทกวี และบางทีสมองของผู้ชมก็ต้องพยายามทำความเข้าใจกับทั้งบทกวี, ภาพที่เห็น, ความเชื่อมโยงกันระหว่างภาพแต่ละภาพในหนัง และความเชื่อมโยงกันระหว่างบทกวีกับภาพไปด้วย ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เราชอบมากๆ

3.แต่ถ้าหากเทียบกับหนังของวชรและสำนักงานใต้ดินด้วยกันเองแล้ว นี่ก็อาจจะไม่ใช่หนังที่เราชอบมากที่สุดนะ 555 เพราะเราว่าเราชอบ PHENOMENON (2012, Teeranit Siangsanoh), ชิงชัง (2012, Wachara Kanha),  ภาษาที่เธอไม่เข้าใจ (2014, Wachara Kanha) มากกว่าหนังเรื่องนี้น่ะ อันนี้เทียบกันเฉพาะ “หนังที่เป็นการเรียงร้อยภาพที่ไม่เกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน” เหมือนหนังเรื่องนี้ แต่มันไม่ใช่ว่าหนังเรื่องนี้มีจุดบกพร่องอะไรตรงไหนนะ เพียงแต่ว่า PHENOMENON, ชิงชัง และภาษาที่เธอไม่เข้าใจส่งผลกระทบทางอารมณ์ต่อเราอย่างรุนแรงมากกว่า

ถ้าหากเทียบกับหนังของผู้กำกับคนอื่นๆแล้ว เราชอบหนังเรื่องนี้ในแบบเดียวกับที่เราชอบหนังหลายๆเรื่องของ Taiki Sakpisit, Arnont Nongyao, Eakalak Maleetipawan และ Pathompon Tesprateep น่ะ คือเราว่าผู้กำกับกลุ่มนี้ทำหนังการเมืองแนวกวีเหมือนกัน ซึ่งมันจะต่างจากหนังการเมืองแนวที่ให้ข้อมูลกับผู้ชมอย่างเป็นรูปธรรม อย่างหนังของ Prap Boonpan, Viriyaporn Boonprasert, Ratchapoom Boonbunchachoke คือหนังการเมืองบางเรื่องมันดูมีประเด็นที่เป็นรูปธรรมมากๆสำหรับเรา ในขณะที่หนังของ Apichatpong Weerasethakul + Chulayarnnon Siriphol อาจจะมีความเป็นรูปธรรมครึ่งนึง นามธรรมครึ่งนึง ส่วนหนังของ Wachara Kanha, Teeranit Siangsanoh, Taiki Sakpisit, Arnont Nongyao, Eakalak Maleetipawan, Tanatchai Bandasak, Pathompon Tesprateep จะดูมีความเป็นนามธรรมมากๆสำหรับเรา คือหนังของผู้กำกับกลุ่มนี้อาจจะไม่ได้ให้ข้อมูลใหม่ๆอะไรแก่เราในทางการเมือง (เพราะบางทีข้อมูลเหล่านี้เราควรหาอ่านจากข่าวหรือบทความทางวิชาการอาจจะดีกว่า) แต่มันกระตุ้นความคิด และมันส่งผลกระทบทางอารมณ์ความรู้สึกต่อเราอย่างมากในแบบที่ยากจะอธิบายได้

ใครอยากดูหนังเรื่องนี้ ก็ติดต่อผู้กำกับดูได้นะ เขาอาจจะส่งลิงค์มาให้เข้าไปดู

DREAMS INSPIRED BY COCO

ผลกระทบจากการดู COCO ก็คือกูเก็บไปฝันเลยค่ะ 555 แต่ฝันคราวนี้ไม่ได้มีเรื่องราวอะไรเป็นชิ้นเป็นอันนะ มันเป็นฝันที่สะเปะสะปะพอสมควร แต่ก็ขอจดบันทึกเอาไว้หน่อยแล้วกัน

เมื่อคืนเราฝันว่าเรานอนอยู่ในศูนย์อาหารในห้างสรรพสินค้าอะไรสักอย่าง แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่า ทำไมเรากับคนหลายๆคนต้องนอนในศูนย์อาหาร รู้แต่ว่าในฝันเราตื่นนอนขึ้นมา แล้วจะไปเข้าห้องน้ำในเวลาตีสอง ก็เลยเดินออกจากศูนย์อาหารจะไปเข้าห้องน้ำ แล้วก็สังเกตว่าในห้างมีคลาสโยคะที่มีคนมาเรียนกันด้วย เราก็เลยประหลาดใจมากว่า ทำไมชั้นเรียนโยคะรอบตีสอง-ตีสามถึงมีคนมาเรียนกันเยอะขนาดนี้ หรือว่าการฝึกโยคะตอนตีสอง-ตีสามจะให้ประสิทธิผลสูงสุด สูงกว่าการฝึกโยคะในช่วงเวลาอื่นๆของวัน

พอเข้าห้องน้ำเสร็จ เราก็กลับมานอนในศูนย์อาหาร เราก็นอนหลับตา แล้วก็พบว่าตัวเองยังเห็นขาตัวเองอยู่ แล้วก็ได้ยินเสียงพระเทศน์จากเทปธรรมะอะไรสักอย่างด้วย เราก็เลยงงว่า กูหลับตาแล้ว ทำไมยังเห็นขาตัวเองอยู่ แล้วเราไม่ได้เปิดเทปธรรมะอย่างแน่นอน แล้วเสียงพระเทศน์มาจากไหน เราก็เลยรู้ตัวว่า เรากำลังฝันอยู่อย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นกูขอออกไปสำรวจโลกความฝันดูหน่อยดีกว่า แล้วเราก็เหาะออกจากห้างสรรพสินค้าไป

เหาะออกไปแล้ว เราก็เจอหนุ่มสาวกลุ่มนึงกำลังฝึกวิทยายุทธอยู่ คือเหมือนกับฝึกวิชาตัวเบาด้วยการกระโดดจากนอกตึกขึ้นไปที่ชั้นสองของตัวตึก อะไรทำนองนี้ เราก็แอบอยู่ที่ระเบียงชั้นสองเพื่อดูหนุ่มสาวพวกนี้ฝึกวิชากัน แล้วเราก็ค่อยเผยตัวออกมา แล้วบอกว่าการกระโดดแบบนี้เป็นเรื่องง่ายๆนะ (ก็กูรู้ตัวว่าอยู่ในโลกความฝันนี่นา) แล้วเราก็สาธิตให้เห็นด้วยการกระโดดจากชั้นสองไปที่ชั้นหนึ่ง แล้วก็กระโดดจากชั้นหนึ่งแล้วก็ลอยขึ้นไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ แล้วก็บินไปสำรวจสถานที่อื่นๆต่อ

เหมือนในโลกความฝันมันเป็นอาคารตึกๆแบบในกรุงเทพนี่แหละ แต่มันจะมืดๆหน่อย เราบินผ่านไปเห็นวัดแห่งหนึ่งกำลังจัดงานศพอยู่ มีผู้คนเดินไปเดินมา เราก็เลยลงไปสำรวจซะหน่อย แล้วก็พบว่าบรรดาพระๆในวัดนี้จะเห็นเรา แต่คนที่มาร่วมงานศพจะไม่เห็นตัวเรา เหมือนกับเราเป็นวิญญาณที่พระที่มีญาณทิพย์เท่านั้นถึงจะเห็นได้ พระรูปนึงก็โบกมือทักทายเรา คนที่มาร่วมงานศพก็งงว่า พระโบกมือให้ใคร

เราเริ่มสังหรณ์ใจ กลัวว่านี่จะเป็นงานศพของตัวเราเองในอนาคต เราก็เลยพยายามหาชื่อ+รูปของผู้เสียชีวิต แต่หาไม่เจอ เราก็เลยดูตามชื่อพวงหรีดว่าใครส่งมาร่วมงานศพนี้บ้าง ดูว่ามีคนนามสกุลโพธิ์แก้วส่งมาบ้างหรือเปล่า ปรากฏว่าเจอแต่พวงหรีดจากคนนามสกุลโพธิ์เขียว กับคนนามสกุลโพธิ์รักษาอะไรทำนองนี้ แต่ไม่เจอคนนามสกุลโพธิ์แก้ว แล้วเราก็มองเห็นผีหลายตัวมาร่วมปะปนในงานศพนี้ด้วย คือในงานศพจะมีคนธรรมดาที่มองไม่เห็นเรา แล้วก็มีพระหลายรูปที่มองเห็นเรา แล้วก็มีผีที่หน้าตาน่าเกลียดเดินปะปนกับคนในงาน เราก็เลยกลัวๆ แล้วจะบินออกไป แต่พอบินออกนอกศาลาไป เราก็นึกขึ้นมาได้ว่า มันมีจุดนึงในงานที่น่าจะมีการเขียนชื่อผู้เสียชีวิตเอาไว้ เราก็เลยจะบินกลับเข้าไปดูตรงจุดนั้น ว่ามันเป็นชื่อของเราหรือเปล่า ปรากฏว่าเราบินกลับเข้าไปในศาลาไม่ได้ อยู่ดีๆก็มีประตูมาปิดไว้ เราฝ่าเข้าไปไม่ได้ เราก็เลยบินไปสำรวจที่อื่นๆต่อ

เราก็บินไปจนมาลงจอดที่หน้าตึกอะไรสักอย่างในเวลากลางวัน มีฝรั่งหนุ่มคนนึงเดินอยู่ เราก็เลยชวนเขาว่าไปมี sex กันมั้ย เขาก็บอกว่า เอาสิ แล้วจะพาเราไปมี sex ในห้องน้ำ เราก็บอกว่า นี่มันเป็นโลกความฝันหรือไม่ก็โลกวิญญาณนี่นา แล้วเราจะไปทำตามกฎของโลกมนุษย์ทำไม เรามามี sex กันหน้าตึกนี่เลยดีกว่า ท่ามกลางสายตาคนจำนวนมากนี่แหละ เพราะในโลกนี้ เราไม่เห็นจำเป็นต้องทำตามกฎของโลกมนุษย์เลย เขาก็ตกลง เราก็เลยถอดกางเกงเขาออก เพื่อจะบ๊วบให้เขาต่อหน้าธารกำนัล แต่ปรากฏว่าเขาจู๋เล็กมาก เราก็เลยบอกว่า งั้นเราไม่บ๊วบให้แล้วนะ แล้วก็เดินจากมา เขาก็มีอาการงอแงเล็กน้อย

แล้วเราก็บินมาอยู่ในห้างสรรพสินค้าแห่งนึง คล้ายๆพารากอน มีคนเดินไปเดินมา มีร้านค้าต่างๆ แล้วเราก็นึกขึ้นมาได้ว่า ถ้าหากตอนนี้เราอยู่ในโลกความฝันหรือโลกวิญญาณ แล้วเราจะขอหวยได้หรือเปล่า เราก็เลยสอบถามคนไปเรื่อยๆ ก็มีคนนึงจะเอารหัสใบ้หวยมาให้เรา แต่มันเป็นตารางที่ดูแล้วงงๆ มันไม่ใช่ตัวเลขชัดๆน่ะ มันเป็นตารางที่มีตัวเลขมากมาย แล้วเขาก็บอกว่า ถ้าจะซื้อหวยตรงบริเวณใกล้สถานีรถไฟฟ้า ต้องซื้อตามตัวเลขที่เขียนไว้ตรงจุดนี้ของตาราง แต่ถ้าหากจะซื้อหวยตรงบริเวณใกล้สถานีรถไฟใต้ดิน ต้องซื้อตามจุดนี้ของตาราง บลาๆๆ แล้วก็ดูเหมือนจะมีเงื่อนไขมากมาย เราก็เลยตัดสินใจว่า เราไม่เอาดีกว่า เพราะตารางมันไม่ได้บอกว่า รางวัลที่หนึ่งคือหมายเลขอะไร ตารางมันเหมือนจะใบ้แค่เลขท้ายสองหลักเท่านั้น แล้วเราไม่อยากเสี่ยงทำสัญญาผูกมัดหรือทำตามเงื่อนไขอะไรกับโลกของวิญญาณ เพื่อแลกกับเลขท้ายสองตัว มันไม่คุ้มกัน คือสมมุติกูถูกเลขท้ายสองตัว แต่กูต้องมีสัญญาผูกมัดอะไรสักอย่างกับโลกวิญญาณไปตลอดชีวิต กูก็ไม่เอาดีกว่า เราก็เลยปฏิเสธมันไป

แล้วเราก็เลยสำรวจห้างสรรพสินค้า แล้วก็พบว่าตัวเองอยู่ในสวนสนุกบนดาดฟ้า คืออารมณ์คล้ายๆสวนสนุกบนชั้น 8 มาบุญครองในทศวรรษ 1980 น่ะ แต่เป็นสวนสนุกที่ดูสวยและงดงามกว่าสวนสนุกชั้น 8 มาบุญครองนะ และเราก็พบว่าโลกวิญญาณนี้มันดูสวยและน่าจะมีความสุขพอสมควร คือตอนนั้นในฝันเราคิดว่า วิญญาณตัวเองลอยออกจากร่างที่นอนหลับ เพื่อมาสำรวจโลกวิญญาณน่ะ แต่ถ้าหากเราบินสำรวจนานเกินไป อาจจะมีวิญญาณร้ายฉวยโอกาสมาสิงร่างเราที่กำลังนอนหลับอยู่ก็ได้ แบบในหนังเรื่อง INSIDIOUS เราก็เลยลังเลใจว่า เราจะรีบตื่นนอนดี หรือสำรวจโลกวิญญาณต่อดี แต่พอเราพบว่าโลกวิญญาณมันดูสวยและน่าจะมีความสุขมากๆ เราก็เลยตัดสินใจว่ายังไม่รีบตื่นนอนดีกว่า คือถ้าหากกูกลับเข้าร่างไม่ได้ ต้องอยู่ในโลกวิญญาณนี้ตลอดไป กูก็ไม่เสียใจ เพราะมันดูสวยและดีกว่าโลกแห่งความเป็นจริงเยอะ

เราก็เลยถามหนุ่มหล่อ (ที่ไม่รู้โผล่มาจากไหน) ในฝันว่า ไอ้ท้องฟ้าสวยงามที่อยู่ล้อมรอบสวนสนุกนี่มันเป็นท้องฟ้าจริงหรือเปล่า หรือท้องฟ้านี่มันก็เป็นส่วนนึงของห้างสรรพสินค้า เขาก็ตอบว่ามันเป็นท้องฟ้าจริงๆ เราก็เลยบินออกจากห้างไปสำรวจดู แล้วก็พบว่าเราอยู่บนเนินเขา แล้วก็เริ่มมีหิมะตกลงมาด้วย เราก็กรี๊ดกร๊าดดีใจมาก เพราะในชีวิตจริงเรายังไม่เคยเห็นหิมะมาก่อนเลย เราก็เลยบินเข้าไปในบริเวณที่หิมะตก แล้วก็รู้สึกเย็นๆดี หนุ่มหล่อก็บอกเราว่า เดี๋ยวเป็นหวัดนะ เราก็บอกว่า นี่มันโลกวิญญาณนะ เราไม่มี body ซะหน่อย แล้วเราจะเป็นหวัดได้ยังไง

แล้วอยู่ดีๆเราก็พบว่าตัวเองอยู่ในร้านอาหารญี่ปุ่นอะไรสักอย่าง แล้วก็เจอเพื่อนมัธยมที่ชื่อแคชฟีย่าอยู่ในร้านอาหารนั้น แล้วแคชฟีย่าก็ทำอะไรลับๆล่อๆก็ไม่รู้ แล้วเราก็ตื่นขึ้นมา


สรุปว่า มันคงเป็นหนังเรื่อง COCO แน่ๆที่ทำให้เราฝันดีแบบนี้ 

Sunday, December 10, 2017

TUMHARI SULU

TUMHARI SULU (2017, Suresh Triveni, India, A+30)

1.ช่วงแรกๆจะรู้สึกไม่ค่อยอินกับนางเอก เพราะนางเอกมีอารมณ์ชื่นมื่นเบิกบานตลอดเวลา แบบเดียวกับนางเอก HAPPY-GO-LUCKY (2008, Mike Leigh) ส่วนเราจะเป็นคนที่คิดเรื่องฆ่าตัวตายอยู่ทุกวัน เพราะฉะนั้นเราจะไม่อินกับนางเอกประเภทอารมณ์สดใสแบบนี้

2.แต่พอเข้าสู่ช่วงหลังๆของเรื่อง ก็ชอบหนังแบบสุดๆไปเลย เพราะนางเอกและครอบครัวของนางเอกมันเจอปัญหาชีวิตหนักหน่วง แต่นางเอกมีอาชีพเป็นดีเจที่ต้องคอยสร้างอารมณ์สดใสให้แก่ผู้ฟัง และพูดคุยเจื้อยแจ้วเจ๊าะแจ๊ะกับผู้ฟัง เพราะฉะนั้นมันก็เลยเป็นการวัดกันไปเลยว่า มึงจะยังพูดคุยอย่างสดใสกับผู้ฟังได้หรือเปล่า ในเมื่อชีวิตจริงของมึงพังพินาศไปแล้ว คือจุดนี้ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง THE BIG SICK ด้วย ที่พระเอกต้องขึ้นแสดงตลกสดๆต่อหน้าผู้ชม ในขณะที่ชีวิตจริงพังพินาศ

3.ปีนี้อินเดียผลิตหนังเกี่ยวกับปัญหาชีวิตผู้หญิงออกมาเยอะมาก ซึ่งมันก็คงสะท้อนสภาพสังคมของอินเดียเองนั่นแหละ ที่ผู้หญิงยังขาดความเท่าเทียมกับผู้ชายอยู่ ในขณะที่ชาติตะวันตกแทบไม่ผลิตหนังแบบนี้ออกมาแล้ว


หนังเกี่ยวกับชีวิตผู้หญิงอินเดียที่เราชอบในปีนี้ ก็มีเช่น DANGAL (2016, Nitesh Tiwari), MOM (2017, Ravi Udyawar), SECRET SUPERSTAR (2017, Advait Chandan), TOILET – EK PREM KATHA (2017, Shree Narayan Singh) และก็เรื่องนี้นี่แหละ