Sunday, December 31, 2017

246247596248914102516...AND THEN THERE WERE NONE (2017, Arin Rungjang, video installation, A+30)

จุดตัด/กับดักนักท่องเที่ยว (2017, Qenji Yoshida + Wantanee Siripattananuntakul, video installation, A+25)

เสียดายที่ฟังไม่ออกว่าศิลปินสองคนในวิดีโอคุยกันว่าอะไรบ้าง แต่ชอบการบันทึกภาพ urban landscape ในญี่ปุ่นกับในกรุงเทพมากๆ  

246247596248914102516...AND THEN THERE WERE NONE (2017, Arin Rungjang, video installation, A+30)

ถ้าหาก NEVER CONGREGATE, NEVER DISREGARD (2007, Arin Rungjang) ทำให้เราประทับใจกับประวัติศาสตร์ส่วนบุคคล และ GOLDEN TEARDROP (2013, Arin Rungjang) ทำให้เราประทับใจกับบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ งานชิ้นล่าสุดของ Arin ก็ทำให้เราประทับใจมากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมันเหมือนเป็นการนำเอาพลังของทั้งประวัติศาสตร์ส่วนบุคคล และบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์มารวมเข้าไว้ด้วยกัน

ช่วงที่เป็นการแสดงของดุจดาวกับนักแสดงชายอีกคนมันน่าสนใจดีในแง่ที่ว่า  มันทำให้หัวสมองของเราต้องทำงานหนักกว่าปกติ 555 เพราะหัวของเราต้องจินตนาการภาพตามเสียง voiceover ไปด้วย และต้องพยายามตีความว่าท่าทางของนักแสดงกำลังสื่อถึงอะไรไปด้วย และแน่นอนว่า เราตีความไม่ออกหรอก เพราะฉะนั้นพอดูไปเรื่อยๆ เราก็เลยเลิกตีความไปเองว่าท่าทางของนักแสดงเป็นการสื่อถึงอะไร

คือจริงๆแล้วมันมีหนังหลายๆเรื่องที่กระตุ้นให้ผู้ชม “ดูภาพบนจอ” และ “จินตนาการอีกภาพหนึ่งในหัว” ไปพร้อมๆกันน่ะ อย่างเช่นหนังอย่าง A.K.A. SERIAL KILLER (1969, Masao Adachi), THEODOR HIERNEIS OR HOW TO BECOME A FORMER COURT COOK (1972, Hans-Jürgen Syberberg) THE TRUCK (1977, Marguerite Duras), DECODINGS (1988, Michael Wallin) คือหนังกลุ่มนี้จะเล่าเรื่องผ่านเสียงบรรยาย และนำเสนอภาพที่ไม่ตรงกับเสียงบรรยายซะทีเดียว คือผู้ชมจะต้องจินตนาการภาพในหัวของตัวเองไปด้วย และต้องใช้ตาของตัวเองดูภาพบนจอไปด้วย

ซึ่งในบางส่วนของ 246247596248914102516...AND THEN THERE WERE NONE ก็คล้ายๆหนังกลุ่มข้างต้นนะ อย่างเช่นในฉากที่เสียงบรรยายเล่าเรื่องของทูตไทยในนาซีเยอรมนี และเราเห็นภาพของการหล่อประติมากรรมปูนปั้น คือในฉากเหล่านี้ หัวสมองของเราต้อง “จินตนาการภาพในหัวจากเสียงบรรยาย” และ “หาทางเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับเสียง” ด้วย


แต่พอเป็นฉากที่เสียงบรรยายเล่าเรื่องของทูตไทยในนาซีเยอรมนี และเราเห็นภาพการแสดงของดุจดาว มันเหมือนกับว่าหัวสมองของเราต้องทำงานหนักขึ้นน่ะ เพราะภาพที่เห็นมันก็เป็นภาพที่ “กระตุ้นจินตนาการ” ในตัวของมันเอง มันเหมือนกับว่าลีลาการเคลื่อนไหวของดุจดาวกับนักแสดงชายอีกคนมันกระตุ้นให้เราตีความ หรือจินตนาการถึงสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในภาพนั้นๆด้วย มันก็เลยเหมือนกับว่า ทั้ง “เสียง voiceover” ก็กระตุ้นให้เราจินตนาการภาพนึง (อย่างเช่นภาพทหารรัสเซียจำนวนมาก) และ “ลีลาของดุจดาว” ก็กระตุ้นให้เราจินตนาการถึงอะไรอย่างอื่นอีก และเราก็ต้องหาทางเชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกันอีก มันก็เลยเป็นอะไรที่น่าสนใจดี 

No comments: