Monday, November 29, 2021

MARATHON ONLINE 2021/38

 

34. CHI POWER: THE DOCUMENTARY (ธนิศวร์ วสุ ยันตรโกวิท, 8min, A+15)

 

คืออะไร งง หรือฉันตามเรื่องไม่ทันเอง 55555 มีทั้งแมวที่สื่อสารกับคนได้ (ถ้าจำไม่ผิด) และโลกคู่ขนาน และมิคจากอีกมิตินึงในภาคหญิงสาว เหมือนจริง ๆ แล้ว wavelength เราคงไม่ตรงกับหนังเรื่องนี้เท่าไหร่ เราก็เลยไม่ได้ชอบหนังเรื่องนี้มากนัก แต่ดูจากปฏิกิริยาของผู้ชมคนอื่น ๆ ที่ชื่นชอบหนังเรื่องนี้แล้ว หนังเรื่องนี้คงถือได้ว่าเป็น “หนัง cult” เรื่องนึงประจำปีนี้ 55555

 

35. CHICKEN FILLET RECIPE (ธารา เอมสวนะ, 13min, A+)

 

36. CHOP! (จิรัชญา อาจารสิริ, animation, A+25)

 

แอนิเมชั่นที่รุนแรงสุด ๆ เพราะมันเหมือนเป็นการสร้างโลกแบบวิปริตที่ทุกคนมีความสุขกับการทำร้ายร่างกายตนเอง หรือทำอะไรโหด ๆ ยอมรับว่าหนังมันไปสุดทางของมันเองมาก ๆ แต่พอเราไม่ได้ชอบอะไรโหด ๆ แบบนี้ เราเลยอาจจะยังไม่ถึงขั้นชอบหนังเรื่องนี้แบบสุด ๆ

 

37. CHRISTMAS EVE ADAM LILITH NIGHTS (สหรัฐ อึ้งกิจไพบูลย์, 7min, A+10)

 

ยอมรับว่าช่วงแรก ๆ ของหนังนี่เรามีระยะห่างจากหนังมากพอสมควรเลย เพราะเราไม่อินกับคริสต์มาสแต่อย่างใด และเราก็ไม่ได้อยากให้หิมะตกที่เมืองไทยด้วย ถึงแม้เราจะชอบอากาศหนาวมาก ๆ ก็ตาม เพราะฉะนั้นช่วงแรก ๆ ของหนังเราก็เลยเหมือนดูตัวละครพูดคุยกัน โดยที่เราจะรู้สึกห่างจากตัวละครมาก ๆ เพราะเราแทบไม่สามารถ identify อะไรกับตัวละครกลุ่มนี้ได้

 

แต่พอหนังจบแบบนั้นเราก็ชอบหนังเพิ่มขึ้นมาก เพราะถ้าเราเข้าใจไม่ผิด ตัวละครลงเอยด้วยการ “ปาหิมะในจินตนาการ” ใส่กันอย่างสนุกสนาน ซึ่งสำหรับเราแล้ว มันดีกว่า “หิมะเทียม” แบบใน “ไสหัวไป นายส่วนเกิน” เสียอีก เพราะ “หิมะในจินตนาการ” มันไม่ต้องลงทุนเลยซักกะบาท แต่มันต้องอาศัย“กลุ่มเพื่อนที่สามารถแชร์โลกจินตนาการเดียวกันกับเราได้”  เราถึงจะสนุกกับมันได้อย่างเต็มที่

 

เราก็เลยชอบตอนจบของหนังมาก ๆ เป็นการส่วนตัว เพราะว่า ในวัยประถม เราก็หาความสุขด้วยการ “สร้างโลกจินตนาการ” ของเราขึ้นมาเอง และพอเราอยู่มัธยมกับมหาลัย ความสุขที่สุดในชีวิตของเราก็คือการมีกลุ่มเพื่อนที่ “แชร์โลกจินตนาการเดียวกันกับเรา และสนุกไปกับโลกจินตนาการเดียวกันกับเราได้” เพราะฉะนั้นพอหนังเรื่องนี้เลือกจบด้วยการเล่นสนุกปาหิมะในจินตนาการใส่กัน ตอนจบของหนังก็เลยเหมือนโดนเราเป็นการส่วนตัวมาก ๆ

 

และเราก็ชอบที่ตอนจบของหนังเรื่องนี้กับ SLEEPLESS 7-11 ของผู้กำกับคนเดียวกัน ต่างก็ลงเอยด้วย “จินตนาการ” เหมือนกัน แต่เหมือนตอนจบของ CHRISTMAS แสดงให้เห็นถึงพลังในทางบวกของจินตนาการ ส่วน SLEEPLESS 7-11 แสดงให้เห็นถึงความน่าเศร้าของคนที่แยกจินตนาการกับความเป็นจริงไม่ออก

 

38. THE CHRONIC CHRONICLES (ธัญญาทิพย์ ผุดวัฒน์, A+25)

 

นอกจาก COVID จะทำให้มีหนัง ZOOM จำนวนมากเข้าฉายในเทศกาลมาราธอนปีนี้แล้ว เราขอตั้งทฤษฎีว่า COVID ยังส่งผลทางความคิดหรือจิตใจของผู้สร้างหนังหลายราย ให้สร้างหนังที่มีฉาก “ตัวเองอยู่ในห้องเดียวกัน” ออกมาหลายเรื่องในปีนี้ด้วย 55555

 

คือเราขอตั้งทฤษฎีว่า พอ COVID ทำให้คนต้องอยู่ในห้องตามลำพังเพียงคนเดียวเป็นเวลานาน ๆ มันก็เลยกระตุ้นให้หลายคนสร้างหนังที่มีฉากตัวเองแยกร่างออกมาเป็นหลาย ๆ ร่าง แต่อยู่ในห้องเดียวกัน อะไรทำนองนี้หรือเปล่า ซึ่งรวมถึงหนังเรื่องนี้ด้วย

 

คือนอกจากหนังเรื่องนี้แล้ว หนังเรื่องอื่น ๆ ที่เราคิดว่าอาจจะเข้าข่ายเดียวกัน ก็มีอย่างเช่น

 

1. CHI POWER: THE DOCUMENTARY ที่มิคเจอตัวเองจากโลกคู่ขนาน แต่มาในภาคหญิงสาว

 

2. HOW MANY IS TOO MANY ของ ณัฎฐ์ธร กังวาลไกล ก็มีฉากตัวเองหลาย ๆ ตัวมาอยู่ในห้องเดียวกัน และแย่งอาหารกันกิน

 

3.ดินแดนกักกัน ของ จักรพันธุ์ วัฒนพงษ์ ที่เราเข้าใจว่าเป็นหนังสารคดี ที่มีการถ่ายแบบ reenactment ผสมเข้ามาด้วย และฉากนึงในหนังเป็นฉากที่ subject เหมือนแยกออกเป็นสองร่างขณะจับเจ่าอยู่ในห้องเดียวกันในช่วงกักตัว

 

4.เบ่งบาน? ของ ณัฐดนัย วัฒนธาดากุล ที่มีฉากนึงเป็นฉากที่พระเอกแยกออกเป็น 3 ร่าง ขณะอยู่ในห้องเดียวกัน

 

ไม่รู้ว่ามีหนังเรื่องอื่น ๆ ในเทศกาลมาราธอนที่มีฉากแบบนี้อีกหรือเปล่า 555

Sunday, November 28, 2021

THAI FILMS SEEN IN MARATHON ONLINE FESTIVAL 2021

 

20. BEFORE SIN CONGRATULATION (พันกร อรรถพร, A+25)

ฉากกรีดหัวใจในหนังเรื่องนี้ติดตามาก ๆ

 

21. BEGIN, LOVE, HATE, END (วีระ รักบ้านเกิด, A+30)

 

ชอบฉากกระจกสองด้านมาก ๆ, ฉากตอกไข่ทีละฟองก็คลาสสิคมาก ๆ, ฉากกรอบรูปโล่ง ๆ ก็ดี

 

ยังคงทึ่งกับสิ่งของมากมายในบ้านของคุณวีระ

 

22. THE BIRD AND THE BEE (กมลกานต์ สมุทรรัตนกุล, A+20)

หนังเลสเบียนที่ดูแล้วก็รู้สึกลุ้นไปตามตัวละครว่าจะสุขสมหวังหรือไม่

 

23. BLOCKDOWN (เพ็ญพิชชา โก้กระโทก, 33min, A+30)

ดีงามมาก ๆ ชอบอาชีพของแม่ที่เป็น “รองอบต.” รู้สึกว่าเราไม่ค่อยเจอตัวละครในหนังที่มีอาชีพนี้มาก่อน 555

 

แน่นอนว่าดูหนังเรื่องนี้แล้วต้องนึกถึง “พญาวัน” แต่ดีที่หนังเรื่องนี้มีฉากที่ชาวบ้านมาขับไล่ผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อออกไปจากหมู่บ้านด้วย ก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้มีฉากจำที่เป็นของตัวเอง

 

24. BLUES & BAR (รัฐธีร์ ศักดิ์ดิเรกรัตน์, documentary, A+20)

 

ชอบที่ดูแล้วได้ความรู้ว่าต้นกำเนิดดนตรี Blues มาจากเสียงโซ่ตรวนของทาสผิวดำ นึกไม่ถึงว่าโซ่ตรวนสามารถถูกนำมาใช้เป็นเครื่องดนตรีได้ด้วย

 

 

25. BODY POSITIVITY (กนกวรรณ ประทุมมาศ, ธัชสินี งวดชัย, ธีร์ชนินทร์ โตรุ่ง, รัชชานนท์ นิมาภาศ, รัญชิดา สุทธิพูนธนา, documentary, A+25)

 

หนังสัมภาษณ์นักศึกษามหาลัยเกี่ยวกับประเด็น body shaming

 

26. BONNE EN ROUGE (บุญรักษา สาแสง, A+30)

 

อยากให้มีฉากนางเอกใช้ตีนตบหน้าครูใหญ่ คือไหน ๆ ก็จะลาออกจากโรงเรียนแล้ว กูขอตบอีครูใหญ่ให้หนำใจก่อน

 

27. THE BOOGEYMAN: WHO KILLED SHERRY ANN DUNCAN? (ชาลิสา ตระการกิจวิชิต, animation, A+30)

 

เนื้อหาของหนังก็อาจจะไม่ได้แตกต่างไปจาก “เชอรี่แอน” (2001, จรูญ วรรธนะสิน) แต่เราก็ชอบที่มีการหยิบยกประเด็นความอยุติธรรมแบบนึ้ขึ้นมาพูดถึงอีก  

 

28. BUD(DIS)T (ณัฐสินี ทองมา, documentary, A+25)

 

หนังสัมภาษณ์พระกับหญิงสาวคนหนึ่งที่ตั้งคำถามต่าง ๆ ต่อพุทธศาสนา แต่เราชอบมากที่อยู่ดี ๆ ก็กลายเป็นการ debate เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง

 

29. BUDO (ทักษิณา สิงห์สวัสดิ์, เจณิตตา จันทวงษา, ทรงพล เรืองสมุทร, ณัฐพล สืบกระพันธ์, documentary, A+30)

 

ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ เพราะเราไม่เคยรู้ถึงปัญหาเรื่องนี้มาก่อนเลย เรื่องของการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ที่ไปทับซ้อนกับที่ทำกินของชาวบ้าน และทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนรุนแรง

 

30. CAMOUFLAGE, MIMICRY AND METAMORPHOSIS (2021, Wichanon Somumjarn, 94min, A+30)

 

หนึ่งในสาเหตุที่เราอยากดูเทศกาลหนังสั้นมาราธอนก็เพราะเราอยากดูหนังทดลองแบบนี้นั่นแหละ เหมือนมันเป็นหนังทดลองที่ไม่ได้ “เป๊ะ” แบบหนังอาร์ตหรือ video art ที่ฉายตามแกลเลอรี่ แต่มันเหมือนเป็นหนังบ้าน  video diary แบบด้นสดที่มีความเพี้ยนพิลึกของผู้กำกับแต่ละคนแทรกอยู่ด้วย ซึ่งเราว่าหนังของกลุ่มสำนักงานใต้ดิน (Teeranit Siangsanoh, Wachara Kanha, Tani Thitiprawat) และหนังของคุณ Manassak Dokmai ก็มี sense ของความเป็นหนังทดลองแบบบ้าน ๆ แบบนี้อยู่ด้วย, หนังบางเรื่องของคุณ Achitaphon Piansukprasert ก็อาจจะเข้าข่ายนี้ และปีนี้ก็มีหนังของคุณทวีโชค ผสม และหนังของคุณวิชชานนท์ที่ให้ sense แบบนี้ด้วยเช่นกัน

 

ช่วงแรก ๆ ของหนังเหมือนเป็น video diary ที่บันทึกภาพขณะผู้กำกับตะลอนไปดูโบราณสถานต่าง ๆ ในภาคอีสาน  แต่ช่วงหลังกลายเป็นหนัง fiction มีตัวละครตื่นนอนมาแล้วเจอหนังสือของจิตร ภูมิศักดิ์วางอยู่หน้าห้อง, มีการตัดภาพหนังเก่า ๆ ในทศวรรษ 2000 ของคุณวิชชานนท์แทรกเข้ามา (ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด) และมีฉากตัวละครตื่นนอนมากลางเถียงนา แล้วก็พยายามวิ่งหนีเถียงนานั้นอย่างสุดฤทธิ์ แต่ก็หนีไม่พ้นสักที เพราะพอวิ่งหนึไปได้สักพัก เขาก็ตื่นนอนมาใหม่ วิ่งหนีใหม่ เหมือนเขาต้องวิ่งหนีเถียงนานี้ประมาณ 8 รอบ เขาถึงหนีมันได้สำเร็จ ถือเป็นฉากที่เราชอบสุด ๆ ฉากนึงประจำปีนี้

 

31. CAMPER (Jakkrapan Sriwichai, 5min, A+25)

 

คุณจักรพันธ์ยังคงเป็นมือวางอันดับหนึ่งด้านหนัง horror เหมือนเคย

 

32. CASTING สิงร่าง (ภัทรศัย กิตติศุภกร, 40min, A+30)

 

จริง ๆ แล้วหนังมีปัญหาพอสมควรนะ โดยเฉพาะตอนจบที่งง ๆ ดูแล้วก็ไม่เข้าใจว่าตัวละครบางตัวทำแบบนั้นไปทำไม เพื่ออะไร 555555 แต่ชอบไอเดียและความทะเยอทะยานของหนัง เพราะหนังเรื่องนี้เหมือนพูดถึงทั้งปัญหาของนักแสดงในการรับบทเป็นตัวละคร, ปัญหาชีวิตของนักแสดงเอง, ปัญหาทางจิตของนักแสดง. ผีสิง และการฆาตกรรม  เอาจริง ๆ เราว่าถ้าหากตัดเรื่องการฆาตกรรมทิ้งไป หรือลดความสำคัญของมันลง และหันมาเน้นเรื่องสภาพจิตของนักแสดงที่ต้องรับมือกับปัญหาชีวิต, ปัญหาทางจิตของตัวเอง, บทบาทที่ต้องเล่น และผีที่พยายามมาเข้าสิง เราอาจจะได้หนังแบบ Ingmar Bergman + Roman Polanski + BLACK SWAN อะไรทำนองนั้นได้ 555

 

33. CHEE’S CIVILIZATION VISUAL SKETCH (Wichanon Somumjarn, 35min, documentary, A+30)

 

หนังที่เป็นเหมือน video diary ขณะผู้กำกับไปสำรวจสถานที่ต่าง ๆ ในภาคอีสาน ดูแล้วนึกถึง IN PUBLIC (2001, Jia Zhangke) ที่เป็นการสำรวจโลเกชั่นต่าง ๆ เหมือนกัน (ถ้าจำไม่ผิด)

 

 

MY INTERVIEWS IN TWO THAI FILMS

 

 

ดีใจที่ได้พบว่า ตัวเองอยู่ในหนังสั้นเรื่อง “ในน้ำแฮฟฟิช ในนาแฮฟไรซ์” (2021, Tanakit Kitsanayunyong, 18min) ที่ฉายในงานมาราธอนออนไลน์ในวันอาทิตย์ที่ 28 พ.ย.ด้วย เมื่อหลายเดือนก่อนผู้กำกับเคยมาสัมภาษณ์เรา แต่เราก็ไม่รู้ว่าสิ่งที่เราสัมภาษณ์ไป จะได้อยู่ในตัวหนังจริงหรือเปล่า ปรากฏว่าพอวันนี้เราได้ดูหนัง เราก็พบว่าเสียงของเราได้โผล่มาในหนังราว ๆ 4 ครั้ง รู้สึกดีใจอย่างสุดๆ และก็ดีใจมาก ๆ ที่อยู่ดี ๆ ปีนี้ตัวเองก็ได้โผล่ในหนังสองเรื่อง ซึ่งก็คือเรื่องนี้กับเรื่อง “เจริญวิริญาพรมาหาทำใน 3 โลก” (2021, กัลยรัตน์ ธีรกฤตยากร)

Saturday, November 27, 2021

CUTTING HAIR IN THE TIME OF COVID

 

ตัดไงให้โอ (2021, Pattanapong Khongsak, 4min, A+10)

 

หนังบันทึกความยากลำบากของชีวิตในช่วงที่ร้านตัดผมปิดเพราะโควิด ชอบที่หนังเลือกหยิบประเด็นนี้มาพูดถึง เพราะเป็นหนึ่งในปัญหาที่หลายคนประสบในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะคนที่ใช้ชีวิตอยู่ตามลำพัง และไม่มีใครช่วยตัดผมให้ คนที่พึ่งพาได้แต่เพียงตัวเองเท่านั้น (อย่างเช่นเรา) แต่แอบสงสัยว่า หนังไม่ได้มีประเด็นอะไรอย่างอื่นมากกว่านี้ใช่ไหม 55555

Friday, November 26, 2021

THAI FILMS SEEN IN MARATHON ONLINE FESTIVAL 2021 PART 2

 

THAI FILMS SEEN IN MARATHON ONLINE FESTIVAL 2021 PART 2

 

7. 2517 (สุริเยชินท์ สุริยะโชติกุล, A+30)

เข้าใจว่าผู้กำกับเป็นเด็กมัธยมจากขอนแก่น ชอบหนังอย่างสุด ๆ หนังเปิดเรื่องมาแบบหนังไซไฟย้อนเวลา แต่พอดูจบแล้วรู้สึกว่ามันคือหนังแนว Alain Resnais + Raoul Ruiz

 

8. 31วันหรรษาสารขัณฑ์ (ธนกฤต กฤษณยรรยง, animation, A+30)

จริง ๆ ดูแล้วก็ไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ แต่ก็ชอบ 555

 

9. 32 24 36 (กัลญาภรณ์ เทวรักษ์ธนา, A+15)

นึกว่าโรงเรียนในหนังเรื่องนี้ กับโรงเรียนใน BONNE EN ROUGE และ CONGRUITY CHANT (2019, Kanchanit Liengudom) อยู่ในจักรวาลเดียวกัน และเป็นโรงเรียนที่แข่งขันกันเอง 5555 บางทีในอนาคตอาจจะต้องมีการสร้างหนังที่ cross จักรวาลระหว่างหนัง 3 เรื่องนี้เข้าด้วยกัน

 

10. 4*6 (Parnupong Chaiyo, documentary, A+30)

หนังที่สัมภาษณ์พ่อกับแม่ของผู้กำกับเอง หนังทำออกมาได้น่ารักมาก ชอบการใช้ภาษาเหนือ และชอบที่มีการหากิจกรรรมให้วาดภาพระบายสี

 

11. ๘ นาฬิกาปกติใหม่ (ภัคชยศ จรัญชล, A+30)

เหมือนเห็นทั้งความสิ้นหวังและความหวังภายในเวลาเพียงแค่ 2 นาที ความสิ้นหวังคือกฎบ้า ๆ บอ ๆ ที่ให้นักเรียนเคารพธงชาติออนไลน์ และความหวังคือการที่นักเรียนคนหนึ่งชูสามนิ้วขณะเคารพธงชาติ

 

12. 82 YEARS (ชัชนภ ธีระพงษ์, A+25)

หนังสัมภาษณ์คนแก่ ที่มีการพูดเรื่องการฆ่าตัวตายด้วย เหมือนหนังเรื่องนี้ให้ sense ของหนังทดลองมากกว่าหนังสารคดี แต่เสียดายที่หนังสั้นเกินไป

 

13. A.K.A. นิรัช (อริศรา ทะฮาคาฮาชิ, ฤทธิเกียรติ นาคสาม, A+15)

พระหนุ่มอดีต rapper เจอกับพระเก่าประจำวัดที่น่าจะเป็นอดีต rapper เหมือนกัน

 

14. ABSOLUTELY (NOT) BRIGHT FUTURE (ทิว เลิศชัยประเสริฐ, A+30

)

ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีด เหมือนหนังมันถ่ายทอดอารมณ์ของตัวละครได้ในแบบที่ตรงใจเรามาก ๆ

 

15. APOGEE (ฌาณัชย์ สิทธิปรีดานันท์, พีรวิชญ์ ก้องกิจกุล, A)

ชอบที่หนังจินตนาการถึงกรุงเทพในโลกอนาคต ที่กรุงเทพเหมือนจมทะเลไปแล้วครึ่งเมือง (ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด) และตัวละครหมกมุ่นกับโครงการอวกาศ แต่เหมือนหนังเล่าไม่รู้เรื่อง เราฟังตัวละครคุยกันแล้วไม่เข้าใจประวัติความเป็นมาของตัวละคร

 

16. ASHES (อภิวัฒน์ ภัทราลังการ, B )

 

17. B-SIDE PROJECT: MAE HAPPY AIR (ณิชมล ขยันระงับพาล, documentary, A+15)

หนังสัมภาษณ์ดีเจสาวเลสเบียนที่หันมาเอาดีทางการเป็นครูสอนการเปิดแผ่นในช่วงโควิด

 

18. BANGKOK CHAIR HACKS: THE DOCUMENTARY (เมยานี เตชอัมพร, documentary, A+30)

น่าจะเป็นหนึ่งในสารคดีไทยที่ชอบที่สุดในปีนี้ไปเลย ตอนแรกก็ทึ่งมาก ๆ ที่ผู้กำกับหนังเรื่องนี้มีสายตาที่แหลมคม สามารถสังเกตเห็นสิ่งที่เราเห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แต่เราไม่เคยเห็นมันจริง ๆ มาก่อน นั่นก็คือเก้าอี้นั่งตามท้องถนน และก็ทึ่งมาก ๆ ที่ผู้กำกับน่าจะ research หรือค้นหาข้อมูลหนักมาก จนไปตามเก็บภาพเก้าอี้นั่งที่น่าสนใจหลาย ๆ แห่งมาได้ แต่ช่วงท้ายนี่ต้องกราบตีนของจริง เมื่อหนังสามารถโยงเรื่องเก้าอี้นั่งที่น่าสนใจเหล่านี้ เข้าไปสู่ปัญหาโครงสร้างสังคมที่หนักหนาสาหัสและร้ายแรงมาก ๆ ของประเทศไทยได้

 

เอาจริง ๆ แล้วหนังเรื่องนี้ก็พูดประเด็นใกล้เคียงกับ “โกงพลิกเกม” นะ เรื่องการจ่ายส่วยเป็นทอด ๆ ที่ประชาชนตัวเล็ก ๆ คนธรรมดาในสังคม ต้องคอยจ่ายเงินนอกกฎหมายไปให้ตัวเหี้ยที่อยู่ข้างบน แต่ชอบที่หนังเรื่องนี้ทำให้เราเห็นว่า ต่อให้เราไม่ได้ทำธุรกิจผิดกฎหมาย แต่เป็นคนธรรมดาเดินถนน โครงสร้างสังคมที่เลวร้ายแบบนี้มันก็กระทบเรา ตำตาเราอยู่ตลอดเวลา

 

19.BECOMING HOME (ยศธร ไตรยศ, documentary, A+30)

หนังสัมภาษณ์กลุ่มคนไร้สัญชาติในไทย เนื้อหาของหนังดีมาก ๆ และดูแล้วก็สะท้อนใจว่า เราเคยเห็นหนังแบบนี้มานานหลายปีแล้ว แต่ปัญหาแบบนี้ก็ดูเหมือนยังไม่ได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นเสียที

 

Wednesday, November 24, 2021

DARK WORLD

 ดู "ผู้บ่าวไทบ้าน อีสานจ้วด" (A+25) แล้วเห็นนางเอกถือการ์ตูนญี่ปุ่นเล่มนึงในมือ ดิฉันเดาว่า มันน่าจะเป็นการ์ตูนเรื่อง PURPLE EYES นัยน์ตาเธอสีม่วง ของ SHINOHARA CHIE ค่ะ ไม่รู้มีใครคิดเหมือนดิฉันบ้างหรือเปล่า ดีใจอย่างสุด ๆ ที่มีตัวละครนางเอกหนังไทย อ่านการ์ตูนเรื่องเดียวกับดิฉัน 55555 (รูปจากห้องของเราเอง)

---
ESCAPE ROOM: TOURNAMENT OF CHAMPIONS (2021, Adam Robitel, A+10)

ชอบภาคแรกในระดับ A+25 ส่วนภาคนี้มันเหมือนไม่มีอะไรใหม่ แต่ประทับใจมาก ๆ ที่เหยื่อทุกคนดูฉลาดมาก คิดไว ไขปริศนาไว ทำงานไวสุดๆ
---
บุญมีแต่ "กรรมบัง" จริง ๆ ตอนแรกนึกว่าวันนี้จะได้ดูเทศกาลหนังสั้นมาราธอนอย่างเต็มอิ่ม ปรากฏว่าตอนราว ๆ 12.40-12.55 น. เราเห็นภาพบิดเบี้ยวบางส่วน เหมือนมีก้อนอะไรสักอย่างที่มีขอบหยัก ๆ ตามภาพนี้ มาบดบังการมองเห็นบางส่วนของเรา ทำให้เราเห็นภาพตรงนั้นบิดเบี้ยวไปราว 15 นาที เราเดาว่าวุ้นลูกตาคงเสื่อม แต่เรารู้ดีว่าถ้าเราไม่ไปหาหมอ เราจะต้องใช้ขีวิตอยู่กับ "ความไม่สบายใจอย่างรุนแรง" จนกว่าจะได้ไปหาหมอ เราก็เลยตัดสินใจไปหาหมอเลยดีกว่า

พอหยอดยาขยายม่านตาแล้ว หมอก็พบ "ตะกอน" ในลูกตาเราตามภาพที่เราเขียนมาเลย ตะกอนเป็นรูปร่างแบบนั้นเลย สรุปว่าจอประสาทตาเรายังปกติดี และสาเหตุมันเกิดจากตะกอนลอยมา "บัง" ตรงกลางตาพอดี เราก็เลยมองเห็นมัน นี่สินะ ที่เขาเรียกว่า "กรรมบัง"

หมอบอกว่าคนที่ผ่าต้อกระจกมาแล้วแบบเรา จะมองเห็นอะไรได้ชัดขึ้น ก็เลยจะมองเห็นตะกอนในลูกตาตัวเองได้ชัดขึ้นแบบนี้ด้วย

เราพบว่าหลังผ่าต้อกระจก เราดู จอ LED โรง 6 ที่พารากอนไม่ได้อีกต่อไปด้วยนะ เพราะตอนเดือนเม.ย. เราซื้อตั๋วดู SEOBOK (2021, Lee Yong-ju,  South Korea, A+25) ที่ฉายโรงนี้ แต่พอเข้าไปดูก็พบว่าแสงจากหนังมันจ้าจนแสบตา เราทนดูได้ 10 นาทีแล้วทนไม่ไหว เลยไปซื้อตั๋วดูหนังเรื่องนี้ที่โรง SF แทน

แล้วเมื่อวานเราไปซื้อตั๋วดู HOST ที่พารากอน รอบ  19.30 น. ซื้อเสร็จแล้วดันพบว่ามันฉายโรง 6 จอ LED เราก็เลยอยากทดสอบดูว่า ดวงตาเราดูหนังโรงนี้ได้แล้วยัง เพราะฉะนั้นพอหนังตัวอย่างเริ่มฉาย เราเลยรีบเข้าไปนั่งดูหนังตัวอย่างเลย ดูไปได้ 10 วินาที ก็ตัดสินใจได้ว่า มันจ้า แสบตาเกินไป เราก็เลยเดินออกจากโรง 6 แล้วมาซื้อตั๋วดู ESCAPE ROOM ภาคสอง รอบ 19.30 น.แทน สรุปว่าหลังจากนี้เราคงต้องลาขาดจากจอ LED โรง 6 พารากอน ตลอดกาลจ้ะ ถามหมอแล้ว คงเป็นเรื่องปกติของคนผ่าต้อกระจกที่อาจจะมีอาการแบบนี้
----

2GETHER: THE MOVIE
(2021, Noppharnach Chaiwimol, Kanittha Kwanyu, Weerachit Thongjila  A+30)
เพราะเราคู่กัน

1.ไม่เคยดูซีรีส์มาก่อน พอมาดูหนังเรื่องนี้ แล้วก็รู้สึกว่ากำลังดู "หนังโป๊" เรื่องนึง 555 เพราะหนังโป๊คือหนังที่เราไม่สนใจ"ความสมจริง", "ความสนุกของเนื้อเรื่อง" และ "สติปัญญาของตัวละคร" ใด ๆ อีกต่อไป เราสนใจแค่ว่า

1.1 นักแสดงมันถูกสเปคเรามากแค่ไหน, กระตุ้นอารมณ์เราได้มากแค่ไหน

1.2 ฉากสำคัญของหนังตอบสนอง romantic fantasy and sexual fantasy ของเราได้มากแค่ไหน

2. เราไม่รู้ว่าตัว  series เป็นยังไง แต่หนังเรื่องนี้เหมือนคัดมาแต่ฉากที่ ถ้าหากมันเป็นหนังโป๊ มันก็คือคัดมาแต่ "ฉากที่ทำให้คนดูหีฉ่ำ" มาเรียงร้อยต่อ ๆ กันไปน่ะ

3. เราคิดว่า "หนังโป๊" คือสิ่งที่ดีงาม เพราะฉะนั้นหนังแบบนี้ ซึ่งเราพบว่า ตอบสนองตัณหาราคะและความต้องการทางเพศของเราได้ดีพอสมควร ก็ถือเป็นสิ่งที่ไม่ผิดอะไรสำหรับเราเช่นกัน นักแสดงนี่แสดงได้ฉ่ำเยิ้มมาก ๆ และเราก็  enjoy มันในแบบที่มันเป็น ถ้าหากเราไม่เรียกร้องอะไรจากมันมากไปกว่าที่เราเรียกร้องจากหนังโป๊ หรือหนังใด ๆ ก็ตามที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองราคะของผู้ชมเป็นหลัก 55555
----

DARK WORLD เกม ล่า ฆ่า รอด (2021, Jittsin Pongintarakul, A+) หนังไม่สนุกเลย ฉันเสียใจ 555555 แต่ชอบตัวละครนำหญิงทั้งสามตัวที่เข้าทางเรามาก ๆ เหมือนพวกเธอสมควรจะมีชีวิตอยู่ในหนังที่สนุกกว่านี้ และพวกเธอสามารถก้าวข้ามเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในโลกจินตนาการของเราได้อย่างสบายมาก ๆ ส่วนตัวละครชายในหนังเรื่องนี้หล่อมาก ๆ แต่ก็มีบุคลิกหรือนิสัยที่น่ารำคาญมากในเวลาเดียวกัน 55555
---



THE GREEN KNIGHT (2021, David Lowery, Ireland, A+30)

 

THE GREEN KNIGHT (2021, David Lowery, Ireland, A+30)

 

1.ชอบสุด ๆ ขลังมาก ๆ อยากให้มีคนเอาการ์ตูนเรื่อง CRYSTAL DRAGON ของ Ashibe Yuho มาดัดแปลงเป็นหนังที่ออกมาในสไตล์นี้ หรือไม่ก็มีคนเอานิทานพื้นบ้านต่าง ๆ มาดัดแปลงเป็นหนังที่ออกมาในสไตล์นี้ คือไม่ต้องเน้นเนื้อเรื่อง แต่เน้นบรรยากาศที่ลี้ลับอธิบายอะไรไม่ได้อีกต่อไป

 

2.รู้สึกว่าหนังมันมีบางอย่างที่ใกล้เคียงกับโลกในจินตนาการของเรา เวลาที่เราฟังเพลงของ Clannad, Enya และ Loreena McKennitt

 

3.ถ้าเทียบกับหนังเกี่ยวกับอัศวินของฝรั่ง เราก็ชอบเรื่องนี้พอ ๆ กับ LANCELOT OF THE LAKE (1974, Robert Bresson) นะ

 

4.สาเหตุที่เราชอบ THE GREEN KNIGHT มากกว่าหนังอัศวินเรื่องอื่น  ๆ คงเป็นเพราะว่าหนังเรื่องนี้มันให้ความสำคัญกับบรรยากาศของเวทมนตร์ลี้ลับ มากกว่าการรบพุ่งบู๊กันของ “ผู้ชาย” น่ะ คือปกติแล้วเราจะมีปัญหากับหนังจักร ๆ วงศ์ ๆ ของฝรั่ง เพราะหนังจักร ๆ วงศ์ ๆ ของฝรั่งมันจะเน้นการบู๊กันแบบค่อนข้างสมจริง เพราะฉะนั้นมันเลยมีแต่ผู้ชายบู๊กันเป็นส่วนใหญ่ เราเลยไม่อิน ซึ่งจะแตกต่างจากหนังจีนกำลังภายใน เพราะในหนังจีนกำลังภายในนั้น มันไม่เน้นความสมจริง และผู้หญิงก็มีวิทยายุทธมากพอ ๆ กับผู้ชายได้ เพราะฉะนั้นเราก็เลยอินกับหนัง/ละครจีนกำลังภายในอย่างสุด ๆ เพราะผู้หญิงในโลกของหนัง/ละครจีนกำลังภายใน มันบู๊เก่งกันสุดฤทธิ์ แต่เราจะไม่ค่อยเห็นผู้หญิงทำแบบนี้ในโลกของหนังอัศวิน, โลกของหนัง sword-and-sandal, โลกของ CONAN THE BARBARIAN หรือโลกของหนังซามูไร หรือถ้ามีผู้หญิงบู๊แบบ XENA มันก็ไม่มันส์เท่า “เจ้าหญิงอนัตตา” (กระบี่ไร้เทียมทาน), “เจ้าแม่วังผีเสื้อ” (อิทธิฤทธิ์เจ้ายุทธภพ), “เจ้าแม่วังน้ำทิพย์” (ชอลิ้วเฮียง),”เจ้าแม่วังบุปผา” (เซียวฮื่อยี้), “ตงฟางปุ๊ป้าย” (เดชคัมภีร์เทวดา), etc. ในหนังจีนกำลังภายในอยู่ดี

 

เพราะฉะนั้นพอ THE GREEN KNIGHT มันลดการบู๊กันแบบผู้ชายลง และนำเสนอโลกของเวทมนตร์เป็นหลัก มันก็เลยเข้าทางเราอย่างสุด ๆ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับหนังอัศวินเรื่องอื่นๆ ของฝรั่ง

Monday, November 22, 2021

OST. (2021, Abhichoke Chandrasen, 19min, A+30)

 

OST. (2021, Abhichoke Chandrasen, 19min, A+30)

 

1.ชอบอาชีพของนางเอกมาก ๆ เพราะเราชอบดูหนังสยองขวัญ และก็ชอบดูหนังโดยทั่ว ๆ ไปด้วย แต่เราแทบไม่เคยเพ่งความสนใจไปที่ sound effects มาก่อน ไม่นึกว่าใน sound effects ที่อาจจะดู cliche ซ้ำกันไปมาในหนังสยองขวัญหลาย ๆ เรื่อง จริง ๆ แล้วมันมาจากเสียงหลาย ๆ เสียงที่ซ้อนกันไปมาเพื่อช่วยเร้าอารมณ์ผู้ชมในแต่ละฉาก เหมือนหนังเรื่องนี้ช่วยกระตุ้นให้เราได้สังเกตเสียงต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

 

2.ชอบความเป็นหนังซ้อนหนังด้วย

 

3.ไม่รู้ว่าหนังจงใจล้อเลียนความ cliche หรือเปล่า 5555 คือตัวหนังสยองขวัญเจ้าแม่ต้นไม้นี่ เราได้เห็นตัวหนังแค่ราวๆ  3 ฉาก หรือเพียงแค่ไม่กี่นาที แต่เราและผู้ชมทุกคนก็สามารถปะติดปะต่อเรื่องทั้งหมดในหนังเรื่องนั้นได้หมดเลย เพราะมันคือ cliche ของเรื่องเล่าผี ๆ แบบไทย ๆ มาก ๆ และแม้แต่หนังสั้นไทยก็ชอบเล่าเรื่องทำนองนี้มานาน 20 ปีแล้ว (เรื่องของผีที่มาตบตีคนที่มาลบหลู่) แต่หนังสั้นไทยมักจะเล่าเรื่องของตัวละครที่ไปลบหลู่ศาลพระภูมิ แล้วก็เลยเจอผีตามมารังควานหลอกหลอนที่บ้าน คือเราคิดว่ามีหนังสั้นไทยไม่ต่ำกว่า 20 เรื่องที่เล่าเรื่องราวทำนองนี้ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

 

และฉากเปิดเรื่องนี่ก็เหมือนล้อเลียนความ cliche ของหนังสยองขวัญแนวฆาตกรโรคจิต คือฉากเปิดเรื่องนี่ล่าสุดมันก็คล้ายกับฉากนึงใน MIDNIGHT (2021, Kwon Oh-seung, South Korea, A+30) เลย 55555

 

และหนังเรื่องนี้ก็อาจจะล้อเลียนตัวเองด้วยมั้ง เราไม่แน่ใจ เพราะ sound effects ต่าง ๆ ใน OST. มันก็น่าจะไม่ได้แตกต่างไปจาก sound effects ในหนังสยองขวัญโดยทั่วไปมากนัก เพียงแต่พอมันมาอยู่ใน OST. เรากลับขำ “เสียงต่าง ๆ ที่พยายามทำให้คนดูรู้สึกกลัว” แทนที่เราจะรู้สึกกลัวไปตามเสียงเหล่านั้น

 

4.จริงๆ แล้ว เราก็ไม่รู้จุดประสงค์ของ OST. นะ แต่เราชอบที่มันทำให้เราทั้งรู้สึก “ขำขัน” และ “ทึ่ง” กับความ cliche ของหนังสยองขวัญโดยทั่วไปในเวลาเดียวกันน่ะ คือใน OST. เราได้เห็นหนังสยองขวัญแนว cliche สองเรื่อง เรื่องนึงเป็นหนังฆาตกรโรคจิต ส่วนอีกเรื่องเป็นหนังผี และหนังทั้งสองเรื่องนี้ก็เหมือนจะมีทั้งเนื้อเรื่องที่ cliche และใช้ sound effects ในการเร้าอารมณ์ผู้ชมแบบ cliche (หรือแบบที่เราน่าจะพบได้ในหนังสยองขวัญทั่วไป) แต่พอ OST. ทำให้เราได้เห็นว่า การสร้าง sound effects แบบนี้จริง ๆ แล้วมันซับซ้อนกว่าที่คิด เราก็เลยรู้สึกทึ่งกับมันมากพอสมควร

 

5.เราก็เลยคิดว่า หลังจากได้ดู OST. แล้ว เวลาเราได้ดูหนังสยองขวัญเรื่องต่าง ๆ เราจะพยายามฟังว่า พอถึงฉากตัวละครหนีฆาตกรโรคจิต, ฉากผีออกอาละวาด หรือฉากใด ๆ ก็ตามที่ผู้สร้างหนังพยายามทำให้คนดูหวาดกลัว มันมีการใช้ sound effects อย่างไร เสียงในฉากพวกนี้มันมี pattern อย่างไรบ้าง

 

นึกถึงคำกล่าวที่ว่า “หนังเรื่องนี้มอบดวงตาใหม่ ๆ ให้ผู้ชม ทำให้ผู้ชมเหมือนได้มองเห็นสิ่งที่ตัวเองไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อน”  (แบบหนังอย่าง HOTEL MONTEREY ของ Chantal Akerman)

 

แต่ในกรณีของ OST. นั้น อาจจะต้องบอกว่า “หนังเรื่องนี้มอบหูใหม่ ๆ ให้แก่ผู้ชม ทำให้ผู้ชมเหมือนได้ลองสังเกตเสียงที่ตัวเองไม่เคยสังเกตมาก่อน” 55555