Tuesday, April 25, 2023

DREAMS OF AYUTTHAYA (2022, Nakrob Moonmanas, short film, A+30)

 

DREAMS OF AYUTTHAYA (2022, Nakrob Moonmanas, short film, A+30)

 

ชอบภาพยนตร์ที่ “ดัดแปลงจากวรรณกรรม” แบบนี้มาก ๆ โดยภาพยนตร์หรืองานวิดีโอชิ้นนี้ดัดแปลงมาจาก “เพลงยาวพยากรณ์กรุงศรีอยุธยา” เราดูวิดีโอนี้ในเว็บไซต์ของ Bangkok Art Biennale ในเดือนก.พ. 2023

----------------

เพิ่ม OPERATION FORTUNE: RUSE DE GUERRE (2023, Guy Ritchie, UK, A+25) กับ THE UNBEARABLE WEIGHT OF MASSIVE TALENT (2022, Tom Gormican) เข้าไปในลิสท์รายชื่อ “หนังที่มีพล็อตเรื่องคล้ายกันโดยบังเอิญ และออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกัน” โดยในกรณีของ OPERATION FORTUNE นั้น จริง ๆ แล้วหนังก็จะออกฉายในปี 2022 เหมือนกัน แต่มันโดนเลื่อนเวลาฉายออกไปเพราะหนังมีเนื้อหาพาดพิงถึง “ยูเครน”

Thursday, April 20, 2023

SUKEBAN MARBLE

 

ดีใจสุดขีดที่เห็นว่ามีคนรวมคลิป “สิงห์สาวลูกแก้ว” เอาไว้ด้วย https://www.youtube.com/watch?v=oLkh9pMcyWA

 

ถ้าถามว่าตัวละครตัวไหนมีอิทธิพลกับชีวิตเรามากที่สุด “สิงห์สาวลูกแก้ว” ที่แสดงโดย Haruko Sagara ในละครโทรทัศน์ชุด “สิงห์สาวนักสืบ ภาคสอง” SUKEBAN DEKA II: THE LEGEND OF THE GIRL IN THE IRON MASK (1985, A+30) ก็คงเป็นหนึ่งในตัวละครกลุ่มที่ว่า เพราะการดูตัวละครตัวนี้ในละครทีวีเรื่องนี้ทางสถานีช่อง 5 เป็นแรงบันดาลใจให้เราไปซื้อลูกแก้วจากร้านจีฉ่อยมาใช้ซัดเล่นกับเพื่อน ๆ อย่างสนุกสนานในตอนนั้น

 

แน่นอนว่าเราชอบตัวละครนางเอก Saki Asamiya ที่แสดงโดย Yoko Minamino มากที่สุด แต่ Saki ใช้อาวุธเป็นลูกดิ่ง ซึ่งมัน “ยาก” เกินความสามารถของเราที่จะเล่นมันอย่างชำนิชำนาญได้ เราเล่นลูกดิ่งไม่ไหวจริง ๆ แต่ “ลูกแก้ว” นี่แหละที่เอามาใช้ซัดกันจริง ๆ ได้

 

แน่นอนว่าในยุคนั้นพวกเราก็เลียนแบบละคร SUKEBAN DEKA ภาคสามด้วยการเอา “นกกระเรียนพับ” กับ “เข็มถักนิตติ้ง” มาใช้เป็นอาวุธด้วย แต่ “นกกระเรียนพับ” เป็นอาวุธที่โง่ที่สุดในการ “เลียนแบบ”  เพราะในชีวิตจริงนั้นนกกระเรียนพับมันไม่สามารถทำร้ายอะไรใครได้ คือพอเขวี้ยงไปปุ๊บ มันก็หล่นลงกระจายเกลื่อนพื้น และเราก็ต้องคอยไปตามเก็บกวาดนกกระเรียนพับที่กองเกลื่อนพื้นห้องเรียน เหนื่อยอีคนซัดเปล่า ๆ 555 สรุปว่า “ลูกแก้ว” ของ “สิงห์สาวลูกแก้ว” นี่แหละ ที่สามารถเอามาเลียนแบบในชีวิตจริงได้ work ที่สุดแล้ว

 

คิดถึงความหลังยุคนั้นแล้วน้ำตาจะไหล จำได้ว่ายุคนั้นเพื่อน ๆ บางคนขน “อาวุธ” มาโรงเรียนกันใหญ่ ซึ่งอาวุธก็คือ “เชือกกระโดด”, “ผ้า” และ “โซ่ที่มีกุญแจใหญ่ ๆ ติดอยู่ตรงปลาย” (อันนี้อันตรายที่สุด) เรียกได้ว่า SUKEBAN DEKA เป็นหนึ่งในละครที่มีอิทธิพลกับชีวิตพวกเรามากที่สุดจริง ๆ

 

ประสบการณ์ที่ลืมไม่ลงคือมีตอนนึง ประมาณ 16.00 น. เราซัดลูกแก้วใส่เพื่อนเราในห้องม.3/6 แล้วลูกแก้วมันกระเด็นขึ้นไปโดนกระจกที่กั้นระหว่างห้องม. 3/5 กับม.3/6 กระจกไม่แตก แต่ลูกแก้วมันไหลไปตามขอบกระจก เสียดสีกับกระจก ทำให้เกิดเสียงสั่นสะเทือน

 

ปรากฏว่า อาจารย์ที่สอนพิเศษอยู่ในห้องม. 3/5 พานักเรียนที่เรียนพิเศษวิ่งกรูกันออกมาจากห้องเรียน เพราะนึกว่าเกิดแผ่นดินไหว

 

เหตุการณ์นี้ผ่านมานาน 35-36 ปีแล้ว แต่เราก็ยังจำได้ไม่ลืม 555

 

พอเราเข้ามหาลัยในเวลาราว 3 ปีต่อมา เพื่อนเกย์คนนึงในมหาลัยก็เล่าให้เราฟังด้วยว่า เขามีเพื่อนกะเทยคนนึงที่คลั่งไคล้สิงห์สาวลูกแก้วเหมือนกับเรา แล้วเพื่อนคนนี้พกลูกแก้วไปเข้าค่ายฝึกรด.ที่เขาชนไก่ด้วย ปรากฏว่ามีคืนนึงที่รด.กลุ่มนี้ออกเดินทางไกลตอนดึก แล้วครูฝึกรด.แอบปลอมเป็นผี โผล่มาหลอกแฮ่ระหว่างทาง เพื่อนกะเทยคนนี้ก็ตกใจ ไม่ทันตั้งตัว เธอก็เลยซัดลูกแก้วใส่ผี แล้วตะโกนว่า “สิงห์สาวลูกแก้ว” เธอก็เลยถูกครูฝึกถีบใส่ จบ

 

อันนี้เป็นฉากที่สิงห์สาวลูกแก้วกับสิงห์สาวหน้ากากเหล็กเจอกันเป็นครั้งแรก
https://web.facebook.com/jit.phokaew/videos/10206519333885459

 

Wednesday, April 19, 2023

FILMS AND TRAUMA

 เราเคยดู HIROSHIMA MON AMOUR ในรูปแบบฟิล์มที่ Alliance Francaise ในปี 1996 ตอนนั้น Alliance จัดโปรแกรมสุดยอดมาก ๆ เพราะ Alliance ฉายหนังเรื่อง TRANS-EUROP-EXPRESS (1966, Alain Robbe-Grillet), THE LONG ABSENCE (1961, Henri Colpi), LA MODIFICATION (1970, Michel Worms), IF I WERE A SPY (1967, Bertrand Blier) ในรูปแบบฟิล์มในปี 1996 ด้วย ไม่รู้ว่าใครเป็นคนจัดโปรแกรมที่ Alliance ในช่วงนั้น แต่โปรแกรมหนังช่วงนั้นนี่แหละที่มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในการหล่อหลอมความเป็น cinephile ของเรา

 

ข้อสอบวิชา “ดูภาพยนตร์แบบกะหรี่ไม่มีสาเหตุ”

 

จงเปรียบเทียบการ deal กับ trauma ในภาพยนตร์ดังต่อไปนี้

 

1. HIROSHIMA MON AMOUR

2. SUZUME

3. VOICES IN THE WIND (2020, Nobuhiro Suwa, Japan)

4.THE FACE OF JIZO (2004, Kazuo Kuroki, Japan)

5.AND LIFE GOES ON (1992, Abbas Kiarostami, Iran)

6. A BRIEF HISTORY OF MEMORY (2010, Chulayarnnon Siriphol)

7.THE PEARL BUTTON (2015, Patricio Guzman, Chile, documentary)

8. ภาพยนตร์ของ Lau Kek Huat

9. BY THE TIME IT GETS DARK (2016, Anocha Suwichakornpong)

10. SOPHIE’S CHOICE (1982, Alan J. Pakula)

 

พอดู HIROSHIMA MON AMOUR รอบสองแล้วก็เลยนึกถึง quote คำพูด classic ของ Marguerite Duras ผู้เขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้นมาได้ ที่เธอพูดว่า “It is impossible to talk about Hiroshima. All one can do is talk about the impossibility of talking about Hiroshima.

 

และเราชอบที่ Nobuhiro Suwa ผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อดังชาวญี่ปุ่นที่เกิดที่เมือง Hiroshima พูดถึงหนังเรื่องนี้ด้วย โดยเขาเคยพูดว่า เขาเติบโตมาในเมืองฮิโรชิม่าแต่ก็ไม่มีความประทับใจใดๆเกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองนี้เลย กระทั่งได้ชมหนังเรื่อง HIROSHIMA MON AMOUR ของ Alain Resnais แล้วเขาก็ไม่สามารถลบภาพความทรงจำเกี่ยวกับฮิโรชิม่านี้ออกไปได้เลย  (เราเข้าใจว่าอันนี้คือสิ่งที่เขาพูดไว้ในหนังเรื่อง H STORY ของเขานะ)

 

พอดีเราค้นใน blog ของเราแล้วพบว่า คุณอ้วนแห่งเว็บบอร์ด screenout เคยเขียนถึงหนังเรื่อง HIROSHIMA MON AMOUR และ H STORY (2001, Nobuhiro Suwa) เอาไว้ในเว็บบอร์ด screenout ในปี 2005 ด้วย แล้วเราก็เคย copy เอาสิ่งที่คุณอ้วนเขียนไว้ในเว็บบอร์ด screenout มาแปะไว้ใน blog ของเราเอง แล้วเราก็เลยถือโอกาสนี้เอามันมาแปะไว้ในนี้ด้วยเลยแล้วกัน 5555 หวังว่าคุณอ้วนคงไม่ว่าอะไร

https://celinejulie.blogspot.com/2005/09/nobuhiro-suwa.html

 

HIROSHIMA MON AMOUR

เห็นพี่ MdS เขียนถึงและยกเอาบทความเกี่ยวกับ HIROSHIMA MON AMOUR มาแปะเอาไว้พอสมควรแล้ว ก็เลยจะขอพูดสั้นๆแล้วกันว่าอ้วนชอบหนังเรื่องนี้มากๆฮะ เป็นหนังที่ถ่ายทอดความเศร้าอาดูรและถวิลหาความทรงจำอันปวดร้าวได้ทรงพลังมากๆ ความไม่ธรรมดาของหนังเกี่ยวกับความทรงจำเรื่องนี้ก็คือ ในขณะที่หนังเกี่ยวกับความทรงจำเรื่องอื่นๆมักจะใช้ฉากโรแมนติกประเภทที่จงใจจะบีบน้ำตาคนดูเป็นฉากหลัง HIROSHIMA MON AMOUR กลับใช้ฉากหลังเป็นเหตุการณ์โศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ นั่นคือการที่เมืองฮิโรชิม่าโดนระเบิดปรมาณูถล่มในการเล่าเรื่อง

ผลลัพธ์ที่ได้คือความขัดแย้งกันระหว่างภาพความเศร้าสลดของสังคมโลกกับความเศร้าสลดของผู้หญิงคนหนึ่งที่มีต่อคนรัก คิดในด้านหนึ่งก็รู้สึกตลกดีที่ผู้สร้างเอาความสูญเสียที่ประเมินค่ามิได้ของมนุษย์โลกมาเปรียบเปรยกับความสูญเสียคนรักของผู้หญิงธรรมดาๆคนหนึ่ง แต่เมื่อคิดในอีกด้านหนึ่ง ก็เจ้าความรักที่ต้องสูญเสียไปนี้ใช่หรือไม่ที่ทำให้เราต้องบ้าคลั่งและฟูมฟายให้กับมันราวกับจะถึงวันสิ้นโลก เหตุนี้แล้วก็ยุติธรรมดีไม่ใช่หรือที่เราจะเอาความสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของโลกมาเปรียบเปรยกับความสูญเสียจากความรัก

ในปี 2001 มีผู้กำกับญี่ปุ่นคลื่นลูกใหม่ชื่อว่า Nobuhiro Suwa ได้สร้างหนังเรื่อง H STORY ซึ่งเป็นหนังที่จงใจสร้างออกมาให้ดูเป็นหนังกึ่งๆสารคดี คือเหมือนเป็นหนังที่ถ่ายทอดเบื้องหลังการสร้างหนังเรื่องหนึ่ง และหนังเรื่องดังกล่าวก็คือ HIROSHIMA MON AMOUR พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ H SOTRY คือหนังที่เล่าเรื่องการเอาหนังเรื่อง HIROSHIMA MON AMOUR ของ Alain Resnais มารีเมคสร้างใหม่นั่นเอง Nobuhiro Suwa ผู้กำกับเรื่อง H STORY ก็ยังได้เล่นเป็นตัวเอง โดย Suwa สวมบทบาทเป็นผู้กำกับที่นำ HIROSHIMA MON AMOUR ของ Alain Resnais มาสร้างใหม่

นักวิจารณ์กล่าวว่า H STORY มีความคล้ายคลึงกับหนังเรื่อง IRMA VEP ของ Olivier Assayas ที่ถ่ายทอดเรื่องราวการนำหนังเรื่อง LES VAMPIRES ของ Louis Feuillade มารีเมคสร้างใหม่ โดย H STORY ได้ยกเอาบทภาพยนตร์ที่ Marguerite Duras เขียนเอาไว้สำหรับ HIROSHIMA MON AMOUR มาใช้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ นอกจากนี้ยังมีการสัมภาษณ์นักแสดงคนหนึ่งในหนัง (H STORY) เพื่อสะท้อนความคิดของผู้คนและความทรงจำของพวกเขาเกี่ยวกับหนังเรื่อง HIROSHIMA MON AMOUR โดยตัวผู้กำกับหรือ Nobuhiro Suwa ได้พูดขึ้นมาระหว่างการสัมภาษณ์ด้วยว่า เขาเติบโตมาในเมืองฮิโรชิม่าแต่ก็ไม่มีความประทับใจใดๆเกี่ยวกับเรื่องราวของเมืองนี้เลย กระทั่งได้ชมหนังเรื่อง HIROSHIMA MON AMOUR ของ Alain Resnais แล้วเขาก็ไม่สามารถลบภาพความทรงจำเกี่ยวกับฮิโรชิม่านี้ออกไปได้เลย

H STORY มีวิธีการเล่าเรื่อง , มีการใช้เทคนิคการตัดต่อเสียงและภาพ, และมีเนื้อหาที่อาจจะยากแก่การเข้าถึงสำหรับนักดูหนังทั่วๆไปอยู่บ้าง หนังเรื่องนี้ยังเหมาะสำหรับผู้ที่ได้เคยชมและหลงใหล HIROSHIMA MON AMOUR ของ ALAIN RESNAIS เท่านั้น เนื่องจากหนังมีการอ้างอิงเนื้อหาจาก HIROSHIMA MON AMOUR ค่อนข้างมากจนอาจทำให้ผู้ที่ไม่เคยชม HIROSHIMA MON AMOUR มาก่อนขาดอรรถรสในการชมไปอย่างน่าเสียดาย อย่างไรก็ดี

(1) H STORY ก็มีวิธีการเล่าเรื่องที่เป็นตัวของตัวเองอย่างน่าชื่นชม (และน่าฉงนในคราวเดียวกัน) และ

(2) การกำเนิดขึ้นของ H STORY เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์อย่างดีที่แสดงให้เห็นว่า HIROSHIMA MON AMOUR ของ Alain Resnais เป็นหนังเกี่ยวกับความทรงจำที่ได้สร้างอิทธิพลต่อความทรงจำของผู้ชมอย่างมากมาย และ H STORY ก็คือภาพสะท้อนของความทรงจำของผู้คนมีต่อภาพยนตร์

 

ข้อความในอัญประกาศข้างบนคือสิ่งที่คุณอ้วนเคยเขียนไว้นะ แต่เรายังไม่ได้ดู H STORY นะ เราเคยดูหนังของ Nobuhiro Suwa แค่ 2 เรื่อง ซึ่งก็คือ 2/DUO (1997) กับ VOICES IN THE WIND (2020) ซึ่งเราชอบสุดขีดทั้งสองเรื่อง และเราว่า VOICES IN THE WIND นี่มีความเชื่อมโยงกับ SUZUME อย่างรุนแรงด้วย


Monday, April 17, 2023

HUNGRINESS AND FILMS

 

หนังเรื่องไหนที่ทำให้คุณหิว

 

นอกจากหนัง food porn หลาย ๆ เรื่องที่ทำให้เรา “หิว” แล้ว มันก็มีหนัง/ละครทีวีแนวอื่น ๆ ที่นำเสนอตัวละครที่เหมือนอดอาหารหรือรู้สึกหิวโหยอย่างรุนแรง และทำให้เรารู้สึกหิวโหยไปพร้อมกับตัวละครด้วย อย่างเช่น WAR AND REMEMBRANCE, HUNGER (2008, Steve McQueen), THE MACHINIST (2004, Brad Anderson), TOMORROW’S JOE (2011, Fumihiko Sori, Japan)

 

WAR AND REMEMBRANCE (1989, Dan Curtis, TV series, 27 hours, A+30) ดูทางทีวีช่อง 3 มานาน 30 กว่าปีแล้ว แต่ไม่สามารถลืมได้ลง ละครทีวีเกี่ยวกับ Holocaust มีฉากคลาสสิคที่นางเอก (Jane Seymour) ซึ่งเป็นยิวถูกจับขึ้นรถไฟไปค่ายกักกัน การเดินทางในรถไฟยากลำบากทุกข์ทรมานหิวโหยรุนแรงมาก และในขณะที่คนในรถไฟหิวท้องกิ่วจนแทบตายนั้น เมื่อรถไฟหยุดจอดที่สถานีนึง ก็มีชาวบ้านผู้ชายคนหนึ่งแอบเอากระสอบบรรจุแอปเปิลมามอบให้ชาวยิวบนรถไฟ เมื่อคนบนรถไฟถามว่าทำไมชาวบ้านคนนี้ถึงแอบมาช่วยพวกเขา ชาวบ้านคนนั้นก็ควักไม้กางเขนที่ซ่อนไว้ออกมาแสดงให้ดู แล้วตอบว่าเพราะเขาเป็น Catholic

 

หลังจากนั้นนางเอกก็ได้รับแบ่งปันแอปเปิลลูกนึงจากกระสอบนั้น ฉากที่นางเอกแทะกินแอปเปิลหลังจากหิวโหยทุกข์ทรมานมานานหลายวันเป็นฉากที่ลืมไม่ลงตลอดชีวิต ทั้งการแสดงของ Jane Seymour ในฉากนั้นและเนื้อหาของละครเรื่องนี้เป็นหนึ่งในอะไรที่หนักที่สุดในชีวิตของจริง

Sunday, April 16, 2023

HIROSHIMA NOS AMOURS

 

เข้าใจว่ามีเพื่อนบางคนจะเดินทางไปดู HIROSHIMA MON AMOUR (1959, Alain Resnais, France, A+30) ที่ Alliance ในวันพุธที่ 19 เม.ย.นี้ เวลา 19.00 น. แต่ไม่เคยไป Alliance มาก่อน

 

เราก็เลยจะบอกว่า ปกติแล้วเราไป Alliance ด้วยรถไฟใต้ดินนะ แล้วลงสถานีลุมพินี (BL25) แล้วก็ออกทางทางออก 3 แล้วก็เดินไปตามถนนวิทยุ เดินไปราว 300 เมตรก็อาจจะเจอรถตุ๊กตุ๊กของ Alliance จอดรออยู่ตรงปากซอยที่มีการก่อสร้างอาคารอยู่ ก็บอกเขาว่าไป Alliance แล้วเราก็ขึ้นรถตุ๊กๆ ไปได้ฟรีเลย แต่หลายครั้งพอเราไปถึงตรงจุดจอดรถตุ๊ก ๆ รถมันก็มักจะแล่นออกไปพอดี 5555 แล้วเราก็ขี้เกียจรอ เพราะตอนนี้มันมีการก่อสร้างอาคารอยู่ แล้วรถบรรทุกก่อสร้างมันแล่นเข้า ๆ ออก ๆ ปวดหัวมาก เราก็เลยมักจะเดินไปเอง คือถ้าหากเดินเลยตรงซอยก่อสร้างมานิดนึง มันจะมีป้อมยามอยู่ แล้วก็จะมีทางเดินสำหรับคนเดินอยู่ตรงข้าง ๆ ป้อมยามนั้น เราก็จะเดินเข้าซอยนั้นไป เดินไปเรื่อย ๆ จนผ่านสถานทูตออสเตรเลีย แล้วก็เลี้ยวซ้าย แล้วก็จะเจอ Alliance จ้ะ (ตามลูกศรสีฟ้าในรูปนี้)

https://afthailande.org/en/contact-en/#/

 

 

เนื่องจาก HIROSHIMA MON AMOUR (1959, Alain Resnais, France, A+30) จะมาฉายที่ Alliance ในวันพุธที่ 19 เม.ย.นี้ เวลา 19.00

 

เราก็เลยถือโอกาสนี้ขอแนะนำบทความเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ที่เราชอบสุดขีดค่ะ นั่นก็คือบทความที่เป็นบันทึกการสนทนากันระหว่าง Jean-Luc Godard, Jacques Rivette, Eric Rohmer, Jacques Doniol-Valcroze, Pierre Kast และ Jean Domarchi ในนิตยสาร CAHIERS DU CINEMA ในเดือนก.ค. 1959 คืออ่านบทสนทนากันของ 6 คนนี้แล้วฉี่แทบราด คือ quote มาเป็นคำพูดคลาสสิคได้ไม่ต่ำกว่า 100 ประโยค คือผู้ชาย 6 คนนี้คุยกันเมื่อ 64 ปีที่แล้ว แต่การได้อ่านบทความนี้นอกจากจะทำให้เราเข้าใจหนังเรื่อง HIROSHIMA MON AMOUR และภาพยนตร์มากขึ้นแล้ว เราอาจจะ “มองโลก” เปลี่ยนไปด้วย คือเราอ่านแล้วรู้สึกสะเทือนใจกับ “ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับจักรวาล” ในระดับที่รุนแรงมาก ๆ

 

อ่านบทความนี้ได้ที่ (หน้า 59-70)
https://monoskop.org/images/2/20/Cahiers_du_Cinema_The_1950s_Neo-Realism_Hollywood_New_Wave.pdf

 

ดิฉันขอ quote บางคำพูดมาเก็บไว้นะคะ

 

1.Eric Rohmer: “To sum up, it is no longer a reproach to say that this film is literary” การบอกว่าหนังเรื่องนี้มีความเป็นวรรณกรรมไม่ถือเป็นคำด่าอีกต่อไป (เราเดาว่าก่อนหน้านั้นนักวิจารณ์ชอบด่าหนังบางเรื่องว่ามีความเป็นวรรณกรรม และไม่มีความเป็นภาพยนตร์ แต่ HIROSHIMA MON AMOUR แสดงให้เห็นว่า หนังที่มีความเป็นวรรณกรรมอยู่ในตัวเองก็เป็นหนังที่ดีมาก ๆ ได้เช่นกัน ซึ่งเราเข้าใจว่ากรณีคล้าย ๆ กันนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับหนังของ Sacha Guitry ที่ถูกนักวิจารณ์บางคนด่าว่า เป็นหนังที่มีความเป็นละครเวทีมาก ๆ แต่ Francois Truffaut และนักวิจารณ์บางคนกลับชื่นชอบหนังของ Sacha Guitry มาก ๆ ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด แต่ถ้าหากเราเข้าใจผิด ก็ท้วงติงมาได้นะคะ)

 

2.Jean-Luc Godard: “seeing HIROSHIMA gave one the impression of watching a film that would have been quite inconceivable in terms of what one was already familiar with in the cinema.

 

3.Jacques Rivette: “I think that for Resnais this reconstitution of the pieces operates on two level. First on the level of content, of dramatization. Then, I think even more importantly, on the level of the idea of cinema itself. I have the impression that for Alain Resnais the cinema consists in attempting to create a whole with fragments that are a priori dissimilar. For example, in one of Resnais’s films two concrete phenomena which have no logical or dramatic connection are linked solely because they are both filmed in tracking shots at the same speed.”

 

4.Eric Rohmer: “To sum up, Alain Resnais is a cubist. I mean that he is the first modern film-maker of the sound film. There were many modern filmmakers in silent films: Eisenstein, the Expressionists, and Dreyer too. But I think that sound films have perhaps been more classical than silents.”

 

5.Jean-Luc Godard: “HIROSHIMA is an indictment of all those who did not go to see the Sacha Guitry retrospective at the cinematheque.”

 

6.Jacques Doniol-Valcroze: Emmanuelle Riva is a modern adult woman because she is not an adult woman. Quite the contrary, she is very childish, motivated solely by her impulses and not by her ideas. Antonioni was the first to show us this kind of woman.”

 

7.Jacques Rivette: In the same way that Hiroshima had to be rebuilt after atomic destruction, Emmanuelle Riva in Hiroshima is going to try to reconstruct her reality. She can only achieve this through using the synthesis of the present and the past, what she herself has discovered at Hiroshima and what she has experienced in the past at Nevers.”

 

8.Godard: “I think Resnais has filmed the novel that the young French novelists are all trying to write, people like Butor, Robbe-Grillet, Bastide and of course Marguerite Duras. I can remember a radio programme where Regis Bastide was talking about WILD STRAWBERRIES and he suddenly realized that the cinema had managed to express what he thought belonged exclusively in the domain of literature.

 

9.Pierre Kast: “There is no action, only a kind of double endeavour to understand what a love story can mean. First at the level of individuals, in a kind of long struggle between love and its own erosion through the passage of time. As if love, at the very instant it happens, were already threatened with being forgotten and destroyed. Then, also at the level of the connections between an individual experience and an objective historical and social situation. The love of these anonymous characters is not located on the desert island usually reserved for games of passion. It takes place in a specific context, which only accentuates and underlines the horror of contempnrary society. “

 

10.Jacques Rivette: “Since we are in the realm of aesthetics, as well as the reference to Faulkner I think it just as pertinent to mention a name that in my opinion has an indisputable connection with the narrative technique of Hiroshima: Stravinsky. The problems which Resnais sets himself in film are parallel to those that Stravinsky sets himself in music. For example, the definition of music given by Stravinsky - an alternating succession of exaltation and repose - seems to me to fit Alain Resnais's film perfectly…. And I get the impression that this is what Resnais is aiming at when he cuts together four tracking shots, then suddenly a static shot, two static shots and back to a tracking shot. Within the juxtaposition of static and tracking shots he tries to find what unites them. In other words he is seeking simultaneously an effect of opposition and an effect of profound unity.

 

11.Jean Domarchi: Essentially it is explained by the fact that for him society is characterized by a kind of anonymity. The wretchedness of the world derives from the fact of being struck down without knowing who is the aggressor. In NIGHT AND FOG the commentary points out that some guy born in Carpentras or Brest has no idea that he is going to end up in a concentration camp, that already his fate is sealed. What impresses Resnais is that the world presents itself like an anonymous and abstract force that strikes where it likes, anywhere, and whose will cannot be determined in advance. It is out of this conflict between individuals and a totally anonymous universe that is born a tragic vision of the world. That is the first stage of Resnais's thought. Then there comes a second stage which consists in channelling this first movement. Resnais has gone back to the romantic theme of the conflict between the individual and society, so dear to Goethe and his imitators, as it was to the nineteenth-century English novelists. But in their works it was the conflict between a man and palpable social forms that was clearly defined, while in Resnais there is none of that. The conflict is represented in a completely abstract way; it is between man and the universe.

 

ชอบมาก ๆ ด้วยที่พวกเขาเปรียบเทียบหนังของ Alain Resnais กับภาพเขียนของ Georges Braque เราก็เลยเอาภาพของ Braque มาประกบด้วย 555

Saturday, April 15, 2023

SOME OF THE FILMS I SAW AT JAPAN FOUNDATION IN BANGKOK

 

SOME OF THE FILMS I SAW AT JAPAN FOUNDATION IN BANGKOK

 

เนื่องจาก Japan Foundation ที่ถนนอโศกในกรุงเทพงดฉายหนังด้วยฟิล์ม 16 มม.ไปแล้ว เราก็เลยทำลิสท์นี้ขึ้นมาเพื่อรำลึกถึงความหลัง เพราะเราไปดูหนังที่ฉายด้วยฟิล์ม 16 มม.ที่นี่ตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา หรือดูหนังที่นี่มานานราว 28 ปีแล้ว โดยเรื่องสุดท้ายที่เราได้ดูที่นี่คือ KEY OF LIFE (2012, Kenji Uchida) ในวันศุกร์ที่ 27 ม.ค. 2023 ส่วนหนังเรื่องแรกที่เราได้ดูที่นี่คือ THE NAKED ISLAND (1960, Kaneto Shindo) ในปี 1995

 

หนังบางเรื่องในลิสท์นี้มีทั้งหนังที่เข้าฉายเป็นประจำที่ Japan Foundation และหนังที่เคยมาฉายเพียงรอบเดียวที่ Japan Foundation เพราะมีบางปีที่ Japanese Film Festival มาจัดฉายที่ Japan Foundation

 

แต่ลิสท์นี้ไม่ได้รวบรวมรายชื่อหนังทั้งหมดที่เราเคยดูที่ Japan Foundation in Bangkok นะ เพราะมันเยอะมาก ๆ เราขี้เกียจพิมพ์ 5555 เราก็เลยขอพิมพ์รายชื่อเก็บไว้แค่บางเรื่องเท่านั้นพอ

 

(ถ้าเราจำอะไรผิดไปก็ขออภัยด้วยนะ สามารถท้วงติงมาได้จ้า)

 

In alphabetical order of the director’s name

 

1.DON’T LOOK BACK (1999, Akihiko Shiota)

 

2.RECIPE FOR FORTUNE (2009, Akira Ogata)

 

3.FREE AND EASY SPECIAL VERSION (1994, Azuma Morisaki)

 

4.AIKI (2002, Daisuke Tengan)

 

5.OSAKA HAMLET (2008, Fujiro Mitsuishi)

 

6.THE SHIMANTO RIVER (1991, Hideo Onchi)

 

7.HAUNTED SCHOOL 4 (1999, Hideyuki Hirayama)

 

8.RAIL TRUCK (2001, Hirofumi Kawaguchi)

 

9.GRAVE OF THE FIREFLIES (1988, Isao Takahata, animation)

 

10.GIVE IT ALL (1998, Itsumichi Isomura)

 

11.SWIMMING UPSTREAM (1990, Joji Matsuoka)

 

12.TWINKLE (1992, Joji Matsuoka)

 

13.ACACIA WALK (2001, Joji Matsuoka)

 

14.BU SU (1987, Jun Ichikawa)

 

15.TSUGUMI (1990, Jun Ichikawa)

 

16.DYING AT A HOSPITAL (1993, Jun Ichikawa)

 

17.TOKYO KYODAI (1995, Jun Ichikawa)

 

18.TOKIWA: THE MANGA APARTMENT (1996, Jun Ichikawa)

 

19.TOKYO LULLABY (1997, Jun Ichikawa)

 

20.OSAKA STORY (1999, Jun Ichikawa)

 

21.KODAYU (THE DREAM OF RUSSIA) (1992, Junya Sato)

 

22.THE NAKED ISLAND (1960, Kaneto Shindo)

 

23.DECIDUOUS TREE (1986, Kaneto Shindo)

 

24.COUNTRY GIRL (1976, Katsumi Nishikawa)

 

25.YOUNG GIRLS IN LOVE (1986, Kazuki Omori)

 

26.NIGHT TRAIN TO THE STARS (1996, Kazuki Omori)

 

27.FUNNY NOTE (MY TEACHER’S MARK CARD) (1977, Kazunari Takeda)

 

28.TOMORROW (1988, Kazuo Kuroki)

 

29.THE FACE OF JIZO (2004, Kazuo Kuroki)

 

30.TSUMUGU (2016, Kazutoshi Inudo)

 

31.NODO JIMAN (1999, Kazuyuki Izutsu)

 

32.WE SHALL OVERCOME SOMEDAY (2004, Kazuyuki Izutsu)

 

33.LOVE AND FAITH (1978, Kei Kumai, 154min)

 

34.SEN RIKYU (DEATH OF A TEA MASTER) (1989, Kei Kumai)

 

35.DARKNESS IN THE LIGHT (2001, Kei Kumai)

 

36.THE BLUE BIRD (2008, Kenji Nakanishi)

 

37.KEY OF LIFE (2012, Kenji Uchida)

 

38.THE HOUSE OF WEDLOCK (1986, Kichitaro Negishi)

 

39.RAINBOW KIDS (1991, Kihachi Okamoto)

 

40.FALL GUY (1982, Kinji Fukasaku)

 

41.THE DIARY OF YUMECHIYO (1985, Kirio Urayama)

 

42.MUDDY RIVER (1981, Kohei Oguri)

 

43.THE STING OF DEATH (1990, Kohei Oguri)

 

44.ALL ABOUT OUR HOUSE (2001, Koki Mitani)

 

45.THE MAKIOKA SISTERS (1983, Kon Ichikawa)

 

46.ACTRESS (1987, Kon Ichikawa)

 

47.CRANE (1988, Kon Ichikawa)

 

48.VOICES OF A DISTANT STAR (2003, Makoto Shinkai, animation)

 

49.THE PLACE PROMISED IN OUR EARLY DAYS (2004, Makoto Shinkai, animation)

 

50.FIVE CENTIMETERS PER SECOND (2007, Makoto Shinkai, animation)

 

51.CHILDREN WHO CHASE LOST VOICES (2011, Makoto Shinkai, animation)

 

52.UNEASY ENCOUNTERS (1994, Makoto Wada)

 

53.TEAR BEHIND THE JOKE (1985, Masaharu Seigawa)

 

54.PENGUINS IN THE SKY (2008, Masahiko Tsugawa)

 

55.TAKESHI: CHILDHOOD DAYS (1990, Masahiro Shinoda)

 

56.FANCY DANCE (1989, Masayuki Suo)

 

57.SUMO DO, SUMO DON’T (1992, Masayuki Suo)

 

58.SHALL WE DANCE? (1996, Masayuki Suo)

 

59.BAREFOOT GEN (1983, Mori Masaki, animation)

 

60.MUSASHINO HIGH VOLTAGE TOWERS (1997, Naoki Nagao)

 

61.KAMOME DINER (2006, Naoko Ogigami)

 

62.GLASSES (2007, Naoko Ogigami)

 

63.NOWHERE MAN (1991, Naoto Takenaka)

 

64.QUIET DAYS OF FIREMEN (1994, Naoto Takenaka)

 

65.TOKYO BIYORI (1997, Naoto Takenaka)

 

66.I ARE YOU, YOU AM ME (1982, Nobuhiko Obayashi)

 

67.THE LITTLE GIRL WHO CONQUERED TIME (1983, Nobuhiko Obayashi)

 

68.LONELY HEART (1985, Nobuhiko Obayashi)

 

69.BEIJING WATERMELON (1989, Nobuhiko Obayashi)

 

70.GOODBYE FOR TOMORROW (1995, Nobuhiko Obayashi)

 

71.GALAXY EXPRESS 999 (1979, Rintaro, animation)

 

72.STORY OF YOUNG ELEPHANT (1986, Ryo Kinoshita)

 

73.TURTLES ARE SURPRISINGLY FAST SWIMMERS (2005, Satoshi Miki)

 

74.HOME VILLAGE (1983, Seijiro Koyama)

 

75.SONG OF THE SPRING PONY (1985, Seijiro Koyama)

 

76.HACHI-KO (1987, Seijiro Koyama)

 

77.THE PALE HAND (1990, Seijiro Koyama)

 

78.FARAWAY SUNSET (1992, Seijiro Koyama)

 

79.GLASS RABBIT (2005, Setsuko Shibuichi, animation)

 

80.AIKO, SWEET SIXTEEN (1983, Setsuo Nakayama)

 

81.MEMORIES OF YOU (1988, Shinichiro Sawai)

 

82.THE PASSAGE TO JAPAN (1991, Shinichiro Sawai)

 

83.BLOOM IN THE MOONLIGHT (1993, Shinichiro Sawai)

 

84.A BRIEF MESSAGE FROM THE HEART (1995, Shinichiro Sawai)

 

85.DIARY OF EARLY WINTER SHOWER (1998, Shinichiro Sawai)

 

86.THE TERRIBLE COUPLE (1980, Shinji Somai)

 

87.MOVING (1993, Shinji Somai)

 

88.AH! SPRING (WAIT AND SEE) (1998, Shinji Somai)

 

89.UMBRELLA FLOWER (KAZA-HANA) (2000, Shinji Somai)

 

90.HAPPY FLIGHT (2008, Shinobu Yaguchi)

 

91.GOMEN (2002, Shin Togashi)

 

92.PIGS AND BATTLESHIPS (1961, Shohei Imamura)

 

93.THE YAMASHITA STORY (1985, Shue Matsubayashi)

 

94.THE CHEF OF SOUTH POLAR (2009, Shuichi Okita)

 

95.ROCK REQUIEM (1998, Shunichi Nagasaki)

 

96.SUMMER HOLIDAY EVERYDAY (1994, Shusuke Kaneko)

 

97.AUGUST IN THE WATER (1995, Sogo Ishii)

 

98.KOHEI’S RACE (1992, Suguru Kubota)

 

99.ABDUCTION (1997, Takao Okawara)

 

100. JUVENILE BOYS MEET THE FUTURE (2000, Takashi Yamazaki)

 

101. GHOST PUB (1994, Takayoshi Watanabe)

 

102. VIOLENT COP (1989, Takeshi Kitano)

 

103. BOILING POINT (1990, Takeshi Kitano)

 

104. A SCENE AT THE SEA (1991, Takeshi Kitano)

 

105. SONATINE (1993, Takeshi Kitano)

 

106. GETTING ANY? (1994, Takeshi Kitano)

 

107. KIDS RETURN (1996, Takeshi Kitano)

 

108. KIKUJIRO (1999, Takeshi Kitano)

 

109. THE WIFE OF GEGEGE (2010, Takuji Suzuki)

 

110. KAPPA (1994, Tatsuya Ishii)

 

111. ACRI (1996, Tatsuya Ishii)

 

112. FIRST LOVE (2000, Tetsuo Shinohara)

 

113. CONGRATULATORY SPEECH (1985, Tomio Kuriyama)

 

114. THIS WINDOW IS YOURS (1994, Tomoyuki Furumaya)

 

115. ROBOKON (2003, Tomoyuki Furumaya)

 

116. BUSHIDO SIXTEEN (2010, Tomoyuki Furumaya)

 

117. MANY HAPPY RETURNS (1993, Toshihiro Tenma)

 

118. THE OLD BEAR HUNTER (1982, Toshio Goto)

 

119. BAREFOOT GEN 2 (1986, Toshio Hirata, animation)

 

120. THE FAMILY SECRET (1992, Toshiyuki Mizutani)

 

121. CONAN MOVIE 8: MAGICIAN OF THE SILVER SKY (2004, Yasuichiro Yamamoto, animation)

 

122. CONAN MOVIE 13: THE RAVEN CHASER (2009, Yasuichiro Yamamoto, animation)

 

123. AN AUTUMN AFTERNOON (1962, Yasujiro Ozu)

 

124. STATION (1981, Yasuo Furuhata)

 

125. BUDDIES (1989, Yasuo Furuhata)

 

126. DOUBLE SUICIDE AT SONEZAKI (1978, Yasuzo Masumura)

 

127. THE RIVER WITH NO BRIDGE (1992, Yoichi Higashi)

 

128. TORA-SAN: IT’S A HARD LIFE! (1969, Yoji Yamada)

 

129. A DISTANT CRY FROM SPRING (1980, Yoji Yamada)

 

130. TORA-SAN: HEARTS AND FLOWERS FOR TORA (1982, Yoji Yamada)

 

131. TORA-SAN: TORA-SAN GOES RELIGIOUS (1983, Yoji Yamada)

 

132. TORA-SAN: TORA-SAN’S FORBIDDEN LOVE (1984, Yoji Yamada)

 

133. FINAL TAKE: THE GOLDEN AGE OF MOVIES (1986, Yoji Yamada)

 

134. TORA-SAN: TORA-SAN MY UNCLE (1990, Yoji Yamada)

 

135. MY SONS (1991, Yoji Yamada)

 

136. TORA-SAN: TORA-SAN TO THE RESCUE (1995, Yoji Yamada)

 

137. A CLASS TO REMEMBER 2 (1996, Yoji Yamada)

 

138. THE RAINBOW SEEKER (1996, Yoji Yamada)

 

139. A CLASS TO REMEMBER 4: FIFTEEN (2000, Yoji Yamada)

 

140. A SUMMER PAGE (1990, Yoshihiro Oikawa)

 

141. AND THEN (1985, Yoshimitsu Morita)

 

142. LIKE ASURA (2003, Yoshimitsu Morita)

 

143. A PROMISE (1986, Yoshishige Yoshida)

 

144. CHILDREN ON THE ISLAND (TWENTY-FOUR EYES) (1987, Yoshitaka Asama)

 

145. LADY CAMELLIA (1988, Yoshitaka Asama)

 

146. THE INCIDENT (1978, Yoshitaro Nomura)

 

147. NABBIE’S LOVE (1999, Yuji Nakae)

 

148. ROAR OF THE CROWD (1990, Yutaka Osawa)

 

149. 7 DAYS WAR (2019, Yuta Murano, animation)

 

150. THIS IS NORIKO (1982, Zenzo Matsuyama)

 

แล้วก็มีหนังบางเรื่องที่มีฟิล์มเก็บไว้ที่ Japan Foundation Bangkok แต่เราได้ดูตอนมันมาฉายที่หอภาพยนตร์ ศาลายา ซึ่งได้แก่เรื่อง

 

151. AWAKENING (2006, Junji Sakamoto)

 

152. UNICO (1980, Shintaro Tsuji, animation)

 

แต่สิ่งที่คาใจเรามาก ๆ ตอนนี้ก็คือว่า ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 นั้น เราได้ดูหนังเรื่องนึงที่ Japan Foundation ซึ่งน่าจะเป็นหนังที่สร้างขึ้นในทศวรรษ 1960-1970 เป็นเรื่องของชีวิตสาวโรงงาน โดยมีฉากที่สาวโรงงานหลายคนเดินขึ้นเขาฝ่าหิมะหนาวเหน็บเพื่อไปทำงานที่โรงงาน

 

แต่เราไม่แน่ใจว่ามันคือหนังเรื่องอะไร คือเราเคยจดไว้ว่าเราเคยดูหนังที่มีชื่อเรื่องว่า DUMP FACTORY ในช่วง 2-3 ปีนั้นแต่เราไม่รู้ว่ามันคือหนังเรื่องนี้หรือเปล่า เพราะพอเราเอาคำว่า DUMP FACTORY ไป search ใน IMDB และ google เราก็หาไม่เจอว่ามันคือหนังเรื่องอะไร, ใครกำกับ และสร้างปีไหน

 

แล้วถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด ตอนที่เราได้ดูหนังเกี่ยวกับสาวโรงงานในครั้งนั้น มันน่าจะเป็นการฉายครั้งสุดท้ายด้วยนะ เพราะฟิล์มที่ฉายมันแดงมาก ๆ มันเก่ามาก ๆ หนังเรื่องนี้ก็เลยไม่เคยได้ฉายอีกเลยหลังจากเราดูรอบนั้นไปแล้ว ก็เลยยิ่งทำให้หาข้อมูลเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ยากยิ่งขึ้นไปอีก

 

ถ้าใครตอบได้ว่าหนังที่เราดูมันมีชื่อเรื่องว่าอะไร ใครกำกับ เราก็จะขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ