Sunday, December 29, 2019

HAPPY OLD YEAR (2019, Nawapol Thamrongrattanarit, A+30)


HAPPY OLD YEAR (2019, Nawapol Thamrongrattanarit, A+30)
ฮาวทูทิ้ง ทิ้งอย่างไร ไม่ให้เหลือเธอ
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
1.พอดูจบแล้ว จะเกิดข้อสงสัยทางกฎหมายมากๆ แต่เนื่องจากเราไม่มีความรู้ทางกฎหมาย เราก็เลยอยากจะถามผู้รู้ว่า

1.1 ในทางกฎหมายนั้น เปียโนเป็นกรรมสิทธิ์ของใคร เป็นทรัพย์สินของใคร หรือเป็นทรัพย์สินร่วมกันของแม่, จีน, เจย์

1.2 ถ้าหากมันเป็นทรัพย์สินร่วมกันของคน 3 คน แล้วคนนึงเอาไปขายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากอีกคนนึง เพื่อเอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง อย่างนี้แม่สามารถฟ้องร้องจีนในข้อหา “ลักทรัพย์” ได้หรือไม่ หรืออย่างนี้เรียกว่าเป็นคดีอุทลุม 55555

1.3 แม่สามารถทำให้ “จีน” ติดคุกในข้อหาลักทรัพย์ได้หรือไม่

2.คือพอดูหนังจบแล้ว เราก็สร้างเรื่องราวต่อจากฉากจบในหัวของเราทันที เป็นฉากแม่ฟ้องร้องจีนในข้อหาลักทรัพย์ เพื่อทำให้จีนติดคุก แต่เราไม่รู้ว่า “ฉากจบในจินตนาการ” ในหัวของเรา เป็นสิ่งที่ทำได้จริงในทางกฎหมายของไทยหรือเปล่า

แอบคิดว่า ฉากจบในจินตนาการในหัวของเรา มันดู Claude Chabrol ยังไงไม่รู้ 555

3.คือเราเกลียดจีนอย่างสุดๆเพราะการขายเปียโนน่ะ คือเราเข้าใจว่ามันเป็นทรัพย์สินร่วมกันของคน 3 คนนะ แล้วบ้านที่จีนอาศัยอยู่ ก็เป็นทรัพย์สินร่วมกันของคน 3 คนเหมือนกัน เพราะฉะนั้นมันต้องตกลงกันให้ชัดๆว่า ใครมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินอะไรในบ้านบ้าง และห้องไหนของบ้านที่มึงมีสิทธิ์ล่วงล้ำ หรือมึงไม่มีสิทธิ์ล่วงล้ำ

คือพอเรามองว่า เปียโนมันเป็นทรัพย์สินร่วมกันของคน 3 คน เราก็เลยมองว่า มึงไม่มีสิทธิเอามันไปขายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมน่ะ สิ่งที่มึงทำคือการลักทรัพย์น่ะ คือมันไม่สำคัญสำหรับเราแม้แต่น้อยเลยว่า เปียโนนั้นมี “คุณค่าทางใจ” หรือ “ไม่มีคุณค่าทางใจ” ในสายตาของแม่ คือถึงเปียโนตัวนั้นจะไม่มีคุณค่าทางใจใดๆเลยในสายตาของแม่ แต่ถ้าหากแม่มีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินนั้น และแม่ไม่ต้องการให้ขายสิ่งนั้น (ไม่ว่ามันจะมีคุณค่าทางใจหรือไม่ก็ตาม) มึงก็ไม่มีสิทธิ์ไปละเมิดทรัพย์สินของคนอื่น หรือทรัพย์สินที่คนอื่นถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับมึงอยู่น่ะ

แต่ไม่รู้เราเข้าใจอะไรในทางกฎหมายผิดไปหรือเปล่านะ คือถ้าหากเปียโนมันเป็นทรัพย์สินของจีนกับเจย์เพียงแค่สองคน มึงก็ขายไปได้เลย หรือถ้าหากจีนกับเจย์เป็นเจ้าของอาคารนั้น และแม่ไม่มีสิทธิ์ในอาคารนั้น มึงก็ขายเปียโนไปได้เลยเช่นกัน แต่ถ้าหากคนอื่นมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินและที่ดิน/อาคารด้วย สิ่งที่มึงทำคือสิ่งที่ให้อภัยไม่ได้น่ะ

เราก็เลยจินตนาการฉากจบ เป็นฉากแม่ฟ้องร้องจีนเพื่อให้จีนติดคุก

3.แต่ก็ชอบหนังอย่างสุดๆนะ ถึงแม้เราจะไม่อินกับจีนก็ตาม เพราะเราเป็นคน “โหยหาอดีตอย่างรุนแรง” น่ะ “อดีต” คือหนึ่งในสมบัติที่มีค่าที่สุดในชีวิตเรา

เราชอบหนังอย่างสุดๆในแง่ที่ว่า หนังมันนำเสนอตัวละครนางเอกที่เป็นสีเทามากๆสำหรับเราน่ะ ถือว่ากล้ามากๆ นางเอกมันดูมีความเย็นชา และไร้หัวใจมากๆเมื่อเทียบกับมาตรฐานนางเอกหนังไทยโดยทั่วไป (แต่อย่าไปเทียบกับนางเอกละครทีวีแบบ “เพลิงพ่าย” ก็แล้วกัน) และก็ไม่ใช่เย็นชา และไร้หัวใจแบบทื่อมะลื่อ แบนๆ แต่เป็นคนที่มีความซับซ้อนจริงๆ และเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆตามแต่ละสถานการณ์ที่มากระทบ เดี๋ยวใจแข็ง เดี่ยวใจอ่อน เดี๋ยวอยาก “ใจดี” แต่พอ “ใจดี” แล้ว “เจ็บปวด” ก็กลับมา “ใจร้าย” อีก ซึ่งเราว่าอันนี้มันดีสุดๆ มันเป็น character ที่เป็นมนุษย์มากๆสำหรับเรา และเราว่าหนังเรื่องนี้มัน “ละเอียดอ่อนสุดๆ” ในความเห็นของเรา มันสามารถกะเทาะอารมณ์ความรู้สึกจิตใจจิตวิญญาณของตัวละครหลักๆในหนังออกมาได้อย่างละเอียดอ่อนมากๆ และมันทำได้สำเร็จผ่านทางนางเอกที่ค่อนข้าง unlikeable ด้วย

 4.พอดูหนังเรื่องนี้ต่อจาก DIE TOMORROW แล้วรู้สึกเลยว่า เต๋อสร้างตัวละครหญิงไทยในหนัง 2 เรื่องนี้ได้ “ใกล้เคียง” กับตัวละครหญิงแนวที่เราชอบสุดๆ แต่เป็นแค่ “ใกล้เคียง” นะ ยังไม่ถึงกับ “ตรงเผง” แต่แค่ใกล้เคียงนี่ก็ถือว่าหาได้ยากแล้วในหนังไทย

คือใน DIE TOMORROW นั้น มันมีตัวละครนักแสดงหญิงที่ดีใจที่คู่แข่งตายน่ะ ซึ่งมันคล้ายกับตัวละครที่เราชอบสุดๆ ซึ่งก็คือตัวละคร Havana Segrand (Julianne Moore) ใน MAPS TO THE STARS (2015, David Cronenberg)  (นึกถึงฉาก NA NA HEY HEY ใน MAPS TO THE STARS สิ)

ส่วนตัวละครจีนในหนังเรื่องนี้นั้น มันมีบางอย่างที่ทำให้เรานึกถึงตัวละครที่เราชอบสุดๆ นั่นก็คือ Lee (Catherine Keener) ใน FULL FRONTAL (2002, Steven Soderbergh) และนี่คือคำบรรยายถึงตัวละคร Lee ใน FULL FRONTAL

 I think Lee is like... Have you ever seen a dog get hit by a car but walk away? And there's this impact and you know something terrible has happened to that dog but it walks away and it doesn't seem to even realize the implications cause it just goes on. But you know that something terrible has happened inside this dog. That's, I think, what happened to Lee. It's like she's a dog that got hit by a car, and she walked away and she's still walking, but some very, very important things inside her are damaged.

5. การที่เรามองว่า ตัวละครจีนมันซับซ้อนมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเรารู้สึกว่า เรามีทั้งส่วนที่เหมือนเธอ และส่วนที่ตรงข้ามกับเธอน่ะ และนั่นแหละคือสาเหตุนึงที่ทำให้เรามองว่า จีนมันคล้ายมนุษย์จริงๆ

ส่วนที่เราตรงข้ามกับเธอ ก็คือการที่เราหมกมุ่นกับอดีตอย่างรุนแรงนั่นแหละ แต่เราก็ยอมรับว่า เราเองก็เป็นคนที่ใจร้าย เย็นชา หรือไร้หัวใจ หรือ bitter มากๆเหมือนกัน ซึ่งบางครั้งเราก็เสียใจอย่างสุดๆกับความใจร้ายของเรา แต่ในบางครั้งเราก็ดีใจอย่างสุดๆกับความใจร้ายของเรา

เรายังไม่เคยทิ้งใครนะ (ในฐานะคนรัก) เพราะเราหาผัวไม่ได้เลย 555 แต่พฤติกรรมความใจร้ายของเราที่เราภูมิใจมากๆ ก็มีอย่างเช่น

เมื่อ 4-5 ปีก่อน มีผู้หญิงต่างชาติคนนึงมาขอ add เราเป็น friend ทาง Facebook น่ะ แล้วเราก็รับ add ไป เหมือนเธอเป็นคนอเมริกันที่จะมาอยู่กรุงเทพ อยากรู้จักเพื่อนเกย์แปลกหน้า เธอถามเราเรื่องสถานที่ฉายหนังนอกกระแส เราก็ให้ข้อมูลอะไรไปยืดยาว หลังจากนั้นเธอก็อยากนัดเจอเรา แต่เราก็ปฏิเสธไปว่า เราไม่ว่าง เพราะสาเหตุนู่นนั่นนี่ คือจริงๆแล้วเราไม่อยากเจอเธอ เพราะเราขี้เกียจ เรายุ่ง เราอยากเอาเวลาว่างของเราไปทำอย่างอื่นที่ให้ความสุขแก่ตัวเรามากกว่า เราก็ปฏิเสธเธอไปเรื่อยๆว่า เราไม่ว่าง และเราคิดว่า คนธรรมดา มันก็น่าจะสำเหนียกได้แล้วว่า เราไม่อยากเจอเธอ

แต่อีนี่ก็ไม่หยุด ยังมาตื๊อกูอยู่นั่นแหละ เราก็เลย “พูดความจริง” ดีกว่า เราก็เลยบอกไปตามตรงว่า “I don’t want to see you” อีนั่นก็เลยโมโหมาก ด่าเราว่าเป็นคนที่ bitter สุดๆ แล้วมันก็ block เราไป

เราก็เลยดีใจสุดๆ รู้สึกว่าความ bitter นี่แหละคือคุณสมบัติอย่างนึงที่เราภูมิใจ ความจริงใจ การพูดความจริง ไม่โกหกนี่แหละ ช่วยตัดตัวเหี้ยออกไปจากชีวิตเราได้ในทันที 555

สรุปว่า ข้อ 5 นี่ไม่เกี่ยวกับหนังแต่อย่างใด แต่แค่จะบอกว่า เราก็เป็นคนที่ใจร้ายเหมือนกัน แต่อาจจะใจร้ายในแบบที่แตกต่างจากจีน

6.เหมือนหลายคนจะมองว่าหนังเรื่องนี้มีความ political นะ ซึ่งมันก็อาจจะจริงอย่างที่หลายคนมอง แต่เราไม่ถนัดการมองในแง่มุมนี้ เราก็เลยขอข้ามไป

แต่ดูแล้วจะนึกถึงหนังสั้นเรื่อง “สนทนา พนา ธานินทร์” (2019, Witchapaul Pothinarm) ในแง่มุมนึงนะ เพราะ “สนทนา พนา ธานินทร์” เป็นเหมือนการปะทะกันของคนสองคนที่คนนึงเหมือนเป็นคนรุ่นเก่า อนุรักษ์นิยม และอีกคนนึงเหมือนเป็นเด็กรุ่นใหม่ หัวก้าวหน้า ทุนนิยม และหนังมันดูเหมือนเข้าข้างฝ่ายอนุรักษ์นิยมน่ะ โดยผ่านทางการนำเสนอตัวละครเด็กรุ่นใหม่ว่า ก้าวร้าวเกินไป อะไรทำนองนี้

พอเราดู HAPPY OLD YEAR แล้วเราพบว่า เราเกลียดจีนมากๆ ในแง่การละเมิดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้อื่น เราก็เลยนึกถึง “สนทนา พนา ธานินทร์” น่ะ

7.ยอมรับนะว่า ตัวเองไม่ใช่ targeted audience ของเต๋อ เพราะ targeted audience ของเต๋อ คือผู้ชมที่อายุน้อยกว่าเรา และรวยกว่าเรา 555

แต่เราไม่ว่าอะไรเต๋อในจุดนี้ทั้งสิ้น เพราะเราก็ไม่ใช่ targeted audience ของหนังส่วนใหญ่อยู่แล้ว (ยกเว้นหนังอย่าง 30 YEARS OF ADONIS) สิ่งสำคัญก็คือว่า เราว่าเต๋อเก่งมากๆแหละ ที่น่าจะรู้จัก targeted audience ของตัวเองเป็นอย่างดี และทำหนังออกมาเพื่อรองรับผู้ชมกลุ่มเป้าหมายหลักของตัวเองได้

THE VICE OF HOPE

SEVEN SAMURAI (1954, Akira Kurosawa, Japan, A+30)

 ประโยคที่ประทับใจที่สุดจากผู้ชมที่ Scala วันนี้

"ซามูไรไม่ได้ seduce ลูกสาวมึง ลูกสาวมึงนั่นแหละที่เป็นฝ่าย seduce ซามูไร" 55555

NORTH BY NORTHWEST (1959, Alfred Hitchcock, A+30)

สนุกมากๆ

GONE WITH THE WIND (1939, Victor Fleming, A+30)
วิมานลอย

1.อยากใส่ชุดแบบ Scarlett O'Hara ในช่วงครึ่งแรกของหนังมากๆ อยากใส่กระโปรงบานๆ เดินกรุยกรายไปมา

2.ตอนแรกนึกว่า หนังเรื่องนี้เกี่ยวกับความรักของ Scarlett กับ Rhett Butler แต่พอดูจริงๆก็พบว่า หนังมันเกี่ยวกับความรักข้างเดียวที่ Scarlett มีต่อ Ashley Wilkes มากกว่า

THE VICE OF HOPE (2018, Edoardo De Angelis, Italy, A+30)

สภาพบ้านเมืองอิตาลีในหนังเรื่องนั้โสโครกมากๆ หนักมาก

Saturday, December 28, 2019

BLACK CHRISTMAS (2019, Sophia Takal, A+15)


BLACK CHRISTMAS (2019, Sophia Takal, A+15)
Spoilers alert
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
1.จริงๆแล้วหนังไม่ดีเท่าไหร่ 555 เราว่าหนังสอบตกมากๆในแง่ความเป็นหนังสยองขวัญ ลุ้นระทึก ตื่นเต้น เทียบกันไม่ติดกับเวอร์ชั่นปี 1974 ของ Bob Clark ที่หลอนมาก และเทียบไม่ติดกับ KRISTY (2014, Olly Blackburn) ที่ใช้ฉากหลังเป็นมหาลัยช่วงวันหยุดคล้ายๆกัน และเทียบไม่ติดกับ URBAN LEGEND (1998, Jamie Blanks) ที่ใช้ฉากหลังเป็นมหาลัยได้อย่างสนุกมากๆด้วย

แต่เราชอบเวอร์ชั่นนี้มากกว่า BLACK CHRISTMAS เวอร์ชั่นปี 2006 ของ Glen Morgan นะ เพราะถึงแม้เวอร์ชั่นปี 2019 จะอ่อนด้อยด้านความสนุกตื่นเต้น แต่เราก็ชอบประเด็นในหนังอยู่ดี คือพอมันเป็น "หนังประเด็น" มันก็เลยมีอะไรให้น่าจดจำสำหรับเรา แทนที่จะเป็นหนังฆาตกรโรคจิตดาษดื่นทั่วๆไป

2.เหมือนหนังเรื่องนี้เป็นการนำเอาสารคดี THE HUNTING GROUND (2015, Kirby Dick) และกระแส #Metoo มาทำเป็นหนังสยองขวัญ และเราก็ชอบตรงจุดนี้

แต่เสียดายที่มันผสม "ประเด็น" กับ genre หนังสยองขวัญได้ไม่ลงตัวน่ะ ซึ่งแตกต่างจากหนังอย่าง KNIVES OUT ที่ผสมประเด็นผู้อพยพ กับหนังแนว whodunit ได้ลงตัวและสนุกมากๆ

3.จุดนึงที่เราชอบสุดๆใน BLACK CHRISTMAS ก็คือว่า กลุ่มฆาตกรโรคจิตในหนังเรื่องนี้ แตกต่างจากหนังเรื่องอื่นๆ เพราะถึงแมักลุ่มฆาตกรในหนังเรื่องนี้จะทำพิธีไสยาศาสตร์ มนตร์ดำ ซึ่งอาจจะถือเป็นพฤติกรรม “นอกรีต” แต่ในแง่นึง เรากลับรู้สึกว่า กลุ่มฆาตกรในหนังเรื่องนี้ "ไม่ใช่คนนอกของสังคม" แบบในหนังฆาตกรโรคจิตทั่วไปน่ะ อย่างเช่นใน KRISTY, TEXAS CHAINSAW MASSACRE, FRIDAY THE 13TH, HALLOWEEN อะไรพวกนี้

คือในหนัง slasher โดยทั่วไปนั้น ฆาตกรโรคจิต เป็นเหมือนคนที่มา disrupt สังคมที่สงบสุขน่ะ คือมันเหมือนมีสังคมที่ “ดีงาม” อยู่ (ถึงแม้มันจะอยู่ในรูปของกลุ่มหนุ่มสาวเงี่ยนๆ) แล้วฆาตกรโรคจิต ซึ่งเป็น “คนนอก” ของสังคม เพราะเขาเป็น “ผู้ป่วยทางจิต” ก็มาทำลายสังคมที่ดีงามนั้น

แต่ใน BLACK CHRISTMAS เวอร์ชั่นนี้ มันเหมือนกับว่า กลุ่มฆาตกรโรคจิต มีลักษณะบางอย่างที่คล้ายกับ norm ของสังคมเสียเองน่ะ ถึงแม้ว่ามันจะเป็น norm ของสังคมในอดีตเมื่อ 200 ปีก่อนก็ตาม คือเราว่าลักษณะของกลุ่มฆาตกรโรคจิตในหนังเรื่องนี้ ไม่ใช่ “ผู้ป่วยทางจิต” แบบในหนัง slasher ทั่วไป แต่กลับมีลักษณะเป็นเหมือน norm ของสังคมปิตาธิปไตย, conservative

เราก็เลยชอบหนังมากๆตรงจุดนี้ เพราะมันแตกต่างจากหนัง slasher ทั่วไป คือในหนัง slasher ทั่วไปนั้น “ฆาตกรโรคจิต” คือผู้ป่วยทางจิตที่ต้องถูกฆ่าให้ตาย หรือกำจัดออกไปจากสังคม แต่ในหนังเรื่องนี้ “ผู้ร้าย” ที่แท้จริง คือ “แนวคิดแบบปิตาธิปไตย + conservative” และหนังก็แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้ายที่แท้จริง ซึ่งก็คือ “แนวคิด” นี้ มัน “อยู่ในหัว” ของผู้ชายหลายๆคน แนวคิดนี้มันควบคุมผู้ชายที่ conservative ได้อยู่หมัด และมันก็แอบแฝงอยู่ในหัวของ “ผู้ชายที่หัวก้าวหน้า”บางคนด้วย โดยเฉพาะเมื่อใดก็ตามที่ผู้ชายที่หัวก้าวหน้าทะเลาะกับผู้หญิง แนวคิดแบบปิตาธิปไตยที่แอบแฝงอยู่ในหัวพวกเขาก็จะได้โอกาสสำแดงฤทธิ์ออกมา (เอ๊ะ มันเหมือนกับการทะเลาะกันในเพจบางเพจหรือเปล่า)

และแนวคิดแบบปิตาธิปไตยนี้ มันก็อยู่ในหัวของผู้หญิงบางคนด้วย

หนังเรื่องนี้ก็เลยแสดงให้เห็นว่า การตามฆ่า+กำจัดฆาตกรโรคจิตแต่ละคนในหนังเรื่องนี้ จึงไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เพราะต้นเหตุมันคือ “สิ่งที่อยู่ในหัวของมนุษย์แต่ละคน”

4.ถึงแม้หนังจะแสดงให้เห็นว่า สิ่งที่ควบคุมความคิดตัวละครฝ่ายผู้ร้าย คือมนตร์ดำ+คาถาจาก “รูปปั้นของบุคคลสำคัญในอดีต” แต่เราเดาว่าจริงๆแล้วหนังอาจจะ hint ให้ผู้ชมรู้ว่า ผู้ร้ายที่แท้จริงคืออะไร

เราเดาว่า มันคือ “ตำราคลาสสิค” หรือ “สิ่งที่เขียนโดยผู้ชายเมื่อหลายร้อยหลายพันปีก่อน” ที่ตัวละครถกเถียงกันในช่วงครึ่งแรกของหนังน่ะ

คือเราชอบการถกเถียงกันของตัวละครในช่วงครึ่งแรกของหนังมากๆ โดยเฉพาะตัวละครที่ตั้งข้อสังเกตว่า ตำราคลาสสิคที่เด็กแต่ละคนต้องเรียนกันนั้น ส่วนใหญ่มันเขียนโดย “ผู้ชาย” เกือบทั้งนั้น

หนังเรื่องนี้มันก็เลยทำให้เราได้คิดว่า หรือจริงๆแล้ว “แนวคิดแบบปิตาธิปไตย” ซึ่งเป็น “ผู้ร้ายที่แท้จริง” ของหนังเรื่องนี้ มันมาจากไหน หรือว่ามันมาจาก “หนังสือที่เขียนโดยผู้ชาย เมื่อหลายร้อยหลายพันปีก่อน” อย่างที่ตัวละครผู้หญิงบางคนในหนังเรื่องนี้ พยายามต่อต้านนั่นแหละ

บางทีหนังเรื่องนี้อาจจะต้องการบอกว่า ตำราคลาสสิค หรือ “สิ่งที่เขียนโดยผู้ชาย เมื่อหลายร้อยหลายพันปีก่อน” มันคือสิ่งที่มีส่วนสำคัญในการปลูกฝังแนวคิดแบบปิตาธิปไตย ในบางสังคมมานานมากแล้ว จนก่อเกิดเป็นวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ สืบทอดกันมาหลายร้อยหลายพันปี และแน่นอนว่า มันก็ยังคง “ฝังอยู่ในหัว” ของผู้ชายหลายคนในยุคปัจจุบัน ไม่งั้นคงไม่เกิดหนังสารคดีเรื่อง THE HUNTING GROUND ออกมา

บางทีการที่หนังเรื่องนี้ให้ตัวละครมาถกเถียงกันเรื่อง “ตำราคลาสสิค” (สิ่งที่เขียนโดยผู้ชายเมื่อหลายร้อยหลายพันปีก่อน) กันเป็นเวลานาน ก็อาจจะเป็นเพราะหนังต้องการจะบอกว่า นี่แหละคือ “ผู้ร้าย” ที่แท้จริงของหนังเรื่องนี้

5.แอบสงสัยว่า การที่เหตุการณ์ในหนังเรื่องนี้เกิดขึ้นในวันคริสต์มาส เป็นสิ่งที่มีความหมายอะไรหรือเปล่า

6.ชอบการถกเถียงกันของตัวละครในหนังมากๆ ชอบที่หนังแสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงบางคนก็ radical เกินไป และบางคนก็เชิดชูปิตาธิปไตยเสียเอง แต่สิ่งที่ชอบมากๆก็คือการเน้น “ความสามัคคี” แบบมด (ซึ่งสังคมมดมีผู้นำเป็น “นางพญามด”)  ในการต่อสู้กับผู้ร้าย

7.สรุปว่าเสียดายมากๆที่หนังมันออกมาไม่สนุก มันไม่ลงตัวมากๆ ถึงแม้เราจะชอบแนวคิดบางแนวคิดของหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ ชอบมากๆที่หนังนำเสนอ “ผู้ร้าย” ที่ไม่ใช่ผู้ป่วยทางจิตแบบหนัง slasher ทั่วไป เพราะผู้ร้ายที่แท้จริงของหนังเรื่องนี้ก็คือ “แนวคิดแบบชายเป็นใหญ่ ในหัวของคนแต่ละคน ที่อาจจะได้รับการปลูกฝังมาจาก สิ่งที่เขียนโดยผู้ชายในอดีตเมื่อหลายร้อยหลายพันปีก่อน”

Friday, December 27, 2019

TOOTSIES AND THE FAKE

TOOTSIES AND THE FAKE (2019, Kittipak Thoangaum, A+20)
ตุ๊ดซี่ส์ แอนด์ เดอะเฟค (กิตติภัค ทองอ่วม)

1.ชอบเส้นเรื่องของกัสมากที่สุด เพราะเราเองก็เคยเกลียดเด็กมาก่อน ชอบที่มีหนังไทยที่นำเสนอตัวละครแบบนี้ แต่เส้นเรื่องของตัวละครอื่นๆเรารู้สึกเฉยๆ

2.ชอบชื่อ "แคทรีโอน่า กรรณิการ์ หวัง" มากๆ มันเป็นชื่อที่ฮามากๆในความแหลนแต้ของมัน นึกถึงเพื่อนของเราที่เคยตั้งชื่อตัวละครตัวนึงว่า "ทวยท้าว แลซ" แบบว่าชื่อเธอไทยมากๆ แต่เธอนามสกุลเป็นฝรั่ง

3.เห็นด้วยกับที่คุณ Ratchapoom Boonbunchachoke เขียนถึงหนังเรื่องนี้มากๆ ในแง่ที่ว่าตัวละครเจ๊น้ำ มันถูกทำให้ "เปล่งเสียงไม่ได้" มันขาดหาย"เสียง/ตัวตน" ยังไงไม่รู้ มันเหมือนตุ๊กตากระดาษที่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินเรื่อง มากกว่าจะเป็นมนุษย์ที่มีพลังในการขับเคลื่อนชีวิตของตนเองจริงๆ
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10162829613425220&set=a.10161387877515220&type=3&theater

4.พล็อตเรื่องการฝึกมารยาทผู้ดี ดูแล้วนึกถึง MY FAIR LADY (1964, George Cukor) ซึ่งเราก็ "ไม่อิน" เหมือนกับหนังเรื่องนี้

จริงๆดูแล้วนึกถึงคอลัมน์ของคุณคำ ผกา ในมติชนสุดสัปดาห์ด้วย ตอน "สุขาอยู่หนใด" ที่เป็นการเขียนวิจารณ์ รายการของคุณได๋ ที่ให้จ๊ะ คันหู มาปรับลุคใหม่ แล้วเอามาร้องเพลง jazz ซึ่งคุณคำ ผกา นำสิ่งนี้มาโยงกับแนวคิด white man's burden ถ้าใครอยากอ่าน ก็ลอง google หาอ่านบทความนี้ดูได้นะ

แต่เราก็ไม่ได้คิดว่า สิ่งที่เกิดขึ้นใน TOOTSIES & THE FAKE มันเหมือนกับ white man's burden นะ เพราะจุดประสงค์มันต่างกันเยอะ เพราะตัวละครใน TOOTSIES พยายามปรับกิริยามารยาทของเจ๊น้ำเพียงเพื่อ "ผลประโยชน์ส่วนตัว" ไม่ใช่เพราะ "ศีลธรรมอันสูงส่ง" น่ะ แต่เราคิดว่าความแตกต่างกันตรงนี้ก็น่าสนใจดีเหมือนกัน

ส่วนอันนี้เป็นคลิปรายการนั้น
https://youtu.be/DH3FHEb_Cl4

5.จริงๆแล้วตอนที่ดูหนังเรื่องนี้เราชอบฉากแคที่เทศนาท่ามกลางสีขาวมากๆ เพราะเราว่ามันดูตอแหลมากๆ นึกถึงเพื่อนกะเทยที่ชอบ role play เป็นเลดี้ผู้สูงศักดิ์ หรือเพื่อนหีๆที่ชอบอุทาน "ว้าย หยาบคาย ฉันรับอะไรแบบนี้ไม่ได้จ้ะ" อะไรทำนองนี้ ฉากนี้มันก็เลยฮามากๆสำหรับเรา แต่เหมือนผู้ชมหลายคนจะมองว่า สิ่งที่แคที่พูดในฉากนั้น คือสิ่งที่หนังต้องการจะบอกต่อผู้ชม เราก็เลยประหลาดใจ แต่พอคิดอีกทีแล้วมันก็อาจจะเป็นอย่างที่ผู้ชมหลายคนคิดแบบนั้นจริงๆก็ได้ แต่ตอนที่ดู เราไม่ทันคิดแบบนั้น เราก็เลยชอบตวามตอหลดตอแหลของฉากนี้มากๆตอนที่ดู

จริงๆแล้วมันอาจจะคล้ายกับปัญหาหลายเรื่องที่เรามีกับหนังยุคใหม่ ที่เราแยกไม่ออก หรือไม่แน่ใจว่า มัน "จงใจซึ้ง" หรือ "จงใจเสียดสีหนังซึ้งๆ" กันแน่ 555 เหมือนอย่างฉากนี้ที่ตอนดูเรานึกว่า มันต้องการขับเน้นความเป็นนางฟ้านางสวรรค์ของแคที่ให้โอเวอร์เกินจริงจนดูตอแหลหรือดูฮา แต่จริงๆแล้วหนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจแบบนั้นก็ได้

6.พอคิดดูแล้ว เราว่าพัฒนาการของตัวละครในหนังเรื่องนี้ มันสวนทางกับหนังหลายๆเรื่องเหมือนกัน อย่างเช่น

6.1 การที่เจ๊น้ำเปลี่ยนจากการพูดคำหยาบในที่ทำงานเก่า มาเป็นการไม่พูดคำหยาบเมื่ออยู่ในที่ทำงานใหม่ มันสวนทางกับ BOYS ON THE SIDE (1995, Herbert Ross) ที่ตัวละครหญิงเริ่มต้นจากการเก็บกด ไม่กล้าพูดคำหยาบ มาสู่การปลดปล่อย ด้วยการกล้าพูดคำหยาบออกมา

6.2 การเลียนแบบท่าทางของผู้ดีทั้งใน MY FAIR LADY และเจ๊น้ำ มันสวนทางกับ PARADISE HILLS (2019, Alice Waddington) ซึ่งเป็นหนังที่ลงเอยด้วยการประณาม "สถาบันสอนมารยาทผู้ดี"

6.3 การที่ตัวละครเด็กเรียกกัสลับหลังว่า "กะเทย" ซึ่งทำให้ผู้ชมหลายคนหัวเราะชอบใจในช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้ ซึ่งจริงๆแล้วเราไม่ได้มีปัญหาอะไรกับมุกตลกในฉากนี้ แต่เราว่ามันน่าสนใจดีถ้าหากนำมันไปเทียบกับหนังเรื่องนี้ REMINGTON AND THE CURSE OF THE ZOMBADINGS (2011, Jade Castro, Philippines) เพราะหนังฟิลิปปินส์เรื่องนี้เริ่มต้นด้วยการให้เด็กผู้ชายคนนึงส่งเสียงเรียกกะเทยด้วยท่าทีดูถูกเหยียดหยามในช่วงต้นเรื่อง ซึ่งส่งผลให้เด็กผู้ชายคนนั้นถูกคำสาปให้โตขึ้นมาแล้วกลายเป็นกะเทย และหนังก็จบลงด้วยการให้เด็กผู้ชายคนนึงส่งเสียงเรียกกะเทยในช่วงท้ายเรื่อง แต่ด้วยท่าที "ชื่นชม"

ก็เลยรู้สึกว่าพัฒนาการของตัวละครในหนังสองเรื่องนี้มันสวนทางกันอย่างน่าสนใจดี เพราะในหนังไทยนั้น เกย์ในหนังเริ่มต้นจากการเกลียดเด็ก แต่ลงเอยด้วยการรักเด็กในท้ายที่สุด ส่วนในหนังฟิลิปปินส์นั้น เด็กๆในช่วงต้นเรื่องมองกะเทยอย่างดูถูกเหยียดหยาม แต่เด็กๆในช่วงท้ายเรื่องมองกะเทยด้วยความชื่นชม

Wednesday, December 25, 2019

PUSKAS HUNGARY

THE SUMMER OF SANGAILE (2015, Alante Kavaite, Lithuania, A+30)

 หนังเลสเบียนที่งดงามสุดๆ ชอบที่หนังเหมือนคว้าจับ moment เรื่อยเปื่อยของวัยรุ่นไปเรื่อยๆ โดยเฉพาะฉากที่นางเอกเล่นกับพยาธิ

แต่องก์สุดท้ายของหนังรุนแรงมาก อยู่ดีๆตัวละครนางเอกก็มีพัฒนาการอย่างรุนแรงจนคาดไม่ถึง

SAMI BLOOD (2016, Amanda Kernell, Sweden, A+30)

1.ชอบที่หนังมันเป็นเรื่องของการเรียกร้องสิทธิของชนกลุ่มน้อย แต่แทนที่หนังมันจะนำเสนอตัวละครเอกในฐานะฮีโร่ที่ทำตัวดีงาม ถูกรังแก ลุกขึ้นสู้เพื่อความเป็นธรรม ตามขนบหนังเรียกร้องสิทธิโดยทั่วไป หนังเรื่องนี้กลับเลือกนำเสนอตัวละครนางเอกที่เป็น "สีเทา" เธอเป็นชาว Sami ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในสวีเดน เธอถูกดูถูกเหยียดหยาม จนในที่สุดเธอก็เลยเกลียดชังชาติพันธุ์ของตัวเอง พยายามปลอมตัวเป็นคนสวีเดน และพยายามหาผัวหนุ่มหล่อชาวสวีเดนให้ได้

2.เราเพิ่งดู FROZEN 2  และก็พบว่า หนังมันขึ้นเครดิตขอบคุณ Sami People ด้วย แสดงว่าตัวละครชนเผ่าใน FROZEN 2 น่าจะมีแรงบันดาลใจมาจากชาว  Sami

3.แอบสงสัยว่า MIDSOMMAR (2019, Ari Aster) มันได้รับแรงบันดาลใจส่วนนึงมาจากชนเผ่า Sami เหมือนกันหรือเปล่า

BARBARA (2012, Christian Petzold, Germany, A+30)

ชอบการแสดง/บุคลิกของ Nina Hoss ในหนังเรื่องนี้มากๆ

PUSKAS HUNGARY (2009, Tamas Almasi, Hungary, documentary, A+30)

1.ตอนแรกเราคาดเดาล่วงหน้าว่า เราต้องไม่ชอบหนังสารคดีเกี่ยวกับนักฟุตบอลเรื่องนี้แน่ๆ เพราะเราไม่สนใจฟุตบอล และทูตฮังการีมาพูดก่อนหนังฉายว่า เขาไม่ต้องการเอาหนังฮังการีแนวหดหู่ม่าฉาย เขาต้องการเอาหนังเบาๆมาฉาย

2.แต่เราก็ชอบหนังอย่างรุนแรงตั้งแต่ต้นเรื่องเลย เพราะในช่วงต้นเรื่อง หลังเล่าว่า พอสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง โซเวียตก็มายึดครองฮังการี นักฟุตบอลบางคนก็เลยอยากหนีไปต่างประเทศ เจ้าหน้าที่รัฐบาลก็เลยปลอมตัวเป็น smugglers มาหลอกบรรดานักฟุตบอลว่าจะพาหนีไปต่างประเทศ แล้วพอนักฟุตบอลตาม smuggler มาที่พรมแดน นักฟุตบอลก็จะถูกรัฐบาลฮังการีจับตัวไปประหารชีวิต

ค่ะ นี่คือ "หนังเบาๆ" ของฮังการีค่ะ คือเนื้อเรื่องแบบนี้นี่มันโหดร้ายสุดๆ feel bad สุดๆเลยนะ 5555 ขอบคุณมากๆที่นำ "หนังเบาๆ" แบบนี้มาฉายให้ได้ดูกันค่ะ

3.ชีวิตของ Ferenc Puskas นี่ก็สมบุกสมบันสุดๆ เขาเผชิญกับมรสุมชีวิต มรสุมการเมืองอย่างรุนแรงมาก ทั้งข้อครหาที่ว่าเขาล้มบอล, การปฏิวัตินองเลือดในทศวรรษ 1950, การลี้ภัยการเมือง, การตบกับรัฐบาลเผด็จการกรีซ ตอนที่เขาไปเป็นโค้ชให้ทีมชาติกรีซ และการป่วยหนักในบั้นปลายของชีวิต

4.หนังนำเสนอเหตุการณ์เดียวกับหนังเรื่อง THE MIRACLE OF BERN (2003, Sonke Wortmann, Germany) ด้วย เพราะหนังพูดถึงการชิงแชมป์ FIFA ในปี 1954  เหมือนกัน แต่  PUSKAS เล่าจากมุมมองของทีมฮังการี ส่วน THE MIRACLE OF BERN เล่าจากมุมมองของเยอรมันตะวันตก

5. ดูแล้วนึกถึงหนังเรื่อง CHILDREN OF GLORY (2006, Krisztina Goda, Hungary) ด้วย เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้พูดถึงการที่กองทัพโซเวียตเข่นฆ่าชาวฮังการีในทศวรรษ 1950 เหมือนกัน

GEMINI MAN (2019, Ang Lee, A+30)

1.ชอบมากๆที่หนังให้ตัวละครนางเอกมีทักษะในการต่อสู้

2.ตอนแรกนึกว่ามันจะบู๊สะบั้นหั่นแหลกแบบหนังชุด THE BOURNE IDENTITY  แต่ดีที่มันไม่ออกมาเป็นแบบนั้น

ดูแล้วนึกถึง HESUS THE REVOLUTIONARY (2002, Lav Diaz, Philippines) ในแง่ที่ว่า หนังทั้งสองเรื่องนี้มันเป็น genre หนังแอคชั่น แต่มันได้ผู้กำกับที่ถนัดแนวดราม่ามาทำ หนังทั้งสองเรื่องนี้มันก็เลยลดความแอคชั่น ลดความบู๊ลง แล้วใส่ความดราม่าเข้ามาในระดับที่พอดี

หนังทั้งสองเรื่องนี้ ก็เลยเข้าทางเรามากๆ เพราะเราก็ไม่ค่อยอินกับหนังแอคชั่นอยู่แล้ว

LIGHT OF MY LIFE (2019, Casey Affleck, A+30)

1.หนังเกี่ยวกับโลก post apocalypse ที่ผู้หญิงตายเกือบหมด เหลือแต่ผู้ชาย เพราะฉะนั้นตอนที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราจะจินตนาการในหัวตลอดเวลาว่า เกย์และกะเทย จะมีชีวิตอย่างไรในโลกนี้ พวกเธอจะกลายเป็นฝ่ายที่ต้องรองรับความใคร่ของผู้ชายหรือเปล่านะ 555 ส่วนตัวเราเองนั้น เราอยากเข้าไปทำหน้าที่ช่วยรองรับอารมณ์ใคร่ของผู้ชายในหนังเรื่องนี้มากๆค่ะ

2. เหมือนหนังเป็นการผสม THE ROAD (2009, John Hillcoat )  กับ LEAVE NO TRACE (2018, Debra Granik) เข้าด้วยกัน

3.ชอบที่หนังไม่ต้องเน้นฉากใหญ่โต แต่เน้นฉากพ่อลูกคุยกัน

Tuesday, December 24, 2019

IF I THINK OF GERMANY AT NIGHT

HELLO WORLD (2019, Tomohiko Ito, Japan, animation, A+30)

 ชอบที่เนื้อเรื่องของหนังมันซับซ้อนกว่าที่คิดไว้มากๆ

IF I THINK OF GERMANY AT NIGHT (2017, Romuald Karmakar, Germany, documentary,  A+30)

1.มีสิทธิติด top ten ประจำปี รักหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ หนังเป็นการสัมภาษณ์ดีเจดิสโก้เธค 5 คน ซึ่งเน้นเปิดดนตรี house เราก็เลยหวีดร้องมากๆ เพราะเราชอบ house music มากๆ

2.ชอบตั้งแต่ฉากเปิดแล้ว ที่เป็นการถ่ายด้านหลังของดีเจคนนึง ขณะที่เขาฟัง Speech อะไรไม่รู้จากอิหร่านในทศวรรษ 1980 คือดูหนังเรื่องนี้แล้วทึ่งกับดีเจพวกนี้มากๆ ในแง่การ research คลังเสียงโบราณ คือเหมือนกับว่าในการที่ดีเจพวกนี้จะสร้างผลงานใหม่ๆ ทั้งในรูปแบบเพลงแดนซ์ หรือในฐานะที่พวกเขาเป็น sound artist นั้น พวกเขาต้องเปิดหูรับฟังเสียงต่างๆรอบตัว และต้องขุดคุ้ย "เสียงโบราณ" จากแหล่งที่นึกไม่ถึง อย่างเช่นอิหร่านในทศวรรษ 1980 ด้วย

3.ชอบสุดๆที่ดีเจคนนึงพูดถึงความหลงใหลของเขาที่มีต่อ "การฟังเสียงลมที่ลอดใต้ประตูห้อง" คือกราบมากๆ เชื่อแล้วว่า artists หลายคนมันมีประสาทสัมผัสที่ละเอียดอ่อนกว่ามนุษย์ทั่วไปจริงๆ ใครจะนึกว่าดนตรี dance techno บางเพลง มันจะมีแรงบันดาลใจมาจากเสียงลมที่ลอดใต้ประตูห้อง

จุดนี้ทำให้นึกถึงหนังที่เราชอบสุดๆเรื่อง  WE ARE YOUR FRIENDS (2005, Max Joseph) ด้วย ที่พระเอกเป็น dance music artist ที่ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างเพลงแดนซ์จากเสียงต่างๆรอบตัว อย่างเช่น เสียงหยดน้ำ, เสียงเหรียญกระทบกัน, เสียงรองเท้าผ้าใบที่วิ่งไปบนพื้น, etc.

4.ชอบที่ดีเจคนนึงพูดถึงผลกระทบจากการก่อการร้ายในยุโรปที่มีต่อการเที่ยวเธคด้วย

5.ชอบเรื่องราวของดีเจหญิงมากๆ เธอมาจากสวิตเซอร์แลนด์ฝั่งที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส เธอรัก house music แต่ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 มันไม่มีเธคที่เปิดดนตรี dance เทคโนแบบที่เธอชอบในย่านของเธอเลย เธอเลยต้องไปเที่ยวเธคในสวิสฝั่งที่ใช้ภาษาเยอรมัน แต่ก็พบว่า เธคในย่านนั้นเปิด trance music ไม่ใช่ house music เธอก็เลยต้องข้ามพรมแดนไปเที่ยวเธคในเยอรมนี ถึงจะเจอเธคที่เปิด house music แบบที่เธอต้องการ

6.ชอบการวิเคราะห์ความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่นำไปสู่ความแตกต่างของดนตรี dance techno ด้วย โดยดีเจคนนึงวิเคราะห์ว่า ดนตรีของ scandinavia มักจะเย็นชากว่าดนตรีของยุโรปใต้

7.ชอบที่ดีเจหญิงบอกว่า เธอต้องหาทาง "ตะล่อมคนฟัง" ในเมืองที่แตกต่างกันไป เพราะคนฟังในเธคแต่ละแห่ง แต่ละเมือง มีรสนิยมแตกต่างกันไป เธอจะเปิดแต่เพลงที่เธอชอบตั้งแต่ต้นจนจบไม่ได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่เธอออกทัวร์ เธอก็เลยต้องเตรียมเพลงหลากหลายแนวไปด้วย

ในช่วงชั่วโมงแรกๆของการเล่นเพลงในเธคแต่ละแห่ง เธอจะต้องหาทางจับให้ได้ว่า เพลงแนวไหนที่จับใจลูกค้าในเธคแห่งนั้น เพลงแบบไหนที่กระตุ้นพลังลูกค้าในเธคได้ แล้วเธอถึงค่อยๆหาทางตะล่อมคนฟังไปเรื่อยๆจนเข้าสู่ชุดเพลงที่เธอชอบ และนำไปสู่การบิ๊วอารมณ์ถึงขีดสุดในชั่วโมงที่ 3 หรืออะไรทำนองนี้

เธอบอกว่า การได้เล่นชุดเพลงที่เธอชอบ มันเหมือนการได้พูดให้คนอื่นๆฟัง แต่ขั้นแรกนั้น เราต้องหาทางทำให้เขาหันมาฟังเราก่อน

 8.ชอบการพูดถึงประวัติดนตรี house ด้วย เพราะตอนแรกเราจะนึกว่ามันมาจากย่าน chicago , detroit อะไรทำนองนี้ แต่ดีเจในหนังบอกว่า ดนตรีพวกนี้ มันก็มีรากมาจากดนตรีเทคโนของวง Kraftwerk ของเยอรมนีนั่นแหละ

9.ชอบที่ดีเจคนนึงพูดถึงการวนลูปของดนตรี house มากๆ เขาพูดในทำนองที่ว่า เขาสามารถเอาเพลง house ยุคบุกเบิกในทศวรรษ 1980 มาเปิดใหม่ในเธคได้เสมอ แล้วทุกๆ 5 ปี ก็จะมีเด็กหน้าใหม่มาถามเขาด้วยความเข้าใจผิด นึกว่าไอ้เพลง house จากทศวรรษ 1980 มันเป็นเพลงใหม่ที่เพิ่ง release ออกมาในปีนี้

10.  ต้องกราบผู้กำกับหนังเรื่องนี้จริงๆ ที่สามารถดึงแนวคิดทางปรัชญาของดีเจแต่ละคนออกมาได้ ซึ่งมันแตกต่างจากหนังสารคดีเกี่ยวกับ techno dance artists เรื่อง  HANG THE DJ (1998, Marco La Villa, Mauro La Villa, Canada) ที่ผู้กำกับถนัดในการดึง "ความ bitch" ของศิลปินแต่ละคนออกมา เพราะใน HANG THE DJ นั้น เราจำไม่ได้ว่าดีเจแต่ละคนมีปรัชญาทางการทำงานว่าอย่างไร เราจำได้แต่ว่า junior vasquez กับ Danny Tenaglia ด่าทอกันอย่างรุนแรงว่าอย่างไรบ้าง 555

TANGO (1998, Carlos Saura, Spain/Argentina, A+30)

ชอบความหนังซ้อนหนังซ้อนละครเวทีในหนังเรื่องนี้ เหมือน layers มันซ้อนกันไปซ้อนกันมา จนเราแยกไม่ออกว่าเรื่องราวในแต่ละฉากที่ได้ดูนั้น มันเกิดขึ้นในระนาบใดของหนังกันแน่

TIGER THEORY (2016, Radek Bajgar, Czech, A+25)

 หนังแนวผัวเมียละเหี่ยใจ แต่เหมือนหนังเข้าข้างเพศชายมากไปหน่อย

Monday, December 23, 2019

HUG MAYOM MAYAM

HUG MAYOM MAYAM (2019, Jear Pacific, Laos/Thailand, A+30)
ฮักมะย๋อมมะแย๋ม

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--

1.หนังสูตรสำเร็จมาก แต่น้ารักมาก ชอบที่หนังเหมือนเน้นอารมณ์ตลกแค่ 30-40 % แทนที่จะให้น้ำหนักกับอารมณ์ตลกมากกว่านั้น หนังมันก็เลยเข้าทางเรา เพราะเรามักจะจูนไม่ติดกับอารมณ์ตลกในหนังทั่วไป

2.ชอบการให้พี่เสือถอดเสื้อเพื่อยั่วแฟน (รวมถึงยั่วคนดู)

3.ชอบที่พระเอกต้องเลือกระหว่างสาวอ่อนหวาน กับสาวกะโปโล แล้วพระเอกเลือกอย่างหลัง

MAGALLANES (2015, Salvador del Solar, Peru, A+30)

THE PROTECTOR (2019, Pipat Jomgoh, A+25)
บอดี้การ์ดหน้าหัก (พิพัฒน์ จอมเกาะ)

เหมือนหนังพยายามจะผสมหนัง action กับหนังตลกเข้าด้วยกัน แต่มันดูแล้วไม่ค่อยตลก มันค่อนข้างจริงจังกับพล็อตแอคชั่น แต่นักแสดงหลักของหนังเป็นดาวตลก ไม่ใช่นักบู๊ หนังมันก็เลยไม่ลงตัวมากๆ

แต่ดูแล้วก็ enjoy กับหนังมากๆอยู่ดี 555 ชอบการที่หนังของหม่ำหลายๆเรื่องเป็นการหยิบ genre หนัง/ละครทีวีต่างๆมาดัดแปลงใหม่ให้เป็นหนังของตัวเอง

THE DEAD QUEEN (2018, Antonio Ferreira, Portugal, A+25)

 ดูแล้วนึกถึง "แต่ปางก่อน" มากๆ

Sunday, December 22, 2019

CLIMAX

CLIMAX (2018, Gaspar Noe, France, A+30)

ชอบสุดๆ เพราะเหตุผลที่ส่วนตัวมากๆ นั่นด็คือหนังเรื่องนี้มันทำให้นึกถึงช่วงเวลาที่มีความสุขที่สุดในชีวิตในช่วงทศวรรษ 1990 ตอนไปนอนค้างบ้านเพื่อน โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เรากับเพื่อนๆเรียกกันว่า เหตุการณ์ "พิษของส้มตำ" ที่เพื่อนคนนึงทำอาการประหลาดๆออกมา และด่าทอเพื่อนอีกคนอย่างไม่มีสาเหตุใดๆทั้งสิ้นเป็นเวลานานหลายนาที หลังจากแดกส้มตำเข้าไป

คือรู้สึกว่า หลายสิ่งหลายอย่างในหนังเรื่องนี้ มันคล้ายกับพฤติกรรมเสียสติที่เรากับเพื่อนๆเคยทำมาแล้ว โดยไม่ต้องอาศัยการกระตุ้นจากสารเสพติด หรือจากเหล้าแม้แต่หยดเดียวน่ะ โดยเฉพาะการเต้นไม่หยุดเป็นเวลานานหลายชั่วโมง, การด่าทอกันเอง, การด่าทอคนอื่นๆ, การเอาตัวกระแทกข้างฝาโดยไม่มีสาเหตุ, การแหกหีไปมา ฯลฯ คือแค่เพื่อนๆที่มี wavelength เดียวกันได้อยู่ด้วยกัน มันก็พร้อมจะทำอะไรเสียสติอยู่แล้ว โดยไม่ต้องอาศัยการกระตุ้นจากสารใดๆ

การได้ดูหนังเรื่องนี้ มันก็เลยเป็นการ bring back fond memories โดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจ ดูแล้วนึกถึงพฤติกรรมที่เราเคยทำในยุคนั้น แต่อาจจะไม่ได้คล้ายคลึงกับตัวละครในหนังด้วย อย่างเช่น การเดินถอยหลังโดยไม่มีสาเหตุ หรือการตะโกนใส่ทหารหนุ่มๆว่า "ทหาร ทหาร ทหาร ทหาร ฉันอยากอมจู๋" 

SAL (2011, Diego Rougier, Chile, A+25)

ชอบการปรับเอาหนังคาวบอยมาใช้ในยุคปัจจุบัน

 THAI FILMS WHICH I SAW FOR THE FIRST TIME ON TUESDAY, NOVEMBER 12, 2019

1.La Teinture / รามิล / 3.23 นาที E A+30

2. In the Strange Place / ณัฐชัย จิระอานนท์ / 26.15 นาที A+30

3.Introvert Work Adjective / หนึ่งบุรุษ บุตรชัยงาม / 9 นาที A+30

4.Invaders of Privacy / จักรพันธ์ อิสสรานุสรณ์ / 27.42 นาที A+30

5.i กระจอก / ตะวัน ดิสนีเวทย์ / 19.59 นาที A+25

6.Just between You & Me / วัชรพงศ์ รุ่งสว่าง / 12.41 นาที A+25
หนัง lesbian

7.Lie Man เกมส์แค้นต้องชำระ / อานนท์ พงษ์ประเสริฐ (ซันเด อานนท์) / 24.03 นาที A+15

8.L Story / ธนวิช รัตนมาลา / 6.01 นาที A+15

9.Last Chance, The / ฐิติวัฒน์ ใจรังกา / 20.32 นาที A+10

10.Interesting People in NYC / เชาว์ คณาวุฒิกานต์ / 5.10 นาที E DOCUMENTARY, A+5

11.King on the Street / กุลพัทธ์ เอมมาโนชญ์, กันต์ธีร์ ธีรวโรภาส / 18.59 นาที DOCUMENTARY, A+







Saturday, December 21, 2019

DREAM BURG (2019, Sukanda Piankuntot, A+30)


HUMAN ON EARTH (2019, Zart Tancharoen, A+30)
มนุษย์โลก

เป็นหนังไซไฟที่ซึ้งมากๆ

MADAM ASOK (2019, Tara Jaroenkat, A+25)
มาดามอโศก                                              

ชอบความ homoerotic ของหนังเรื่องนี้

DREAM BURG (2019, Sukanda Piankuntot, A+30)

ดูมานานหลายเดือนแล้ว แต่ยังเอาหนังเรื่องนี้ออกจากหัวไม่ได้ เหมือนเป็นหนังสูตรสำเร็จที่พูดในสิ่งที่หนังหลายร้อยเรื่องน่าจะเคยพูดไปแล้ว แต่ปรากฏว่าเราดูแล้วก็อินสุดๆอยู่ดี

หนังเล่าเรื่องของชายหนุ่มพนักงานร้านอาหาร ที่อยู่ดีๆวันนึงเขาก็ตระหนักว่า “ความฝันในชีวิต” ของเขา หายไปแล้ว เขาจำไม่ได้แล้วว่าตัวเองเคยใฝ่ฝันอยากจะเป็นอะไร อยากจะทำอะไร

จริงๆดูแล้วก็นึกถึงหนังอย่าง “ร้านนายวัฒนา” (1997, วิทยา ทองอยู่ยง) ที่พูดถึงผู้ชายที่ทำความฝันหล่นหายไปจากชีวิตเหมือนกัน (ถ้าจำไม่ผิด) เราว่า “ร้านนายวัฒนา” เป็นหนังที่ดีกว่า แต่เราอินกับ DREAM BURG มากกว่าเยอะ อาจจะเพราะว่าตัวละครพระเอกของ DREAM BURG เป็นเพียงลูกจ้างตัวเล็กๆ ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ และอาจจะเป็นเพราะว่าเราได้ดู “ร้านนายวัฒนา” เมื่อ 22 ปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงที่เรายังมีความใฝ่ฝันในชีวิต (อย่างเช่น อยากจะเป็นกะหรี่) เราก็เลยไม่อิน แต่การได้ดู DREAM BURG ในอีก 22 ปีต่อมา ซึ่งเป็นช่วงที่เราไม่เหลือความฝันใดๆในชีวิต เราก็เลยอินสุดๆ

Thursday, December 19, 2019

I PROMISE YOU ANARCHY

MARA'AKAME'S DREAM (2016, Federico Cecchetti, Mexico, A+30)

 NECROMANCER 2 (2019, Piyapan Choopetch, A+30)
จอมขมังเวทย์ 2

ฉากเปิดตัวฉัตรชัยในภาคนี้ ทำให้นึกถึงฉากเปิดตัวนักโทษในคุกใน "เดชคัมภีร์เทวดาภาคสอง" 555

นึกว่าต้องปะทะกับ THE DIVINE FURY (2019, Kim Joo-hwan, South Korea) ที่เป็นการนำหนัง action กับหนัง supernatural horror มาผสมกันเหมือนกัน

THE CAVE นางนอน (2019, Tom Waller, A+30)

ชอบสุดๆ ตอนแรกนึกว่ามันจะเป็นหนังแนวฮีโร่ซาบซึ้งน้ำตาไหลพราก แต่พอดูจริงๆก็พบว่า ช่วงครึ่งแรกมันเป็นหนัง kafkaesque ที่สะท้อนความไม่มีประสิทธิภาพของระบบราชการไทย ส่วนครึ่งหลังเป็นหนังแนว procedural ที่สะท้อนขั้นตอนการทำงานของนักดำน้ำ

ดูแล้วนึกถึง SHIN GODZILLA (2016, Hideaki Anno) ที่สะท้อนขั้นตอนการทำงานในการรับมือกับภัยพิบัติเหมือนกัน

I PROMISE YOU ANARCHY (2015, Julio Hernandez Cordon, Mexico, A+30)

ชอบสุดๆ มีติด top ten ประจำปี นึกว่าต้องปะทะกับ "อนธการ" THE BLUE HOUR (2015, Anucha Boonyawatana) ในแง่ความเป็นหนังเกย์โรแมนติกท่ามกลางอาชญากรรมดำมืดเหมือนกัน

THAILAND ANIMATOR FESTIVAL 5

THAI ANIMATION FILMS WHICH I SAW ON SEPTEMBER 1, 2019 IN THAILAND ANIMATOR FESTIVAL 5

1. 3 Wishers
โดย สรธร หวังนิตย์สุข คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร (A+30)

หนังโหดร้ายสุดๆ FEEL BAD มากๆ เรื่องของเด็กผู้ชายที่ถูกกลุ่มคนชั่วกลั่นแกล้งรังแก

2. Icarian Sea
โดย สายฟ้า พงศานรากุล/ปริยาภัทร ทัสดร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (A+30)

หนังดู surreal ดี นึกว่าต้องปะทะกับ CHILDREN OF THE SEA (2019, Ayumu Watanabe)

3. Liberty in a rut
โดย ณัฐฑริกา เซี่ยงฉิน/กัญพิชา เจริญจิรนาถ/กัลยรัตน์ คำสุวรรณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (A+30)

4.หลง...รัก
โดย ชนาพร แซ่ก้วงและทีม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (A+30)

5. รามเกียรติ์ ตอนนารายณ์ปราบนนทก
โดย ผศ.ดร.ชินวัฒน์ ประยูรรัตน์และทีม สาขาวิชาออกแบบสื่่อสาร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี (A+25)

ชอบมากๆที่หนังเรื่องนี้เหมือนจะแสดงให้เห็นว่า “เทวดา” เลวๆก็มี และบางทีเทวดาเลวๆเหล่านี้็ก็อาจจะสมควรถูกฝ่ายยักษ์/อสูรฆ่าตาย อย่างไรก็ดี กรอบเรื่องเล่าของรามเกียรติ์ก็ไม่เปิดโอกาสให้ฝ่ายยักษ์เป็นฝ่ายชนะในท้ายที่สุดได้อยู่ดี

6. Affair
โดย เกวลิน จิตรบรรจง/ยศธร ชมะโชติ/ภัทรียา จันทระ คณะดิจิทัลอาร์ต มหาวิทยาลัยรังสิต (A+25)

7. Still Misses
โดย ธนัชชา จิตต์ธรรมวาณิช คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร (A+25)

8. Next Station
โดย ชนิกานต์ ปุตรโยจันโท คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร (second viewing, A+25)

9. Memory Slot 1
โดย ณภัทร มหาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (SECOND VIEWING, A+25)

10. Alive
โดย ณัฐพล สิทธิตนเอง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร (A+25)

11. The Sticker
โดย ทีมจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (A+20)

12. The Gox
โดย กลุ่มวิหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (A+15)

13. Jack the Bean Killer
โดย กานต์สิรี เกตกะโกมล คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (A+15)

14. ศิลปะและอาหาร
โดย ศกลวรรณ พันธุ์สว่าง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร (A+15)

15. Created by Nature
โดย สุปรียา ฉัตรร่มเย็น คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (A+15)

16. out of reach
โดยจินต์จุฑา พงษ์พินิจนันท์/พสักร เบญจาพิสุทธิ์ มหาลัยศรีปทุม (A+10)

17. To the Light
โดย เจน ฮ่อสกุล Original Force Thailand (A+5)

18. Area 51 ¾
โดย ทีมจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (A+)

19. กาลครั้ง
โดย เตชินทร์ ทองพูนกิจ/สหรัฐ ผมน้อย/ณัฏฐวรรธ ภาสน์พิทักษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (A+)

20. O.T.
โดย ทีมเต่ากลิ้ง เทคโนโลยีสารสนเทศ สาขามัลติมีเดีย สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น (A+)

SUPER CRAZY

SUPER CRAZY (2018, Martino Zaidelis, Argentina, A+30)

 นึกว่า JOKER เวอร์ชั่นผู้หญิง ดูแล้วอินสุดๆ นางเอกเป็นคนที่ยอมทนให้คนอื่นๆเอารัดเอาเปรียบในช่วงครึ่งเรื่องแรก ทั้งสามี, ลูกเลี้ยง, เพื่อนบ้าน, เพื่อนสาว, แฟนเพื่อน, เพื่อนร่วมงาน, คนขับรถตามท้องถนน, เด็กรุ่นใหม่, ช่างที่มาซ่อมบ้าน

แต่ในที่สุด เธอก็ทะลักจุดแตก และทนให้คนอื่นๆเอาเปรียบเธอไม่ได้อีกต่อไป เพื่อนบ้านที่เปิดเพลงเสียงดัง ก็เลยโดนเธอจัดการด้วยการเอาน้ำมันราดรถ แล้วจุดไฟเผารถ และอีหน้าหีหน้าหมาทุกตัว ที่เคยเอาเปรียบเธอ ก็โดนเธอจัดการตามล้างตามผลาญทุกตัวอย่างสาสม

ดูแล้วสะใจสุดๆ นึกถึงคดีในไทยที่คุณป้าเอาขวานไปจามรถที่จอดขวางหน้าบ้าน หนังเรื่องนี้มันเข้าใจจิตใจของคนเราที่มัน "ทนไม่ไหวอีกต่อไป" จริงๆ

รักหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ

A PICTURE OF DESTRUCTION (2019, Kanat Nimvijit, A+30)

เรื่องราว 2 เรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกัน แต่นำมาประกอบเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดเป็นหนัง romantic ที่พิศวงมากๆ ชอบสุดๆ

Wednesday, December 18, 2019

HOST E VISITATORE

JADE DYNASTY (2019, Ching Siu-tung, China, A+15)

หนังพอใช้ได้ แต่มันขาด "ความขลัง" แบบ REIGN OF ASSASSINS (2010, Su Chao-bin) และ SWORD MASTER (2016, Yee Tung-shing) น่ะ

 SUPER DESIGN: ITALIAN RADICAL DESIGN 1965-1975 (2017, Francesca Molteni, Italy, documentary, A+20)

THAI FILMS WHICH I SAW FOR THE FIRST TIME ON SUNDAY, NOVEMBER 10, 2019

1.Host e Visitatore / ภาณุวัตร สุขอยู่ / 6.45 นาที A+30
หนัง cult ที่ตลกสุดๆ

2.Golden Hour เวลา รัก / ชนาธิป ศังขะธร / 24.47 นาที A+30
หนังเกย์ปั๊มน้ำมัน ติดอันดับ GUILTY PLEASURE OF THE YEAR

3.Girl Don't Try / ภัทราวดี ศรีชัย / 67.01 นาที E A+30
ชอบไอเดียของเรื่องมากๆ ที่เป็นการเล่าว่า girl group เมื่อ 20 ปีก่อน ปัจจุบันมีชีวิตเป็นอย่างไร

4.Heavy Broken Heart Metal / วีระ รักบ้านเกิด / 15.58 นาที A+30
ชอบสุดๆ เพราะเราว่าหนังของวีระเรื่องอื่นๆเหมือนถูกออกแบบแต่ละฉากมาเพียงเพื่อ "สร้างอารมณ์ขันเป็นหลัก" แต่หนังเรื่องนี้ไม่ได้บีบบังคับให้ผู้ชมหัวเราะขำขันกับแต่ละฉากในหนัง แต่นำเสนอตัวละครในฐานะมนุษย์ที่ "เจ็บจริง" เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ก็เลยเปิดโอกาสให้เรามองตัวละครในฐานะ "มนุษย์" มากกว่า "นักสร้างเสียงหัวเราะ"

5.Godzilla: Passion and Monsters / ศิษฎิเศรษฐ์ เทียนทองดี / 58.22 นาที documentary, A+30
ชอบเรื่องของกะเทยช่างทำสีหุ่นก๊อดซิลล่ามากๆ

6.Homo - Phone ออกเสียงเหมือนกันความหมายต่างกัน / กฤตพร ศิวโมกษ์ / 11.30 นาที A+30
ชอบสุดๆ เรื่องของหนุ่มลาวที่ได้มรดกเป็นร้านขายของในไทย แต่เจอปัญหายุ่งยากในเรื่องสัญชาติ

แอบจินตนาการว่า การที่ป้าคนไทยยกมรดกให้หนุ่มลาว เป็นเพราะเธอ want หนุ่มลาว 55555

7.Hotel Papillon / ธนพงษ์ ทัศนานุกุลกิจ / 42.18 นาที A+25
หนังสูตรสำเร็จแนวพ่อแง่แม่งอน หนังดูเมนสตรีมมากๆ เรื่องของหญิงสาวที่ทำงานเป็นพนักงานโรงแรมในกะกลางวัน และต้องแชร์สมุดบัญชีร่วมกับหนุ่มหล่อที่ทำงานโรงแรมในกะกลางคืน ทั้งสองเกลียดกันในตอนแรกตามสไตล์ของหนังแนวนี้ แต่พอเกิดวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 1997 ทั้งสองก็เลยต้องร่วมมือกัน

ดูแล้วอินน่ะ อาจจะเป็นเพราะว่าพระเอกหล่อ 555

8.Hard Candy / ภาคภูมิ สุวรรณรัตน์ / 46 นาที A+25
หนังดูลึกลับดีในตอนแรก เกี่ยวกับหญิงสาวและชายหนุ่มกลุ่มนึงที่เหมือนใช้ชีวิตในโลกสีลูกกวาด ดูแล้วนึกว่าต้องปะทะกับ SHUTTER ISLAND (2010, Martin Scorsese)

9.Haloperidol วันละครั้งสามเม็ด / ชนม์ชนก ธนัสทีปต์วงษ์ / 14.24 นาที A+20

10.Harvest the Sorrow Part 3 / บารมีรัฐ จันทราศรีวงศ์ / 7.32 นาที A+15
หนังประหลาดมากๆ เดาว่าหนังน่าจะเกี่ยวกับคนหรือผู้วิเศษที่ทำหน้าที่เก็บเกี่ยวอารมณ์เศร้าของคนอื่นๆ แต่ดูแล้วงงมากๆว่าเกิดอะไรขึ้น ฉากที่ติดตาคือฉากสาวเสิร์ฟบ่นๆอะไรสักอย่าง

11.Guardian of the River ผู้พิทักษ์แห่งสายน้ำ / ชัยวัฒน์ วิรัชกุล / 7.07 นาที E DOCUMENTARY, A+15

12.Given Circumstances / นันทวัฒน์ มิมหาร / 16.50 นาที E A+10
ดูแล้วนึกถึงหนังเรื่อง บุษบา THE SPIRIT OF RAMAYANA (2019, Chaiwat Seetalasai, A+)

13.Going Home / วศินภูเบศวร์ เจาะใจดีย์ / 7.46 นาที E A+
เรื่องของหญิงสาวที่กลับมาเมืองไทย เธอรักบ้านเกิดมากๆ ถึงแม้ว่าครอบครัวของเธอมีบรรพบุรุษเป็นมิชชันนารี ดูแล้วฮามากๆ

14.History of Japanese Film / อรรจน์ทสร ใจหลัก / 10 นาที DOCUMENTARY, A-

LIFE (2019, Pitcha Rattanapanna, A+30)

หนังทดลองที่นำเสนอ 3 สถานการณ์ อันแรกเป็นหญิงสาวที่เหมือนอยากกอดไข่ยักษ์ แต่เธอถูกยิงตาย อันที่สองเป็นหญิงสาวที่อยู่ในป่า แต่เหมือนเธออยากไปทะเลมากกว่า ส่วนอันที่สามเป็นหญิงสาวที่งกๆเงิ่นๆ อยู่ในแอ่งน้ำ

ดูหนังเรื่องนี้แล้วไม่เข้าใจอะไรทั้งสิ้น แต่ชอบสุดๆ ติดอันดับประจำปีแน่นอน รู้สึกจูนติดกับความทุกข์ของตัวละครในหนังเรื่องนี้

ดูแล้วแอบนึกถึงความเชื่อที่ว่า ในชีวิตมนุษย์หลายๆคนนั้น

--วัยเด็ก เป็นวัยที่มีกำลังวังชา และมีเวลาว่างในการเสพสุข แต่ไม่มี "เงิน" สำหรับใช้เสพสุข

--วัยหนุ่มสาว เป็นวัยที่มีกำลังวังชา และมีเงิน แต่ไม่มีเวลาว่าง เพราะต้องทำงานหาเงิน

--วัยชรา เป็นวัยที่มีเงินเก็บ และมีเวลาว่าง แต่สังขารก็ไม่เอื้ออำนวยให้เสพสุขได้แล้ว

ชีวิตมนุษย์หลายคน ก็เลยเหมือนถูกสาป ให้มีแต่ความทุกข์ทุกช่วงวัย

หนังเรื่องนี้ คงไม่ได้พูดถึงความเชื่อข้างต้น แต่เราก็ชอบอยู่ดีที่หนังเรื่องนี้มันทำให้เรานึกถึงประเด็นนี้โดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจ

แต่เราใช้คำว่า มนุษย์ "ส่วนใหญ่" นะ ที่เป็นแบบนี้ เพราะดูเหมือนเพื่อนเราบางคนไม่โดนคำสาปนี้ 555 เราอิจฉาเพื่อนบางคนมากๆ ที่ทำงานเก็บเงินจนเกษียณอายุได้ตั้งแต่อายุ 35-45 ปี เพราะฉะนั้นเพื่อนบางคน ก็เลยมีทั้ง กำลังวังชา, เงิน และเวลาว่าง ในการหาความสุข น่าอิจฉาที่สุดเลย

Tuesday, December 17, 2019

MARDAANI 2

MARDAANI 2 (2019, Gopi Puthran, India, A+30)

เรื่องของฆาตกรโรคจิตที่ฆ่าข่มขืนผู้หญิงในอินเดีย น่ากลัวมากๆ เดือดมากๆ ฆาตกรในเรื่องนี้ชอบปลอมตัวเป็นผู้หญิงด้วย เพื่อจะได้เดินทางไปไหนมาไหนได้โดยไม่ให้คนสงสัย

ฉากฆาตกรรมบางฉากเกิดขึ้นกลางวันแสกๆในสถานที่ที่เรานึกว่าน่าจะปลอดภัย ดูแล้วน่าหวาดกลัวขนหัวลุกมากๆ

นึกว่าต้องปะทะกับ FRENZY (1972, Alfred Hitchcock)



SELF-CRITICISM OF A BOURGEOIS DOG (2017, Julian Radlmaier, Germany/Italy, A+30)

ชอบมากๆที่ตัวละครตัวนึงในหนังเรื่องนี้ เหมือนจะได้รับแรงบันดาลใจมาจาก THE FLOWERS OF ST. FRANCIS (1950, Roberto Rossellini, Italy)

 STARLESS DREAMS (2016, Mehrdad Oskouei, Iran, documentary, A+30)

หนังสารคดีเกี่ยวกับนักโทษสาววัยรุ่นที่เราเดาว่าน่าจะมีอายุราว 15-18 ปี รู้สึกว่านักโทษในหนังเรื่องนี้แบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ โดยกลุ่มแรก ซึ่งน่าจะเป็นส่วนน้อย คือกลุ่มที่อยากพ้นโทษเร็วๆ เพื่อจะได้ออกไปอยู่กับลูก ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากๆที่สาวๆอาชญากรวัยรุ่นเหล่านี้แต่งงานและมีลูกแล้ว ซึ่งก็คงเป็นเพราะธรรมเนียมประเพณีของอิหร่านที่อนุญาตให้ผู้หญิงแต่งงานตั้งแต่อายุยังน้อย ดูแล้วนึกถึง I, TARENEH, AM FIFTEEN (2002, Rasul Sadrameli) ที่เล่าถึงหญิงสาวอิหร่านที่แต่งงานและมีลูกตั้งแต่อายุ 15 ปี

นักโทษสาวกลุ่มที่สอง ซึ่งน่าจะเป็นนักโทษส่วนใหญ่ ไม่ต้องการออกจากคุก/สถานดัดสันดานแห่งนี้ เพราะถ้าพวกเธอออกจากคุก พวกเธอก็ต้องกลับไปอยู่กับครอบครัวของตัวเอง แต่อาชญากรสาวเหล่านี้ต่างก็เคยมีปัญหาครอบครัวอย่างรุนแรงมาแล้วด้วยกันทั้งนั้น โดยเฉพาะการถูกล่วงละเมิดจากสมาชิกชายในครอบครัว พวกเธอหลายคนก็เลยหนีออกจากบ้าน และมาอาศัยอยู่ข้างถนน และก็เลยต้องยังชีพด้วยการประกอบอาชญากรรม ก่อนจะถูกจับเข้ามาอยู่ในสถานดัดสันดานแห่งนี้ในเวลาต่อมา

สถานดัดสันดานแห่งนี้ก็เลยเป็นสถานที่ที่พวกเธอต้องการจะอาศัยอยู่ต่อไป เพราะสถานดัดสันดานแห่งนี้น่าจะให้ปัจจัย 4 แก่พวกเธอ-- ยา,อาหาร,ที่พักพิง,เครื่องนุ่งห่ม --โดยที่พวกเธอไม่ต้องประกอบอาชญากรรมเพื่อจะได้หาเงินมายังชีพ และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือว่า การที่พวกเธอได้อาศัยอยู่ในสถานดัดสันดานแห่งนี้ ช่วยให้พวกเธอปลอดภัยจากสมาชิกครอบครัวที่มีนิสัยชั่วร้าย และพวกเธอก็ได้พบเพื่อนใหม่หลายคนที่เป็นนักโทษในสถานดัดสันดานแห่งเดียวกัน และเป็นเพื่อนที่เข้าอกเข้าใจหัวอกของอีกฝ่ายเป็นอย่างดี เพราะนักโทษหลายคนในสถานที่นี้ต่างก็เข้าอกเข้าใจดีว่า "การเกิดมาในครอบครัวที่เลวร้าย" นั้น มันเจ็บปวดทุกข์ทรมานมากเพียงใด

เราซึ้งกับหนังมากๆในจุดนี้ เพราะเราเข้าใจดีว่า การได้พบเพื่อน "ที่เข้าใจวัยเด็กที่เลวร้าย" ของเรานั้น มันเป็นสิ่งที่หายากมากๆ เราก็เลยเข้าใจดีว่า นักโทษสาวเหล่านี้จะรู้สึกดีมากเพียงใด ที่ได้พบและอาศัยอยู่กับ "คนที่มีหัวอกเดียวกัน คนที่มีบาดแผลเลวร้ายจากชีวิตครอบครัว จากพ่อแม่ญาติพี่น้อง เหมือนๆกัน" และนั่นก็เลยส่งผลให้นักโทษหลายคนในหนังเรื่องนี้ ไม่ต้องการจะพ้นโทษ ไม่ต้องการจะกลับไปอยู่กับสมาชิกครอบครัวที่เหี้ยห่าจัญไร หรือสมาชิกครอบครัวที่เคย abuse พวกเธอ

KAMI-OSHI (2019, Jittarin Wuthipan, A+25)

Sunday, December 15, 2019

SHINPAN

TRIAL (1975, Shuji Terayama, Japan, 34min, A+30)

หนังพิสดารสุดๆ มีแต่ฉากเฮี้ยนๆ ช่วง 10 นาทีสุดท้ายหนังกลายเป็นจอสีขาวโล่งๆ ที่มีรอยสีๆปรากฏขึ้นมาบนจอเป็นระยะๆ และมีการเปิดโอกาสให้ผู้ชมขึ้นไปตอกตะปูบนจอภาพยนตร์ได้ด้วย

เข้เอาค้อนมายื่นให้เราร่วมตอกตะปูบนจอด้วย แต่เราตัดสินใจไม่ขึ้นไปตอก เพราะเราเป็นสาวซุ่มซ่าม เรากลัวตอกค้อนใส่นิ้วตัวเอง 555

คิดว่าจริงๆแล้วหนังคงต้องการเชิดชูจิตวิญญาณการปฏิวัติ ตะปูแต่ละตัวเหมือนการลุกขึ้นยืนสู้ของประชาชนแต่ละคน

THE FLAT (1968, Jan Svankmajer, Czechoslovakia, A+30)

 --ดูแล้วนึกถึงหนังของ Luis Bunuel เพราะทุกอย่างในหนังมันสวนทางกับหลักเหตุผลไปหมด ดูแล้วนึกถึงประเทศไทยด้วย 555

--แต่ชอบ JABBERWOCKY (1971, Jan Svankmajer) มากกว่าหนังเรื่องนี้นะ เพราะ JABBERWOCKY มันพิสดารกว่า คือ THE FLAT มันเหมือนกับหนังที่บอกว่า "1+1 = ติดลบสอง" แต่ JABBERWOCKY มันเหมือนกับหนังที่บอกว่า "1+1 = 😂🙂🔔🏚■♡▪ฮิหี"

Saturday, December 14, 2019

WALL DUST

HELP (2019, ศิรดา ไตรตรึงษ์ทัศนา, 46min, A+25)

ในบรรดาหนังไทยเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าที่ผลิตกันออกมาราว 100 เรื่องในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา หนังเรื่อง HELP อาจจะถือเป็นหนึ่งในหนังที่โดดเด่นที่สุด เพราะมันทำออกมาในแนวแฟนตาซี

ตอนแรกเราก็ชอบพลังของนางเอกนะ ที่เหมือนเห็นลางบอกเหตุล่วงหน้า แต่พอมันมีเรื่องของเหรียญวิเศษที่ย้อนเวลาได้เข้ามาด้วย แล้วมันไม่บอกที่มาที่ไปของเหรียญ เราก็เลยรู้สึกว่าหนังมันขาดความน่าเชื่อถือไปหน่อย เราก็เลยไม่ได้ชอบหนังแบบสุดๆ

BALA (2019, Amar Kaushik, India, A+30)

ชอบประเด็นของหนัง ที่พูดถึงปมด้อยของผู้ชายหัวล้าน กับความนิยม "สาวผิวขาว" ในอินเดีย

ชอบตัวละครนางเอกมากๆ เธอเป็นสาวผิวดำที่ไม่แคร์สังคม เธอไม่ต้องการจะโกหกคนอื่นด้วยการใช้ app แต่งรูปให้ตัวเองผิวขาว เธอแกร่งมากๆ

SILENT TRANSFORMATION (2017, Helene Le Chatelier, video installation, A+25)

วิดีโอบันทึกภาพศิลปินเถลือกไถลตัวไปตามพื้น + การละลายของหยดสีในน้ำ

WALL DUST (2013-2016, Wang Haiyang, video installation, A+30)

Video ยาว 7 นาทีที่ชั้น 7 BACC พิศวงมากๆ



Thursday, December 12, 2019

LITTLE MONSTERS

LITTLE MONSTERS (2019, Abe Forsythe, UK/Australia/USA, A+30)

1.ชอบฉากที่พระเอกผิวขาวเห็นนางเอกผิวดำครั้งแรก แล้วตกตะลึง ตกหลุมรักในทันที ดูแล้วนึกถึงฉากใน JACKIE BROWN (1997, Quentin Tarantino) ตอนที่พระเอกเจอนางเอกครั้งแรก

2.ดูแล้วไม่แน่ใจว่า หนัง เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วย กับการ "หลอกเด็กๆว่าโลกเรานี้สดใส" บางทีหนังอาจจะไม่ได้ต้องการแสดงความเห็นในเรื่องนี้ แต่อาจจะแค่เอาเรื่องนี้มาเล่นตลก

3.อาจจะถือเป็นหนังซอมบี้ที่น่ารักสดใสที่สุดเท่าที่เคยดูมา

4.ตอนแรกนึกว่ามันจะเป็นหนังเกี่ยวกับ "ซอมบี้เด็ก" เหมือน COOTIES (2014, Jonathan Milott, Cary Murnion) แต่ดีที่มันออกมาไม่ซ้ำกัน

5. เราได้ดูหนังเรื่องนี้ไล่เลี่ยกับ HONEY BOY และ DOCTOR SLEEP และพบว่า หนังทั้ง 3 เรื่องนี้นำเสนอตัวละคร "ผู้ชายไม่เอาถ่าน" เหมือนกันเลย ซึ่งได้แก่ตัวละครพระเอกใน DOCTOR SLEEP  และ LITTLE MONSTERS กับตัวละครทั้งพ่อและลูกชายใน HONEY BOY คือตัวละครชายเหล่านี้ต่างก็มีปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรมอย่างรุนแรงในช่วงต้นเรื่อง อย่างเช่น ติดเหล้า, ชอบใช้ความรุนแรง, หาเงินไม่พอยังชีพ, ขาดความรับผิดชอบ

และพัฒนาการของตัวละครใน DOCTOR SLEEP กับ LITTLE MONSTERS ก็คล้ายคลึงกัน เพราะพระเอกที่เริ่มต้นด้วยความไม่เป็นโล้เป็นพายในหนังทั้งสองเรื่องนี้ ได้ transform มาเป็น ชายหนุ่มที่ kind and loving และเป็นที่พึ่งของผู้หญิงหรือเด็กๆได้ในช่วงกลางเรื่อง (DOCTOR SLEEP) หรือในตอนจบ ( LITTLE MONSTERS)

แต่ใน HONEY BOY ซึ่งน่าจะสร้างจากเรื่องจริงนั้น การ transform มาเป็น kind and loving man  มันยากมากๆ และมันดูเหมือนจะยากเกินความสามารถของตัวละครพ่อด้วย

Wednesday, December 11, 2019

HAPPY BIRTHDAY FATHER

KILL CHAIN (2019, Ken Sanzel, A+25)

-- ชอบการผูกเรื่องมากๆ ช่วงแรกๆจะนึกถึง L'ARGENT (1983, Robert Bresson) ที่เป็นห่วงโซ่อาชญากรรมต่อกันไปเรื่อยๆ

--นึกว่าต้องปะทะกับ THE LONGEST NITE (1998, Tai-chi Yau, Hong Kong) ซึ่งเป็นหนังดราม่าอาชญากรรมแนวห่วงโซ่เหตุการณ์ในคืนเดียวเหมือนกัน แต่เราชอบ THE LONGEST NITE มากกว่า KILL CHAIN

HAPPY BIRTHDAY FATHER (2019, Thanawut Kasro, A+30)

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--

1.เห็นหนังบอกว่า สร้างจากเรื่องจริง ซึ่งก็น่าสนใจดี เราไม่รู้รายละเอียดเหมือนกันว่า เรื่องจริงเป็นยังไง แตกต่างจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหนังมากน้อยแค่ไหน

2.สิ่งที่ชอบมากในหนังก็คือ การใช้บริบทเป็น "การเมืองท้องถิ่น" ของไทยน่ะ ซึ่งเราว่ามันแปลกตาดี แทบไม่เคยเห็นในหนังไทยยุคปัจจุบัน

3. เราว่าตัวละครในเรื่องนี้มันทำให้นึกถึงบทละครเชคสเปียร์ 2 เรื่อง และตำนานกรีกด้วย ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นความตั้งใจของผู้สร้างหนัง หรือเป็นเรื่องบังเอิญ แต่เราชอบสุดๆที่หนังเรื่องนี้เหมือนเป็นการยำบทละครเชคสเปียร์กับตำนานกรีกมาไว้รวมกันในบริบทการเมืองท้องถิ่นของไทย

3.1 ตัวละครฆาตกรในเรื่องนี้ ทำให้นึกถึง Hamlet มากๆ

3.2 ตัวละครตัวนึงในเรื่องนี้ ทำให้นึกถึง Iago ใน OTHELLO ของเชคสเปียร์มากๆ

3.3 ตัวละครพี่สาวของฆาตกร ก็ทำให้นึกถึง Electra ในตำนานกรีก

เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ ถึงแม้ผู้สร้างอาจจะไม่ได้ตั้งใจ refer ถึงเชคสเปียร์กับตำนานกรีกก็ตาม คือแค่ผสม Hamlet (ลูกชายที่เกลียดพ่อเลี้ยง คิดว่าพ่อเลี้ยงฆ่าพ่อตัวเอง) กับ Electra (ลูกสาวที่เกลียดแม่และพ่อเลี้ยง) เข้าด้วยกัน เราก็ทึ่งสุดๆแล้ว นี่ยังมีตัวละครแบบใน OTHELLO และการเมืองท้องถิ่นไทยเข้ามาผสมด้วยอีก เราก็เลยชอบมากๆ

4.แต่เราไม่ชอบโทนอารมณ์ของหนังอย่างมากๆ เพราะมันเป็น melodrama ที่เน้นการเร้าอารมณ์ สาดอารมณ์รุนแรงเข้าใส่กันตลอดเวลา เราอยากให้มันออกมาเป็นหนัง drama, film noir หรือ psychological film อะไรแบบนี้มากกว่า แทนที่จะให้ตัวละครแผดเสียงใส่กันตลอดเวลาแบบนี้

Monday, December 09, 2019

UNTIL WE MEET AGAIN

HONEY BOY (2019, Alma Har'el, A+30)

--ชอบการแสดงของ Noah Jupe ในบทพระเอกวัยเด็กมากๆ เขาถ่ายทอดความทุกข์ระทม หม่นเศร้า เจ็บปวดรวดร้าวออกมาได้ดีมาก

--ดูแล้วนึกถึง CHILDSTAR (2004, Don McKellar, Canada) กับ MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg) ที่พูดถึงชีวิตดาราเด็กเหมือนกัน

 UNTIL WE MEET AGAIN (2019, Thanit Yantrakovit, 47min, A+30)
แล้วเจอกันชาติหน้าตอนบ่ายๆ

1.อาจจะเรียกได้ว่า มันเป็นหนังที่ “เข้าใกล้ชีวิตจริง” ของเรามากที่สุดเรื่องนึงในบรรดาหนังไทยที่เคยดูมาก็ได้ เราก็เลยชอบมันมากๆ แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคนดูทั่วไปจะชอบมันมากเท่าเราหรือเปล่า แต่ยอมรับเลยว่า หนังเรื่องนี้เข้าใกล้ชีวิตเรามากกว่าหนังเรื่องอื่นๆ

คือหนังเรื่องอื่นๆชอบพูดถึงความผูกพันระหว่างสมาชิกครอบครัวน่ะ แต่เรื่องนี้พระเอกรู้สึกแปลกแยกจากครอบครัว และต้องการย้ายออกไปอยู่ข้างนอก ในขณะที่สมาชิกครอบครัวของเขาก็ดูเหมือนเป็นคนปกติธรรมดาทุกคน ไม่ได้มีใครเป็นคนเลว หรือเป็นตัวอิจฉา เพราะฉะนั้นไอ้ความรู้สึกแปลกแยกนี้มันก็เลยเข้าทางเรามากๆ มันไม่ใช่สิ่งที่อธิบายได้ง่ายๆว่า เราเกลียดใคร ใครทำเลวกับเรา เราก็เลยออกมาอยู่ข้างนอก แต่มันเกิดจากความรู้สึกที่อธิบายได้ยากกว่านั้น

คือในชีวิตจริงของเรานั้น เราก็รีบย้ายออกมาอยู่อพาร์ทเมนท์ในทันที หลังจากหางานทำได้ตอนอายุ 22 ปี เพราะเรารู้สึกอึดอัดเวลาอาศัยอยู่กับสมาชิกครอบครัวเหมือนกัน คือถ้าให้อยู่กับสมาชิกครอบครัวก็อยู่ได้นะ แต่มันไม่ “สบายใจ” เท่าอยู่ตัวคนเดียว เราก็เลยย้ายออกจากบ้านมาอยู่อพาร์ทเมนท์ในทันทีที่หางานทำได้

2.พระเอกนี่สุดยอดมากๆ ทั้งหล่อ ทั้งแสดงเก่งมากๆๆๆๆๆ และหนังเรื่องนี้ก็ดูเหมือนดึงทั้งความหล่อและความแสดงเก่งของเขาออกมาอย่างเต็มที่ ฉากที่ชอบที่สุดก็คือฉากที่กล้องจับภาพเขาในงานศพน่ะ คือฉากนั้นจะดูเพื่อดื่มด่ำกับความหล่อของเขาก็ดูได้ หรือจะดูเพื่อดื่มด่ำกับการแสดงที่สุดยอดมากๆก็ดูได้ 55555 ชอบมากๆที่หนังเปิดโอกาสให้เขาแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาอย่างเต็มที่

3.ชอบฉากขับรถมากๆๆ เพราะในฉากนั้น พ่อพูดจาไม่เข้าหูลูกชายหลายครั้งมากๆ และเราก็เข้าใจทั้งพ่อทั้งลูกชายในฉากนั้น คือพ่อก็เป็นคนธรรมดาน่ะแหละ รักลูกชาย แต่ไม่รู้ว่าตัวเองควรพูดยังไง ส่วนลูกชายก็คงรำคาญพ่อมากๆ

คืออะไรแบบนี้มันจริงมากๆเลยนะ เราชอบมากที่ฉากนี้ตัวละครไม่ได้โต้เถียงกันอย่างรุนแรงน่ะ แต่เราสามารถสัมผัสได้ถึงความรู้สึกขุ่นมัวอย่างรุนแรงในใจพระเอก หรือความรำคาญของพระเอกที่อยากไปให้พ้นจากบ้านหลังนี้ จะได้ไม่ต้องเจอพ่อมาพูดจ้ำจี้จ้ำไชอะไรอีก คือฉากนี้มัน “สมจริง” มากๆ และมันสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ได้ดีสุดๆเลยด้วย

4.อีกฉากที่สมจริงสุดๆจนแทบกราบจอ คือฉากพนักงานออฟฟิศคุยกันขณะแดกข้าวเย็น ฉากนั้นทุกคนเล่นได้สมจริง เป็นธรรมชาติสุดๆ การพูดคุยกันในฉากนั้นไหลลื่นมากๆ ไม่รู้ฉากนี้เขียนบทยังไง หรือกำกับยังไง ทำไมมันถึงสมจริงสุดๆขนาดนี้

5.ฉากที่เราอินน้อยสุด คือฉากพระเอกอยู่กับแฟนเก่า แต่ไม่ใช่ฉากนี้ไม่ดีนะ ฉากนี้ดีมากๆ มันสะท้อนด้าน “ความสุข” ของพระเอกให้เราเห็น เพียงแต่เราไม่เคยมีประสบการณ์อะไรแบบนี้ เราก็เลยอินกับฉากนี้น้อยสุด แต่ถือเป็นฉากที่ดีมากๆฉากนึงเลย มันช่วยให้ตัวละครพระเอกดูกลมขึ้นมาก

6.ฉากพระเอกเดินออกจากบ้านในช่วงท้าย คิดมุมถ่ายได้ดีมากๆ ที่เหมือนมองจากข้างในออกไป เห็นพระเอกเดินออกจากบ้าน แล้วมันมีประตูกั้นๆสักสองสามชั้นมั้ง เพราะฉะนั้นภาพที่เราเห็นมันจะไม่ชัด มันจะเลือนๆราวกับเป็นภาพสีน้ำหรือภาพ impressionist

7.การตัดสลับระหว่างช่วงเวลาต่างๆก็ดีมาก ทำให้หนังไม่น่าเบื่อดี

8.แต่ยอมรับว่าช่วงครึ่งหลังเราจะรู้สึกเนือยๆกว่าช่วงครึ่งแรกนะ แต่ก็คงไม่ใช่ข้อเสียอะไร

9.เดาว่าหนังน่าจะสร้างจากประสบการณ์จริงของมิค โดยเราเริ่มเดาแบบนี้ตั้งแต่ฉากที่พ่อบอกว่า อยากให้พระเอกตัดผม คือพอพ่อพูดแบบนี้ปุ๊บ เราก็นึกถึงทรงผมของมิคขึ้นมาในทันที

10.สรุปว่าเป็นหนังที่เราชอบสุดๆ อินสุดๆจ้า

-----------

 พูดถึงเรื่อง "ความเป็นส่วนตัว" แล้ว ทำให้นึกถึงภาพยนตร์หลายๆเรื่องที่ได้ดูในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนที่ศาลายาในปีนี้ เพราะมีภาพยนตร์หลายๆเรื่องที่ดูเหมือนจะทำขึ้นด้วยทีมงานเพียงคนเดียวหรือ2-3 คนเท่านั้น โดยหนังกลุ่มนี้จะนำแสดงโดยตัวผู้กำกับเอง และผู้กำกับจะรับหน้าที่ทำงานตัดต่อ, ถ่ายภาพ, เขียนบทในหนังด้วย ซึ่งหนังกลุ่มนี้รวมถึงหนังทุกเรื่องของ "วีระ รักบ้านเกิด" , หนังบางเรื่องของวชร กัณหา, หนังเรื่อง "ล้านก้าว" ของ สมชาย วชิระจงกล (76min), "เด็กเหวน" ของปัญญา วงผักเบี้ย และ "ที่นี้ไม่มีใคร" ของกระบี่ แซ่หลิม

Sunday, December 08, 2019

DOCTOR SLEEP

DOCTOR SLEEP (2019, Mike Flanagan,  A+30)

1. มีสิทธิติดอันดับ 3 ประจำปี อินกับหนังอย่างรุนแรงที่สุด รู้สึกว่าตัวละครในหนังเรื่องนี้มันออกมา "ตรงใจ" เรามากๆ ทั้งนางเอก, พระเอก และนางตัวร้ายทั้งสองตัว (Rose the Hat กับสาวสะกดจิต Snakebite Andi) ซึ่งปกติแล้วมันหาได้ยากที่จะเจอหนังที่ทั้งนางเอก-นางตัวร้าย จะตรงใจเราขนาดนี้

2. ชอบสุดๆที่มันมีตัวละครที่มีอิทธิฤทธิ์หลายตัว คือก่อนที่เราจะเข้าไปดูหนังเรื่องนี้ เราไม่รู้เนื้อเรื่องมาก่อนเลย เราเคยดูก็แต่ THE SHINING ( Stanley Kubrick) ทางวิดีโอเมื่อราว 30 ปีก่อน

เราก็เลยนึกว่า หนังเรื่องนี้จะเป็นแบบ IT หรือ SALEM'S LOT ที่เป็นเรื่องของคนธรรมดา ต่อสู้กับปีศาจร้าย

เพราะฉะนั้นพอหนังเริ่มแนะนำตัวละคร  Rose the Hat กับพระเอก เราก็ยังรู้สึกเฉยๆอยู่ แต่พอหนังเริ่มแนะนำตัวละครสาวสะกดจิต กับ Abra ที่ต่างก็มีอิทธิฤทธิ์รุนแรงทั้งคู่ เราก็รู้สึกตื่นเต้นสุดขีด รู้เลยว่าหนังเรื่องนี้น่าจะเข้าทางตัวเองแน่นอน

เพราะโลกจินตนาการในหัวของเรา ก็ต้องการอะไรแบบนี้แหละ เราชอบ fiction ที่มีตัวละครผู้หญิงแรงๆหลายตัว และผู้หญิงทุกตัวมีความสามารถสูงมากในการต่อสู้ แบบใน "เดชคัมภีร์เทวดาภาคสอง",   ละครทีวี SUKEBAN DEKA ภาคสอง, การ์ตูนเรื่อง CRYSTAL DRAGON ของ Ashibe Yuho หรือการ์ตูนเรื่อง BLUE SONNET ของ Shibata Masahiro คือในโลกจินตนาการในหัวของเรานั้น ตัวละครหญิงจะสู้กันแหลกโดยใช้ทั้งวิทยายุทธ, อาวุธ, พลังจิต และเวทมนตร์

 ซึ่งจริงๆแล้ว ละครทีวีอย่าง BUFFY THE VAMPIRE SLAYER และหนังชุด X-MEN ก็เข้าข่ายอะไรแบบที่เราชอบสุดๆเหมือนกัน แต่เราว่า BUFFY กับ X-MEN มันยังขาดบรรยากาศ "ความขลัง" น่ะ เราก็เลยชอบ DOCTOR SLEEP มากกว่า เพราะเราว่า บรรยากาศใน DOCTOR SLEEP มันขลังมาก  และมันซีเรียสจริงจังดีมาก ในขณะที่ BUFFY มันดูทีเล่นทีจรืงมากเกินไป ส่วน X-MEN มันดูเป็นไซไฟพลังจิต มันก็เลยยังขาดบรรยากาศลี้ลับของ "โลกเวทมนตร์"  แบบที่ DOCTOR SLEEP มี

3.ดูแล้วนึกถึงนิยายที่เราชอบสุดๆเรื่อง THE BAD PLACE (1990)  ของ Dean Koontz ด้วย โดยในเรื่องนี้ พระเอกกับนางเอกเป็นนักสืบเอกชน แล้วน้องชายนางเอก เหมือนมีพลังจิตแบบถอดจิตไปสำรวจพื้นที่ต่างๆได้ แต่ปรากฏว่าพอถอดจิตแล้ว ดันไปเจอฆาตกรโรคจิตที่ถอดจิตได้เหมือนกัน ก็เลยเกิดความชิบหายอย่างรุนแรงตามมา และก็มีตัวละครอื่นๆที่มีพลังจิตอีกสามตัวในเรื่องด้วย

การถอดจิตมาปะทะกันใน THE BAD PLACE ก็เลยทำให้นึกถึงพลังของ Abra กับ Rose the Hat  ในหนังเรื่องนี้ที่มีอะไรบางอย่างคล้ายกัน

จริงๆแล้วนึกถึงนิยายเรื่อง สัมภเวสี ของตรี อภิรุม ด้วย ที่นางเอกสามารถ เพ่งกสิณ จนเห็นเหตุการณ์ต่างๆในสถานที่ห่างไกลได้ และนำไปสู่การตบตีกับภูติผีปีศาจมากมาย โดยเฉพาะนางตัวร้ายตัวนึงที่เป็น "เวมานิกเปรต" (ถ้าจำไม่ผิด)  คิดว่าพลังของนางเอกใน "สัมภเวสี" นี่มีอะไรคล้ายคลึงกับ Abra เช่นกัน

4.ชอบวิธีการรับมือของพระเอกวัยเด็กต่อเหล่าภูติผีมากๆเลยด้วย ที่สร้างหีบวิเศษทางจิตขึ้นมาเพื่อใช้ขังเหล่าปีศาจร้าย

 ดูแล้วนึกถึงตัวเอง 555 อย่างที่เราเคยเขียนไปแล้วว่า ตอนที่เราเป็นวัยรุ่น เราเคยคิดฆ่าตัวตายหลายครั้งด้วยกัน แต่วิธีนึงที่เราใช้รับมือกับความทุกข์ใจในตอนนั้น ก็คือการสร้างโลกจินตนาการของตัวเองขึ้นมา และมีความสุขกับโลกจินตนาการของตัวเอง

สิ่งที่พระเอกทำในวัยเด็ก ก็น่าจะคล้ายกับคนที่มี "บาดแผลทางใจในวัยเด็ก" หลายคนเคยทำ นั่นก็คือใช้ "กลไกทางจิต" ของตัวเองในการรับมือกับบาดแผลทางจิตของตัวเอง และไอ้กลไกทางจิตที่แต่ละคนพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้รับมือกับปมทางจิตของตัวเอง บางทีมันก็อาจจะช่วยสร้างความ unique ให้แต่ละคนเวลาโตขึ้นด้วย

เราก็เลยชอบตัวละครพระเอกมากๆในแง่นี้ เขาไม่ใช่ macho hero แต่เป็น extremely vulnerable hero "ที่มีบาดแผลทางใจอย่างรุนแรงในวัยเด็ก"  และมีปีศาจร้ายมากมายเก็บซ่อนอยู่ภายในใจ

5.ชอบดนตรีประกอบมากๆเลยด้วย ที่ใช้เสียงคล้ายๆหัวใจเต้น รู้สึกว่ามันทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น ลุ้นระทึกไปด้วยมากๆ

6.ชอบการสร้างโลกในหัวของตัวละคร ออกมาเป็นห้องสมุดแบบ DREAMCATCHER (2003, Lawrence Kasdan) ด้วย

7.ชอบหลายฉากในหนังเรื่องนี้มากๆ โดยเฉพาะฉากฆาตกรรมเด็กชาย, ฉากปะทะจิตใน supermarket และฉาก Rose ใช้จิตเหาะไป

8.สรุปว่ารู้สึกผูกพันกับหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงสุดๆ รู้สึกว่าโลกในหนังเรื่อง มันใกล้เคียงกับโลกจินตนาการในหัวของเราเองมากๆๆ

Thursday, December 05, 2019

ARBITRARY NOTION (Atsuko Nakamura)

ARBITRARY NOTION (2013, Atsuko Nakamura, video installation,  A+30)

วิดีโอที่จัดฉายในห้องน้ำโรงแรม เกี่ยวกับฝูงมดที่น่าสงสารที่ถูกมนุษย์กำจัด

 INVASION (2015, Atsuko Nakamura, video installation, A+30)

ดูแล้วนึกถึงปัญหาเรื่องผู้อพยพ, รัฐชาติ และพรมแดนสมมุติ

Wednesday, December 04, 2019

DEMOCRAZY.MOV

HELLO, LOVE, GOODBYE (2019, Cathy Garcia-Molina, Philippines, A+30)

1.เพิ่งได้ดูหนังของผู้กำกับคนนี้เป็นเรื่องที่ 3 ต่อจาก UNEXPECTEDLY YOURS (2017)  และ MY PERFECT YOU (2018) ชอบมากๆทั้ง 3 เรื่องเลย ทั้งๆที่หนังมัน mainstream สุดๆ romantic สุดๆ พาฝันสุดๆ ดูหนังของผู้กำกับคนนี้แล้วนึกถึงหนัง GDH ของไทย กับหนัง Bollywood ของอินเดียในแง่ "ความเชี่ยวชาญในการเร้าอารมณ์ตามขนบหนังกระแสหลัก" เหมือนกัน

ในบรรดา 3 เรื่องนี้ เราชอบ MY PERFECT YOU มากสุด

2.ดู HELLO, LOVE, GOODBYE แล้วนึกถึง ENDO (2007, Jade Castro) ด้วย เพราะมันพูดถึงคู่รักที่ต้องพลัดพรากเพราะผู้หญิงต้องเดินทางไปทำงานในต่างประเทศเหมือนกัน เพียงแต่ ENDO เล่าจากมุมมองของฝ่ายชาย ส่วน HELLO เล่าจากมุมมองของฝ่ายหญิง และ ENDO ดูจริงกว่า เจ็บกว่า ติดดินกว่า ส่วน HELLO ดูพาฝันกว่าเยอะ และตัวละครใน HELLO ดูเหมือนมี "ออร่า" บางอย่างจับอยู่ตลอดเวลา

3.แต่สิ่งที่ดีมากใน HELLO LOVE ก็คือว่า ถึงมันจะดูพาฝันมากๆเมื่อเทียบกับ ENDO แต่ชีวิตตัวละครก็ยังบัดซบมากๆ ลำเค็ญมากๆอยู่ดี คือนี่ขนาด "พาฝัน" แล้วนะ ตัวละครก็ยังต้องปากกัดตีนถีบ หาเลี้ยงชีพด้วยความยากลำบาก และปัญหาชีวิตไม่ได้แก้ง่ายๆด้วยการถูก LOTTERY,  มีหนุ่มรวยมาหลงรัก หรืออยู่ดีๆก็ได้รับมรดกจากใคร คนมันจนมันก็จนต่อไปจริงๆ

เราก็เลยชอบมากๆที่หนังมัน " พาฝัน" แต่มันไม่ได้หลีกหนีจากความเจ็บปวดที่แท้จริงของชีวิต

4.ฉากสนทนายาวๆในหนังเรื่องนี้งดงามสุดๆ

5.ดูแล้วนึกถึง  COME TO ME, PARADISE (2016, Stephanie Comilang, video installation) และ SUNDAY BEAUTY QUEEN (2016, Baby Ruth Villarama, documentary) ที่พูดถึงแรงงานสาวฟิลิปปินส์ในฮ่องกงเหมือนกัน

 หนังที่ได้ดูในโปรแกรมหนังสั้นมาราธอน
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2562

1.Destination Nowhere / ประพัทธ์ จิวะรังสรรค์ / 7.19 นาที E A+30
เหมือนเป็นหนังสารคดีผสมกับหนังทดลอง ชอบประเด็นของหนังที่พูดถึงเด็กชาวไทยที่เป็นลูกของแรงงานผิดกฎหมายในญี่ปุ่น และเขาอาจจะถูกทางการญี่ปุ่นส่งตัวกลับมาไทย ดูแล้วรู้สึกเหมือนกับว่าเด็กคนนี้เป็น “คนไร้รัฐ” และการดำรงอยู่ของตัวเขานำไปสู่คำถามที่น่าสนใจทั้งในด้านกฎหมายทั้งของไทยและญี่ปุ่น และคำถามด้านมนุษยธรรม

ดูแล้วนึกถึงปัญหาในสหรัฐเรื่อง “ผู้อพยพที่เดินทางเข้ามาในสหรัฐตั้งแต่วัยเด็ก (Dreamers)” ราว 7 แสนคนที่ทรัมป์พยายามผลักดันให้ออกจากประเทศด้วย

2.Dogma Creation: Goat / ปัณฑ์ชนิต จันทรวงศ์ / 7.13 นาที DOCUMENTARY A+30

3.Democrazy.mov / ธันย์สิตา ยานุพรหม, ศรัณย์ จันทร์เนียม / 3.23 นาที A+30
ชอบหนังมากๆ ฮามากๆ หนังเรื่องนี้ทำเหมือนกับว่า “ประชาธิปไตย” เป็น “ผี” คืออาจจะมีอยู่หรือไม่มีอยู่จริงในไทยก็ได้ เราอาจจะสัมผัสมันได้จางๆในบางครั้งในไทย เหมือนมันไม่มีอยู่จริงในไทย มีแต่วิญญาณของมันที่บางคนอาจสัมผัสมันได้ในบางชั่วขณะจิต

4.Decision / กรภัทร์ จีระดิษฐ์ / 22.41 นาที A+30
หนังบู๊ของเด็กมัธยม

5.Documentary Baby Thesis / ธฤตวัน ปิฏฐปาตี / 31.08 นาที DOCUMENTARY, A+25

6.Departure / เคียงดาว บัวประโคน / 21.35 นาที A+20
หนังการเมืองที่น่าจะได้รับแรงบันดาลใจจาก SNAP (2015, Kongdej Jaturanrasamee)

7.Doom Day Celebration / ศุภกร ภูทองเงิน / 20.43 นาที A+20
หนังน่ารักดี เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเพื่อนหนุ่ม 3 คน ไม่แน่ใจว่าเป็นหนังที่สร้างขึ้นเพื่อส่งเทศกาลหนังพี้กัญชาของ CINEMA OASIS หรือเปล่า

8.Devil's Apple (Redux) / รัฐฐกรณ์ ศิริฤกษ์ / 11.46 นาที A+5

Tuesday, December 03, 2019

HELENE LE CHATELIER

BLACK BOX 1, 2, 3 (2017, Helene Le Chatelier, video installation,  A+30)

วิดีโอถ้ำมอง  3 อัน สวยงามมากๆ อันแรกดูแล้วนึกถึงหนังของวชร กัณหา/ Teeranit Siangsanoh เพราะมันเน้นเงาของแมกไม้บนแอ่งน้ำ ส่วนอันที่สองเน้น close up ผิวหนัง และอันที่สามเป็นเหมือนประติมากรรม + เกลียวสีเทาของหมอกควันในน้ำ

PURPLE RAIN (1984, Albert Magnoli, A+25)

รู้สึกว่าหนังไม่ดีเท่าไหร่ แต่ชอบในแง่ที่
มันเป็นบทบันทึกของยุคสมัย โดยเฉพาะดนตรีและแฟชั่นของยุคนั้น

พอดูหนังเรื่องนี้แล้วเลยทำให้อยากดู LIGHT OF DAY (1987, Paul Schrader) ที่นำแสดงโดย Joan Jett อีกรอบ เดาว่าถ้าได้ดูในยุคนี้ หนังมันน่าจะทำให้รู้สึก nostalgic มากๆเหมือนกัน

JUDY (2019, Rupert Goold, A+30)

 หนังงดงามมากๆ ชอบตัวประกอบหลายตัวในหนังมากๆ โดยเฉพาะเลขา/ผู้ช่วยของนางเอกตอนอยู่ที่อังกฤษ และนักเปียโนที่อังกฤษ คือเรารู้สึกว่ามันมีหลายๆฉากในหนังเรื่องนี้ที่ตัวประกอบไม่พูดอะไร แต่หนังสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของพวกเขาออกมาได้ดีมากทางแววตาและสีหน้า