Wednesday, August 31, 2022

VOICES OF THE NEW GEN

 

พอดีมีเพื่อนคนนึงถามว่า ช่วงปี 1989 มีละครญี่ปุ่นเข้ามาฉายทางโทรทัศน์ในไทยเยอะหรือเปล่า เราก็เลยตอบไปตามนี้ และก็เลยถือโอกาสเอามาแปะในนี้ด้วยแล้วกัน

 

“น่าจะไม่เยอะนะ 555 เหมือนช่วงปลายทศวรรษ 1980 เราก็จำได้ว่าได้ดูละครญี่ปุ่นหลัก ๆ แค่ 2 เรื่องมั้ง ซึ่งก็คือ “สิงห์สาวนักสืบ” ทั้ง 3 ภาค และละครชีวิตตำรวจสาวที่นำแสดงโดย Maiko Ito ที่ฉายทางช่อง 5 ช่วงบ่าย ๆ วันเสาร์

 

ถ้าจำไม่ผิด ช่วงต้นทศวรรษ 1980 ละครญี่ปุ่นเข้ามาฉายในไทยเยอะกว่านั้นมาก ทั้ง

 

1.ละครแนวกีฬาที่ผลิตในทศวรรษ 1970 แต่เข้ามาฉายในไทยในทศวรรษ 1980 ทั้งยอดหญิงชิงโอลิมปิก, เงือกสาวจ้าวสระ, เกือกแดงแรงฤทธิ์

 

2.ละครดราม่าโรแมนติกที่นำแสดงโดย Momoe Yamaguchi กับ Tomakazu Miura

 

3.ละครเรื่องอื่น ๆ อย่างเช่น “เจ้าสาววัย 16” ที่นางเอกวัย 16 ปีแต่งงานอยู่กินกับครูหนุ่มที่สอนในโรงเรียนของเธอเอง

 

4.ละครดี ๆ ที่มาฉายทางช่อง 5 ตอนกลางคืน ราว ๆ กลางทศวรรษ 1980 ทั้งเรื่องชีวิตแอร์โฮสเตส, WHO WILL WEAR A WEDDING DRESS? ที่เป็นชีวิตดีไซเนอร์, เรื่องของสถานดัดสันดานหญิง, เรื่องของวัยรุ่นที่พยายามจะก่อตั้งวงดนตรีขึ้นมา เสียดายที่เราจำชื่อละครเหล่านี้ไม่ได้แล้ว

 

แล้วพอเข้าช่วงทศวรรษ 1990 ละครญี่ปุ่นก็เข้ามาฉายในไทยเยอะขึ้น ทั้งละครช่อง 3 อย่าง TOKYO LOVE STORY, สวรรค์ลำเอียง, ละครช่อง 5 อย่าง 101 ตื๊อรักนายกระจอก, ละครช่อง 7 ที่นำแสดงโดย Miho Nakayama ที่ฉายช่วงบ่าย ๆ วันธรรมดา และละครช่อง 9 อย่างเช่น บาปกตัญญู

 

แล้วพอเข้าช่วงปลายทศวรรษ 1990 ITV ก็ทำให้ละครญี่ปุ่นบูมอย่างรุนแรง

 

สรุปว่าช่วงปลายทศวรรษ 1980 นี่เหมือนละครญี่ปุ่นที่ฉายในไทยน่าจะน้อยกว่ายุคอื่น ๆ นะ 55555

 

VOICES OF THE NEW GEN

 

1.AFTER A LONG WALK, HE STANDS STILL (2020, กันตาภัทร พุทธสุวรรณ, second viewing, A+30)

 

--ช่วงที่ทหารหนุ่มน้อยผู้น่ารักโดนลงโทษนี่แอบนึกถึง SALO, OR THE 120 DAYS OF SODOM (1975, Pier Paolo Pasolini) คือมันไม่ได้โหดร้ายแบบ SALO หรอกนะ แต่มันสะท้อนความดำมืดของจิตใจมนุษย์บางอย่างที่จะปรากฏออกมาเมื่อบุคคลผู้นั้นเข้ามามีอำนาจภายใต้ระบอบแบบฟาสต์ซิสต์ และสามารถใช้อำนาจนั้นในการลงโทษผู้อื่นตามใจชอบอย่างไม่เป็นธรรมได้ (คล้าย ๆ กับที่ทหารสหรัฐทำกับนักโทษใน Guantanamo แบบในหนังเรื่อง THE MAURITANIAN) คือการปล่อยให้มีระบอบอำนาจแบบนี้เกิดขึ้น มันก็จะเกิดความเลวร้ายแบบนี้ตามมา และระดับความชั่วร้ายรุนแรงที่เกิดขึ้นก็จะขึ้นอยู่กับสถานะของทั้งสองฝ่ายในระบอบนั้น ซึ่งในหนังไทยเรื่องนี้ สถานะของผู้ลงโทษกับผู้ถูกลงโทษไม่ได้ห่างจากกันมากนัก การลงโทษก็เลยอาจจะไม่ได้รุนแรงมากนัก ส่วนใน THE MAURITANIAN นั้น ผู้ถูกลงโทษมีสถานะเป็นนักโทษ การทรมานก็เลยรุนแรงยิ่งขึ้น และถ้าหากเราปล่อยให้ระบอบแบบนี้ดำรงอยู่ต่อไป หรือปล่อยให้ใครมีอำนาจสูงเยี่ยมเทียมฟ้ามากเท่าไหร่ภายในระบอบแบบนี้ มันก็จะนำไปสู่  SALO, OR THE 120 DAYS OF SODOM ในที่สุด

 

--พัฒนาการของตัวละครพระเอกก็ทำให้นึกถึง THE PARTY AND THE GUESTS (1966, Jan Nemec, Czechoslovakia) ด้วย เรื่องของคนที่ค่อย ๆ สมยอม, กลายเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด และกลายเป็นแข้งขาของระบอบเผด็จการไปในที่สุด

 

ก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันน่าสนใจดี ตรงที่มันเลือกที่จะเล่าเรื่องผ่านทางตัวละครที่เลือกที่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบอบเผด็จการแบบนี้ แทนที่จะเล่าเรื่องผ่านทางตัวละครที่ต่อต้านระบอบ

 

2.THE REPRODUCTION OF A CATASTROPHIC REMINISCENCE (2020, Kulapat Aimmanoj, second viewing, A+30)

 

--พอดูรอบสองก็ชอบมากขึ้น เพราะถึงแม้เวลาจะผ่านมานานหนึ่งปีหลังจากดูรอบแรกแล้ว ประเด็น dilemma ในหนังก็ยังคงไม่ล้าสมัยเลย ดูแล้วแอบนึกถึงการที่ฝ่าย liberal ชอบถกเถียงด่าทอตบตีกันเองอย่างรุนแรงเป็นระยะ ๆ ด้วย 55555 ซึ่งเอาเข้าจริงแล้วหลาย ๆ คน หลาย ๆ ฝ่ายต่างก็มีเหตุผลของตนเองที่น่ารับฟังกันทั้งนั้น

 

เคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้แล้วที่นี่

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10227346496551509&set=a.10225784745948720

 

3.FATHERLAND (2020, Panya Zhu, second viewing, A+30)

 

ยังคงสะเทือนใจกับ “น้ำเสียง” ของพระเอกตอนแจกใบปลิวมาก ๆ

 

เคยเขียนถึงหนังไว้แล้วที่นี่
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10225002217986010&set=a.10224961569689828

 

4.BANGKOK TRADITION (2021, ฐามุยา ทัศนานุกูลกิจ, second viewing A+30)

 

เคยเขียนถึง BANGKOK TRADITION ไว้แล้วที่นี่

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10226433324962790&set=a.10225784745948720

 

ความเห็นเพิ่มเติมในการดูรอบสอง

 

4.1 ดูแล้วนึกว่าต้องไหว้จอ ทำไมหนังเรื่องนี้ถึงออกแบบตัวละครหญิงได้ตรงใจเราสุดขีดขนาดนี้ คือพอตัวละครหญิงมันตรงใจเราอย่างสุด ๆ แบบนี้ เราก็เลยรู้สึกอยากร้องกรี๊ด ๆ  ๆ ๆ ออกมาเลยน่ะ โดยเฉพาะฉากที่สามสาวออฟฟิศแผนกเอกสารคุยกันช่วงต้นเรื่อง ทำไมดูแล้วรู้สึกว่าการที่ตัวละครคุยกันมันถึง electrifying อย่างรุนแรงสุดขีดขนาดนี้คะ คือดูแล้วรู้สึกราวกับว่า การโต้ตอบกันของสามสาวออฟฟิศในแต่ละประโยคมันทำให้เรารู้สึกเหมือนโดนช็อตด้วยไฟฟ้า คือมันเปรี้ยงมาก ๆ

 

เราคิดว่าปัจจัยที่ทำให้เราชอบฉากสามสาวออฟฟิศคุยกันอย่างรุนแรงขนาดนี้เป็นเพราะว่า

 

4.1.1 ตัวละครทั้งสามตัว ทั้งดารารัตน์, Sirai และยุ ไม่มีใครยอมใครเลยน่ะ คือทั้งสามกล้าด่าทอปะทะคารมกันอย่างหยาบ ๆ คาย ๆ ไม่มีใครกลัวใคร ไม่มีใครยอมลดราวาศอกให้ใคร

 

4.1.2 ทั้งสามมีความกร้าน ดิบ หยาบอะไรบางอย่างที่เข้าทางเราอย่างรุนแรงที่สุด

 

4.1.3 ตัดสินไม่ได้ว่าใครแรงกว่ากัน เพราะทุกคนต่างก็มีความแรงในแบบของตัวเอง Sirai อาจจะดูพูดจาโผงผาง เสียงดัง แต่ดารารัตน์ก็กล้าถ่มน้ำลายใส่รองเท้าเจ้านาย ส่วนยุนี่อาจจะดูนิ่งกว่าอีกสองคน แต่จริง ๆ แล้วเธออาจจะเป็นคนแบบน้ำนิ่งไหลลึก คือเหมือนยุรู้ว่าจริง ๆ แล้วตัวเองต้องการอะไร และทำอย่างไรถึงจะได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการโดยไม่ต้องหาเหาใส่หัว แกว่งเท้าหาเสี้ยน หรือทำให้ตัวเองลำบากโดยใช่เหตุ 55555

 

4.2 อินสุด ๆ กับ “ความหวั่นไหวทางใจของพนักงานบริษัทเอกชนที่อาจจะโดนปลดออกจากงานได้ทุกเมื่อ”

 

4.3 นอกจากฉากสามสาวออฟฟิศคุยกันแล้ว อีกฉากที่เราขอยกให้เป็น one of my most favorite scenes of all time ก็คือฉากที่ดารารัตน์ถูกเจ้านายสั่งให้ซ่อมพิมพ์ดีดกับขัดรองเท้านี่แหละ

 

ชอบฉากนี้อย่างสุดขีดตรงที่

 

4.3.1 ชอบวิธีการพูดของตัวเจ้านายมาก ๆ ที่ไม่ได้ออกคำสั่งด้วยน้ำเสียงแบบนางอิจฉา แต่เป็นการออกคำสั่งในทางอ้อม ผ่านทางประโยคคำถามในบางครั้ง ดูเหมือน soft แต่จริง ๆ แล้วเหี้ยมาก

 

4.3.2 ชอบน้ำเสียงและการพูดว่า “ไม่” ของนางเอกในฉากนี้มาก ๆ คือเจ้านายถามว่านางเอกซ่อมพิมพ์ดีดเป็นมั้ย นางเอกก็ตอบว่า ไม่เป็นค่ะ ด้วยน้ำเสียงกึ่งแข็งกระด้าง และพอเจ้านายพยายามจะให้นางเอกขัดรองเท้าผ่านทางการถามคำถามบางคำถาม นางเอกก็ตอบว่า “ไม่” เช่นเดียวกัน

 

คือเราว่า “น้ำเสียง” ของการพูดว่า “ไม่” ต่าง ๆ ของนางเอกในฉากนี้นี่มันตรงใจเราอย่างที่สุดของที่สุดเลยน่ะ คือมันไม่ใช่การพูดว่า “ไม่” ที่แข็งเกินไป หรืออ่อนเกินไป เพราะนางเอกจะใช้น้ำเสียงแข็งกระด้างรุนแรงกว่านี้ก็ไม่ได้ เพราะเขาเป็นเจ้านายของเธอ และเธอกลัวตกงาน แต่เธอก็ “ไม่พอใจ” สิ่งที่เจ้านายทำอย่างรุนแรง น้ำเสียงของเธอในฉากนี้เลยมีทั้ง “ความไม่พอใจ”, “ความเกลียดชังเจ้านาย”, “ความรำคาญ” แต่มันถูกสกัดกั้นไว้ด้วยความเจียมตนว่าตนเองเป็นลูกน้องและความกลัวตกงานอยู่ด้วย คือมันไม่ใช่การพูดว่า “ไม่” ด้วยอารมณ์เดียวอย่างโดด ๆ แต่เป็นการตอบคำถามเจ้านายด้วยอารมณ์หลากหลายอย่างผสมผสานกันและขัดแย้งกันในเวลาเดียวกัน คือเกลียดเจ้านายก็เกลียด แต่จะให้ใช้น้ำเสียงแข็งกว่านี้ก็ไม่ได้ เพราะกลัวตกงาน เธอเลยทำได้แค่ตอบว่า  ไม่ อย่างชัดถ้อยชัดคำ แต่ไม่สามารถใช้น้ำเสียงที่แรงเกินไปกว่านี้ได้ และเธอก็เหมือนรู้ตัวอยู่กลาย ๆ ว่า ต่อให้เธอตอบว่า ไม่ ไม่ ไม่ สักกี่ครั้งก็ตาม เจ้านายก็จะบังคับให้เธอทำในสิ่งที่เธอไม่ต้องการอยู่ดี

 

4.3.3 การที่เธอถ่มน้ำลายใส่รองเท้าเจ้านายก็ทำให้ฉากนี้กลายเป็นหนึ่งในฉากคลาสสิคของหนังไทยสำหรับเราไปเลย

 

4.4 พอมาดูรอบสองถึงเพิ่งสังเกตว่า หนังชอบถ่ายตอนพระอาทิตย์กำลังจะตกดิน เห็นท้องฟ้าเป็น vanilla sky ทั้งฉากที่นางเอกไปสัมภาษณ์อดีตสาวคาเฟ่ที่อพาร์ทเมนท์ เราก็จะเห็นท้องฟ้ายามสายัณห์เป็นฉากหลัง และฉากที่นางเอกร้องห่มร้องไห้หลังจากไปเสนอข่าวแล้วเหมือนไม่ประสบความสำเร็จ เธอเดินออกมาแถวลานจอดรถ ฉากนั้นเราก็เห็นท้องฟ้ายามสนธยาชัดมาก ๆ และสวยมาก ๆ ซึ่งเราว่ามันก็เข้ากับหนังเป็นอย่างมาก เพราะชีวิตของตัวละครในหนังเรื่องนี้หรือชีวิตของพวกเราในดินแดนแห่งนี้ก็เหมือนอยู่ในแดนสนธยา อยู่ในดินแดนแห่งแสงริบหรี่โพล้เพล้นี่แหละ

 

4.5 สรุปว่าพอมาดูรอบสองแล้วก็ขอยกให้ฉากนางเอกปะทะกับเจ้านายตอนซ่อมพิมพ์ดีดนี่ถือเป็น one of my most favorite scenes of all time ไปเลย และขอยกให้สามสาวออฟฟิศในหนังเรื่องนี้นื่ถือเป็นกลุ่มตัวละครที่ชอบที่สุดในภาพยนตร์ไทยไปด้วยเลย

 

คือพอมาดูรอบสองแล้วก็เลยพบว่า ถึงแม้เราจะชอบประเด็นการเมืองและเรื่องการสะท้อนยุคสมัยของความกลัวโรคเอดส์ในหนังมาก ๆ แต่สิ่งที่เราชอบที่สุดในหนังก็คือการออกแบบตัวละครหญิงที่ตรงใจเรามากที่สุด และการสะท้อนชีวิตสาวออฟฟิศนี่แหละ ทั้งความไม่มั่นคงของการทำงานในบริษัทเอกชน, วิธีการใช้อำนาจระหว่างเจ้านายกับลูกน้องในออฟฟิศ และการพูดคุยกันแบบถึงใจของสาวออฟฟิศ คือเหมือนถ้าเป็นฉากที่สามสาวออฟฟิศนี้คุยกันเมื่อไหร่ ระดับความชอบของเราจะพุ่งปรี๊ด รู้สึกเหมือนมีสายฟ้ามาฟาดเปรี้ยง ๆ ที่ตัวเรา แต่พอเป็นฉากคาเฟ่หรืออะไรต่าง ๆ ที่ไม่ใช่สามสาวคุยกัน ระดับความหวีดของเราจะลดลง 55555

 

4.6 สาเหตุที่เรายกให้ BANGKOK TRADITION เป็น ONE OF MY MOST FAVORITE THAI FILMS OF ALL TIME ก็เป็นเพราะตัวละครสามสาวออฟฟิศที่เหมือนหลุดออกมาจากดวงจิตของเรานี่แหละ คือเหมือนถ้าหนังเรื่องไหนออกแบบตัวละครหญิงให้ตรงใจเราแบบนี้ได้ หนังเรื่องนั้นก็จะครองใจเราได้อย่างรุนแรง ซึ่งหนังที่ทำแบบนี้ได้ ก็มีอย่างเช่น

 

4.6.1 “เมืองในหมอก” (1978, เพิ่มพล เชยอรุณ) ที่ถือเป็น ONE OF MY MOST FAVORITE FILMS OF ALL TIME ตัวละครในหนังเรื่องนี้มีทั้งแม่กับลูกสาวที่เป็นฆาตกรต่อเนื่อง ฆ่าคนไปหลายศพ, สามสาวในหมู่บ้านที่ทำพิธีปลุกวิญญาณ และสาวสวิงกิ้ง ฉากที่นางเอกที่เป็นฆาตกรโรคจิตปะทะสาวสวิงกิ้งนี่ถือเป็นหนึ่งในฉากที่ชอบที่สุดในหนังไทยเหมือนกัน

 

4.6.2 “ประสาท” (1975, Piak Poster) การปะทะกันของตัวละครนำหญิงทั้งสามตัวในหนังเรื่องนี้นี่มันสุดตีนจริง ๆ แน่นอนว่าหนังเรื่องนี้ก็เป็น ONE OF MY MOST FAVORITE THAI FILMS OF ALL TIME เช่นเดียวกัน

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10228852135311537&set=a.10227993335122069

 

4.6.3 MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg) พอเวลาล่วงเลยมาถึงตอนนี้ เราก็พบว่าหนังเรื่องนี้นี่แหละที่เป็น MY MOST FAVORITE FILM OF THE DECADE 2010-2019 เพราะเราไม่สามารถสลัดหนังเรื่องนี้ออกไปจากใจเราได้เลยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ตัวละครหญิงที่แสดงโดย Mia Wasikowska, Julianne Moore และ Olivia Williams ในหนังเรื่องนี้นี่ตรงใจเราอย่างที่สุดของที่สุดจริง ๆ

 

สรุปว่า I WORSHIP YOU –ยุ, Sirai และดารารัตน์ พวกเธอทั้งสามคือหนึ่งในสิ่งที่เรารักที่สุดในภาพยนตร์ไทยจริง ๆ

 

 

 

-

Tuesday, August 30, 2022

THE TREND OF MOVIES IN 2022

 

ภาพยนตร์ที่เราได้ดูในโรงในปีนี้ ที่มีเนื้อหาต่อเนื่องมาจากละครโทรทัศน์

 

เรารู้สึกว่ามันเหมือนเป็น trend สำคัญอันหนึ่งในปีนี้ นั่นก็คือหนังที่เราได้ดูในโรงภาพยนตร์หลายเรื่องในปีนี้เป็นหนังที่มีเนื้อหาต่อเนื่องมาจากละครโทรทัศน์ ซึ่งเราเป็นคนที่ไม่มีเวลาดูละครโทรทัศน์อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นหนังหลาย ๆ เรื่องที่เราได้ดูในปีนี้ก็เลยเหมือนเป็นการเข้าไปดูหนังภาค 6 โดยที่เราไม่เคยดูภาค 1-5 มาก่อน 555555

 

ซึ่งจริง ๆ แล้วหนังแบบนี้มันก็มีเข้าโรงมาบ้างเป็นครั้งคราวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะภาพยนตร์ animation หลาย ๆ เรื่องจากญี่ปุ่น, หนังอย่าง SEX AND THE CITY 2 (2010, Michael Patrick King) และ นาคี 2 (2018, Pongpat Wachirabunjong) แต่เรารู้สึกเหมือนกับว่าปีนี้มันมีมาเข้าโรงในไทยเยอะเป็นพิเศษ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเกิดจากอะไร

 

หนังกลุ่มนี้เท่าที่เราได้ดูในโรงในปี 2022 ก็มีเรื่อง

 

1.MY HERO ACADEMIA: WORLD HEROES MISSION (2021, Kenji Nagasaki, Japan, animation, A+30)

 

2.FATE/ GRAND ORDER FINAL SINGULARITY -- THE GRAND TEMPLE OF TIME: SOLOMON (2021, Toshifumi Akai, Japan, animation, A+30)

 

3.GINTAMA: THE FINAL (2021, Chizuru, Miyawaki, Japan, animation)

 

4.FATE/KALEID LINER PRISMA ILYA -- LICHT NAMELESS GIRL (2021, Shin Oonuma, Japan, Animation, A+15)

 

5.DOCTOR STRANGE IN THE MULTIVERSE OF MADNESS (2022, Sam Raimi, A+30) ที่มีเนื้อหาต่อเนื่องมาจาก WANDAVISION (2021) ที่เราไม่ได้ดู

 

6.DETECTIVE CONAN THE MOVIE 25: THE BRIDE OF HALLOWEEN (2022, Susumu Mitsunaka, Japan, animation, A+30)

 

7.JUJUTSU KAISEN 0: THE MOVIE (2021, Park Seong-Hu, Japan, animation, A+30)

 

8.CHERRY MAGIC! THIRTY YEARS OF VIRGINITY CAN MAKE YOU A WIZARD ?!: THE MOVIE (2022, Hiroki Kazama, Japan, A+30)

 

9.WHAT DID YOU EAT YESTERDAY? (2021, Kazuhito Nakae, Japan, A+30)

 

10.LOVE DESTINY THE MOVIE บุพเพสันนิวาส 2 (2022, Adisorn Tresirikasem, A+15)

 

11.FRUITS BASKET: PRELUDE (2022, Yoshihide Ibata, Japan, animation, A+15)

 

12.DOWNTON ABBEY: A NEW ERA (2022, Simon Curtis, UK, A+25)

 

13.ONE PIECE FILM: RED (2022, Goro Taniguchi, Japan, animation, A+30)

 

ความรู้สึกส่วนตัวของเราต่อกระแสนี้

 

1.คงจะเห็นจากเกรด หรือระดับความชอบของเราแล้วว่า การที่เราไม่ได้ดูละครมาก่อน เหมือนไม่ได้เป็นอุปสรรคขัดขวางเราจากการ enjoy หนังส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้แต่อย่างใด 555 จะมียกเว้นแค่ 2 เรื่องเท่านั้นแหละที่การขาดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเนื้อเรื่องมาก่อนถือเป็นอุปสรรคหนักมาก นั่นก็คือ GINTAMA: THE FINAL ที่เราไม่รู้เรื่องอะไรอีกต่อไป เราก็เลยหลับไปเลย 55555 และ FRUITS BASKET: THE PRELUDE ที่ถึงแม้เพื่อนของเรามา brief ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวซีรีส์ให้เราฟังก่อนดูหนัง แต่พอเราเข้าไปดู เราก็จูนไม่ติดอยู่ดีในช่วงครึ่งเรื่องแรก แต่ช่วงครึ่งเรื่องหลังที่เน้นเรื่องของแม่นางเอกนั้นถือว่าจูนได้อยู่

 

นอกจาก 2 เรื่องข้างต้นแล้ว เราคิดว่าหนังส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ก็ดูแล้วไม่ค่อยงงนะ เพราะเขาคงตั้งใจทำมาเพื่อคนดูที่ไม่เคยชมละครมาก่อนด้วยมั้ง จะมียกเว้นก็หนังชุด FATE ต่าง ๆ นี่แหละที่เหมือนไม่แคร์คนดูที่ไม่รู้เนื้อเรื่องพื้นฐานมาก่อนเลย แต่เราก็ enjoy หนังชุด FATE มากในระดับนึงอยู่ดี แม้จะไม่เข้าใจเหี้ยอะไรหลาย ๆ อย่างในหนังก็ตาม 55555 โชคดีที่มีเพื่อนคนนึงใน Facebook ที่เคยเขียนอธิบายพื้นฐานจักรวาลของ FATE เอาไว้ ก็เลยพอช่วยเราได้นิดหน่อย

 

2.เหมือนหนังเหล่านี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียสำหรับผู้ชมอย่างเรานะ ข้อเสียก็คือถึงแม้เราจะ enjoy หนังหลาย ๆ เรื่องในกลุ่มนี้อย่างสุด ๆ แต่การที่เราไม่เคยดูละครมาก่อนก็อาจจะทำให้เราไม่ได้อินกับทุกสิ่งทุกอย่างในหนังในระดับที่รุนแรงมากเท่ากับหนังบางเรื่องที่มัน stand alone ในตัวมันเองไปเลย ยกตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ DOWNTON ABBEY: A NEW ERA ที่เราก็ enjoy หนังมากพอสมควร และแน่นอนว่าชอบมันมากกว่าหนังอย่าง CRAZY RICH ASIANS หลายเท่า แต่ถ้าถามเราว่าเราชอบมันมากเท่ากับ GOSFORD PARK (2001, Robert Altman) หรือ THE RULES OF THE GAME (1939, Jean Renoir) ไหม เราก็ต้องตอบว่าไม่ ซึ่งเรื่องแบบนี้ก็อาจจะไม่ได้เกิดจากความผิดของตัวหนังเลยด้วยซ้ำ แต่เป็นเพราะเราไม่เคยดูละครมาก่อนต่างหาก

 

3.แต่เราคิดว่าหนังหลายเรื่องในกลุ่มนี้มีข้อดีในแบบของมันด้วยนะ ข้อดีอันแรกก็คือว่า เรามักจะชอบหนังที่ “ตัวละครมีชีวิตมาก่อนที่หนังจะเริ่ม” อยู่แล้ว  และหนังกลุ่มนี้นี่คือใช่เลย 55555 ตัวละครในหนังกลุ่มนี้มีชีวิตมาก่อนที่หนังจะเริ่มจริง ๆ เพราะพวกเขาใช้ชีวิตในละครโทรทัศน์มานานแล้ว และละครโทรทัศน์มันมีข้อดีตรงความยาวหลายตอนจบของมันด้วยแหละ ตัวละครหลาย ๆ ตัวเลยเหมือนได้ใช้ชีวิตมานานมาก มีรายละเอียดปลีกย่อยในชีวิตเยอะมาก ผ่านอะไรต่าง ๆ ในชีวิตมามากมาย และมีความซับซ้อนต่าง ๆ ในตัวเองสูงมาก ก่อนที่จะเริ่มมาปรากฎตัวบนจอภาพยนตร์ เหมือนอย่าง DOWNTON ABBEY: A NEW ERA ที่ตัวละครทั้งตัวละครเอกและตัวละครประกอบผ่านอะไรในชีวิตมามากมายหนักมากกว่าจะมาอยู่ในหนังเรื่องนี้

 

4.และหนังแบบนี้มันก็มีข้อดีอีกอย่างตรงที่ว่า มันไม่ต้องเสียเวลาปูเนื้อเรื่อง ปู background เล่าประวัติชีวิตตัวละครประกอบแต่ละตัวด้วยแหละ เพราะมันเล่าไปหมดแล้วในละคร 555555 นึกถึงตัวละครประกอบแต่ละตัวใน ONE PIECE ที่มีอิทธิฤทธิ์ไม่ซ้ำกัน หรือพวกตัวละครต่าง ๆ ในหนัง animation ของญี่ปุ่นที่ซัดกันนัวเนียไปหมด โดยที่หนังไม่ต้องมาเสียเวลาแนะนำอิทธิฤทธิ์และ background ของตัวละครประกอบแต่ละตัวอีกต่อไป คือเหมือนทุกตัวพร้อมบู๊ พร้อมตบกันเลยด้วยความสามารถที่ไม่ซ้ำกันเมื่อหนังเริ่มเรื่อง 555

 

5.แน่นอนว่าเวลาเราดูหนังหลายเรื่องในกลุ่มนี้ เราก็ดูแล้ว “ไม่เข้าใจ” 100% นะ เพราะเราไม่เคยดูละครมาก่อน แต่ส่วนใหญ่แล้วความไม่เข้าใจมันแทบไม่เคยเป็นอุปสรรคขัดขวางความสุขของเราในการดูหนังอยู่แล้วล่ะ (แน่นอนว่ามียกเว้นในบางกรณี อย่างเช่น GINTAMA: THE FINAL) คือเอาเข้าจริงแล้ว ถึงแม้เราไม่เคยดูละครมาก่อน  เราก็เข้าใจเนื้อเรื่องในหนังกลุ่มนี้มากกว่าหนังของ Jean-Luc Godard, หนังอย่าง ASHES OF TIME (ที่ถึงแม้เราเคยดูละครมังกรหยกมาแล้ว 3 เวอร์ชั่น และเคยอ่านนิยายมังกรหยก มันก็ไม่ช่วยให้เราเข้าใจหนังมากขึ้นแต่อย่างใด 555) หรือหนังทดลองอะไรต่าง ๆ เสียอีก ความเข้าใจหรือไม่เข้าใจก็เลยเหมือนไม่ใช่ตัวแปรที่มีความสำคัญมากนักสำหรับเรา และโดยปกติแล้วหนังที่เราชอบสุด ๆ อย่างเช่นหนังของ Werner Schroeter ก็เป็นหนังที่เราเข้าใจเนื้อหาของมันเพียงแค่ 5% อยู่แล้ว 55555

 

ก็เลยขอจดบันทึกไว้ว่า นี่เป็น trend อันนึงที่น่าสนใจสำหรับเราในปีนี้ ไม่รู้เหมือนกันว่า trend นี้เกิดจากอะไร แต่มันน่าสนใจดี

Wednesday, August 24, 2022

INTERVAL

 

THE PIANO TEACHER (2001, Michael Haneke, France/Austria/Germany, second viewing, A+30)

 

รู้สึกว่าตัวเองตัดสินใจถูกที่มาดูหนังเรื่องนี้รอบสองในโรงใหญ่ หลังจากที่เคยดูรอบแรกทางวิดีโอไปแล้วเมื่อ 20 ปีก่อน เพราะถ้าหากเราไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ในจอใหญ่ เราก็คงไม่ได้สังเกตเห็นความหล่อน่ากินของ Thomas Weinhappel ที่รับบทเป็นนักเรียนหนุ่มอีกคนของนางเอก 55555

 

คือตอนที่ดูหนังเรื่องนี้รอบแรกทางวิดีโอ เราก็กรี๊ดกร๊าดแค่กับ Benoit Magimel (ซึ่งจริง ๆ ก็กรี๊ดมาตั้งแต่เห็นเขาในหนังเรื่อง CHILDREN OF THE CENTURY และ THE KING IS DANCING แล้ว) เพราะถึงแม้มันจะเป็นการดูในจอเล็ก ความหล่อของเขาก็ทะลุจอออกมาอย่างไม่อาจจะต้านทานได้

 

แต่การดูในจอเล็ก ๆ มันทำให้ไม่เห็นความหล่อของตัวประกอบที่กล้องไม่ได้โคลสอัพใบหน้าของพวกเขาน่ะค่ะ ของแบบนี้บางทีมันต้องพึ่งจอใหญ่ ๆ เท่านั้น เราถึงจะเห็นได้อย่างกระจะ ๆ แก่ลูกนัยน์ตาของเรา 5555

 

พอมาดูหนังเรื่องนี้ในจอใหญ่ ก็เลยได้เห็นว่า ลูกศิษย์อีกคนของนางเอก ก็หล่อน่ารักมาก ๆ กรี๊ดกร๊าด นักแสดงที่เล่นเป็นลูกศิษย์คนนี้ชื่อ Thomas Weinhappel และตอนนี้เหมือนเขายึดอาชีพเป็นนักแสดงละครโอเปร่ามั้ง ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด

 

รูปซ้ายคือ Thomas Weinhappel รูปขวาคือ Benoit Magimel

 

MOUNTAIN STORYTELLERS, STORYTELLING MOUNTAINS: A TALE THEATRE (2020, Rice Brewing Sisters Club, South Korea, video installation, 16min, A+30)

 

วิดีโอที่แบ่งออกเป็น 7 องก์ พูดถึงตำนานพื้นบ้านต่าง ๆ ทั้งเรื่องของเทพธิดาโกซารี, ดวงไฟอสูรใต้ต้นหลิว, หอยภูเขา, ไม้เท้าของคนขุดโสม, โซคูริกับภูดคโยฮวัน, หมูป่าแห่งเมล็ดพันธุ์ และเส้นด้ายใยไหม

 

เหมือนเราจำภาพในวิดีโอนี้ไม่ค่อยได้แล้ว (ดูมานานกว่า 1 เดือนแล้ว) แต่เราชอบพวกตำนานพื้นบ้าน ภูตผีปีศาจเหล่านี้มาก ๆ เหมือนเราไม่เคยได้ยินเรื่องพวกนี้จากหนังสยองขวัญของเกาหลีใต้เลยด้วย ก็เลยรู้สึกว่ามันน่าสนใจดีที่จริงๆ แล้วหลายประเทศทั่วโลกมันคงมีตำนานพื้นบ้าน, ความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติต่าง ๆ มากมาย แต่ตำนานพื้นบ้านเหล่านี้มันไม่ค่อยถูกนำเสนอออกมาให้ชาวโลกได้รับรู้ เพราะมันไม่เข้ากับ  “สูตรสำเร็จของหนังสยองขวัญ”

 

ดูแล้วนึกถึง STORYTELLERS (2013, Ryusuke Hamaguchi, Ko Sakai, Japan, documentary, A+30) มาก ๆ เลยด้วย

INTERVAL/วรรค (2022, Nat Sethana, Wathinee Srithongchuai, video installation?, A+30)

 

1.ไม่รู้อันนี้เรียกว่า video installation ได้หรือเปล่า 5555 เพราะสิ่งที่เราเห็นอยู่ตรงหน้าประกอบด้วย “ภาพนิ่ง” ราว 80% และ “text ที่เคลื่อนไหว” ราว 20% แต่เนื่องจากส่วนที่เป็น text ของมันมีการเคลื่อนไหว เราก็เลยรู้สึกเหมือนกับว่ามันมีความเป็น video installation อยู่ด้วย แต่ก็ไม่แน่ใจว่าเขาจัดประเภทงานชิ้นนี้ว่าอย่างไร แต่เราชอบตรงที่มันจัดประเภทได้ยากนี่แหละ

 

2.ไม่รู้ว่างานชิ้นนี้จริง ๆ แล้วยาวกี่นาที แต่เราได้ดูไปแค่ 20 นาทีเท่านั้นเอง ซึ่งถึงแม้เราจะดูไม่ครบ แต่ก็ชอบสุดๆ เราเดาว่าภาพนิ่งในงานชิ้นนี้เป็นภาพถ่ายสถานที่ต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นสวนสาธารณะ และสะพานลอยแถวสวนลุม

 

3.ชอบบทสนทนาของตัวละครในเรื่องมาก ๆ เหมือนตัวละครในเรื่องแสดงความเห็นต่อพฤติกรรมของคนในยุคปัจจุบันได้น่าสนใจดี

 

เราว่าตัวละครในเรื่องเหมือนเป็นญาติห่าง ๆ กับตัวละครในหนังของ Nawapol Thamrongrattanarit ด้วยแหละ 555555 บอกไม่ถูกเหมือนกัน คือเหมือนเป็น “คนหนุ่มสาวที่ฉลาด รู้ทันกระแสสังคม และสามารถวิพากษ์วิจารณ์กระแสสังคมได้ในระดับหนึ่ง” คือมันไม่ใช่ตัวละครหนุ่มสาวที่ “ตามกระแสสังคมไปเรื่อย ๆ เขาทำอะไรก็ทำตาม ๆ กันไปเพียงเพราะมัน fashionable, trendy” แต่ก็ไม่ใช่ตัวละครที่ฉลาดเป็นกรด, มีความเป็นนักวิชาการ แบบในหนังของ Jean-Luc Godard และก็ไม่ใช่คนแบบเราที่ไม่รู้และไม่คิดจะไล่ตามกระแสสังคมใด ๆ ทั้งสิ้น ขอเป็นคนเชย ๆ ตกยุคล้าสมัยต่อไป 55555

 

4.ชอบไอเดียของงานอย่างสุดๆ ด้วยแหละ คือแทนที่จะให้เราเห็นภาพเคลื่อนไหว เป็น video installation แบบปกติ เรากลับได้เห็นแต่ภาพนิ่งแทน และเราก็ต้องเลือกเองว่าในแต่ละวินาทีไหนเราจะจับตามองไปที่ภาพใดพร้อมกับต้องคอยอ่าน text ที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ

 

ซึ่งถึงแม้ภาพในงานชิ้นนี้มันจะนิ่ง แต่พอมันประกอบเข้ากับ text ในเรื่องแล้ว มันก็เหมือนกับกระตุ้นให้เราสร้างภาพเคลื่อนไหวขึ้นมาในหัวเองได้ คือไม่ว่างานชิ้นนี้มันจะจัดประเภทได้ว่าเป็น video installation หรือไม่ แต่ผลที่มีต่อผู้ชมงานอย่างเราก็คล้าย ๆ กับได้ดู video installation ชิ้นนึง แต่เป็น video installation ที่เกิดจากจินตนาการของตัวผู้ชมเองด้วย 55555

 

5.ก่อนหน้านี้เคยดูงานของคุณ Nat Sethana อีกสองงาน ซึ่งก็คือ RECOLLECTIVE SPACE ที่หอภาพยนตร์ ศาลายา กับ (UN)RECOGNIZED PROJECTION (2018) ที่ BACC ซึ่งก็ชอบสุด ๆ ทั้งสองงาน เหมือน concept ในงานของเขามันน่าสนใจมาก ๆ

Monday, August 22, 2022

SOUND OF THE SOUL

 อยากให้มีคนฉาย WANDERING ควบกับ TENDERNESS (2009, John Polson)  เพราะทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็เป็น ONE OF MY MOST FAVORITE ROMANTIC FILMS OF ALL TIME เหมือนกัน


THE UNBEARABLE WEIGHT OF MASSIVE TALENT (2022, Tom Gormican, A+25)
IT'S A FLICKERING LIFE (2021, Yoji Yamada, Japan, A+30)

SIX MINUTES TO MIDNIGHT (2020, Andy Goddard, UK, A+15)

1. ยกให้ Carla Juri เป็นหนึ่งในนักแสดงในดวงใจของเราประจำปีนี้ ชอบเธออย่างสุดขีดใน AMULET (2020, Romola Garai) และก็ชอบเธอในเรื่องนี้ด้วย

2. ดูแล้วนึกถึงวรรณกรรมสำหรับเด็กที่สนพ.ไทยวัฒนาพานิชเคยพิมพ์ในยุคทศวรรษ 1980 คือมันจะสนุกดี แต่มันจะไม่เข้มข้นเท่าวรรณกรรมสำหรับผู้ใหญ่

ALIENS IN ADAM'S APPLE (2020, Samak Kosem,video installation, 17min, A+30)

From the exhibition NATURE VERSUS NURTURE by Naraphat Sakarthornsup

ชอบนิทรรศการนี้อย่างสุด ๆ ส่วนหนึ่งของนิทรรศการเป็นภาพถ่ายดอกไม้แช่เย็นจากประเทศที่มีกฎหมายลงโทษเกย์ และอีกส่วนที่เราเคยโพสท์ไปแล้วเป็นภาพการจัดดอกไม้ในครก, ขันน้ำ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่แจกัน

รายงานผลประกอบการประจำวันที่ 12 ส.ค. ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิด George Soros

1.ใจฟูสตอรี่ JAIFU STORY (2022, Prueksa Amaruji, A+20)

ดูที่  Paragon รอบ 11.30 น.

2. FRUITS BASKET: PRELUDE (2022, Yoshihide Ibata, Japan, animation, A+15)

ดูที่  central world รอบ 14.10


3. YOU ARE NOT MY MOTHER (2021, Kate Dolan, Ireland, A+25)

ดูที่ major รัชโยธิน รอบ 17.30

แล้วก็ได้ดูละครเรื่อง "คาธ" ตอนแรกด้วย ตอนแรกจะงง ๆ ว่าทำไมละครดูเล่าเรื่องรวดเร็วมากและพยายามเร้าอารมณ์ตื่นเต้นตลอดเวลา เพราะเราแทบไม่ได้ดูละครทีวีเลยนับตั้งแต่ปี 1995 เป็นต้นมา เราก็เลยเหมือนไม่ชินกับ aesthetics ของละครทีวี แต่พอดูไปซักพักก็ปรับตัวได้ และเดาว่ามันต้องทำแบบนี้เพื่อไม่ให้ผู้ชมเปลี่ยนช่องมั้ง ละครก็เลยต้องพยายามตรึงความสนใจผู้ชมตลอดเวลา จะมา slow burning แบบภาพยนตร์ไม่ได้ 5555
---
หนึ่งในโปสเตอร์ที่ชอบที่สุดในนิทรรศการ ใบปิด คือโปสเตอร์ STREETS OF FIRE (1984, Walter Hill) เพราะมันถ่ายทอดความหล่อของ Michael Pare ออกมาได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง

---
สิ่งหนึ่งที่เราไม่แน่ใจว่า NOPE (2022, Jordan Peele, A+30) ต้องการพาดพิงถึงหรือไม่ คือเหตุการณ์ที่เฮลิคอปเตอร์ตามถ่ายการขับรถหนีของ O.J. Simpson ในปี 1994

1.เพราะตัวละครพระเอกของ NOPE ชื่อ O.J.

2. และเขากับน้องสาวต่างก็ต้องขี่ม้าและขับรถมอเตอร์ไซค์หนี “การจ้องมองจากสิ่งที่อยู่บนท้องฟ้า” (คล้าย ๆ กับ O.J. Simpson)

3.และหนังเรื่อง NOPE ก็มีเนื้อหาส่วนหนึ่งพาดพิงถึง “ประวัติศาสตร์ภาพเคลื่อนไหว” ซึ่งตัวเราเองก็มองว่า เหตุการณ์ที่เฮลิคอปเตอร์ของสถานีโทรทัศน์ถ่ายทอดสดการขับรถหนีของ O.J. Simpson น่าจะถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์สำคัญของประวัติศาสตร์ภาพเคลื่อนไหวเช่นกัน

แต่เราอาจจะคิดไปเองก็ได้นะ ผู้กำกับอาจจะไม่ได้ตั้งใจ แต่พอเราดู NOPE เราก็เลยนึกถึงเหตุการณ์นี้ขึ้นมา
---
อยากให้มีคนฉาย BULLET TRAIN (2022, David Leitch, A+25)  ควบกับ RED SUN ตะวันเพลิง (1971, Terence Young, France, Italy, Spain) ที่ให้ Toshiro Mifune ปะทะ Alain Delon ปะทะ Charles Bronson ปะทะ Ursula Andress

SOUND OF THE SOUL (2022, Supachai Ketkarunkul, Hear & Found, DuckUnit, video installation, A+25)

--ชอบการนำเสนอภูมิปัญญาชาวบ้าน ทึ่งมาก ๆ ที่ subject  ของหนังชี้ไปที่ต้นไม้ต่าง ๆ ในป่าแล้วบอกได้หมดว่าต้นไหนชื่ออะไร กินตรงไหนได้ หรือกินไม่ได้ คือถ้าใครหลงป่า แต่มีความรู้แบบนี้ติดตัว รับรองว่าไม่มีทางหิวแน่นอน เพราะรู้หมดว่าจริง ๆ แล้วต้นไม้มากมายในป่ามีส่วนที่กินได้

--แต่เหมือนวิดีโอมันน้อยไปหน่อย มี 3 จอ ใช้เวลาดูทั้งหมดราว ๆ 30 นาทีได้มั้ง

--จุดอ่อนของนิทรรศการคือการมีหูฟังเพียงอันเดียวต่อหนึ่งจอ

--อยากเล่นผ้ามาก ๆ 5555 อยากเข้าไปในสถานที่ที่จัดผ้าระโยงระยางแบบในนิทรรศการนี้แล้ววิ่งแร่ดไปมา