Thursday, March 31, 2022

THE FAREWELL

 

ชอบการแสดงของ Mitsuko Baisho ใน IN THE WAKE (2021, Takahisa Zeze, A+30) มาก ๆ เราเพิ่งรู้จากรายการวิทยุ “แมวนอก” ของคุณอาทิตย์ พรหมประสิทธิ์ว่า เธอเคยเป็นนักร้องมาก่อนด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=BySkfxJngWQ

 

สิ่งหนึ่งที่ติดใจสุด ๆ ใน RRR (2022, S. S. Rajamouli, India, A+30) คือ ending credits ที่มีการขึ้นรูปของบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์อินเดียมาเยอะมาก ๆ ราว ๆ 10 คนได้มั้ง ซึ่งเราไม่รู้จักเลย 55555 เราก็เลยอยากรู้ว่า มีใครรู้ไหมว่ารูปบุคคลต่าง ๆ ที่ขึ้นมาในช่วง ending credits มีใครบ้าง เมื่อกี้เรา google ดูแล้ว ก็ดูเหมือนไม่มีใครเขียนอธิบายถึงประเด็นนี้เอาไว้

 

ประติมากรรมในช่วง ending credits ทำให้นึกถึงโซเวียตมาก ๆ ไม่รู้ใครคิดแบบเดียวกับเราบ้าง

 

แต่ถ้าใครยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้ก็ห้ามดู ending credits นี้นะ เพราะมันเป็นการเล่าตอนจบพร้อมกับ ending credits ไปด้วยในขณะเดียวกัน มันคือการ spoil ตอนจบอย่างรุนแรง

 

อะไรคือการที่คนในโรงร้องกรี๊ดตอน Ajay Devgn โผล่มาใน ending credits 55555

https://www.youtube.com/watch?v=DfgG90FQLwo

 

 

ตอนเราดู RRR (2022, S.S. Rajamouli, A+30)  ที่โรงหนังในไอคอน สยาม หนังมีแต่ซับไตเติลภาษาอังกฤษนะ ไม่มีซับไตเติลภาษาไทย

 

แต่ปกติแล้วเวลาเราดูหนังอินเดียในโรงหนังเครือเมเจอร์ เราพยายามไม่อ่านซับไทยอยู่แล้วล่ะ เพราะมันแปลตลกมาก ๆ ตลกจนบางครั้งเรากะว่าจะตีตั๋วรอบสองเพื่อเข้าไปเพ่งสมาธิอ่านแต่ซับไทยโดยเฉพาะ เพื่อความขำขัน

 

คือก่อนหน้านั้นเราเพิ่งดู BACHCHHAN PAANDEY (2022, Farhad Samji, India, A-) ที่โรงพารากอนไป ซึ่งหนังมีขึ้นทั้งซับไตเติลภาษาอังกฤษและภาษาไทย แล้วพอซับไตเติลภาษาอังกฤษมันขึ้นว่า “Right” ซึ่งตามบริบทมันต้องแปลว่า “ใช่” แต่ซับไตเติลภาษาไทยมันจะขึ้นว่า “สิทธิ” หลายครั้งมาก ๆ สลับกับขึ้นว่า “ขวา” คือประมาณว่าตัวละครพูด RIGHT ประมาณ 30 ครั้ง ซี่งต้องแปลว่า “ใช่” ประมาณ 30 ครั้ง แต่ซับไตเติลภาษาไทยแปลว่า “สิทธิ” ประมาณ 15 ครั้ง และแปลว่า “ขวา” ประมาณ 15 ครั้ง อะไรทำนองนี้ ฮามาก ๆ เราก็เลยกะว่าบางทีเราต้องตีตั๋วเข้าไปดูรอบสองเพื่ออ่านซับไทยเพื่อความขำขัน

 

จริง ๆ ไอเดียนี้เหมาะเอามาทำเป็นหนังทดลองมาก ๆ นะ 55555

 

ส่วนที่เราให้ BACHCHHAN PAANDEY แค่ A- ไม่ได้เป็นเพราะหนังไม่ดีนะ จริง ๆ แล้วเราว่าหนังโอเคมาก ๆ สำหรับเราเลยแหละ แต่เรามักจะมีปัญหากับหนังตลกร้ายน่ะ คือเราเป็นคนที่มักจะอินกับ “ความเจ็บปวด” ของตัวละคร แต่หนังตลกร้ายมันจะไม่ค่อยแคร์ความเจ็บปวดของตัวละคร เราก็เลยเหมือนมีปัญหาในการจูนให้เข้ากับหนัง genre นี้มาก ๆ

 

โดยในช่วงต้นของ BACHCHHAN PAANDEY นั้น พระเอกจับนักข่าวที่กล้าเขียนตีแผ่ความเลวร้ายไปเผาทั้งเป็น ซึ่งเราว่ามันเป็นพฤติกรรมที่เราให้อภัยไม่ได้น่ะ คือถึงแม้พระเอกจะกลับตัวกลับใจหรืออะไรทำนองนี้ในภายหลัง เราก็อินกับความเจ็บปวดของนักข่าวผู้ผดุงความยุติธรรมไปแล้ว เราก็เลยเหมือนทำใจยอมรับหนังเรื่องนี้ไม่ได้ ถึงแม้หนังมันจะมีส่วนที่เราชอบส่วนอื่นๆ เยอะมากก็ตาม

---

ONCE UPON A TIME IN BANGKOK, THERE USED TO BE CINEPHILIC HEAVENS CALLED “INTERNATIONAL FILM FESTIVALS”. (รำลึกถึงหนังที่ชอบสุด ๆ ที่เคยดูในเทศกาลภาพยนตร์ของพี่วิคเตอร์ เกรียงศักดิ์ ศิลากอง)

 

3.THE FAREWELL (BERTOLT BRECHT’S LAST SUMMER) (2000, Jan Schütte, Germany)

 

เราได้ดูหนังเรื่องนี้ในเทศกาลภาพยนตร์ Bangkok International Film Festival ในปี 2003 ที่พี่วิคเตอร์เป็น programmer ถ้าจำไม่ผิด เราได้ดูหนังเรื่องนี้ที่โรงภาพยนตร์ในห้าง Siam Discovery

เราว่าหนังเรื่องนี้เหมาะฉายควบกับ THE LIVES OF OTHERS (2006, Florian Henckel von Donnersmarck) และ BARBARA (2012, Christian Petzold) มาก ๆ เพราะหนังทั้งสามเรื่องสะท้อนความเลวร้ายของระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ในเยอรมันตะวันออกเหมือนกัน แต่หนังทั้งสามเรื่องนี้นำเสนอความเลวร้ายนี้ใน level ที่ต่างกัน คือ THE LIVES OF OTHERS มุ่งไปที่ประเด็นนี้อย่างจริงจัง เป็น “หนังการเมือง” ที่ประเด็นชัด ๆ เต็ม ๆ แต่ BARBARA นั้นมีทั้งความเป็นหนังการเมือง และนำเสนอชีวิตของนางเอกในฐานะมนุษย์ไปด้วย คือเรารู้สึกเหมือนกับว่า BARBARA เป็นหนังการเมือง 50% และเป็นหนังชีวิตมนุษยนิยม 50% น่ะ ประเด็นการเมืองไม่ได้เป็นส่วนผสมของหนังในระดับ 80% แบบใน THE LIVES OF OTHERS

 

ส่วน THE FAREWELL นั้น เหมือนเป็นหนังชีวิตประจำวันของตัวละครราว 75% และมีความเป็นหนังการเมืองเพียงแค่ราว 25% แต่พอประเด็นการเมืองในหนังเรื่องนี้มันแผลงฤทธิ์ มันก็แผลงฤทธิ์ได้อย่างรุนแรงเจ็บปวดจนเราไม่สามารถลืมหนังเรื่องนี้ได้ลงเลยตลอดเวลาเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา เราก็เลยคิดว่า THE FAREWELL อาจจะเป็นอะไรที่น่าสนใจสำหรับคนที่อยากทำหนังการเมืองในไทย แต่ไม่อยากทำหนังการเมืองแบบข้นคลั่ก ทุกสิ่งทุกอย่างในหนังถูกออกแบบมาเพื่อรับใช้ประเด็นทางการเมืองไปหมด เพราะ THE FAREWELL มันเหมือนสะท้อนชีวิตมนุษย์ที่มีหลากหลายแง่มุม ทั้งเรื่องรักโลภโกรธหลง, เพื่อนฝูง, คนรัก, ศิลปะ, ความงดงามของก้อนเมฆที่เคลื่อนคล้อยไปมา (หรืออะไรทำนองนี้)  และก็มีแง่มุมการเมืองด้วย คือการเมืองเหมือนเป็นมลพิษในอากาศ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าได้ชัด ๆ แต่รู้ได้ว่ามันมีอยู่ แต่ไม่รู้ว่ามันจะเล่นงานเราจนเจียนตายได้เมื่อไหร่ เราก็เลยคิดว่าการทำหนังแบบ THE FAREWELL เป็นอีกวิธีนึงในการทำหนังที่น่าสนใจดี คือมัน สอดแทรกประเด็นทางการเมืองเข้ามา “เพียงเล็กน้อย แต่เจ็บปวด, ร้าวราน, ทรงพลัง และลืมไม่ลง” มาก ๆ

 

ชอบไอเดียอีกอย่างใน THE FAREWELL ด้วย คือมันนำเสนอชีวิตของ Bertolt Brecht เพียงแค่ 1 วันเท่านั้น แต่ภายใน 1 วันนี้ มันก็สะท้อนอะไรได้เยอะมาก ๆ แล้ว โดยไม่ต้องอาศัยดราม่ามากมายอะไรเลยด้วย

 

ดูแล้วก็เจ็บปวดมาก ๆ เพราะถ้าเราเข้าใจไม่ผิด Bertolt Brecht ก็ถือเป็น Marxist คนนึง เพราะฉะนั้นในช่วงที่นาซียึดครองเยอรมนี เขาก็เลยต้องหนีไปอยู่ต่างประเทศ แต่พอเขาไปอยู่อเมริกา เขาก็ถูกทางการอเมริการังควาน เขาก็เลยย้ายไปอยู่เยอรมันตะวันออก แต่เขาก็ต้องได้รับเภทภัยในบางรูปแบบภายใต้ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์อยู่ดี ถึงแม้เขาเป็น Marxist ก็ตาม

 

เป็นหนังเรื่องนึงที่ดูแล้วก็ต้องบอกว่า “นี่แหละ ชีวิต” เหมือนหนังมันนำเสนอหลากหลายแง่มุมของชีวิตมนุษย์ผ่านทางชีวิตของตัวละครเพียงแค่ 1 วันได้อย่างงดงามและเจ็บปวดสุด ๆ

SECOND SEMESTER

 

ONCE UPON A TIME IN BANGKOK, THERE USED TO BE CINEPHILIC HEAVEN CALLED “INTERNATIONAL FILM FESTIVAL”.

ถ้าจำไม่ผิด เราได้รู้จักพี่วิคเตอร์ เกรียงศักดิ์ ศิลากอง เป็นครั้งแรก ตอนที่เขาจัดเทศกาลภาพยนตร์ Bangkok International Film Festival ในช่วงต้นปี 2003 ซึ่งมีการจัดงาน retrospective ของ Agnes Varda ในครั้งนั้นด้วย หนึ่งในหนังที่เราชอบสุด ๆ ที่ได้ดูในเทศกาลนั้นก็คือหนังเรื่อง LE BONHEUR (1965, Agnes Varda) ที่เราได้ดูที่มาบุญครอง

หลังจากนั้นพี่วิคเตอร์ก็ได้จัดเทศกาล World Film Festival of Bangkok ในปี 2003-2017 และได้กลับไปจัด Bangkok International Film Festival ด้วยอีกครั้งหนึ่งในปี 2007

มีหนังที่เราชอบสุด ๆ กว่าร้อยเรื่องที่เราได้ดูในเทศกาลที่พี่วิคเตอร์จัด ถ้าให้ลิสท์รายชื่อจริง ๆ ก็คงต้องใช้เวลาทั้งวัน เพราะฉะนั้นเราขอลงรูปให้ดูครั้งละเรื่องก็แล้วกัน

 

ONCE UPON A TIME IN BANGKOK, THERE USED TO BE CINEPHILIC HEAVENS CALLED “INTERNATIONAL FILM FESTIVALS”. (รำลึกถึงหนังที่ชอบสุด ๆ ที่เคยดูในเทศกาลภาพยนตร์ของพี่วิคเตอร์ เกรียงศักดิ์ ศิลากอง)

 

2. HI, TERESKA (2001, Robert Glinski, Poland)

 

เราได้ดูหนังเรื่องนี้ในเทศกาลภาพยนตร์ Bangkok International Film Festival ในปี 2003 ที่พี่วิคเตอร์เป็น programmer ถ้าจำไม่ผิด เราได้ดูหนังเรื่องนี้ที่โรงภาพยนตร์ในห้าง Siam Discovery

 

 ถือเป็นหนึ่งใน one of my most favorite coming-of-age films of all time เลย หนังเล่าเรื่องของหญิงสาววัยรุ่นผู้ยากจนที่ได้เป็นเพื่อนสนิทกับหญิงสาวผู้จัดจ้านกร้านโลก และนางเอกก็ค่อย ๆ ถลำลึกเข้าสู่ด้านมืดมากขึ้นเรื่อย ๆ ดูแล้วสะท้านสะเทือนใจอย่างรุนแรงมาก ๆ  

 

SECOND SEMESTER (2022, ภัทรภร วีระศักดิ์วงศ์, จตุพงศ์ รุ่งเรืองเดชาภัทร์, เอกภณ เศรษฐสุข, A+25)

เทอมสองสยองขวัญ

 

SPOILERS ALERT

 

--

--

--

--

--

1.เชียร์ปีสุดท้าย (ภัทรภร วีระศักดิ์วงศ์, A+30)

 

ชอบตอนนี้มากที่สุด อาจจะเป็นเพราะเราฝังใจกับประเด็นเรื่อง “เพื่อน” มั้ง เราก็เลยอินกับตอนนี้หรือรู้สึกรุนแรงกับตอนนี้มาก ๆ

 

ตอนแรกนึกว่ามันจะเป็นแค่หนังด่าพิธีกรรมรับน้องแบบโหด ๆ แต่ดีที่หนังมันมีอะไรมากกว่านั้นเยอะมาก ดูแล้วรู้สึกเข้าใจหรืออินกับตัวละครที่ต้องเผชิญกับทั้งความน่าอึดอัดของการรับน้อง, ความพยายามที่จะหาเพื่อนดี ๆ ใหม่ ๆ ซึ่งต้องแลกด้วยการพยายามทำตัวให้กลมกลืนกับคนหมู่มาก, การต้องคอยเทคแคร์เพื่อนเก่าที่มีปัญหารุนแรง และต้องรับมือกับผีด้วย

 

ชอบที่หน้าหนังมันเป็นหนังผี แต่จริง ๆ แล้วปัญหาเหมือนมาจาก “คน” มากกว่ามาจากผี (นางเอกเผชิญกับแรงกดดันอย่างรุนแรงทั้งจากทั้งรุ่นพี่, เพื่อนใหม่ และเพื่อนเก่า) หนังมันก็เลยสะเทือนหรือบาดลึกทางอารมณ์ต่อเรามากกว่าหนังผีทั่วไป นึกถึงหนังอย่าง DARK WATER (2005, Walter Salles) ที่หน้าหนังเหมือนเป็นหนังผี แต่จริง ๆ แล้ว “ปัญหาชีวิต” ของตัวละครมันสะเทือนอารมณ์อย่างหนักหน่วงกว่าความเป็นหนังผีมาก ๆ

 

ชอบมาก ๆ ที่หนังทำให้เราเปลี่ยนความคิดที่มีต่อตัวละครต่าย (แคร์  ปาณิสรา ริกุลสุรกาน) ด้วย เพราะตอนแรกเรามองเธอในทางไม่ดีที่เธอทรยศเพื่อน ไม่กล้าพูดความจริง แต่พอตอนหลังเธอระบายความในใจออกมา เราก็เข้าใจเธอมากขึ้น และเห็นใจเธอมาก ๆ ฉากนั้นปาณิสราแสดงได้ดีมาก ๆ สุดยอดมาก ๆ

 

ตัวละครอื่น ๆ ในเรื่องก็ดูเป็นมนุษย์ดี ตัว “เมษา” ก็ทั้งน่าสงสารและน่ารำคาญในเวลาเดียวกัน ตัวละครอื่น ๆ ในเรื่องอาจจะมีบทบาทเหมือน “ตัวร้าย” ทั้งรุ่นพี่และกลุ่มเพื่อนใหม่ แต่หนังสามารถทำให้พวกเขาดูเป็นมนุษย์ปุถุชน มากกว่าจะเป็นตัวร้ายแบน ๆ

 

ดูแล้วแอบนึกถึง THEY LIVE (1988, John Carpenter) โดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจด้วย เหมือนการที่สองสาวเห็นผีมันคล้าย ๆ กับเป็นพลังจิตแบบพิเศษในการมองเห็น “ความจริง” ได้มากกว่าคนทั่วไป โดยเฉพาะในฉากที่เมษาเห็นปีศาจอยู่ด้านหน้ารุ่นพี่ใจร้าย และฉากที่เห็นกลุ่มผีร้องเพลงเชียร์แบบกลับหัว ซึ่งเป็นฉากที่เราหวาดกลัวที่สุด และเป็นฉากที่มาหลอกหลอนเราตอนก่อนนอน คือพอหลังจากดูหนังเรื่องนี้เสร็จ แล้วถึงเวลาที่กูจะปิดไฟเข้านอน กูก็ชอบนึกถึงฉากกลุ่มผีร้องเพลงเชียร์แบบกลับหัวขึ้นมาค่ะ อีห่า 555555 ขอให้เพื่อน ๆ ทุกคนนึกถึงฉากนี้ตอนก่อนนอนแบบเราด้วยนะคะ

 

2. เดอะซี (จตุพงศ์ รุ่งเรืองเดชาภัทร์, A+25)

 

ถ้าวัดตามคุณภาพแล้ว ตอนนี้อาจจะน่าสนใจน้อยสุด แต่เราก็ชอบตอนนี้มากเป็นอันดับสองค่ะ เพราะดิฉันมีความสุขกับการได้ดูเจมส์ ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญมาก ๆ ค่ะ ฉันรักเขา และเราอินกับสถานการณ์ของตัวละครมาก ๆ ด้วย เพราะเราอาศัยอยู่อพาร์ทเมนท์ตัวคนเดียวมานาน 27 ปีแล้ว  และเราต้องรับมือกับการป่วยไข้ด้วยโรคเหี้ย ๆ ห่า ๆ อยู่ตามลำพังในอพาร์ทเมนท์ตัวคนเดียวเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นหวัดไข้สูง, อาหารเป็นพิษ, หอบหืด, หมอนรองกระดูกเคลื่อน, etc.  

 

เหตุผลนึงที่ชอบก็อาจจะคล้าย ๆ กับตอนแรก คือหน้าหนังมันเป็นหนังผี แต่เราอินกับจุดอื่นของหนังอย่างมาก ๆ โดยในตอนสองนี้เราอินกับ “ความพยายามจะต่อสู้กับอาการป่วยทางกาย” ของตัวละครมาก ๆ น่ะ คือพอตัวละครมันเครียดสุด ๆ กับอาการป่วยทางกายของตัวเอง และไม่สามารถขอความช่วยเหลืออะไรจากใครได้ เราก็เลยอินกับหนังอย่างมาก ๆ ไปเลย เหมือนนี่แหละคือชีวิตกูเอง

 

อีกอย่างที่ชอบก็คือว่า นอกจากพระเอกจะต้องสู้กับอาการป่วยทางกายอย่างรุนแรงของตนเอง และสู้กับผีแล้ว พระเอกยังต้องต่อสู้กับปมปัญหาในใจของตนเองอย่างรุนแรงด้วย นั่นก็คือการยอมรับว่าสภาพร่างกายของตนเองไม่เหมาะกับการเป็นแพทย์ คือพอพระเอกต้องรับมือกับทั้งร่างกายที่บกพร่องมาก ๆ ของตนเอง, ปมปัญหาสำคัญในใจตนเอง และผีร้ายในเวลาเดียวกัน มันก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้เข้าทางเรามากกว่าหนังผีโดยทั่ว ๆ ไป

 

ชอบการตัดสินใจของพระเอกในตอนจบนะ คิดว่าการตัดสินใจของพระเอกในตอนจบคือ “อัตตัญญุตา” แบบนึงมั้ง

 

แต่ก็ยอมรับว่าเนื้อหาของหนังมันไม่ใช่ทางเราแบบเต็มร้อยซะทีเดียวนะ ซึ่งก็คงเป็นเพราะหนังมันพยายามยึดโยงกับตำนานเตียงซีที่มีอยู่จริง ๆ นั่นแหละ เราก็เลยเสียดายมาก ๆ โดยเราคิดว่าจริง ๆ แล้วถ้าหากหนังเรื่องนี้มันจะเป็นหนังแบบที่เราชอบจริง ๆ หนังมันอาจจะต้องตัดตำนานเตียงซีทิ้งไปเลย แล้วมันอาจจะดัดแปลงมาได้แบบนี้

 

2.1 คือพอเราได้เห็นฉากพระเอกกล่าวคำปฏิญาณทางการแพทย์หรืออะไรสักอย่างในช่วงต้นเรื่อง เราก็นึกถึงกรณีของ พล.ต.นพ.เหรียญทอง แน่นหนา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะ ที่เคยโพสข้อความถึง “ส้มเน่า ควายแดง” ตอนแรกเรานึกว่าหนังจะเล่นประเด็นนี้ 55555

 

2.2 และพอในคำปฏิญาณทางการแพทย์มีพูดถึงการตั้งใจทำงานแม้จะเผชิญกับแรงกดดันหรืออะไรสักอย่าง เราก็นึกถึงกรณีทีมแพทย์อาสาถูกตำรวจควบคุมฝูงชนรุมกระทืบ แต่ปรากฏว่าหนังก็ไม่ได้เล่นประเด็นนี้ 55555

 

2.3 คือถ้าหากตัดตำนานเตียงซีทิ้งไป เราคิดว่าสถานการณ์ในหนังมันสามารถดัดแปลงให้กลายเป็นหนังที่เราชอบสุด ๆ ได้เลย นั่นก็คือหนังฆาตกรโรคจิตไล่ฆ่าหนุ่มหล่อที่ป่วยเป็นอัมพาตครึ่งซีกที่อาศัยอยู่ในหอพักตามลำพัง โดยหนังเน้นความ thriller ลุ้นระทึก ตัวละครหนุ่มหล่อที่เป็นอัมพาตครึ่งซีกจะทำอย่างไรในการหลบหนีจากฆาตกรโรคจิตที่อาจจะมีความแค้นฝังหุ่นแพทย์มากเป็นพิเศษ (ฆาตกรโรคจิตอาจจะแค้นแพทย์บางคนที่ไม่ทำตามคำปฏิญาณทางการแพทย์ เขาก็เลยบุกมาไล่ฆ่านักศึกษาแพทย์ในหอพัก แล้วเจอพระเอกหนุ่มหล่อพอดี) ลองนึกถึงหนังแบบ HALLOWEEN II (1981, Rick Rosenthal) ที่เป็นการไล่ฆ่าในโรงพยาบาล และ KRISTY (2014, Olly Blackburn) ที่เป็นการไล่ฆ่านักศึกษาในหอพักสิ เราว่าจริง ๆ แล้วสถานการณ์แบบใน “เดอะซี” มันง่ายต่อการดัดแปลงเป็นหนังฆาตกรโรคจิตมาก ๆ แล้วถ้าฆาตกรโรคจิตถูกทำร้ายแต่ไม่ตาย แพทย์ก็จะเจอ dilemma เองว่าจะฆ่าให้ตายหรือรักษาเขาให้ฟื้นเพราะตัวเองเป็นแพทย์ 55555

 

3. ตึกวิทย์เก่า (เอกภณ เศรษฐสุข, A+20)

 

กฤตย์ จีรพัฒนานุวงศ์น่ารักสุด ๆ กรี๊ดดดดดดด

 

เราว่าตอนนี้ไอเดียสร้างสรรค์ที่สุดแล้วนะ คือถ้าวัดตามคุณภาพแล้วตอนนี้เราว่าดีมาก ๆ แต่โดยปกติแล้วเรามักจะอินกับหนังสยองขวัญ แต่ไม่อินกับหนังตลกน่ะ เราก็เลยไม่ค่อยอินกับอารมณ์ในตอนนี้

 

แต่เราชอบที่จริง ๆ แล้วอารมณ์มันมีความคล้ายคลึงบางอย่างกับ “หอแต๋วแตก พจน์ อานนท์” มาก ๆ คือมีความเป็นผีบ้า ๆ บอ ๆ แต่ในหนังตอนนี้มันก็อาจจะมี “สาระ” ปะปนไปกับความตลกด้วยในเวลาเดียวกัน

 

 

 

 

 

 

 

Sunday, March 27, 2022

SONGS FOR LIVING

 

SONGS FOR LIVING (2021, Korakrit Arunanondchai, video installation, approximately 40 mins, A+30) + the exhibition PRAY (SONGS FOR LIVING IN A ROOM FILLED WITH PEOPLE WITH FUNNY NAMES (2022, Korakrit Arunanondchai + Alex Gvojic)

 

อลังโคมสุด ๆ ตระการตามาก ๆ วิดีโอจัดฉายบนเพดาน เราต้องนอนดูวิดีโอ (มีเบาะรองนอน)  เป็นเวลาราว 40 นาทีร่วมกับผู้ชมคนอื่น ๆ มีชายหนุ่มแปลกหน้า (ซึ่งเป็นผู้ชมคนอื่น) มานอนข้าง ๆ เราตอนดูด้วย รู้สึกดีจัง 555555

 

แต่วิดีโอจริง ๆ แล้วอาจจะมีเนื้อเรื่องเพียงแค่ 20-30 นาทีเองมั้ง ตอนต้นวิดีโอเหมือนเป็นฉากมือไหม้ไฟที่ภาพเป็นแบบย้อนกลับราว ๆ 5-10 นาที และตอนท้ายวิดีโอเป็นฉากมือไหม้ไฟอันเดียวกันแต่เป็นภาพแบบเดินไปข้างหน้าราว ๆ 5-10 นาที

 

แต่ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่องราว ๆ 20-30 นาทีก็ขลังมาก ๆ นึกว่าพิธีกรรมอาถรรพณ์อะไรสักอย่าง

 

ตัวนิทรรศการก็ขลังมาก ๆ มีบ่อน้ำอยู่กลางห้อง แล้วฝาผนังห้องก็เหมือนเป็นรูปวาดที่ทำให้นึกถึงทั้งจิตรกรรมผนังถ้ำและเรื่องราวแบบมนุษย์ต่างดาว

 

BEAUTIFUL THINGS (DESIRES) (Apichatpong Weerasethakul, video installation, 11min, A+30) + the exhibition A MINOR HISTORY, PART II: BEAUTIFUL THINGS (Apichatpong Weerasethakul) ชอบคำว่า “มายากลของประวัติศาสตร์องชาติไทยชูชัน” มาก ๆ

TSUNAMI, JAPANESE FILMS, THAI FILMS

 

พอดู IN THE WAKE (2021, Takahisa Zeze, A+30) แล้วก็เลยเพิ่งนึกขึ้นมาได้ว่า ญี่ปุ่นมีหนังดี ๆ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์ TSUNAMI ในปี 2011 เยอะมาก แต่เหมือนไม่ค่อยมีหนังไทยเกี่ยวกับเหตุการณ์ TSUNAMI ปี 2004 มากสักเท่าไหร่ ไม่รู้เพื่อน ๆ คิดว่าเป็นเพราะสาเหตุใดบ้าง เราเดาว่าสาเหตุนึงอาจจะเป็นเพราะยอดผู้เสียชีวิตด้วยมั้ง เหมือนสึนามิญี่ปุ่นปี 2011 มียอดผู้เสียชีวิตราว 20,000 คน เหตุการณ์นี้ก็เลยเหมือนสร้าง trauma ต่อจิตใจคนในประเทศหนักมาก ส่วนยอดผู้เสียชีวิตจากสึนามิในไทยอยู่ที่ราว 5000-8000 คน ซึ่งน่าจะเป็นชาวต่างชาติซะเป็นส่วนใหญ่ด้วย ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด

 

คือเราก็ไม่ได้ตามดูหนังญี่ปุ่นมากนักนะ แต่ก็ได้ดูทั้ง HIMIZU (2011, Sion Sono), STORYTELLERS (2013, Ryusuke Hamaguchi, Ko Sakai, documentary), YOUR NAME (2016, Makoto Shinkai, animation), DOUBLE LAYERED TOWN/MAKING A SONG TO REPLACE OUR POSITIONS (2019, Haruka Komori, Natsumi Seo), VOICES IN THE WIND (2020, Nobuhiro Suwa), THE HOUSE OF THE LOST ON THE CAPE (MISAKI NO MAYOIGA) (2021, Shinya Kawatsura, animation) แล้วก็ IN THE WAKE แล้วก็พบว่าหนังที่เราชอบสุด ๆ ทั้ง 7 เรื่องนี้มันเหมือนได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุสึนามิปี 2011 ทั้งนั้นเลย ซึ่งนั่นก็หมายความว่าญี่ปุ่นน่าจะผลิตหนังดีๆ เกี่ยวกับประเด็นนี้ออกมามากกว่า 7 เรื่องแน่ ๆ เพียงแต่เรายังไม่ได้ดู อาจจะมีผลิตออกมาแล้วราว 70 เรื่องก็ได้

 

YOUR NAME อาจจะไม่ได้พูดถึงสึนามิตรงๆ นะ แต่ผู้ชมหลายคนมีความเห็นตรงกันว่า หนังเรื่องนี้เป็นความพยายามที่จะเยียวยาจิตใจผู้ชมจากเหตุการณ์สึนามิ

 

แล้วจริง ๆ ก็มีหนังอย่าง YARN (2020, Takahisa Zeze, A+30) ที่ตัวละครประกอบได้รับผลกระทบจากสึนามิจนกลายเป็นบ้าด้วย

 

ส่วน THE HOUSE OF THE LOST ON THE CAPE กับ IN THE WAKE นี่มันมีจุดนึงที่พ้องกันมาก ๆ จนเราขำ เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้มันเริ่มต้นเรื่องด้วยตัวละครผ่านพ้นเหตุสึนามิ+แผ่นดินไหว แล้วตัวละคร 3 คนก็มาเจอกันโดยบังเอิญในสถานที่หลบภัย เป็นหญิงชราคนนึง , คนวัยหนุ่มสาว กับเด็กเล็ก เด็กเล็กเหมือนโดนรังแกในสถานที่หลบภัย ตัวละครที่เป็นหนุ่ม/สาวก็เลยโกรธ แล้วหญิงชรา, คนวัยหนุ่มสาว กับเด็กเล็กก็เลยออกจากสถานที่หลบภัย ไปตั้งครอบครัวใหม่ด้วยกัน โดยเป็นครอบครัวที่ไม่ผูกพันกันทางสายเลือดเหมือนกันในหนังทั้งสองเรื่องเลย  คือหนังสองเรื่องนี้มันตรงกันมาก  ๆ ตรงจุดนี้ 555555

 

แต่ตัวละครใน THE HOUSE OF THE LOST ON THE CAPE โชคดี เพราะหญิงชราในหนังเรื่องนี้ได้รับการเลี้ยงดูจาก “บ้านลวงตา” โดยไม่ต้องพึ่งพาเงินสังคมสงเคราะห์แบบในหนังเรื่อง IN THE WAKE โชคชะตาของตัวละครบางตัวในหนังสองเรื่องนี้ก็เลยแตกต่างกันในตอนจบ

 

แล้วเราก็เลยสงสัยนิดนึงว่า ทำไมไทยถึงไม่ค่อยมีหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์สึนามิปี 2004 ออกมามากเท่าญี่ปุ่น เหมือนนอกจาก WONDERFUL TOWN (2007, Aditya Assarat), 2022 สึนามิ วันโลกสังหาร (2009, Toranong Srichua) กับหนังสั้นหลาย ๆ เรื่อง อย่างเช่น SHORTCUT TO HEAVEN (2008, Phaisit Phanphruksachat), ANDAMAN (2005, SOMPOT CHIDGASORNPONGSE) ,AFTER SHOCK (2005, THUNSKA PANSITTIVORAKUL), TSU (2005, PRAMOTE SANGSORN), GHOST OF ASIA (2005, APICHATPONG WEERASETHAKUL + CHRISTELLE LHEREUX), TRAIL OF LOVE (2005, SUCHADA SIRITHANAWUDDHI), WAVES OF SOUL (2005, PIPOPE PANITCHPAKDI), SMILES OF THE FIFTH NIGHT (2005, SONTHAYA SUBYEN), WORLD PRICELESS DAY (2005, LEK MANONT), etc. แล้ว เราก็ไม่ค่อยได้เห็นหนังไทยที่พูดถึงเหตุการณ์นี้เลย (ไม่นับหนังฝรั่งอย่างเช่น THE IMPOSSIBLE)

 

เราก็เลยเดาว่า สาเหตุที่หนังไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากเท่าหนังญี่ปุ่น อาจจะเป็นเพราะ

 

1.ยอดผู้เสียชีวิตในไทยต่ำกว่าในญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก

 

2.เหมือนคนญี่ปุ่นอาจจะกังวลกับเรื่องนี้ตลอดเวลามั้ง เพราะแผ่นดินไหวกับสึนามิมันอาจจะเกิดขึ้นในญี่ปุ่นได้อีก แต่คนไทยไม่ได้กังวลว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบในปี 2004 ขึ้นอีก

 

3.เหมือนคนไทยแบบเรามี trauma กับเรื่องอื่น หรือกังวลกับเรื่องอื่นในใจด้วยมั้ง อย่างในยุคปี 2005 เป็นต้นมา เราก็กังวลแต่กับเรื่องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ แล้วตั้งแต่ปี 2006 เราก็มี trauma หนักมากกับเหตุการณ์รัฐประหาร  คนไทยกลุ่มนึงที่เป็นแบบเราก็เลยเหมือนไม่เคยนึกถึงเรื่องสึนามิในหัวอีกเลย เพราะพวกเราไป trauma กับรัฐประหารแทน คือถึงแม้ประเด็นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้กับรัฐประหารมันก็ไม่ได้ถูกนำเสนอใน “หนังไทยกระแสหลัก” มากนัก แต่มันก็เป็นประเด็นที่ครอบงำจิตใจเรา ไม่ใช่ประเด็นสึนามิน่ะ

 

หรือเพื่อนๆ มีความเห็นอย่างไรบ้างก็บอกมาได้นะ หรือจะแนะนำหนังญี่ปุ่นสึนามิเรื่องอื่น ๆ ก็บอกมาได้จ้า

Monday, March 21, 2022

THE ECONOMY ENTERS THE PEOPLE

 







WHERE IS THE FRIEND'S HOUSE? (1987, Abbas Kiarostami, Iran, A+30)

1.ในขณะที่หนังสั้นไทยในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาชอบนำเสนอ "โรงเรียน" ในฐานะแบบจำลองของโครงสร้างระบอบเผด็จการ ปรากฏว่าหนังเรื่องนี้ไปไกลกว่านั้น เพราะนอกจากครูในโรงเรียนแล้ว ทั้งแม่และปู่ (หรือตา?) ของพระเอกก็เหมือนสะท้อนระบอบเผด็จการโดยที่หนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจด้วย ทั้งแม่ที่ไม่ยอมฟังคำอธิบายของลูก และปู่ที่จงใจสร้างความเดือดร้อนให้พระเอก ทั้ง ๆ ที่พระเอกไม่ได้ทำอะไรผิด โดยปู่อ้างว่าเป็นสิ่งที่ทำตาม ๆ กันมาในอดีต

ปกติเราไม่อินกับหนังเด็ก แต่พอดูเรื่องนี้แล้วอินสุด ๆ รู้สึกโมโหแทนพระเอกมาก ๆ และมันหนักมากตรงที่ภาพลักษณ์ของแม่และปู่ดูเป็นคนธรรมดา ๆ ไม่ใช่คนที่ทำหน้าตาชั่วร้ายถมึงทึงเป็นยักษ์มารด้วย มันเลยทำให้หนังไม่ได้สะท้อน “เด็กโชคร้ายที่เกิดมาในครอบครัวใจร้าย ซึ่งเป็นกรณีพิเศษที่อาจไม่ได้พบเห็นโดยทั่ว ๆ ไป” แต่เหมือนหนังมันสะท้อนสิ่งที่อาจพบเห็นได้ทั่ว ๆ ไปในสังคม ซึ่งก็คือการที่ผู้ใหญ่เพิกเฉยต่อปัญหาของเด็ก เพราะพวกเขาไม่ใส่ใจที่จะรับฟังปัญหา, คำอธิบาย หรือเหตุผลของผู้อื่น เพราะพวกเขามองว่าคนคนนั้นมีสถานะต่ำกว่าเขา

เหมือนนอกจากหนังเรื่องนี้จะทำให้เราอินกับเด็กแล้ว การที่หนังนำเสนอครู, แม่และปู่ด้วยรูปลักษณ์ของคนปกติธรรมดา มันยังทำให้เราหันมาตั้งคำถามกับตัวเองอีกด้วยว่า เราเคยทำแบบเดียวกับแม่และปู่ในหนังเรื่องนี้โดยไม่รู้ตัวด้วยหรือเปล่า นั่นก็คือการเพิกเฉยต่อคำอธิบายหรือเหตุผลของคนอื่น ๆ, การไม่ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความยุติธรรม เพียงเพราะมันเป็นสิ่งที่ทำตาม ๆ กันมาตั้งแต่ในอดีต และการเคร่งครัดในกฎระเบียบบางอย่างมากเกินไป

2.ชอบมาก ๆ ด้วยที่พระเอกเป็นคนเหมือน “อ่อนนอก แข็งใน” คือพระเอกไม่ได้ด่าทอแม่หรือปู่อย่างรุนแรง แต่เขาก็ไม่ยอมล้มเลิกความพยายามในการแก้ไขปัญหาของตนเองด้วย เหมือนถึงแม้เขาจะเจออุปสรรคมากมาย โดยเฉพาะอุปสรรคจากผู้ใหญ่ แต่เขาก็ไม่ย่อท้อ

3.รู้สึกติดใจกับปัญหาของประตูหรือหน้าต่างในหนังเรื่องนี้มาก ๆ ทั้งประตูที่ปิดได้ไม่สนิทในฉากแรกของหนัง และหน้าต่างที่เปิดออกเมื่อลมพัดแรง ไม่แน่ใจว่ามันสะท้อนอะไร

สะเทือนใจกับคนชราในหนังที่งานฝีมือในการทำประตูของเขาไม่ได้รับความนิยมอีกต่อไปด้วย

4. พอดีเราไม่ได้ดูหนังอิหร่านมากนัก เลยสงสัยว่าหนังเรื่องนี้หรือเปล่าที่เป็นต้นกำเนิดของหนังเด็กอิหร่านเผชิญอุปสรรคในช่วงต่อ ๆ มา หรือมันคือเรื่อง THE RUNNER (1984, Amir Naderi) ที่เรายังไม่ได้ดู หรือหนังเรื่องอื่น ๆ

เราจำได้แต่ว่า ยุคนั้นมีหนังเด็กอิหร่านออกมาเยอะมาก ๆ ทั้ง THE WHITE BALLOON (1995, Jafar Panahi), BAG OF RICE (1996, Mohammad Ali-Talebi), CHILDREN OF HEAVEN (1997, Majid Majidi), THE APPLE (1998, Samirah Makhmalbaf), THE CHILD AND THE SOLDIER (2000, Reza Mirkarimi), etc. ก็เลยสงสัยว่าหนังเรื่องไหนเป็นต้นกำเนิดของกระแสนี้

5.อยากให้หนังชุดนี้ทำเงินได้มาก ๆ ในไทย เผื่อจะได้มีคนจัดงาน retrospective ของ Sohrab Shahid Saless บ้าง 555555
--
งาน video installation ของ Harit Srikao ที่ JWD ART SPACE ตัว installation หนักที่สุดในชีวิตการแสดง ต้องไปดูด้วยตาตัวเองเท่านั้น
---

UNDER THE OPEN SKY (2020, Miwa Nishikawa, Japan, A+30)

สะเทือนใจมาก ๆ กับฉากช่วงท้ายที่พระเอกพยายามทำตัวให้กลมกลืนกับสังคมของ "คนทั่วไป" แต่สังคมของคนทั่วไปนี่แหละที่มีการกดขี่และความโหดร้ายรุนแรงอยู่ภายใน

เป็นหนังเรื่องที่ 3 ของ Miwa ที่ได้ดูต่อจาก THE LONG EXCUSE (2016) และ SWAY (2006) ชอบเรื่องนี้มากสุด และชอบ SWAY น้อยสุด
---





PEE NAK 3 (2022, Phontharis Chotkijsadarsophon, A+15)
พี่นาค 3

1.ชอบที่หนังมันเล่าเรื่องจริงจังมาก เหมือนมันหันมาให้ความสำคัญกับพล็อตเรื่องและปัญหาที่ตัวละครต้องแก้ไข มากกว่าการยิงมุกตลกไปเรื่อย ๆ

2.รู้สึกอยากเข้าไปอยู่ในหนังด้วย อยากร้องกรี๊ด ๆ ๆ ๆ ๆ แล้วก็วิ่งหนีผีไปเรื่อย ๆ แบบตัวละครในหนัง 55555 อารมณ์เหมือนไปเที่ยวสวนสนุกหรือบ้านผีสิงกับแก๊งเพื่อนกะเทย

3.แต่ถึงแม้เราจะชอบที่หนังภาคนี้หันมานำเสนอ “ปัญหาอาถรรพณ์คำสาป” ที่ตัวละครต้องแก้ไขอย่างจริงจัง แต่เราว่ามันให้ความสนุกพอ ๆ กับการเล่นเกมแบบ “งูตกกระได” น่ะ ไม่ใช่เกมแบบ “หมากรุก”

คือความสนุกแบบเกม “งูตกกระได” คือความสนุกแบบที่ผู้เล่นไม่ต้องใช้สมอง, สติปัญญา หรือความสามารถใด ๆ ในการเอาตัวรอดหรือแก้ไขปัญหาน่ะ มันคือการวัดดวงอย่างเดียว ไหลไปตามผลของการทอดลูกเต๋าไปเรื่อย ๆ และไม่ว่าใครเป็นผู้เล่นก็อาจจะให้ผลแบบเดียวกัน เพราะมันไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่นแต่ละคน มันขึ้นอยู่กับดวงของผู้เล่นแต่ละคน

คือเราว่ากลุ่มตัวละครเอกในภาคนี้ เหมือนมีแค่ “จำนวน” แต่ไม่มี “ความสามารถเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป” ที่ส่งผลดีผลเสียอย่างเห็นได้ชัดต่อการเล่นเกมน่ะ เพราะตัวละครแต่ละตัวแทบไม่ได้ถูกนำเสนอว่ามีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันที่จะส่งผลกระทบต่อการแก้ไขปัญหาสักเท่าไหร่ เหมือนจุดเด่นมีแค่ว่า ตัวละครนำสองตัวร้องกรี๊ด ๆ กับบ้าผู้ชายไปเรื่อย ๆ และตัวละครตัวนึงเหมือนถนัดในการใช้อุปกรณ์ electronics แค่นั้นเอง

คือเราว่าหนังมันจะสนุกขึ้นเยอะสำหรับเรา ถ้าหากหนังมันแสดงให้เห็นว่าตัวละครแต่ละตัวในกลุ่มมันมีข้อดีหรือจุดแข็งบางอย่างซ่อนอยู่ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาอาถรรพ์ในแต่ละช่วงต่าง ๆ ของหนังได้ แบบที่พล็อตหนังคลาสสิคแนวผจญภัยทั่วไปนิยมทำกัน ตั้งแต่ WIZARD OF OZ ที่ตัวละครแต่ละตัวมีจุดแข็งจุดอ่อนแตกต่างกันไป เรื่อยมาจนถึง AVENGERS: INFINITY WAR (2018) ที่ตัวละครแต่ละตัวมีความสามารถแตกต่างกันไป และต่างก็ได้ใช้ความสามารถที่แตกต่างกันนี้ให้เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา
---

THE ECONOMY ENTERS THE PEOPLE (2022, Ho Rui An, video installation, A+30)

1.งดงามที่สุด ดูแล้วได้อะไรเยอะมาก ๆ โดยเฉพาะเรื่องที่จีนเคยพยายามเลียนแบบ Singapore ในช่วงปลาย '80-ต้น '90 เพราะจีนมองว่า Singapore เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการใช้ระบอบ Dictatorial capitalism

2. ชอบเรื่องนโยบายต่อต้านการ corruption ในจีนมาก ๆ คือจีนต้องการเปิดรับ capitalism แต่ใช้อำนาจเผด็จการไปด้วยพร้อม ๆ กัน จีนเลยพยายามให้อำนาจรัฐบาลท้องถิ่นมากขึ้น เพื่อกระตุ้นนวัตกรรมในระดับท้องถิ่น แต่ถ้าให้อำนาจมากเกินไป ประชาชนก็จะฉลาดเกินไป และเกิดเหตุแบบเทียนอันเหมินขึ้นอีก เพราะฉะนั้นช่วงปลายทศวรรษ 1990 จีนเลยสร้างละครทีวีจำนวนมากที่เล่าเรื่องของจนท.ท้องถิ่นที่ corruption จนรัฐบาลกลางต้องส่งคนที่สุจริตมาปราบ

แต่ในเวลาต่อมา ละครทีวีกลุ่มนี้ก็เล่าเรื่องที่ dark มากขึ้นเรื่อย ๆ จนรัฐบาลจีนไม่พอใจ รัฐบาลจีนก็เลยปราบปรามละครกลุ่มนี้ และห้ามใส่คำว่า black ในชื่อละครทีวี

3.ชอบเรื่องของ "บริษัทเปลือก" มาก ๆ ซึ่งเป็นช่องทางที่บริษัทจีนใช้ในการเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐ แต่บริษัทจีนบางแห่งเหมือนไม่ได้ทำธุรกิจที่รุ่งเรืองจริง นักลงทุนในสหรัฐเลยจ้างนักสืบไปตรวจสอบ และต้องดูภาพจากกล้องวงจรปิดที่หน้าประตูบริษัทจีนเหล่านี้ เพื่อดูว่ามีคนงานและรถผ่านเข้าออกประตูมากน้อยเพียงใด มันก็เลยเกิด footage ที่เป็นการล้อกับ WORKERS LEAVING THE LUMIERE FACTORY ซึ่งเป็นหนังเรื่องแรกของโลก

4.ชอบเรื่องวิวัฒนาการของแรงงานในจีนด้วย
---

KING RICHARD (2021, Reinaldo Marcus Green, A+30)

1. อย่างที่หลาย ๆ คนเขียนว่า ดูแล้วนึกถึง PRO MAY (2019, Thanawat Iamjinda) กับ DANGAL (2016, Nitesh Tiwari, India) มาก ๆ เพราะทั้งสามเรื่องสร้างจากเรื่องจริงของพ่อที่เข้มงวดและผลักดันลูกสาวสองคนให้ประสบความสำเร็จในวงการกีฬาเหมือน ๆ กัน ซึ่งเราชอบ DANGAL มากสุด เพราะมันลุ้นตื่นเต้นสุด ๆ และชอบ PRO MAY น้อยสุดในสามเรื่องนี้ แต่ก็ชอบ PRO MAY มากพอสมควรนะ

2.ถ้าเทียบในด้านนิสัยของพ่อแล้ว เราว่าพ่อของ PRO MAY ดูแย่สุด ส่วนพ่อของ KING RICHARD  ดูใจดีสุดแล้ว

3.สงสัยว่าตัวละครมันอาศัยอยู่ในย่านเดียวกับตัวละครใน STRAIGHT OUTTA COMPTON (2015, F. Gary Gray) หรือเปล่า

4.จริง ๆ แล้วสาเหตุสำคัญอันนึงที่ทำให้ชอบหนังถึงระดับ A+30 เป็นเพราะเพลิดเพลินกับการมองท่อนขาของ Will Smith อย่างรุนแรง 55555 เป็นหนังที่ sexually objectify ดาราชายได้ตรงใจเรามาก ๆ

----
A MAN AND A WOMAN (2016, Lee Yoon-ki, South Korea, A+30)

1.งดงามสุด ๆ รู้สึกว่าตัวละครมันเป็นมนุษย์มาก ๆ ชอบความเงี่ยนของนางเอกมาก ๆ

2.ดีใจที่ได้เห็น Kati Outinen ในหนังเรื่องนี้

3.แต่ก็ชอบ A MAN AND A WOMAN (1966, Claude Lelouch) มากกว่านะ เพราะเราคลั่งไคล้ Jean-Louis Trintignant มากกว่า Gong Yoo และเพราะว่า soundtrack ของ Francis Lai นี่ถือเป็นone of my most favourite film soundtracks of all time เลย
--
DESCONEXION (2019, Jorge Bandera, Full-dome movie, A+30)

FRACTAL TIME (2019, Julius Horsthuis, Full-dome movie, A+30)
----
LIAR × LIAR (2021, Saiji Yakumo, Japan, B  )

1. พล็อตเรื่องต่ำมาก ๆ 55555 นึกว่าสร้างจากนิยายแนวแอบเงี่ยนในนิตยสาร "เธอกับฉัน" สมัยทศวรรษ 1980 ต่ำกว่านี้มีอีกไหม ถามจริงงงง

2.ดีที่หนังกำกับออกมาให้ดูเพลิน ๆ ได้

3.ดีใจสุด ๆ ที่ได้เห็น Shoko Aida จากวง Wink รับบทแม่นางเอกในหนังเรื่องนี้

4. เหมาะฉายควบกับ I SENT A LETTER TO MY LOVE (1980, Moshe Mizrahi, A+30) ที่เป็นเรื่องรักระหว่างน้องสาวกับพี่ชาย แต่ I SENT A LETTER TO MY LOVE แรงกว่ามาก ๆ เพราะเป็นเรื่องของคนสายเลือดเดียวกัน และเราชอบมากกว่า LIAR × LIAR อย่างเทียบกันไม่ติด
---
MY BLOOD & BONES IN A FLOWING GALAXY (2020, Sabu, Japan, A+30)

งดงามที่สุด
--
EIFFEL (2021, Martin Bourboulon, France, A+25)

เฉย ๆ กับเรื่องรัก แต่ชอบรายละเอียดทางวิศวกรรมและทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสร้างหอไอเฟล
--
CCTV OF THE SECURITY GUARD (2019, Saroot Supasuthivej, video installation)

ทำไมเหมือนมันกลายเป็นแค่ video ที่มี graphic สวย ๆ 555
--

A VIDEO INSTALLATION IN THE EXHIBITION  "BETES ETERNELLES" BY HARIT SRIKHAO

หนักที่สุด รู้สึกสยดสยองอย่างบอกไม่ถูกขณะยืนอยู่บนหัวของ "คนหัวเกรียน" หลายร้อยหัวขณะยืนดู video ชิ้นนี้


ANOTHER VIDEO INSTALLATION IN THE EXHIBITION  "BETES ETERNELLES" BY HARIT SRIKHAO

ชอบมากที่รูปปั้นเหมือนหายใจเข้าออกได้
--

Friday, March 18, 2022

HOW TO IMPROVE THE WORLD (2021, Nguyen Trinh Thi, Vietnam, documentary, A+30)

 

HOW TO IMPROVE THE WORLD (2021, Nguyen Trinh Thi, Vietnam, documentary, A+30)

 

1.ดูแล้วนึกถึงนิทรรศการ SONGS OF MEMORY ของ Victoria Vorreiter ที่เคยจัดที่ Jim Thompson ในปี 2009 ถ้าจำไม่ผิด นิทรรศการนั้น เป็นการเก็บบันทึกรวบรวมเพลงของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ ในไทยเอาไว้

 

2.คิดว่าหนังน่าจะมีคุณค่าทางมานุษยวิทยามากพอสมควร เพราะหนังได้บันทึกวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยกลุ่มนึงเอาไว้ ซึ่งรวมถึงภาษาถิ่นที่ไม่ใช่ภาษาเวียดนามด้วย และวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมบางอย่างของชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้อาจจะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ทั้งจากการที่ชาวเวียดนามเข้ามาแย่งที่ดินทำกินของพวกเขาไปจนเกือบหมด และจากการที่ชนกลุ่มน้อยหลายคนหันไปนับถือคริสต์ ซึ่งทำให้วัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการนับถือผี และตำนานความเชื่อแบบดั้งเดิมค่อย ๆ สูญหายไป

------------------------

THE BLACK SABRE is one of my most favorite TV series of all time

 

 พอดู THE BATMAN (2022, Matt Reeves, A+30) แล้วก็ชอบอารมณ์หม่น ๆ ของตัวละครพระเอกอย่างมาก ๆ มันดูหม่น ๆ แบบมีเสน่ห์ที่เข้าทางเรามาก ๆ นึกว่าเป็นญาติห่าง ๆ ของพระเอก THE CROW (1994, Alex Proyas) แต่เราว่ายังแพ้ความหม่นของตัวละครอย่าง โป้วอั้งเสาะใน จอมดาบหิมะแดง (1990, หวังเทียนหลิน) ที่แสดงโดยอู๋ไต้หยง เราว่าตัวละครแบบโป้วอั้งเสาะนี่เหมาะจะนำมาดัดแปลงเป็นได้ทั้งตัวละคร hero หรือ villain ในหนัง superhero ได้สบายมาก และถ้าดัดแปลงดี ๆ มันจะกลายเป็นตัวละครที่หนักที่สุดในชีวิตการแสดง แบบที่หวังเทียนหลินและอู๋ไต้หยงเคยทำสำเร็จมาแล้ว

Wednesday, March 16, 2022

CRACKED (2022, Surapong Ploensang, A+25)

 

CRACKED (2022, Surapong Ploensang, A+25)

ภาพหวาด

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

จริง ๆ แล้วก็ชอบหนังในระดับ A+30 มาตลอดนะ แต่ระดับความชอบมาหล่นฮวบในช่วงท้ายของหนัง 55555

 

คือเราว่าถ้าหนังมันพลิกนิดหน่อย มันจะกลายเป็นหนังการเมืองที่เข้าทางเราสุด ๆ เลย เพราะตัวละครฝ่ายหนึ่งก็เป็นชาวเขา และหนังเน้นย้ำ “การเลือกที่จะมองไม่เห็นเหยื่อ” ของนางเอกในวัยเด็ก เพราะฉะนั้นสิ่งที่นางเอกถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กมันก็เลยเข้ากับปัญหาการเมืองหลายร้อยหลายพันกรณีที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในอดีตมาจนถึงปัจจุบัน และเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ตั้งแต่ชาวบ้านในยุโรปหรือเยอรมนีที่อาจจะเมินเฉยต่อการที่เพื่อนบ้านชาวยิวถูกกวาดต้อนไปสังหารหมู่, คนขาวที่อาจจะเมินเฉยต่อสิ่งที่คนดำถูกกระทำในสหรัฐในอดีต, กรณีปาเลสไตน์, กรณี 6 ต.ค. 2519, กรณีกรือเซะ, กรณีสังหารหมู่เสื้อแดงปี 2010, กรณีโรฮิงญา, etc. คือถ้าหนังมันปรับนิด ๆ หน่อย ๆ มันจะกลายเป็นหนังการเมืองที่เข้าทางเราสุด ๆ ไปเลย เพื่อแสดงให้เห็นว่า การเพิกเฉยหรือการทำเป็นมองไม่เห็นความเลวร้ายที่คนอื่น ๆ ในสังคมโดนกระทำ มันจะกลายเป็นผีที่ตามมาหลอกหลอนเราอย่างไรบ้าง

 

แต่พอนางเอกเลือกที่จะสมาทาน “คำสอนที่เลวร้าย” แบบนั้นอีกครั้งในตอนจบ มันก็เลยเหมือนกับว่าหนังไม่ได้มองคำสอนนี้ในแบบเดียวกับที่เรามองน่ะ มันก็เลยน่าเสียดาย