Thursday, January 30, 2014

POOR HANSI (1943, Frank Leberecht, Germany, animation, A+/A)

 
POOR HANSI (1943, Frank Leberecht, Germany, animation, A+/A)
 
หนังอะนิเมชั่นเยอรมันเรื่องนี้สร้างในยุคนาซี และมีเนื้อหาเกี่ยวกับนกหนุ่มตัวหนึ่งที่อยู่ในกรงมาโดยตลอด แต่มีวันหนึ่งเขาได้หลุดออกจากกรง ไปเผชิญกับโลกกว้าง และเจอเรื่องเหี้ยห่ามากมาย จนในที่สุดก็ได้คิดว่าการได้กลับมาอยู่ในกรงตามเดิมนั่นแหละ เป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว
 
ไม่รู้เหมือนกันว่าแนวคิดของหนังเรื่องนี้เกี่ยวข้องอะไรกับแนวคิดของนาซีหรือเปล่า แต่ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้นึกถึงหนังสั้นบางเรื่องของไทย ที่เป็นเรื่องของหญิงสาวที่ทะเลาะกับผู้ปกครอง แล้วก็เลยหนีออกจากบ้าน แล้วก็ถูกข่มขืน แล้วหนังก็สอนเราว่าการเชื่อฟังผู้ปกครองเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ดิฉันเกลียดหนังสั้นของไทยประเภทนี้มากๆค่ะ
 
ดู POOR HANSI ได้ที่นี่
 
เห็นนกสาวใน POOR HANSI แล้วนึกถึง Liza Minnelli :-)
 

Tuesday, January 28, 2014

THE ADVENTURE OF BARON MÜNCHHAUSEN: A WINTER’S JOURNEY (1944, Hans Held, Germany, animation, A+5)


THE ADVENTURE OF BARON MÜNCHHAUSEN: A WINTER’S JOURNEY (1944, Hans Held, Germany, animation, A+5)

 

อยากให้มีการสร้างหนังที่เอาขุนแผน, พระอภัยมณี, Don Quixote กับ Baron Münchhausen มาผจญภัยด้วยกัน

 
 

Sunday, January 26, 2014

DALLAS BUYERS CLUB (2013, Jean-Marc Vallée, A+25)

 
DALLAS BUYERS CLUB (2013, Jean-Marc Vallée, A+25)
 
หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้
 
1.ชอบการเล่าเรื่องผ่านทางอารมณ์ความรู้สึกของตัวพระเอก เราว่ามันทำได้ถึงดีตรงจุดนี้ เราว่ามันเป็นวิธีที่แตกต่างกับหนังอย่าง MILK (2008, Gus Van Sant) ที่เล่าเรื่องแบบ objective กว่า เราว่าการเล่าเรื่องทั้งสองแบบนี้มันก็ดีในแบบของมันเอง MILK มันดูเรียบๆไม่เร้าอารมณ์ดี ในขณะที่ DALLAS BUYERS CLUB หรือหนังอย่าง LES AMANTS DU PONT-NEUF (1991, Léos Carax) มันเล่าเรื่องผ่านทางอารมณ์ความรู้สึกที่หวือหวาและพลุ่งพล่านของตัวละคร และมันก็ทำออกมาได้ดีมากๆในแบบของมันเองเหมือนกัน
 
2.ชอบที่ตัวพระเอกกับ Rayon (Jared Leto) ไม่ได้ทำตัวเป็นวีรบุรุษผู้อุทิศตัวเพื่อปวงชนแต่อย่างใด แต่เป็นคนที่แสวงหากำไร เพียงแต่การแสวงหากำไรของพวกเขาอาจจะส่งผลดีต่อคนอื่นๆด้วย ซึ่งสิ่งนี้ทำให้พวกเขาแตกต่างจากกลุ่มตัวเอกใน RED RIBBON BLUES (1996, Charles Winkler) ที่พยายามช่วยเหลือคนจนอยู่บ้าง คือเราชอบความเป็นสีเทาหรือความชั่วๆดีๆของตัวพระเอกกับ Rayon ในเรื่องนี้น่ะ เหมือนกับที่เราชอบตัวละครนายกเทศมนตรีคาร์ไมน์ โพลิโต (Jeremy Renner) ใน AMERICAN HUSTLE
 
จุดที่เราชอบมากๆในหนังสองเรื่องนี้ก็คือว่า หนังสองเรื่องนี้ค่อนข้างเห็นใจ “คนดีๆชั่วๆ” อย่าง Ron Woodroof และ Carmine Polito แทนที่จะเข้าข้าง “ผู้ผดุงคุณธรรม” อย่างเจ้าหน้าที่อาหารและยาใน DALLAS BUYERS CLUB หรือตัวละครที่แสดงโดย Bradley Cooper ใน AMERICAN HUSTLE
 
3.ตัวละครเอกใน DALLAS BUYERS CLUB ทำให้นึกถึงตัวละครเอกใน LORENZO’S OIL (1992, George Miller) ในแง่ที่ว่า พวกเขาไม่ได้เป็นแพทย์หรือนักวิทยาศาสตร์ แต่ถูกสถานการณ์ในชีวิตกดดันให้ต้องหาความรู้เรื่องการแพทย์เพื่อหาทางออกให้แก่ชีวิตตัวเอง เราชอบเรื่องราวเกี่ยวกับอุปสรรคชีวิตแบบนี้น่ะ
 
4.ชอบประเด็น homophobic ในหนังด้วย มันทำให้เราอิน
 
ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว เราอินกับ DALLAS BUYERS CLUB มากกว่า C.R.A.Z.Y. (2005, Jean-Marc Vallée, A) มากๆ คือหนังสองเรื่องนี้กำกับโดยผู้กำกับคนเดียวกัน และแตะประเด็นเรื่อง homophobic เหมือนกัน แต่เราจำได้ว่า ตอนที่เราดู C.R.A.Z.Y. เราประหลาดใจมากๆที่เราไม่ค่อยอินกับหนังเรื่องนี้ ทั้งๆที่โดยปกติแล้วเรามักจะอินกับหนังที่พูดถึง “เกย์ที่มีปัญหากับครอบครัว” อย่างหนังเรื่อง C.R.A.Z.Y. แต่เรากลับพบว่า C.R.A.Z.Y. ไม่มี “ความเจ็บปวด” ในแบบที่เราเคยคุ้นเคย แต่ DALLAS BUYERS CLUB มี
 
5.ชอบ dilemma ขององค์การอาหารและยาในหนังเรื่องนี้ด้วย เพราะมันเป็นปัญหาที่มีในไทยเหมือนกัน คือมึงเคร่งครัดเกินไปหรือเปล่า ถึงได้ออกกฎห้ามนู่นนี่นั่น จนคนป่วยได้รับความเสียหายกันไปทั่ว
 
เราเป็นโรคริดสีดวงจมูก ต้องใช้ยา Clarinase น่ะ ปกติเราหาซื้อยานี้ได้จากร้านขายยาทั่วไป แต่ตอนหลังมีคนบอกว่ายานี้เอาไปใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตยาบ้าได้ หรืออะไรทำนองนี้ เราก็เลยซื้อยา Clarinase กินเองไม่ได้อีกในไทย แล้วเราก็ได้ยินมาว่า มียาดีๆหลายๆตัวด้วย ที่ถูกห้ามขายด้วยเหตุผลทำนองเดียวกัน อย่างเช่น บางคนอาจจะเอายาดีๆตัวนี้ไปทำเป็นยาสลบแล้วใช้ในอาชญากรรมได้ ยาดีๆตัวนี้ก็เลยถูกห้ามขายในไทยไปเลย คนไทยก็เลยซวยไป
 
คือถ้าใช้ตรรกะแบบนี้ในการห้ามขายยาดีๆ บางทีเราก็สงสัยว่า ของหลายๆอย่างมันก็เอามาใช้ในการประกอบอาชญากรรมได้ทั้งนั้นแหละ อย่างเช่น “วงเวียน” แล้วอย่างนี้ต้องห้ามขายวงเวียนด้วยมั้ยล่ะ
 
คือที่เขียนมาแทบไม่ได้เกี่ยวกับหนัง DALLAS BUYERS CLUB หรอก แต่เราชอบที่หนังมันพูดถึง dilemma เกี่ยวกับ “ยาและกฎหมาย” ซึ่งเป็นประเด็นที่มีผลอย่างรุนแรงกับชีวิตเรา
 
6.ชอบ “ยุคสมัย” ของหนังเรื่องนี้มากๆ เพราะเราเติบโตเป็นวัยรุ่นในทศวรรษ 1980 แค่การได้เห็นทรงผมของกะหรี่สาวสองตัวในตอนต้นของหนังเรื่องนี้ เราก็ฟินแล้ว เพราะมันเป็นทรงผมที่หาไม่ได้ในทศวรรษอื่นๆ 55555
 
ยุคสมัยของหนังมันทำให้เรานึกถึงอีกประเด็นนึงด้วย คือมีบางคนบอกว่าเราโชคดีมากที่เข้าสู่วัยเงี่ยนตอนที่ความรู้เรื่องโรคเอดส์มันแพร่หลายแล้ว เรากับเพื่อนๆเลยเติบโตมากับความกลัวเรื่องโรคเอดส์ และระมัดระวังเวลามีเพศสัมพันธ์ แต่ถ้าหากเราเกิดเร็วกว่านี้สัก 5-10 ปี เราก็จะเข้าสู่วัยเงี่ยนในช่วงที่คนยังไม่รู้เรื่องโรคเอดส์ แล้วเราก็คงติดเอดส์ไปแล้ว และอาจจะเป็นเหมือน Rayon ในเรื่องนี้ การได้ดูหนังเรื่องนี้ก็เลยเป็นการตอกย้ำกับเราว่า โชคดีที่เราไม่เกิดเร็วเกินไป
 
7.การแสดงของ Matthew McConaughey กับ Jared Leto ในหนังเรื่องนี้สุดตีนมากๆ เป็นบทบาทการแสดงที่ชอบที่สุดของสองคนนี้
 
8.ช่วงที่ซึ้งที่สุดของเราในหนังเรื่องนี้ คงเป็นตอนที่พระเอกจะเช่าบ้านจากคู่เกย์วัยกลางคน แล้วพยายามจะขอเช่าบ้านในราคาที่ต่ำมาก เพราะสิ่งที่พระเอกสนใจคือเงิน แต่คู่เกย์กลับไม่คิดเงิน คือเราว่าถ้าหากเป็นหนังเรื่องอื่น หนังเรื่องอื่นคงพยายามฉวยโอกาสประโคมศีลธรรมความซาบซึ้งกินใจในความดีงามอะไรในฉากนี้อย่างเต็มที่ แต่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ทำเช่นนั้น พระเอกของหนังเรื่องนี้ไม่ได้กลับตัวกลับใจแบบพระเอก IKIRU (1952, Akira Kurosawa) เขาก็ยังคงทำตัวดีๆเลวๆต่อไป แต่เราก็ยังคงซึ้งใจกับฉากนี้อยู่ดี
 
9.ถ้าหากจะฉายหนังเรื่องนี้ควบกับหนังเรื่องไหน เราก็คงฉายควบกับหนังโรคเอดส์ที่เราชอบมากๆ 3 เรื่องเกี่ยวกับทศวรรษ 1980 ซึ่งก็คือเรื่อง
 
9.1 A VIRUS KNOWS NO MORALS (1986, Rosa von Praunheim)
 
9.2 LONGTIME COMPANION (1990, Norman René)
 
9.3 AND THE BAND PLAYED ON (1993, Roger Spottiswoode)
 

TEN FAVORITE POP MUSICAL ARTISTS


I was tagged by Theeraphat Ngathong to make a list of my ten favorite musicians. Since I don’t know a lot of musicians, I decided to make a list of ten favorite pop musical artists whose names just popped up in my mind instead.

 

1.Coldcut


 

2.Deadmau 5


 

3.Frankie Knuckles


 

4.Future Sound of London


 

5.Malcolm McLaren


 

6.Mike Oldfield


 

7.Nellee Hooper/Soul II Soul


 

8.The Orb


 

9.Spooky


 

10.Tim Simenon/Bomb the Bass

Desirable Actor: Pulkit Samrat -- JAI HO (2014, Sohail Khan, B+ )


Desirable Actor: Michael Tong Man Lung – FIRESTORM (2013, Alan Yuen, A+20)


Desirable Actor: Pongsatorn Sripinta – 3 AM PART 2: THE OFFERING (2014, Issara Nadee, B+ )


Desirable Actor: Intouch Leorugwong – 3AM PART 2: THE THIRD NIGHT (2014, Puttipong Saisrikaew, B+ )


Favorite Actor: Lam Ka Tung – FIRESTORM (2013, Alan Yuen, A+20)


Favorite Actress: Émilie Duquenne – MIROIR, MON BEAU MIROIR (2008, Serge Meynard, A)


 

Favorite Actress: Hathaichach Uekittiroj – 3AM PART 2: THE CONVENT (2014, Kirati Nakintanon, A-)


Sunday, January 19, 2014

Favorite quote from THE OTHER SIDE OF THE UNDERNEATH (1972, Jane Arden, A+30)


Underneath my nightie, guess who it is

Underneath my nightie, guess what I got

Underneath my nightie, guess who I am

All together, fellas, it’s your castrating mum.

That’s who I am, your castrating mum.

I’m your Bar Room and your Auntie Flo. Ha ha ha ha ha

Smacked your little bottie.

Trained you on the po.

Big as a mountain

Remember Ursula, Raquel and the lovely Diana

Tits like an iron grid

All together, fellas.

Guess who I am. It’s your castrating mum.

And now a little Eine Kleine Nacht Musik.

Ever since ve are just little toddlers

Und you lay by Christ

How you lay

You lay the vay

You lay today in my lap

Und my hand went smack

You so frightened me with your little vee vee. Ha ha ha

I could bite him off as soon as spit.

Et maintenant, peut-être

Tu aimes la petit bébé

Je veux moi aime

your big hairy spider chews up little flies

Big as your eyes.

NOTHING SPECIAL (2010, Rose Lowder, A+)


 

Saturday, January 18, 2014

Favorite Actress: This actress in THE OTHER SIDE OF THE UNDERNEATH (1972, Jane Arden, A+30)

 
I don’t know the name of this actress. If anyone knows her name, please tell me.
 

Desirable Actor: Eiji Wentz – TIGER MASK (2013, Ken Ochiai, A-/B+)


Favorite Actor: Chiwetel Ejiofor – 12 YEARS A SLAVE (2013, Steve McQueen, A+30)


MY FIFTEEN FAVORITE TRACKS


MY FIFTEEN FAVORITE TRACKS

 

1.DÉSENCHANTÉE (1991) – Mylène Farmer


 

2.THE DRESS (1988) – Eighth Wonder


 

3.GIVE YOU ALL MY LOVE (1989) – Stacey Q


 

4.I TALK TO THE WIND (1992) – Opus III


 

5.JOY AND HEARTBREAK (1990) – Movement 98 featuring Carroll Thompson


 

6.THE LOVE I LOST (1993) – West End featuring Sybil


 

7.THE LOVER THAT YOU ARE (1996) – Pulse featuring Antoinette Roberson


 

8.A MATTER OF FACT (1990) – Innocence


 

9.NOTHING’S GONNA STOP ME NOW (1987) – Samantha Fox


 

10.PLOENG PAI (1990) – Nisaluck Srinakarn


 

11.RAINFALLS (1991) – Frankie Knuckles featuring Lisa Michaelis


 

12.RIGHT IN THE NIGHT (1993) – Jam & Spoon featuring Plavka


 

13.SHE WOULD DIE FOR LOVE (1993) – Julee Cruise


 

14.TALKING WITH MYSELF (CANNY 12’ VOCAL) (1998) – Electribe 101


 

15.TROY (1987) – Sinead O’Connor

Monday, January 13, 2014

FILMS ABOUT INDOCTRINATION


มีเพื่อนในเฟซบุ๊คให้เราแนะนำหนังที่เกี่ยวกับการปลูกฝังความเชื่อ เราก็เลยตอบไปตามนี้จ้ะ

 

1.I’M GONNA BE A NAIVE (2012, Viriyaporn Boonprasert)


 

2.บ้านผีปอบ (2010, อุกฤษณ์ สงวนให้, 15นาที)

หนังเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า การปลูกฝังความเชื่อที่ผิดๆนำไปสู่ความรุนแรงเชิงโครงสร้างและการทำร้ายคนบริสุทธิ์ได้อย่างไร

 

3. 40 YEARS OF SILENCE: AN INDONESIAN TRAGEDY (2009, Robert Lemelson)


หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า การปลูกฝังความเชื่อที่ผิดๆนำไปสู่การสังหารหมู่คนเป็นล้านคนได้อย่างไร

 

4.TWO & TWO (2011, Babak Anvari)


 

ต่อไปนี้เป็นรายชื่อกลุ่มหนังที่อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับการปลูกฝังความเชื่อโดยตรง แต่มีประเด็นบางอย่างที่เกี่ยวข้องและน่าสนใจดี

 

5.THE PARTY AND THE GUESTS (1966, Jan Nemec)

หนังเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า ชนชั้นกลางค่อยๆกลายเป็นพวกบูชาเผด็จการได้อย่างไร

 

6.THE NASTY GIRL (1989, Michael Verhoeven)

หนังเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า สิ่งที่พ่อแม่, โรงเรียน, ศาสนา, คนในชุมชนบอกสอนเรามาโดยตลอด อาจเป็นสิ่งตอแหลก็ได้ และพอเราเริ่มตั้งคำถามถึงความจริงปุ๊บ คนในชุมชนก็พร้อมที่จะทำร้ายเราในทันที

 

7.+8. BETRAYED (1988, Costa-Gavras) + MUSIC BOX (1989, Costa-Gavras)

หนังสองเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า “อย่าเชื่อในสิ่งที่พ่อแม่สอน” เพราะพ่อแม่เราอาจจะไม่ได้บอกความจริงกับเราก็ได้

 

ถ้าจำไม่ผิด คอสตา-กาฟราสเคยพูดว่า ฉากที่สยองขวัญที่สุดสำหรับเขาใน BETRAYED ไม่ใช่ฉากการไล่ล่าฆ่ากัน แต่เป็นฉากที่ตัวละครเด็กๆในเรื่องมองว่า ความคิดเหยียดผิว (หรือความคิดที่ว่าคนเราไม่ควรมีสิทธิเท่ากัน) เป็นความคิดที่ถูกต้อง

 

9.I FOR ICARUS (1979, Henry Verneuill)

ประเด็นหลักของหนังไม่เกี่ยวข้องกับการปลูกฝังความเชื่อ แต่มีฉากหนึ่งในหนังที่สำคัญมาก ที่เกี่ยวกับการทดลองเพื่อทดสอบว่า มนุษย์เรามีแนวโน้มที่จะ “เชื่อฟังคำสั่ง” มากน้อยเพียงใด และผลการทดสอบก็พบว่า มนุษย์หลายคนพร้อมที่จะทำร้ายคนอื่นๆโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เพียงเพราะเขาเชื่อว่า “การทำตามคำสั่งเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว”

 

10.THE INEXTINGUISHABLE FIRE (1969, Harun Farocki)


 

หนังเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นว่า บางทีข้อมูลที่เราได้รับมา อาจไม่ทำให้เราตระหนักว่าเราตกเป็นเครื่องมือของใครอยู่ อย่างเช่น คนงานโรงงาน A อาจจะผลิตกระบอกโลหะอะไรก็ไม่รู้ คนงานโรงงาน B อาจจะผลิตแท่งโลหะอะไรก็ไม่รู้ นักวิทยาศาสตร์โรงงาน C อาจจะผลิตสารเคมีอะไรก็ไม่รู้ คนบางคนในกลุ่มนี้อาจจะคิดว่าพวกเขากำลังผลิตส่วนประกอบของเครื่องดูดฝุ่น แต่พวกเขาไม่รู้ว่าจริงๆแล้วพวกเขากำลังผลิตส่วนประกอบของอาวุธร้ายแรงที่จะถูกนำไปฆ่าคนในประเทศอื่นๆ

 

 

11.THE PATRIOT WOMAN (1979, Alexander Kluge)

ดีวีดีหนังเรื่องนี้มีให้ยืมที่ห้องสมุดสถาบันเกอเธ่นะ

 

หนังเรื่องนี้สะท้อนให้เห็นปัญหาในการสอนประวัติศาสตร์ในโรงเรียน เพราะประวัติศาสตร์ที่สอนกันในโรงเรียนมักจะ “ไม่เล่าถึงความชั่วร้ายในอดีตของประเทศตัวเอง” และ “โฟกัสไปแต่เรื่องราวของวีรบุรุษ” หรือบางทีก็รวมไปถึงเรื่องราวเชิงอภินิหารของวีรบุรุษ, วีรสตรีในอดีต โดยที่ “ข้อเท็จจริง” ถูกมองข้ามไป และ “ประวัติศาสตร์ของคนธรรมดา” ถูกมองข้ามไป

 

อันนี้เป็นข้อความที่นักวิจารณ์บรรยายถึงนางเอกใน THE PATRIOT WOMAN ที่เป็นครูสอนประวัติศาสตร์

 

The more she grows suspicious of the linear, radically reductionist explanations of history found in schoolbooks, the more she questions a job that calls on her to teach German history in neat 45-minute segments. When Gabi Teichert shows interest, for instance, in the hundreds of little everyday stories that have been excluded by the official historiography, she deals with German history in the spirit of Kluge’s project: “And what else is the history of a country but the vastest narrative surface of all? Not one story but many stories.”

 

อันนี้เป็น quote ที่อยู่ในบทวิจารณ์หนังเรื่อง THE PATRIOT WOMAN พูดถึงจุดบอดในประวัติศาสตร์ที่การเรียนการสอนในโรงเรียนและสังคมหลีกเลี่ยงที่จะกล่าวถึง และจุดบอดนี้จะนำมาซึ่งการล่มสลายของสังคมนั้น

 

“Everyone learns—if he has any self-knowledge at all—that he has a blind spot at each stage of his life. Something he does not see. That is related to his perceptual capacity, his history. And a society or a civilization also has a blind spot. Precisely this blind spot brings about its self-destruction. In my opinion the task of literature is not only to describe it but to enter it, to go into the eye of the hurricane. This often happens by means of self-exploration, because, I, you, each of us, our education and socialization are all a part of this civilization.”

 

12.BUBBLE BOY (2001, Blair Hayes)

อันนี้เป็นหนังต่อต้านพวกอนุรักษ์นิยม,เคร่งศาสนาในอเมริกา ที่เลี้ยงลูกแบบ “ไข่ในหิน” และพยายามอบรมเลี้ยงดูลูกโดยไม่ให้ลูกได้รับรู้ความเป็นจริงในโลกนี้