Wednesday, July 31, 2019

THE BUSH

THE BUSH (2019, Jirapat Tantiwattanakhul, A+25)

1.สาเหตุที่เราไม่ได้ชอบแบบสุดๆถึงขั้น A+30 เป็นเพราะมัน "โหดร้าย" เกินไปสำหรับรสนิยมส่วนตัวของเราน่ะ แต่มันน่าจะถูกใจแฟนหนังกลุ่มนี้อย่างแน่นอน

ส่วนหนังอย่าง "เปรตเดินดิน กินสมองคน"  CANNIBAL HOLOCAUST (1980, Ruggero Deodato) นั้น เราไม่เคยดู เพราะเรารู้อยู่แล้วว่ามันไม่ใช่หนังแนวที่เราชอบ เราก็เลยไม่ดู

แต่เคยดู THE GREEN INFERNO (2013, Eli Roth)  นะ ซึ่งเราชอบในระดับนึง เราว่า THE GREEN INFERNO มันไม่โหดเท่า THE BUSH  ด้วยแหละ เราว่า THE BUSH โหดกว่าในแง่ "การทำร้ายจิตใจคนดู"  โดยเฉพาะในช่วงท้ายของหนัง นอกจากนี้ THE GREEN INFERNO  มันมีประเด็นเรื่อง "การอนุรักษ์ธรรมชาติ" มาห่มคลุมหนังเอาไว้ด้วย มันเลยช่วยเจือจางความรู้สึกโหดร้ายของหนังลงได้

2.พอหนังมันไม่อธิบายว่า คนป่าพวกนี้มาจากไหน ทำไมถึงอยู่รอดในไทยมาได้จนถึงยุคปัจจุบัน หนังมันก็เลยเหมือนขาด ความน่าเชื่อถือลงไปในระดับนึงน่ะ เพราะมันทำให้เรารู้สึกว่า คนป่าพวกนี้ "ดำรงอยู่เพื่อสนองความ sadist ของคนดู" โดยตรง และมันก็เลยทำให้เรารู้ตัวตลอดเวลาว่าเรากำลังดู "ตัวละคร" และ "หนัง" อยู่ แล้วทำให้เรารู้สึกลุ้นไปกับตัวละครน้อยลง

3.แต่เราขอยกให้เป็น "หนังไทย classic" เรื่องนึงไปเลยนะ เพราะมันเป็นหนังไทยเรื่องแรกที่เราได้ดูที่ออกมาใน genre นี้ แล้วมันก็ทำออกมาได้ดีมากๆในแนวทางของมันเอง

4.อยากให้พัฒนาเป็นหนังยาวนะ เพราะเราว่าตัว concept ที่เป็นชนเผ่ามนุษย์กินคนมันน่าสนใจดี แต่ถ้ามันเป็นหนังยาวในจินตนาการส่วนตัวของเราเอง มันก็จะเริ่มต้นเรื่องด้วย แก๊งตัดไม้ทำลายป่า + แก๊งแกะลายแทงหาขุมทรัพย์ในป่าลึก ที่โดนชนเผ่านี้ฆ่าตายหมด ต่อมาก็มีทหารพรานเข้ามา แล้วกลุ่มทหารพรานก็ถูกชนเผ่านี้รุมข่มขืน แล้วหลังจากนั้นก็มีแก๊งเนตรนารีที่เดินทางไกลหลงเข้ามาในป่านี้, มีกลุ่มพระธุดงค์ที่มีคาถาอาคมเข้ามาในป่านี้ แล้วก็มีกลุ่มกะเทยชาวเขาที่สามารถเรียกงูเรียกผึ้ง (แบบในหนัง เดชคัมภีร์เทวดาภาค 1 และ 2 ) หลงเข้ามาในป่านี้ แล้วคนดูก็จะได้ลุ้นว่า ตัวละครคนสุดท้ายที่รอดชีวิตในตอนจบเพียงคนเดียว จะเป็นเนตรนารี,  พระธุดงค์ หรือกะเทยชาวเขา 555

CODE UNKNOWN (2019, Jakrawal Nilthamrong, video installation, 8min, A+30)

วิดีโอที่ชั้น 8 BACC เราชอบมากๆที่เอาเรื่องของคนที่เขียนแผนผังรหัสลับตามจุดต่างๆในกรุงเทพมานำเสนอ

HAMADA (2018, Eloy Dominguez, Seren, documentary, A+30)

1.เป็นหนังสารคดีเรื่องที่สามที่เกี่ยวกับ Western Sahara ที่เราได้ดู ต่อจาก LOST LAND (2010, Pierre-Yves Vandeweerd) และ 3 STOLEN CAMERAS (2017, Equipe Media + RAFILM Filmmakers Collective)

ชอบมากที่หนังสารคดี 3 เรื่องนี้ออกมาไม่เหมือนกันเลย โดย LOST LAND มีความ poetic สูงมาก ส่วน 3 STOLEN CAMERAS อัดแน่นไปด้วยพลังของความคั่งแค้นเจ็บปวดของผู้ถูกกดขี่ ส่วน HAMADA เหมือนเน้นตามติดชีวิตประจำวันของชาว Sahrawi ที่ลี้ภัยไปอยู่ในค่ายผู้อพยพในแอลจีเรีย เพราะฉะนั้นหนังมันจะหดหู่แบบซึมเซา ไม่ได้อัดแน่นเป็นระเบิดแบบ 3 STOLEN CAMERAS

2.ตัวละครหญิงสาวในเรื่องนี้กวนตีนดีมาก (คำชม)

3.มีฉากนึงที่เหมือนผู้อพยพหนุ่มๆชาว Sahrawi ในค่ายมาสุมหัวในห้องเดียวกัน บางคนก็เล่นดนตรี บางคนก็ดูเหมือนยืนหรือนั่งเฉยๆ แต่ทุกคนถูกอาบไล้ด้วยไฟดิสโก้ไปเรื่อยๆ

ฉากนี้ทำให้นึกถึง MANTA RAY  อย่างสุดๆ ราวกับว่าในชีวิตของคนที่อยู่ในจุดที่ "แทบจะหาสถานบันเทิง" ไม่ได้แบบคนเหล่านี้ ความสุขอย่างนึงของชีวิตที่พอจะหาได้ ก็คือการติดไฟดิสโก้ในห้องของตัวเองนี่แหละ

Monday, July 29, 2019

STAR SHAPED SCAR

STAR SHAPED SCAR (2018, Vuokko Kunttu, Virva Kunttu, Finland, documentary, A+30)

สารคดีเกี่ยวกับหญิงสาวที่เคยประสบอุบัติเหตุโดนรถชนตั้งแต่อายุ 8 ขวบ เธอเลยกลายเป็นอัมพาต ขยับได้เฉพาะส่วนคอขึ้นไป และยังพูดได้อยู่

หนังเล่าว่าความสุขของเธอคือการซื้อรองเท้าราคาแพงๆ คู่ละหลายพันยูโร และเหมือนเธอจะชื่นชอบ Britney Spears มากๆ

คิดว่าอาการป่วยของเธอน่าจะคล้ายๆกับตัวละครเอกใน THE UPSIDE (2017, Neil Burger) และ THE INTOUCHABLES (2011, Olivier Nakache, Eric Toledano)

ยอมรับเลยว่า หนังแบบนี้ทำให้เรามีกำลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป

Sunday, July 28, 2019

BORN IN GAMBIA

BORN IN GAMBIA (2017, Natxo Leuza Fernandez, Spain, documentary, A+25)

สารคดีสัมภาษณ์เด็ก 3 คนที่เจอกับชีวิตโหดร้ายใน Gambia สะเทิอนใจกับชีวิตเด็กชายคนนึงที่เคยเห็นพี่ชายถูกจับเผาไฟต่อหน้าต่อตา (ถ้าจำไมผิด)

เนื้อหาบางส่วนทำให้นึกถึง  I AM NOT A WITCH (2017, Rungaro Nyoni, UK) และ MAMA COLONEL (2017, Dieudo Hamadi, Congo)

CHILD’S PLAY (2019, Lars Klevberg, A+30)


CHILD’S PLAY (2019, Lars Klevberg, A+30)

เราไม่ได้ดูตัวอย่างหนังเรื่องนี้มาก่อนเลย ก็เลยไม่รู้ว่าจากเวอร์ชั่นเดิมที่มันเป็นหนังผี เวอร์ชั่นนี้มันได้กลายเป็นหนังไซไฟไปแล้ว ชอบการดัดแปลงจากเวอร์ชั่นเดิมมากๆ

สิ่งที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ เป็นเพราะว่าเราเป็นคนที่หวาดกลัวทั้ง “เทคโนโลยี” และ “ฆาตกรโรคจิต” น่ะ และหนังเรื่องนี้ก็คือการนำเอาสองอย่างนี้มาผสมรวมกัน คือเราหวาดกลัวฆาตกรโรคจิตแบบใน สิงหาสับ” THE TEXAS CHAINSAW MASSACRE มากๆ แต่ฆาตกรโรคจิตใน “สิงหาสับ” มันมีจุดอ่อนตรงที่มันดูเป็นคนปัญญาอ่อน โง่ๆ

ส่วนผู้ร้ายอีกแบบที่เรากลัวมาก ก็คือผู้ร้ายแบบใน THE NET (1995, Irwin Winkler) นั่นก็คือผู้ร้ายที่เป็น hacker สามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับตัวเราใน cyberspace ได้

เพราะฉะนั้น CHILD’S PLAY ก็เลยตอบสนองความกลัวของเราอย่างรุนแรงมาก เพราะผู้ร้ายของมันคือการรวมผู้ร้ายแบบสิงหาสับกับ THE NET เข้าด้วยกัน ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็จินตนาการว่า มันจะน่ากลัวขนาดไหน ถ้าหากมีฆาตกรโรคจิตที่เป็น hacker สามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับตัวเราใน cloud, social media, cyberspace และสามารถคุกคามเราผ่านโทรศัพท์มือถือ, ระบบ internet of things, drones, CCTV, GPS, cashless society

Saturday, July 27, 2019

DE CHA

DE CHA (2019, Decha Diwiset, video installation, A+30)

ดูแล้วนึกถึง FREEDOM FARMING (2014, Li Binyuan, China) + AGRARIAN UTOPIA (2009, Uruphong Raksasad) และก็นึกถึง BEING SOLDIER BETTER THAN YOU THOUGHT, RICE FIELD FROM RIPE PROJECT (2008, Sakarin Krue-on) ด้วย ที่ถ่ายทอดสดการเจริญเติบโตของต้นข้าวในท้องนาแบบ real time เพราะงาน moving image เหล่านี้เหมือนพยายามถ่ายทอดประสบการณ์บางอย่างของชาวนาเหมือนๆกัน

PARASITE (2019, Bong Joon-ho, South Korea, A+30)

สนุกมาก ชอบมาก ดูแล้วแอบจินตนาการเล่นๆว่า ถ้าบางสิ่งบางอย่าง (ปัญหาชนชั้น, ทุนนิยม) ที่ถูกนำเสนอในหนังเรื่องนี้เป็น "คน"

1.บรรพบุรุษของมัน คือ THE YOUNG KARL MARX (2017, Raoul Peck)

2.พ่อของมัน คือ NON-FICTION DIARY (2013, Jung Yoon-suk)

3.ย่าของมัน คือ  THE HOUSEMAID (1960, Kim Ki-young)

4.ป้าของมัน คือ ปีศาจ (1980, Supan Buranapim)

5.เพื่อนของมัน คือ BURNING (2018, Lee Chang-dong)

6.เพื่อนบ้านของมันคือ COSMOPOLIS (2012, David Cronenberg)

7.ลูกพี่ลูกน้องที่มีฐานะดีกว่ามัน คือ LIFE WITHOUT PRINCIPLE (2011, Johnnie To)

8. ลูกของมัน คือ US (2019, Jordan Peele)

9.คนที่มันอยากตบ คือ CRAZY RICH ASIANS (2018, Jon M. Chu)

แต่สิ่งที่หนังเรื่องนี้โดดเด่นมากๆ ก็คือการที่คู่ขัดแย้งของมันไม่ได้มีแค่คู่เดียว เราก็เลยรู้สึกว่าหนังมันไปไกลกว่าที่เราคาดมากๆ

RECORD BEFORE DEATH by On-anong Glinsiri นิทรรศการที่ชั้น 4 BACC ดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง นิทรรศการนี้เป็นการสัมภาษณ์คนไร้บ้านวัยชรา 50 คน หลายคนเคยอาศัยอยู่สนามหลวง แต่ตอนนี้ต้องออกจากสนามหลวงและเร่ร่อนไปนอนตามจุดอื่นๆแทน ตัวงานศิลปะนั้นเราชอบมาก แต่ที่ชอบยิ่งกว่าคือบทสัมภาษณ์ 50 คนนี้ ไปยืนอ่านบทสัมภาษณ์แต่ละคนแล้วร้องไห้ แน่นอนว่าสิ่งที่คนไร้บ้านบางคนพูดเกี่ยวกับประวัติชีวิตของตนเองอาจจะไม่ใช่ความจริงไปซะทั้งหมด แต่เราก็รู้สึกสะเทือนใจมากๆอยู่ดี แนะนำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่ชอบหนังสารคดีเกี่ยวกับคนไร้บ้านแบบ PALMS (1994, Artur Aristakisian), ON THE EDGE OF THE WORLD (2013, Claus Drexel), BANGKOK GHOST STORIES (2016, Wachara Kanha) และ "บ้านไม่มีเลขที่" (2012, Abhichon Rattanabhayon)

(นิทรรศการนี้ไม่มีวิดีโอนะ แต่ดูนิทรรศการนี้แล้วมันสะเทือนใจเหมือนหนังกลุ่มข้างต้น)

Thursday, July 25, 2019

EVERY DAY A GOOD DAY

BREAKING HABITS (2018, Robert Ryan, documentary, A+25)

 ชอบตัว subject มากๆ ชอบที่เธอเคยลงไปแตะจุดต่ำสุดของชีวิตถึงสองครั้ง แต่ก็สามารถลุกขึ้นมาผงาดเป็น "เจ้าลัทธิ" ได้

 รู้สึกว่าถ้าหากเราดูหนังที่เป็น fiction เราก็คงชอบตัวละคร "เจ้าลัทธิหญิง" แบบนี้

EVERY DAY A GOOD DAY (2018, Tatsushi Ohmori, Japan, A+30)

 ดูแล้วนึกถึงตอนไปฝึกเดินจงกรมกับคุณแม่สิริ กรินชัย 55555

Wednesday, July 24, 2019

FATHER, SON AND HOLY WAR (1994, Anand Patwardhan, India, documentary, A+30)


FATHER, SON AND HOLY WAR (1994, Anand Patwardhan, India, documentary, A+30)
+ WAR AND PEACE (2002, Anand Patwardhan, India, documentary, A+30)

1.ขอจดบันทึกถึงหนังสองเรื่องควบกันไปเลย เพราะไม่มีเวลา 555

สิ่งที่ประหลาดใจมากๆในการดูหนังสองเรื่องนี้ก็คือว่า เรารู้สึกว่า โดย “เนื้อหา” แล้ว หนังสองเรื่องนี้มันเป็นการบันทึก “ความเลวร้าย” ต่างๆนานามากมายในอินเดีย ทั้งความเชื่อเรื่องสตี, การคลั่งชาติ, การคลั่งศาสนา, การสังหารหมู่, การปลุกปั่นยุยงความเกลียดชัง, การเหยียดเพศ, ความยากจน, ความทุกข์ระทมต่างๆ แต่พอดูหนังแต่ละเรื่องจบแล้ว เรารู้สึกเหมือนได้รับ “พลังบวก” สูงมากน่ะ แต่เราหาไม่เจอว่าไอ้ความรู้สึกพลังบวกนี้มันมาจากจุดใดในหนังกันแน่ เราก็เลยเดาว่า มันน่าจะมาจากอะไรบางอย่างในตัวผู้กำกับโดยตรง เหมือนผู้กำกับอาจจะมีพลังบวกในตัวเองสูงมาก หรือมีความเชื่อมั่นในการต่อสู้เพื่อสังคมสูงมาก เขาก็เลยอาจจะถ่ายทอดมันใส่ไปในหนังได้โดยที่แม้แต่ตัวเขาก็อาจจะไม่รู้ตัวเองก็ได้ และมันก็ส่งผ่านมาถึงคนดูอย่างเรา โดยที่เราก็ไม่รู้ว่าไอ้ความรู้สึกพลังบวกนี้มันมาจากองค์ประกอบอะไรในหนังกันแน่

ซึ่งไอ้ความรู้สึกแบบนี้มันแตกต่างจากหนังของผู้กำกับสารคดีเพื่อสังคมคนอื่นๆนะ เหมือนหนังของ Michael Moore กับ Jung Yoon-suk ก็ไม่ได้ให้พลังบวกแบบนี้น่ะ ส่วนหนังบางเรื่องของ Patricio Guzman นั้นอาจจะให้ “พลังบวก” อยู่บ้าง แต่ก็เป็นพลังบวกที่เกิดจากวิวทิวทัศน์, การตระหนักถึง “พลังจักรวาล” อะไรแบบนี้ ซึ่งจะแตกต่างจากพลังบวกในหนังของ Anand Patwardhan

2.เหมือนหนังสองเรื่องนี้ช่วย decode หนังบอลลีวู้ดหลายเรื่องที่เราดูมาน่ะ เหมือนมันช่วยถอดรื้อให้เราเห็นว่า หนังบอลลีวู้ดหลายๆเรื่องที่เราดูมา มันแอบแฝงแนวคิดอะไรไว้ภายใน หรือมันถูกสร้างขึ้นมาภายในสังคม/วัฒนธรรมที่ถูกหล่อเลี้ยงด้วยแนวคิดอะไร อย่างเช่น

2.1 แนวคิดเชิดชูพิธีสตี ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับหนังอย่าง PADMAAVAT (2018, Sanjay Leela Bhansali) คือเราว่า PADMAAVAT มันอาจจะไม่ได้ส่งสารเชิดชูพิธีสตี มันแค่ทำให้คนดูต่างชาติอย่างเรารู้ว่า เคยมีตำนานอะไรแบบนี้ในอินเดียด้วย แต่การดู FATHER, SON AND HOLY WAR ทำให้เราตระหนักว่า จริงๆแล้วตำนานแบบนี้มันมีความหมายอะไรสำหรับคนอินเดียบ้าง

2.2 ความ propaganda ของหนังอย่าง THACKERAY (2019, Abhijit Panse)

2.3 หนังบอลลีวู้ดหลายๆเรื่องที่มองปากีสถานในฐานะผู้ร้าย หรือหนังบอลลีวู้ดหลายๆเรื่องที่เป็นพระเอกออกไปปราบผู้ก่อการร้าย

คือการดูหนังสารคดีสองเรื่องนี้มันทำให้เราตระหนักถึงแนวคิดชาตินิยม, ความคลั่งศาสนา ที่อาจจะมีส่วนหล่อเลี้ยงการสร้างหนังบอลลีวู้ดกลุ่มนี้

2.4 ทำไมพระเอกหนังบอลลีวู้ดส่วนใหญ่ ถึง “ล่ำบึ้ก” กว่าพระเอกหนังชาติอื่นๆ ยกเว้นหนังบู๊แอคชั่นอเมริกันที่เน้นพระเอกล่ำบึ้กเหมือนกัน คือพอดู FATHER, SON AND HOLY WAR แล้วก็เลยสงสัยว่า แนวคิดเรื่อง “ความเป็นชาย” ในสังคมอินเดีย มันมีส่วนในการกำหนดภาพลักษณ์ของพระเอกหนังบอลลีวู้ดให้ดูล่ำบึ้กมากเป็นพิเศษหรือเปล่า

ซึ่งจริงๆแล้วเราก็ชอบพระเอกล่ำบึ้กนะ อยากให้พระเอกหนังทุกชาติล่ำบึ้ก 555 แต่เราว่าหนังบอลลีวู้ดอินเดียใช้พระเอกล่ำบึ้กไม่คุ้มค่าน่ะ คือพระเอกล่ำจริง, มีฉากถอดเสื้อก็จริง แต่กล้องของหนังมันไม่ได้ถ่ายเรือนร่างพระเอกเพื่อสนองราคะคนดูอย่างเราเท่าไหร่น่ะ มันเหมือนกับความแตกต่างระหว่างวิธีการใช้กล้องในหนังของพจน์ อานนท์ กับหนังของ Anucha Boonyawatana น่ะ คือกล้องของผู้กำกับสองคนนี้อาจจะถ่ายพระเอกล่ำบึ้กก็จริง แต่กล้องในหนังของพจน์ อานนท์ + หนังบอลลีวู้ดอินเดีย ถ่ายแล้ว “ไม่ทำให้เกิดอารมณ์” ในขณะที่กล้องในหนังของ Anucha ถ่ายแล้ว “ทำให้เกิดอารมณ์” มากๆ

2.5 ทำไมถึงไม่ค่อยเห็นพระเอกที่มีลักษณะแบบ “คานธี” ในหนังบอลลีวู้ด คือ “คานธี” ดูเป็นวีรบุรุษของประเทศอินเดีย แต่หนังบอลลีวู้ดกลับเต็มไปด้วยพระเอกล่ำบึ้กที่พร้อมจะต่อยตีกับผู้ร้ายตลอดเวลา ไม่มีความอหิงสาอะไรทั้งสิ้น ยกเว้นหนังแบบ PK หรือหนังที่ฉายตามเทศกาลภาพยนตร์


3.เราว่าโครงสร้างหนังของเขาก็น่าสนใจดีนะ ชอบที่เขาจับเอาหลายๆประเด็นมาใส่ไว้หนังเรื่องเดียวกัน เพื่อสะท้อนปัญหาของประเทศชาติ ในแง่นึงดูแล้วก็นึกถึงหนังบางเรื่องของ Michael Moore 55555 แต่โทนอารมณ์ในหนังของ Anand กับของ Michael Moore มันแตกต่างกันมาก เหมือนหนังของ Michael Moore มันมีการชี้นำ, ปลุกเร้าคนดู, สอนสั่งโดยตรง ในขณะที่หนังของ Anand มันไม่มีอะไรแบบนั้น

เราว่าการจับเอาหลายๆประเด็นมาร้อยเรียงเข้าด้วยกันในหนังของเขา มันแตกต่างจากหนังของผู้กำกับคนอื่นๆด้วย คือมันไม่ได้มีความเป็นกวีแบบหนังของ Alexander Kluge และไม่ได้มี “ความพิศวง” แบบหนังบางเรื่องของ Harun Farocki แต่มันดูมีความ organic ดีน่ะ

คือจริงๆแล้วโครงสร้างการเล่าเรื่องของเขาไม่ค่อยแน่นนะ คือตอนที่ดู FATHER, SON AND HOLY WAR เราจะนึกถึงหนังสารคดีเรื่อง BONTOC, RAPELESS (2014, Leste Valle, Philippines) มากๆ เพราะ BONTOC, RAPELESS มันเป็นการวิเคราะห์ประเด็นเรื่อง gender ในสังคมสังคมหนึ่งเหมือนกัน แต่ BONTOC, RAPELESS โครงสร้างมันแน่นมากๆ เพราะมันนำเสนอว่าในสังคมชนเผ่านี้ มันไม่เคยมีการข่มขืนเลย เพราะเหตุผล 10 ประการด้วยกัน หรืออะไรทำนองนี้ แล้วหนังก็ค่อยๆชี้แจงเหตุผลไปทีละข้อ ทีละข้อ คือการดูหนังแบบนี้แล้วเหมือนเราได้อ่านรายงานวิจัยของนักมานุษยวิทยาที่ต้องการนำเสนอประเด็นอะไรอย่างนึง แล้วหาเหตุผลที่หนักแน่น 10 อย่างมาสนับสนุนประเด็นของตัวเองน่ะ

ส่วน FATHER, SON AND HOLY WAR มันก็เป็นการสะท้อนประเด็นเรื่อง gender ในสังคมสังคมหนึ่งเหมือนกัน แต่มันดูไหลเลื่อนจากเรื่องหนึ่งไปเรื่องหนึ่งเรื่อยๆ ซึ่งเราก็ชอบนะ มันดู organic เป็นธรรมชาติดี มันดูเหมือน “การเข้าไปใช้ชีวิต” ในสังคมสังคมหนึ่งน่ะ สังคมที่ไม่ได้มีแค่ปัญหาเหยียดเพศ แต่เป็นสังคมที่มีปัญหาเหี้ยห่าอะไรไม่รู้พัวพันยุ่งเหยิงกันไปหมด

สรุปว่าเราก็ชอบหมดทุกวิธีน่ะแหละ มันเหมือนมีข้อดีแตกต่างกันไป หนังแบบ BONTOC, RAPELESS มันเหมือนทำให้เราได้รับความรู้แน่นๆแบบการอ่านรายงานวิจัยที่เขียนมาอย่างเป็นระเบียบ, หนังของ Anand มันทำให้เราสัมผัสได้ถึง “การใช้ชีวิตอยู่ในสังคมนั้นๆ” ของคนในหนัง ส่วนหนังของ Harun Farocki + Alexander Kluge มันกระตุ้นความคิดของเราและสะเทือนใจเราผ่านทาง “สิ่งที่อธิบายไม่ได้ในโครงสร้างการเล่าเรื่อง” ด้วย

คือเราว่าหนังของ Anand มันก็สะเทือนใจเรานะ แต่มันสะเทือนใจเราผ่านทาง “เนื้อเรื่อง” เป็นหลักน่ะ และเหมือนมันสะเทือนใจเราผ่านทางเนื้อเรื่องที่เป็นรูปธรรม อธิบายได้ แต่มี “พลังบวกที่อธิบายไม่ได้” อยู่ในหนัง ส่วนหนังของ Kluge + Farocki มันมีความเป็นกวีอะไรบางอย่าง มันก็เลยเหมือนมีพลังความงามแบบนามธรรม อธิบายไม่ได้อยู่ในหนังด้วย

PART (2019)

PART (2019, Nuttamon Pramsumran, video installation, A+30)

วิดีโอที่จัดแสดงที่ชั้น 7 BACC นำแสดงโดยอินทิรา เจริญปุระ และพีรพล กิจรื่นภิรมย์สุข ดูแล้วนึกถึงอารมณ์ที่ได้จากหนังสารคดีบางเรื่องของ Patricio Guzman อย่าง NOSTALGIA FOR THE LIGHT (2010) กับ THE PEARL BUTTON (2015) เพราะหนังชิลีสองเรื่องนี้พูดถึงผลกระทบจากความรุนแรงทางการเมืองที่มีต่อญาติๆหรือคนรู้จักของ “ผู้ที่ถูกฆ่าตาย หรือถูกอุ้มหาย” คล้ายๆกับในวิดีโอนี้

จำได้ว่าใน THE PEARL BUTTON มันจะมีประโยคในทำนองที่ว่า  ถ้าหากการสังหารหรือการอุ้มหายมันได้รับความยุติธรรม มันได้รับการเปิดเผยข้อมูล + มีการลงโทษผู้กระทำผิด หรืออะไรทำนองนี้ มันก็จะช่วยให้ “The dead can finish dying, and the living can go on living”

การดูวิดีโอ PART ก็เลยทำให้นึกถึงหนังของ Patricio Guzman เพราะในวิดีโอนี้เราจะรู้สึกว่า the living ยังไม่สามารถ go on living ได้ เพราะ the dead ยังไม่ได้รับความยุติธรรม

แต่สิ่งที่ video installation ชิ้นนี้ให้ความรู้สึกแตกต่างจากหนังของ Patricio Guzman ก็คือว่า ในหนังสองเรื่องของ Guzman นั้น มันให้ความรู้สึกว่า ชิลีในปัจจุบันอยู่ในยุคของ “การขุดค้นหาความจริงที่เคยถูกฝังกลบไว้”  แต่ในวิดีโอ PART ของไทยนี้ มันให้ความรู้สึกว่า เราไม่ได้อยู่ในยุคของ “การขุดค้นหาความจริงที่ถูกฝังกลบไว้” แต่เรายังคงอยู่ในยุคของ “การพยายามทำลาย, ลบเลือน, ขจัด, ฝังกลบบางสิ่ง” ให้สูญหายไปทั้งในทางกายภาพและในทางความทรงจำของผู้คน

 HOW WE MET IN APRIL (2019, Supawit Woothisart, 47min, A+25)

1.หนังดูเพลินมาก แม้ตัวโครงเรื่องหลักมันจะดู cliché สำหรับหนังไทยหรือหนังนักศึกษามากๆ เพราะเราว่าประเด็นเรื่องแอบชอบเพื่อนแต่ไม่กล้าบอกเพื่อนนี่มันได้รับการนำเสนอในหนังนักศึกษามาแล้วเป็นร้อยเรื่อง หรือแม้แต่ในหนังเมนสตรีมอย่าง DEAR DAKANDA (2005, Komgrit Triwimol) และ FRIEND ZONE (2019, Chayanop Boonprakob) ก็นำเสนออะไรที่คล้ายๆกัน แต่โชคดีที่หนังเรื่องนี้ทำออกมาได้ดี ไม่น่าเบื่ือเลย ถึงแม้เนื้อหาของมันอาจจะไม่มีอะไรใหม่

2.ชอบการนำเสนอสองช่วงเวลาในหนังด้วย ทั้งตอนเป็นวัยรุ่นกับตอนที่โตแล้ว มันทำให้หนังดูซึ้งมากขึ้น

3.แต่ตอนดูจะแอบนึกถึงหนังอีกเรื่องที่เราชอบสุดๆนะ ซึ่งก็คือ OUR LAST DAY (2015, Rujipas Boonprakong) เพราะ OUR LAST DAY ก็พูดถึงความสัมพันธ์พระเอก+นางเอกในวัยมัธยม กับชีวิตพระเอกตอนโตเป็นผู้ใหญ่เหมือนกัน แต่ OUR LAST DAY จะเข้าทางเรามากกว่า เพราะ OUR LAST DAY เน้นความ nostalgia เน้นการมองย้อนกลับไปยังช่วงเวลาที่มีความสุขในวัยมัธยมว่ามันเป็นสิ่งที่หอมหวาน และไม่มีทางหวนย้อนคืนมาได้อีกแล้ว ซึ่งมันตรงกับความรู้สึกในชีวิตจริงของเรา ส่วน HOW WE MET IN APRIL เน้นความโรแมนติกในวัยมัธยม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่มีประสบการณ์ในชีวิตจริง 555

Core nang 2019

--มีคนขอให้แสดงความเห็นเรื่องการจัดงาน core หนังปีนี้ เราก็เลยขอบอกว่า อยากให้มี "ช่วงคั่น" ราว 10 นาที ระหว่างหนังแต่ละเรื่องในรอบเดียวกันนะ เพราะหนังแต่ละเรื่องในปีนี้มันยาวเกิน 30 นาที บางเรื่องก็ยาวถึง 70 นาที ถ้าหากมันมีช่วงคั่น ผู้ชมจะได้มีเวลาออกไปฉี่ได้อย่างสบายใจ

--ถ้าจัดงานที่ alliance อีกในปีหน้า อยากให้ทางผู้จัดเอา "น้ำดื่ม" มาขายหน้างานด้วยนะ เพราะปกติแล้วที่ alliance เราจะลงไปดื่มน้ำฟรีที่ cooler ชั้นหนึ่ง แต่ปรากฏว่าวันนั้นมันมีช่วงนึงที่กรวยกระดาษดื่มน้ำหมด แล้วร้านใน alliance  ก็มีแต่น้ำแร่ขวดละ 90 บาทขาย เราก็เลยหาน้ำดื่มไม่ได้

--ได้ดูหนังไปแค่ 5 เรื่องในรอบเช้าวันเสาร์ ชอบ YESTERDAY'S US มากสุดในบรรดา 5 เรื่องนี้จ้ะ

HER SECRET (2019, Chansiri Kunanansak, 35min, A+5)
จดหมายรัก ฉบับลับ

1.ชอบที่หนังมันเล่าเรื่อง ความรักครั้งใหม่ของหญิงวัย 50-60 ปีน่ะ เพราะเราจะพบอะไรแบบนี้ได้น้อยมากในหนังนักศึกษา

2.แต่เราว่าหนังมันดูไม่ค่อยลงตัวยังไงไม่รู้ โดยเฉพาะจังหวะตลกของหนัง เหมือนอารมณ์หรือจังหวะในแต่ละฉากมันขาดๆเกินๆ เราดูแล้วก็เลยไม่ค่อยอินเท่าไหร่

3.แต่ถ้าหากพูดถึงหนังแนวนี้ที่เราชอบ เราก็ขอแนะนำ BADHAAI HO (2018, Amit Ravindernath Sharma, India) นะ เพราะหนังอินเดียเรื่องนี้เล่าเรื่องของลูกชายวัยหนุ่มที่อับอายที่แม่ของตัวเองยังคงมี sex กับพ่อและตั้งครรภ์ขึ้นมาอีกครั้ง เราว่าหนังอืนเดียหลายเรื่อง โดยเฉพาะ BADHAAI HO นี่แม่นยำสุดๆในเรื่องการเร้าอารมณ์คนดูแบบ mainstream น่ะ คนที่อยากทำหนังเมนสตรีมน่าจะศึกษาจากหนังอินเดียได้

แต่ถ้าหากต้องการหนัง romantic แบบไม่มี comedy เราก็ขอแนะนำ AUTUMN TALE (1998, Eric Rohmer, France) นะ อันนี้เล่าเรื่องของหญิงวัยราว 50 ปีที่อยากมีผัว หนังซึ้งมากๆๆๆๆๆ  เขียนเผื่อไว้เผื่อใครอยากดูหนังประเด็นนี้หรืออยากทำหนังแนวนี้จะได้ไปหามาดูกัน

EMPTINEST (2019, Pantawan Trongmaneetham, 40min, A+15)

--เหมือนเป็นคู่เปรียบเทียบกับหนังมศวเรื่อง YES CHEF (2019, Koraphat Sittaratasak) เลย 55555 เพราะทั้งสองเรื่องนำเสนอปัญหาความสัมพันธ์พ่อลูก และใช้ตัวละครเอกเป็น chef เหมือนกัน

ถ้าหากเทียบในด้าน "เนื้อเรื่อง" แล้ว เราชอบการคลี่คลายของเนื้อเรื่องใน EMPTINEST มากกว่า

แต่ถ้าหากเทียบในแง่ฝีมือการกำกับแล้ว เราว่า YES CHEF กำกับออกมาลงตัวกว่า ดูสนุก ลื่นไหล กดปุ่มอารมณ์ผู้ชมได้เก่งกว่า แต่เนื้อเรื่องของมันคลี่คลายไปในทางที่เราไม่ค่อยชอบ

--EMPTINEST นี่เหมาะฉายควบกับ EAT DRINK MAN WOMAN (1994, Ang Lee) มากๆ

Tuesday, July 23, 2019

23 JULY – 29 JULY 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 30
23 JULY – 29 JULY 1989

1. LICENSE TO KILL – Gladys Knight (New Entry)
+ WIND BENEATH MY WINGS – Bette Midler

2. TOY SOLDIERS – Martika
+ MANCHILD – Neneh Cherry

3.SECRET RENDEZVOUS – Karyn White (New Entry)
+ YOU’LL NEVER STOP ME LOVING YOU – Sonia
https://www.youtube.com/watch?v=mMo4PfiiBhk

4. I’LL BE LOVING YOU FOREVER – New Kids on the Block (New Entry)
+ WAITING GAME – Swing Out Sister

5. KOIBITO – Hideaki Tokunaga
+ DIAMONDS – Princess Princess

6. STORMS IN AFRICA – Enya

7. TOMODACHI – Ayumi Nakamura

8. DANG DANG KI NI NARU – Yuma Nakamura (New Entry)

9. DON’T YOU WANT ME BABY – Mandy

10. I DROVE ALL NIGHT --  Cyndi Lauper 

YESTERDAY'S US

YESTERDAY'S US (2019, Jenjira Kanawiwat, 71min, A+30)

1.เจ็บปวดสุดๆ ชอบที่หนังสามารถถ่ายทอดความทุกข์ของตัวละครนางเอก, พ่อ และพี่ชายออกมาได้อย่างทรงพลังมากๆ ตัวนางเอกก็เล่นดีมาก ชอบที่หนังคุมโทนอารมณ์ได้ดี ไม่ให้มันเมโลดราม่ามากเกินไป

2.ชอบที่ "พ่อ" กับ "พี่ชาย" มีสถานะเหมือนเป็น "มารขัดขวางความสุขในชีวิตของนางเอก" แต่หนัง treat ตัวละครสองตัวนี้ไม่ใช่ในฐานะ " ผู้ร้าย" แต่เป็น "มนุษย์ปุถุชน ที่มีทั้งข้อเสีย และแง่มุมบางมุมที่น่าเห็นอกเห็นใจ" ในเวลาเดียวกัน อย่างเช่นตัวละครพ่อที่ "อยากตาย" หนังก็ทำให้เราเข้าใจได้ว่า ทำไมพ่อถึงอยากตาย และไม่พยายามทำให้ตัวเองมีสุขภาพดีขึ้น หรือตัวละครพี่ชายที่ชอบกล่าวโทษนางเอกอย่างไม่ยุติธรรมนั้น เขาก็ต้องทำงานงกๆหาเงินเลี้ยงดูทั้งพ่อ, น้องสาว, เมีย, ลูก และภาระดังกล่าวก็น่าจะทำให้ชีวิตเขาไม่มีความสุขสักเท่าไหร่

3.ชอบการ design character นางเอกให้ออกมาเป็นแบบนี้ด้วย ไม่ใช่แบบหญิงสาวแม่พระที่อุทิศตัวเพื่อคนอื่นๆจนดีเกินไป แต่เป็นคนที่ต้องการแสวงหาความสุขในชีวิตตนเองเช่นกัน

4.ไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ในเนื้อเรื่อง แต่หนังเหมือนทำให้เราเดาว่า นางเอกอาจจะหลับขณะขับรถ  แล้วทำให้แม่ตาย+ พ่อพิการ แต่มันมีฉากนึงที่นางเอกขณะเป็นนักศึกษาขายเสื้ออยู่ แล้วมีเสียงรถหวอ เราก็เลยไม่แน่ใจว่าตกลงแม่ตาย+พ่อพิการเพราะอะไร

5.ชอบกลวิธีการตัดสลับเวลาอย่างรุนแรงในหนังมากๆ ทำให้นึกถึงหนังที่ชื่อเรื่องคล้ายกัน นั่นก็คือ YESTERDAY'S TOMORROW (1978, Wolfgang Staudte, West Germany)  ที่เล่าเรื่องแบบตัดสลับช่วงเวลาต่างๆอย่างรุนแรงมากเหมือนกัน

 PART (2019, Nuttamon Pramsumran, video installation, A+30)

วิดีโอที่จัดแสดงที่ชั้น 7 BACC นำแสดงโดยอินทิรา เจริญปุระ และพีรพล กิจรื่นภิรมย์สุข ดูแล้วนึกถึงอารมณ์ที่ได้จากหนังสารคดีบางเรื่องของ Patricio Guzman อย่าง NOSTALGIA FOR THE LIGHT (2010) กับ THE PEARL BUTTON (2015) เพราะหนังชิลีสองเรื่องนี้พูดถึงผลกระทบจากความรุนแรงทางการเมืองที่มีต่อญาติๆหรือคนรู้จักของ “ผู้ที่ถูกฆ่าตาย หรือถูกอุ้มหาย” คล้ายๆกับในวิดีโอนี้

จำได้ว่าใน THE PEARL BUTTON มันจะมีประโยคในทำนองที่ว่า  ถ้าหากการสังหารหรือการอุ้มหายมันได้รับความยุติธรรม มันได้รับการเปิดเผยข้อมูล + มีการลงโทษผู้กระทำผิด หรืออะไรทำนองนี้ มันก็จะช่วยให้ “The dead can finish dying, and the living can go on living”

การดูวิดีโอ PART ก็เลยทำให้นึกถึงหนังของ Patricio Guzman เพราะในวิดีโอนี้เราจะรู้สึกว่า the living ยังไม่สามารถ go on living ได้ เพราะ the dead ยังไม่ได้รับความยุติธรรม

แต่สิ่งที่ video installation ชิ้นนี้ให้ความรู้สึกแตกต่างจากหนังของ Patricio Guzman ก็คือว่า ในหนังสองเรื่องของ Guzman นั้น มันให้ความรู้สึกว่า ชิลีในปัจจุบันอยู่ในยุคของ “การขุดค้นหาความจริงที่เคยถูกฝังกลบไว้”  แต่ในวิดีโอ PART ของไทยนี้ มันให้ความรู้สึกว่า เราไม่ได้อยู่ในยุคของ “การขุดค้นหาความจริงที่ถูกฝังกลบไว้” แต่เรายังคงอยู่ในยุคของ “การพยายามทำลาย, ลบเลือน, ขจัด, ฝังกลบบางสิ่ง” ให้สูญหายไปทั้งในทางกายภาพและในทางความทรงจำของผู้คน

 HOW WE MET IN APRIL (2019, Supawit Woothisart, 47min, A+25)

1.หนังดูเพลินมาก แม้ตัวโครงเรื่องหลักมันจะดู cliché สำหรับหนังไทยหรือหนังนักศึกษามากๆ เพราะเราว่าประเด็นเรื่องแอบชอบเพื่อนแต่ไม่กล้าบอกเพื่อนนี่มันได้รับการนำเสนอในหนังนักศึกษามาแล้วเป็นร้อยเรื่อง หรือแม้แต่ในหนังเมนสตรีมอย่าง DEAR DAKANDA (2005, Komgrit Triwimol) และ FRIEND ZONE (2019, Chayanop Boonprakob) ก็นำเสนออะไรที่คล้ายๆกัน แต่โชคดีที่หนังเรื่องนี้ทำออกมาได้ดี ไม่น่าเบื่ือเลย ถึงแม้เนื้อหาของมันอาจจะไม่มีอะไรใหม่

2.ชอบการนำเสนอสองช่วงเวลาในหนังด้วย ทั้งตอนเป็นวัยรุ่นกับตอนที่โตแล้ว มันทำให้หนังดูซึ้งมากขึ้น

3.แต่ตอนดูจะแอบนึกถึงหนังอีกเรื่องที่เราชอบสุดๆนะ ซึ่งก็คือ OUR LAST DAY (2015, Rujipas Boonprakong) เพราะ OUR LAST DAY ก็พูดถึงความสัมพันธ์พระเอก+นางเอกในวัยมัธยม กับชีวิตพระเอกตอนโตเป็นผู้ใหญ่เหมือนกัน แต่ OUR LAST DAY จะเข้าทางเรามากกว่า เพราะ OUR LAST DAY เน้นความ nostalgia เน้นการมองย้อนกลับไปยังช่วงเวลาที่มีความสุขในวัยมัธยมว่ามันเป็นสิ่งที่หอมหวาน และไม่มีทางหวนย้อนคืนมาได้อีกแล้ว ซึ่งมันตรงกับความรู้สึกในชีวิตจริงของเรา ส่วน HOW WE MET IN APRIL เน้นความโรแมนติกในวัยมัธยม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่มีประสบการณ์ในชีวิตจริง 555

Monday, July 22, 2019

TIDE

INVESTIGATING MY FATHER (2016, Wu Wenguang, China, documentary, A+30)

1. หนักที่สุด ชอบมากๆทั้ง form และ content ชอบที่หนังเรื่องนี้ทำให้เรารู้สึกว่า "หนังแบบนี้ก็มีบนโลกด้วย ไม่เคยพบเคยเจออะไรแบบนี้มาก่อน"

ส่วนของ form นั้นประหลาดมากๆ เพราะหนังน่าจะมีต้นกำเนิดมาจาก "การ presentation บนเวที" ของตัวผู้กำกับ เพราะฉะนั้น การเล่าเรื่องของหนังเรื่องนี้ก็เลยใช้วิธี

1.1 ดูภาพถ่ายเก่าๆ +  text บรรยายไปเรื่อยๆ

1.2 ดู "บันทึกเอกสารราชการ" ไปเรื่อยๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราชอบสุดๆ เพราะเราแทบไม่เคยเจอหนังที่ใช้วิธีการแบบนี้มาก่อน ยกเว้น LETTERS FROM SILENCE (2006, Prap Boonpan)

1.3 ดูบันทึกประจำวันของพ่อผู้กำกับ

1.4 ผู้กำกับบรรยายบนเวที

1.5 ฟังคลิปเสียงสัมภาษณ์แม่ผู้กำกับ

1.6 ดูคลืปที่ถ่ายบ้านเกิดของพ่อผู้กำกับ

2 ส่วนของ content ก็รุนแรงมาก มันเล่าเรื่องขีวิตคนจีนตั้งแต่ทศวรรษ 1930 ผ่านสงครามญี่ปุ่น, ปฏิวัติวัฒนธรรม, สังหารหมู่เทียนอันเหมิน เหมือนเป็นการรวมเอา TO LIVE (1996, Zhang Yimou), XIU XIU: THE SENT -DOWN GIRL (1998, Joan Chen), SUMMER PALACE (2006, Lou Ye) เข้าด้วยกัน

TIDE (2019, Wacharakorn Thaweesab, 30min, A+30)

1.ชอบความพิศวงของหนังนะ เหมือนหนังเลือกใช้วิธีการเล่าเรื่องแบบไม่ตรงไปตรงมา และน่าจะตั้งใจเปิดให้ผู้ชมตีความไปได้ต่างๆนานา

2.เราดูแล้วไม่รู้เรื่องเลย แต่ชอบความไม่รู้เรื่องนี้ ไม่แน่ใจว่าที่เราไม่รู้เรื่องเป็นเพราะเราแอบวูบหลับเป็นบางครั้ง (เพราะร่างกายไม่พร้อม) หรือเป็นเพราะเราตามเรื่องไม่ทันเองหรือเปล่า

เท่าที่เราพอจะจับความได้ เหมือนหนังแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ๆตัดสลับกันไปมา ซึ่งได้แก่ส่วนแรกที่พระเอกอยู่ตามลำพังในห้องเล็กๆที่เหมือนจะเป็นอพาร์ทเมนท์ เขาป่วยหนัก ฉี่เป็นเลือด และเขาออกไปเดินที่สวนสาธารณะในบางครั้ง
ส่วนส่วนที่สองคือส่วนที่พระเอกอยู่บ้านริมชายหาดอย่างมีความสุข  โดยมีหญิงสาวคนหนึ่งกับเด็กหญิงคนหนึ่งอยู่กับเขาด้วย เหมือนจะเป็นภรรยากับลูกสาวของเขา

นอกจากนี้ ยังมีส่วนที่เราเห็นศพผู้ชายคนหนึ่งที่เหมือนจะกระโดดตึกตายด้วย ซึ่งน่าจะเป็นพระเอก เราเห็นฉากนี้อย่างน้อยสองครั้ง ทั้งในฉากแรกๆของหนังและในส่วนท้ายๆของหนัง

3.เราไม่แน่ใจอะไรทั้งสิ้นว่าเนื้อเรื่องในหนังเป็นอย่างไรกันแน่ โดยตอนที่ดูหนังนั้น เราจินตนาการว่า

3.1 ฉากที่พระเอกนอนซมอาจจะเป็นปัจจุบัน ส่วนฉากบ้านที่ชายหาดอาจจะเป็นอดีต เขาอาจจะเคยมีเมีย, มีลูก, ร่ำรวย แต่ปัจจุบันเขาไม่มีเมีย, ไม่มีลูก, ยากจน, สุขภาพย่ำแย่ และคิดจะฆ่าตัวตาย แต่เหมือนหนังไม่บอกว่าเขาสูญเสียทุกอย่างในชีวิตไปเพราะอะไร

3.2 ฉากที่พระเอกนอนซมอาจจะเป็นปัจจุบัน ส่วนฉากบ้านที่ชายหาดอาจจะเป็นความใฝ่ฝันถึงอนาคต คือในปัจจุบันเขาอาจจะยากจน และเป็นโสด แต่เขาอาจจะทำงานหนักจนป่วย เขาใฝ่ฝันที่จะมีเมีย, มีลูกสาว และมีบ้านริมชายหาด ความใฝ่ฝันนี้อาจจะทำให้เขาพยายามที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไป จนเขาหายจากโรคร้ายได้ในที่สุด หรือไม่เขาก็อาจจะตัดสินใจฆ่าตัวตายเพราะทนสู้ชีวิตไม่ไหวอีกต่อไป

3.3 แต่เราก็ไม่แน่ใจว่าสองสมมุติฐานข้างต้นมันถูกต้องหรือเปล่า บางทีเนื้อเรื่องจริงๆของหนังอาจจะไม่ได้เป็นแบบสองสมมุติฐานข้างต้นก็ได้

4.สรุปว่าชอบมากๆที่หนังเรื่องนี้เลือกทำออกมาในแบบที่พิศวงนี้ เราว่าหนังอาจจะไม่ได้ทรงพลังแบบสุดๆ แต่เรามักจะชอบหนังทดลอง/หนังเชิงกวี/หนังที่ไม่ได้เล่าเรื่องแบบตรงไปตรงมาน่ะ และหนังเรื่องนี้ก็ถือเป็นเรื่องหนึ่งที่ออกมาใน genre ที่เราชอบ

ANNA (2019, Luc Besson, France/USA, A+25)

1.ชอบหนังแนวนี้ แต่เสียดายที่หนังเหมือนไม่มีอะไรใหม่ เหมือนเป็นแค่การผสม LA FEMME NIKITA กับ RED SPARROW (2018, Francis Lawrence) เข้าด้วยกัน

2.ชอบตัวสาวเลสเบียนมากที่สุดในหนัง เหมือนเธอดูมีความเป็นมนุษย์มากที่สุด และเป็นเหมือน "ส่วนเกิน" ทั้งของหนังและของชีวิตนางเอก สงสารเธอ

3.หนังมันจะเข้าทางเรามากกว่านี้ ถ้ามันลดความจริงจังลง แล้วมีตัวละคร "นางแบบสาวบู๊" เพิ่มเข้ามาอีกสัก 4 คน โดยที่ทุกคนเป็นศัตรูกันหมด อยากให้มีทั้งนางแบบจีน, นางแบบแอฟริกัน, นางแบบลาตินอเมริกา และนางแบบอิสราเอล บู๊ห้ำหั่นกันแบบในหนัง SO CLOSE (2002,  Corey Yuan) หรือ NAKED WEAPON (2002, Ching Siu-Tung)  และมี "ตัวละครเหี้ยๆ" แบบ The Adjudicator ใน JOHN WICK: CHAPTER 3 -- PARABELLUM โผล่เข้ามาให้โดนรุมตบด้วย


Saturday, July 20, 2019

A MOON FOR MY FATHER

A MOON FOR MY FATHER (2019, Manila Akbari + Douglas White, UK, documentary, A+30)

1.สุดยอดมากๆ รู้สึกว่ามันเป็นการทำหนังสารคดีเกี่ยวกับชีวิตตัวเองที่ออกมาซึ้งมากๆ เป็น autobiography ที่มีทั้งความเป็นกวี, ความเป็นบทประพันธ์แบบจดหมาย, ความเป็นภาพยนตร์, บันทึกประวัติศาสตร์, การสะท้อนปัญหาทางสังคม+การเมือง+ศาสนา และเป็น "ประติมากรรม" ที่ใช้ร่างกายและเนื้อหนังของผู้กำกับเป็นวัตถุดิบในการสร้างงานด้วย

2.กราบตีนผู้กำกับจริงๆในแง่การต่อสู้ชีวิต คิอชีวิตของผู้หญิงในอิหร่านก็ลำบากมากพออยู่แล้ว แต่นี่เธอยังเป็นมะเร็งเต้านมอีก ทำให้ต้องตัดนมทิ้ง และเหมือนเธอจะเป็นมะเร็งรังไข่ด้วย เธอก็เลยตัดรังไข่ทิ้ง แต่เธออยากตั้งครรภ์ เธอก็เลยผสมเทียม ตั้งครรภ์ในมดลูกของตนเอง ทำนมเทียม คลอดลูกออกมาได้สำเร็จ และถึงแม้นมเธอจะเทียม ร่างกายของเธอก็ผลิตนมออกมาเลี้ยงลูกได้

คือการคลอดลูกของคนปกตินี่ก็หนักพออยู่แล้ว แต่ผู้กำกับหนังเรื่องนี้เป็นทั้งมะเร็งเต้านม, มะเร็งรังไข่ การตามดูความพยายามในการตั้งครรภ์ของเธอก็เลยเป็นอะไรที่รุนแรงมากๆ

3.ชอบหลายๆประเด็นในหนังเรืองนี้ด้วย ทั้งประเด็นเรื่องผลกระทบจากสงครามอิรัก-อิหร่าน ซึ่งทำให้นึกถึงหนังเรื่อง
GILANE (2005, Mohsen Abdolvahab + Rakshan Bani Etemad, Iran), ชีวิตความเป็นอยู่ภายใต้รัฐบาลเข้มงวดในอิหร่านในทศวรรษ 1980 ซึ่งทำให้นึกถึงหนังเรื่อง PERSEPOLIS (2007, Vincent Paronnaud + Marjane Satrapi) และประเด็นเรื่องข้อบังคับเกี่ยวกับการแต่งกายของสตรีในยุคปัจจุบัน ซึ่งทำให้นึกถึง BARAKAH MEETS BARAKAH (2016, Mahmoud Sabbagh, Saudi Arabia)

BY THE NAME OF TANIA (2019, Mary Jimenez, Benedicte Lienard, Belgium/Peru,documentary, A+30)

เหมือนเป็นหนังที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง documentary กับ fiction เพราะ voiceover ในหนังมาจากเรื่องจริงของผู้หญิงที่ถูกหลอกมาเป็นกะหรี่ในเปรู แต่ภาพที่เราเก็นในหนังน่าจะเป็นการจำลองสถานการณ์ขึ้นใหม่หมด เหมือนหนังแบบ TOUCHING THE VOID (2003, Kevin Macdonald, UK) ที่ถูกจัดเป็น documentary เหมือนกัน

1.5 METERS SPACE (2018, Vilja Autiokyro, Finland, documentary, A+30)

หนังเกี่ยวกับหญิงชราคนนึงที่เก็บสมบัติบ้าไว้จนล้นห้องพัก จนแทบไม่มีที่ซุกหัวนอนในห้องของตนเอง หญิงสาวคนนึงก็เลยไปช่วยเธอจัดห้องใหม่

ชอบหนังอย่างสุดๆ เหมือนมันมีความ humanist สูงมาก ชอบที่หนังมันโอบรับคนประเภทที่ตัวเราเองคงไม่อยากยุ่งเกี่ยวด้วยเท่าไหร่ถ้าหากเจอในชีวิตจริง

Thursday, July 18, 2019

VINCENT: THE LIFE AND DEATH OF VINCENT VAN GOGH (1987, Paul Cox, Australia, A+30)


VINCENT: THE LIFE AND DEATH OF VINCENT VAN GOGH (1987, Paul Cox, Australia, A+30)

1.สุดๆ ดีใจมากที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ ดูแล้วรู้สึกเข้าใจ Van Gogh ขึ้นเยอะมาก เหมือนเป็นหนังที่ลงลึกใน “ความคิด” ของ Van Gogh มากที่สุด เมื่อเทียบกับหนังอีกสองเรื่องเกี่ยวกับ Van Gogh ที่เราได้ดู ซึ่งก็คือ VAN GOGH (1991, Maurice Pialat) กับ LOVING VINCENT (2017, Dorota Kobiela, Hugh Welchman, Poland, animation) เพราะเหมือน LOVING VINCENT จะเน้นแต่เหตุการณ์ภายนอก ส่วน VAN GOGH นั้นเป็นหนังที่เราชอบสุดๆ แต่มันเหมือนเน้นคนละจุดกับ VINCENT เลย คือเหมือนหนังสองเรื่องนี้ช่วยเติมเต็มซึ่งกันและกันได้พอดี เพราะ VAN GOGH ของ Pialat มันเหมือนให้เราสัมผัสได้ถึงความขุ่นมัว ขึ้งเคียด ทุกข์ตรม ในอารมณ์และจิตวิญญาณของ Van Gogh แต่มันไม่ให้คำอธิบายอะไรทั้งสิ้นถึงความคิดและการทำงานของ Van Gogh น่ะ เพราะถ้าเราจำไม่ผิด ตัวละคร Van Gogh ในหนังของ Pialat ก็เป็นคน “พูดน้อย” นะ เราจะเห็นแต่ใบหน้าเคร่งเครียดของเขาตลอดทั้งเรื่อง ในขณะที่ VINCENT นั้นสร้างจากจดหมายที่ Van Gogh เขียน เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ก็เลยถ่ายทอดถึงความคิดที่ซับซ้อนในหัวของ Van Gogh ออกมาได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ปรากฏอยู่เลยในหนังของ Maurice Pialat มันก็เลยน่าสนใจมากๆที่ทั้ง VINCENT ของ Paul Cox และ VAN GOGH ของ Maurice Pialat ต่างก็สามารถถ่ายทอด “จิตวิญญาณ” ของ Vincent Van Gogh ออกมาได้อย่างยอดเยี่ยมสุดๆเหมือนกัน แต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หนังเรื่องนึงพูดน้อย หนังเรื่องนึงพูดมาก หนังเรื่องนึงเน้นความคิดภายใน ส่วนอีกเรื่องเหมือนให้เราเห็นแต่เหตุการณ์ภายนอก หนังเรื่องนึงเต็มไปด้วยคำอธิบาย หนังอีกเรื่องไม่มีคำอธิบายอะไรทั้งสิ้น แต่ทั้งสองเรื่องก็ทรงพลังและงดงามในแบบที่อธิบายได้ยากเหมือนๆกัน

2.แต่เสียดายที่เราเหมือนหาวิธีการเฉพาะตัวในการจูนติดกับ VINCENT หลังจากเวลาผ่านไปราว 3 ใน 4 ของเรื่องแล้ว 555 คือช่วงแรกๆที่ดู VINCENT เราก็ชอบสุดๆแล้วนะ เราชอบมากที่เสียง voiceover หลายๆครั้งมันดูเหมือนพูดถึงอะไรที่เป็นนามธรรม แต่ Paul Cox ก็สามารถหาภาพที่เหมาะสมมาประกอบกับเสียง voiceover ได้ อย่างไรก็ดี เรารู้สึกเหมือนกับว่า เรายังจูนไม่ติดอย่างเต็มที่กับหนังเรื่องนี้ เหมือนมีอะไรบางอย่างมันไม่ลงตัว ก็เลยทำให้เราจูนไม่ติด

แต่พอเวลาผ่านไปราว 3 ใน 4 เราก็หาวิธีการที่เหมาะกับตัวเองเจอ นั่นก็คือเราจะพยายามไม่อ่าน subtitle เลย 555 คือเหมือนกับว่า เวลาที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราต้องดูภาพเคลื่อนไหว, ฟังเสียง voiceover แล้วอ่าน subtitle ซึ่งเยอะมากๆ และ subtitle ก็แปลดีมาก แต่มันทำให้หัวสมองของเรา (อาจจะเป็นเราคนเดียวที่เป็นแบบนี้) มัน overload เกินไปน่ะ เพราะ voiceover + subtitle ของหนังเรื่องนี้มันไม่ได้พูดถึงอะไรง่ายๆ หลายๆอย่างมันเป็นปรัชญา หรือพูดถึงสิ่งต่างๆที่ทำให้เราต้องพยายามจินตนาการตามไปด้วย เพราะฉะนั้นเราก็เลยรู้สึกว่า หัวสมองของเราทำงานหนักมากเป็นพิเศษในการดูหนังเรื่องนี้ เพราะหนังเรื่องนี้ไม่ได้เล่าเรื่องตรงๆด้วยภาพ+เสียง+subtitle ที่สัมพันธ์กันโดยตรงแบบหนังทั่วไป แต่หนังเรื่องนี้ใช้ voiceover+subtitle ในการกระตุ้นจินตนาการของผู้ชม พร้อมกับที่ผู้ชมต้องดูภาพเคลื่อนไหวบนจอไปด้วย หัวสมองของเราก็เลยทำงานหนักเกินไปขณะดูหนังเรื่องนี้ในรอบเย็นวันทำงาน

แต่พอเราพยายามเลิกอ่าน subtitle ปุ๊บ ทุกอย่างก็ลงตัวทันที รู้สึกจูนติดกับหนังอย่างรุนแรง ไหลลื่นไปกับหนังมากๆ รู้สึกว่าหลายๆอย่างในหนังมันงดงามมากๆ รู้สึกว่าการออกเสียงคำแต่ละคำของ John Hurt มันดีมากๆ มันไม่ใช่ voiceover ที่ธรรมดาเลย รู้สึกว่าการเคลื่อนกล้องในหนังเรื่องนี้มัน graceful มากๆ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนกล้องขณะถ่ายภาพทิวทัศน์ หรือการเคลื่อนกล้องไปตามจุดต่างๆของ paintings

คือเหมือนช่วงแรกที่เราแบ่งหัวสมองไปกับการจินตนาการตามคำทุกคำใน subtitle เราเลยไม่ได้สังเกตความงามของการออกเสียงคำแต่ละคำใน voiceover และความงามในการเคลื่อนกล้องน่ะ แต่พอเราปรับวิธีการดูหนังใหม่ เราก็เลย flow ไปกับหนังได้อย่างรุนแรง แต่เราก็เหลือบดู subtitle เป็นพักๆนะ เวลาที่ฟังไม่ออกในบางประโยค

3.เหมือนเราไม่เคยเจอประสบการณ์แบบนี้กับหนังเรื่องอื่นๆมาก่อนนะ เพราะจริงๆแล้ววิธีการใช้ voiceover + ภาพ แบบนี้ ทำให้นึกถึงหนังอย่าง INDIA SONG (1975, Marguerite Duras), SUNLESS (1983, Chris Marker) และ LONDON (1994, Patrick Keller) เหมือนกันน่ะ แต่ INDIA SONG มันเป็นหนังที่ “ช้า” มากๆๆๆๆๆ มันไม่ได้พูดเป็นต่อยหอยแบบ VINCENT เราก็เลยไม่รู้สึกว่าหัวสมองของเรามัน overload ส่วน SUNLESS กับ LONDON นั้น เราได้ดูเวอร์ชั่นที่ไม่มี subtitle อะไรเลย เราก็เลยดูไม่รู้เรื่องเลย 555


4.ตอนนี้อยากดู LUST FOR LIFE (1956, Vincente Minnelli) กับ VINCENT & THEO (1990, Robert Altman) มากๆ เพราะหนังสองเรื่องนี้ก็สร้างจากชีวิตของ Van Gogh เหมือนกัน และได้รับคำชมอย่างรุนแรงสุดๆเหมือนๆกัน

THE WORLD IS YOURS

PALACE OF COLOURS (2018, Prantik Narayan Basu, India, documentary, A+25)

สารคดีเกี่ยวกับตำนานโบราณของชนเผ่าเผ่านึงในอินเดีย เหมาะสำหรับคนชอบพวก mythology

 THE WORLD IS YOURS (2018, Romain Gavras, France, A+30)

ชอบความแปลกๆแปร่งๆของหนังมากๆ เหมือนเป็นหนังที่เรา “ทำตัวไม่ถูก” ว่ามันจะเป็น genre อะไร หรือเน้นนำเสนอรสชาติอะไรเป็นหลัก 555 คือมันไม่ใช่หนัง “อาชญากรรมของมืออาชีพ” แบบหนังของ Steven Soderbergh หรือ Jean-Pierre Melville, ไม่ใช่หนังซีเรียสจริงจังแบบหนังอาชญากรรมของ David Mamet, ไม่ใช่หนังบู๊สะบั้นหั่นแหลกแบบ SMOKIN’ ACES (2006, Joe Carnahan), ไม่ใช่หนังคัลท์รั่วๆแบบหนังของยุทธเลิศ สิปปภาค และไม่ใช่หนังอาร์ตแบบ DOCTOR CHANCE (1997, F.J. Ossang)

เราก็เลยชอบการที่หนังเรื่องนี้มันไม่เข้ากับ established genres ที่เราคุ้นเคย มันเหมือนเป็นอะไรที่อิเหละเขละขละ จับโน่นนิดนี่หน่อยมาผสมเข้าด้วยกัน แต่ในที่สุดส่วนผสมที่แปลกๆนี้มันก็ลงตัวดีในความเห็นของเรา

 AMERICAN WOMAN (2018, Jake Scott, A+30)
งดงามมากๆ ชอบหนังแบบนี้อย่างสุดๆ นั่นก็คือหนังเกี่ยวกับชีวิตผู้หญิงวัยกลางคนที่พยายามแสวงหาความสุขที่แท้จริงของชีวิต หรือหาจุดที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง อย่างไรก็ดี ถ้าหากเทียบกับหนังในกลุ่มเดียวกันที่เราได้ดูในปีนี้ ซึ่งก็คือ GLORIA BELL (2018, Sebastián Lelio) กับ AWAKENING (2006, Junji Sakamoto, Japan) เราก็ชอบ AMERICAN WOMAN พอๆกับ GLORIA BELL แต่น้อยกว่า AWAKENING นะ คือเหมือน AMERICAN WOMAN มันดูเป็นธรรมชาติมากๆ ตัวละครเป็นมนุษย์มากๆก็จริง แต่เหมือนมันมีความทื่อๆอยู่บ้าง และดูเหมือนขาด magic อะไรบางอย่าง ส่วน AWAKENING นั้นเป็นหนังที่เราชอบมากเป็นอันดับสองของปีนี้ (รองจาก THE END OF THE TRACK) เพราะเรารู้สึกว่าชีวิตตัวละครใน AWAKENING มันซึ้งมากๆ และเราชอบมากๆด้วยที่เหมือนกับว่าตัวนางเอกของ AWAKENING ไม่ใช่ “คนที่มีปัญหาชีวิตรุนแรงที่สุดในหนัง” แต่ตัวละครหญิงบางตัวที่นางเอกได้พบเจอกลับดูเหมือนจะมีปัญหาชีวิตรุนแรงกว่านางเอกซะอีก มันก็เลยช่วยให้ดูเหมือนกับว่านางเอกของ AWAKENING ไม่ใช่จุดศูนย์กลางของจักรวาลน่ะ เพราะตัวละครประกอบทุกตัวต่างก็มีปัญหาเหี้ยห่าของตัวเองเหมือนๆกัน

 BACK STREET GIRLS: GOKUDOLS (2019, Keinosuke Hara, Japan, A+25)

 ชอบที่หนังมันล้อเลียน manners ของไอดอลสาว ส่วนการแปลงเพศในหนังเรื่องนี้ให้ความรู้สึกเหมือนการ์ตูนพวก RANMA 1/2 คือตัวละครแปลงเพศเป็นหญิงได้ก็จริง แต่มันไม่ได้ให้ความรู้สึกแบบหนังเกย์

Tuesday, July 16, 2019

SOME FAVORITE FILMS IN 2001


เพิ่งค้นเจออันดับหนังโปรดประจำปีของเราในปี 2001 ส่วนที่ไม่ได้ลงใน SENSES OF CINEMA คือตอนปี 2001 เราส่งอันดับหนังประจำปีของเราที่ยาวมากไปที่ SENSES OF CINEMA น่ะ แล้วเขาลงแค่ครึ่งแรกของอันดับของเรา ไม่ได้ลงครึ่งหลัง อันนี้คือส่วนที่ไม่ได้รับการ publish ที่ไหนมาก่อน


Favourite Classic Films seen in 2001:

1.The Death of Maria Malibran (Werner Schroeter, 1972)
Who is Maria Malibran? Don’t ask me. I learn nothing about the life or death of Maria Malibran from this film. It needs no explanation. Just let your mind be immersed in its infinite pool of dreams, nightmares, fantasies, fairytales and imagination. This film makes me feel drunk, drowned, and delirious simultaneously.

2.Ticket of No Return (Bildnis einer Trinkerin) (Ulrike Ottinger, 1979)
Fans of Pedro Almodovar, Nina Hagen, or Juliet of the Spirits (Federico Fellini, 1965) must not miss this film. Bizarrely beautiful and hilarious. It has one of the most memorable costumes, make-up, and supporting characters.

3.The Last Hole (Das letzte Loch) (Herbert Achternbusch, 1981)

4.Pierrot le Fou (Jean-Luc Godard, 1965)

5. Ludwig’s Cook (Theodor Hirneis oder wie man ein ehemaliger Hofkock wird) (Hans Jurgen Syberberg, 1973)

Honourable Mention:
The Power of Emotion (Alexander Kluge, 1983)
I had never imagined one could make a film like this.


Some films also deserve special recognition:

Favourite Director: Herbert Achternbusch for The Andechs Feeling (1974), The Last Hole (1981), She’s an Olympic Winner (1983), and Heal Hitler  (1986). His films keep me laughing every time I think of them.

Favourite Comedy: Je suis ne d’une cigogne (Tony Gatlif, 1999)
Runners-up: Legally Blonde (Robert Luketic, 2001)

Favourite Australian Films: Kiss or Kill (Bill Bennett, 1997)
Runner-up: La Spagnola (Stever Jacobs, 2001)

Favourite Short Film: Bone (Ewan McGregor, 1999) in Tube Tales

Favourite Screenplay: Memento (Christopher Nolan, 2000)
Runner-up: Divertimento (Jose Garcia Hernandez, 2000) screenplay by Manuel Ortega

Favourite Film Dialogue: La Fausse suivante (Benoit Jacquot, 2000)

Favourite Cinematography: December Bride (Thaddeus O’Sullivan, 1990) cinematography by Bruno de Keyzer
Runner-up: Brother (GeGe) (Yan Yan Mak, 2001) cinematography by Siuki Yip and Eric Lau

Favourite Editing: La Maladie de Sachs (Michel Deville, 1999) editing by Andrea Sedlackova

Favourite Music: Wonderland (Michael Winterbottom, 1999) music by Michael Nyman

Favourite Opening Title: Ginger Snaps (John Fawcett, 2000)
Runner-up: Ratcatcher (Lynne Ramsay, 1999)

Favourite Scene: When the artists put the photo of the wall near the real wall in The All-Around Reduced Personality: Outtakes (Helke Sander, 1978)

Favourite Ending: Berlin Chamissoplatz (Rudolf Thome, 1980)

Favourite Female Performance: Bridget Fonda in Kiss of the Dragon (Chris Nahon, 2001)
Runner-up: Kirsten Dunst in Crazy/Beautiful (John Stockwell, 2001). She reminds me of the powerful and ever-dependable Jennifer Jason Leigh.

Favourite Male Performance: Benoit Magimel lends a charismatic performance to Le Roi Danse (Gerard Corbiau, 2000), and Les Enfants du siecle (Diane Kurys, 1999)

Favourite Acting Ensemble: Together (Lukas Moodysson, 2000)

Favourite Visual Effects: Kairo (Kiyoshi Kurosawa, 2001)

Favourite Re-run Films on Big Screen:
These are films that I saw on a big screen BOTH before and during 2001.

1.Haut bas fragile (Jacques Rivette, 1995)
My second favourite musical film of all time, if you can call this film a musical. The first place still belongs to All That Jazz (Bob Fosse, 1979). Recent French musicals, including Jeanne et le garcon formidable (Olivier Ducastel, Jacques Martineau, 1998) and On connait la chanson (Alain Resnais, 1997), have strong effects on my feelings and emotions, unlike other musical films which are only visually dazzling.

2.Agatha et les lectures illimitees (Marguerite Duras, 1981)

3.Les Creatures (Agnes Varda, 1966)

4.Katz und Maus (Hans Jurgen Pohland, 1967)

5.La Naissance de l’amour (Philippe Garrel, 1993)

Favourite Films seen on TV or Video:
1.Shirley Valentine (Lewis Gilbert, 1989)
Is this what’s called a feel-good movie? Because it really makes me feel so good. For those who love Muriel’s Wedding  (P.J. Hogan, 1994) and Miss Firecracker (Thomas Schlamme, 1989).
2.The Love Letter (Peter Ho-Sun Chan, 1999)
3.Trash (Paul Morrissey, 1970)
4.Humanity (Bruno Dumont, 1999)
5.Idioterne (Lars von Trier, 1998)
6.Lola + Bilidikid (Kutlug Ataman, 1998)
My favourite scenes are when a child finds ‘the Mermaid’, and when Murat (Baki Davrak) munches his hamburger in toilet.
7.Love Letter (Shunji Iwai, 1995)
8.Tick Tock (Kevin Tenney, 2000)
A thriller film which uses the clock as effectively as  Petits arrangements avec les morts (Pascale Ferran, 1994)!?!, though with very different purposes.
9.The Longest Nite (Patrick Yau, 1997)
10.The Sanguinaires (Laurent Cantet, 1998)

Favourite Music Video: Another Chance, performed by Roger Sanchez
This video is for those who think meeting someone as good as Mr.Darcy (Colin Firth) cannot ever happen in their lives.




16 JULY – 22 JULY 1989


อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 29
16 JULY – 22 JULY 1989

อันดับสัปดาห์นี้จะดูแปลกๆนะ เพราะในช่วงนั้นเราเคยทำอันดับแปลกๆแบบนี้อยู่ราว 10 สัปดาห์น่ะ  เหมือนในตอนนั้นเราเพิ่งทำอันดับเพลงใหม่ๆ แล้วมันมีเพลงที่เราชอบเยอะมาก อยากให้เข้าอันดับเยอะมาก เราเลยทำ 10 อันดับเพลงประจำสัปดาห์ แต่ให้อันดับ 1-5 มีอันดับละ 2 เพลง เราทำอันดับแปลกๆแบบนี้อยู่ราว 10 สัปดาห์ด้วยกัน ก่อนจะเปลี่ยนไปทำอันดับเพลงแบบปกติมนุษย์ โดยจัดเป็น 15 อันดับไปเลยในตอนหลัง

1. TOY SOLDIERS – Martika
+ YOU’LL NEVER STOP ME LOVING YOU – Sonia (New Entry)
https://www.youtube.com/watch?v=mMo4PfiiBhk

2. SUPERWOMAN – Karyn White
+ WIND BENEATH MY WINGS – Bette Midler (New Entry)
https://www.youtube.com/watch?v=cd8uolaL5FE

3. I WANNA HAVE SOME FUN – Samantha Fox
+ WAITING GAME – Swing Out Sister (New Entry)

4. DON’T YOU WANT ME BABY – Mandy
+ DIAMONDS – Princess Princess (New Entry)

5. TOMODACHI – Ayumi Nakamura
+ I DROVE ALL NIGHT --  Cyndi Lauper

6. FERRY CROSS THE MERSEY – Paul McCartney & Others

7. MANCHILD – Neneh Cherry

8. STORMS IN AFRICA – Enya

9. YUME NO NAKAE – Yuki Saito

10. RETURN TO MYSELF – Mari Hamada



New memories

NEW MEMORIES (2018, Michka Saal, Canada, documentary, A+30)

 เหมือนช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมาเราได้ดูหนังสารคดีเกี่ยวกับ photographers เยอะมากๆ และหนังเรื่องนี้น่าจะเป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบมากที่สุดในกลุ่มนี้ เพราะว่าจริงๆแล้วประเด็นการทำงานของ photographers ไม่ใช่ประเด็นที่เราสนใจเป็นการส่วนตัว แต่เราชอบ "ประวัติชีวิตครอบครัวอันรุนแรงมาก" ของตัว subject ในหนังเรื่องนี้ และชอบ ย่านที่อยู่อาศัยของตัว subject มากๆ เพราะมันเต็มไปด้วยผู้คนที่น่าสนใจ เหมือนเป็นแหล่งรวมสาวฮิปปี้วัย 60-70 ปี  หนังเรื่องนี้ก็เลยมีอะไรให้เรา enjoy เยอะกว่าหนังสารคดีเกี่ยวกับ photographers เรื่องอื่นๆ

THE SLEEPERS (2018, Alejandro Ramirez Collado, Mexico, documentary, A+30)

ชอบประเด็นของหนังที่พูดถีงความยากลำบากของผู้อพยพชาวอเมริกากลางขณะเดินทางข้าม Mexico

Monday, July 15, 2019

GUNDERMANN


MOON OVER MALAYA (1957, Chun Kim, Singapore, A+30)
                     
ตอนดูหนังเรื่องนี้รู้สึกหลงรักพระเอกมากๆ หล่อ และรูปร่างดีมาก น่ากินมากๆๆๆๆๆๆ ดูแล้วเข้าใจทันทีว่าทำไมนางเอกถึง want พระเอกอย่างรุนแรงตั้งแต่แรกเห็น

พอดูจบแล้วถึงเพิ่งรู้ว่า พระเอกหนังเรื่องนี้คือ “เซียะเสียน” ที่เราเคยดูละครทีวีฮ่องกงที่เขาแสดงมาแล้วหลายเรื่องในทศวรรษ 1980 โอ ตายแล้วววววววววววววว นึกไม่ถึงเลยว่าเซียะเสียนในวัยหนุ่มจะหล่อเร้าใจขนาดนี้

GENGHIS KHAN (1950, Manuel Conde, Philippines, A+30)

ชอบฉากสงครามที่ดูงกๆเงิ่นๆมาก คิดว่ามันคงเป็นเพราะยุคนั้น "หนังจีนกำลังภายใน" ยังไม่เฟื่องฟูไปทั่วโลก เลยยังไม่มี "การออกแบบคิวบู๊" อย่างงดงามในหนังยุคนั้น
                               
GUNDERMANN (2018, Andreas Dresen, Germany, A+30)

1.ชอบหลายอย่างในหนังเรื่องนี้มากๆ หนึ่งในสิ่งที่ชอบที่สุดก็คือประเด็นเรื่อง “ศิลปินที่รับใช้ระบอบเผด็จการ” นั่นแหละ เพราะหนังเรื่องนี้สร้างจากเรื่องจริงของ Gerhard Gundermann นักร้องชื่อดังในเยอรมันตะวันออก เขาเคยทำงานเป็นสายลับให้กับ Stasi ซึ่งเหมือนเป็นหน่วยตำรวจลับของเยอรมันตะวันออก เขาคอยแอบเอาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับคนที่เขารู้จัก ไปบอกให้ Stasi รู้ โดยเฉพาะข้อมูลของใครก็ตามที่เหมือนจะมีพฤติกรรมเอนเอียงไม่ชอบรัฐบาล

และเมื่อระบอบเผด็จการในเยอรมันตะวันออกสิ้นสุดลง ก็เลยมีการเปิดเผยแฟ้มข้อมูลของ Stasi ใครก็ตามที่เคยทรยศเพื่อน, เพื่อนร่วมงาน, เพื่อนบ้าน หรือญาติของตนเองในยุคของเผด็จการ ก็เลยโดนแฉ และตกเป็นจำเลยสังคมไป ซึ่งรวมถึงนักเขียนชื่อดังอย่าง Christa Wolf และศิลปินดังอย่าง Gundermann ด้วย

รู้สึกว่าประเด็นพวกนี้มันน่าสนใจดีสำหรับเรา เหมือนศิลปินในแต่ละยุคมันต้องเผชิญกับบททดสอบอะไรพวกนี้ ตั้งแต่ในยุคนาซีแล้ว ผู้กำกับหนังแต่ละคนสามารถเลือกได้ว่าจะหนีออกจากนาซีแบบ Fritz Lang หรือว่าจะรับใช้นาซีแบบ Leni Riefenstahl และพอมาเป็นยุคเยอรมันตะวันออก ศิลปินหรือคนแต่ละคนในระบอบเผด็จการ ก็จะเผชิญกับทางเลือกและบททดสอบอะไรแบบนี้เหมือนกัน

2.เราว่าเพลงของเขาในหนังเรื่องนี้มันเพราะมากๆๆๆ

3.ชอบ “ผัวนางเอก” มากๆ เราว่าเขาเป็นคนดีมากๆๆๆๆ

4.ชอบเครื่องขุดดินมากๆ มันใหญ่โตมโหฬารมากๆ และชอบคุณยายที่เป็นคนขับเครื่องขุดดินด้วย

5.เพื่อนที่ไปดูหนังเรื่องนี้ด้วยกัน ไม่รู้เรื่อง STASI มาก่อน เราก็เลยแนะนำให้เขาไปหาดูหนังเรื่อง FORGIVENESS (1994, Andreas Höntsch) กับ THE LIVES OF OTHERS (2006, Florian Henckel von Donnersmarck) และตอนนี้เราเพิ่งนึกออกว่า หนังอีกเรื่องที่เราชอบมากในประเด็นนี้ก็คือ FAREWELL TO AGNES (1994, Michael Gwisdek)

ในบรรดาหนังกลุ่มนี้ เราว่าเราชอบ FORGIVENESS มากที่สุดนะ หนังเล่าเรื่องภายในวันเดียว เป็นงานรวมญาติในครอบครัวนึง แต่ญาติบางคนในครอบครัวนี้เคยเอาความลับของญาติคนอื่นๆไปบอก STASI มาก่อน จนทำให้ชีวิตของญาติๆฉิบหาย เพราะฉะนั้นพอระบอบเผด็จการเยอรมันตะวันออกล่มสลาย งานรวมญาติก็เลยต้องมีการตบกันแหลก และต้องมีใครสักคนตายในที่สุด