Sunday, July 31, 2022

AN ISLAND DRIFTS

 

ผลตรวจประจำวันอาทิตย์ที่ 31 ก.ค. 2022ไม่ติด

 

ตอนแรกนึกว่าตัวเองติดโควิดแน่แล้ว เพราะเมื่อวานมึนหัวตอนเช้า ก็เลยนอนกลางวันตั้งแต่ 11.00-15.00 น. ตื่นมาแล้วอาการดีขึ้น แต่พอดึก ๆ ก็มึนหัวมาก เหมือนเป็นไข้ เลยแดกพาราไป 2 เม็ด กับฟ้าทะลายโจร 4 เม็ด รู้สึกเหมือนเป็นไข้ตลอดทั้งคืน แต่ตัวไม่ร้อนนะ แต่มึนหัวเหมือนกับตอนที่เป็นไข้น่ะ

 

ตอนนี้ก็เลยไม่แน่ใจว่าอาการมึนหัวเกิดจากอะไร ถ้าไม่ได้เกิดจากโควิด หรือว่าเกิดจากที่เราโดนฝนตกใส่หัวตอนนั่งมอเตอร์ไซค์ไปดูหนังเรื่อง DELICIOUS ที่ DOC CLUB เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา คือวันนั้นเราเห็นแดดมันออกจ้าแล้วนะ เราก็เลยนั่งวินมอเตอร์ไซค์ออกจากซอยไป แต่ปรากฏว่ามันก็มีฝนตกพรำ ๆ ลงมาใส่หัวเราทั้ง ๆ ที่แดดออกจ้านี่แหละ ซวยมาก ๆ

 

A SUNDAY IN PORTSMOUTH (2022, Sigurd Kølster, Denmark, 24min, A+25)

 

1.พอเป็นหนังพูดภาษาอังกฤษแบบไม่มีซับไตเติล เราก็เลยตามเนื้อเรื่องไม่ทันในจุดที่ว่า ตกลงแล้วปมปัญหาในชีวิตของพระเอกคืออะไรกันแน่

 

2.สะเทือนใจกับปมปัญหาของนางเอกมาก ๆ ที่เป็นโรคเกี่ยวกับตา ซึ่งจะทำให้กลายเป็นคนตาบอดในเวลาต่อมา ดูแล้วนึกถึงตอนที่ตัวเองมีอาการจอประสาทตาฉีกขาด 4 จุดในปี 2019 และตอนที่เราผ่าตัดต้อกระจก 3 ครั้งในปี 2020-2021 แต่อาการของนางเอกหนักหนากว่าของเราหลายเท่า เพราะโรคของเธอดูเหมือนจะเป็นโรคที่รักษาไม่ได้

 

3.รู้สึกกึ๋ย ๆ นิดหน่อยในฉากที่พระเอกพยายามพูดต่อต้านการฆ่าตัวตาย

 

 

AN ISLAND DRIFTS (2021, Vivian Ip, Singapore, 19min, A+25)

 

เรื่องของการกดขี่กันเป็นชั้น ๆ ครูใหญ่ต้องการสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียน ก็เลยเหมือนปรับหลักสูตรตารางสอนใหม่ ซึ่งยิ่งเป็นการเพิ่มความเคร่งเครียดให้กับครูและเด็ก ๆ ครูบางคนไม่เห็นด้วย แต่ตัวละครเอกของเรื่องซึ่งเป็นครูหนุ่มเห็นด้วย เพราะเขาต้องการสร้างผลงานดี ๆ และเขาก็จะไปกดดันเด็ก ๆ นักเรียนเพื่อให้เด็ก ๆ มีผลการเรียนดี ๆ เช่นกัน แต่การที่เขาไปเข้มงวดกับเด็ก ๆ ก็เลยส่งผลให้เด็กคนนึงกระโดดตึกตายไปเลย

 

ชอบการแสดงของครูหนุ่มในหนังเรื่องนี้มาก ๆ ดูแล้วนึกถึงคนบางคนที่เรารู้จักในชีวิตจริงที่มีอากัปกิริยาบุคลิกลักษณะแบบนี้ คือเราก็บรรยายเป็นคำพูดไม่ถูกเหมือนกัน แต่เหมือนกับว่า คนที่ “แคร์สายตาของคนอื่น ๆ” และต้องการให้ “ตัวเองดูดี ดู perfect ในสายตาของคนอื่น ๆ” คนที่ “แคร์มาตรฐานของสังคม” พยายามทำให้ตัวเองดูดีตามเกณฑ์ที่สังคมกำหนดไว้ บางคนมันมีบุคลิกลักษณะแบบครูหนุ่มในหนังเรื่องนี้จริง ๆ

Saturday, July 30, 2022

FRAGRANCE (KHUSHBOO) (2021, Vikrant Sidhu, India, 15min, A+25)

 

FRAGRANCE (KHUSHBOO) (2021, Vikrant Sidhu, India, 15min, A+25)

 

หนังเกี่ยวกับปัญหาการเกษตรในรัฐปัญจาบของอินเดีย ซึ่งมีทั้งปัญหาเรื่องพืช GMO ที่ทำให้ดอกไม้สูญเสียกลิ่นหอม และปัญหาเรื่องกฎหมายต่าง ๆ ที่ส่งผลให้เกษตรกรอินเดียต้องรวมตัวกันชุมนุมกดดันรัฐบาลในแบบที่ทำให้นึกถึงสมัชชาคนจนของไทย

 

ดูแล้วนึกถึงหนังเรื่อง SEED: THE UNTOLD STORY (2016, Jon Betz, Taggart Siegel, documentary, A+20) ด้วย

 

เหมาะฉายควบกับ “ลุงทอง 2018” UNCLE TONG 2018 (2018, Natthan Krungsri) มาก ๆ ที่เป็นหนังเกี่ยวกับปัญหาเกษตรพันธสัญญาของไทย

Friday, July 29, 2022

POLYCEPHALY IN D (2021, Michael Blayney Robinson, USA, 23min, A+30)

 

POLYCEPHALY IN D (2021, Michael Blayney Robinson, USA, 23min, A+30)

 

ไม่ทราบชีวิต ไม่รู้ he รู้แตดอะไรใด ๆ อีกต่อไป บ้าคลั่ง hyperbolic paraboloid มาก ๆ กราบบบบบบบบบบบบบบบบบ

 

แทบบรรยายไม่ได้ว่าเราเห็นอะไรในหนังเรื่องนี้บ้าง มันมีทั้งผู้ชายสองคนที่เหมือนอยู่กันคนละสถานที่ แต่ส่งโทรจิตถึงกันได้, การตัดภาพจากหนัง KING KONG เวอร์ชั่นต่าง ๆ เข้าด้วยกัน, การตัดภาพจากหนังอะไรไม่รู้มากมายเข้าด้วยกันจนทำให้เรารู้สึกฟินอย่างรุนแรงที่สุด และการส่ง “ลิงปลอม” เข้าไปอยู่ท่ามกลางฝูงลิง และสังเกตปฏิกิริยาที่ฝูงลิงมีต่อลิงปลอมตัวนั้น

 

 

LIVING IN A BUBBLE (2021, Natalie MacMahon, Nikola Drvoshanov, Germany, animation, 8min, A+25)

 

THE DREAM MACHINE (2021, Michael William West, France, 9min, A+30)

 

ดูหนังได้ที่นี่
https://www.youtube.com/watch?v=5X6GuHSGHNk

 

เป็นหนึ่งในหนังอีกเรื่องในเทศกาล Signes de Nuit ปีนี้ที่ชอบอย่างสุดขีดคลั่งมาก ๆ ดูแล้วนึกถึงทั้ง Maya Deren, Martin Arnold, PAPILLON D’AMOUR (2004, Nicolas Provost, Belgium) และ OUTER SPACE (1999, Peter Tscherkassky, Austria)

Thursday, July 28, 2022

ON THE OTHER SIDE (2021, Iván Guarnizo, Colombia/Spain, documentary, A+30)

 

ON THE OTHER SIDE (2021, Iván Guarnizo, Colombia/Spain, documentary, A+30)

 

ติดอันดับประจำปีแน่นอน ชอบอย่างสุดขีดคลั่ง ดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง ผู้กำกับหนังเรื่องนี้พยายามสืบหากลุ่มบุคคลที่เคยจับแม่กับญาติของเขาไปเรียกค่าไถ่ในโคลอมเบียเมื่อหลายปีก่อน แล้วกักขังแม่ของเขาไว้ในป่านานหลายเดือน ก่อนจะปล่อยตัวออกมา

 

หลังจากนั้นอีกนานหลายปีแม่ของเขาก็เสียชีวิต และเขาก็ได้อ่านบันทึกความทรงจำของแม่ของเขา เขาก็เลยสนใจกลุ่มนักเรียกค่าไถ่/กองกำลังปฏิวัติ FARC ที่ยึดลัทธิ Marxist-Leninist กลุ่มนี้ เพราะแม่ของเขาดูเหมือนจะสนิทกับหนุ่มนักเรียกค่าไถ่คนหนึ่งมาก ราวกับว่านั่นเป็นลูกชายอีกคนของเธอ

 

การสืบหาตัวกลุ่มนักเรียกค่าไถ่กลุ่มนี้ก็ทำได้ยากมาก เพราะถึงแม้ FARC จะสลายตัวไปแล้ว เมื่อมีการทำข้อตกลงสันติภาพกับรัฐบาล แต่หลังจากนั้น อดีตสมาชิก FARC ก็ทยอยถูกลอบสังหารไปเรื่อย ๆ ทีละคน ทีละคน จนยอดรวมเกือบเป็น 100 คน(ไม่รู้ว่าเพื่อเป็นการแก้แค้นต่อสิ่งที่พวกเขาเคยทำในอดีตหรือเปล่า) อดีตสมาชิก FARC ที่เหลือก็เลยไม่ค่อยอยากเปิดเผยตัวกัน ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ก็เลยประสบความยากลำบากในการแกะรอยหาตัวคนกลุ่มนี้

 

แต่ในที่สุดเขาก็ตามหาจนเจอ Güérima ชายหนุ่มนักเรียกค่าไถ่ที่สนิทกับแม่ของเขา ครึ่งหลังของหนังเลยเป็นการเดินทางเข้าไปหา Güérima ที่บ้านของเขาที่เหมือนตั้งอยู่กลางป่า และสนทนากับ Güérima

 

ช่วงหลังของหนังสร้างความรู้สึกซาบซึ้งสุดขีดให้กับเรา ชอบบางจังหวะที่ Güérima เหมือนจะพูดอะไรบางอย่าง แต่ก็ถูกอารมณ์ถั่งท้นขึ้นมาจนพูดไม่ออก แล้วหนังก็ตัดภาพไป, จังหวะที่ Güérima ร้องไห้ หรือแม้แต่การที่กล้องจับแค่ใบหน้าของ Güérima เฉย ๆ เราก็รู้สึกว่ามันทรงพลังมากแล้ว เพราะ Güérima เหมือนเป็นคนที่ผ่านชีวิตที่หนักมาก ๆ มาแล้ว และมันเป็นคนจริง ๆ ที่ผ่านชีวิตที่รุนแรงสุดขีดมาแล้ว ไม่ใช่นักแสดงที่เล่นเป็นตัวละครแบบนั้น

 

เอาจริง ๆ แล้วเราก็รู้สึกว่า สาเหตุที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้แบบสุดขีดคลั่ง มันคือสาเหตุเดียวกับที่ทำให้เราชอบหนังเรื่อง HER LOVE BOILS BATHWATER (2016, Ryota Nakano) 555555 เพราะเรามักจะไม่อินกับหนังที่ตัวละครรักกันในแบบที่สอดคล้องกับบทบาททางสังคม (อย่างเช่น พ่อรักลูก, แม่รักลูก, ลูกรักพ่อแม่, เด็กรักยาย, ปู่รักหลาน, เมียรักผัว) แต่เรามักจะอินกับหนังที่ตัวละครรักกันหรือมีความสัมพันธ์กันในแบบที่ไม่ค่อยสอดคล้องกับบทบาททางสังคม เพราะฉะนั้น HER LOVE BOILS BATHWATER ก็เลยเข้าทางเราอย่างสุด ๆ เพราะมันเป็นหนังที่ “แม่เลี้ยงรักลูกเลี้ยง”, “ลูกเลี้ยงรักแม่เลี้ยง” คือตรงข้ามกับ stereotype ตัวละครแบบซินเดอเรลลา,สโนว์ไวท์ ที่แม่เลี้ยงกับลูกเลี้ยงต้องเกลียดชังกัน

 

 

ON THE OTHER SIDE ก็เลยเข้าทางเราอย่างสุดขีดด้วยเหตุผลเดียวกัน เพราะตัวละครทั้งสองฝ่ายต่างก็เหมือนมีความขัดแย้งกับบทบาทของตนเอง ผู้กำกับหนังเรื่องนี้กับ brother ของเขา (ไม่แน่ใจว่าเป็นพี่ชายหรือน้องชายของผู้กำกับ) ควรจะเกลียดชังคั่งแค้นกลุ่มคนที่จับตัวแม่ของเขาไปกักขังในป่าเพื่อเรียกค่าไถ่เป็นเวลานานหลายเดือน แต่ผู้กำกับก็เหมือนจะหาทางก้าวพ้นความเกลียดชังนั้นได้ และพูดคุยปรองดองทำความเข้าใจกับ Güérima ได้อย่างซาบซึ้งกินใจมาก ๆ

 

Güérima เองก็มีความขัดแย้งกับบทบาทหน้าที่ของตนเองตั้งแต่แรก เพราะองค์การ FARC ของเขาสั่งให้เขาฆ่าแม่ของ Iván ทิ้งเมื่อใดก็ตามที่กองทหารโคลอมเบียเข้ามาใกล้สถานที่กักขัง แต่ Güérima ก็ไม่ทำ เหมือนพอเขาได้เจอกับแม่ของ Iván เขาก็ตั้งใจที่จะช่วยปกป้องเธอให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เขาก็เลยใช้วิธีอพยพพาหน่วยของเขาหนีออกไปไกลจากกองทหารโคลอมเบีย แล้วไม่ยอมติดต่อกับหัวหน้าของเขาจนกว่าพวกเขาจะหนีจากกองทหารไปได้ไกลแล้ว เขาก็เลยเหมือนขัดคำสั่งของหัวหน้าของเขาถึงสองครั้งที่ต้องการให้ฆ่าแม่ของ Iván ทิ้ง และการที่เขาดูแลเหยื่อการเรียกค่าไถ่เป็นอย่างดีก็ดูเหมือนเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับบทบาทของนักเรียกค่าไถ่โดยทั่วไปเช่นกัน

 

หนังเรื่องนี้ก็เลยเข้าทางเราอย่างสุด ๆ เพราะความสัมพันธ์ระหว่าง แม่ของ Iván กับ Güérima ก็ไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่ธรรมดา และความสัมพันธ์ระหว่าง Iván กับ Güérima ก็ไม่ใช่ความสัมพันธ์ที่ธรรมดาเช่นกัน

 

อีกสิ่งที่ซึ้งสุดขีดในหนัง ก็คือเรื่องเข็มเย็บผ้าที่ทำจากกระสุนปืน เพราะตอนที่แม่ของ Iván ถูกจับตัวไป Güérima ได้เอากระสุนปืนไปหล่อเป็นเข็มเย็บผ้า แล้วให้แม่ของ Iván ใช้เข็มเย็บผ้านี้เย็บสิ่งต่าง ๆ ให้พวกเขา อย่างเช่นสายห้อยปืนไรเฟิลหรืออะไรทำนองนี้มั้ง

 

พอ Iván ได้ไปพบปะพูดคุยกับ Güérima เขาก็เลยให้ Güérima สาธิตวิธีหล่อเข็มเย็บผ้าจากกระสุนปืนให้ดูต่อหน้ากล้อง

 

อันนี้ก็เป็นจุดที่ดูแล้วร้องห่มร้องไห้ของจริง เหมือนวัตถุชิ้นนี้มันเป็นสัญลักษณ์แทนความสัมพันธ์ที่ไม่ธรรมดาของคนกลุ่มนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะกระสุนปืนมันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อปลิดชีวิตคน มันมีอยู่ตั้งแต่แรกเพื่อให้ Güérima ใช้ฆ่าเหยื่อของเขา กระสุนปืนนี้มันน่าจะเป็นสิ่งที่ใช้แทน “ความเกลียดชัง” ที่คนสองกลุ่มนี้ควรจะมีให้แก่กัน แต่เมื่อ Güérima เอากระสุนปืนที่ควรจะใช้ปลิดชีวิตคนไปหล่อเป็นเข็มเย็บผ้า มันก็เลยคล้าย ๆ กับสิ่งที่เขาเป็นจริง ๆ เพราะเขาเลือกที่จะไม่ฆ่าเหยื่อ แต่กลับพยายามปกป้องเหยื่อ และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับเหยื่อ “เข็มเย็บผ้าที่หล่อขึ้นจากกระสุนปืน” ก็เลยเหมือนเป็นสัญลักษณ์แทนความสัมพันธ์ที่ไม่ธรรมดาระหว่างครอบครัวของ Iván กับ Güérima ได้อย่างดีงามมาก ๆ

 

ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด ผู้กำกับหนังเรื่องนี้น่าจะทำงานในวงการโทรทัศน์มั้ง เขาก็เลยอาจจะเข้าใจวิธีเร้าอารมณ์ซึ้ง ๆ จากคนดูได้เป็นอย่างดี เพราะในช่วงท้ายของหนังที่เป็นการนำเสนอภาพ home video เก่า ๆ ของแม่ของเขานั้น มันดูแล้วก็รู้สึกว่าจงใจทำซึ้งนะ แต่มันก็ซึ้งมากจริง ๆ นั่นแหละ ดูแล้วยอมเลย ร้องห่มร้องไห้เลย

 

แน่นอนว่าดูแล้วนึกถึง MEMORIA เพราะเป็นหนังโคลอมเบียเหมือนกัน และ ON THE OTHER SIDE นี่เจาะลึกประวัติศาสตร์บาดแผลจริง ๆ ของโคลอมเบียด้วย ซึ่งเป็นบาดแผลที่หนักหน่วงรุนแรงมาก ๆ ไป ๆ มา ๆ มีสิทธิว่าเราอาจจะชอบหนังเรื่องนี้มากกว่า MEMORIA อีก เหมือน MEMORIA เป็นหนังที่ “กระทบจิต” แต่ ON THE OTHER SIDE เป็นหนังที่เหมือนมีคนเอามีดมาแทงใจเราจนเลือดไหลทะลักออกมา

 

Sunday, July 24, 2022

MY TOP TEN MOST FAVORITE FILMS OF ALL TIME

 

MY TOP TEN MOST FAVORITE FILMS OF ALL TIME

 

เห็นคุณ Kurodo Pete อยากเห็นลิสท์ TOP TEN หนังสุดโปรดตลอดกาลของเรา เราก็เลยทำเล่น ๆ บ้างแล้วกัน

 

แน่นอนว่ามันไม่ใช่ TOP TEN จริง ๆ เพราะเราไม่สามารถตัดสินได้หรอกว่า เราชอบหนังเรื่องไหนมากที่สุด 10 อันดับแรก 55555 เพราะฉะนั้นเพื่อความง่ายดายในการทำลิสท์ เราก็เลยตั้งเกณฑ์ให้ตัวเองว่า จะเลือกมาแค่ประเทศละ 1 เรื่องแล้วกัน ไม่งั้น TOP TEN ของเรามันจะมีแต่หนังฝรั่งเศส, เยอรมนี แล้วก็ไทย

 

in alphabetical order

 

1.BUNNY (2000, Mia Trachinger, USA)

 

จริง ๆ แล้วอยากเลือก TAKE THE 5:10 TO DREAMLAND (1976, Bruce Conner) ในฐานะตัวแทนหมู่บ้านจากสหรัฐ แต่ก็ตัดสินใจยกอันดับนี้ให้ BUNNY ดีกว่า เพราะเราดูหนังเรื่องนี้ผ่านมานาน 20 ปีแล้ว แต่ก็ยังร้องห่มร้องไห้ทุกครั้งที่นึกถึงหนังเรื่องนี้ เหมือนหนังเรื่องนี้มันสอดคล้องกับความเชื่อของเราที่ว่า ชีวิตมนุษย์มันมีแต่ “ความทุกข์” เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปจริง ๆ ส่วนความสุขนั้น มันก็เป็นเพียงแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ ประเดี๋ยวประด๋าว ที่ความทุกข์ดับไปเท่านั้นแหละ

 

2.THE DEATH OF MARIA MALIBRAN (1972, Werner Schroeter, West Germany)

 

ถือเป็นตัวแทนหมู่บ้านจากเยอรมนี เลือกยากสุด ๆ ระหว่างหนังของ Werner Schroeter, Ulrike Ottinger, Herbert Vesely, Ula Stockl, Hellmuth Costard, Herbert Achternbusch, Alexander Kluge, Harun Farocki, Niklaus Schilling, Peter Fleischmann, Peter Stein, Peter Lilienthal, Thomas Brasch, Reinhard Hauff, Margarethe von Trotta, Rosa von Praunheim, Jutta Brückner, Frank Beyer, etc.

 

3.DIVINE INTERVENTION (2002, Elia Suleiman, Palestine)

 

หนังที่ดูแล้วร้องห่มร้องไห้หนักที่สุดในชีวิต

 

4.DYING AT A HOSPITAL (1993, Jun Ichikawa, Japan)

 

ญี่ปุ่นก็เต็มไปด้วยหนังที่เราชอบสุดขีดมากมาย จริง ๆ แล้วชอบ Jun Ichikawa มากในระดับทัดเทียมกับ Nagisa Oshima และ Mikio Naruse แต่เหมือน Jun Ichikawa ดังน้อยกว่า เราก็เลยเลือกหนังของเขาแล้วกัน 5555

 

หนังของ Jun Ichikawa มันเป็น “หนังเหงา” ที่เข้าทางเรามากที่สุดด้วยแหละ คือในแง่หนึ่งมันคล้ายกับหนังเหงา ๆ ของ Tsai Ming-liang และ Wong Kar-wai แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือว่า เมื่อตัวละครในหนังของหว่องและไฉ่อยู่ alone พวกเขาจะรู้สึกlonely ต้องการให้มีคนรักมาอยู่เคียงข้าง แต่ในหนังของ Jun Ichikawa บางเรื่องนั้น เมื่อตัวละครอยู่ alone พวกเขาจะรู้สึก happy ไม่ได้ต้องการให้มีใครมาอยู่เคียงข้าง และนี่แหละคือกูค่ะ 555555

 

คือหลายคนอาจจะนึกว่าเราเงี่ยนผู้ชายอย่างรุนแรง เต็มไปด้วยราคะ แต่จริง ๆ แล้วเรามีจิต “ปฏิฆะ” แรงกว่าราคะนะ เพราะฉะนั้นหนังของ Jun Ichikawa นี่แหละ ที่เข้าใจเรามากกว่าหนังของหว่องและไฉ่มาก ๆ

 

5.THE GARDEN (1990, Derek Jarman, UK)

 

ถือเป็นหนึ่งในหนังทดลองเรื่องแรก ๆ ที่เราได้ดู มันก็เลยส่งผลกระทบกับเราอย่างรุนแรงมาก ๆ ในตอนนั้น

 

6.HEREMIAS (2006, Lav Diaz, Philippines, 9hours)

 

ถือเป็นหนังที่เบิกเนตรเราด้วยการทำให้เราหันมาสนใจหนังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างจริงจัง คือเหมือนก่อนที่เราจะได้รู้จัก Alexis Tioseco ในปี 2005 เรานึกว่าหนังอาเซียนไม่ค่อยมีอะไรดีเท่าไหร่น่ะ แต่พอเราได้รู้จัก Alexis Tioseco ในปี 2005 เราถึงได้รู้ตัวว่ากูโง่มาก ๆ ๆ ๆ ขนาดไหน เพราะหนังอาเซียน โดยเฉพาะหนังฟิลิปปินส์นี่มันดีมาก ๆ ๆ ๆๆ ๆ

 

จริง ๆ แล้วตอบได้ยากว่าชอบหนังเรื่องไหนของ Lav Diaz มากที่สุด หรือชอบหนังฟิลิปปินส์เรื่องไหนมากที่สุด แต่เราขอยกอันดับนี้ให้ HEREMIAS แล้วกัน เพราะ HEREMIAS เป็นหนังเรื่องแรกของ Lav Diaz ที่เราได้ดู มันก็เลยเหมือนเป็นหนังที่สร้างความตกตะลึงให้เรามากที่สุด

 

7.INDIA SONG (1975, Marguerite Duras, France)

 

แน่นอนว่ามีผู้กำกับหนังฝรั่งเศสอีกเป็น 100 คนที่เราชอบหนังของเขาอย่างสุด ๆ 55555

 

8.THE KITE (2002, Aleksey Muradov, Russia)

 

แนะนำอย่างยิ่งสำหรับคนที่ชอบหนังของ Fred Kelemen, Bela Tarr, Sharunas Bartas, Artour Aristakisian

 

9.THE MISUNDERSTANDING เมืองในหมอก (1978, Permpol Choey-aroon)

 

ตัดสินใจเลือกหนังเรื่องนี้เป็นตัวแทนหนังไทยก็แล้วกัน 555555 ถึงแม้จะรักหนังของ Chaloemkiat Saeyong, Wachara Kanha, Teeranit Siangsanoh, Tossapol Boonsinsukh, Phaisit Phanphruksachat และ Apichatpong Weerasethakul มาก ๆ ก็ตาม

 

10.SWORDSMAN II เดชคัมภีร์เทวดาภาคสอง (1992, Ching Siu-Tung, Hong Kong)

 

เลือกยากมาก ๆ ระหว่างหนังเรื่องนี้กับ “ผู้หญิงแย่งสับ” WEB OF DECEPTION (1989, David Chung), สวยประหาร และ FULL MOON IN NEW YORK (1989, Stanley Kwan) ในฐานะตัวแทนหมู่บ้านจากฮ่องกง แต่ก็ตัดสินใจเลือกเรื่องนี้แล้วกัน เพราะเราเติบโตมากับละครทีวีฮ่องกงแนวกำลังภายใน และนิยายจีนกำลังภายในด้วย

 

 

เราเคยทำลิสท์ TOP TEN หนังสุดโปรดตลอดกาลในปี 2000 แล้วส่งไปที่ SENSES OF CINEMA ด้วยนะ แต่เหมือนเว็บไซท์นั้นไม่ได้เก็บลิสท์นั้นของเราไว้แล้ว

 

อันนี้เป็นลิสท์ที่เราเคยทำในปี 2000

 

HERE IS THE LIST OF MY MOST FAVOURITE FILMS OF ALL TIME, WHICH WAS MADE IN 2000.

 

> (IN PREFERENTIAL ORDER)

 

> 1.CELINE AND JULIE GO BOATING (JACQUES RIVETTE, 1974)

 

> 2.FALLEN ANGELS (WONG KAR-WAI, 1995)

 

> 3.INDIA SONG (MARGUERITE DURAS, 1975)

 

> 4.SOMBRE (PHILIPPE GRANDRIEUX, 1998)

 

> 5.AUGUST IN THE WATER (SOGO ISHII, 1995)

 

> 6.THE SLEEP OF REASON (DER SCHLAF DER VERNUNFT)  (ULA STOCKL, 1984)

 

> 7.THE BREAD OF THOSE EARLY YEARS (DAS BROT DER FRUHEN JAHRE) (HERBERT VESELY, 1961)

 

> 8.THE GREEN RAY (ERIC ROHMER, 1986)

 

> 9.JULIET OF THE SPIRITS (FEDERICO FELLINI, 1965)

 

> 10.THE LOVE MACHINE (GORDON ERIKSEN, 1999)