Monday, September 25, 2023

NOTHING BUT FINGERS

 

NOTHING BUT FINGERS (2023, Moe Satt, video installation, A+30)

 

ดูแล้วนึกว่าเป็นรำไทย + voguing + pantomime และนึกถึงหนังเก่ายุคทศวรรษ 1890-1900 ด้วย ที่ให้คนมาแสดงท่าทางต่อหน้าฉากหลังเรียบ ๆ แบบนี้

 ------------

วันนี้เมื่อ 23 ปีที่แล้ว หรือในวันที่ 25 ก.ย.ปี 2000 เราได้ดูหนังโรง 4 เรื่องในเทศกาล Bangkok Film Festival ซึ่งได้แก่

 

1. TALES OF KISH (1999, Abolfazl Jalili, Mohsen Makhmalbaf, Nasser Taghvai, Iran)

 

2. UNDER THE SUN (1998, Colin Nutley, Sweden)

 

3. CHARISMA (1999, Kiyoshi Kurosawa, Japan)

 

4. THE MILLION DOLLAR HOTEL (2000, Wim Wenders)

 

จำได้ว่าวันนั้นเป็นวันแรกที่เราได้ดูหนังของ Kiyoshi Kurosawa พอได้ดูก็ตกตะลึงพรึงเพริดไปเลย เพราะ CHARISMA เป็นหนังที่พิศวงมาก ๆ สำหรับเราในตอนนั้น ดูจบแล้วก็กราบตีนมาก ๆ

Sunday, September 24, 2023

A LONG WAY

ตารางชีวิตฮิสทีเรีย

 

WEDNESDAY 27 SEP 2023

 

19.00 THE WORST ONES (2022, Lise Akoka, Romane Gueret, France) @Alliance
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10168013488560220&set=a.10167439734585220

 

FRIDAY 29 SEP

 

14.30 DOZENS OF NORTHS (2021, Koji Yamamura, Japan, 64min) @Alliance

https://afthailande.org/en/event-en/?eventId=1941#/

 

18.00 WILDTYPE: SHORTCOMINGS @ DOC CLUB

https://web.facebook.com/Nextlife.Records/posts/pfbid02XogcJntWhcuupkMtTgMuY3zDrPSWDxUHPEbBhjX6GaY9rQ2zDRj9ufihH9NYrSkBl

 

SAT 30 SEP @DOC CLUB

 

12.00 ROUGH 1

13.50 FICTION 1

16.20 PRISM OF MEMORIES

18.40 EXPER 1

 

SUN 1 OCT @DOC CLUB

12.00 ROUGH 2

14.00 FICTION 2

16.45 EXPER 2

19.00 376 X 501 X 2020 (130 min)

 

MONDAY 2 OCT

 

15.40 LITTLE NICHOLAS – HAPPY AS CAN BE (2022, Amandine Fredon, Benjamin Massoubre, France, animation, 82min)

@HOUSE

https://www.housesamyan.com/site/Movie/detail/1026

 

TUESDAY 3 OCT

 

19.40 EVERYBODY LOVES JEANNE (2022, Céline Devaux, France, animation, 95min)

@house

https://www.housesamyan.com/site/Movie/detail/1027

 

WEDNESDAY 4 OCT

 

19.00 MY LOVE AFFAIR WITH MARRIAGE (2022, Signe Baumane, France, animation, 108min)

@Alliance

https://afthailande.org/en/event-en/?eventId=1943#/

 

THURSDAY 5 OCT

 

19.30 BEYOND ANIMATION: SHORTS 2 (70MIN)

@HOUSE

https://www.housesamyan.com/site/Movie/detail/1037

 

 

FRIDAY 6 OCT

2000 SKIES OF LEBANON (2020, Chloé Mazlo, France, 92min)

@HOUSE

https://www.housesamyan.com/site/Movie/detail/1029

 

SATURDAY 7 OCT

 

16.20 CHICO & RITA (2010, Fernando Trueba, Tono Errando, Javier Mariscal, Spain/UK, animation, 94min)

@HOUSE

https://www.housesamyan.com/site/Movie/detail/1032

 

SUNDAY 8 OCT

 

17.00 BEYOND ANIMATION: SHORTS 1 (67MIN)

@DOC CLUB

https://ticket.docclubandpub.com/movie/279#theater

 

TUESDAY 10 OCT

 

18.15 NINA AND THE HEDGEHOG’S SECRET (2023, Jean-Loup Felicioli, Alain Gagnol, France, animation, 82min)

@HOUSE

https://www.housesamyan.com/site/Movie/detail/1030

 

WEDNESDAY 11 OCT

 

19.55 MARS EXPRESS (2023, Jérémie Périn, France, animation, 85min)

@house

https://www.housesamyan.com/site/Movie/detail/1035

 

SATURDAY 14 OCT

 

14.00 THE BLACK PHAROAH, THE SAVAGE AND THE PRINCESS (2022, Michel Ocelot, France, animation, 83min)

@ALLIANCE

https://afthailande.org/en/event-en/?eventId=1942#/

 

16.30 BLIND WILLOW, SLEEPING WOMAN (2022, Pierre Földes, France/Luxembourg, animation, 108min)

@ALLIANCE

https://afthailande.org/en/event-en/?eventId=1945#/

 

 

WEDNESDAY 25 OCT

 

19.00 TALKING ABOUT THE WEATHER (2022, Annika Pinske, Germany)

@Goethe

https://www.goethe.de/ins/th/en/kul/sup/kin/tuv/git.html

FRIDAY 27 OCT

 

19.15 AFIRE (2023, Christian Petzold, Germany, 103min)
@doc club

https://www.goethe.de/ins/th/en/kul/sup/kin/tuv/dcp.html

 

SATURDAY 28 OCT @ DOC CLUB

13.20 THE ORDINARIES (2022, Sophie Linnenbaum, Germany, 124min)

15.50 REPUBLIC OF SILENCE (2021, Diana El Jeroudi, Germany/ItalyQatar/Syria, documentary, 183min)

19.20 HAO ARE YOU (2023, Dieu Hao Do, Germany, documentary, 90min)

 

SUNDAY 29 OCT @DOC CLUB

 

13.20 LOVE, DEUTSCHMARKS AND DEATH (2022, Cem Kaya, Germany, documentary, 102min)

https://www.goethe.de/ins/th/en/kul/sup/kin/afm/ldt.html

 

15.15 NASIM (2021, Arne Büttner, Ole Jacobs, Greece, documentary, 123min)

https://www.goethe.de/ins/th/en/kul/sup/kin/afm/nas.html

 

17.40 IRON BUTTERFLIES (2023, Roman Liubyi, Germany/Ukraine, documentary, 84min)

https://www.goethe.de/ins/th/en/kul/sup/kin/afm/ibf.html

 

19.20 WE MIGHT AS WELL BE DEAD (2021, Natalia Sinelnikova, Germany, 96min)

https://www.goethe.de/ins/th/en/kul/sup/kin/afm/wks.html

 

เรายังไม่เคยดูหนังชุด “จอมโจรแฟนโทมัส” เลย ทั้ง ๆ ที่หนังชุดนี้เคยเข้ามาฉายในไทยทั้ง 3 ภาค ซึ่งได้แก่

 

1.FANTOMAS (1964, André Hunebelle, France)

 

2.FANTOMAS UNLEASHED (1965, André Hunebelle, Haroun Tazieff, France)

 

3.FANTOMAS VS. SCOTLAND YARD (1967, André Hunebelle, France)

 

เหมือนเราแทบไม่เคยได้ยินใครพูดถึงหนังชุดนี้อีกเลยในปัจจุบัน

วันนี้เมื่อ 23 ปีที่แล้ว หรือในวันที่ 24 ก.ย.ปี 2000 เราได้ดูหนังโรง 5 เรื่องที่ห้างเอ็มโพเรียมในเทศกาลภาพยนตร์ Bangkok Film Festival โดยหนังโรง 5 เรื่องนั้นได้แก่

 

1.มือปืน GUNMAN (1983, Chatrichaloem Yukol)

2. THE OPERA LOVER (1999, Ron Lazzeretti, Venturino Liberatore)

3.FLAMENCO (1995, Carlos Saura, Spain)

4.TRAIN TO PAKISTAN (1998, Pamela Rooks, UK/India)

5.UNDER THE PALMS (1999, Miriam Kruishoop, Netherlands/Germany)

 

เราชอบ UNDER THE PALMS อย่างรุนแรงสุดขีดมากจนถึงขั้นเขียนถึงหนังเรื่องนี้ลงใน imdb.com ด้วย 555

https://www.imdb.com/review/rw0608021/?ref_=tt_urv

 

การได้ดูหนังเรื่อง UNDER THE PALMS ก็ถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่น่าประทับใจสุดขีดด้วย เพราะว่าจริง ๆ แล้ว หนังเรื่องนี้ไม่ได้ถูกเลือกให้เข้าฉายใน Bangkok Film Festival และหนังที่จะต้องฉายในคืนนั้นในเทศกาลคือ SEDUCING MAARYA (2000, Hunt Hoe, Canada/India) และเราก็ซื้อตั๋วหนังเข้าไปดู SEDUCING MAARYA แต่พอดีเกิดความผิดพลาดขึ้น คือเหมือนเทศกาลภาพยนตร์ที่ไหนสักแห่ง (น่าจะเป็นในยุโรป) จะต้องส่งฟิล์มภาพยนตร์เรื่อง SEDUCING MAARYA มาให้เทศกาล Bangkok Film แต่ตัวเทศกาลนั้นดันส่งฟิล์มมาผิดเรื่อง และดันส่ง UNDER THE PALMS มาแทน ซึ่งในยุคนั้นกว่าจะรู้ว่ามันส่งมาผิดเรื่อง ก็เมื่อเอาฟิล์มออกมาขึ้นฉายบนจอในเวลาฉายแล้ว ตอนนั้นคนดูทั้งโรงและ Brian Bennett ผู้จัดเทศกาลก็ตกใจว่าพวกกูกำลังดูอะไรกันอยู่ นี่มันหนังเรื่องอะไร ไม่เคยมีใครได้ยินมาก่อน แล้วพอ UNDER THE PALMS ฉายไปได้สัก 5-10 นาที ทางโรงก็หยุดฉาย แล้ว Brian ก็มาแจ้งผู้ชมว่า เนื่องจากเกิดความผิดพลาดขึ้น ทางเทศกาลก็เลยจะฉาย UNDER THE PALMS ต่อให้จบเลย ส่วนใครไม่อยากดูต่อ อยากจะ refund ขอเงินค่าตั๋วคืนหรืออะไรก็ว่ากันไป

 

ซึ่งเราก็ตัดสินใจดู UNDER THE PALMS ต่อจนจบ แล้วก็รู้สึกโชคดีมาก เพราะหนังมันเข้าทางเราสุด ๆ ก็เลยถือเป็น “ความผิดพลาดของทางเทศกาล” ที่ดีงามและส่งผลดีต่อเรามาก ๆ แล้วพออีกไม่กี่วันต่อมา ทางเทศกาลก็จัดรอบฉาย SEDUCING MAARYA ใหม่ ซึ่งปรากฏว่าตัวหนัง SEDUCING MAARYA นั้นสู้ UNDER THE PALMS ไม่ได้เลย 55555 คือถ้าคิดเป็นเกรดปัจจุบัน เราก็ชอบ UNDER THE PALMS ในระดับ A+30 และชอบ SEDUCING MAARYA ในระดับราว A+

 

ทางไกล (2023, Pattanapong Kongsak, documentary, 50min, A+30)

 

1.คิดว่ามันไม่ใช่หนังที่ “ดีมาก” และไม่ใช่หนังที่ “สำคัญสำหรับคนอื่น ๆ” แต่เป็นหนังที่เราชอบมากเป็นการส่วนตัว และสาเหตุข้อแรกเป็นเพราะว่า หนังเรื่องนี้มันสัมภาษณ์คนหลาย ๆ คนที่เป็น Facebook friends ของเรา ซึ่งเป็นคนกลุ่มที่เราไม่เคยเจอในชีวิตจริงถึงแม้จะเป็นเพื่อนใน Facebook กันมานานกว่า 10 ปี หรือเป็นคนกลุ่มที่เราเคยคุยกันในชีวิตจริงไม่เกิน 5 ประโยค 55555 เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ก็เลยเหมือนเป็นสื่อกลางที่ทำให้เราได้คุยกับเพื่อน ๆ กลุ่มนี้, มันทำให้เรา “รู้สึกมีความสุขเหมือนเวลาได้คุยกับเพื่อน ๆ” ซี่งแน่นอนว่าคุณค่าแบบนี้ในสายตาของเรา (ความรู้สึกเหมือนได้คุยกับเพื่อน ๆ) เป็นสิ่งที่จะไม่เกิดขึ้นกับผู้ชมกลุ่มอื่น ๆ ที่อาจจะห่างไกลจาก subjects ของหนัง

 

2.และพอหนังมันบันทึกความเห็นทางการเมืองของ facebook friends หลาย ๆ คน มันก็เลยเหมือนบันทีกความเห็นทางการเมืองของเราไปด้วย subjects หลาย ๆ คน “พูดในสิ่งที่เราคิด แต่เป็นสิ่งที่เราไม่กล้าพูดออกมาเอง” การที่เราได้ดูหนังเรื่องนี้ก็เลยทำให้เรามีความสุขในแง่ของ “การปลดปล่อยความคิดความรู้สึกของตนเองออกมา” โดยผ่านทางปากของ subjects ในหนัง 55555

 

3.ความสุขอย่างที่ 3 ที่เราได้รับจากหนังเรื่องนี้ ก็คือความสุขของการได้ “บันทึกช่วงเวลานึงเอาไว้” น่ะ คือเราว่าหนังเรื่องนี้มีคุณค่าสำหรับเราเหมือน “หนึ่งหน้าใน diary” น่ะ มันเหมือนเป็นการจดบันทึกความคิดความรู้สึกของ “ช่วงกลางปี 2023” เอาไว้ ช่วงเวลาอันสั้น ๆ ของความรู้สึกอันหอมหวานและมีความหวังหลังทราบผลการเลือกตั้งในช่วงเดือนพ.ค. 2023 และเป็นช่วงก่อนการจัดตั้งรัฐบาลที่อาจจะสร้างความผิดหวังให้กับคนกลุ่มหนึ่งและสร้างความสมหวังให้กับคนอีกกลุ่มหนึ่ง

 

ซึ่งการที่หนังเรื่องหนึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือน “หนึ่งหน้าใน diary” นั้น มันก็เหมือนทั้งมีความสำคัญและความไม่สำคัญในเวลาเดียวกัน คือในแง่หนึ่งเราคิดว่าหนังเรื่องนี้อาจจะไม่ใช่หนังที่สำคัญสำหรับผู้ชมคนอื่น ๆ ก็ได้ แต่เรามักจะชอบหนังที่มีความเป็นส่วนตัวและหนังที่มีความเป็น diary อยู่แล้ว เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้ เหมือนถ้าเวลาผ่านไปนาน ๆ อีกหลายปี แล้วเราอยากย้อนนึกถึงช่วงเวลา “กลางปี 2023” เราก็อาจจะทำได้ทั้งเปิดอ่าน diary ของตนเอง หรืออาจจะนั่งดูหนังเรื่องนี้อีกครั้งก็ได้ เพราะหนังเรื่องนี้มันได้เก็บรวบรวมความคิดความรู้สึกและบรรยากาศของช่วงเวลานั้นไว้ได้มากในระดับนึง

 

4.แต่เราคิดว่าหนังแบบนี้ยังพัฒนาให้ดีกว่านี้ได้อีกนะ คือเราว่า ในแง่ของความเป็น “หนังการเมือง” นั้น ถ้าหากหนังเรื่องนี้ต้องการจะทำตัวเป็น “หนังการเมือง” ที่ “มีความสำคัญสำหรับผู้ชมทั่วไป” (แต่เราก็คิดว่าเป็นสิ่งที่ดีแล้วที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการจะทำแบบนั้น หรือไม่ได้ต้องการจะทำอะไรที่ยากเกินไป) หนังเรื่องนี้ก็อาจจะต้องมีการเรียบเรียงประเด็นที่ดูเฉียบคมกว่านี้ และอาจจะต้องสัมภาษณ์คนอื่น ๆ ที่มีความเห็นทางการเมืองที่หลากหลายกว่านี้น่ะ คือเราว่าหนังเรื่องนี้เหมือนอยู่ใน safe zone หรือ comfort zone ของตัวเอง หรือเหมือนอยู่ใน echo chamber ของตัวเองอยู่นิดนึง เพราะฉะนั้นถึงแม้หนังเรื่องนี้จะมอบความสุขให้กับเราในแบบของ “ความสุขของการได้คุยกับเพื่อนๆ”, “ความสุขของการได้ปลดปล่อยความคิดของตนเองผ่านทางปากของคนอื่น ๆ” และ “ความสุขของการได้จดบันทึก diary ของตนเองเอาไว้” แต่มันก็อาจจะไม่ได้มอบความสุขแบบนี้ให้กับผู้ชมคนอื่น ๆ ในวงกว้างก็ได้นะ ซึ่งก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดนะที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ทะเยอทะยานแบบนั้น

 

และเราแอบรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เหมือนให้ความสำคัญกับ “ประเด็น” มากไป จนมันขัดกับจุดเด่นของ subjects แต่ละคนในหนังเรื่องนี้น่ะ คือเราว่าหนังการเมืองบางเรื่องมันก็ดีในแง่ของการนำเสนอ “ประเด็น” แต่หนังการเมืองที่จะดีในแง่ของ “ประเด็น” มันก็อาจจะต้องทำตัวเป็นนักวิชาการ มีการเปิดให้ subjects ได้วิเคราะห์การเมืองอย่างลึกซึ้ง  เน้นสัมภาษณ์นักวิชาการ, activists, นักการเมือง, political celebrities, etc. และดึงศักยภาพในการ “วิเคราะห์การเมืองเป็นฉาก ๆ” ของพวกเขาออกมาอย่างเต็มที่ และเรียบเรียงแต่ละประเด็นออกมาชัดเจนเป็นลำดับขั้นตอน

 

ซึ่งจริง ๆ แล้วหนังเรื่องนี้ก็มีทั้ง activist/นักการเมือง อยู่ในหนัง แต่เราว่า subjects โดยรวมของหนังเรื่องนี้ มีความน่าสนใจในแง่ “ความเป็นมนุษย์” มากกว่าความเป็น “ผู้รอบรู้ทางการเมือง” น่ะ เพราะฉะนั้นวิธีที่อาจจะเหมาะในการดึงเอาสิ่งที่น่าสนใจจริง ๆ ใน subjects กลุ่มนี้ออกมา อาจจะไม่ใช่การตั้ง “ประเด็น” เป็นหลัก อย่างเช่น หยิบเอาช่วงที่ subject a, b, c, d พูดถึงประเด็น ก มาเรียงต่อ ๆ กัน หรือหยิบเอาช่วงที่ subject a, b, c, d พูดถึงประเด็น ข มาเรียงต่อ ๆ กัน เพราะ subject แต่ละคนที่มีความงดงามในความเป็นมนุษย์ อาจจะดูไม่น่าสนใจได้เมื่อพวกเขาถูกลดทอนศักยภาพลงให้เหลือเพียงแค่ว่า พวกเขาคิดเห็นต่อประเด็นนั้นอย่างไร (แต่ subjects ที่เป็น “นักวิชาการ” จะเปล่งประกายได้เมื่อเจอสถานการณ์อย่างนี้)

 

เราก็เลยคิดว่า บางทีหนังแต่ละเรื่องอาจจะต้องคิดหาวิธีที่เหมาะสมกับ subjects ของหนังด้วยน่ะ โดยอย่างในกรณีของหนังเรื่องนี้ เราคิดว่าบางทีวิธีที่อาจจะยิ่งทำให้หนังเรื่องนี้งดงามมากยิ่งขึ้นไปอีก ก็คือการปล่อยให้ subjects แต่ละคนพูดอะไรต่าง ๆ ประเด็นต่าง ๆ ไปก่อนในตอนถ่ายทำ แล้วเมื่อเจอจุดเด่นที่น่าสนใจของแต่ละคน ก็คว้าจับจุดนั้นเอาไว้ แล้วขยายเจาะลึกลงลึกจุดนั้นอย่างเต็มที่ แล้วพอเวลาตัดต่อก็ค่อยเอา “จุดเด่นที่แตกต่างกันไปของแต่ละคน” มาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน คือเหมือนไม่ได้เน้น “ประเด็น” เป็นหลัก แต่เน้นมองหาจุดที่น่าสนใจที่แตกต่างกันไปในตัว subjects แต่ละคน แล้วนำเสนอจุดนั้น ๆ ออกมา ซึ่งเราว่าหนังเรื่องนี้ก็นำเสนอจุดนี้ออกมาได้บ้างนะ แต่มันน้อยเกินไปน่ะ อย่างเช่น subject ที่เคยเป็นสลิ่มขั้นสูง เราก็อยากรู้ว่าเขาเคยทำอะไรมาก่อนบ้าง เขาเปลี่ยนเพราะอะไร เราอยากให้หนังขยี้เขาให้รุนแรงตรงจุดนี้ หรืออยากให้เขาพูดถึงเรื่องการเมืองภาคใต้ให้คนภาคอื่นๆ ฟัง แล้วหนังเรื่องนี้ก็มี SUBJECTS คนอื่น ๆ ที่ “มีความเห็นทางการเมืองในปัจจุบัน แตกต่างจากในอดีต” ด้วย แต่หนังก็เหมือนไม่ได้ให้ subjects คนนั้น ๆ เล่าอย่างละเอียดลออในเรื่องนี้ แล้วเราก็อยากรู้เรื่อง “การเมืองในวงการพระ”, อยากรู้เรื่องคนต่าง ๆ ที่เคยโดนคดี 112 แต่ไม่ได้เป็นข่าวดัง (อย่างเช่นที่คุณวาดดาวพูดเรื่องเพื่อนที่เคยมีเงินเดือนหลายหมื่นจนชีวิตพลิกผันเมื่อโดนคดี 112) , อยากรู้เรื่องปัญหายาเสพติดในวัยรุ่นยุคปัจจุบัน, อยากรู้เรื่องการทุจริตในวงการราชการและตำรวจ, etc.

 

คือเราว่า subjects แต่ละคนในหนังเรื่องนี้มีอะไรที่น่าสนใจซ่อนอยู่ในตัวเอง แต่หนังไม่ได้เจาะลึกไปมากกว่านี้น่ะ คือเหมือนเราอยากให้หนังนำเสนอด้วยว่า subjects แต่ละคนเป็นใครอะไรยังไง และมี passion อย่างรุนแรงกับประเด็นการเมืองประเด็นอะไรบ้าง หรือมีปัญหาอย่างรุนแรงกับประเด็นการเมืองใดบ้าง อะไรแบบนี้ แต่เหมือนหนังเรื่องนี้ตั้งธงไว้ว่าจะนำเสนอประเด็น a b c d e แล้วก็เลยเอาตัวประเด็นเป็นหลัก แล้วเน้นนำเสนอสิ่งที่ subject แต่ละคนพูดเกี่ยวกับประเด็นนั้น เราก็เลยรู้สึกว่าหนังยังไม่ได้ดึงเอาศักยภาพที่แท้จริงหรือความงดงามหรือความน่าสนใจที่แท้จริงในตัว subject แต่ละคนออกมาอย่างเต็มที่น่ะ

 

5.ส่วนข้อนี้ไม่ได้เกี่ยวกับหนังเรื่องนี้โดยตรง แต่แค่อยากบันทึกไว้ว่า เราก็ยังคงชอบหนังเรื่องนี้ในแง่ของ “หนึ่งหน้าใน diary” อยู่นะ ซึ่งก็จะคล้าย ๆ กับหนังการเมืองเรื่องอื่น ๆ ของไทยบางเรื่อง ที่เราว่ามันคว้าจับ “ช่วงเวลานั้น ๆ” ของการเมืองไทยไว้ได้ดีมากๆ เช่นกัน อย่างเช่น ถ้าหากเราจะนึกถึงบรรยากาศทางการเมืองในไทยใน

 

5.1 ช่วงต้นปี 2006 เราก็จะนึกถึง “หนังผี 16 ปีแห่งความหลัง” (2006, Prap Boonpan)

 

5.2 ช่วงปลายปี 2006 หลังรัฐประหาร เราก็จะนึกถึง LETTER FROM THE SILENCE (2006, Prap Boonpan)

 

5.3 ช่วงปี 2007 เราก็จะนึกถึง ความลักลั่นของงานรื่นเริง (2007, Prap Boonpan)

 

5.4 ช่วงเหตุการณ์รุนแรงปี 2010 เราก็จะนึกถึง แกะแดง (2010, สำนักงานใต้ดิน)

 

5.5 ช่วงชุมนุมกปปส. ปลายปี 2013 เราก็จะนึกถึง BANGKOK JOYRIDE (2017, Ing K.)

 

5.6 ช่วงเลือกตั้ง ปี 2014 เราก็จะนึกถึง THIS FILM HAS BEEN INVALID (2014, Watcharapol Saisongkroh) และ “ภาษาที่เธอไม่เข้าใจ” AWARENESS (2014, Wachara Kanha)

 

5.7 ช่วงปี 2015 ที่มีการประท้วงของนักศึกษา เราก็จะนึกถึง COLLECTION OF POPULAR SONGS (2015, Anuwat Amnajkasem, Chantana Tiprachart)

 

5.8 ช่วงปลายปี 2016 เราก็จะนึกถึง SAWANKHALAI (2017, Abhichon Ratanabhayon)

 

5.9 ช่วงม็อบยุคหลัง เราก็จะนึกถึง MOB 2020-2021 (2021, Supong Jitmuang, 118MIN, documentary)

 

ก็เลยคิดว่า หนังเรื่อง “ทางไกล” นี้ก็ได้บันทึกช่วงเวลาของ “กลางปี 2023” เอาไว้ได้ดีมากแล้วล่ะ และถ้าหากในอนาคตเราจะย้อนนึกถึงช่วงเวลานี้ หนังเรื่องนี้ก็จะช่วยให้เราย้อนรำลึกถึงช่วงเวลา “กลางปี 2023” ได้ดีมาก ๆ

 

Sunday, September 17, 2023

23 YEARS AGO

 

วันนี้เมื่อ 23 ปีที่แล้ว หรือในวันที่ 27 ก.ย.ปี 2000 เราได้ดูหนังโรงเรื่อง PRICE OF GLORY (2000, Carlos Avila) และในอีกไม่กี่วันต่อมา เราก็ได้ดู CONFUCIAN CONFUSION (1994, Edward Yang, Taiwan) กับ TIERRA (1996, Julio Medem, Spain) ในงาน RETROSPECTIVE EDWARD YANG กับงาน RETROSPECTIVE JULIO MEDEM ที่จัดโดย FILMVIRUS ที่ห้อง auditorium ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

 

ยังจำบรรยากาศการดู CONFUCIAN CONFUSION ได้ดีสุด ๆ ถึงแม้เวลาจะผ่านมานาน 23 ปีแล้ว เพราะในงานนั้นมีกลุ่มคนไต้หวันมาดูหนังด้วย และกลุ่มผู้ชมชาวไต้หวันหัวเราะอย่างรุนแรงหนักมาก ๆ ในหลาย ๆ ฉาก แต่เราและผู้ชมคนไทยคนอื่น ๆ ไม่หัวเราะเลยสักแอะ เพราะคนไทยไม่เข้าใจมุกตลกต่าง ๆ มากมายที่อยู่ในหนังเรื่องนี้ที่คงมีแต่คนในสังคมไต้หวันเท่านั้นที่จะเข้าใจได้อย่างลึกซึ้ง

 

---

คิดถึงอดีตมาก ๆ เพราะที่บ้านเราเริ่มติดตั้งโทรศัพท์ในปี 1988 หรือเมื่อเราเริ่มขึ้นม.4 เพราะฉะนั้นตอนประถมและมัธยมต้นเราก็เลยต้องใช้โทรศัพท์สาธารณะแบบนี้เป็นประจำ

 

จำได้ว่าช่วงปิดเทอมม.4 ขึ้นม. 5 หรืออะไรทำนองนี้ ซึ่งเป็นช่วงที่บ้านเราเพิ่งเริ่มติดตั้งโทรศัพท์เป็นครั้งแรกในชีวิตได้ไม่นาน เราโทรศัพท์คุยกับเพื่อนคนนึงตั้งแต่ 09.00-16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่แม่เราออกไปทำงาน นึกถึงสมัยนั้นแล้วไม่รู้ทำไปได้ยังไง คือเมาท์กันไม่หยุดเป็นเวลา 7 ชั่วโมงเต็ม โดยมีการวิ่งไปฉี่ในห้องน้ำเป็นระยะ ๆ แล้วก็กลับมาเมาท์กันต่อ

THE EXORCIST AVENGERS

 รายงานผลประกอบการประจำวันเสาร์ที่ 16  sep 2023


1. SLEEP (2023, Jason Yu, South Korea, A+30)

ดูที่ paragon รอบ 11.00

คาดไม่ถึงกับช่วงองก์ 3 ของหนัง 555

2.LITTLE VAMPIRE (2020, Joann Sfar, France, animation A+30)

ดูที่ alliance รอบ 14.00

3.ANIMAL (2021, Cyril Dion, France, documentary, A+30)

ดูที่ Alliance รอบ 1630

ชอบมาก ๆ ที่หนังเริ่มต้นด้วยเด็ก ๆ ต่อสู้เพื่อสัตว์โลก แต่หลังจากนั้นเด็ก ๆ ก็ได้เจอ "คนที่ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ" หลายคน ที่ต่างก็มีเหตุผลของตนเองในการทำในสิ่งที่เลวร้ายต่อสัตว์ เหมือนมันเป็น dilemma ที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับเรา

4. RANSOMED  (2023, Seong Hun Kim, South Korea, A+25)

ดูที่ Esplanade รอบ 1930

ฉันรักเขา Justin H. Min from SHORTCOMINGS (2023, Randall Park, A+30)

---
หนึ่งในสิ่งที่เราชอบมาก ๆ ในหนังเรื่อง ปราณี LOVE IN AN OLD ALBUM (2023, Supiwat Chumyangsim, A+15) ก็คือการใช้รูปโปสเตอร์ดาราตกแต่งห้องของตัวละคร โดยในช่วงแรกของหนังนั้น ซึ่งน่าจะเป็นในปี 1990 เราเห็นภาพของ หลิวเต๋อหัว อยู่ในห้อง เพราะพระเอกของหนังเรื่องนี้คลั่งไคล้หนังเรื่อง ผู้หญิงข้าใครอย่าแตะ A MOMENT OF ROMANCE (1990, Benny Chan, Hong Kong) มาก ๆ

แต่ต่อมา เมื่อหนังดำเนินเรื่องมาถึงปี 1993 เราก็เห็นว่าในห้องของพระเอกมีรูปของ "เหอเจียจิ้ง" ในบท จั่นเจา จากละครทีวีเรื่อง เปาบุ้นจิ้น (1993) ติดอยู่ด้วย

และถ้าหากเราจำไม่ผิด พอหนังตัดมาเป็นปี 1994 เราก็เห็นรูปของ หลีหมิง อยู่ในห้องของพระเอกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับช่วงเวลาที่ หลีหมิงโด่งดังจากละครทีวีเรื่อง เทพบุตรผู้พิชิต  THE LEGENDARY RANGER (1993)

เราก็เลยประทับใจจุดนี้มากเป็นพิเศษ เพราะภาพดาราหนุ่มหล่อในห้องพระเอกที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ นี้ มันสอดคล้องกับกระแสความนิยมที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ในช่วงปี 1990-1994 จริง ๆ และมันทำให้เราหวนรำลึกถึงช่วงเวลานั้นได้ดีมาก ๆ

พอดูหนังเรื่องนี้แล้ว เราก็เลยย้อนนึกถึงอดีตของตัวเอง แล้วก็เลยคิดว่า ถ้าหากจะมีการทำหนังเกี่ยวกับตัวละครที่ใกล้เคียงกับเราในยุคต้นทศวรรษ 1980 ซึ่งตรงกับวัยประถมของเรา ห้องของตัวละครก็ควรจะติดรูปของ

1.Scott Baio ที่โด่งดังจากละครทีวีชุด HAPPY DAYS (1974-1984)

2.Rick Springfield นักร้องดังในยุคนั้น

3.Donny Osmond ที่โด่งดังจาก รายการทีวี THE DONNY & MARIE SHOW (1976-1979)

4.Erik Estrada ที่โด่งดังจากละครทีวีเรื่อง ฉลามบก CHIPS (1977-1983)

เพราะเราว่าเราเคยเห็นรูปหนุ่ม ๆ พวกนี้ติดอยู่ในห้องของพี่สาวเราในยุคนั้นน่ะ หรือเราจำได้ว่าพวกเขาเคยโด่งดังสุด ๆ ในยุคนั้น และเราว่าภาพหนุ่ม ๆ พวกนี้มัน "ชี้วัดยุคสมัย" ได้ดีมาก ๆ เพราะว่าทั้ง 4 คนนี้เหมือนจะได้รับความนิยมในไทยแค่ในยุคนั้นจริง ๆ เพราะพอเข้าช่วงปลายทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา เราก็แทบไม่เคยเห็นใครพูดถึงพวกเขาอีกเลย

ฉันรักเขา Jonas Bloquet from THE NUN II (2023, Michael Chaves, A+30) and ELLE (2016, Paul Verhoeven)

ฉันรักเขา Ju Ji-Hoon from RANSOMED (2023, Seong Hun Kim, South Korea, A+25) and ALONG WTH THE GODS: THE TWO WORLDS (2017, Kim Yong-hwa)

ฉันรักเขา Francois Civil from THE THREE MUSKETEERS: D'ARTAGNAN (2023,
Martin Bourboulon, France, A+30), RISE (2022, Cedric Klapisch, A+30), "SOMEONE, SOMEWHERE" (2019, Cedric Klapisch)
, LOVE AT SECOND SIGHT (2019, Hugo Gelin), "AS ABOVE, SO BELOW" (2014, John Erick Dowdle), ELLES (2012, Malgorzata  Szumowska)

TALK TO ME (2022, Danny Philippou, Michael Philippou, Australia, A+30)

Spoilers alert

--
--
--
--
--
1.โดยส่วนตัวดูแล้วนึกว่าหนังด่าอนุทิน 55555 ดูแล้วนึกถึงข่าวที่ได้ยินบ่อย ๆ ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เรื่องคนเสพติดกัญชา, น้ำกระท่อม, etc
แล้วเกิดหลอน อย่างเช่นข่าวหนุ่มเสพกัญชา แล้วคลั่งควงมีดไล่แทงสาวท้อง หรือข่าวคนเมาน้ำกระท่อม แล้วเอาปืนยิงเพื่อนตาย คือมีข่าวทำนองนี้ออกมาเยอะมาก ๆ ในไทยในช่วงนี้ และก็ทำให้นึกถึงข่าวในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาที่มีคนเมายาบ้าหรือยาเสพติดอื่น ๆ แล้วอาละวาดทำร้ายหรือฆ่าคนในครอบครัวตัวเองด้วย ซึ่งเรื่องเหล่านี้นี่แหละคือ horror in everyday life  เราก็เลยชอบสุด ๆ ที่หนังเรื่องนี้เหมือนเอา  horror in everyday life มาทำเป็นหนัง horror

ดูแล้วนึกถึงเรื่องที่เคยได้ยินมาด้วย ที่การเสพยาบางตัวไม่ได้ส่งผลให้เกิดภาพหลอนแค่หลังเสพยาเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น แต่มัน affect สมองบางส่วนของผู้เสพในระยะยาว และทำให้บางคนที่เลิกเสพยาไปนานหลายสิบปีแล้ว ยังคงมีอาการแปลก ๆ เป็นครั้งคราว เพราะสมองบางส่วนมันเสียหายถาวรไปแล้ว

2.ดูแล้วรู้สึกเหมือนเป็นการเอาหนัง 2 เรื่องมารวมเข้าด้วยกัน  ซึ่งก็คือ THE FITS (2015, Anna Rose Holmer, USA) กับ HALLUCINATION (2002, Sophon Sakdaphisit) โดย THE FITS สะท้อน peer pressure ในกลุ่มวัยรุ่น ที่วัยรุ่นบางคนจะได้รับการยอมรับให้เข้าร่วมกลุ่มเพื่อนบางกลุ่มได้ ก็ต่อเมื่อยอมทำอะไรที่ไร้เหตุผล อย่างเช่น " การถูกผีเข้า" (หรือที่พบได้ง่ายกว่าในชีวิตจริง ก็อาจจะเป็นการกินเหล้าจนเมา หรือลองเสพยาตามเพื่อน ๆ)

ส่วน HALLUCINATION เป็นหนังสะท้อนการเมายาบ้าหรืออะไรทำนองนี้ ที่นางเอกเสพยาจนหลอน แยกไม่ออกระหว่างความจริงกับภาพหลอนอีกต่อไป

จริง ๆ ดูแล้วนึกถึง "น้ำพุ" ด้วย เพราะวัยรุ่นที่เสพยา มันก็มีทั้งคนที่ลองเล่น ๆ แล้วก้าวข้ามมันไปได้ แต่มันก็มีบางคนที่จิตใจเปราะบางกว่าปกติ เพราะสภาพครอบครัวหรือองค์ประกอบอื่น ๆ ในชีวิต แล้วเลยกลายเป็นคนที่ติดยาในที่สุด

3.เหมือนหนังทำให้เรานึกถึงประเด็นเรื่องการเสพยาตั้งแต่ฉากเปิด ผ่านทาง dialogue ของตัวละคร และเหตุการณ์ในฉากเปิด แล้วมันก็ต่อด้วยการถกเถียงกันเรื่อง "การลองบุหรี่" ของเด็กอายุต่ำกว่า 15 แล้วหลังจากนั้นตัวละครก็จะมีการคุยกันเป็นระยะ ๆ เกี่ยวกับเรื่อง "อายุที่เหมาะสม" ในการทำสิ่งต่าง ๆ เราก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เหมือนเป็นการแสดงท่าทีต่อยาเสพติดและพฤติกรรมวัยรุ่น เหมือนกับหนังจะบอกว่า ถ้าเด็กเกินไป ก็อย่าลองเลย หรือถ้าลองแล้ว ก็ต้องระวังให้ดี เพราะคุณอาจจะเจออันตรายต่าง ๆ แบบในหนังเรื่องนี้

4.หนึ่งในสิ่งที่ชอบที่สุดในหนัง ก็คือหนังมัน "แสดงความเงี่ยนที่ผู้หญิงมีต่อผู้ชาย" ได้ดีงามตรงใจเราสุด ๆ ทั้งการทำให้ "แข้งขา" ของชายหนุ่ม กลายเป็นวัตถุทางเพศ และการนำเสนอตัวละครหญิงที่ดูเงี่ยนกว่าผู้ชาย โดยผ่านทางการทำให้ผู้ชายเป็นคนเคร่งศาสนา  คล้าย ๆ กับหนังเรื่อง JOY RIDE
---
การได้ดู SOMBRE ที่เซ็นทรัลพระรามสามในปี 2000 ทำให้ชีวิตดิฉันเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล เพราะพลังอันมากมายมหาศาลที่เราได้รับจากหนังเรื่องนี้ ทำให้เราตัดสินใจเขียนแสดงความเห็นต่อภาพยนตร์แบบ public เป็นครั้งแรกในชีวิต โดยตอนนั้นเขียนใน imdb.com

---
ดีใจกับ Ryusuke Hamaguchi ที่ได้รางวัล SILVER LION จากเทศกาลภาพยนตร์เวนิซค่ะ ส่วนหนังที่อยากให้มีคนเอาเข้ามาฉายในไทยมากที่สุดในตอนนี้คือ CITY OF WIND (2023, Lkhagvadulam Purev-Ochir, Mongolia) เพราะในชีวิตนี้เรายังได้ดูหนัง Mongolia ไม่ถึง 10 เรื่องเลย ถ้าเราจำไม่ผิด หนังมองโกเลียเรื่องแรกที่เราได้ดูในชีวิตน่าจะเป็น THE STORY OF THE WEEPING CAMEL (2003, Byambasuren Davaa, Luigi Falorni)

---
โรงหนังฮอลลีวู้ด 1 กับ 2 ตรงราชเทวีนี่มีความสำคัญต่อชีวิต cinephile ของเราอย่างรุนแรงมาก ๆ เพราะเราได้ดูหนังหลายเรื่องที่นี่ อย่างเช่น BARAKA (1992, Ron Fricke), BARCELONA (1994, Whit Stillman), TANGO FEROZ (1993, Marcelo Pineyro, Argentina), INCIDENT AT OGLALA (1992, Michael Apted, documentary) , THE RUN OF THE COUNTRY (1995, Peter Yates, Ireland) และ “สตรีที่โลกแกล้งให้แพงน้ำตา” (1991, Stanley Kwan, Hong Kong)
--
พอดู THE NUN II (2023, Michael Chaves, A+30) แล้วก็เลยอยากให้มีคนทำหนัง avengers รวมกลุ่มนักปราบผีปีศาจ ที่ต้องมาร่วมมือกันเพื่อรับมือกับภูติผีปีศาจครั้งสำคัญ โดยกลุ่ม avengers นี้ประกอบด้วย

1.นางเอกจาก THE NUN หรือไม่ก็ศิษย์เอกของเธอ เพราะตัวละครนางเอก THE NUN น่าจะมีอายุมากแล้วใน timeline ปัจจุบัน

2.นางเอกจาก PREY FOR THE DEVIL (2023, Daniel Stamm)

3. Father Gabriele Amorth (Russell Crowe) จาก THE POPE’S EXORCIST (2023, Julius Avery)

4. Father Ahn (Sung-Ki Ahn) กับคู่หูหนุ่ม (Park Seo-joon) from THE DIVINE FURY (2019, Kim Joo-hwan, South Korea)

5. Joong-soo (Bae Sung-woo) นักไล่ผีจาก METAMORPHOSIS (2019, Kim Hong Sun, South Korea)

6.John Constantine (Keanu Reeves) from CONSTANTINE (2005, Francis Lawrence)

7.พระหนุ่มหล่อนักต่อสู้กับมนตร์ดำจาก THE BOXER’S OMEN (1983, Kuei Chih-Hung, Hong Kong)

8.ตัวละครหนุ่มพลังจิตผู้เชี่ยวชาญปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติแบบ Ryuji Takayama (Tomoya Nagase) ในละครทีวีชุด THE RING (1999)

9. Sister Deloris (Whoopi Goldberg) จาก SISTER ACT มาช่วยร้องเพลงปราบผี 55555

10. ตัวละครใหม่ พระหนุ่มลึกลับจาก Myanmar รับบทโดย Paing Takhon

รายงานผลประกอบการประจำวันเสาร์-อาทิตย์ที่ 9-10 ก.ย. 2023

9 sep 2023

1.TALK TO ME (2022, Danny Philippou, Michael Philippou, Australia, A+30)

ดูที่ SF TERMINAL 21 รอบ 13.30

ฉาก  "ขอเพียงได้ชิดใกล้ขนหน้าแข้งผู้ชาย" is definitely one of my most favorite scenes I saw this year 

2.THE LITTLE GANG (2022, Pierre Salvadori, France, possibly  F)

ดูที่ Alliance รอบ 1630

ยกให้เป็นหนึ่งในหนังที่ controversial หรือไม่ก็ "รบกวนจิตใจ" เรามากที่สุดเรื่องนึงที่ได้ดูในปีนี้ เป็นหนังที่เหมาะฉายควบกับ "สายน้ำติดเชื้อ" BY THE RIVER (2013, Nontawat Numbnchapol, A+30) มาก ๆ เพราะมันพูดถึงประเด็น  โรงงานปล่อยมลพิษร้ายแรงลงแม่น้ำเหมือนกัน แต่พอเด็ก ๆ ในหนัง THE LITTLE GANG เลือกใช้วิธีการก่อการร้ายแบบไม่ยั้งคิด และหนังให้ "โชค" เข้าข้างการกระทำของเด็ก ๆ ในหลาย ๆ ครั้ง เราก็เลยรู้สึกว่า เรามีปัญหากับหนังอย่างรุนแรงมาก

อาจจะเป็นหนึ่งในหนังที่เหมาะกับการ debate ในหลาย ๆ ประเด็น ทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อม, จริยธรรมของการต่อต้าน, สิ่งที่ควรปลูกฝังเด็ก ๆ ,etc.

3.THE WATER FLOWS TO THE SEA (2023, Tetsu Maeda, Japan, A+30)

ดูที่ SF CENTRAL RAMA 9 รอบ 2000

ดูแล้วนึกถึงพล็อตละครทีวีญี่ปุ่นยุค Momoe Yamaguchi 55555

SUNDAY 10 SEP

1.JAWAN (2023, Atlee, India, 169min, A+25)

ดูที่ Major Ekamai รอบ 1100

หนึ่งในสิ่งที่ชอบที่สุดในหนังก็คือ กลุ่ม female terrorists 6 คน ชอบเวลาที่หนังเล่าประวัติ ความเป็นมาของ female terrorist แต่ละคนมาก ๆ  แต่พอครึ่งหลังหนังไม่เน้นจุดนี้ เราก็เลยไม่ได้ชอบหนังถึงขั้น A+30

2.SHORTCOMINGS (2023, Randall Park, A+30)

ดูที่ House รอบ 1505

งดงามที่สุด ทั้งพระเอกและหนัง

3.ALL HANDS ON DECK (2020, Guillaume Brac, France, A+30)

ดูที่ doc club รอบ 1700

งดงามที่สุด

Films seen in the 29th week of the year 2023 (16-22 July)

1.ANIMAL MACULA (2021, Sylvain L'esperance, Canada, documentary A+30)

2.RED EARS (2022, Paul Drey, Senegal/Belgium/Germany, documentary, A+30)

3.ECHODROM (NIGHTTIME AT THE WELL) (2021, Michael Blaney Robinson, short film, A+30)

4.THE GUARDIANS OF REFUSE: A SHORT HISTORY OF RUBBISH (2022, Susann Maria Hempel, Germany, short film, A+30)

5.THROUGH THE WINDOW (2022, Yang Xiao, Chen Sisi, China, documentary, A+30)

6.A MEDIC (2023, Alizhan Nasirov,  Kyrgyzstan, short film, A+30)

7.SISU (2022, Jalmari Helander, Finland, A+30)

8.ATLANTIC BAR (2022, Fanny Mollins, France, documentary, A+30)

9.CAMOUFLAGE (2022, Bregt Pepijn Verhagen, Netherlands, short film, A+30)

10.A GLIMPSE (2022, Adam Abdallah, Lebanon, short film, A+30)

11.LORNA (2021, Noel Adolfo Escondo, Philippines, short film, A+30)

12.FANTASY IN A CONCRETEJUNGLE (2022, Mehedi Mostafa, Bangladesh, short film, A+30)

13.TSUTSUE  (2022, Amartei Armar, France/ Ghana, short film, A+30)

14.DUCK ACADEMY (2020, Suriyon Jongleepun, documentary, A+25)

15.WHAT REMAINS, GENESIS (2023, Lou Fauroux, France, short film, A+25)

16.THE SUN IS MISSING (2022, Advik Beni, South Africa, short film, A+25)

17.THE LIFE WE LIVE IS NOT LIFE ITSELF (2021, Ian Gibbons, Greece, short film, A+25)

18.FOLLOW ME QUIETLY (2023, Wheeler Winston Dixon, short film, A+15)

สรุปว่าใน  29 สัปดาห์แรกของปี เราดูหนังไปแล้ว 447 + 18 = 465 เรื่อง แต่เป็นหนังสั้นหลายเรื่อง
---
จริง ๆ แล้วหนังกลุ่ม "ผีห้องน้ำ" นี่อาจจะถือเป็น sub-genre หนึ่งในหนังสั้นไทยนะ และเราขอยกให้ HALLUCINATION (2002, Sophon Sakdaphisit, A+30) เป็นหนังที่เราชื่นชอบมากที่สุดใน sub-genre นี้ อย่างไรก็ดี เราว่า HALLUCINATION นี่อาจจะสะท้อน "จุดอ่อน" หรือ "จุดที่ไม่เข้าทางเรา" ในหนังของคุณ Sophon ได้ดีมาก ๆ ด้วยเหมือนกัน เพราะเราว่าจุดที่เราไม่ค่อยชอบใน "บ้านเช่าบูชายัญ" กับใน HALLUCINATION คือจุดเดียวกัน นั่นก็คือหนังทั้งสองเรื่องนี้เป็นหนังสยองขวัญที่ทุกอย่างคลี่คลายเป็นเหตุเป็นผลน่ะ เหมือนทุกอย่างมันเป็น "รูปธรรม" มาก ๆ และมันก็เลยเหมือนหนังทั้งสองเรื่องนี้ยังไม่ได้ลงไปแตะลึกถึงขั้น "จิตใต้สำนึก" ของเรา หรือไม่ได้ทำให้เรารู้สึกเหมือนถูกฉุดเข้าไปในด้านมืดของจิตเราเอง ในขณะที่เราว่าหนังอย่าง "บ้านผีสิง" (2007, Monthon Arayangkoon) อาจจะไปไกลกว่าในระดับนึง (แต่ก็ชอบ "บ้านเช่าบูชายัญ" มาก ๆ นะ)

ANIMAL

 

รายงานผลประกอบการประจำวันเสาร์ที่ 16 sep 2023

 

1. SLEEP (2023, Jason Yu, South Korea, A+30)

ดูที่ paragon รอบ 11.00

 

คาดไม่ถึงว่าองก์ 3 ของหนังจะพลิกไปเป็นแบบนี้ 555

 

2.LITTLE VAMPIRE (2020, Joann Sfar, France, animation A+30)

ดูที่ alliance รอบ 14.00

 

ตอนแรกเรานึกว่ามันจะเล่าเรื่องของ “แวมไพร์น้อยที่มีอำนาจวิเศษเหนือมนุษย์” แต่เหมือนพอเราดูหนังเรื่องนี้ไปได้แค่ 5 นาทีแรก เราก็รู้แล้วว่าหนังเรื่องนี้มันเข้าทางเราอย่างสุด ๆ เพราะนอกจากหนังเรื่องนี้จะมีแวมไพร์แล้ว หนังเรื่องนี้ยังเต็มไปด้วยตัวละครเหี้ย ๆ ห่า ๆ อิทธิฤทธิ์สูงหลายตัวมาก เราขอจองเป็น “แม่ย่านางเรือ” ในหนังเรื่องนี้ เพราะเราว่าตัวละครนี้ “แอบร่าน”

 

3.ANIMAL (2021, Cyril Dion, France, documentary, A+30)

ดูที่ Alliance รอบ 1630

 

ชอบมาก ๆ ที่หนังเริ่มต้นด้วยเด็ก ๆ ต่อสู้เพื่อสัตว์โลก แต่หลังจากนั้นเด็ก ๆ ก็ได้เจอ "คนที่ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพ" บางคน ที่ต่างก็มีเหตุผลของตนเองในการทำในสิ่งที่เลวร้ายต่อสัตว์ เหมือนมันเป็น dilemma ที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับเรา ฉากที่เด็ก ๆ ปะทะกับชายชราเลี้ยงวัวนี่ถือเป็น one of my most favorite scenes of the year เลย เพราะมันไม่ใช่การปะทะกันระหว่าง “นักอนุรักษ์ธรรมชาติ” กับ “นายทุนผู้ชั่วร้าย” แต่มันเป็นการปะทะกันระหว่าง “นักอนุรักษ์ธรรมชาติ” กับ “ชายชราคนนึง/ชาวบ้านคนนึง/มนุษย์คนนึง” ที่ก็มีหัวจิตหัวใจเต็มเปี่ยมเหมือนกัน เรารู้สึกว่าฉากนี้มันสะท้อน dilemma ในการมีชีวิตอยู่ของมนุษย์ธรรมดาได้ดีมาก ๆ สำหรับเรา

 

4. RANSOMED (2023, Seong Hun Kim, South Korea, A+25)

ดูที่ Esplanade รอบ 1930

 

นึกว่าต้องฉายควบกับ HORS LA VIE (1991, Maroun Bagdadi, France, A+30) เพราะ HORS LA VIE เล่าเรื่องจากมุมมองของตัวประกันที่ตกอยู่ในสถานการณ์คล้ายๆ กับตัวประกันในหนังเรื่องนี้ ส่วน RANSOMED เล่าจากมุมมองของคนที่เข้าไปช่วย

https://www.imdb.com/title/tt0102058/?ref_=nv_sr_srsg_0_tt_6_nm_2_q_hors%2520la%2520vie