Thursday, January 25, 2018

FAVOURITE FOREIGN SHORT FILMS 2017

FAVOURITE FOREIGN SHORT FILMS 2017
(excluding documentaries and animations)

1.AND THEN THERE WERE NONE (2016, Yeon Jeong, South Korea, 30-minute excerpt from the original 63-minute video)

2.IF YOU LEAVE (2016, Dodo Dayao, Philippines)

3.DRAFTS [NHÁP] (2017, Nah Fan, Vietnam)

4.THREE ENCHANTMENTS (2016, Jon Lazam, Philippines)

5.A NICE PLACE TO LEAVE (2016, Maya Connors, Germany)

6.TEN YEARS: SEASON OF THE END (2015, Wong Fei-Pang, Hong Kong)

7.EXIT (2016, David King, Australia)       

8.THE TURBULENCE OF SEA AND BLOOD (2017, Sarah Abu Abdallah)

9.FOURTEEN DEGREES CELSIUS, A HUNDRED MILES PER HOUR (2015, Nyi Lynn Htet, Myanmar)

10.MAWTIN JETTY (2015, Ten Men, Myanmar)

11.THE PROVISIONAL DEATH OF BEES (2016, Maryam Firuzi, Iran)

12.OH WHAT A WONDERFUL FEELING (2016, François Jaros, Canada)

13.WHEN YOU AWAKE (2016, Jay Rosenblatt)

14.PORT (2016, Hiroshi Sunairi)

15.CARGA (2017, Luís Campos, Portugal)

16.SHADOWS (2015, Scott Barley, UK)

17.CHAN KEO (2017, Sonepasith Phonphila, Laos)

18.FATIMA MARIE TORRES AND THE INVASION OF SPACE SHUTTLE PINAS 25 (2016, Carlo Manatad, Philippines)

19.PUERTO RICO TAUTOLOGY (2016, Rob Fuelner, Canada)

20.PIRACY (2017, Jon Lazam, Philippines)

21.ILLE LACRIMAS (2014, Scott Barley, UK) 

22.MAO SHAN WANG (2016, Khym Fong, Singapore)

23.STRNG PLCE (2016, Chloe Yap Mun Ee, Malaysia)

24.THE HAUNTED HOUSE (1907, Segundo de Chomón, France)      

25.CONTACT (2017, Cao Tran Viet Son, Vietnam)

26.FANTASMATA (2015, Dimension Émotionnelle, France)

27.LIKE UMBRELLA, LIKE KING (2015, Moe Satt, Myanmar)

28.NA WEWE (2010, Ivan Goldschmidt, Belgium)

29.FLOWERS IN THE WALL (2016, Eden Junjung, Indonesia)   

30.JAMAIS-VU (2016, Werner Biedermann, Germany)

31.HOW TO BE YOUR SELF (CHAPTER 01 – I EXPERIENCE REAL LIFE) (2008, Baptist Coelho)

32.JANUS COLLAPSE (2016, Adham Faramawy)

33.COPS (1922, Edward F. Cline, Buster Keaton)

34.OVERLOVE (2017, Lucas Helth, Denmark)

35.PANTHÉON DISCOUNT (2016, Stéphan Castang, France)

36.TROPICAL SIESTA (2017, Phan Thao Nguyen, Vietnam)

37.ANCHORAGE PROHIBITED (2015, Chiang Wei Liang, Singapore)

38.FALLING IN LOVE AGAIN (2016, Jacky Yeap, Malaysia)

39.ASCENSION (2016, Pedro Peralta, Portugal)


40.THE FEAR INSTALLATION (2016, Ricardo Leite, Portugal)

FAVOURITE ANIMATIONS 2017

FAVOURITE ANIMATIONS 2017
            
1.IN THIS CORNER OF THE WORLD (2016, Sunao Katabuchi, Japan)

2.BOY AND THE WORLD (2013, Alê Abreu, Brazil)           

3.COCO (2017, Lee Unkrich)

4.JOLLY DOLL SHOP (2017, Natthapa Chansamakr ณัฐภา จันทร์สมัคร, 4min)

5.SAUSAGE PARTY (2016, Greg Tiernan, Conrad Vernon)

6.THE RED TURTLE (2016, Michael Dudok de Wit, France/Belgium/Japan)

7.AND THE MOON STANDS STILL (2017, Yulia Ruditskaya, Belarus/Germany/USA, 11min)

8.WHATEVER THE WEATHER (2016, Remo Scherrer, Switzerland, 11min)

9.THE BLUE BABY (2017, Pasut Thanawuthwasin พศุตม์ ธนาวุฒิวศิน, 15min)

10.THE MAN WHO JAILED (2017, Patr Tekittipong ภัทร เตกิตติพงษ์, 5min)

11.MY LIFE AS A ZUCCHINI (2016, Claude Barras, Switzerland/France)

12.A SILENT VOICE (2016, Naoko Yamada, Japan)

13.SHINE (2017, Kraisit Bhokasawat ไกรสิทธิ์ โภคสวัสดิ์, 2min)

14.LA ÚLTIMA CENA (2014, Vanessa Quintanilla Cobo, Mexico, 10min)

 15.THE REASONS OF TEARS [เหตุผลของน้ำตา] (2017, Patcharee Iampiboonwattana พัชรี เอี่ยมพิบูลย์วัฒนา, 4min)

16.THE TEACHER AND THE FLOWER [EL MAESTRO Y LA FLOR] (2014, Daniel Irabien, Mexico, 9min)

17.SLEEPLESS DREAM [ณ ภวังค์] (2016, Pinpamon Chirattikanpun ปิ่นปมน  จิรัฐิติกาลพันธุ์, 6min)

18.LOUISE BY THE SHORE (2016, Jean-François Laguionie, France)

19.THE LEGO BATMAN MOVIE (2017, Chris McKay, USA/Denmark)

20.ONCE UPON A THREAD [FOI O FIO] (2014, Patricia Figueiredo, Portugal, 5min)

21.Q (2016, James Bascara, 4min)

22.KUROKO’S BASKETBALL: LAST GAME (2017, Shunsuke Tada, Japan)

23.THE OGRE (2017, Laurène Braibant, France, 10min)

24.DETECTIVE CONAN: CRIMSON LOVE LETTER (2017, Kobun Shizuno, Japan)


25.FIREWORKS (2017, Akiyuki Shinbo, Nobuyuki Takeuchi, Japan)

FAVOURITE VIDEO INSTALLATIONS 2017

FAVOURITE VIDEO INSTALLATIONS 2017
                                                                            
1.AMERICAN BOYFRIEND: THE OCEAN VIEW RESORT (2013, Miyagi Futoshi, Japan)

2.SCREEN GREEN (2015, Ho Rui An, Singapore)

3.246247596248914102516...AND THEN THERE WERE NONE (2017, Arin Rungjang)

4.BLUE STONE (2017, Tanatchai Bandasak)           

5.MY MOTHER’S GARDEN (2007, Apichatpong Weerasethakul)

6.KRIS PROJECT II: IF THE PARTY GOES ON (2016, Au Sow-Yee, Malaysia)

7.DAY BY DAY (2014-2015, Nguyen Thi Thanh Mai, Vietnam/Cambodia)

8.SHEEP (2017, Samak Kosem)

9.EXPANDED CINEMA PERFORMANCE BY ARNONT NONGYAO

10.GUNKANJIMA (2010, Louidgi Beltrame, Japan)

11.TROUBLE IN PARADISE (2017, Taiki Sakpisit)

12.AM I A HOUSE? (2005, Erwin Wurm)

13.WHEN NEED MOVES THE EARTH (2014, Sutthirat Supaparinya)

14.PROVISORY OBJECT 03 (2004, Edith Dekyndt)

15.KIRATI’S (MOVING) IMAGE (2017, Chulayarnnon Siriphol)

16.I AM LOOKING FOR SOMETHING TO BELIEVE IN (2007, Elisa Pône)

17.BEYOND GEOGRAPHY (2012, Li Ran, China)

18.D’APRÈS CASPAR DAVID FRIEDRICH (2006, Sarkis)

19.59 POSITIONS (1992, Erwin Wurm)


20.FEROCITY (2017, Narasit Kaesaprasit)

TAIWAN FILM FESTIVAL 2018

TAIWAN FILM FESTIVAL 2018

in roughly preferential order

1.A BRIGHTER SUMMER DAY (1991, Edward Yang, Taiwan, second viewing, A+30)

2.HANG IN THERE, KIDS! (2016, Laha Mebow,Taiwan, A+30)

3.MISSING JOHNNY (2017, Xi Huang, Taiwan, A+30) 

4.A FISH OUT OF WATER (2017, Lai Kuo-an, Taiwan, A+30)

5.WHITE ANT (2016, Chu Hsien-Che, Taiwan, A+30)

6.THE LAUNDRYMAN (2015, Chung Lee, Taiwan, A+30)

7.ODE TO TIME (2016, Hou Chi-jan, Taiwan, documentary, A+25)

8.GODSPEED (2016, Chung Mong-Hong, Taiwan, A+10)

จริงๆแล้วอันดับ 2, 3, 4 ชอบเท่าๆกัน ตัดสินไม่ได้ว่าชอบหนังเรื่องไหนมากกว่ากัน MISSING JOHNNY ดูจะเป็นหนังที่ดีที่สุดในสามเรื่องนี้ และน่าจะเป็นหนังที่เข้าทางเรามากที่สุด “ในทางทฤษฎี” (เพราะปกติแล้วเราจะชอบหนังแบบ slice of life แบบนี้) แต่ “ในทางปฏิบัติ” แล้ว เรากลับรู้สึกอิ่มเอมกับ HANG IN THERE, KIDS! มากๆ เราก็เลยยกให้มันอยู่อันดับสองไปก่อน ส่วน A FISH OUT OF WATER ก็เป็นหนังที่ทำให้เรารู้สึกสะเทือนใจมากๆไปกับชะตากรรมของตัวละคร คือเหมือน MISSING JOHNNY ทำให้เราประทับใจกับ “วิธีการนำเสนอชีวิตตัวละคร” แต่ A FISH OUT OF WATER ทำให้เราประทับใจกับ “ชีวิตตัวละคร” น่ะ MISSING JOHNNY เป็นเรื่องของ approach ส่วน  A FISH OUT OF WATER เป็นเรื่องของ story


แน่นอนว่าพอเวลาผ่านไปอีกหลายเดือน เราถึงจะรู้แน่ชัดว่าหนังเรื่องไหนอยู่กับเรานานที่สุด บางทีพอถึงปลายปี หนังที่เราคิดถึงบ่อยที่สุดอาจจะเป็น THE LAUNDRYMAN ก็ได้

Wednesday, January 24, 2018

BLOOD OF MY BLOOD (2011, João Canijo, Portugal, A+30)

BLOOD OF MY BLOOD (2011, João Canijo, Portugal, A+30)

1.รู้สึกเหมือนมันเป็นส่วนผสมระหว่าง Mike Leigh กับ Brillante Mendoza และเราไม่ชอบส่วนที่เป็น Mendoza ของหนัง 555

หนังนำเสนอชีวิตครอบครัวคนจนครอบครัวหนึ่งในโปรตุเกส เราชอบช่วงครึ่งแรกของหนังมากๆ มันทำให้นึกถึงหนังของ Mike Leigh อย่าง ABIGAIL’S PARTY (1977) และ MEANTIME (1984) ที่นำเสนอชีวิตคนจนหรือชนชั้นกลางระดับล่างได้สมจริงและน่าติดตามมากๆ

แต่ช่วงครึ่งหลังของ BLOOD OF MY BLOOD หนังมันหันไปใช้พล็อตแบบ melodrama น่ะ ถึงแม้ว่าวิธีการถ่ายและการแสดงมันยังเน้นความ realistic อยู่ แต่เหตุการณ์ในหนังมันจะมีความ “แรงๆ” หรือมีการสร้างผลกระทบทางอารมณ์ที่ชัดเจน ซึ่งมันทำให้นึกถึงหนังของ Brillante Mendoza คือเราไม่ค่อยชอบหนังของ Mendoza ในด้านการจงใจสร้างผลกระทบทางอารมณ์บางอย่างน่ะ คือหนังของ Mendoza จะไม่เร้าอารมณ์แบบหนังฮอลลีวู้ด แต่เราจับได้ว่ามันมีการจงใจสร้างอารมณ์ด้วยวิธีการที่เนียนกว่า และเราจะไม่ค่อยถูกโฉลกกับหนังของเขาตรงจุดนี้ (แต่ก็ชอบหนังของเขามากในระดับนึงนะ) เราก็เลยแอบเสียดาย BLOOD OF MY BLOOD ตรงจุดนี้ คือหนังมันขึ้นต้นเป็น Mike Leigh แต่ลงเอยเป็น Brillante Mendoza

2.ฉากที่ชอบที่สุดในหนังคือฉากคาราโอเกะ คือมึงคิดมาได้ยังไง กูยกให้เป็นหนึ่งในฉากที่ทำให้เราหัวเราะหนักที่สุดในชีวิตไปเลย คือในหนังเรื่องนี้จะมีตัวละคร “น้าสาว” คนนึงที่หาผัวไม่ได้ และพยายามเสยหีใส่หนุ่มล่ำในผับ ตัวน้าสาวนี้มีเพื่อนหญิงคนนึงที่ไปเที่ยวผับด้วยกัน และเพื่อนหญิงคนนี้ขึ้นไปร้องคาราโอเกะเพลง UP WHERE WE BELONG แต่ร้องได้เหี้ยมาก คือจริงๆแล้วตัวละครตัวนี้แทบไม่ได้ร้อง เพราะการร้องเพลงของเธอคือการ “อ่าน” เนื้อเพลงไปเรื่อยๆ คือเป็นการอ่านแบบเก๋ๆคลอไปกับทำนองเพลงน่ะ

คือในฉากนี้เราจะเห็นตัวละครน้าสาวพยายามเสยหีใส่ผู้ชายไปเรื่อยๆ แต่จะได้ยินเสียงตัวละครอีกตัวร้องคาราโอเกะเพลง UP WHERE WE BELONG ด้วยการอ่านเนื้อเพลงแบบเก๋ๆตั้งแต่ต้นจนจบเพลง แล้วมันก็เลยฮาสุดๆสำหรับเรา คือมึงไม่ต้องคิดมุกตลกอะไรอีกต่อไป แค่มึงให้ตัวละคร “อ่านเนื้อเพลง” แทนที่จะ “ร้องเพลง” แค่นี้มันก็เกิดความพิลึกพิลั่นน่าขันที่สุดแล้ว

3.ขำ “เสียงประกอบ” ในหนังมากๆ คือ 80% ของหนังจะเป็นฉากในบ้านครอบครัวนี้ แล้วเราจะได้ยินเสียงคนบ้านข้างๆด่ากันตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง แต่หนังไม่ขึ้น subtitle ให้เรารู้ว่าตัวละครบ้านข้างๆมันด่ากันเรื่องอะไรตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง เรารู้แค่ว่ากลุ่มตัวละครเอกต้องใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมแบบนี้นี่แหละ คือได้ยินเสียงคนด่ากันอย่างรุนแรงตลอด 24 ชั่วโมง 555

4.เราว่าหนังออกแบบเฟรมเก๋ดี คือในบางฉากกล้องจะอยู่ตรงกลางระหว่างสองห้อง แล้วเราจะเห็นเหตุการณ์ในสองห้องพร้อมกัน

5.ชอบตัวประกอบชิบหายๆในหนังด้วย คือกลุ่มตัวละครหลักนี่ก็ชิบหายกันทุกตัว แล้วหนังยังชอบมีตัวประกอบชิบหายๆที่โผล่มาแค่หนึ่งนาที แต่ก็สร้างความประทับใจอย่างมาก

อย่างเช่นในฉากหนึ่งที่ตัวละครหลักสองตัวคุยกันในร้านอาหาร แต่กล้องจะถ่ายให้เห็นว่ามีเลสเบียนสองคนในร้านอาหารที่ทำหน้าทำตา ทำปฏิกิริยาอะไรกันอย่างน่าสนใจด้วย คือเลสเบียนสองคนนี้ไม่มีบทบาทอะไรอีกเลยในเรื่องนี้ พวกเธอเป็นเพียงแค่คนสองคนที่อยู่ในร้านอาหารเดียวกันกับตัวละครเอกเท่านั้น แต่พวกเธอกลับดึงดูดความสนใจของผู้ชมเป็นอย่างมาก และผู้กำกับก็จงใจให้เป็นเช่นนั้นด้วย


6.ดูจบแล้วทำให้รู้สึกชอบหนังอย่าง MISSING JOHNNY มากขึ้น คือเราว่าข้อเสียนิดนึงของ BLOOD OF MY BLOOD คือการใส่พล็อตแบบ melodrama เข้ามาในช่วงครึ่งหลังของเรื่องน่ะ เหมือนกับผู้สร้างกลัวว่าเนื้อเรื่องมันจะ “ล่องลอย” เกินไป หรือกลัวว่าชีวิตตัวละครมันจะเบาเกินไป หรือกลัวว่าชีวิตตัวละครมันจะขาดความดราม่า แต่หนังอย่าง MISSING JOHNNY กลับแสดงให้เห็นว่า เราไม่เห็นต้องยัด “เนื้อเรื่องหนักๆ” เข้าไปในหนังโดยไม่จำเป็นเลย คือมันมีความหนักใน MISSING JOHNNY อย่างเช่นฉากงานเลี้ยงวันเกิด แต่หนังไม่ได้ไปจมจ่อมอยู่กับมันมากเกินไป  MISSING JOHNNY ก็เลยรักษาโทนของตัวเองไว้ได้ดีจนจบเรื่อง

Monday, January 22, 2018

BIG TIME (2017, Kaspar Astrup Schröder, Denmark, documentary, A+30)

BIG TIME (2017, Kaspar Astrup Schröder, Denmark, documentary, A+30)

ในหนัง fiction นั้น ผู้เขียนบทมักจะเป็นผู้กำหนดความเป็นความตายของตัวละคร กำหนดความสุขความเศร้าของตัวละครได้ แต่ในหนังสารคดีบางเรื่องนั้น บางทีเราก็คิดว่า “พระเจ้า” หรือ “ชะตากรรม” เป็นผู้เขียนบทหนังสารคดีเรื่องนั้น บางทีพระเจ้าอาจจะมีอิทธิพลมากกว่าผู้กำกับ/ผู้เขียนบทหนังซะอีก

ในครึ่งแรกของหนังเรื่องนี้ เราได้รู้จักกับ Bjarke Ingels สถาปนิกหนุ่มชื่อดัง ตอนที่เขาอายุได้ 1 ขวบครึ่ง พ่อแม่ของเขาก็ประหลาดใจมากที่เขาดูหนังภาษาต่างประเทศรู้เรื่องหมดเลย ดูเหมือนว่าเขาจะเป็นอัจฉริยะ และเป็นสถาปนิกที่ประสบความสำเร็จมากๆ เขาได้รับการว่าจ้างให้ร่วมออกแบบตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์บางตึกที่จะสร้างขึ้นใหม่ด้วย

แต่พอเข้าสู่ช่วงกลางเรื่อง Bjarke ก็มีอาการปวดหัว หมอตรวจพบว่าเขามีเนื้องอกในสมอง และอาจจะต้องเจาะกะโหลกเพื่อผ่าเอามันออกมา และเขาอาจจะทำงานได้เพียง 1-2 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น ไม่งั้นเขาจะปวดหัวอย่างรุนแรง

เขามีอายุประมาณ 40 ปีตอนที่รู้เรื่องเนื้องอกในสมองนี้ เขาเคยคิดว่าเขายังเหลือเวลาทำงานอีก 40 ปีข้างหน้า แต่ตอนนี้มันอาจจะไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว

ตอนครึ่งแรกของหนัง เรารู้สึกอิจฉาเขามากๆ คนอะไรชีวิตมันจะดีขนาดนี้ ประสบความสำเร็จ เก่งกาจได้ขนาดนี้ แต่พอหนังเข้าสู่ช่วงครึ่งหลัง เราก็บอกตัวเองว่า แค่วันนี้เรา “ไม่ปวดหัว” มันก็บุญมากๆแล้วล่ะ


เราค้นพบแล้วว่า หนังหลายๆเรื่องที่เราชอบสุดๆ มันคือหนังที่ดูจบแล้วเราบอกกับตัวเองว่า “นี่แหละชีวิต” และนี่ก็เป็นหนึ่งในหนังกลุ่มนี้ คือดูจบแล้วเราก็บอกกับตัวเองว่า “นี่แหละชีวิต” 

Saturday, January 20, 2018

HANG IN THERE, KIDS!

WHITE ANT (2016, Chu Hsien-Che, Taiwan, A+30)

รู้สึกว่ามันเหมาะจะปะทะกับหนังไทยเรื่อง “ไม่มีใครปกติ” (2013, Palida Dumrongthaveesak) มากๆ แต่หนังสองเรื่องนี้มันต่างกันตรงที่ “ไม่มีใครปกติ” เป็นหนังแบบ plot-driven ที่เน้นการหักมุม ส่วน WHITE ANT เป็นหนังแนว character-driven

GODSPEED (2016, Chung Mong-Hong, Taiwan, A+10)

รู้สึกว่ามันประหลาดและเป็นตัวของตัวเองดี แต่มันไม่สนุกสำหรับเราน่ะ หรือเราอาจจะจูนไม่ติดกับมันก็ได้ คือตอนดูจะนึกถึงหนังอย่าง THE WINNER (1996, Alex Cox), ONLY GOD FORGIVES (2013, Nicolas Winding Refn), หนังของ Quentin Tarantino และหนังของธนิ ฐิติประวัติในแง่ที่ว่า มันเป็นการหยิบเอาตัวละครในหนังแนว “อาชญากรรม” มาใช้ชีวิตในหนังเซอร์เรียล หรือใส่ในหนังที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่แปลกประหลาด แต่เรารู้สึกว่า GODSPEED มันขาดอะไรบางอย่างที่จะทำให้เรารู้สึกสุดขีดกับมัน คือสไตล์มันก็ไม่ได้จัดจ้านแบบหนังของ Nicolas Winding Refn และโครงสร้างการเล่าเรื่องของมันก็ไม่ได้พิสดารแบบหนังของ Tarantino และธนิ ฐิติประวัติ และมันก็ไม่ได้มีความเก๋แบบหนังคัลท์ยากูซ่าญี่ปุ่นของ Seijun Suzuki หรือหนังอย่าง POSTMAN BLUES (1997, Sabu), SHARK SKIN MAN AND PEACH HIP GIRL (1998, Katsuhito Ishii) และ DIAS POLICE: DIRTY YELLOW BOYS (2016, Kazuyoshi Kumakiri) ด้วย

สรุปว่า ชอบที่มันประหลาดดี แต่เราจูนกับมันไม่ได้

HANG IN THERE, KIDS! (2016, Laha Mebow,Taiwan, A+30)

งดงามมากๆ ไม่รู้กำกับเด็กได้ยังไง ชอบความเป็นธรรมชาติของหนังน่ะ คือจริงๆแล้วหนังก็มี “ประเด็น” แทรกอยู่เต็มไปหมดนะ ทั้งประเด็นเรื่องชีวิตชนเผ่า, การติดเหล้า, การศึกษา, อาชญากรรม แต่ในขณะที่หนังมีประเด็นเรื่องชนเผ่าแทรกอยู่ด้วยนั้น หนังกลับไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาจะเสนอแต่ประเด็นอย่างเดียว แต่กลับถ่ายทอดชีวิตตัวละครออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติตลอดเวลาด้วย

รู้สึกว่าหนังมันมี “พลังของชีวิต” เปี่ยมล้นมากๆสำหรับเราน่ะ หนังมันเหมือนอยู่ตรงกลางระหว่างหนัง “ชีวิตเด็กที่ไม่มีประเด็น” อย่าง MUSASHINO HIGH VOLTAGE TOWER (1997, Naoki Nagao) ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบมากที่สุดในชีวิต กับหนัง “ชีวิตชนกลุ่มน้อย” แบบ “หนังเกี่ยวก้อย” หรือ 3 INDIAN TALES (2014, Robert Morin)

เราว่า HANG IN THERE, KIDS มันให้ “พลังชีวิต” แก่เราในแบบที่ใกล้เคียงกับหนังอย่าง MUSHROOMS (2014, Oscar Ruiz Navia, Colombia) และ MY SISTER’S QUINCEANERA (2013, Aaron Douglas Johnston) น่ะ แต่ยังไม่ถึงขั้นหนังสองเรื่องนี้นะ เหมือน HANG IN THERE, KIDS มันยังขาด magic อะไรบางอย่างอีกนิดนึง แล้วมันถึงจะสะเทือนใจเราได้เท่าหนังสองเรื่องนี้

ODE TO TIME (2016, Hou Chi-jan, Taiwan, documentary, A+25)

เราว่าผู้กำกับทำดีที่สุดแล้วล่ะ เราชอบการร้อยเรียงเรื่องต่างๆในหนังมากๆ แต่สาเหตุที่เราอาจจะยังไม่ชอบหนังถึงขั้น A+30 เป็นเพราะว่าเราไม่คุ้นกับเพลงในหนังและไม่ได้ชอบเพลงในหนังมากนัก แต่เราว่าผู้กำกับทำหน้าที่ของตัวเองได้น่าพอใจมากแล้วสำหรับเรา คือปัญหาเล็กน้อยของเราที่มีต่อหนังไม่ได้เกิดจากฝีมือการกำกับ แต่เกิดจากการที่เราไม่ได้อินกับ “เนื้อหา” ของหนังมากนัก

แต่ก็ชอบที่หนังทำให้เราได้รับรู้ความทุกข์ของคนที่จำใจต้องทิ้งจีนแผ่นดินใหญ่มาอยู่ไต้หวันนะ ซึ่งเป็นความทุกข์ของคนรุ่นพ่อแม่ของนักร้องต่างๆในหนังเรื่องนี้ เราว่าการถ่ายทอดความทุกข์ของคนรุ่นนั้นออกมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากสำหรับเรา

แต่ถ้าเทียบกับหนังสารคดีเพลงเรื่องอื่นๆแล้ว เราก็ชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ “เกือบสุดๆ” นะ เพราะเราว่าผู้กำกับทำงานได้ดี แต่อาจจะชอบน้อยกว่าหนังสารคดีเพลงบางเรื่องที่มันมี “เนื้อหา” ที่โดนใจเรามากกว่า อย่างเช่น MY BUDDHA IS PUNK (2015, Andreas Hartmann) ที่ชีวิตนักดนตรีในหนังมันน่าสนใจกว่า เพราะชีวิตนักดนตรีพม่ามันลำบากยากแค้นกว่านักดนตรีไต้หวัน หรือหนังอย่าง SONG FROM LAHORE (2015, Sharmeen Obaid-Chinoy, Andy Schocken) และ BUENA VISTA SOCIAL CLUB ที่ “ดนตรี” ในหนังมันเข้าทางเรามากกว่า


ดีใจมากๆที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ของ Hou Chi-jan เพราะเราเคยชอบหนังเรื่อง ONE DAY (2010) ของเขาอย่างรุนแรง ถึงแม้ว่าเราชอบ WHEN A WOLF FALLS IN LOVE WITH A SHEEP (2012) ของเขาแค่ในระดับ A และชอบหนังเรื่อง JULIET’S CHOICE (2010) ของเขาแค่ในระดับ A+

Friday, January 19, 2018

A BRIGHTER SUMMER DAY

THE LAUNDRYMAN (2015, Chung Lee, Taiwan, A+30)

รู้สึกว่าหนังมันมีจุดที่ไปพ้องกับ THE TOP SECRET: MURDER IN MIND (2016, Keishi Ohtomo, Japan) โดยบังเอิญ แต่แตกต่างกันตรงที่ ในขณะที่ THE TOP SECRET ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาฆาตกรโรคจิต THE LAUNDRYMAN กลับใช้ไสยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาฆาตกรโรคจิต

A BRIGHTER SUMMER DAY (1991, Edward Yang, Taiwan, second viewing, A+30)

เลือกผู้ชายคนไหนดี     
1.Xiao Si’r
2.Tiger
3.Ma
4.Honey
5.All of the above

--ชอบข้อสังเกตของ Kwan Jiyui มากๆที่ว่า Honey เหมือนพระเอกการ์ตูนญี่ปุ่น คือเราว่า Honey ดู “ดี” และ “เท่” มากๆน่ะ นึกถึงพระเอกในการ์ตูนแบบ “ไออิและมาโกโต้” ที่เราเคยอ่านตอนเด็กๆเลย

--ตอนดูหนังเรื่องนี้ เราจะนึกถึงหนังเรื่อง CRUEL STORY OF YOUTH (1960, Nagisa Oshima) ด้วย เพราะมันพูดถึง “วัยรุ่นที่เบี่ยงเบนเข้าสู่แก๊งนักเลง” เหมือนกัน แต่เราว่าถ้าเป็นหนังของ Oshima พระเอกจะเป็นแบบ Tiger มากกว่า Xiao Si’r น่ะ เพราะตัวละครนำของ Oshima จะ “มืด” หรือ “เทาเกือบดำ” ในขณะที่ตัวละครเอกของ A BRIGHTER SUMMER DAY จะ “เทาเกือบขาว”


คือเราว่าหนังของ Oshima ตัวละครจะ “แร่ดทั้งข้างนอกและข้างใน” หรือ “แรงทั้งข้างนอกและข้างใน” น่ะ แต่สิ่งที่น่าสนใจมากๆใน A BRIGHTER SUMMER DAY คือตัวละครนำข้างนอกมันดูไม่แรง แต่ข้างในมันแรง ทั้งนางเอกและพระเอก คือเราชอบมากที่พระเอกดูภายนอกไม่ใช่คนที่เกเรมากนัก แต่เขาเป็นคนที่มี “ไฟเผาผลาญอยู่ในใจ” รุนแรงมากๆ คือเขาเป็นคนที่อยู่เฉยๆจะไม่ไปเกะกะระรานใคร แต่ถ้าหากมีใครไปหาเรื่องเขาก่อน เขาก็จะกลายเป็นเพลิงเผาผลาญรุนแรงขึ้นมาทันที และในที่สุดมันก็เผาผลาญทั้งตัวเขาเองและคนใกล้ตัวเขาด้วย

Sunday, January 14, 2018

9 MOST FAVORITE CHARACTERS

9 MOST FAVORITE CHARACTERS

1.Lena, the bank clerk (Katharina Thalbach) in THE SECOND AWAKENING OF CHRISTA KLAGES (1977, Margarethe von Trotta, West Germany)

2. Carnelle (Holly Hunter) in MISS FIRECRACKER (1989, Thomas Schlamme)

3.Shirley Valentine (Pauline Collins) in SHIRLEY VALENTINE (1989, Lewis Gilbert)

4.แมงมุม (ฮึงลี้) ใน “ดาบมังกรหยก” เวอร์ชั่นเหลียงเฉาเหว่ย

5.Queen Akasha (Aaliyah) in QUEEN OF THE DAMNED (2002, Michael Rymer)

6.สิงห์สาวหน้ากากเหล็ก (Yoko Minamino) in SUKEBAN DEKA SEASON 2 (TV series, 1985)

7.Thymian (Louise Brooks) in DIARY OF A LOST GIRL (1929, Georg Wilhelm Pabst, Germany)

8.Ann Talbot (Jessica Lange) in MUSIC BOX (1989, Costa-Gavras)

9.Wai Hoi Yee (Maggie Siu) in CONSCIENCE (1994, Hong Kong TV series)

จริงๆแล้วต้องมี “เวฬุรีย์” (นิสา วงศ์วัฒน์) จาก เพลิงพ่าย (1990) ด้วย แต่หารูปจากละครทีวีเรื่องนี้ไม่ได้เลย


ส่วนตัวละครชายที่อยากได้เป็นผัวมากที่สุด คือ Ted Baker (Brad Johnson) จาก ALWAYS (1989, Steven Spielberg) แต่ก็หารูปดีๆของ Brad Johnson จากหนังเรื่องนี้ไม่ค่อยได้เหมือนกัน

Saturday, January 13, 2018

Agnès Varda’s films in my preferential order

Agnès Varda’s films in my preferential order

1.LES CREATURES (1966)

2.VAGABOND (1985)

3.DAGUERREOTYPES (1976, documentary)

4.CLEO FROM 5 TO 7 (1961)

5.KUNG-FU MASTER (1987)

6.THE GLEANERS & I (2000, documentary)

7.LES DITES CARIATIDES (1984, documentary)

8.LE BONHEUR (1965)

9.THE YOUNG GIRLS OF ROCHEFORT (1967, with Jacques Demy)

10.JACQUOT DE NANTES (1991)

11.FACES PLACES (2017, documentary)

12.YDESSA, THE BEARS, AND ETC. (2004, documentary)

13. THE GLEANERS & I: TWO YEARS LATER (2002, documentary)

14.THE YOUNG GIRLS TURN 25 (1993, documentary)

ตอนนี้ไม่แน่ใจว่า เราเคยดู THE UNIVERSE OF JACQUES DEMY (1995) หรือเปล่า เราว่าเราอาจจะเคยดูหนังเรื่องนี้ที่ Alliance Française นะ แต่ก็ไม่แน่ใจ 100% เต็ม มีใครจำได้บ้างไหมว่าหนังเรื่องนี้เคยฉายที่ Alliance หรือเปล่า

แต่หนึ่งในสิ่งที่เราภูมิใจสุดๆก็คือว่า Alliance Française ในกรุงเทพ เคยให้เราเลือกหนังฝรั่งเศส 10 เรื่องใน catalogue ของ Alliance มาฉายในช่วงปลายปี 2008 ถึงต้นปี 2009 ด้วย และเราก็เลยเลือก JACQUOT DE NANTES ของ Varda เป็นหนึ่งในสิบเรื่องนั้น เราก็เลยภูมิใจมากว่าๆ เรานี่แหละที่เป็นคนทำให้ JACQUOT DE NANTES ของวาร์ดา ได้เคยเปิดฉายในกรุงเทพในวันที่ 25 ก.พ. 2009 :-)
ส่วน ONE SINGS, THE OTHER DOESN’T (1977) นั้น เรายังไม่ได้ดู แต่อยากดูมากๆ


Sunday, January 07, 2018

NIRANAM YUMMAYOOSHI (2015, Araya Rasdjarmrearnsook, video installation, A+30)

NIRANAM YUMMAYOOSHI (2015, Araya Rasdjarmrearnsook, video installation, A+30)

--สงสัยว่า Yummayooshi แปลว่าอะไร
--ชอบตอนที่ภาพการแกะสลักรูปปั้นซ้อนทับกับภาพหมา และภาพท้องทะเลที่มีหมาวิ่งเล่น เหมือนเรามักจะชอบหนังที่มี superimposition อยู่แล้วน่ะ และวิดีโอนี้ก็เล่นกับเทคนิคนี้มากๆ
--ตอนแรกนึกว่ายาวแค่5 นาที ก็ยืนดูไปเรื่อยๆ ปรากฏว่า 15 นาทีแล้วยังไม่จบ 555

--ปรากฏว่า video installation ที่ดูในช่วงระยะนี้ เป็นวิดีโอบันทึกการสร้างผลงานประติมากรรมทั้งนั้นเลย ทั้งวิดีโอ THE MAKING OF KIRATI’S SCULPTURE (2017, Chulayarnnon Siriphol) ที่ Bangkok CityCity Gallery และ 246247596248914102516...AND THEN THERE WERE NONE (2017, Arin Rungjang) ก็มีบางส่วนที่เป็นการบันทึกการสร้างงานประติมากรรมเหมือนกัน 

REVENGER SQUAD

24 HOURS TO LIVE (2017, Brian Smrz, South Africa, A+20)

ชอบตัวละครนางเอก จองเป็นตัวนี้


GANDARRAPIDDO! THE REVENGER SQUAD (2017, Joyce Bernal, Philippines, A+5)

ถ้าพจน์ อานนท์ กำกับ SAILOR MOON มันก็คงจะออกมาแบบนี้แหละ 555

อีกอย่างนึงที่น่าจะเหมือนหนังพจน์ อานนท์ก็คือว่า มันพาดพิงมุกตลกภายในประเทศเยอะมาก ซึ่งคนนอกอย่างเราดูแล้วก็จะไม่เข้าใจ คือประมาณได้ว่า คนดูฟิลิปปินส์หัวเราะไปแล้ว 10 ครั้ง เราจะหัวเราะไปแค่ 2 ครั้ง เพราะ 80% ของมุกตลกในหนังเป็นเรื่องราวในวัฒนธรรมและสังคมฟิลิปปินส์

ฉากที่ชอบที่สุดในหนัง อยู่ช่วงต้นเรื่อง ซึ่งก็คือฉากที่แก๊งกะเทยของนางเอก ปะทะกับแก๊งกะเทย 3 คนในสนามแข่งรถ

จริงๆแล้วเราอยากให้หนังเรื่องนี้เน้นตลกมากกว่าดราม่านะ แต่ปรากฏว่าหนังเรื่องนี้ให้น้ำหนักกับดราม่ามากพอสมควร ซึ่งปกติแล้ว เรามักจะชอบอะไรแบบนี้ คือเราชอบหนังผี, หนังตลก, หนังรักโรแมนติก หรือหนัง genre ต่างๆที่มีดราม่าเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย แต่ปรากฏว่า ดราม่าเรื่องครอบครัวหรืออะไรต่างๆในหนังเรื่องนี้ มันเป็นดราม่าที่ไม่มีอารมณ์ความรู้สึกจริงๆรองรับอยู่น่ะ เพราะฉะนั้นแทนที่ “ความเป็นดราม่า” ในหนังเรื่องนี้ จะช่วยให้หนังเข้าทางเรา มันกลับทำให้เรารู้สึกเบื่อหนังแทน และเราอยากให้หนังเล่นตลกไร้สาระ ด่าๆทอๆเหี้ยๆห่าๆไปเรื่อยๆมากกว่า

ส่วนหนังที่เราว่า “ดราม่า” แล้วเข้าทางเรามากๆ คือหนังอย่าง “ฮัลโหล จำเราได้ไหม” ซึ่งมีความเป็นหนังสยองขวัญแค่ 30-40% แต่มี “ความดราม่าชีวิตต้องสู้ + รักเลสเบียน” ซะ 60-70% และเราว่าไอ้ส่วนที่เป็นดราม่าใน “ฮัลโหล จำเราได้ไหม” มันผูกพันกับอารมณ์ความรู้สึกจริงๆของมนุษย์น่ะ เพราะฉะนั้นความดราม่ามันเลยช่วยเสริมหนังให้หนักแน่นมากๆ ในขณะที่ความดราม่าใน THE REVENGER SQUAD กลับไปถ่วงหนังแทน


Thursday, January 04, 2018

BATHING WITH FIGHTING FISH (2016, Watjakorn Hankoon, 13min, A+25)

BATHING WITH FIGHTING FISH (2016, Watjakorn Hankoon, 13min, A+25)
อาบน้ำกับปลากัด (วัจน์กร หาญกุล)

ถ้าหากใครชอบ “ยามน้ำฟ้าตกมาสู่เฮา” เราก็ขอแนะนำให้ดูหนังเรื่องนี้ด้วยนะ เราเข้าใจว่าอาบน้ำกับปลากัดมันเป็นภาคแรก ส่วน “ยามน้ำฟ้าตกมาสู่เฮา” มันเป็นภาคสองน่ะ เพราะหนังสองเรื่องนี้มีตัวละครเป็นเด็กชายวัย 11 ขวบชื่อ “เบส” และ “บีม” เหมือนกัน และน่าจะใช้นักแสดงกับสถานที่ถ่ายทำที่เดียวกันด้วย


เราว่า “ยามน้ำฟ้าตกมาสู่เฮา” มีความ cinematic กว่า “อาบน้ำกับปลากัด” แต่ “อาบน้ำกับปลากัด” มีความ homoerotic สูงกว่า เพราะมีฉากเด็กชายสองคนอาบน้ำด้วยกัน และมีฉากขี่จักรยานแบบเท้าแนบเท้ากันอย่างเริงระรื่นชื่นบานสราญเริงสุขแบบในภาพนี้