WHITE ANT (2016, Chu Hsien-Che, Taiwan, A+30)
รู้สึกว่ามันเหมาะจะปะทะกับหนังไทยเรื่อง “ไม่มีใครปกติ” (2013, Palida Dumrongthaveesak) มากๆ แต่หนังสองเรื่องนี้มันต่างกันตรงที่ “ไม่มีใครปกติ” เป็นหนังแบบ plot-driven
ที่เน้นการหักมุม ส่วน WHITE ANT เป็นหนังแนว character-driven
GODSPEED (2016, Chung Mong-Hong, Taiwan, A+10)
รู้สึกว่ามันประหลาดและเป็นตัวของตัวเองดี แต่มันไม่สนุกสำหรับเราน่ะ หรือเราอาจจะจูนไม่ติดกับมันก็ได้
คือตอนดูจะนึกถึงหนังอย่าง THE WINNER (1996, Alex Cox), ONLY GOD FORGIVES
(2013, Nicolas Winding Refn), หนังของ Quentin Tarantino และหนังของธนิ ฐิติประวัติในแง่ที่ว่า มันเป็นการหยิบเอาตัวละครในหนังแนว “อาชญากรรม”
มาใช้ชีวิตในหนังเซอร์เรียล หรือใส่ในหนังที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่แปลกประหลาด แต่เรารู้สึกว่า
GODSPEED มันขาดอะไรบางอย่างที่จะทำให้เรารู้สึกสุดขีดกับมัน
คือสไตล์มันก็ไม่ได้จัดจ้านแบบหนังของ Nicolas Winding Refn และโครงสร้างการเล่าเรื่องของมันก็ไม่ได้พิสดารแบบหนังของ
Tarantino และธนิ ฐิติประวัติ
และมันก็ไม่ได้มีความเก๋แบบหนังคัลท์ยากูซ่าญี่ปุ่นของ Seijun Suzuki หรือหนังอย่าง POSTMAN BLUES (1997, Sabu), SHARK SKIN MAN AND
PEACH HIP GIRL (1998, Katsuhito Ishii) และ DIAS POLICE:
DIRTY YELLOW BOYS (2016, Kazuyoshi Kumakiri) ด้วย
สรุปว่า ชอบที่มันประหลาดดี แต่เราจูนกับมันไม่ได้
HANG IN THERE, KIDS! (2016, Laha Mebow,Taiwan, A+30)
งดงามมากๆ ไม่รู้กำกับเด็กได้ยังไง ชอบความเป็นธรรมชาติของหนังน่ะ
คือจริงๆแล้วหนังก็มี “ประเด็น” แทรกอยู่เต็มไปหมดนะ ทั้งประเด็นเรื่องชีวิตชนเผ่า,
การติดเหล้า, การศึกษา, อาชญากรรม
แต่ในขณะที่หนังมีประเด็นเรื่องชนเผ่าแทรกอยู่ด้วยนั้น
หนังกลับไม่ได้ตั้งหน้าตั้งตาจะเสนอแต่ประเด็นอย่างเดียว
แต่กลับถ่ายทอดชีวิตตัวละครออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติตลอดเวลาด้วย
รู้สึกว่าหนังมันมี “พลังของชีวิต” เปี่ยมล้นมากๆสำหรับเราน่ะ
หนังมันเหมือนอยู่ตรงกลางระหว่างหนัง “ชีวิตเด็กที่ไม่มีประเด็น” อย่าง MUSASHINO HIGH VOLTAGE TOWER
(1997, Naoki Nagao) ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบมากที่สุดในชีวิต
กับหนัง “ชีวิตชนกลุ่มน้อย” แบบ “หนังเกี่ยวก้อย” หรือ 3 INDIAN TALES
(2014, Robert Morin)
เราว่า HANG IN THERE, KIDS มันให้ “พลังชีวิต” แก่เราในแบบที่ใกล้เคียงกับหนังอย่าง
MUSHROOMS (2014, Oscar Ruiz Navia, Colombia) และ MY
SISTER’S QUINCEANERA (2013, Aaron Douglas Johnston) น่ะ
แต่ยังไม่ถึงขั้นหนังสองเรื่องนี้นะ เหมือน HANG IN THERE, KIDS มันยังขาด magic อะไรบางอย่างอีกนิดนึง แล้วมันถึงจะสะเทือนใจเราได้เท่าหนังสองเรื่องนี้
ODE TO TIME (2016, Hou Chi-jan, Taiwan, documentary, A+25)
เราว่าผู้กำกับทำดีที่สุดแล้วล่ะ
เราชอบการร้อยเรียงเรื่องต่างๆในหนังมากๆ
แต่สาเหตุที่เราอาจจะยังไม่ชอบหนังถึงขั้น A+30
เป็นเพราะว่าเราไม่คุ้นกับเพลงในหนังและไม่ได้ชอบเพลงในหนังมากนัก
แต่เราว่าผู้กำกับทำหน้าที่ของตัวเองได้น่าพอใจมากแล้วสำหรับเรา คือปัญหาเล็กน้อยของเราที่มีต่อหนังไม่ได้เกิดจากฝีมือการกำกับ
แต่เกิดจากการที่เราไม่ได้อินกับ “เนื้อหา” ของหนังมากนัก
แต่ก็ชอบที่หนังทำให้เราได้รับรู้ความทุกข์ของคนที่จำใจต้องทิ้งจีนแผ่นดินใหญ่มาอยู่ไต้หวันนะ
ซึ่งเป็นความทุกข์ของคนรุ่นพ่อแม่ของนักร้องต่างๆในหนังเรื่องนี้
เราว่าการถ่ายทอดความทุกข์ของคนรุ่นนั้นออกมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากสำหรับเรา
แต่ถ้าเทียบกับหนังสารคดีเพลงเรื่องอื่นๆแล้ว
เราก็ชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ “เกือบสุดๆ” นะ เพราะเราว่าผู้กำกับทำงานได้ดี
แต่อาจจะชอบน้อยกว่าหนังสารคดีเพลงบางเรื่องที่มันมี “เนื้อหา” ที่โดนใจเรามากกว่า
อย่างเช่น MY BUDDHA IS PUNK (2015, Andreas Hartmann) ที่ชีวิตนักดนตรีในหนังมันน่าสนใจกว่า
เพราะชีวิตนักดนตรีพม่ามันลำบากยากแค้นกว่านักดนตรีไต้หวัน หรือหนังอย่าง SONG
FROM LAHORE (2015, Sharmeen Obaid-Chinoy, Andy Schocken) และ BUENA
VISTA SOCIAL CLUB ที่ “ดนตรี” ในหนังมันเข้าทางเรามากกว่า
ดีใจมากๆที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ของ Hou Chi-jan เพราะเราเคยชอบหนังเรื่อง
ONE DAY (2010) ของเขาอย่างรุนแรง ถึงแม้ว่าเราชอบ WHEN
A WOLF FALLS IN LOVE WITH A SHEEP (2012) ของเขาแค่ในระดับ A
และชอบหนังเรื่อง JULIET’S CHOICE (2010) ของเขาแค่ในระดับ
A+
No comments:
Post a Comment