Sunday, October 25, 2020

RELIC

RELIC (2020, Natalie Erika James, Australia, A+30) 

CLASSIC  ชอบมากๆที่เอาประเด็นอัลไซเมอร์/DEMENTIA มาทำเป็นหนังสยองขวัญ และทำออกมาได้ซึ้งมากๆด้วย

Friday, October 23, 2020

M PASS

 

เมื่อวานนี้เกิดเหตุการณ์ประหลาดอย่างนึง คือตอน 2 ทุ่ม เรานั่งอยู่ในร้าน STARBUCKS ที่แทบไม่มีคนในร้านแล้ว แล้วเราก็รู้สึกว่ามีอะไรมาบังๆแว่นของเรา ปรากฏว่าเป็นเส้นผมยาวๆเส้นนึงที่เหมือนร่วงลงมาค้างที่แว่นของเรา เราก็เลยถ่ายรูปเส้นผมนั้นเก็บไว้

 

คือเราสงสัยว่า เส้นผมยาวๆแบบนี้ อยู่ดีๆมันมาจากไหนน่ะ เพราะมันไม่ได้หลุดร่วงมาจากหัวเราแน่นอน เพราะเราตัดผมสั้นเกรียนอย่างที่ทุกคนรู้ดี แล้วเราก็ไม่ได้ไปยืนใกล้ๆคนผมยาวคนไหนที่ตัวสูงกว่าเราในช่วงก่อนหน้านั้นด้วย (เราสูง 175 เซนติเมตร)

 

ก็เลยอยากรู้ว่า มันมีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์อะไรหรือเปล่าสำหรับปรากฏการณ์แบบนี้ เพราะเราก็ไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน จะว่ามีลมแรงพัดเส้นผมใครปลิวมาแหมะที่หัวเราก็ไม่น่าจะใช่ หรือว่ามันคือปรากฏการณ์ “หมอยปีศาจ” 55555

------

เพิ่งลองสมัครบัตร M PASS เป็นครั้งแรกเมื่อ 2 เดือนก่อน หรือเมื่อวันที่ 23 ส.ค. เพราะตอนนี้บัตร M PASS มันใช้กับโรงพารากอนและเอ็มควอเทียร์ได้แล้ว และเรามักจะดูสองโรงนี้เป็นประจำ

 

สมัครแบบ 1 ปี 4800 บาท ใช้ดูหนังได้ทุกเรื่อง เรื่องละ 1 รอบ ตลอดทั้งปี ปรากฏว่าใช้ไปไม่ถึง 2 เดือนก็ถอนทุนคืนได้แล้ว ประทับใจมากๆ เพราะเวลาเราดูที่โรงพารากอน ถ้าหากเราใช้บัตร M GEN ซื้อ เราต้องจ่ายค่าตั๋วใบละ 280 บาท (จากราคาเต็ม 300 บาท)  เพราะฉะนั้นถ้าหากเราใช้บัตร M PASS ซื้อตั๋วหนัง 18 เรื่อง ก็เท่ากับว่าเราถอนทุนคืนได้แล้ว (4800/280 = 17.14)

 

ก็เลยขอบันทึกไว้ว่า บัตร M PASS 4800 บาทนี่คุ้มสุดๆสำหรับเรา เพราะตอนนี้เราใช้บัตรนี้ดูหนังไปแล้ว  22 เรื่อง หรือเท่ากับเงิน 6,160 บาทถ้าหากเราไม่ได้ใช้บัตรนี้ซื้อ และเราก็สามารถใช้บัตรนี้ดูหนังได้ต่อไปเรื่อยๆถึงเดือนส.ค. 2021 ด้วย (แล้วโรงหนังจะเอากำไรจากไหน 55555)

 

หนังที่เราใช้บัตร M PASS ซื้อตั๋วในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา

 

1.THE HUNT (2020, Craig Zobel, A+30)

2.THE LINGERING (2020, Yoon Eun-Kyung, South Korea, A+30)

3. INTRUDER (2020, Sohn Won-Pyung, South Korea, A+30)

4.TENET (2020, Christopher Nolan, A+30)

5.MOTHER GAMER เกมเมอร์ เกมแม่ (2020, Yanyong Kuruangkura, A+30)

6.THE HIGH NOTE (2020, Nisha Ganatra, A+30)

7. SPECIAL ACTORS (2019, Shinichiro Ueda, Japan, A+30)

8.ANTEBELLUM (2020, Gerard Bush, Christopher Renz, A+30)

9. ODE TO JOY (2019, Jason Winer, A+20)

10. BEHIND YOU (2020, Andrew Mecham, Matthew Whedon, A+10)

11. TESLA (2020, Michael Almereyda, A+30)

12. LOVE AT SECOND SIGHT (2019, Hugo Gélin, France, A+30)

13. VANGUARD (2020, Stanley Tong, China, A-)

14. DELIVER US FROM EVIL (2020, Hong Won-Chan, South Korea, A+25)

15. BILLE (2019, James Erskine, UK, documentary, A+10)

16. I AM WOMAN (2019, Unjoo Moon, Australia, A+25)

17. THE EIGHT HUNDRED (2020, Hu Guan, China, A+30)

18. LOVE YOU FOREVER (2019, Tingting Yao, China, A+)

19. THE SECRETS WE KEEP (2020, Yuval Adler, A+25)

20. GREENLAND (2020, Ric Roman Waugh, A+25)

21. MY GOD FATHER! เฮ้ย! ลูกเพ่ นี่ลูกพ่อ (2020, Pawat Panangkasiri, A+)

22. FATE/STAY NIGHT: HEAVEN’S FEEL III. SPRING SONG (2020, Tomonori Suda, Japan, animation, A+30)

 

Monday, October 19, 2020

ANDREW

 STAR (TOKWIFI) (2019, Carla Pulido Ocampo, Philippines, short, A+30)


 ดูแล้วไม่เข้าใจอะไรทั้งสิ้น แต่ชอบสุดๆ

ANDREW (2020, Koo Chia Meng, Singapore, short, A+30)

 1.ชอบความ homoerotic ในหนังมากๆ หนังเล่าเรื่องผู้ชายที่มีเมียแล้ว แต่เขาหวนรำลึกถึงแต่เพื่อนหนุ่มคนนึงที่เพิ่งตายไป โดยที่เพื่อนหนุ่มคนนี้ก็มีเมียแล้วเหมือนกัน

ตัวละครในหนังดูไม่แน่ชัดว่าเป็น straight หรือ bisexual แต่มันดู homoerotic ดีมากๆ

2.พอมันเป็นหนัง homoerotic เกี่ยวกับผู้ชายที่มีเมียแล้ว ก็เลยรู้สึกเหมือนมันเป็น prequel ของ SUK SUK (2019, Ray Yeung, Hong Kong)

Tuesday, October 13, 2020

AN IMAGINARY FILM: THE THEORY OF CAULIFLOWER WAVES

 

หนังในจินตนาการ: ทฤษฎีคลื่นกะหล่ำ

AN IMAGINARY FILM: THE THEORY OF CAULIFLOWER WAVES

 

พอดีช่วงนี้ได้ดูหนังบางเรื่องที่มันมีหลายอย่างพ้องกันโดยบังเอิญ โดยเฉพาะ “ไอเดียตั้งต้น” ของหนังเหล่านั้น (อย่างเช่น LOVE AT SECOND SIGHT กับ LOVE YOU FOREVER ที่มีหลายอย่างพ้องกันมากๆ และ SPECIAL ACTORS กับ ODE TO JOY ที่พระเอกเป็นโรค “เป็นลมง่าย” เหมือนๆกัน) เราก็เลยจินตนาการขึ้นมาเล่นๆว่า อยากให้มีคนหยิบเอา “เรื่องของความบังเอิญ” นี้มาสร้างเป็นหนังไปเลย 555

 

คือในความเป็นจริงนั้น การที่หนังหลายๆเรื่องที่ออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกัน มีหลายอย่างพ้องกันโดยบังเอิญนั้น อาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ อย่างเช่น

 

1. เป็นเรื่องของความบังเอิญจริงๆ

2. ทีมงานสร้างของหนัง 2 เรื่องนี้ขโมยไอเดียกัน

3.เรื่องที่ออกฉายทีหลังได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องที่ออกฉายก่อนหน้า

4. สาเหตุอื่นๆ อย่างเช่นกรณีของ 1492: CONQUEST OF PARADISE (1992, Ridley Scott) กับ CHRISTOPHER COLUMBUS: THE DISCOVERY (1992, John Glen) ซึ่งอธิบายได้ง่ายมากว่าทำไมหนังสองเรื่องนี้ถึงสร้างออกมาตรงกันในเวลาเดียวกัน เพราะปี 1992 เป็นครบรอบ 500 ปีของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกาเหมือนกัน

 

แต่เราอยากให้มีคนสร้างหนังขึ้นมาใหม่ โดยตั้งอยู่บนทฤษฎีฮาๆที่ว่า เรื่องพวกนี้ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นแบบที่ตัวละครในหนังเรื่อง WAKING LIFE (2001, Richard Linklater) เคยพูดเอาไว้ในทำนองที่ว่า มนุษย์เรามีโทรจิตสื่อสารกันได้โดยไม่รู้ตัว

 

คือเราชอบสิ่งที่ตัวละครใน WAKING LIFE คุยกันมากๆเลยน่ะ และคิดว่าไอเดียนี้เอามาพัฒนาเป็นหนัง fiction แนว fantasy ได้ โดยหนังแนว fantasy เรื่องนี้จะตั้งทฤษฎีตาม WAKING LIFE ขึ้นมาเล่นๆว่า มนุษย์เราบางคนมีหัวสมองที่เป็นเหมือนเครื่องรับ-ส่งวิทยุ คือสมมุติ A คิดอะไรในหัว อย่างเช่นคิดคำว่า “กะหล่ำ” อยู่ดีๆ B ก็จะรู้สึกอยากกินกะหล่ำขึ้นมาโดยไม่มีสาเหตุ มันเหมือน A ส่งคลื่นวิทยุออกไปจากหัวของตัวเองโดยไม่ได้ตั้งใจ แล้วหัวสมองของ B ก็รับสัญญาณคลื่นวิทยุพี่อ้อยพี่ฉอดจากหัวของ A โดยไม่ได้ตั้งใจ

 

แล้วพอ A คิดแต่งเพลงอะไรขึ้นมา B ก็ดันแต่งเพลงที่มีท่วงทำนองโน้ตดนตรีคล้าย A ออกมาในเวลาเดียวกัน แล้วพอ B คิดไอเดียว่าจะสร้างหนังเกี่ยวกับประเด็น CDEFG อยู่ดีๆ A ก็คิดไอเดียว่าจะสร้างหนังเกี่ยวกับประเด็น DEFGH ออกมาในเวลาเดียวกัน มันเหมือนกับว่าหัวสมองของคนบางคนมันสื่อโทรจิตกันได้โดยไม่ได้ตั้งใจ แล้วปัจจัยนี้เลยกลายเป็นสาเหตุให้คนบางคนชอบสร้างหนังที่มี “ไอเดียตั้งต้น” คล้ายๆกันออกมาในเวลาเดียวกันโดยบังเอิญ 55555

 

ตัวอย่างของคู่หนังที่เราแอบสงสัยว่าทำไมมันสร้างออกมาในเวลาไล่เลี่ยกันโดยบังเอิญ 555

 

1.LUDWIG – REQUIEM FOR A VIRGIN KING (1972, Hans-Jürgen Syberberg, Germany)

+ LUDWIG (1973, Luchino Visconti, Italy)

https://www.imdb.com/title/tt0068883/?ref_=fn_tt_tt_1

 

2.VINCENT, FRANÇOIS, PAUL...AND THE OTHERS (1974, Claude Sautet, France)

https://www.imdb.com/title/tt0072368/?ref_=fn_al_tt_1

+ MY FRIENDS (1975, Mario Monicelli, Italy)

https://www.imdb.com/title/tt0072637/?ref_=nm_flmg_dr_35

 

3.DANGEROUS LIAISONS (1988, Stephen Frears, USA/UK)

+ VALMONT (1989, Milos Forman, France/UK)

 

4.BUGSY (1991, Barry Levinson)

+ MOBSTERS (1991, Michael Karbelnikoff)

 

5.THELMA & LOUISE (1991, Ridley Scott)

+ LEAVING NORMAL (1992, Edward Zwick)

+ BURNING LIFE (1994, Peter Welz, Germany)

 

6.TOMBSTONE (1993, George P. Cosmatos)

+ WYATT EARP (1994, Lawrence Kasdan)

 

7.SISTER MY SISTER (1994, Nancy Meckler, UK)

+ LA CÉRÉMONIE (1995, Claude Chabrol, France)

 

8.DANTE’S PEAK (1997, Roger Donaldson)

+ VOLCANO (1997, Mick Jackson)

 

9.ARMAGEDDON (1998, Michael Bay)

+ DEEP IMPACT (1998, Mimi Leder)

 

10.CAPOTE (2005, Bennett Miller)

+ INFAMOUS (2006, Douglas McGrath)

https://www.imdb.com/title/tt0420609/?ref_=nm_flmg_act_24

 

11.SAINT LAURENT (2014, Bertrand Bonello, France)

+ YVES SAINT LAURENT (2014, Jalil Lespert, France)

 

12.JUST A BREATH AWAY (2018, Daniel Roby, France/Canada)

+ EXIT (2019, Lee Sang-guen, South Korea)

 

13.ONCE UPON A TIME...IN HOLLYWOOD (2019, Quentin Tarantino)

+ THE MANSON FAMILY MASSACRE (2019, Andrew Jones)

 

14.THE ONLY MOM (2019, Chartchai Ketnust)

+ MALASAÑA 32 (2020, Albert Pintó, Spain)

ตอนดู MALASANA จนจบ เราจะแอบสงสัยว่า หนังสเปนเรื่องนี้ได้ไอเดียมาจาก THE ONLY MOM หรือเปล่า 55555

 

15. SPECIAL ACTORS (2019, Shinichiro Ueda, Japan)

+ ODE TO JOY (2019, Jason Winer)

พระเอกของหนังสองเรื่องนี้เป็นโรค “เป็นลมง่าย” เหมือนๆกัน แต่หนังสองเรื่องนี้แตกต่างจากกันมากๆ 555

 

16.LOVE YOU FOREVER (2019, Tingting Yao, China

+ LOVE AT SECOND SIGHT (2020, Hugo Gélin, France)

 

เราก็เลยอยากถามเพื่อนๆว่า

 

1.มีใครมีข้อมูลมั้ยว่า ในบรรดาคู่หนังข้างต้น ทำไมถึงสร้างออกมาไล่เลี่ยกัน ใครก็อปไอเดียใคร 55555 หรือว่าเป็นเรื่องบังเอิญ

 

2.มีคู่หนังอื่นๆอีกบ้างมั้ย ที่เพื่อนๆสงสัยว่าทำไมมันถึงสร้างออกมาไล่เลี่ยกัน แล้วไอเดียตั้งต้นของหนังทั้งสองเรื่องมันคล้ายกัน

 

3.มีใครที่เคยคิดสร้างหนังหรือเขียนบทภาพยนตร์ แล้วพบว่าไอเดียมันไปตรงกับของคนอื่นๆโดยบังเอิญหรือโดยไม่ได้ตั้งใจบ้าง

 

4.ในบรรดาคู่หนังข้างต้น ใครชอบเรื่องไหนมากกว่ากัน

 

5.ใครเคยมีประสบการณ์แบบนี้บ้างมั้ย คือเวลาที่เราเดินตามหลังผู้ชายบางคนตอนขึ้นบันไดแคบๆ แล้วเราไม่ได้คิดอะไรกับผู้ชายที่เดินข้างหน้าเรา เขาก็จะเดินไปเรื่อยๆตามปกติ แต่บางครั้งเวลาที่เราคิดอยู่ในหัวว่า “หูย ผู้ชายคนที่เดินอยู่ข้างหน้าเรา น่าเย็ดมากๆ กล้ามแขนงี้ล่ำมาก กล้ามขาก็แน่น ตัวก็สูงใหญ่ ถ้าเย็ดฉันสักที ฉันจะรู้สึกเป็นพระคุณอย่างสูง, etc.”  แล้วพอเราคิดแบบนี้อยู่ในหัว ผู้ชายที่เดินข้างหน้าเราก็จะชอบหันหลังกลับมามองเราด้วยความระแวง มันเหมือนกับว่า เราส่งคลื่นโทรจิต “ความคิดอกุศล” ในหัวของเราออกไปโดยที่เราไม่ได้ตั้งใจ แล้วผู้ชายที่เดินอยู่ข้างหน้าเรา เขารับรู้ได้ 55555

 

 

Monday, October 12, 2020

STAY AWAKE, BE READY

 STAY AWAKE, BE READY (2019, Pham Thien An, Vietnam,14min, A+30)


 ถ้าจำไม่ผิด หนังทั้งเรื่องมีช็อตเดียว ไม่ตัดภาพเลย จับภาพเหตุการณ์ที่เพิงขายอาหารข้างถนนที่มีทั้งลูกค้าและคนต่างๆเดินขวักไขว่ไปมา หนังเขียนบทมาดีมากๆ และจัดวางทุกสิ่งทุกอย่างมาอย่างละเอียดลออดีมาก

ชอบ setting  เพิงขายอาหารข้างถนนแบบนี้มากๆ นึกถึงหนังเวียดนามอีกเรื่องที่เราชอบสุดๆ ซึ่งก็คือ EPHEMERA (2017, Ho Thanh Thao) ที่ใช้ setting แบบเดียวกัน

จริงๆแล้วในไทยก็มี street side food vendor แบบนี้เยอะสุดๆ แต่มันแทบไม่เคยถูกใช้เป็น setting สำคัญในหนังไทยเลยมั้ง ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าเพราะอะไร แต่ถ้าหากใช้หนังเวียดนาม 2 เรื่องนี้เป็นตัวตัดสิน ก็อาจจะเป็นเพราะว่า  street side food vendor ในไทย ไม่ใช่ "สถานที่ที่เต็มไปด้วยอันตราย" แบบในหนังเวียดนาม 55555 เพราะในหนังเวียดนาม 2 เรื่องนี้ ร้านขายอาหารแบบนี้ดูเต็มไปด้วยอันตราย ทั้งจากแก๊งอันธพาล, มิจฉาชีพ และอุบัติเหตุ

หนังไทยเรื่องล่าสุดที่เห็นมีใช้ setting แบบนี้ ก็คือ "ห้วงยามแห่งความพ่ายแพ้" (2020, Pawat Kantawirud) เพราะตัวละครประกอบอาชีพขายอาหารข้างถนน และ setting  นี้ก็ไม่ได้ถูกนำเสนอในฐานะพื้นที่อันตรายแบบในหนังเวียดนาม

HOUSEMAID

 

HOUSEMAID (Prach Rojanasinwilai, short, A+15)

 รู้สึกคล้ายๆกับ LANNY ในแง่ที่ว่า มันเป็นหนังที่ดีแต่เราไม่อินทั้งสองเรื่อง โดย LANNY เป็นความผูกพันระหว่างเด็กกับยาย ส่วน HOUSEMAID เป็นความผูกพันระหว่างเด็กกับสาวใช้ และในที่สุดเด็กในทั้งสองเรื่องก็ต้องจากลาบุคคลอันเป็นที่รัก

แต่พอหนังพูดถึงสาวใช้ เราก็เลยหวนนึกถึงตอนเด็กๆ เราจำได้ว่าเราเคยไปเที่ยวบ้านเพื่อน ซึ่งที่บ้านเพื่อนมีสาวใช้ชื่อ วี แล้ววีจะสนิทสนมกับสาวใช้บ้านข้างๆ ซึ่งชื่อ "ขี" โดยขีมีดวงตาแค่ข้างเดียว เพราะเธอเคยเป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มาก่อน แล้วสูญเสียดวงตาข้างนึงไปในการสู้รบ (ถ้าจำไม่ผิดนะ เพราะมันผ่านมานานราว 30 ปีแล้ว)

ตอนเด็กๆเราก็ไม่ได้คิดอะไรกับเรื่องนี้ แต่พอผ่านมาถึงปัจจุบัน เราก็รู้สึกว่าเรื่องของขีน่าสนใจสุดๆ เธอเป็นคนที่น่าสัมภาษณ์มากๆ และประวัติชีวิตเธอเหมาะจะนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์หรือละครทีวีที่เข้าทางเราอย่างมากๆ 

อยากให้มีคนสร้างหนังหรือละครไทยแนวนี้มากๆ นั่นก็คือเรื่องของสาวใช้ที่เคยเป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มาก่อน เธอเชี่ยวชาญการต่อสู้ทั้งมือเปล่า, ปืนกล, วางกับดักในป่า , การวางยาพิษ, etc. แต่ความบาดเจ็บจากการสู้รบ และการสลายตัวของคอมมิวนิสต์ในไทยในปี 1980  ทำให้เธอหันมาทำงานเป็นสาวใช้ในคฤหาสน์ใหญ่ในกรุงเทพแทน

ถ้ามีหนังไทยแบบนี้ออกมา มันต้องเข้าทางเราแน่นอน เป็น LA CEREMONIE + LA FEMME NIKITA ผสมกัน

A NOMENT OF ROMANCE (1990, Benny Chan, Hong Kong, A+25)
ผู้หญิงข้า ใครอย่าแตะ

ยกให้ติดอันดับหนังที่ทำให้เราหัวเราะหนักที่สุดในปีนี้ไปเลย 55555 แต่ก็ชอบในระดับ A+25 นะ ขำการทำตัว "ตอบสนองแฟนตาซีของผู้ชม" ตลอดทุกเสี้ยววินาทีของพระเอกกับนางเอกในหนังเรื่องนี้ ซึ่งก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดอะไร เพียงแต่พอเราไม่ใช่ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายของหนัง หนังมันก็เลยไม่ได้ตอบสนองแฟนตาซีเรา แต่ทำให้เราหัวเราะจนหยุดไม่ได้กับการเก๊กหน้าเข้ม วางมาดเท่ๆของพระเอก และการทำตัวใสซื่อแอ๊บแบ๊วของนางเอก

ตอนดูก็คิดว่า หนังที่ตอบสนอง romantic fantasy ของเราได้ตรงที่สุด คือหนังเรื่องอะไร ปรากฏว่าเป็นหนังในปีใกล้เคียงกัน ซึ่งก็คือ ALWAYS (1989, Steven Spielberg) เพราะ Brad Johnson ในหนังเรื่องนี้ เป็นผู้ชายที่ตรงสเปคเรามากที่สุด และ Holly Hunter ในหนังเรื่องนี้ ก็เป็นหนึ่งในนางเอกที่เราอินด้วยมากที่สุด

สรุปว่า A MOMENT OF ROMANCE เป็นหนังที่ effective สุดๆสำหรับผู้ชมกลุ่มเป้าหมายของหนังนั่นแหละ เพียงแต่เราไม่ใช่ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายของหนัง  จบ

A FALLEN FRUIT (2020, Amit Dubey, Cambodia, short, A+25)

 1.ชอบการถ่ายแมลงกับแสงไฟมากๆ

2.เหมาะฉายควบกับ STORIES FROM THE NORTH (2006, Uruphong Raksasad) เพราะมันเป็นหนังแนว  slice of life ที่ถ่ายทอดชีวิตในชนบทออกมาอย่างสงบงามเหมือนกัน

TO CALM THE PIG INSIDE (2020, Joanna Vasquez Arong, Philippines, short, A+30)

1. หนังทรงพลังมากๆ ดูแล้วรู้สึกว่าวาตภัยในหนังมันน่ากลัวมากๆ นึกถึงทั้งสึนามิในไทยและ fukushima

 2.รู้สึกว่าเราน่าจะได้ดูหนังดีๆเกี่ยวกับวาตภัยจากฟิลิปปินส์มากที่สุดมั้ง ทั้งหนังเรื่องนี้, STORM CHILDREN: BOOK ONE (2014, Lav Diaz, documentary), TRAP (2015, Brillante Mendoza), THE SOIL OF DREAMS (2016, Jeffrie Po)
 
ดูแล้วก็เลยสงสัยว่า จริงๆแล้วสหรัฐ (ภาคใต้), ญี่ปุ่น, ฮ่องกง,ไต้หวัน ก็น่าจะประสบกับวาตภัยเยอะเหมือนกัน แต่ทำไมเราถึงไม่ค่อยได้ดูหนังเกี่ยวกับประเด็นนี้จากประเทศเหล่านี้ หรือเป็นเพราะว่าสภาพบ้านเรือนและโครงสร้างสังคมของฟิลิปปินส์มันอ่อนแอที่สุด ความเสียหายก็เลยเกิดกับฟิลิปปินส์มากที่สุด แล้วก็เลยทำให้ฟิลิปปินส์ผลิตหนังเกี่ยวกับวาตภัยออกมาเยอะกว่าประเทศอื่นๆ

LANNY (2019, Chuah Jie Xie, Malaysia/Taiwan, short, A+10)

ครองตำแหน่งหนังที่เราชอบน้อยที่สุดในเทศกาลอาเซียนปีนี้ ซึ่งจริงๆหนังก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร แต่เราไม่อินกับเนื้อเรื่องทำนองนี้เลย

ตอนแรกนึกว่านางเอกจะกินศพคุณยาย 55555

Saturday, October 10, 2020

A DREAM OF GHOST FRIEND

 

เมื่อคืนฝันว่า เพื่อนมหาลัย/เพื่อนร่วมงานคนนึงที่เสียชีวิตในปี 2016 อยู่ดีๆก็เดินเข้ามาในออฟฟิศที่ทำงาน แล้วขายประกันชีวิตให้เพื่อนๆในที่ทำงาน เพื่อนๆในที่ทำงานก็พยายามพูดคุยกับเธอตามปกติ ไม่มีใครกล้าบอกเธอว่า “เธอตายไปแล้วนะ” เพราะกลัวเธอจะเสียใจที่เธอตายไปแล้ว สิ่งที่จำได้ดีในฝันนี้ก็คือว่า เพื่อนคนนี้ใส่ชุดสี marmalade ที่สีมันสวยมากๆ

 

ตื่นมาแล้วก็งงๆว่าทำไมอยู่ดีๆถึงฝันถึงเรื่องนี้ บางทีอาจจะเป็นเพราะว่า เราเพิ่งดูหนังเรื่อง “เลิฟยูโคกอีเกิ้ง” (2020, Thongchai Prasongsanti, A+20) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ “คนตายที่ไม่ยอมตาย” และบางทีอาจจะเกี่ยวกับเรื่องที่ได้ยินจากดีเจทางวิทยุ เพราะในวันอาทิตย์ที่ 4 ต.ค. เรานั่ง taxi แล้ว taxi เปิดวิทยุช่องอะไรไม่รู้ มีดีเจผู้หญิงคนนึงเล่าว่า ตอนเธออายุ 8 ขวบ เธอเคยเดินกลับบ้าน ตอน “บ่ายสอง” กลางวันแสกๆ แดดร้อนเปรี้ยง เธอเจอคุณป้าขายกล้วยแขกคนนึงที่เธอคุ้นเคยเป็นอย่างดี คุณป้าคนนั้นก็ทักทายเธอ แล้วบอกเธอว่าฝากความคิดถึงถึงคุณแม่ของเธอด้วยนะ แล้วพอดีเจคนนั้นเดินกลับมาถึงบ้าน เจอแม่ แม่ก็รีบบอกเธอว่า เดี๋ยวเย็นนี้เตรียมตัวไปงานศพนะ ไปงานศพของคุณป้าขายกล้วยแขก เพราะเขาเสียชีวิตไปแล้วตั้งแต่ “เมื่อเช้านี้”

Friday, October 09, 2020

THE HONEYMOON

 

THE HONEYMOON น้ำผึ้งพระจันทร์  (1972, Charin Nantanakorn, A+15)

นึกว่าต้องฉายปะทะกับ DON'T FORGET YOU ARE GOING TO DIE (1995, Xavier Beauvois, France, A+30) 55555

 คือเราชอบ DON'T FORGET YOU ARE GOING TO DIE อย่างสุดๆ เพราะหนังเรื่องนี้นำเสนอชีวิตของพระเอก ในรูปแบบของหนัง 3 genres ผสมกัน ถ้าจำไม่ผิด คือในองก์แรกเป็นหนังชีวิตดราม่าเข้มข้น แล้วอยู่ดีๆชีวิตพระเอกก็พลิกผันกลายเป็นหนังโรแมนติกในองก์ที่สอง แล้วอยู่ดีๆชัวิตพระเอกก็พลิกผันกลายเป็นหนังสงครามในองก์ที่สาม

ตอนที่เราดูหนังฝรั่งเศสเรื่องนี้เมื่อราว 20 ปีก่อน เราก็เลยร้องวี้ดมากๆ เพราะเราแทบไม่เคยเจอหนังเรื่องไหนที่ทำแบบนี้มาก่อน แล้วหนังเรื่องนี้มันก็เข้ากับความเชื่อของเราที่ว่า หนังหลายๆเรื่องที่อยู่ใน genre เดียวและทำตามสูตรสำเร็จของ genre นั้นๆ มันมักจะตัดทอนแง่มุมอันหลากหลายของชีวิตมนุษย์ทิ้งไป เพื่อบีบให้ชีวิตของตัวละครเหลือแง่มุมเพียงไม่กี่ด้านที่สอดรับกับสูตรสำเร็จของ genre นั้นๆ เพราะฉะนั้นเราก็เลยมักจะถูกโฉลกกับหนังที่ปล่อยให้ชีวิตของตัวละครเป็นอิสระ เต็มไปด้วยแง่มุมอันหลากหลาย และไม่เน้นการเร้าอารมณ์ผู้ชมตามสูตรสำเร็จของ genre มากกว่า ซึ่ง DON'T FORGET YOU ARE GOING TO DIE ก็ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของหนังกลุ่มที่เราชอบสุดๆนี้

พอเราได้ดู THE HONEYMOON เราก็เลยขำมาก เพราะมันเหมือนเป็นด้านกลับของ DON'T FORGET YOU ARE...  เพราะช่วงองก์แรกของหนังไทยเรื่องนี้ เหมือนเป็นหนัง thriller ผจญภัยในอียิปต์ แล้วหลังจากนั้นหนังเรื่องนี้ก็พลิกจาก thriller มาเป็นหนังโรแมนติกพ่อแง่แม่งอนในยุโรปและไทย ก่อนจะพลิกไปเป็นหนังสงครามในองก์สุดท้าย

แต่ถึงแม้ DON'T FORGET YOU ARE... กับ THE HONEYMOON  จะมีอะไรบางอย่างคล้ายกัน แต่มันก็เหมือนตรงข้ามกัน เพราะ THE HONEYMOON คงไม่ได้มีจุดประสงค์หลักเพื่อสะท้อนแง่มุมอันหลากหลายของชีวิตมนุษย์ และคงไม่ได้มีจุดประสงค์หลักเพื่อ "ต่อต้านสูตรสำเร็จ" แต่หนังเรื่องนี้น่าจะมีจุดประสงค์เพื่อ "เร้าอารมณ์ผู้ชมตามสูตรสำเร็จของหนังไทยในยุคนั้น" มากกว่า 555

เราก็เลยรู้สึกว่ามันน่าสนใจดี บางที "หนังไทยแบบครบทุกรส" ที่นิยมสร้างกันในอดีต มันก็มีบางอย่างที่สอดคล้องกับกลุ่มหนังที่เราชอบสุดๆ เพียงแต่ว่าพอหนังไทยกลุ่มนี้มันเน้นสร้างเพื่อเร้าอารมณ์ผู้ชม ผลลัพธ์ที่ได้มันก็เลยไม่ได้ออกมาเข้าทางเรามากนัก ทั้งๆที่ไอเดียบางอย่างในหนังกลุ่มนี้สามารถนำมาปรับให้เข้าทางเราได้ดีมากๆ

THE LONG WALK (2019, Mattie Do, Laos, A+30)

 1.ชอบที่มันเป็น "หนังผี" ที่ใช้ setting เป็นโลกอนาคต เพราะปกติแล้วโลกอนาคตมักจะถูกนำมาใช้เป็นฉากหลังในหนังไซไฟ ไม่ใช่หนังผี

2.ชอบที่มันเป็นหนังย้อนเวลาที่เกี่ยวข้องกับฆาตกรโรคจิต

BALLOON (2019, Pema Tseden, China, A+30)

1. ชอบการ cast ตัวละคร "พ่อ" มากๆ เขาดูเป็น sex machine มากๆ 555

2. เป็นหนังเรื่องที่ 3 ของ Pema Tseden ที่ได้ดู ต่อจาก THE SEARCH (2009) และ OLD DOG (2011) ชอบสุดๆทั้ง 3 เรื่องเลย



Sunday, October 04, 2020

THE NEW MUTANTS

 EXCUSE ME, MISS, MISS, MISS (2019, Sonny Calvento, Philippines, short, A+25)


 หนังที่สะท้อนความยากลำบากของชีวิตพนักงานห้างสรรพสินค้า ชอบหนังที่พูดถึงชีวิตการทำงานของคนธรรมดาแบบนี้มากๆ

THE NEW MUTANTS (2020, Josh Boone, A+30)

 1. จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้ก็ไม่ได้ดีมากนะ แต่เราก็ชอบสุดๆอยู่ดี เพราะเราอินกับจักรวาล X-MEN อยู่แล้ว และเราก็ชอบหนังสยองขวัญ กับหนังที่มีการผสม genre ต่างๆเข้าด้วยกันด้วย เราก็เลยชอบสุดๆที่หนังเรื่องนี้เหมือนเป็นการผสมหนัง superhero กับหนังสยองขวัญเข้าด้วยกัน

2.อีกจุดที่ชอบมากๆใน THE NEW MUTANTS ก็คือการที่หนังเรื่องนี้ดูเหมือนจะเน้นไปที่ตัวละครปลาซิวปลาสร้อยในจักรวาล X-MEN น่ะ (แต่ก็ไม่รู้ว่าเราเข้าใจผิดหรือเปล่านะ เพราะเราก็รู้จัก X-MEN แค่จากหนังใหญ่ เราไม่ได้ตามละครทีวีและ comic books) เพราะตัวละครนำทั้ง 5 ตัวในหนังเรื่องนี้ดูเหมือนมีพลังกระจอกมากถ้าเทียบกับตัวละครนำใน X-MEN ภาคอื่นๆ ดูแล้วนึกถึง HARLEY QUINN: BIRDS OF PREY (2020, Cathy Yan) ที่นำเสนอตัวละครที่มีพลังเล็กๆน้อยๆ เมื่อเทียบกับตัวละครในจักรวาลเดียวกัน (Superman, Supergirl, Wonder Woman, etc.)

เราชอบไอเดียเรื่องการนำเสนอตัวละครที่มีพลังไม่มากนักแบบนี้มากน่ะ เพราะเรามักจะชอบหนังที่พูดถึงคนธรรมดา และหนังที่ให้ความสำคัญกับ "ตัวประกอบ" อยู่แล้ว และหนังเรื่องนี้ก็เข้าข่ายดังกล่าว เพราะมันเหมือนเป็นหนังที่เอา "ตัวประกอบในจักรวาล X-MEN" มาทำให้เป็นตัวเอก

เราชอบไอเดียแบบนี้มากๆเลยด้วย มันเหมือนกับเป็นการสร้างหนังในจักรวาล "มังกรหยก" แต่เป็นภาคแยกที่ให้ "ยายเซ่อ" หรือ "เอ็งโกว" เป็นนางเอก หรือเป็นการสร้างหนังในจักรวาล "ฤทธิ์มีดสั้น" แต่เอาตัวละคร "แมงป่องคราม" มาเป็นนางเอก

3.  ชอบที่หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึง BEFORE I WAKE (2016, Mike Flanagan) และ A  NIGHTMARE ON ELM STREET 3: DREAM WARRIORS (1987, Chuck Russell) ด้วย

4. แต่ข้อด้อยในหนังเรื่องนี้ ก็คือการสร้างตัวละครเกือบทั้งหมดได้ออกมาเป็น stereotypical teenage characters in horror films มากๆ เพราะตัวละครฝ่ายคนดี 4 จาก 5 คนในหนังเรื่องนี้ เข้าสูตรหนังสยองขวัญตามแบบที่ THE CABIN IN THE WOODS (2011, Drew Goddard) เคยบอกไว้เลย  555 เพราะ THE CABIN IN THE WOODS เคยบอกไว้เป็นนัยๆว่า ในหนังสยองขวัญโดยทั่วไปนั้น ตัวละครฝ่ายเหยื่อจะประกอบไปด้วย สาวนิสัยดี, หนุ่มนิสัยดี, หนุ่มหล่อล่ำที่โง่และเงี่ยน, สาวเซ็กซี่ที่นิสัย bitch และ "ตัวตลก"

และตัวละคร 4 จาก 5 ตัวใน THE NEW MUTANTS ก็ตรงกับสูตรสำเร็จที่หนังเรื่อง THE CABIN IN THE WOODS เคยวิเคราะห์เอาไว้เลย แต่ยังดีที่ THE NEW MUTANTS มีตัวละครสาวเลสเบียนเข้ามาแทนที่ "ตัวตลก" หนังเรื่องนี้ก็เลยมีอะไรให้น่าจดจำตรงจุดนี้ด้วย

THE GRADUATION OF EDISON (2019, Pham Hoang Minh Thy, Vietnam, short, A+30)
 
ไม่เข้าใจอะไรในหนังเรื่องนี้ทั้งสิ้น แต่รู้สึกถูกโฉลกกับหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรง ชอบที่หนังเรื่องนี้สร้างโลกจินตนาการที่มีกฎเกณฑ์เฉพาะของตัวเองขึ้นมาเป็นตุเป็นตะ โดยที่ไม่คิดจะอธิบายใดๆให้ผู้ชมเข้าใจ

เหมือนเราก็ชอบคิดอะไรแบบนี้ในหัว เราชอบจินตนาการว่า เราอยู่ในโลกที่เราเป็นคน มีผัวหนุ่มหล่อเป็นมนุษย์ แต่เราคลอดลูกออกมาเป็นหมี อะไรแบบนี้ 555

SHADOW AND ACT (2020, Taiki Sakpisit, short, A+30)

 One of the most beautiful films I saw this year

JU REN (2020, Harry Zhuang, Henry Zhuang, animation, Singapore, A+30)

animation ที่พิศวงดี แต่ชอบน้อยกว่า THE TIGER OF 142B (2015) ของผู้กำกับคู่นี้
  

THAI CINEMA UNCENSORED (2020, Matthew Hunt) is available now.

 

ได้หนังสือ THAI CINEMA UNCENSORED (2020, Matthew Hunt) มาแล้ว ลองพลิกๆดูก็ร้องกรี๊ด ดีใจมากๆที่หนังสือเล่มนี้พูดถึงผลงานภาพยนตร์ของ Arnont Nongyao, Boonyarit Wiangnon, Chai Chaiyachit, Eakarach Monwat,  Hamer Salwala, Kong Pahurak, Manussak Dokmai, Napat Treepalavisetkul, Nil Paksnavin,  Pasit Promnumpol, Patana Chirawong, Patipol Teekayuwat, Prap Boonpan, Sittiporn Racha, Suchart Sawasdsri, Taiki Sakpisit, Tewprai Bualoi, Theeraphat Ngathong, Ukrit Sa-nguanhai, Viriyaporn Boonprasert, Wachara Kanha, Watcharapol Saisongkroh, etc.

Friday, October 02, 2020

CRAZY FLIGHT

 

CRAZY FLIGHT บินแหลก (1995, Piak Poster, A+30)

 

1. จริงๆแล้วหนังเรื่องนี้อาจจะไม่ลงตัวเมื่อเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆของ Piak Poster นะ แต่ก็ถือเป็นหนังที่ชอบมาก เพราะเหมือนไม่มีหนังไทยเรื่องอื่นๆที่พูดถึงประเด็นเดียวกัน (ชีวิตการทำงานของ steward และ air hostess) , แทบไม่มีหนังไทยเรืองอื่นๆที่พูดถึงชีวิตการทำงานไม่ว่าจะในอาชีพใดๆ (ที่เรานึกออกก็มี “ยอดมนุษย์เงินเดือน” กับ APP WAR ที่เอาจริงกับชีวิตการทำงานของตัวละคร) และแทบไม่มีหนังไทยเรื่องอื่นๆที่ออกมาในแนว Robert Altman แบบนี้

 

เพราะฉะนั้นถึงแม้หนังเรื่องนี้จะดูไม่ค่อยลงตัว เราก็ชอบหนังเรื่องนี้มาก เพราะมันดู unique มากๆเมื่อเทียบกับหนังไทยเรื่องอื่นๆ และอย่างน้อยมันก็ทำให้เราพูดได้ว่า ไทยก็มีหนังเมนสตรีมแนว Robert Altman เหมือนกันนะ

 

เอาเข้าจริงแล้ว เราว่าหนังแนว Robert Altman ทำยากมากด้วยแหละ คำว่าหนังแนว Altman ที่เราพูดถึงนี้คือหนังที่เต็มไปด้วยตัวละครหลายๆตัวน่ะ โดยที่ตัวประกอบจะแทบมีบทบาทเท่าๆกับพระเอกหรือนางเอก และพอหนังมันให้ความสำคัญกับตัวละครเยอะมากๆ เนื้อเรื่องในหนังมันก็เลยอาจจะไม่ค่อยเป็นเส้นตรงมากนัก แต่อาจจะเต็มไปด้วยรายละเอียดปลีกย่อยของตัวละครแต่ละตัวที่ประกอบอาชีพในวงการเดียวกัน และพอเนื้อเรื่องมันไม่ค่อยเป็นเส้นตรง มันก็เลยยากที่จะคุมอารมณ์ของแต่ละฉากให้ร้อยเรียงกันอย่างต่อเนื่อง และเป็นเรื่องยากมากที่จะบิ๊วอารมณ์ในหนังให้พุ่งขึ้นเรื่อยๆได้

 

เพราะฉะนั้นเราก็เลยรู้สึกเหมือนกับว่า หนังเรื่องนี้เหมือนเป็นการทดลองทำหนังแนว Altman ในไทย และพอมันเป็นการทดลองครั้งแรกๆ มันก็เลยยังออกมาไม่ค่อยลงตัวนัก และยิ่งพอคนไทยแทบไม่ได้ทำหนังแนวนี้ มันก็เลยยากที่จะพัฒนาหนังแนวนี้ในไทยให้ออกมาลงตัวได้

 

2.สจ็วตหลายคนในหนังหล่อน่ารักดี แต่เราแทบไม่รู้จักชื่อเลยว่าใครเล่นเป็นสจ็วตหนุ่มหล่อเหล่านี้บ้าง นอกจากศรัณยู

 

3.ชอบบทของรัชนก พูนผลินมากๆ คลาสสิคมากๆ ชอบที่เธอพยายามอวดรวยตลอดเวลา ทั้งๆที่เธอไม่ได้รวยจริง

 

4.ฉากที่ชอบมากคือฉากที่ผู้โดยสารฝรั่งคนนึงสอบถามรายละเอียดของเหล้าทุกยี่ห้อบนรถเข็นเป็นเวลายาวนาน และพอได้ข้อมูลเสร็จแล้ว เธอก็สั่งน้ำเปล่า คือฉากนี้นึกว่าสามารถใส่เข้าไปใน THE DISCREET CHARM OF THE BOURGEOISIE (1972, Luis Buñuel) ได้

 

5.พอดูปีที่หนังฉาย ก็ตกใจ เพราะเรารู้สึกตอนที่ดูว่ามันเป็นหนังปี 1985 ไม่ใช่ปี 1995 เหมือนโทนอารมณ์ต่างๆในหนังมันเป็นของทศวรรษ 1980 มากๆ

 

DOG DAY AFTERNOON (1975, Sidney Lumet, A+30)

 

1.เหมือนในทศวรรษ 1970 มีหนัง gay classic สองเรื่องที่เราอยากดูแต่ไม่ได้ดูเสียที ซึ่งก็คือ DOG DAY AFTERNOON กับ SUNDAY BLOODY SUNDAY (1971, John Schlesinger) และในที่สุดเราก็ได้ดู DOG DAY AFTERNOON แล้ว ซึ่งก็คลาสสิคสมคำร่ำลือจริงๆ ตอนนี้ก็ได้แต่หวังว่าจะมีใครเอา SUNDAY BLOODY SUNDAY เข้ามาฉายด้วย 555

 

2.หนังสนุกมาก เดือดมาก และมันดูแตกต่างจากหนังเกย์ทั่วไปด้วย และถึงแม้ว่าหนังเรื่องนี้จะผ่านมานาน 40 กว่าปีแล้ว ตัวละครเกย์ในหนังเรื่องนี้ก็ดู unique มากๆอยู่ดี

 

3.กลัวตัวละคร Sal ที่แสดงโดย John Cazale มากๆ เขาดูเหมือนเป็นคนบ้าที่อาจจะคลั่งกราดยิงคนได้ทุกเมื่อ

 

4.เหมือนตัวประกอบแต่ละตัวในหนังเรื่องนี้โผล่มาแค่ซีนสองซีน แต่แสดงแบบสุดตีนทุกตัว ทั้งตัวกะเทย (Chris Sarandon), เมีย (Susan Peretz) และแม่ของพระเอก (Judith Malina)

 

ROM (2019, Tran Thanh Huy, Vietnam, A+25)

 

นึกถึงหนังสลัมฟิลิปปินส์มากๆ โดยเฉพาะหนังอย่าง CLASH (2009, Pepe Diokno) ที่เน้นการถ่ายภาพอย่างลื่นไหลปรู๊ดปร๊าดไปตามตรอกซอกซอยในสลัมเหมือนกัน

 

ดูแล้วก็สงสัยว่า เวียดนามเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ไม่ใช่เหรอ ทำไมปัญหาความยากจนมันไม่ได้แตกต่างไปจากประเทศประชาธิปไตย/ทุนนิยมแบบฟิลิปปินส์เลย 555

 

อีกสิ่งนึงที่สงสัยก็คือว่า เหมือนเราจะชินตากับภาพ “สลัมในกรุงเทพ” จากสื่อต่างๆในทศวรรษ 1980 น่ะ แต่พอเข้าทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา เราก็ไม่ค่อยเห็นภาพสลัมในกรุงเทพจากสื่อต่างๆบ่อยครั้งมากนัก นอกจากในหนังสารคคดีไทยบางเรื่องในทศวรรษ 2010 เราก็เลยสนใจอยากรู้ว่า

 

1.ภาพในสื่อกับความเป็นจริงมันสอดคล้องกันใช่มั้ย การที่เราไม่ค่อยเห็น ภาพสลัมในกรุงเทพตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา มันเป็นเพราะว่าปัญหาสลัมมันลดลงจริงๆเมื่อเทียบกับในทศวรรษ 1980 หรือเปล่า หรือเป็นเพียงเพราะว่าผู้ชมในทศวรรษ 1990 ไม่ได้ชื่นชอบการชม “ตัวละครในสลัม” เหมือนกับในทศวรรษ 1980

 

2.ถ้าหากภาพในสื่อมันสอดคล้องกับความเป็นจริง ทำไมปัญหาสลัมในกรุงเทพถึงลดลงเมื่อเทียบกับในทศวรรษ 1980 แต่ทำไมปัญหานี้ถึงยังดูรุนแรงมากๆในฟิลิปปินส์และในเวียดนาม ไทยมีปัจจัยอะไรที่ทำให้ปัญหานี้ลดลงเมื่อเทียบกับในอดีต หรือน้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้านบางประเทศ

Thursday, October 01, 2020

CABALLERANGO

 


ยังไม่ได้อ่านนิยายเรื่องนี้เลย แต่ชอบหนังเรื่อง DEATH IN VENICE (1971, Heinrich Breloer) และชอบมินิซีรีส์เรื่อง THE MANNS -- NOVEL OF A CENTURY (2001, Heinrich Breloer) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง Thomas Mann กับบริกรหนุ่มหล่อมากๆ ( THE MANNS เคยมาฉายที่สถาบันเกอเธ่)

 CABALLERANGO (2018, Juan Pablo Gonzalez, Mexico, documentary, A+30)

1.หนังสารคดีเกี่ยวกับเมืองแห่งนึงในเม็กซิโกที่ดูเหมือนว่าจะมีคนฆ่าตัวตายหลายคน รู้สึกจูนติดกับหนังอย่างรุนแรงที่สุด เพราะหนังเน้นการตั้งกล้องนิ่งๆ และจับสังเกตกิจวัตรประจำวันของผู้คนไปเรื่อยๆ และเรารักหนังที่เน้นการถ่ายทอดชีวิตประจำวันอยู่แล้ว โดยเฉพาะหนังอย่าง SUNDAY (2010,.Siwapond Cheejedreiw), HAVANA SUITE (2003, Fernando Perez, Cuba) แล้วก็เรื่องนี้

2.รักการวางเฟรมภาพในหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆ

3.ฉากที่ติดตามากๆรวมถึงฉาก

3.1 กล้องจับภาพพ่อของคนตายขณะฝึกม้าให้วิ่งวนรอบเสา

3.2 กล้องจับภาพใบหน้าแม่ของคนตายไปเรื่อยๆทั้งๆที่เธอไม่พูดอะไร

3.3 ชายหนุ่มสองคนวิ่งแข่งกันในยามสนธยา


CAMP ON THE WIND'S ROAD (2018, Nataliya Kharlamova, Russia, documentary, A+30)

Subject ของหนังน่าสนใจมาก เพราะเธอเป็นหญิงสาววัย 25 ปีที่มีสถานะคล้ายๆเป็น "เจ้าแม่หุบเขา" หรืออะไรทำนองนี้ เพราะพอพ่อเธอตาย เธอก็ต้องกลายเป็นผู้ดูแลคนงานชายทั้งหมดในไร่ปศุสัตว์ของเธอ

ถ้าเข้าใจไม่ผิด เธอได้ผัวหนุ่มหล่อที่น่าจะเคยเป็น "ลูกน้องในไร่" ของเธอมาก่อน เราก็เลยเข้าใจ + จินตนาการว่า การมีสถานะเป็นคนคุมไร่ของเธอมันดีจริงๆ มันเหมือนกับว่าเธอสามารถเลือกคนงานหนุ่มฉกรรจ์ในไร่คนไหนมาเป็นผัวเธอก็ได้ เธอก็เลยเลือกคนงานหนุ่มที่หล่อที่สุดในไร่มาเป็นผัวซะเลย 555

 แต่ถึงแม้เขาเป็นผัวเธอแล้ว เขาก็ดูเหมือนจะยังคงมีสถานะเป็นลูกน้องของเธออยู่ดีนะ

ชอบฉากที่เธอกำราบคนอื่นๆไม่ให้มาชักชวนผัวเธอไปทำอะไรนอกลู่นอกทาง

สงสัยว่าผู้กำกับทำยังไงถึงสามารถถ่ายฉากที่ subjects จู๋จี๋กันอย่างใกล้ชิด หรือฉากการด่าทอกันอย่างรุนแรงในครอบครัวได้

จริงๆแล้วอยากให้หนัง focus ไปที่ตัวผัวหนุ่มหล่อ แต่คิดว่าการถ่ายทำจริงคงทำได้ยาก เพราะผู้กำกับเป็นผู้หญิง แล้วถ้าผู้กำกับไป focus ในแบบที่เราต้องการ "เจ้าแม่หุบเขา" อาจจะหึงแล้วมาตบผู้กำกับในระหว่างการถ่ายทำได้ 555

 นึกว่าต้องฉายควบกับ JOAN OF ARC OF MONGOLIA (Ulrike Ottinger)