Wednesday, January 31, 2007

FAVORITE ANIMATIONS OF ALL TIME

http://filmsick.exteen.com/20070130/right-now

ชอบ RIGHT NOW มากๆ เพราะอินมากๆกับนางเอกของเรื่อง รู้สึกว่าหนังถ่ายทอดความรู้สึกของนางเอกได้โดนมากๆ และให้อารมณ์ที่ละเอียดอ่อนมาก ฉากที่ชอบมากๆคือฉากที่นางเอกวิ่งเตลิดไปกลางถนนในช่วงท้ายๆเรื่อง (ถ้าจำไม่ผิด)

หนังของ BENOIT JACQUOT ที่เคยดู เรียงตามลำดับความชอบ
1.PAS DE SCANDALE (1999, A+++++++++++++++)

2.RIGHT NOW (2004, A+++++++++++++++)

3.THE SCHOOL OF FLESH (1998, A+++++++++++++++)

4.THE FALSE SERVANT (2000, A++++++++++)

5.SADE (2000, A)


เคยดูหนังของ ISILD LE BESCO อีก 3 เรื่อง ซึ่งก็คือ

1.LACENAIRE (1990, FRANCIS GIROD, A-)

ตอนนั้น ISILD LE BESCO ยังเด็กมาก และรับบทเป็นเด็ก 8 ขวบในหนังเรื่องนี้ จำไม่ได้แล้วว่าเธอเล่นเป็นใครในเรื่อง

2.SADE
เธอเล่นได้ดีมาก โดยเฉพาะในช่วงท้ายๆเรื่อง

3.GIRLS CAN’T SWIM (2000, ANNE-SOPHIE BIROT, A-)
หนังวัยรุ่นเลสเบียนที่จบได้ดีมาก

http://filmsick.exteen.com/20070130/les-escargot

ขอบคุณมากค่ะที่นำ LES ESCARGOTS (1965, RENE LALOUX, A+) มาให้ดูกัน ชอบหนังเรื่องนี้มากๆเลยค่ะ เคยดูหนังเรื่องนี้เมื่อนานมากแล้ว จนลืมหนังเรื่องนี้ไปแล้ว รู้สึกดีใจที่ได้มาดูหนังเรื่องนี้อีกครั้ง

ยังไม่ได้ดู FANTASTIC PLANET เลย แต่หนังแอนิเมชั่นที่ชอบที่สุดในชีวิตรวมถึงเรื่อง

1.THE THREE INVENTORS (1980, MICHEL OCELOT, A++++++++++)
http://www.pariscinema.org/2003/programme/afca.php

ถ้าจำไม่ผิด หนังเรื่องนี้เป็นหนังการ์ตูนที่ทำจากการนำกระดาษขาวมาตัดเป็นตัวละครและฉาก หนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับครอบครัวที่มีพ่อแม่และลูกสาว ทั้ง 3 คนเป็นนักประดิษฐ์ นักค้นคิดนวัตกรรมใหม่ๆที่น่ารักมาก พวกเขาคิดค้นสิ่งแปลกๆใหม่ๆที่น่าจะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้คนได้มากมาย แต่ประชาชนกลับระแวงสงสัยในตัวพวกเขา เพราะเห็นว่าพวกเขาทำในสิ่งที่แปลกแตกต่างจากคนทั่วไปในสังคม ทางด้านผู้นำทางการเมืองและศาสนาก็ระแวงในตัวพวกเขา และในที่สุดครอบครัวนี้ก็ต้องพบกับจุดจบที่โหดร้ายทารุณที่สุด

MICHEL OCELOT เคยกำกับหนังการ์ตูนเรื่อง KIRIKOU AND THE SORCERESS (1998, A)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/00/02/51/67/kirikou.jpg

รูปจาก AZUR AND ESMAR (2006, MICHEL OCELOT)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/52/37/18699465.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/52/37/18699466.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/52/37/18699467.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/52/37/18699468.jpg


2.IMPRINT (1975, JACQUES CARDON, A+++++++++++++++)

Surrealistic cartoon which satirises the pressures of social conformity

ไม่แน่ใจว่าหนังที่ดิฉันชอบมากคือหนังเรื่องนี้หรือเปล่า หนังที่ดิฉันชอบมากคือเรื่องของคนในสังคมนึงที่มีรอยบุ๋มตรงกลางหลัง เพราะคนกลุ่มนี้มีหน้าที่รองรับ “ฝ่าเท้า” ของคนอีกกลุ่มนึงในสังคม โดยที่รอยบุ๋มตรงกลางหลังมีไว้เพื่อให้ชนชั้นปกครองวางเท้าลงบนกลางหลังของคนกลุ่มนี้

จำได้ว่าชอบหนังเรื่องนี้มากๆ แต่จำชื่อหนังอย่างแน่นอนไม่ได้ แต่ถ้าจำไม่ผิด ก็น่าจะเป็นหนังเรื่องนี้แหละ

ดูรูปผลงานของ JACQUES CARDON ได้ที่
http://www.irancartoon.com/100/exhibition/cardon/
http://www.irancartoon.com/100/exhibition/cardon/007.gif
http://www.irancartoon.com/100/exhibition/cardon/021.gif
http://www.irancartoon.com/100/exhibition/cardon/091.gif
http://www.irancartoon.com/100/exhibition/cardon/050.gif
http://www.irancartoon.com/100/exhibition/cardon/048.jpg


3.FOR YOU (2000, HEIDI KOCEVAR, A++++++++++)
The changing faces of love are shown through the attempts of a man to capture his beloved forever. It was painted with clay straight under the camera and is strongly influenced by the paintings of Rene Magritte.


4.DAS DRITTE FENSTER (THE THIRD WINDOW) (1998, FRITZ NORDHOLT + HANNA STEINGROBE, A+++++)
หนังแอนิเมชั่นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางรูปทรงของสิ่งต่างๆ ดูแล้วงงมาก ดูหลายรอบแล้วก็ยังงงๆ แต่ชอบมาก


5.WE HAVE EXPLOSIVE มิวสิควิดีโอของวง THE FUTURE SOUND OF LONDON

ดูมิวสิควิดีโอเพลงนี้ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=e3zDV5V3SPg


6.ไอ้จุก (1997, อธิปัตย์ กมลเพ็ชร, A+++++)


7.A FEATHER STARE AT THE DARK (2003, TUJI NAOYUKI, A+++++)


8.ACHILLES (1996, BARRY PURVES, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0164317/

หนังแอนิเมชั่นดินน้ำมันเกย์เกี่ยวกับความรักระหว่างอาคิลลีสและหนุ่มน้อยเปโตรคลัสในสงครามกรุงทรอย หนังแอนิเมชั่นเรื่องนี้มีฉากการรุมข่มขืนด้วย

In Claymation, we see the story of Achilles. He loves Patroclus; they carry that love with them when the Greeks seek revenge on Troy. After nine years of assault on the city, Achilles goes into a funk and withdraws from the battle when he decides that Agamemnon, the Greek king, has denied him his due spoils, a captured Trojan slave girl. In Achilles' absence, Patroclus leads the Greeks into battle, with tragic consequences. To avenge his loss and absolve his grief, Achilles faces Hector.


9.ALICE (1988, JAN SVANKMAJER, A+)


10.MOUNT HEAD (2002, YAMAMURA KOJI, A+)

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=RE0-IFw3ZeA


ตอบน้องบอส

1.อยากเป็นอย่างคาเมรอน ดิแอซมากกว่าค่ะ แต่ไม่ต้องได้ผัวหล่อถึงขั้นจูด ลอว์ก็ได้ เอาแค่หน้าตาแบบที่พบได้ตามถนนข้าวสารแค่นั้นก็พอแล้ว

ดูหนังเรื่องนี้แล้วรู้สึกผูกพันกับตัวคาเมรอน ดิแอซมากกว่า เพราะถึงแม้ดิฉันจะมีฐานะแตกต่างจากตัวละครตัวนี้ราวกับท้องฟ้าและหุบเหว แต่ก็รู้สึกว่าตัวเองรักใครได้ยากเหมือนอย่างคาเมรอน ดิแอซในเรื่องนี้ และก็รู้สึกชอบมากที่เธอรีบเสนอตัวให้จูด ลอว์ในทันที ไม่ได้ทำตัวโง่ๆเหมือนอย่างตัวละครหญิงน่ารำคาญในหนังเรื่องอื่นๆ

2.ตอนจบในชีวิตของดิฉันเหมือนกับตอนจบของ A SUMMER’S TALE (1996, ERIC ROHMER, A+++++++++++) ค่ะ นั่นก็คือไม่ได้มีเซ็กส์กับชายหนุ่มผู้น่าปรารถนาแต่อย่างใด แต่ก็ได้พูดคุยกับเขาและได้มีความสุขจากการได้ใกล้ชิดกับเขาเพียงชั่วเวลา 2-3 วันนั้น ฮ่าๆๆๆ ส่วนใหญ่แล้วชายหนุ่มที่ดิฉันเข้าไปคุยด้วยเป็น STRAIGHT ค่ะ แต่ช่วงนั้นดิฉันมักจะไปเที่ยวชายหาดกับเพื่อนๆผู้หญิง ดิฉันก็เลยทำหน้าที่เป็นแม่สื่อชักนำชายหนุ่มฝรั่งต่างชาติที่น่าสนใจมาให้เพื่อนๆผู้หญิงได้รู้จัก ส่วนตัวดิฉันเองนั้นไม่ได้แอ้มเขาแต่อย่างใด ซึ่งจุดนี้ทำให้รู้สึกผูกพันกับตัวละครนางเอกของ A SUMMER’S TALE มากยิ่งขึ้น เพราะนางเอกของ A SUMMER’S TALE ก็มีฐานะเป็นเหมือน “เพื่อน” ของพระเอก (MELVIL POUPAUD) เท่านั้น ส่วนพระเอกเองนั้นมีตัวละครที่เป็นสาวคนรักอีก 2 คนในเรื่อง ถ้าจำไม่ผิด ความรู้สึกของนางเอกที่มีต่อพระเอกในช่วงต้นเรื่องก็คงจะเป็นเพียงแค่มิตรภาพเฉยๆเหมือนกัน และก็คงจะเอาใจช่วยให้พระเอกสมหวังในความรัก ก่อนที่จะรู้สึกในภายหลังว่าอยากเป็นคนรักพระเอกเสียเอง


3.ชอบ THE CHILD มากในระดับ A+ ค่ะ แต่รู้สึกชอบหนังอีกสองเรื่องของผู้กำกับคู่นี้มากกว่า นั่นก็คือ LA PROMESSE (1996, JEAN-PIERRE DARDENNE + LUC DARDENNE, A+) และ THE SON (2002, JEAN-PIERRE DARDENNE + LUC DARDENNE, A+) สาเหตุอาจจะเป็นเพราะว่า

3.1 รู้สึกอินกับตัวละครพระเอกของ LA PROMESSE และ THE SON มากกว่า เพราะพระเอกของหนังสองเรื่องนี้ทำสิ่งต่างๆในแบบที่ใกล้เคียงกับตัวดิฉันมากกว่า ในขณะที่พระเอกของ THE CHILD อาจจะตัดสินใจทำในหลายสิ่งหลายอย่างที่ดิฉันคงไม่ตัดสินใจทำแบบนั้น ขณะที่ดู THE CHILD ดิฉันจึงรู้สึกว่าตัวละครตัวนี้อาจจะสมจริงมากก็จริง แต่ไม่ใช่ตัวละครแบบที่ดิฉันจะ IDENTIFY ด้วยได้มากนัก หรือไม่ใช่ตัวละครแบบที่ดิฉันจะเห็นใจหรือเอาใจช่วยมากนัก

ส่วนพระเอกของ LA PROMESSE นั้น เขาต้องตัดสินใจว่าจะช่วยพ่อหรือช่วยเหลือเหยื่อของพ่อ ซึ่งนั่นเป็นปัญหาที่คงสร้างความหนักใจให้ดิฉันอย่างมากๆ ดิฉันจึงค่อนข้างเห็นใจตัวละครตัวนี้มาก ส่วนพระเอกของ THE SON นั้นก็ต้องตัดสินใจว่าจะให้อภัยหรือแก้แค้น ซึ่งนั่นก็คงเป็นปัญหาที่สร้างความหนักใจให้ดิฉันอย่างมากๆเช่นกัน อารมณ์ร่วมของดิฉันที่มีต่อหนังสองเรื่องนี้จึงสูงกว่า THE CHILD

อย่างไรก็ดี ถ้าหากไม่นำ THE CHILD ไปเทียบกับผลงานของผู้กำกับคนเดียวกันแล้ว THE CHILD ก็ถือได้ว่าสร้างตัวละครได้น่าสนใจมากๆ เพราะถึงแม้พระเอกคนนี้จะทำผิด แต่เขาก็เป็นตัวละครสีเทา ไม่ใช่ตัวละครสีดำ และหนังก็ถ่ายทอดเรื่องราวของการกลับตัวกลับใจได้อย่างสมจริงและเป็นธรรมชาติอย่างสุดๆ ถ้าหากไปเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆที่ให้พระเอกกลับตัวกลับใจในตอนจบเหมือนกัน เพราะในหนังเรื่องอื่นๆดิฉันมักจะรู้สึกว่าการกลับตัวกลับใจเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ล่วงหน้าอยู่แล้ว (อย่างเช่น EMPLOYEE OF THE MONTH และ CLICK) แต่ใน THE CHILD นั้น ดิฉันไม่แน่ใจจริงๆว่าตัวละครจะเลือกเส้นทางชีวิตแบบใดกันแน่จนกว่าจะถึงตอนจบ


4.AN INCONVENIENT TRUTH (A+)

รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีประเด็นการเมืองแฝงๆเช่นเดียวกัน และก็รู้สึกตะขิดตะขวงใจกับจุดนี้บ้างเล็กน้อย แต่ก็คิดว่าโดยรวมแล้วหนังเรื่องนี้น่าจะส่งผลดีต่อสังคมมากกว่าจะส่งผลเสีย รู้สึกว่าข้อมูลหลายอย่างในหนังเรื่องนี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากๆ

ความรู้สึกจากการดูหนังเรื่องนี้

4.1 รู้สึกดีที่ตัวเองไม่มีลูก เพราะการไม่มีลูกเป็นการช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงและทรัพยากรบนโลกได้เยอะมาก

4.2 รู้สึกกลัวอนาคตเหมือนกัน เพราะถ้าโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ ดิฉันก็คงจะทรมานมากๆ เพราะดิฉันเป็นคนขี้ร้อน และจะรู้สึกเป็นทุกข์เมื่อใดก็ตามที่อุณหภูมิสูงเกิน 20 องศาเซลเซียส

4.3 ถ้าหากโลกร้อนขึ้นจริงๆ ได้ยินว่าอาจจะเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำอย่างรุนแรงมาก และรู้สึกกลัวเรื่องนี้มากเหมือนกัน ไม่รู้ว่าตัวเองจะมีชีวิตอยู่จนได้พบกับวิกฤตโลกอย่างรุนแรงเช่นนั้นหรือเปล่า

4.4 รู้สึกกลัวแทนประเทศเนเธอร์แลนด์และไอซ์แลนด์ กลัวว่าสองประเทศนี้จะจมน้ำหายไป เพราะรู้สึกชอบสองประเทศนี้มากๆ

4.5 รู้สึกงงๆที่บางประเทศมีนโยบายเพิ่มจำนวนประชากร อย่างเช่นประเทศญี่ปุ่น, สิงคโปร์, เยอรมนี ไม่เข้าใจว่าประเทศเหล่านี้จะเอาทรัพยากรธรรมชาติจากไหนมารองรับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างไม่หยุดยั้ง

4.6 รู้สึกสงสารหมีขั้วโลกเป็นที่สุด

4.7 ได้ยินว่าประเทศแถบยุโรปปีนี้ซวยมาก เพราะหิมะตกน้อยมากจนเล่นสกีแทบไม่ได้ กิจการรีสอร์ทเล่นสกีย่ำแย่ไปตามๆกัน และสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ นักเล่นสกีหนุ่มบางคนหันมาเปลือยกายเล่นสกี เพราะอากาศมันไม่หนาวอีกต่อไป

นักเล่นสกีที่เปลือยกายเล่นสกีต้อนรับภาวะโลกร้อนคนนี้ชื่อ RAINER SCHOENFELDER โดยข่าวบอกว่าเขาเปลือยกายเล่นสกีเพราะเขาแพ้พนัน

http://english.newslab.ru/news/210498
Wengen, Switzerland, January 10 – 29-year-old Austrian World Cup skier Rainer Schoenfelder went on a ski run naked, wearing only skis, boots and a helmet. The sportsman appeared on the ski track naked after losing bet to his doctor and did not intend it to become the common news, Lenta.ru reported.

Schoenfelder told on his official web site he had hurt his neck and back in a crash last week and lost the bet with his physiotherapist, who had been treating his injuries. However, the skier proved to be mistrustful enough to have vowed to ski naked if his pains had lessened by Wednesday, January 10.

Schoenfelder said, "Somehow I didn't notice the photographer. It was an internal bet and of course the whole thing wasn't planned for the public."

"I am happy, though, that the pains have eased up and that it was not cold when I honored my debt," he added.

Austria's team coach stated Schoenfelder would not be punished, however, he would have to talk to him.

It is worth mentioning air temperature was 10°C at the famed Lauberhorn downhill course.

--ขอให้น้อง merveillesxx สุขภาพแข็งแรงตลอดจนถึงสอบเสร็จนะคะ

--เคยดูหนังเยอรมันเรื่องนึงที่มีเนื้อหาเหมือนกับ THELMA & LOUISE (A+) มากๆ นั่นก็คือเรื่อง BURNING LIFE (1994, PETER WELZ, B) ไม่แน่ใจว่าหนังเรื่องนี้สร้างขึ้นเพื่ออะไรกันแน่ เพราะเยอรมันไม่น่าจะจำเป็นต้องนำ THELMA & LOUISE มารีเมคใหม่แต่อย่างใด หรือถ้าหากจะบอกว่าเนื้อหาของหนังสองเรื่องนี้มันตรงกันโดยบังเอิญ มันก็เชื่อยากสักเล็กน้อยเพราะเนื้อหามันคล้ายกันมากๆ

In the unified Germany, the aspirant of singer Anna (Maria Schrader) drives her old Russian car to a small town trying to get the job of singer in a bar. Meanwhile, the twenty years old Lisa (Anna Thalbach), who is disturbed with the suicide of her father, arrives in the same town. They meet each other by chance in a bank, where they begin a successful career of bank thieves. A nasty detective from the former German Democratic Republic (East Germany) in charge of the investigation starts a touch chase trying to catch them and destroy the empathy of the population for them

หนังอีกเรื่องที่มีเนื้อหาคล้ายกับ THELMA & LOUISE คือ LEAVING NORMAL (1992, EDWARD ZWICK) แต่ดิฉันยังไม่ได้ดูหนังเรื่องนี้
http://www.imdb.com/title/tt0104697/

--ชอบ THE BARBARIAN INVASIONS ในระดับ A- เพราะไม่ค่อยมีอารมณ์ร่วมกับตัวละครพ่อ-ลูกในหนังเรื่องนี้เท่าไหร่ แต่ชอบหนังเรื่อง JESUS OF MONTREAL (1989, DENYS ARCAND) ในระดับ A
http://www.imdb.com/title/tt0097635/

--อิจฉาน้องมากๆที่มีเวลาอ่านหนังสือหลายเล่ม ส่วนดิฉันนั้นเพิ่งอ่านการ์ตูน “คริสตัลดรากอน เล่ม 16” จบค่ะ

REPETITION BY ALAIN ROBBE-GRILLET

http://filmsick.exteen.com/20070130/eden-and-after?page=1#

พอดีเจอข้อมูลเก่าๆเกี่ยวกับนิยายเรื่อง REPETITION ของ ALAIN ROBBE-GRILLET กับข้อมูลเกี่ยวกับ CLAUDE SIMON ซึ่งเป็นนักประพันธ์ในกลุ่มเดียวกับ ROBBE-GRILLET ก็เลยก้อปปี้มาให้อ่านค่ะ

REPETITION
http://www.amazon.com/Repetition-Novel-Alain-Robbe-Grillet/dp/customer-reviews/0802117368

http://ec1.images-amazon.com/images/P/0802117368.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056491818_.jpg

นิยายเรื่อง Repetition ประพันธ์โดยอแลง ร็อบบ์-กริเยท์ นักเขียน/ผู้กำกับภาพยนตร์แนว nouveau-roman ชื่อดังของฝรั่งเศส โดยนักเขียนในกลุ่มนี้รวมถึงมาร์เกอริต ดูราส์, มิเชล บูตอร์, คล็อด ซิมอง และนาธาลี ซาโรเต

Repetition เป็นนิยายเล่มแรกที่ร็อบบ์-กรีเยท์เขียนหลังจากหยุดเขียนไปนานถึง 20 ปี โดยนิยายเล่มนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรุนแรง, สายลับ และการลวงตา โดยฉากของเรื่องนี้คือกรุงเบอร์ลินในปี 1949 ซึ่งยังคงอยู่ในสภาพทรุดโทรมหลังถูกระเบิดถล่มอย่างหนักในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในขณะที่นักวิจารณ์ให้ความเห็นว่าบรรยากาศในเรื่องนี้คล้ายคลึงกับภาพยนตร์เรื่อง The Third Man ที่กำกับโดยแคโรล รีด และนำแสดงโดยออร์สัน เวลส์ และนิยายเล่มนี้ยังมีการใช้ตัวละครประเภท doppelganger หรือบุคคลที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกันเหมือนกับนิยายของโจเซฟ คอนราดด้วย

ตัวละครเอกของเรื่องนี้คืออองรี โรแบง สายลับของฝรั่งเศสที่ถูกส่งมาปฏิบัติภารกิจลับในเบอร์ลิน ซึ่งเป็นภารกิจที่ลับมากจนแม้แต่ตัวเขาเองยังไม่รู้ว่าจุดประสงค์ของภารกิจนี้คืออะไรกันแน่ และเมื่อเขาขึ้นรถไฟ เขาก็ได้พบกับนักเดินทางคนหนึ่งที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับเขาทุกอย่าง ซึ่งเขาเคยเผชิญปัญหาที่คล้ายๆกันนี้มาแล้วตั้งแต่เด็ก

อองรีปลอมแปลงโฉมตัวเองในการเดินทางครั้งนี้ด้วยการสวมหนวดปลอม และเขาก็ตกใจมากเมื่อนึกขึ้นมาได้ว่าขณะนี้นักเดินทางอีกคนมีรูปร่างหน้าตาเหมือนกับเขามากกว่าตัวเขาเอง เขาเริ่มวิตกว่าปิแอร์ การ์แรง เจ้านายของเขาที่รอรับเขาที่เบอร์ลินอาจเข้าใจผิดว่านักเดินทางคนนี้คือตัวเขา และการ์แรงอาจเปิดเผยความลับที่ไม่ควรเปิดเผยให้คนอื่นรู้

เมื่อเขามาถึงเบอร์ลิน เขาก็เริ่มรู้สึกคลับคล้ายคลับคลาว่าเขาเคยมาที่เมืองนี้มาก่อนแล้ว และในที่สุดเขาก็ค่อยๆนึกออกว่าเขาเคยมาที่เมืองนี้ตอนที่ยังเป็นเด็กพร้อมกับแม่ของเขา นอกจากนี้ อองรียังได้เผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆมากมาย เขาได้เห็นเหตุการณ์ฆาตกรรม และถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตกร และหลังจากนั้นเขาก็พบว่าตัวเองถูกขังอยู่ในร้านขายตุ๊กตา ซึ่งที่จริงแล้วเป็นหน้าฉากสำหรับสถานโสเภณีที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการกับผู้ที่ชอบมีเพศสัมพันธ์กับเด็กในแบบซาดิสม์-มาโซคิสม์

วิลเลียม พาวด์สโตน นักวิจารณ์ของวิลเลจ วอยซ์ตั้งข้อสังเกตว่า Repetition มีการดำเนินเรื่องอย่างรวดเร็ว และมีลักษณะบางอย่างคล้ายภาพยนตร์เรื่อง Memento เนื่องจากอองรีจะตื่นขึ้นทุกเช้าโดยแทบไม่สามารถจดจำสิ่งใดในอดีตได้ นอกจากนี้ เขายังถูกมอมยาและมีปัญหาในการแยกแยะระหว่างความฝัน,ความจริง และความทรงจำ โดยจุดเด่นของหนังสือเล่มนี้คือการใช้เทคนิคการสร้างภาพซ้ำซ้อนในหลายรูปแบบ ตั้งแต่ตัวละครที่เป็นคู่แฝดเหมือน, ตุ๊กตาที่มีลักษณะเหมือนคนจริงๆ, ภาพสะท้อนในกระจก และภาพวาดแบบลวงตา

Repetition ยังมีลักษณะบางอย่างสอดคล้องกับตำนานกรีกโบราณเรื่องอีดิปุสด้วย เนื่องจากอองรีไม่แน่ใจว่าเขาเคยฆ่าพ่อของตัวเองและเคยมีความสัมพันธ์ที่เกินเลยกับแม่ของตัวเองหรือไม่ นอกจากนี้ อองรียังพบว่าตัวเองเริ่มมีปัญหาด้านสายตาคล้ายกับอีดิปุสที่ควักลูกตาของตัวเองในตำนานกรีก

ผลงานการประพันธ์ของร็อบบ์-กริเยท์รวมถึงนิยายเรื่อง The Erasers (1953), The Voyeur (1955), Jealousy (1957), In the Labyrinth (1959), A Regicide (1978), Recollections of the Golden Triangle (1978), Djinn (1981), Ghosts in the Mirror (1987) และหนังสือรวมบทความอย่าง Generative Literature and Generative Art (1983)

ร็อบบ์-กรีเยท์เคยเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง Last Year at Marienbad (1961) ที่กำกับโดยอแลง เรเนส์ และนำแสดงโดยเดลฟีน ซีริก ก่อนจะหันมากำกับภาพยนตร์ด้วยตัวเอง โดยผลงานการกำกับของเขารวมถึงภาพยนตร์เรื่อง L'Immortelle (1963), Trans-Europ-Express (1966), L'Homme Qui Ment (1968) และ Eden and After (1971) ซึ่งทั้ง 4 เรื่องนี้เคยเข้ามาฉายในกรุงเทพในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

บทความเกี่ยวกับภาพยนตร์ของร็อบบ์-กรีเยท์ สามารถอ่านได้จากหนังสือ "ฟิล์มไวรัส" ซึ่งมีขายที่ร้านคิโนะคุนิยะ ชั้น 6 เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์

ร็อบบ์-กริเยท์ซึ่งมีอายุแปดสิบกว่าปีกำกับภาพยนตร์เรื่องใหม่ชื่อ C’EST GRADIVA QUI VOUS APPELLE (2006) ที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่อง Gradiva ของวิลเฮล์ม เยนเสน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับนักโบราณคดีที่ลุ่มหลงในวัตถุโบราณชิ้นหนึ่งจนกระทั่งเขาเห็นภาพหลอนและเกิดอาการผิดปกติทางร่างกาย โดยอาเรียลล์ ดอมบาเซิลจะนำแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้ ในขณะที่แบร์นาร์ด อองรี-เลวี ซึ่งเป็นสามีของดอมบาเซิลจะอำนวยการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้
http://farm1.static.flickr.com/174/375274474_11670f4c16_b.jpg
http://farm1.static.flickr.com/150/375274473_884fb8fc69_b.jpg

ดอมบาเซิลเคยร่วมงานกับร็อบบ์-กริเยท์มาแล้วในภาพยนตร์เรื่อง The Blue Villa (1995) และ La Belle Captive (1983)

ดอมบาเซิลซึ่งเกิดปี 1958 โด่งดังมาจากการรับบทเป็นสาวเซ็กซี่ในภาพยนตร์เรื่อง Pauline at the Beach (1983) ที่กำกับโดยอีริค โรห์แมร์ ส่วนผลงานการแสดงเรื่องอื่นๆของเธอรวมถึง Tess (1979) ที่กำกับโดยโรมัน โปลันสกี, A Good Marriage (1982) ที่กำกับโดยโรห์แมร์, Celestial Clockwork (1993), "The Tree, the Mayor, and the Mediatheque" (1993) ที่กำกับโดยโรห์แมร์, Fado Major and Minor (1994) ที่กำกับโดยราอูล รูอิซ, Three Lives and Only One Death (1996) ที่กำกับโดยรูอิซ, L'Ennui (1998) ที่กำกับโดยเซดริค คาห์น, Time Regained (1999) ที่กำกับโดยรูอิซ, Strong Souls (2001) ที่กำกับโดยรูอิซ และ Deux (2002) ที่กำกับโดยแวร์เนอร์ ชโรเตอร์

รูปของ ARIELLE DOMBASLE จาก NOUVELLE CHANCE (2006, ANNE FONTAINE)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/35/24/18669723.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/35/24/18669731.jpg

รูปของ DOMBASLE จาก WHEN I AM A STAR (2004, PATRICK MIMOUNI)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/50/63/18401945.jpg

รูปของ ARIELLE DOMBASLE + FEODOR ATKINE ใน PAULINE AT THE BEACH (1983, ERIC ROHMER, A+++++)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/47/00/18395972.jpg

รูปของ ARIELLE DOMBASLE + FABRICE LUCHINI จาก PERCEVAL LE GALLOIS (1978, ERIC ROHMER, B+)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/47/59/18396653.jpg



CLAUDE SIMON

ซิมอง ซึ่งเป็นนักเขียนชาวฝรั่งเศสคนสุดท้ายที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ได้เสียชีวิตแล้วขณะอายุ 91 ปี โดยเขาเสียชีวิตในกรุงปารีสในวันพุธที่ 6 ก.ค. 2005แต่เพิ่งมีการเปิดเผยข่าวนี้หลังจากการทำพิธีฝังศพในวันเสาร์

ซิมองเคยแต่งนิยายราว 20 เล่ม เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี 1985 โดยเขาเป็นผู้แต่งหนังสือ 4 เล่ม ซึ่งได้แก่ The Grass, The Flanders Road (1960), The Palace และ History ซึ่งทั้ง 4 เล่มนี้มักพูดถึงตัวละครและเหตุการณ์เดิมซ้ำไปซ้ำมาหลายครั้ง นอกจากนี้ เขายังแต่ง The Wind (1957) ด้วย

THE GRASS (1958)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/2707310743.08._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056552534_.jpg

THE FLANDERS ROAD
http://ec2.images-amazon.com/images/P/2707306290.08._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056552520_.jpg

ซิมองเป็นสัญลักษณ์ของการเกิดใหม่ของวรรณกรรมฝรั่งเศสในช่วงหลังสงคราม และมโนภาพที่ปรากฏอยู่ในนิยายของเขามาจากมโนภาพของผู้ชายที่มีความฝังใจอย่างลึกซึ้งต่อสงครามและต่อความรุนแรงในประวัติศาสตร์

ซิมองเกิดที่มาดากัสการ์ในปี 1913 โดยเขาเป็นลูกชายของทหารบกที่เสียชีวิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาเติบโตขึ้นมาภายใต้การเลี้ยงดูของแม่ในเมืองเปอร์ปิยองทางภาคใต้ของฝรั่งเศส เขาได้ไปเรียนที่กรุงปารีสและได้ไปเรียนต่อที่ออกซ์ฟอร์ดกับเคมบริดจ์ และได้เข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่สอง

ซิมองถูกทหารเยอรมันจับตัวในเดือนพ.ค.ปี 1940 แต่เขาสามารถหลบหนีออกมาได้ เขาได้ไปเข้าร่วมกับหน่วยรบใต้ดินของฝรั่งเศส และเขาแต่งนิยายเล่มแรกที่มีชื่อว่า The Trickster เสร็จในปี 1945 โดยนิยายเล่มนั้นมีเนื้อหาเกี่ยวกับการที่ฝรั่งเศสแพ้สงครามเยอรมนีในปี 1940

ซิมองตั้งรกรากที่เมืองเปอร์ปิยองในเวลาต่อมาและทำอาชีพปลูกองุ่น

งานเขียนของเขามักเน้นนำเสนอเรื่องราวความคงทนของวัตถุสิ่งของและเรื่องราวของผู้คนที่รอดชีวิตมาได้จากเหตุการณ์ปั่นป่วนวุ่นวายในประวัติศาสตร์สมัยใหม่

งานเขียนของซิมองผสมผสานแนวทางการเล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมาเข้ากับบทบรรยายกระแสความคิดในหัวของตัวละคร โดยเขาไม่ได้ใช้เครื่องหมายวรรคตอนระหว่างเล่ากระแสความคิดของตัวละคร และส่งผลให้บางประโยคในหนังสือของเขามีความยาวถึง 1,000 คำกว่าจะจบประโยค อย่างไรก็ดี นักวิจารณ์กล่าวว่างานเขียนของซิมองยังคงเป็นงานเขียนที่น่าอ่านถึงแม้จะดูเหมือนเป็นสิ่งที่น่าจะทำความเข้าใจได้ยากในตอนแรกก็ตาม

THE ACACIA (1989, CLAUDE SIMON)
http://ec2.images-amazon.com/images/P/2707318515.08._SS500_SCLZZZZZZZ_V1073407836_.jpg

THE TROLLEY (2001, CLAUDE SIMON)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/2707317322.08._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056552583_.jpg

INDIA SONG FOR THE SEVENTH TIME

COPY FROM AN E-MAIL I SENT TO SOMEONE

I just had a chance to see INDIA SONG for the seventh time, and EDEN AND AFTER (1970, ALAIN ROBBE-GRILLET, A+++++++++++++++) for the third time in my life. These movies made me glad that I’m still alive today to have a chance to see them again. This time some of my friends also had a chance to see these movies with me, and they also like the movies very much.

I’m still mesmerized by these movies. I also saw a documentary called THE COLOUR OF WORDS: INDIA SONG (1984, JEROME BEAUJOUR + JEAN MASCOLO, A+). It contains the interview of Marguerite Duras, Delphine Seyrig, Michael Lonsdale, and Bruno Nuytten (the cinematographer). It has a lot of useful information about INDIA SONG and the life of DURAS. Have you seen this documentary?

Duras said in the documentary that ANNE-MARIE STRETTER, the character played by Seyrig, was based on a real lady in a French embassy in Indochina. Duras was about 8 years old at that time, and she thought of that lady as her second mother. She liked to observe that lady from afar. Because Duras’ family was very poor, so the embassy never invited this family to any party.

Duras became more impressed with this lady when she learned that a man just committed suicide because of his unrequited love for this lady. At the age of 8, Duras had never known before that a love could be as powerful as that. The knowing of the suicide changed DURAS a lot at that time.

I also watched a lot of DVDs. I just bought a DVD player for the first time in November last year. One of my most favorite DVDs is VIDEOGRAMS OF A REVOLUTION (1992, HARUN FAROCKI, A+++++++++++++++). It is a documentary compiling from many amateur videos shot by Romanian people during the overthrow of CEAUSESCU in 1989. I was stunned by this movie and I cried. This movie shows almost nothing about the brutality of CEAUSESCU regime. It focuses mainly on what happened in a TV station during the revolution, and how the TV people tried to prevent the bloodshed. FAROCKI, the director of this movie, is absolutely amazing.

INTERESTING PROGRAMS IN FEBRUARY

โปรแกรมน่าสนใจประจำเดือนก.พ.

1.STREETWORKS: INSIDE OUTSIDE YOKOHAMA

CHULALONGKORN UNIVERSITY ART CENTRE

2 ก.พ.- 3 มี.ค.
http://www.car.chula.ac.th/art/upcoming/index_th.html

สถานทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ร่วมกับหอศิลปวิทยนิทรรศน์ ภูมิใจเสนอ นิทรรศการศิลปะวีดีทัศน์จากออสเตรเลีย Streetworks: Inside Outside Yokohama โดยพิธีเปิดจะจัดขึ้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 18.30 น. ณ หอศิลปวิทยนิทรรศน์ ชั้น 7 สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท โดยมีเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ฯพณฯ นายวิลเลี่ยม แพทเทอร์สัน เป็นประธานเปิดงาน รวมทั้งภัณฑารักษ์ Mr.David Broker และศิลปิน Craig Walsh ร่วมงาน นิทรรศการเปิดแสดงจนถึงวันที่ 6 มีนาคม 2550

นิทรรศการ Streetworks: Inside Outside Yokohama จัดแสดงผลงานวิดีทัศน์ของศิลปินชาวออสเตรเลียชื่อดังสองคนคือ Shaun Gladwell และ Craig Walsh ผลงานของทั้งสองได้รังสรรค์ขึ้นเพื่อร่วมจัดแสดงในงานเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติในปีพ.ศ. 2548 ซึ่งเทศกาลนี้จัดขึ้นเป็นประจำทุกสามปีที่เมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ผลงานของทั้งสองได้รับการกล่าวขวัญและได้รับความชื่นชมจากผู้ชมอย่างล้นหลาม นิทรรศการนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอตัวอย่างและแนวทางการทำงานวีดีโอทัศน์ของศิลปินออสเตรเลียให้แก่ผู้ชมชาวไทย เพื่อจะได้ชมสร้างความคุ้นเคยและเข้าใจรูปแบบและสไตล์ที่ศิลปินออสเตรเลียใช้วิดีโอในการสื่อสารเรื่องความเป็นตัวตน วิถีชีวิตและสิ่งแวดล้อมรอบตัวผลงานวีดีโอ อินสตอลเลชั่นของ Craig Walsh สร้างขึ้นเพื่อทำให้ผู้ชมได้สร้างความเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ของห้องแสดงนิทรรศการกับสภาพแวดล้อมของเมืองภายนอก ในขณะที่ผลงานของ Shaun Gladwell จะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมข้างถนน เช่นการเล่นสเก็ตบอรด์ การขี่จักรยานบี เอ็ม เอ็กซ์ หรือการเต้นเบรกแดนซ์ แม้ว่าผลงานที่ทำขึ้นจะมีความแตกต่างในด้านรูปแบบการนำเสนอ แต่กลับมีลักษณะร่วมกันคือการที่ศิลปินต้องการสื่อสารเรื่องราว หรือประเด็นต่าง ๆ ที่ยึดโยงอยู่ด้วยกันระหว่างห้องแสดงนิทรรศการและสังคมเมือง โดยในนิทรรศการจะมีงานที่มีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว เช่น การแสดงกับการบันทึกเหตุการณ์ ศิลปะชั้นสูงกับศิลปะด้อยคุณค่า วัฒนธรรมย่อยกับวัฒนธรรมที่อยู่ในความนิยมของกระแสหลัก สี่งที่สร้างขึ้นกับสี่งที่เป็นจริง

ภัณฑารักษ์ David Broker และศิลปิน Craig Walsh จะบรรยายพิเศษในหัวข้อเกี่ยวกับนิทรรศการ และความ สัมพันธ์ระหว่างวีดีโอกับวัฒนธรรมในที่สาธารณะ ที่หอศิลปวิทยนิทรรศน์ เวลา 13.00 น. วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549David Broker เป็นนักเขียนด้านศิลปะ นักจัดรายการวิทยุ และผู้อำนวยการหอศิลป์ร่วมสมัย Canberra Contemporry Art Space ตั้งอยู่ที่กรุงแคนเบอร์รา

นิทรรศการศิลปะวีดีทัศน์ Streetworks: Inside Outside Yokohama จัดขึ้นโดยสถาบันเอเชียลิงค์และหอศิลป์ร่วมสมัย Canberra Contemporry Art Space ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศ และการค้าของออสเตรเลีย และออสเตรเลีย เคาน์ซิล ซึ่งเป็นหน่วยงานให้คำปรึกษาและสนับสนุน เงินทุนแก่วงการศิลปะของรัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศและการค้าแห่งออสเตรเลีย ต่อจากประเทศไทย นิทรรศการนี้จะนำไปจัดแสดงในประเทศมาเลเซียและสิงค์โป


ภาพยนตร์เรื่อง KICKFLIPPER: FRAGMENTS EDIT (2003, SHAUN GLADWELL, A+++++++++++++++) เคยมาเปิดฉายในกรุงเทพในปี 2004


2.DINING THEATRE AT PATRAVADI THEATRE
http://www.patravaditheatre.com/index.php?option=com_events&task=view_detail&agid=12&year=2007&month=02&day=03&Itemid=0


3.CU SHORT FILM FESTIVAL ครั้งที่ 1
http://www.bioscopemagazine.com/web2006/webboard/index-in.php?id=53928
หนังสั้นผลงานของนิสิตจุฬาฯและหนังสั้นต่างประเทศ
โดยกลุ่มภาพยนตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอเชิญชวนนิสิตจุฬาฯและบุคคลทั่วไปที่สนใจภาพยนตร์และหนังสั้นชมหนังสั้นที่เป็นผลงานของนิสิตจุฬาฯและหนังสั้นต่างประเทศโดยกลุ่มภาพยนตร์จะจัดเทศกาลหนังสั้นในวันพุธที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 - วันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2550 โดยในแต่ละวันหมุนเวียนการฉายหนังสั้นที่ได้รวบรวมมาเกือบ 20 เรื่อง และพูดคุยพบปะกับผู้กำกับหนังสั้น (เจ้าของผลงาน) และวิทยากรรับเชิญ

สถานที่ฉายหนัง ณ ห้องมาลัยหุวะนันท์ คณะรัฐศาสตร์ (ติดกับถนนอังรีดูนังต์) เริ่มฉายตั้งแต่เวลา 16.00 - 18.00 น. ตลอดทั้งสามวัน (หนังฉาย 16.30 แต่เปิดลงทะเบียนก่อน) สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ หวูด (อักษรปี 3) 085-503-4525 หรือ ปาล์ม (วิศวะปี 3) 084-015-3337 หรือ อีเมล์มาได้ที่ cu_movie@hotmail.com

รายชื่อหนังทั้งหมดพร้อมเรื่องย่อ
7 กุมภาพันธ์ 2550
นิทานเม่น
ผลงานโดย: ทศพล ทิพย์ทินกร และกลุ่มเยฟิล์ม คณะนิเทศศาสตร์ จุฬา ปี2 ความยาว 9 นาที
รางวัลชนะเลิศ Toyota Dream Award ปี2549
เรื่องราวเกี่ยวกับรักอันไม่สมหวังของเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ผู้ใฝ่ฝันอยากเป็นนักกีฬาทีมชาติ วันหนึ่ง เขาถูกแฟนสาวที่เอาแต่ใจบอกเลิก แต่บางทีการแยกจากกันโดยเก็บความทรงจำดีๆเอาไว้ อาจทำให้แต่ละคนมีอิสระที่จะค้นหาความฝันของตัวเอง

กระดาษสีขาว
ผลงานโดย: อรพิม เชิญชวัญศรี คณะนิเทศศาสตร์ จุฬา ปี 4 ความยาว 20 นาที
ภาพยนตร์ดราม่า อบอุ่นหัวใจ เกี่ยวกับความสัมพันธ์อันร้าวรานของพี่ชายกับน้องสาวที่ทะเลาะกันจนไม่อาจอยู่ร่วมบ้านเดียวกันได้ ทั้งๆที่ใจของทั้งคู่อยากเอ่ยคำขอโทษ แต่ต่างคนต่างปล่อยให้เวลาผ่านเลยไป จนเกือบจะสายเกินไป

อัศวินเสื้อกั๊กส้ม
ผลงานโดย: ฐิติมน มงคลสัวสดิ์ และฐิติวัฒน์ จริยะตระกูลคณะนิเทศศาสตร์ จุฬา ปี 4 ความยาว 5 นาที
แอนิเมชั่น 2 มิติ (ใช้มือวาด) แนวโรแมนติกคอเมดี้ เรื่องของจ๊อด หนุ่มมอเตอร์ไซค์รับจ้างสุดเซอร์ที่หวังเด็ดดอกฟ้า เป็นแฟนกับนักศึกษาสาว เขาจะชนะใจเธอได้อย่างไร อย่าลืมติดตามชม

See
ผลงานโดย: นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์ บัณฑิตจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬา ความยาว 9 นาที
รางวัล: รองชนะเลิศและป็อปปูลาร์โหวต จากงาน Fat Film Festival ปี 2549
รางวัลชมเชย รัตน์ เปสตันยี เทศกาลหนังสั้น 10 มูลนิธิหนังไทย ปี 2549
สารคดีแนวทดลอง เรื่องของชายแก่คนหนึ่งที่นั่งกินข้าวพลางดูทีวีอย่างเดียวดาย ในบ้านอันเงียบเหงา ที่ชนะใจผู้ชมในงาน Fat Festival และการประกวดของมูลนิธิหนังไทย ในปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ ผลงานเรื่องอื่นๆ ของบัณฑิตจากอักษรศาสตร์ผู้นี้ เช่น หนังสั้นเรื่อง Bangkok Tanks ยังได้รับคัดเลือกในงานเทศกาลหนังที่เบอร์ลินอีกด้วย

มารีญา
ผลงานโดย: คณิณ กุลสุมิตราวงศ์ บัณฑิตคณธนิเทศศาสตร์ จุฬา ความยาว 28 นาที
รางวัล: รางวัลดีเด่น Young Thai Artist Award ปี 2549
รางวัลชนะเลิศรัตน์ เปสตันยี เทศกาลหนังสั้น 10 มูลนิธิหนังไทย ปี 2549
ความสัมพันธ์และความเป็นมนุษย์ที่ถูกทำลายลงด้วยอคติระหว่างวัฒนธรรมถูกถ่ายทอดอย่างลึกซึ้งลงในภาพยนตร์เรื่องนี้ มารีญา เป็นเรื่องของเต๋อ เด็กหนุ่มชาวพุทธ และมารีญาหญิงสาวมุสลิม ที่มิตรภาพต้องขาดสะบั้นลง หลังจากที่พ่อของเต๋อเสียชีวิตจากเหตุการณ์รุนแรงในภาคใต้

กำหนดการในวันที่ 7
16.00 เริ่มเปิดลงทะเบียน
16.30 – 18.10 ฉายภาพยนตร์ทั้ง 5 เรื่อง
18.10-18.50 พูดคุยกับเจ้าของผลงานทั้ง 5 เรื่อง

8 กุมภาพันธ์ 2550

Sorry It’s Sold Out
ผลงานโดย: ปัฏฐา ทองปาน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬา ปี 3 ความยาว 10 นาที
รางวัล: รองชนะเลิศ เทศกาลหนังม่านรูด (เทศกาลหนังเกี่ยวกับเพศศึกษา จัดโดยองการณ์ PATH)
หนังตลกน่ารักๆ เรื่องของหญิงสาวผู้หนึ่งทำงานพาร์ท ไทม์ที่ร้านมินิมาร์ต จึงไม่แปลกอะไรที่จะขายถุงยางอนามัยให้กับชายมากหน้าหลายตา แต่วันหนึ่งชายคนที่เธอแอบปลื้มขอซื้อถุงยางบ้าง เธอกลับลำบากใจและพาลวิตกจริต


The Clinic
ผลงานโดย: พิพัฒน์ ศิริเรืองสกุล คณะนิเทศศาสตร์ จุฬา ปี 3 ความยาว 10 นาที
หนังสั้นที่ต้องยกนิ้วให้ในเรื่อง “ความอึด” เพราะถ่ายกัน 10 นาทีรวดโดยไม่มีการสั่ง “คัต”!! The Clinic เป็นหนังตลกร้ายที่พูดถึงชายหนุ่มคนหนึ่งที่ไปเที่ยวผู้หญิงมา จากนั้นเกิดสงสัยว่าตนติดโรค เลยไปให้หมอตรวจร่างกาย หนังสร้างจากแนวคิดที่ว่า “คนเราจะเจออะไรบ้าง ด้วยความไม่รู้”


Saturday Night
ผลงานโดย: วรรณแวว หงส์วิวัฒน์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬา ปี 4 ความยาว 22 นาที
รางวัล: รองชนะเลิศช้างเผือก เทศกาลหนังสั้น 10 มูลนิธิหนังไทย ปี 2549
สารคดีที่พูดถึงบทบาทของนักศึกษากับ “การเมือง” ได้อย่างน่าสนใจ คืนวันเสาร์ คืนที่ใครหลายๆคนเที่ยวเล่นเพื่อผ่อนคลายจากภาระการเรียนที่หนักอึ้ง แต่สำหรับนักศึกษาบางคนกลับอดหลับอดนอนมาทวงสิทธิทางการเมืองของตน ในปี 2549 ยุคที่บ้านเมืองวุ่นวายไปกับ “ระบอบทักษิณ”


Apple Of The Eye
ผลงานโดย: ปวิตร ตรีเมฆ บัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยลาดกระบัง

ความยาว 20 นาที
รางวัล: ได้รับเลือกให้ฉายทางช่องโมเดิน ไนน์ทีวี ในคืนคริสมาต์ ปี 2548
หนังสั้นที่ให้ความรู้สึกดีๆเกี่ยวกับการยอมรับผิดและการให้อภัย ณ คืนคริสต์มาสในโรงเรียนคริสต์แห่งหนึ่ง เด็กหญิงคนหนึ่งกำลังต่อสู้กับตัวเองเพื่อจะยอมรับผิดที่เธอได้ทำให้โรงเรียนต้องขายหน้า กับชายหนุ่ม อดีตศิษย์เก่าของโรงเรียนแห่งนี้ ที่เพิ่งออกจากคุก และต้องการเริ่มต้นชีวิตใหม่ หนังได้สอดแทรกแนวคิดทางคริสต์ศาสนาเข้าไปกับพล็อตเรื่องได้อย่างลงตัว

The Body
ผลงานโดย: ปวิตร ตรีเมฆ บัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยลาดกระบัง

ความยาว 5 นาที
รางวัล: ได้รับเลือกให้ฉายในรายการ Short Fiction ทางช่อง UBC Film Asia
แอนิเมชั่น 3 มิติ ที่พูดถึงการสร้างสันติภาพโลกได้อย่างคมคาย The Body พูดถึงเด็กคนหนึ่งที่จู่ๆแขนทั้งสองข้างของเขาจู่ๆก็ต่อสู่กันเองโดยไร้การควบคุม จากนั้นขาก็เข้ามาร่วมวงด้วย จากนั้นก็ตามมาด้วยสมอง... เขาจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร เช่นเดียวกับ Apple Of The Eye, The Body ใช้แนวคิดทางคริสต์ศาสนามาทำเป็นพล็อตเรื่องได้อย่างน่าสนใจ

กำหนดการในวันที่ 8
16.00 เริ่มเปิดลงทะเบียน
16.30 – 17.45 ฉายภาพยนตร์ทั้ง 5 เรื่อง
17.45-18.30 พูดคุยกับเจ้าของผลงานทั้ง 5 เรื่อง


9 กุมภาพันธ์ 2550

Bjorn – Hurdles of Bureaucracy
ผลงานโดย: Andreas Niessner, Oliver S. Bürgin ควมยาว 14 นาที
รางวัล: รับเลือกให้เข้าฉาย 17 เทศกาลหนังทั่วโลก
8 รางวัลจากการประกวดหนังทั่วโลก
หนังตลกเสียดสีความล่าช้าอืดอาดและเถรตรงตามระเบียบในระบบราชการอย่างเผ็ดร้อนส่งตรงมาจกประเทศเยอรมันนี Bjorn ชายหนุ่มที่ต้องการเดินทางไปเที่ยวตุรกีกับแฟนสาว แต่กลับพบว่าพาสปอร์ตของเขาหมดอายุ เขาจึงต้องรีบไปต่ออายุพาสปอร์ต แต่กลับโดนระบบราชการที่ทำให้คนดูต้องลุ้นระทึกว่าตกลงเขาจะไปทันได้หรือไม่

Dinner At Lee’s Family
ผลงานโดย: Jung Hee-Sung ความยาว 15 นาที
รางวัล: เข้าฉายเทศกาล Puchon International Fantastic Film Festival 2003ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 21 หนังสั้นยอดเยี่ยมประจำปี 2003 จาก Korean Art Film Academy
หนังดราม่าเข้มข้น สะท้อนปัญหาความอึดอัดของผู้หญิงเกาหลีใต้ที่พูดถึงแม่บ้านคนหนึ่งที่เป็นเหมือนทาสในเรือน นอกจากจะต้องทำงานบ้านสายตัวแทบขาดขณะที่เหล่าสามีและลูกชายนั่งดูทีวีอย่างไม่รู้ร้อนรู้หนาวแล้ว เสียงบ่น จิกด่าของพ่อแม่สามีก็ยังคอยตามหลอกหลอนอยู่ไม่เลิก แม้จะผ่านไปนานเท่าไหร่ก็ตามจนพาลให้เธอแทบบ้า

Brokeback to The Future
ผลงานโดย: กลุ่ม Chocolate Cake City ความยาว 2 นาที
หนังสั้นที่ทำอยู่ในรูปของหนังตัวอย่างที่แฟนๆ Back to the Future ทุกคนต้องอุทานว่า “แหม ทำไปได้” หนังเรื่องนี้เป็นการนำช็อตต่างๆของ Back to the Future ทั้งสามภาค มาตัดต่อใหม่ให้เราเข้าใจว่า “มันก็เป็นหนังเกย์ได้เหมือนกัน”

Love Letter
ผลงานโดย: Jeffery Paul ความยาว 5 นาที
แอนิเมชั่นที่เปลี่ยนนามสกุลของคนได้ เมื่อ Jeffery Paul อาจารย์สอนทำแอนิเมชั่นจาก Art Institute of California ทำแอนิเมชั่นที่แสนน่ารักและโรแมนติกเกี่ยวกับตัวเขาเองที่พยายามเขียนจดหมายรักเพื่อขอแฟนแต่งงาน แล้วเขาก็ให้แฟนของเขาดู และมันก็ได้ผลซะด้วย ปัจจุบันกลายเป็นที่ฮือฮาใน Youtube ไปเรียบร้อยแล้ว

Male Restroom Etiquette
ผลงานโดย: Overman ความยาว 10 นาที
รางวัล: 3 รางวัลจากหลายๆเทศกาลหนัง Machinima
แอนิเมชั่นแนวใหม่ล่าสุด ที่ทำให้สาวกเกมทั้งหลายได้เป็นผู้กำกับหนัง เมื่อเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถนำภาพเคลื่อนไหวจากในเกมมาตัดต่อและดัดแปลงให้กลายเป็นหนังเป็นเรื่องเป็นราวได้สำเร็จ หนังเรื่องนี้ก็เช่นกันเมื่อนาย Overman จาก นำภาพจากเกมดัง “The Sims2” มาทำเป็นหนังสารคดีแบบฮาๆเกี่ยวกับมารยาทการใช้ห้องน้ำชาย

Das Rad
ผลงานโดย: Chris Stenner และทีมงาน ความยาว 9 นาที
รางวัล: เข้าชิงออสการ์สาขาภาพยนตร์แอนิเมชั่นขนาดสั้นยอดเยี่ยมี 2003 และอีก 26 รางวัลจากเทศกาลหนังทั่วโลกรับเลือกให้เข้าฉาย 8 เทศกาลหนังทั่วโลก
แอนิเมชั่นจากเยอรมันที่ผสมผสานการทำแอนิเมชั่นแบบ Stop Motion และคอมพิวเตอร์กราฟฟิคได้อย่างลงตัว เป็นเรื่องราวของหิน 2 ก้อน Hew และ Kew ที่เฝ้ามองดูโลกของเราเปลี่ยนแปลงไป เป็นเวลานับล้านๆปี จากยุคหินสู่ยุคอวกาศ ที่สุดท้ายทุกอย่างล้วนเป็นอนิจจัง

Inja (dog)
ผลงานโดย: Steven Pasvolsky ความยาว 15 นาที
รางวัล: เข้าชิงออสการ์สาขาภาพยนตร์สั้นยอดเยี่ยมปี 2003 และรางวัลชนะเลิศอื่นๆจากการประกวดหนังสั้นโลกอีก 6 รางวัลรับเลือกให้เข้าฉาย 23 เทศกาลหนังทั่วโลก
หนังดราม่าเรื่องเยี่ยมจากออสเตรเลีย เรื่องของเด็กน้อยชาวแอฟริกาใต้คนหนึ่งทำงานเป็นคนงานในฟาร์มของคนผิวขาว ชายผู้นั้นเลี้ยงหมาไว้ตัวหนึ่ง เด็กน้อยกับเจ้าหมาน้อยนั่นสนิทกันมาก แต่ความสัมพันธ์ของคนกับหมาต้องจบลง เมื่อเจ้าของต้องการให้สุนัขของตนดุ และไม่ไว้ใจใครนอกจากตัวเขาเอง จนนำไปสู่เรื่องราวที่แสนเศร้าในตอนท้าย

กำหนดการในวันที่ 9
16.00 เริ่มเปิดลงทะเบียน
16.30 – 17.40 ฉายภาพยนตร์ทั้ง 7 เรื่อง
17.45-18.30 ร่วมเสวนากับวิทยากรและคนดู




4.STUTTGART BALLET 8-9 ก.พ.
http://www.thaiticketmaster.com/events/stuttgart-ballet.php


5.DOC FEST ทุกวันจันทร์ที่นิเทศ จุฬา
http://www.bioscopemagazine.com/web2006/webboard/index-in.php?id=53914

ขอเชิญชมเทศกาลภาพยนตร์สารคดี ที่จุฬาฯ
Doc. Fest I
5 ก.พ. รวมผลงานภาพยนตร์สารคดีนิสิตปี 2548
อาทิเช่น Shit Happen, Space Between, etc.

12 ก.พ. Crazy about Sports:
โลกประราชญ์
Total Bangkok

19 ก.พ. Defining Home:
กลับบ้าน
เรื่องเล่าจากเมืองเหนื
อพร้อมพูดคุยนักทำหนังสารคดีเจ้าของผลงานทั้ง 2 เรื่องและโสรยา นาคะสุวรรณเจ้าของผลงาน Final Scoreในหัวข้อ “อะไรคือหนังสารคดี”

26 ก.พ. Asian Documentary:
Mother,
10 minutes
Singapore

Neon Goddesses,
46 minutes
Hong Kong

Spirit of 8,
50 minutes
Taiwan

Jump! Boys,
90 minutes
Taiwan

พร้อมพูดคุยนักทำหนังสารคดี ธัญสก พันสิทธิวรกุล

6 มี.ค. The Life of the Others (Migrants and Foreign Workers):

Along the Road (2005, 79 min., Finland)
4 ภาพยนตร์สารคดีผลงานนิสิตปี 2549
เริ่มฉายเวลา 16.30 ณ ห้องดร.เทียม, ชั้น 4 ตึก 1 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

6.ละครเวที THE WOMAN IN BLACK
http://www.thaiticketmaster.com/events/women-in-black.php


7.โปรแกรมหนังวันพุธที่สถาบันเกอเธ่
http://www.goethe.de/ins/th/ban/en907574.htm


8.โปรแกรมหนังวันพฤหัสบดีที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
http://library.tu.ac.th/staff/user4/songyod/Feb07.htm


9.โปรแกรมหนังวันศุกร์ที่ JAPAN FOUNDATION
http://www.jfbkk.or.th/event/Theater_200702_eg.html


10.โปรแกรมหนังวันเสาร์ที่สมาคมฝรั่งเศส
http://www.alliance-francaise.or.th



11.โปรแกรมหนังวันอาทิตย์ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
http://filmsick.exteen.com/20070129/filmvirus

SILENT RUSSIAN FILMS

http://livefromcalarts.blogspot.com/2007/01/visiting-artist-ernie-gehr.html

กลอนของน้อง BOAT

They’re simple.They’re silent.But listen closely,and you can hear stories floating in the air.Like whispers.....

กลอนของ MDS

THEY’RE SLIM
THEY’RE SOFT
BUT SMELL CLOSELY
AND YOU CAN SENSE SOME BLOOD FLOATING IN THE AIR
LIKE ผ้าอนามัย WHISPER


ดีวีดีหนังเงียบรัสเซียใน amazon.com

หลายเรื่องในจำนวนนี้อาจจะหาซื้อได้ในกรุงเทพ (จตุจักรหรือสีลม)

1.STORM OVER ASIA (1928, VSEVOLOD PUDOVKIN, A+)

2.MOTHER (1926, VSEVOLOD PUDOVKIN, A)

3.THE CAMERAMAN’S REVENGE (1912, WLADYSLAW STAREWICZ)
หนังการ์ตูนความยาว 12 นาที
http://www.amazon.com/Cameramans-Revenge-Other-Fantastic-Tales/dp/B00004Y7HC/sr=1-2/qid=1170216236/ref=pd_bbs_sr_2/102-3194000-6793752?ie=UTF8&s=dvd
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B00004Y7HC.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056677165_.jpg


4.MAD LOVE – THREE FILMS BY EVGENII BAUER
ดีวีดีหนังเรื่องนี้ประกอบด้วยหนัง 3 เรื่อง ซึ่งได้แก่
4.1 TWILIGHT OF A WOMAN’S SOUL (1913, EVGENII BAUER)
4.2 AFTER DEATH (1915, EVGENII BAUER)
4.3 THE DYING SWAN (1916, EVGENII BAUER)
http://www.amazon.com/Mad-Love-Films-Evgeni-Bauer/dp/B0000E69HD
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B0000E69HD.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1068107967_.jpg


5.STRIKE (1924, SERGEI EISENSTEIN)


6.BY THE LAW (1926, LEV KULESHOV)
อันนี้ออกเป็นวิดีโอที่เมืองนอก
http://www.imdb.com/title/tt0017271/
http://www.cduniverse.com/productinfo.asp?pid=1187489&style=movie&BAB=M

Lev Kuleshov, who is credited by Eisenstein and Pudovkin with having taught them the elements of montage, might have been influenced by the latter in his choice of this material, which was a grim Jack London short story ("The Unexpected"). Set in the Yukon in the late 19th century, the film focuses on a gold prospector suffering from cabin fever who has killed two of his partners over his cut of the haul. His remaining partner and the partner's wife tie up the wounded murderer, waiting until they can turn him in. Intended as a critique of capitalism, the film features extraordinary montage and lighting effects.

หนังสารคดีเรื่อง FROM THE JOURNALS OF JEAN SEBERG พูดถึง LEV KULESHOV ด้วยเหมือนกัน
http://www.amazon.com/gp/product/B00000I21P/imdb-adbox/
http://ec2.images-amazon.com/images/P/B00000I21P.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056646218_.jpg


7.CHESS FEVER (1925, VSEVOLOD PUDOVKIN + NIKOLAI SHPIKOVSKY)

With an international chess tournament in progress, a young man becomes completely obsessed with the game. His fiancée has no interest in it, and becomes frustrated and depressed by his neglect of her, but wherever she goes she finds that she cannot escape chess. On the brink of giving up, she meets the world champion, Capablanca himself, with interesting results.


8.THE GIRL WITH THE HAT BOX (1927, BORIS BARNET)
http://www.amazon.com/exec/obidos/ASIN/B0002A2W9U/imdb-button/
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B0002A2W9U.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1087233632_.jpg

Natasha and her grandfather live in a cottage near Moscow, making hats for Madame Irene. Madame and her husband have told the housing committee that Natasha rents a room from them; this fiddle gives Madame's lazy husband a room for lounging. The local railroad clerk, Fogelev, loves Natasha but she takes a shine to Ilya, a clumsy student who sleeps in the train station. To help Ilya, Natasha marries him and takes him to Madame's to live in the room the house committee thinks is hers. Meanwhile, Madame's husband pays Natasha with a lottery ticket he thinks is a loser, and when it comes up big, just as Ilya and Natasha are falling in love, everything gets complicated


9.THE END OF ST. PETERSBURGH (1927, VSEVOLOD PUDOVKIN)

A peasant comes to St. Petersburg to find work. He unwittingly helps in the arrest of an old village friend who is now a labor leader. The unemployed peasant is also arrested and sent to fight in World War I. After three years, he returns ready for revolution.

http://www.amazon.com/gp/product/B00008WJBZ/ref=pd_cp_d_title/102-3194000-6793752
http://ec2.images-amazon.com/images/P/B00008WJBZ.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1057248685_.jpg


10.OCTOBER (1928, SERGEI EISENSTEIN + GRIGORI ALEKSANDROV)

In documentary style, events in Petrograd are re-enacted from the end of the monarchy in February of 1917 to the end of the provisional government and the decrees of peace and of land in November of that year. Lenin returns in April. In July, counter-revolutionaries put down a spontaneous revolt, and Lenin's arrest is ordered. By late October, the Bolsheviks are ready to strike: ten days will shake the world. While the Mensheviks vacillate, an advance guard infiltrates the palace. Anatov-Oveyenko leads the attack and signs the proclamation dissolving the provisional government.

http://www.amazon.com/October-Days-That-Shook-World/dp/6305186774/sr=1-1/qid=1170216656/ref=pd_bbs_sr_1/102-3194000-6793752?ie=UTF8&s=dvd

http://ec1.images-amazon.com/images/P/6305186774.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1122575292_.jpg


11.ARSENAL (1929, ALEXANDER DOVZHENKO)

The Great War (World War I) has brought devastation, heartache, and hardship to the Ukrainian people. Their soldiers, likewise, have faced horrors from the enemy and threats from their own officers. One recently demobilized Ukrainian solider, Timosh, returns home after surviving a train wreck, and arrives during a celebration of Ukrainian freedom. But Timosh begins to challenge the local authorities, and then, at the All-Ukrainian Congress, he calls for the soviet system to be adopted. In Kiev's Arsenal munitions plant, where Timosh has worked, feelings are running especially high.

http://www.amazon.com/Arsenal-Silent-B-W-Sub/dp/B00007L4MH/sr=1-3/qid=1170214718/ref=pd_bbs_sr_3/102-3194000-6793752?ie=UTF8&s=dvd
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B00007L4MH.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056766942_.jpg


12.EARTH (1930, ALEXANDER DOVZHENKO)


13.HAPPINESS (1930, ALEXANDER MEDVEDKIN)

A hapless loser (with the surname of Loser) undergoes misadventures with avaracious clergy, a tired horse, and a walking granary (among other things) on his road to collectivized happiness.

http://www.amazon.fr/gp/product/B0007MYPPM/imdb-fr-20/
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B0007MYPPM.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V37238979_.jpg

CHRIS MARKER เคยกำกับหนังเรื่อง THE LAST BOLSHEVIK (1992, A++++++++++) เพื่ออุทิศให้ ALEXANDER MEDVEDKIN
http://www.imdb.com/title/tt0105618/


ตอนนี้ที่เทศกาลภาพยนตร์รอตเตอร์ดัมมีการฉายหนังเงียบของรัสเซียด้วย ซึ่งรวมถึงเรื่อง

1.ALCOHOLISM AND ITS ILL EFFECTS (1913, KHANZHONKOV STUDIOS)
http://www.filmfestivalrotterdam.com/filmdb/380/b29ac18d-4432-4c5c-bd1d-1db766b25d89.jpg

Alcoholism and its Ill-Effects was considered to be one of the most popular science propaganda (or educational) films produced in Russia before the revolution of 1917. Alexander Khanzhonkov, the most prominent Russian film producer of that era, financed a special department dedicated to non-fictional cinema, despite the fact that such films were not commercially successful. Unfortunately, not a single copy of the film has survived to the present day. All that remains are 12 frames, which were used by Izvolov to create this reconstruction. He also used extracts from critical reviews, published at the time of the film’s release, to produce a soundtrack.

2. THE PROJECT OF ENGINEER PRITE (1918, LEV KULESHOV)

Short Russian feature from 1918 about the life and work of Engineer Prajt. Filled with scientific secrets and puzzles and always the target for various interpretations, commentaries and theories in Russia.

This is the debut film by Lev Kuleshov (1899–1970), who later became a classic Soviet film director and is particularly known for the invention of the famous editing method now known as the Kuleshov Effect. This film presented a host of scientific mysteries and puzzles which had to be solved during Izvolov’s reconstruction. The film has been the subject of numerous interpretations, commentaries and scientific theories. This is precisely why it was chosen as suitable material for demonstration of the new method of Digital Academic Film Commentary at work.

Wednesday, January 24, 2007

WHEN WILL I SEE YOU AGAIN? (TOSSAPOL BOONSINSUKH, A+)

ตอบคุณ FILMSICK

อาถรรพณ์ INDIA SONG

--ไม่รู้ว่าคุณ FILMSICK จงใจหรือไม่ได้ตั้งใจ แต่ในวันเสาร์ที่ 13 ม.ค. คุณ FILMSICK ได้ส่ง sms มาหาดิฉันว่า DID YOU GO TO VISIT MARGUERITE DURAS TOMORROW?

ประโยคข้างบนอาจจะผิดหลักไวยากรณ์ เพราะมีการใช้คำว่า DID และ TOMORROW ในประโยคเดียวกัน แต่ในความเห็นส่วนตัวของดิฉัน ประโยคนี้ถือเป็นการเขียนที่ถูกต้องที่สุด เพราะเมื่อใดก็ตามที่คุณพูดถึงหนังของมาร์เกอริต ดูราส์ คุณก็ควรจะใช้ประโยคที่มีทั้งอดีต, ปัจจุบัน, อนาคตอยู่ภายในประโยคเดียวกัน จนไม่รู้ว่าผู้พูดและผู้ฟังอยู่ในจุดเวลาใดกันแน่

ไม่รู้ว่าคุณ FILMSICK จงใจเขียนแบบนั้นเองหรือเปล่า แต่ถ้าหากคุณ FILMSICK ไม่ได้ตั้งใจเขียนแบบนั้น ประโยคนี้ก็คงจะเกิดจากอาถรรพณ์ของหนังเรื่อง INDIA SONG ที่สามารถทำให้สมองของคุณ FILMSICK หลุดเข้าไปในห้วงเวลาพิศวงตั้งแต่ก่อนดูหนังเรื่องนี้ ฮ่าๆๆๆ

--เนื้อหาในหนังสารคดีเรื่อง THE COLOUR OF WORDS: INDIA SONG บ่งบอกว่า MARGUERITE DURAS อาจจะมีส่วนร่วมกับตัวละครหญิงขอทานจริงๆด้วยค่ะ เพราะ MARGUERITE DURAS ได้รับแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งในการสร้าง INDIA SONG มาจากประสบการณ์ในวัยเด็กของเธอเองในช่วงที่อยู่อินโดจีน ในตอนนั้นครอบครัวของเธอยากจนมาก และแม่ของเธอก็เป็นเพียงครูจนๆที่ต้องสอนเด็กๆเอเชีย และส่งผลให้ถึงแม้ว่าดูราส์จะเป็นเด็กหญิงชาวฝรั่งเศส เธอก็ถูกจัดแบ่งชนชั้นว่าเป็นเหมือนกับเด็กเอเชียจนๆคนหนึ่ง ครอบครัวของเธอไม่เคยได้รับเชิญให้ไปร่วมงานเลี้ยงอันหรูหราในสถานทูตฝรั่งในช่วงนั้นเลย ดังนั้นดูราส์ในวัยเด็กจึงได้แต่แอบมองงานเลี้ยงในสถานทูตอยู่ห่างๆจากข้างนอกรั้ว สถานะของดูราส์ในวัยเด็กจึงไม่แตกต่างจากหญิงขอทานแต่อย่างใด

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวละครหญิงขอทานก็คือ ดูราส์บอกว่าตัวละครทุกคนใน INDIA SONG เป็น TRAGEDY หมด ยกเว้นตัวละครหญิงขอทาน เพราะตัวละครตัวนี้ BEYOND TRAGIC

ถ้าเข้าใจไม่ผิด ผู้ให้เสียงเป็นหญิงขอทานเป็นนักศึกษาจากลาว และดูราส์บอกว่าเสียงหญิงขอทานนี้เฮี้ยนมากๆ เพราะเธอเคยนำเสียงนี้มาเปิดให้กองถ่ายฟังหลายครั้ง แต่เมื่อใดก็ตามที่เธอเปิดเสียงหญิงขอทานขึ้นมา ทุกคนในกองถ่ายก็จะเหมือนตกอยู่ใต้มนต์สะกด และไม่สามารถทำงานอะไรได้ นอกจากต้องหยุดอยู่นิ่งๆเมื่อได้ยินเสียงนี้

เหตุการณ์ใน INDIA SONG หลายๆอย่างดัดแปลงมาจากเหตุการณ์ในชีวิตของ DURAS ช่วงที่อยู่อินโดจีน แต่ดูราส์เปลี่ยนสถานที่เกิดเหตุการณ์ให้เป็นกัลกัตตาแทน

ตัวละคร ANNE-MARIE STRETTER นั้นก็ดัดแปลงมาจากสตรีสูงศักดิ์และทรงเสน่ห์คนหนึ่งที่เป็นเจ้าแม่อยู่ในสถานทูตในยุคนั้น ดูราส์ได้แต่แอบมองผู้หญิงคนนี้อยู่ห่างๆในวัยเด็ก และดูราส์ซึ่งขณะนั้นมีอายุราว 8 ขวบก็ตกใจมากเมื่อได้รู้ว่ามีผู้ชายคนนึงฆ่าตัวตายเพราะผิดหวังในความรักที่มีต่อ ANNE-MARIE STRETTER เหตุการณ์นั้นทำให้ดูราส์ช็อคมาก เพราะดูราส์ซึ่งมีอายุ 8 ขวบในตอนนั้นไม่เคยรู้มาก่อนว่าความรักมันจะทรงอานุภาพได้มากขนาดนี้

ถ้าเข้าใจไม่ผิด หลังจากดูราส์เริ่มแต่งนิยายเกี่ยวกับ ANNE-MARIE STRETTER แล้ว ลูกสาวของ ANNE-MARIE STRETTER ตัวจริงก็ได้เขียนจดหมายติดต่อกับดูราส์ด้วย โดยบอกว่าตอนนี้เธอ (ในหนังใช้คำว่า she ซึ่งดิฉันไม่แน่ใจว่าหมายถึง ANNE-MARIE STRETTER หรือลูกสาว) มีอายุ 90 กว่าปีแล้ว และเธอยังคงจำเด็กผู้หญิงอายุ 8 ขวบกับแม่ม่ายจนๆที่ไม่เคยได้รับเชิญให้มาร่วมงานเลี้ยงสถานทูตได้

ดูราส์บอกว่า ANNE-MARIE STRETTER ตัวจริงเปรียบเหมือนกับเป็น “แม่” อีกคนนึงของดูราส์ เพราะดูราส์ในตอนเด็กคงมองว่าผู้หญิงคนนี้เป็นแม่แบบที่น่าเกรงขามและสง่างามกว่าแม่จริงๆของตัวเอง

ดิฉันไม่ทันได้สังเกตเลยว่า คนดูจะไม่ได้ยินเสียงของ MICHAEL RICHARDSON เลยตลอดหนังเรื่องนี้ โดยคนดูจะได้เห็นเพียงแค่ IMAGE ของเขาเท่านั้น แต่เขาจะไม่มี VOICE ในหนังเรื่องนี้

การแสดงของ INDIA SONG เป็นการแสดงแบบที่ประหลาดกว่าหนังทั่วไป เพราะนักแสดงจะไม่ได้ทำให้ “ตัวละคร” ปรากฏขึ้นมาแบบในหนังทั่วๆไป พวกเขาไม่ได้แสดงเป็นตัวละครแบบ 100 % เต็ม แต่จะแสดงความเป็นตัวเองออกมาด้วย

DELPHINE SEYRIG และ MICHAEL LONSDALE ร่วมให้สัมภาษณ์ในหนังสารคดีเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน โดย SEYRIG บอกว่าเธอเองก็ไม่ได้เข้าถึงความเป็น ANNE-MARIE STRETTER ของ DURAS มากนัก แต่เธอใช้ประสบการณ์ของตัวเองในดินแดนอาณานิคมเข้าช่วยในการทำความเข้าใจกับตัวละครตัวนี้ในแบบของเธอเอง

ทั้ง SEYRIG และ LONSDALE บอกว่าการแสดงในหนังเรื่องนี้มีอย่างนึงที่สบายกว่าการแสดงหนังเรื่องอื่นๆ เพราะหนังเรื่องนี้ไม่ได้บันทึกเสียงจริงในระหว่างการแสดง ดังนั้นนักแสดงจึงไม่ต้องระมัดระวังเรื่องเสียงมากนักในระหว่างการแสดง

ในระหว่างการแสดงหนังเรื่องนี้ นักแสดงจะได้ฟังเสียงดนตรีบางอย่างตลอดเวลา และนักแสดงก็จะใช้ดนตรีนั้นในการทำอารมณ์ และแสดงออกตามอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากเสียงดนตรีนั้น โดยที่ผู้ชมจะไม่ได้ยินเสียงดนตรีเดียวกับที่นักแสดงได้ยินแต่อย่างใด

หลักการสำคัญในการสร้างหนังของดูราส์ก็คือการจงใจไม่มี psychology และดูราส์บอกให้นักแสดงของเธอไม่คิดถึง “แรงจูงใจ” ของตัวละคร แต่ให้แสดงออกตามบทไปเลยโดยไม่มีแรงจูงใจ และนักแสดงอย่างเช่น LONSDALE ก็บอกว่าวิธีการแสดงแบบ ACTION FIRST, MOTIVATION LATER นี้ กลับทำให้เขาเข้าถึงต้วละครได้อย่างน่าประหลาดมาก

อีกจุดนึงที่ประหลาดใจมากๆก็คือว่า เสียงตะโกนกรีดร้องของ MICHAEL LONSDALE ในหนังเรื่องนี้นั้น ไมได้เกิดจากความตั้งใจล่วงหน้า แต่เกิดจากการที่อยู่ดีๆ LONSDALE ก็รู้สึกขึ้นมาอย่างฉับพลันว่า เขาต้องการจะกรีดร้องโหยหวนให้สุดเสียง และดิฉันก็รู้สึกว่าเสียงกรีดร้องของเขามันบาดลึกถึงจิตวิญญาณมากๆ

อีกหนึ่งประโยคของ DURAS ที่ดิฉันชอบสุดๆคือ

“I APPROACH CINEMA WITH THE INTENTION TO MURDER IT.”

มีการจัดเทศกาลภาพยนตร์ MARGUERITE DURAS ตามต่างประเทศด้วย ดูรายละเอียดได้ที่
http://fiaf.org/french%20film/winter2006/2006-01-marguerite-duras-films.shtml


--copy from filmsick’s blog
http://filmsick.exteen.com/20070122/afternoon-time

AFTERNOON TIME (2005, TOSSAPOL BOONSINSUKH, A+++++)

ขอบคุณมากค่ะที่คุณ FILMSICK เขียนถึงหนังเรื่อง AFTERNOON TIME เขียนได้ดีสุดๆเลยค่ะ ดิฉันได้ print ความเห็นนี้เก็บเอาไว้เลย

คุณอ้วนเคยแสดงความเห็นเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ และเคยลงรูปประกอบหนังเรื่องนี้ไว้ใน SCREENOUT หน้า 116 ค่ะ
http://xq28.net/s/viewtopic.php?t=3437&start=2875


ตอนนี้ได้ดูหนังของคุณทศพล บุญสินสุขไปรวมกันแล้ว 19 เรื่องค่ะ ได้แก่เรื่อง

1.AFTERNOON TIME (2005, A++++++++++)
หนังที่ชอบที่สุดในปี 2005 ของใครบางคนใน SENSES OF CINEMA
http://www.sensesofcinema.com/contents/06/38/world_poll3.html#Phokaew

2.LIFE IS SHORT 2 (2006, A++++++++++)

3.SHE IS READING NEWSPAPER (2005, A++++++++++)

4.ห้ามอุ่นไข่ในไมโคเวฟเดี๋ยวระเบิดตูม! (2005, A+++++)

5.NICE TO MEET YOU (2005, A+++++)

6.NUAN (A+++++)

7.แล้วเมื่อไหร่เราจะได้พบกันอีกเสียที (WHEN WILL I SEE YOU AGAIN?) (2006, A+++++)

คุณธีพิสิฐ มหานีรานนท์ ดารานำชายของภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงได้อย่างน่ารักมากๆ

8.THE AUDIENCE (2005, A+)

9.ROOM:FIELD (2006, A+)

10.BETWEEN US IN ONE MORNING (2006, A+)

ชอบสิ่งที่ปรากฏตอนท้าย ending credit ของหนังเรื่องนี้มาก มันทำให้ความรู้สึกที่มีต่อตอนจบของเรื่องพลิกกลับไปในอีกทางนึงในทันที ถือได้ว่าเป็นการ “หักมุม” ที่ถูกใจดิฉันมากๆ ถึงแม้ดิฉันจะไม่แน่ใจว่าดิฉันเข้าใจหนังเรื่องนี้ถูกต้องหรือเปล่า

11.เธอจะคิดถึงฉันบ้างใช่ไหม (ARE YOU GONNA MISS ME?) (2006, A+)

ชอบการแสดงของนางเอกภาพยนตร์เรื่องนี้มากๆ

12.MISSING YOU (2005, A+)

13.UMBRELLA (2005, A+)

14.CHICKEN SMILE (2005, A+)

15.I’M SORRY (2003, A+)

16.NO ONE AT THE SEA (2005, A+)

17.THE LAST SKY PASSENGER (2004, A)

18. .__.__.__.__. (A)

19.DANCE TOGETHER (A-/B+)
หนังที่ถ่ายโดยใช้โทรศัพท์มือถือ


--ดิฉันมีความเห็นต่างจากคุณ filmsick เล็กน้อยค่ะ เพราะดิฉันชอบการแสดงของนางเอกหนังเรื่องนี้มากพอสมควร ถึงแม้มันอาจจะไม่ใช่การแสดงที่ดีในแบบหนังทั่วไป เพราะดิฉันคิดว่าการแสดงแบบนี้มันเป็นเสน่ห์แบบที่มักพบได้ในหนังนักศึกษาของไทยค่ะ การแสดงแบบที่มักพบในหนังนักศึกษาของไทยไม่ใช่การแสดงแบบที่สมจริงสุดๆ แต่มันมีเสน่ห์น่ารักๆในแบบของมันเอง การแสดงของนางเอกหนังเรื่องนี้มีอยู่สองช่วงที่ดิฉันชอบมาก ซึ่งก็คือช่วงที่เธอพบกับคนส่งขนมปัง ตอนนั้นเธอทำอาการขัดเขิน เหมือนกับไม่รู้ว่าจะทำหน้ายังไงดี ไม่รู้ว่าจะพูด หรือไม่รู้ว่าควรจะทำกิริยายังไงดี ส่วนอีกช่วงก็คือช่วงที่คนส่งขนมปังหายหน้าไปหลายเดือน และเธอต้องเช็ดกระจกรอคอยด้วยอารมณ์ที่หม่นหมองมากๆ

อย่างไรก็ดี หนังเรื่อง AFTERNOON TIME ก็อาจจะมีจุดบกพร่องอยู่หลายจุด โดยเฉพาะการบันทึกเสียง ส่วนการแสดงนั้นก็อาจจะไม่ได้ดีสุดๆมากนัก ซึ่งดิฉันเดาว่าสาเหตุนึงเป็นเพราะว่าคุณทศพลถ่ายซ่อมได้ยาก เพราะ

1.นักแสดงเป็นเพื่อนๆด้วยกันเอง ซึ่งถ้าหากเพื่อนไม่ว่าง ก็ไม่สามารถบังคับให้มาถ่ายซ่อมได้

2.ฉากที่เป็นลองเทค อย่างเช่นฉากเก็บกระดาษ เป็นฉากที่ถ้าหากต้องถ่ายใหม่แล้ว ทีมงานคงจะต้องเหนื่อยมากๆ เพราะฉะนั้นในบางจุดก็เลยอาจจะต้องมีการปล่อยเลยตามเลยไปบ้าง


--พูดถึงหนังช้าๆของไทยแล้ว นอกจาก AFTERNOON TIME หนังไทยกลุ่ม “ช้าๆได้พร้าสองเล่มงาม” ยังมีเช่น

1.BIRTH OF THE SEANEMA (2004, SASITHORN ARIYAVICHA, A++++++++++)

2.ROUGH NIGHT (2001, SAMART IMKHAM, A++++++++++)

3.WINDOWS (1999, APICHATPONG WEERASETHAKUL, A++++++++++)

4.MARCH OF TIME (2000, URUPHONG RAKSASAD, A++++++++++)

5.EVERYTHING WILL FLOW (2000, PUNLOP HORHARIN, A+++++)

6.แม่นาค (1997, PIMPAKA TOWIRA, A+++++)

7.PRIVATE LIFE (2000, THUNSKA PANSITTIVORAKUL, A+)

8.VIOLET BASIL (2005, SUPAMOK SILARAK, A+)

9.SPACE (2005, SATHIT SATTARASART, A+)

10.SEE (2006, NAWAPOL THAMRONGRATTANARIT, A+)

--เห็นชื่อหนัง “แล้วเมื่อไหร่เราจะได้พบกันอีกเสียที” ของคุณทศพลแล้ว ทำให้นึกถึงเพลง WHEN WILL I SEE YOU AGAIN ของวง BROTHER BEYOND

ดูมิวสิควิดีโอเพลงนี้ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=R0_KyaaepCE

SAMI FREY

ตอบคุณ pc

--ดิฉันเคยซื้อวีซีดีหนังของ KEN RUSSELL มาราว 3 เรื่องเป็นเวลานานหลายปีแล้ว แต่จนป่านนี้ยังไม่ได้หยิบมาดูซักที แต่ยังไม่ได้ซื้อ THE DEVILS กับ WOMEN IN LOVE มาดูค่ะ


--ขอบคุณมากค่ะสำหรับความเห็นที่มีต่อดิฉัน ดิฉันเองก็รู้สึกดีเป็นอย่างมากค่ะที่ได้อ่านความเห็นต่างๆของคุณ pc ในเว็บบอร์ดนี้ และความเห็นของคุณก็ช่วยให้ดิฉันมีความเชื่อมั่นในบางเรื่องเพิ่มมากขึ้นด้วย

--ส่วนเรื่อง VILLAGE VOICE นั้น ตอนนี้ยังมีนักวิจารณ์เสาหลักคือ J. HOBERMAN ทำงานอยู่ต่อไปค่ะ ในขณะที่ NATHAN LEE จาก FILM COMMENT ก็เข้ามาร่วมงานใน VILLAGE VOICE ด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ ED HALTER ก็ยังคงเขียนสิ่งที่น่าสนใจลงใน VILLAGE VOICE ต่อไป โดยล่าสุดนี้เขาเขียนถึงเทศกาลภาพยนตร์ FEEDBACK ที่ MOMA ในนิวยอร์ค
http://www.villagevoice.com/film/0704,halter,75625,20.html
http://www.moma.org/exhibitions/film_media/2007/Feedback.html#1

เทศกาลภาพยนตร์ FEEDBACK นี้นำเสนอวิดีโอเกี่ยวกับศิลปินหลายคน อย่างเช่น

1.JOAN MITCHELL (1926-1992)
http://www.robertmillergallery.com/Book%20Covers/Mitchell.ptgs.jpg

1.1 ภาพ UNTITLED (1956, JOAN MITCHELL)
http://www.uky.edu/ArtMuseum/luce/Top50/50/images/Mitchell_jpg.jpg

1.2 ภาพ LUCKY SEVEN (1962, JOAN MITCHELL)
http://www.shepherd.edu/englweb/artworks/A22.jpg


2.LEE KRASNER (1908-1984)
http://www.thecityreview.com/krasner.html
http://www.robertmillergallery.com/Book%20Covers/Krasner%201991%20Book%20Cover.jpg

2.1 BLACK, WHITE AND PINK COLLAGE (1958-1974)
http://www.thecityreview.com/krasnr7.jpg

2.2 GOTHIC LANDSCAPE (1981, LEE KRASNER)
http://www.tate.org.uk/collection/T/T03/T03291_9.jpg


3.LOUISE BOURGEOIS
http://members.aol.com/mindwebart2/page150.htm
http://www.pbs.org/art21/slideshow/artists/b/bourgeois-sculpt-004.jpg

3.1 BLIND MAN’S BUFF (1984)
http://members.aol.com/mindwebart2/louisewhite.jpg

3.2 SPIDERS (2001)
http://www.nycjpg.com/2003/pages/0526.html
http://farm1.static.flickr.com/142/367689908_7ae952bd50.jpg


4.ALICE NEEL
http://www.tfaoi.com/aa/2aa/2aa410.htm
http://www.tfaoi.com/am/14am/14am323.jpg

4.1 SWEDISH GIRLS (1968)
http://www.columbusmuseum.com/exhibitions/images/collection/Alice-Neel-image.gif

4.2 THE WESTREICH FAMILY (1978)
http://www.brown.edu/Facilities/David_Winton_Bell_Gallery/images/neel_westreich_header.jpg


5.ELIZABETH MURRAY

5.1 BOWTIE (2000)
http://www.pbs.org/art21/slideshow/artists/m/murray-paint3-001.jpg

5.2 BOP (2002-2003)
http://www.pbs.org/art21/slideshow/artists/m/murray-paint3-003.jpg

5.3 ST. MARKS (2004)
http://www.joniweyl.com/media/jcp/size2/murray/EM04-216_14.jpg



--อ่านรายละเอียดโปรแกรม FEEDBACK แล้ว คิดว่าโปรแกรมนี้น่าสนใจพอๆกับโปรแกรมภาพยนตร์ “เนตรวิถี” ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในตอนนี้

--ยังไม่ได้ดู BAND OF OUTSIDERS (1964, JEAN-LUC GODARD) เลยค่ะ แต่ได้เข้าไปดูคลิปมิวสิควิดีโอที่คุณ pc นำมาแปะไว้แล้ว ทำให้รู้สึกว่า GODARD คงจะชอบหนังบางเรื่องของ STANLEY DONEN จริงๆ

ถ้าจำไม่ผิด GODARD ชอบหนังเรื่อง THE PAJAMA GAME (1957, STANLEY DONEN) มากๆ ซึ่งนั่นคงเป็นเพราะว่าเนื้อหาของหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับชนชั้นแรงงาน
http://ec2.images-amazon.com/images/P/B0007QS306.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1109981396_.jpg

Employees of the Sleeptite Pajama Factory are looking for a whopping seven-and-a-half cent an hour increase and they won't take no for an answer. Babe Williams is their feisty employee representative but she may have found her match in shop superintendent Sid Sorokin. When the two get together they wind up discussing a whole lot more than job actions!

เห็นรายชื่อ SAMI FREY (1937) ร่วมแสดงใน BAND OF OUTSIDERS ด้วย ทำให้นึกถึงหนังของเขาที่เพิ่งได้ดูเมื่อเร็วๆนี้ ซึ่งก็คือเรื่อง SWEET MOVIE (1974, DUSAN MAKAVEJEV, A+++++++++++++) ซึ่งเป็นหนังแนวที่ดิฉันชอบสุดๆ
http://www.imdb.com/title/tt0072235/

SAMI FREY เป็นดาราที่น่าสนใจมากทีเดียว เขาเคยร่วมงานกับผู้กำกับดังๆมาแล้วมากมาย อย่างเช่น

1.JEAN-LUC GODARD

2.DUSAN MAKAVEJEV

3.HENRI-GEORGES CLOUZOT ใน THE TRUTH (1960)

Dominique Marceau is on trial for the murder of Gilbert Tellier. The counsels duel relentlessly, elaborating explanations for why the pretty, idle and fickle girl killed the talented and ambitious conductor freshly graduated from the conservatory. Was it passion, vengeance, desperation, an accident? The acquaintances of Gilbert testify, as well as Dominique's former lovers, and her sister, Annie, the studious violin player engaged to Gilbert. The evidence they give progressively paints a more finely-shaded picture of the personalities of Dominique and Gilbert, and of their relationship, than the eloquent and convincing justifications of the counsels.


4.GEORGES FRANJU ใน THERESE DESQUEYROUX (1962)

After Therese is acquitted of trying to poison her husband, Bernard Desqueyroux, she recalls the events that lead to her being charged. At the beginning of her marriage to Bernard, the only respite she found from the stifling provincial life was the company of her sister-in-law Anne. After Anne left, she found herself trapped in a loveless marriage to a boring man, whose only interest was in preserving his family name and property. By accident, Therese found that an increase in Bernard's medicine made him very ill.


5. WILLIAM KLEIN ใน WHO ARE YOU, POLLY MAGGOO? (1966)
http://www.imdb.com/title/tt0060879/


6.CLAUDE SAUTET ใน CESAR AND ROSALIE (1972)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B00007KK1I.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056766459_.jpg

Rosalie is amicably divorced, dividing her time between her mother's house, with her siblings and small daughter, and Cesar's. He's self made, a scrap iron king, outgoing, amiable, in love with her. Enter David, an artist and Rosalie's flame before her marriage. In a quiet, brooding way, he seeks to reclaim Rosalie. Cesar's jealous outbursts and attempts at cunning backfire and send Rosalie into David's arms.


7. NELLY KAPLAN ใน A YOUNG EMMANUELLE (1976)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B00007G1XN.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056760732_.jpg

In Geneve, bookseller and publisher Axel Thorpe catches willful, rich 16-year old Sibylle Ashby shoplifting. She brags about her writing, so he challenges her to produce a book. She writes an erotic novel that Thorpe publishes anonymously, and it becomes a best seller. She also tries to capture the love of this 40-year old publisher. When he drops her for her older sister, should she seek revenge or recapture? In subplots, she gets along badly with her sister and her father, and she encourages her mother's affair with dad's sister. Axel has problems too besides the determined Sibylle: he must come to terms with the drowning death of his mother years ago.


8.COLINE SERREAU ในหนังเกย์เรื่อง WHY NOT! (1977)
http://www.imdb.com/title/tt0079742/
http://www.spiritualityandpractice.com/films/films.php?id=7455
Fernand (Sami Frey), a divorced man, Louis (Mario Gonzales), a musician whose mother is crazy, and Alexa (Christine Murillo), a woman who has walked out on her bourgeois husband, live together in a rented suburban house in France. The two men are lovers and Alexa feels close to both of them.


9.CLAUDE MILLER ใน DEADLY CIRCUIT (1983)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B0000C23D9.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1074027896_.jpg

Beauvoir, lonely, aging private detective, is put on the bloody track of beautiful Catherine Leiris who kills and robs her rich husband(s) on their wedding night. Although he never approaches her directly, he follows her and increasingly feels to be telepathically connected to her, because she reminds him of his daughter he never met. After he led a blind artist, Catherine's truly beloved spouse, into a bus accident, she makes a living by bank robbery with young Betty till Betty gets shot. Alone again, Catherine leads a sad, uneventful life as a waitress, when she meets her follower.


10.GEORGE ROY HILL ใน THE LITTLE DRUMMER GIRL (1984, A-/B+)
http://www.imdb.com/title/tt0087629/


ผลงานน่าสนใจเรื่องอื่นๆของ SAMI FREY

11.DIARY OF A SUICIDE (1972, STANISLAV STANOJEVIC)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/63/05/10/18669636.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/63/05/10/18675015.jpg
DELPHINE SEYRIG (INDIA SONG) และ MARIE-FRANCE PISIER (CELINE AND JULIE GO BOATING) ร่วมประชันบทบาทในหนังเรื่องนี้


12.ANTHONY ZIMMER (2005, JEROME SALLE)
เขาแสดงร่วมกับ YVAN ATTAL ในเรื่องนี้
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/50/82/18411344.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/60/04/18411347.jpg


13.DANSE AVEC LUI (2007, VALERIE GUIGNABODET)
เขาแสดงร่วมกับ MATHILDE SEIGNER ในหนังเรื่องนี้
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/63/72/44/18699224.jpg


--ส่วนคลิปผีหลอกที่คุณเอามาโพสท์นั้น เคยดูมาแล้วจากบล็อกของคุณ BLACKFORESTS ค่ะ ชอบคลิปนี้มากๆเลยค่ะ ดูแล้วตกใจมากๆเหมือนกัน รู้สึกเหมือนหัวใจถูกกระตุกอย่างรุนแรงตอนผีโผล่มา

บล็อกของคุณ BLACKFORESTS
http://www.blackforests.blogspot.com/
http://blackforeststheoriginal.blogspot.com/


ตอบน้อง merveillesxx

--ดูหนังเรื่อง TAKESHIS’ แล้ว รู้สึกดีใจมากที่ TAKESHI KITANO ยังไม่หมดมุก เนื้อหาบางส่วนของ TAKESHIS’ ทำให้นึกถึง 8 1/2 (1963, FEDERICO FELLINI, A+) ด้วยเหมือนกัน ชอบ “เจ้าแม่สถานีโทรทัศน์หัวเหลือง” ในหนังเรื่องนี้มากๆ น่าเสียดายที่เธอบทน้อยไปหน่อย เห็นสภาพของเธอแล้วทำให้นึกถึงตัวละครในหนังของ ULRIKE OTTINGER

ได้อ่านพล็อตหนังเรื่อง SLIPSTREAM (2007, ANTHONY HOPKINS) แล้ว คิดว่าหนังเรื่องนี้คงจะเฮี้ยนไม่แพ้ TAKESHIS’ แน่ๆ
http://www.imdb.com/title/tt0499570/

Slipstream" is a noir-comedy about an actor and would-be screenwriter, who at the very moment of his meeting with Fate, comes to discover that life is random and fortune is sightless as he is thrown into a vortex where time, dreams, and reality collide in an increasingly whirling slipstream. The film will be a complex, surreal and dreamlike tale of one man's journey.

ดีใจมากที่มีหนังเฮี้ยนๆจากญี่ปุ่นมาลงโรงฉายในกรุงเทพถึง 2 เรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน และก็ชอบฉากเต้นรำใน TAKESHIS’ และใน BIG BANG LOVE, JUVENILE A ทั้งสองเรื่องด้วย

พูดถึงหนังญี่ปุ่นที่มีฉากร้องเพลงเต้นรำแล้ว หนังที่อยากดูที่สุดในตอนนี้ก็คือ FUNKY FOREST: THE FIRST CONTACT (2005, KATSUHITO ISHII, HAJIME ISHIMINE, SHUNICHIRO MIKI) ที่นิตยสาร FILM COMMENT เขียนชมอย่างรุนแรงในเล่มเดือนพ.ย./ธ.ค. 2006
http://www.cinemastrikesback.com/?p=1215#more-1215
http://www.eye.net/eye/issue/issue_10.19.06/film/lead.php
http://www.cinemastrikesback.com/news/subway2006/films/funkyforrest/funky3.jpg
http://www.cinemastrikesback.com/news/subway2006/films/funkyforrest/funky1.jpg
http://www.cinemastrikesback.com/news/subway2006/films/funkyforrest/funky2.jpg
http://www.cinemastrikesback.com/news/subway2006/films/funkyforrest/funky4.jpg

Tadanobu Asano also appears in Funky Forest: The First Contact, an even wilder example of Japanese madness. Spun off from a series of coffee ads by Katsuhito Ishii (director of The Taste of Tea and the anime sequence in Kill Bill: Vol. 1), it's a two-and-a-half-hour crazy quilt of comedy sketches, dance numbers, animation sequences and indescribably odd episodes involving fleshy Cronenbergian thingamajigs that plug into the navels of teenage girls.

KATSUHITO ISHII เคยกำกับ PARTY 7 (2000) และ SHARK SKIN MAN AND PEACH HIP GIRL (1998, B+) ด้วย

ดาราที่ร่วมแสดงใน FUNKY FOREST: FIRST CONTACT รวมถึง

1.HIDEAKI ANNO ผู้กำกับ SHIKI-JITSU (2000)

2.RYO KASE (1974) ซึ่งเคยเล่นเรื่อง LETTERS FROM IWO JIMA, RETRIBUTION, SCRAP HEAVEN, SU-KI-DA, 69
http://www.anore.co.jp/kase/

3.RINKO KIKUCHI

4.SUSUMU TERAJIMA (1963)
http://ryuganji.net/images/news/terajimasusumu.jpg
ดาวร้ายที่หน้าคุ้นที่สุดคนนึงในหนังญี่ปุ่น เขาเคยเล่นหนังเรื่อง HULA GIRLS, TAKESHIS’, YEAR ONE IN THE NORTH (2005, ISAO YUKISADA, A-), BLOOD AND BONES (2004, YOICHI SAI, A) และหนังเกย์เรื่อง YAJI AND KITA: THE MIDNIGHT PILGRIMS (2005, KANKURO KUDO) ซึ่งได้รับคำวิจารณ์ว่าเหมือน BROKEBACK MOUNTAIN + SAILOR MOON !!!!!
http://ec2.images-amazon.com/images/P/B000EWBNZU.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V50407651_.jpg
In the ancient Edo period, Yaji and Kita are two flamboyant, down-and-out samurai who embark on a journey on their souped-up chopper to battle Kita's heroin addiction and contemplate the meaning of their truly bizarre existence. On their way to a healing shrine at Ise, they trip through a world where fantasy is reality, and the past and present intersect. A surreal blend of slapstick comedy, musical and EASY RIDER, YAJI AND KITA heralds the directorial debut of Kankuro Kudo (acclaimed writer of Takashi Miike's ZEBRAMAN) and stars Tomoya Nagase and Shichinosuke Nakamura as the whacked-out titular duo. Marked with a unique brand of cinematic mayhem, this hallucinogenic gay love story is sure to delight and bewilder all who dare journey with them.


--ขอบคุณน้อง merveillesxx มากค่ะสำหรับคำชม และก็ขอบคุณมากๆค่ะสำหรับคลิป GOODBYE MY LOVER + BROKEBACK MOUNTAIN

--พูดถึง BROKEBACK MOUNTAIN แล้ว ก็ทำให้นึกถึงบทสัมภาษณ์ STEVEN SODERBERGH ใน FILM COMMENT ที่มีคนถามเขาว่าถ้าหากเขาจะกำกับหนังเกย์คาวบอย เขาจะเลือกใครมาเล่น แล้ว SODERBERGH ก็ตอบว่า เขาจะเลือก CRISPIN GLOVER กับ DANNY GLOVER ฮ่าๆๆๆๆๆ

CRISPIN GLOVER
http://www.nndb.com/people/016/000023944/willard-sized.jpg

DANNY GLOVER
http://www.robeytheatrecompany.com/BIOS/images1/DannyGlover.jpg

--หนึ่งในฉากที่ชอบที่สุดใน BROKEBACK MOUNTAIN คือฉากตอนที่พระเอกทั้งสองคนโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว และไปเที่ยวป่าด้วยกัน และเริ่มมีปัญหาระหองระแหงกันบ้างเป็นครั้งคราว แต่มีการตัดสลับภาพตัวละครในวัยหนุ่มสมัยที่ยังไม่ไว้หนวดไว้เคราเข้ามาด้วย การตัดสลับภาพในช่วงนั้นทำให้รู้สึกซาบซึ้งกับความสัมพันธ์ของสองคนนี้มากๆ มันทำให้รู้สึกว่าความรู้สึกรักและห่วงใยที่สร้างสมกันมาในอดีตมันยังคงวนเวียนอยู่ในความรู้สึกของทั้งคู่ และในบางครั้งเมื่อทั้งสองมองหน้ากัน ทั้งสองก็อาจจะไม่ได้มองเห็นภาพในปัจจุบันเพียงอย่างเดียว แต่อาจจะมองเห็นภาพในอดีตซ้อนทับอยู่ด้วย นอกจากนี้ ความรู้สึกที่ทั้งสองมีต่อกัน ก็อาจจะทำให้ทั้งสองรู้สึกกลับไปเหมือนเมื่อตอนที่ยังมีอายุน้อยด้วยเช่นกัน


ตอบคุณ FILMSICK

การดูหนังเรื่องตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคแรก ทำให้ดิฉันรู้สึกเหมือนเป็นเด็กชั้นประถมที่อ่านตำราประวัติศาสตร์ไทยเรื่องเสียกรุงเป็นครั้งแรก รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องได้สนุกมาก โดยส่วนตัวแล้ว ชอบการแสดงของคุณปวีณา ชารีฟสกุล และคุณสันติสุข พรหมศิริในเรื่องนี้มาก ทั้งสองคนนี้ออกจะแสดงเว่อร์ๆไปหน่อย แต่ชอบตัวละครที่สองคนนี้แสดง

จุดหนึ่งที่ชอบมากในภาคแรก แต่ไม่แน่ใจว่าจะมีในภาคที่สองหรือเปล่า ก็คือความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกชาย 2 คู่ ที่ดูน่าสนใจดี นั่นก็คือความสัมพันธ์ระหว่างบุเรงนองกับนันทบุเรง ที่ดูเหมือนว่าบุเรงนองจะไม่ลำเอียงเข้าข้างลูกชายตัวเองมากเกินไป และความสัมพันธ์ระหว่างพระมหาธรรมราชากับพระนเรศวร ที่ดูเหมือนจะมีความเห็นไม่ค่อยตรงกันในทางการเมือง ความขัดแย้งระหว่างพ่อกับลูกชายในภาคแรกนี้เป็นสิ่งที่ดิฉันชอบมากเลยค่ะ

ช่วงนี้ได้ดูหนังที่นำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกได้ถูกใจมากๆหลายเรื่อง อย่างเช่น

1.ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคองค์ประกันหงสา

2. BATTLE OF WITS (2006, JACOB CHEUNG, A+)

พ่อในหนังเรื่องนี้โหดร้ายกับลูกชายได้สะใจดิฉันมากๆเลยค่ะ นึกไม่ถึงเหมือนกันว่าพ่อจะทำกับลูกชายได้ลงคอถึงขั้นนี้ แต่ “ความโหดร้ายอย่างคาดไม่ถึง” นี้ ก็เป็นสิ่งที่เคยทำให้ดิฉันชอบหนังเรื่อง MIDNIGHT FLY (2001, JACOB CHEUNG, A) อย่างมากๆมาแล้วเหมือนกัน เพราะขณะที่ดูหนังเรื่อง MIDNIGHT FLY ช่วงแรกๆ ก็นึกว่าหนังเรื่องนี้จะเป็นแค่หนังจิตวิทยาสองสาวปะทะกัน แต่ไปๆมาๆ สองสาวนี้กลับต้องประสบกับชะตากรรมที่โหดร้ายอย่างคาดไม่ถึง

นอกจากความโหดร้ายระหว่างพ่อกับลูกชายใน BATTLE OF WITS จะโดนใจดิฉันอย่างสุดๆแล้ว อีกจุดที่ชอบมากใน BATTLE OF WITS คือความสัมพันธ์ระหว่างพ่อกับลูกชาย, พ่อกับพระเอก และลูกชายกับพระเอก มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เดี๋ยวก็เป็นมิตรกัน เดี๋ยวก็เป็นศัตรูกัน พลิกสถานะกลับไปกลับมาหลายครั้งมาก ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็ทำให้นึกถึงคำพูดที่ว่า “ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวรในแวดวงการเมือง”


3.THE BLACK DAHLIA (2006, BRIAN DE PALMA, A+/A)

หนึ่งในสิ่งที่ชอบที่สุดใน THE BLACK DAHLIA ก็คือการที่หนังเปิดตัวตั้งแต่ต้นเรื่องว่าพระเอกหนังเรื่องนี้ไม่ใช่คนดี เพราะเขาล้มมวย แต่ดิฉันเองก็อาจจะทำแบบเดียวกับพระเอกถ้าหากตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน เพราะดิฉันคิดว่าที่พระเอกตัดสินใจทำเช่นนั้นก็เพื่อหาเงินมารักษาพ่อที่เป็นบ้า และถ้าหากเขาไม่สามารถหาเงินมาพาพ่อไปเข้าโรงพยาบาลได้ ใครจะไปรู้ว่าพ่อของเขาอาจจะเอาปืนมาไล่ยิงคนตามท้องถนนในอนาคตก็ได้ หลังจากที่เอาปืนไล่ยิงนกไปจนหนำใจแล้ว ดิฉันก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าพ่อพระเอกเป็นบ้าแบบไหน และเป็นบ้าในแบบที่มีความอันตรายร้ายแรงถึงขั้นไหน แต่ฉากเปิดตัวพ่อพระเอกที่เอาปืนไล่ยิงนกตายอย่างโหดร้ายเช่นนั้น ทำให้ดิฉันรู้สึกกลัวพ่อพระเอกมากๆ และดิฉันก็คิดว่าในเมื่อเขาเป็นคนบ้าถึงขั้นนี้แล้ว ก็ไม่มีสิ่งใดรับประกันได้ว่าเขาจะไม่เอาปืนมาไล่ยิงคนในอนาคต


4. พ่อที่น่าสงสารที่สุด ก็คือพ่อ (SAM SHEPARD) ใน THE RETURN (2006, ASIF KAPADIA, A+) เพราะดิฉันรู้สึกว่าพ่อกับลูกสาว (SARAH MICHELLE GELLAR) ในหนังเรื่องนี้ ต้องมีปัญหาระหองระแหงไม่ลงรอยกัน ทั้งๆที่ฝ่ายพ่อดูเหมือนจะไม่ได้ทำอะไรผิดเลย

SAM SHEPARD
http://www.sam-shepard.com/sam49x.jpg

RAMI VIRTANEN

ตอบน้อง lovejuice

ได้เข้าไปอ่านเว็บไซท์ข่าวลือที่น้องแนะนำมาแล้ว ชอบข่าวลือเกี่ยวกับ BUSTER KEATON (ซึ่งมีสมญานามว่า THE GREAT STONE FACE) มากๆ ข่าวลือนี้บอกว่าบัสเตอร์ คีตันเคยเซ็นสัญญากับสตูดิโอสร้างภาพยนตร์ในฮอลลีวู้ดที่ห้ามเขายิ้มในภาพยนตร์ แต่ข่าวลือนี้ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
http://www.snopes.com/movies/actors/keaton.htm

ตัวอย่างผลงานภาพยนตร์ของ BUSTER KEATON

1.OUR HOSPITALITY (1923, JOHN G. BLYSTONE + BUSTER KEATON)
http://ec2.images-amazon.com/images/P/B000021Y7O.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1122397222_.jpg

2.SHERLOCK JR. (1924, BUSTER KEATON)

3.THE GENERAL (1927, BUSTER KEATON + CLYDE BRUCKMAN)
http://ec2.images-amazon.com/images/P/B0000C23GP.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1068006451_.jpg

The Great Stone Face stars as Southern railroad engineer Johnny Gray, a man with only two loves: the sweet Annabelle Lee (Marion Mack) and his trustworthy engine, the eponymous General. When Fort Sumner is fired upon he's one of the first to enlist, but when the war office rejects him (he's too valuable as a trained engineer) his sweetie rejects him as a coward. Johnny has the opportunity to prove his bravery when Yankee spies steal his engine and inadvertently kidnap Annabelle, and Johnny pursues with all the resources at his disposal: handcar, bicycle, and finally railroad engine.

4.STEAMBOAT BILL, JR. (1928, CHARLES REISNER)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B0000WSS1Q.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V56779062_.jpg
Steamboat Bill Jr dates from 1928 and is the last great film Buster Keaton made before he gave up his independence and signed for MGM. Buster is the rather fey son of an elderly steamboat owner who is being driven out of business by a wealthy competitor. More by accident than intention Buster turns things around and gets the girl as well. The last 15 minutes are truly astonishing: a storm sequence in which a whole town is blown apart, with Buster experiencing a series of amazing escapes as buildings fall down around his ears.


5.THE CAMERAMAN (1928, EDWARD SEDGWICK)
http://ec2.images-amazon.com/images/P/B00049QQ78.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V51186327_.jpg

อ่านบทวิจารณ์ THE CAMERAMAN โดยคุณ FILMSICK ได้ที่
http://filmsick.exteen.com/20060131/the-camera-man-city-lights



ตอบน้อง zm

>>เพิ่งกลับจากทำงานร้านอาหารครับ วันนี้มีลูกค้าสุดหล่อน่ารักมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ คนนึงมาทานข้าวที่ร้าน น่ารักมากๆ<<

หลังจากน้องได้เจอชายหนุ่มสุดหล่อเข้ามา STRAWBERRIZE YOUR WORLD ไปแล้ว พี่ก็ได้เจอบ้างเหมือนกันค่ะ แต่ได้เจอแค่ 5 นาที เขาเป็นคนขับรถแท็กซี่ค่ะ เมื่อเช้าวานนี้พี่เรียกรถแท็กซี่ตอนตี 5 พอจะขึ้นรถก็ตกใจแทบสิ้นสติ เพราะคนขับรถแท็กซี่หล่อมาก หน้าตาราวกับกั๊วะฟู่เฉิง พี่ได้แต่แอบชำเลืองมองเขาผ่านทางกระจกเป็นระยะๆ ไม่กล้าทำอะไรไปมากกว่านั้น ในที่สุดรถแท็กซี่ก็ขับพาพี่มาส่งถึงที่หมายภายในเวลาราว 5 นาที (หรืออาจจะนานกว่านั้น แต่รู้สึกว่ามันสั้นแค่ 5 นาที) ค่ารถบนมิเตอร์แค่ 53 บาท ตอนที่พี่จะลงจากรถ พี่อยากจะให้แบงค์พันกับคนขับรถ พร้อมกับบอกเขาว่า “ไม่ต้องทอนครับ แต่ช่วยไปโรงแรมม่านรูดกับผมแทนแล้วกัน”

คนขับรถแท็กซี่หน้าตาคล้ายๆคนนี้
http://star.qu123.com/People/Images/Gallery/37/123164b1b5abc82194d4d58b1bd14719.jpg
http://www.showwallpaper.com/external/Chinese_Star/Aaron_Kwok/Aaron_Kwok_060017.jpg
http://www.showwallpaper.com/external/Chinese_Star/Aaron_Kwok/Aaron_Kwok_060009.jpg
http://www.showwallpaper.com/external/Chinese_Star/Aaron_Kwok/Aaron_Kwok_060005.jpg

พูดถึงแท็กซี่ ก็จำได้ว่าเคยชอบเพลง MIDNIGHT TAXI ของ MIHO NAKAYAMA อย่างมากๆ แต่หามิวสิควิดีโอเพลงนี้ไม่เจอ เจอแต่เพลง KOREKARA NO I LOVE YOU ของ MIHO NAKAYAMA ก็เลยเอาเพลงนี้มาให้ฟังแทนก็แล้วกัน เพราะชอบเพลง KOREKARA NO I LOVE YOU (1991, A+++++) มากๆเหมือนกัน
http://www.youtube.com/watch?v=whf36EFEV-U

MIHO NAKAYAMA
http://sakamoto.blog.ocn.ne.jp/shakkinn/images/nakayama_miho.jpg


ตอบน้อง MATT

อิจฉาน้องมากๆเลยค่ะที่จะได้ดูหนังของ JAMES BENNING เขาเป็นหนึ่งในผู้กำกับที่พี่อยากดูหนังของเขามากที่สุดเลยค่ะ

หนังของผู้กำกับคนอื่นๆที่อยากดูมากๆก็รวมถึง

1.ERNIE GEHR
http://www.fredcamper.com/Film/Gehr1.html
http://www.fredcamper.com/PF/GehrStillL.jpg

รูปจาก SERENE VELOCITY (1970, ERNIE GEHR)
http://www.hi-beam.net/mkr/eg/eg-sv.jpg


2.PETER TSCHERKASSKY
http://www.dvdbeaver.com/film/DVDReviews19/Peter_Tscherkasskye_dvd_review.htm
http://www.dvdbeaver.com/film/DVDReviews19/a%20Peter%20Tscherkassky%20Peter%20Tscherkassky%20Peter%20Tscherkassky/capture1.jpg
http://www.dvdbeaver.com/film/DVDReviews19/a%20Peter%20Tscherkassky%20Peter%20Tscherkassky%20Peter%20Tscherkassky/capture2.jpg
http://www.dvdbeaver.com/film/DVDReviews19/a%20Peter%20Tscherkassky%20Peter%20Tscherkassky%20Peter%20Tscherkassky/capture3.jpg
http://www.dvdbeaver.com/film/DVDReviews19/a%20Peter%20Tscherkassky%20Peter%20Tscherkassky%20Peter%20Tscherkassky/capture4.jpg
http://www.dvdbeaver.com/film/DVDReviews19/a%20Peter%20Tscherkassky%20Peter%20Tscherkassky%20Peter%20Tscherkassky/capture5.jpg


3. GREGORY MARKOPOULOS ผู้กำกับหนังเกย์ชื่อดัง
http://www.athensnews.gr/athweb/nathens.prnt_article?e=C&f=13074&t=04&m=A39&aa=1

รูปจาก ENIAIOS ภาพยนตร์ความยาว 80 ชั่วโมงของ GREGORY MARKOPOULOS
http://www.athensnews.gr/data/D2004/D0709/1ae39b.jpg



4.PETER KUBELKA
http://www.kortfilmfestivalen.no/arkiv/english/articles/99_PeterKub.html
http://www.filmlinc.com/fcm/9-10-2004/kubelka.htm
http://www.coolidge.org/balagan/kubelka1_fall2004.html
http://www.calarts.edu/images/redcat/fv/kubelka/kubelka600b.jpg

5.WERNER NEKES
http://www.wernernekes.de/
http://www.zkm.de/futurecinema/nekes_werk_e.html
http://www.altonaer-museum.de/~upload/de/schaulust/bilder/sammler-01-245b.jpg

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังของ WERNER NEKES ได้ที่
http://www.onopen.com/2005/02/49

ถ้าหากน้อง MATT ได้มีโอกาสดูหนังของผู้กำกับเหล่านี้ หรือได้พูดคุยกับอาจารย์เกี่ยวกับหนังของผู้กำกับเหล่านี้ ก็อย่าลืมมาเล่าให้ฟังเพื่อเป็นวิทยาทานแก่เพื่อนๆใน SCREENOUT ด้วยนะคะ



ตอบคุณอ้วน

รู้สึกชื่นชอบรายชื่อผู้เข้าชิงรางวัลรุ้งอ้วนเจ็ดศอก 2006 มากค่ะ ก็เลยหารูปผู้เข้าชิงบางรูปมาลงประกอบไว้ให้

1.ASSAAAD BOUAB จาก DAYS OF GLORY (2006, RACHID BOUCHAREB, A+)

รูปของ ASSAAD BOUAB + MATTHIE BOUJENAH จากหนังเรื่อง MAROCK (2006, LAILA MARRAKCHI)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/86/69/18431459.jpg

ASSAAD BOUAB + MORJANA ALAOUI จาก MAROCK
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/86/69/18431462.jpg


2.CRISTIANO MORRONI จาก MAXIMUM VELOCITY (2002, DANIELE VICARI, A)
http://cineuropa.org/video.aspx?lang=en&documentID=1138

ผู้ชายที่หน้าตาเด็กๆคือ CRISTIANO MORRONI ส่วนคนที่เป็นผู้ใหญ่และหน้าตาคล้ายๆจอร์จ คลูนีย์คือ VALERIO MASTRANDREA
http://www.baskerville.it/unibox/Immagini/Cinema-Velocita01Big.jpg
http://www.baskerville.it/unibox/Immagini/Cinema-Velocita02Big.jpg


3.ERIK OLLE จาก THE RAIN FALLS ON OUR SOULS (2002, VLADO BALCO, B+)
http://www.barka.hu/images/tarsulat/olleerik2.jpg


4.JAMES THIERREE จาก BYE BYE BLACKBIRD (ROBINSON SAVARY, A+++++)

http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/62/81/46/18652911.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/62/81/46/18668988.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/62/81/46/18668985.jpg

JAMES THIERREE + CHARLOTTE RAMPLING ใน DESACCORD PARFAIT (2006, ANTOINE DE CAUNES)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/40/43/18673810.jpg


5.KAM WOO-SEONG จาก THE KING AND THE CLOWN (2005, LEE JUN-IK, A+)

KAM WOO-SEONG จาก CRAZY MARRIAGE (2002, YU HA)
http://www.dvdtimes.co.uk/images/koreancinema/kc3-marriage.jpg

KAM WOO-SEONG จาก R-POINT (2004, KONG SU-CHANG)
http://www.filmsalon.be/rpoint8.jpg


6.LEE SANG-WOO จาก ALMOST LOVE (2006, HAN LEE, A-)
http://www.hancinema.net/photos/photo11724.jpg
http://farm1.static.flickr.com/169/367578924_d0bbd69fb5_o.jpg
http://farm1.static.flickr.com/118/367578922_ff15822c6d_o.jpg
http://farm1.static.flickr.com/184/367575284_362178eb23_o.jpg


7.MATHIEU SIMONET จาก DAYS OF GLORY

รูปของ MATHIEU SIMONET กับ ELSA KIKOINE จาก BROCELIANDE (2002, DOUG HEADLINE)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/00/02/55/70/p4.jpg


8.MATTHEW BOMER (1977) จาก THE TEXAS CHAINSAW MASSACRE: THE BEGINNING (2006, JONATHAN LIEBESMAN, A-)
http://z.about.com/d/movies/1/0/r/X/8/texaschain03090602.jpg
http://users.static.freeblog.hu/h/e/t/hetesevel/Files/402%20matthew_bomer.jpg
http://mtndew.50megs.com/images/matthewbomer-8-28-02.jpg
http://mtndew.50megs.com/images/matthewbomer-8-29-02.jpg
http://farm1.static.flickr.com/187/367588076_06aaefe45f_b.jpg



9.MOHAMMAD REZA GOLZAR จาก CEASE FIRE (2006, TAHMINEH MILANI, A)
http://www.mrgolzar.ir/film/komab/koma%5B21%5D.jpg


10.PAW HENRIKSEN จาก ACCUSED (2005, JACOB THUESEN, A+)
http://g.jubii.dk/big/Paw-Henriksen/108042.jpg


11.PIERRE-LUC BRILLANT จาก C.R.A.Z.Y. (2005, JEAN-MARC VALLEE, A)

รูปของ PIERRE-LUC BRILLANT + MARC-ANDRE GRONDIN
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/35/33/18476984.jpg

MAXIME TREMBLAY + PIERRE-LUC BRILLANT + MARC-ANDRE GRONDIN + ALEX GRAVEL
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/35/33/18476986.jpg


12.PURAB KOHLI จาก MY BROTHER NIKHIL (2005, ONIR, A+)
http://www.mybrothernikhil.com/images/cast/purab_kohli.jpg


13.RAMI VIRTANEN จาก FC VENUS (2005, JOONA TENA, A-)
http://www.nelonen.fi/fcvenus/gifs/nayttelijat/m4.jpg


14.HUANG XIAOMING (1977) จาก THE BANQUET (2006, FENG XIAOGANG, A+/A)
http://image2.sina.com.cn/ent/m/p/2006-05-11/U105P28T3D1078884F326DT20060511184841.jpg
http://wiki.d-addicts.com/static/images/5/53/2597374.jpg

Sunday, January 21, 2007

FIREFIGHTER, E.A. WINTERSTEIN (ALEXANDER KLUGE, A+++++)

http://yrna.wordpress.com/2007/01/18/%e0%b8%ab%e0%b8%a1%e0%b8%b2/

ชอบคำบรรยายห้องขังมากเลย มันดูเซอร์เรียลดีมาก

>>ห้องขังของเขากว้างเพียงหนึ่งเมตร ส่วนยาวลึกเข้าไปในความมืดไม่มีที่สิ้นสุด เขาหลบอยู่ในส่วนลึกนั้น <<


http://www.bioscopemagazine.com/web2006/webboard/index-in.php?id=53270

ดิฉันไม่ค่อยมีความรู้เรื่องชาตินิยม, การเมือง หรือประวัติศาสตร์ไทยเท่าไหร่ค่ะ ก็เลยไม่รู้จะแสดงความเห็นอย่างไรดีเกี่ยวกับประเด็นที่คุณพูดมา แต่เมื่อกี้เพิ่งไปดูหนังเรื่องนี้ ก็รู้สึกขำกับเพลงประกอบท้ายเรื่องเหมือนกัน

อีกสิ่งหนึ่งที่สะดุดใจเล็กๆในหนังเรื่องนี้ ก็คือผู้หญิงในหนังเรื่องนี้โชว์สะดืออยู่บ้างในบางฉาก ก็เลยทำให้สงสัยว่าเวลาหนังเรื่องนี้มาฉายทางทีวี สะดือของผู้หญิงเหล่านี้จะถูกม่านหมอกเซ็นเซอร์มาบดบังหรือไม่ ฮ่าๆๆๆๆ

มีประเด็นนึงที่คุณพูดมาที่รู้สึกว่าน่าสนใจดี นั่นก็คือประเด็นที่ว่า

>>แต่เมื่อความขัดแย้งระหว่าง “ชาติ” กับ “ศัตรูแห่งชาติ” จบสิ้นหรือจวนเจียนจะมอดดับลง ความสมานฉันท์เป็นหนึ่งเดียวของคนภายใน “ชาติ” ก็จะพลอยเหือดหาย กระทั่ง แตกสลาย ตามไปด้วย จึงไม่แปลกอะไร ที่จะเกิดเหตุการณ์ซึ่ง “ผู้นำแห่งชาติ” หรือ คนในชาติกลุ่มหนึ่ง สามารถเข่นฆ่าล้างทำลาย “เพื่อนร่วมชาติ” ที่เคยรวมพลังร่วมกันในการต่อสู้กับ “ศัตรูแห่งชาติ” ที่อยู่ภายนอก ได้อย่างลงคอ เพียงเพราะ “เพื่อนร่วมชาติ” เหล่านั้น มีความคิดหรืออุดมการณ์อันแตกต่างออกไป แต่นั่นก็พอเพียงแล้ว ที่พวกเขาจะถูกตราหน้าว่าเป็น “ศัตรูภายในชาติ”<<

ประเด็นนี้ทำให้นึกถึงหนังฝรั่งสองเรื่องที่เคยดู ซึ่งก็คือ

1.DANTON (1982, ANDRZEJ WAJDA, A+++++)

Danton (Gerard Depardieu) and Robespierre (Wojciech Pszoniak) were close friends and fought together in the French Revolution, but by 1793 Robespierre was France's ruler, determined to wipe out opposition with a series of mass executions that became known as the Reign of Terror. Danton, well known as a spokesman of the people, had been living in relative solitude in the French countryside, but he returned to Paris to challenge Robespierre's violent rule and call for the people to demand their rights. Robespierre, however, could not accept such a challenge, even from a friend and colleague, and he blocked out a plan for the capture and execution of Danton and his allies.

2.DARK BLUE WORLD (2002, JAN SVERAK, B+)

หนังเรื่องนี้พูดถึงประเด็นที่คุณพูดมาแค่นิดหน่อย แต่ก็เป็นประเด็นที่ฝังใจดิฉัน เพราะหนังเรื่องนี้พูดถึงชาวเชคกลุ่มหนึ่งที่เคยร่วมมือกับอังกฤษในการขับไล่นาซีออกไปจากดินแดนเชค แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง วีรบุรุษชาวเชคเหล่านี้กลับถูกรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของเชคจับขังคุกเพราะเห็นว่าพวกเขาเคยร่วมมือกับอังกฤษ ดังนั้นพวกเขาจึงอาจจะเป็นภัยต่อคอมมิวนิสต์

The film's culmination sees them reconciled in moving circumstances, and the perspective is widened by scenes set in 1950: Slama, as with most Czech soldiers who fought with the Allies, having been sentenced to hard labour by the Communist authorities as a potential security threat. His decent treatment by a German doctor, as opposed to the brutality of the Czech guards, points up the tragic irony of those who fought for freedom, only to finish up on the "wrong" side of the Iron Curtain.

ดูหนังเหล่านี้ก็ได้แต่หวังว่าตัวเองจะไม่ต้องประสบกับเหตุการณ์แบบนี้ในชีวิตจริง

*****นิตยสาร PULP เล่มใหม่มีบทความเกี่ยวกับหนังเรื่อง CELINE AND JULIE GO BOATING (1973, JACQUES RIVETTE, A+++++) ที่ดีมากๆโดยคุณธีปนันท์ เพ็ชร์ศรี


ขอบคุณน้อง LOVEJUICE และคุณปีศาจความฝันมากค่ะสำหรับคำชม

ตอบน้อง ZM

เรื่องจำนวนหนังที่ได้ดูในปีที่แล้ว คงต้องรอแป๊บนึงนะคะ เพราะดิฉันเองก็ไม่ได้นับค่ะว่าดูหนังกี่เรื่องบ้างในแต่ละปี แต่ชอบมากเลยค่ะที่น้องเขียนบรรยายออกมาเป็นร้อยกรอง หรือเขียนออกมาคล้องจองกันราวกับเป็นเพลงแร็ปด้นสด


ตอบน้อง MATT

ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าข่าวลือนี้เป็นเรื่องจริงหรือเปล่า แต่เมื่อ 10 กว่าปีก่อนเหมือนเคยได้ยินว่า SEAL เคยพยายามตามจีบประทุมรัตน์ วรมาลีด้วยเหมือนกัน

พูดถึงคนหน้าบากแล้ว ก็คิดถึงเพื่อนเกย์คนนึง รู้สึกว่าเขาจะชอบผู้ชายหน้าบากมาก รอยแผลเป็นบนใบหน้าผู้ชายมันคงจะช่วยเพิ่มความ MACHO ให้กับผู้ชายบางคน และเพิ่ม SEX APPEAL ให้กับผู้ชายคนนั้นในสายตาของเกย์บางคน

จำได้ว่าเมื่อราว 6-7 ปีก่อน สถานทูตอิสราเอลเคยนำหนังมาฉายที่ศาลาเฉลิมกรุงบ้างเป็นครั้งคราว และมีชายหนุ่มอิสราเอลสองคนจากสถานทูตมาคอยดูแลการฉายหนัง คนนึงหล่อมาก ส่วนอีกคนหน้าตาธรรมดา แต่มี่รอยบากใหญ่ๆบนใบหน้า และเพื่อนเกย์ของดิฉันก็คลั่งไคล้ไอ้หนุ่มอิสราเอลหน้าบากคนนี้มากๆ


--Blog เรื่องสั้นของคนรู้จักคนหนึ่ง
http://yrna.wordpress.com


--ภาพยนตร์ที่ได้ดูในช่วงนี้

ภาพยนตร์ที่ได้ดูซ้ำ

SILENCE WILL SPEAK (2006, PUNLOP HORHARIN, A+++++)

CAT AND MOUSE (1967, HANS-JUERGEN POHLAND, A+++++)
http://www.imdb.com/title/tt0060583/


ภาพยนตร์ที่เพิ่งดูรอบแรก

1.FIREFIGHTER, E.A. WINTERSTEIN (1968, ALEXANDER KLUGE, A+++++++++++++++)

หนึ่งในฉากที่ชอบที่สุดในเรื่องนี้คือฉากที่ผู้หญิงคนหนึ่งฉีกทึ้งตำราหนังสือเพื่อเอามากัดกินอย่างบ้าคลั่ง

2.TEACHER IN THE CHANGE (LEHRER IM WANDEL) (1963, ALEXANDER KLUGE + KAREN KLUGE, A+++++)

ดูแล้วร้องไห้ให้กับคุณครูผู้ชายที่ถูกพวกนาซีฆ่าตาย

3.NACHRICHTEN VON DEN STAUFERN (1977, ALEXANDER KLUGE + MAXIMILIANE MAINKA, A+)

ถ้าเข้าใจไม่ผิด หนังเรื่องนี้คือหนังที่เล่าเรื่องของจักรพรรดิที่ชั่วช้าสารเลวหลายๆองค์ในอดีต

4.MRS. BLACKBURN, BORN 5 JAN 1872, IS BEING FILMED (1967, ALEXANDER KLUGE, A+)

5.BRUTALITY IN STONE (1961, ALEXANDER KLUGE + PETER SCHAMONI, A+)

6.PORTRAIT OF A MAN PUT TO THE TEST (1964, ALEXANDER KLUGE, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0058485/fullcredits

7.THE COLOUR OF WORDS: INDIA SONG (1984, JEROME BEAUJOUR + JEAN MASCOLO, A+)

หนังเรื่องนี้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับดิฉันมากๆ อย่างเช่น

7.1--หนังสารคดีเรื่องนี้บอกว่าเราว่าผู้ชมเพศชายส่วนใหญ่มักจะอินกับตัวละคร --THE VICE CONSUL (ซึ่งดัดแปลงมาจากผู้ชายที่มีตัวตนจริงๆคนหนึ่งที่เคยเป็นคนรักของ DURAS) ส่วนผู้ชมเพศหญิงส่วนใหญ่มักจะอินกับตัวละคร LOLA VALERIE STEIN (ที่ปรากฏในนิยายหลายๆเรื่องของ DURAS) แต่ผู้ชมส่วนใหญ่ไม่ได้อินกับตัวละคร ANNE-MARIE STRETTER

7.2--จุดสำคัญที่ทำให้ ANNE-MARIE STRETTER แตกต่างจาก THE VICE CONSUL และ LOLA VALERIE STEIN ก็คือว่า THE VICE CONSUL กับ LOLA VALERIE STEIN ดูเหมือนจะยอมจำนนต่อชะตากรรม แต่ ANNE-MARIE STRETTER “stands up to everything.”

7.3--ในความเห็นของ DURAS นั้น ANNE-MARIE STRETTER คือเทพธิดาที่เดินทางไปยังสถานที่ต่างๆทั่วโลกเพื่อส่งสารให้ประชาชนชาวโลกได้รับรู้ว่า “LIFE IS UNLIVABLE” (กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด)

ตอนนี้ประโยค LIFE IS UNLIVABLE กลายเป็นประโยคที่ชอบที่สุดในรอบหลายเดือนไปแล้ว รู้สึกชอบประโยคนี้มากเท่ากับชื่อละครเวทีเรื่อง THE EARTH IS UNINHABITABLE LIKE THE MOON (1974) ของ RAINER WERNER FASSBINDER


8.ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคองค์ประกันหงสา (2007, หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล, A)

9.เพลงพันธนาการ (SANCTUARY RHAPSODY) (2006, สุภัคชัย สีหาบุตร, A)

ชอบฉากท้องฟ้าตอนช่วงต้นเรื่องอย่างมากๆ และชอบเสียงเครื่องซักผ้าในหนังมากๆ มันตามหลอกหลอนตัวละครได้ดีจริงๆ

ชอบฉากที่แสดงให้เห็นกรรมวิธีการชงชาด้วยเหมือนกัน ไม่คิดมาก่อนว่าเวลาไปกินชาตามร้านแล้วมันจะต้องมีกรรมวิธียุ่งยากมากเท่านี้

ตัวละครผู้ชายที่ใส่แว่นในหนังเรื่องนี้น่ารักมากๆ ฮ่าๆๆๆๆ

คิดว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้ตัวดิฉันไม่อินกับหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆจนถึงขั้น A+ ในการดูรอบแรก เป็นเพราะว่าดิฉันไม่อินกับตัวละครผู้ชายใดๆในหนังเรื่องนี้ และก็ไม่อินกับตัวละครผู้หญิงในหนังด้วย และนั่นอาจจะเป็นเพียงเพราะว่าดิฉันมีชีวิตแตกต่างจากผู้หญิงและผู้ชายในหนังเรื่องนี้เท่านั้นเอง ซึ่งนั่นไม่ใช่ความผิดของหนังแต่อย่างใด


บางส่วนของหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงหนังเรื่องอื่นๆหรือเพลงที่อาจจะพูดถึงสถานภาพของผู้หญิง อย่างเช่น

9.1--SHIRLEY VALENTINE (1989, LEWIS GILBERT, A++++++++++)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B0002XP0FK.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1121688120_.jpg

9.2--สีดา? (2005, สันติภาพ อินกองงาม, A+)

9.3--THE BEAUTIFUL WASHING MACHINE (2004, JAMES LEE, B+)
http://www.imdb.com/title/tt0407568/
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B000H2NHK6.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V59216882_.jpg

9.4--เพลง ALL WOMAN ของ LISA STANSFIELD
http://www.bbc.co.uk/totp2/features/wallpaper/images/1024/lisa_stansfield.jpg

ชมบันทึกการแสดงสดเพลง ALL WOMAN ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=0RNK3VH9lZU


He's home again from another day

She smiles at him as he walks through the door
She wonders if it will be okay
It's hard for her when he doesn't respond
He says babe you look a mess
You look dowdy in that dress
It's just not like it used to be
Then she says...
Chorus:
I may not be a lady
But I'm all woman
From monday to sunday I work harder than you know
I'm no classy lady
But I'm all woman
And this woman needs a little love to make her strong
You're not the only one
She stands there and lets the tears flow
Tears that she's been holding back so long
She wonders where did all the loving go
The love they used to share when they were strong
She says yes I look a mess
But I don't love any less
I thought you always thought enough of me to always be impressed
(Chorus)
He holds her and hangs his head in shame
He doesn't see her like he used to do
He's too wrapped up in working for his pay
He hasn't seen the pain he's put her through
Attention that he paid
Just vanished in the haze
He remembers how it used to be
When he used to say
You'll always be a lady
'Cos you're all woman
From monday to sunday I love you much more than you know
You're a classy lady
'Cos you're all woman
This woman needs a loving man to keep her warm
You're the only one
You're a classy lady
'Cos you're all woman
So sweet the love that used to be
So sweet the love that used to be

We can be sweet again...

9.5--เพลง SUCCESS HAS MADE A FAILUR OF OUR HOME ของ SINEAD O’CONNOR
http://www.lauralevine.com/photography/gallery/large/sinead.jpg

http://www.youtube.com/watch?v=HMdn7RosQAM

We used to go out walking hand in hand

You told me all the big things you had planned
It wasn't long 'till all your dreams came true
Success put me in second place with you
You have no time to love me anymore
Since fame and fortune knocked upon our door
And i spend all my evenings all alone
Success has made a failure of our home
If we could share an evening now and then
I'm sure we'd find true happiness again
You never hold me like you used to do
Oh, it's funny what success has done to you
You have no time to love me anymore
Since fame and fortune knocked up on our door
And i spend all my evenings all alone
Success has made a failure of our home
Success has made a failure of our home
I never changed
I'm still the same
I never changed
Stop what you're saying
You're killing me
And am i not your girl?
Am i not your girl?
Am i not?


9.6--เพลง SUPERWOMAN ของ KARYN WHITE
http://deepstyle.jp/img/karyn_w.jpg

ดูมิวสิควิดีโอเพลงนี้ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=3_aXQHL4xQA

Early in the morning
I put breakfast at your table
And make sure that your coffee
Has its sugar and cream
Your eggs are over easy
Your toast done lightly
All that's missing is your morning kiss
That used to greet me
Now you say the juice is sour
It used to be so sweet
And I can't help but to wonder
If you're talking 'bout me
We don't talk the way we used to talk
It's hurtin' so deep
I've got my pride, I will not cry
But it's makin' me weak
I'm not your superwoman
I'm not the kind of girl that you can let down
And think that everything's okay
Boy, I am only human
This girl needs more than occasional
Hugs as a token of love from you to me, ooh, baby
I fought my way through the rush hour
Trying to make it home just for you
I want to make sure that your dinner
Will be waiting for you
But when you get there you just tell me
You're not hungry at all
You said you'd rather read the paper
And you don't want to talk
You like to think that I'm just crazy
When I say that you changed
I'm convinced I know the problem
You don't love me the same
You're just going through the motions
And you're not being fair
I've got my pride, I will not cry
Still I can't help but care
I'm not your superwoman (Oh, no, no)
I'm not the kind of girl that you can let down
And think that everything's okay
Boy, I am only human (I'm only human)
This girl needs more than occasional
Hugs as a token of love from you to me
I'm not your superwoman (Hoo, hoo, hoo, ooh, ooh, hoo)
I'm not the kind of girl that you can let down (Hey)
And think that everything's okay (Don't let me down, don't you let me down)
Boy, I am only human (I'm only human, yeah)
This girl needs more than occasional
Hugs as a token (Ooh, ooh) of love from you to me
Oh, baby, look into the corners of your mind
I'll always be there for you through good and bad times
But I can't be that superwoman that you want me to be
I'll give my everlasting love if you'll return love to me
I'm not your superwoman (Oh, no, oh, no)
I'm not the kind of girl that you can let down
And think that everything's okay
Boy, I am only human (I'm only human)
This girl needs more than occasional
Hugs as a token of love from you to me (Oh, no)

If you feel it in your heart
And you understand me
Stop right where you are
Everybody sing along with me
Hoo, hoo, hoo, ooh, ooh, hooHoo, hoo, hoo, ooh, ooh, hoo
I'm the kind of girl that can treat you so sweet
But you got to realize that you got to be sweeter to me, oh, ho, ho
Hoo, hoo, hoo, ooh, ooh, hoo
Hoo, hoo, hoo, ooh, ooh, hoo
I need love
I need just your love
I'm not your superwoman (Oh, no)
I'm not the kind of girl that you can let down (You can let down)
And think that everything's okay

Boy, I am only human (I'm only human)
This girl needs more than occasional (Hey, hey, hey, hey)
Hugs as a token of love from you to me
I'm not your superwoman

KARYN WHITE ในมิวสิควิดีโอเพลงนี้เหมาะจะไปตากผ้าแข่งกับกงลี่ในหนังเรื่อง JU DOU (1991, ZHANG YIMOU, A+) เพราะผ้าของสองคนนี้สีสันมันสะท้านทรวงจริงๆ
http://www.youtube.com/watch?v=ZyISzE3GfXg
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B000BBOU54.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1139252552_.jpg

พุธนี้สถาบันเกอเธ่ฉายหนังเรื่อง GHOSTS (2005) ผลงานของผู้กำกับ THE STATE I AM IN (A++++++++++)

พุธนี้ สถาบันเกอเธ่ ซ.สาทร 1 จะฉายหนังเรื่อง GHOSTS (2005) ในเวลา 19.30 น. หนังเรื่องนี้เป็นผลงานการกำกับของ CHRISTIAN PETZOLD ซึ่งเคยกำกับหนังเรื่อง THE STATE I AM IN (2000, A++++++++++) ที่มาเปิดฉายในกรุงเทพเมื่อไม่กี่ปีก่อน

HARUN FAROCKI ร่วมเขียนบทหนังเรื่อง GHOSTS

อ่านบทความเกี่ยวกับ HARUN FAROCKI โดยคุณ FILMSICK ได้ที่
http://filmsick.exteen.com/20061112/an-introduction-to-harun-farocki

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการฉาย GHOSTS ได้ที่
http://www.goethe.de/ins/th/ban/th909114.htm
อ่านบทวิจารณ์ GHOSTS ได้ที่
http://www.signandsight.com/features/375.html

filmmaker Jacques Rivette once wrote that the only justification for art is that it attempts to make people a little less blind, a little less deaf and a little less dumb. In this sense, cinema is like the other arts; one knows that leaves blow in the wind but suddenly, one sees it.
The films of Christian Petzold succeed in showing the world in such a way that the viewer perceives it anew.

the lonely protagonist (Julia Hummer) is standing on a field in Berlin's Tiergarten. The sound is of rustling leaves; the viewer's eye is drawn to the trees. Nature in Petzold's films seems different, clearer, truer. Maybe it's just that it's so there.At the same time, the shots have a tense relationship to each other. Precisely because the leaves, trees, streets, things are as they are, the images seem to represent the mythological, symbolic ambiguity of Petzold's stories. "Gespenster" really is a ghost story, due to the restlessness and placelessness of its heroes and the pain that makes them no more than shadows.

คำเตือน

1.ควรไปถึงสถานที่ฉายในลานกลางแจ้งตั้งแต่เวลา 19.00 น.เพื่อจองที่นั่งแถวหน้าสุดหรือที่นั่งที่จะไม่ถูกหัวคนข้างหน้าบังซับไตเติล

2.ควรใส่ชุดที่จะไม่เปิดโอกาสให้ตัวเองถูกยุงกัด หรือควรทายากันยุงก่อนไปดูหนัง
http://www.gespenster-der-film.de/images/Gesp_Plakat_A6textless2.gif