3. WOLF CREEK (2005, Greg McLean, ออสเตรเลีย)
WOLF CREEK เป็นหนังสยองขวัญที่มีโครงสร้างแตกต่างจากหนังสยองขวัญโดยทั่วไป เพราะครึ่งแรกของหนังเรื่องนี้นั้นแทบไม่ได้มีความเป็นหนังสยองขวัญอยู่เลย ครึ่งแรกของหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องราวการเดินทางท่องเที่ยวของชายหนุ่มหนึ่งคนและหญิงสาวสองคน และหนังนำเสนอเรื่องราวในส่วนนี้ได้อย่างเป็นธรรมชาติมากๆ ตัวละครสามคนนี้ไม่ได้เป็นชายหนุ่มหญิงสาวที่มีคุณสมบัติเด่นเพียงแค่ “ความเซ็กซี่” และ “ความกลัดมัน” แบบที่พบได้ในหนังสยองขวัญส่วนใหญ่ แต่พวกเขามีความขัดเขิน, ความลังเลใจ, ความเป็นห่วงเป็นใยความรู้สึกของเพื่อน หรือมีการแสดงออกที่มีความเป็นมนุษย์อย่างมากๆ
จุดหนึ่งที่ดิฉันชอบมากในหนังเรื่องนี้คือการที่หนังทำให้เรารู้สึกราวกับว่า เหยื่อในหนัง เป็น “มนุษย์ผู้น่าสงสาร” เป็นมนุษย์ที่เคยใช้ชีวิตมานาน 20 ปีจริงๆ และพวกเขาเป็นมนุษย์ที่มีความฝัน, ความหวัง, ความรัก และไม่ได้เป็นเพียง “ตัวละคร” ที่ถูกสร้างขึ้นเพียงเพื่อ “ถูกฆ่าตาย” แบบที่พบได้ในหนังสยองขวัญทั่วไป ในความรู้สึกส่วนตัวของดิฉัน ตัวละครใน WOLF CREEK ดูเหมือนมนุษย์จริงๆยิ่งกว่าตัวละครในหนังดราม่าหลายเรื่องเสียอีก
http://miac.uqac.ca/MIAC/40.jpg
นอกจากการสร้างตัวละครที่ดูมีชีวิตเลือดเนื้อและจิตวิญญาณจริงๆแล้ว อีกจุดหนึ่งที่ดิฉันชอบมากใน WOLF CREEK ก็คือการถ่ายทอด “ธรรมชาติ” ในเรื่อง หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นทัศนียภาพในชนบทออสเตรเลียที่สวยงามจนสุดจะบรรยาย แต่ความงามของทัศนียภาพในหนังเรื่องนี้กลับให้ความรู้สึกที่ตรงกันข้ามอย่างรุนแรงกับเหตุการณ์อันโหดร้ายที่เกิดขึ้นในเรื่อง ชะตากรรมอันน่าสงสารของมนุษย์ท่ามกลางทัศนียภาพอันงดงามใน WOLF CREEK ทำให้ดิฉันนึกถึงงานวรรณกรรมบางเรื่องที่ดูเหมือนจะตั้งคำถามต่อความโหดร้ายของ “จักรวาล” อย่างเช่น นิยายเรื่อง TESS OF THE D’UBERVILLES ที่ประพันธ์โดย Thomas Hardy ซึ่งมีประโยคที่นางเอกพูดกับพระเอกว่า “I shouldn’t mind learning why—why the sun do shine on the just and the unjust alike.” , นิยายเรื่อง LORD OF THE FLIES ของ William Golding ที่มีฉากผีเสื้อบินเริงร่าอย่างสวยงามในขณะที่สุกรถูกฆ่าตายอย่างโหดเหี้ยม และบทกวี APPARENTLY WITH NO SURPRISE ของ Emily Dickinson ที่พูดถึงดอกไม้ผู้เริงร่าที่ถูกฆ่าตัดหัวอย่างกะทันหัน ในขณะที่พระอาทิตย์ก็ดูเหมือนจะเฉยชาต่อเหตุการณ์ดังกล่าว
http://ec2.images-amazon.com/images/P/B0002O7XVI.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1091677876_.jpg
http://ec2.images-amazon.com/images/P/0780022084.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056486510_.jpg
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B00005O06X.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1057223994_.jpg
ดิฉันคิดว่า APPARENTLY WITH NO SURPRISE สื่อถึงอารมณ์ “ความโหดร้ายของจักรวาล” ได้ใกล้เคียงกับ WOLF CREEK มากๆค่ะ ก็เลยขออนุญาตนำกลอนบทนี้มาให้อ่านกันด้วย เพราะมันเข้ากับหนังเรื่องนี้มากๆ
Apparently with no surprise,To any happy flower, The frost beheads it at its play,In accidental power.The blond assassin passes on.The sun proceeds unmoved,To measure off another day,For an approving God.
รูปของ EMILY DICKINSON
http://www.unc.edu/~gura/dickinson/ed1.jpg
ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ผลิตภาพยนตร์ที่ดิฉันชอบสุดๆออกมามากมายหลายเรื่อง ทั้งนี้ นอกจาก WOLF CREEK แล้ว ภาพยนตร์ออสเตรเลียที่ดิฉันชอบสุดๆยังรวมถึงเรื่อง
3.1 KICKFLIPPER: FRAGMENTS EDIT (2003, Shuan Gladwell)
***ภาพยนตร์ของ SHAUN GLADWELL +CRAIG WALSH จะมาจัดฉายที่ CHULALONGKORN UNIVERSITY ART CENTRE ในวันที่ 1 ก.พ. – 6 มี.ค. สอบถามข้อมูลได้ที่ 02-218-2965
http://www.nga.gov.au/HomeSweetHome/Images/LRG/1.jpg
3.2 EPSILON (1997, Rolf de Heer)
3.3 INNOCENCE (2000, Paul Cox)
http://www.mun.ca/film/image/2002w/innocence.jpg
3.4 LINEAGE OF THE DIVINE (2002, Monika Tichacek)
http://www.asialink.unimelb.edu.au/arts/exhibitions/divine1.jpg
http://www.realtimearts.net/rt53/ticha.jpg
3.5 MUSPILLI (2004, Stefan Popescu)
3.6 KISS OR KILL (1997, Bill Bennett)
http://www.douban.com/lpic/s1484646.jpg
3.7 AMELIA ROSE TOWERS (1992, Jackie Farkas)
http://www.sensesofcinema.com/contents/00/1/amelia.html
http://www.sensesofcinema.com/images/amelia.jpg
3.8 BETTER THAN SEX (2000, Jonathan Teplitzky)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B00009QUH7.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1071106288_.jpg
3.9 PICNIC AT HANGING ROCK (1975, Peter Weir)
http://www.dvdbeaver.com/film/dvdcompare/picnic/0.25.12-cri.jpg
3.10 LANTANA (2001, Ray Lawrence)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B0000639HN.01._SS500_SCLZZZZZZZ_V1056708637_.jpg
อ่านบทวิจารณ์ LANTANA ที่ดีมากๆโดยคุณพล พะยาบได้ที่
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=aloneagain&month=10-2006&date=06&group=1&blog=1
4. CAPOTE (2005, Bennett Miller)
หนังที่สร้างขึ้นจากเรื่องจริงเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของทรูแมน คาโปที (Philip Seymour Hoffman) นักเขียนชื่อดังในสหรัฐในปี 1959 โดยในปีนั้นเขาได้ทราบข่าวการฆาตกรรมอันโหดเหี้ยมและไร้เหตุผลในเมืองโฮลคอมบ์ รัฐแคนซัส ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตทั้งครอบครัวเป็นจำนวน 4 คน ดังนั้นคาโปทีจึงเดินทางไปเมืองนี้เพื่อติดตามคดี และเขาเน้นสัมภาษณ์เพอร์รี สมิธ ซึ่งเป็นหนึ่งในฆาตกรโหด อย่างไรก็ดี เขาเริ่มรู้สึกผูกพันกับเพอร์รีมากขึ้นเรื่อยๆ เขารู้สึกอยากช่วยเหลือเพอร์รี แต่ในขณะเดียวกันเขาก็รู้สึกอยากให้เพอร์รีถูกประหารชีวิต เพื่อที่เขาจะได้มีตอนจบที่เหมาะสมให้กับหนังสือ IN COLD BLOOD ของเขา
จุดหนึ่งที่ทำให้ดิฉันชอบภาพยนตร์เรื่องนี้มากๆ ก็คือความรู้สึกที่ว่าตัวละครอย่างคาโปทีเป็นตัวละครที่ใกล้เคียงดิฉันมากกว่าตัวละครที่พบเห็นได้ในภาพยนตร์ทั่วๆไป ดิฉันพบว่าคาโปทีทำอะไรหลายๆอย่างหรือตัดสินใจอะไรหลายๆอย่างที่อาจจะใกล้เคียงกับดิฉัน เพราะหลายๆครั้งดิฉันรู้สึกสนใจอยากสัมภาษณ์ฆาตกรชาวไทยหลายๆคน แต่ก็ไม่กล้าพอ (และหลังจากดู CAPOTE จบแล้ว ดิฉันก็รู้สึกว่า “ความไม่กล้า” ของตัวเองอาจจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว) และดิฉันคงถูกดึงดูดเข้าหาเพอร์รี สมิธ (รับบทโดย Clifton Collins Jr.) อย่างรุนแรงในทันทีที่เห็นเขาในกรง ความผูกพันระหว่างคาโปทีกับเพอร์รี สมิธสร้างความรู้สึกซาบซึ้งกินใจให้ดิฉันอย่างมากๆ ถีงแม้มันจะเต็มไปด้วยการแสวงหาประโยชน์จากกันและกันก็ตามถึงแม้ดิฉันจะไม่เห็นด้วยที่คาโปทีแสวงหาประโยชน์จากฆาตกร แต่ก็ชอบที่หนังเรื่องนี้นำเสนอด้านลบของคาโปทีอย่างไม่ปิดบัง ประโยคที่บาดใจที่สุดประโยคนึงในหนังเรื่องนี้คือประโยคที่ตำรวจถามคาโปทีในทำนองที่ว่า “ชื่อหนังสือ IN COLD BLOOD มันหมายถึงการกระทำของฆาตกร หรือมันหมายถึงการที่คุณยังคงคุยกับฆาตกรอยู่” หนังเรื่องนี้นำเสนอด้านมืดในตัวคาโปทีออกมาได้อย่างน่าสนใจมาก ในขณะที่หนังเรื่องอื่นๆ นำเสนอตัวละครสีดำขาว หรือเทา แต่ตัวละครอย่างคาโปทีและฆาตกรของเขาดูเหมือนจะเต็มไปด้วยสีดำ แต่ก็เป็นความดำในแบบที่แตกต่างกัน มีเฉดของสีดำที่แตกต่างกันในการตัดสินใจกระทำการแต่ละครั้ง มีความรู้สึกผิดบาปและความสุขที่เจือปนกันในสัดส่วนที่แตกต่างกันไปในการที่ตัวละครคิดชั่ว, พูดชั่ว หรือทำชั่วในแต่ละครั้ง ถ้าหาก CAPOTE เปลี่ยนชื่อเรื่องใหม่ ดิฉันคิดว่าหนังเรื่องนี้อาจตั้งชื่อได้ใหม่ว่า 40 SHADES OF BLACK หรือไม่ก็ TOUCH OF EVILเป็นเรื่องยากที่จะบอกได้ว่าคาโปทีทำถูกหรือทำผิดที่ไม่ยอมช่วยเหลือฆาตกร เขาไม่ยอมช่วยเหลือฆาตกรด้วยเจตนาที่ไม่บริสุทธิ์ แต่ถึงแม้เขามีเจตนาที่ไม่ถูกต้อง การกระทำของเขาก็อาจจะถูกต้องแล้วก็ได้ ถ้าหากเขาช่วยเหลือฆาตกรอย่างเต็มที่ เขาอาจจะต้องสำนึกเสียใจในภายหลังแบบที่พระเอกภาพยนตร์เรื่อง CRONICAS (2004, Sebastian Cordero, เม็กซิโก) ต้องประสบก็เป็นได้ คาโปทีเหมือนกับเผชิญกับทางเลือกที่มีแต่เสียกับเสีย ไม่ว่าเขาจะช่วยหรือไม่ช่วยฆาตกร เขาก็ต้องเสียใจในภายหลัง เขาต้องเลือกเพียงแค่ว่าทางเลือกไหนที่จะทำให้เขาเสียใจน้อยกว่ากันดิฉันชอบความเคร่งขรึมจริงจังหนักแน่นของหนังด้วย CAPOTE เล่าเรื่องด้วยวิธีการที่ธรรมดาที่สุด เรียบง่ายที่สุด ไม่มีโครงสร้างการเล่าเรื่องที่ซับซ้อน ไม่มีการโชว์เทคนิคการถ่ายภาพที่สวยงามจนต้องร้องอู้ฮู ไม่มีอะไรที่ตื่นตาเลย แต่ในฉากหน้าที่เรียบง่ายธรรมดา เล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมานี้ กลับมีความหนักแน่นทางอารมณ์บางอย่างที่ดิฉันรู้สึกจูนติดกับมันอย่างมากๆ ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าโดยปกติแล้วดิฉันมีแนวโน้มที่จะชอบหนังที่พิสดารแหวกแนว แต่หนังอย่าง CAPOTE, MONSTER (2003, Patty Jenkins), A HOME AT THE END OF THE WORLD (2004, Michael Mayer), THE ASSASSINATION OF RICHARD NIXON (2004, Neils Mueller), EVERYTHING’S FINE, WE’RE LEAVING (2000, Claude Mourieras, ฝรั่งเศส) และรวมไปถึงหนังหลายเรื่องของ Maurice Pialat ก็เป็นหนังที่ดิฉันชอบสุดๆเหมือนกัน ทั้งๆที่หนังเหล่านี้เล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมาด้วยวิธีการที่ธรรมดามากๆ แต่มันมีความหนักแน่นทางอารมณ์ในทุกๆฉากที่จูนตรงกับอารมณ์ของดิฉันอย่างเต็มที่ และหนังกลุ่มนี้นี่แหละที่มักทำให้ดิฉันนึกฉงนสงสัยอยู่เสมอว่าผู้กำกับทำทุกอย่างให้ออกมาลงตัวตรงใจของดิฉันได้ยังไง โดยไม่ต้องอาศัยความพิสดารมาล่อใจดิฉันเลย
รูปจาก EVERYTHING'S FINE, WE'RE LEAVING (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ในหนังสือ ฟิล์มไวรัส 3)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/04/86/11/048611_af.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/04/86/11/048611_ph1.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/04/86/11/048611_ph2.jpg
รูปของ CLAUDE MOURIERAS ผู้กำกับ EVERYTHING'S FINE, WE'RE LEAVING
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/04/86/11/048611_ph4.jpg
ปี 2006 เป็นปีที่มีหนังเกย์เข้ามาเปิดฉายในกรุงเทพมากมายหลายเรื่อง ทั้งนี้ นอกจาก CAPOTE แล้ว หนังเกย์ที่ดิฉันชอบมากๆในปี 2006 ยังรวมถึงเรื่อง
4.1 BROKEBACK MOUNTAIN (2005, Ang Lee)
4.2 แก๊งชะนีกับอีแอบ (METROSEXUAL) (2006, ยงยุทธ ทองกองทุน)
4.3 ODETE (TWO DRIFTERS) (2005, Joao Pedro Rodrigues, โปรตุเกส)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/80/43/18464403.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/80/43/18425900.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/80/43/18425907.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/80/43/18425908.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/80/43/18425905.jpg
4.4 BIG BANG LOVE, JUVENILE A (2006, Takashi Miike)
4.5 I DON'T WANT TO SLEEP ALONE (2006, Tsai Ming-liang)
4.6 MASAHISTA (THE MASSEUR) (2005, Brillante Mendoza, ฟิลิปปินส์)
http://www.viennale.at/cgi-bin/img.pl?id=7817
4.7 ปลายทาง (YOU ARE WHERE I BELONG TO) (2006, ธัญสก พันสิทธิวรกุล)
4.8 รัก/ผิด/บาป (IN THE NAME OF SIN) (2006, ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ + นิกร ศรีพงศ์วรกุล)
4.9 รุ้ง (2006, เด่นชัย คีรีรักษ์)
4.10 ในห้องนั้น (THE ROOM) (2006, คมสันต์ บุญญะวิตร)
5. SOPHIE SCHOLL: THE FINAL DAYS (2005, Marc Rothemund, เยอรมนี)
หนังเรื่องนี้ก็สร้างขึ้นจากเรื่องจริงเหมือน CAPOTE แต่แตกต่างกันตรงที่โซฟี โชลล์ ตัวละครเอกของหนังเรื่องนี้เป็นเหมือน “บุคคลในอุดมคติ” หรือบุคคลที่เราอยากเคารพในชีวิตจริง มากกว่าจะเป็นบุคคลที่มีข้อบกพร่องใกล้เคียงกับตัวเราอย่างคาโปที
จุดที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้ก็คือการที่หนังดูเหมือนจะให้แรงกระตุ้นกับผู้ชมอย่างรุนแรงในการลุกขึ้นต่อสู้กับความชั่ว, ความอยุติธรรม หรือสิ่งผิดแม้ต้องยอมสละด้วยชีวิต และหนังก็ไม่ได้เร้าอารมณ์ผู้ชมอย่างรุนแรงด้วยวิธีการแบบหนังฮอลลีวู้ด แต่นำเสนอเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการรักษาระดับอารมณ์ไว้ในขีดขั้นที่พอเหมาะ หนังนำเสนอเหตุการณ์ต่างๆอย่างเรียบง่าย และมีการปรุงแต่งทางอารมณ์เพียงเล็กน้อย ไม่มีการใช้ดนตรีประกอบที่พร่ำเพรื่อ และถึงแม้เหตุการณ์ในหนังจะเอื้อต่อการบีบน้ำตาคนดู หรือเอื้อต่อการเป็นเมโลดราม่าอย่างมากๆ แต่หนังกลับไม่ได้ทำให้เรารู้สึกถึงความเป็นเมโลดราม่าเลยแม้แต่น้อย
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/35/73/18608397.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/35/73/18608398.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/35/73/18608399.jpg
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/35/73/18608402.jpg
ประเด็นในหนังก็น่าสนใจดี เพราะในขณะที่การกระทำของโซฟี โชลล์เป็นการทำดี แต่เธอกลับถูกมองว่า “ทรยศชาติ” และ “ทำผิดกฎหมาย” ตัวละครอย่างโซฟี โชลล์ทำให้ดิฉันนึกถึงตัวละครหญิงอีกหลายๆคนในหนังหรือละครเวทีที่มุ่งมั่นในการทำความดีแม้ต้องสวนทางกับผู้มีอำนาจในสังคมหรือแม้ต้องแลกด้วยชีวิต ตัวละครเหล่านี้ก็มีเช่น “ซอนย่า”(รับบทโดย Lena Stolze) หญิงสาวผู้ขุดคุ้ยหาความจริงเกี่ยวกับนาซีในหมู่บ้านที่ต้องการกลบฝังความจริงในภาพยนตร์เรื่อง THE NASTY GIRL (1990, Michael Verhoeven, เยอรมนี), อลิซ พอล (รับบทโดย Hilary Swank) หญิงสาวผู้เรียกร้องสิทธิในการออกเสียงของสตรีใน IRON JAWED ANGELS (2004, Katja von Garnier), โจน ออฟ อาร์ค (รับบทโดย Maril Falconetti) วีรสตรีของฝรั่งเศสใน THE PASSION OF JOAN OF ARC (1928, Carl Theodor Dryer, เดนมาร์ก), อาริอาดเน่ (รับบทโดยภาวิณี สมรรคบุตร) หญิงสาวในตำนานกรีกผู้เทิดทูนความจริงในละครเวทีเรื่อง “เส้นด้ายในความมืด” (2005, กำกับโดยพนิดา ฐปนางกูร) และแอนธิโกเน หญิงสาวในตำนานกรีกผู้สละชีพเพื่อความถูกต้องในละครเวทีเรื่อง “แอนธิโกเน ผู้มีพลังใจดุจไฟไม่มอดดับ” (2006, กำกับโดยสินีนาฏ เกษประไพ) การได้ชมตัวละครหญิงที่กล้าหาญชาญชัยและมีความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าแบบนี้ช่วยให้กำลังใจผู้ชมในการต่อสู้กับความเลวร้ายในชีวิตได้อย่างดีมากๆเลยค่ะ
รูปของ LENA STOLZE จาก THE NASTY GIRL
http://dbs.schule.de/zdf/bilder/18398_3.jpg
HILARY SWANK ใน IRON JAWED ANGELS
http://www.rgj.com/news/files/2004/02/11/39552_250.jpg
การแสดงอันสุดยอดของ Julia Jentsch ในบทของโซฟี โชลล์ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้อย่างมากๆ ทั้งนี้ นอกจากการแสดงของนางเอกหนังเรื่องนี้แล้ว การแสดงของนักแสดงหญิงคนอื่นๆที่ดิฉันชื่นชอบสุดๆในปี 2006 ยังรวมถึงเรื่อง
5.1 Birgit Minichmayr ใน YOU BET YOUR LIFE (2005, Antonin Svoboda, ออสเตรีย)
http://www.players.de/64/bild1k.jpg
5.2 Fusako Urabe ใน BASHING (2005, Masahiro Kobayashi)
5.3 Nathalie Baye ใน THE LITTLE LIEUTENANT (2005, Xavier Beauvois)
รูปของ NATHALIE BAYE จาก DETECTIVE (1985, JEAN-LUC GODARD)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/15/70/18456510.jpg
5.4 พิมพ์พรรณ ชลายนคุปต์ ใน "โคลิค เด็กเห็นผี" (2006, พัชนนท์ ธรรมจิรา)
5.5 Kang Hye-jeong ใน LOVE PHOBIA (2006, Kang Ji-eun)
5.6 Elizabeth Mitchell (คนที่พยายามลักพาเด็ก) ใน RUNNING SCARED (2006, Wayne Kramer)
5.7 Pinky de Leon (สาวแก่ที่หลอกกินฟรีผู้ชายขายตัว) ใน MAGDALENA: THE UNHOLY SAINT (2004, Laurice Guillen, ฟิลิปปินส์)
5.8 Eva Birthistle ใน AE FOND KISS… (2004, Ken Loach)
http://thecia.com.au/reviews/f/images/fond-kiss-0.jpg
5.9 Susie Porter ใน BETTER THAN SEX (2000, Jonathan Teplitzky)
http://www.thecaterpillarwish.com/USERIMAGES/prod%20stills%20-%202262%20copy.jpg
5.10 Seema Biswas ใน WATER (2005, Deepa Mehta)
Thursday, January 18, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment