ตอบคุณ FILMSICK
อาถรรพณ์ INDIA SONG
--ไม่รู้ว่าคุณ FILMSICK จงใจหรือไม่ได้ตั้งใจ แต่ในวันเสาร์ที่ 13 ม.ค. คุณ FILMSICK ได้ส่ง sms มาหาดิฉันว่า DID YOU GO TO VISIT MARGUERITE DURAS TOMORROW?
ประโยคข้างบนอาจจะผิดหลักไวยากรณ์ เพราะมีการใช้คำว่า DID และ TOMORROW ในประโยคเดียวกัน แต่ในความเห็นส่วนตัวของดิฉัน ประโยคนี้ถือเป็นการเขียนที่ถูกต้องที่สุด เพราะเมื่อใดก็ตามที่คุณพูดถึงหนังของมาร์เกอริต ดูราส์ คุณก็ควรจะใช้ประโยคที่มีทั้งอดีต, ปัจจุบัน, อนาคตอยู่ภายในประโยคเดียวกัน จนไม่รู้ว่าผู้พูดและผู้ฟังอยู่ในจุดเวลาใดกันแน่
ไม่รู้ว่าคุณ FILMSICK จงใจเขียนแบบนั้นเองหรือเปล่า แต่ถ้าหากคุณ FILMSICK ไม่ได้ตั้งใจเขียนแบบนั้น ประโยคนี้ก็คงจะเกิดจากอาถรรพณ์ของหนังเรื่อง INDIA SONG ที่สามารถทำให้สมองของคุณ FILMSICK หลุดเข้าไปในห้วงเวลาพิศวงตั้งแต่ก่อนดูหนังเรื่องนี้ ฮ่าๆๆๆ
--เนื้อหาในหนังสารคดีเรื่อง THE COLOUR OF WORDS: INDIA SONG บ่งบอกว่า MARGUERITE DURAS อาจจะมีส่วนร่วมกับตัวละครหญิงขอทานจริงๆด้วยค่ะ เพราะ MARGUERITE DURAS ได้รับแรงบันดาลใจส่วนหนึ่งในการสร้าง INDIA SONG มาจากประสบการณ์ในวัยเด็กของเธอเองในช่วงที่อยู่อินโดจีน ในตอนนั้นครอบครัวของเธอยากจนมาก และแม่ของเธอก็เป็นเพียงครูจนๆที่ต้องสอนเด็กๆเอเชีย และส่งผลให้ถึงแม้ว่าดูราส์จะเป็นเด็กหญิงชาวฝรั่งเศส เธอก็ถูกจัดแบ่งชนชั้นว่าเป็นเหมือนกับเด็กเอเชียจนๆคนหนึ่ง ครอบครัวของเธอไม่เคยได้รับเชิญให้ไปร่วมงานเลี้ยงอันหรูหราในสถานทูตฝรั่งในช่วงนั้นเลย ดังนั้นดูราส์ในวัยเด็กจึงได้แต่แอบมองงานเลี้ยงในสถานทูตอยู่ห่างๆจากข้างนอกรั้ว สถานะของดูราส์ในวัยเด็กจึงไม่แตกต่างจากหญิงขอทานแต่อย่างใด
อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวละครหญิงขอทานก็คือ ดูราส์บอกว่าตัวละครทุกคนใน INDIA SONG เป็น TRAGEDY หมด ยกเว้นตัวละครหญิงขอทาน เพราะตัวละครตัวนี้ BEYOND TRAGIC
ถ้าเข้าใจไม่ผิด ผู้ให้เสียงเป็นหญิงขอทานเป็นนักศึกษาจากลาว และดูราส์บอกว่าเสียงหญิงขอทานนี้เฮี้ยนมากๆ เพราะเธอเคยนำเสียงนี้มาเปิดให้กองถ่ายฟังหลายครั้ง แต่เมื่อใดก็ตามที่เธอเปิดเสียงหญิงขอทานขึ้นมา ทุกคนในกองถ่ายก็จะเหมือนตกอยู่ใต้มนต์สะกด และไม่สามารถทำงานอะไรได้ นอกจากต้องหยุดอยู่นิ่งๆเมื่อได้ยินเสียงนี้
เหตุการณ์ใน INDIA SONG หลายๆอย่างดัดแปลงมาจากเหตุการณ์ในชีวิตของ DURAS ช่วงที่อยู่อินโดจีน แต่ดูราส์เปลี่ยนสถานที่เกิดเหตุการณ์ให้เป็นกัลกัตตาแทน
ตัวละคร ANNE-MARIE STRETTER นั้นก็ดัดแปลงมาจากสตรีสูงศักดิ์และทรงเสน่ห์คนหนึ่งที่เป็นเจ้าแม่อยู่ในสถานทูตในยุคนั้น ดูราส์ได้แต่แอบมองผู้หญิงคนนี้อยู่ห่างๆในวัยเด็ก และดูราส์ซึ่งขณะนั้นมีอายุราว 8 ขวบก็ตกใจมากเมื่อได้รู้ว่ามีผู้ชายคนนึงฆ่าตัวตายเพราะผิดหวังในความรักที่มีต่อ ANNE-MARIE STRETTER เหตุการณ์นั้นทำให้ดูราส์ช็อคมาก เพราะดูราส์ซึ่งมีอายุ 8 ขวบในตอนนั้นไม่เคยรู้มาก่อนว่าความรักมันจะทรงอานุภาพได้มากขนาดนี้
ถ้าเข้าใจไม่ผิด หลังจากดูราส์เริ่มแต่งนิยายเกี่ยวกับ ANNE-MARIE STRETTER แล้ว ลูกสาวของ ANNE-MARIE STRETTER ตัวจริงก็ได้เขียนจดหมายติดต่อกับดูราส์ด้วย โดยบอกว่าตอนนี้เธอ (ในหนังใช้คำว่า she ซึ่งดิฉันไม่แน่ใจว่าหมายถึง ANNE-MARIE STRETTER หรือลูกสาว) มีอายุ 90 กว่าปีแล้ว และเธอยังคงจำเด็กผู้หญิงอายุ 8 ขวบกับแม่ม่ายจนๆที่ไม่เคยได้รับเชิญให้มาร่วมงานเลี้ยงสถานทูตได้
ดูราส์บอกว่า ANNE-MARIE STRETTER ตัวจริงเปรียบเหมือนกับเป็น “แม่” อีกคนนึงของดูราส์ เพราะดูราส์ในตอนเด็กคงมองว่าผู้หญิงคนนี้เป็นแม่แบบที่น่าเกรงขามและสง่างามกว่าแม่จริงๆของตัวเอง
ดิฉันไม่ทันได้สังเกตเลยว่า คนดูจะไม่ได้ยินเสียงของ MICHAEL RICHARDSON เลยตลอดหนังเรื่องนี้ โดยคนดูจะได้เห็นเพียงแค่ IMAGE ของเขาเท่านั้น แต่เขาจะไม่มี VOICE ในหนังเรื่องนี้
การแสดงของ INDIA SONG เป็นการแสดงแบบที่ประหลาดกว่าหนังทั่วไป เพราะนักแสดงจะไม่ได้ทำให้ “ตัวละคร” ปรากฏขึ้นมาแบบในหนังทั่วๆไป พวกเขาไม่ได้แสดงเป็นตัวละครแบบ 100 % เต็ม แต่จะแสดงความเป็นตัวเองออกมาด้วย
DELPHINE SEYRIG และ MICHAEL LONSDALE ร่วมให้สัมภาษณ์ในหนังสารคดีเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน โดย SEYRIG บอกว่าเธอเองก็ไม่ได้เข้าถึงความเป็น ANNE-MARIE STRETTER ของ DURAS มากนัก แต่เธอใช้ประสบการณ์ของตัวเองในดินแดนอาณานิคมเข้าช่วยในการทำความเข้าใจกับตัวละครตัวนี้ในแบบของเธอเอง
ทั้ง SEYRIG และ LONSDALE บอกว่าการแสดงในหนังเรื่องนี้มีอย่างนึงที่สบายกว่าการแสดงหนังเรื่องอื่นๆ เพราะหนังเรื่องนี้ไม่ได้บันทึกเสียงจริงในระหว่างการแสดง ดังนั้นนักแสดงจึงไม่ต้องระมัดระวังเรื่องเสียงมากนักในระหว่างการแสดง
ในระหว่างการแสดงหนังเรื่องนี้ นักแสดงจะได้ฟังเสียงดนตรีบางอย่างตลอดเวลา และนักแสดงก็จะใช้ดนตรีนั้นในการทำอารมณ์ และแสดงออกตามอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากเสียงดนตรีนั้น โดยที่ผู้ชมจะไม่ได้ยินเสียงดนตรีเดียวกับที่นักแสดงได้ยินแต่อย่างใด
หลักการสำคัญในการสร้างหนังของดูราส์ก็คือการจงใจไม่มี psychology และดูราส์บอกให้นักแสดงของเธอไม่คิดถึง “แรงจูงใจ” ของตัวละคร แต่ให้แสดงออกตามบทไปเลยโดยไม่มีแรงจูงใจ และนักแสดงอย่างเช่น LONSDALE ก็บอกว่าวิธีการแสดงแบบ ACTION FIRST, MOTIVATION LATER นี้ กลับทำให้เขาเข้าถึงต้วละครได้อย่างน่าประหลาดมาก
อีกจุดนึงที่ประหลาดใจมากๆก็คือว่า เสียงตะโกนกรีดร้องของ MICHAEL LONSDALE ในหนังเรื่องนี้นั้น ไมได้เกิดจากความตั้งใจล่วงหน้า แต่เกิดจากการที่อยู่ดีๆ LONSDALE ก็รู้สึกขึ้นมาอย่างฉับพลันว่า เขาต้องการจะกรีดร้องโหยหวนให้สุดเสียง และดิฉันก็รู้สึกว่าเสียงกรีดร้องของเขามันบาดลึกถึงจิตวิญญาณมากๆ
อีกหนึ่งประโยคของ DURAS ที่ดิฉันชอบสุดๆคือ
“I APPROACH CINEMA WITH THE INTENTION TO MURDER IT.”
มีการจัดเทศกาลภาพยนตร์ MARGUERITE DURAS ตามต่างประเทศด้วย ดูรายละเอียดได้ที่
http://fiaf.org/french%20film/winter2006/2006-01-marguerite-duras-films.shtml
--copy from filmsick’s blog
http://filmsick.exteen.com/20070122/afternoon-time
AFTERNOON TIME (2005, TOSSAPOL BOONSINSUKH, A+++++)
ขอบคุณมากค่ะที่คุณ FILMSICK เขียนถึงหนังเรื่อง AFTERNOON TIME เขียนได้ดีสุดๆเลยค่ะ ดิฉันได้ print ความเห็นนี้เก็บเอาไว้เลย
คุณอ้วนเคยแสดงความเห็นเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ และเคยลงรูปประกอบหนังเรื่องนี้ไว้ใน SCREENOUT หน้า 116 ค่ะ
http://xq28.net/s/viewtopic.php?t=3437&start=2875
ตอนนี้ได้ดูหนังของคุณทศพล บุญสินสุขไปรวมกันแล้ว 19 เรื่องค่ะ ได้แก่เรื่อง
1.AFTERNOON TIME (2005, A++++++++++)
หนังที่ชอบที่สุดในปี 2005 ของใครบางคนใน SENSES OF CINEMA
http://www.sensesofcinema.com/contents/06/38/world_poll3.html#Phokaew
2.LIFE IS SHORT 2 (2006, A++++++++++)
3.SHE IS READING NEWSPAPER (2005, A++++++++++)
4.ห้ามอุ่นไข่ในไมโคเวฟเดี๋ยวระเบิดตูม! (2005, A+++++)
5.NICE TO MEET YOU (2005, A+++++)
6.NUAN (A+++++)
7.แล้วเมื่อไหร่เราจะได้พบกันอีกเสียที (WHEN WILL I SEE YOU AGAIN?) (2006, A+++++)
คุณธีพิสิฐ มหานีรานนท์ ดารานำชายของภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงได้อย่างน่ารักมากๆ
8.THE AUDIENCE (2005, A+)
9.ROOM:FIELD (2006, A+)
10.BETWEEN US IN ONE MORNING (2006, A+)
ชอบสิ่งที่ปรากฏตอนท้าย ending credit ของหนังเรื่องนี้มาก มันทำให้ความรู้สึกที่มีต่อตอนจบของเรื่องพลิกกลับไปในอีกทางนึงในทันที ถือได้ว่าเป็นการ “หักมุม” ที่ถูกใจดิฉันมากๆ ถึงแม้ดิฉันจะไม่แน่ใจว่าดิฉันเข้าใจหนังเรื่องนี้ถูกต้องหรือเปล่า
11.เธอจะคิดถึงฉันบ้างใช่ไหม (ARE YOU GONNA MISS ME?) (2006, A+)
ชอบการแสดงของนางเอกภาพยนตร์เรื่องนี้มากๆ
12.MISSING YOU (2005, A+)
13.UMBRELLA (2005, A+)
14.CHICKEN SMILE (2005, A+)
15.I’M SORRY (2003, A+)
16.NO ONE AT THE SEA (2005, A+)
17.THE LAST SKY PASSENGER (2004, A)
18. .__.__.__.__. (A)
19.DANCE TOGETHER (A-/B+)
หนังที่ถ่ายโดยใช้โทรศัพท์มือถือ
--ดิฉันมีความเห็นต่างจากคุณ filmsick เล็กน้อยค่ะ เพราะดิฉันชอบการแสดงของนางเอกหนังเรื่องนี้มากพอสมควร ถึงแม้มันอาจจะไม่ใช่การแสดงที่ดีในแบบหนังทั่วไป เพราะดิฉันคิดว่าการแสดงแบบนี้มันเป็นเสน่ห์แบบที่มักพบได้ในหนังนักศึกษาของไทยค่ะ การแสดงแบบที่มักพบในหนังนักศึกษาของไทยไม่ใช่การแสดงแบบที่สมจริงสุดๆ แต่มันมีเสน่ห์น่ารักๆในแบบของมันเอง การแสดงของนางเอกหนังเรื่องนี้มีอยู่สองช่วงที่ดิฉันชอบมาก ซึ่งก็คือช่วงที่เธอพบกับคนส่งขนมปัง ตอนนั้นเธอทำอาการขัดเขิน เหมือนกับไม่รู้ว่าจะทำหน้ายังไงดี ไม่รู้ว่าจะพูด หรือไม่รู้ว่าควรจะทำกิริยายังไงดี ส่วนอีกช่วงก็คือช่วงที่คนส่งขนมปังหายหน้าไปหลายเดือน และเธอต้องเช็ดกระจกรอคอยด้วยอารมณ์ที่หม่นหมองมากๆ
อย่างไรก็ดี หนังเรื่อง AFTERNOON TIME ก็อาจจะมีจุดบกพร่องอยู่หลายจุด โดยเฉพาะการบันทึกเสียง ส่วนการแสดงนั้นก็อาจจะไม่ได้ดีสุดๆมากนัก ซึ่งดิฉันเดาว่าสาเหตุนึงเป็นเพราะว่าคุณทศพลถ่ายซ่อมได้ยาก เพราะ
1.นักแสดงเป็นเพื่อนๆด้วยกันเอง ซึ่งถ้าหากเพื่อนไม่ว่าง ก็ไม่สามารถบังคับให้มาถ่ายซ่อมได้
2.ฉากที่เป็นลองเทค อย่างเช่นฉากเก็บกระดาษ เป็นฉากที่ถ้าหากต้องถ่ายใหม่แล้ว ทีมงานคงจะต้องเหนื่อยมากๆ เพราะฉะนั้นในบางจุดก็เลยอาจจะต้องมีการปล่อยเลยตามเลยไปบ้าง
--พูดถึงหนังช้าๆของไทยแล้ว นอกจาก AFTERNOON TIME หนังไทยกลุ่ม “ช้าๆได้พร้าสองเล่มงาม” ยังมีเช่น
1.BIRTH OF THE SEANEMA (2004, SASITHORN ARIYAVICHA, A++++++++++)
2.ROUGH NIGHT (2001, SAMART IMKHAM, A++++++++++)
3.WINDOWS (1999, APICHATPONG WEERASETHAKUL, A++++++++++)
4.MARCH OF TIME (2000, URUPHONG RAKSASAD, A++++++++++)
5.EVERYTHING WILL FLOW (2000, PUNLOP HORHARIN, A+++++)
6.แม่นาค (1997, PIMPAKA TOWIRA, A+++++)
7.PRIVATE LIFE (2000, THUNSKA PANSITTIVORAKUL, A+)
8.VIOLET BASIL (2005, SUPAMOK SILARAK, A+)
9.SPACE (2005, SATHIT SATTARASART, A+)
10.SEE (2006, NAWAPOL THAMRONGRATTANARIT, A+)
--เห็นชื่อหนัง “แล้วเมื่อไหร่เราจะได้พบกันอีกเสียที” ของคุณทศพลแล้ว ทำให้นึกถึงเพลง WHEN WILL I SEE YOU AGAIN ของวง BROTHER BEYOND
ดูมิวสิควิดีโอเพลงนี้ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=R0_KyaaepCE
Wednesday, January 24, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment