Thursday, August 31, 2023

STRANGE HAIR

 

ขอบันทึกเหตุการณ์ประหลาดที่เราเจอในคืนวันที่ 30 ส.ค. (ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ปีเถาะ) นั่นก็คือ เมื่อเรากลับเข้าอพาร์ทเมนท์ จะอาบน้ำตอน 4 ทุ่ม เราก็พบว่า มีเส้นผมของใครก็ไม่รู้ ติดอยู่ที่ฝักบัวในห้องน้ำ ซึ่งเป็นเส้นผมที่มีขนาดความยาวกว่า 1 ฟุต ตามภาพในรูปนี้ เราก็เลยประหลาดใจมาก ว่ามันเป็นเส้นผมของใคร มาจากไหน มาติดอยู่ที่ฝักบัวในห้องน้ำได้อย่างไร มันไม่ใช่เส้นผมของเราแน่นอน เพราะเราตัดผมสั้นเกรียน และมันไม่น่าจะเป็นเส้นผมที่พัดปลิวมาจากทางเดินในอพาร์ทเมนท์ เพราะถ้ามันพัดปลิวมา หรือมันติดตัวเรามา มันก็น่าจะหล่นอยู่ตามพื้นห้อง ไม่น่าไปติดอยู่ที่ฝักบัวในห้องน้ำได้

 

ก็งง ๆ อยู่ว่าเส้นผมอาถรรพ์นี้มันมาจากไหน เราอยู่อพาร์ทเมนท์นี้มา 28 ปีแล้ว ไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน

 

ทฤษฎีเดียวที่พอเป็นไปได้ก็คือว่า มันติดมาจากเครื่องซักผ้า เพราะเราเอาผ้าไปซักตามเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ แล้วเราก็เอาถังน้ำไปใส่ผ้าที่ซักเสร็จแล้ว แล้วหลังจากนั้นเราก็เอาถังน้ำนั้นมาใช้รองน้ำโดยใช้วิธีจุ่มฝักบัวลงไปในถังน้ำ เส้นผมที่อาจติดค้างมาจากเครื่องซักผ้าหยอดเหรียญก็เลยอาจจะติดมากับเสื้อผ้าของเรา และก็ไปติดอยู่ในถังน้ำ และไปติดอยู่ที่ฝักบัวในที่สุด แต่เราว่าตอนที่เราเอาผ้าไปซัก เครื่องซักผ้ามันก็ดูสะอาดดีนะ เพราะถ้าหากมันมีเส้นผมติดอยู่ในนั้น เราก็มักจะเก็บมันออกก่อนเอาผ้าลงไปซัก

 

ถือเป็นหนี่งในปริศนาของชีวิตที่เรายังหาคำตอบไม่ได้

 

Edit เพิ่ม: เอ๊ะ หรือจริง ๆ แล้วคำตอบมันง่ายเหมือนเส้นผมบังภูเขา 55555 หรือมันอาจจะเป็นเส้นผมของใครก็ได้ตามท้องถนนที่ปลิวมาติดเสื้อผ้าของเรา แล้วหลังจากนั้นพอเราเอาเสื้อผ้าที่ซักเสร็จแล้วไปใส่ในถังน้ำ มันก็เลยไปติดในถังน้ำ แล้วพอเราเอาฝักบัวไปจุ่มในถังน้ำ มันก็เลยไปติดฝักบัว 5555 ตอนนี้เราขอเชื่อในทฤษฎีนี้แล้วกัน เพราะพอเราเชื่อในทฤษฎีนี้แล้ว เราก็รู้สึกสบายใจดี ไม่ต้องกังวลกับอาถรรพ์อะไร 55555

Monday, August 28, 2023

MAN SUANG VS. SHOWGIRLS

 

วันนี้เมื่อ 21 ปีที่แล้ว (28 ส.ค. 2002) เราได้ดูหนังเรื่อง DARK BLUE WORLD (2001, Jan Sverák, Czech Republic) และ SIGNS (2002, M. Night Shyamalan) ถ้าหากเราจำไม่ผิด เราได้ดู DARK BLUE WORLD ที่โรง Lido มั้ง จำไม่ได้ว่าใครเอาหนังเรื่องนี้มาจัดจำหน่ายในไทย แต่รู้สึกดีงามสุด ๆ ที่มีคนเอาหนังจากสาธารณรัฐเช็กมาจัดจำหน่ายในไทย เสียดายที่หลังจากนั้นก็เหมือนแทบไม่มีคนเอาหนังเช็กมาลงโรงฉายในไทยอีก

 

เราได้ดูหนังของ Jan Sverák แค่ 3 เรื่องมั้ง ซึ่งเราชอบ DARK BLUE WORLD น้อยสุดใน 3 เรื่องนี้ แต่ชอบ ACCUMULATOR 1 (1994) กับ KOOKY (2010) อย่างรุนแรงมาก ๆ KOOKY นี่ติดอันดับ 10 ในลิสท์หนังสุดโปรดของเราประจำปี 2011 ไปเลย

 

แต่เหมือนเรายังไม่ได้ดู KOLYA (1996) นะ ซึ่งน่าจะเป็นหนังที่ดังที่สุดของ Jan Sverák

 

จริง  ๆ แล้ว DARK BLUE WORLD นี่เหมือนเป็น prequel ของ THE CONFESSION (1970, Costa Gavras) ได้เลยนะ เพราะ DARK BLUE WORLD เล่าเรื่องของหนุ่มเช็กที่ลุกขึ้นต่อสู้กับนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แต่พอสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง วีรบุรุษหนุ่มเช็กกลับถูกจับเข้าคุก เพราะทางการมองว่าเขาอาจจะเป็นภัยต่อคอมมิวนิสต์ เรื่องราวที่เกิดขึ้นกับตัวละครใน DARK BLUE WORLD ก็เลยเหมือนเป็น “ภาคก่อนหน้า” ของเรื่องราวใน THE CONFESSION มาก ๆ

 ------------

เอ๊ะ เหมือนเมื่อไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ในฟีดเราน่าจะมีเพื่อนคนนึงเขียนเปรียบเทียบ แมนสรวง (2023, Ning Bhanbhassa Dhubtien, Chartchai Ketnust, Pond Krisda Witthayakajornlert, A+25) กับ SHOWGIRLS (1995, Paul Verhoeven) แต่ตอนนั้นเราไม่ได้อ่าน เพราะตอนนั้นเรายังไม่ได้ดู “แมนสรวง” เราก็เลยเลื่อนฟีดผ่านไปก่อน พอมาวันนี้เราจะลองอ่านดู แต่ก็ค้นไม่เจอแล้ว จำไม่ได้แล้วว่าเพื่อนคนไหนเขียนเปรียบเทียบหนังสองเรื่องนี้ไว้ด้วยกัน กรี๊ดดดดดด ใครเขียนก็บอกมาได้นะคะ เราอยากอ่านค่ะ เพราะพอเราดูหนังเรื่องแมนสรวง จบ เราก็รู้สึกว่ามันเป็นหนังที่เรา “นับถือ” แต่เราไม่ได้ชอบเป็นการส่วนตัว เพราะโดยรสนิยมส่วนตัวของเราแล้ว เราอยากให้มันออกมาเป็นแบบ SHOWGIRLS มากกว่า แบบว่าพระเอกเป็นคนยากจน และใช้ความหล่อล่ำหำตึงและความสามารถทางการรำของตัวเองในการไต่เต้า ฟาดผู้ชายหล่อ ๆ แต่ละคนในเรื่องพร้อมกับสืบความลับบนเตียงขุนนางหนุ่ม ๆ ทำตัวเป็น Mata Hari ไปเรื่อย ๆ 55555 “แมนสรวง” ในแบบที่เราชอบเป็นการส่วนตัว อาจจะต้องกำกับโดย Scud ไม่ก็ “แมลงปีศาจ” ค่ะ

Sunday, August 27, 2023

23 YEARS AGO

 

วันนี้เมื่อ 23 ปีก่อน (27 ส.ค.ปี 2000) เราได้ดูหนังเรื่อง ALL QUIET ON THE WESTERN FRONT (1979, Delbert Mann) และ JONATHAN LIVINGSTON  SEAGULL (1973, Hall Bartlett) แต่เราจำไม่ได้ว่าหนัง 2 เรื่องนี้ฉายที่ไหน 5555 มีใครจำได้บ้าง เราจำได้แค่ว่ามันคงเป็นงานฉายหนังจากวรรณกรรมหรืออะไรทำนองนี้ ซึ่งเราก็ได้ดู THE OLD MAN AND THE SEA กับ DON QUIXOTE ในงานนี้ด้วย แต่เราจำไม่ได้แล้วว่า เราได้ดูหนังสองเรื่องนี้เวอร์ชั่นไหน เพราะเหมือนมีการสร้าง THE OLD MAN AND THE SEA กับ DON QUIXOTE ออกมาหลายเวอร์ชั่นมาก ๆ

 

Monday, August 21, 2023

MONDO

 

MONDO รัก I โพสต์ I ลบ I ลืม (2023, Chookiat Sakveerakul, A+30)

 

SPOILERS ALERT

 

1.คิดว่าเนื้อเรื่องมันอาจจะเหมาะทำเป็น miniseries ยาว 4 ชั่วโมงหรือนานกว่านั้นนะ เพราะเราว่าอารมณ์มันกระโดด ๆ ในบางฉาก ก็เลยคิดว่าถ้าหากหนังมันยาวกว่านี้ อารมณ์ของหนังน่าจะ smooth มากขึ้น

 

2.จริง ๆ แล้วเราก็ไม่ได้อินกับตัวละครตัวไหนเลย แต่ชอบที่นางเอกเป็นคนที่สู้ชีวิตตัวคนเดียว ไม่มีครอบครัวให้พึ่งพา

 

3.ส่วนที่เราอินที่สุดกลับกลายเป็นช่วงท้าย ที่เป็นภาพตัดสลับชีวิตเพื่อนๆ นางเอกแต่ละคนที่ไม่สามารถทำตามความฝันของตัวเองสมัยยังเป็นวัยรุ่นได้ เพราะชีวิตจริงของเราเองก็เป็นคล้าย ๆ อย่างนั้น เนื้อหาตรงส่วนนี้ทำให้นึกถึงละครทีวีเรื่อง “จุดนัดฝัน” (1995, อิสริยะ จารุพันธ์) ซึ่งถือเป็น one of my most favrorite Thai TV series of all time ด้วย

 

ชอบที่หนังใส่ตรงส่วนนี้เข้ามาด้วย มันเหมือนแสดงให้เห็นว่า ถึงแม้หนังจะเล่าเรื่องชีวิตของพระเอกนางเอก แต่ชีวิตของทั้งสองคนนี้ก็อาจจะไม่ได้ “หนักหนาสาหัส” ไปกว่าชีวิตของคนอื่น ๆ รอบข้างแต่อย่างใด ชีวิตของหลาย ๆ คนรอบข้างนางเอกก็อาจจะชิบหายไม่แพ้กัน

 

4.แต่ส่วนที่คนอื่น ๆ อาจจะอินกัน แต่เรากลับไม่อินเลย ก็คือการนำเสนอเรื่องราวของครอบครัวพระเอก ซึ่งเราว่าหนังนำเสนอจุดนี้ได้ดีมาก ๆ และมันก็คงเป็นจุดแข็งของหนังของคุณ Chookiat อย่างที่หลาย ๆ คนเขียนไว้ นั่นก็คือการสร้างความซาบซึ้งจากความผูกพันระหว่างสมาชิกครอบครัวเดียวกัน เพียงแต่ว่าเราว่านี่เป็น “จุดดี” ของหนัง และเราก็ชอบที่หนังนำเสนอให้เราได้เห็นว่า “ชีวิตครอบครัวของคนอื่น ๆ นั้นเป็นอย่างไร” แต่ไม่ใช่จุดที่เราอินเป็นการส่วนตัวเท่านั้นเองจ้ะ

 

เหมือนปัญหาส่วนตัวที่เรามีกับหนังเรื่องนี้จะคล้าย ๆ กับปัญหาที่เรามีกับหนัง Bollywood หลาย ๆ เรื่อง 5555 นั่นก็คือหนัง Bollywood หลาย ๆ เรื่องมันสนุกมาก บันเทิงมาก ทำเก่งมาก แต่มันมักจะนำเสนอตัวละครที่มีปัญหากับสมาชิกครอบครัวตัวเอง ทะเลาะขัดแย้งตบตีกันอย่างรุนแรง แต่จบลงด้วยการที่ตัวละครเข้าใจกัน ประนีประนอมกันในครอบครัวตัวเองได้ในที่สุดน่ะ ไม่ได้จบลงด้วยการที่ตัวละครตัดขาดจากครอบครัวตัวเองอย่างสิ้นเชิงในตอนจบ (แต่หนัง Bollywood ทุกเรื่องก็ไม่ได้เป็นแบบนั้นนะ เพราะล่าสุดเรื่อง ROCKY AUR RANI KII PREM KAHAANI ก็จบลงในแบบที่สะใจเรา 555)

 

เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้ก็เลยจัดอยู่ในกลุ่ม “หนังที่เราชอบ แต่ไม่ได้อินเป็นการส่วนตัว” เรื่องนึงจ้ะ

 

5.ชอบซีนที่นางเอกไปกินข้าวกับครอบครัวพระเอกครั้งแรก แล้วได้รับรู้ว่าพวกเขานินทาเธอเป็นภาษาจีนว่าอย่างไร ฉากนั้นเดือดมาก ๆ และก็ชอบฉากที่นางเอกปะทะกับครอบครัวพระเอกในงานศพด้วย ฉากนั้นก็เดือดมาก ๆ เช่นกัน

 

เราว่าหนังสร้าง dilemma ที่ดีสำหรับเราด้วยแหละ เพราะหนังแสดงให้เห็นว่าทั้งฝ่ายนางเอกและฝ่ายครอบครัวพระเอกต่างก็มีข้อเสียหรือจุดบกพร่องในตัวเอง คือถึงแม้ว่าเราจะสะใจที่ได้เห็นนางเอกด่ากราดครอบครัวพระเอก แต่นางเอกก็เป็นคนที่มีข้อบกพร่องในตัวเองด้วย เราก็เลยเหมือนเข้าข้างนางเอกไม่ได้ไปซะทั้งหมด

 

6. ชอบการสร้างตัวละคร “ลูกน้องนางเอก” ที่เป็นหญิงสาวที่มีปัญหาในการทำงาน เรารู้สึกราวกับว่าตัวละครนี้น่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากคนจริง ๆ มาจากเด็กฝึกงานหรือพนักงานที่เป็นเด็กรุ่นใหม่ที่มีปัญหาในการทำงานจริง ๆ 555

 

7.ถึงแม้ว่าหนังเรื่องนี้จะเกี่ยวกับยุคสมัยปัจจุบัน แต่รายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ ในหนังก็ทำให้เรานึกถึงหนังเก่าบางเรื่องที่เราชื่นชอบมาก ๆ โดยที่ MONDO ไม่ได้ตั้งใจด้วย อย่างเช่นในฉากงานเลี้ยงรุ่น เราดูแล้วก็นึกถึง PEGGY SUE GOT MARRIED รักนั้น...หากเลือกได้ (1986, Francis Ford Coppola) และฉากที่ตัวละครเข้าไปในโลกดิจิทัลเพื่อพยายามกู้ข้อมูลเก่า เราดูแล้วก็นึกถึง DISCLOSURE (1994, Barry Levinson) 555

 

8.อยากให้มีคนทำ essay film ที่นำ “วัยรุ่น” หรือ “วัยหนุ่มสาว” ในหนังของคุณ Chookiat มาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน และวิเคราะห์อะไรบางอย่างจากตัวละครกลุ่มนี้ออกมา หรือวิเคราะห์สภาพครอบครัวและสังคมของแต่ละยุคสมัยที่รายล้อมตัวละครเหล่านี้ออกมา โดยนำตัวละครหรือสภาพครอบครัวและสังคมจาก

 

8.1 2003 (2003, documentary)

8.2 รักแห่งสยาม (2007)

8.3 โฮม ความรัก ความสุข ความทรงจำ (2012)

8.4 GREAN FICTIONS (2013)

8.5 DEW (2019)

8.6 MONDO (2023)

 

มาวิเคราะห์รวมกัน เราว่ามันอาจจะน่าสนใจดี

 

แต่ถ้าหากนับเฉพาะในหนังกลุ่มนี้ เราก็ชอบ 2003 มากที่สุดนะ

 

TRIP AFTER (2022, Ukrit Sa-nguanhai, short film, A+30)

 

ขอยอมรับว่าการดูหนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงสิ่งอื่น ๆ ที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ตั้งใจจะพูดถึงเลยแม้แต่นิดเดียว

 

หนังของคุณ Ukrit ยังคงมี magic บางอย่างที่เราชอบมาก ๆ

 

อยากให้มีคนเขียนวิเคราะห์ “วิธีการนำเสนอ/จัดการกับ ประวัติศาสตร์ ในภาพยนตร์ของ Chulayarnnon Siriphol, Saroot Supasuthivech, Chanasorn Chaikitiporn, Apichatpong Weerasethakul และ Ukrit Sa-nguanhai” แต่จริง ๆ แล้วหนังของคุณ Ukrit ที่นำเสนอประวัติศาสตร์ได้น่าสนใจแล้วเราเคยดู ก็มีแค่เรื่องนี้กับ LEVITATING EXHIBITION (2016) นะ ส่วนหนังเรื่องอื่น ๆ ของคุณ Ukrit ดูเหมือนจะไม่ได้เน้นนำเสนอประวัติศาสตร์มากนัก อย่างไรก็ดี เราคิดว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้ของคุณ Ukrit มันน่าสนใจมาก ๆ และเหมาะจะนำมาเปรียบเทียบกับหนังของคนอื่นๆ ซึ่งอาจจะรวมถึงการนำหนังเรื่อง DON’T FORGET ME (2003, Manassak Dokmai) มาร่วมเปรียบเทียบในกลุ่มนี้ด้วย

 

หนังเรื่องนี้จัดฉายที่ STORAGE จนถึงวันที่ 1 ต.ค. 2023 นะ

https://web.facebook.com/storage.art.bkk

 

 

Sunday, August 20, 2023

LIBRE GARANCE!

 

หนังเรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจในประเด็น SOCIAL MOVEMENT

 

1. FOXFIRE: CONFESSIONS OF A GIRL GANG (2012, Laurent Cantet, France) เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้หญิงในรัฐนิวยอร์คในทศวรรษ 1950

 

2.SUMMERTIME (2015, Catherine Corsini, France) เกี่ยวกับกลุ่ม radical Feminism ในทศวรรษ 1970

 

3.LIBRE GARANCE! (2022, Lisa Diaz, France) เกี่ยวกับกลุ่ม Red Brigades ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 หรือต้นทศวรรษ 1980

 

4. THE TOMORROWS (2013, Bénédicte Pagnot, France) เกี่ยวกับกลุ่ม anarchists ในปัจจุบัน ถ้าจำไม่ผิด

BLACK MAGIC MASK

 

BLACK MAGIC MASK นะหน้าทอง (2023, Satanapong Limwongthong, F)

 

SPOILERS ALERT

 

1.เสียดายสุด ๆ ช่วง 15-30 นาทีแรก เราชอบหนังในระดับ A+30 ชอบการนำเสนอชีวิตการทำงานของกะหรี่ไปเรื่อย ๆ โดยที่หนังนำเสนอสิ่งนี้ออกมาได้อย่างมีสีสันพอดิบพอดี เราชอบทั้งการแสดงของคุณทราย, ตัวละครโสเภณีชาย, โสเภณีกะเทย และสิ่งที่ชอบมาก ๆ คือบทสนทนาของตัวละคร คือเราว่าตัวละครกะหรี่เหล่านี้คุยกันได้อย่างคล่องปากมาก ๆ จนเราสงสัยว่าหนังมันให้นักแสดง "ด้นสด" ในบางฉากหรือเปล่า เพราะมันดูเหมือนตัวละครมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันจริง ๆ และ react ต่อวินาทีนั้นจริง ๆ ราวกับว่านักแสดงด้นสดออกมา แต่ถ้านักแสดงไม่ได้ด้นสด นั่นก็แสดงว่า บทสนทนาตรงส่วนนี้เขียนออกมาได้ดี หรือนักแสดงเล่นดีมากจนดูเหมือนเป็นมนุษย์จริง ๆ พูดออกมา

 

ชอบการจัดแสงสีต่าง ๆ ในซ่องด้วย

 

2.แต่เรารู้สึกว่าหนังเริ่ม drop ลงพอผ่านครึ่งชั่วโมงแรกไป หรือเมื่อมันพยายามจะทำตัวเป็นหนังสยองขวัญ แทนที่จะเป็นหนังสำรวจชีวิตกะหรี่ เพราะมันทำได้ไม่สำเร็จเลยในความเป็นหนังสยองขวัญที่ดี หรือทำอะไรไม่ได้ในแบบที่เราคาดหวังเลยน่ะ

 

3.แต่ก่อนช่วง 15-30 นาทีสุดท้าย เรายังชอบหนังในระดับ A+ อยู่นะ เพราะถึงแม้ว่าหนังช่วงกลาง ๆ เรื่อง มันจะขาดสีสัน, รสชาติ หรือน้ำเนื้อของ "การสำรวจชีวิตกะหรี่" แบบในครึ่งชั่วโมงแรก แต่มันก็ยังดูเหมือนจะเป็นการเล่าเรื่องแบบแกน ๆ ตามสูตรสำเร็จของหนังสยองขวัญแบบพอถู ๆ ไถ ๆ ไปได้บ้าง คือตอนช่วงกลางเรื่อง เรายังมีความหวังว่า

 

3.1 หนังมันอาจจะมีไอเดียแปลกใหม่ เป็นหนังที่เอาอาถรรพ์นะหน้าทอง มาปะทะกับผีนางรำ และเด็กหญิงโรคจิต เหมือนเอา evil 3 อย่างมาปะทะกัน แล้วดูซิว่า ใครมันจะเป็นฝ่ายชนะ

 

3.2 ความขาด ๆ เกิน ๆ ในบางช่วงของหนัง อาจจะได้รับคำอธิบายอย่างน่าพึงพอใจในช่วงท้าย เมื่อหนัง "ให้คำเฉลย" ที่ช่วยให้ความกระจ่างแก่จุดต่าง ๆ ของหนัง และแสดงให้เห็นว่าหนังทั้งเรื่องผ่านการเขียนบทที่ละเอียดลออและรัดกุมมาโดยตลอด แบบ "ลองของ" และ "บ้านเช่าบูชายัญ"

 

3.3 visual บางอันเราก็ชอบ อย่างเช่นการที่นางเอกปิดทองทั้งตัว ก่อนลงอ่างอาบน้ำเลือด เราก็เลยยังมีความหวังว่า หนังเรื่องนี้อาจจะยังมีไอเดียด้าน visual ที่ดี ๆ หลงเหลืออยู่อีก เพื่อระเบิดไอเดียด้าน visual อย่างรุนแรงในตอนท้าย

 

คือเหมือนช่วงกลางเรื่อง เรายังพอมีความหวังว่า หนังเรื่องนี้อาจจะยังมี “ไอเดียดี ๆ”, “visual ดี ๆ” หรือ “คำอธิบายที่น่าพึงพอใจ” รอเราอยู่ในช่วงท้ายของหนังน่ะ

 

4.แต่พอหนังพยายามจะ "หักมุมเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าหนังของกูก็มีการหักมุม" แบบที่หนังเรื่องอื่น ๆ เขาทำกันในช่วงท้ายของหนัง แล้วมันออกมาสิ้นคิดมาก ๆ เราก็ทนหนังเรื่องนี้ไม่ได้อีกต่อไป และทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเคยคาดหวังไว้ในช่วงต้นเรื่องและกลางเรื่อง ก็ถูกทำลายลงจนหมด 555

 

ก็เลยเป็นหนังที่ระดับความชอบเริ่มต้นด้วย A+30 แล้วลดระดับลงเรื่อย ๆ จนกลายเป็น F ในที่สุด

 

5.ก็ผิดหวังมาก ๆ ที่ยังมีคนทำหนังแบบนี้ออกมาอยู่นะ คือเราว่าหนังเรื่องอื่น ๆ ที่เป็น “ตัวอย่างดี ๆ” ให้เรียนรู้ มันก็มีอยู่เยอะนะ หนังที่เป็นตัวอย่างดี ๆ ให้เรียนรู้ ก็มีอย่างเช่น

 

5.1 หนังสยองขวัญที่มีบทดี ๆ ช่วงท้ายให้คำอธิบายที่น่าพึงพอใจ อย่างเช่น “ลองของ” และ “บ้านเช่าบูชายัญ”

 

5.2 หนังเกี่ยวกับ “ไสยาศาสตร์” ที่ไปสุดตีนจริง ๆ อย่างเช่น THE BOXER’S OMEN (1983, Kuei Chih-hung, Hong Kong)

 

5.3 หนังเกี่ยวกับผู้หญิงที่เครียดทั้ง “ชีวิตการทำงานหาเงิน” แถมยังเจอผี อย่างเช่น DARK WATER (2005, Walter Salles), MEMOIR ฮัลโหล จำเราได้ไหม (2017, Rapeepimol Chaiyasena) คืออย่างน้อยถ้าหนังมัน “จริงใจ” กับชีวิตความทุกข์ยากของตัวละครนางเอก หนังมันก็มีคุณค่าน่าจดจำไม่รู้ลืมสำหรับเราน่ะ

 

5.4 หนังเกี่ยวกับ “กะหรี่เจอผี” ที่สุดตีนจริง ๆ สำหรับเรา ซึ่งก็คือ BANGKOK DARK TALES: HELLO BANGKOK (2019, Tarnwimol Onpaplew) น่ะ คือดูแล้วอินกับกะหรี่ในหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงที่สุด แต่ข้อเสียอย่างเดียวของหนังเรื่องนี้ก็คือว่า จนถึงตอนนี้เราก็ยังทำใจยอมรับไม่ได้ว่า กะหรี่กลายเป็นฝ่ายที่พ่ายแพ้ให้กับผีในหนังเรื่องนี้ เพราะเรารู้สึกว่า กะหรี่ในหนังเรื่องนี้มันแรงมาก แรงจนเรารู้สึกว่าผีมันน่าจะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ไปในที่สุด 555

 

Friday, August 18, 2023

MOVIE TREND: THE POWER OF FEMALE FRIENDS

 ฉันรักเขา Kentaro Sakaguchi from SIDE BY SIDE (2023, Chihiro Ito, Japan, A+30)


เราเคยดูเขาแสดงใน THE LAST 10 YEARS (2022, Michihito Fujii),  MASKED WARD (2020, Hisashi Kimura), BRAVE FATHER ONLINE: OUR STORY OF FINAL FANTASY XIV (2019, Teruo Noguchi, Kiyoshi Yamamoto), TONIGHT, AT THE MOVIES (2018, Hideki Takeuchi), THE 100TH LOVE WITH YOU (2017, Sho Tsukikawa) ด้วย

ฉันรักเขา Wang Yibo from ONE AND ONLY (2023, Dong Chengpeng, China, A+30)

เราเพิ่งมาตกหลุมรักเขาในหนัง step dance เรื่องนี้ หลังจากเฉย ๆ กับเขาใน BORN TO FLY (2023, Liu Xiaoshi, A+30) และ HIDDEN BLADE (2023, Er Cheng, A+25)

ฉันรักเขา Tang Jun-sang from HOMMAGE (2022, Shin Su-won, South Korea, A+30)

ฉันรักเขา มีน Phiravich a
Attachitsataporn from MONDO รักIโพสต์IลบIลืม (2023, Chookiat Sakveerakul, A+30)

รู้สึกว่าเขาดูดีกว่าใน พี่นาค 2, พี่นาค 3 และ THE ANTIQUE SHOP มาก ๆ

ฉันรักเขา เกรท Sapol Assawamunkong from MONDO รักIโพสต์IลบIลืม (2023, Chookiat Sakveerakul, A+30)

Films seen in the 24th week of the year 2023 (11-17 June)

1.UNSETTLED: SEEKING REFUGE IN AMERICA (2019, Tom Shepard, USA/Lebanon/Canada/Angola/Congo/South Africa, political documentary, A+30)

2.BITTER SWEET (2023, Niwat Manatpiyalert, video installation, A+30)

3.YEAST (2008, Mary Bronstein, A+30)

4.JFK REVISITED: THROUGH THE LOOKING GLASS (2021, Oliver Stone, political documentary, A+30)

5.THE SWIMMERS (2022, Sally El Hosaini, UK/USA, about Syria, A+30)

6.SWEETNESS AND POWERS (2022-2023, Niwat Manatpiyalert, video installation A+30)

7.J-HOPE IN THE BOX (2023, Park Jun-soo, South Korea, music documentary, A+30)

8.THE STORY WON'T DIE (2021, David Henry Gerson, USA, political documentary, about Syria, A+30)

9.TOUKEN RANBU 2 (2023, Saiji Yakumo, Japan, A+30)

สรุปว่าใน 24 สัปดาห์แรกของปี เราดูหนังไปแล้ว 329+9 = 338 เรื่อง แต่เป็นหนังสั้นหลายเรื่อง

Films seen in the 23rd week of the year 2023  (4-10 June)

1.FRAGMENT OF AN EMPIRE (1929, Fridrikh Ermler, USSR, silent, A+30)

2.JUST LIKE US (2013, Jess McLean, 15min, A+30)

3.COME WITH ME TO THE CINEMA -- THE GREGORS (2022, Alice Agneskirchner, Germany, documentary, A+30)

4.PORTRAIT OF JASON (1967, Shirley Clarke, documentary, A+30)

5.THE KID (1921, Charlie Chaplin, silent, A+30)

6.SPIDER-MAN: ACROSS THE SPIDER-VERSE (2023, Joaquim Dos Santos, Kemp Powers, Justin K. Thompson, animation, A+30)

7.ARE YOU THERE GOD? IT'S ME, MARGARET (2023, Kelly Fremon Craig, A+30)

8.ZARA HATKE ZARA BACHKE (2023, Laxman Utekar, India, A+30)

9.U-TURN (2023, Prem Plittapolkarnpim, 20min, A+30)

10.THA KHON YANG (2023, ชิตพล แพงเสียงจันทร์, short documentary, A+30)

11.ANTHROPOS (2023, Worraphop Polbundit, 15min, A+30)

12.4 CELL (2023, experimental, 23min, A+25)

13.ABOUT MY FATHER (2023, Laura Terruso, A+15)

14. 1MIN (2023, 3min, A+15)

15.กขคการละคร (2023, 4min, A+)

16.น้ำแดงเกิดขึ้นได้ไงวะ (2023, 2min, A-)

17.ASTERIX & OBELIX: THE MIDDLE KINGDOM (2023, Guillaume Canet, France, C+)

สรุปว่าใน 23 สัปดาห์แรกของปี เราดูหนังไปแล้ว 312+17 = 329 เรื่อง แต่เป็นหนังสั้นหลายเรื่อง

Film Wish List: THE IRON BUFFALO (1977, Pornpoj)

In this film, Niroot Sirijunya played a transvestite who helped the hero. Maybe it should be screened together with DELIVER US FROM EVIL (2020 Hong Won-chan, South Korea),  an action film which has a transvestite character who helped the hero, too.

ดีใจสุดขีดที่หนังใหม่เรื่อง STEPNE (2023, Maryna Vroda, Ukraine) ได้รางวัลจาก Locarno เพราะ Maryna เคยกำกับหนังเรื่อง CROSS ที่ติดอันดับ 2 ในลิสท์หนังสุดโปรดที่เราได้ดูในปี 2012

https://deadline.com/2023/08/locarno-film-festival-winners-critical-zone-ali-ahmadzadeh-iran-golden-leopard-1235460883/

----

ส่วนเราก็รู้จัก Kenya ผ่านทาง "หนังที่มอง Kenya ผ่านทางสายตาคนขาว" เป็นส่วนใหญ่ อย่างเช่น OUT OF AFRICA (1985, Sydney Pollack) และ PARADISE: LOVE (2012, Ulrich Seidl, Austria) ส่วนหนัง Kenya เองนั้น เราเคยดูแค่ไม่กี่เรื่อง อย่างเช่น VEVE (2014, Simon Mukali), RAFIKI (2018, Wanuri Kahiu) และ I HAD TO BURY CUCU (2018, Philippa Ndisi-Hermann)

---

FILM WISH LIST: LIKE IT DREAM เหมือนฝัน (1976, Chalor Traitrongsorn ) The film is about a handsome male prostitute.

FILM WISH LIST: SATELLITE GIRLS  สาวดาวเทียม (1960,  S. Kraprayoon)

เราได้ดูหนังที่ DOC CLUB & PUB เมื่อวันศุกร์ แล้วเลยเพิ่งรู้ว่า การเป็นเกย์ถือเป็นสิ่งผิดกม. ต้องติดคุกในหลาย ๆ ประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก ทั้ง ๆ ที่กม.เหล่านี้เป็นมรดกตกทอดจากยุคอาณานิคม กม.ลงโทษเกย์ไม่ได้เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวเกาะเหล่านี้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
https://www.reuters.com/article/pacific-lgbt-rights-idUSL8N36N2Q6

RIP WILLIAM FRIEDKIN

เราเคยดูหนัง/รายการทีวีที่เขากำกับแค่ 6 เรื่องเอง ซึ่งก็คือ

1.THE EXORCIST (1973)

2.THE TWILIGHT ZONE: NIGHTCRAWLERS (1985)

3.THE GUARDIAN (1990)

4.JADE (1995)

5.THE HUNTED (2003)

6.BUG (2006)

ส่วน RULES OF ENGAGEMENT นั้นเราไม่แน่ใจว่าได้ดูหรือเปล่า 555

ชอบ NIGHTCRAWLERS มากที่สุด และชอบ THE HUNTED น้อยที่สุดในบรรดาผลงานของเขาที่ได้ดู

หนึ่งในสิ่งที่ชอบที่สุดใน SMUGGLERS (2023, Ryu Seung-wan, South Korea, A+30) คือการที่หนังพาดพิงถึงตำนานวีรสตรี  Non-Gae ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

https://asianhistoryblog.blogspot.com/2012/04/non-gae-korean-heroine.html?m=1

Films seen in the 22nd week of the year 2023 (28 May-3 June)

1.BEETHOVEN (1927, Hans Otto Lowenstein, Austria, silent, A+30)

เป็นหนึ่งในหนังที่ชอบสุดขีดของปีนี้ แต่เหมือนผู้กำกับโนเนมมาก ๆ เสียดายที่เขาไม่ดัง

2.FOOLISH WIVES (1922, Erich von Stroheim, USA, silent, second viewing, A+30)

3.SHIN KAMEN RIDER (2023, Hideaki Anno, Japan, A+30)

4.BEAU IS AFRAID (2023, Ari Aster, A+30)

5.PETER PAN (1924, Herbert Brenon, USA, silent, A+30)

6.FAST X (2023, Louis Leterrier, A+30)

7.THE TANK (2023, Scott Walker, New Zealand, Horror,  A+25)

8.THE GHOST STATION (2022, Jeong Yong-ki, South Korea, Horror, A+25)

9.THE BOOGEYMAN (2023, Rob Savage, Horror, A+25)

10.DELICIOUS ROMANCE (2023, Leste Chen, Hsu Chao-jen, China, A+15)

11.THE LITTLE MERMAID (2023, Rob Marshall, A+)

สรุปว่าใน 22 สัปดาห์แรกของปี เราดูหนังไปแล้ว 301+11 = 312 เรื่อง แต่เป็นหนังสั้นหลายเรื่อง

MOVIE TREND?: THE POWER OF FEMALE FRIENDS/A GROUP OF WOMEN

เหมือนตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้วจนถึงตอนนี้ เราได้ดูหนังที่มีความ "เพื่อนหญิง พลังหญิง" สูงมาก เป็นจำนวนหลายเรื่องด้วยกัน ราวกับว่าหนังแนว "เพื่อนหญิง พลังหญิง" เป็นหนึ่งใน trends สำคัญที่น่าสนใจของหนังในช่วงนี้ เราก็เลยขอจดชื่อหนังกลุ่มนี้ไว้ก่อนแล้วกัน

1.ALICE, DARLING (2022, Mary Nighy)

2.ANGRY ANNIE (2022, Blandine Lenoir, France)

3.BARBIE (2023, Greta Gerwig)

4.BETWEEN TWO WORLDS (2021, Emmanuel Carrere, France)

5.DOCTOR G (2022, Anubhuti Kashyap, India)

6.HUESERA, THE BONE WOMAN (2022, Michelle Garza Cervera, Mexico/Peru)

7.JOY RIDE (2023, Adele Lim)

8.MIRROR (AYENA) (2022, Siddhant Sarin, Debankon S. Solanky, India, documentary)

9.SAINT OMER (2022, Alice Diop, France)

10.SHE SAID (2022, Maria Schrader)

11.SMUGGLERS (2023, Ryu seung-wan, South Korea)

12.STONE TURTLE (2022, Woo Ming-jin, Malaysia) ถ้าจำไม่ผิดนะ 555

13.TOUCHEES (2022, Alexandra Lamy, France)

14.THE WOMAN KING

Favorite Actress -- Kate McKinnon from BARBIE  เห็นเธอแล้วนึกว่าต้องปะทะกับ Elizabeth Banks จาก HUNGER GAMES 5555

Films seen in the 21st week of the year 2023 (21-27 May) สัปดาห์ที่เราป่วยโควิด

1.CHEZ JOLIE COIFFURE  (2018, Rosine Mbakam, Belgium, documentary, A+30)

2.YESTERDAY IS ANOTHER DAY (2023, Koraphat Cheeradit, short film, A+30)

3.RED LIPS ลิปแดง (2022, Auttaphon Rukdee, 38min, A+30)

4.OCCIDENTE (2014, Ana Vaz, France, short film, A+30)

สรุปว่า ใน 21 สัปดาห์แรกของปี เราดูหนังไปแล้ว 297+4= 301 เรื่อง แต่เป็นหนังสั้นหลายเรื่อง

ฉันรักเขา น้ำมนต์ Krittanai Arsalprakit from AFTER SUNDOWN ดับแสงรวี (2023, Bhandit Thongdee, A+25)

ฉันรักเขา Jo In-sung from   SMUGGLERS (2023, Ryoo Sueng-wan, South Korea, A+30)

SMUGGLERS (2023, Ryoo Seung-wan, South Korea, A+30)

กราบตีน Ryoo Seung-wan, Kim Hye-su, Yum Jung-ah และ Go Min-si ชอบหนังเรื่องนี้แบบสุดขีดมาก ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

HUESERA: THE BONE WOMAN สิงร่างหักกระดูก (2022, Michelle Garza, Cervera, Mexico, Peru, A+30)

กราบคนที่นำหนังเรื่องนี้มาเข้าโรงฉาย ชอบหนังสุดขีด ตรงจริตเรามาก ๆ Natalia Solian นางเอกหนังเรื่องนี้นึกว่าต้องปะทะกับ Marina de Van ใน IN MY SKIN (2002, Marina de  Van, France, A+30)

รูปซ้ายคือ Marina de Van ส่วนรูปขวาคือ Natalia Solian

Films seen in the 20th week of the year 2023 (14-20 May)

1. CAMERAPERSON (2016, Kirsten Johnson, USA, documentary, A+30)

2. NEON GHOST (2022, Kay Walkowiak, video installation, A+30)

สรุปว่าใน 20 สัปดาห์แรกของปี เราดูหนังไปแล้ว 295+2 = 297 เรื่อง แต่เป็นหนังสั้นหลายเรื่อง

ฉันรักเขา Kim Kang-woo from THE CHILDE (2023, Park Hoon-jung, South Korea, A+30)

ฉันรักเขา Kim Seon-ho from THE CHILDE (2023, Park Hoon-jung, South Korea, A+30)

ฉันรักเขา Kang Tae-Ju from THE CHILDE (2023, Park Hoon-jung, South Korea, A+30)

พอดู BARBIE (2023, Greta Gerwig, A+30) แล้วก็เลยนึกถึงภาพยนตร์ไทยเรื่อง TANK YOU TANK ME TANK US (2017, Pannissa Kantawat, A+30) มาก ๆ ในแง่ของการถ่ายทอดโลกตุ๊กตาที่งดงาม น่ารื่นรมย์ และน่าหลงใหลสุด ๆ สำหรับเรามาก ๆ  TANK YOU TANK ME TANK US ติดอันดับ 7 ในลิสท์หนังสุดโปรดของเราประจำปี 2017 และเราอาจจะชอบมากกว่า BARBIE เพราะ TANK YOU TANK ME TANK US มันเหมือนเป็น "หนังที่ไม่มีประเด็น" มันก็เลยมีความอิสระบางอย่างที่เข้ากับรสนิยมของเรามากกว่าหนังที่มีประเด็นแบบ BARBIE

Films seen in the 19th week of the year 2023 (7-13 May)

1.HOME OF ACORNS (1997, Takashi Anno, Japan, animation, A+30)

2.RETURN TO SEOUL (2022, Davy Chou, France, A+30)

3.HERB & DOROTHY (2008, Megumi Sasaki, documentary, A+30)

4.HAPPY 140 (2015, Gracia Querejeta, Spain, A+30)

5.TOTO THE HERO (1991, Jaco Van Dormael, Belgium, A+30)

6.A SHORT FILM ABOUT ONE MAN ON NEW YEAR EVE (2023, Naruepong Boonkert, short film, A+25)

7.KNIGHTS OF THE ZODIAC (2023, Tomasz Baginski, Japan/Hungary, C+)

สรุปว่า ใน 19 สัปดาห์แรกของปี เราดูหนังไปแล้ว 288+ 7 = 295 เรื่อง แต่เป็นหนังสั้นหลายเรื่อง


Films seen in the 18th week of the year 2023 (30 April-6 May)

1.SIAN LANG THE MOVIE เซียนหรั่ง เดอะ มูฟวี่  (2023, Phuwanet Seechomphu, A+30)

2.NO HOME MOVIE (2015, Chantal Akerman, Belgium, documentary, A+30)

3.NEWS FROM HOME (1976, Chantal Akerman, Belgium, documentary, fourth viewing?, A+30)

4.BAD BOYZ BAND (2023, Chantana Tiprachart, A+30)

5.GUARDIANS OF THE GALAXY VOLUME 3 (2023, James Gunn, A+30)

6. HEAVY TRIP (2018, Juuso Laatio, Jukka Vidgren, Finland, A+30)

7.DIARY OF PURSE FUCKER (2020, Theerapat Wongpaisarnkit,  second viewing, 11min, A+30)

8.JUNK FOOD FABLE (2019, Theerapat Wongpaisarnkit, second viewing, 63min, A+30)

9.CAFFEINE VAMPIRE AND PISS ARSONIST (2022, Theerapat Wongpaisarnkit, second viewing, 60min, A+30)

10. RIDE ON (2023, Larry Yang, China, A+30)

11.RISE (2023, Cedric Klapisch, France, A+30)

12.THE WORLD AFTER US (2021, Louda Ben Salah, France, A+30)

13.EVIL DEAD RISE (2023, Lee Cronin, New Zealand/USA/Ireland, A+25)

14.THE POPE'S EXORCIST (2023, Julius Avery, A+25)

15.MY PRECIOUS (2023, Naphat Chitveerapat, Kanittha Kwanyu, A+20)


สรุปว่าใน 18 สัปดาห์แรกของปี เราดูหนังไปแล้ว 273 +15 = 288 เรื่อง แต่เป็นหนังสั้นหลายเรื่อง

Sunday, August 13, 2023

GAY RIGHTS IN PACIFIC ISLANDS

สืบเนื่องจากการชมภาพยนตร์ชุด DIASPORA RENDERED จากหมู่เกาะแปซิฟิก ที่ Doc Club & Pub ในวันศุกร์ที่ 11 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งคุณ Tanu Gago กับคุณ Pati Tyrell ผู้กำกับภาพยนตร์ได้มาเสวนาหลังหนังจบด้วย หนึ่งในประเด็นที่เราสนใจมาก ๆ ในการเสวนาคือประเด็นเรื่องกฎหมายลงโทษคนที่เป็นเกย์ด้วยการจำคุกในประเทศต่าง ๆ ในหมู่เกาะแปซิฟิก ซึ่งเราไม่เคยมีความรู้ในเรื่องนี้มาก่อน เราก็เลยไป google ดู ได้รายละเอียดเพิ่มเติมมาดังนี้

 

ประเทศที่ลงโทษเกย์ด้วยการจำคุก

1.KIRIBATI

2.NIUE

3.SAMOA

4.PAPUA NEW GUINEA

5.SOLOMON ISLANDS

6.TONGA

7.TUVALU

 

ประเทศที่การเป็นเกย์ไม่ผิดกฎหมายแล้ว

1.COOK ISLANDS

2.FIJI

3.FRENCH POLYNESIA

4.MARSHALL ISLANDS

5.MICRONESIA

6.NAURU

7.NEW CALEDONIA

8.NORTHERN MARIANA ISLANDS

9.PALAU

10.PITCAIRN ISLANDS

11.TOKELAU

12.VANUATU

13.WALLIS AND FUTUNA

 

แต่เราไม่รู้ว่าดินแดนไหนเป็น “ประเทศ” หรือมีสถานะเป็นอะไรกันแน่นะ คือเราไม่มีความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคนั้นเลย ถ้าใครมีความรู้เกี่ยวกับภูมิภาคนั้นก็มาเสริมได้นะ

 

ภาพประกอบมาจากภาพยนตร์เรื่อง TULOUNA LE LAGI (2022, Pati Tyrell, New Zealand, A+30)


Thursday, August 10, 2023

FILMS ABOUT YOUTH MOVEMENT IN 1960-1970S

 

ภาพยนตร์, พลังของคนหนุ่มสาว, ความแตกต่างระหว่าง PROTEST กับ RESISTANCE และการล่มสลาย

 

Ulrike Meinhof หนึ่งในหัวหน้าคนสำคัญของแก๊งบาเดอร์-ไมน์ฮอฟ เคยพูดว่า

 

Protest is when I say this does not please me.

Resistance is when I ensure what does not please me occurs no more”

 

พอเราได้ดูหนังเรื่อง WHEN THERE IS NO MORE MUSIC TO WRITE, AND OTHER ROMAN STORIES (2022, Éric Baudelaire, France, documentary, A+30) ในเทศกาลภาพยนตร์ Signes de Nuit ในวันที่ 29 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งหนังเรื่องนี้มีเนื้อหาส่วนหนึ่งเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่กลุ่ม Red Brigades ลักพาตัวและสังหารนายกรัฐมนตรี Aldo Moro ของอิตาลีในปี 1978 เราก็เลยคิดขึ้นมาได้ว่า จริง ๆ แล้วเราสนใจหนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นพวกนี้มาก ๆ นั่นก็คือหนังเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางสังคม โดยเฉพาะความเคลื่อนไหวของคนหนุ่มสาวในทศวรรษ 1960 ในหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วในตอนแรกจะเป็นความเคลื่อนไหวแบบสันติ เน้นการประท้วงตามท้องถนน ซึ่งความเคลื่อนไหวเหล่านี้ดูเหมือนจะไปถึงจุดสุกงอมในเหตุการณ์ MAY 1968 ที่ฝรั่งเศส แต่พอคนหนุ่มสาวหลายคนเห็นว่า การประท้วงตามท้องถนนไม่ให้ผลสำเร็จตามที่พวกเขาต้องการ พวกเขาก็เลยหันไปใช้ความรุนแรงเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และจัดตั้งกลุ่มก่อการร้ายขึ้นมาแทน โดยเฉพาะกลุ่ม Red Army Faction (RAF) หรือแก๊งบาเดอร์-ไมน์ฮอฟ ในเยอรมนี และกลุ่ม Red Brigades ในอิตาลี และนั่นก็นำมาซึ่งความล้มเหลวอย่างรุนแรงของพวกเขาและความชิบหายในทุกภาคส่วนในเวลาต่อมา ซึ่งเรารู้สึกว่าเรื่องราวของคนรุ่นพ่อรุ่นแม่เหล่านี้มันน่าสนใจมาก ๆ

 

เราก็เลยคิดว่าเราควรถือโอกาสนี้จดรายชื่อหนังเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ที่เราเคยดูแล้ว และหนังเกี่ยวกับประเด็นเหล่านี้ที่เราอยากดู แต่ยังไม่ได้ดูดีกว่า

 

เราว่าประเด็นเรื่อง “คนหนุ่มสาวที่ละทิ้งการประท้วงแบบสันติ และผันตัวไปเป็นผู้ก่อการร้าย” ในทศวรรษ 1970 มันเป็นประเด็นที่เราสนใจในแง่ความเป็นตัวละครในภาพยนตร์ (แต่เราไม่ได้อยากเจอคนแบบนี้ในชีวิตจริงนะคะ) เพราะคนกลุ่มนี้มัน “เทา” ดีน่ะ มันเหมือนมีทั้งส่วนที่ดีและไม่ดีอยู่ตัว มันเลยเป็น “ตัวละคร” ที่กลมมาก ๆ เวลาอยู่ในภาพยนตร์ เพราะพวกเขาไม่ใช่ “ผู้ก่อการร้ายกระหายเลือดที่ฆ่าคนเป็นเวลาเล่น” แบบตัวละครผู้ก่อการร้ายในหนังแอคชั่น แต่พวกเขาก็ไม่ใช่ “นักเคลื่อนไหวแบบอหิงสา” แบบ Sophie Scholl ด้วยเช่นกัน พวกเขาเหมือนจะมีอุดมการณ์ที่ดี แต่พวกเขาเลือกใช้ความรุนแรงและการก่อการร้ายเพื่อให้บรรลุอุดมการณ์ของพวกเขา เพราะฉะนั้นเวลาพวกเขาเป็นตัวละครในภาพยนตร์ มันก็เลยเป็นตัวละครที่เทา ๆ กลม ๆ มาก ๆ มันไม่ได้เป็นการต่อสู้ระหว่างผู้บริสุทธิ์กับกลุ่มคนชั่วร้ายแบบนาซี มันไม่ได้เป็นคู่ขัดแย้งที่ขาวจัดดำจัด

 

เราว่าแก๊งบาเดอร์-ไมน์ฮอฟ มันน่าสนใจสำหรับเรามากเป็นพิเศษด้วยแหละ เพราะแก๊งนี้มีผู้หญิงเป็นแกนนำร่วมอยู่ด้วย 2 คน ซึ่งก็คือ Ulrike Meinhof และ Gudrun Ensslin และแก๊งนี้มันมีเรื่องราวอะไรหลายๆ อย่างที่น่าสนใจ อย่างเช่น

 

1.เราเคยได้ยินว่า การที่หนุ่มสาวชาวเยอรมันตะวันตกในยุคทศวรรษ 1970 ลุกขึ้นมาเคลื่อนไหวแบบนี้ ในแง่หนึ่งมันเป็นเพราะพวกเขาต้องการตอบโต้ “พ่อแม่ของตนเองที่เคยสยบยอมต่อนาซี” ด้วย คือเหมือนคนที่เป็นหนุ่มสาวชาวเยอรมันตะวันตกในทศวรรษ 1970 คงเป็นพวกที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่สองน่ะ และพวกเขาก็เติบโตขึ้นมาพร้อมกับการเรียนรู้จากประวัติศาสตร์สงครามโลก และคงตั้งข้อสงสัยตั้งแต่เด็กว่า พ่อแม่ของพวกเขาเคยทำอะไรบ้างในยุคนาซี ทำไมพ่อแม่ของพวกเขาไม่ลุกขึ้นมาต่อต้านนาซีซะตั้งแต่ในทศวรรษ 1930 การลุกขึ้นต่อสู้กับผู้มีอำนาจมันเป็นสิ่งที่ทำได้นะ เราไม่จำเป็นจะต้องสยบยอมต่อผู้มีอำนาจซะหน่อย และถ้าหากพ่อแม่ของเราไม่ยอมทำแบบนั้นในยุคนาซี เราซึ่งเป็นลูกก็จะลุกขึ้นมาทำซะเองในยุคของเรา และแสดงให้เห็นว่าการลุกขึ้นสู้มันเป็นสิ่งที่ทำได้

 

2.ถ้าหากเราจำไม่ผิด หนังเรื่อง THE THIRD GENERATION (1979, Rainer Werner Fassbinder, West Germany) มันแสดงให้เห็นความเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจของกลุ่มนี้ด้วย เพราะในตอนแรกนั้น หนุ่มสาวกลุ่มนี้อาจจะ transform จาก “การประท้วงแบบสันติ” มาเป็น “การต่อสู้ด้วยการก่อการร้าย เพื่ออุดมการณ์” แต่หลังจากแกนนำของแก๊งบาเดอร์-ไมน์ฮอฟเสียชีวิตกันไปแล้วในช่วงกลางทศวรรษ 1970 สมาชิกแก๊งที่เหลืออยู่ ก็ยังคงต่อสู้ด้วยการก่อการร้ายต่อไป แต่เหมือนพวกเขาสูญเสียอุดมการณ์กันไปแล้ว มันก็เลยเหมือนเป็นการก่อการร้ายเพื่อความรุนแรงในตัวมันเอง หรือเพื่ออะไรก็ไม่รู้ ไม่ใช่การก่อการร้ายแบบมีอุดมการณ์เหมือนที่แกนนำรุ่นแรกเคยทำไว้

 

และในที่สุด หนังเรื่อง THE THIRD GENERATION ก็แสดงให้เห็นว่า ขบวนการก่อการร้ายก็กลายเป็นเครื่องมือของเผด็จการหรือของรัฐบาลทุนนิยมในที่สุด โดยที่นักก่อการร้ายไม่รู้ตัว คือเราก็จำรายละเอียดในหนังเรื่อง THE THIRD GENERATION ไม่ได้แล้ว แต่ถ้าหากเราจำไม่ผิด เหมือนกับว่าจริง ๆ แล้วพวกเผด็จการ/ผู้มีอำนาจ/รัฐบาลทุนนิยม แอบให้เงินทุนสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายอย่างลับ ๆ น่ะ โดยที่กลุ่มก่อการร้ายก็ไม่รู้ว่าเงินทุนพวกนี้มาจากไหน แต่ฝ่ายผู้มีอำนาจได้วางแผนอย่างแยบยลไว้แล้วว่า ยิ่งกลุ่มก่อการร้ายใช้ความรุนแรงมากเท่าไหร่ ประชาชนก็จะยิ่งหันไปสนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายขวาจัด, สนับสนุนการออกกฎหมายที่เน้นความปลอดภัย, สนับสนุนให้รัฐบาลออกมาตรการอะไรแบบเผด็จการเพื่อรักษาความสงบสุขของสังคมมากเท่านั้น, etc. ผู้ก่อการร้ายก็เลยกลายเป็นหุ่นเชิดหรือเครื่องมือของศัตรูที่พวกเขาต่อต้าน โดยที่ผู้ก่อการร้ายเองก็ไม่รู้ตัว

 

ส่วนหนังเรื่อง WHEN THERE IS NO MORE MUSIC TO WRITE, AND OTHER ROMAN STORIES ที่เราเพิ่งได้ดู ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของหนังกลุ่มนี้ที่แสดงให้เห็นถึง “ความเทา” ของคนกลุ่มนี้ได้ดีมาก ๆ เพราะหนังสารคดีเรื่องนี้เน้นเล่าเรื่องของ “ชายขายดอกไม้” ที่เข้าไปพัวพันกับแผนการของกลุ่ม Red Brigades โดยบังเอิญ โดยกลุ่ม Red Brigades นั้นวางแผนไว้ล่วงหน้าว่า จะลักพาตัวนายกรัฐมนตรี Aldo Moro ที่จุดใด แต่ทางกลุ่มพบว่า ในการลักพาตัวนายกรัฐมนตรีที่จุดนั้น ชายคนหนึ่งที่เปิดแผงขายดอกไม้ตรงจุดนั้น อาจจะโดนยิงตายไปด้วย ทางกลุ่ม Red Brigades ก็เลยไปกรีดยางรถของชายขายดอกไม้ในเช้าวันปฏิบัติการ ชายขายดอกไม้ก็เลยเดินทางไปขายดอกไม้ที่จุดประจำในวันนั้นไม่ได้ เขาก็เลยรอดชีวิตไป และการที่เขารอดชีวิตไปได้นั้นก็เป็นเพราะทางกลุ่ม Red Brigades จงใจที่จะไม่ทำร้ายเขา อย่างไรก็ดี ทางกลุ่มได้สังหารบอดี้การ์ดของนายกรัฐมนตรีตายไป 5 คน และสังหารนายกรัฐมนตรี Aldo Moro ในเวลาต่อมา ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่ได้เห็นด้วยกับการกระทำของกลุ่ม Red Brigades เลยแม้แต่นิดเดียว แต่หนังสารคดีเรื่องนี้ก็สะท้อนความซับซ้อนของคนกลุ่มนี้ออกมาได้ดีมาก

 

เราขอจดรายชื่อหนังเหล่านี้โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มก็แล้วกัน ซึ่งก็คือ 1.หนังเกี่ยวกับการประท้วงแบบสันติ, ความเคลื่อนไหวทางสังคมแบบสันติ (อย่างเช่นการตั้ง commune) หรือการประท้วงที่ยังไปไม่ถึงระดับการก่อการร้าย ในทศวรรษ 1960 หรือหลังจากนั้น, 2.หนังเกี่ยวกับกลุ่มก่อการร้ายในยุคนั้น และ 3.หนังเกี่ยวกับชีวิตของอดีตผู้ก่อการร้าย/นักเคลื่อนไหว เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่แล้ว

 

1.หนังเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวแบบสันติ หรือการประท้วงที่ยังไปไม่ถึงขั้นการก่อการร้าย

 

1.1 ZABRISKIE POINT (1970, Michelangelo Antonioni)

 

1.2 COUP POUR COUP (1972, Marin Karmitz)

 

1.3 JONAH, WHO WILL BE 25 IN THE YEAR 2000 (1976, Alain Tanner, Switzerland)

 

1.4 WOMEN WORKERS OF HARA FACTORY (1976, Jon Ungpakorn, Thailand, documentary)

 

1.5 HEAVEN AND HELL (1988, Morten Arnfred, Denmark)

 

1.6 TOGETHER (2000, Lukas Moodysson, Sweden)

 

1.7 REGULAR LOVERS (2005, Philippe Garrel)

 

1.8 GIE (2005 Riri Riza, Indonesia)

 

1.9 1971 (2014, Johanna Hamilton, documentary)

 

หนังที่เราอยากดูในกลุ่มนี้

 

1.10 BE SEEING YOU (1968, Chris Marker, Mario Marret, documentary)

 

1.11 SOMETHING IN THE AIR (2012, Olivier Assayas, France)

 

2.หนังเกี่ยวกับผู้ก่อการร้าย, กลุ่มคนนอกกฎหมาย หรือผลกระทบจากปฏิบัติการของคนเหล่านี้

 

2.1 LA CHINOISE (1967, Jean-Luc Godard, France)

 

2.2 THE LOST HONOR OF KATHARINA BLUM (1976, Margarethe von Trotta, Volker Schlöndorff, West Germany)

 

2.3 KNIFE IN THE HEAD (1978, Reinhard Hauff, West Germany)

 

2.4 THE SECOND AWAKENING OF CHRISTA KLAGES (1978, Margarethe von Trotta, West Germany)

 

2.5 MESSIDOR (1979, Alain Tanner, Switzerland)

 

2.6 THE THIRD GENERATION (1979, Rainer Werner Fassbinder, West Germany)

 

2.7 TRAGEDY OF A RIDICULOUSMAN (1981, Bernardo Bertolucci)

 

2.8 BOY’S CHOIR (2000, Akira Ogata, Japan)

 

2.9 THE RASPBERRY REICH (2004, Bruce La Bruce, Canada)

 

2.10 HATSUKOI (2006, Yukinari Hanawa, Japan)

 

2.11 THE BAADER MEINHOF COMPLEX (2008, Uli Edel)

 

2.12 IF NOT US, WHO? (2011, Andres Veiel, Germany)

 

2.13 7 DAYS IN ENTEBBE (2018, José Padilha, UK)

 

2.14 WHEN THERE IS NO MORE MUSIC TO WRITE, AND OTHER ROMAN STORIES (2022, Éric Baudelaire, France, documentary)

 

หนังที่เราอยากดูแต่ยังไม่ได้ดูในกลุ่มนี้

 

2.15 GERMANY IN AUTUMN (1978, Various directors, West Germany)

https://www.imdb.com/title/tt0077427/fullcredits?ref_=tt_ov_dr_sm

 

2.16 MARIANNE AND JULIANE (1981, Margarethe von Trotta, West Germany)

 

2.17 STAMMHEIM – THE BAADER-MEINHOF GANG ON TRIAL (1986, Reinhard Hauff, West Germany)

 

2.18 PATTY HEARST (1988, Paul Schrader)

 

 

2.19 THE SECOND TIME (1995, Mimmo Calopresti, Italy)

 

2.20 BLACK BOX BRD (2001, Andres Veiel, Germany, documentary)

 

2.21 BAADER (2002, Christopher Roth, Germany)

 

2.22 THE WEATHER UNDERGROUND (2002, Bill Siegel, Sam Green, documentary)

 

2.23 GOOD MORNING, NIGHT (2003, Marco Bellocchio, Italy)

 

2.24 THE CAMDEN 28 (2007, Anthony Giacchino, documentary)

 

3.เมื่อพวกเขาเติบโตขึ้น ชีวิตของพวกเขาเป็นอย่างไร

 

3.1 THE STATE I AM IN (2000, Christian Petzold, Germany)

 

3.2 THE OLD GARDEN (2006, Im Sang-soo, South Korea)

 

3.3 MELANCHOLIA (2008, Lav Diaz, Philippines, 7 hours 30mins)

 

3.4 TO DIE OF LOVE (2009, Josée Dayan, France)

 

3.5 THE COMPANY YOU KEEP (2012, Robert Redford)

 

ใครอยากพูดถึงหนังเรื่องไหนในแนวนี้ที่เคยดูแล้วประทับใจก็ comment มาได้นะคะ

 

จริง ๆ แล้วเราไม่ได้มีความรู้เรื่องความเคลื่อนไหวทางสังคมอะไรพวกนี้เลยนะ ข้อมูลทั้งหมดที่เราเขียนมามาจาก “ภาพยนตร์” ที่เราได้ดู ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่ามันตรงกับความจริงหรือเปล่า 555 ถ้าใครอยากให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็เขียนมาได้เช่นกันนะคะ