Saturday, February 25, 2023

COCAINE BEAR (2023, Elizabeth Banks, A+)

 

COCAINE BEAR (2023, Elizabeth Banks, A+)

 

สิ่งที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือ Margo Martindale (DAYS OF THUNDER, THE HOURS, IRON JAWED ANGELS, MILLION DOLLAR BABY) แต่เสียดายที่หนังก็ยังเหมือนใช้ศักยภาพของเธอได้ไม่เต็มที่ คือเราว่าถ้าหากบทหนังทำออกมาได้ดีกว่านี้ ตัวละครของ Margo ในหนังเรื่องนี้ก็มีศักยภาพที่จะกลายเป็น “ตัวละครคลาสสิคตลอดกาล” แบบตัวละครของ Loretta Devine ใน URBAN LEGEND (1998, Jamie Blanks) ได้

 

STEP UP TO RUNWAY ปลายทางฝัน...ฉันมีเธอ (2023, Kornpat Tangsri, F)

 

สิ่งที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือ ความหล่อน่ารักและการแสดงของ “วรชัย ศิริคงสุวรรณ” แต่การแสดงที่ดีงามของเขาก็ไม่สามารถช่วยอะไรหนังเรื่องนี้ได้มากนัก

 

แต่หนังไม่น่าเบื่อสำหรับเรานะ มันเต็มไปด้วย unintentional laughters เยอะมาก ๆ 555

 

WINNIE THE POOH: BLOOD AND HONEY (2023, Rhys Frake-Waterfield, UK, F)

 

สิ่งที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้ก็คือ “การถ่ายภาพ” ที่เราว่าช่วยสร้างบรรยากาศในหนังได้อย่างดีงามมาก ๆ คือเราว่า “การถ่ายภาพ” ในหนังเรื่องนี้โอเคมาก ๆ เลย โดยเฉพาะในฉากกลางคืน มันออกมาดูดีงามกว่าการถ่ายภาพใน “หนังชั้นต่ำ” อย่าง JEEPERS CREEPERS: REBORN มาก ๆ

 

แต่ก็ขอจัดให้หนังเรื่องนี้เป็น “หนังชั้นต่ำ” ในระดับเดียวกับ JEEPERS CREEPERS: REBORN และ GANGNAM ZOMBIE นะ มีใครบอกได้บ้างไหมว่าบริษัทไหนเอาหนัง 3 เรื่องนี้เข้ามาฉายในไทยเนี่ย 55555

 

สิ่งที่เกลียดที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือ “ความโหด” แบบ gore น่ะ เหมือนเราไม่ได้ชอบความโหดอะไรแบบนี้อยู่แล้ว แต่หนังโหด ๆ อย่างหนังของ Dario Argento, Tobe Hooper, HALLOWEEN อะไรแบบนี้ มันยังมีอะไรอย่างอื่น ๆ ที่น่าสนใจอยู่ด้วย แต่หนังเรื่องนี้แทบไม่มีอะไรดีเลย

Saturday, February 18, 2023

CLOSE (2022, Lukas Dhont, Belgium/Netherlands/France, A+30)

 

CLOSE (2022, Lukas Dhont, Belgium/Netherlands/France, A+30)

 

(ไม่เขียนถึงหนังนะคะ แต่เขียนถึงชีวิตตัวเองค่ะ 55555)

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

1.ดูแล้วนึกถึง GIRL (2018, Lukas Dhont) มาก ๆ ในแง่ที่ว่า หนังทั้งสองเรื่องทำให้เราตั้งข้อสงสัยว่า ถ้าประเทศเขามี "วัฒนธรรมกะเทยเด็ก" ที่แข็งแรงมาก ๆ แบบในไทย ตัวละครนำทั้งใน GIRL และ CLOSE อาจจะหาที่ทางของตัวเองได้สบายมาก ๆ ตั้งแต่เด็กไหมนะ 555

 

คือกะเทยอย่างเราก็มีปัญหาชีวิตรุนแรงมากตั้งแต่เด็กนะ และก็เคยคิดฆ่าตัวตายบ่อยมาก ๆ ตั้งแต่เด็ก (แต่เป็นเพราะปัจจัยเรื่องความจนด้วย) แต่แก๊งเพื่อนกะเทยที่โรงเรียนคือสิ่งที่ช่วยชีวิตเราไว้ได้น่ะ คือเราคิดว่าการที่สังคมไทยบางส่วนมองว่ากะเทย และกะเทยเด็กเป็นเรื่องธรรมดา (อย่างน้อยก็สังคมในโรงเรียนของเราในทศวรรษ 1980) มันก็เลยเปิดโอกาสให้กะเทยอย่างเรา express yourself และหาเพื่อนหาฝูงที่เป็นแบบเดียวกันได้ง่ายมาก ๆ มันก็เลยไม่รู้สึกแปลกแยกหรือเป็นตัวประหลาดในโรงเรียน เพราะมันก็มีคนแบบเดียวกับเราหลายคน การไปโรงเรียนตอนม.1 ของเราคือการใส่ตุ้มหูไปเข้าแถวเคารพธงชาติด้วยความภาคภูมิใจและสนุกสนานในบางวัน และการถูกกลุ่มรุ่นพี่ผู้ชายลวนลามด้วยความเต็มใจของเราเอง (ถ้าเราเต็มใจให้เขาลวนลาม มันจะยังถือว่าเป็นการลวนลามได้ไหม 55555)  คือแน่นอนว่าเราก็ยังคงฝังใจกับการถูกเพื่อนผู้ชายบางคน bully ในวัยเด็ก แต่สถานการณ์ของเรามันก็แตกต่างกันมากกับความรู้สึกแปลกแยกแบบที่ตัวละครใน GIRL และ CLOSE ต้องเผชิญ หรือแบบที่ตัวละครใน WHAT SHE LIKES (2021, Shogo Kusano, Japan, A+30) ต้องเผชิญ

 

พอได้เห็นชีวิตของเกย์และกะเทยในประเทศอื่น ๆ มันก็ทำให้เราได้เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างกับชีวิตของเราได้ดีมาก ๆ เหมือนกัน

 

2.รู้สึกเข้าใจตัวละครนำเด็กทั้งสองตัวมาก ๆ รู้สึกใจสลายกับเรมี่มาก ๆ ในฉาก

 

2.1 ฉากที่ Leo ไม่ยอม “ใช้โลกจินตนาการร่วมกัน” กับ Remi อีกแล้ว ตอนเล่นเกมข้าศึกบุก หรืออะไรทำนองนี้ คือเราว่าความสุขสุด ๆ อย่างหนึ่งในชีวิตของเราคือ “การที่เรากับเพื่อน ๆ เข้าใจในโลกจินตนาการเดียวกัน” น่ะ การที่คนเรามีเพื่อนที่แชร์โลกจินตนาการเดียวกันกับเราได้นี่ มันเป็นสิ่งที่ดีสุด ๆ เลย เพราะฉะนั้นการที่ Remi ยังคงมีความสุขกับการเล่นเกม “ข้าศึกในจินตนาการกำลังจะบุกมา” อยู่ แต่ Leo ปฏิเสธที่จะเล่นเกมนั้นด้วยแล้ว มันเลยทำให้เรารู้สึกเข้าใจความใจสลายของ Remi ในฉากนั้นมาก ๆ

 

2.2 ฉากที่ Remi ไปถาม Leo ว่า ทำไมไม่ยอม “รอ” เขาเหมือนวันก่อน ๆ ฉากนั้นน้อง Remi เล่นได้ใจสลายมาก ๆ เข้าใจความรู้สึก “น้อยเนื้อต่ำใจ” ของเขาในฉากนั้นอย่างรุนแรงมาก

 

3.รู้สึกเข้าใจ Leo ด้วย เราเดาว่าเขาเป็นคนที่ทำไปตาม survival instinct น่ะ คือเขาคงรู้สึกอยาก survive ในสังคมที่ล้อเลียนเกย์แบบนั้น เขาก็เลยพยายามตีตัวออกห่างจาก Remi

 

4.แน่นอนว่าดูแล้วนึกถึงเพื่อนผู้ชายคนหนึ่งที่เราแอบชอบในวัยเด็กด้วย เหมือนเราแอบหลงรักเพื่อนผู้ชายคนนี้มาตั้งแต่ป.5 จนถึงม.3 และเราก็สนิทกับเขาประมาณนึง จนอาจารย์ฝรั่งกับอาจารย์ผู้หญิงคนหนึ่งในโรงเรียนมาแสดงความไม่พอใจใส่เรา โดยหาว่าเราเป็นคู่เกย์กัน แต่เพื่อนผู้ชายคนนี้ (ซึ่งเป็น straight) ก็ไม่เห็นจะรังเกียจหรือพยายามตีตัวออกห่างอะไรจากเราแต่อย่างใด แต่เราต่างหากที่ตีตัวออกห่างจากเขา เพราะเราพบว่าการไปใช้เวลาเฮฮากับเพื่อนกะเทยและเพื่อนผู้หญิงเป็นสิ่งที่สนุกกว่าหลายเท่า 555

 

แต่สถานการณ์ของเรามันก็แตกต่างจากความสัมพันธ์กับ Remi และ Leo อยู่แล้วแหละ เพราะถึงแม้เราจะหลงรักเพื่อนผู้ชายคนนี้ แต่เราก็ไม่เคยคาดหวังอะไรจากเขามากไปกว่ามิตรภาพความเป็นเพื่อนอยู่แล้ว 555 เพราะเหมือนเรารู้อยู่แล้วว่าเขาน่าจะเป็น straight เราก็เลยไม่เคยหวังอะไรจากเขามากไปกว่า “ความเป็นเพื่อน” ในโลกแห่งความเป็นจริง ถึงแม้เราจะเก็บเอาเขามา “ฝันถึง”ตั้งแต่ตอนอยู่ป. 5

 

และจริง ๆ แล้วในตอนนั้นเราก็ไม่ได้หลงรักเขาแค่คนเดียว แต่เราตกหลุมรักลูกพี่ลูกน้องของเรา, ครูหนุ่มหล่อในโรงเรียน และเพื่อนหนุ่มในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ด้วย เพราะฉะนั้น “เพื่อน” คนนี้ของเรา ก็เลยไม่ได้มีความสำคัญต่อเรามากเท่ากับที่ Leo มีความสำคัญต่อ Remi

 

5.หนังไม่ได้บอกว่าตัวละครฆ่าตัวตายด้วยวิธีการใด แต่ตอนมัธยมเราเคยวางแผนหลายครั้งว่าจะฆ่าตัวตายด้วยการเชือดข้อมือตัวเองในห้องน้ำ พอมาดูหนังเรื่องนี้เราก็เลยนึกถึงชีวิตตัวเองตรงจุดนั้นขึ้นมาด้วย

 

แต่ตอนประถมเราวางแผนว่าจะฆ่าตัวตายด้วยการเอาผ้าห่มรัดคอตัวเองตายนะ แต่เหมือนเราไปอ่านเจอจากที่ไหนสักที่ว่า ถ้าเอาผ้ารัดคอตัวเอง แล้วรัดไปเรื่อย ๆ เราก็จะสลบไปก่อน แล้วมือเราก็จะหมดแรง คลายออกจากผ้า แล้วเราก็จะกลับมาหายใจได้เองอีกครั้ง เพราะฉะนั้นการฆ่าตัวตายด้วยวิธีนี้มันจะไม่มีทางทำได้สำเร็จ เราก็เลยล้มเลิกความคิดนี้ไป แต่พอย้อนนึกไปถึงความคิดตัวเองในตอนนั้นแล้วก็ขำมาก

 

6.ฉากที่ Leo ฝึกฝนมุ่งมั่นเหลือเกินกับความพยายามจะเป็นนัก hockey ทำให้นึกถึงฉากที่นางเอกของ GIRL มุ่งมั่นเหลือเกินที่จะหมุน ๆ  ๆ ตัวด้วยความเร็ว 360 cycles ต่อวินาทีเพื่อจะเป็นนักบัลเลต์หญิงให้ได้ (ถ้าจำไม่ผิด) แต่เราจำไม่ได้แน่ชัดว่า “วิธีการถ่าย” ตัวละครทั้งสองตัวในหนังสองเรื่องนี้มันคล้ายกันหรือเปล่า มันหมุน ๆ กล้องหรืออะไรทำนองเดียวกันหรือเปล่า

 

7.หนึ่งในสิ่งที่เราชอบมาก ๆ ในการดู “ภาพยนตร์” คือการที่หนังหลาย ๆ เรื่องทำให้เราพบว่า บางทีแล้วเราก็ “ไม่เข้าใจแม้กระทั่งตัวเราเอง”

 

คือเหมือนช่วงที่ผ่านมามันมีหนังแนวซึ้ง ๆ ออกมาหลายเรื่อง อย่างเช่น AFTERSUN ซึ่งเราชอบสุด ๆ แต่เราก็ไม่ได้ร้องห่มร้องไห้หรือ “อิน” กับมันเป็นการส่วนตัว ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ตัวเราเองเข้าใจได้อยู่แล้ว เพราะพ่อของเราเสียชีวิตตั้งแต่เราอายุ 3 ขวบ เราก็เลยไม่มีประสบการณ์ร่วมกับ AFTERSUN

 

แต่อย่าง CLOSE ที่ดูเหมือนเข้าใกล้ชีวิตเรามาก ๆ กว่าหนังเรื่องอื่น ๆ ไป ๆ มา ๆ เราดูแล้วก็ไม่ได้ “อิน” กับมันมากนักแฮะ งงเหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร เพราะตามหลักเหตุผลแล้ว เราน่าจะอินกับมันอย่างรุนแรง เราน่าจะร้องห่มร้องไห้กับมัน

 

กลายเป็นว่าหนังที่ทำให้เราร้องห่มร้องไห้หนักสุดขีดในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ยังคงเป็น SAINT OMER (2022, Alice Diop) เราก็เลยงงมาก ๆ ว่าทำไม เป็นเพราะอะไร ทำไมเราถึงร้องห่มร้องไห้หนักสุดขีดกับ SAINT OMER แต่ไม่ร้องห่มร้องไห้กับ CLOSE ทั้ง ๆ ที่ตามหลักเหตุผลแล้ว เราน่าจะร้องห่มร้องไห้กับ CLOSE

 

แต่นี่แหละคือความงดงามของภาพยนตร์สำหรับเรา เพราะมันทำให้เราตระหนักว่า เราเองก็ไม่เข้าใจตัวเองอย่างถ่องแท้เช่นกัน

 

 

Thursday, February 16, 2023

DIRTY JOBS – Shimmer Shrimpmer (2022, Kittipat Knoknark, music video, A+30)

 

DIRTY JOBS – Shimmer Shrimpmer (2022, Kittipat Knoknark, music video, A+30)

https://www.youtube.com/watch?v=_A2AhynBC8o

 

1.ตัวจังหวะเพลงติดหูดีมาก ๆ แต่เราว่าเสียงร้องมันเบาไปหน่อยสำหรับเรา

 

2.ชอบ “ความเสียดสี” ของ MV นี้มาก ๆ ดูแล้วนึกถึงทั้งลูกเสือชาวบ้านและกลุ่มจิตอาสา 55555

 

3.ชอบการเสียดสี “พี่ตูน” มาก ๆ รุนแรงมาก

 

4.ชอบฉากที่เอาไม้เสียบไก่ย่างมาใช้แทนไวโอลินด้วย เป็นไอเดียที่ดีและน่ารักมาก ๆ

 

5.เดาว่าแฟน ๆ วงนี้ที่เป็นชาวต่างชาติ อาจจะไม่เข้าใจมุกเสียดสีบางมุกแน่ ๆ 55555

Wednesday, February 15, 2023

TAR (2022, Todd Field, A+30)

 

TAR (2022, Todd Field, A+30)

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

1.จริง ๆ ความเห็นของเราก็คล้าย ๆ กับของเพื่อน ๆ หลาย ๆ คนที่เราเคยแชร์มาไว้แล้ว เราก็เลยขี้เกียจเขียนถึงหนังเรื่องนี้ 555 เพราะฉะนั้นเราก็จะข้ามไปเขียนแค่บางจุดเท่านั้นนะ

 

หนึ่งในสิ่งที่เราชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือหนังมันสร้างตัวละครที่เทาดีสำหรับเราน่ะ เหมือนโดยปกติเราชอบตัวละครผู้หญิงร้าย ๆ ที่มีพิษสงอยู่แล้ว เราก็เลยชอบมากที่หนังสร้างตัวละครนางเอกแบบนี้ขึ้นมา และมันไม่ใช่ตัวละครหญิงร้ายที่มีแค่ด้านมืดด้านเดียว แต่มันเป็นตัวละครที่เรารู้สึกทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับเธอในหลาย ๆ ฉากพร้อมกัน อย่างเช่น

 

1.1 ฉากที่เธอสอนลูกศิษย์ในทำนองที่ว่าไม่ควรมองข้ามผลงานศิลปะโดยใช้เกณฑ์ตัดสินจากประวัติชีวิตของตัวศิลปิน คือเหมือนเราเห็นด้วยกับหลาย ๆ สิ่งที่เธอพูด แต่ไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่เธอทำในฉากนั้น

 

1.2 ฉากที่เธอจัดการกับเด็กหญิงที่เป็นผู้ต้องสงสัยว่าทำร้ายร่างกายลูกบุญธรรมของเธอ คือเหมือนเราเห็นด้วยกับความต้องการของเธอในฉากนั้น แต่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการที่เธอใช้

 

 

1.3 ฉากที่ผู้ชายที่เหมือนเป็นรองหัวหน้าวง (ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด) มาเสนอความเห็นบางอย่าง แต่เธอไม่ได้คล้อยตามในทันที แต่เหมือนไปรับฟังความเห็นของคนอื่น ๆ ด้วยก่อนที่จะตัดสินใจ ซึ่งจุดนี้เป็นจุดที่ดี แต่การที่หลังจากนั้นเธอจะไล่เขาออกจากตำแหน่ง ก็เป็นสิ่งที่ดูน่าคลางแคลงใจเป็นอย่างมาก

 

2.อีกจุดที่เราชอบมาก ๆ เป็นการส่วนตัว คือการที่มันเป็นหนังที่มีตัวละครหญิงหลายตัวมาปะทะเชือดเฉือนกันน่ะ ดูแล้วนึกถึงความมันส์แบบตอนที่ดูละครทีวีเรื่อง MELROSE PLACE (1992-1999) บวกกับหนังเรื่อง PASSION (2012, Brian De Palma)

 

สาเหตุที่นึกถึง MELROSE PLACE เป็นเพราะว่า ตัวละครนางเอกของทั้งสองเรื่องเป็นตัวละครหญิงที่ "ร้ายมาก, เจ้าเล่ห์มาก, แข็งแกร่งมาก, เก่งมาก, ฉลาด" เหมือนกันน่ะ แต่แตกต่างกันตรงที่ MELROSE PLACE เป็นการตบตีเพื่อแย่งผู้ชายและความก้าวหน้าทางหน้าที่การงาน แต่นางเอกของ TAR เป็นเลสเบียน

 

เราก็เลยดูแล้วนึกถึง PASSION ด้วย เพราะมันเป็นหนังเกี่ยวกับผู้หญิงตบตีกันทั้งในทางหน้าที่การงาน และการชิงรักหักสวาทเหมือนกัน แต่เป็นเรื่องของเลสเบียนเหมือน TAR อย่างไรก็ดี สิ่งที่แตกต่างกันก็คือว่า การตบตีเชือดเฉือนกันระหว่างตัวละครหญิงใน PASSION มันดูชั้นต่ำมาก 555 แต่การเชือดเฉือนกันใน TAR ดูมีคลาสกว่ามาก ๆ

 

ดูแล้วนึกถึงหนังเลสเบียนเรื่อง FEMALE PERVERSIONS (1996, Susan Streitfeld, A+30) ด้วย ที่มี Tilda Swinton รับบทเป็นอัยการสาวที่ประสบความสำเร็จทางหน้าที่การงานเป็นอย่างดี และกำลังจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้พิพากษา แต่เธอก็เหมือนมีปัญหาทางจิตอย่างรุนแรงอยู่ภายใน คือ FEMALE PERVERSIONS เหมือนเน้น “ภาวะทางจิต” ของตัวละครหญิง มากกว่าที่จะเน้นการตบตีกันในเชิงกายภาพเหมือนอย่าง MELROSE PLACE และ PASSION เราก็เลยรู้สึกว่า ในแง่หนึ่ง TAR ก็เลยเหมือนอยู่กึ่งกลางระหว่างหนังเลสเบียนเรื่อง FEMALE PERVERSIONS กับ PASSION เพราะหนังทั้ง 3 เรื่องพูดถึงการตบตีกันทางความรักและหน้าที่การงานของเลสเบียน แต่ FAMALE PERVERSIONS เน้น “จิต” ของตัวละคร, PASSION เน้น “ภายนอก” ของตัวละคร ส่วน TAR นำเสนอปัญหาทั้งภายในและภายนอกของตัวละคร

 

3. ชอบความหลอนและความไม่อธิบายอะไรหลาย ๆ อย่างของหนังมาก ๆ อย่างเช่น

 

3.1 ชอบความหลอนของฉากที่นางเอกเหมือนระแวงผู้หญิงคนหนึ่งที่หลบอยู่ในห้องส้วม และเห็นแต่รองเท้า, ระแวงรองเท้าของผู้หญิงคนหนึ่งที่กำลังจะเดินเข้ามาในห้องของเธอ หรืออะไรทำนองนี้ คือเหมือนช่วงนั้นนางเอกคงระแวงว่า Krista อาจจะสะกดรอยตามเธอมั้ง

 

3.2 ถ้าหากเราดูไม่ผิด ในฉากที่นางเอกจะไปไล่รองหัวหน้าวงออกจากตำแหน่ง เหมือนนางเอกแอบขโมยของอะไรสักอย่างในห้องนั้นใส่กระเป๋าเสื้อตัวเองด้วย ตอนช่วงที่รองหัวหน้าวงเผลอ ซึ่งเราก็นึกว่าเดี๋ยวในฉากต่อ ๆ มา มันจะมีการอธิบายว่านางเอกแอบขโมยอะไรติดมือมา แต่ปรากฏว่าหนังก็ไม่อธิบาย เราก็เลยสงสัยว่าเราตาฝาดไปเองหรือเปล่า 555 มีใครดูทันจุดนี้ในฉากนี้บ้าง

 

3.3 ฉากที่นางเอกได้ยินเสียงกรีดร้องในป่าก็หลอนมาก

 

3.4 ฉากนางเอกไล่ตาม Olga ไปแล้วเผชิญกับตึกร้างก็หลอนมาก

 

3.5 สรุปใครขโมยสมุดของนางเอกไป

 

3.6 หนังไม่ได้อธิบายด้วยว่า นางเอกกับ Krista มีปัญหาอะไรกันแน่ เราก็เลยไม่รู้ว่าเราสมควรจะเกลียดนางเอกได้มากน้อยแค่ไหนที่พยายามกลั่นแกล้ง Krista ให้หางานทำไม่ได้

 

3.7 ฉากจินตภาพต่าง ๆ ของนางเอกและฉากที่นางเอกตื่นมากลางดึกแล้วเห็น metronome แกว่งไกวไปมาอย่างรุนแรง ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้นึกถึงหนังของ Brian De Palma ด้วยเช่นกัน และบรรยากาศของหนังก็ทำให้นึกถึง Roman Polanski ด้วยนิดนึง

 

4. เห็นชื่อของนางเอกแล้วนึกถึงคำว่า tarnish

 

5.ปัจจัยนึงที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้เป็นการส่วนตัว คือการที่นางเอก sensitive อย่างมากกับเสียงรบกวนต่าง ๆ เพราะเราก็มีอาการคล้าย ๆ อย่างนั้น ซึ่งอาจจะเกิดจากความผิดปกติของสมอง ดังเช่นที่บทความระบุไว้ว่า

 

https://intimexchiangmai.com/misophonia-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87/

 

 

โรคเกลียดเสียงหรือโรคไวต่อเสียงบางชนิด ถือเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งมีเสียงเป็นสิ่งเร้า เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดจากความผิดปกติของหูหรือการได้ยินแต่อย่างใด แต่เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นจากการทำงานของสมอง

         Dr.Sukhbinder Kumar นักประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล ประเทศอังกฤษ ระบุว่า ในคนที่มีภาวะเกลียดเสียงนั้น สมองส่วนอินซูล่าซึ่งทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างประสาทสัมผัสกับอารมณ์ จะทำงานหนักกว่าคนทั่วไปในขณะที่ได้ยินเสียง ส่งผลให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด หรือวิตกกังวล หัวใจเต้นเร็ว และเหงื่อออกได้มากขึ้น ความผิดปกตินี้มีตั้งแต่เล็กน้อยไปจนถึงรุนแรง”

 

คือเราก็มีอาการคล้าย ๆ นางเอกน่ะ โดยเฉพาะตอนจะนอนในเวลากลางคืน แล้วเราจะรำคาญเสียงต่าง ๆ มาก ๆ ทั้งเสียงคนข้างห้องเปิดปิดประตู, เสียงท่อน้ำ, เสียงพลาสติกบิดตัว และแม้แต่ “เสียงนาฬิกาข้อมือเดิน” แล้วพอเราได้ยินเสียงอะไรมารบกวนตอนจะนอน เราก็จะต้องค้นหา “ที่มาของเสียง” ให้ได้ เพื่อจะได้ “แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ” เพราะฉะนั้นพอเราดู TAR เราก็เลยพบว่านางเอกมีอาการตรงกับเรามาก ๆ 5555 ซึ่งมันเกิดจาก “สมองส่วนอินซูล่าทำงานหนักกว่าคนทั่วไป” น่ะ เราก็เลยดีใจที่หนังเรื่องนี้นำเสนอตัวละครนางเอกที่มีปัญหาเหมือนกับเรา

 

6.อีกจุดนึงที่ชอบสุด ๆ ในหนังก็คือการพูดถึง pastiche ทางศิลปะน่ะ ในทำนองที่ว่างานศิลปะหลาย ๆ งาน มันเป็นการหยิบยืมหรือได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานศิลปะก่อน ๆ หน้านั้น

 

หรือในอีกแง่หนึ่งเราก็อาจจะกล่าวได้ว่า งานศิลปะหลาย ๆ งานมันก็ย่อมต้องมีอะไรที่ซ้ำไปซ้ำมากันบ้างในบางจุด เป็นเรื่องธรรมดา 5555

 

เพราะขณะที่เราดู TAR มันก็ทำให้เรานึกถึงหนังเรื่องอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากโดยที่ผู้สร้างทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจเช่นกัน

 

โดยในส่วนที่ TAR พาดพิงถึงโดยตรงก็มีเช่น

 

6.1 APOCALYPSE NOW (1979, Francis Ford Coppola)

 

6.2 DEATH IN VENICE (1971, Luchino Visconti, Italy, A+30) นางเอกพูดถึง Visconti เป็นภาษาเยอรมัน เราก็เลยเดาว่าคงหมายถึงหนังเรื่องนี้ เพราะหนังเรื่องนี้เน้นใช้ดนตรีประกอบของ Mahler

 

6.3 นางเอกกับผู้ช่วยเคยถกเถียงกันเรื่องประวัติชีวิตของ Mahler เราก็เลยนึกถึงหนังเรื่อง MAHLER (1974, Ken Russell, UK, A+30) ด้วย

 

และในส่วนของหนังเรื่องอื่น ๆ ที่เรานึกถึงโดยที่ TAR ไม่ได้ตั้งใจพาดพิงนั้น นอกจาก PASSION กับ FEMALE PERVERSIONS แล้ว ก็มีเช่น

 

6.4 บทของ Cate Blanchette เหมือนเป็นการล้อตัวเองใน CAROL (2015, Todd Haynes)

 

6.5 บทของ Noemie Merlant เหมือนเป็นการล้อตัวเองใน PORTRAIT OF A LADY ON FIRE (2019, Céline Sciamma)

 

6.6 บทของ Noemie Merlant ทำให้นึกถึงบทของ Irm Hermann ใน THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT (1972, Rainer Werner Fassbinder, West Germany) อย่างมาก ๆ ด้วย

 

6.7 บทของ Nina Hoss เหมือนเป็นการล้อตัวเองใน THE AUDITION (2019, Ina Weisse, Germany)

 

6.8 การที่นางเอกเคยไปเรียนรู้วัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านในเปรู และนำความรู้นั้นกลับมาสู่โลกดนตรีคลาสสิค เหมือนเป็นการล้อ FITZCARRALDO (1982, Werner Herzog, West Germany) ที่เป็นเรื่องของชายผิวขาวที่พยายามจะสร้างโรงโอเปร่ากลางป่าลึกในเปรู

 

6.9 ฉากที่นางเอกไปจัดการเด็กหญิงที่มารังแกลูกบุญธรรมของเธอ ทำให้นึกถึงนางเอกโรคจิตในหนังเรื่อง FOREVER AND EVER (1997, Hark Bohm, Germany)

 

6.10 ชอบสุดขีดที่องก์สุดท้ายของหนังนั้นหนังเล่าเรื่องอย่างเร็วปรื๋อมาก ๆ  เหมือนเร่งจังหวะการเล่าเรื่องให้เร็วขึ้นเป็น 10 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงต้นเรื่อง ซึ่งนักวิจารณ์บอกว่ามันเป็นการทำตามโครงสร้างจังหวะดนตรีคลาสสิคหรืออะไรทำนองนี้มั้ง แต่เราไม่มีความรู้เรื่องดนตรีคลาสสิค เราก็เลยไม่มีความเห็นตรงจุดนี้

 

แต่ดูแล้วนึกถึงหนังบางเรื่องที่อยู่ดี ๆ ก็เหมือนเร่งสปีดการเล่าเรื่องในช่วงองก์สุดท้ายเหมือนกัน ซึ่งเป็นการเร่งสปีดโดยใช้วิธีการคล้าย ๆ ellipsis เหมือนกัน อย่างเช่น CHARISMA (1999, Kiyoshi Kurosawa) และ L’ARGENT (1983, Robert Bresson)

 

6.11 การตกอับจากโลกที่หนึ่ง แต่ไปผงาดในประเทศด้อยพัฒนา ทำให้นึกถึงตัวละคร Becky ใน VANITY FAIR (2004, Mira Nair) และ THE MAESTRO: A SYMPHONY OF TERROR (2021, Paul Spurrier) ด้วย

 

7.ชอบ “เพื่อนบ้าน” ของนางเอกที่มีปัญหาเรื่องหนังสือพิมพ์มาก ๆ จองเป็นตัวละครตัวนี้  ชอบที่ look ของเธอดู “ไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป ไม่ใช่ชีวิตแต่เป็นซากชีวิต” มาก ๆ 5555

 

8.ปัญหาของนางเอกกับ Krista ทำให้นึกถึงเจมี่ บูเฮอร์มาก ๆ

https://entertainment.trueid.net/detail/eKpa6Bzbr8YN

 

Sunday, February 12, 2023

THE TRILOGY OF “THE EVIL INSIDE US”

 

ได้หนังสือ “6 ทศวรรษของเควียร์ในภาพยนตร์ จากผู้ทำลายกลายเป็นผู้สร้าง (ครอบครัว)” ของภาวิน มาลัยวงศ์มาแล้ว ดีใจมาก ๆ ที่หนังสือเล่มนี้มีพูดถึงหนังเรื่อง OUR SONS (1991, John Erman, A+30) ด้วย

 

THE TRILOGY OF “THE EVIL INSIDE US”

+ THE TRILOGY OF “THE LOVE OF US AGAINST THE WORLD”

 

SPOILERS OF SOME FILMS

 

1 .THE TRILOGY OF “THE EVIL INSIDE US”

 

1.1 HALLOWEEN ENDS (2022, David Gordon Green)

1.2 PIGGY (2022, Carlota Pereda, Spain)

1.3 LESSON IN MURDER (2022, Kazuya Shiraishi, Japan)

 

เหมือนหนังทั้ง 3 เรื่องนี้มีจุดร่วมกันที่เราชอบสุดๆ ซึ่งก็คือมันเป็นหนังเกี่ยวกับ “ฆาตกรโรคจิตที่ฆ่าคนจำนวนมาก” แต่มันไม่ได้เป็นหนัง horror ที่มีเพียงแค่ฆาตกรโรคจิตไล่ฆ่าคนไปเรื่อย ๆ แต่มันสะท้อนถึงความจริงที่ว่า มนุษย์เราหลาย ๆ คนก็อาจจะกลายมาเป็นฆาตกรโรคจิตได้เช่นกัน คือในหนัง 3 เรื่องนี้ มันมี “ตัวละครฆาตกรโรคจิต” ที่ไล่ฆ่าคน แต่ตัวละครตัวนั้นได้ไป “ปลุกความเป็นฆาตกรโรคจิต” ในตัวละครอื่น ๆ ขึ้นมาด้วย โดยเฉพาะในตัวละครที่เป็น “เหยื่อผู้ถูกสังคมทำร้าย” ใน HALLOWEEN ENDS และ PIGGY และ “เหยื่อผู้ถูกผู้ใหญ่ทำร้าย” ใน LESSON IN MURDER

 

เราก็เลยชอบหนังทั้ง 3 เรื่องนี้มาก ๆ คือในแง่นึงมันเหมือนตัวละครฆาตกรโรคจิตในหนัง เป็น “ส่วนหนึ่งของจิตใต้สำนึก” ในตัวมนุษย์บางคนด้วย และในบางครั้งเมื่อคนคนนั้นถูกสังคมทำร้ายมาก ๆ “ฆาตกรโรคจิต” ที่หลับใหลอยู่ในจิตใต้สำนึกของมนุษย์บางคน ก็อาจจะถูกปลุกขึ้นมาได้

 

ถ้าหากเทียบกันเฉพาะหนัง 3 เรื่องนี้ เราว่า HALLOWEEN ENDS ดูแล้ว “สบายใจที่สุด” ส่วน LESSON IN MURDER ดูแล้ว “ขนพองสยองเกล้าที่สุด” (แต่มันไม่ได้เน้นความสนุกตื่นเต้นนะ แต่มันดูแล้วรู้สึกน่ากลัวมาก ๆ สำหรับเรา) แต่เราอาจจะชอบ PIGGY มากที่สุดใน 3 เรื่องนี้ เพราะเราว่าตัวละครฆาตกรโรคจิตใน HALLOWEEN ENDS กับ LESSON IN MURDER มันดูเป็น “pure evil” สำหรับเราน่ะ คือดูแล้วน่ากลัวน่าขยะแขยงมาก ๆ แต่ตัวละครฆาตกรโรคจิตใน PIGGY มันดูเป็น “pure evil” ก็จริง แต่นางเอกมองว่าเขามีความ desirable อยู่ด้วย และเราดูแล้วก็เข้าใจความรู้สึกของนางเอกในแง่มุมนี้ เราก็เลยชอบสุด ๆ ที่ PIGGY ทำให้ตัวละครฆาตกรโรคจิตในหนังเรื่องนี้มีทั้งความ pure evil และ desirable ในเวลาเดียวกัน

 

2. THE TRILOGY OF “THE LOVE OF US AGAINST THE WORLD”

 

2.1 PIGGY (2022, Carlota Pereda, Spain)

2.2 WANDERING (2022, Lee Sang-il, Japan)

2.3 BONES AND ALL (2022, Luca Guadagnino)

 

3 หนังรักต้องห้าม ซึ่งถ้าหากเทียบกัน 3 เรื่องนี้ เราชอบ WANDERING มากที่สุด ซึ้งสุด ๆ สำหรับเรา และชอบ PIGGY มากเป็นอันดับสอง ส่วน BONES AND ALL ชอบมากเป็นอันดับสาม

 

รูปบนซ้ายคือ Kenshi Okada สามีของเราจากภาพยนตร์เรื่อง LESSON IN MURDER กับ AND SO THE BATON IS PASSED ส่วนรูปบนขวาคือ Tori Matsuzaka สามีของเราจากหนังเรื่อง WANDERING, WHISPER OF THE HEART และ INTOLERANCE