Friday, February 10, 2023

AFTERSUN

 UNICO (1981, Osamu Tezuka, Toshio Hirata, Japan, animation, A+30)


1. มันเป็นหนังสำหรับเด็กเล็ก นึกว่าเหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 ขวบ แต่หนึ่งในสิ่งที่ชอบสุด ๆ ในหนังเรื่องนี้คือ concept ที่ว่า "gods" เป็นอะไรที่ชั่วร้ายมาก ๆ น่ะ

คือหนังเปิดเรื่องด้วยการเล่าว่า Unico เป็นยูนิคอร์นน้อยที่ทำให้บรรดามนุษย์ที่อยู่ใกล้มีความสุข gods ก็เลยไม่พอใจที่มนุษย์มีความสุขได้อย่างง่ายดาย ก็เลยสั่งให้เทพธิดาแห่งสายลมองค์หนึ่งหอบเอา Unico ไปปล่อยที่ดินแดนที่ไกลโพ้นห่างไกลมนุษย์มาก ๆ

คือพอเปิดเรื่องมา ก็รู้สึกได้เลยว่า gods ในหนังเรื่องนี้เหี้ยมาก ๆ 555

2.เหมือนหนังแบ่งเป็น 3 องก์ องก์แรกนี่นึกว่าสำหรับเด็กอายุ 3 ขวบ ส่วนองก์สองนี่นึกว่าสำหรับเด็กอายุ 6 ขวบ

แต่อยู่ดี ๆ ไม่รู้ทำไมองก์ 3 เกิดนรกแตกอะไรขึ้นมา เหมือนเนื้อเรื่องอยู่ดี ๆ ก็ dark ขึ้นมาก ซับซ้อนขึ้นมาก มีตัวละครชั่วร้ายโผล่ขึ้นมาอีก และแม้แต่เทพธิดาแห่งสายลมก็ต้องตบกับคู่ปรับที่ชั่วร้ายมาก ๆ ด้วย เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ  A+30 ในที่สุด

RESEMBLANCE ปรากฏการณ์ (2023, Jumpot Ruaycharoensap, A+)

Serious spoilers alert
--
--
--
--
--

1.ชอบชายหนุ่มที่ไปปฏิบัติธรรม นุ่งขาวห่มขาว ปักกลดมาก ๆ แต่ไม่รู้ว่าใครเล่นเป็นตัวละครตัวนี้

2.เราว่าการกำกับมันยังไม่ทรงพลัง แต่ชอบ "ความพิศวง" ของหนังมาก ๆ

3. เหมือนเราดูหนังเรื่องนี้แล้วเราเข้าใจหนังผิดไปในทางตรงกันข้ามกับที่หนังต้องการเลย เพราะเราดูแล้วเรารู้สึกว่า หนังมันดูต่อต้าน free sex  เพราะตัวละครที่มี free sex จะติดเชื้อโรค แล้วจะเข้าป่า หายสาบสูญไป, มีตัวละครที่ไม่ safe sex, และตัวละครที่มี free sex ก็ทำอากัปกิริยาราวกับว่า พวกเขาไม่เป็นตัวของตัวเอง, พวกเขากลายเป็นเหมือนคนอื่น ๆ อีกหลายคน เหมือนพวกเขาไม่ได้บรรลุถึงความสุขแท้จริงของชีวิตแต่อย่างใด แล้วพวกเขาก็ชอบทำหน้าทำตาราวกับว่า พวกเขาเป็นตัวร้ายหรือนางอิจฉา


คือเหมือนหนังทำให้เรารู้สึกว่า ตัวละครชายหนุ่มหญิงสาวที่มี free sex ในหนังเรื่องนี้ ไม่ได้ถูกมองในทางบวกมากนักน่ะ เราก็เลยรู้สึกราวกับว่า หนังมันต่อต้าน free sex

แต่เราก็คิดว่า เราน่าจะเข้าใจหนังผิดแน่ ๆ เลย เพราะเรื่องสั้นของปราบดา หยุ่น มันไม่น่าจะ " สั่งสอนศีลธรรม" แบบนั้นหรือเปล่า เราก็เลยมาอ่านความเห็นของผู้ชมคนอื่น ๆ ดู ซึ่งเขาบอกว่า ตัวละครที่มี free sex เหล่านี้ ได้ "หวนคืนสู่ธรรมชาติ"

เราก็เลยคิดว่า นั่นน่าจะเป็นจุดประสงค์แท้จริงของหนังมั้ง แต่ตลกดีที่ "ความพิศวง" ของหนัง ทำให้เราอาจจะเข้าใจหนังผิดไปในทางตรงกันข้ามกับที่หนังต้องการได้ 555

AFTERSUN (2022, Charlotte Wells, UK, A+30)

1.เห็น Paul Mescal แล้วนึกถึง Emmanuel Macron กับ Aidan Quinn 555

2.จุดที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ ก็ตรงกับสิ่งที่เพื่อนบางคนได้เขียนถึงไปแล้ว นั่นก็คือการบันทึกโมงยามเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ดูเหมือนไม่มีความสำคัญต่อเส้นเรื่องไปเรื่อย ๆ และการจับสังเกตอะไรเล็ก ๆ น้อย ๆ ของมนุษย์ไปเรื่อย ๆ

3.ส่วนใหญ่แล้วหนังเกี่ยวกับชายหาดที่เราเคยดูมักจะพูดถึงความสัมพันธ์ romantic ระหว่างชายหญิง (อย่างเช่นหนังของ Eric Rohmer) หรือ sexual awakening ของตัวละครวัยรุ่น เราก็เลยชอบสุด ๆ ที่หนังเรื่องนี้ไปเล่าเรื่องผ่านตัวละครที่ยังไม่เงี่ยน มันสร้างความแตกต่างให้หนังเรื่องนี้ได้ดีมาก ๆ

4.ฉากที่เราชอบสุดขีด และยกให้เป็นหนึ่งในฉาก classic อมตะนิรันดร์กาลของเรา คือฉาก LOSING MY RELIGION เพราะนอกจากฉากนี้จะเปิดเผยปมปัญหาทางการเงินของพระเอกแล้ว เรายังชอบอย่างสุดขีดมาก ๆ ด้วยที่พระเอกไม่ยอมออกไปร้องเพลง เพราะถ้าเป็นเรา เราก็จะไม่ออกไปร้องเพลงเช่นกัน

คือหนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจ แต่เรารู้สึกว่าฉากนี้มันสอดคล้องกับสิ่งที่เราคิดว่าพ่อแม่ควรสอนลูก ๆ น่ะ นั่นก็คือสอนว่า "ลูกอยากทำอะไรก็ทำไป ถ้ามันไม่สร้างความเดือดร้อนต่อคนอื่น ๆ อย่างเช่น การร้องเพลงในกาลเทศะนั้น แต่ลูกจะไปบังคับให้คนอื่น ๆ ทำในสิ่งที่ตัวเขาเองไม่ต้องการไม่ได้ ไม่ว่าลูกจะรักเขามากแค่ไหนก็ตาม"

เราก็เลยหลงรักความใจแข็งของคุณพ่อในฉากนี้มาก ๆ มันตรงใจเรามาก ๆ คือเราเดาว่า ถ้าหากมันเป็นหนังเรื่องอื่น พ่ออาจจะใจอ่อน แต่พอคุณพ่อในหนังเรื่องนี้ใจแข็ง เราก็เลยชอบตรงจุดนี้มาก ๆ

เราว่ามันสลับกับหนังเรื่องอื่น ๆ ด้วยแหละ เพราะในหนังเรื่องอื่น ๆ พ่อแม่ชอบบังคับให้ลูก ๆทำในสิ่งที่ลูกไม่ต้องการ (อย่างเช่นใน CHILDREN OF THE MIST) แต่ในหนังเรื่องนี้ ลูกสาวกลับพยายามบีบให้พ่อทำในสิ่งที่พ่อไม่ต้องการ

เราว่าสิ่งที่พ่อทำในฉากนี้มัน dilemma ดีด้วยแหละ เพราะในแง่นึงมันก็คงสร้างความผิดหวังให้ลูกสาวอย่างมาก ๆ, สร้างรอยปริร้าวทางความความสัมพันธ์ครั้งสำคัญ หรือถ้าหากเป็นกรณีของเด็กที่เอาแต่ใจตัวเอง เด็กคนนั้นก็อาจจะคิดในตอนแรกว่า "พ่อไม่รักฉันมากพอที่จะออกมาร้องเพลงกับฉัน" แต่อย่างที่หนังเรื่องอื่น ๆ ว่าไว้ว่า "When you lose something, you always gain something." เราก็เลยหวังว่า เด็กคนนั้นอาจจะผิดหวังกับพ่อในตอนแรก แต่เด็กคนนั้นก็อาจจะได้รับบทเรียนที่ดีว่า เราไม่ควรจะไปบีบให้คนอื่น ๆ ทำในสิ่งที่เขาไม่ต้องการ ไม่ว่าเขาจะเป็นพ่อหรือเป็นลูกของเราก็ตาม

เราก็เลยรู้สึกชอบฉากนี้อย่างสุดขีด เพราะถ้าหากเราเป็นลูก เราก็คงรู้สึก "ใจสลาย" แต่ถ้าหากเราเป็นพ่อ เราก็จะไม่ยอมออกไปร้องเพลงเช่นเดียวกัน
‐---
พอเห็น trailer "เธอกับฉันกับฉัน" ก็นึกถึงเพื่อนเก่ากลุ่มนึงมาก ๆ รู้เลยว่าถ้าเพื่อนกลุ่มนั้นมาทำหนังเรื่องนี้ หนังมันจะใช้ชื่อเรื่อง "เธอกับฉัน มันกับมึง" แล้วนางเอกจะชอบร้องเพลงว่า "ช่วยเก็บผ้าอนามัยให้ฉันหน่อยได้ไหม"
----
ZERO FUCKS GIVEN (2021, Julie Lecoustre, Emmanuel Marre, France, A+30) เคยดูตอนหนังเรื่องนี้มาฉายที่  Alliance ชอบหนังมาก ๆ

หลังจากดูหนังอินเดียเรื่อง THAMP  (1978, Govindan Aravindan, A+30) ที่หอภาพยนตร์ ศาลายา ก็ต้องมากินอาหารอินเดียต่อ

Film Wish List: ROAD (1987, Alan Clarke, UK) หนังเรื่องนี้ติด TOP TEN หนังสุดโปรดตลอดกาลของ Clio Barnard
‐---
ตอนเด็ก ๆ ที่ครอบครัวพาเข้าโรงหนัง เราไม่รู้ค่าตั๋ว เพราะเราไม่ได้จ่ายเอง ที่จ่ายเงินเองครั้งแรก คือตอนดู FLASHDANCE (1983, Adrian Lyne) ที่โรงแมคเคนนา ตอนนั้นค่าตั๋วต่ำสุดคือ 20 บาท

ใครรู้ช่วยตอบด้วย หนังไทยเรื่องแรก ๆ ที่เราได้ดู เป็นหนังที่เราได้ดูตอนมันมาฉายทางทีวี เนื้อเรื่องคือนางเอกเข้าโรงพยาบาล มีอาการโคม่า แล้ววิญญาณหลุดออกร่าง วิญาณของเธอก็เลยเดินทางไปเรื่อย ๆ แล้วก็เลยได้รับรู้ความจริงบางอย่างเกี่ยวกับผู้คนรอบตัวเธอ แล้ววิญญาณก็กลับเข้าร่างในตอนจบ เธอฟื้นขึ้นมา นางเอกน่าจะแสดงโดยลลนา สุลาวัลย์ แต่เราจำชื่อเรื่องไม่ได้ แล้วลลนาก็เล่นหนังเยอะมาก จนเราเดาไม่ออกว่ามันคือหนังเรื่องอะไร

TO ALL OF YOU THAT I LOVED (2022, Jun Matsumoto, Japan, animation, A+30)
+  TO THE ONLY ONE WHO LOVED YOU, ME (2022, Kenichi Kasai, Japan, animation, A+30)

1.หนัง animation ที่พูดถึงโลกคู่ขนานที่ตัวละครในเรื่องกระโดดข้ามไปข้ามมาระหว่างโลกคู่ขนานได้ในบางครั้ง แต่เนื่องจากมันเป็นโลกคู่ขนานกัน หนังก็เลยแตกออกเป็น 2 เรื่องไปเลย โดยที่เรื่องนึงจะเล่าว่า เมื่อพ่อแม่ของพระเอกหย่ากันตอนที่พระเอกยังเป็นเด็ก แล้วพระเอกเลือกไปอยู่กับแม่ แล้วชีวิตต่อมาจะเป็นยังไง ส่วนอีกเรื่องนึงจะเล่าว่า ถ้าพระเอกเลือกไปอยู่กับพ่อตอนเด็ก แล้วชีวิตต่อ ๆ มาจะเป็นยังไง

2.เรามองว่า มันเป็นหนังโลกคู่ขนานที่เราชอบในระดับใกล้เคียงกับหนังอย่าง DOCTOR STRANGE IN THE MULTIVERSE OF MADNESS (2022, Sam Raimi) และ EVERYTHING EVERYWHERE ALL AT ONCE (2022, Dan Kwan + Daniel Scheinert) เลยนะ เพราะถึงแม้มันจะไม่ "ตื่นตา" เท่า DOCTOR STRANGE และ ไม่ "ตื่นใจ" เท่า EEAAO  แต่มันก็รู้ว่าจุดแข็งของ "หนังญี่ปุ่น" หรือของตัวเองคืออะไร

ผลก็คือว่า พอกูดูจบทั้งสองภาคแล้ว กูร้องห่มร้องไห้หนักมากค่ะ โดนสุด ๆ หนักมาก ๆ ไม่นึกว่าจะร้องไห้จนหยุดไม่ได้ขนาดนี้

3.มีบางจุดของหนังที่ทำให้นึกถึง DEJA VU (1997, Henry Jaglom) ด้วย  ซึ่งหนังของ  Jaglom เรื่องนี้ถือเป็น one of my most favorite films of all time

LIKAY STAR (2016, Marco Wilms, documentary, A+30)

1.เป็นสารคดีเกี่ยวกับประเทศไทย แต่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับคน 2 กลุ่มในไทยที่เราเองก็มีความรู้เกี่ยวกับพวกเขาน้อยมาก

2.คนกลุ่มแรกก็คือชาวเมียนมาที่หนีตายจากประเทศตนเองมาตั้งรกรากแถบจังหวัดชายแดนของไทย ตัว subject เป็นเด็กชายหน้าตาน่ารัก ฉลาดเฉลียวที่เติบโตในไทยมานานหลายปี แต่เขามีพ่อแม่เป็นเมียนมา เขาเลยไม่ได้สัญชาติไทย และต้องดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางปัญหายุ่งยากทางกฎหมาย โดยเฉพาะในเรื่องการเดินทางในไทย แบบที่เราอาจจะเคยเห็น ๆ มาแล้วในหนังกลุ่มของคุณ Supamok Silarak

พ่อของเขาทำงานในไร่ ส่วนแม่ทำงานฟรีในโรงเรียน (เหมือนเป็นภารโรง ถ้าเราจำไม่ผิด) เพื่อแลกกับการที่ลูกชายจะได้มีโอกาสเรียนในโรงเรียนนั้น

นอกจากตัว subject หลักแล้ว หนังยังพาเราไปรู้จักกับครูสอนลิเก และเด็กคนอื่นในโรงเรียนที่มีเชื้อสายเมียนมาด้วย

3. เนื่องจากเด็กชายในหนังมีความใฝ่ฝันอยากเล่นลิเก และเหมือนจะมีพรสวรรค์ทางด้านนี้ เขาก็เลยเขียนจดหมายไปหาไชยา มิตรชัย และได้รับคำเชิญให้ไปร่วมแสดงลิเกของไชยาด้วย

หนังเรื่องนี้ก็เลยพาเราไปรู้จักกลุ่มบุคคลที่สองที่เราแทบไม่รู้จัก ซึ่งก็คือคณะลิเกมืออาชีพ

คือถึงแม้ลิเกจะเป็น popular culture อย่างนึงของไทย แต่เราซึ่งเป็น cinephile เหมือนได้รับรู้เรื่องของคนกลุ่มนี้น้อยกว่าเรื่องของชาวเมียนมาในไทยเสียอีก ซึ่งก็คงเป็นเพราะว่า ชีวิตของชาวเมียนมาหลายคนเต็มไปด้วยความยากลำบาก เป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไข ปัญหาของคนกลุ่มนี้ก็เลยได้รับการนำเสนอผ่านทางหนังสั้นหลาย ๆ เรื่อง  แต่ชีวิตของคณะลิเกอาจจะไม่ได้เต็มไปด้วยปัญหาและความยากลำบากมากนักมั้ง? คือเหมือนเป็นอาชีพนึงในไทย เราก็เลยไม่ได้เห็นเรื่องราวของคนกลุ่มนี้ในหนังไทยมากนัก อันนี้เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

เหมือนก่อนหน้านี้เราเคยดูหนังเกี่ยวกับลิเกแค่ไม่กี่เรื่องเองมั้ง เรื่องนึงที่จำได้คือ ฮันเล่วังชา (2015, Wachara Kanha, documentary,  A+30) แต่เหมือนเรื่องนั้นจะทำให้เรารู้สึกถึงความร่วงโรยของวงการลิเกในไทยมั้ง ถ้าหากเราจำไม่ผิด มันก็เลยตรงข้ามกับความฟู่ฟ่าของไชยา มิตรชัยในหนังเรื่องนี้

หนังเกี่ยวกับลิเกอีกเรื่องที่เราเคยดู คือเรื่อง LIVE IN BANGKOK (2007, Unnop Saguanchat) ที่พูดถึงคณะลิเก วสันต์-ปรีชา

4. เหมือนชีวิตของไชยา มิตรชัยก็น่าสนใจมาก ๆ นะ เขาเล่าว่าตอนเด็ก ๆ เขาเคยถูกครูดูถูกอย่างรุนแรงมาก เขาก็เลยมุมานะอย่างรุนแรง เล่นลิเกหาเงินเลี้ยงตัวเองตั้งแต่เด็ก ๆ จนกลายเป็น superstar ได้ในที่สุด

5.เห็นแม่ยกให้พวงมาลัยที่ทำจากธนบัตรแก่นักแสดงลิเกในหนังเรื่องนี้ ก็เลยนึกถึงแม่ยกชาวจีนที่ให้เงินจำนวนมากแก่นักแสดงซีรีส์วายไทยในยุคนี้มาก ๆ

6.แต่สงสัยมากว่า ในช่วงโควิดระบาด ชาวคณะลิเกมีชีวิตอย่างไรบ้าง ลำบากมากน้อยแค่ไหน ต้องเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่น ๆ หรือเปล่า

7.เหมือนเราได้ดูหนังไทยเกี่ยวกับ "หมอลำ" มากกว่า "ลิเก"  ด้วยนะ เราก็เลยสงสัยว่า

7.1 หมอลำ กับ ลิเก นี่ได้รับความนิยมแตกต่างจากกันมากน้อยแค่ไหน เราเดาว่าหมอลำน่าจะได้รับความนิยมสูงอยู่ ส่วนลิเกนี่มันเสื่อมความนิยมลงไปเรื่อย ๆ หรือเปล่า เราก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน

7.2 หมอลำ นี่ได้รับความนิยมในภาคอีสานเป็นหลักใช่ไหม ส่วนลิเกนี่ได้รับความนิยมในภาคไหนบ้าง

8.เหมือนช่วงหลัง ๆ มีงาน video หรือ video installation ที่นำ "ฉาก" ของลิเกมาใช้ เพื่อสื่อถึงนัยยะทางการเมือง อย่างเช่น SOMETHING LIKE A THING, SOMETHING LIKE EVERYTIME (2018, Anupong Charoenmitr), A MINOR HISTORY (2021, Apichatpong Weerasethakul), ON BLUE (2022, Apichatpong Weerasethakul) แต่หนังเรื่องนี้ไม่ได้พูดถึงลิเกในแง่มุมนั้น

METAL POLITICS TAIWAN (2018, Marco Wilms, documentary, A+30)

1.subject น่ารักมาก 555 ดูแล้วนึกถึงธนาธรในแง่ความหัวก้าวหน้าและความเป็นหนุ่มไฟแรง

2.เหมือนหนังของ Marco Wilms 6 เรื่องที่เราได้ดู จะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ซึ่งก็คือ

2.1 ชีวิตคนท่ามกลางความผันผวนทางการเมือง อย่างเช่น เรื่องนี้, BERLIN VORTEX (2003), ART WAR (2014)

2.2 หนังสารคดีแนว "ฝันที่เป็นจริง" อย่างเช่น TAILOR MADE DREAMS (2006, ช่างตัดเสื้อชาวอินเดียอยากไปยุโรป), COMRADE COUTURE (2009,  ผู้กำกับอยากจัดงานแฟชั่นโชว์เพื่อรำลึกถึงวันวานในยุโรปตะวันออก), LIKAY STAR (2016, เด็กเชื้อสายเมียนมาอยากเล่นลิเก)

3.ตลกดีที่ตอนเราเป็นเด็กในทศวรรษ 1980 เหมือนเราถูกปลูกฝังให้คิดว่า เจียงไคเช็ค เป็นฝ่ายดี เป็นวีรบุรุษประชาธิปไตย ต่อสู้กับ communists ก่อนที่เราจะได้รับรู้ความจริงเกี่ยวกับ Taiwan ในเวลาต่อมา

แต่พอเราโตมา เหมือนเรายังไม่เคยดูหนังที่มองเจียงไคเช็คในแง่บวกเลยมั้ง ทั้งหนังไต้หวันหลาย ๆ เรื่อง, หนังฮ่องกง/จีน อย่างเช่น  THE SOONG SISTERS (1997, Mabel Cheung), THE SILENT WAR (2012, Felix Chong, Alan Mak) และแม้แต่หนังที่ได้ทุนสร้างจากเยอรมนีเรื่องนี้ 555

ART WAR (2014, Marco Wilms, Germany, about Egypt, documentary, A+30)

1. ฉากที่ศิลปินใส่เสื้อยืดเดินไปตามถนน แล้วเจอกลุ่มคนคลั่งศาสนาเข้ามาข่มขู่คุกคามนี่มันน่ากลัวมาก ๆ

2.สถานการณ์ในอียิปต์น่าสนใจมาก ๆ เพราะมันไม่ได้เป็นการต่อสู้แค่ 2 ฝ่าย ระหว่างฝ่ายเผด็จการนิยมกับเสรีนิยม แต่ดูเหมือนจะมี 4 ฝ่ายหลัก ซึ่งได้แก่ฝ่าย Hosni Mubarak, กองทัพ, Muslim Brotherhood และเสรีนิยม ก็เลยรู้สึกว่าสถานการณ์มัน dilemma  มาก ๆ

ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด คือพอล้ม Hosni Mubarak ได้แล้ว ฝ่าย Muslim Brotherhood ก็ชนะการเลือกตั้ง แล้วหลังจากนั้นกองทัพก็ทำรัฐประหาร ก็เลยเหมือนมีหลายฝ่ายตบกัน แต่ก็ไม่รู้ว่าฝ่ายไหนน่ากลัวที่สุด

3.ชอบเรื่องของ blogger สาวที่ถ่ายนู้ดมาก ๆ

No comments: