DALLAS BUYERS CLUB (2013, Jean-Marc Vallée, A+25)
หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้
1.ชอบการเล่าเรื่องผ่านทางอารมณ์ความรู้สึกของตัวพระเอก เราว่ามันทำได้ถึงดีตรงจุดนี้
เราว่ามันเป็นวิธีที่แตกต่างกับหนังอย่าง MILK (2008, Gus Van Sant) ที่เล่าเรื่องแบบ
objective กว่า เราว่าการเล่าเรื่องทั้งสองแบบนี้มันก็ดีในแบบของมันเอง
MILK มันดูเรียบๆไม่เร้าอารมณ์ดี ในขณะที่ DALLAS
BUYERS CLUB หรือหนังอย่าง LES AMANTS DU PONT-NEUF (1991,
Léos Carax) มันเล่าเรื่องผ่านทางอารมณ์ความรู้สึกที่หวือหวาและพลุ่งพล่านของตัวละคร
และมันก็ทำออกมาได้ดีมากๆในแบบของมันเองเหมือนกัน
2.ชอบที่ตัวพระเอกกับ Rayon (Jared Leto) ไม่ได้ทำตัวเป็นวีรบุรุษผู้อุทิศตัวเพื่อปวงชนแต่อย่างใด
แต่เป็นคนที่แสวงหากำไร เพียงแต่การแสวงหากำไรของพวกเขาอาจจะส่งผลดีต่อคนอื่นๆด้วย
ซึ่งสิ่งนี้ทำให้พวกเขาแตกต่างจากกลุ่มตัวเอกใน RED RIBBON BLUES (1996,
Charles Winkler) ที่พยายามช่วยเหลือคนจนอยู่บ้าง
คือเราชอบความเป็นสีเทาหรือความชั่วๆดีๆของตัวพระเอกกับ Rayon ในเรื่องนี้น่ะ เหมือนกับที่เราชอบตัวละครนายกเทศมนตรีคาร์ไมน์ โพลิโต (Jeremy
Renner) ใน AMERICAN HUSTLE
จุดที่เราชอบมากๆในหนังสองเรื่องนี้ก็คือว่า
หนังสองเรื่องนี้ค่อนข้างเห็นใจ “คนดีๆชั่วๆ” อย่าง Ron Woodroof และ Carmine
Polito แทนที่จะเข้าข้าง “ผู้ผดุงคุณธรรม”
อย่างเจ้าหน้าที่อาหารและยาใน DALLAS BUYERS CLUB หรือตัวละครที่แสดงโดย
Bradley Cooper ใน AMERICAN HUSTLE
3.ตัวละครเอกใน DALLAS BUYERS CLUB ทำให้นึกถึงตัวละครเอกใน
LORENZO’S OIL (1992, George Miller) ในแง่ที่ว่า
พวกเขาไม่ได้เป็นแพทย์หรือนักวิทยาศาสตร์
แต่ถูกสถานการณ์ในชีวิตกดดันให้ต้องหาความรู้เรื่องการแพทย์เพื่อหาทางออกให้แก่ชีวิตตัวเอง
เราชอบเรื่องราวเกี่ยวกับอุปสรรคชีวิตแบบนี้น่ะ
4.ชอบประเด็น homophobic ในหนังด้วย
มันทำให้เราอิน
ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว เราอินกับ DALLAS BUYERS CLUB มากกว่า
C.R.A.Z.Y. (2005, Jean-Marc Vallée, A) มากๆ
คือหนังสองเรื่องนี้กำกับโดยผู้กำกับคนเดียวกัน และแตะประเด็นเรื่อง homophobic
เหมือนกัน แต่เราจำได้ว่า ตอนที่เราดู C.R.A.Z.Y. เราประหลาดใจมากๆที่เราไม่ค่อยอินกับหนังเรื่องนี้
ทั้งๆที่โดยปกติแล้วเรามักจะอินกับหนังที่พูดถึง “เกย์ที่มีปัญหากับครอบครัว”
อย่างหนังเรื่อง C.R.A.Z.Y. แต่เรากลับพบว่า C.R.A.Z.Y.
ไม่มี “ความเจ็บปวด” ในแบบที่เราเคยคุ้นเคย แต่ DALLAS
BUYERS CLUB มี
5.ชอบ dilemma ขององค์การอาหารและยาในหนังเรื่องนี้ด้วย
เพราะมันเป็นปัญหาที่มีในไทยเหมือนกัน คือมึงเคร่งครัดเกินไปหรือเปล่า
ถึงได้ออกกฎห้ามนู่นนี่นั่น จนคนป่วยได้รับความเสียหายกันไปทั่ว
เราเป็นโรคริดสีดวงจมูก ต้องใช้ยา Clarinase น่ะ
ปกติเราหาซื้อยานี้ได้จากร้านขายยาทั่วไป แต่ตอนหลังมีคนบอกว่ายานี้เอาไปใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตยาบ้าได้
หรืออะไรทำนองนี้ เราก็เลยซื้อยา Clarinase กินเองไม่ได้อีกในไทย
แล้วเราก็ได้ยินมาว่า มียาดีๆหลายๆตัวด้วย ที่ถูกห้ามขายด้วยเหตุผลทำนองเดียวกัน อย่างเช่น
บางคนอาจจะเอายาดีๆตัวนี้ไปทำเป็นยาสลบแล้วใช้ในอาชญากรรมได้
ยาดีๆตัวนี้ก็เลยถูกห้ามขายในไทยไปเลย คนไทยก็เลยซวยไป
คือถ้าใช้ตรรกะแบบนี้ในการห้ามขายยาดีๆ บางทีเราก็สงสัยว่า
ของหลายๆอย่างมันก็เอามาใช้ในการประกอบอาชญากรรมได้ทั้งนั้นแหละ อย่างเช่น “วงเวียน”
แล้วอย่างนี้ต้องห้ามขายวงเวียนด้วยมั้ยล่ะ
คือที่เขียนมาแทบไม่ได้เกี่ยวกับหนัง DALLAS BUYERS CLUB หรอก
แต่เราชอบที่หนังมันพูดถึง dilemma เกี่ยวกับ “ยาและกฎหมาย”
ซึ่งเป็นประเด็นที่มีผลอย่างรุนแรงกับชีวิตเรา
6.ชอบ “ยุคสมัย” ของหนังเรื่องนี้มากๆ
เพราะเราเติบโตเป็นวัยรุ่นในทศวรรษ 1980 แค่การได้เห็นทรงผมของกะหรี่สาวสองตัวในตอนต้นของหนังเรื่องนี้
เราก็ฟินแล้ว เพราะมันเป็นทรงผมที่หาไม่ได้ในทศวรรษอื่นๆ 55555
ยุคสมัยของหนังมันทำให้เรานึกถึงอีกประเด็นนึงด้วย
คือมีบางคนบอกว่าเราโชคดีมากที่เข้าสู่วัยเงี่ยนตอนที่ความรู้เรื่องโรคเอดส์มันแพร่หลายแล้ว
เรากับเพื่อนๆเลยเติบโตมากับความกลัวเรื่องโรคเอดส์ และระมัดระวังเวลามีเพศสัมพันธ์
แต่ถ้าหากเราเกิดเร็วกว่านี้สัก 5-10 ปี เราก็จะเข้าสู่วัยเงี่ยนในช่วงที่คนยังไม่รู้เรื่องโรคเอดส์
แล้วเราก็คงติดเอดส์ไปแล้ว และอาจจะเป็นเหมือน Rayon ในเรื่องนี้ การได้ดูหนังเรื่องนี้ก็เลยเป็นการตอกย้ำกับเราว่า
โชคดีที่เราไม่เกิดเร็วเกินไป
7.การแสดงของ Matthew McConaughey กับ Jared
Leto ในหนังเรื่องนี้สุดตีนมากๆ
เป็นบทบาทการแสดงที่ชอบที่สุดของสองคนนี้
8.ช่วงที่ซึ้งที่สุดของเราในหนังเรื่องนี้
คงเป็นตอนที่พระเอกจะเช่าบ้านจากคู่เกย์วัยกลางคน
แล้วพยายามจะขอเช่าบ้านในราคาที่ต่ำมาก เพราะสิ่งที่พระเอกสนใจคือเงิน
แต่คู่เกย์กลับไม่คิดเงิน คือเราว่าถ้าหากเป็นหนังเรื่องอื่น
หนังเรื่องอื่นคงพยายามฉวยโอกาสประโคมศีลธรรมความซาบซึ้งกินใจในความดีงามอะไรในฉากนี้อย่างเต็มที่
แต่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ทำเช่นนั้น
พระเอกของหนังเรื่องนี้ไม่ได้กลับตัวกลับใจแบบพระเอก IKIRU (1952, Akira
Kurosawa) เขาก็ยังคงทำตัวดีๆเลวๆต่อไป
แต่เราก็ยังคงซึ้งใจกับฉากนี้อยู่ดี
9.ถ้าหากจะฉายหนังเรื่องนี้ควบกับหนังเรื่องไหน เราก็คงฉายควบกับหนังโรคเอดส์ที่เราชอบมากๆ
3 เรื่องเกี่ยวกับทศวรรษ 1980 ซึ่งก็คือเรื่อง
9.1 A VIRUS KNOWS NO MORALS (1986, Rosa von Praunheim)
9.2 LONGTIME COMPANION (1990, Norman René)
9.3 AND THE BAND PLAYED ON (1993, Roger Spottiswoode)
No comments:
Post a Comment