DIE TOMORROW (2017, Nawapol Thamrongrattanarit, A+30)
1.เราชอบรูปแบบของหนังมากกว่าตัวเนื้อหานะ
คือสาเหตุที่ชอบในระดับ A+30
เพราะเราไม่ค่อยเห็นคนไทยทำหนังที่มีรูปแบบอย่างนี้ออกมาน่ะ นั่นก็คือหนังแนว Alexander
Kluge หรือหนังที่มีทั้งสารคดี+เรื่องแต่ง+fragments ต่างๆมากมายผสมผสานกันไปหมดอยู่ภายในหนังเรื่องเดียวกัน
คือหนังกลุ่มนี้มันใกล้เคียงกับ essay film น่ะแหละ
แต่ส่วนใหญ่เราจะมองว่า essay film มีองค์ประกอบหลักเป็นสารคดี+ความเห็นของผู้กำกับ
โดยจะมีเรื่องแต่งกับความเป็นกวีผสมอยู่บ้าง แต่ส่วนใหญ่เวลาพูดถึง essay
film เรามักจะนึกถึงหนังของ Harun Farocki ที่มันใช้ภาพจากสารคดีเป็นหลัก
แต่ทีนี้มันมีหนังอีกกลุ่มนึงที่ดูเหมือนคนไทยไม่ค่อยทำกัน
นั่นก็คือหนังแนว Alexander Kluge ที่มันเต็มไปด้วยเรื่องแต่งที่เป็น fragments
หลายๆเรื่องอยู่ในเรื่องเดียวกัน
และบางทีก็มีส่วนที่เป็นสารคดีผสมอยู่ด้วย คือเหมือนกับว่า essay film อาจจะเป็นสารคดี 50% บวกความเห็นของผู้กำกับ 30%
บวกเรื่องแต่ง 20% แต่หนังของ Alexander
Kluge จะเป็นเรื่องแต่งหลายๆเรื่องรวมกันราว 60-70% และที่เหลืออาจจะเป็นสารคดี+คลิปข่าว+อะไรเหี้ยห่ามากมายน่ะ คือหนังของ Alexander
Kluge หลายๆเรื่องก็อาจจะจัดเป็น essay film ได้น่ะแหละ
แต่มันดู free form มากกว่า essay film โดยทั่วไป และมันจะมีความเป็น fiction มากกว่า essay
film โดยทั่วไป
และเนื่องจากเราบูชา Alexander Kluge มากๆ
เพราะฉะนั้นตอนที่เราดู DIE TOMORROW เราก็เลยชอบรูปแบบของหนังเรื่องนี้มาก
มันเหมือนเข้าทางเรามากกว่า #BKKY (2016, Nontawat Numbenchapol) อีกน่ะ คือ #BKKY เราก็ชอบรูปแบบของมันอย่างสุดๆนะ
ที่เป็นเหมือน fiction หนึ่งเรื่อง+คลิปสัมภาษณ์วัยรุ่นหลายๆคน
เราว่ามันแหวกแนวจากหนังไทยโดยทั่วไป เพราะมันผสมผสาน fiction กับ documentary เข้าด้วยกันในหนังเรื่องเดียวกัน
แต่ DIE TOMORROW เหมือนสลับองค์ประกอบกับ #BKKY เพราะ DIE TOMORROW เน้นบทสัมภาษณ์ของคนแค่สองคน
แต่นำเสนอ fiction หลายๆเรื่อง มันก็เลยทำให้เรานึกถึงหนังของ
Alexander Kluge อย่าง THE POWER OF EMOTION (1983) มากๆ เราก็เลยกรี๊ดแตกให้กับรูปแบบของ DIE TOMORROW เพราะเราอยากให้มีคนไทยทำหนังแบบ
Alexander Kluge มานานมากแล้ว
2.แต่ก็อย่างที่เคยเขียนไปแล้วว่า เราชอบ DIE TOMORROW อย่างสุดๆ
เมื่อเทียบกับหนังไทยด้วยกัน
แต่ถ้าเทียบกับหนังต่างประเทศที่มีรูปแบบใกล้เคียงกันแล้ว เราชอบมันเท่ากับ INNOCENCE
UNPROTECTED (1968, Dusan Makavejev) แต่ชอบน้อยกว่า THE
POWER OF EMOTION และชอบน้อยกว่า 71 FRAGMENTS OF A CHRONOLOGY
OF CHANCE (1994, Michael Haneke) น่ะ
คือเราเคยเขียนไปหลายครั้งแล้วล่ะว่า Dusan Makavejev กับ Alexander
Kluge ทำหนังที่มีรูปแบบใกล้เคียงกัน
นั่นก็คือหนังบางเรื่องของสองคนนี้เต็มไปด้วย fragments ต่างๆมากมาย
และมีทั้งสารคดี+เรื่องแต่งอยู่ในหนังเรื่องเดียวกัน แต่ในหนังของ Dusan
Makavejev นั้น fragments ทุกอันสามารถเชื่อมโยงกันได้ตามหลักเหตุผล
ในขณะที่ในหนังของ Alexander Kluge นั้น
เราจะไม่สามารถเชื่อมโยง fragments หลายอันเข้าด้วยกันได้ตามหลักเหตุผลในทันที
เราจะไม่เข้าใจว่าหลายๆฉาก หลายๆเรื่องราวย่อยๆมันเชื่อมโยงกันยังไง
แต่ในทางอารมณ์ความรู้สึกนั้น fragments ที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกันเลยนี้
กลับสอดประสานเข้าด้วยกันได้อย่างงดงามและให้อารมณ์ที่ sublime มากๆ
อย่างใน THE POWER OF EMOTION นั้น ชื่อหนังอาจจะทำให้เราเข้าใจว่า
fragments ย่อยๆในหนังเรื่องนี้คงจะนำเสนอ the power
of emotion แต่พอดูเข้าจริงๆ เราก็จะงงว่า
“ฉากผู้หญิงที่เอาไม้หนีบมาหนีบหน้าของตัวเองทั้งหน้า” มันคืออะไร
หรือการเล่าเรื่องโรงโอเปร่าถูกไฟไหม้ มันคืออะไร มันเกี่ยวข้องกับ the
power of emotion ตรงไหน
มันเหมือนกับว่า เวลาดูหนังของ Dusan Makavejev เราใช้ “สมอง” ดู
แล้วเราจะเข้าใจมันน่ะ แต่เวลาดูหนังของ Alexander Kluge เราใช้ทั้งสมองและ
“จิตใต้สำนึก” ดู แล้วเราจะรู้สึกว่ามันงดงามที่สุดในโลกสำหรับเรา
และเราว่าการที่ DIE TOMORROW ไม่ได้เข้าทางเราแบบสุดๆก็เป็นเพราะปัจจัยนี้แหละ
คือเราว่า fragments ทุกอย่างใน DIE TOMORROW มันเชื่อมโยงกันได้ด้วยหลักเหตุผล แต่มันยังไปไม่ถึงขั้นหนังบางเรื่องของ Alexander
Kluge ที่เต็มไปด้วย fragments เหี้ยห่ามากมายที่ไม่รู้มันเชื่อมโยงกันยังไง
หรือเกี่ยวข้องกันตรงไหน แต่ในทางอารมณ์แล้วมันไปสุดมากๆ
เราว่า 71 FRAGMENTS OF A CHRONOLOGY OF CHANCE ก็สะเทือนเราในระดับมากกว่า
DIE TOMORROW เพราะ 71 FRAGMENTS มันเหมือนอยู่เหนือ
“เหตุผล” และ “สมอง” น่ะ
มันมีซีนที่กระทบเราอย่างรุนแรงทั้งที่เราไม่เข้าใจความหมายของมันอยู่ด้วย
เราก็เลยแอบเสียดายนิดนึงที่ DIE TOMORROW ไปไม่ถึงขั้นนั้น
แต่เราไม่ได้ต้องการให้นวพลพยายามทำหนังแบบ Alexander Kluge ในเรื่องต่อๆไปนะ
เพราะเราว่าคนที่จะทำหนังแบบ Kluge ได้ ต้องมี “ความเป็นกวี”
อยู่สูงมากพอสมควรน่ะ มันถึงจะสามารถร้อยเรียง fragments ที่ไม่สามารถเชื่อมโยงกันได้ด้วยหลักเหตุผล
เข้าด้วยกันได้อย่างงดงาม และเราไม่แน่ใจว่านวพลจะฝืนตัวเองมากเกินไปหรือเปล่า
ถ้าหากต้องทำอย่างนั้น มันเหมือนกับไปเรียกร้องให้นักวิชาการหรือนักเล่าเรื่องร้อยแก้วมาเขียนกวี
อะไรทำนองนี้ หรือเหมือนกับไปเรียกร้องให้ศิลปินแนว Conceptual Art มาแต่งเพลง House Music อะไรทำนองนี้
คือเราเชื่อว่าผู้กำกับทุกคนมีข้อดีข้อด้อย
จุดแข็งจุดอ่อนไม่เหมือนกันน่ะ เราว่านวพลมีจุดแข็งที่ concept, ความคิดสร้างสรรค์,
อารมณ์ตลกเสียดสีอะไรทำนองนี้ แต่เราว่าเราไม่เห็น “ความสามารถเชิงกวี” แบบรุนแรงจากหนังหลายๆเรื่องของนวพล
และมันก็ไม่ใช่ความผิดแต่อย่างใดที่ผู้กำกับคนใดก็ตามไม่ได้มีความสามารถดีเลิศสมบูรณ์พร้อมไปซะทุกด้านทุกอย่าง
เราก็เลยคิดว่านวพลก็ควรทำหนังที่สามารถใช้ข้อดีหรือจุดแข็งของตัวเองต่อไปเรื่อยๆแบบนี้นี่แหละ
ดีแล้ว เพียงแต่ว่าหนังของนวพลบางเรื่องอาจจะไม่ได้เข้าทางเราแบบสุดๆเท่านั้นเอง
ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่ความผิดของผู้กำกับหนัง และก็ไม่ใช่ความผิดของเรา
ที่รสนิยมไม่ได้ตรงกันซะทีเดียว
แต่เราสนับสนุนให้ผู้กำกับหนังไทยคนอื่นๆ หาหนังของ Alexander Kluge มาดูหลายๆเรื่อง
แล้วลองพยายามทำหนังแบบนั้นดูบ้างนะ 555
3.อีก concept ที่ชอบในหนังเรื่องนี้
ก็คือเราชอบหนังที่นำเสนอฉาก “nothing happens” มากกว่า “something
happens” น่ะ คือหนังทั่วไปมักจะนำเสนอฉาก something happens
อย่างเช่นฉากตัวละครตาย หรือตัวละครเจอเหตุการณ์ดราม่าสำคัญอะไรสักอย่าง
แต่มันจะมีหนังบางเรื่องที่นำเสนอฉาก nothing happens หรือฉากที่ดูเหมือนไม่มีอะไรสลักสำคัญมากนัก
ฉากชีวิตประจำวัน อย่างเช่นหนังของ Teeranit Siangsanoh, Wachara Kanha,
Chantal Akerman, Pedro Costa อะไรทำนองนี้ และเราว่า DIE
TOMORROW หลายซีนก็เข้าข่ายนี้ มันเป็นฉากชีวิตประจำวัน ฉากที่ “nothing
(important) happens” และเราก็ชอบมากที่มีหนังไทยนำเสนอฉากแบบนี้หลายๆฉากในหนัง
และทำให้เรามองเหตุการณ์เหล่านี้ใหม่
คือการนำเสนอฉากชีวิตประจำวันในหนังเรื่องนี้
มันทำให้เรานึกถึงคำกล่าวที่ว่า “หลายๆครั้งเราไม่รู้ตัวหรอกว่าเรามีความสุขอยู่
จนกระทั่ง moment แห่งความสุขนั้นผ่านไปแล้ว หรือจบสิ้นลงแล้ว
แล้วเรามองย้อนกลับไป เราถึงเพิ่งรู้ตัวว่า moment ในอดีตนั้นคือ
moment แห่งความสุขของเรานี่นา” โมเมนต์เรียบง่าย
อย่างเช่นการได้เมาท์มอยกับเพื่อนๆ, การคุยกันบนดาดฟ้า, การตัดเล็บเท้า, การนอนอยู่ที่ระเบียงบ้าน
มันดูเป็นโมเมนต์ธรรมดา แต่เมื่อเวลาผ่านไป แล้วเรามองย้อนกลับมา เราอาจจะพบว่าโมเมนต์เรียบง่ายเหล่านี้ล้วนเป็นโมเมนต์แห่งความสุขที่ในบางครั้งมันไม่อาจหวนคืนมาได้อีก
หรือไม่อาจเกิดขึ้นได้อีก เพราะทุกๆสิ่งทุกๆอย่างบนโลกนี้ย่อมเสื่อมสลายในอนาคต
และทุกวินาทีที่ผ่านไป
คือทุกวินาทีที่เราและทุกคนรอบตัวเราขยับเข้าใกล้ความตายของตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ
เราก็เลยชอบมากที่ DIE TOMORROW นำเสนอฉากแบบ nothing
(important) happens หลายๆฉาก และทำให้เรามองมันด้วยสายตาแบบใหม่
หรือทำให้เรามองเห็นความงามและคุณค่าของมันมากขึ้นกว่าเดิม
4.ชอบฉากเต้ยมากๆ เหมือนอย่างที่เขียนไปแล้วว่า ฉากนี้ทำให้นึกถึงฉาก NA NA HEY HEY GOODBYE ใน MAPS TO THE STARS (2014, David
Cronenberg)
ฉากน้าค่อมก็ชอบมากๆๆๆๆๆ เราว่ามันให้อารมณ์ซึ้งมากๆ ร่มรื่น
รื่นฤดีมากๆ เหมือนฉากตายในฝันเลย แต่เราก็จะแอบรู้สึกว่า
มันเป็นความซึ้งแบบจงใจให้ซึ้ง หรือจงใจให้รู้สึกรื่นรมย์กับภาพที่เห็นน่ะ
ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่เหมือนความจงใจนี้ทำให้เรารู้สึกชอบฉากนี้ในระดับ
9/10 แทนที่จะเป็น 10/10
5.พอดูหนังเรื่องนี้แล้วจะนึกถึงการตายของตัวละครในหนังเรื่องอื่นๆ
และพบว่าการตายของตัวละครที่ประทับใจเรามากที่สุดในชีวิต
คือการตายของตัวละครหญิงร่าเริงคนนึง (Sarah Miles) ใน WHITE MISCHIEF (1987, Michael Radford) คือเราเห็นตัวละครตัวนี้ร้องเพลงอย่างมีความสุข,
ตื่นเช้าขึ้นมาแล้วพูดว่า "วันนี้อากาศดีจัง"
แล้วก็ฆ่าตัวตายไปเลย คือเราดูหนังเรื่องนี้มาเกือบ 30 ปีแล้ว
แต่เรายังคาใจอยู่เลยว่า ตัวละครตัวนี้ฆ่าตัวตายเพราะอะไร
เพราะเช้าวันนั้นอากาศดีอย่างนั้นเหรอ (หรือเพราะชู้รักตาย เราจำไม่ได้แล้ว)
แต่เรารู้สึกว่านี่แหละคือนิยามของความเป็นมนุษย์
มันคือความซับซ้อนที่ยากจะเข้าใจได้
6.แต่ DIE TOMORROW ก็ทำให้เรากลายเป็นโรคประสาทอยู่ชั่วคราวนะ
555 คือเราดูหนังเรื่องนี้ในวันเสาร์ที่ 25 พ.ย. แล้วในวันอังคารที่ 28 พ.ย.
เราก็ไปว่ายน้ำตอนประมาณ 16.00-17.00 น. โดยกะว่าว่ายน้ำเสร็จแล้ว เราจะไปดู
THE BIG SICK ที่โรงหนัง House RCA
แต่ขณะที่เราว่ายน้ำอยู่ในสระนั้น อยู่ดีๆเราก็นึกขึ้นมาได้ว่า เอ๊ะ
นี่เรากำลังอยู่ใน “โมเมนต์ธรรมดา” แบบใน DIE TOMORROW อยู่หรือเปล่า
เรากำลังทำกิจวัตรประจำวันโดยไม่สำนึกว่านี่เป็นความสุขช่วงสุดท้ายของชีวิตอยู่หรือเปล่า
แล้วเราก็เกิดภาพนิมิตขึ้นมาว่า ตอนที่เรานั่งมอเตอร์ไซค์ไป House RCA มอเตอร์ไซค์ที่เรานั่งจะประสบอุบัติเหตุ แล้วเราก็จะตาย
คืออยู่ดีๆเราก็จินตนาการขึ้นมาเป็นภาพที่ vivid มากๆในหัวของเรา
จนเราไม่แน่ใจว่ามันเป็นจินตนาการของเราเอง หรือมันเป็นภาพนิมิตลางสังหรณ์ล่วงหน้า
ตอนนั้นเราลังเลมากๆว่า แล้วเราจะนั่งมอเตอร์ไซค์ไปดู THE BIG SICK ดีมั้ย
เพราะเราอาจจะตายก็ได้นะ แต่เราก็คิดขึ้นมาได้ว่า ถึงแม้มันจะเป็นลางสังหรณ์จริงๆ
เราต้องตายจริงๆ เราก็พร้อมแล้วที่จะตาย เพราะเรามีฐานะยากจน
เราไม่มีเงินหรือสมบัติอะไรให้ต้องห่วง เราหาผัวไม่ได้ เพราะฉะนั้นเราก็ไม่มีใครให้เราต้องห่วง
ถ้าหากเราต้องจากโลกนี้ไป ความฝันสูงสุดในชีวิตของเรา ซึ่งก็คือการฉายหนังเรื่อง BIRTH
OF THE SEANEMA (2004, Sasithorn Ariyavicha) ให้คนอื่นๆดู
เราก็ทำมันสำเร็จไปแล้วในปี 2014 เพราะฉะนั้นถ้าหากกูต้องตายในวันนี้
กูก็พร้อมแล้ว แล้วเราก็เลยตัดสินใจนั่งแอร์พอร์ทเรลลิงค์แล้วต่อด้วยมอเตอร์ไซค์ไปดู
THE BIG SICK แล้วก็พบว่าตัวเองอยู่รอดปลอดภัยดี สรุปว่า
DIE TOMORROW ทำให้กูเป็นโรคประสาท 555
7.แต่ถ้าหากวันไหนเราเกิดตายขึ้นมาจริงๆ แล้วใครอยากรำลึกถึงเรา
ก็หาหนังในรายชื่อนี้มาดูเพื่อรำลึกถึงเราก็ได้นะ 555 มันเป็นรายชื่อ 100
หนังที่เราชอบที่สุดในชีวิตที่ทำไว้ในปี 2009
แต่จริงๆแล้วไม่ต้องรำลึกถึงเราก็ได้
เพราะเราเป็นเหมือนเพื่อนบางคนที่ฝังใจกับบทกวี ODE ON SOLITUDE ของ
Alexander Pope มากๆ ที่ท่อนสุดท้ายมันเขียนว่า
“Thus let me live, unseen, unknown;
Thus
unlamented let me die;
Steal from
the world, and not a stone
Tell where I lie.”
ด้วยเหตุนี้
จงปล่อยให้ฉันได้มีชีวิต โดยไม่ต้องพบเจอใคร ไม่ต้องรู้จักใคร
ปล่อยให้ฉันตายไปโดยไม่ต้องมีใครเสียใจให้กับการตายของฉัน
ให้ฉันได้จากโลกนี้ไปอย่างเงียบๆ
และไม่ต้องมีแม้แต่หินปักอยู่บนหลุมฝังศพของฉัน
No comments:
Post a Comment