Saturday, September 18, 2021

THE SAKO TAPES (2019, Machiel van den Heuvel, Netherlands, documentary, A+30)

THE SAKO TAPES (2019, Machiel van den Heuvel, Netherlands, documentary, A+30)

 

1.ได้ดูหนังเรื่องนี้ในเทศกาลภาพยนตร์ Signes de Nuit ออนไลน์ ชอบสุด ๆ ติดอันดับประจำปีแน่นอน เหมือนถูกโฉลกกับหนังเรื่องนี้ในแบบที่ผู้สร้างหนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจก็ได้ 55555 เรารู้สึกเหมือนได้ดูหนังในเทศกาลมาราธอนของมูลนิธิหนังไทย แล้วเจอหนังบ้าน ๆ เรื่องนึงที่ถูกโฉลกกับเรามาก ๆ คือเรารู้สึกว่าในแง่ craft หรือคุณค่าทางศิลปะ หนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้น่าสนใจมากนัก (เหมือนกับหนังบ้าน ๆ บางเรื่องในเทศกาลมาราธอน) แต่มันนำเสนอเรื่องราวต่าง ๆ ที่เราสนใจ และมันมีอะไรบางอย่างที่อาจจะสอดคล้องกับมุมมองของเราโดยบังเอิญ

 

2.ในแง่นึงเราจะเรียกว่าหนังเรื่องนี้เป็นลูกหลานโดยไม่ได้ตั้งใจของ THE ACT OF KILLING (2012, Joshua Oppenheimer, Anonymous, Christine Cynn, UK)  ก็ได้ เพราะถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด หนังเรื่อง THE ACT OF KILLING ส่งผลให้ Sako ซึ่งเป็น subject ของหนังสารคดีเรื่อง THE SAKO TAPES ลุกขึ้นมาสัมภาษณ์คนในครอบครัวของตัวเองเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวจีนจำนวนมากในอินโดนีเซียในปี 1965 แล้ว Machiel ซึ่งเป็นผู้กำกับหนังสารคดีเรื่องนี้ ก็ถ่ายทำชีวิตของ Sako ในช่วงนั้นไปด้วย

 

แต่สิ่งที่เราชอบสุด ๆ ใน THE SAKO TAPES ก็คือเหมือนหนังมันพลิกประเด็นไปในแบบที่เราชอบน่ะ คือแทนที่หนังจะพูดถึงประเด็น การสังหารหมู่ในปี 1965 เป็นหลักเพียงอย่างเดียว หนังกลับพลิกประเด็นไปเป็นชีวิตของ Sako แทน และแสดงให้เห็นว่า การสังหารหมู่ในปี 1965 เป็นเพียง “ส่วนหนึ่ง” ในชีวิตของ Sako เท่านั้น ไม่ใช่ “ทั้งหมด” ในชีวิตของเขา ชีวิตของเขายังมีแง่มุมอื่น ๆ อีก และ Sako ก็สนใจเรื่องอื่น ๆ อีกด้วย Sako ไม่ได้สนใจแค่เหตุการณ์ปี 1965 เท่านั้น (อย่างไรก็ดี statement ของหนังเรื่องนี้อาจจะสร้างความคาดหวังผิด ๆ ให้ผู้ชมหลายคนได้ เพราะมันไม่ได้เป็นหนังอย่าง ABSENT WITHOUT LEAVE แต่อย่างใด)

 

คือจริง ๆ แล้วเราก็ไม่รู้เบื้องหลังความเป็นมาของหนังเรื่องนี้ และไม่รู้เจตนาของ Machiel ด้วย แต่ตัวหนังที่ออกมามันดันสอดคล้องกับมุมมองหรือทัศนคติของเรามาก ๆ ทีเดียว นั่นก็คือเราชอบหนังที่นำเสนอชีวิต “คนธรรมดา” และแสดงให้เห็นว่าคนธรรมดาคนนี้มีแง่มุมต่าง ๆ มากมายในชีวิตน่ะ ซึ่งเรารู้สึกว่าเราไม่ค่อยได้ดูหนังแนวนี้เท่าไหร่ เพราะหนังส่วนใหญ่ที่เราได้ดูมักจะเป็น

 

2.1 หนังที่นำเสนอประเด็นเป็นหลัก และนำเสนอตัวละครหรือ subjects ต่าง ๆ เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นหลักของหนังเท่านั้น อย่างเช่น THE ACT OF KILLING ที่อาจจะนำเสนอ subjects มากมาย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่เท่านั้น และไม่ได้บอกว่า subjects แต่ละคนในหนังมีงานอดิเรกอะไรในชีวิตประจำวันบ้าง คือหนังส่วนใหญ่ที่เป็นหนังประเด็น จะนำเสนอ subjects หลายคน แต่เราจะเห็นแง่มุมต่าง ๆ เพียงแค่ 5-30% ของ subjects แต่ละคนเท่านั้น เราจะไม่ได้เห็นแง่มุมอีก 70% ที่เหลือในชีวิตของ subjects แต่ละคน เพราะแง่มุมเหล่านั้นไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นหลักของหนังสารคดีเรื่องนั้น ๆ (ซึ่งก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดแต่อย่างใด)

 

2.2 หนังที่ไม่ได้นำเสนอประเด็น แต่นำเสนอชีวิตคน ก็มักจะคัดกรองเอาแค่ “ความสำเร็จหลัก ๆ” ของตัวละครตัวนั้นมานำเสนอน่ะ อย่างเช่นหนัง documentary ต่าง ๆ ที่พูดถึง “ชีวิตการทำงาน” ของตากล้องชื่อดัง, ศิลปินชื่อดัง, ดีไซเนอร์ชื่อดัง ซึ่งหนังแบบนี้มันก็ไม่ใช่สิ่งผิดอีกเช่นกัน

 

คือจริง ๆ แล้วเราก็ชอบหนังสองกลุ่มข้างต้นมาก ๆ ทั้ง “หนังประเด็น” และ “หนังเกี่ยวกับคนดังและความสำเร็จของเขา” แต่เราก็โหยหาหนังแบบอื่น ๆ ด้วย นั่นก็คือหนังที่ทำให้เรารู้สึกว่า ถึงเราเป็นคนธรรมดา ที่ไม่ประสบความสำเร็จ และไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับประเด็นที่น่าสนใจ เราก็สามารถจะเป็น subject ของหนังได้ และหนังก็จะไม่ลดทอนแง่มุมที่หลากหลายในตัวเราลงมากเกินไปด้วย

 

คือหนังแบบที่เราโหยหา มันก็มีอยู่แหละ อย่างเช่น THINGS TO COME (2016, Mia Hansen-Løve) ที่นำเสนอชีวิตคนธรรมดา และแง่มุมหลากหลายในชีวิตของเธอ, หนังที่รวบรวม fragments ยิบย่อยในชีวิตประจำวันเข้ามาไว้ด้วยกัน อย่างเช่น PARADISE (2009, Michael Almereyda) และ OUT OF THE BLUE (2021, Holly Fisher) หรือหนังสารคดีอย่าง “ป้าชู” (2015, Nattapattarapol Chutikarnpanich) ที่นำเสนอชีวิตกะเทยที่รีดผ้าในกองถ่ายหนัง แต่เรารู้สึกว่าเราไม่ได้ดูหนังแบบที่เราโหยหานี้บ่อยนัก

 

3. เพราะฉะนั้นพอเราได้ดู THE SAKO TAPES เราก็เลยรู้สึกว่ามันตรงกับหนังแนวที่เราโหยหาอย่างสุด ๆ ถึงแม้ผู้สร้างหนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจก็ตาม เพราะถึงแม้หนังเรื่องนี้อาจจะมีจุดเริ่มต้นเป็นความพยายามของ Sako ในการสัมภาษณ์คนในครอบครัวเกี่ยวกับการสังหารหมู่ในปี 1965 แต่พอหนังมันนำเสนอแง่มุมอื่น ๆ ในชีวิตของ Sako ด้วย อย่างเช่นการที่เขาเคยสัมภาษณ์ฝรั่งในไทย, ซีนต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเขา อย่างเช่นซีนของเขาในงานพาเหรดในเนเธอร์แลนด์ หรือซีนของเขาขณะกินข้าวกับชุมชนชาวโบสถ์ และความหลงใหลของเขาที่มีต่อกลุ่มนักบวชเปลือยในศาสนาเชนในอินเดีย เราก็เลยรู้สึกปลื้มปริ่ม ยินดีปรีดาเป็นอย่างยิ่ง เพราะการนำเสนอแง่มุมต่าง ๆ ในชีวิตของ Sako แบบนี้มันทำให้หนังเข้าทางเราอย่างสุด ๆ

 

มันเหมือนกับหนังเรื่องนี้ยกยอ “เรา” โดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจน่ะ 55555 มันเหมือนกับหนังเรื่องนี้บอกเราโดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจว่า ชีวิตคนธรรมดาแบบเราก็เป็น subject ของหนังได้นะ เราอาจจะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์รุนแรงทางการเมืองโดยตรง (เพราะฉะนั้นเราจึงไม่มีคุณค่าเพียงพอที่จะถูกนำเสนอในหนังประเด็น) และเราอาจจะไม่ได้มีความสำเร็จอะไรที่เป็นชิ้นเป็นอันก่อนตาย (เพราะฉะนั้นเราจึงไม่มีคุณค่าเพียงพอที่จะถูกนำเสนอในหนังชีวประวัติคนดัง) แต่เราก็กลายเป็น subject ของหนังได้เช่นกัน

 

คือการที่ Macheil เลือกนำเสนอแง่มุมอันหลากหลายในชีวิตของ Sako แบบนี้ มันสอดคล้องกับความฝันของเราว่า ถ้าหากเป็นเราเอง เราอยากถูก portray อย่างไรบ้างหลังจากตายไปแล้วน่ะ เพราะถ้าหากเราตายไปแล้ว เราก็ไม่อยากจะถูก portray ในแง่ความเป็น cinephile เพียงแง่มุมเดียว แต่เราอยากถูก portray ว่าเราเป็นทั้ง cinephile, เกย์ที่เงี่ยนผู้ชายมาก ๆ, คนที่อยากเป็นกะหรี่, คนที่หลงใหลในตำนานของ “พระภัททากุณฑลเกสาเถรี” , คนที่หลงใหลในเรื่องราวแม่มดมาก ๆ ด้วย, etc.

 

4.ชอบทั้งเรื่องการเมืองอินโดนีเซีย, ฝรั่งในไทย และกลุ่มนักบวชชายเปลือยมาก ๆ คือคิดว่า Macheil คงตั้งใจไว้อยู่แล้วที่จะให้แกนหลักของหนังเป็นเรื่อง Sako กับการเมืองอินโดนีเซีย แต่เราไม่แน่ใจว่า Macheil เลือกใส่เรื่องฝรั่งในไทยกับกลุ่มนักบวชชายเปลือยเข้ามาทำไม แต่เราก็ชอบทั้งสองเรื่องนี้อย่างสุด ๆ เพราะทั้งสองเรื่องนี้มันช่วยนำเสนอแง่มุมอื่น ๆ ในชีวิตของ Sako และทั้งสองเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่เราชอบสุด ๆ ด้วย เหมือนทั้งสองเรื่องนี้เป็นเรื่องของคนที่มีความ eccentric ในตัวในแบบที่เราสนใจน่ะ

 

5.ในส่วนของการเมืองอินโดนีเซียนั้น รู้สึกว่าชีวิตครอบครัวของ Sako โหดร้ายพอสมควร โดยเฉพาะเรื่องคุณตาของเขาที่น่าจะถูกนำไปฝังทั้งเป็นตั้งแต่ในทศวรรษ 1950, เรื่องของพ่อที่ถูกฆ่าตายในปี 1965 (แต่ก็เข้าใจพ่อของ Sako มาก ๆ ที่มองว่าในเมื่อตัวเองไม่ได้ทำอะไรผิด แล้วเราจะต้องหนีทำไม) และปมฝังใจของ Sako ที่เคยเข้าข้างฝ่ายเผด็จการในอินโดนีเซียในช่วงนั้น

 

เรื่องของเจ้าของบริษัทรถบรรทุก (หรือรถอะไรทำนองนี้) ก็หนักมาก

 

6.แต่เราก็ชอบ “สิ่งที่ไม่ได้พูด” หรือความรู้สึกที่ว่าเราได้เห็นเพียงแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็งในหนังด้วย คือเรารู้สึกเหมือนกับว่า ถึงแม้ Sako จะสัมภาษณ์แม่กับพี่สาวของเขาเอง แต่แม่กับพี่สาวของเขาก็ทำเหมือนกับว่าลืมอะไรหลายอย่างไปแล้วน่ะ ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าลืมจริง หรือแค่ไม่อยากนึกถึงมันอีก คือเรารู้สึกเหมือนกับว่า แม่กับพี่สาวอาจจะไม่ได้ “เปิดใจ” หรือ “พูดอย่างเปิดอก” อย่างเต็มที่กับ Sako น่ะ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเราจินตนาการไปเองหรือเปล่า พวกเขาอาจจะลืมเหตุการณ์ในอดีตจริง ๆ หรือพวกเขาอาจจะเลือกพูดต่อหน้ากล้องกับ Sako เพียงแค่ 30% ของสิ่งที่อยู่ในใจของพวกเขาก็ได้

 

ซึ่งเราก็รู้สึกว่า Sako เองก็อาจจะทำแบบนี้กับ Macheil ในอีก layer นึงด้วยก็ได้ คือเราก็ไม่รู้ว่าทั้งสองคนนี้เป็นเพื่อนสนิทกันหรือเปล่านะ แต่เราก็รู้สึกเหมือนกับว่า  (หรือเราอาจจะจินตนาการไปเองว่า) Sako เองเวลาอยู่ต่อหน้ากล้องของ Macheil เขาก็อาจจะเลือกพูดเพียงแค่ 50% ของสิ่งที่อยู่ในใจเขาด้วยก็ได้เช่นกัน คือเหมือนกล้องของ Sako จับได้เพียงแค่ยอดของภูเขาน้ำแข็งที่อยู่ในใจของแม่และพี่สาวเท่านั้น ส่วนกล้องของ Macheil ก็อาจจะจับได้แค่ยอดของภูเขาน้ำแข็งในใจของ Sako เท่านั้น เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้มันก็เลยเหมือนทิ้ง mystery บางอย่างเอาไว้ และเราก็พึงพอใจกับ mystery ของความเป็นมนุษย์แบบนี้ 55555

 

7.อีกจุดที่ชอบมาก ก็คือมันเหมือนเป็น “หนังสารคดีซ้อนหนังสารคดี” น่ะ 55555 คือเหมือน Macheil ถือกล้องหนังสารคดีถ่าย Sako ตอนที่ Sako กำลังถ่าย  home movies ของตัวเองอยู่ มันเหมือนเป็น layers ที่ประหลาดมาก เพราะปกติแล้วเรามักจะได้เห็นแค่ “หนังสารคดีเบื้องหลังการถ่ายทำหนัง fiction” น่ะ แต่นี่เป็น “หนังสารคดีเกี่ยวกับนักถ่าย home movies” มันก็เลยดูประหลาดดี และ Sako ในบางซีนในหนังเรื่องนี้ ก็เลยเป็นทั้ง “the person who films reality in front of his camera” และ “the person who is filmed by another person” ไปพร้อม ๆ กันในเวลาเดียวกัน เป็นทั้ง “ประธาน” และ “กรรม” ของกล้องถ่ายหนัง (คนละตัว) ในเวลาเดียวกัน เป็นทั้งผู้บันทึกความจริง และความจริงที่กำลังถูกบันทึกในเวลาเดียวกัน 555555

 

8.เรื่องของฝรั่งในไทย ก็รุนแรงมาก เพราะแว้บแรกคือเขาดูเป็นคนน่าสงสาร เป็นชายพิการ, แก่ และดูจน ๆ ดูเหมือนใช้ชีวิตอยู่อย่างอนาถา (นึกถึง subject ของหนังเรื่อง THE LAND OF SMILES (2015, Heikki Häkkinen)) แต่จริง ๆ แล้วมึงเป็นคนเหี้ยค่ะ 55555

 

9.แต่เรื่องที่เราชอบสุด ๆ คือเรื่องของศาสนาเชน และชอบใน 3 แง่มุมด้วย คือ

 

9.1 มันเหมือนเป็นศาสนาที่เราไม่เคยเห็นในหนังมาก่อนเลยน่ะ ทั้ง ๆ ที่เราดูหนังอินเดียมาแล้วเป็นร้อยเรื่อง คือเราก็ไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วตัวละครในหนังอินเดียที่เราเคยดู มีตัวละครตัวไหนนับถือศาสนาเชนบ้างหรือเปล่า บางทีอาจจะมีตัวละครบางตัวนับถือศาสนาเชนก็ได้ เราก็ไม่รู้เหมือนกัน อย่างไรก็ดี หนังเรื่องนี้น่าจะเป็นหนังเรื่องแรกที่เราเคยดูที่พูดถึงศาสนาเชนอย่างจริงจัง

 

9.2 เราไม่รู้ว่าเราเข้าใจผิดหรือเปล่านะ แต่ THE SAKO TAPES ทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า Sako ติดใจหลงใหลกลุ่มคนในศาสนาเชนน่ะ ทั้ง ๆ ที่เขาเป็นคาทอลิก และสนิทกับชุมชนในโบสถ์คริสต์มากพอสมควร คือหนังเรื่องนี้ทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า Sako ชอบหยิบเอาเทปกลุ่มคนในศาสนาเชนมาดูบ่อย ๆ เป็นประจำน่ะ

 

มันก็เลยสอดคล้องกับรสนิยมของเราที่ชอบ mystery ของมนุษย์ 55555 เพราะเราไม่เข้าใจว่าทำไม Sako ถึงติดใจศาสนาเชนมากนัก ทำไมเขาถึงดูมีความสุขเวลาเขาได้อยู่กับคนกลุ่มนี้ ทำไมเขาถึงหยิบเทปวิดีโอช่วงนั้นมาดูบ่อย ๆ เป็นประจำ

 

คือในความเป็นจริง ทุกวันนี้เราก็หยิบวิดีโอเทปที่ถ่ายไว้ที่บ้านเพื่อนเมื่อราว 30 ปีก่อนมาดูทุกสัปดาห์นะ สัปดาห์ละครั้ง มันเหมือนวิดีโอเทปที่ถ่ายไว้ที่บ้านเพื่อนเมื่อ 30 ปีก่อนเป็น “บ่อน้ำทิพย์ชะโลมจิตใจ” น่ะ มันเหมือนเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่เรามีความสุขที่สุดในชีวิต ช่วงเวลาแห่งความ innocence ช่วงเวลาที่ไม่มีวันหวนคืนมาอีกแล้ว การได้ดูวิดีโอเทปเก่า ๆ เมื่อ 30 ปีก่อนทุกสัปดาห์ มันเหมือนเป็นหยดน้ำอมฤตที่ช่วยหล่อเลี้ยงจิตใจเราได้

 

พอเห็น Sako ชอบหยิบวิดีโอเทปศาสนาเชนมาดู เราก็เลยนึกถึงตัวเอง แต่เราเข้าใจดีว่าทำไมเราถึงหยิบวิดีโอเทปเมื่อ 30 ปีก่อนมาดูสัปดาห์ละครั้ง แต่เราไม่เข้าใจว่าทำไม Sako ถึงหยิบวิดีโอเทปศาสนาเชนมาดูบ่อย ๆ 55555

 

10. ส่วนแง่มุมที่สามเกี่ยวกับศาสนาเชนที่เราชอบ ก็คือการที่นักบวชชายในวิหารที่ Sako ไปเจอ เปลือยกายกันหมดจ้า 555555 หนักที่สุด เราไม่เคยรู้เรื่องนี้มาก่อนเลย ดีงามมาก ๆ

 

พอรู้ว่ามีศาสนาที่มีคำสอนแบบนี้แล้ว เราก็เลยอยากให้มีคนตั้งศาสนาใหม่ขึ้นมาในไทยเลย โดยให้นักบวชชายของศาสนานี้ใส่แต่กางเกงในตัวเดียวตลอดเวลาเท่านั้น ยกเว้นเมื่ออากาศเย็น ขอสนับสนุนให้มีการตั้งศาสนาใหม่ที่มีเครื่องแบบนักบวชชายแบบนี้ค่ะ ถ้าในวัดมีแต่นักบวชชายใส่กางเกงในตัวเดียวเดินไปเดินมาแบบนี้ ดิฉันก็น่าจะเข้าวัดฟังธรรมบ่อย ๆ ค่ะ 55555

 

#signesdenuit2021

 

No comments: