Thursday, March 26, 2015

POSITION AMONG THE STARS

Films seen today in the Salaya Documentary Film Festival

1.POSITION AMONG THE STARS (2010, Leonard Retel Helmrich, Indonesia,  A+30)

--ชอบฉากที่หญิงชราปฏิเสธการใช้เตาแก๊สมากๆ คือมันเป็นอะไรที่ดูเหมือนไม่น่าเชื่อ ว่าเตาแก๊สใช้ง่ายๆแค่นี้ แต่หญิงชราคนนี้กลับใช้ไม่เป็น และก็ไม่พยายามที่จะใช้ให้เป็น เธอเลือกที่จะใช้ชีวิตอย่างลำบากด้วยการไปเก็บฟืนต่อไป แต่นี่แหละคือเรื่องจริง มนุษย์เรามันเป็นอย่างนี้จริงๆ และเราก็ไม่โทษหญิงชราคนนี้ด้วยนะ เพราะในแง่นึงเรารู้สึกว่าเราเข้าใจเธอ ว่าทำไมเธอถึงปฏิเสธที่จะทำให้ชีวิตตัวเอง “ง่าย” ขึ้น

--เราว่าจุดสำคัญที่ทำให้เรารู้สึกพีคมากกับหนังเรื่องนี้ เกิดจาก
1.ความสนิทสนมระหว่างผู้กำกับกับครอบครัวที่ถูกถ่าย เพราะความสนิทสนมนี้ส่งผลให้ตัว subjects กล้าแสดงออกต่อหน้ากล้องเป็นอย่างมาก
2.ความผูกพันระหว่างคนดูกับตัว subjects คือพอเราได้เห็นพัฒนาการของคนเหล่านี้ในช่วงเวลาหลายปี เราก็เลยรู้สึกผูกพันกับพวกเขามากกว่าในหนังทั่วไป

2.03-FLATS (2014, Lei Yuan Bin, Singapore, A+30)

ชอบ form ของหนังเรื่องนี้มากๆ ในแง่นึงมันทำให้เรานึกถึงหนังอย่าง NEWS FROM HOME (Chantal Akerman) ในแง่ที่ว่า มันทำให้เราต้องจูน wavelength ของตัวเองใหม่ในขณะที่ดูหนังเรื่องนี้น่ะ คือเวลาเราดูหนังทั่วไป เราจะ focus อารมณ์ของเราให้ไหลไปตามเนื้อเรื่องหรือตัวละคร แต่เวลาเราดู 03-FLATS กับ NEWS FROM HOME เรารู้สึกว่าเราไม่สามารถ focus อารมณ์ของตัวเองไปที่ “คน” หรือ “เหตุการณ์” ได้น่ะ แต่เราต้อง focus อารมณ์ของเราไปยัง “สถานที่” หรือ “สิ่งของ” ด้วย

3.LUCID REMINISCENCE ยามเมื่อแสงดับลา (2015, Wattanapume Laisuwanchai, A+15)

--เป็นหนังที่โอเคมากนะ แต่เราอาจจะชอบมากกว่านี้ ถ้าหากมันเป็นหนังยาวที่เน้นสัมภาษณ์คนแบบยาวๆเกี่ยวกับหนังเก่าๆที่เคยดูในโรงหนังเก่าๆไปเลยน่ะ เราอยากให้หนังมันยาว 2 ชั่วโมงแบบ THE MASTER ของเต๋อไปเลย เพราะเราอยากรู้เรื่องหนังเก่าๆที่เคยฉายโรงในไทยมากๆ

4.LOVE IS ALL: 100 YEARS OF LOVE & COURTSHIP (2014, Kim Longinotto, A+5)

--ชอบที่เราไม่รู้จักหนังที่ถูกเอามาใช้ในหนังเรื่องนี้เลย ยกเว้น MY BEAUTIFUL LAUNDRETTE

--ชอบประเด็นเรื่องความรักระหว่างสีผิว, เกย์, เลสเบี้ยน, ชนกลุ่มน้อย

--แต่เราว่าเพลงมันไม่เข้ากับหนัง คือเพลงมันเพราะดี แต่มันถูกเอามาใช้แบบไม่ได้ช่วยส่งเสริมศักยภาพของภาพสักเท่าไหร่ คือจังหวะของภาพกับจังหวะของเพลงมันไม่ได้ไปด้วยกันน่ะ มันเหมือนคนเปิดเทปเพลงทิ้งไว้มากกว่า

--ถึงแม้เราว่าหนังเรื่องนี้โอเค แต่เราก็อดรู้สึกไม่ได้ว่า Kim Longinotto กำลังทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัดหรือเปล่า คือเราว่าเขากำกับหนังสารคดีได้ดีมาก แต่พอเขามากำกับหนังเรื่องนี้ ซึ่งมันมีลักษณะใกล้เคียงกับหนังทดลอง เราก็เลยอดนำหนังเรื่องนี้ไปเปรียบเทียบกับหนัง found footage ของ Matthias Müller, Martin Arnold หรือ Tracey Moffatt ไม่ได้ และเรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ไม่ทรงพลังเท่ากับพวกหนังทดลองแนว found footage น่ะ เพราะหนังทดลองพวกนั้นมันมีพลังเชิง poetic, มันมีความเข้ากันของภาพและเสียงอย่างรุนแรง และมันดึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ในแต่ละคลิปออกมาได้อย่างจั๋งหนับมากๆ

เราว่า Kim Longinotto น่าจะทำหนังเรื่องนี้ให้ออกมาแบบ WORKERS LEAVING THE FACTORY (1995, Harun Farocki) อาจจะดีกว่า เพราะเราว่า Kim ไม่มีพลังในการตัดต่อภาพเชิง poetic แต่เธอน่าจะมี sense ในการวิเคราะห์ประเด็นเชิงสังคมที่อยู่ในฟุตเตจหนังเก่าๆเหล่านี้ เพราะฉะนั้นถ้าหากเธอวิเคราะห์มันแบบตรงๆไปเลย มันอาจจะออกมาน่าสนใจกว่า


--ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้นึกถึงที่ใครบางคนเคยพูดว่า จริงๆแล้วหนัง fiction ทุกเรื่องถือเป็น “หนังสารคดี” ในแง่นึง เพราะหนัง fiction ทุกเรื่องมันได้บันทึกความคิดฝันของคนจริงๆกลุ่มนึงในยุคสมัยนึงในสังคมนึงเอาไว้

No comments: