Saturday, November 12, 2022

US, BEING AND TIME

 THE UNRULED DIARY สมุดบันทึกไร้เส้นบรรทัด  (2022, Tantai Riamtong, 40min, A+30)


1.อินสุด ๆ ดูแล้วแทบร้องไห้ ชอบทั้งความ homoerotic ของหนัง, ปัญหาของพระเอกในการทำตามความฝันในการเป็นศิลปิน และปัญหาทางการเงินของครอบครัวพระเอก

2.เหมือนหนังถ่ายทอดความสัมพันธ์ของพระเอกกับเพื่อนชายได้อย่างละเอียดอ่อนงดงามมาก ๆ ดูแล้วซึ้งมาก ๆ และร้าวรานกับตอนจบมาก ๆ

3.ชอบที่ในที่สุดแล้ว สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การต้องหาเงินมายังชีพ ส่วนความฝันในการทำในสิ่งที่ตัวเองรัก และความรักอาจจะต้องรอไปก่อน มันเป็นความจริงที่เจ็บปวดสุด ๆ ของชีวิต

THEY MAY BE CLICHES, BUT I STILL LIKE THEM VERY MUCH

พอดู I AM WHAT I AM ที่ศาลายาในวันที่ 6 พ.ย. แล้วก็เลยนึกได้ว่า เราชอบหนังที่พูดถึง "การฝึกวิชา" ผ่านทางกิจวัตรประจำวัน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าอะไรที่ปรากฏในหนังบ่อย ๆ แบบนี้ ถือเป็น cliche ไปแล้วหรือยัง แต่ถึงมันจะเป็น cliche เราก็ชอบมันสุด ๆ อยู่ดี

เนื้อหาแบบนี้ที่เราชอบ

1. THE KARATE KID (1984, John G. Avildsen) ดูตอนเด็ก ๆ จำเนื้อหาแทบไม่ได้แล้ว แต่เหมือนอาจารย์สอนคาราเต้บอกให้พระเอก (Ralph Macchio) ไปทาสีรั้วหรือทาสีบ้านอะไรทำนองนี้ แล้วมาเฉลยทีหลังว่ามันคือการฝึกฝนมือหรือข้อมือให้แข็งแกร่ง

2.SAAND KI AANKH (2019, Tushar Hiranandani, India) สร้างจากเรื่องจริงของหญิงชราฐานะยากจนอายุ 60 กว่าปีสองคน ที่กลายเป็นแชมป์แม่นปืนของอินเดีย หนังบอกด้วยว่า หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้หญิงชราสองคนนี้ถือปืนได้นิ่งมาก ๆ เป็นเพราะพวกเธอ "โหนรถเมล์" มาตลอดชีวิต คือพวกเธอใช้มือข้างเดียวโหนรถเมล์ที่สั่นคลอนไปมา แต่พวกเธอก็ทรงตัวได้อย่างสบาย และทำแบบนี้มานานหลายสิบปีแล้ว และมันส่งผลให้พวกเธอถือปืนได้อย่างนิ่งมาก ๆ

คือมันดูเหลือเชื่อมาก แต่มันสร้างจากเรื่องจริง

3.I AM WHAT I AM (2021, Haipeng Sun, China, animation, A+30)

เหมือนหนังบอกในทางอ้อมว่า การที่พระเอกทำงานเป็น "กรรมกรหนุ่ม" มันข่วยให้พระเอกเป็นเลิศในการเชิดสิงโตด้วย ทั้งการทำงานเป็นคนงานก่อสร้างในอาคารสูง, การทำงามแบกหามของหนัก ๆ, การถือถาดเสิร์ฟอาหารในร้านที่ผู้คนพลุกพล่าน

ไม่รู้ว่ามีหนังเรื่องอื่น ๆ อีกหรือเปล่าที่มีอะไรแบบนี้ด้วย

ยามตะวันลับ (2022, Atipat Lertkornkitja, 38min, A+30)

Spoilers alert
--
--
--
--
--
1.ชอบฉากจบ เหมือนตัวเหตุการณ์มันไม่ได้รุนแรงในทาง physical แต่มันรุนแรงทางอารมณ์ความรู้สึกมาก ๆ ที่พระเอกถูกเพื่อนสนิททำแบบนั้นใส่

2.ชอบตัวละครแฟนพระเอกด้วย เพราะเธอเป็นสาววัยรุ่นที่เงี่ยนมาก 5555

3.รู้สึกราวกับว่า หนังเรื่องนี้เป็นด้านกลับของ WHAT SHE LIKES (2021, Shogo Kusano, Japan) โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้มีทั้งจุดที่คล้ายกันและตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง อย่างเช่น

3.1 จุดที่เหมือนก็คือ จุดพลิกผันสำคัญอันนึงในหนังทั้งสองเรื่อง คือการที่ฝ่ายหญิงอยากมี sex แต่ฝ่ายชายไม่สามารถตอบสนอง sexual need ของฝ่ายหญิงได้

3.2 อีกจุดที่เหมือนก็คือ หนังทั้งสองเรื่องแสดงความเจ็บปวดของผู้ชายที่ถูกสังคมมองว่าเป็นเกย์เหมือนกัน

3.3 จุดที่แตกต่างกันในหนังทั้งสองเรื่อง คือพระเอกของ"ยามตะวันลับ" น่าจะเป็น straight แต่ถูกสังคมเข้าใจผิด ส่วนพระเอกของ WHAT SHE LIKES รู้ตั้งแต่แรกว่าตัวเองชอบผู้ชาย แต่ไม่แน่ใจว่าตัวเองจะเป็น bisexual สามารถชอบผู้หญิงได้ด้วยหรือเปล่า

3.4 จุดที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง ระหว่างหนังทั้งสองเรื่องนี้ก็คือ "ตัวเพื่อนสนิทของพระเอก" นี่แหละ เพราะใน WHAT SHE LIKES นั้น เราร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง กับฉากที่พระเอกถูกสังคมในโรงเรียนรังเกียจเพราะเป็นเกย์ แต่เพื่อนสนิทของเขาที่เป็น STRAIGHT ยืนหยัดเคียงข้างเขา ไม่รังเกียจเขา

ส่วนใน "ยามตะวันลับ" นั้น สิ่งที่เพื่อนสนิททำ มันตรงกันข้าม มันก็เลยดูเจ็บปวดอย่างรุนแรงมาก

US ,BEING AND TIME คะนึงถึงทุกครา (2022, Thanapat Ngamngernwan, 51min, A+30)

1.หนึ่งในหนังที่งดงามที่สุดสำหรับเราในปีนี้ ชอบทั้ง form, เนื้อเรื่อง และ "ภาพ" ของหนัง รู้สึกว่าหนังถ่ายทอดออกมาเป็น "ภาพ" ได้ในแบบที่ทรงพลังสำหรับเรามาก ๆ ไม่รู้สิ่งนี้เรียกว่าความ cinematic หรือเปล่า แต่ภาพของหนังมันประทับจิตประทับใจเราอย่างรุนแรงสุดขีด โดยเฉพาะภาพสีสันของม้าหมุนในสวนสนุก, ภาพเบลอ ๆ ขณะจินตนาการบนเตียง และการแตกสลายของภาพในตอนท้าย

ช่วงแรก ๆ เราก็ชอบมากแล้ว เหมือนมันตัดสลับระหว่างเรื่องจริงกับจินตนาการ  ตัวละคร "เมต" ซึ่งเป็นพระเอกเหมือนแอบชอบเพื่อนชายคนหนึ่งที่ชื่อชิน และเมตก็จินตนาการถึงฉากจูบและการร่วมรักกับเพื่อนหนุ่มคนนั้น ซึ่งตอนแรก ๆ เราก็งง ๆ ว่าอันไหนเกิดขึ้นจริงบ้าง แต่ก็เดา ๆ เอาว่าฉากที่ทั้งสองแสดงความรักต่อกันคงเป็นจินตนาการ

คือเนื้อเรื่องส่วนนี้อาจไม่ได้แปลกใหม่มาก แต่ผู้กำกับมีวิธีการถ่ายทอดออกมาเป็น "ภาพ" ได้อย่างพริ้งพราวสกาวเดือนมาก ๆ เราเองก็ไม่รู้จะถ่ายทอดมันออกมาเป็นตัวอักษรได้อย่างไร ต้องไปดูกันเอง หนังมีฉายอีกรอบในเทศกาลหนังมาราธอนออนไลน์

2.ช่วงที่เป็นการย้อนไปในความทรงจำวัยประถมก็ดี เหมือนในขณะที่ช่วงแรกจะเป็นความรักที่มีต่อผู้ชายวัยมัธยม ช่วงหลังมันจะเป็นความทรงจำที่หลากหลายปะปนกันไป ทั้งความชอบผู้ชาย, ความรู้สึกดี ๆ ที่มีต่อเพื่อนวัยประถม, สิ่งที่ผู้ใหญ่บางคนเคยพูดไว้เมื่อนานมาแล้ว, ความทรงจำและความผูกพันที่มีต่อสถานที่บางแห่ง, moment ที่ได้คุยกับเพื่อน, ความทรงจำหรือความผูกพันกับแม่, etc.

3.เราชอบที่หนังทั้งเรื่องมันให้ความรู้สึกเหมือนเป็นความพยายามจะสะท้อนด้านในของจิต, ของห้วงคะนึง หรือกระแสสำนึกได้ดีมากน่ะ มันมีทั้งเรื่องจริง, จินตนาการ, อดีตในช่วงเวลาต่าง ๆ ตัดสลับกันไป, ความทรงจำที่มีต่อคนต่าง ๆ , ต่อคำพูด, ต่อบรรยากาศ, ต่อสถานที่ เป็นความทรงจำที่ดูเหมือนสะเปะสะปะในบางครั้ง แต่นั่นแหละคือกระแสสำนึกที่ไหลลื่นไปเรื่อย ๆ กระโดดไปกระโดดมาของมนุษย์ กระแสสำนึกของเราสามารถกระโดดข้ามไปมาระหว่างกาลเวลา, สถานที่, ความจริง, ความฝัน และเรื่องต่าง ๆ ที่ดูเหมือนไม่เกี่ยวข้องกันได้

4.ชอบความเหวอหรือความเฮี้ยนใน 2 ฉากมาก ๆ ซึ่งได้แก่

4.1 ฉากลิง

4.2 ฉาก long take ในร้านตัดผม ที่เหวอมาก ๆ 555

5.คิดว่าสามารถขยายเป็นหนังยาวได้สบายเลย เพราะหนังเรื่องนี้มันเป็นเศษเสี้ยวของความทรงจำที่ไม่สมบูรณ์อยู่แล้ว เราดูแล้วก็เลยรู้สึกว่ายังสามารถเติมอะไรเข้าไปได้อีกเยอะมาก ๆ เพราะถ้าหากมันเป็นหนัง "เล่าเรื่อง" แบบปกติ เราจะรู้สึกว่า "เนื้อเรื่อง" มันมี "จุดสิ้นสุด" ได้ง่าย แต่พอหนังเรื่องนี้มันเป็นการก้าวเข้าไปในจิตมนุษย์ เรารู้สึกว่าจิตมนุษย์มันมีความ infinite กว่า "เนื้อเรื่อง" ในหนังทั่วไปมาก ๆ

6.แต่โดยส่วนตัวแล้ว เรารู้สึกว่า หนังเรื่องนี้ยังขาด "ฉาก climax" ที่แท้จริงสำหรับเรา 555 ซึ่งจริง ๆ แล้วอาจจะเป็นความตั้งใจของผู้กำกับก็ได้ เพราะถ้าหากเราพยายามจะถ่ายทอดกระแสสำนึกจริง ๆ บางทีเราก็ไม่ต้องมีฉาก climax

แต่ก็ไม่แน่ใจว่า จริง ๆ แล้วหนังมันมีฉาก climax อยู่แล้วหรือเปล่านะ ซึ่งก็คือ

6.1 ฉาก long take ในร้านตัดผม ซึ่งเป็นฉากที่ "น่าจดจำ" มาก ๆ แต่ไม่ได้กระทบอารมณ์เราอย่างรุนแรงแบบฉาก climax

6.2 ฉากจบที่น่าจดจำมาก ๆ เช่นกัน แต่เหมือนหนังไม่ได้ร้อยเรียงอารมณ์จากฉากก่อน ๆ จนนำไปสู่จุดสุดยอดในฉากนี้แบบที่หนังทั่ว ๆ ไป มักทำกัน

คือสาเหตุที่เราคิดถึงฉาก climax ขึ้นมา เพราะเรารู้สึกว่า หนังเรื่องนี้เหมาะฉายควบกับ THE LONG DAY CLOSES  (1992, Terence Davies, UK, 85min) มาก ๆ น่ะ เพราะ THE LONG DAY CLOSES เป็นหนังแนวบันทึกความทรงจำที่กวีมาก ๆ และงดงามสุด ๆ เหมือนกัน แต่ THE LONG DAY CLOSES เหมือนจะมีฉาก climax ในช่วงท้าย ๆ

เราก็เลยคิดเล่น ๆ ว่า ถ้าหากจะมีใครทำหนังเชิงกวีแนวนี้ออกมาเป็นหนังยาว เขาอาจจะทำแบบมีฉาก climax หรือไม่ก็ได้ ซึ่งถ้าหากหนังไม่มีฉาก climax เราก็จะนึกถึงหนังบางเรื่องของ Jonas Mekas และ Chantal Akerman ที่ทรงพลังมาก ๆ ถึงแม้มันดูเหมือนไม่มีฉาก climax ที่เร้าอารมณ์อย่างชัดเจนในช่วงท้ายก็ตาม

แต่ "หนังเชิงกวี" บางเรื่อง ก็ดูเหมือนจะมีฉาก climax สำหรับเราเหมือนกันนะ ทั้ง THE LONG DAY CLOSES หรือแม้แต่ INDIA SONG (ฉากตัวละครโพสท่านิ่งเป็นเวลายาวนาน)

ก็เลยคิดว่า ชอบ US, BEING AND TIME แบบที่เป็นอยู่นี้อยู่แล้วล่ะ แต่ก็แอบจินตนาการว่า ถ้าหากมันเป็นหนังยาว แล้วมีการเรียงร้อยอารมณ์จากฉากต่าง ๆ ให้มันถะถั่งหลั่งล้นต่อเนื่องกันในระดับนึง มันอาจจะนำไปสู่อารมณ์แบบฉาก climax ได้ด้วย

7. ดูแล้วก็แอบนึกถึงเรื่องที่เราเคยแอบชอบลูกพี่ลูกน้องหนุ่มหล่อในปี 1983 ตอนที่เราอายุ 10 ขวบ, ตอนที่เราแอบชอบครูหนุ่มในปี 1984 และตอนที่เราแอบชอบเพื่อนหนุ่มในโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในปี 1986 เรื่องราวเหล่านี้ล้วนเป็นความรักข้างเดียวที่ไม่สมหวัง แต่เหมือนถึงแม้เวลาจะล่วงเลยผ่านมานานเกือบ 40 ปีแล้ว เราก็ยังคงคิดถึงเรื่องราวเหล่านี้อยู่เสมอ 555 ALWAYS SOMETHING THERE TO REMIND ME จริง ๆ

แดกเค้กยูนิคอร์นเพื่อคารวะ Mouly Surya 55555 ถ้าจำไม่ผิด หนังเรื่อง WHAT THEY DON'T TALK ABOUT WHEN THEY TALK ABOUT LOVE (2013, Mouly Surya, Indonesia) มีตัวละครที่หมกมุ่นกับ "เค้กสายรุ้ง" แต่ไม่รู้ว่าเราจำผิดหรือเปล่า เพราะมันนานเกือบ 10 ปีแล้ว

ดู HONG KONG SEPTET ตอนที่กำกับโดย Ann Hui แล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรงหนักมาก เหมือนเนื้อเรื่องมันโดนเราเป็นการส่วนตัว และหนังมันเปิดข่องว่างบางอย่างที่กระตุ้นความทรงจำเราอย่างรุนแรงมาก ๆ Ann Hui นี่เก๋าจริง ๆ

เพิ่งดู CROSSING'S END (A+30) สุดฤทธิ์ เพิ่งรู้ว่าสมการ PARABOLA เป็นหนึ่งในสิ่งที่ใช้ช่วยไขปริศนาฆาตกรรมได้ด้วย อยากกลับไปนั่งเรียนเรื่อง PARABOLA, HYPERBOLA ใหม่เลย

หนังที่อยากดู แต่ไม่สามารถหาเวลาไปดูได้

6. RAM SETU (2022, Abhishek Sharma, India)

หนังที่อยากดู แต่ไม่สามารถหาเวลาไปดูได้

7. TOUKEN RANBU HANAMARU -- CHAPTER OF FLOWER (2022, Sumie Noro, Japan, animation)

หนังที่อยากดู แต่ไม่สามารถหาเวลาไปดูได้

8.แถวตรงแสบอีหลี (2022, มินทร์ธิรา ธีรภูมิธัชพงศ์)

แต่เพื่อน ๆ บอกว่าหนังแย่มาก 555

No comments: