Saturday, November 05, 2022

TRIANGLE OF SADNESS (2022, Ruben Östlund, Sweden, A+30)

 

TRIANGLE OF SADNESS (2022, Ruben Östlund, Sweden, A+30)

 

SERIOUS SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

1.ตอนต้นเรื่องเห็นชื่อ Woody Harrelson เราก็แอบงงว่าทำไมต้องเลือกเขามาแสดงด้วย แต่พอเข้าช่วงติดเกาะเราก็ถึงบางอ้อในทันที 5555 เพราะหนังเรื่องนี้คงต้องการล้อเลียน INDECENT PROPOSAL (1993, Adrian Lyne) นี่เอง เพราะหนังทั้งสองเรื่องต่างก็ให้ตัวละครเผชิญ dilemma ที่ว่า เราจะเต็มใจหรือสนับสนุนให้คนรักของเราไปมี sex กับคนอื่นไหม ถ้าหากคนรักของเราเต็มใจที่จะทำเช่นนั้น และเราเองก็จะได้รับผลประโยชน์จากสิ่งนั้น เพียงแต่ว่า TRIANGLE OF SADNESS มัน “สลับเพศ” และ “สลับชนชั้น” กับ INDECENT PROPOSAL ได้อย่างสาแก่ใจเรามาก ๆ 55555

 

2.จริง ๆ แล้วก็ชอบทั้งสามพาร์ทของหนังนะ (คู่รัก, เรือ, ติดเกาะ) แต่ชอบพาร์ทสามมากที่สุด คือพาร์ทแรกก็ชอบมาก แต่เหมือนการตั้งคำถามกับความเชื่อทางสังคมที่มีต่อบทบาททางเพศ หรืออะไรแบบนี้ อาจจะเป็นสิ่งที่ FORCE MAJEURE (2014) เคยทำมาแล้ว

 

พาร์ทสองก็ชอบสุดขีด แต่เหมือนตอนดูจะแอบจินตนาการว่า อยากเห็น Luis Bunuel, Claude Chabrol และ Michael Haneke มาทำหนังโดยใช้ setting แบบเดียวกันนี้ด้วย เพื่อดูว่าผู้กำกับแต่ละคนจะลงโทษคนรวยอย่างไรบ้าง 555 คือเหมือนเราชอบพาร์ทสองมาก ๆ แต่ก็ไม่คิดว่ามันตรงจริตเราเท่ากับหนังของ Bunuel, Chabrol และ Haneke น่ะ

 

ส่วนพาร์ทสามนี่ตรงใจเราสุดๆ นึกว่า WET DREAM สำหรับมนุษย์ป้าอย่างเรา 55555 คือพาร์ทสามนี่ตอบสนอง sexual fantasy เราได้ดีกว่า PARADISE: LOVE (2012, Ulrich Seidl) เสียอีก

 

ชอบมาก ๆ ด้วยที่ตัวละคร Paula ซึ่งดูเป็น “ชนชั้นกลาง” ยังคงพยายามจะเอาใจคนรวยและกดชนชั้นแรงงานในตอนแรก และเธอกลายเป็นคนสุดท้ายในกลุ่มที่ยอมรับว่า Abigail คือ “กัปตัน”

 

ส่วนสิ่งที่ Abigail คิดที่จะทำในตอนท้าย ก็ทำให้นึกถึงพวก “ผู้นำเผด็จการในประเทศกำลังพัฒนา” มาก ๆ ที่พยายามปิดกั้นประเทศตัวเองจาก “ความจริง” หรือ “ความเจริญ” ต่าง ๆ เพราะความจริงและความเจริญ จะทำให้สมดุลอำนาจในประเทศตนเองเปลี่ยนไป

 

3.ถ้าจำไม่ผิด นี่น่าจะเป็นหนังเรื่องที่ 3 ที่เราได้ดูมั้ง ที่น่าจะเป็นการสะท้อน guilt ของสวีเดนในฐานะประเทศผู้ผลิตอาวุธ ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด คือถึงแม้ตัวละครในหนังเรื่องนี้ที่เป็นผู้ผลิตอาวุธจะเป็นชาวอังกฤษ แต่พอหนังเรื่องนี้มันเป็นหนังสวีเดน เราก็เลยแอบคิดว่าหนังเรื่องนี้มันอาจจะสะท้อน guilt ของสวีเดนในด้านนี้ด้วยมั้ง

 

ส่วนหนังสวีเดนอีกสองเรื่องที่เราเคยดูที่สะท้อน guilt ในด้านนี้ ก็คือ THE NINTH COMPANY (1987, Colin Nutley) กับ BEFORE THE STORM (2000, Reza Parsa)

 

 

 

 

 

No comments: