SOLIDS BY THE SEASHORE (2023,
Patiparn Boontarig, A+30)
ทะเลของฉัน มีคลื่นเล็กน้อย
ถึงปานกลาง
Spoilers alert
--
--
--
--
--
1.เราได้ดูหนังเรื่องนี้ในวันที่
14 ธ.ค. แต่ไม่มีเวลาเขียนถึงเลย และตอนนี้ก็ลืมรายละเอียดในหนังไปบ้างแล้ว 555
แต่เหมือนเพื่อน ๆ หลายคนเขียนถึงหนังเรื่องนี้ในแบบที่ตรงใจเราไปแล้ว
โดยเฉพาะความดีงามในด้านต่างๆ ของหนัง เราก็เลยเน้นแชร์ของที่เพื่อน
ๆ เขียนเป็นหลัก ไม่จำเป็นต้องเขียนอะไรซ้ำซ้อนกับที่คนอื่น ๆ เขียนแล้วอีก 55555
เพราะฉะนั้นเราก็เลยจะเน้นเขียนถึงสิ่งที่อาจจะไม่ตรงกับคนอื่น
ๆ ก็แล้วกัน หรือสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนังเรื่องนี้โดยตรง
อย่างเช่นหนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงอะไรโดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจบ้าง
หรือหนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกไปถึงหนังเรื่องไหน ๆ อีกบ้าง
2.เหมือนเราสนใจตัวละคร “ฝน” มากกว่า
“ชาตี” เสียอีก เพราะตัวละคร “ฝน” ดูเหมือนจะมีประวัติอะไรต่าง ๆ มาก่อนเจอ “ชาตี”
และมี “ปมในใจ” บางอย่างที่ไม่พูดออกมาตรง ๆ
เราไม่แน่ใจว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ระหว่างฝนกับศิลปินใหญ่ (ไม่แน่ใจว่าชื่อ “ชาติ”
หรือเปล่า) ที่เธอเคยร่วมงานด้วย ทั้งสองแยกทางกันเพราะอะไร ทำไมเข้ากันไม่ได้
และฝนต้องการอะไรบ้างในตอนนี้ เธอต้องการสานต่องานของชาติให้สำเร็จ
หรือว่าเธอต้องการเป็นอิสระ สร้างงานที่เป็นอิสระจากอิทธิพลของชาติ
หรือสร้างงานที่ดีกว่างานของชาติ หรืออะไร เหมือนเราไม่แน่ใจในจุดนี้ เหมือนหนังเก็บความลับบางอย่างเกี่ยวกับ
“ประวัติของฝน” และ “สิ่งที่อยู่ในใจฝน” เอาไว้
มันก็เลยทำให้ตัวละครฝนดูมีความลึกลับสำหรับเรา
ถึงแม้จะเป็นตัวละครที่มีแนวคิดเสรีนิยมเหมือนเราและอยู่ในวัฒนธรรมเดียวกับเรา
ส่วนตัวละครชาตีนั้น
ถึงแม้จะอยู่ต่างวัฒนธรรมกับเรา แต่เหมือนเราไม่ได้สงสัยประวัติความเป็นมาของเธอ
เราก็เลยไม่ได้รู้สึกติดใจกับตัวละครตัวนี้มากนักน่ะ เหมือนเราลุ้นแค่ว่า
เธอจะตัดสินใจอย่างไรกับชีวิตเท่านั้นเอง แต่คุณ Ilada Pitsuwan ที่เล่นเป็นชาตีนั้น แสดงได้ดีมาก ๆ
เราก็เลยชอบการแสดงอารมณ์ความรู้สึกแบบ “น้อยแต่มาก” ของชาตี
คือถึงแม้ว่าประวัติของตัวละครตัวนี้จะไม่ได้ลึกลับ
แต่การได้ดูอารมณ์ความรู้สึกชีวิตจิตใจของตัวละครตัวนี้ในปัจจุบันไปเรื่อย ๆ
ก็เป็นสิ่งที่เพลิดเพลินมาก ๆ แล้ว
3.สงสัยมากๆ ว่า
หนึ่งในตัวละครที่เล่นเป็นเพื่อนของ “ชาตี” คือคนเดียวกับที่แสดงในหนังเรื่อง BANGKOK TRADITION สันดานกรุง (2021, ฐานุยา ทัศนานุกูลกิจ) หรือเปล่า เพราะเราว่าคนนี้เล่นได้ดีมาก ๆ
อยากให้มีหนังสักเรื่องที่เธอได้นำแสดงเป็นนางเอกมาก ๆ
แต่เราไม่รู้ว่าเป็นนักแสดงคนเดียวกันหรือเปล่า เพราะเราไม่สามารถ search หาชื่อนักแสดงใน BANGKOK TRADITION ได้เลย
ก็เลยไม่สามารถรู้ได้ว่าเป็นนักแสดงคนเดียวกันหรือไม่
4.ชอบ “ผลงานศิลปะ”
ที่ปรากฏในนิทรรศการในหนังเรื่องนี้มาก ๆ ตอนที่ดูหนังอยู่ก็รู้สึกทึ่งมาก ๆ ว่า
“โห ทำไมงานศิลปะในหนังเรื่องนี้มันน่าสนใจจัง มันคิดออกมาดีมาก ๆ เลยนะเนี่ย”
แต่พอดู ending credit ถึงได้รู้ว่า
มันเป็นผลงานศิลปะจริง ๆ ของศิลปินหลากหลายคน ที่บางคนก็เป็นเพื่อนใน facebook
ของเรานี่เอง 555 มิน่า งานศิลปะในหนังเรื่องนี้มันถึงดู “มีอะไร”
มาก ๆ
คือถ้าหากเป็นในหนังเรื่องอื่น ๆ
เขาก็อาจจะคิดงานศิลปะขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นเพียงแค่ prop ที่นำมาใช้ถม ๆ ฉากให้เต็มในภาพยนตร์
แล้วตัวงานศิลปะในหนังแบบนั้นก็คงไม่ดู “ทรงพลัง” แบบในหนังเรื่องนี้
5.จริง ๆ
แล้วเรื่องประเด็นเลสเบียนกับมุสลิมนั้น ก็เป็นประเด็นที่เราเคยดูในหนังสั้นไทยมาแล้วอย่างน้อย
4 เรื่องนะ ซึ่งได้แก่เรื่อง ระหว่างความรู้สึก
(2013, Onticha Laehsalee, A+25), ONE
MORE TIME (2018, เจ๊ะฟาเดีย
เจ๊ะอาแว Cherfadia
Chearwae, สุทธิกานต์
พูลทวี Sutthikan Puntawee, สกาวรัตน์ วีรวุฒิไกร Sakaowrat Weerawutikrai, A+30), NIKAH (2021,
Supichaya Sriboon, 23min, A+30) และ SILK (2023, กัลปพฤกษ์
ติยะจามร, 21.39 min, A+30)
ตามที่เราเคยทำลิสท์ไว้นี้
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10232683945024385&set=a.10201990635270824
แต่สิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้ดู
“โดดเด่น”, “แตกต่าง” หรือ “น่าจดจำ” สำหรับเรา เมื่อเทียบกับหนังไทยในกลุ่มข้างต้น
ก็เป็นเพราะว่า หนังเรื่องนี้ไปพูดถึงประเด็นเรื่อง “เขื่อนหินกั้นคลื่น” ด้วย
และเพราะว่าหนังเรื่องนี้มีงาน visual ที่น่าจดจำมาก ๆ ด้วย โดยฉากที่ติดตาตรึงใจเรามาก ๆ
ในหนังเรื่องนี้ก็มีอย่างเช่นฉาก
5.1 ฉากซูมเม็ดทราย
ที่ถือเป็นหนึ่งในฉากที่เราชอบที่สุดในปีนี้
5.2 ฉากฟองน้ำผุดพราย ที่ทรงพลังมาก ๆ
แต่ก็เห็นด้วยกับบางคนที่ว่า มันเหมือนเป็น “ท่าบังคับ” สำหรับ “หนังอาร์ต” หรือ
“หนังเทศกาล” ที่มักจะมีฉากจำแบบนี้
5.3 ฉาก “ฝนห่าไฟ”
5.4 ฉากจบ ที่ถือเป็น one of my most favorite endings of Thai films of all time เลย คือฉากจบนี่ไม่ได้น่าสนใจแค่ในด้าน visual เท่านั้น
แต่มันยังน่าจดจำทั้งในด้าน concept และความ “ก้ำกึ่ง”
ของมันด้วย คือเรารู้สึกเหมือนกับว่า หนังมันมอบตอนจบ 2 ทางให้แก่ผู้ชมน่ะ
ใครอยากให้ชาตีเลือกเส้นทางไหนในชีวิต ก็เลือกได้เลย ราวกับว่าฉากนี้มันคือ multiverse
คือเส้นทางที่ผู้ชมแต่ละคนสามารถเลือกให้ชาตีได้ 555
6.ชอบประเด็นเรื่อง “ความชาชิน” ด้วย
(ตอนที่ตัวละครพูดถึงหาดทรายที่ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปแล้ว) มันคือธรรมชาติของมนุษย์จริง
ๆ นั่นแหละ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวเอง
เพราะมนุษย์จำเป็นต้องปรับตัว และเมื่อมนุษย์ต้องไปอยู่ภายใต้กฎระเบียบที่ไม่เป็นธรรม
กฎระเบียบที่สร้างความทุกข์ให้กับเรา เราก็มีทางเลือกว่าจะลุกขึ้นต่อต้านกฎนั้น
หรือพยายามปรับตัวที่จะอยู่ภายใต้กฎนั้น และอยู่ไปเรื่อย ๆ หาความสุขจากสิ่งอื่น ๆ
ไปเรื่อย ๆ เรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขภายใต้กฎระเบียบอันอยุติธรรมให้ได้
ซึ่งการเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างมีความสุขและชาชินกับกฎอันอยุติธรรมนี้
มันก็อาจจะมีข้อเสียตรงที่มันไม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีในสังคม ไม่เกิด revolution แต่มันก็มีข้อดีตรงที่อย่างน้อยเราก็ยังไม่ต้องฆ่าตัวตาย
และยังมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขต่อไปได้
7.เพิ่งรู้ว่ามีสิ่งที่เรียกว่า skimboarding จากหนังเรื่องนี้ 555 รู้สึกว่า
skimboarding เป็นสิ่งที่เข้ากับหนังเรื่องนี้ในแง่หนึ่ง เพราะมันเป็นอะไรที่เล็ก
ๆ เบา ๆ กว่า surfing คือเรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เลือกที่จะทำตัวเป็น
“คลื่นระดับเล็กน้อย ถึงปานกลาง” (หรือจงใจสร้างพลังแห่งความเปลี่ยนแปลงในระดับเล็กน้อย
ถึงปานกลาง) แทนที่จะทำตัวเป็นคลื่นสึนามิ ดังนั้น skimboarding ที่เป็นอะไรเล็ก ๆ เบา ๆ กว่า surfing ก็เลยเข้ากับหนังเรื่องนี้
หรือเข้ากับตัวละครนำหญิงทั้งสองคนของหนังเรื่องนี้
8.แต่เราก็ยอมรับว่า
หนังเรื่องนี้ไม่ได้เข้ากับ “ธาตุ” ของเรามากนักนะ
เพราะถึงแม้เราจะชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+30
หรือชอบสุด ๆ แต่เรารู้ว่าเพื่อนๆ หลาย ๆ คนชอบหนังเรื่องนี้มากกว่าเราน่ะ
5555 ส่วนเรานั้นชอบหนังเรื่องนี้มาก แต่ไม่มากเท่ากับที่เพื่อน ๆ เราชอบ
คือเรารู้ตัวว่าเรามีธาตุของ “โทสะ”
อยู่ในตัวรุนแรงมาก ๆ น่ะ เพราะฉะนั้นหนังที่ตรงกับธาตุของเราจริง ๆ หรือหนังที่ทำให้เรารู้สึก
identify ตัวเองกับตัวละคร หรือหนังที่ทำให้เรารู้สึกรุนแรงกับมันได้จริง
ๆ ก็เลยมักจะเป็นหนังที่ตัวละครนำหญิงทำอะไรรุนแรงกว่านี้น่ะ อย่างเช่น BAISE-MOI
(2000, Virginie Despentes, Coralie Trinh-Thi) และ BREMEN
FREEDOM (1972, Rainer Werner Fassbinder, West Germany) ซึ่งต่างก็ถือเป็น
one of my most favorite films of all time
และเมื่อพิจารณาจากเส้นทางชีวิตที่เราเลือกเดินในอดีตแล้ว
เราก็พบว่าตัวละครในหนังเรื่องนี้อาจจะดูไม่เข้ากับสิ่งที่เราเคยทำในอดีตด้วย หรือเราไม่สามารถใช้ตัวละครนำในหนังเรื่องนี้เป็นช่องทางในการ release ความรู้สึกที่เราเคยประสบพบมาในอดีตได้ ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่ความผิดของหนังแต่อย่างใด
เพราะหนังแต่ละเรื่องไม่จำเป็นจะต้องทำหน้าที่นั้นให้เรา 555
เพราะฉะนั้นการที่หนังเรื่องนี้เลือกออกมาในทาง
“นุ่มนวล” อ่อนโยน ไม่รุนแรง ก็เลยเหมือนเป็นสิ่งที่ถูกใจหลาย ๆ คน และเป็นสิ่งที่สร้างความ
“โดดเด่น” ให้หนังเรื่องนี้ในสายตาของเรา แต่มันไม่เข้ากับธาตุของเราและชีวิตในอดีตของเรา
สรุปได้ว่า “ความนุ่มนวล” ของหนังเรื่องนี้ เป็นสิ่งที่เรารู้สึกก้ำกึ่ง เพราะเราทั้งชอบและไม่ชอบมันในบางแง่มุม
555
9.หนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงประเด็นนึงโดยที่หนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจด้วย
นั่นก็คือ “พลังของการกัดเซาะทีละน้อย” คือถ้าหากเราไม่สามารถสร้าง revolution
ได้ เพราะเราเป็นเพียงมนุษย์ตัวเล็ก ๆ คนหนึ่ง เป็นเพียงสามัญชนที่มีความอ่อนแอและเปราะบางในตัวเอง
บางทีสิ่งหนึ่งที่เราทำได้ (นอกเหนือไปจากการเรียนรู้ที่จะอยู่อย่างชาชินภายใต้กฎอันอยุติธรรมแล้ว)
ก็คือการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านทางการกัดเซาะทีละน้อย อย่างเช่นผ่านทางการสร้างงานศิลปะหรือการสร้างภาพยนตร์ที่กระตุ้นให้ผู้ชมตระหนักรู้ถึงอะไรบางอย่าง
คือตอนที่ดูหนังเรื่องนี้ เรานึกถึงสิ่งที่
Wiwat Lertwiwatwongsa (Filmsick) เคยพูดไว้หลังจากพวกเราดูหนังเรื่อง
DZI CROQUETTES (2009, Raphael Alvarez, Tatiana Issa, Brazil, documentary)
น่ะ คือ DZI CROQUETTES เป็นหนังสารคดีที่เล่าถึงกลุ่มกะเทยในบราซิลในทศวรรษ
1970 ที่สร้างคณะละครขึ้นมาเพื่อต่อต้านรัฐบาลเผด็จการบราซิลในยุคนั้น สิ่งที่ Wiwat
ตั้งข้อสังเกตก็คือว่า กะเทยกลุ่มนี้ไม่ได้จับอาวุธถือปืนตั้งกองกำลังติดอาวุธเพื่อโค่นล้มรัฐบาลเผด็จการ
แต่ใช้ “ความบันเทิง”, “อารมณ์ขัน” และ “ความสามารถทางการแสดง” ของตัวเองเป็นอาวุธ
เป็นพลังในการค่อย ๆ กัดเซาะ บ่อนทำลาย และเปลี่ยนแปลงความเชื่อของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลเผด็จการ
มันไม่ใช่สิ่งที่สามารถพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินสร้างความเปลี่ยนแปลงในชั่วข้ามคืนแบบคลื่นสึนามิ
แต่สิ่งที่กะเทยกลุ่มนี้ในบราซิลทำ อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “คลื่นระดับเล็กน้อย
ถึงปานกลาง” ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม ค่อย ๆ กัดเซาะ บ่อนทำลายอำนาจเผด็จการไปเรื่อย
ๆ ทีละน้อย ๆ และเป็นสิ่งที่จะเห็นผลสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อต้องอดทนทำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลายปีแล้ว
คือพอหนังเรื่องนี้พูดถึง “เขื่อนหินกั้นคลื่น”,
ความล้มเหลวของเขื่อนหินกั้นคลื่น, พลังของคลื่นระดับเล็กน้อยถึงปานกลางในการกัดเซาะหาดทรายทีละน้อย
ๆ และเป็นสิ่งที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงต่อเขื่อนหินและหาดทรายได้ในระยะยาวแล้ว
เราก็เลยนึกถึงประเด็นข้างต้นขึ้นมาโดยที่หนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจน่ะ
และในแง่นึงเราก็เลยชื่นชมหนังเรื่องนี้อย่างมาก ๆ
เพราะเรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ก็อาจจะเลือกทำตัวเป็นคลื่นระดับเล็กน้อย
ถึงปานกลาง ในการค่อย ๆ สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างละมุนละม่อม อย่างค่อยเป็นค่อยไป
อย่างใจเย็น เช่นกัน
อีกสิ่งหนึ่งที่หนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ตั้งใจ
แต่ทำให้เรานึกถึงก็คือว่า ตัวอย่างหนึ่งของ “พลังของการกัดเซาะ สร้างความเปลี่ยนแปลงทีละน้อย”
ที่เห็นได้ชัดในสังคมไทย ก็อาจจะเป็นเรื่องของวัฒนธรรมเกย์หรือเปล่า 555 คือเราเกิดในปี
1973 และเติบโตเป็นวัยรุ่นในทศวรรษ 1980 ซึ่งเป็นยุคที่หาหนังเกย์ดูได้ยากมาก ๆ ๆ
ๆ ๆ คือในทศวรรษนั้นเราแทบหาหนังเกย์ดูไม่ได้เลย คือตลอดทั้งทศวรรษ 1980
เราอาจจะได้ดูหนังเกย์ไปไม่ถึง 10 เรื่องด้วยซ้ำ แต่ปัจจุบันนี้เป็นอย่างไรล่ะ
หนังเกย์กลายเป็นวัฒนธรรมกระแสหลักไปแล้ว กลายเป็นอะไรที่เฟ้อไปแล้ว
และเราว่าการที่หนังเกย์เปลี่ยนจากการเป็นของที่เคยหายากสุดขีดในไทยในทศวรรษ 1980
มาเป็นของที่เฟ้อจนล้นตลาดในปัจจุบันนี้ บางทีมันก็อาจจะเป็นผลลัพธ์อันหนึ่งของพลังในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทีละน้อย
แบบค่อยเป็นค่อยไปเช่นกัน และมันก็เป็นสิ่งที่เห็นผลได้ชัดเจนมาก ๆ เมื่อเวลาผ่านมานาน
40 ปีแบบนี้
แน่นอนว่า “ความเปลี่ยนแปลง” แบบนี้
เป็นสิ่งที่เห็นผลได้ในทางการเมืองเช่นกัน เพราะกระแสความเห็นทางการเมืองของคนหลายคนในสังคมไทย
ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทั้งโดยผ่านทางการลุกขึ้นสู้โดยตรง
และโดยผ่านทางการแสดงความเห็นแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น และค่อย ๆ
เปลี่ยนแปลงความเห็นของคนอื่น ๆ ในสังคมไปเรื่อย ๆ ทีละน้อย
เพราะฉะนั้นเราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้ตรงจุดนี้มาก
ๆ โดยที่หนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจก็ได้ เพราะหนังเรื่องนี้มันเข้ากับตัวเราเองในแง่ที่ว่า
ในบางประเด็นนั้น เราก็อาจจะไม่ใช่นักปฏิวัติ ไม่ใช่คนที่ลุกขึ้นสู้โดยตรง
เราก็เป็นคนหนึ่งที่เลือกที่จะอยู่อย่างชาชินและหาทางมีความสุขไปเรื่อย ๆ แต่เราก็จะพยายามสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคมไปในแนวทางที่เราต้องการโดยผ่านทางการกัดเซาะทีละน้อยเช่นกัน
หรือผ่านทางการแสดงความเห็นในแบบของเราไปเรื่อย ๆ และหวังว่ามันจะช่วยเปลี่ยนความคิดของคนอื่น
ๆ ได้บ้างโดยที่คนคนนั้นไม่ทันรู้ตัว 55555
10.หมดประเด็นที่จะพูดถึงหนังเรื่องนี้แล้ว
ต่อไปนี้ก็จะเป็นการลิสท์ว่า หนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงหนังเรื่องไหน ๆ อีกบ้าง
โดยที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ตั้งใจ
หนังกลุ่มแรกที่เรานึกถึงหลังจากได้ดูหนังเรื่องนี้
ก็คือ “หนังเลสเบียน ที่ตัวละครนำหญิงสองคนมีความแตกต่างกันในทางความคิดหรือ lifestyle โดยที่คนนึงจะออกแนว progressive และอีกคนจะออกแนว conservative”
คือเราพบว่ามีหนังเลสเบียนหลายเรื่องที่ออกมาในทำนองนี้
ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร ในขณะที่เราไม่ค่อยพบแบบนี้ในหนังเกย์
ซึ่งอาจจะเป็นเพราะหนังเกย์ไม่ค่อยมีตัวละคร “พระเอกที่เป็น conservative เคร่งศาสนา” มั้ง
แต่หนังเลสเบียนหลายเรื่องมักจะมีหนึ่งในตัวละครนำหญิงเป็น “ผู้หญิงเรียบร้อย แนวแม่บ้าน
ที่ยังยึดถือในเรื่องค่านิยมเก่า ๆ อยู่” อย่างเช่น ชาตีในหนังเรื่องนี้ ส่วนตัวละครนำหญิงอีกคนที่เป็นคนหัวก้าวหน้าก็จะมาสร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตให้แก่ตัวละคร
“แนวแม่บ้าน” นี้ ซึ่งก็เหมือนกับบทบาทของ “ฝน” ในหนังเรื่องนี้
หนังเลสเบียนที่สร้าง characters ตัวละครนำหญิงสองตัวออกมาในทำนองนี้ ก็มีเช่น
10.1 FRIED
GREEN TOMATOES (1991, Jon Avnet)
10.2 SALMONBERRIES
(1991, Percy Adlon)
10.3 BOYS ON
THE SIDE (1995, Herbert Ross)
10.4 WHEN NIGHT
IS FALLING (1995, Patricia Rozema, Canada)
10.5 SUMMERTIME
(2015, Catherine Corsini, France)
10.6 DISOBEDIENCE
(2017, Sebastián Lelio)
10.7 SIGNATURE
MOVE (2017, Jennifer Reeder)
10.8 CLOUD
CUCKOO COUNTRY (2021, Aim-ei Polpitak, 48min)
10.9 INTERVENTION
(2023, Kamonkarn Samutratanakul, 30min)
11. เนื่องจากหนึ่งในฉากสำคัญของหนังเรื่องนี้คือฉากตัวละครว่ายน้ำในท้องทะเล
หนังเรื่องนี้ก็เลยทำให้เรานึกถึงหนังเลสเบียนเรื่องอื่น ๆ ที่ดูเหมือนจะให้ความสำคัญกับ
“การว่ายน้ำ” เหมือนกัน เราไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมหนังเลสเบียนถึงผูกพันกับการว่ายน้ำ
55555
หนังในกลุ่มนี้ก็มีเช่น
11.1 SWIMMING (2000, Robert J.
Siegel)
11.2 GIRLS CAN’T SWIM (2000, Anne-Sophie
Birot, France)
11.3 WATER LILIES (2007, Céline Sciamma,
France)
11.4 วันนั้นของเดือน (MENSTRUAL
SYNCHRONY) (2014, Jirassaya Wongsutin)
ถ้าหากใครคิดถึงหนังเรื่องอื่น ๆ
ที่เข้าเกณฑ์ในข้อ 10 (หนังเลสเบียนที่นางเอกคนนึง
progressive ส่วนอีกคน conservative) และข้อ
11 (หนังเลสเบียนที่ให้ความสำคัญกับการว่ายน้ำ)
ก็มาใส่รายชื่อไว้ใน comment ได้นะ เหมือนมีหนังเรื่องอื่น ๆ
อีกในกลุ่มนี้ แต่เรายังนึกชื่อไม่ออกในตอนนี้
12. สรุปว่าตอนนี้เราได้ดูหนังของคุณ Patiparn
Boontarig ไปแล้ว 12 เรื่อง ซึ่งรวมถึงเรื่อง
12.1 GAME ADDICTION ติดเกม (2008,
11min, A)
เราได้ดูหนังเรื่องนี้ในวันที่ 19 ก.ค.
2009 หรือเมื่อ 14 ปีมาแล้ว กรี๊ดดดดดดดดด นี่เราดูหนังของเขามานาน 14
ปีแล้วหรือเนี่ย 5555555
12.2 ROASTED PORK หมูปิ้ง (2010,
7min, A)
เราเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้ที่
https://celinejulie.blogspot.com/2010/11/torture-room-2010-patitparn-boontarig.html
12.3 TORTURE ROOM ห้องทรมาน (2010,
A+30)
เราเคย comment ถึงหนังเรื่องนี้ไว้ด้วย อยู่ในนาทีที่
3.00-4.15 ในคลิปนี้
https://www.youtube.com/watch?v=E1ckI2YhKZc
12.4 MEXICAN GRAND PRIX (MEMORIES OF THE BLUE
MOUNTAIN) – Mogwai (2011, music video)
12.5 GOD STAR, THE GUARDIAN OF THE STAR (2011,
10min, A+15)
จำอะไรไม่ได้แล้ว แต่อ่านจากเรื่องย่อแล้วเป็นหนังเกี่ยวกับความซื่อสัตย์และความคดโกง
12.6 VACCINE วัคซีน (2012,
documentary, 10min, C- )
ถ้าจำไม่ผิด เราคงรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีแนวคิดทางการเมืองที่ไม่ตรงกับเรา
เราก็เลยไม่ชอบ 55555
12.7 KAI MOOK ไข่มุก (2012,
12min, A+20)
เรื่องราวของเด็กผู้หญิงที่มีแม่ป่วยเป็นโรคเอดส์
เธอเลยกลายเป็นคนที่สังคมรังเกียจ
12.8 MERMAID’S TEAR น้ำตานางเงือก
(2012, Patiparn Boontarig, documentary, 16min, A+)
หนังสารคดีที่พูดถึงการสร้างเขื่อนกันคลื่น
และน่าจะเป็นหนึ่งในต้นแบบของหนังเรื่อง SOLIDS
BY THE SEASHORE
12.9 HEART OF SWORD (2016, 8 min,
A+10)
เรื่องราวของหญิงสาวชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งที่อยากจะเป็นซามูไร
แต่ไม่ได้รับการยอมรับ เพราะว่าเธอเป็นผู้หญิง
12.10 THE BLUE CROW (2019, 16min, A+30)
หนัง surreal ที่มีตัวละครเป็นสาวมุสลิมกับสาวพม่าด้วยมั้ง
ถ้าจำไม่ผิด
12.11 MULTIVERSE OF MEKONG แม่โขง-นฤมิต
(2023, documentary, A+30)
และก็รวมถึง SOLIDS BY THE SEASHORE ด้วย ซึ่งเราก็ชอบ SOLIDS
BY THE SEASHORE มากที่สุดในบรรดาหนัง 12 เรื่องที่ได้ดูมานะ
และก็ดีใจมาก ๆ ที่คุณ Patiparn อยู่ในวงการมาได้นาน 14
ปีแล้ว โดยไม่หายสาบสูญไป และสามารถทำหนังยาวออกมาได้สำเร็จ
เพราะวงการนี้เต็มไปด้วยคนทำหนังสั้นดี ๆ มากมายที่หลังจากนั้นก็หายสาบสูญไปเลย